-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เรื่องปุ๋ยเคมี
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เรื่องปุ๋ยเคมี
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เรื่องปุ๋ยเคมี

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 27/12/2009 10:32 pm    ชื่อกระทู้: เรื่องปุ๋ยเคมี ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความหมายของศัพท์บางคำที่ใช้เกี่ยวข้องกับปุ๋ยเคมี

ปัจจุบันนี้เกษตรกรไทยนิยมใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตในการปลูกพืชมากขึ้นกว่าอดีตและปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นเกษตรกรไทยจะต้องรู้ความหมายของศัพท์ บางคำที่ใช้เกี่ยวข้องกับปุ๋ยเคมีเพื่อจะได้ใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศัพท์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ

1. เกรดปุ๋ย
ปัจจุบัน ปุ๋ยเคมีที่ขายในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด หลายตราทั้งปุ๋ยเชิงเดี่ยว เชิงผสม และเชิงประกอบ อยู่ในผลึก เม็ด เกร็ด ผง และน้ำ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ขายและผู้ซื้อ นักวิชาการเรื่อง ดิน – ปุ๋ย จึงได้กำหนด “เกรดปุ๋ย” ขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่วางไว้

สูตรหรือเกรดปุ๋ย (fertilizer analysis หรือ fertilizer grade) หมายถึง การบอกการรับประกันปริมาณธาตุอาหารปุ๋ยขั้นต่ำที่สุดที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น ๆ จะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (total nitrogen) ปริมาณฟอสฟอริกแอซิค (P2O5) ที่เป็นประโยชน์ (available P2O5) และปริมาณโปตัสเซียม (K2O) ที่ละลายน้ำได้ (water soluble potash) (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)

ปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายตามท้องตลาด ที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 บนภาชนะที่บรรจุปุ๋ยจะต้องมีตัวเลขแสดงเกรดปุ๋ยให้ชัดเจน ประกอบด้วยตัวเลข 3 ชุด แต่ละชุดมีเครื่องหมาย แยกตัวเลขไว้ เช่น 15 – 15 – 15 ซึ่งตัวเลขชุดแรกจะบอกปริมาณ เปอร์เซ็นต์ของธาตุไนโตรเจนทั้งหมด อย่างต่ำสุด 15 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขชุดที่ 2 จะเป็นตัวเลขที่บอกปริมาณเปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอริกแอกซิค ที่เป็นประโยชน์อย่างต่ำ 15 เปอร์เซ็นต์ และตัวเลขที่3 เป็นตัวเลขที่บอกปริมาณเปอร์เซ็นต์ของโปตัสเซียมที่ละลายน้ำได้อย่างต่ำ15เปอร์เซ็นต์

2. เรโซปุ๋ย
หมายถึง สัดส่วนอย่างต่ำซึ่งเป็นเลขลงตัวน้อยระหว่างปริมาณของธาตุไนโตรเจน ทั้งหมด (N) ฟอสฟอริกแอซิคที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และโปแทชที่ละลายน้ำได้ (K2O) เช่น สูตรปุ๋ย 30 – 30 – 30, 17 – 17 – 17, และ 15 – 15 – 15 จะมีเรโซเท่ากันคือ 1 : 1 : 1 เป็นต้น

3. การดูดความชื้น
ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไปสามารถที่จะดูดความชื้นได้ ทำให้ปุ๋ยชื้นหรือบางทีละลาย และจับตัวกันเป็นของแข็ง อย่างไรก็ตามปุ๋ยแต่ละชนิดจะชื้นได้ยากง่ายต่างกัน และสภาพอากาศร้อนชื้นก็มีส่วนช่วยให้ปุ๋ยชื้นง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเอาปุ๋ยต่างชนิดกันมาผสมกันจะยิ่งทำให้ปุ๋ยชื้นได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการเก็บปุ๋ยไม่ควรเก็บในที่อับ ร้อนชื้น และถ้าเปิดถุงใช้แล้วควรปิดให้มิดชิด

