-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 24 MAY *ดินเสื่อม,เพลี้ย+สำปะหลังก้าวหน้า
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
toodtoo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/10/2012
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 06/02/2013 9:32 pm    ชื่อกระทู้: มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม...พี่ทิดแดง....ป้าเฉิ่ม...และสมาชิกทุกท่าน

จากการที่ผมคุยกับพี่ทิดแดงศาลายา หลังไมค์ ถึงเรื่องที่ว่า มีสมาชิกท่านหนึ่งกำลังคิดจะปลูกมะกรูดตัดใบขาย ...ความรู้ในเรื่องนี้ผมก็ไม่มีประสบการณ์ แต่อยากรู้ ทิดแดงก็แนะนำว่า ....

...เรื่องมะกรูดตัดใบขาย ให้เอ็งลองติดต่อถามไปที่...ทิดพล...บ้านอยู่ อ.ตากฟ้า นครสวรรค์ บอกว่าเป็นน้องข้า เอ็งจะได้รับข้อมูลและความสะดวกโยธินทุกประการ ....

ผมก็ติดต่อไปที่ทิดพล ตามที่ทิดแดงแนะนำ ... อยากจะบอกว่า ...สุดยอดพี่ชายเรา ทำไมมีเพื่อนมากจังวะ ....นอกจากนี้ก็ได้คำแนะนำอีกว่า ลองค้นดูในเว็ปของกรมวิชาการเกษตร เกี่ยวกับเรื่องมะกรูดตัดใบ ซึ่งเป็นเว็ปที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ....

และก็เป็นความจริง เมื่อค้นดูแล้ว มีเรื่องที่น่าทึ่งคือ กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้ใช้ ระบิดเถิดเทิง 30-10-10 และปุ๋ยธาตุรอง ธาตุเสริม กับมะกรูดตัดใบ ....

หลังจากที่ผมหาข้อมูลเจอ ผมถามทิดแดงว่า ..

...ทิดรู้ได้ยังไงว่ากรมวิชาการเกษตร เค้าแนะนำให้ใช้ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 และธาตุรองธาตุเสริมกับมะกรูดตัดใบ .....

ทิดแดงบอกว่า ...ข้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ข้าจะไปรู้ได้ยังไง เอ็งอยากรู้ก็ต้องตามลุงคิมว่า ทางกรมฯ เค้าเอาปุ๋ยลุงคิมมาอ้างได้ยังไง แต่เอ็งจงรู้ไว้ ถ้าปุ๋ยลุงคิมไม่ดีจริง กรมฯเค้าคงไม่เอามาอ้างหรอกเว๊ย ....

ผม....แล้วทำไมทิดไม่นำเสนอให้คนที่กำลังจะปลูกมะกรูดตัดใบได้รับรู้....

ทิดแดง....ข้าไม่กล้า เพราะข้าไม่มีประสบการณ์และยังไม่ได้ทำกับมือ...เอ็งก็หัดลองนำเสนอสิ่งที่คิดว่าดีๆ เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ดูมั่ง ถ้ามันไม่ดีไม่เหมาะ ลุงแกจะลบทิ้งไปเองแหละ...ลุงชอบพูดว่า อบต.ไม่ห้าม ตำรวจไม่จับ แต่ข้าเพิ่งโดนปรับไม่มีใบสั่ง เพราะตั้งด่านสิ้นเดือน

เรื่องนี้ผมค้นเจอในเว็ปของกรมวิชาการเกษตร ขอคัดลอกมานำเสนอครับ

มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน


รูป - 1 ใบมะกรูด

เกษตรกรหลายพื้นที่มักประสบปัญหาการเพาะปลูกพืชไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน อีกทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่เคยร่วนซุยกลายเป็นดินเหนียวแน่น การระบายน้ำไม่ดี ที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย ไม่ว่าจะมีการใส่ปุ๋ยบำรุงพืชดีเพียงใดก็มักไม่ได้ผล พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น ทางที่ดีก่อนปลูกพืชชนิดใดก็ตามต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดินเพื่อให้เหมาะสำหรับการงอกของเมล็ด การปลูกพืชและการเจริญเติบโตของพืช เช่น การไถ การย่อยดิน และการกำจัดวัชพืช ซึ่งหลากหลายปัญหา

วันนี้ผมจะนำการปลูกมะกรูดตัดใบมาฝากเพื่อนๆ เพราะมะกรูดนอกจากจะนำปรุงแต่งรสชาติของอาหารแล้ว ยังสามารถจะแปรรูปได้หลายอย่างรวมทั้งจะปลูกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักของเกษตรกรได้เลยทีเดียว...และมะกรูด ก็เป็นพืชที่ชอบดินที่มีการระบายน้ำที่ดีน้ำไม่ท่วมขังเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเกษตรกรก็ต้องดูแลเอาใจใส่เพื่อผลผลิตที่ดี



วิธีการปลูก (แบบทั่วๆ ไป)
สภาพพื้นที่ปลูกต้นมะกรูดต้องมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง เนื่องจากระยะปลูกมะกรูดมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นที่จะปลูก

ความกว้างของแปลงปลูก 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะปลูกห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา

การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่งซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย กิ่งพันธุ์สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ แต่ต้นพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอดจากโรคแคงเคอร์ หากโรคแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้และมีปัญหาต่อการส่งออก


มะกรูดที่นิยมปลูกแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก
สายพันธุ์ที่ 1 จะให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบและผลมีขนาดเล็ก

สายพันธุ์ที่ 2 เป็นพันธุ์ผลใหญ่และติดเป็นพวง ลักษณะของผลมีตะปุ่มตะป่ำคล้ายหูดและมีใบขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะที่จะปลูกเพื่อผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย เพื่อทำเครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด ยังมีข้อมูลบริษัทบางแห่งมีการนำเอาใบมะกรูดไปตากแห้งและบดให้ละเอียด ปั้นเป็นลูกกลอนเพื่อส่งออก บ้างก็นำเอาไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่เพื่อช่วยต้านทานโรค ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด



รูป - 2 แปลงปลูก



การปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย
ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดี หลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 เซนติเมตรก่อนที่จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาใบไม้ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุม ระยะปลูกประมาณ 1 x 1 เมตร

เทคนิคในการปลูกคือ ก่อนอื่นจะต้องรู้หน้าใบและหลังใบ ในการปลูกส่วนของหน้าใบจะต้องหันสู่ทิศตะวันออก (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางไหน หันใบไปทางนั้น) ฤดูกาลปลูกแนะนำให้ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวจะดีที่สุด ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องโรคราเนื่องจากมีความชื้นสูง

ในการเตรียมหลุมปลูกต้นมะกรูดจะไม่รองก้นหลุมด้วยสารฆ่าแมลงในกลุ่มของสารคาร์โบฟูรานเพื่อป้องกันการทำลายจากปลวก จะใส่สารคาร์โบฟูรานหลังจากปลูกเสร็จ เพราะว่าปลวกหรือแมลงศัตรูในดินจะทำลายรากของต้นมะกรูดในช่วงผิวดินที่ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร เท่านั้น

ต้นมะกรูดจะตั้งตัวหลังจากปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยคอกเก่า (ขี้วัวเก่า) ใส่ให้กับต้นมะกรูด แต่ให้ใส่ห่างจากโคนต้นสัก 1 คืบ ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งให้ทำเปลือกถั่วเขียวมาคลุมโคนต้น อย่าให้ติดโคนต้นเช่นกัน ปุ๋ยที่ใส่ไปจะกระตุ้นการแตกยอดให้เร็วขึ้น




รูป - 3, 4 ใบมะกรูดที่สมบูรณ์



การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี


รูป - 5 กิ่งพันธุ์มะกรูด



การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะใช้ใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14


