-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/05/2013 9:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

149. แปรรูปข้าวเสาไห้ 'เจ๊กเชย' ต่อยอดพาณิชย์











แปรรูปข้าวเสาไห้ 'เจ๊กเชย' ต่อยอดพาณิชย์-ร่วมอนุรักษ์ :

โดย...สมนึก สุขีรัตน์



ด้วยบริบทของข้าวเสาไห้พันธุ์ "เจ๊กเชย" เมื่ออดีตนำมาซึ่งชื่อเสียงของ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะท้องถิ่นซึ่งผลิตข้าวที่มีคุณภาพและได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทว่า ปัจจุบันข้าวพันธุ์นี้อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ตลาดซบเซา จึงเป็นแรงผลักให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ช่วยกันพยุงวิถีข้าวสายพันธุ์นี้ รวมทั้ง นางเปรมจิต กิ่งพิกุล เกษตรกร และเจ้าของโรงสี ที่นำมาต่อยอดด้วยแปรรูปบรรจุเป็นข้าวถุงจำหน่าย กระตุ้นตลาด อีกทั้ง ร่วมอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่พื้นถิ่นต่อไป

จากที่นายทวี มาสขาว เกษตรจังหวัดสระบุรี และนายปรีชา สายแสง เกษตรอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ได้ลงพื้นที่สำรวจเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเสาไห้พันธุ์ "เจ๊กเชย" ซึ่งเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาได้สร้างชื่อให้ อ.เสาไห้ โดยการสำรวจครั้งนี้ เมื่อต้นปี 2556 พบมีเกษตรกรเพียง 7 ราย ปลูกข้าวพันธุ์นี้บนพื้นที่นารวมทั้งสิ้น 47 ไร่ ซึ่งแต่ละรายล้วนปลูกไว้กินเอง เหตุผลนี้จึงทำให้เกิดโครงการอนุรักษ์ข้าวเสาไห้พันธุ์ ”เจ๊กเชย”

"ปี 2556 นี้ จ.สระบุรี จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์เจ๊กเชยมากขึ้น ทั้งในแง่การอนุรักษ์ และเชิงพาณิชย์ เพาะเป็นข้าวคุณภาพดีของจังหวัด ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์แท้ดั้งเดิมของท้องถิ่น เพราะที่เป็นข้าวเสาไห้จำหน่ายกันในปัจจุบันเป็นข้าวที่ผสมผสานสายพันธุ์อื่น จะไม่ใช่ข้าวเสาไห้แท้ร้อยเปอร์เซ็นต์" นายทวี กล่าว

พร้อมเล่าถึงที่มาของข้าวเสาไห้พันธุ์ "เจ๊กเชย" ว่าเกษตรกรนำมาเพาะปลูกในเขต อ.เสาไห้ เป็นครั้งแรกเมื่อเกือบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา จึงใช้ชื่อพันธุ์ข้าวไปตามชื่อของ อ.เสาไห้ และเรียกกันติดปากมาจนทุกวันนี้ โดยคุณสมบัติเด่นของข้าวพันธุ์นี้เป็นข้าวที่ขึ้นน้ำ เมื่อสีออกมาเป็นข้าวสารแล้วเมล็ดจะมีสีขาว มีรสชาติอร่อย หอม นุ่ม

นางเปรมจิต กิ่งพิกุล ในวัย 69 ปี ผู้ซึ่งนับเป็นบุคคลที่ร่วมอนุรักษ์ข้าวสายพันธุ์นี้มาอย่างยาวนาน ย้อนอดีตให้ฟังว่า ด้วยบิดาเป็นเจ้าของโรงสีข้าว ”กองไทฟง” ตั้งอยู่เลขที่ 44 หมู่ 1 ต.เมืองเก่า อ.เสาไห้ จ.สระบุรี เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ได้สั่งสอนให้ลูกๆ ร่วมกันอนุรักษ์ข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเสาไห้นี้ไว้อย่าให้สูญพันธุ์ เพราะเป็นพันธุ์ข้าวคู่บ้านคู่เมืองเสาไห้มาแต่โบราณ ในส่วนของตนเองจึงได้เพาะปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง บนพื้นที่ 15 ไร่ จุดประสงค์แรกคือเพื่อไว้รับประทานเองในครอบครัว

"ได้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากพ่อทั้งแง่การอนุรักษ์และทำโรงสี ซึ่งตอนนี้มีข้าวเปลือกพันธุ์นี้อยู่ 5 ตันเศษ จึงทยอยสีเป็นข้าวสารบรรจุถุงพาสติก แพ็กอัดแน่นแบบสุญญากาศทำเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ขนานแท้ดั้งเดิม ถุงละ 2 กก.ขายถุงละ 80 บาท ภายใต้แบรนด์ "ข้าวย่าเปรม ข้าวปลอดสารฯ" จำหน่ายที่ปั๊มน้ำมันสามชายปิโตรเลี่ยม 126 หมู่ 1 ต.หนองยาว อ.เมือง จ.สระบุรี" ป้าเปรมจิต กล่าว

พร้อมยอมรับว่า ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่แปรรูปข้าวสายพันธุ์นี้ด้วยบรรจุถุงจำหน่าย ตลาดไม่ดีเท่าที่ควร เพราะคนรุ่นใหม่น้อยคนที่จะรู้จักข้าวเจ๊กเชย หากเป็นคนรู้จักต้องเป็นผู้มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ต่อเมื่อเกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอ มีโครงการอนุรักษ์และเพื่อเชิงพาณิชย์ขึ้นตนเองจึงเข้าร่วมโครงการ

โดยป้าเปรมจิต ฝากถึงเพื่อนเกษตรกรที่ปลูกข้าวเจ๊กเชยว่า ในปีนี้และปีต่อๆ ไปยินดีรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกเจ๊กเชยชนิดไม่อั้น ด้วยสนนราคาขึ้นลงตามท้องตลาด ซึ่งนอกเหนือในบริบทเชิงพาณิชย์แล้ว สิ่งสำคัญคือเพื่อให้ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้คงอยู่และกลับมาได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอีกครั้ง สนใจอยากลองลิ้มรสชาติ ”ข้าวย่าเปรม ข้าวปลอดสารฯ" สอบถามที่โทร.08-9744-1411



http://www.komchadluek.net/detail/20130315/153911/%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html#.UZBQ0cz-K14
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/05/2013 3:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

150. "ก.วิทย์ฯ" เร่งมาตรการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวครบวงจร






กระทรวงวิทย์ฯ ร่วม กรมการข้าว เร่งมาตรการบริหารจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบครบวงจร เน้น 4 แนวทางหลัก หวังสร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกรไทย เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูง ตั้งเป้าผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้ 600,000 ตัน ภายใน 3 ปี สร้างรายได้เพิ่มแก่เกษตรกรกว่า 50,000 ล้านบาท/ปี


วันนี้(13 พค.) นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในโอกาสวันพืชมงคล ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญของเกษตรกรไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ผลักดันและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย โดยการบูรณาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวไทย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก โดยรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของไทยและส่งออกข้าวจาก 170,000 ล้านบาท เป็น 250,000 ล้านบาท ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตและส่งออกข้าวคุณภาพ ราคา 700 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ขึ้นไปเป็นหลัก


ทั้งนี้ กระทรวงวิทย์ฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งดำเนินงานร่วมกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริหารจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวครบวงจร โดยหาช่องทางผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพสูง เพื่อเพิ่มผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้ 600,000 ตัน/ปี เนื่องจากในขณะนี้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งในแต่ละปีชาวนามีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการเพาะปลูกประมาณ 1 ล้านตัน ขณะที่ภาครัฐและเอกชนสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีได้เพียงปีละ 400,000 ตัน ซึ่งยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร


กระทรวงวิทย์ฯ และกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีมาตรการบริหารจัดการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ออกเป็น 4 แนวทาง คือ การเพิ่มอาชีพเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูง โดยการส่งเสริมและถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้กับศูนย์ข้าวชุมชน สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน และเอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนเงินทุนหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และราคาจูงใจที่เหมาะสม การพัฒนาผู้ตรวจประเมินคุณภาพแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การลดเวลาในกระบวนการตรวจรับรองแปลงเมล็ดพันธุ์ (GAP seed) โดยให้สถาบันการศึกษาจากภาครัฐและเอกชน ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจ และยกระดับกรมการข้าวเป็นผู้ให้การรับรอง และ สวทช. สนับสนุนเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจ เสนอการบังคับใช้ พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืชสำหรับการผลิตเพื่อการค้า เพื่อลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ทราบคุณภาพออกจากระบบ และการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของ ธกส. เป็นกลไกส่งเสริมการผลิตและใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี โดยเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ซึ่งรวมถึง ผู้จำหน่ายต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว และกำหนดให้ชาวนาที่ใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น จากกลไกการบริหารดังกล่าวข้างต้น คาดว่าจะสามารถแก้ปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้คุณภาพ ภายในระยะเวลา 3 ปี



http://www.dailynews.co.th/technology/204137
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/05/2013 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

151. ปลูกจิตสำนึกทำนาปลูกข้าว สาธิตนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี

ชลธิชา ศรีอุบล
กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี


เพื่อตระหนักและเห็นความสำคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียง อาชีพเกษตรกร โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ภายใต้การนำของ รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้นำนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 46 คน ลงดำนาปลูกข้าว ตลอดจนเรียนรู้เรื่องข้าวและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากข้าว ในรายวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และรายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นเรื่องของหลักเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการเรียนการสอนต้องการให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของข้าวและนวัตกรรมเกี่ยวกับข้าว

ตลอดจนมีความตระหนักเห็นความสำคัญของข้าวแต่ละเม็ดว่ามีความเป็นมาอย่างไร กว่าที่จะเจริญเติบโตมาเป็นข้าวให้รับประทาน ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างจิตสำนึกของเด็กๆ จึงดำเนินจัดการศึกษาดูงาน และปฏิบัติจริง เริ่มตั้งแต่ถอนกล้า ดำนา ตลอดจนกระบวนการผลิตข้าว ณ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี หลังจากนั้นนำมาผลิตภัณฑ์ข้าวมาแปรรูปเป็นอาหารรับประทาน แต่ละกระบวนการเรียนการสอนเหล่านี้จะทำให้เด็กๆ ได้คิดและสร้างความเข้าใจ เนื่องจากได้ลงมือปฏิบัติจริง

สาวลูกครึ่งเกาหลี “ยูจิน” ด.ญ.ยูจิน กู นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ร.ร.สาธิตนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี เล่าว่า ตื่นเต้นที่คุณครูจะพาไปทำนา เพราะไม่เคยเห็นนา อยากทำนามาก เมื่อไปถึงสนุกมาก เห็นชาวนากำลังดำนาอยู่หลายคน น่าจะสนุก เหมือนชาวนาไม่ร้อน แต่เมื่อลงไปถอนกล้า ต้นกล้าถอนง่าย แต่แดดร้อนมาก ทำให้รู้ว่าการทำงานยากมาก กว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเม็ด “หนูรักชาวนาที่ทำนาให้หนูมีข้าวกิน” ตอนบ่ายได้อยู่กลุ่มของการทำ “ขนมครก” ขนมครกทำมาจากแป้งข้าวเหนียว สนุกมากที่ได้ทำขนมครก

ไม่ต่างจาก “ภูมิ” ด.ช.ภูเบศ มุ้งทอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ร.ร.สาธิตนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี เล่าว่า แดดร้อนมาก ลงไปในโคลนมันสนุกมาก ดำนายาก ต้องทำต้นกล้าให้เป็นแถวๆ ต้องปักต้นกล้าลงไปทำให้ตรง กว่าจะปักกล้าลงไปยากมาก กว่าข้าวจะเป็นเม็ด ต้องมาจากเปลือก ต้องเข้ากระบวนการผลิตสีข้าว นำข้าวที่ได้มาผลิตแปรรูปเป็นอาหาร “ข้าวแต๋น” ได้ฝึกทำข้าวแต๋นด้วย “อยากไปทำนาอีกครั้ง ช่วยชาวนาทำนา”

“จันทร์เจ้า” ด.ญ.กมล อร่ามเรือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ร.ร.สาธิตนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี เล่าว่า เห็นแผ่นข้าวแต๋นก่อนนำไปทอดช่วงบ่าย นึกถึงตอนที่ได้ลงไปดำนาจริงๆ ในช่วงตอนเช้า “การเดินบนโคลน” ยากมากเลย ต้องพยุงตัวไม่ให้ล้ม ชาวนาเก่งมาก ที่สามารถเดินบนโคลนได้ “หนูดำนาเสร็จเป็นคนสุดท้าย เนื่องจากตอนปักกล้าลงไปมันทำยากมาเลย ต่อไปนี้หนูจะไม่ทานข้าวเหลืออีกแล้วค่ะ”

“ทอย” ด.ช.ภูรินทร์ จิตติสุรัตน์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ร.ร.สาธิตนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี เล่าว่า จะชวนพ่อกับแม่ไปที่ศูนย์วิจัยข้าวอีกครั้ง อยากไปช่วยชาวนาทำนา เคยลงโคลนในสวนบ้านยาย แต่ไม่เคยลงโคลนในแปลงนา มันเหนียวมาก แดดยังร้อนอีก “ผมล้มในโคลนด้วย” เคยเห็นแต่เม็ดข้าวที่โลตัส ไม่เคยรู้ว่า กว่าจะเป็นเม็ดข้าวต้องผ่านการปลูกข้าวในโคลนมาก่อน หลังจากที่ทำนาเสร็จได้มาทำขนมข้าวตู ซึ่งทำมาจากข้าว กว่าจะเป็นข้าวตูที่กินได้ต้องผ่านวิธีผลิตที่ยากเหมือนกัน ผมจะตักข้าวและกับข้าวที่พออิ่มข้าวจะได้ไม่เหลือ”

โรงเรียนแห่งนี้ เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2555 โดยกระบวนการเรียนการสอนทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ ซึ่ง สพฐ.เปิดสอนทั้ง 860 ชั่วโมง แต่สาธิตนวัตกรรมเปิดสอนทั้งหมด 1,060 ชั่วโมง โดย 860 ชั่วโมง การเรียนการสอนที่บูรณาการผสมผสาน เนื้อหาเชื่อมโยงเข้ากับตัวหลักสูตรกลุ่มสาระ ส่วนอีก 200 ชั่วโมง มีการเสริมในเรื่องของภาษาอังกฤษเข้าไปในตัวหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นฝึกประสบการณ์ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ปัญหาและมีเหตุผล เน้นทักษะปฏิบัติ สนใจกระบวนการเรียนการสอนโรงเรียนแห่งนี้ สอบถามได้ที่ โทร.0-2549-4712, 08-1777-4318 หรือ www.teched.rmutt.ac.th



http://www.news.rmutt.ac.th/archives/29598
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/05/2013 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

152. มิติใหม่แก้ 'ขาดแคลนพันธุ์ข้าว'

จัดแผนดาวกระจายสู่เกษตรกร มิติใหม่แก้ 'ขาดแคลนพันธุ์ข้าว'

โดย...ดลมนัส กาเจ








หากดูข้อมูลการปลูกข้าวในประเทศไทย พบว่ามีพื้นที่สำหรับทำนาปลูกข้าวทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 69.82 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 57.42 ล้านไร่ นาปรัง 12.40 ล้านไร่ หากเกษตรกรทำนาปลูกข้าวเต็มพื้นที่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ทั้งสิ้นถึง 1.050 ล้านตัน แต่ในความเป็นจริงเกษตรกรที่ยังยึดอาชีพทำนาในปัจจุบันในพื้นที่เพียง 34 ล้านไร่ เป็นการทำนาปีราว 22 ล้านไร่ และนาปรังราว 12 ล้านไร่ กระนั้นเกษตรกรยังประสบปัญหาขาดเมล็ดพันธุ์และเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวไม่ค่อยดีนัก

ในจำนวนพื้นที่ปลูกข้าว 34 ล้านไร่ แต่ละปีเกษตรกรต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 6 แสนตัน ขณะที่หน่วยงานภาครัฐมีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพอยู่ในวงจำกัด ทางกรมการข้าวได้กำหนดแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการภายในปี 2560 คือต้องผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้ได้ปีละ 6 แสนตัน โดยเน้นให้กระจายการผลิตสู่ชุมชนมากที่สุด เน้นเกษตรกรพึ่งตนเองมากที่สุด

ตามแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการนั้น ปี 2556 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ได้ 8 หมื่นตัน ให้สหกรณ์การเกษตรผลิต 3 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชนผลิต 1 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้าผลิต 2 แสนตัน คาดว่าปี 2556 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ 4.1 แสนตัน

ส่วนปี 2557 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ 7.5 หมื่นตัน แต่จะให้ส่วนอื่นขยายการผลิตเพิ่มขึ้น คือสหกรณ์การเกษตรผลิตเพิ่มเป็น 3.2 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชน 1.25 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้าผลิต 2.25 แสนตัน คาดว่าในปี 2557 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ 4.57 แสนตัน และปีถัดไปจะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2560 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเหลือเพียง 6 หมื่นตัน สหกรณ์การเกษตร 3.75 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชน 1.75 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้า 2.75 แสนตัน คาดว่าปี 2560 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ตามเป้า 6 แสนตัน

นอกจากนี้ กรมการข้าวยังมีการบูรณาการร่วมหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน เพื่อให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเชิงพาณิชย์เพื่อความยั่งยืน โดยเริ่มนำเอาต้นแบบเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ และใช้เป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อขยายผลให้แก่กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

ล่าสุด ได้เปิดตัวศูนย์ข้าวชุมชนระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี หลังจากมีการกระจายศูนย์ข้าวชุมชนมาแล้วในพื้นที่ จ.สกลนคร จ.สุพรรณบุรี เพื่อเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพจำหน่ายในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง โดยแต่ละศูนย์ข้าวชุมชนต้องนำเชื้อเมล็ดพันธุ์จากกรมการข้าวเท่านั้น และทางกรมการข้าวจะเป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำขั้นตอนในการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กรมการข้าวกำหนดไว้

"กรมข้าวมีภารกิจหลักในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์บริสุทธิ์ พันธุ์คัด พันธุ์หลัก พันธุ์ขยาย และพันธุ์จำหน่ายบางส่วน แต่เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ดีจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ทางกรมการข้าวจึงจัดทำยุทธศาสตร์การผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว ตลอดจนควบคุมกำกับดูแลคุณภาพเมล็ดข้าวที่จำหน่ายให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และให้เกษตรกรมีโอกาสใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพอย่างทั่วถึง" นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดศูนย์ข้าวชุมชนระแหง เมื่อเร็วๆ นี้

อธิบดีกรมการข้าว ยอมรับว่า การที่เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นอีกส่วนหนึ่งจากหลายปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตข้าวของไทยได้ผลผลิตไม่มากนัก จึงมั่นใจว่าภายในอีก 2-3 ปีหรือในปี 2560 ประเทศไทยจะสามารถผลิตเมล็ดข้าวตามโครงการนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร และมั่นใจว่า ในเขตชลประทานผลผลิตข้าวของชาวไทยต้องได้ไม่ต่ำกว่า 800 กก./ไร่ โดยเมล็ดข้าวที่เกษตรกรนิยมใช้มากที่สุดและถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวช่วยชาติคือพันธุ์ กข.41 และกข.47 แต่อีกไม่นาน กรมการข้าวจะรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ที่เป็นสุดยอดของพันธุ์ข้าวที่เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรคือพันธุ์ กข.49 ที่ทนต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและให้ผลผลิตสูงด้วย

ด้าน นายเปรม ณ สงขลา ผู้คร่ำหวอดในวงการเกษตรทั้งที่มีอาชีพชาวนา และสื่อมวลชนสายเกษตรมากว่า 40 ปีในฐานะบรรณาธิการวารสารเคหการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาการกำหนดยุทธศาสตร์การทำนาสะเปะสะปะ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด แต่ยุคนี้ยอมรับว่า กรมการข้าวเดินถูกทางแล้ว เริ่มที่จุดแก้ปัญหาหลักคือการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ก็ทำให้เพียงพอต่อความต้องการ มีการเน้นที่เทคโนโลยีการเกษตรนำมาใช้เพื่อให้เกษตรกรยกระดับการทำนาให้มีคุณภาพและได้ผลผลิตสูง

