-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4 ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/12/2012 9:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง

48. พันธุ์ข้าว เหลืองประทิว 123 (Leuang Pratew 123)
49. พันธุ์ข้าว เหลืองใหญ่ 148 (Leuang Yai 148)
50. พันธุ์ข้าว เข็มทองพัทลุง (Khem Tawng Phatthalung)

51. พันธุ์ข้าว ข้าวหลวงสันป่าตอง (Khao' Luang San-pah-tawng)
52. พันธุ์ข้าว แก่นจันทร์ (Gaen Jan)
53. พันธุ์ข้าว เจ๊กเชย 1 (Jek Chuey 1)
54. พันธุ์ข้าว ขาวกอเดียว 35
55. พันธุ์ข้าว ช่อลุง 97

56. มาตรการการปลูกข้าวแดงและข้าวต่างสี
57. พันธุ์ข้าว ไข่มดริ้น 3
58. ข้าวพันธุ์ใหม่ กข41, กข43 ต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
59. ข้าวพันธุ์ ซีพี 304 (CP 304)
60. ข้าวพันธุ์ กขผ1

61. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข29 (ชัยนาท 80)
62. ข้าวพันธุ์ กข31 (ปทุมธานี 80)
63. พันธุ์ข้าว กข33 - RD47 (หอมอุบล 80)
64. ข้าวพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 (Khao’ Jow Hawm Khlong Luang 1)
65. ข้าวพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao Jow Hawm Phitsanulok 1)

66. กรมการข้าว “เร่งส่งเสริมพันธุ์ใหม่ กข.49"
67. ข้าวพันธุ์ ขาวบ้านนา 432
68. พันธุ์ข้าว กข47 (RD47)
69. ตัวอย่าง...ป้องกันเพลี้ยกระโดด ได้อย่างชะงัด
70. ดอกข้าว

71. ข้าวพันธุ์ ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)
72. ประเสริฐ อัครศิริกาญจนะ “ทำนาแบบผม ไม่จนหรอก”


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------




48.



ชื่อพันธุ์
- เหลืองประทิว 123 ( Leuang Pratew 123 )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนังงานเกษตร จากเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2498-2499
ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เหลืองประทิว 126-8-123

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2508








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและใบสีเขียว ใบกว้างและยาว คอรวงยาว
- ข้าวเปลือกสีเหลือง เมล็ดยาวเรียว
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 19 ธันวาคม
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.6 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.6 x 2.3 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 29-32 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 414 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- คุณภาพการสี ได้ข้าวสารแกร่ง เลื่อมมัน
- ปลูกในดินเปรี้ยวได้ดี ให้ผลผลิตปานกลาง
- ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้งและโรคใบหงิก

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคเขียวเตี้ย
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ
- ภาคกลาง


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=19:leuang-pratew-123-&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/01/2013 5:37 am, แก้ไขทั้งหมด 31 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/12/2012 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Leuang_Yai_148.htm


49. พันธุ์ข้าว เหลืองใหญ่ 148 (Leuang Yai 148)


ชื่อพันธุ์
- เหลืองใหญ่ 148 ( Leuang Yai 148 )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์เหลืองใหญ่จากเกษตรกรในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ่โดยนายพรม ยานะ
พนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2499-2501 คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง
จนได้สายพันธุ์ เหลืองใหญ่ 228-2-148

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและใบสีเขียว ลำต้นเล็ก ใบธงค่อนข้างตั้ง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 30-31 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 548 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งปานกลาง

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ - ภาคเหนือ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/12/2012 10:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

50.


ชื่อพันธุ์
- เข็มทองพัทลุง (Khem Tawng Phatthalung)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลท่ามิหรำ อำเมือง จังหวัดพัทลุง แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบ
คัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เข็มทอง PTLC97001-4-2

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547












ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 173 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 14 กุมภาพันธ์
- ต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ไม่ล้ม รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่
- ระยะพักตัวประมาณ 2 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.6 x 2.2 x 1.6 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 1.7 x 1.1 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลสปานกลาง (24.1%)
- คุณภาพข้าวสุก นุ่ม หุงขึ้นหม้อ

ผลผลิต
- ประมาณ 529 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคขอบใบแห้ง
- ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=63:khem-tawng-phatthalung&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 12:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

51. พันธุ์ข้าว ข้าวหลวงสันป่าตอง (Khao' Luang San-pah-tawng)


ชื่อพันธุ์
- ข้าวหลวงสันป่าตอง (Khao' Luang San-pah-tawng)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรบ้านปางม่วง ต. แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง ปลูกศึกษา
พันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้างสันป่าตอง และทดสอบพันธุ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ
อ. เมือง อ.เมืองปาน และ อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง ในปี 2541 – 2546

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547






ลักษณะประจำพันธุ์
- ข้าวเจ้า
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 15-17 พฤศจิกายน
- กอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง แข็ง ไม่ล้มง่าย รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงยาว
- เมล็ดสีฟางกระน้ำตาล
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.93 x 7.11 x 2.07 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 14.26 %
- คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว

ผลผลิต
- เฉลี่ย 582 กก./ไร่


ลักษณะเด่น
- ทนทานสภาพอากาศหนาวเย็นบนพื้นที่สูง
- คุณภาพหุงต้มดี

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- นาที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล


http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Khao_Luang_SanPaTong.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 1:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

52.พันธุ์ข้าว แก่นจันทร์ (Gaen Jan)


ชื่อพันธุ์
- แก่นจันทร์ (Gaen Jan)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากเกษตรกรในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ.2509 ทำการ
ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ แก่นจันทร์707-2-23

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 165 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์
- ลักษณะทรงกอแบะ ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงเอน รวงยาวมาก ระแง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัว ประมาณ 5-6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.16 x 7.06 x 1.58 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 30-31%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน

ผลผลิต
- ประมาณ 660 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ค่อนข้างต้านทานโรคใบหงิก โรคใบขีดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- นาน้ำฝนภาคใต้



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Gaen_Jan.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 1:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

53. พันธุ์ข้าว เจ๊กเชย 1 (Jek Chuey 1)


ชื่อพันธุ์
- เจ๊กเชย 1 (Jek Chuey 1)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- เป็นพันธุ์ที่คัดเลือกมาจากข้าวพันธุ์เจ๊กเชยพื้นเมือง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของอ.เสาไห้ จ.สระบุรี ศูนย์วิจัย
ข้าวปทุมธานีจึงได้เริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2545 โดยเก็บรวบรวมพันธุ์จากแปลงเกษตรกรใน จ.สระบุรี
จำนวน 34 ตัวอย่างพันธุ์ ทำการปลูกคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ได้สายพันธุ์ PTTC02019 แล้ว
คัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) จนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ PTTC02019-1 ในฤดูนาปี
2546 ปลูกทดสอบผลผลิตในแปลงเกษตรกร ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงที่สำคัญ ทดสอบการตอบสนอง
ต่อปุ๋ยไนโตรเจน วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ เจ๊กเชย 1 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551












ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงเฉลี่ย 160-170 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 10 ธันวาคม
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงหักลง คอรวงยาว
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลสสูง (27.1%) - คุณภาพข้าวสุกค่อนข้างแข็ง
- ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 6-7 สัปดาห์

ผลผลิต
- เฉลี่ย 812 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ข้าวสารมีคุณภาพดีแบบข้าวเสาไห้ หุงขึ้นหม้อ ร่วนเป็นตัวไม่เกาะกันเนื้อสัมผัสจากการชิมค่อนข้างแข็ง
แต่มีความนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง
- สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี
- สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากเป็นข้าวต้นสูงและทนน้ำท่วมได้ดีกว่า
ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงในพื้นที่เดียวกัน

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- จังหวัดสระบุรีและใกล้เคียงที่มีนิเวศการเกษตรคล้ายคลึงกันเมล็ดข้าวเปลือกและข้าวสารสายพันธุ์
PTTC02019-1



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Jek_Chuey1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 1:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

54.


ชื่อพันธุ์
- ขาวกอเดียว 35

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- เป็นสายพันธุ์ข้าวที่คัดเลือกมาจากงานอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว ซึ่งเป็นข้าวขาวกอเดียวที่มีชื่อเสียงของ
จังหวัดพิจิตร

ประวัติพันธุ์
- คัดเลือกมาจากข้าวขาวกอเดียวที่อยู่ในงานอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว ซึ่งเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
พิจิตร มีคุณภาพการหุงต้มดี ปลายข้าวทำผลิตภัณฑ์เส้นได้ดีเป็นที่ต้องการของตลาดค้าข้าว ศูนย์วิจัย
ข้าวพิษณุโลก เก็บรวบรวมพันธุ์ในปี 2527 ที่บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก กิ่ง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร นำมาปลูก
อนุรักษ์พันธุกรรมเพื่อบันทึกลักษณะทางสัณฐานวิทยา

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ ขาวกอเดียว 35 เพื่อแนะนำให้เกษตรกร
ปลูก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง สูงเฉลี่ย 190 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว ต้นเดือน ธันวาคม
- ทรงกอแบะ ใบและกาบใบสีเขียว มุมปลายใบตก มีขนบนแผ่นใบ ใบธงหักล' คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง
ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ปลายยอดดอกสีขาว
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.0 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลสสูง (27.4 %)
- ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 สัปดาห์

ผลผลิต
- ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- คุณภาพเมล็ดดี คือมีท้องไข่น้อย เมล็ดยาว รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดีมาก สามารถทำเป็นข้าวสาร 100
เปอร์เซ็นต์ ได้คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน เป็นที่นิยมของเกษตรกรในภาคเหนือตอนล่าง
- ข้าวร่วนค่อนข้างแข็ง ปลายข้าวสามารถนำเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่น เส้นขนมจีน

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

พื้นที่แนะนำ
- เหมาะสำหรับนาน้ำฝนพื้นที่ลุ่มน้ำลึกในเขตจังหวัดพิจิตรที่มีน้ำแห้งนาปลายเดือนพฤศจิกายน และจังหวัดอื่น ๆ
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน



http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=123.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 1:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

55.


