-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 17 APR*เร่งแก่มะนาว,มะลิดอกใหญ่,ถั่วแระญี่ปุ่น
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สาหร่าย vs ผงชูรส ต่อการออกดอกของลำไย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สาหร่าย vs ผงชูรส ต่อการออกดอกของลำไย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
BooZagass
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/12/2011
ตอบ: 22

ตอบตอบ: 24/10/2012 2:18 pm    ชื่อกระทู้: สาหร่าย vs ผงชูรส ต่อการออกดอกของลำไย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาหร่าย คือ จุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีราก ลำต้น ใบ แต่สามารถตรึงไนโตรเจนในน้ำไว้เพื่อการเจริญเติบโต สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ สาหร่ายมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตอยู่น้อยมาก แต่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากมาก แต่เราจะได้วิตามินและแร่ธาตุจากสาหร่ายเป็นจำนวนมาก เราจึงนำสาหร่ายมาทำเป็นอาหาร ปุ๋ย และยารักษาโรค


ผงชูรส คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่สกัดมาได้จากสาหร่ายญี่ปุ่น มีรสชาติคล้ายน้ำซุปสาหร่าย เราจึงนำผงชูรสมาทำอาหารให้มีรสชาติขึ้นนั้นเอง หลังๆ มานี้เราได้นำผงชูรสมาทำปุ๋ยน้ำด้วย เพราะผงชูรสเป็นกรดอะมิโนที่สกัดได้จากสาหร่าย เอามาผสมฮอร์โมนไข่เพื่อการเร่งดอก สะสมอาหาร รักษาความเขียวสดของพริก


สาเหตุของการที่สาหร่ายทำให้ลำไยออกดอกนั้น สืบเนื่องมาจากฮอร์โมนที่ชื่อว่า "ไซโตไคนิน" ในสาหร่ายนั้นเอง ที่ไปเร่งการสร้างตาใบและตาดอก ให้มีมากขึ้น และไปยับยั้งการเจริญเติบโตของลำไย (ไปดูดไนโตเจนจากการสังเคราะห์แสงของใบลำไยไปใช้) ทำให้จิ๊บเบอเรลลินลดปริมาณลง พอพ่นหลายครั้งเข้าก็ทำให้เกิดการแทงช่อดอกขึ้นมา แต่จะให้ผลดีก็ต่อเมื่อ พ่นสาหร่ายละลายน้ำเย็น เพราะว่าปริมาณออกซิเจนในน้ำเย็นจะมีมากกว่าน้ำปกติ ทำให้พืชสร้างฮอร์โมน "ออกซิน" ไปช่วยการสร้างไซโตไนนินอีกที เมื่อไซโตไคนินมากขึ้น ปริมาณจิ๊บเบอเรลลินลดลง ทำให้พืชสร้างฮอร์โมน "ฟอริเจน" เพื่อรักษาสมดุล เกิดเป็นช่อดอกให้เราเห็น....


ปริมาณ C/N ratio มีความสำคัญมากๆ ต่อการออกดอกของพืช ถ้าผมเปรียบผู้หญิงที่กินเนื้อ นม ไข่ กับผู้หญิงที่กินแต่ผัก ผลไม้ ผมถามว่า ผู้หญิงคนไหนจะออกลูกง่ายกว่ากัน ผมคงตอบว่าผู้หญิงที่กินเนื้อ นม ไข่นั้นแหละ และถ้าผมเปรียบต้นลำไย เป็นรังไข่ของผู้หญิง ปุ๋ยเปิดตาดอก คือ เชื้ออสุจิของผู้ชาย รังไข่ไม่สมบูรณ์ (ไม่พร้อม) ต่อให้น้ำอสุจิดีแค่ไหนก็ไม่ท้อง ในทางกลับกันถ้ารังไข่สมบูรณ์ แต่เชื้ออสุจิไม่ดี ก็ไม่ท้องเช่นกัน ฉะนั้น ถ้าอยากให้ลำไยออกดอกเยอะๆ ก็ต้องบำรุง C ให้มากกว่า N และใช้ปุ๋ยเปิดตาดอกที่ดี จึงจะทำให้ลำไยออกดอกได้ดีและเยอะนั้นเอง



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 24/10/2012 7:33 pm    ชื่อกระทู้: ขอเติมให้เต็ม - เรื่องสาหร่าย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม และคุณ BOOZAGAS