สูตรให้ปุ๋ย :
ทางราก..... ขี้วัว - แกลบดิบ - ยิบซั่ม 6 เดือน/ครั้ง.....ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิด เถิดเทิง 30-10-10 อัตรา 2 ล./ไร่/เดือน

ทางใบ...... ให้ "ไบโออิ + ยูเรีย จี. + จิ๊บเบอเรลลิน" 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังตัดยอดเก็บใบ



หมายเหตุ :
- พืชตระกูลส้มต้องการ แม็กเนเซียม-สังกะสี สูง
- ยูเรีย จี, จิ๊บเบอเรลลิน. ช่วยให้แตกยอดใหม่เร็ว
- ให้สารอาหารตามนี้แล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม เพราะมีแล้วอย่างเพียงพอสำหรับ มะกรูดตัดใบ

- ข้อมูลสูตรให้ปุ๋ยนี้ ผมคัดลอกจากเอกสารของกรมวิชาการเกษตร ผิด – ถูก อย่างไรลุงคิมกรุณา Comment ด้วยนะครับ


การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย

การดูแลรักษาหลังการปลูก ในช่วง 1-2 เดือนแรกก็เพียงแต่รดน้ำเช้าเย็นเท่านั้น และเมื่ออายุปลูกได้ 8 เดือน จึงบำรุงต้นอีกครั้ง โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ใส่รอบๆ บริเวณโคนต้น การให้น้ำก็จะลดลงเหลือเพียงวันละครั้งเดียว เมื่อต้นมะกรูดขึ้นปีที่ 2 ก็เริ่มที่จะเก็บผลผลิตตัดใบไปจำหน่ายได้เลย


รูป - 6 - กิ่งมะกรูดที่แตกใหม่จากกิ่งที่ถูกตัด


วิธีตัดใบเพื่อนำไปขาย ให้เลือกตัดกิ่งที่ยาวๆ คล้ายกับเราตัดแต่งกิ่ง เพียงแต่ต้องตัดให้ยาวไว้ ไม่ต้องตัดซอยสั้น หรือ ให้กิ่งตัดมีความยาว 50 เซนติเมตร(1 ศอกแขน) ขึ้นไป ส่วนต้นมะกรูดให้แต่งซอยสั้น ทำเพื่อเป็นการพักต้นไปเลย หลังจากนั้น นำมามัดเป็นกำๆ 1 กำ มีอยู่ 7-8 กิ่ง

เมื่อเก็บผลผลิตที่ต้องการหมด จะคงเหลือแต่ต้นมะกรูดจะพักต้นทิ้งไว้ประมาณ 4 เดือน เพื่อได้บำรุงต้นให้แตกกิ่งก้านออกมาอีก ในช่วงนี้อาจจะจ้างแรงงานมาทำแปลง ในการพรวนดินรอบๆ ต้น ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช และนำโคลนที่อยู่ในท้องร่องสวน ขึ้นมากลบบริเวณโคนต้นเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นมะกรูด หลังจากนั้น ต้นมะกรูดจะให้ผลผลิตใบได้อีกรอบ ทำหมุนเวียนกันไปจนครบทั้งหมด

การปลูกมะกรูดเชิงการค้านั้น จะมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตาและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโต ทางกิ่งใบรวมทั้งระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสมในเรื่องของการดูแลรักษาต้นมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้น ควรจะมีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันรักษาใบให้ดี โดยเฉพาะในช่วงของการแตกใบอ่อนจะพบการระบาดของหนอนชอนใบ แนะนำให้ฉีดพ่นสารโปรวาโด อัตรา 1-2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) เป็นที่ทราบกันดีว่า สารโปรวาโดเป็นสารในกลุ่มอิมิดาคลอพริดที่ใช้อัตราน้อยที่สุด และเมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตต่ำกว่าสารอิมิดาคลอพริดชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น เกษตรกรที่ปลูกต้นมะกรูดจะต้องควบคุมโรคแคงเกอร์ให้ได้ โดยภาพรวมแล้วการปลูกมะกรูดมีการดูแลรักษาที่น้อยกว่าการปลูกมะนาวและพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ



รูป - 7 - การมัดกำกิ่งมะกรูด



การเก็บเกี่ยวใบมะกรูดครั้งแรก
เมื่อปลูกไปประมาณ 4 - 6 เดือน จะเริ่มการตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60 - 80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่งแล้ว ตาจะเริ่มผลิ

จากการศึกษา การผลิตใบมะกรูดควรปฏิบัติดังนี้ กิ่งควรอยู่ในแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉาก จะให้จำนวนกิ่ง จำนวนใบต่อกิ่งและขนาดใบที่ใหญ่ ระดับของการตัดแต่ง ไม่ควรตัดแต่งเกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หากตัดเหลือตอกิ่งมีผลทำให้การผลิตายืดเวลาออกไป ขนาดของกิ่งที่เหมาะสม ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร.

การบังคับการออกดอก หากปลูกให้ออกดอกตามธรรมชาติแล้ว ก็จะได้ดอกในช่วงฤดูหนาว อายุผลยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าจะใกล้เคียงกับมะนาว คือจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการตัดปลายยอดพบว่าสามารถชักนำให้ต้นมะกรูดมีการออกดอกได้ดีมาก โดย ต้นมะกรูดเริ่มออกดอกภายหลังการตัดยอด ประมาณ 90 วัน และมีดอกมากที่สุดในช่วงระหว่าง 100-120 วัน


แนะนำให้เกษตรกรที่จะปลูกมะกรูดในพื้นที่ 1 ไร่



รูป - 8


รูป - 9


รูป -10


รูป - 11

ให้ปลูกด้วยการใช้ต้นมะกรูดเสียบยอดและควรใช้พันธุ์ที่มีขนาดใบใหญ่และผลตะปุ่มตะป่ำ (เสียบบนต้นตอมะนาวพวง รากมะนาวพวงหากินเก่งทำให้ต้นเจริญเติบโตไว) ที่ไม่ส่งเสริมให้ปลูกโดยการใช้กิ่งตอนเนื่องจากเมื่อต้นใหญ่ขึ้นมีโอกาสโค่นล้มได้ง่าย วิธีการเสียบยอดมะกรูดควรใช้วิธีการเสียบแบบผ่าลิ่ม ต้นตอจะใช้กิ่งมะนาวพวงโดยเลือกกิ่งที่มีลักษณะกลางแก่กลางอ่อนที่มีขนาดต้นประมาณแท่งดินสอ (วิธีสังเกตต้นตอที่ดีเปลือกผิวจะมีลายที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลายนกคุ้ม" จะดีมาก) สำหรับยอดพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาเสียบควรเลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์และใบสวย ขนาดของยอดที่ตัดมาเสียบให้มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร และขนาดของยอดควรใหญ่ใกล้เคียงกับต้นตอ ข้อดีของการปลูกต้นมะกรูดที่ได้จากการเสียบยอดแบบผ่าลิ่มคือ ระบบรากจะดีมาก เมื่อแผลจากการเสียบประสานเชื่อมติดสนิทจะเหมือนกับต้นเพาะเมล็ด ต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วมาก

ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะกรูดได้ 400 ต้น โดยใช้พื้นที่ปลูก 2 x 2 เมตร และแซมด้วยการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อช่วยเป็นร่มเงาในปีแรก เมื่อต้นมะกรูดมีอายุได้ 1 ปีเต็ม เราจะได้กล้วยต้นละ 1 เครือ เป็นรายได้เสริม ให้โค่นต้นกล้วยทิ้งเมื่อต้นมะกรูดมีอายุเข้าปีที่ 3 เริ่มตัดใบมะกรูดขายได้ทุกๆ 3 เดือน เมื่อคิดเป็นเงินจากการขายใบมะกรูด 70 บาท ต่อ 1 ต้น ต่อรุ่น จะได้เงิน 28,000 บาท (ใน 1 ปี จะมีรายได้จากการขายใบมะกรูดถึง 112,000 บาท ต่อไร่) ....พูดถึงรายได้..อย่าเพิ่งฝันเพลินนะครับ เพราะยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย

สภาพพื้นที่ปลูกควรเลือกสภาพดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดีและเตรียมแปลงแบบลูกฟูกเพื่อช่วยการระบายน้ำ จุดสำคัญที่สุดของการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ (ถ้าแหล่งน้ำไม่สมบูรณ์อาจจะตัดใบมะกรูดได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น)สำหรับพื้นที่ที่พบว่ามีลมพัดแรงจำเป็นจะต้องปลูกต้นไม้กันลม เกษตรกรควรจะปลูกต้นสนปฎิพัทธ์ ไผ่รวกหรือไผ่ชนิดอื่นๆ เป็นแนวกันลมก็ได้ หรืออาจจะปลูกกล้วยหินซึ่ง ได้มีการนำต้นพันธุ์กล้วยหินมาจากไร่ บี.เอ็น ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาปลูกรอบแปลงปลูกไม้ผล ผลปรากฏว่าต้นกล้วยหินซึ่งจัดเป็นกล้วยที่ลำต้นสูงใหญ่ใช้เป็นแนวกันลมได้อย่างดีไม่แพ้ไม้ชนิดอื่นๆ ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ว่า ควรจะปลูกกล้วยหินเป็นแนวกันลมล้อมรอบแปลงกล้วยไข่


การตลาดและการจำหน่าย :
สำหรับใบมะกรูดที่มีตำหนิโรงงานที่รับซื้อใบและผลมะกรูดก็รับซื้อทั้งหมดเพื่อจะนำไปผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหย จะมีการรับซื้อทั้งใบและผลโดยรับซื้อเป็นกิโลกรัม รูปแบบของการรับซื้อจะมีรถพร้อมคนงานไปตัดใบและผลมะกรูดถึงสวน รถปิคอัพแต่ละคันจะต้องตัดใบมะกรูดได้อย่างน้อยวันละ 500 กิโลกรัม โดยจะเริ่มลงมือประมาณ 9 โมงเช้า-ประมาณบ่าย 2 โมง จะเสร็จเรียบร้อย ขนใบมะกรูดมารวบรวมไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมส่งโรงงานและจะเก็บใบและผลมะกรูดได้ไม่เกิน 3 วัน เจ้าของสวนเพียงแต่นัดวันเวลาให้ไปตัดเท่านั้น ราคารับซื้อถึงสวนถ้าเป็นใบที่สวยจะรับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7-10 บาท ส่วนใบที่มีตำหนิหรือมีร่องรอยของการทำลายของโรคและแมลง (เช่น หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ และไร เป็นต้น) จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 3 บาท

ส่วนของผลมะกรูดจะรับซื้อทั้งหมด (แยกเฉพาะผลเน่าออก) โดยใช้วิธีการเขย่าต้น ในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3 บาท เช่นกัน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกมะกรูดในเชิงพาณิชย์ยังมีน้อยมากและยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าใบและมะกรูดมีตลาดดีกว่าพืชอีกหลายชนิด และเป็นพืชที่มีการจัดการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเหมือนพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ

แหล่งผลิตใบและผลมะกรูดที่สำคัญในปัจจุบันนี้จะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุทัยธานีเทคนิคสำคัญในการจัดการในแปลงปลูกมะกรูดมีดังนี้ จะใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกหรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้น หากมีการใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำพร้อมกันด้วย สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติกแล้ว ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้ การให้ปุ๋ย ผลจากการตัดใบมะกรูดนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเชยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม ระดับของปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ควรมีสัดส่วนประมาณ 5 : 1 : 3 หรือ 5 : 1 : 4 หรือใกล้เคียงกัน



รูป - 12 -


วิธีปักชำกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง
เตรียมดินเพาะชำโดยใช้ขี้เถ้า 1 ส่วน ดินดำ 2 ส่วน ใส่ถุงดำขนาด 4x7 นิ้ว แต่ต้องเป็นวัสดุที่แห้ง เพราะถ้าเปียกชื้นจะทำให้เกิดเสี้ยนดิน จัดหากิ่งพันธุ์มะกรูดและกิ่งพันธุ์มะนาวพวง โดยคัดเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว และต้องคัดขนาดที่ใกล้เคียงกัน ตัดกิ่งตอมะนาวพวงเป็นท่อนยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการเสียบยอด ก่อนผ่ากลางที่ปลายกิ่งด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร เฉือนกิ่งมะกรูดที่เตรียมไว้ทั้ง 2 ด้านให้เป็นลิ่ม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลต้นตอที่เตรียมไว้ เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้ผ้าพลาสติกพันจากล่างขึ้นบน ให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น นำต้นพันธุ์ไปชำในถุงดินที่เตรียมไว้ โดยรดน้ำให้ความชื้นที่พอเหมาะ สังเกตจากการบีบดูไม่ให้แฉะเกินไป ใช้ไม้แทงลงดินก่อนนำต้นพันธุ์ลงชำในถุง นำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติกไม่ต้องรดน้ำ ทิ้งไว้นาน 60 วัน รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรงเรือนอย่างน้อย 7 วัน ก็สามารถนำไปปลูกได้ตามปกติ


วิธีทาบกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง
เตรียมอุปกรณ์และวัสดุ ขุยมะพร้าวที่ร่อนด้วยตะแกรง เพื่อนำใยมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะขุยมะพร้าว นำไปใส่ถุงพลาสติกใส (ถุงใส่ของร้อน) ขนาด 3 x 5 นิ้ว ก่อนที่จะจัดหากิ่งมะนาวพวง โดยใช้กิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากกิ่งมีลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว นำมาตัดเฉียงควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการปักชำ ความยาวของกิ่งประมาณ 4-5 นิ้ว จุ่มโคนกิ่งด้วยน้ำฮอร์โมนเร่งรากที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะชำลงในถุงขุยมะพร้าวที่มีความชื้นพอประมาณ ทดสอบด้วยการทำให้ขุยมะพร้าวเป็นก้อน แต่ไม่ถึงกับมีน้ำไหลออกตามง่ามนิ้วมือ ผูกปากถุงด้วยเชือกพลาสติก คัดกิ่งมะกรูดเป็นกิ่งพันธุ์ เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่มีโรค มีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ ปาดเฉียงขึ้นบนกิ่งมะกรูดที่ได้เลือกไว้ด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร เฉือนต้นตอมะนาวพวงที่เตรียมไว้ให้เป็นปากฉลาม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ เสียบต้นตอลงในแผลของกิ่งพันธุ์ดี ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้พลาสติกพันจากล่างขึ้นบนให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 45 วัน ต้นตอจะใช้อาหารและน้ำจากต้นของกิ่งพันธุ์ จนเกิดรากเต็มถุง ตัดออกมาใส่ถุงดำ อบไว้ในตู้อบพลาสติกประมาณ 20 วัน จึงนำออกมาไว้ข้างนอกจนกว่ารากจะออกมาให้เห็นนอกถุง ทรงต้นจะสมบูรณ์ ใช้เวลาประมาณเดือนกว่าสามารถจำหน่ายได้ ผลผลิตที่ได้คุ้มค่า คือ ปลูกในระยะชิด 2 x 2 เมตร ไร่ละ 400 ต้น

หลังปลูก 9 เดือน ผลผลิตไม่เกิน 100 กิโลกรัม จะสามารถตัดใบได้ 3 เดือนต่อครั้ง ตัดครั้งที่ 6 ขึ้นไป ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งถ้าอายุ 3-4 ปีขึ้นไป จะสามารถตัดใบจำหน่ายได้ต้นละประมาณ 100 บาท ในส่วนของราคา ประมาณ 8 บาท/กก.