ชื่อพันธุ์
- ช่อลุง 97

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดในจังหวัดปัตตานี และ สงขลา ปี 2542 ศูนย์วิจัยข้าว
ปัตตานีได้เก็บรวบรวมพันธุ์จากแปลงเกษตรกร อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นแหล่งที่เกษตรกรปลูก
ข้าวพันธุ์นี้มากที่สุด

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 197 เซนติเมตร
- ทรงกอตั้ง ใบและกาบใบสีเขียว คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
- ท้องไข่ปานกลาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว xกว้าง x หนา = 10.2 x 2.4 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว xกว้าง x หนา = 7.1 x 2.0 x 1.6 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 23.9%
- ข้าวสวย ผิวค่อนข้างมัน การเกาะตัวค่อนข้างเหนียว เนื้อสัมผัสนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 564 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ไวต่อช่วงแสง
- มีคอรวงยาวเหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยวด้วยแกระ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน
- คุณภาพเมล็ดดี คุณภาพการสีดี คุณภาพการหุงต้มข้าวสุกร่วน ตรงกับรสนิยมในการบริโภคข้าวของประชากร
ในพื้นที่

ข้อควรระวัง
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ และอ่อนแอมากต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- เหมาะสำหรับปลูกในสภาพนาสวนนาน้ำฝนฤดูนาปี บริเวณที่ราบในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัด
ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา



http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=126.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 2:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

56. มาตรการการปลูกข้าวแดงและข้าวต่างสี






ข้าวแดง : ปัญหาและความสำคัญ
ข้าวแดง หมายถึง ข้าวที่มีเยื่อ หรือเปลือกหุ้มเมล็ด ข้าวกล้อง (pericarp) เป็นสีแดง แบ่งได้ 2 ชนิด
1. ข้าวป่า เป็นวัชพืชที่ร้ายแรงขึ้นปะปนกับข้าวปลูกในนา ข้าวเปลือกมีสีฟาง หรือสีน้ำตาลดำ หางยาว เมล็ด
มีขนาดเล็กและแข็ง

2. ข้าวแดงที่ใช้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อใช้บริโภค และจำหน่ายในตลาด เช่น ข้าวมันปูในภาคกลาง ข้าว
กริ๊ปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และข้าวสังข์หยดในภาคใต้ ปกตินิยมบริโภคในรูปของข้าวกล้องหรือใช้ผสม
กับข้าวขาวเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น


คุณค่าทางโภชนาการของข้าวแดงที่ใช้บริโภค
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิเคราะห์ส่วนประกอบของแร่ธาตุ และวิตามินในตัวอย่างข้าวแดงหอม
และข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พบว่า ข้าวกล้องข้าวแดง หอมมีเยื่อ (dietary fiber) และ
วิตามิน บี 6 สูงกว่าข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 แต่มีธาตุเหล็กและวิตามินต่าง ๆ ต่ำกว่า


การพัฒนาพันธุ์ข้าวแดงหอม



พ.ศ. 2525-2527 จากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์
โดยนายบุญโฮม ชำนาญกุล เป็นผู้อำนวยการสถานี พบว่าในรวงข้าวจำนวนหนึ่งมีเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปน
อยู่ด้วย เข้าใจว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งพบอยู่เสมอ นอกจากนี้เมื่อนำเมล็ดข้าวปนไปปลูก
พบว่าในกอหนึ่งให้เมล็ดที่มีเยื่อหุ้มเป็นสีแดงเรื่อ ๆ มีแป้งทั้งชนิดที่เป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้า

พ.ศ. 2529-2533 นำเฉพาะเมล็ดข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเป็นสีแดงมาปลูกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกเพื่อการคัด
เลือก จนในปี พ.ศ. 2533 มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง พบว่ามีสายพันธุ์ที่ไม่ถูกทำลาย และคัด
ได้สายพันธุ์ข้าวเบาและข้าวหนักดีเด่นที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไว้

พ.ศ. 2535 เกษตรกรที่อยู่ใกล้ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นไปปลูกและแปร
รูปผลผลิตเป็นข้าวกล้องแดงจำหน่าย







นอกจากข้าวแดงหอมชนิดที่เป็นข้าวต้นสูง ไวต่อช่วงแสง ที่กรมการข้าวได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์ข้าว
ทั่วไปแล้ว ยังได้พัฒนาพันธุ์ต่อโดยนายสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการเกษตรศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้นำสาย
พันธุ์ข้าวแดงหอม KDML105R-PRE-5 เป็นพันธุ์แม่ผสมกับ IR64 ในปี 2531 และผสมย้อนกลับ
(back cross) ไปหาพันธุ์แม่รวม 3 ครั้ง หลักจากนั้นได้นำสายพันธุ์ผสมปลูกคัดเลือกต่อที่ศูนย์วิจัย
ข้าวพิษณุโลกจนได้สายพันธุ์ดีเด่น PRE90020-R36-PSL-8-3-14-3 ในปี 2537 ซึ่งได้มีผู้เสนอให้
ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice ) ” โดยมีลักษณะเป็นข้าวต้นเตี้ย ไม่ไวแสง
เมล็ดยาวเรียว มีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีแดง มีคุณภาพการหุงต้มดี และมีกลิ่นหอม ซึ่งกรมการข้าวได้
ขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์ข้าวทั่วไปอีกพันธุ์หนึ่งเช่นเดียวกับข้าวหอมแดง ข้าวทั้งสองพันธุ์กรมการข้าวไม่มี
การผลิตขยายเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่าย หรือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแต่ประการใด


---------------------------------------------------------------------------
คลิกดูรายละเอียดที่ลิงค์อ้างอิง :
- ลักษณะของข้าวหอมแดง และข้าวหอมกุหลาบแดง
- ลักษณะดีเด่นของข้าวหอมแดง และข้าวหอมกุหลาบแดง
- ข้อจำกัดของข้าวหอมแดง และข้าวหอมกุหลาบแดง
---------------------------------------------------------------------------




มาตรการการปลูกข้าวแดงหอม
เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์
ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนด
มาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้

1. ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ใกล้กับพันธุ์ข้าวที่มีวันออกดอกต่างกันน้อยกว่า 15 วัน

2. การปลูกข้าวควรมีการตรวจ และตัดข้าวปนออก ซึ่งสามารถกระทำได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เพื่อรักษาความ
บริสุทธิ์ของข้าวแต่ละพันธุ์




3. ต้องทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นวด ตาก ทำความสะอาด
และการขนส่งทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนไปใช้กับข้าวพันธุ์อื่น



4. ควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวแดงได้โดยเฉพาะ
5. ควรเป็นการผลิตแบบครบวงจรโดยมีการขึ้นทะเบียนผู้ปลูก และมีนักวิชาการด้านพันธุ์ข้าวคอยดูแล ให้คำ
แนะนำในขั้นตอนการผลิต


http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=110.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 2:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

57. ข้าวเจ้าพันธุ์ ไข่มดริ้น 3







ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ ไข่มดริ้น 3 เป็นข้าวพื้นเมืองที่ได้รวบรวมจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2538
โดยศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ได้เก็บตัวอย่างพันธุ์ จาก 4 อำเภอ

ฤดูนาปี พ.ศ. 2538/2539 ปลูกคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure line selection)

ฤดูนาปี พ.ศ. 2539/2540 ปลูกศึกษาพันธุ์ คัดเลือกได้สายพันธุ์จากแหล่งเก็บอำเภอร่อนพิบูลย์
แถวที่ 3 คือสายพันธุ์ NSRC95001-1-3

ฤดูนาปี พ.ศ. 2540/2541 เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช

ฤดูนาปี พ.ศ. 2541/2542 - 2545/2546 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
นครศรีธรรมราช ปัตตานี และกระบี่ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี

ปี พ.ศ. 2543 - 2548 ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ฤดูนาปี พ.ศ. 2546/2547 - 2548/2549 เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ในพื้นที่จังหวัดนครศรี
ธรรมราช ปัตตานี และนราธิวาส

ฤดูนาปี พ.ศ. 2548/2549 - 2550/2551 ทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน

คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ "ไข่มดริ้น 3" เพื่อแนะนำให้เกษตรกร
ปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553


ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง วันออกดอกกลางเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวกลางเดือนกุมภาพันธ์ ความสูง
ประมาณ 176 เซนติเมตร ลักษณะทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียวเข้ม ใบธงอยู่ในแนวนอน รวงยาว 31.2
เซนติเมตร ลักษณะรวงค่อนข้างแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว เปลือกเมล็ดสีน้ำตาล น้ำหนักข้าวเปลือก
ต่อถัง 11.2 กิโลกรัม ข้าวเปลือกยาว 9.47 มิลลิเมตร กว้าง 2.54 มิลลิเมตร หนา 1.96 มิลลิเมตร
ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว ยาว 6.93 มิลลิเมตร กว้าง 2.07 มิลลิเมตร หนา 1.72 มิลลิเมตร ท้องไข่
น้อย (0.52) คุณภาพการสีดีมาก ให้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 56.1 ปริมาณอมิโลสปานกลาง
(21.8 %) ระยะพักตัวเมล็ดพันธุ์ 2 สัปดาห์

ผลผลิต เฉลี่ย 436 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี ร้อยละ 18
2. คุณภาพเมล็ดดี มีท้องไข่น้อย ข้าวสวยค่อนข้างร่วนและค่อนข้างนุ่ม

พื้นที่แนะนำ
- เขตปลูกข้าวเพื่อบริโภค ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงที่
มีนิเวศการปลูกข้าวคล้ายกัน

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคไหม้


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=119:3&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 7:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

58. ข้าวพันธุ์ใหม่ ต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดตัวข้าวพันธุ์ใหม่ ต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หลังพบการระบาดของเพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาลหลายจังหวัด

ขณะนี้กรมการข้าวได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ที่ได้รับการรับรองพันธุ์ในปี 2552 จำนวน 2 พันธุ์ คือ ข้าวเจ้า
พันธุ์ กข41 และ กข43
ซึ่งพัฒนามาจากพันธุ์พื้นเมืองและปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำ
ตาล จึงอยากแนะนำให้ชาวนาปลูกในฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้


โดย ข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงอายุการเก็บเกี่ยว
105 วัน มีคุณภาพการสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ด ผลผลิตเฉลี่ย 894 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะ
สำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง



ส่วนข้าวเจ้าพันธุ์ กข43 มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น
ประมาณ 95 วัน ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน
ดี ข้าวสุกนุ่มเหนียวมีกลิ่นหอม ผลผลิตประมาณ 561 กิโลกรัมต่อไร่ แนะนำให้ปลูก
ในพื้นที่นาชลประทานพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและเกษตรกรมีช่วงเวลาในการ
ทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆ



ทั้งนี้คาดว่า การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ดังกล่าว จะช่วยแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ในระดับ
หนึ่ง ซึ่งจากการสำรวจทางวิชาการ ขณะนี้ยังพบว่าการระบาดของเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาลได้ลดลงเหลือ 8 จังหวัด
ในพื้นที่ 3.9 แสนไร่และพบการระบาดของโรคเขี้ยวเตี้ย และโรคใบหงิก ซึ่งมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะในพื้น
ที่ 11 จังหวัด โดยมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตข้าวใน
ฤดูกาลผลิตข้าว รอบที่ 2 และอาจเพิ่มความรุนแรงเป็น 5-10 เท่า ในฤดูนาปีถัดไป

Content by VoiceTV



http://archive.voicetv.co.th/content/11031/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

59.


ชื่อพันธุ์
- ซีพี 304 (CP 304)

ชนิด
- ข้าวเจ้าลูกผสม

คู่ผสม
- สุพรรณบุรี1 / IR58025A / KHR0101

ประวัติพันธุ์
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ที่ฟาร์มกำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยเริ่มปรับปรุง
พันธุ์ข้าวเจ้าลูกผสมชนิด 3 สายพันธุ์ พ.ศ. 2544 ปรังปรุงสายพันธุ์พ่อ (R-line) โดยนำข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
ไปชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ และปลูกคัดเลือกต้นกลายพันธุ์แบบสืบตระกูล ตั้งแต่ M1 - M7 ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์
KHR20120-12-20-7-4-2-2และปรับปรุงสายพันธุ์แม่ (A-line) โดยนำข้าวสายพันธุ์ KHR0101 ผสมกับสาย
พันธุ์แม่ IR58025A และปลูกทดสอบ F1 ที่มีละอองเรณูเป็นหมัน เพื่อเป็นสายพันธุ์รักษาความเป็นหมัน

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าลูกผสม สูงประมาณ 102-104 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103-104 วัน
- ต้นค่อนข้างแข็ง ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- รูปร่างเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.6 x 2.1 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 27.41%
- คุณภาพข้าวสุกร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 938 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก โรคใบขีดสีน้ำตาล โรคใบสีส้ม และโรคไหม้
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาชลประทานที่เกษตรกรมีความพร้อมและดินอุดมสมบูรณ์



http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=129.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

60.