"บ้านเรามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงไม่แพ้ประเทศอื่น แต่ปัญหาอยู่ตรงที่เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีไม่เพียงพอ อย่างของผมทำนามานับสิบๆ ปีแล้ว ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่าไร่ละ 1,000 กก. บางปีได้ถึง 1,400 กก./ไร่ อย่างปีที่แล้วน้ำท่วม ชาวนาไม่สามารถปลูกข้าวได้ พอน้ำลดชาวนาปทุมธานีปลูกข้าว ต่างพูดเสียงเดียวกันว่าข้าวล้นนา ได้ผลผลิตไร่ละกว่า 1,200 กก. เพราะนาได้พักช่วงน้ำท่วม ตรงนี้จึงขอแนะว่า ให้เกษตรกรทำนาเพียงปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้พักนา จะสามารถตัดวงจรของแมลงศัตรูพืชได้" นายเปรม กล่าว

เช่นเดียวกับนายช้อย การะเกษ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนระแหง บอกว่า อดีตนั้นต้องยอมรับว่าเมล็ดพันธุ์คุณภาพมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ชาวบ้านต้องอาศัยเมล็ดข้าวที่ผลิตกันเอง ซึ่งบางครั้งยอมรับว่าไม่ได้คุณภาพบ้าง เวลานำไปปลูกทำให้ผลผลิตน้อย และมีโรคระบาดบ้าง โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หลังจากที่กรมการข้าวส่งเสริมศูนย์ข้าวชุมชนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ต้องยอมรับเมล็ดพันธุ์ที่มาจากกรมการข้าวนั้นแน่จริง ให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ต่อไปปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ใน จ.ปทุมธานี คงจะหมดไป

นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับวงการชาวนาไทย หากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จตามที่กรมการข้าวคาดหวังไว้ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ และจะส่งผลต่อการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงและได้คุณภาพอีกด้วย



http://www.komchadluek.net/detail/20130218/152071/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html#.UZoNJsz-Ij8
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/05/2013 8:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

153. นวัตกรรมใหม่การทำนาแบบหยอด (เมล็ดพันธุ์ หรือเพาะต้นกล้า)



ถาดเพาะต้นกล้า ถาดละ 7 บาท


นวัตกรรมใหม่การทำนาแบบหยอด (เมล็ดพันธุ์ หรือเพาะต้นกล้า)
การทำนาแบบหยอดสามารถทำได้ในช่วงเริ่มต้นฤดูฝนโดยการไถดินในขณะฤดูฝนเริ่มต้นซึ่งน้ำจะยังไม่ท่วมขังที่ นาสามารถทำได้โดย ไถพรวนดินให้ร่วนซุย แล้วคราดนาให้ดินละเอียดพอประมาณ แล้วใช้เชือกขึงตามแนวยาวหรือขวางแปลงนาแล้วแต่ความเหมาะสม โดยตั้งแถวของเชือกให้ระยะห่างอยู่ที่ 120 ซ.ม. ต่อแถว โดยใช้เครื่องมือหยอดข้าว ที่มีการทำขึ้นมาชนิดพิเศษ โดยมีแถวปักให้ดินเป็นหลุม 3 ตำแหน่ง ใช้ไม้ทรงกลมขนาด 5 - 6 เซนติเมตร ยาว5-7 เซนติเมตร แล้วทำปลายให้แหลมแล้วตอกตะปูติดกับแผ่นยึดแผงด้านหน้า ตามแถวและระยะห่างระหว่างแถว 20 ซ.ม. (เรียกว่าตำแหน่ง A1,A2,A3) อยู่ทางด้านหน้า ด้านหลังเป็นท่อสายยางห่างจากตำแหน่งปักหลุม(A1,A2,A3) เรียกตำแหน่งด้านหลังว่า (B1,B2,B3) ซึ่งระยะห่างของแต่ละตำแหน่ง เป็นระยะห่างที่เท่ากันกับตำแหน่ง(A1,A2,A3) ซึ่งตำแหน่ง (B1,B2,B3) แต่ละตำแหน่งจะมีท่อสายยางต่อมาจาก กรวยที่ใช้สำหรับหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวซึ่งสูงขึ้นมาประมาณต่ำกว่าเอวตามความเหมาะสมของแต่ละคนที่ถนัด (ควรใช้ขวดน้ำอัดลมหรือขวดน้ำปล่าขนาตั้งแต่ 1 ลิตร ขึ้นไปตัดแล้วคว่ำเอาปากขวดมาต่อกับสายยาง) และทางด้านขวา จะใช้ไม้วัดระดับ ยื่นออกมา 10 เซนติเมตร เพื่อใช้วัดระยะกับเส้นเชือก

เวลาหยอด ข้าว ต้องเริ่มจากการขึงเชือก โดยให้เชือก แต่ละเส้นห่างกัน 120 เซนติเมตร หรือ 1.20 เมตร เวลาหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวหรือต้นกล้าข้าวทำได้โดยวิธีดังนี้

1. ปักแถว A1,A2,A3 ลง โดยกะระยะจาก ทางด้านขวามือ ใช้ ไม้ที่ยื่นออกมา 10 เซนติเมตรชนกับเชือกด้านขวา และมองตำแหน่งท่อสายยางเรียกว่าตำแหน่ง B1,B2,B3 ให้ตรงกับตำแหน่งที่ ไม้แหลมๆด้านหน้าปักไว้หรือที่เรียกว่า A1,A2,A3 แล้วกดไม้หยอดข้าวลงไป

2. หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวหรือต้นกล้าข้าวลงตามกรวยที่ต่อสายยางลงไปยังตำแหน่ง B1,B2,B3 กรวยละ 3-5 เมล็ดพันธุ์

3. หลังจากทำข้อ 2 แล้วยกขั้นก็จะได้ตำแหน่ง A1,A2,A3 ใหม่ทางด้านหน้า อีก 3 ตำแหน่ง (A1,A2,A3) แล้วทำตามข้อ 1 ใหม่จนกว่าจะสุดปลายเชือก หรือ ชนคันนาด้านหน้า

4. หลังจากสุดปลายเชือก หรือ ชนคันนาด้านหน้าแล้วก็ให้กลับมาอีกของเชือกอีกฝั่ง แล้วทำตาม ข้อ 1, 2, 3 จนจบก็เป็นอันว่าครบเชือก 1 เส้น หลังจากนั้นก็ไปทำตามเชือกที่ขึงระยะเส้นถัดไปจนหมดแปลงนา

หลังจากหยอดข้าวเสร็จแล้วรดน้ำด้วยสปริงเกอร์ ให้พอชุ่ม ประมาณ 2-5 วันก็จะเห็นข้าวเริ่มงอก และให้น้ำไปเรื่อยพอชุ่ม หรือถ้าหยอดด้วยต้นหล้าข้าวก็ให้น้ำต่อเนื่องได้เลย พร้อมกับผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพลงในน้ำตามสัดส่วน เพื่อรอน้ำจากน้ำฝนตกลงมา ไม่จำเป็นต้องให้น้ำเยอะมากเนื่องจากในพื้นที่เป็นเขตนอกชลปทานมีน้ำจำกัด แต่ต้นข้าวก็สามารถเจริญเติบโตได้เพราะต้นข้าวถูกฝั่งไว้ลึกในใต้ดิน รากสามารถยั่งลึกลงในดินตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก หรือเริ่มหยอดตี้นกล้า และทนทานจากการขาดน้ำได้ดีกว่าการทำนาแบบหว่านเมล็ดพันธุ์และรากยาวต่างจากการปักดำในเขตนอกเขตชลประทานที่ต้องถอนต้นกล้าข้าวจึงทำให้ต้นกล้าเริ่มงอกรากใหม่ตอนปักดำจึงทำให้ไม่สามารถทนต่อการขาดน้ำได้ดีเท่ากับการทำนาแบบหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว หรือหยอดต้นกล้า

เพิ่มเติมที่ http://thanavit.com/QRice.html



http://www.thanavit.com/M2ThanavitRice.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/05/2013 12:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

154. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว


การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ และเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น ทำการค้นคว้าวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2519-2540 ทั้งในดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายและดินทราย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปทุมธานี พิษณุโลก ราชบุรี สุรินทร์และปัตตานี พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ในนา 2 ปีแรก ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข. 7 เพิ่มขึ้นแต่จะแสดงผลในปีที่ 3 เป็นต้นไป ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ตามอัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวที่ใส่และจะเพิ่มอีก เมื่อใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดยใช้ติดต่อกัน 22 ปี ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 89-146 เปอร์เซ็นต์ ปี 2530 - 2542 ทำการทดลองในดินร่วนปนทรายชุดร้อยเอ็ดที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ พบว่าอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับข้าว กข. 23 คือใบและกิ่งอ่อน ของต้นกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 81 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อัตราปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดคือ 600 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปุ๋ยพืชสด 300 กิโลกรัมต่อไร่ใส่ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตได้ 53 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2536 - 2541 การทดลองระบบการปลูกพืชควบโดยปลูกกระถินยักษ์เป็นแถวคู่ ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ในแนวขวางทางลาดเทของพื้นที่สลับกับพื้นที่ปลูกข้าวสาลี โดยใช้แถบต้นกระถินยักษ์ 1 เมตร ต่อแถบข้าวสาลี 3 เมตร แล้วตัดต้นกระถินยักษ์สูงจากระดับพื้น 50 เซนติเมตร นำส่วนที่ตัดออกใส่ลงในนาข้าวสาลีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ ปี 2539 - 2541 ทดลองใช้กากสะเดาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีและสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้น 44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


ประเทศไทยมีดินเสื่อมโทรม 224.9 ล้านไร่ ดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 98.7 ล้านไร่ ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีอินทรียวัตถุเฉลี่ย 0.56 เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่วัสดุอินทรีย์ลงไปในดิน เช่น การไถกลบตอซังข้าว เศษพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมจะช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น


ประเทศไทยปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 20 ล้านตัน ซึ่งจะมีฟางข้าวประมาณ 10 ล้านตัน ฟางข้าวส่วนนี้จะออกไปจากแปลงนา ทำให้ดินต้องสูญเสียอินทรียวัตถุเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี ดังนั้น จึงควรนำเอาฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักใส่กลับลงดินในแปลงนาข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินและเพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ยังมีกระถินยักษ์ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่ขึ้นได้ดี โตเร็ว แตกกิ่งก้านมากมีใบดก ระบบรากลึกทนแล้งได้ดี และมีจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่ปมราก จึงเป็นพืชที่เหมาะสมเป็นพืชสดบำรุงดิน การนำเอากระถินยักษ์มาปลูกบนคันนาแล้วตัดเอาใบและกิ่งอ่อนใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว หรือการปลูกกระถินยักษ์ในระบบพืชควบกับข้าวสาลี โดยตัดเอาใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดใช้ได้ตลอดไป โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นหนทางในการปรับปรุงบำรุงดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวสาลีได้ และจากการนำเอาเมล็ดสะเดามาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้มีกากสะเดา เป็นวัสดุเหลือใช้เมื่อวิเคราะห์พบว่ามีไนโตรเจนมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ควรนำมาเป็นปุ๋ยใช้ในนาข้าวได้


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ได้อัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงเมื่อใส่อย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในระยะยาว
2. เพื่อให้ได้อัตราใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์ ที่ปลูกบนคันนาเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงและไวต่อช่วงแสง เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี
3. เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชควบโดยใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าวสาลีในการเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี
4. เพื่อให้ได้อัตรากากสะเดาที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง
5. เพื่อศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา) ต่อการเปลี่ยนสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน)


ความเป็นมา
ในปีงบประมาณ 2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นความสำคัญในการใส่ปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากเศษพืช และมูลสัตว์นำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินและเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตขึ้นเอง ตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ(ปุ๋ยหมัก) เกษตรกร 20 จังหวัดสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ 57.460 ต้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) รัฐบาลมีนโยบายในการลดต้นทุนการผลิตโดยดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ส่งเสริมการเป็นประโยชน์ของปุ๋ยเคมี ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักรวมถึงการเพิ่มผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร มีเป้าหมายผลิตปุ๋ยหมัก 690,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัดในปี 2530 - 2534 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมัก 870,000 ตัน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด 32,054 ไร่ ในปี 2534 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายด้านดินและปุ๋ย โดยเน้นความจำเป็นในการยกระดับความสำคัญของการบำรุงดินให้เป็นนโยบายสำคัญ ในปี 2535 - 2539 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ส่งเสริมการทำและใช้ปุ๋ยหมัก 910,000 ตัน ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์และใช้ปุ๋ยพืชสด จัดอบรมผู้นำเกษตรกร เป้าหมายปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ 840,000 ไร่ โดยใช้ฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา และในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน จึงต้องสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวต่อไป


คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1. ฟางข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเมื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักจะทำให้การใช้วัสดุอินทรีย์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีธาตุอาหารพืชปริมาณมากพอสมควร กล่าวคือ มีไนโตรเจน 2.16 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 1.18 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.31 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.29 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 0.44 เปอร์เซ็นต์ และซัลเฟอร์ 0.41 เปอร์เซ็นต์

3. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีอัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจนต่ำ ( C/N = 11.94 ) ทำให้ไนโตรเจน ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อข้าวได้เร็ว ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น คือ ดินจับตัวเป็นเม็ดมากขึ้น ลดความแข็งของดินและลดความหนาแน่นรวม

4. ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ช่วยดูดปุ๋ยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ช่วยลดการสูญเสียไนโตรเจน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและช่วยในการเจริญเติบโต มีรากมากขึ้น ดัชนีพื้นที่ใบข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

5. การปลูกกระถินยักษ์บนคันนา เพื่อนำมาเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เป็นการนำพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

6. กระถินยักษ์มีธาตุอาหารไนโตรเจนสูง 3.7 - 4.3 เปอร์เซ็นต์ และมีธาตุอาหารพืชต่าง ๆ (แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และไนเตรท) ในระดับสูง

7. ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น รักษาธาตุอาหารในดิน ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าว

8. ระบบการปลูกพืชควบกระถินยักษ์และข้าวสาลี ช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี จากการใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสด

9. การใช้กากสะเดาซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์กับข้าว ทำให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้นให้ธาตุอาหารและเพิ่มผลผลิตข้าว


การประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี
1. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีติดต่อกัน 20 - 22 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 115 เปอร์เซ็นต์, 99 เปอร์เซ็นต์ และ 72 เปอร์เซ็นต์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวพิมาย และสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ตามลำดับ และผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 146 เปอร์เซ็นต์, 117 เปอร์เซ็นต์ และ 89 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ตามลำดับ

2. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวติดต่อกัน 12 ปี ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

3. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นกล่าวคือ ทำให้การจับตัวของเม็ดดินเพิ่มขึ้น ความแข็งของดินลดลง ความหนาแน่นของดินลดลง

4. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวช่วยเพิ่มการดูดธาตุอาหารในต้นและเมล็ดข้าว เพิ่มดัชนีพื้นที่ใบ ปริมาณรากและการดูดน้ำของราก

5. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าว กข. 23 81 เปอร์เซ็นต์

6. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ หรือใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่อย่างเดียวเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 53 เปอร์เซ็นต์

7. การใช้กระถินยักษ์ติดต่อกัน 10 ปี ทำให้ดินมีสมบัติทางเคมีและกายภาพดีขึ้น ช่วยให้ข้าวดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น

8. การปลูกพืชควบระหว่างกระถินยักษ์กับข้าวสาลีร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ติดต่อกัน 6 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นด้วย

9. การใส่กากสะเดาอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวปนทราย 44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


คำแนะนำวิธีการใช้
1. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว กองฟางข้าวในที่ร่มมีขนาดกอง 2x5 เมตร รดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบให้แน่นพอสมควร จนกองสูงประมาณ 25 เซนติเมตร โรยมูลสัตว์และปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตเพื่อช่วยให้ฟางข้าวสลายตัวเร็วขึ้น แล้วกองชั้นต่อ ๆ ไป ทำเช่นเดียวกันจนกองมีความสูง 1.00 -1.50 เมตร โดยใช้ฟางข้าว มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1 ควรกลับกองปุ๋ยทุก ๆ เดือน หลังกลับกองปุ๋ยครั้งที่สองแล้ว 2 อาทิตย์ จึงกลับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นกองปุ๋ยหมักก็จะเหมาะแก่การนำไปใช้แล้ว ปกติแล้วปุ๋ยหมักจะมีค่าของคาร์บอน/ไนโตรเจนประมาณ 20

2. ใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงขณะเตรียมดินแล้วไถกลบลงไปในดินทันทีก่อนปักดำข้าว 20 วัน ใส่ปุ๋ย 16-20-0 ในดินเหนียวหรือ 16-16-8 ในดินทรายอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปักดำข้าว 1 วัน แล้วคราดกลบและใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับนาหว่านน้ำตมใส่ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวงอก 30 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก

3. การปลูกกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวใช้กระถินยักษ์พันธุ์เปรูหรือ K8 ปลูกบนคันนา ควรเริ่มปลูกในช่วงฤดูฝนหรือในระยะที่ดินมีความชื้นพอ ถ้าเป็นคันนาแคบควรปลูกเป็นแถวเดียวระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ถ้าคันนากว้างควรปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถวเท่ากับ 50 x 50 เซนติเมตร การตัดแต่งกิ่งเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด ถ้าฝนตกตามปกติกระถินยักษ์จะโตเร็ว เริ่มตัดใบและกิ่งอ่อนได้ใน 4-5 เดือนของปีแรก ควรตัดแต่งครั้งแรกเมื่อกระถินยักษ์สูง 2 เมตร โดยตัดให้เหลือตอสูงเหนือพื้นดิน 1 เมตร ส่วนของกระถินยักษ์ที่จะนำไปใส่เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินให้เลือกตัดเอาเฉพาะใบและกิ่งอ่อนและตัดแต่งทุก 2 เดือน หรือเมื่อต้นกระถินยักษ์สูง 2 เมตร

4. การใส่กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านในแปลงปลูกข้าวแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัมN ต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 12 กิโลกรัมNต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอกหรือใช้ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างเดียวก่อนปักดำข้าว 15 วัน

5. การปลูกกระถินยักษ์ร่วมกับข้าวสาลี โดยปลูกกระถินยักษ์ในปีแรก โดยปลูกเป็นแถบ 2 แถวคู่ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ขวางความลาดเทของพื้นที่สลับกับแถบของข้าวสาลีในอัตราส่วนกระถินยักษ์กว้าง 1 เมตร ข้าวสาลีกว้าง 3 เมตร ในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป ตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกข้าวสาลีร่วมกับการใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะหลังข้าวสาลีงอก 20 วัน และตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวไร่ เป็นต้น ปลูกสลับกับข้าวสาลี

6. ใส่กากสะเดา อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบก่อนปักดำข้าว 1 สัปดาห์


การเผยแพร่
เผยแพร่โดยกลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ลาดยาว จตุจักร กทม. 10900. หรือ โทร 02-5797515



http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=438&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/05/2013 5:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

155. ชาวนาดีเด่นปีนี้ แนะชาวนา…เข้าสู่ระบบปลูกข้าวควบคู่ทำนาอินทรีย์






ทางออกที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคของชาวนาได้ดีและครอบคลุมทุกมิติคือ การจัดระบบการปลูกข้าว ซึ่งผลที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการจัดระบบปลูกข้าวในเขตพื้นที่ชลประทานในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ได้รับการตอบรับอย่างดีจากชาวนาในพื้นที่ แต่ก็ยังมีชาวนาอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจในระบบการปลูกข้าวว่าจะมีประโยชน์อย่างไร

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวจึงได้เฟ้นหาเกษตรกรปราดเปรื่อง หรือ Smart Farmer ที่มีการจัดระบบการปลูกข้าว จนประสบผลสำเร็จทั้งผลผลิตต่อไร่สูง ต้นทุนการผลิตต่อไร่ต่ำ ข้าวมีคุณภาพดี และมีกำไรสุทธิสูงกว่าเกษตรกรทั่วไป เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรได้นำแนวทางไปปฏิบัติต่อไป

พร้อมกันนี้ ก็ยังมีแผนการขยายผลการจัดระบบการปลูกข้าวในพื้นที่ภาคต่าง ๆ เช่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ถึงแม้พื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำฝน ปลูกปีละแค่ครั้งเดียว แต่ก็ต้องมีการจัดระบบการปลูกให้อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมมากที่สุด

ตัวอย่างเกษตรกรที่พลิกชีวิตจากการทำนาเคมีสู่การทำนาอินทรีย์ ควบคู่กับการจัดระบบการปลูกข้าวด้วยตนเองตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ข้าว การปลูก การเก็บเกี่ยว ดูแลรักษาแปลงนา ไปจนถึงการแปรรูปและจำหน่ายด้วยตนเองทั้งหมด สร้างความมั่นคงในอาชีพ จนได้รับการคัดเลือกให้เป็น เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2556 เขาผู้นี้คือ นายช่วย สาสุข ชาวนาแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