ขอเสริมเติมให้เต็มเกี่ยวกับความรู้เรื่อง สาหร่าย


สาหร่ายคืออะไร
ถ้าถามว่าสาหร่ายคืออะไร คงจะตอบได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากสาหร่ายมีความแตกต่างกันในเรื่องของที่อยู่อาศัย ขนาดสรีระ ชีวเคมี การสืบพันธุ์ และการจัดระเบียบขึ้นมา อย่างไรก็ตามได้มีผู้ให้คำจำกัดความที่ครอบคลุมความหมายของคำว่าสาหร่ายได้ดีพอสมควร โดยคำว่า "สาหร่าย" หมายถึง พืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากประกอบด้วยเซลล์เดียว ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่ยาวเป็นเมตรประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจมีลักษณะเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูง โดยมีส่วนที่คล้ายราก ลำต้น และใบรวมเรียกว่า Thallus


เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่าย
สายพันธุ์สาหร่ายที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในทางการค้า ควรเป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารพิษ ทนทานต่ออุณหภูมิสูง ถ้าเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ก็จะง่ายต่อการเก็บเกี่ยว


เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายมี 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1. การเพาะเลี้ยง (Algal cultivation) ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อสาหร่ายในห้องควบคุม การเพาะเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่ การกวน การให้อากาศ และการใส่สารอาหาร

2. การเก็บเกี่ยว (Harvesting) โดยจะใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ตามแต่ชนิดของสาหร่าย เช่น เครื่องเหวี่ยง การตกตะกอน การกรอง

3. การทำแห้ง (Drying) โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การตากแดด (Sun-drying) ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar-drying) การอบแห้งแบบลูกกลิ้ง (Drum-drying) การอบแห้งแบบพ่นฝอย (Spray-drying) การอบแห้งแบบระเหิด (Freeze-drying)


การใช้ประโยชน์จากสาหร่าย
- ใช้เป็นอาหารมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำสาหร่ายมาใช้เป็นอาหารนานนับพันปีแล้ว เช่น ชาวจีน ญี่ปุ่น ใช้สาหร่ายสีน้ำตาล (Laminaria) และสาหร่ายสีแดง (Porphyra) หรือที่เรียกว่า จีฉ่าย มาทำอาหารพวกแกงจืด ญี่ปุ่นผสม Chlorella sp. ลงในชา ซุป น้ำผลไม้ บะหมี่ และไอศครีม สำหรับห้องปฏิบัติการสาหร่ายตามธรรมชาติ คัดแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ วิเคราะห์ปริมาณโปรตีน 40-50% ศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายในห้องควบคุมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งผลงานวิจัยมีมากมาย เช่น การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนตระดับต่าง ๆ กัน การคัดเลือกหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว Spirulina Sp. เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพันธุ์พื้นบ้านเพื่อหาปริมาณโปรตีนเปรียบเทียบกับพันธุ์ Scenedesmus acutus (Selection of Local Algal Strains Related to Protein Content Compared with Scenedesmus acutus) เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของสาหร่ายจากการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชนิด (Growth Comparison of Green Algec Cultivated in Two Different Media.)

สำหรับสาหร่ายเกลียวทอง เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในรูปของอาหารเสริมสุขภาพ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นคือ มีปริมาณโปรตีนสูงถึง 60% และเป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นกระจัดกระจายอยู่ในเซลล์อย่างได้สัดส่วน มีวิตามิน เกลือแร่ และสารให้สีธรรมชาติจำนวนมาก นอกจากนี้สาหร่ายเกลียวทองยังมีเซลล์ขนาดใหญ่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่าย ผนังเซลล์บาง จึงถูกย่อยและดูดซึมได้เร็วกว่าสาหร่ายสีเขียวซึ่งมีผนังเซลล์หนา

- ใช้เป็นอาหารสัตว์ สาหร่ายสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น หมู และสัตว์ปีกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สาหร่ายยังเป็นอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ปลา กุ้งและแพลงตอนสัตว์ เช่น ไรแดง ไรน้ำเค็ม ในประเทศญี่ปุ่นใช้สาหร่ายเกลียวทองเลี้ยงปลาไหล ปลาเทร้า กุ้ง ปลาคาร์พสี เป็นต้น ทำให้เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงามได้พัฒนาก้าวไกลออกไปมาก ผลงานวิจัย เช่น การเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. จากน้ำทิ้งแหล่งชุมชนเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ การศึกษาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของสาหร่าย Chlorella Sp. (K3) สำหรับนำไปเลี้ยงพวกไดอะตอม แพลงตอนสัตว์ (Lapadella benjamini) ที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน การนำ Chlorella Sp. ที่ได้จากการเลี้ยงในน้ำทิ้งโรงงานผลิตน้ำนมถั่วเหลืองมาเลี้ยงไรแดง ความเป็นไปได้ในการเลี้ยงหอยมุกน้ำจืด Chamberlai hainesiana ด้วยสาหร่ายชนิดต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