ชื่อพันธุ์
- กขผ1

ชนิด
- ข้าวเจ้าลูกผสม

คู่ผสม
- IR79156A / IR79156B / JN29-PTT-43-1-5-5-1-3-1R

ประวัติพันธุ์
- เป็นข้าวลูกผสมสายพันธุ์ PTT06001H ที่ผลิตในระบบ 3 สายพันธุ์ โดยมีพันธุ์แม่ คือ สายพันธุ์เรณูเป็นหมัน
IR79156A ของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ที่มีสายพันธุ์ IR79156B เป็นสายพันธุ์รักษาเรณูเป็นหมัน

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าลูกผสม สูงประมาณ 116 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 115 วัน

- มีจำนวนรวงต่อกอ 8 รวง (ระยะปักดำ 20 x 20 ซม.) จำนวนเมล็ดต่อรวง 200-250 เมล็ด
มีเมล็ดดีต่อรวง 85 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด หนัก 24.72 กรัม

- ต้านทานต่อโรคไหม้ในบางพื้นที่ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว
แต่อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง

- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.4 x 2.4 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.1 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 27.0%
- ข้าวสวย ร่วน ไม่เกาะติด

ผลผลิต
- ประมาณ 1006 กิโลกรัมต่อไร่



ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1006 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 (666 กก./ไร่)
และสุพรรณบุรี 1 (817 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 51 และ 23 ตามลำดับ

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ในเขตพิษณุโลก

พื้นที่แนะนำ
- ปลูกในพื้นที่นาชลประทานในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง



http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=131.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/01/2013 7:39 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/12/2012 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

61. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข29 (ชัยนาท80)






ประวัติ
พันธุ์ข้าว กข 29 ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60 และสายพันธุ์
IR29692-99-3-2-1 กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ในปี 2532 ปลูกลูกผสม
ชั่วที่ 1 คัดเลือกพันธุ์ ศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ในปี พ.ศ. 2533-2541

จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท

ในฤดูนาปี พ.ศ. 2541– ฤดูนาปี พ.ศ. 2547 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในแปลงเกษตรกรจังหวัด
พิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ในฤดูนาปี พ.ศ. 2542 ถึง ฤดูนาปี พ.ศ. 2547 นำเข้าทดสอบเสถียร
ภาพผลผลิต ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี พัทลุง คลองหลวง
ราชบุรี ชัยนาท ลพบุรี และฉะเชิงเทรา คัดเลือกเข้าทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร ในจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์
พิจิตร สุโขทัย ชัยนาท และสิงห์บุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2544 ถึง ฤดูนาปรัง พ.ศ. 2548 คณะกรรมการมีมติ
ให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550


ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 103 วัน ในฤดูนาปี และ 99 วัน ในฤดูนาปรังเมื่อปลูกโดยหว่านน้ำตม กอตั้ง สูง
ประมาณ 104 เซนติเมตร ใบเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ข้าวกล้องรูป
ร่างเรียว ยาว 7.34 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร คุณภาพทางเคมีเป็นข้าวอมิโลสสูง
(26.9 – 29.4 %) ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะร่วน แป้งสีขาวนวล ไม่หอม


ลักษณะเด่น
1. อายุสั้น มีอายุวันเก็บเกี่ยว 99 วัน ในฤดูนาปรัง และ 103 วัน ในฤดูนาปี สั้นกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 (104 และ
106 วัน) สุพรรณบุรี 1 (108 และ 110 วัน) และพิษณุโลก 2 (105 และ 106 วัน)

2. ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 876 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 (824 กิโลกรัมต่อไร่)
ชัยนาท 1 (744 กิโลกรัมต่อไร่) 6 และ 18 เปอร์เซ็นต์

3. ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง

4. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ เป็นข้าวเจ้า เมล็ดเรียวยาว ขนาดข้าวกล้อง 7.34 x 2.23 x 1.80 มิลลิเมตร ท้อง
ไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถสีเป็นข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์

5. ธาตุเหล็กสูง มีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้องสูงถึง 15.7 มิลลิกรัมต่อข้าว 1 กิโลกรัม ส่วนในข้าวสารพบปริมาณ
ธาตุเหล็ก 6.7 มิลลิกรัมต่อข้าว 1 กิโลกรัม


พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่างที่ต้องการข้าวอายุสั้นเพื่อปลูกปีละ 3 ครั้ง โดยเริ่ม
ปลูกในเดือนสิงหาคม ธันวาคม และเมษายน หรือสำหรับปลูกหลังถูกน้ำท่วมในฤดูฝนและสามารถปลูกและเก็บ
เกี่ยวได้ 2 ครั้งในฤดูนาปรังก่อนถูกน้ำท่วม


ข้อควรระวัง
1.ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน ถึง ปลายพฤศจิกายน ซึ่งมีอากาศเย็นเพราะจะมีเมล็ดลีบมาก ผลผลิตต่ำ
2. อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา


http://psl.brrd.in.th/web/index.php/2009-09-23-10-37-38/11-29-80
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/01/2013 10:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

62.



ชื่อพันธุ์
- กข31 (ปทุมธานี 80)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- SPR85163-5-1-1-2/IR54017-131-1-3-2

ประวัติพันธุ์
- จากการผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์ SPR85163-5-1-1-2 กับสายพันธุ์ IR54017-131-1-3-2 ที่ศูนย์
วิจัยข้าวสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2536 ปลูกคัดเลือก ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2539 ได้สายพันธุ์ SPR93049-
PTT-30-4-1-2


ศึกษาพันธุ์ ประเมินลักษณะประจำพันธุ์และลักษณะทางการเกษตร ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว
ที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี และระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีสุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา คลองหลวง
และราชบุรี และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร 8 จังหวัดในภาคกลาง จนถึง พ.ศ. 2549

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข31 (ปทุมธานี 80) เพื่อแนะนำให้
เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 111 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม และ 118 วัน โดยวิธีปักดำ
- ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ใบธงตั้ง คอรวงยาว รวงยาว 29.9 เซนติเมตร
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดไม่มีหาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว
- ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.4 x 2.6 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.1 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลสสูง (27.3 – 29.8 %)

ผลผลิต
- เฉลี่ย 745 กิโลกรัมต่อไร่ (ปักดำ)
738 กิโลกรัมต่อไร่ (นาหว่านน้ำตม)


ลักษณะเด่น
- คุณภาพเมล็ดทางกายภาพสม่ำเสมอกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
- ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล
และโรคเมล็ดด่าง
- ทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ผลผลิตสูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม

พื้นที่แนะนำ
- นาชลประทานภาคกลาง



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=60:rd31&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/01/2013 10:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

63. พันธุ์ข้าว กข33 - RD47 (หอมอุบล 80)


ชื่อพันธุ์
- กข33 - RD33 (หอมอุบล 80)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- เป็นผลงานวิจัยระหว่างสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) กับ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนา
ข้าว กรมการข้าว โดยทำการผสมพันธุ์ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2538 ระหว่าง
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์แม่กับสายพันธุ์ IR70177-76-3-1 ซึ่งมีความต้านทานต่อโรคไหม้และปรับตัวได้ดี
ในสภาพนาน้ำฝนเป็นพันธุ์พ่อ

ใน พ.ศ. 2539 ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี พ.ศ. 2540

ปลูกพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 คัดเลือกต้นที่มีความต้านทานโรคไหม้ และมีลักษณะทางการเกษตรดี

ปลูกทดสอบความหอม พ.ศ. 2540-2541 ใช้ต้นที่เมล็ดมีความหอมผสมกลับกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สร้างประ
ชากรผสมกลับชั่วที่ 1 และชั่วที่ 2 คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคไหม้และคุณภาพการหุงต้มดี

พ.ศ. 2542–2545 ทดสอบการให้ผลผลิตเบื้องต้น ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ในฤดูนาปรัง พ.ศ.2546 และในฤดู
นาปี พ.ศ.2546-2548

เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีและในนาราษฎร์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน
และประเมินการยอมรับของเกษตรกรในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม ได้สายพันธุ์ ดีเด่น IR77924-
UBN-62-71-1-2

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข33 (หอมอุบล 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกร
ปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน
- ต้นสูงเฉลี่ย 154 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นค่อนข้างแข็ง
- ใบสีเขียว ใบธงหักลง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.61 มิลลิเมตร กว้าง 2.55 มิลลิเมตร หนา 2.01 มิลลิเมตร
- ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.47 มิลลิเมตร กว้าง 2.11 มิลลิเมตร หนา 1.80 มลลิเมตร
- คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว ร้อยละ 54 ปริมาณแอมิโลสต่ำ (14.0 -16.8 %) มีกลิ่นหอม
- ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์

ผลผลิต - เฉลี่ย 493 กิโลกรัม/ไร่


ลักษณะเด่น
- 1. กข33 (หอมอุบล 80) ต้านทานโรคไหม้โดยเฉพาะเชื้อราสาเหตุโรคไหม้(Pyricularia grisea Sacc.)
ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบนหลายสายพันธุ์
- 2. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมีและคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน ใกล้เคียงพันธุ์ขาว
ดอกมะลิ 105
- 3. เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาอาศัย
น้ำฝนที่ฝนหมดเร็ว

ข้อควรระวัง
- กข33 (หอมอุบล 80) ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


พื้นที่แนะนำ -



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/02/RD33.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/01/2013 11:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


64.




ชื่อพันธุ์
- ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 (Khao’ Jow Hawm Khlong Luang 1)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- นางมล เอส-4 / ไออาร์841-85-1-1-2

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางมล เอส-4 กับสายพันธุ์ไออาร์841-85-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง
ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ KLG83055-1-1-1-2-1-4

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่
27 ตุลาคม 2540








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง และ 125 วัน ในฤดูนาปี
- ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงยาวปานกลาง และ ค่อนข้างตั้ง คอรวงสั้น รวงยาวแน่น และระแ้ง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.6 x 2.7 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.8 x 2.3 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 18-19 %
- คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม

ผลผลิต
- ประมาณ 650 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปี
และ 591 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปรัง


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวเจ้าหอม รูปร่างเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย และคุณสมบัติในการหุงต้มคล้ายขาวดอกมะลิ 105
- ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนดี
- ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง
- ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ข้อควรระวัง
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคกลาง



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=65:khao-jow-hawm-khlong-luang-1&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/01/2013 11:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

65.