นายช่วย เล่าว่า ตนช่วยพ่อแม่ทำนามาตั้งแต่เด็ก ในสมัยนั้นก็ทำนาโดยพึ่งพาปุ๋ยเคมี เนื่องจากมีคนนำปุ๋ยเคมีมาให้ใช้ฟรีในปีแรก แต่พอปีถัดไปก็ให้ซื้อและมีการปรับเพิ่มราคาขึ้นทุกปี การใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องและใส่ในปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ทำให้ดินเสีย ขาดความอุดมสมบูรณ์เมื่ออยากได้ผลผลิตข้าวมากขึ้นก็ต้องอัดปุ๋ยเคมีเข้าไปอีก ไม่เพียงแต่ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว สุขภาพของผู้ใช้เองก็อ่อนแอ และยังส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอีกด้วย เมื่อตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ก็เริ่มมาศึกษาหาความรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ ประกอบกับทราบถึงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พึ่งพาตนเอง จึงได้พลิกชีวิตหันมาทำนาอินทรีย์อย่างจริงจัง

โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2540 มีการบริหารจัดการนาตั้งแต่การเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง พันธุ์ข้าวที่ปลูกก็จะเป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่เก็บไว้จากการเพาะปลูกในรอบที่ เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูกแต่ละรอบจะไม่ใช้มากเกินไป เพื่อไม่ให้หนาแน่นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของศัตรูข้าว นอกจากนั้นจะทำจุลินทรีย์และสารชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ในแปลงนาเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ส่วนการปรับปรุงบำรุงดินก็ใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคั่นหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับแปลงนา ยังสามารถขายผลผลิตสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังทำการสีแปรรูปและทำแพ็กเกจขายด้วยตนเอง ซึ่งข้อดีของการทำนาอินทรีย์คือผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาได้เองไม่ต้องขึ้นอยู่กับโรงสีหรือรัฐกำหนดให้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นการทำนาอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก จึงปลูกข้าวได้ปีละ 1 ครั้ง จึงไม่ประสบปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรงเหมือนพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทาน ซึ่งในความคิดส่วนตัวมองว่า การปลูกข้าวหลายรอบต่อปีเพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก โดยมุ่งหวังรายได้เพิ่มขึ้นนั้น ความจริงแล้วการปลูกข้าวหลายครั้งโดยเฉพาะเป็นการพึ่งพาปุ๋ยเคมี สารเคมี กลับไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มิหนำซ้ำยังเพิ่มต้นทุนการผลิตขึ้นไปอีก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือดินเสื่อมโทรม เพราะการใช้สารเคมีต่อเนื่องคือการฆ่าดิน อีกทั้งยังฆ่าตัวเองและผู้บริโภคด้วย

“อยากฝากถึงพี่น้องชาวนาที่อยู่ในพื้นที่เขตชลประทาน ให้เข้าสู่ระบบปลูกข้าวใหม่ ทำนาก็ควรพักดินตากดินให้แห้งบ้าง แล้วหันมาปลูกพืชอื่นสลับ เพื่อที่จะได้มีผืนดินไว้ประกอบอาชีพทำนาต่อไปได้นาน ๆ ผลผลิตก็จะมีคุณภาพมากขึ้น และถ้าจะให้ยั่งยืนควรหันมาทำนาอินทรีย์ เพราะจากประสบการณ์ที่ทำมากว่า 10 ปี พิสูจน์ข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือต้นทุนการผลิตลดลงจากนาเคมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อไร่ แต่นาอินทรีย์เหลือเพียง 1,850 บาทต่อไร่ อีกทั้งผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 300 กก.ต่อไร่ ประกอบกับเราสีข้าวกินเอง เหลือก็นำไปขาย ส่งผลให้ทุกวันนี้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นตามวิถีแห่งความพอเพียง” ชาวนาดีเด่นแห่งชาติกล่าวย้ำ.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/206062
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2013 10:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

156. ผลศึกษา...ใช้ปุ๋ยผลิตข้าว ใช้ปุ๋ยผสมให้ผลผลิตดีกว่า











การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าวในพันธุ์ข้าวปทุมธานี 80 พันธุ์ปทุมธานี 1 จังหวัดสุพรรณบุรี และข้าวหอมมะลิ 105 จังหวัดสุรินทร์ ปีการเพาะปลูก 2553/2554 เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ศึกษาต้นทุนผลตอบแทนการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร แยกตามลักษณะการใช้ปุ๋ย ได้แก่ เคมีอย่างเดียว เคมีร่วมกับอินทรีย์ และแบบอินทรีย์อย่างเดียว

นางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ถึงผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 พบว่า

กลุ่มใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนทั้งหมด 3,474.25 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนเงินสด 2,727.92 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.8 ตันต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 7,267 บาทต่อตัน กำไรสุทธิ 2,328.16 บาทต่อไร่

กลุ่มใช้ปุ๋ยผสม ต้นทุน 4,435.90 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนเงินสด 3,190 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิต 0.83 ตันต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 7,875 บาทต่อตัน และกำไรสุทธิ 2,100.35 บาทต่อไร่



พันธุ์ปทุมธานี 1 พบว่า :
กลุ่มใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนทั้งหมด 3,470.68 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนเงินสด 2,695.94 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.32 ตันต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 8,504 บาทต่อตัน กำไรสุทธิ 3,793.32 บาทต่อไร่

กลุ่มใช้ปุ๋ยผสม ต้นทุน 3,155.69 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนเงินสด 2,117.23 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิต 0.86 ตันต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 9,005 บาทต่อตัน และกำไรสุทธิ 4,595.31 บาทต่อไร่



พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พบว่า :
กลุ่มใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนทั้งหมด 2,373.91 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนเงินสด 1,426.13 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.32 ตันต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 11,857 บาทต่อตัน กำไรสุทธิ 1,370.09 บาทต่อไร่

กลุ่มใช้ปุ๋ยผสม ต้นทุนทั้งหมด 3,567.95 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนเงินสด 1,833.86 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.34 ตันต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 13,000 บาทต่อตัน กำไรสุทธิ 828.05 บาทต่อไร่ กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ต้นทุนทั้งหมด 3,772.53 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนเงินสด 1,198.42 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.25 ตันต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 12,600 บาทต่อตัน

ทั้งนี้ ในส่วนกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ด้านกำไร พบว่า ขาดทุน 611.53 บาทต่อไร่


ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนรวม ผลผลิตต่อไร่ และรายรับในการปลูกข้าวทั้ง 3 พันธุ์ พบว่า ลักษณะการใช้ปุ๋ยทั้ง 3 ชนิดในการปลูกข้าว 3 พันธุ์ ไม่มีความแตกต่างกัน คือ เกษตรกรมีระดับต้นทุนรวม ผลผลิตต่อไร่ และรายรับใกล้เคียงกัน ยกเว้นต้นทุนในการปลูกข้าวหอมมะลิปุ๋ยเคมี ปุ๋ยผสม และปุ๋ยอินทรีย์ มีความแตกต่างทั้งในด้านต้นทุน ผลผลิต และรายได้

สำหรับ ข้อเสนอแนะ พบว่า เกษตรกรควรหันมาใช้การเพาะปลูกโดยใช้ปุ๋ยผสม เนื่องจากให้ผลผลิตคุณภาพดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว และภาครัฐควรสนับสนุนเกษตรกรให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ หรือแจกเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสดให้เกษตรกร เพราะว่าการปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เป็นการปรับปรุงคุณภาพดิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น และยังขายได้ราคาดีกว่า เนื่องจากข้าวเปลือกมีความสมบูรณ์.




http://www.dailynews.co.th/agriculture/22569
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2013 10:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

157. กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่นแห่งชาติ ย้ำ...ระบบปลูกข้าวคือทางออกที่ยั่งยืน











ชาวนา ควรหันมาพึ่งพาธรรมชาติ พึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตข้าวตาม ระบบการปลูกข้าว ที่หน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุน เนื่องจากระบบการปลูกข้าวเป็นระบบเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาที่เรื้อรังมานานของชาวนาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่สุด

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ขณะนี้กรมการข้าวได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการยกระดับข้าวไทยให้สูงขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อคงความเป็นหนึ่งในฐานะผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก พร้อมกันนี้กรมการข้าวพยายามผลักดันให้ชาวนาตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เนื่องจากหัวใจสำคัญของการปลูกข้าวคือเมล็ดพันธุ์ ถ้าเมล็ดพันธุ์ดีได้มาตรฐานก็จะให้ผลผลิตข้าวสูงและมีคุณภาพ เวลาจำหน่ายก็ได้ราคาดีด้วย โดยกรมการข้าวได้สร้างเครือข่ายในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อรองรับความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีเพิ่มขึ้นทุกขณะ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านห้วยโรง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ภายใต้ระบบการปลูกข้าวใหม่ ที่ให้ทั้งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่มได้ดีขึ้น จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นประจำปี 2556 สาขากลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่นแห่งชาติ

นายพิชัย โสทะ ประธานกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านห้วยโรง กล่าวว่า เมื่อหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ เข้ามาส่งเสริมให้เข้าสู่ระบบการปลูกข้าวใหม่ ทางกลุ่มฯ จึงได้สมัครใจเข้าสู่ระบบการปลูกข้าวตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา โดยมีการประชุมวางแผนการผลิตร่วมกับกรมชลประทานและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่นครสวรรค์ เพื่อกำหนดระยะเวลาการปลูกข้าวตามแผนการจัดสรรน้ำ ซึ่งทางกลุ่มจะปลูกปีละ 2 ครั้ง และพักดินเพื่อปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือปุ๋ยพืชสด ปลูกพร้อมกันทั้งพื้นที่เพื่อไม่ให้แมลงศัตรูข้าวมีแหล่งอาหารต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทางกลุ่มจะไม่มีการเผาเศษฟางข้าว เพราะพื้นที่ 1 ไร่ ให้ฟางข้าวไม่ต่ำกว่า 1 ตัน เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับแปลงนาโดยไม่ต้องเสียค่าปุ๋ยเคมีในฤดูการผลิตต่อไป ส่วนเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็หันมาใช้สารอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นเอง ควบคู่กับการปลูกพืชผักที่มีดอกสีเหลือง สีขาว เช่น มะเขือ บวบ กระเจี๊ยบ กะเพรา โหระพา ไว้บนคันนาเพื่อเป็นกับดักล่อแมลงศัตรูข้าว ไม่ให้ลงไปทำลายต้นข้าวโดยไม่ต้องใช้สารเคมี อีกทั้งยังนำผลผลิตไปบริโภคในครัวเรือนหรือนำไปจำหน่ายสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

ที่สำคัญ คือเปลี่ยนจากการทำนาหว่านเป็นนาดำที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวน้อยลงจากเดิมนาหว่านต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่า 30 กก.ต่อไร่ ลดเหลือเพียงไร่ละ 12.5 กก. เมื่อผนวกรวมกับการลดใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 3,400 บาทต่อไร่ แต่ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้นไปที่ประมาณ 993 กก.ต่อไร่ และสิ่งที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยคือคุณภาพข้าว ระบบนิเวศในแปลงนา ผืนดินที่ทำมาหากินสร้างอาชีพที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถทำนาต่อไปได้อีกนาน โดยเฉพาะรายได้ที่มั่นคงมากขึ้นของสมาชิกกลุ่มฯ ท้ายนี้อยากฝากถึงชาวนาที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการปลูกข้าว ให้หันมาให้ความสำคัญหรือมาศึกษาเรียนรู้ได้จากกลุ่มของเรา เพราะเราได้จัดทำแปลงสาธิตซึ่งจะเห็นถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

ชาวนาหรือผู้สนใจ สามารถติดต่อไปได้ที่กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านห้วยโรง เลขที่ 378/1 หมู่ 4 บ้านห้วยโรง ต.บึงปลาทู อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ โทร. 09-0497-1997 ไปดูสิว่าเขาทำกันอย่างไรจนได้เป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่นแห่งชาติ.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/208866
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2013 11:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

158. ผลผลิตข้าว ต่อ 1 ไร่ ของประเทศในกลุ่มอาเซียน





ชาวนาในกลุ่มอาเซียนผลิตข้าวได้ประมาณ ปีละ 112.5 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของการผลิตข้าวทั้งโลก





รองลงมาคือเวียดนาม ผลิตข้าวได้จำนวน 26.40 ล้านตัน





โดยอินโดนีเซียผลิตข้าวได้มากที่สุด จำนวน 35.50 ล้านตัน





และลำดับที่สามคือประเทศไทย ผลิตข้าวได้ 20.26 ล้านตัน

จะเห็นได้นะครับว่า ประเทศไทยผลิตข้าวได้น้อยกว่าเวียดนาม
ทั้งที่ ประเทศไทย มีพื้นที่สำหรับใช้ในการปลูกข้าว ประมาณ 66.69 ล้านไร่
ประเทศเวียดนาม มีพื้นที่สำหรับใช้ในการปลูกข้าว ประมาณ 46.38 ล้านไร่

นั่นเป็นเพราะว่าชาวนาไทย มีผลผลิตข้าวต่อ 1 ไร่ น้อยกว่าเวียดนามถึงเท่าตัว



จำนวนผลผลิตข้าวต่อ 1 ไร่ ของกลุ่มประเทศในอาเซียน


ลำดับที่ 1 ประเทศเวียดนาม ผลิตข้าวได้ 803.2 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ลำดับที่ 2 ประเทศอินโดนีเซีย ผลิตข้าวได้ 801.6 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ลำดับที่ 3 ประเทศมาเลเซีย ผลิตข้าวได้ 588.8 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ลำดับที่ 4 ประเทศลาว ผลิตข้าวได้ 579.2 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ลำดับที่ 5 ประเทศฟิลิปปินส์ ผลิตข้าวได้ 576.6 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ลำดับที่ 6 ประเทศไทย ผลิตข้าวได้ 454.4 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ลำดับที่ 7 ประเทศกัมพูชา ผลิตข้าวได้ 443.2 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ลำดับที่ 8 ประเทศพม่า ผลิตข้าวได้ 422.4 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่



ในเรื่องของการส่งออกข้าวในตลาดโลกไทยครองอันดับที่ 1 มาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2555 ไทยส่งออกข้าวลดลง กลายเป็นอันดับสาม รองจากเวียดนาม และอินเดีย


ขอบคุณข้อมูล จากทีวีไทย tpbs
เรียบเรียงโดย: กะปอมน้อย
ที่มา : ทีวีไทย


http://board.postjung.com/637292.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/07/2013 7:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2013 1:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


159. เมื่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมนานขึ้น



ข้าวพื้นเมืองไทยโดยส่วนใหญ่ในท้องทุ่งที่น้ำท่วมถึง จะเป็นข้าวที่มีการยืดตัวสูงเพื่อให้ใบโผล่พ้นน้ำ หลังจากน้ำลดข้าวเหล่านี้จะมีลำต้นที่ยืดยาวและหักล้ม การเก็บเกี่ยวผลผลิตทำได้ยากและเสียหายง่าย ลักษณะการทนต่อน้ำท่วมดังกล่าวนี้ไม่ค่อยเป็นที่ต้องการของเกษตรกรในเขตนาชลประทาน แต่มีข้าวบางสายพันธุ์จากอินเดียที่มีความสามารถทนอยู่ใต้น้ำเมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วมแบบฉับพลันและสามารถยืนหยัดจนกระทั่งฟื้นตัวหลังน้ำลดลง นำไปสู่การออกรวงและให้ผลผลิตในที่สุด ถูกนำมาเป็นพันธุ์ให้ลักษณะทนทานต่อน้ำท่วมในข้าวขาวดอกมะลิ105 ณ ปัจจุบัน เราได้ปรับปรุงข้าวขาวดอกมะลิให้ทนต่อน้ำท่วมได้นานถึง 21 วัน ในระยะเวลาดังกล่าวถ้าน้ำลดลง ต้นข้าวสามารถฟื้นตัวและออกรวงให้ผลผลิตได้เช่นเดียวกับสภาพปกติ นับเป็นความหวังของเกษตรกรไทยในยุคที่ปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ






altalt ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดต่ำลงทั้งในเขตนาน้ำฝนและนาชลประทาน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความต้านทานต่อแมลงดังกล่าวเป็นเป้าหมายระดับต้นของโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวของประเทศไทยและในอีกหลายๆ ประเทศในแถบเอเชีย ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีอย่างน้อยสองยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพันธุ์ ABHAYA ซึ่งสองยีนนั้นอยู่บนโครโมโซมที่ 6 และ 12 ข้อมูลดังกล่าวทำให้สามารถเลือกใช้โมเลกุลเครื่องหมายสำหรับช่วยในการคัดเลือกความต้านทานได้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ และร่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวลง


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานโรคขอบใบแห้ง alt
โรคขอบใบแห้ง (bacterial leaf blight, BLB) เกิดจากเชื้อสาเหตุ Xanthomonas oryzae pv. oryzae เป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวอย่างมาก อาจทำให้ผลผลิตลดลงได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โรคนี้มักพบระบาดในเขตที่น้ำท่วมหรือบริเวณที่ลุ่ม ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวคุณภาพดีแต่มีความอ่อนแอต่อโรคหลายชนิดที่สำคัญคือโรคขอบใบแห้ง





ขาวดอกมะลิ 105 กับความทนแล้ง
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของไทย เกษตรกรแถบนี้จะอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติในการเพาะปลูก โดยเริ่มปลูกในราวเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวราวเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งในแต่ละปีมักประสบปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณและการกระจายตัวของฝน จึงเกิดสภาพน้ำท่วมและฝนแล้งเป็นประจำ ทั้งนี้ความแห้งแล้งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการเพาะปลูก คือต้นฤดู กลางฤดูหรือปลายฤดูปลูก หรือถ้าปีไหนแล้งจัดก็อาจจะแห้งแล้งทั้งต้นและปลายฤดูปลูกเป็นต้น ซึ่งการเกิดสภาวะแล้งในระยะที่ข้าวกำลังออกรวงนั้นทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก ซึ่งในปีที่แล้งจัดเกษตรกรอาจจะไม่ได้ผลผลิตข้าวเลย จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงขาวดอกมะลิให้สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้แม้อยู่ภายใต้สภาพแล้ง


http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์/เมื่อข้าวทนต่อโรค.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/06/2013 11:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

160. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยการแกะเมล็ด

ชื่อ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยการแกะเมล็ด

เจ้าของผลงาน นายบุญมา ปองไว้
บ้านเลขที่ 137 หมู่ 10 บ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย ตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ 089-2847127



ความเป็นมาของนวัตกรรม
การใช้พันธุ์ข้าวติดต่อกันหลายปี ทำให้ข้าวกลายพันธุ์ เวลานำไปหุง หรือนึ่งข้าวที่ได้จะแข็ง ไม่นิ่ม ไม่หอมและเมื่อถึงช่วงฤดูกาลปลูก ถ้าจะเปลี่ยนพันธุ์ต้องไปหาซื้อพันธุ์จากที่อื่น ซึ่งพันธุ์ข้าวที่ซื้อมาบางครั้งก็ได้พันธุ์ปน ไม่ตรงตามพันธุ์เสียเงิน เสียเวลา ดังนั้นวิธีที่ง่ายคือการใช้พันธุ์ข้าวของตนเองที่มีอยู่ในยุ้งฉางมาทำการคัดเมล็ดพันธุ์ ซึ่งการคัดพันธุ์ด้วยวิธีแกะเปลือกเมล็ดนี้ได้มีผู้ทำการทดลองทำแล้ว แต่ที่นำมาเสนอจะเป็นในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง

การออกแบบนวัตกรรม
เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เราเก็บเกี่ยวแล้วเก็บไว้ในยุ้งฉาง เวลาถึงฤดูกาลเพาะปลูก เราก็นำเมล็ดข้าวมาคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วนำมาแกะเปลือกเพื่อให้เห็นความสมบูรณ์ข้างในของเมล็ด จึงนำไปเพาะในวัสดุเพาะ เมื่ออายุได้ 7-10 วัน จึงนำไปปักดำ จะทำให้ได้ผลผลิตตรงตามพันธุ์ทุกประการ


วัสดุ อุปกรณ์

1) เมล็ดพันธุ์ข้าว
2) แว่นขยาย
3) ถุงพลาสติก ขนาด 3x6 นิ้ว
4) น้ำเปล่า
5) ตู้ส่องเมล็ดข้าว ขนาด 30x60 ซม. พร้อมอุปกรณ์หลอดไฟขนาด 10 วัตต์
6) อุปกรณ์เพาะ
- ดินร่วน
- แกลบดำ
- บัวรดน้ำ