4. ความเค็ม
ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไปเป็นเกลือ ดังนั้นจึงมีความเค็ม ซึ่งถ้าใส่ให้กับพืชครั้งละมาก ๆ และใส่ใกล้รากอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชได้ ปุ๋ยแต่ละชนิดมีความเค็มมากน้อยต่างกัน เราอาจจะสังเกตได้ง่าย ๆ คือ ปุ๋ยที่ละลายน้ำดี ละลายน้ำง่าย และละลายน้ำได้ทั้งหมด โดยปกติจะมีความเค็มมาก ปุ๋ยที่ละลายช้าหรือละลายได้ไม่หมด มักจะมีความเค็มน้อย

5. ความเป็นกรด – ด่าง
ปุ๋ยบางชนิดเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ มีผลตกค้างทำให้ดินเป็นกรดหรือเป็นด่าง ปุ๋ยไนโตรเจนมักให้ผลตกค้างเป็นกรด ส่วนปุ๋ยที่มีแคลเซียม หรือโซเดียมมาก ๆ มักจะทำให้ผลตกค้างเป็นด่าง อย่างไรก็ตามผลอันนี้มักเกิดขึ้นน้อยโดยเฉพาะกับดินที่เป็นดินเหนียว

ชนิดของปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรนิยมใช้ในการเพิ่มผลผลิตของพืชมีรูปร่างอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ของเกษตรกร สามารถจำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพได้ดังนี้

1. .....ปุ๋ยผง (powder) หมายถึงปุ๋ยเคมีที่ทำการบดให้ละเอียดอยู่ในรูปผง โดยใช้ตะแกรงร่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
2. .... ปุ๋ยเกร็ด (crystal) ที่อยู่ในรูปผงหรือผลึกซึ่งมีความบริสุทธิ์สูง ละลายน้ำได้หมด ราคาแพงนิยมใช้เป็นปุ๋ยทางใบ
3. .... ปุ๋ยน้ำ (solution) หมายถึงปุ๋ยที่อยู่ในรูปของของเหลวไม่มีสิ่งเจือปนหรือตกตะกอน


ประเภทของปุ๋ยเคมีและคุณสมบัติที่สำคัญของปุ๋ยเคมี
ดินที่อุดมสมบูรณ์ต้องประกอบด้วยธาตุอาหารพืช 16 ชนิด พบในดิน 13 ชนิด เมื่อใช้ดินในการปลูกพืชไปนานๆดินเกิดการเสื่อมคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ต้องมีการปรับปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารการใส่ปุ๋ยเคมีเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้เพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน ปุ๋ยเคมีสามารถแบ่งตามปริมาณธาตุอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ปุ๋ยเดี่ยว

ปุ๋ยเดี่ยว หมายถึงปุ๋ยที่ประกอบด้วยธาตุอาหารหลักเพียงธาตุเดียวในปุ๋ยนั้นได้แก่


1.1 ปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยไนโตรเจน ที่อยู่ในรูปอินทรีย์ไนโตรเจน ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย (46 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) มีสูตรทางเคมี CO(NH2 )2 ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (25 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจน) ยูเรียฟอร์ม (29 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) และปุ๋ยอ๊อกซามีดส์ (32 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจน) เป็นต้น ปุ๋ยไนโตรเจนที่นิยมใช้ได้แก่

1.1.1 ปุ๋ยยูเรีย (CO (NH2 ) 2 : 46 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน)
ปุ๋ยยูเรีย เป็นแม่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงสุด ซึ่งกำลังได้รับความ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีราคาต่อหน่วยของธาตุไนโตรเจนต่ำ เมื่อเทียบกับปุ๋ยไนโตรเจนชนิดอื่น ปุ๋ยยูเรีย เป็นของแข็งที่ละลายน้ำได้ง่าย ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส สามารถละลายได้เป็น 7 เท่า เมื่อเทียบกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยยูเรียสามารถเตรียมได้ 2 ขั้นตอนใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมแอมโมเนีย เตรียมได้โดยการนำเอาก๊าซไนโตรเจน (N2) มาทำปฏิกิริยากับก๊าซ ไฮโดรเจน (H2) ที่ความดัน และอุณหภูมิสูง ดังสมการ