- ใช้ในการกำจัดน้ำเสีย การใช้สาหร่ายในการกำจัดน้ำเสียร่วมกับแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียจะทำการย่อยสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ให้เป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น แอมโมเนียม ไนเตรต คาร์บอนไดออกไซด์ และเกลือแร่ต่าง ๆ ในสภาพการเกิดที่มีอากาศ (aerobic) หรือไม่มีอากาศ (anaerobic) จากนั้นสาหร่ายจะใช้สารประกอบเหล่านี้ในกระบวนการเมตาบอลิสมต่าง ๆ สำหรับสาหร่ายที่ได้จากระบบกำจัดน้ำเสียนี้ อาจนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยพืชสด หรือใช้ในการทำแก๊สชีวภาพได้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ การศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis ที่เพาะเลี้ยงในมูลหมูผสมมูลไก่ที่มีการหมุนเวียนของสารอาหารแตกต่างกัน การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง จากน้ำทิ้งโรงงานแป้งมันสำปะหลัง การเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองจากน้ำทิ้งโรงงานน้ำอัดลม เป็นต้น



- ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue green algae) รู้จักกันแพร่หลายในแง่ของการใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในนาข้าวบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียม ทำให้ข้าวเจริญเติบโต ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ Anabaena sp. และ Nostoc sp. พันธุ์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบในประเทศและให้ผลผลิตดี มีชื่อว่า Anabaena siamensis

- ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สาหร่ายประกอบด้วยสารเคมีบางชนิดที่ช่วยในการรักษาผิวหนัง ชนเผ่า Kanembu ที่อยู่รอบทะเลสาบชาด ได้ใช้สาหร่ายเกลียวทองรักษาโรคผิวหนังบางชนิด การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า เครื่องสำอางที่ผสมสาหร่ายและสารสกัดจากสาหร่ายเกลียวทองช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นและลดริ้วรอย ส่วนในประเทศไทยก็ได้มีบริษัทหลายแห่งที่ใช้สาหร่ายเกลียวทองเป็นเครื่องสำอางในรูปครีมบำรุงผิว

- ใช้ในอุตสาหกรรมยา นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์หลายท่านได้ทดลองใช้สาหร่ายเกลียวทองในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคกระเพาะ อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดและความไม่สมดุลในร่างกาย ในประเทศฝรั่งเศส ได้ทดลองใช้ยาที่ผสมสาหร่ายเกลียวทองทาแผล ทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น ธาตุแมกนีเซียมในคลอโรฟิลล์ยังมีบทบาทอย่างสำคัญในการรักษาบาดแผล มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อป้องกันการเกิดของแบคทีเรียและช่วยสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ด้วย คลอโรฟิลล์ในสาหร่ายมีโครงสร้างเหมือนสารสีแดงในเลือด (hemo-globin) นักวิทยาศาสตร์จึงแนะนำให้ใช้คลอโรฟิลล์รักษาโรคโลหิตจาง นอกจากนี้สาหร่ายบางชนิดสารปฏิชีวนะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ ได้แก่ cyanophycin หรือ marinamycin ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ได้ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว scytonema No.11 เป็นสาหร่ายที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย แยกได้จากดินนาจังหวัดพิษณุโลก พบว่า สามารถผลิตสารปฏิชีวนะ Cyanobacterin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นทั้ง algicide และ bacteriocide ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิดได้

- ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
สาหร่ายสีแดงพวก Gelidium, Gracilaria สามารถนำไปสกัดทำเป็นวุ้น เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหาร และเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์

สาหร่ายสีน้ำตาลพวก Laminaria, Ascophyllum, Macrocystis นำไปสกัดเป็น แอลจินหรือแอลจิเนต ซึ่งนำไปใช้ในการทำนม ขนมปัง ไอศครีม ขนมหวาน ลูกกวาด สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น