การนำไปปลูกต้องรู้ถึงเคล็ดลับการปลูก คือ จะต้องให้หน้าใบหันไปทางแสงแดด ถ้าหันหลังใบจะทำให้ลำต้นบิดไส้ลำต้นแตกต้นจะแคระแกรน ไม่ยอมโต ราคาจำหน่ายที่เรือนเพาะชำต้นละ 25 บาท ถ้าให้ไปปลูกให้ก็ขอเพิ่มอีกต้นละ 5 บาท

การปลูกต้นมะกรูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตใบแล้วควรปลูกในระยะชิดโดยเลือกกิ่งที่ทำมุมในแนวตั้งฉากเพื่อให้ได้ผลผลิตของจำนวนใบที่มากกว่าและขนาดใบที่ใหญ่กว่า โดยที่แต่ละรอบของการผลิตใช้ระยะเวลาตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงเก็บเกี่ยวแล้วไม่เกิน 40 วัน เมื่อเป็นดังนี้แต่ละต้นใน 1 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวใบมะกรูดได้ถึง 9 ครั้ง แต่ถ้าหากสามารถร่นระยะเวลาเหลือเพียง 30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี การเลือกกิ่งที่อยู่ในแนวตั้งตรงซึ่งจะได้ขนาดของกิ่งและใบที่ใหญ่กว่า ไม่ควรใช้กิ่งในแนวนอน อายุของกิ่งและใบที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 33 – 40 วันภายหลังการตัดแต่ง


แหล่งข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/02/2013 5:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

COMMENT :

1) ".....เรื่องนี้ผมค้นเจอในเว็ปของกรมวิชาการเกษตร ขอคัดลอกมานำเสนอครับ..."
ตอบ :
จากลิงค์อ้างอิงด้านล่าง ดูดูแล้ว ไม่น่าจะเป็นเว็ปของกรมวิชาการเกษตรนะ



2) "....- ข้อมูลสูตรให้ปุ๋ยนี้ ผมคัดลอกจากเอกสารของกรมวิชาการเกษตร ผิด – ถูก อย่างไรลุงคิมกรุณา Comment ด้วยนะครับ....."
ตอบ :
MAKE SURE หน่อยเป็นไร ยก LINK ที่อ้างถึงนั้นมาวางไว้ที่นี่เลย.....ไม่งั้นจะกลายเป็นพาดพิงทำให้เขาเสื่อมเสียนะ....เรานี่แหละจะเสียหาย คนจะเสื่อมศรัทธา เพราะเราพูดแบบลอยๆ

บอกตามตรง ไม่เชื่อว่าระดับกรมวิชาการเกษตรจะอ้างถึงลุงคิมขนาดนั้น....เป็นไปไม่ได้


คลิก
http://poonitafarm.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
toodtoo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/10/2012
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 07/02/2013 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
COMMENT :

1) ".....เรื่องนี้ผมค้นเจอในเว็ปของกรมวิชาการเกษตร ขอคัดลอกมานำเสนอครับ..."
ตอบ :
จากลิงค์อ้างอิงด้านล่าง ดูดูแล้ว ไม่น่าจะเป็นเว็ปของกรมวิชาการเกษตรนะ



2) "....- ข้อมูลสูตรให้ปุ๋ยนี้ ผมคัดลอกจากเอกสารของกรมวิชาการเกษตร ผิด – ถูก อย่างไรลุงคิมกรุณา Comment ด้วยนะครับ....."
ตอบ :
MAKE SURE หน่อยเป็นไร ยก LINK ที่อ้างถึงนั้นมาวางไว้ที่นี่เลย.....ไม่งั้นจะกลายเป็นพาดพิงทำให้เขาเสื่อมเสียนะ....เรานี่แหละจะเสียหาย คนจะเสื่อมศรัทธา เพราะเราพูดแบบลอยๆ

บอกตามตรง ไม่เชื่อว่าระดับกรมวิชาการเกษตรจะอ้างถึงลุงคิมขนาดนั้น....เป็นไปไม่ได้


คลิก
http://poonitafarm.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน





.



อันที่ลุงบอกให้คลิกนี่แหละครับใช่เลย ที่พี่ทิดแดงเค้าบอกให้ผมค้นหา การจะอ้างอิงผมทำไม่เป็นน่ะครับ ได้แต่ copy ข้อมูลมา ก็เห็นมีเค้าอ้างสูตรปุ๋ยระเบิดเถิดเทิง แล้วข้างล่างบอกว่า ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร ...ก็ขอกราบขออภัยในข้อผิดพลาดด้วยครับ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/02/2013 7:27 am    ชื่อกระทู้: Re: มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระทู้นี้น่าจะแบ่ง ที่มา-ที่ไป ได้เป็น 3 ส่วน.....


toodtoo บันทึก:

สวัสดีครับลุงคิม...พี่ทิดแดง....ป้าเฉิ่ม...และสมาชิกทุกท่าน


จากการที่ผมคุยกับพี่ทิดแดงศาลายา หลังไมค์ ถึงเรื่องที่ว่า มีสมาชิกท่านหนึ่งกำลังคิดจะปลูกมะกรูดตัดใบขาย ...ความรู้ในเรื่องนี้ผมก็ไม่มีประสบการณ์ แต่อยากรู้ ทิดแดงก็แนะนำว่า ....

...เรื่องมะกรูดตัดใบขาย ให้เอ็งลองติดต่อถามไปที่...ทิดพล...บ้านอยู่ อ.ตากฟ้า นครสวรรค์ บอกว่าเป็นน้องข้า เอ็งจะได้รับข้อมูลและความสะดวกโยธินทุกประการ ....

ผมก็ติดต่อไปที่ทิดพล ตามที่ทิดแดงแนะนำ ... อยากจะบอกว่า ...สุดยอดพี่ชายเรา ทำไมมีเพื่อนมากจังวะ ....นอกจากนี้ก็ได้คำแนะนำอีกว่า ลองค้นดูในเว็ปของกรมวิชาการเกษตร เกี่ยวกับเรื่องมะกรูดตัดใบ ซึ่งเป็นเว็ปที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ....

และก็เป็นความจริง เมื่อค้นดูแล้ว มีเรื่องที่น่าทึ่งคือ กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้ใช้ ระบิดเถิดเทิง 30-10-10 และปุ๋ยธาตุรอง ธาตุเสริม กับมะกรูดตัดใบ ....

หลังจากที่ผมหาข้อมูลเจอ ผมถามทิดแดงว่า ..

...ทิดรู้ได้ยังไงว่ากรมวิชาการเกษตร เค้าแนะนำให้ใช้ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 และธาตุรองธาตุเสริมกับมะกรูดตัดใบ .....

ทิดแดงบอกว่า ...ข้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ข้าจะไปรู้ได้ยังไง เอ็งอยากรู้ก็ต้องตามลุงคิมว่า ทางกรมฯ เค้าเอาปุ๋ยลุงคิมมาอ้างได้ยังไง แต่เอ็งจงรู้ไว้ ถ้าปุ๋ยลุงคิมไม่ดีจริง กรมฯเค้าคงไม่เอามาอ้างหรอกเว๊ย ....

ผม....แล้วทำไมทิดไม่นำเสนอให้คนที่กำลังจะปลูกมะกรูดตัดใบได้รับรู้....