ขั้นตอนที่ 2 เอาแอมโมเนียที่ได้จากสมการ มาทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความดันสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมดังสมการ




คุณสมบัติที่สำคัญของ ยูเรียคือ เป็นของแข็ง ละลายน้ำได้ดี มี ถ.พ. = 1.335 ดูดความชื้นได้ง่าย เป็นสารประกอบที่เป็นด่าง แต่เมื่อใส่ลงไปในดิน ยูเรียจะถูกไฮโดรไลซ์ไปเป็นแอมโมเนียมคาร์บอเนตก่อน ดังสมการ เมื่อ (NH4)2 CO3 อยู่ในดินที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี แอมโมเนียมไอออน




จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไนเตรต และ ไฮโดรเจนไอออนทำให้ดินอยู่ในสภาพเป็นดินกรด ดังสมการ




ยูเรียสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยทางใบ เนื่องจากปุ๋ยยูเรียสามารถดูดซึมเข้าไปในทางใบพืชได้

1.1.2 ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน)กรรมวิธีในการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตโดยนำเอาก๊าซแอมโมเนีย (NH3) มาทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน (H2SO4) แล้วนำเอาผลที่ได้มาตกผลึกเป็นเกลือแอมโมเนียมซัลเฟต ดังสมการ




ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) มีข้อดีดังต่อไปนี้ คือเป็นปุ๋ยที่ไม่ชื้นแฉะง่าย ไม่จับตัวกันเป็นก้อนเร็ว เกล็ดปุ๋ยมีความแข็งสูง มีความคงตัวทางเคมีสูง ส่วนข้อเสียเป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนต่ำ (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) มีส่วนประกอบของกำมะถัน ทำให้ดินเป็นกรดสูงเมื่อใช้ไปนาน ใช้ได้ดีกับดินที่เป็นด่างและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และแรงงานสูง

1.1.3 ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (25 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจน)ปุ๋ยชนิดนี้ ส่วนมากนิยมใช้กับข้าว สามารถใช้ได้ผลดีกับพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น โดยมีกรรมวิธีในการผลิตได้ โดยการใช้ก๊าซแอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก ที่อุณหภูมิ 75 – 80 องศาเซลเซียส ความดัน 250 – 300 เอทีเอ็ม ดังสมการ ซึ่งมีข้อดีดังนี้คือเมื่อใส่ลงไปในดิน จะสูญเสียไนโตรเจนน้อยกว่ายูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟตมีข้อดีคือเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจน ต่ำกว่า แอมโมเนียมไนเตรตและ ปุ๋ยยูเรีย และคลอรีนสูงอาจจะมีผลเสียต่อคุณภาพของผลิตผลของพืชได้





1.2 ปุ๋ยฟอสฟอรัส (phosphorus fertilizer)
ธาตุฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชต้องการในปริมาณที่มากเนื่องจากฟอสฟอรัสมีความสำคัญต่อการช่วยเก็บและเปลี่ยนรูปพลังงาน กับขบวนการสร้างและทำลายต่าง ๆ ภายในพืช เช่น ขบวนการ ไกลโคไลซีส ขบวนการสร้างพวกน้ำตาล แป้ง และโปรตีน นอกจากนั้นยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ของ อา เอ็น เอ (RNA) และ ดี เอ็น เอ (DNA) ฟอสฟอรัสยังช่วยเร่งหรือเพื่อการเจริญเติบโตของระบบราก การออกดอก ออกผลของพืช การงอกของเมล็ดพืช และการเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตพืช ปุ๋ยฟอสฟอรัสจะมีทั้งส่วนที่ละลายน้ำได้ง่าย และส่วนที่ละลายน้ำได้ยาก พืชสามารถนำเอาส่วนที่ละลายน้ำได้ง่ายไปใช้ ซึ่งอยู่ในรูปของ ฟอสฟอรัสที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อยู่ในรูปของ กรดฟอสฟอริก (phosphoric acid : P2O5) ปุ๋ยฟอสฟอรัส แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