วิธีการ
1) นำเมล็ดข้าวเปลือกจากยุ่งฉางมากน้อยตามต้องการ
2) คัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วแกะเปลือกออก
3) นำเมล็ดข้าวที่แกะเปลือกแล้วไปส่องดูความสมบูรณ์ที่ตู้ส่อง โดยใช้แว่นขยาย
คัดเมล็ดที่หัก งอ มีลาย จุดด่างดำทิ้ง คัดเอาเฉพาะเมล็ดที่ใส่มีจมูกข้าว
4) บรรจุถุงพลาสติก
5) ใส่น้ำธรรมดาให้ท่วมเมล็ดข้าว ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
6) เทน้ำออกแล้วเปิดปากถุง ทิ้งไว้ 2 คืน เมล็ดเริ่มงอก
7) นำไปโรยในกะบะเพาะ แล้วใช้แกลบดำโรยทับบางๆ รดน้ำวันละ 1 ครั้ง วางในที่ร่ม อายุ 7-10 วัน นำไปปักดำได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
1) ผลผลิตข้าวที่ได้รับมีคุณสมบัติตรงตามพันธุ์
2) เราสามารถใช้พันธุ์จากยุ้งฉางของเราเอง
3) สามารถขยายพันธุ์ได้ 3-5 ปี
4) วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการไม่ยุ่งยากสามารถทำได้ทุกครัวเรือน

เงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการนำนวัตกรรมไปปรับใช้ประโยชน์
1) ในการแกะเปลือกเมล็ด พยายามอย่าให้เมล็ดแตกหัก เพราะเราจะไม่สามารถทราบว่าเมล็ดไหนสมบูรณ์ หรือไม่สมบูรณ์
2) ในวิธีทำ ข้อ 6 หลังจากเทน้ำออก และข้อ 7 เมื่อโรยในกะบะเพาะต้องวางในที่ร่ม ระวังนก หนู มด เข้ามากิน
3) อายุ 7-10 วัน ต้องนำไปปักดำทันที ถ้าเกินนี้การแตกกอจะน้อย
4) เมื่อแกะเปลือกเมล็ดและคัดเลือกแล้ว ให้แช่น้ำทันทีอย่าปล่อยไว้นาน ความสมบูรณ์ของเมล็ดจะลดลง












http://www.sewii.doae.go.th/Innovation/index-innovation2-1-1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/06/2013 11:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

161. เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าว

อยากได้สิ่งที่ดีที่สุด อาจต้องใช้เวลาในการเสาะหา แต่ไม่ยากเกินไป สำหรับนักเรียนชาวนาผูใฝ่รู้

กลับมาในขุมความรู้ ก้อนที่ 5 อีกแล้วจ๊ะ ว่าแต่ว่า ถ้าใครติดตามเรื่องราวตั้งแต่ก้อนที่ 1 เป็นต้นมา จะเห็นว่า มันเป็นเรื่องที่ต่อเนื่อง ด้วยความที่ข้าวขวัญตั้งใจว่า อยากจะให้องค์ความรู้เหล่านี้ ได้กระจายไปยังทุกท่านที่สนใจในวิถีของชีวิตชาวนายุคใหม่ อะไรต่ออะไรที่ชาวนาของข้าวขวัญได้ เราก็อยากจะเผยแพร่ให้กับท่านด้วยเช่นกัน สิ่งที่นำมาบอกต่ออาจไม่ใช่เทคนิคขั้นสูงส่ง แต่อยากจะบอกว่า เทคนิคชาวบ้านๆ นี่แหล่ะ ที่สามารถจะพลิกฟื้นแผ่นดินให้อุดมไปด้วยจิตวิญญาณของคนกำเคียวอย่างแท้จริง

หัวใจสำคัญที่นักเรียนชาวนา นักเรียนรู้ต้องทำความคุ้นเคยและใส่ใจที่จะคว้านความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ก็คือการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว เป็นเทคนิคที่มีความหลากหลาย แต่ข้าวขวัญได้พยายามคิดค้นในเทคนิคอย่างง่าย ที่ไม่ยากต่อการสื่อสารกับชาวนา ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีการตั้งแต่วิธีการอย่างง่าย เช่น การคัดพันธุ์ข้าว และวิธีการที่ต้องอาศัยความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เช่น วิธีการผสมพันธุ์ข้าวและการปลูกคัดเลือกพันธุ์ข้าวหลังการผสม ซึ่งอลงมาดูกันหน่อยค่ะว่า วิธีการคัดพันธุ์ข้าวไปจนถึงการผสมพันธุ์ข้าว ซึ่งชาวนาสามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง มีอะไรกันบ้าง

1. การคัดพันธุ์ข้าว
การคัดพันธุ์ข้าวเป็นความรู้ที่ชาวนาสั่งสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การทำนาแต่ก่อนชาวนาคัดพันธุ์ข้าวให้ตอบสนองต่อการบริโภคในครัวเรือนของตนรวมทั้งการใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ข้าวสายพันธุ์เม็ดเล็กใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ข้าวเหนียวสำหรับแปรรูปอาหาร ดังนี้เป็นต้น ตัวอย่างพันธุ์ข้าวดังในอดีตที่มาจากการคัดพันธุ์ของชาวนา เช่น ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเจ๊กเชย ข้าวขาวกอเดียว ข้าวขาวตาแห้ง ฯลฯ การทำนาแต่เดิมเป็นแบบนาดำ ใช้ข้าวพันธุ์พื้นบ้าน และใช้เมล็ดพันธุ์จำนวนไม่มาก แต่เมื่อการทำนาเปลี่ยนไป ข้าวพันธุ์พื้นบ้านไม่ตอบสนองต่อการทำนาแบบสมัยใหม่ที่มุ่งขายเป็นหลัก เมื่อมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเป็นข้าวพันธุ์ส่งเสริม ชาวนาไม่ให้ความสำคัญกับการคัดพันธุ์ข้าวดังที่เคยทำมาในอดีต ซึ่งทำให้คุณภาพของข้าวที่ชาวนาปลูกมีคุณภาพต่ำลง การซื้อเมล็ดพันธุ์และการข้าวใช้พันธุ์ส่งเสริมยังทำให้ต้นทุนการทำนาสูงขึ้นอีกด้วย

การเรียนรู้เรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวจะทำให้ชาวนาได้สายพันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์ทางสายพันธุ์ มีความสม่ำเสมอทั้งคุณภาพและรสชาติการหุงต้ม สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น หากมีการปรับเปลี่ยนเป็นการทำนาแบบไม่ใช้สารเคมีก็จะทำให้ลดต้นทุนการทำนาลง

การคัดพันธุ์ข้าวมีหลายวิธีการคัดพันธุ์ข้าวแบบดั้งเดิมที่ชาวนาเคยทำกันมา คือการคัดเลือกข้าวจากแปลงนาที่ไม่มีโรคและแมลงรบกวน ไม่มีข้าวพันธุ์อื่นขึ้นปน และการคัดเลือกเก็บรวงที่สมบูรณ์ไว้สำหรับทำพันธุ์ แต่วิธีการดังกล่าวก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพของเมล็ดข้าว เช่น ปัญหาท้องไข่ ความมันวาว เม็ดร้าว เม็ดบิดเบี้ยว ข้าวปน เป็นต้น จึงมีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวกล้องที่จะเรียนรู้จากเอกสารเล่มนี้ เป็นเทคนิคใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยมูลนิธิข้าวขวัญ จากการทดลองในพื้นที่ของมูลนิธิฯ และเครือข่ายชาวนากลุ่มแสงตะวัน จังหวัดพิจิตร พบว่าสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพข้าวและสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวที่จะเรียนรู้จากเอกสารเล่มนี้ประกอบด้วย การคัดพันธุ์ข้าวจากรวง การคัดพันธุ์ข้าวจากแปลงนา และการคัดพันธุ์ข้าวจากข้าวกล้อง แต่ละเทคนิคมีขั้นตอนดังนี้



1. การคัดพันธุ์ข้าวจากรวง
ขั้นตอน
1. เกี่ยวพันธุ์ข้าวที่ต้องการในแปลงนา โดยเลือกต้นที่ห่างจากพันธุ์อื่นๆ 1-2 เมตร ตามปริมาณที่ต้องการ
2. นำรวงข้าวที่เกี่ยวมาแล้วมาผึ่งแดด 2-3 แดด
3. หลังจากนั้นนำมาคัดเลือกรวงที่มีลักษณะรวงใหญ่ ยาว เมล็ดสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยของโรคหรือแมลงรบกวน
4. นำรวงที่คัดเลือกแล้วมานวดรวมกัน ตากแดด 1-2 แดด แล้วจัดเก็บใส่ถุงเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป

2. การคัดพันธุ์ข้าวในแปลงนา
ขั้นตอน
1. เลือกแปลงนาที่มีข้าวเจริญเติบโตดีไม่มีโรคและแมลงรบกวน
2. ไม่มีข้าวพันธุ์อื่น ขึ้นมาปน
3. เลือกเก็บรวงที่มีการติดเมล็ดดีตะแง้ถี่รวงยาวคอรวงใหญ่มีลักษณะตรงตามแต่ละพันธุ์ที่เลือกเก็บ
4. ในการเก็บเกี่ยวเพื่อทำพันธุ์นั้น ให้เกี่ยวรวงข้าวที่อยู่ห่างจากขอบแปลงข้างละ 1 เมตร เพื่อป้องกันการปนกับข้าวอื่นๆเก็บประมาณ 200 รวง ต่อหนึ่งพันธุ์หรือให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละพันธุ์
5. นำรวงข้าวไปนวดหรือตากแดด ประมาณ 1-2 แดด หรือ ความชื้น ประมาณ 14% หลังจากนั้นบรรจุเมล็ดในภาชนะที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ถุงผ้า กระสอบ เป็นต้น
6. เขียนชื่อพันธุ์ อายุการเก็บเกี่ยว
* การทำเช่นนี้ 1-2 ฤดูการผลิต จะทำให้เกษตรกรสามารถรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีไว้ได้ หรืออาจได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่จากการคัดเลือกเช่นนี้ได้

3. การคัดพันธุ์จากข้าวกล้อง
3.1 การแกะข้าวกล้องด้วยมือ
ขั้นตอน
1. นำเมล็ดข้าวเปลือกสายพันธุ์ที่ต้องการมาประมาณครึ่งกิโลกรัม
2. ฝัดทำความสะอาดเพื่อให้เมล็ดลีบออกไป
3. แกะเปลือกด้วยมือโดยแกะจากทางด้านหางของเมล็ดข้าวเพื่อไม่ให้จมูกข้าวถูกทำลาย
4. เลือกข้าวกล้องเมล็ดสมบูรณ์ตรงตามสายพันธุ์ และเมล็ดมีความมันวาว ไม่เป็นโรค ไม่เป็นท้องไข่หรือท้องปลาซิวให้ได้จำนวนประมาณ 100 เมล็ด
5. นำเมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกได้ไปเพาะเป็นต้นกล้า

3.2 การกะเทาะด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง
ขั้นตอน
1. นำเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ที่ต้องการมาประมาณ 1-2 กิโลกรัม
2. ฝัดทำความสะอาดเพื่อให้เมล็ดลีบออกไป
3. นำข้าวเปลือกไปสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง
4. นำข้าวกล้องที่สีได้มาฝัด
5. เลือกข้าวกล้องเมล็ดสมบูรณ์ตรงตามสายพันธุ์ และเมล็ดมีความมันวาว ไม่เป็นโรค ไม่เป็นท้องไข่หรือท้องปลาซิวให้ได้จำนวนตามที่ต้องการ
6. นำเมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกได้ไปเพาะเป็นต้นกล้า



จะบอกว่า สุดยอดของเทคนิคที่นักเรียนชาวนา นิยมชมชอบและภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก ก็คือเทคนิคการคัดข้าวจากข้าวกล้อง เหมือนประกวดนางงามกันเลยล่ะ เราจะมั่นใจได้อย่างไรในความสวยงามแค่ฉาบฉวย เพียงแค่เปลือกห่อหุ้มภายนอก ยัง ยังไม่พอ เพราะถ้าจะดูให้ละเอียดที่สุด ต้องดูถึงเนื้อในเมล็ดข้าว ว่าสวย สมบูรณ์ และน่าจะนำไปทำเป็นแม่พันธุ์เพียงใด คิดดูสิ ความละเอียด รอบคอบ และการพยายามหาเทคนิคเสริมความมั่นใจนั้น ถ้าเราทำให้ชาวนาเห็นกันแบบเต็มๆตา ชักชวนให้เค้ามาร่วมพิสูจน์โดยการปลูกต้นกล้าทดลอง แรกๆชาวนาออกอาการกังขากันเชียวล่ะ ก็ใครจะไปเชื่อล่ะ ว่าเมล็ดข้าวกล้องที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม จะสามารถเพาะและงอกออกมาเป็นต้นกล้าให้ชาวนาได้ทดลองปลูกกันได้ โอ้...แม่เจ้า...ต้องยกความดีอันนี้ ให้หัวหน้าของเรา ลุงเดของเด็กๆ ก็ท่านผู้อำนวยการของฉัน คุณเดชา ศิริภัทร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคพัฒนาพันธุ์ข้าว พี่สุขสรรค์ กันตรี ที่พยายามคิดค้นสิ่งดีๆมาสู่ชาวนา ใครไม่เชื่อ ไม่ว่าค่ะ แต่ถ้าไม่เชื่อแล้ว ลองเอาไปพิสูจน์ดู ฉันว่าคุณจะเป็นนักเรียนรู้ที่เปี่ยมศักยภาพเลยเชียวค่ะ



http://www.gotoknow.org/posts/13872
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/06/2013 11:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


162. เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าว โดยเกษตรกร



ทำไมถึงต้องคัดพันธุ์ข้าว ?
ปัญหาของชาวนาโดยทั่วไปคือทำนาแล้วได้ผลผลิตต่ำ ต้นทุนสูง และขายข้าวไม่ได้ราคา สาเหตุประการหนึ่งคือในอดีตชาวนาไม่ได้มีการคัดพันธุ์ข้าวอย่างเหมาะสม ทำให้ข้าวที่ปลูกมีการปะปน เกิดการกลายพันธุ์ จนกระทั่งต้องเปลี่ยนพันธุ์ข้าวปลูก หรือต้องไปหาซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอก เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้

การคัดพันธุ์ข้าวจึงเป็นวิธีสำคัญที่ช่วยให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพและรสชาติการหุงต้มดี ให้ผลผลิตสูง ลดปัญหาข้าวปลอมปนและคุณภาพต่ำ ลดต้นทุนการผลิตโดยสามารถคัดเลือกพันธุ์ที่ต้องการปุ๋ยน้อยและต้านทานโรคแมลง เกษตรกรไม่ต้องซื้อพันธุ์ข้าวจากภายนอก และยังช่วยอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไม่ให้สูญหาย รวมทั้งสามารถนำพันธุ์ข้าวที่คัดไว้มาเป็นพ่อแม่พันธุ์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้คุณลักษณะตามที่ต้องการ


หลักการคัดเลือกพันธุ์ข้าว
การคัดเลือกพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร สิ่งที่สำคัญอันดับแรก คือ เกษตรกรจำเป็นต้องรู้จักลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวที่จะคัดเลือก เช่น ลักษณะลำต้น สี อายุ รสชาติ ความต้องการน้ำและแสง เป็นต้น เพื่อที่ว่าเมื่อเกษตรกรทำการคัดพันธุ์ข้าวก็จะสามารถระบุได้ว่าข้าวที่มีคุณภาพดีตรงตามพันธุ์เป็นอย่างไร นอกจากนี้การรู้จักลักษณะประจำพันธุ์ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ เพราะเกษตรกรจะรู้ว่าข้าวที่ปรับปรุงขึ้นมามีลักษณะตามพ่อแม่พันธุ์หรือไม่

อันดับถัดมาเมื่อต้องการคัดพันธุ์ข้าว ให้เกษตรกรเลือกเก็บรวงข้าวพันธุ์ที่ต้องการ จากกอที่ไม่เป็นโรคหรือไม่มีแมลงรบกวน เลือกรวงที่สมบูรณ์ติดเมล็ดดี รวงยาว เป็นต้น เลือกเก็บเมล็ดข้าวมาประมาณครึ่งกิโลกรัม โดยนำเมล็ดข้าวมาแกะเปลือกด้วยมือ หรือใช้เครื่องสีข้าวกล้องแล้วแต่สะดวก ทำการฝัดทำความสะอาดเพื่อให้เมล็ดลีบออกไป แล้วจึงนำข้าวกล้องเหล่านี้มาคัดเลือก

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการคัดจากข้าวกล้อง เป็นวิธีการที่ช่วยให้คัดเลือกพันธุ์ได้ดีกว่าการคัดจากรวงเพียงอย่างเดียว เพราะเกษตรกรสามารถเห็นเมล็ดข้าวภายในว่าเป็นอย่างไร มีความสมบูรณ์ดีเพียงใด รวมทั้งมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการหรือไม่ ทั้งนี้ เกษตรกรอาจมองว่าการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการคัดจากข้าวกล้องเป็นวิธีที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและเป็นงานหนักหากต้องคัดเมล็ดข้าวในจำนวนมาก แต่ในทางปฏิบัติเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มช่วยกันคัดเลือกและช่วยกันปลูกขยายได้ อีกทั้งเกษตรกรไม่จำเป็นต้องคัดข้าวกล้องในทุกๆ รอบการผลิต หากได้ทำการคัดอย่างเหมาะสมในปีแรกๆ แล้ว ปีต่อไปเกษตรกรเพียงปลูกรักษาพันธุ์ไว้และทำการสุ่มตรวจคุณภาพเป็นระยะๆ เท่านั้นก็เพียงพอ


ลักษณะเมล็ดข้าวกล้องที่ดี
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการคัดจากข้าวกล้อง เกษตรกรจะต้องคัดให้ได้เมล็ดข้าวกล้องที่สมบูรณ์ดี อาจใช้แว่นขยายส่องดูเพื่อให้คัดเลือกได้ดียิ่งขึ้น โดยเมล็ดข้าวกล้องที่สมบูรณ์ดีมีลักษณะดังนี้

1. เมล็ดมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์
2. เมล็ดไม่มีท้องไข่ หรือท้องปลาซิว (ลักษณะขาวขุ่นตรงกลางของเมล็ด) เมล็ดข้าวที่มีท้องไข่ไม่เป็นที่ต้องการของโรงสี เนื่องจากเวลาขัดเป็นข้าวขาวจะบางหักง่าย กลายเป็นข้าวปลายทำให้ได้ข้าวต้นน้อย
3. เมล็ดไม่บิดเบี้ยว หักในหรือแตกร้าว (สาเหตุการแตกร้าวของเมล็ดข้าวส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการตากรวงข้าวจนแห้งเกินไป)
4. จมูกเล็ก เนื่องจากเวลาสีจมูกข้าวจะหลุดออก ข้าวที่จมูกเล็กจะสีได้เนื้อข้าวมาก
5. เมล็ดเต่ง เป็นมันวาว







การเพาะกล้าข้าวกล้อง
เนื่องจากเมล็ดข้าวกล้องไม่มีเปลือกจึงเสียหายจากเชื้อราได้ง่าย ถ้านำไปเพาะในดินโอกาสงอกจะมีค่อนข้างน้อย เมล็ดข้าวจะเน่าเสียหายไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง การเพาะกล้าข้าวกล้องจำเป็นต้องมีวิธีการเพาะที่แตกต่างจากการเพาะกล้าข้าวเปลือก

1. การเพาะกล้าข้าวกล้องในกระถาง
การเพาะกล้าข้าวกล้องในกระถางเหมาะสำหรับการเพาะข้าวกล้องจำนวนไม่มากนัก และมีข้อดีคือง่ายต่อการดูแลรักษา โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.1 นำกระถางต้นไม้ที่มีรูระบายน้ำมาปิดรูกระถางด้วยกระดาษหรือใบไม้ นำแกลบดำหรือทรายหยาบ ใส่ลงในกระถางให้มีปริมาณประมาณ 3 ใน 4 ของกระถาง เกลี่ยหน้าให้เสมอกัน
1.2 โรยเมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกไว้ลงไป จำนวนเมล็ดที่โรยขึ้นกับความเหมาะสม ไม่ให้เมล็ดหนาแน่นเกินไปและไม่ควรให้เมล็ดซ้อนกัน กลบเมล็ดข้าวกล้องด้วยแกลบดำหรือทรายหยาบ หนาประมาณ 1 ข้อมือ
1.3 รดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ
1.4 นำกระถางมาใส่จานรอง เติมน้ำให้เต็มจานกระถาง เพื่อป้องกันมดมากินเมล็ดข้าวกล้อง นอกจากนี้แกลบดำหรือทรายจะดูดน้ำจากจานรองช่วยให้กระถางชุ่มชื้น ถ้าน้ำในกระถางแห้งให้เติมน้ำในจานรอง
1.5 เขียนชื่อพันธุ์ข้าวและวันเพาะบนป้ายปักไว้ในกระถาง ภายใน 3 วัน เมล็ดข้าวจะมีรากงอกออกมา ถ้าอยากให้รากงอกเร็วขึ้น ให้แช่เมล็ดข้าวกล้องในน้ำทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำมาเพาะ
1.6 เมื่อครบ 1 สัปดาห์ ควรย้ายต้นกล้าลงแปลงเพาะกล้า หากปล่อยทิ้งไว้นานกว่านี้ ต้นกล้าจะเริ่มมีอาการเหลือง เพราะในกระถางเพาะไม่มีอาหาร แต่ถ้าต้องการเพาะในกระถางโดยไม่ต้องย้ายไปแปลงเพาะ ให้ใส่ดินลงในกระถางก่อนแล้วจึงรองพื้นด้วยแกลบดำหรือทรายหยาบ