ทิดแดง....ข้าไม่กล้า เพราะข้าไม่มีประสบการณ์และยังไม่ได้ทำกับมือ...เอ็งก็หัดลองนำเสนอสิ่งที่คิดว่าดีๆ เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ดูมั่ง ถ้ามันไม่ดีไม่เหมาะ ลุงแกจะลบทิ้งไปเองแหละ...ลุงชอบพูดว่า อบต.ไม่ห้าม ตำรวจไม่จับ แต่ข้าเพิ่งโดนปรับไม่มีใบสั่ง เพราะตั้งด่านสิ้นเดือน

เรื่องนี้ผมค้นเจอในเว็ปของกรมวิชาการเกษตร ขอคัดลอกมานำเสนอครับ



ส่วนนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ สมช.เรา
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน


รูป - 1 ใบมะกรูด

เกษตรกรหลายพื้นที่มักประสบปัญหาการเพาะปลูกพืชไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน อีกทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่เคยร่วนซุยกลายเป็นดินเหนียวแน่น การระบายน้ำไม่ดี ที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย ไม่ว่าจะมีการใส่ปุ๋ยบำรุงพืชดีเพียงใดก็มักไม่ได้ผล พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น ทางที่ดีก่อนปลูกพืชชนิดใดก็ตามต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดินเพื่อให้เหมาะสำหรับการงอกของเมล็ด การปลูกพืชและการเจริญเติบโตของพืช เช่น การไถ การย่อยดิน และการกำจัดวัชพืช ซึ่งหลากหลายปัญหา

วันนี้ผมจะนำการปลูกมะกรูดตัดใบมาฝากเพื่อนๆ เพราะมะกรูดนอกจากจะนำปรุงแต่งรสชาติของอาหารแล้ว ยังสามารถจะแปรรูปได้หลายอย่างรวมทั้งจะปลูกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักของเกษตรกรได้เลยทีเดียว...และมะกรูด ก็เป็นพืชที่ชอบดินที่มีการระบายน้ำที่ดีน้ำไม่ท่วมขังเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเกษตรกรก็ต้องดูแลเอาใจใส่เพื่อผลผลิตที่ดี



วิธีการปลูก (แบบทั่วๆ ไป)
สภาพพื้นที่ปลูกต้นมะกรูดต้องมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง เนื่องจากระยะปลูกมะกรูดมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นที่จะปลูก

ความกว้างของแปลงปลูก 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะปลูกห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา

การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่งซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย กิ่งพันธุ์สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ แต่ต้นพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอดจากโรคแคงเคอร์ หากโรคแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้และมีปัญหาต่อการส่งออก


มะกรูดที่นิยมปลูกแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก
สายพันธุ์ที่ 1 จะให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบและผลมีขนาดเล็ก

สายพันธุ์ที่ 2 เป็นพันธุ์ผลใหญ่และติดเป็นพวง ลักษณะของผลมีตะปุ่มตะป่ำคล้ายหูดและมีใบขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะที่จะปลูกเพื่อผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย เพื่อทำเครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด ยังมีข้อมูลบริษัทบางแห่งมีการนำเอาใบมะกรูดไปตากแห้งและบดให้ละเอียด ปั้นเป็นลูกกลอนเพื่อส่งออก บ้างก็นำเอาไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่เพื่อช่วยต้านทานโรค ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด



รูป - 2 แปลงปลูก



การปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย
ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดี หลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 เซนติเมตรก่อนที่จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาใบไม้ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุม ระยะปลูกประมาณ 1 x 1 เมตร

เทคนิคในการปลูกคือ ก่อนอื่นจะต้องรู้หน้าใบและหลังใบ ในการปลูกส่วนของหน้าใบจะต้องหันสู่ทิศตะวันออก (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางไหน หันใบไปทางนั้น) ฤดูกาลปลูกแนะนำให้ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวจะดีที่สุด ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องโรคราเนื่องจากมีความชื้นสูง

ในการเตรียมหลุมปลูกต้นมะกรูดจะไม่รองก้นหลุมด้วยสารฆ่าแมลงในกลุ่มของสารคาร์โบฟูรานเพื่อป้องกันการทำลายจากปลวก จะใส่สารคาร์โบฟูรานหลังจากปลูกเสร็จ เพราะว่าปลวกหรือแมลงศัตรูในดินจะทำลายรากของต้นมะกรูดในช่วงผิวดินที่ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร เท่านั้น

ต้นมะกรูดจะตั้งตัวหลังจากปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยคอกเก่า (ขี้วัวเก่า) ใส่ให้กับต้นมะกรูด แต่ให้ใส่ห่างจากโคนต้นสัก 1 คืบ ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งให้ทำเปลือกถั่วเขียวมาคลุมโคนต้น อย่าให้ติดโคนต้นเช่นกัน ปุ๋ยที่ใส่ไปจะกระตุ้นการแตกยอดให้เร็วขึ้น




รูป - 3, 4 ใบมะกรูดที่สมบูรณ์



การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี


รูป - 5 กิ่งพันธุ์มะกรูด



การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะใช้ใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14


สูตรให้ปุ๋ย :
ทางราก..... ขี้วัว - แกลบดิบ - ยิบซั่ม 6 เดือน/ครั้ง.....ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิด เถิดเทิง 30-10-10 อัตรา 2 ล./ไร่/เดือน

ทางใบ...... ให้ "ไบโออิ + ยูเรีย จี. + จิ๊บเบอเรลลิน" 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังตัดยอดเก็บใบ



หมายเหตุ :
- พืชตระกูลส้มต้องการ แม็กเนเซียม-สังกะสี สูง
- ยูเรีย จี, จิ๊บเบอเรลลิน. ช่วยให้แตกยอดใหม่เร็ว
- ให้สารอาหารตามนี้แล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม เพราะมีแล้วอย่างเพียงพอสำหรับ มะกรูดตัดใบ

- ข้อมูลสูตรให้ปุ๋ยนี้ ผมคัดลอกจากเอกสารของกรมวิชาการเกษตร ผิด – ถูก อย่างไรลุงคิมกรุณา Comment ด้วยนะครับ


ส่วนนี้เป็นของเว้ปอ้างอิง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------




การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย

การดูแลรักษาหลังการปลูก ในช่วง 1-2 เดือนแรกก็เพียงแต่รดน้ำเช้าเย็นเท่านั้น และเมื่ออายุปลูกได้ 8 เดือน จึงบำรุงต้นอีกครั้ง โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ใส่รอบๆ บริเวณโคนต้น การให้น้ำก็จะลดลงเหลือเพียงวันละครั้งเดียว เมื่อต้นมะกรูดขึ้นปีที่ 2 ก็เริ่มที่จะเก็บผลผลิตตัดใบไปจำหน่ายได้เลย


รูป - 6 - กิ่งมะกรูดที่แตกใหม่จากกิ่งที่ถูกตัด


วิธีตัดใบเพื่อนำไปขาย ให้เลือกตัดกิ่งที่ยาวๆ คล้ายกับเราตัดแต่งกิ่ง เพียงแต่ต้องตัดให้ยาวไว้ ไม่ต้องตัดซอยสั้น หรือ ให้กิ่งตัดมีความยาว 50 เซนติเมตร(1 ศอกแขน) ขึ้นไป ส่วนต้นมะกรูดให้แต่งซอยสั้น ทำเพื่อเป็นการพักต้นไปเลย หลังจากนั้น นำมามัดเป็นกำๆ 1 กำ มีอยู่ 7-8 กิ่ง

เมื่อเก็บผลผลิตที่ต้องการหมด จะคงเหลือแต่ต้นมะกรูดจะพักต้นทิ้งไว้ประมาณ 4 เดือน เพื่อได้บำรุงต้นให้แตกกิ่งก้านออกมาอีก ในช่วงนี้อาจจะจ้างแรงงานมาทำแปลง ในการพรวนดินรอบๆ ต้น ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช และนำโคลนที่อยู่ในท้องร่องสวน ขึ้นมากลบบริเวณโคนต้นเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นมะกรูด หลังจากนั้น ต้นมะกรูดจะให้ผลผลิตใบได้อีกรอบ ทำหมุนเวียนกันไปจนครบทั้งหมด