ชื่อพันธุ์
- ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao´ Jow Hawm Phitsanulok 1)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- ขาวดอกมะลิ 105 / LA29´73NF1U-14-3-1-1// IR58

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์LA29´73NF1U-14-3-1-1 กับIR58 ที่สถานี
ทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2525-2526

- พ.ศ. 2528-2533 นำไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPRLR83228-PSL-32-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
- ลำต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงเอน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.4 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 14.9%

ผลผลิต
- ประมาณ 579 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต
- ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบหงิก
- เป็นข้าวอายุหนักกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถปลูกเสริมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพื่อช่วย
กระจายแรงงานในการเก็บเกี่ยว
- คุณภาพเมล็ดดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 % ได้
- คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี นุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอมใกล้เคียงขาวดอกมะลิ 105

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคใบสีส้ม
- อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=14:khaoa-jow-hawm-phitsanulok-1&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/01/2013 7:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

66. กรมการข้าว “เร่งส่งเสริมพันธุ์ใหม่ กข.49"


เขียนโดย วสี ภูเต็มเกียรติ ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา



ปลัดกษ.ใหม่ เยี่ยมกรมการข้าว แนะเร่งพัฒนาเมล็ดพันธุ์สู้เอกชนก่อนเพื่อนบ้านแซงหน้า อธิบดีเผยต้นปีหน้าส่ง“กข.49”สู้เพลี้ย-
เร่งพัฒนาข้าวหอมพันธุ์ใหม่นำหน้าหอมมะลิ

วันที่ 31 ต.ค. 55 ที่กรมการข้าว กรุงเทพฯ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรฯสหกรณ์ เดินทางตรวจเยี่ยมกรมการข้าวเพื่อ
ติดตามงานด้านข้าว

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว รายงานผลการดำเนินงานเรื่องข้าวและสถานการณ์ข้าวไทยว่า ปัจจุบันประเทศไทย
มีพื้นที่ปลูกข้าว 78 ล้านไร่ และเกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการเพาะปลูกปีละ 6 แสนตันทั่วทั้งประเทศ โดยขณะ
นี้กรมฯมีพันธุ์ข้าวที่ผ่านการวิจัยและรับรองออกมาใหม่เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวแก่เกษตรกรทั้งสิ้น 4 พันธุ์ ได้แก่

พันธุ์ขาวบ้านนา 432 ข้อดี คือ ให้ผลผลิตมากปลูกได้ดีในพื้นที่น้ำขัง
พันธุ์ข้าวเหนียวดำลืมผัว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
พันธุ์กข.47 ป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี และ
พันธุ์ กขผ.1 ซึ่งเป็นข้าวลูกผสมพันธุ์แรกของไทยที่ให้ผลผลิตมาก


โดยปัจจุบันกรมการข้าวมีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 23 ศูนย์ทั่วประเทศที่ทำหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ และศูนย์วิจัยข้าว 27 แห่งทำหน้า
ที่วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว และมีนักวิจัย 176 คนทั่วประเทศซึ่งถือว่าขาดแคลนเมื่อเทียบกับอัตรานักวิจัยที่ต้องการ 250 คน

สำหรับแนวทางการลดต้นทุนในการผลิตข้าว กรมฯได้ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี จัดทำบัญชีต้นทุนการ
ผลิต ลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และสารเคมีลง รวมทั้งสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง งดการปลูก
ข้าวต่อเนื่องตามนโยบายการจัดระบบปลูกข้าวของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้ได้ข้าวคุณภาพดี สามารถบริหารจัดการน้ำในภาวะ
น้ำแล้งและน้ำท่วมได้อย่างมีระบบ และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลังนาและพืชปุ๋ยสดสลับกับการปลูกข้าวเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
ดินด้วย


ทั้งนี้พบว่าการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับการทำนาเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาระบบการปลูกข้าว เนื่องจาก ประเทศ
ไทยมีพื้นที่แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเพียงร้อยละ 21 ขณะที่ประเทศเวียดนามมีพื้นที่แหล่งน้ำถึงร้อยละ 80
ทั้งนี้เกษตร
กรควรฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและเปลี่ยนใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีขึ้นและผ่านการรับรองจากกรมการข้าวอย่างสม่ำ
เสมอ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

นายชัยฤทธิ์กล่าวต่อว่า กรมฯมีแนวทางการพัฒนาข้าวไทยดังนี้ เร่งรัดการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยในอนาคตจะพัฒนาข้าว
หอมที่คุณภาพดีกว่าข้าวหอมมะลิ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 10 ปี เพื่อให้ข้าวหอมไทยเป็นพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดในโลก นอกจากนี้
จะเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการรวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วย

โดยในเดือนมกราคม 2556 กรมฯจะรับรองพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นใหม่ คือ พันธุ์กข.49 โดยใช้เวลาปรับปรุงพันธุ์
นานกว่า 10 ปี ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดดได้ดีกว่าพันธุ์กข.47 และให้ผลผลิตได้มาก โดยคาดว่าจะผลิตและกระจาย
สู่เกษตรกรได้ในเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 1 พันตัน


ผู้สื่อข่าวได้ตั้งข้อสังเกตถึงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวว่า การผลิตและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประเทศไทย
ขณะที่ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพของกรมการข้าวกลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรทั่วประเทศที่ต้องการ
เมล็ดพันธุ์ปีละ 6 แสนตัน ตัวอย่างเช่น ข้าวพันธุ์กข.47 ที่สามารถแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้นั้น กรมการข้าวสามารถ
ผลิตออกมาได้เพียงปีละ 2,000 ตันเท่านัน ขณะที่ภาคเอกชนสามารถผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีไปยังเกษตรกรได้ปีละ
หลายแสนตัน


ทั้งนี้อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรมการข้าวยังขาดแคลนนักวิจัยจำนวนมาก ประกอบกับรัฐบาลไทยมักไม่ให้ความสำคัญกับงาน
วิจัยพันธุ์ข้าวเท่าที่ควรทำให้งบประมาณเพื่อการวิจัยข้าวมีน้อยและส่งผลต่อคุณภาพการปลูกข้าว สวนทางกับประเทศข้างเคียงที่
ให้ความสำคัญด้านงานวิจัยข้าวมากขึ้น

แม้ว่าขณะนี้พันธุ์ข้าวของไทยจะมีคุณภาพมากที่สุด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวกัมพูชา เวียดนาม ก็มีการ
พัฒนาด้านการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่าซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และมีพื้นที่เพาะปลูก
มากกว่า ดังนั้นประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวและการส่งเสริมการเพาะปลูกแก่เกษตรกรมากขึ้น

อย่างไรก็ต่อข้อถามถึงปัญหาเรื่องการจำนำข้าวที่อาจทำให้ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวอันดับ 1 ร่วงมาเป็นอันดับ 3 นั้น ยังไม่สามารถ
สรุปได้เนื่องจากต้องรอดูตัวเลขการขายข้าวปลายปีเสียก่อน โดยเชื่อว่าหากการส่งออกข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) เป็นไปตามคาด
หมายไทยคงไม่เสียแชมป์ อย่างไรก็ดีเป็นเรื่องของกระทรวงพานิชย์ที่ต้องดูแล ส่วนปัญหาการทุจริตจำนำข้าวเชื่อว่ามีไม่มากและ
ไม่ส่งผลกระทบร้ายแรง

ทั้งนี้ตัวเลขตามปกติในปีที่ผ่าน ๆมา ไทยสามารถส่งออกข้าวได้ปีละประมาณ 10 ล้านตัน เป็นข้าวหอมมะลิกว่า 2 ล้านตัน ข้าวเหนียว
8 แสนตัน และที่เหลือเป็นข้าวขาว (ทั้งที่เป็นข้าวเปลือกและข้าวนึ่ง) กว่า 7 แสนตัน




http://www.isranews.org/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/item/17386-%E2%80%9C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E2%80%9D%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%87%E2%80%9C%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E2%80%9D%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E2%80%9C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%81%E0%B8%82-49-%E2%80%9D.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/01/2013 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


67.




ชื่อพันธุ์
- ขาวบ้านนา 432

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองขาวบ้านนา จากจังหวัดปราจีนบุรี คัดเลือกสายพันธุ์ดี จำนวน 20 สายพันธุ์
ในระหว่างปี 2538-2540 ปลูกทดสอบและประเมินการยอมรับของชาวนาข้าวขึ้นน้ำในเขตอำเภอเมืองจังหวัด ปราจีนบุรี จนสามารถ
คัดเลือกได้ข้าวขาวบ้านนาสายพันธุ์ดีเด่น“PCRC92001-432” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555









ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 218 เซนติเมตร
- ข้าวเจ้าขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 10 ถึง 14 พฤศจิกายน
- ทรงกอแบะ ต้นแข็งปานกลาง มีใบ กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงเป็นแนวนอน
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.96 x 2.74 x 2.19 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 8.01 x 2.33 x 1.93 มิลลิเมตร
- คุณภาพการสีดี ท้องไข่มาก

ผลผลิต
- ประมาณ 449 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เมล็ดข้าวมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้น ได้แก่ เส้นหมี่ และเส้นขนมจีน ลักษณะเส้นเหนียวนุ่ม

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งในสภาพเรือนทดลอง

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาน้ำลึกมากกว่า 100 เซนติเมตร มีน้ำท่วมขังนานกว่า 1 เดือน และมีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนธันวาคม
จึงเหมาะสมกับพื้นที่น้ำลึกในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่ข้าวนาขึ้นน้ำ อำเภอบ้านสร้างและอำเภอ
เมือง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลีและอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=126:pcrc92001-432&catid=25:photosensitive-floating-rice&Itemid=56
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/01/2013 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

68. พันธุ์ข้าว กข47 (RD47)










ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของสุพรรณบุรี 1 กับ IR64 นำไปผสมกับ CNT86074-
25-9-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539 ปลูกชั่วอายุที่ 1 ในฤดูนาปี 2540 ปลูกคัดเลือกตั้งแต่ชั่วอายุที่ 2
จนได้เมล็ดพันธุ์ชั่วที่ 3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวข้าวชัยนาท ปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 4-5 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2542
ถึง ฤดูนาปรัง 2542 และปลูกศึกษาพันธุ์ ฤดูนาปรัง 2543 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่
ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ฤดูนาปี 2544 – 2545 จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
ศูนย์วิจัยข้าวข้าวชัยนาท และศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี ในฤดูนาปี 2546-2551 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในนาเกษตรกร
จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2548 ถึงฤดูนาปี 2551 ทดสอบ
ผลผลิตและการยอมรับของเกษตรตั้งแต่ฤดูนาปี 2549 ถึงฤดูนาปรัง 2551 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร
สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ทดสอบเสถียรภาพผลผลิตในฤดูนาปี 2550
ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์
กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข47 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงอายุ 104-107 วัน (หว่านน้ำตม) และ 112 วัน(ปักดำ) มีลักษณะกอตั้ง ความสูง 90-100
เซนติเมตร ลำต้นแข็งมาก ใบสีเขียว มุมใบธงกว้างปานกลาง รวงยาว 30.0 เซนติเมตร ค่อนข้างแน่น คอรวงโผล่เล็กน้อย
ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.52 มิลลิเมตร หนา 2.08 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.94 มิลลิเมตร
กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.76 มิลลิเมตร กว้าง 2.05 มิลลิเมตร หนา 1.73 มิลลิเมตร
มีอมิโลสสูง (26.81%) ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะสีขาวนวลไม่เลื่อมมัน ค่อนข้างร่วนและแข็ง