ปัจจุบันห้องปฏิบัติการสาหร่ายนอกจากจะพัฒนากรรมวิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนแล้ว ยังได้นำสายพันธุ์สาหร่ายที่มีศักยภาพที่สามารถผลิตในทางการค้า เช่น Chlorella, Scenedesmusbs Spirulina, Dunaliella, Haematococcus มาศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตสารอาหารหรือสารเคมีที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งวิธีการสกัด การนำไปใช้ประโยชน์และการแปรรูปในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการสาหร่ายยังให้บริการสายพันธุ์สาหร่าย ให้คำปรึกษา แนะนำด้านการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายแก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจทั่วไปด้วย



ข้อมูลจาก www.ku.ac.th/






ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceratophyllum demersum Linn.
ชื่อวงศ์ HYDROCHARITACEAE
ชื่อสามัญ Common coontail, Coontail hornwort
ชื่อพื้นบ้าน สาหร่ายพุงชะโด, (กทม.);
(อยุธยา); สาหร่าย, (ไทย);
สาหร่ายไคว, (อยุธยา) ;
สาหร่ายหางม้า, (กทม.)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ลำต้นขนาดเล็กยาว และแตกกิ่งก้านสาขา
ใบ : ใบเป็นเส้น แตกออกรอบข้อแลดูเป็นชั้น ข้อหนึ่ง ๆ มีใบ 7 - 12 ใบ
ดอก : ดอกขนาดเล็ก แบ่งเป็นดอกตัวผู้อยู่เป็นกระจุกขาว ไม่มีกลีบ ดอกตัวเมียมองเห็นได้ไม่ชัด
ผล : ลักษณะรูปไข่ สีน้ำตาลปลายยอดมีหนามแหลม 1 อัน
เมล็ด : รูปร่างกลม มีจำนวนมาก


กลุ่มพรรณไม้น้ำ
ประเภทใต้น้ำ

แหล่งที่พบ
พบได้ตามหนองน้ำทั่วๆไปของทุกภาค

ประโยชน์และความสำคัญ
ข้อมูลจากเอกสาร : ใช้เป็นไม้ประดับในตู้ปลา เลี้ยงในบ่อน้ำให้ความสวยงาม
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ใส่ในตู้ปลาเพื่อเป็นอาหารปลา



สาหร่ายทะเล



[img]
http://image.ohozaa.com/t/7d7/anzi4h.jpg[/img]





สาหร่ายทะเลมีประโยชน์อย่างไร
รู้หรือไม่ว่าสาหร่ายทะเลมีสรรพคุณและประโยชน์ด้านสมุนไพรอย่างไร บางคนอาจจะชอบกินแต่ไม่รู้เรื่องของสรรพคุณและประโยชน์ของสาหร่ายทะเล เพราะส่วนใหญ่มักจะใช้ปรุงอาหารในหลากหลายเมนู และมักจะนำมาอบแห้งทำเป็นขนมให้เด็กๆ ได้ทานกันอีกด้วย ยิ่งถ้าเป็นสาหร่ายญี่ปุ่นแล้วเด็กจะยิ่งชอบ ซึ่งสาหร่ายญี่ปุ่นเหล่านั้นก็ทำมาจากสาหร่ายทะเลทั้งนั้น นอกจากนี้สาหร่ายทะเลยยังมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการอยู่ด้วยกันถึง 18 ชนิด ที่มีอยู่ในสรรพคุณและประโยชน์ คือ

“ไอโอดีน” โดยปกติแล้วร่างกายคนเราต้องการสารไอโอดีนประมาณ 0.1-0.3 มิลลิกรัมต่อวัน หากเทียบกับการกินสาหร่ายทะเลชนิดแผ่นที่มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร และยาว 2 เซนติเมตร แค่นี้ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันและยังช่วยป้องกันโรคคอพอกได้ด้วย

“ธาตุเหล็ก” เป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในสาหร่ายทะเล ซึ่งจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลรวมทั้งยังบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นมันเงางามและดูสลวยมากยิ่งขึ้น

“ทองแดง” มีหน้าที่ในการช่วยดูดซึมของธาตุเหล็กและสร้างฮีโมโกลบินที่ไขกระดูก หากร่างกายขาดธาตุนี้จะทำให้เป็นโรคโลหิตจางและผมร่วงง่าย
“สังกะสี” เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกายเพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งขึ้นเพื่อป้องกันโรคภัยต่างๆ

“ใยอาหาร” ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระทำให้ท้องไม่ผูกและช่วยเร่งการขับถ่ายสารพิษต่างๆ ในทางเดินอาหารได้ดี