2. การเพาะกล้าข้าวกล้องในแปลงนา
ในกรณีที่มีเมล็ดข้าวกล้องจำนวนมาก ต้องเพาะกล้าข้าวกล้องในแปลงนาแทนการเพาะในกระถาง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมแปลงเหมือนกับการเตรียมแปลงตกกล้าทั่วไป ปรับเทือกให้เรียบสม่ำเสมอ
2. โรยทรายหยาบหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ถ้าใช้แกลบดำให้โรยหนาประมาณ 1 นิ้วทั่วทั้งแปลง
3. โรยเมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกไว้ ให้กระจายอย่างสม่ำเสมอ
4. โรยทับด้วยทรายหยาบหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร ถ้าใช้แกลบให้โรยหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
5. รดน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง ทำร่องน้ำรอบๆ แปลงเพาะเพื่อป้องกันมดเข้าทำลาย
6. ดูแลประมาณ 25 วัน ก็สามารถถอนกล้าไปปักดำได้


การปลูกข้าวเพื่อทำการคัดพันธุ์
การปลูกข้าวเพื่อทำการคัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพดี เกษตรกรจำเป็นต้องปลูกด้วยวิธีที่แตกต่างจากการปลูกข้าวโดยทั่วไป ในที่นี้จะใช้เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดียว ซึ่งเป็นการปลูกโดยนาดำ กล้าที่ใช้ดำมาจากการเพาะกล้าข้าวกล้อง ดำนาจำนวนต้นเดียวต่อจับ ให้มีระยะประมาณ 25 x 25 เซนติเมตร สำหรับข้าวพันธุ์เบา ส่วนข้าวพันธุ์หนักให้มีระยะประมาณ 30 x 30 เซนติเมตร ทั้งนี้ ควรขึงเชือกในแนวที่ดำข้าวเนื่องจากการขึงเชือกทำให้รู้ว่าข้าวที่ขึ้นมาเป็นข้าวที่เกษตรกรปักดำหรือไม่ ข้าวที่ขึ้นนอกแนวปักดำหรือข้าวที่มีลักษณะแตกต่างจากที่ต้องการให้เกษตรกรถอนทิ้งทั้งกออย่าเสียดาย เพราะข้าวที่ไม่ต้องการเหล่านี้จะมาปะปนกับข้าวที่ต้องการปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์

การปลูกข้าวเพื่อคัดเลือกให้ได้พันธุ์หลัก (พันธุ์หลักคือมีเมล็ดพันธุ์อื่นปนไม่เกิน 1 เมล็ดใน 1 กิโลกรัม) เกษตรกรต้องปลูกและคัดเลือกอย่างน้อย 3 รอบ ก็จะได้พันธุ์ที่มีคุณภาพตรงตามต้องการ สามารถสรุปขั้นตอนการคัดพันธุ์ข้าวได้ดังรูปต่อไปนี้





สิ่งที่สำคัญ คือ เทคนิคที่นำเสนอเหล่านี้เกษตรกรควรลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง อย่าเชื่อโดยไม่ได้ลองปฏิบัติ อีกทั้งเทคนิคเหล่านี้เป็นเพียงแค่แนวทางเบื้องต้นเท่านั้น เกษตรกรสามารถคิดค้นเทคนิคเพิ่มเติม เพื่อให้ทำงานง่ายและสะดวกสอดคล้องกับระบบการผลิตของตนได้

ทั้งนี้ การคัดเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพดี เกษตรกรอาจมองว่า เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงให้ได้พันธุ์ข้าวชนิดใหม่นั้น แทบจะกล่าวได้ว่าต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี แต่สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังและทำให้เกิดความยั่งยืนในระบบการผลิตของชาวนา การคัดพันธุ์และปลูกรักษาไว้ในวันนี้ ก็คือ มรดกที่มอบให้คนรุ่นหลังสืบไป


---------------------------------------------
ข้อมูล จากเวทีพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านภาคใต้ ครั้งที่1 ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน 2549 ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดพัทลุง ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จัดโดย เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก (ภาคใต้) และทีมวิทยากรจากมูลนิธิข้าวขวัญ.



http://www.sathai.org/knowledge/04_genetic/005-produceseedbyfarmer.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/06/2013 11:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

163. ชนิดข้าวราคาแพง


ปัจจุบันข้าวเพื่อสุขภาพค่อนข้างมาแรงครับชาวนาบางคนปลูกไม่พอขายด้วยซ้ำ แต่การทำนาต้องทำแบบเกษตรอินทรีย์ ข้าวที่ผ่านการวิจัยที่มีวินามิน มีประโยชน์ต่อร่างกายแม้ผลผลิตที่ได้จะไม่มากแต่ราคาค่อนข้างแพงกว่าข้าวทั่วไป ไม่ต้องพึ่งโครงการรับจำนำข้าว ใครมีที่นาน้อย ๆ หรือทำข้าวไร่ก็น่าสนใจครับ ผมเอาพันธุ์ข้าวที่น่าสนใจมาฝากครับ นาปีผมก็จะลองหาพันธุ์มาปลูกบางส่วนเหมือนกันครับ ผมทำนาผลผลิตต่อไร่ขายได้ไร่ละหมื่นกว่าบาท แต่ชาวนาบางท่านมีรายได้ต่อไร่ 1-2 แสนบาท/ไร่ แถมข้าวไม่พอขายด้วยซ้ำซึ่งก็น่าสนใจทีเดียว


มาดูข้าวราคาแพงกันครับ

ข้าวหอมมะลิเวสสันตะระ
หอมมะลิเวสสันตะระ เกิดจากการแก้ไขผลผลิตต่ำในที่นาของตนเอง ตุ๊หล่าง – แก่นคำกล้า พิลาน้อย จึงนำข้าวพื้นเมืองพันธุ์พ่อ “เหนียวเล้าแตก” ผสมกับพันธุ์แม่ “หอมมะลิ105” ใช้เวลา 8 ปีเต็ม จนได้ข้าวเจ้าที่หอมกรุ่นใบเตยเหมือนแม่ และผลผลิตสูงเหมือนพ่อ

จุดเด่น ลักษณะสีเหลืองนวล
มีวิตามินบีรวม ช่วยฟื้นฟูแขนขาอ่อนแรง วิตามินบี 1 บี 2 ป้องกันโรคเหน็บชา โรคเส้นประสาทหลงลืม อุดมด้วยธาตุสังกะสี ช่วยพัฒนาระบบสืบพันธุ์, ช่วยสร้าง ตัวอสุจิให้แข็งแรง, มีธาตุทองแดงช่วยสร้างเม็ดสีเมลานิน และธาตุเหล็ก ช่วยพัฒนาสมองในเด็ก

ราคาขายข้าวสาร 1 กก. = 80 บาท


ข้าวหอมมะลิแดง

หอมมะลิแดง มีลักษณะสีแดงเหมือน “ข้าวมันปู” และ “ข้าวสังข์หยด” แต่เนื่องจากเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองตระกูลเดียวกับหอมมะลิ จึงให้กลิ่นหอมและ นุ่มนวลกว่าข้าวแดงทั่วไป เป็นข้าวที่เหมาะสำหรับการปรุง “ข้าวต้ม” เพราะมียางข้าวทำให้เหนียวข้น และเข้ากันได้ดีกับธัญพืช อาทิ ลูกเดือย ถั่วเขียว ถั่วแดง มัน เผือก ฯลฯ

จุดเด่น ลักษณะสีแดงเข้มเป็นข้าวที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะดัชนีน้ำตาลในเลือด จะขึ้นช้าและมีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่าข้าวทุกชนิดที่ทำการวิจัย และยังสูงกว่ามะเขือเทศ, แอปเปิล, ใบโหระพา รวมถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทุกชนิด

ราคาขายข้าวสาร 1 กก. = 85 บาท


ข้าวหอมนิล
ข้าวหอมนิล ข้าวเจ้าสีม่วงเข้มอมดำ มีกลิ่นหอมและรสชาติเฉพาะตัวเมื่อได้ลิ้มลองแล้วต้องติดใจ ซึ่งกลุ่มข้าวคุณธรรมได้ทำการพัฒนาและปรับปรุงขึ้นจาก สายพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีอายุเก็บเกี่ยวที่นานขึ้นถึง 110 -120 วัน ทำให้ได้รสชาติที่เหนียวนุ่มลิ้นมากยิ่งขึ้น และมีสีม่วงเข้มจนเกือบดำสนิท

จุดเด่น ลักษณะสีม่วงเข้มอมดำมีธาตุเหล็กสูงสุด อุดมด้วยทองแดง ฟอสฟอรัส ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง อุดมด้วยวิตามินอี บำรุงผิพรรณ เส้นผม เล็บ ชะลอความชรา

ราคาขายข้าวสาร 1 กก. =120 บาท




http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=358462.180




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2013 11:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/06/2013 11:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

164. ชนิดของข้าวกล้อง




ข้าวกล้องหอมมะลิเวสสันตะระ




ข้าวกล้องหอมมะลิ 105




ข้าวกล้องหอมมะลิแดง




ข้าวซ้อมมือหอมมะลิแดง




ข้าวสามพญา




ข้าวกล้องงอกหอมมะลิเวสสันตะระ




ข้าวกล้องงอกหอมมะลิ 105




ข้าวกล้องงอกหอมมะลิแดง




ข้าวกล้องหอมนิล




ข้าวกล้องงอกหอมนิล




ข้าวกล้องพื้นเมือง 150 สายพันธุ์




http://www.tvburabha.com/tvb/rice/type_rice.html



http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=358462.20
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/06/2013 5:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

165. ค้นหายีนกลายพันธุ์ ปั้น 'ข้าวพันธุ์อึด-ดีต่อ สวล.'


dต้องยอมรับว่า "ข้าว" ยังเป็นเรื่องใหญ่ที่นักวิชาการให้ความสนใจศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนี้ ก็เพื่อมุ่งสร้างความยั่งยืนมั่นคงด้านอาหารภายในชาติเป็นสำคัญ ในอนาคตอันใกล้คนไทยอาจได้บริโภคข้าวพันธุ์ดีมีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลงานจากนักวิจัยไทยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติคือ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณจิตร แห่งภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เพิ่งคว้าทุนจาก "โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ" ประจำปี 2555 จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

รศ.ดร.อภิชาติเป็นนักวิจัยด้านข้าวที่รู้จักกันดีในแวดวงวิชาการ มีผลงานพัฒนาพันธุ์ข้าวเด่นๆจนคว้ามาแล้วหลายรางวัล เช่น รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2549 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), รางวัลเกียรติคุณบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2555 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และล่าสุดทุนนักวิจัยแกนนำจากโครงการ "เทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ทั้งจีโนมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อม" เป็นมูลค่า 19,930,000 บาท ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี เพื่อช่วยให้เหล่าเกษตรกรเลิกใช้สารควบคุมศัตรูพืชได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังต้องอยู่รอดและให้ผลผลิตได้แม้เผชิญกับสภาวะแห้งแล้ง ดินเค็ม น้ำท่วม อากาศสูงหรือต่ำกว่าปรกติ

รศ.ดร.อภิชาติเปิดเผยว่า เป้าหมายของนักปรับปรุงพันธุ์พืชทั่วไปมุ่งหาความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อมาพัฒนาให้ได้พันธุ์ข้าวมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยใช้วิธีผสมเกสรเพื่อคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีคัดเลือกที่เหมาะสมและใช้เวลานับสิบปีกว่าจะได้พันธุ์ข้าวใหม่ จากเหตุดังกล่าวจึงพยายามหาวิธีใหม่มาใช้และเลือกเทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ (mutation) ซึ่งเป็นการใช้รังสีกระตุ้นให้จีโนมข้าวเกิดการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ เพื่อศึกษาหน้าที่ของยีนที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ สู่การพัฒนาระบบรวบยอดยีนที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อนำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์ข้าว

ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา รศ. ดร.อภิชาติและทีมงานได้ศึกษาและสร้างประชากรข้าวกลายพันธุ์จากข้าวเจ้าหอมนิลโดยการอาบรังสีที่เรียกว่า Fast Neutron ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยใช้เมล็ดข้าวเริ่มต้น 100,000 เมล็ด จากนั้นสร้างประชากรต่อเป็นห้องสมุดจนสามารถสร้างสายพันธุ์ข้าวใหม่ได้มากกว่า 21,000 ต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ได้นำมาศึกษาค้นหาต่อว่ายีนกลายพันธุ์ทำงานอย่างไร โดยที่พิสูจน์แล้วมีหลายพันธุ์ด้วยกัน อาทิ พันธุ์ข้าวทน้ำท่วม, พันธุ์ข้าวมีธาตุเหล็กสูงและทนดินกรด, พันธุ์ข้าวที่ผสมเกสรติดภายใต้อุณหภูมิสูง และพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติแป้งหรือให้แป้งสูง เหมาะสำหรับผลิตอาหารประเภทเส้น เช่น สปาเกตตี เป็นต้น

ขั้นต่อไปจะนำพันธุ์ข้าวที่พิสูจน์แล้วไปปรับปรุงพันธุ์ต่ออีก รวมถึงศึกษาข้าวพันธุ์กลายใหม่เพิ่มอีก อาทิ มุ่งค้นหาพันธุ์ข้าวที่สามารถผสมเกสรติดภายใต้อุณหภูมิต่ำ, พันธุ์ข้าวที่ผสมเกสรติดภายใต้สภาพขาดน้ำ และพันธุ์ข้าวที่ผสมเกสรติดภายใต้สภาพเค็ม

"ต่อไปอาจนำข้าวกลายพันธุ์ที่พิสูจน์แล้วผสมกับข้าวพันธุ์ที่ดีอยู่แล้วเพื่อสร้างข้าวที่ทนน้ำ ขึ้นเหนือน้ำได้, ข้าวที่อยู่ในพื้นที่ ที่มีความเป็นกรดสูง และมีธาตุเหล็กสูงมาก ซึ่งพบว่ามีข้าวพันธุ์หนึ่งดึงธาตุเหล็กจากดินได้และหากขึ้นเหนือน้ำได้จะดีมาก" รศ.ดร.อภิชาติกล่าว

ภายใต้การวิจัยระยะเวลา 5 ปีเราอาจได้เห็น "พันธุ์ข้าวมหัศจรรย์" ต่างๆดังที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี หากประสบความสำเร็จจริง สิ่งที่ได้จากโครงการนี้ไม่ใช่เพียงพันธุ์ข้าวใหม่ๆเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความยั่งยืนทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ การมีฐานข้อมูลด้านยีนกลายพันธุ์ ตลอดจนเกิดนักวิจัย นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวรุ่นใหม่ๆที่จะช่วยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้ดียิ่งขึ้น ต่อไป

แหล่งที่มา : สิริรัตน์ วารี. ค้นหายีนกลายพันธุ์ ปั้น'ข้าวพันธุ์อึด-ดีต่อสวล.' โลกวันนี้ (เทคโนโฟกัส). ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555.



http://www.nstda.or.th/news/9397-nstda


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2013 5:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 10:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

166. อุตรดิตถ์นำร่องนวัตกรรมปลูกข้าวสองเกวียน ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต





อุตรดิตถ์ - รองพ่อเมืองอุตรดิตถ์นำร่องโครงการปลูกข้าวสองเกวียน กิจกรรมการปลูกข้าวต้นเดียว หลังพบชาวนาไทยมีต้นทุนการผลิตสูงถึงไร่ละ 5 พันบาท สูงกว่าเวียดนามถึง 50% แต่ผลผลิตต่ำกว่าเวียดนาม จีน และญี่ปุ่นเกือบเท่าตัว

นวัตกรรมใหม่ของการทำนาด้วยการปลูกข้าวด้วยต้นกล้า 1 ต้นต่อ 1 จับ ที่แปลงทำนาบ้านชำหนึ่ง หมู่ 5 ต.ท่าสัก อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ มีนายศักดิ์ สมบุญโต รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นผู้ควบคุมการผลิต มีชาวนาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทุกขั้นตอนการผลิตกว่า 30 คน เพื่อจัดทำเป็นแปลงเรียนรู้ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตให้ได้สูงที่สุด





วันนี้ (17 มิ.ย.) นายศักดิ์ สมบุญโต รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า การทำนาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ทำให้ต้นทุนสูงถึงไร่ละ 5,000 บาท สูงกว่าเวียดนามถึง 50% แต่ผลผลิตกลับต่ำกว่าเวียดนาม จีน และญี่ปุ่นเกือบเท่าตัว ประกอบกับชาวนาใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมากขึ้น ส่งผลต่อระบบนิเวศในนาข้าว ทำให้เกิดโรคแมลงระบาดรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวนาและผู้บริโภค จึงได้เกิดโครงการข้าวสองเกวียนเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเพื่อผลิตข้าวคุณภาพดีตามระบบเกษตรที่ดีเหมาะสม และพัฒนาให้เป็นข้าวอินทรีย์ในอนาคต ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำสุด และได้ผลผลิตสูงสุด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ยกระดับข้าวให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด



นวัตกรรมใหม่ของการทำนาด้วยการปลูกข้าวด้วยต้นกล้า 1 ต้นต่อ 1 จับ


ข้าวกล้าเพาะด้วยพันธุ์ กข. 47 ที่ชาวนาใช้ปลูกทั่วไปในกระบะหลุมละ 1 เมล็ด เมื่อโตราว 1 เดือนจึงนำไปปักดำ 1 จับต่อ 1 ต้น ระยะ 20-30 เซนติเมตร วิธีการนี้จะใช้เมล็ดพันธุ์ 3 ขีดเท่านั้น จากปกติใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ละ 30 กิโลกรัม การดูแลก็ปฏิบัติตามปกติ จากการสังเกตพบว่าข้าว 1 ต้นสามารถแตกกอได้ราว 3-5 ต้น และการเจริญเติบโตอยู่ในระดับดีจนน่าพอใจ

คาดว่าต้นทุนการผลิตจะเหลือเพียง 2,000-3,000 บาท ผลผลิตราว 1,500-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ และในอีก 2 ปีข้างหน้าจะพัฒนาไปสู่ข้าวอินทรีย์ โดยวิธีการทำนาแบบนี้ทำให้ต้นข้าวได้รับแสงแดด และลมพัดผ่านอย่างทั่วถึง ทำให้ลดการแพร่ระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช ที่ผ่านมายังไม่เคยใช้สารเคมีฉีดพ่น แต่จะใช้สารชีวภาพ และสารชีวภัณฑ์ทดแทนทั้งหมด



http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9560000072848
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 11:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

167. 'เอี่ยม สมเพ็ง' ชาวนาปลูกข้าวจากพลังงานลม :

โดย...กวินทรา ใจซื่อ








เกษตรกรส่วนใหญ่ทำนาโดยรอฟ้าฝน รอธรรมชาติ เช่นเดียวกับ เอี่ยม สมเพ็ง เกษตรกรบ้านดงยาง ต.บากเรือ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร สืบทอดอาชีพทำนาจากบรรพบุรุษ ที่หนีไม่พ้นการใช้สารเคมี จนปี 2542 สารพิษส่งผลต่อสุขภาพจึงเลิกใช้และหันมาทำนาอินทรีย์

“หากใช้สารเคมี ที่นา 23 ไร่จะได้ข้าว 5-6 ตัน จนปี 2543 ปลูกข้าวอินทรีย์ ผลผลิตลดเหลือครึ่งเดียว จึงศึกษาหาความรู้เกษตรอินทรีย์ ลดละเลิกสารพิษทุกชนิดใช้ของที่เรามีอยู่ทั้งไถกลบตอซัง ระหว่างไถจะใช้น้ำหมักพรมลงดิน ปุ๋ยคอกจากวัวที่เลี้ยงไว้ 3 ตัวก็นำมาหว่านลงในนา ปรากฏปีต่อมาได้ข้าว 5-6 ตันเท่าเดิม ฟื้นฟูบำรุงดินเรื่อยมา จนบางปีได้ข้าว 10-15 ตัน ทุกวันนี้ในที่นาจะมีทั้งปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา”