ผลผลิต
เฉลี่ย 793 กิโลกรัมต่อไร่



กข47 ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี
2. ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดีกว่า กข41 และค่อนข้างต้านโรคไหม้ดีกว่าพิษณุโลก 2
3. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีถึงดีมาก สามารถสีเป็นข้าวสาร 100
เปอร์เซ็นต์ได้

พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่
ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

ข้อควรระวัง
อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชีวชนิดที่ 5 และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากจังหวัดนครปฐม อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง
ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง และค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อสาเหตุโรคไหม้ในภาคกลาง ไม่
ทนอากาศเย็นจึงไม่ควรปลูกในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/02/RD47.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/01/2013 7:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

69. ตัวอย่าง...ป้องกันเพลี้ยกระโดด ได้อย่างชะงัด






ขณะนี้ยังคงพบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ชาวนาควรจะหมั่นตรวจสอบแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะถ้าพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลต้องรีบกำจัดทันที หรือถ้ามีการระบาดมากถึงระดับที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควรปฏิบัติ
ตามคำแนะนำ โดยถ้าเป็นช่วงข้าวอายุน้อยกว่า 40 วัน ควรงดใช้สารเคมี เนื่องจากช่วงดังกล่าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัว
เต็มวัยชนิดปีกยาว จึงทำให้การใช้สารเคมีในการควบคุมไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีผลกระทบต่อมวลเขียวดูดไข่ซึ่งเป็นศัตรู
ธรรมชาติที่คอยควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า สิ่งที่กรมการข้าวตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี คือ
การจัดระบบการปลูกข้าวควบคู่กับการใช้สารธรรมชาติทดแทนสารเคมี ซึ่งวันนี้มีตัวอย่าง โรงเรียนชาวนาตำบลองครักษ์ อำเภอ
โพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ที่ใช้วิธีธรรมชาติในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาวจงกล ปิ่นเกตุ ผู้อำนวยการโรงเรียนชาวนาตำบลองครักษ์ เล่าว่า โรงเรียนชาวนาแห่งนี้เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตร
กรที่ประกอบอาชีพทำนา และมีเกษตรกรอาชีพทำสวน ทำไร่บางส่วน รวมทั้งสิ้น 60 ราย ซึ่งในโรงเรียนแห่งนี้จะมีหลัก
สูตรการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการทำการเกษตรที่ลดต้นทุนการผลิต ด้วยการผลิตสารอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพ
จากสมุนไพรเพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งแต่เดิมก่อนที่จะมีโรงเรียนชาวนา เกษตรกรส่วนใหญ่
จะประสบปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายผลผลิตข้าวอย่างมาก อีกทั้งมีต้นทุนการผลิตสูงโดยเฉพาะค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว
ค่าปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้เป็นประจำและมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แต่หลังจากมีโรงเรียนชาวนาที่มุ่งเน้นให้สมาชิกผลิตสารชีวภาพไว้ใช้เอง โดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น ได้แก่พืชสมุน
ไพรไทย เช่น สะเดา บอระเพ็ด ยาสูบ ฟ้าทะลายโจร หนอนตายหยาก มาเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำหรับฉีดพ่นแปลงนา
อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ให้เข้ามาทำลายผลผลิตข้าวได้เท่านั้น ยังช่วยให้ต้นทุน
การผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้มีรายได้และความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น ทั้งนี้ การทำนาด้วยวิธีการนี้ต้องอาศัย
ความขยันและความเอาใจใส่ของเกษตรกรอย่างมาก เนื่องจากต้องฉีดพ่นสารชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง แต่รับ
รองว่าได้ผลดีเกินคาด

สำหรับสารชีวภาพที่โรงเรียนแห่งนี้มีด้วยกันหลายสูตร ซึ่งวันนี้ทางคุณจงกล แนะนำสูตรง่าย ๆ มา 1 สูตร ได้แก่ สารป้องกัน
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากสะเดา วิธีทำเริ่มจากนำสะเดาป่นจำนวน 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำจำนวน 10 ลิตร และน้ำยาจับใบ
จำนวน 100 ซีซี (น้ำยาล้างจานอเนกประสงค์) ซึ่งทางโรงเรียนได้คิดสูตรขึ้นมาเองโดยทำน้ำยาล้างจานจากน้ำมะเฟือง
เกลือ ขี้เถ้าผสมกัน หากเกษตรกรสนใจสามารถใช้น้ำยาอเนกประสงค์ทั่วไปได้เช่นกัน โดยหมักส่วนผสมทั้ง 3 อย่างข้างต้น
ไว้เพียง 1 คืนก็สามารถนำไปฉีดพ่นในแปลงนาได้ แนะนำให้ ฉีดช่วงเช้าหรือเย็น เท่านั้นอย่าฉีดช่วงที่แสงแดดจัด สามารถฉีด
พ่นได้ตลอดช่วงอายุข้าว โดยเน้นให้ฉีด ตั้งแต่ข้าวอายุน้อย ๆ เป็นการคลุมไว้ เลย เนื่องจากสารชีวภาพนี้จะไปยับยั้งการแพร่
ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและศัตรูข้าว แต่จะไม่ทำร้ายศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งไม่เป็นโทษกับผู้ใช้
และผู้บริโภคด้วย

ผลการทดลองใช้สารชีวภาพในแปลงนาเปรียบเทียบกับแปลงนาใกล้เคียงที่ใช้สารเคมี พบว่าแปลงนาชีวภาพไม่ได้รับความ
เสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ตามปกติ แต่ในแปลงนาที่ใช้สารเคมี เมื่อเวลาฉีดพ่นสารเคมีเพลี้ย
จะหายไปแต่หลังจากกลิ่นสารเคมีหายไปเพลี้ยจะกลับมาระบาดหนักทำลายผลผลิตเสียหายหมด

เกษตรกรท่านใดสนใจวิธีการกำจัดศัตรูข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยชีววิธี หรือหลักสูตรการทำการเกษตรแบบลดต้นทุน
สามารถติดต่อไปได้ที่โรงเรียนชาวนาตำบลองครักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง หรือ โทร. 08-6124-4754 .



http://www.dailynews.co.th/agriculture/113332
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/01/2013 10:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

70. ดอกข้าว





ดอกข้าวคือ ส่วนที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอก 2 แผ่นประสานกันเพื่อห่อหุ้ม
ส่วนที่อยู่ภายในไว้ ทั้งสองเปลือกนี้ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้ ถ้าที่เปลือกไม่มีขน ที่ใบของมันก็จะไม่มีขนและผิว
เรียบด้วย พันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีหางสั้นและบางพันธุ์ก็มีหางยาว พันธุ์ที่มีหางยาวเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะทำให้เก็บ
เกี่ยวและนวดยาก นอกจากนี้อาจทำให้ผู้เข้าไปเก็บเกี่ยวเกิดเป็นแผลตามผิวหนังได้ง่าย

ในดอกข้าวแต่ละดอกจะมีกระเปาะเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยที่รับละอองเกสรตัวผู้ ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายหางกระรอกขนาดเล็กจำนวน 2 อัน แต่ละอันมีก้านเชื่อมติดอยู่กับรังไข่ ในรังไข่จะมีไข่ ซึ่งเมื่อถูกผสมเกสรแล้วก็จะกลาย
เป็นเมล็ด จึงเห็นได้ว่าดอกข้าวเป็นดอกชนิดที่เรียกว่าดอกสมบูรณ์เพศ เพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฉะนั้น
การผสมเกสรส่วนใหญ่จึงเป็นแบบการผสมตัวเอง และมีการผสมเกสรแบบข้าม

ต้นเป็นจำนวนน้อยมากหรือประมาณ 0.5-5 % เท่านั้น ปกติการผสมเกสรเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า ดอกข้าวจะเริ่ม
บานจากปลายรวงลงมาสู่โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการผสมเกสร.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/174038
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/01/2013 11:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

71.








ชื่อพันธุ์
- ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- IR13146-158-1 / IR15314-43-2-3-3 // BKN6995-16-1-1-2

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ IR13146-158-1 และสายพันธุ์ IR15314-43-2-3-3 กับ BKN6995-
16-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2525 ปลุกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNTBR82075-43-2-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่
9 กันยายน 2536

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 113 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 121-130 วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาวตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็ง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.4 x 2.3 x 1.7 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 26-27 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 740 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง
- ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนดี
- ต้านทานโรคใบหงิก และโรคไหม้
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
- มีท้องไข่น้อย

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง และโรคใบขีดโปร่งแสง
- ในฤดูแล้งควรปลูกไม่เกินเดือนมีนาคม

พื้นที่แนะนำ
- ทุกภาคในเขตชลประทาน


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=68:chai-nat-1&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/01/2013 12:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

72. ประเสริฐ อัครศิริกาญจนะ “ทำนาแบบผม ไม่จนหรอก”





ลูกชาวนาที่ตั้งบริษัททำนา อยากให้คนทำนา โดยไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เขาใช้เงินหลายสิบล้านโฆษณาทางทีวี
เพื่อจะบอกว่า ดินดีคือปุ๋ยที่ดี

ผู้ชายคนนี้บอกใครๆ ว่า เป็นชาวนา เขาตั้งบริษัททอช คนทำนา จำกัด เป็นประธานกรรมการ ปัจจุบันมีที่ดินกว่า 3,000
ไร่ ที่ดินขนาดนี้น่าจะอยู่ในข่ายนายทุน แต่ด้วยวิธีคิดและวิธีทำ มีหลายอย่างที่ต่างจากนายทุนและนักธุรกิจประเทศนี้

ประเสริฐ อัครศิริกาญจนะ คือเจ้าของบริษัทดังกล่าว เขาขายข้าวให้โรงสี ขายดินให้เกษตรกร และทำนาจนซื้อที่ดินเป็น
พันๆ ไร่ รวมถึงแบ่งที่นาให้เกษตรกรเช่าครอบครัวละ 30 ไร่ โดยไม่คิดเงิน และมีเงื่อนไขว่า ต้องทำนาโดยไม่ใช้สาร
เคมี เมื่อผลผลิตออกมาแบ่งคนละครึ่ง และตอนนี้มีบางครอบครัวปลดหนี้ได้

เมื่อเร็วๆ นี้เขาเพิ่งลงทุนจ้างเอเยนซีทำโฆษณาหลายสิบล้านบาท เพื่อสื่อว่า ดินดีคือปุ๋ยดีที่สุด เพราะอยากให้ลูกชาวนากลับ
บ้านนอกทำนา เขาลองแล้วพบว่า ทำนาแบบเขาไม่จนหรอก จึงอยากให้เอาวิธีการไปใช้ ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ของเขาก็ได้

ชาวนาจบ ป.6 คนนี้ ปัจจุบันเป็นวิทยากรที่ถูกเชิญไปบรรยายให้นักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทฟัง และกำลังจะซื้อ
ผืนนาอีกพันไร่ เพราะเห็นปลาตัวเล็กตัวน้อยตายลอยมาตามน้ำ เขาคิดอะไรอยู่...