การปลูกมะกรูดเชิงการค้านั้น จะมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตาและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโต ทางกิ่งใบรวมทั้งระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสมในเรื่องของการดูแลรักษาต้นมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้น ควรจะมีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันรักษาใบให้ดี โดยเฉพาะในช่วงของการแตกใบอ่อนจะพบการระบาดของหนอนชอนใบ แนะนำให้ฉีดพ่นสารโปรวาโด อัตรา 1-2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) เป็นที่ทราบกันดีว่า สารโปรวาโดเป็นสารในกลุ่มอิมิดาคลอพริดที่ใช้อัตราน้อยที่สุด และเมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตต่ำกว่าสารอิมิดาคลอพริดชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น เกษตรกรที่ปลูกต้นมะกรูดจะต้องควบคุมโรคแคงเกอร์ให้ได้ โดยภาพรวมแล้วการปลูกมะกรูดมีการดูแลรักษาที่น้อยกว่าการปลูกมะนาวและพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ



รูป - 7 - การมัดกำกิ่งมะกรูด



การเก็บเกี่ยวใบมะกรูดครั้งแรก
เมื่อปลูกไปประมาณ 4 - 6 เดือน จะเริ่มการตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60 - 80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่งแล้ว ตาจะเริ่มผลิ

จากการศึกษา การผลิตใบมะกรูดควรปฏิบัติดังนี้ กิ่งควรอยู่ในแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉาก จะให้จำนวนกิ่ง จำนวนใบต่อกิ่งและขนาดใบที่ใหญ่ ระดับของการตัดแต่ง ไม่ควรตัดแต่งเกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หากตัดเหลือตอกิ่งมีผลทำให้การผลิตายืดเวลาออกไป ขนาดของกิ่งที่เหมาะสม ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร.

การบังคับการออกดอก หากปลูกให้ออกดอกตามธรรมชาติแล้ว ก็จะได้ดอกในช่วงฤดูหนาว อายุผลยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าจะใกล้เคียงกับมะนาว คือจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการตัดปลายยอดพบว่าสามารถชักนำให้ต้นมะกรูดมีการออกดอกได้ดีมาก โดย ต้นมะกรูดเริ่มออกดอกภายหลังการตัดยอด ประมาณ 90 วัน และมีดอกมากที่สุดในช่วงระหว่าง 100-120 วัน


แนะนำให้เกษตรกรที่จะปลูกมะกรูดในพื้นที่ 1 ไร่



รูป - 8


รูป - 9


รูป -10


รูป - 11

ให้ปลูกด้วยการใช้ต้นมะกรูดเสียบยอดและควรใช้พันธุ์ที่มีขนาดใบใหญ่และผลตะปุ่มตะป่ำ (เสียบบนต้นตอมะนาวพวง รากมะนาวพวงหากินเก่งทำให้ต้นเจริญเติบโตไว) ที่ไม่ส่งเสริมให้ปลูกโดยการใช้กิ่งตอนเนื่องจากเมื่อต้นใหญ่ขึ้นมีโอกาสโค่นล้มได้ง่าย วิธีการเสียบยอดมะกรูดควรใช้วิธีการเสียบแบบผ่าลิ่ม ต้นตอจะใช้กิ่งมะนาวพวงโดยเลือกกิ่งที่มีลักษณะกลางแก่กลางอ่อนที่มีขนาดต้นประมาณแท่งดินสอ (วิธีสังเกตต้นตอที่ดีเปลือกผิวจะมีลายที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลายนกคุ้ม" จะดีมาก) สำหรับยอดพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาเสียบควรเลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์และใบสวย ขนาดของยอดที่ตัดมาเสียบให้มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร และขนาดของยอดควรใหญ่ใกล้เคียงกับต้นตอ ข้อดีของการปลูกต้นมะกรูดที่ได้จากการเสียบยอดแบบผ่าลิ่มคือ ระบบรากจะดีมาก เมื่อแผลจากการเสียบประสานเชื่อมติดสนิทจะเหมือนกับต้นเพาะเมล็ด ต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วมาก

ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะกรูดได้ 400 ต้น โดยใช้พื้นที่ปลูก 2 x 2 เมตร และแซมด้วยการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อช่วยเป็นร่มเงาในปีแรก เมื่อต้นมะกรูดมีอายุได้ 1 ปีเต็ม เราจะได้กล้วยต้นละ 1 เครือ เป็นรายได้เสริม ให้โค่นต้นกล้วยทิ้งเมื่อต้นมะกรูดมีอายุเข้าปีที่ 3 เริ่มตัดใบมะกรูดขายได้ทุกๆ 3 เดือน เมื่อคิดเป็นเงินจากการขายใบมะกรูด 70 บาท ต่อ 1 ต้น ต่อรุ่น จะได้เงิน 28,000 บาท (ใน 1 ปี จะมีรายได้จากการขายใบมะกรูดถึง 112,000 บาท ต่อไร่) ....พูดถึงรายได้..อย่าเพิ่งฝันเพลินนะครับ เพราะยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย

สภาพพื้นที่ปลูกควรเลือกสภาพดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดีและเตรียมแปลงแบบลูกฟูกเพื่อช่วยการระบายน้ำ จุดสำคัญที่สุดของการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ (ถ้าแหล่งน้ำไม่สมบูรณ์อาจจะตัดใบมะกรูดได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น)สำหรับพื้นที่ที่พบว่ามีลมพัดแรงจำเป็นจะต้องปลูกต้นไม้กันลม เกษตรกรควรจะปลูกต้นสนปฎิพัทธ์ ไผ่รวกหรือไผ่ชนิดอื่นๆ เป็นแนวกันลมก็ได้ หรืออาจจะปลูกกล้วยหินซึ่ง ได้มีการนำต้นพันธุ์กล้วยหินมาจากไร่ บี.เอ็น ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาปลูกรอบแปลงปลูกไม้ผล ผลปรากฏว่าต้นกล้วยหินซึ่งจัดเป็นกล้วยที่ลำต้นสูงใหญ่ใช้เป็นแนวกันลมได้อย่างดีไม่แพ้ไม้ชนิดอื่นๆ ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ว่า ควรจะปลูกกล้วยหินเป็นแนวกันลมล้อมรอบแปลงกล้วยไข่


การตลาดและการจำหน่าย :
สำหรับใบมะกรูดที่มีตำหนิโรงงานที่รับซื้อใบและผลมะกรูดก็รับซื้อทั้งหมดเพื่อจะนำไปผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหย จะมีการรับซื้อทั้งใบและผลโดยรับซื้อเป็นกิโลกรัม รูปแบบของการรับซื้อจะมีรถพร้อมคนงานไปตัดใบและผลมะกรูดถึงสวน รถปิคอัพแต่ละคันจะต้องตัดใบมะกรูดได้อย่างน้อยวันละ 500 กิโลกรัม โดยจะเริ่มลงมือประมาณ 9 โมงเช้า-ประมาณบ่าย 2 โมง จะเสร็จเรียบร้อย ขนใบมะกรูดมารวบรวมไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมส่งโรงงานและจะเก็บใบและผลมะกรูดได้ไม่เกิน 3 วัน เจ้าของสวนเพียงแต่นัดวันเวลาให้ไปตัดเท่านั้น ราคารับซื้อถึงสวนถ้าเป็นใบที่สวยจะรับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7-10 บาท ส่วนใบที่มีตำหนิหรือมีร่องรอยของการทำลายของโรคและแมลง (เช่น หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ และไร เป็นต้น) จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 3 บาท

ส่วนของผลมะกรูดจะรับซื้อทั้งหมด (แยกเฉพาะผลเน่าออก) โดยใช้วิธีการเขย่าต้น ในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3 บาท เช่นกัน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกมะกรูดในเชิงพาณิชย์ยังมีน้อยมากและยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าใบและมะกรูดมีตลาดดีกว่าพืชอีกหลายชนิด และเป็นพืชที่มีการจัดการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเหมือนพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ

แหล่งผลิตใบและผลมะกรูดที่สำคัญในปัจจุบันนี้จะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุทัยธานีเทคนิคสำคัญในการจัดการในแปลงปลูกมะกรูดมีดังนี้ จะใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกหรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้น หากมีการใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำพร้อมกันด้วย สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติกแล้ว ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้ การให้ปุ๋ย ผลจากการตัดใบมะกรูดนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเชยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม ระดับของปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ควรมีสัดส่วนประมาณ 5 : 1 : 3 หรือ 5 : 1 : 4 หรือใกล้เคียงกัน



รูป - 12 -


วิธีปักชำกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง
เตรียมดินเพาะชำโดยใช้ขี้เถ้า 1 ส่วน ดินดำ 2 ส่วน ใส่ถุงดำขนาด 4x7 นิ้ว แต่ต้องเป็นวัสดุที่แห้ง เพราะถ้าเปียกชื้นจะทำให้เกิดเสี้ยนดิน จัดหากิ่งพันธุ์มะกรูดและกิ่งพันธุ์มะนาวพวง โดยคัดเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว และต้องคัดขนาดที่ใกล้เคียงกัน ตัดกิ่งตอมะนาวพวงเป็นท่อนยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการเสียบยอด ก่อนผ่ากลางที่ปลายกิ่งด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร เฉือนกิ่งมะกรูดที่เตรียมไว้ทั้ง 2 ด้านให้เป็นลิ่ม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลต้นตอที่เตรียมไว้ เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้ผ้าพลาสติกพันจากล่างขึ้นบน ให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น นำต้นพันธุ์ไปชำในถุงดินที่เตรียมไว้ โดยรดน้ำให้ความชื้นที่พอเหมาะ สังเกตจากการบีบดูไม่ให้แฉะเกินไป ใช้ไม้แทงลงดินก่อนนำต้นพันธุ์ลงชำในถุง นำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติกไม่ต้องรดน้ำ ทิ้งไว้นาน 60 วัน รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรงเรือนอย่างน้อย 7 วัน ก็สามารถนำไปปลูกได้ตามปกติ


วิธีทาบกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง
เตรียมอุปกรณ์และวัสดุ ขุยมะพร้าวที่ร่อนด้วยตะแกรง เพื่อนำใยมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะขุยมะพร้าว นำไปใส่ถุงพลาสติกใส (ถุงใส่ของร้อน) ขนาด 3 x 5 นิ้ว ก่อนที่จะจัดหากิ่งมะนาวพวง โดยใช้กิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากกิ่งมีลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว นำมาตัดเฉียงควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการปักชำ ความยาวของกิ่งประมาณ 4-5 นิ้ว จุ่มโคนกิ่งด้วยน้ำฮอร์โมนเร่งรากที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะชำลงในถุงขุยมะพร้าวที่มีความชื้นพอประมาณ ทดสอบด้วยการทำให้ขุยมะพร้าวเป็นก้อน แต่ไม่ถึงกับมีน้ำไหลออกตามง่ามนิ้วมือ ผูกปากถุงด้วยเชือกพลาสติก คัดกิ่งมะกรูดเป็นกิ่งพันธุ์ เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่มีโรค มีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ ปาดเฉียงขึ้นบนกิ่งมะกรูดที่ได้เลือกไว้ด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร เฉือนต้นตอมะนาวพวงที่เตรียมไว้ให้เป็นปากฉลาม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ เสียบต้นตอลงในแผลของกิ่งพันธุ์ดี ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้พลาสติกพันจากล่างขึ้นบนให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 45 วัน ต้นตอจะใช้อาหารและน้ำจากต้นของกิ่งพันธุ์ จนเกิดรากเต็มถุง ตัดออกมาใส่ถุงดำ อบไว้ในตู้อบพลาสติกประมาณ 20 วัน จึงนำออกมาไว้ข้างนอกจนกว่ารากจะออกมาให้เห็นนอกถุง ทรงต้นจะสมบูรณ์ ใช้เวลาประมาณเดือนกว่าสามารถจำหน่ายได้ ผลผลิตที่ได้คุ้มค่า คือ ปลูกในระยะชิด 2 x 2 เมตร ไร่ละ 400 ต้น

หลังปลูก 9 เดือน ผลผลิตไม่เกิน 100 กิโลกรัม จะสามารถตัดใบได้ 3 เดือนต่อครั้ง ตัดครั้งที่ 6 ขึ้นไป ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งถ้าอายุ 3-4 ปีขึ้นไป จะสามารถตัดใบจำหน่ายได้ต้นละประมาณ 100 บาท ในส่วนของราคา ประมาณ 8 บาท/กก.

การนำไปปลูกต้องรู้ถึงเคล็ดลับการปลูก คือ จะต้องให้หน้าใบหันไปทางแสงแดด ถ้าหันหลังใบจะทำให้ลำต้นบิดไส้ลำต้นแตกต้นจะแคระแกรน ไม่ยอมโต ราคาจำหน่ายที่เรือนเพาะชำต้นละ 25 บาท ถ้าให้ไปปลูกให้ก็ขอเพิ่มอีกต้นละ 5 บาท

การปลูกต้นมะกรูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตใบแล้วควรปลูกในระยะชิดโดยเลือกกิ่งที่ทำมุมในแนวตั้งฉากเพื่อให้ได้ผลผลิตของจำนวนใบที่มากกว่าและขนาดใบที่ใหญ่กว่า โดยที่แต่ละรอบของการผลิตใช้ระยะเวลาตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงเก็บเกี่ยวแล้วไม่เกิน 40 วัน เมื่อเป็นดังนี้แต่ละต้นใน 1 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวใบมะกรูดได้ถึง 9 ครั้ง แต่ถ้าหากสามารถร่นระยะเวลาเหลือเพียง 30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี การเลือกกิ่งที่อยู่ในแนวตั้งตรงซึ่งจะได้ขนาดของกิ่งและใบที่ใหญ่กว่า ไม่ควรใช้กิ่งในแนวนอน อายุของกิ่งและใบที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 33 – 40 วันภายหลังการตัดแต่ง


ส่วนนี้เป็นของกรมวิชาการเกษตร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แหล่งข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร
.




สรุป :
ทุกฝ่าย ทุกคน ต่างมีเจตนาดีต่อสังคม (เกษตร) ส่วนรวม เหมือนกัน
การระบุว่า ข้อมูลส่วนไหน-มาจากไหน เพื่อให้ สมช.เกิดความเชื่อมั่นในข้อมูล
และ สำคัญสุด ที่นี่ "ไม่มีโจรปล้นความคิด" .... ที่นี่ มีแต่ "เครดิต" ซึ่งกันและกัน ยังไงล่ะ

ลุงคิมครับผม

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/02/2013 5:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


อย่าดูถูก "ใบมะกรูด".... สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างตลาด ครบวงจร
มีคนทำได้ ใครก็ทำได้ ยกเว้นเรา.....ยังงั้นเหรอ ?

