-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 7:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...


23. พันธุ์ข้าว กข35 (RD35) (รังสิต 80)
24. พันธุ์ข้าว กำผาย 15 (Gam Pai 15)
25. พันธุ์ข้าว เก้ารวง 88 (Gow Ruang 8 8 )

26. พันธุ์ข้าว ขาวตาแห้ง 17 (Khao Tah Haeng 17)
27. ตำราโบราณดูวันมีรวง ข้างขึ้น-ข้างแรม
28. พันธุ์ข้าว ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)
29. พันธุ์ข้าวเจ้า หอมพิษณุโลก 1 (Khao´ Jow Hawm Phitsanulok 1)
30. พันธุ์ข้าว เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)

31. พันธุ์ข้าว ชุมแพ 60 (Chum Phae 60)
32. พันธุ์ข้าว นางพญา 132 (Nahng Pa-yah 132)
33. พันธุ์ข้าว นางมล เอส-4 (Nahng Mon S-4)
34. พันธุ์ข้าว น้ำสะกุย 19 (Nam Sa-gui 19)
35. พันธุ์ข้าว เผือกน้ำ 43 (Peuak Nam 43)

36. พันธู์ข้าว ปทุมธานี 60 (Pathum Thani 60)
37. พันธุ์ข้าว พวงไร่ 2 (Puang Rai 2 )
38. พันธุ์ข้าว พัทลุง 60 (Phatthalung 60 )
39. พันธุ์ข้าว ลูกแดงปัตตานี (Look Daeng Pattani)
40. พันธุ์ข้าว เล็บนกปัตตานี (Leb Nok Pattani)

41. การดำรงอยู่ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองปักษ์ใต้ (งานวิจัย)
42. พันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี ๒๕๕๕
43. ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์
44. พันธุ์ข้าว หางยี 71 (Hahng Yi 71)
45. พันธุ์ข้าว เหมยนอง 62 เอ็ม (Muey nawng 62 M)

46. พันธุ์ข้าว เหนียวอุบล 1 (Niaw Ubon 1)
47. พันธุ์ข้าว เหนียวอุบล 2 (Niaw Ubon 2)


---------------------------------------------------------------------------------------------------




23. พันธุ์ข้าว กข35 (RD35) (รังสิต 80)

ชื่อพันธุ์
กข35 (รังสิต 80)

ชนิด
ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
กข35 (รังสิต 80) ได้จากการผสมพันธุ์สามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์ IR5201-65-1-2 และพันธุ์
ปิ่นแก้วเบา 27 กับพันธุ์เจ้าเหลือง 11 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2522-2523

ปลูกคัดเลือกพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 แบบรวม (bulk) และ ชั่วที่ 3-6 แบบสืบตระกูล (pedigree) ในปี พ.ศ.2525-
2529 ได้สายพันธุ์ RSTLR79009-43-1-1-5 ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี

ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ รวมทั้งวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพและทาง
เคมี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ใน พ.ศ. 2530–2532

ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สุพรรณบุรี คลองหลวง ฉะเชิงเทรา และราชบุรี
รวมทั้งทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ

วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ระหว่าง พ.ศ.2533-2544 เปรียบเทียบ
ผลผลิตในนาราษฎร์ และทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ใน พ.ศ. 2541-2544

ประเมินผลผลิตในสภาพดินเปรี้ยวและในนาเกษตรกร ในปี พ.ศ. 2544-2545


การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้ป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข35 (รังสิต 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง
- ต้นค่อนข้างเตี้ย สูงเฉลี่ย 132 เซนติเมตร
- กอตั้ง ใบตั้งตรง แตกกอ 13-15 หน่อต่อกอ
- อายุเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม
- มีจำนวนรวงต่อตารางเมตร 224 รวง ติดเมล็ด ประมาณ 92 เปอร์เซ็นต์ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 204 เมล็ด
น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 28.1 กรัม
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.54 มิลลิเมตร กว้าง 2.59 มิลลิเมตร หนา 2.01 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก
ต่อถัง 11.3 กิโลกรัม
- ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.41 มิลลิเมตร กว้าง 2.14 มิลลิเมตร หนา 1.74 มิลลิเมตร เป็นท้องไข่น้อย
- ปริมาณแอมิโลสสูง(26.1-29.3%) ข้าวสุกแข็ง จัดอยู่ในประเภทข้าวเสาไห้ เมล็ดมีระยะพักตัว 6-9 สัปดาห์