ชีวิตลูกชาวนาเป็นอย่างไรบ้าง
ผมจบ ป.6 เพราะบ้านไม่มีเงินส่งเรียน ออกมาทำไร่ไถนาที่กำแพงเพชรล้มลุกคลุกคลาน สมัยแรกๆ เตี๋ยกับแม่ปลูกพืชผัก
อะไรก็ขึ้น พวกเราพี่น้องหลายคนเก็บปัสสาวะที่ฉี่ไว้ในถัง เพื่อนำมาละลายน้ำรดต้นไม้ ก็งามดีแต่มีปัญหาการขายและการคมนา
คม แล้ววันหนึ่งแม่ไปซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ ใส่แรกๆ ก็เขียวงามทันใจ แต่พอใส่ไป 2-3 ครั้ง ไส้กลางผักชีเน่า หัวหอมกระเทียมปลาย
เริ่มเน่า ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ก็ไปหาสารเคมีมาฉีดอีก สุดท้ายก็เจ๊ง จากนั้นหันไปปลูกถั่วเหลือง แม้ฝนจะตกแต่เมล็ดถั่ว ไม่สามารถ
ดันดินที่แน่นและแข็ง เจ๊งอีก เตี๋ยก็พาเราไปหางานทำในกรุงเทพฯ อยู่ไม่ไหว ก็กลับมาทำไร่ ปลูกอ้อย ข้าว ผัก ยังดีมีผักที่เรา
ปลูกกินเอง ตอนนั้นยากจน พอน้องๆ เริ่มเรียนมหาวิทยาลัย พี่ๆ แต่งงานออกไป ผมก็รับภาระเลี้ยงดูเตี๋ยกับแม่ ผมสังเกตว่า ปลูก
ผักใช้สารเคมี 10 ครั้งได้ดีครั้งเดียว ไม่รู้สาเหตุก็ออกไปค้าขาย ซ่อมรถ ล้มลุกคลุกคลานก็กลับมาที่เดิมอีก

แล้วทำไมไม่ถอดใจไปทำอาชีพอื่น
คืออย่างนี้ คะน้าใช้เวลาปลูก 45 วัน ถ้าปลูก 1 ไร่ ลงทุนสามสี่พันบาท ถ้าได้ผลผลิตจะได้เงินสี่ห้าหมื่นบาท ปลูกข้าวโพดหนึ่ง
เมล็ด ต้นโตขึ้นมาได้ตั้งสองฝัก ข้าวหนึ่งเมล็ดแตกกอได้ 10-20 ต้น พอได้ผลผลิตสักครั้ง ก็รู้สึกว่า ทำอย่างนี้ดีกว่าทำอาชีพอื่น
ออกไปค้าขายมันไม่สุขเหมือนอยู่ในไร่ จำได้ว่าตอนออกไปซ่อมรถ อายุ 20 กว่าๆ มีคนให้วัตถุดิบตัวหนึ่งมาใส่ดินในกระถาง ใบค่อยๆ
แตกหน่อ ดินอุ้มน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของดินเพื่อการเกษตรที่ต่อมาผมทำขึ้น ก็คิดว่าน่าจะช่วยคนได้ แต่สิ่งที่ผมใช้ตอนนั้นเป็นผลิตภัณฑ์
ของคนอื่น และเห็นว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง เราไม่เชื่อเรื่องสารเคมี ก็พัฒนาจนดินสะอาด และสิ่งที่เราเห็น คือ ไส้เดือน


ตอนนั้นคุณมีที่ดินเท่าไหร่
50 ไร่ แต่ทำการเกษตรแค่ 2-3 ไร่ เพราะไม่มีทุน ปลูกผักแปลงเล็กๆ ถ้ามีทุนค่อยปลูกอย่างอื่น ตอนนั้นยังไม่เข้าใจว่าดินดี
เป็นอย่างไร ปลูกกล้วยไข่ ฤดูฝนงามดี ฤดูแล้งดินแห้งแข็งกล้วยตายหมดเลย ในที่สุดเรารู้ว่า ดินแน่นไม่อุ้มน้ำ ปลูกพืชก็ตายหมด


กว่าจะสังเกตเห็น ก็ขาดทุนเยอะ?
วันที่แม่ซื้อปุ๋ยยูเรียมาใส่พืชไร่ เราก็เห็นว่าดี ผ่านไป 10-20 ปี เราก็เจอวิธีการทำให้ดินดีร่วนซุยมีไส้เดือน แรกๆ ดินผมก็มี
ส่วนผสมสารเคมีบ้าง พอเริ่มเห็นว่าสารเคมีไม่ใช่คำตอบ ก็ใช้แต่วัสดุจากธรรมชาติผสมในดิน และได้เห็นว่า เมื่อดินดีเราไม่ต้อง
ใช้อะไรเลย


เมื่อคุณเห็นวิธีการทำให้ดินดี แล้วกลับมาปรับสภาพดินอย่างไร
เมื่อก่อนผักที่ปลูกจะตัดในวันรุ่งขึ้น ลงทุนเป็นแสนพอฝนตกผักเน่าหมด เมื่อกลับมาปลูกผักเหมือนเดิม ลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก
บางครั้งเกิดเชื้อรา ทำให้ดินไม่สะอาด อย่างปุ๋ยคอกก็ใช้ยาก เวลานำขี้วัวมากองทิ้งไว้ มันมีความชื้น กระบวนการเผาไหม้ไม่รู้เมื่อ
ไหร่จะสิ้นสุด เราก็ค่อยๆ เรียนรู้จากสิ่งที่เราเห็น ดินดีต้องมีไส้เดือน ขี้ไส้เดือนมีธาตุอาหารมากกว่าดินปกติ 5 เท่า 7 เท่าหรือ
11 เท่า ถ้าดินดีมีไส้เดือน ผักไม่เน่า แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ของผมก็ไม่ต้องใช้ ยาฆ่าแมลงก็ไม่ต้องฉีด และเมื่อนั้นทุกชีวิตใน
ไร่ก็จะดีขึ้น


ทำให้ดินดี โดยไม่ใช้สารเคมี ผลผลิตเป็นอย่างไรบ้าง
เมื่อเริ่มเปลี่ยนวิธีการ ทำดินให้ดี เริ่มเห็นผลในการปลูกพืช จนซื้อนาผืนแรกๆ 500-600 ไร่ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นพันไร่ ที่นา
ที่ผมซื้อ ราคาไม่แพง และเราเห็นว่าวิธีการปลูกแบบนี้ช่วยเกษตรกรได้ จึงอยากเผยแพร่ เพราะข้าวของเราไม่ล้ม ผลผลิตดีกว่า
นาข้างๆ ที่ฉีดยาทุก 7 วัน เพลี้ยมา เขาก็เจ๊ง นาเราไม่เห็นต้องทำอะไรเลย ผมผลิตข้าวแล้วขายให้โรงสี เถ้าแก่โรงสีติดใจ โทรจอง
ข้าวในนาผม ผมเตรียมจะทำโรงสีเพื่อผลิตข้าวของตัวเองแต่ยังไม่มีเงิน เพราะผมให้เอเยนซีทำโฆษณา และซื้อนาหมดเงินไปเยอะ


ใช้เวลาคิดนานไหม
ต้องวัดตั้งแต่วัยเด็กที่ผมเผชิญ ความสูญเสียหลายอย่างในชีวิต แม่ผมเป็นหนี้กู้เงินมาปลูกผัก จนแม่เครียดกระทั่งเผาบ้านตัวเอง
มูลค่าแบบนี้มันวัดเป็นตัวเงินไม่ได้ นี่คือทุนของความคิด อย่างปุ๋ยเคมี ถ้าใช้แบบผงชูรสก็จะดี แต่ทุกวันนี้ใช้กันกระหน่ำ


คุณซื้อที่ดินจำนวนมากเพื่ออะไร
ผมซื้อที่ดินจากเจ้าของสวนส้มที่ไปไม่รอด เขาฉีดยาฆ่าแมลงและสารเคมีทุกวัน แต่ละครั้งชาวบ้านก็ตายผ่อนส่ง ผมแค่ซื้อที่ดินมา
ให้นกกาปลาอยู่ ผมก็พอใจแล้ว ถ้าผมมีเงินผมก็ซื้ออีก เพราะมีชาวบ้านไม่มีที่ดินทำนาอีกเยอะ ผมต้องการทำนาให้คนดู ผมอยาก
ถามว่า ระหว่างการเก็บเงินเอาไว้กับการซื้อผืนนา คุณเลือกแบบไหน ผมเชื่อว่า ไม่มีคนอยากซื้อผืนนา มีแต่ขายนา และผมไม่ไล่
ซื้อที่นาของชาวนา ถ้าพวกเขาจะขาย ผมจะบอกว่า อย่าขาย ถ้าคุณเป็นหนี้ลองทำนาแบบผม ปลดหนี้ได้ ผมมองว่าปุ๋ยกับยา คือ
เสี้ยนหนามที่ตำอยู่ในเนื้อคุณ เสี้ยนหนามนิดเดียว ถ้าติดเชื้อก็เน่า เอาสารเคมีออกไปซะ ก็ไม่มีต้นทุน


นั่นหมายถึงปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ทำให้ชาวนาล้มเหลว ?
สมัยเด็กๆ ครอบครัวผมจนมาก ส้วมยังไม่มีใช้ ผมเคยซ่อมรถ และตอนที่เตี๋ยกับแม่เสียชีวิต ผมเคยไปทำงานที่เชียงใหม่ มีเงินไปหก
เจ็ดหมื่นบาท ก็หมดอีก ไปกู้เงิน ธนาคารไม่ปล่อยกู้ เมื่อไม่เหลืออะไรก็กลับมาที่ผืนนาทำนาและขายดิน เก็บเงินซื้อที่นาได้ เราเข้า
ใจความล้มเหลวของเกษตรกร เป็นความทุกข์แบบเดียวกับเรา เมื่อมีที่นามากขึ้น ผมก็เริ่มมองหาชาวนาที่ไม่มีนาทำ ใครไม่มีนาทำ ก็
แบ่งนาเราให้ทำคนละ 30 ไร่


การแบ่งพื้นที่ให้ทำนา คุณมีเงื่อนไขอย่างไร
ต้องทำนาด้วยวิธีการของผม ห้ามใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง นาปีต้องปลูกข้าวหอมมะลิ นาปรังต้องปลูกข้าวหอมปทุม ถามว่า ทำไม
นาปีต้องปลูกหอมมะลิ ถ้าอาเซียนเปิด คุณจะปลูกข้าวคุณภาพต่ำสู้เวียดนามได้อย่างไร ถ้าทำนาแบบผม ต้นทุนไม่มี ต้นทุนมีแค่การ
ใช้ชีวิตประจำวัน ใช้เครื่องจักรไถดินให้ลึกเพื่อล้วงดิน พลิกหน้าดินให้ร่วนซุย เพราะปกติชาวนาจะแค่ปั่นดิน ตอนนี้ผมมีเกษตรกรมา
ใช้ที่ดิน 52 ครัวเรือน ไม่ต้องเสียค่าเช่านา แต่เมื่อมีผลผลิตแบ่งคนละครึ่ง ปีหนึ่งปลูกข้าวได้ 3 ครั้ง ชาวนาลงทุนค่าน้ำมัน ค่าไถ
ค่าใช้จ่ายของเขา ไม่อย่างนั้นไม่มีความสมดุล เขาจะไม่ทุ่มเทในการทำนา อย่า'พันธุ์ข้าวเราหาให้