1.2.1 ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ได้มาจากธรรมชาติได้แก่ หินฟอสเฟตที่เกิดจาก หินอัคนี ซึ่งเกิดจากหินที่ละลายหลอมเหลวให้พื้นผิวโลก เกิดการแข็งตัวในภายหลังหรือได้จากแร่ฟอสเฟตที่เกิดจากการตกตะกอนในทะเล (marine phosphates) เป็นแร่ฟอสเฟตที่เกิดขึ้นจากการตกตะกอนของสารประกอบฟอสเฟตในทะเล หรือได้จากแร่ฟอสเฟตในรูปกัวโน (Guano) ที่เกิดจากการสะสมตัวของมูลนกทะเล และมูลค้างคาว


1.2.2 ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ได้จากการสังเคราะห์ได้แก่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดา
(ordinary superphosphate) นิยมทำโดยนำเอาหินฟอสเฟต (rock phosphate) มาทำปฏิกิริยากับกรด เช่น กรดไนตริก กรดไฮโดรคลอริก กรดฟอสฟอริค และกรดซัลฟิวริก ดังสมการ



ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตมีข้อดีดังต่อไปนี้คือ เป็นปุ๋ยที่มีสภาพทางกายภาพดี คือ ปั้นเป็นเม็ดที่แข็งแกร่ง และไม่ชื้นง่าย และ ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดเข้มข้นเรียกว่า ดับเบิ้ล หรือ ทริปเปิลซูปเปอร์ฟอสเฟต มีปริมาณ กรดฟอสฟอริก (P2O5) อยู่ระหว่าง 40 – 46 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีในการผลิต คือ ใช้หินฟอสเฟต และกรดฟอสฟอรัสเป็นวัตถุดิบในการผลิตดังสมการ ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตเข้มข้นมีปริมาณของกรดฟอสฟอริกมากกว่าปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดาประมาณ 2 เท่า จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและ การเก็บรักษา ปุ๋ยไนโตรเจนฟอสเฟตปุ๋ยชนิดนี้ผลิตขึ้นโดยใช้กรดดินประสิว ทำปฏิกิริยากับหินฟอสเฟต





ทำให้ได้ปุ๋ยผสมระหว่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม จะอยู่ในรูปไนเตรต (NO3- ) ทั้งหมด ดังสมการ





ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต เตรียมโดยใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดออโทฟอสฟอรัส ปุ๋ยชนิดนี้ใช้มากมีด้วยกัน 2 ชนิดคือโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (Monoammonia phosphate) เรียกชื่อย่อว่า เอ็มเอพี มีสูตรปุ๋ย 12 – 52 – 0 เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างแอมโมเนียมกับกรดฟอสฟอริค ดังสมการ





ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (Diammonium phosphate) เรียกชื่อย่อว่า ดี เอ พี (DAP) มีสูตรปุ๋ยว่า
18 – 46 – 0 เกิดจากการทำปฏิกริยาระหว่างแอมโมเนียกับ ออโทฟอสฟอรัส ดังสมการ




ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ละลายน้ำได้ดี และมีธาตุอาหารหลักสองธาตุ คือ NP (รวมกันสูงถึง 64 เปอร์เซ็นต์) ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และแรงงาน มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาทางฟิสิกส์ที่ดี จึงประหยัดค่าเก็บรักษา