ปัจจุบันปัญหาที่พบคือ การแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้ชาวนาคำนวณระยะเวลาเพาะปลูกยากขึ้น โดยเฉพาะปี 2551 ปีที่ชาวนา จ.ยโสธร ได้รับผลกระทบภัยแล้งมากที่สุด ขณะที่เอี่ยมได้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ลึก 3 เมตร ไว้ในที่นาเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำ

แรกๆ การสูบน้ำมาใช้แต่ละครั้งต้องใช้ไฟฟ้า ทำให้เสียค่าไฟเดือนละกว่า 300 บาท เสียต้นทุนการผลิต จากประสบการณ์ที่ได้ไปศึกษาดูงานกังหันลมผลิตไฟฟ้า ทำให้มีแนวคิดประดิษฐ์กังหันดึงน้ำมาใช้ด้วยพลังงานลม พลังงานสะอาดที่มีอยู่ทุกหนแห่งตามธรรมชาตินำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถทำได้ด้วยตัวเองลงทุนเพียง 3,000 บาท ใช้งานได้นานกว่า 4 ปี

“วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เน้นหาได้ในชุมชน ทั้งสังกะสี พลาสติก ป้ายโฆษณา ผ้า เหล็กแกนกลาง ล้อจักรยาน โดยตลอด 2 ปี ลองผิดลองถูกทดลองใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง ปรับปรุงมาเรื่อยจากเดิมรับลมได้ 2 ทาง กระทั่งหมุนได้รอบทิศทาง สามารถสูบน้ำด้วยกังหันลมมาใช้ได้ตลอดทั้งปี ทุกวันนี้ต้นทุนเรื่องค่าไฟหมดไปแล้ว”

"เอี่ยม" จึงเป็นต้นแบบเกษตรกรที่มีแนวคิดในการนำพลังงานสะอาดมาใช้บนผืนนากว่า 23 ทำให้ที่นี่มีเกษตรกรและผู้ที่สนใจทั้งจาก จ.หนองคาย บุรีรัมย์ นครนายก เดินทางมาศึกษาดูงาน เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาในพื้นที่



http://www.komchadluek.net/detail/20130327/154770/ปลูกข้าวจากพลังงานลม.html#.UcpoGsz-Jy0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 11:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

168. แหนแดง ทำปุ๋ยพืชสดนาข้าว ลดต้นทุนในการปรับสภาพดินด้วยวิธีธรรมชาติ





แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในนาข้าวที่สามารถใช้ทำเป็นก่อนปลูกข้าวหรือใช้พร้อมการปลูกข้าวเนื่องจากแหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึงประมาณร้อยละ 3-5 สามารถช่วยลดหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนได้

แหนแดง คือเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กพบได้บริเวณน้ำนิ่งทั่วไป ลักษณะลำต้นเป็นแบบไรโซม (rhizome) สั้นๆแตกกิ่งออกสองข้างแบบสลับ ใบมีขนาดเล็กเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 7-10 ใบเรียงสลับซ้อนกันอยู่ ไม่มีก้านใบ ใบย่อยแต่ละใบประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนบน (dorsal lobe) และ ส่วนล่าง (ventral lobe) บริเวณใบย่อยส่วนบนจะมีโพรงใบซึ่งเป็นที่อาศัยของไซยาโนแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า Anabaena azollae อาศัยอยู่แบบให้ประโยชน์ร่วมกันกับแหนแดง แบคทีเรียชนิดที่กล่าวมานี้มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แหนแดงใช้ในรูปของแอมโมเนียมได้สูงและมากพอสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงเอง

แหนแดง สามารถขยายตัวได้รวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และให้น้ำหนักสดถึง 3 ตันต่อไร่ ภายในเวลาเพียงประมาณ 30 วัน และสามารถตรึงธาตุไนโตรเจน ได้ถึง 5-10 กิโลกรัม หลังจากนั้นไนโตรเจนจะค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาหลังจากแหนแดงย่อยสลาย แหนแดงมีอัตราส่วน คาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำ (C:N) ต่ำ (ประมาณ 10) ทำให้ย่อยสลายได้เร็วและปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้เร็วเช่นกัน ทำให้แหนแดงถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอย่างแพร่หลายในประเทศจีนและเวียดนาม


การผลิตพันธุ์แหนแดง
แหนแดงสามารถขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้อย่างรวดเร็วโดยการแตกกิ่งแขนงแบบสลับกัน เมื่อกิ่งแขนงแก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม แล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล กิ่งแขนงย่อยก็จะหลุดออกมาเป็นต้นใหม่เล็กๆ ทำให้แหนแดงขยายพันธุ์เป็นสองเท่า ภายใน 7-10 วันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

การผลิตเชื้อพันธุ์แหนแดง เริ่มต้นด้วยการขังน้ำสูงระดับ 5 ซม.ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดงประมาณ 200 กรัมต่อตร.ม.แหนแดงจะขยายตัวเต็มที่จะได้น้ำหนักสดประมาณ 2 กก.ต่อ ตร.ม. แล้วค่อยขยายเชื้อลงในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังภาพล่างต่อไปนี้


การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดใน นาข้าว
1 ใช้ก่อนการปลุก
1.1. เลี้ยงแหนแดงในนาก่อนหว่านข้าวประมาณ 30 วัน โดยหว่านแหนแดงประมาณ 100-300 กก./ไร่
1.2. รักษาระดับน้ำไว้ที่ความลึกอย่างน้อย 5 ซม.
1.3. เมื่อผ่านไปประมาณ 30 วันแหนแดงจะขยายตัวจนเต็มแปลงนาจึงปล่อยน้ำออกแล้วไถกลบแหนแดง หลังจากนั้นจึงทำการหว่านข้าวหรือดำนาต่อไป

2. ใช้ก่อนการปลุก
หว่านแหนแดงหลังจากปักดำกล้าข้าวก็ได้แล้วปล่อยให้แหนแดงขยายตัวให้เต็มแปลงนาและเจริญเติบโตไปพร้อมกับข้าวและสามารถควบคุมวัชพืชในแปลงนาได้อีกด้วยเพราะแหนแดงจะปกคลุมแปลงนาทำให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งกับข้าวได้และแหนแดงสามารถอยู่ร่วมกับข้าวให้แปลงนาได้โดยไม่แย้งอาหารจากต้นข้าวแต่อย่างใด

ประโยชน์ของแหนแดง
1. สามารถทดแทน หรือ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน
2. เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมอาหารของนรากพืชหรือต้นข้าว
4. ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผักและไม้ผล
5. ใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวก เป็ด ไก่ ปลาหรือสุกรได้เนื่องจากแหนแดงมีปริมาณโปรตีนที่สูงมาก
6. ทำให้เกษตรมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ

ที่สำคัญก็คือ ไม่ทำลายธรรมชาติครับ ปู ใส้เดือน กบ ก็อาศัยอยู่ได้ ครับ


http://farmers-thai.blogspot.com/2013/04/blog-post_7193.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/06/2013 11:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

169. ทดลอง ข้าวชัยนาท1 นาน้ำฝน 900 กิโล ต่อ ไร่ ต้นทุนไร่ละ 1,900 บาท












บางท่านอาจจะคิดว่าแค่ 900 กิโล ต่อ ไร่ มันง่ายนิดเดียว (ถ้ามีระบบชลประทานผมทำได้ 1,000 กิโล ต่อ ไร่ ขึ้นไป) แต่ผมจะบอกว่าที่ อ ไพศาลี มันเป็นเรื่องยากครับ เพราะว่าที่นี่ไม่มีระบบชลประทาน ครับ

แปลงที่ผมปลูกไม่มีคลองส่งน้ำระบบชลประทานครับ ปกติชาวบ้านแถวนี้ได้อยู่ 600 กิโลต่อ 1 ไร่ครับแต่ปริมาณไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดต้องดูที่กำไรครับว่า มันมากขึ้นหรือไม่ ผมทดลองโดย
1. ปลูกแบบชาวบ้านแบบเดิม
2. เปลี่ยนวิธีการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยแบบเดิม
3. เตรียมคิดแบบเดิม เปลี่ยนวิธีการใส่ปุ๋ย
4. เตรียมดินแบบใหม่ ใส่ปุ๋ยแบบใหม่

เรื่องการใส่ปุ๋ยและเทคนิคต่างๆผมยังไม่บอกอย่างละเอียดนะครับ เพราะมันเยอะมาก

ผมทำนา และ ปลูกพริก ปลูกกล้วย ข้าวโพด และผักสวนครัวอื่นๆ แซม จะขายจะกินจะแจก ก็แล้วแต่ครับ

ผลการทดลองออกมาว่า (ผมทดลองนาน้ำฝนนะครับ)
แบบที่ 1 ..... 600-650 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 1,200 บาทต่อไร่
แบบที่ 2 ..... 650-680 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 800 บาทต่อไร่
แบบที่ 3 ..... 600-750 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 900 บาทต่อไร่
แบบที่ 4 ..... 850-1,350 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 1,000 บาทต่อไร่

ราคาไม่รวมค่าพันธ์ข้าวนะครับ

จากตารางที่ผมทำ
ผมคิดว่า ผมเลือกแบบที่ 4 ครับเพราะการทำแบบที่ 4 ของผมถ้าทำแบบนี้ไปสัก 5 ปี นาผมต้นทุนจะลดเหลือ 500 บาทต่อไร ครับ

ผมใส่ปุ๋ย 3 ครั้งต่อการทำนา 1 การปลูกครับ แต่ผมจะใส่ น้ำหมักของผมเอง ทุกครั้งที่ว่างและก่อนใส่ปุ๋ยเม็ด 5-7 วันครับ เพื่อเร่งให้รากแตกออกมารับปุ๋ยครับ

หากเกษตรกรคนไหนสงสัย หรืออยากแลกเปลี่ยนความรู้กัน ติดต่อมาได้นะครับ
081-394-2485 ครับ ยินดีครับ

แต่ผมเองก็ไม่เก่งมากเท่าไหร่นะครับ แต่ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ



http://farmers-thai.blogspot.com/2012/10/1-900.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2013 7:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/06/2013 3:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

170. การทำนาให้ได้กำไรสุทธิ 1.5 แสนต่อไร่ (แถมเหนื่อยน้อย)


เหนื่อยน้อยกว่าเดิม 3 เท่า (เช่น ไม่ต้องก้มดำนา ไม่ต้องฉีดยา ใส่ปุ๋ยหรือทำหญ้า) แต่ได้กำไรกว่าเดิม 100 เท่า (จากพันห้า เป็น แสนห้า)

แม้ผมจะไม่เคยทำนามาก่อนในชีวิต แต่ก็ได้พยายามศึกษาหาความรู้จากการอ่าน การถาม การดูเสมอมา บัดนี้ผมได้คิดวิธีการทำนาชีวภาพแบบใหม่ ที่น่าจะดีกว่าการทำนาแบบเดิมๆ โดยเฉพาะเหนื่อยน้อยกว่า แต่รายได้มากกว่า แถมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้ม โดยทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมดิน ถึงการอบแห้ง จะเป็นวิธีการใหม่ที่ต่างจากระบบเดิมทั้งสิ้น

หากท่านอ่านแล้วเห็นว่าดี หรือ พอมีทางเป็นไปได้ โปรดช่วยนำไปสานต่อ ช่วยโพนทะนา วิจัย ทดลอง แต่หากเห็นว่าไม่ดี เป็นไปไม่ได้ ผมก็ขออภัยด้วยที่ทำให้ท่านต้องเสียเวลาอ่านโดยเปล่าประโยชน์ (ยาวมากซะด้วย เพราะเป็นการสั่งสมความรู้ความคิดมาประมาณ ๑๐ ปี ในขณะที่มีเรื่องอื่นคู่ขนานอีก ๑๐๘ เรื่อง)

นาชีวภาพนี้จะไม่ฉีดพ่นสารใดๆ แม้สารชีวภาพ...เหมาะสำหรับนาอีสานส่วนใหญ่ ที่ไม่มีการชลประทาน แต่ถ้ายิ่งที่มีชลประทานก็ยิ่งดี

ชาวนาอีสานเฉลี่ยมีนา 5 ไร่ ทำนาแล้วไม่พอกิน (ทำให้ต้องไปหาลำไพ่รับจ้างลงคะแนนเลือกตั้งและรับจ้างชุมนุม) เพราะได้กำไรสุทธิเพียงไร่ละประมาณ 1,500 บาทเท่านั้น (หลังจากหักค่าปุ๋ย สารเคมีแล้ว)

จึงได้คิดค้นวิธีการทำนาน้ำฝน ที่เหนื่อยน้อยกว่าเดิม 3 เท่า (เช่น ไม่ต้องก้มดำนา ไม่ต้องฉีดยา ใส่ปุ๋ยหรือทำหญ้า) แต่ได้กำไรกว่าเดิม 100 เท่า หลักการกว้างๆ คือ เราจะเลี้ยงปลาเล็กที่กินหญ้า กินไรน้ำ หอยขม เขียดน้อย แมงปอ ในนา พร้อมทั้งปลูกพืชน้ำ เช่น สาหร่าย และสันตะวา ให้เป็นอาหารปลา ส่วนร่องน้ำกลางนาเราจะเลี้ยงสาหร่ายโตเร็ว พร้อมปลาจีน (หรือเปลาเฉา) จะมีการเวียนน้ำเพื่อบำบัดและเพิ่มสารอาหารให้ปลาพร้อมกันไป จะมีการปลูกผักสลัดที่ชอบแดดรำไร (และมีราคาแพง) ภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ผลที่ได้คือ ชาวนาลดความเหนื่อยล้า เพราะไม่ต้องฉีดพ่นยา ไม่ต้องใส่ปุ๋ย และไม่ต้องทำหญ้า แต่ประการใด แต่จะมีรายได้สุทธิประมาณ 150,000 บาทต่อไร่ต่อ 1 รอบการทำนา



นอกจากนี้การเก็บเกี่ยวยังทุ่นแรงได้มาก เพราะไม่ต้องตากตอซัง เก็บตอซัง นวด แต่จะใช้วิธีหวีซึ่งเป็นการเกี่ยวนวดในตัวแล้วเอามาตากแห้งบนแคร่พรุน 2 วัน

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างครบวงจรทำให้ไม่ต้องฉีดยา ใส่ปุ๋ย หรือทำหญ้า แถมได้ผลผลิตเพิ่มพูนมหาศาล ขั้นตอนในรายละเอียด ดังนี้....

• แปลงนาเป็นสี่แหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 12 เมตร และยาวตามชอบ อาจยาว 33 เมตร จะได้พื้นที่ประมาณ 1 งานพอดี ตรงกลางร่องนาตามแนวยาวให้ขุดเป็นร่องน้ำลึก 1.5 เมตร กว้าง 2 เมตร ร่องนี้จะเอาไว้ กักน้ำ เลี้ยงสาหร่าย และเลี้ยงปลาจีน (grass barb) ซึ่งเป็นปลากินผักหญ้า สาหร่ายหางกระรอกโตเร็วมาก จะเป็นอาหารหลักของปราจีน โดยไม่ต้องให้อาหารอื่นใด ยกเว้นอาหารเสริมเป็นครั้งคราว

• ดินที่ขุดขึ้นจากร่อง ให้เอามาทำเป็น ”คันนาในคันนา” ล้อมร่องน้ำไว้ แต่ให้เปิดช่องต่อกับผืนนาไว้ กว้างสักประมาณ 30 ซม. (เป็นช่องระบายน้ำ)

• พอฝนเริ่มตกในช่วงเดือนพค. น้ำในนาจะไหลมาลงร่องกลาง เช่น ถ้าตกสัก 10 ซม ในเดือนพค. ก็จะได้น้ำในร่องลึกประมาณ 50 ซม. น้ำที่ขังไว้ได้นี้เราจะเอาไปทำระบบชลประทาน บริหารจัดการน้ำในนาได้ ทำให้สามารถปลูกข้าวได้ในต้นเดือน มิย. ทันที แม้ฝนทิ้งช่วงเราก็สามารถใช้น้ำในร่องนี้สูบเข้านาที่แห้งได้

• พอมีน้ำขังในร่องถึงระดับเราเริ่มเอาลูกปลา หอย ลงไปอภิบาลได้เลย โดยกั้นด้วยผ้าไนล่อนให้เป็นคอกเล็กๆ ให้อาหารเสริมตามสมควร เราจะเลือกเลี้ยงปลาที่กินไรน้ำพืชเท่านั้น เพราะเตรียมอาหารให้ได้ง่ายกว่าปลาที่กินไรน้ำสัตว์

• เตรียมดิน ตามปกติ คือ ไถดะ ไถแปร คราด ทำเทือก เพียงแต่การบริหารเวลาจะต่างออกไป โดยเฉพาะก่อน “หยอดหล่น” (การปักดำ หรือหว่าน) กล่าวคือ พอไถดะเสร็จจะไม่ตากดินไว้ 10 วัน เหมือนปกติ แต่จะทำการไถแปรทันที จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 10 วันเพื่อให้เมล็ดวัชพืชงอกให้หมด (การปล่อยให้หญ้างอกในช่วงไถดะ อย่างที่นิยมกันนั้น หญ้ามันอาจงอกไม่หมด เพราะถูกกดทับไว้ในระดับลึกไว้ด้วยก้อนดินใหญ่ๆ สู้ไถแปรเลยจะดีกว่า ทำให้ดินละเอียด ลดการกดทับ ทำให้เมล็ดหญ้างอกมากกว่า) พอหญ้างอกเต็มที่ใน 10 วัน ก็คราด “ละเอียด” และทำเทือก การคราดละเอียดเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำการถอนรากหญ้าออกหมด และจะไม่มีการพลิกฟื้นหน้าดินให้เมล็ดหญ้าใต้ดินมีโอกาสขึ้นมางอกอีก ดังนั้นจึงจะไม่มีหญ้างอกอีกต่อไป....การ “คราดละเอียด” คือการครูดแต่ผิวหน้าดินให้ถอนรากหญ้าโดยไม่พลิกหน้าดินให้เมล็ดหญ้าใต้ดินลึกๆ ลอยขึ้นมาอีก โดยคราดนี้จะทำเป็นหัวตัว V เล็ก ไถไปที่ผิวลึกสัก 1 ซม พอถอนรากหญ้าออก ทำเป็นแถวสลับฟันปลาสัก 4 แถว (เรื่องนี้ไม่ยาก ทำได้แน่ แต่ต้องการนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญสักหน่อย)

• ในระหว่าง 10 วันที่รอหญ้าขึ้นนี้ ให้เอาลอบปูไปดักปูให้หมดนา ปูที่ดักได้จะช่วยเพิ่มรายได้ได้ดีทีเดียวเช่นเอาไปดองแล้วไปขายร้านแม่ค้าส้มตำ ..ปกติชาวนาวันนี้ใช้ยาฉีดฆ่าปู ทำให้เสียเงิน และทำลายสิ่งแวดล้อม แต่วิธีนี้ได้เงิน และไม่เหนื่อยมากด้วย (ไม่ต้องออกแรงฉีด) อีกวิธีคือปล่อยปลาไหลลงนาในช่วงนี้ ปลาไหลจะจับปูหอย (เชอรี่ โข่ง) กินหมดในช่วงนี้ จากนั้นทำการกู้ปลาไหล เอาไปขาย..ถ้าไม่กลัวบาป อิอิ )

• เมื่อคราดครั้งสุดท้าย หน้าดินนุ่มดี ให้ไขน้ำเข้านาพอแฉะ (สูบเข้าจากร่องตรงกลาง..ไม่ต้องรอฝน) แล้วทำการหยอดหล่นเมล็ดข้าวทันที (โปรดหาอ่านในโพสต์เก่าของผมถึงวิธีทำนาหยอดหล่น ข้อดีคือ ไม่มีการถอนรากกล้าให้ช้ำ แต่ได้ต้นข้าวเรียงแถวดี โดยไม่ต้องดำนาให้เหนื่อยยาก (ชาวนาชั้นสูงบางคนได้ยินเข้า อุทานว่า แบบนี้มันเร็วพอๆกับปักดำด้วยรถญี่ปุ่นเลยนะ ผมบอกว่าใช่ ต่างกันก็ตรงที่อัตราเสียหายของเราน้อยกว่ามาก และไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเขามา) ต้นข้าวจะแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี และโตเร็ว เนื่องจากไม่มีการชะงักตัวจากการที่รากกระเทือนอันเนื่องจากการปักดำ การต้านทานโรคดีนี้ยิ่งทำให้เหมาะต่อการทำนาชีวภาพ) ..ก้อนดินหยอดหล่นนั้นรากออกเป็นตุ่มแล้ว พอหยอดลงไปก็จะงอกทันที่ จะโตเร็วกว่าหญ้าซึ่งเหลือน้อยมากแล้ว หรือแทบไม่มีแล้วด้วยซ้ำ (ยกเว้นพวกที่ปลิวมาใหม่ในช่วงนี้) สนใจอ่านได้ที่นี่.... http://www.gotoknow.org/blogs/posts/455971