ข้าวที่คุณผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ ?
ถ้าคุณถามผมว่า ปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลงไหม ผมจะหลอกให้คุณไปนาผม แล้วล่ามโซ่คุณไว้ในนาผม เพื่อให้คุณดูว่า
ผมใช้อะไรในนา ปกติผมดำนาเสร็จ ก็จบ หนอนแมลงมาก็ปล่อยตามธรรมชาติ ผมปลูกข้าวมาสี่ฤดูกาล ไม่ต้องฉีดยาก็ได้ผลตลอด
อย่างต้นข้าวนาข้างๆ ปลูกได้เดือนกว่าๆ อย่าว่าแต่ลมเลย ตดเจ้าของนาก็ล้มแล้ว


ลองผิดลองถูกมานาน ณ วันนี้คุณทำนาแบบง่ายๆ ต้นทุนต่ำ ผลผลิตสูง?
โคตรง่าย คุณลองคิดดู ถ้าธรรมชาติมัน
ยาก ใครเลี้ยงดูเรา เพราะนายทุนหรือทุนนิยมใช้สื่อฯมอมเมา ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดูยาก นี่คือไฟที่ลุกอยู่ในใจผม พวกคุณตัดแต่ง
พันธุ์ข้าว แล้วบอกว่า ข้าวพันธุ์นี้ต้านเพลี้ยกระโดด ต้านโน้นต้านนี้ เพื่อจะขายพันธุ์ข้าว


แล้วคุณใช้พันธุ์ข้าวแบบไหน
ผมยอมรับนะว่า ผมใช้หอมมะลิ 105 และพันธุ์หอมปทุม พันธุ์เหล่านี้ถูกตัดแต่งมาแล้วทั้งสิ้น ผมก็วอนเลย ถ้าใครมีพันธุ์ข้าวพื้น
เมืองดั้งเดิมเอามาให้ผม ผมก็จนปัญญาที่จะหา มันไม่เหลือแล้ว ทุกอย่างเป็นการตัดแต่งยีน


วิธีการทำนาของคุณ เข้าข่ายนายทุนไหม
ผมเกลียดนายทุน ผมไม่เชื่อว่า ระบบนายทุนจะทำให้คนกลุ่มใหญ่กินดีอยู่ดี เพราะตัวผมเริ่มมาจากเงินไม่กี่บาท ถ้าถามว่าผม
เป็นนายทุนไหม การซื้อที่ดินแบบนี้ ถ้าเป็นนายทุนคงไม่ให้ชาวนาทำโดยไม่เก็บค่าเช่า เพราะนายทุนทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุล
คุณอย่าไปซื้อที่ดินเก็บเอาไว้ แล้วนั่งดู มันไม่ใช่ แล้วคุณกดดันเรื่องค่าเช่าถ้าผมซื้อเพื่อเก็บ ผมไม่ทำ คุณรู้ไหม แผ่นดินไทยมีทอง
คำซ่อนอยู่ ดูไบมีน้ำมันวันหนึ่งก็หมด แต่เมืองไทยมีแผ่นดินที่เหมือนโรงงานที่ผลิตได้ทุกสรรพสิ่ง พื้นที่กว่าพันไร่ ผมทำนาเอง 400
ไร่ ผมก็วางวิธีการให้ลูกน้องทำ


ตั้งบริษัทเพื่อสื่อว่า นี่คือคนทำนาในประเทศนี้ ?
จริงๆ ผมไม่อยากตั้งเป็นบริษัท แต่มันเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม ผมแบ่งส่วนหนึ่งจัดการแบบบริษัท อีกส่วนหนึ่งทำตามวิถีชาวนา
ไม่อยากเอาคำว่าบริษัทครอบงำพวกเขา ถ้าผมชักชวนชาวนามาเสียภาษีผมจะโดนพวกเขาเหยียบตาย ผมตั้งบริษัททำนา ให้ลูก
หลานชาวนารุ่นหลังรู้ว่า ทำนาตั้งบริษัทได้


คุณตั้งใจให้ผืนนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ?
ก็ตั้งใจให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ใครอยากดูก็มา แต่ไม่มีอะไรเลี้ยงนะ เพราะผมซื้อนาจนเกือบหมดตัวแล้ว ผมอยากให้ชาวนาปลูกข้าว
ได้อย่างผม ผมเขียนไว้ในเว็บไซต์ผมว่า ต้นทาง กลางทางและปลายทางของข้าวปลอดสารพิษ ราคาต้องไม่แพง จริงๆ แล้วการ
ปลูกข้าวแบบนี้ต้นทุนต่ำ แต่ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมข้าวเกษตรอินทรีย์ต้องแพง ในวันที่ผมตัดสินใจทำโฆษณา เรามีค่าใช้จ่ายเยอะ


จ้างเอเจนซี่ทำโฆษณาออกทีวี คุณต้องการสื่ออะไร
ที่เราตัดสินใจทำโฆษณา เพราะทำนาไป 2-3 ฤดู แล้วนั่งมองนาข้างๆ มันก็มีคำถามว่า ทำอย่างไรให้คนอื่นรู้วิธีการทำนาแบบนี้
ผมก็เป็นเด็กบ้านนอก นัดเอเยนซีดังมากบริษัทแรก นั่งเครื่องบินมา เขายกเลิกนัดผม เขาไม่เชื่อในสิ่งที่ผมทำ และไม่เชื่อว่าผมมี
เงินจ่าย ผมกลับบ้านทำนา ผมยังมีสื่อวิทยุชุมชน แต่ไม่ใช่สื่อที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้คนเชื่อว่า ดินดีคือปุ๋ยที่ดี แต่ลูกน้อง
ผมไม่ยอม นัดเอเจนซี่อีกกว่าสิบบริษัท จนมาเจอเอเจนซี่ล่าสุด เขาพูดมาคำหนึ่งว่า ขอลงพื้นที่


กว่าจะเจอเอเจนซี่ที่เข้าใจความคิด ก็ถูกหลายแห่งปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย?
ที่ฟังมา คุณคิดว่า ผมบ้าไหม ไม่มีใครคิดแบบผม เมื่อเอเยนซีรายล่าสุดลงพื้นที่ พวกเขาบอกว่า ขอเป็นเพื่อนกับผมได้ไหม
ตอนหลังผมมารู้ว่า ผู้บริหารบริษัทครีเอทีฟแบงค็อกจูซ/จีวัน บ้าต้นไม้เหมือนผม ไม่ใช้สารเคมี แล้วมาเจอต่อ - ธนญชัย ผู้กำกับ
โฆษณา ผมก็ไม่รู้เขาคือใคร สุดท้ายมารู้ว่า พวกบ้าเหมือนกันมาเจอกัน


โฆษณาชุดนี้ ไม่ต้องการขายของ แล้วคุณใช้เงินมากขนาดนั้นเพื่ออะไร
ผมประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ผมให้โจทย์เอเยนซีว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้เกษตรกรเข้าใจว่า ดินดีคือ ปุ๋ยที่ดี ผมไม่ได้ให้โจทย์ว่าทำ
อย่างไรให้มียอดขาย เพราะผลิตภัณฑ์ผม ทำเยอะไม่ได้ ปัญหาที่ผมเจอ คือผมเป็นเกษตรกรตั้งแต่เด็กจนโต จนถึงวันนี้ปัญหา
ที่ใหญ่มากเลยไม่ใช่ปัญหาที่พูดทางจอทีวี นาข้าวที่มีน้ำมีดิน ดินแน่นๆ แบบนั้น ปลูกข้าวไม่งามหรอก ลมมาต้นข้าวล้ม เมื่อเอายาฆ่า
เพลี้ยไปฉีด กบ นา นก หายหมด ระบบนิเวศน์พัง ทำนาขาดทุน แต่นาข้าวผมดินร่วนซุยลงไปในนาดินหล่นไปถึงหน้าแข้ง แค่นี้ก็
สำเร็จแล้ว ผมทำให้หน้าดินดี กบ นก หนูก็มาอยู่เต็มไปหมด


โฆษณาออกไปแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง
กลายเป็นจุดประเด็นว่า ต่างชาติหรือเปล่าที่ซื้อที่ดินทำนาขนาดนี้ ผมอยากถามว่า คนไทยคิดดีๆ ไม่เป็นหรือ แล้วฝรั่งมันเก่งนัก
หรือ ผมอยากถามว่า ทั่วโลกนี้ใครทำนาเก่งเท่าคนไทย ผมก็แค่เด็กบ้านนอกและอยากสื่อสารว่านี่คือสัจจะแห่งธรรมชาติ ก็มีคน
เข้าใจสิ่งที่ผมสื่อออกไป ผมมีไร่นาขนาดนี้ ไม่ต้องขายอะไรก็มีกินแล้ว มันเหนื่อยนะที่ต้องมานั่งต่อสู้ ถ้าผมมุ่งหวังผลทางธุรกิจ
ทำแบบนี้ไม่ได้ ผมแค่อยากทิ้งความร่ำรวยของเกษตรกรให้ลูกหลาน ตอนที่ยังไม่มีการใช้สารเคมีมากมาย ปลูกพืชก็ขึ้น แต่เดี๋ยว
นี้ไม่มีแล้ว ผมเชื่อว่าย้อนกลับไปได้ ถ้าผมไม่ทำนาสองสามพันไร่ ผมออกมาพูด คุณก็มองว่าสร้างภาพ พอโฆษณาออกไปมีคน
โทรมาถามว่า ผมทำอะไร ขายอะไร ผมแค่อยากให้คนรู้ว่า ดินดีคือปุ๋ยที่ดี ซึ่งคนก็เข้าใจ ตอนแรกต้องให้คนดูศรัทธาก่อนว่าผมทำ
อะไร ผมคงหาเงินทำโฆษณาต่อ เพื่อบอกว่า นี่คือการผลิตข้าวหอมมะลิด้วยดินที่ดี ถ้าคุณเข้าใจ เรื่องนี้ก็ไม่บ้า และผมอยาก
บอกว่าความอุดมสมบูรณ์ต้องเริ่มจากดิน ซึ่งแค่นี้ก็ไม่มีคนทำ ถ้าทำแบบนายทุน มันไม่ใช่แค่นี้ มันต้องได้เงิน


คุณคิดว่า โฆษณาชุดนี้ จะทำให้ลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านไปทำนาหรือ
คนรุ่นใหม่ที่พ่อแม่ทำนา โทรมาขอวิธีการว่า ผมทำได้จริงหรือ มีไส้เดือนในนาจริงหรือ ผมก็บอกว่า ลองมาดูนาผม หรือกลุ่มที่ฟัง
วิทยุก็รู้ว่า เราทำจริง ไม่ได้หลอกลวง ผมคิดว่าเวลาในชีวิตเหลือน้อย ก็เลยต้องคิดในมุมกว้าง ส่วนมุมลึกก็มีคนลุยเรื่องเกษตรอินทรีย์
แล้วคุณรู้ไหมทำไมเกษตรกรเชื่อมั่นในสารเคมี เพราะนายทุนใช้สื่อฯ ผมก็เลยต้องใช้สื่อที่มีอิทธิพลล่อมันกลับไป เพราะในพื้นที่
99 เปอร์เซ็นต์ทำไร่ทำนาแบบใช้สารเคมี ผมจึงต้องลุกขึ้นมาทำ โฆษณาบางผลิตภัณฑ์ใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือทำกิจกรรมเพื่อสังคม
(CSR) ให้บริษัท