1.3 ปุ๋ยโปตัสเซียม (potassium fertilizer)
โปตัสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในปริมาณมากโปตัสเซียมมีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ภายในพืช สร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเจริญต่าง ๆ กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยโปตัสเซียม โดยขบวนการเกี่ยวกับการแยกเกลือออกจากสินแร่โปแตช ด้วยกรรมวิธีทางเชิงกล ปุ๋ยโปตัสเซียมที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ โปตัสเซียมซัลเฟต ปุ๋ยโปตัสเซียมไนเตรต ปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ กรรมวิธีในการผลิตให้บริสุทธิ์ โดยนำเอาสินแร่มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำร้อน (ประมาณ 90 องศาเซลเซียส) เติมโซเดียมคลอไรด์ให้มากเกินพอ แล้วค่อย ๆ ทำให้น้ำยานี้เย็นลงจะได้โปตัสเซียมคลอไรด์แยกตัวออกมาปุ๋ยโปตัสเซียมที่ได้จากการสังเคราะห์ได้แก่ ปุ๋ยโปตัสเซียมซัลเฟต เป็นปุ๋ยที่มีความสำคัญรองลงมาจากปุ๋ย โปตัสเซียมคลอไรด์ เหมาะสำหรับพืชที่อ่อนไหวต่อการเกิดพิษของธาตุ คลอรีน เช่น พวกมันฝรั่งและพวกยาสูบ กรรมวิธีในการผลิตปุ๋ยโปตัสเซียมซัลเฟต โปตัสเซียมแมกนีเซียมซัลเฟต (potassium magnesium sulfate : K2SO4 • 2 MgSO4) ทำปฏิกริยากับเกลือโปตัสเซียมคลอไรด์ โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนประจุ เขียนสมการได้ดังนี้




หรืออาจจะเตรียมโดยใช้โปตัสเซียมคลอไรด์ ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน เขียนเป็นสมการได้ดังนี้




ปุ๋ยโปตัสเซียมไนเตรต (KNO3) นิยมใช้รองลงมาจากปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ และโปตัสเซียมซัลเฟต เนื่องจากมีราคาแพง และใช้ได้กับพืชบางชนิด และสภาพอากาศบางสภาพ ในดินบางชนิดด้วย เป็นปุ๋ยที่นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับธาตุ คลอรีน เช่น พืชยาสูบ นอกจากนี้ยังนิยมผลิตปุ๋ยในรูปของ ปุ๋ยเกร็ด และปุ๋ยเหลว

2. ปุ๋ยผสม
ปุ๋ยผสมหมายถึงปุ๋ยที่ได้มาจากการนำเอาแม่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักชนิดต่างๆมาผสมกันเพื่อให้ได้สูตรตามที่เราต้องการ เช่นไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสกับโปตัสเซียม หรือมีธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุ คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปตัสเซียมผสมกันก็ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่คือ

2.1...... ปุ๋ยผสมแบบปั้นเม็ด
โดยนำเอาแม่ปุ๋ยอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ ถ้าเป็นของแข็งนำมาบดให้ละเอียดเสียก่อนจากนั้นนำปุ๋ยที่เตรียมไว้มาเติมสารเสริม และสารเพิ่มน้ำหนัก ( fillers ) เพื่อให้น้ำหนักครบตามที่ต้องการ นำไปปั้นเม็ดด้วยเครื่องจักรซึ่งมีปริมาณของธาตุอาหารที่สม่ำเสมอในแต่ละเม็ด เหมาะสำหรับไปใช้กับดินที่ขาดธาตุอาหารในปริมาณมากๆ
2.2 ...... ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า (bulk blend ) เป็นปุ๋ยที่นำเอาแม่ปุ๋ยที่มีการปั้นเม็ดแล้ว นำมาผสมคลุกเคล้ากันด้วยวิธีทางกายภาพเพื่อให้ได้สูตรตามที่เราต้องการ ซึ่งง่ายและ สะดวกกว่า วิธีปั้นเม็ดมากแต่ต้องคำนึงถึงขนาดของแม่ปุ๋ยที่ใช้ต้องมีขนาดใกล้เคียงกันเพื่อป้องกัน ความไม่ สม่ำเสมอของธาตุอาหารในแต่ละเม็ด ในด้านปุ๋ยจุลธาตุซึ่งใช้ในปริมาณน้อยๆควรเคลือบเม็ดแม่ปุ๋ยก่อนที่จะนำมาผสมกันเพื่อป้องกันการขาดจุลธาตุ

ที่มา http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_11_3.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/12/2009 4:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดีมากอ๊อด.....ค้นหาข้อมูลมาเพิ่มอีก....เติมเต็มกึ๋นให้กับพวกเรา.....
คนอื่น ๆ ใครพบเห็นอะไรดีๆ ที่เป็นข้อมูลทางวิชาการแท้ๆ เอามาลงไว้เลย

ลุงคิมครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©