• การหยอดหล่นให้คำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ด้วย แถวติดกันให้สลับช่องว่างระหว่างต้น จะได้ไม่บังแดดกัน จะทำให้ข้าวโตไวขึ้น (เรื่องนี้ไม่มีใครคิดกันเลย สัมภาษณ์ชาวนามาทั่วประเทศ มีเพียงรายเดียว ที่ บ้านเชียงอุดรธานี ที่ชาวนาให้การว่า ปู่เขาเคยสอนเรื่องนี้ไว้ แต่เขาเองก็ไม่ได้ทำแบบนั้นแล้ว)

• ในระหว่างนี้ถ้าฝนทิ้งช่วงเราก็สามารถสูบน้ำจากร่องเข้าไปเลี้ยงนาได้ ข้าวก็ไม่ตาย ไม่ต้องคอยฝนอีกต่อไป

• พอข้าวโตถึงระดับก็ปล่อยน้ำเข้านาให้เต็มที่ หรือ รอฝนแล้วแต่กรณี

• ปล่อยปลาที่อนุบาลไว้ ซึ่งเป็นปลากินหญ้าลงไปเลี้ยง เช่นปลาจีน ปลากระดี่ ปลาตะเพียนทราย ตะเพียนขาว หอยขม กุ้งฝอย ดังนั้นต้นอ่อนวัชพืชที่กำลังจะโตตามข้าวมาก็จะถูกกินหมด เมล็ดวัชพืชน้ำที่ปลิวมาลงนาข้าวก็จะถูกปลาพวกนี้ตัดตอนเสียก่อนจะงอกด้วยซ้ำ เพราะมันชอบเมล็ดพืชมาก ดังนั้นการทำเช่นนี้เราได้หลายต่อมากๆ คือ ได้ปลา ได้การกำจัดวัชพืช และได้ ปุ๋ย จากมูลปลานั่นเอง

• พืชน้ำที่ปลูก เช่น สาหร่าย สันตะวา จะช่วยบำบัดน้ำเสียจากมูลปลาให้ดี แถมเติมออกซิเจน ให้น้ำด้วย จะเกิดการสมดุลระหว่างมูลปลา (ซึ่งเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าว คือ แอมโมเนีย และ ฟอสเฟต) และการดูดซับส่วนเกิน ที่ทำให้เน่า ออกไปด้วยสาหร่าย สันตะวา ซึ่งกลายไปเป็นอาหารปลา นี่คือวงจรของความยั่งยืน ในนาข้าว ที่ไม่ต้องการอะไรเลย นอกจาก แสงแดด อากาศ น้ำ และดิน (ก็ดินน้ำลมไฟสมดุลกันเอง)

• ร่องน้ำลึกตรงกลางเลี้ยงปลาจีน (grass barb) สาหร่ายน้ำหลากหลายสกุล เพื่อให้ปลาจีนกิน (ไม่เลี้ยงผักลอยน้ำ เพราะพวกนี้จะบังแดดหมด ทำให้สาหร่ายไม่โต) ปลานี้ wikipedia บอกว่าโตเร็วมากเพราะกินอาหารวันละ 3 เท่าของนน. ตัวเอง ซึ่งสาหร่ายเช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายไฟ สาหร่ายข้าวเหนียว โตเร็วมาก ย่อมเพียงพอต่อการกินของปลาจีน ถ้ามีเหลือก็เกี่ยวเอามาทำปุ๋ย หรือ แก๊สชีวภาพ แต่น้ำจะเน่าเร็วมากจากอึปลาจีนที่กินเข้าไปมาก เลยต้องมีการเวียนน้ำจากนามาสู่ร่องและจากร่องไปสู่นา

• การเวียนน้ำดังกล่าว (โดยการสูบ) ได้ผลดีสองต่อคือ เอาน้ำอุดมอึปลาจีนไปให้นา เป็นการเพิ่มปุ๋ยให้ต้นข้าว และ เพิ่มจุลินทรีย์ให้เกิดไรน้ำให้ปลาและกุ้งฝอยกิน ส่วนน้ำในร่องก็สะอาดขึ้น ปลาจีนก็ไม่ตายเพราะอึตนเอง ..แต่ต้องเสียค่าพลังงานในการสูบน้ำไปกลับเล็กน้อย ต้องมีปั๊มหนึ่งตัวที่ย้ายไปมาได้ ทำงานสลับกัน เช่น วันนี้สูบน้ำดีจากนาลงร่อง พรุ่งนี้สูบน้ำเสียจากร่องลงนา แล้วเวียนไปนาแปลงอื่น ข้าวก็ได้ปุ๋ยจากอึปลาจีนอย่างต่อเนื่อง

• กบใหญ่จะไม่เลี้ยงเพราะมันกินปลา แต่จะเลี้ยงเขียดน้อยๆ เช่น เขียดขาคำ เขียดน้อยจะขจัดแมลงน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ ทำให้ไม่ต้องฉีดยาให้เสียเงินและเสียแรง ..เรื่องกบเขียดกำจัดแมลงนี้ได้พบเห็นมาโดยบังเอิญแล้วว่า ใช้ได้ เพราะไปเจอนาที่อ.ประทาย ในขณะออกพื้นที่ เจ้าของนาเอากบมาเลี้ยงไว้ในสระน้ำริมนา ปรากฏว่านาของแก 5 ไร่ ไม่ฉีดยา ข้าวก็งามดีมาก )

• ปลาของเราจะเป็นปลาที่กินไรน้ำพืชเท่านั้น (ไม่กินไรนำสัตว์) เพราะมันทำให้เลี้ยงง่ายกว่ากันมากเลย การเพาะไรน้ำสตว์เหนื่อยมากกว่าการเพาะไรน้ำพืช

• ในการเวียนน้ำ ต้องมีเครื่องดูดโคลนผิวดินร่องน้ำไปกรองเก็บเอาไว้เป็นปุ๋ยชีวภาพ เพราะดินนี้มีแอมโมเนียและฟอสเฟตสูงมาก (เกิดจากอึปลา) ส่วนน้ำปล่อยให้ไหลเข้าไปแปลงนา จะเป็นการลดสารพิษจากร่องน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะสารพิษส่วนใหญ่สะสมอยู่ที่หน้าดินก้นบ่อ (จากการตกตะกอนทับถม) ถ้าเราเอาดินที่กรองไว้นี้ ไปหมักกับฟาง แล้วเอามาโรยหน้าดินตอนไถแปรเตรียมนาในปีต่อไป ก็กลายเป็นปุ๋ยชีวภาพมหาศาล จะเป็นการทำนาอย่างยั่งยืนและได้ผลผลิตมากมหาศาล ตลอดกาล

• จะเพิ่มรายได้ และเพิ่มความสมดุลนิเวศ ด้วยการเลี้ยงหอยขม ด้วยการเอาไม้ผุๆ ท่อนยาวๆ มาวางพาดลอยน้ำไว้ เช่น ไม้กระถิน ให้ลอยน้ำในนาข้าว แล้วปล่อยหอยขมลงไปเกาะ หอยจะกินเศษไม้เน่าๆ ใบพืชน้ำเน่าๆ ย่อยเป็นอาหารให้ต้นข้าวได้อีก ส่วนหอยขมขายออกไปก็น่าจะได้ราคาดี (หอยขมไม่กินพืชสด กินแต่ของเน่า ส่วนหอยโข่งกินใบข้าวอ่อน)..ดังนั้นการเลี้ยงหอยขมในนาข้าวจะได้ประโยชน์สองต่อ คือ ย่อยสลายของเน่าให้กลายเป็นธาตุอาหารให้ต้นข้าวและพืชน้ำ แถมยังช่วยสร้างจุลินทรีย์ที่เป็นอาหารของไรน้ำ

• แมงปอตัวน้อยสวยๆ ก็ช่วยกินแมลงได้มาก แถมช่วยสร้างสีสัน สวรรค์บ้านนาให้สวยงามอีกด้วย แมงปอเข็มตัวมันเล็ก มันน่าจะกินเพลี้ยต่างๆในนาข้าวได้

• เขียดกินแมลง ถ่ายมูลลงไปก็เป็นปุ๋ยให้นา กลายเป็นว่า แมลงไม่ใช่ศัตรูพืชอีกต่อไปแล้ว กลายเป็นมิตรด้วยซ้ำ เพราะมาช่วยเติมปุ๋ย แต่พอเราฉีดยา (แม้ยาชีวภาพ) กบเขียดปลาตายหมด

• เลี้ยงสาหร่ายในนาเช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายไฟ และพืชใต้น้ำทั้งหลาย เช่น สันตะวา พืชพวกนี้จะเป็นอาหารปลา (ที่กินพืช) และยังช่วยบังแสงทำให้วัชพืชอื่นๆ ไม่ขึ้นอีกด้วย ถ้ามีปริมาณมาก เราก็เกี่ยวขึ้นมาเลี้ยงหมู วัว อึวัวเอามาหมักทำแก๊สชีวภาพใช้หุงต้มในครัวเรือน ที่เหลือก็ขาย กากจากการหมักก็เอามาทำปุ๋ยชีวภาพ ปลูกผัก นมวัวเอาไปทำชีส เนย เพิ่มมูลค่า

• ผักบุ้ง สาหร่ายจากร่องกลาง ถ้ามีเหลือ เราเกี่ยวแล้วเอามาบด มาหมัก ให้เกิดจุลินทรีย์แล้วเอาไปโปรยลงแปลงนา ให้เกิดไรน้ำ หรือ หมักแบบ in situ คือ เอาไปถมไว้ตรงหัวมุมแปลงนา

• พอข้าวออกรวงได้สัก 20 วัน (ก่อนถึงระยะพลับพลึง 10 วัน) ก็ไขน้ำออกจากนา แต่ไม่ไขเอาไปทิ้งไหนให้เสียของ แต่สูบเอามาลงร่องกลางนา ซึ่งน้ำตอนนี้อุดมด้วยปุ๋ยอึปลา การสูบต้องสูบจากร่องน้ำหนึ่งไปยังอีกร่องหนึ่งของแปลงนาที่ติดกัน เพื่อให้น้ำไหลจากแปลงนาด้านซ้ายขวาผ่านช่องแคบมาลงร่อง ซึ่งจะสามารถเอาสวิงไปช้อนจับปลาที่ไหลมาลงร่องได้โดยง่าย จากนั้น ก็สูบจากร่องแปลงนาที่สูบไปฝากไว้กลับมามาลงแปลงนานี้บ้าง สลับกัน เราก็กู้ปลาไปขายได้โดยง่าย และเรายังจะได้ประโยชน์จากน้ำที่สูบมาสะสมไว้นี้ต่อไปอีกมากหลาย ในกาลต่อไป

• ช่วงไขน้ำออกนี้ เพื่อรอให้ข้าวสุกแบบพลับพลึงเป็นเวลา 10 วัน ก็เตรียมเมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจไว้ คือผักที่ชอบพื้นที่ชื้นแฉะ และแดดรำไร เช่น วอเตอร์เครสท์ (ผักราคาแพง ชื่อฝรั่งทั้งหลายที่คนกรุงกำลังนิยมเห่อกินเป็นผักสลัด)

• การเกี่ยวข้าว ใบข้าวก็ต้องไม่หลุดออก (เพื่อเอาไว้บังแดดให้ผัก) ซึ่งผมได้คิดค้นวิธีเกี่ยวแบบนี้ไว้แล้ว คือใช้หวีรูดเม็ดข้าวลงกระบุงที่ห้อยคอไว้เลย เป็นหวีตาถี่ห่างสามระดับ แบบนี้เราก็ไม่ต้องฝัดข้าวให้เหนื่อยยาก (ดูลิงค์นี้......http://www.gotoknow.org/blogs/posts/456456) เอาไปเทลงเครื่องอบแบบเตียงพรุนที่ผมได้ออกแบบทดลองไว้ได้ผลดีแล้วเช่นกัน (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/456446) สองวันแห้งสนิท ก็เอาไปขายได้เลย ไม่ถูกตัดราคาเรื่องความชื้น โรงสีก็ชอบ เพราะไม่ต้องลงทุนเรื่องเครื่องอบแห้ง

• กล่าวฝ่ายแปลงนาเมื่อถูกเกี่ยวรวงไปแล้ว ความชื้นดินยังเหลือมาก ข้าวก็ยังบังแดด ก็ทำการปลูกผักสลัดราคาแพงที่ชอบร่มเงา (เช่น วอเตอร์เครสต์) วิธีปลูกน่าจะเป็นการหว่านเมล็ด ใช้เวลา 1 เดือน ก็เก็บผักชุดแรกได้ ทั้งนี้โดยไม่ต้องรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยให้เหนื่อยยาก เพราะความชื้นในดินมีอยู่แล้ว ธาตุอาหารก็ตกค้างอยู่มาก เขียดก็ช่วยกินแมลง

• ภายใน 1 เดือนเก็บเกียวชุดแรกได้ พอตัดอีกทีมันก็แตกกอ ก็เกี่ยวชุดที่สองได้ ใช้เวลาอีก 10 วันเท่านั้น ..ถ้าดินเริ่มแห้งน้ำไม่พอ ก็ตักน้ำจากร่องกลางนามารด ซึ่งน้ำนี้เป็นน้ำที่อุดมไปด้วยสารอาหารจากอึปลา เอามารดผักก็จักงอกงามดีมาก กบเขียดก็ยังทำหน้าที่พิทักษ์แมลงให้ผักต่อไป เป็นผักปลอดสารพิษ ราคาดีมาก ราคาส่งอย่างน้อยโลละ 50 บาท

• ทำนาแบบนี้เหมาะกับชาวนารายย่อย มีนา 5 ไร่ ทำด้วยตนเอง สองคนสามีภรรยา มีลูกช่วยบ้าง ก็น่าจะดำรงชีวิตได้อย่างมีสุข และ มีศักดิ์ศรี และไม่เหนื่อยยากมากเท่าใด เพราะ ไม่ต้องดำนา ไม่ต้องฉีดยาไม่ว่าชีวหรือเคมี ไม่ต้องทำหญ้า ได้ข้าว ได้ปลา ได้หอย ได้ปู ได้เขียด ได้ผัก(อันเหลังนี้มากหน่อย)

• การทำนาแบบนี้รายจ่ายน้อยมาก ส่วนรายได้สูงมาก โดยเฉพาะการขายผักสลัดเมืองหนาวแดดรำไร 2 ชุด


วิเคราะห์รายได้ ต่อไร่
ข้าวเปลือก 40 ถัง 40x10x15 = 6000 บาท (ข้าวชีวภาพ โลละ 15 บาท แพงกว่าปรกติ)
ปลาเล็ก 100 กก. = 100x50 = 5000 บาท (ประเมินว่าน้ำ มี 320 ลบ.ม. 3.2 ลบ.ม.ได้ปลา 1 กก. น่าสมจริง)
กุ้งฝอย 50 กก. = 50x100 = 5000 บาท
เขียด 20 กก = 20x100 =2000 บาท
ปู 2 กก (60 ตัว) = 120 บาท
หอยขม 50 กก. = 2500 บาท
ปลาจีนเลี้ยงในร่อง 100 กก = 5000 บาท

รวม 25,620 บาท

ผักสลัด 2 ชุดตัด 1300x50x2 = 130,000 บาท (คิดว่า 1 ตรม. ได้ผัก 1 กก. กก ละ 50 บาท 1 ไร่มีเพียง 1300 ตรม. เพราะหักหัวคันนา และร่องน้ำแล่นกลางออก

รวม 130,000 บาท


ค่าใช้จ่ายคือค่าเมล็ดพันธุ์ 5 กก = 75 บาท (ใช้พันธุ์ของเราเอง ไมต้องไปซื้อ) ...ค่าจ้างตัวเอง (ไม่คิด) ...ค่าพันธุ์ปลา...1000 บาท ...ค่าอาหารปลาในช่วงอภิบาล 1000 บาท ...ค่าเชื้อเพลิงสูบน้ำ 1000 บาท

กำไรสุทธิต่อไร่คือ 152,545 บาท


วิจารณ์ตนเอง
•1) รายได้จากข้าวปลาหอยเขียด ดูสมจริง
•3) รายได้ส่วนใหญ่มาจากผัก
•4) ไม่พึงคิดว่าถ้างั้นก็เลิกทำนาหันมาปลูกผักอย่างเดียวมิดีกว่าหรือ ตอบว่าคงไม่ได้เพราะเรายังต้องกินข้าว อีกทั้งจะเอาน้ำอึปลามารดผักจากไหน อ้าวอย่างงั้นเลี้ยงแต่ปลา สาหร่าย กบ แล้วปลูกผักข้างๆนาปลาดีไหม ก็น่าพอไหวนะ แต่ว่าเรายังอยากเห็นว่ามีการปลูกข้าวด้วย อีกทั้งถ้าทำแบบนี้น้ำเลี้ยงปลาตักเอามารดแปลงผักมันก็แห้งหมด ปลาตาย

ถ้าเลี้ยงปลาปลูกผักเฉยๆ น้ำในบ่อปลาจะเสีย ปลาจะตาย แต่ถ้าทำนาด้วย มีการเวียนน้ำ และในนาปลูกพืชเติมออกซิเจนก็เป็นการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี แล้วเวียนกลับมาลงบ่อปลา ปลาก็ไม่ตาย


....บุกเบิกแนวคิดโดย คนถางทาง ( (๑๐ กค. ๕๔)



http://www.gotoknow.org/posts/485363


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/07/2013 8:23 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/06/2013 3:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

171. ปลูกถั่วลิสง กำไรดีกว่าปลูกข้าว


[list=][/list]


เกษตรกรสิงห์บุรี
หันมาปลูกถั่วลิสงพืชทนแล้งช่วยสร้างรายได้ หลังน้ำคลองชลประทานลดลงเกษตรกรใกล้วัดสว่างอารมณ์ ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ประสบปัญหาน้ำในคลองส่งน้ำชลประทานมีปริมาณลดลงมากในฤดูแล้ง เนื่องจากมีการแย่งน้ำใช้ทางการเกษตรด้วยการใช้เครื่องสูบ ทำให้ต้องแก้ไขด้วยการปลูกถั่วลิสงพืชที่ไม่ต้องอาศัยน้ำเพียงได้น้ำค้างตอนกลางคืนเติบโตได้ต้องการความชื้นเล็กน้อยได้ผลผลิตที่รวดเร็วใช้เวลาเพียง 80 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้แล้วเกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงสู้แล้งรายนี้กล่าวว่า ในช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งของทุกปีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็ลงปลูกถั่วเลยได้ผลผลิตเริ่มเก็บเกี่ยวกันแล้ว โดยส่งขายมีผู้มารับซื้อถึงที่ในราคา ถังละ 180 บาท หรือตันละ 18,000 บาท นอกจากจะทำให้มีรายได้แล้วยังเป็นการบำรุงเพิ่มปุ๋ยในดินเพื่อเตรียมการทำนาในครั้งต่อไป

ถั่วลิสง ในบางท้องถิ่น เรียกว่า ถั่วดิน ถั่วขุด หรือถั่วยี่สง นอกจากการใช้เมล็ดเป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมันแล้ว ยังได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ เช่น ถั่วลิสงต้ม คั่ว ทอดทำขนมพวกขบเคี้ยว เช่น ถั่วตัด จันอับ ถั่วกระจก และเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด (แกงมัสมั่น น้ำจิ้มสะเต๊ะ น้ำพริกรับประทานกับขนมจีน) ใช้ทำแป้ง และเนยถั่วลิสง อนึ่งถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่ว การปลูกถั่วลิสงจึง เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่นเดียวกับถั่วเหลือง ต้นและใบถั่วลิสงหลังจากปลิดฝักออกแล้ว นำไปใช้เลี้ยงสัตว์หรือทำปุ๋ยหมัก ''บ้านอะลาง''






ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ถั่วลิสงจัดอยู่ในวงศ์ (Family) Legume-minosae เช่นเดียวกับถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก(มีอายุเพียงฤดูเดียว) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าArachis hypogaea L.