นอกจากนี้ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบทานสาหร่ายมาก ก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะในสาหร่ายมีปริมาณของโซเดียมสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตและความดันโลหิตสูงจึงไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป

สาหร่ายทะเลถึงจะมีความอร่อยและเต็มไปด้วยประโยชน์ก็จริง แต่ก็ควรสังเกตดูร่างกายของตัวเองด้วยว่ามีโรคอะไร แพ้อะไรหรือเปล่าเพราะบางคนอาจมีอาการแพ้ในส่วนประกอบของสาหร่ายจึงควรระมัดระวังในการรับประทานให้มาก




ซูชิยำสาหร่าย
ที่ลุงคิมเคยแนะนำชนิดที่เอามาทำปุ๋ย เป็นสาหร่ายทะเล (Sea Weed) และลุงบอกว่าชนิดที่ดีที่สุดต้องเป็นสาหร่ายทะเลแถบ สแกนดิเนเวีย

ทีนี้อยากทราบว่า สาหร่ายชนิดที่คุณ BOOZAGAS เอามาทำปุ๋ยน่ะ หน้าตาเป็นอย่างไร หาได้จากที่ไหน ...ไหนๆ จะแนะนำแบ่งปันกันแล้ว บอกให้หมดเปลือกไปเลย เผื่อสมาชิกคิดอยากจะเก็บเอาทำปุ๋ยบ้างจะได้รู้จัก



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
BooZagass
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/12/2011
ตอบ: 22

ตอบตอบ: 24/10/2012 8:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จริงๆ แล้วผมไม่อยากให้ใช้สาหร่ายไปทำปุ๋ยหรอกครับ ที่พยายามสื่อ คือว่า อยากให้ใช้อย่างอื่นมากกว่า เช่น ผงชูรสก็ใช้แทนสาหร่ายได้ เบียร์ก็ใช้แทนสาหร่ายได้ แม้แต่ครีมเทียมที่ใช้ใส่กาแฟก็ใช้แทนสาหร่ายได้

1. ผงชูรสก็ทำมาจากสาหร่ายญี่ปุ่น
2. เบียร์ก็ผ่านกระบวนการหมักทำให้โมเลกุลเล็กลงเหมาะแก่การทำปุ๋ย มีธาตุอาหารและวิตามินกว่า 1,000 ชนิด
3. ครีมเทียมทำมาจากแป้งข้าวโพคที่ผ่านกระบวนการแยกโมเลกุล ทำให้โมเลกุลเล็กลงจนกลายเป็นกลูโคสชนิดที่ละลายน้ำได้ดี

4. ไซโตไคนินทำได้ง่ายมากๆ แค่เอาน้ำมะพร้าวมาผสมกับนม หมักไว้ 10-20 วันแล้ว ทดลองโดยให้เอาเมล็ดถั่ว ชูบน้ำหมักแล้วเอาไปใส่หลอดแก้ว ปิดฝาให้สนิทดูสัก 2-3 วัน จะมีรากงอกออกมาเต็มไปหมด แล้วลองเทียบกับเมล็ดถั่วที่ชุบน้ำเฉยๆ ดูว่ามันต่างกันยังไง

เอาทั้ง 4 อย่างมารวมกันคุณคิดว่า สาหร่ายสกัด (sea weed) สู้ได้ไหม....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 25/10/2012 2:46 am    ชื่อกระทู้: ผงชูรส....เบียร.....ครีมเทียม....น้ำมะพร้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ ลุงคิม และคุณ BOOZAGASS

ผมก็ไม่ใช่นักวิชาการนะ แต่ ผงชูรส เบียร์ น้ำมะพร้าว เคยใช้มานานหลายสิบปีแล้ว เพราะในการทำวุ้นเพาะกล้วยไม้ หรือในการปั่นตา* ต้องใช้เป็นส่วนผสม แล้วเฉพาะเบียร ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นที่เครื่องปลูกกล้วยไม้ มันป้องกันหอยที่มากัดรากได้อย่างดี ส่วนครีมเทียม มันมาทีหลังยังไม่เคยลอง

นอกจากนี้เคยใช้ 2-4 D ที่เป็นส่วนผสมของยาฆ่าหญ้า เอามาผสมกับปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสมฉีดกล้วยไม้และพืชอย่างอื่น มันจะเจริญเติบโตผิดตา