-------------------------------------------------------------





เครื่องต้มยำไทย อบแห้ง ถูกใจต่างชาติ








จากการเดินไปต่างประเทศมาหลายครั้ง ทำให้ "มีชัย เมธเมาลี" เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหาร "ตรามีชัย" พบว่าอาหารไทยเป็นที่นิยมของชนชาติต่างๆ ทั่วโลก แต่กระนั้นยังพบอีกว่าบรรดาร้านอาหารจำนวนไม้น้อยทีเดียวที่ปรุงอาหารไทยที่มีรสชาติเพี้ยนต้นตำรับเดิม โดยเฉพาะอาหารยอดนิยมอย่าง "ต้มยำ" ทำให้มีชัยตัดสินใจผลิตเครื่องปรุงอาหารไทย 14 ชนิด เพื่อส่งออกไปต่างแดน ปรากฏว่า "เครื่องปรุงต้มยำอบแห้ง" ได้รับความนิยมมากที่สุด

มีชัยบอกว่า เดิมทีมีงานประจำในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่ใช้เวลาว่างส่วนหนึ่งจากงานประจำมาผลิตหมูยอ แหนม และระหว่างทำงานได้มีโอกาสไปต่างประเทศมาหลายประเทศด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเทศจะมีร้านอาหารไทยเปิดจำนวนมาก แต่พอเข้าไปใช้บริการพบว่าอาหารไทยในบางประเทศมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นกิจการของคนชาติอื่น อาทิ เวียดนาม แม้แต่กัมพูชา จึงทำให้รสชาติของอาหารที่ปรุงออกมาไม่เข้มข้น เหมือนกับอาหารไทยแท้ โดยเฉพาะต้มยำ แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ แม้แต่ส้มตำ เป็นต้น

สำหรับอาหารไทยที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ มีชัยบอกว่า มีอยู่ 10 อย่างอันดับแรก ผัดไทย แกงเขียวหวานไก่ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง ต้มยำไก่ พะแนงเนื้อ หมูสะเต๊ะ ส้มตำ ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และเปาะเปี๊ยะทอด แต่บางประเทศอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ จะชอบต้มยำกุ้งมากกว่า เขาจึงตัดสินใจทำผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงอาหารไทยอบแห้งขึ้นมา ในนามบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารมีชัย จำกัด เพราะที่บ้านในซอยรามคำแหง 36/ 1 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ทำอาหารจำพวกหมูยออยู่แล้ว พร้อมกันนั้นได้ทำตลาดในต่างประเทศมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 14 รายการ อาทิ เครื่องปรุงต้มยำอบแห้ง ต้มข่าไก่ แกงเขียวหวาน หมูยอ ไก่ยอ รวมถึงน้ำพริกชนิดต่างๆ ทั้ง ตาแดง ปลาร้า น้ำพริกนรก ปรากฏว่าเครื่องปรุงต้มยำขายดีที่สุด

"ตอนแรกผมคิดว่าน้ำพริกน่าจะขายดีที่สุด เพราะมีหลายประเทศมีคนไทยอาศัยอยู่ คิดว่าจะนึกถึงน้ำพริก เพราะบ้านเรานิยมน้ำพริกกัน รวมถึงแรงงานไทยในต่างประเทศด้วย แต่ผลิตออกมากลายเป็นว่าตลาดต้องการเครื่องต้มยำมากที่สุด จึงผลิตเครื่องปรุงต้มยำอบแห้งบรรจุกล่องขายกล่องละ 55 บาท เน้นตลาดต่างประเทศเป็นหลัก 80% ปัจจุบันส่งออกไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และจีน ซึ่งแต่ละเดือนจะผลิตกว่า 1 แสนกล่อง ในจำนวนนี้เครื่องปรุงต้มยำอบแห้ง 6-7 หมื่นกล่อง จนบางครั้งเราผลิตไม่ทัน" มีชัย กล่าว

ส่วนตลาดในประเทศเจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารตรามีชัยบอกว่า จะวางขายเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา จ.ชลบุรี รวมถึงหาดใหญ่ จ.สงขลา แต่ก็ยังเน้นที่กลุ่มลูกค้าต่างประเทศมาอยู่ในเมืองไทย ซึ่งทำต้มยำไม่เป็นมากกว่า

เครื่องปรุงต้มยำตรามีชัยนับเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบผลสำเร็จจนสามารถส่งออกไปยังต่างแดนได้ หากสนรายละเอียดสามารถสอบถามได้ที่ โทร.0-2732-3700


เครื่องปรุง 1 ถุงปรุงได้ 1 ถ้วย
ภายในกล่องเครื่องปรุงต้มยำอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปตรามีชัย 1 กล่องมีเครื่องปรุง 4 ถุง ประกอบด้วย ถุงสำหรับเครื่องต้มยำจำพวกข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริกขี้หนู ถุงเครื่องปรุงรสที่เป็นน้ำมะขามเปียก น้ำปลา และพริกขี้หนูบดเล็กน้อย ถุงกะทิผง สำหรับผู้ที่ชอบต้มยำน้ำข้น และถุงน้ำพริกเผา เพราะต้มยำน้ำข้นต้องใส่น้ำพริกเผาด้วย เครื่องปรุงต้มยำอบแห้ง 1 ถุง สามารถปรุงเป็นต้มยำได้ 1 ถ้วย โดยการใส่น้ำเปล่าสะอาด 500 มล.หรือครึ่งลิตร จะทำให้รสชาติกลมกล่อมพอดี

วิธีการทำ มีชัยบอกว่า จะทำน้ำปรุงรสก่อน โดยมีส่วนประกอบคือน้ำปลา 2 ช้อนโต๊ น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊จะไม่ใช้น้ำมะนาวอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเวลาปรุงแล้ว เมื่อถูกความร้อนกลิ่นมะนาวจะหมดไป และพริกขี้หนูพอประมาณ สุดแต่จะให้เผ็ดมากหรือน้อย

วิธีทำคือบดพริกขี้หนูให้ละเอียด จากนั้นนำน้ำปลาใส่หม้อต้ม เทน้ำมะขาม และใส่พริกขี้หนู ต้มให้เดือดนานราว 10 นาที ยกขึ้นให้อุ่นจึงบรรจุถุง

ส่วนเครื่องต้มยำที่เป็นสมุนไพรจำพวกข่า ตะไคร้ พริกขี้หนู และใบมะกรูดนั้น จะหั่นข่าและตะไคร้เป็นแว่นๆ นำใบมะกรูด พริกขี้หนูที่ล้างสะอาดใส่ถาดเข้าตู้อบใช้เวลา 2 ชั่วโมงจึงนำใบมะกรูดออก พอครบ 4 ชั่วโมงเอาข่ากับตะไคร้ออกมา ส่วนพริกขี้หนูต้องอบถึง 8 ชั่วโมง เพื่อให้แห้งสนิท ป้องกันการขึ้นรา

เมื่อทุกอย่างอบแห้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นำข่า ตะไคร้ที่อบแห้งแล้ว 10-12 ชิ้น ใบมะกรูด 5-6 ใบ พริกขี้หนู 7 เม็ด เข้าบรรจุถุง ก่อนบรรจุกล่องเป็นขั้นตอนสุดท้าย



http://www.komchadluek.net/detail/20120630/133989/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/05/2013 3:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 23/05/2013 2:19 pm    ชื่อกระทู้: สะกิด ยัยเฉิ่ม มะกรูดเก็บลูก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม เจ้าตุ๊ดตู่ ยัยเฉิ่ม และสมช.ทุกท่าน

เห็นเจ้าตุ๊ดตู่ลงเรื่องนี้ไว้นานหลายเพลาแล้ว ยัยเฉิ่มก็ดูเงียบ ๆ ไป

พอดีวันนี้ไปงานแต่งงานลูกเพื่อน ไปเจอมะกรูดเข้าต้นนึง โดนน้ำท่วมไม่ยักตาย ของผมตายเรียบ เลยมาคิดว่า ต้นนี้มันคงจะทนทาน แถมใบใหญ่ งามเขียวดี ลูกดกเต็มต้น ก็เลยบอกว่า จะมาขอตอนกิ่ง ก็ไม่ได้บอกว่ากี่กิ่ง แต่ลงผมจะตอนแล้ว กิ่งเดียวคงไม่เสียเวลามาตอน ....เจ้าของ (เพื่อนกัน) อนุญาตแล้ว สบายตูละงานนี้



รูป 1



รูป 2



รูป 3



รูป 4


รูป 1 - 4 ทั้งใบและลูก ใบใหญ่ ลูกดกดีอย่าบอกใครเลย





รูป 5



รูป 6



รูป 7

รูป 5 - 7 เป็นรูป ลูกมะอึก ครับ ขูดขนออกให้หมด ล้างให้สะอาด ซอยชิ้นเล็ก ๆ ใส่น้ำพริกกะปิ ว๊าว .....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©