ถิ่นกำเนิด
ถั่วลิสงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ หลักฐานทางโบราณคดีระบุไว้ว่าชาวพื้นเมืองบริโภคถั่วลิสงมานานกว่า ๔,๐๐๐ ปี ชาวยุโรปได้นำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เมื่อประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ปีก่อนต่อมาจึงได้แพร่มายังทวีปเอเชีย และกลายเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของหลายประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั่วโลกมีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงประมาณ ๑๒๓ ล้านไร่ ได้ผลิตผล ๒.๒ล้านตัน อินเดียและจีนผลิตได้มากที่สุด คือประเทศละ ๖ ล้านตัน ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสง ๗๖๓,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผล (ถั่วทั้งเปลือก) ๑๖๒,๐๐๐ ตัน ใช้บริโภคและทำพันธุ์เกือบทั้งหมด ส่งเข้าสกัดน้ำมันเพียง ๒๒,๐๐๐ ตัน การเพาะปลูกมีอยู่ทั่วประเทศ แต่ปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ เป็นพื้นที่ถึง ๔๓๓,๐๐๐ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๑๓,๐๐๐ ไร่ และภาคกลาง ๑๐๖,๐๐๐ ไร่

การขยายพันธุ์
ถั่วลิสงขยายพันธุ์โดยเมล็ด เมื่อเมล็ดได้รับน้ำเพียงพอ ต้นอ่อนในเมล็ดจะงอกโดยขยาย แก้วเติบโตขยายไปทางแนวราบใต้ผิวดินแผ่ออกเป็นบริเวณกว้างและมีปมของจุลินทรีย์เกิดขึ้นเป็นกระจุกตามผิวราก ต้นอ่อนของถั่วลิสงเจริญเติบโตโผล่พ้นผิวดิน มีกิ่งแตกออกจากลำต้นตรงมุมใบ มีจำนวน ๓-๘ กิ่ง บางพันธุ์มีทรงต้นเป็นทรงพุ่มตั้งตรง บางพันธุ์แตกกิ่งเลื้อยไปตาม แนวนอน ลำต้นอาจมีสีเขียวหรือม่วง สูงประมาณ๕๐-๗๕ เซนติเมตร ใบถั่วลิสงเป็นใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย ๒ คู่ (๔ ใบ) ขอบใบเรียบปลายมน ก้านใบยาวสีเขียวหรือม่วง ดอกถั่วลิสงเกิดขึ้นบนช่อดอกซึ่งแทงออกมาจากมุมใบ เริ่มจากโคนต้นไปสู่ยอด ดอกบานในเวลาเช้า มีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีอับเกสรตัวผู้ และเรณู (รังไข่) อยู่ในดอกเดียวกัน หลังจากผสมเกสรแล้วกลีบดอกจะเหี่ยวและร่วง





แต่ก้านของรังไข่ขยายตัวยาวออกไปเรียกว่า เข็ม ปลายเข็มขยายตัวตามแนวดิ่งแทงลงไปในดินแล้วจึงพัฒนาเป็นฝักแต่ละฝักมีเมล็ด ๒-๔ เมล็ด เนื่องจากดอกออกไม่พร้อมกัน ทำให้ฝักแก่ไม่พร้อมกันด้วยการเก็บเกี่ยวจึงเลือกเวลาที่มีฝักแก่จำนวนมากที่สุดถั่วลิสงต้นหนึ่งเมื่อถอนออกมามีฝักที่สมบูรณ์อยู่จำนวน ๘-๒๐ ฝัก และมีฝักอ่อนอีกจำนวนหนึ่งปนอยู่ ซึ่งเป็นฝักที่เกิดจากดอกชุดหลังหรือจากยอด ฝักแก่มีลายเส้นและจะงอยเห็นได้ชัด

ฝักคอดกิ่วตามจำนวนเมล็ดในฝัก เมื่อตากให้แห้งแล้วเขย่าจะมีเสียง เยื่อหุ้มเมล็ดมีหลายสี เช่นขาว ชมพู แดง ม่วง และน้ำตาล เมล็ดประกอบด้วยใบเลี้ยงขนาดใหญ่ ๒ ใบ ห่อหุ้ม ต้นอ่อนไว้ภายในพันธุ์ถั่วลิสงที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกได้แก่พันธุ์ลำปาง สุโขทัย 38 ไทนาน 9 ขอนแก่น 60-1 ขอนแก่น 60-2 และ ขอนแก่น 60-3

การเลือกที่เพาะปลูก
เนื่องจากฝักถั่วลิสงเจริญเติบโตอยู่ใต้ดินควรเลือกปลูกในดินร่วน หรือร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี มีปฏิกิริยาเป็นกลาง และไม่ใช่ดินเค็ม อนึ่ง ไม่ควรปลูกในดินที่มีสีดำหรือแดงจัด เนื่องจากถ้าฝักถั่วลิสงเปื้อนติดสีดังกล่าวทำให้ขายได้ราคาต่ำ ประเทศไทยอาจปลูกถั่วลิสงได้ตลอดทั้งปี แต่เพื่อเหมาะสมกับระบบการปลูกพืชได้ผลิตผลสูง และเก็บเกี่ยวสะดวก จึงนิยมปลูกเพียงปีละสองครั้ง คือ ในฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่ที่มีการชลประทาน


การปลูก
การเตรียมดินปลูกถั่วลิสงก็เหมือนกับพืชไร่ทั่วไป คือ ไถพรวนให้ดินมีความร่วนซุยและกำจัดวัชพืชถ้าปลูกในเขตชลประทานควรมีการยกแปลงทำร่องส่งและระบายน้ำในระหว่างแต่ละแปลงนำเมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วปลูกเป็นหลุม ๆละ ๒-๓ เมล็ด ลึกจากผิวดิน ๕ เซนติเมตร มีระยะระหว่างแถว ๓๐-๕๐ เซนติเมตร และระหว่างหลุม ๒๐ เซนติเมตร จะได้จำนวนถั่วลิสงประมาณ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ ต้นต่อไร่ซึ่งจะใช้เมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วจำนวน ๑๒-๑๕ กิโลกรัมต่อไร่ หรือเมล็ดทั้งฝัก ๒๐- ๓๐ กิโลกรัมต่อไร่ (แล้วแต่ขนาดของเมล็ดและความงอก และควรกะเทาะเมล็ดก่อนปลูกเพื่อให้ได้ต้นงอกที่สม่ำเสมอ)





เมล็ดเริ่มงอกภายใน ๕ วันหลังจากปลูก ทำการถอนหรือซ่อมให้มีจำนวนต้นต่อไร่ครบตามกำหนดภายในระยะเวลา ๗-๑๐ วัน และพรวนดิน ดายหญ้า เพื่อกำจัดวัชพืช ภายใน ๓๐ วันหลังงอก และควรพรวนดินกลบโคนสูงประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร เพื่อให้เข็มแทงลงดินได้ง่ายขึ้นและงดการพรวนดินเมื่อต้นถั่วลิสงมีอายุ ๔๐ วันไปแล้ว เนื่องจากจะไปรบกวนการแทงเข็มอันเป็นผลให้เมล็ดฝ่อ ในระยะเจริญเติบโตควรออก สำรวจแปลง ซึ่งอาจจะมีโรคและแมลงศัตรูพืช ระบาดทำลายต้นถั่วลิสง ทำการป้องกัน กำจัด ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ถั่วลิสงมีอายุตั้งแต่ ๙๐-๑๒๐ วัน (ตามลักษณะของพันธุ์)

เมื่อฝักสุกแก่สังเกตได้จากใบร่วง และลำต้นเหี่ยวในของฝักได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลเก็บเกี่ยวโดยใช้มือถอนต้นและฝักขึ้นจากดินเลือกปลิดฝักแก่ออก นำไปตากแดดจนฝักแห้งสนิทแล้วจึงเก็บเพื่อรอการจำหน่ายในปัจจุบันปัญหาสำคัญของถั่วลิสง ก็คือ การเกิดสารพิษแอลฟลาท็อกซินซึ่งเป็น สาเหตุของการเกิดมะเร็งในตับ ดังนั้น จึงต้องตากเมล็ดให้แห้งสนิทโดยเร็ว (มีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่าร้อยละ ๑๔) จะระงับการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งผลิตสารพิษชนิดนี้









โดยทั่วไปเกษตรกรจะเก็บถั่วลิสงไว้ทั้งฝักเมื่อจะนำไปปลูกหรือใช้บริโภคจึงกะเทาะเปลือกออก โดยใช้มือหรือเครื่องกะเทาะเมล็ด เมล็ดถั่วลิสง ๑๐๐ เมล็ด มีน้ำหนัก ๓๐-๖๐ กรัม เมล็ดที่มีขนาดใหญ่นำไปปรุงแต่งเพื่อใช้บริโภคทั้งเมล็ด ส่วนเมล็ดขนาดเล็กหรือเมล็ดแตก นำไปบดเป็นถั่วป่นและสกัดน้ำมัน เมล็ดถั่วลิสงมีโปรตีนร้อยละ ๒๕-๓๕ และน้ำมันร้อยละ ๔๔-๕๖ (ขึ้นอยู่กับพันธุ์) น้ำมันถั่วลิสงประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวถึงร้อยละ ๘๐ ของ น้ำมันทั้งหมด จึงเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย (จึง ต้องเก็บรักษาไว้ทั้งฝัก) กากถั่วลิสงที่สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว นำไปอบให้แห้งใช้ประกอบเป็น อาหารหรือส่วนผสมของอาหารสัตว์ได ''บ้านอะลาง''


คุณค่าของถัวลิสง
ถั่วลิสงมีฤทธิ์ปานกลางถึงอุ่น มีคุณค่าทางอาหารสูง มีทั้งคาร์โบไฺฮเดตร โปรตีน และที่สำคัญถั่วลิสงมีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการโดยเฉพาะเด็ก กรดอะมิโนจะช่วยพัฒนาสมองของเด็กได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังไม่พอในถั่วลิสงยังมีน้ำมันถึง 40% ในน้ำมันถั่วลิสงมี วิตามิน และเกลือแร่ ถั่วลิสงยังมีกากใยอาหารสูงช่วยเรื่องการขับถ่ายด้วย



http://alangcity.blogspot.com/2012/11/blog-post_9.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2013 6:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

172. ปลูกเผือกในนาข้าว หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำ





แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การประกันราคา การแทรกแซงราคา และการประกันภัยแล้ง เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นเกษตรกรเองก็ต้องหมั่นหาลู่ทางแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น นายสมนึก ขวัญเมือง เกษตรกรคนเก่ง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ที่หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำมาปลูกเผือกซึ่งได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า

สมนึกเล่าว่า ตนปลูกเผือกในนาข้าวมาเกือบ 20 ปี เนื่องจากเผือกเป็นพืชหัวที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวน มีความต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุ้มน้ำได้มากเช่นเดียวกับข้าว ทำให้สามารถเพาะปลูกในผืนนาที่มีอยู่ได้ อีกทั้งได้ผลตอบแทนมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำนา และที่สำคัญตลาดมีความต้องการมาก ผลิตได้เท่าไรก็ขายได้หมด

สมนึกบอกถึงวิธีการปลูกและดูแลเผือกว่า ก่อนปลูกจะไถดินตากไว้ 15-30 วัน แล้วไถย่อยดิน ยกร่องปลูกเป็นแถวๆ ห่างกันแถวละประมาณ 80 เซนติเมตร จากนั้นนำต้นกล้าทั้งที่เพาะพันธุ์เองและซื้อจากแหล่งเพาะพันธุ์มาปลูกในร่องที่เตรียมไว้ โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร สำหรับต้นพันธุ์ที่เพาะเองนั้นจะนำหัวเผือกที่ได้จากการปลูกครั้งก่อนมาชำในถุงเพาะชำ รดน้ำวันละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็สามารถนำต้นกล้ามาปลูกในแปลงปลูกได้

หลังจากปลูกได้ 3 เดือน เผือกจะเริ่มออกหัว ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงลำต้นและเร่งการออกหัว และขุดดินรอบๆ ต้นมาสุมไว้ที่โคนต้นซึ่งต้นเผือกจะออกหัวได้จำนวนมาก และอีก 2 เดือนต่อจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 13-3-21 เพื่อบำรุงหัวเผือกให้มีขนาดใหญ่ ได้น้ำหนัก ทิ้งไว้ 1 เดือน หรือสังเกตเห็นว่าใบเผือกเล็กลง ใบที่อยู่ด่านล่างมีสีเหลือง เหลือใบยอด 2-3 ใบ จึงสามารถขุดหัวมาขายได้ ซึ่งแต่ละต้นจะได้หัวเฉลี่ย 2 กิโลกรัม ทั้งนี้ก่อนขุดเผือก 15 วัน จะไม่เอาน้ำเข้าแปลงหรือรดน้ำแปลงเพราะเผือกจะดูดซึมน้ำไว้มากทำให้เก็บไว้ไม่ได้นาน

สำหรับต้นทุนการผลิตทั้งค่าปุ๋ย ต้นกล้า และอุปกรณ์อื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 20,000 บาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงเนื่องจากปัจจุบันราคาปุ๋ยยาฆ่าแมลง และอุปกรณ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันสมนึกปลูกเผือกบนพื้นที่ 60 ไร่ ต้องใช้เงินทุนร่วม 120,000 บาท ซึ่งเงินทุนส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ.สระบุรี

ส่วนผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ 13-17 บาท แล้วแต่ราคาซื้อขายในตลาดในช่วงนั้นและคุณภาพของหัวเผือกที่ผลิตได้ ส่วนปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญคือโรคตากบ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือบริเวณใบจะมีจุดเล็กๆ สีดำแดง และจะค่อยๆ ขยายลุกลามไปทั่วใบ ทำให้ใบเหี่ยวไม่สามารถปรุงอาหารได้ และแห้งตายในที่สุด วิธีการสกัดการแพร่ระบาดของโรคจะใช้ยา "โบคุ่ม" ฉีดพ่นใบที่เกิดโรค ยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค และตัดใบที่เกิดโรคไปเผาทำลายเพื่อ ฆ่าเชื้อรา อย่างไรก็ตามแม้ว่าการปลูกเผือกจะต้องใช้ต้นเงินลงทุนสูงกว่าการทำนาแต่ผลตอบแทนก็ได้มากกว่า ที่นาของสมนึก จึงมักจะมีต้นเผือกโบกใบไปตามแรงลมมากกว่าที่จะเห็นรวงทองของต้นข้าว

สนใจศึกษาวิธีการปลูกเผือกในผืนนาติดต่อได้ที่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 3 ต.ตลาดน้อย อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี โทรศัพท์ 08-0444-3421


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
อ้างอิงจาก www.pandinthong.com



http://www.baac.or.th/content-news.php?content_id=011220&content_group_sub=0004&content_group=0003&inside=1


http://chm-thai.onep.go.th/chm/data_province/nan/information/plant_Diversity.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/07/2013 5:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...


173. ข้าวเมืองน่าน
174. วิธีคัดเลือกพันธุ์ข้าวใช้เองในครัวเรือน
175. การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

176. เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าว
177. เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าว โดยเกษตรกร
178. เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดี่ยว โดยใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
179. พันธุ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย
180. พัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนแล้ง

181. ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ของดีที่ (เกือบ) ถูกลืม
182. สุดยอด 5 พันธุ์ข้าวพื้นเมือง
183. ข้าวจิ๊บ
184. โฉม 10 ยอดพันธุ์ข้าว
185. หลักการผลิตข้าวอินทรีย์

186. รู้จักกับ “ข้าวสีนิล”
187. พันธุ์ข้าวเจ้า - กข41
188. การปลูกข้าวต้นเดียว (SRI) แบบอินทรีย์
189. การปลูกข้าวด้วยต้นกล้าต้นเดียวต่อ 1 กอ
190. ข้าวเมืองน่าน

191. การร่วงหล่นของเมล็ดข้าว จะป้องกันหรือแก้ไข
192. ปลูกข้าวแบบล้มตอซัง
193. สรรพคุณของการกินข้าวไทย
194. ข้าว จีเอ็ม ระบาดตลาดแดนมังกร ผู้เชี่ยวชาญชี้ผลได้ผลเสีย
195. 8 ขั้นตอนลดต้นทุนผลิต ‘ข้าว’

196. นวัตกรรมปลูกข้าวสองเกวียน ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต
197. “หุ่นยนต์หยอดข้าว” พัฒนาผลผลิต และชีวิตชาวนา
198. “ปลูกข้าวต้นเดียว เพื่อชาวนาไทยจะไม่เป็นรองใครในอาเซียน”


--------------------------------------------------------------------------------------------------



173. ข้าวเมืองน่าน

โดย พิมลพรรณ สกิดรัมย์


หลายคนเคยรู้ไหมว่าข้าวที่ท่านปั้นเป็นก้อนและจิ้มกินกับน้ำพริก ผักลวกเป็นข้าวพันธุ์อะไร เมื่อวานได้มีโอกาสฟังคุณสำรวย ผัดผลประธานมูลนิธิฮักเมืองน่านและประธานศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้เล่าเกี่ยวกับข้าวในจังหวัดน่านว่า นอกเหนือจากพันธุ์ กข 6 กข 10 สันป่าตอง 1 ที่นิยมปลูกกันแล้ว ยังมี อีก 3 พันธุ์ที่เกษตรกรในเครือข่ายฮักเมืองน่าน ทำการปรับปรุง พัฒนาพันธุ์ที่อาจกล่าวได้ว่า เป็น 3 พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในหลายพื้นที่ทั้งจังหวัดน่านเองและเครือข่ายต่างจังหวัด ได้แก่ พันธุ์เหนียวหวัน 1 พันธุ์หอมสกล และพันธุ์เหนียวมะลิหอม ทั้ง 3 พันธุ์ต่างมีต้นกำเนิดแตกต่างกัน


พันธุ์เหนียวหวัน 1 :
มากจากความพยายามของพี่หวัน เรืองตื้อ เกษตรกรนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว บ้านหาดเค็ด ตำบลเมืองจัง กิ่ง อ.ภูเพียง จังหวัดน่าน โดยพี่หวันนำพันธุ์ข้าง 2 พันธุ์มาผสมกัน โดยใช้วิธีการผสมพันธุ์ข้าว คือ พันธุ์หอมทุ่ง และพันธุ์ กข 6 และทำการคัดเลือกถึง 8 ฤดูปลูกจึงได้พันธุ์ข้าวเหนียวหวัน 1 ที่ตรงตามความต้องการของพี่หวันและครอบครัว พันธุ์เหนียวหวัน 1 มีจุดเด่น คือ ลำต้นแข็งแรง แตกกอสูง เมล็ดต่อรวงสูง ลักษณะเมล็ดไม่เรียวมาก หอม หุงกินอร่อย หลังจากกระจายพันธุ์นี้มาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ได้รับความนิยมอย่างมาก


พันธุ์หอมสกล :
เป็นพันธุ์ข้าวที่กลุ่มเกษตรกรโรงเรียนชาวนาบ้านทุ่งฆ้อง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา นำมาคัดเลือกพันธุ์ จนกระทั้งปรับเข้ากับสภาพพื้นที่ ได้รับความนิยมในพื้นที่ที่ปลูกพืชหลังนา เพราะพันธุ์นี้เป็นข้าวอายุสั้น หากนำไปปลูกต้องระวังนก เพราะถ้าปลูกในจำนวนไม่มากนกจะกินเสียหายเพราะข้าวพันธุ์นี้มีความหอมมาก นอกจากนั้นเมล็ดยังเรียวสวยกินนุ่มอร่อย

พันธุ์เหนียวมะลิหอม :
เริ่มได้รับความนิยมหลังจากที่แกนนำเกษตรกรฮักเมืองน่านบ้านม่วงตึ้ดนำมาแลกเปลี่ยนในเครือข่าย จากการสืบประวัติพบว่า พันธุ์นี้ได้รับการปรับปรุงและคุดเลือกพันธุ์โดยอาจารย์มงคล พุทธวงค์ ราชมงคลล้านนาน่าน ซึ่งท่านอาจารย์เองเป็นคนม่วงตึ้ดและนำไปให้ครอบครัวและญาติปลูกจนได้รับความนิยม ทางเครือข่ายได้นำมาขยายผลต่อเนื่อง คุณลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์นี้เกือบคล้ายคลึงกับหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวจ้าว ต่างกันตรงที่เป็นข้าวเหนียว เพื่อเห็นถึงลักษณะเด่นเชิงปริมาณของพันธุ์ข้าวทั้ง 3 พันธุ์ ผู้เขียนจึงทำออกมาเป็นรูปแบบของตาราง ต่อไปนี้


ถ้าผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรืออยากร่วมเรียนรู้สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ 253 หมู่ 8 ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 โทร.054-783262

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2013 7:31 am, แก้ไขทั้งหมด 30 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 11 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©