ปัจจุบันมีนากว่า 3,000 ไร่ แบบนี้จะเรียกว่า ชาวนาผู้ร่ำรวยได้ไหม
แค่ไหนถึงเรียกว่าจนหรือรวย ผมมองความร่ำรวยชาวนาไม่ใช่ปริมาณเงินของเขา ลองคิดดูชาวนาทิ้งไร่นาไปรับจ้างที่กรุงเทพฯ
แล้วเอาลูกสาวไปด้วย บางคนถูกคนงานข้างแคมป์ข่มขืน เพราะนาของเขาล้มเหลวเหมือนสมัยผมทำนากับเตี๋ย ถามว่าถ้าทำ
ตามแนวทางผม ประสบความสำเร็จไหม ต้องไปถามชาวนาที่ทำตามแนวทางผม เมื่อผมใช้การสื่อสารแบบทุนนิยม คนก็มองผมว่า
ผมเป็นต่างชาติ ถ้าถามว่า มีใครอยู่เบื้องหลัง เบื้องหลังผมมีคนเดียวครับ พระเจ้า มีความจริง ความรัก ชีวิตเราเผชิญมาเหมือน
ชาวนาที่เป็นหนี้ เราเจ็บปวดมามากพอ ตอนที่แม่ผมเผาบ้าน ไฟยังลุกโชนอยู่ในใจผม


ตอนนี้ผมอายุ 44 ปี จะให้ผมรอได้แค่ไหน ถ้าวันนี้พรุ่งนี้ผมโดนรถชนตาย งานหนักๆ บ้าๆ แบบนี้ใครจะทำ อยากจะสื่อสารให้เร็ว
ที่สุดเพื่อให้คนรับรู้ แล้วที่เหลือใครจะตักตวงผลประโยชน์ ก็ช่างเขา ที่ผมต้องค้าขาย เพราะผมอยากทำทานทั้งชีวิต โดยไม่ขอ
ทานใคร ผมเกลียดพวกมีซองยื่น คุณอยากทำดี คุณอย่าขอใคร หาเงินทำเอง เพราะฉะนั้นผมอยากจะทำสิ่งดีๆ ที่ผมคิดได้ ทำ
เป็น แล้วจะให้ผมแบมือขอใคร


วิธีการทำนาแบบนี้ช่วยชาวนาปลดหนี้ได้จริงหรือ
ผมเคยถามชาวนาว่า ใครเป็นหนี้ยกมือขึ้น...ยกทุกคน ตอนนี้ 52 ครัวเรือนมาทำนาแบบผม ผมถามว่าใครปลดหนี้ได้บ้าง...มี คุณคิดดู
เกษตรกร 70 เปอร์เซ็นต์เป็นหนี้ทุกครัวเรือน ผู้ใหญ่หมานเป็นคนดูนาให้ผม เป็นหนี้สามสี่แสน เขาเพิ่งเล่าให้ผมฟังว่า ทำนาแบบผม
ปีเดียวหมดหนี้ ชาวนาอีกคนทำนาแปดไร่ให้แม่ยายทำ เจ๊งตลอด หันมาทำแบบผม ได้ข้าว 10-11 เกวียน แทนที่จะขายเกวียนละ
หมื่นห้าเหมือนราคาจำนำ ปรากฏว่าชาวนาแถวนั้นข้าวเสียหายหมด เพราะใช้สารเคมี ต้องมาขอซื้อพันธุ์ข้าวจากเขาเกวียนละสาม
หมื่นบาท ผมแค่อยากให้เกษตรกรหมดหนี้ทุกครัวเรือน มีเงินฝากครัวเรือนละ 100,000 บาท นี่คือความฝันของผม



ฝันเฟื่องหรือเปล่าถ้าผมทำไม่ได้ ผมจะพูดหรือ
ตอนนี้เมืองไทยไม่ได้เป็นผู้นำในการส่งข้าว คุณมองปัญหานี้อย่างไร
คุณเคยเดินเข้าไปในนาข้าวหอมมะลิไหม
กลิ่นมันหอม ถ้าใช้สารเคมี ข้าวไม่มีกลิ่นหอมแล้ว บางคนไม่เคยกินข้าวที่เวลาเคี้ยวหอมในปาก ชาติไหนปลูกข้าวโดยใช้สารเคมี
ผมกล้าชนหมด อย่างอินเดียนำเข้าปุ๋ยเคมีอันดับหนึ่ง แล้วคุณคิดว่าจะมีคุณภาพได้อย่างไร


แต่อินเดียก็ส่งข้าวออกขายเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ก็ใช่ แต่ด้วยเหตุผลอะไร คนก็รู้ดี ถ้ามีคนบอกว่า ข้าวไทยคุณภาพดีที่สุด ผมว่าตลก ชาวนาถูกมอมเมาด้วยความคิดว่า ถ้าใส่ปุ๋ย
เคมีจะช่วยพัฒนาคุณภาพข้าวในเรื่องรสชาติ และสีสัน


หลายคนบอกว่า คุณภาพข้าวไทยติดอันดับโลก ?
ไม่จริง ข้าวทั่วโลกดีที่สุดเหมือนกันหมด ถ้าเติบโตตามวิถีธรรมชาติ แต่ไทยโชคดีที่สุด มีข้าวหอมมะลิ เพราะราคาดีและคนนิยม แม้
ทุ่งกุลาร้องไห้จะปลูกข้าวหอมมะลิได้ดีที่สุด แต่ปลูกในกำแพงเพชรก็ยังดีกว่าทั่วโลก ประเทศอื่นปลูกข้าวหอมมะลิสู้เราไม่ได้
ดังนั้นการแก้ปัญหาเรื่องข้าวคือ คุณภาพต้องดี


การสร้างแบบอย่างให้คนทำนา เจอปัญหาเยอะไหม
ถ้าถามว่าผมหวังอะไร ผมก็คิดว่า คนเราเกิดมาก็ใช้ชีวิตแก้ปัญหาที่มันเห็นอยู่ให้คุ้ม มันก็จบ ถ้าเกษตรกรหย่าร้างจากสารเคมี คุณ
จะปลูกอะไรก็ได้ ตอนผมทำสวนสองไร่ ผมปลูกผักแล้วเน่า เพราะมีเชื้อรา ก็มีคนสอนผมให้เอาข้าวโพดมาปลูก ปลูกมะเขือหนึ่งไร่
ได้เงินเป็นแสน จริงๆ แล้วแนวคิดพระราชดำริเรื่องเกษตรพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางที่ดี แต่ถูกถ่ายทอดมาหลายชั้น มีคน
นำไปใช้ผิดแนวทาง อย่างคนทำเกษตรอินทรีย์บางคน ไม่รู้ก็ไปขนขี้วัวขี้ไก่สดๆ มาใส่ดิน โดยไม่มีบ่อพักให้ย่อยสลาย อยู่ๆ คุณ
เอามาใส่เลย ปลูกพืชก็เน่าหมด เวลาเอาปุ๋ยคอกสดๆ มาใส่ ไนโตรเจนสูง ดอกร่วง รสชาติไม่ดี ก็เหมือนเอาปุ๋ยยูเรียไปใส่ ต้นข้าว
ล้ม นี่คือปัญหา


คุณคิดอย่างไรกับการจำนำข้าว
ไม่ว่าจะจำนำหรือประกัน อย่ายกเลิกทั้งสองอย่าง คุณต้องมีอะไรมาทดแทนให้เกษตรกรก่อน ยกตัวอย่าง 3 ทางรอดของเกษตรกร คือ

1 ต้นทุนต้องต่ำ
2 ผลผลิตต้องเพิ่ม
3 คุณค่าผลผลิตต้องดี


สามอย่างจะเริ่มได้ต้องดินดี คือ ปุ๋ยที่ดี ถ้ามีผลผลิตที่มีคุณภาพ จะจำนำหรือประกันก็ทำได้



ก่อนหน้านี้คุณก็ไม่ต่างจากชาวนาทั่วไป แล้วอะไรทำให้คุณปรับเปลี่ยนวิธีคิด ?
ผมไม่เป็นหนี้ใคร ถ้าผมเป็นหนี้ ถือว่า
ล้มเหลว ผมจึงวางแนวทางว่า ต้องเป็นแบบอย่าง ถ้าเป็นหนี้แล้วมาให้สัมภาษณ์บอกว่าประสบความสำเร็จ แต่พอกลับไปดูเบื้อง
หลังมีแต่หนี้ แล้วคุณจะอยู่อย่างไร


เวลาคุณมองไปที่ต้นข้าว คุณรู้สึกอย่างไร
ตามหลักความเชื่อผมนะ พระเจ้าได้สร้างเกษตรกรเป็นอาชีพแรก เพราะพระเจ้ารู้ว่าจะมีมนุษย์เกิดขึ้นอีกมากมาย จะต้องมีอาหาร
เลี้ยงมนุษย์ ผมเห็นข้าวแตกกอตั้งท้อง หอมมะลิหอมมาก ออกรวงและมีชีวิตช่วงเก็บข้าว ข้าวจึงไม่ใช่แค่สินค้า


ตกลงว่าคุณเป็นนักธุรกิจหรือชาวนา ?
นิยมคำว่า พ่อค้าของโลกหมายถึงอะไร สิ่งที่ผมไปค้นในอินเทอร์เน็ต คือ ผู้ให้ความมั่นคง การทำนาสมัยนี้ง่ายมาก ผมให้ลูก
น้องไม่กี่คนทำ เพิ่งปลูกข้าวหอมมะลิเสร็จ เมื่อก่อนปลูกข้าวสิบไร่ลำบากมาก เดี๋ยวนี้ปลูกข้าวหมื่นไร่สบายมาก มีเทคโนโลยี
การใช้เครื่องจักรไม่ใช่เรื่องผิด แต่ผมไม่ใช่นักธุรกิจ ผมจึงขายข้าวเข้าโรงสีหมด ผมมีแค่ไหนก็ทำแค่นั้น คนไม่ค่อยรู้จักผมหรอก
ผมก็อยู่บ้านนั่งคิดงาน เขียนงาน ว่างก็ไปนา


คุณยังมีความคิดที่จะซื้อที่ดินเพิ่มอีกหรือ
ตอนนี้ผมกำลังหาเงินซื้อที่ดินอีกพันไร่ตรงข้ามนาผม นายทุนที่ซื้อไว้อยากขาย แต่ผมไม่ใช่นักเก็งกำไรที่ดิน ผมไปเดินดูนา
แปลงนั้น (โชว์ภาพจากไอโฟน...ปลาเล็กปลาน้อยลอยน้ำตาย) ผมเห็นแล้วน้ำตาไหล เพราะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรไป
สอนชาวนาว่า เนื้อที่กว้างคูณยาวหนึ่งเมตร ถ้าเจอหนอน แมลง ให้เอายาไปฉีด


คุณเป็นชาวคริสต์ที่มีศรัทธาในพระเจ้า?
ผมอยู่โบสถ์ โบสถ์หล่อหลอมให้ผมรู้จักความรักมากกว่าศาสนา ศาสนาเป็นแค่กฎเกณฑ์ เหนือทุกศาสนาคือความรัก
คนไหว้ศาลต่างๆ เพราะเชื่อว่า สิ่งเหล่านั้นศักดิ์สิทธิ์ มีความรักให้เขา




http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20120911/469535/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%90-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A1-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4 ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©