ส่วนสาหร่ายทะเล ลุงแกบอกเป็นส่วนผสมอยู่ใน 30-10-10 เมื่อมันเป็นจุลินทรีย์ มันก็มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตละนะ และลุงคิมพยายามเน้น อินทรีย์นำ เคมีเสริมตามความเหมาะสม

ทีนี้คุณต้องอย่าลืมว่า เกษตรกรไทยยึดติดกับของเดิมๆ การที่จะใช้ภาษาที่เป็นวิชาการกับพวกเค้า พูดไปให้ลิงหลับเปล่าๆ เค้าไม่รู้เรื่องหรอกครับ ลุงคิมถึงได้พยายามพูดให้เป็นภาษาช่าวบ้านที่ฟังเข้าใจง่ายๆ

คำว่า "ปั่นตา" ภาษาวิชาการ คือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ถ้าจะไปพูดกับเกษตรกรบางคนเค้าก็จะไม่รู้เรื่องก็มี แต่ถ้าพูดว่า ปั่นตา ชาวสวนจะเข้าใจ

กระทู้ของคุณ ดีมาก ฉะนั้น หากคุณจะนำเสนอในแนววิชาการ ก็ขอให้มีภาชาวบ้านแทรกด้วยเรื่องก็จะสมบูรณ์ เป็นประโยชน์กับสมาชิกทุกท่าน



ขอบคุณครับ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 15/04/2013 12:47 am    ชื่อกระทู้: SEAWEED COMBACK ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

กระทู้เรื่องนี้ หลับไปนาน ความจริงมีประโยชน์ เพราะลุงใช้สาหร่ายทะเลเป็นสารอาหารตัวหนึ่งในการผสมปุ๋ย คุณ suwinai ลองอ่านดู เพื่อจะได้รู้ว่า สาหร่ายทะเลที่เอามาทำปุ๋ย นอกจากที่กองคาราวานแล้ว จะหาได้จากที่ไหนอีก


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
suwinai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/04/2013
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 17/04/2013 12:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมเข้ามาอ่านแล้ว ได้ความรู้มากมาย

ขอบคุณมากครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/04/2013 9:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

BooZagass บันทึก:


1. ผงชูรสก็ทำมาจากสาหร่ายญี่ปุ่น


.


ผงชูรส ผลิตจากอะไร มีประโยชน์และโทษอย่างไร ?

ผงชูรสผลิตจากแป้งมันสำปะหลังโดยขบวนการทางเคมี ซึ่งมีทั้งกระบวนการหมักและต้องใช้สารเคมีหลายตัว เช่น กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในปัสสาวะของคน นอกจากนี้ยังต้องใช้โซดาไฟอีกด้วย

ผงชูรสไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกรดกลูตามิค ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่มีความจำเป็น เพราะร่างกายผลิตเองได้ จึงไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใดทั้งสิ้น

อนึ่ง ผงชูรสเป็นสารเคมีคนละตัวกับกรดกลูตามิคที่มีอยู่ในธรรมชาติและในอาหารประเภทโปรตีน โดยที่ผงชูรสเป็นเกลือโซเดียมเช่นเดียวกับเกลือแกง เป็นคนละตัวกับกรดเกลือที่หลั่งอยู่ในกระเพาะอาหารเวลาหิว



http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080119075220AACwDs7
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/04/2013 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

BooZagass บันทึก:


2. เบียร์ก็ผ่านกระบวนการหมักทำให้โมเลกุลเล็กลงเหมาะแก่การทำปุ๋ย มีธาตุอาหารและวิตามินกว่า 1,000 ชนิด


.


ประโยชน์ของเบียร์

5. ปลุกชีพให้กับหญ้าที่ตายแล้ว
น้ำตาลหมักในเบียร์มีคุณสมบัติกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และฆ่าเชื้อราได้
ลองพ่นเบียร์ที่ไม่มีสารเคมีเจือปนลงไปบนจุดหญ้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในสนาม
หญ้าที่ตายจะดูดซับพลังงานจากน้ำตาลหมักในเบียร์ ทำให้หญ้าคืนมาเขียวได้อีกครั้ง

(น่าลองดูกับชวนชม แต่ว่าเอาเงินไปซื้อปุ๋ยดีกว่า...ถูกกว่าเยอะ...เสียดายเบียร์อ่ะ)


http://www.dld.go.th/feedingstandard/index.php/community-of-practice/77-2010-07-10-23-56-44/291-2010-07-02-09-34-05
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©