ผลผลิต
เฉลี่ย 650 กิโลกรัมต่อไร่ (ปักดำ)



ลักษณะเด่น
1. กข35 (รังสิต 80) เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีใน ดินเปรี้ยว เฉลี่ย 600 กิโลกรัม/ไร่
2. กอตั้ง ฟางแข็ง ค่อนข้างเตี้ย
3. คุณภาพเมล็ดดี ทำข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 49.7 เปอร์เซ็นต์
จัดเป็นประเภทข้าวเสาไห้
4. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ข้อควรระวัง
กข35 (รังสิต 80) ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาน้ำฝนภาคกลาง ที่มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร น้ำแห้งนาปลายเดือนพฤศจิกายน



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/RD35.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/12/2012 10:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 27 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

24. พันธุ์ข้าว กำผาย 15 (Gam Pai 15)


ชื่อพันธุ์
กำผาย 15 (Gam Pai 15)

ชนิด
ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 99 รวง
และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือก
ได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505







ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร


ผลผลิต
ประมาณ 569 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวต้นสูง ปลูกในที่ลุ่มภาคเหนือได้ดี
- คุณภาพการสีดี คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม
- รวงใหญ่ ยาว น้ำหนักเมล็ดดี
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้มปานกลาง

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นพื้นที่ลุ่ม



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Gam_Pai_15.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:39 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

25. พันธุ์ข้าว เก้ารวง 88 (Gow Ruang 8 8 )


ชื่อพันธุ์
เก้ารวง 8 8 (Gow Ruang 8 8 )

ชนิด
ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตร จากอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2493-2494 จำนวน
203 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เก้ารวง 17-2-88

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505











ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและใบสีเขียวเข้ม เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 21 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 22-26%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ผลผลิต
ประมาณ 420 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกดี
- คุณภาพการสีดี ได้ข้าวสารใส แกร่ง
- ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว


ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคกลาง




http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Gow_Ruang_88.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 9:15 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

26.




ชื่อพันธุ์
ขาวตาแห้ง 17 (Khao Tah Haeng 17)

ชนิด
ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดเมื่อ พ.ศ.2499 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลอง
ข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อ พ.ศ.2499 แต่เนื่องจากไม่ต้านทานโรคไหม้ จึง
ได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2506 และได้นำกลับมาขยายพันธุ์ใหม่ ในปี พ.ศ.2508 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี โรงสี
รับซื้อและให้ราคาดี จึงเป็นที่นิยมปลูกของชาวนามาโดยตลอด



การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2499 และ พ.ศ.2508










ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
-ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นสีเขียว กอแผ่กระจาย แตกกอดี เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 ธันวาคม
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.0 x 2.8 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.3 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 24-25 %
- คุณภาพข้าวสุกร่วน นุ่ม

ผลผลิต
ประมาณ 473 กิโลกรัม ต่อไร่



ลักษณะเด่น
- เหมาะสำหรับปลูกในที่ลุ่ม
- แตกกอดี ต้นสูง เก็บเกี่ยวง่าย
- คุณภาพการสีดี ได้เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง
- ต้านทานแมลงบั่วปานกลาง

ข้อควรระวัง
- ต้นข้าวอ่อน ล้มง่าย
- น้ำหนักเมล็ดเบา ผลผลิตค่อนข้างต่ำ
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ
ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง



http://brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=15:khao-tah-haeng-17&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:41 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 27/12/2012 12:06 am    ชื่อกระทู้: แมลงหวี่ ขอแจมครับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
วัฒนาธรรม ข้าวเจ้า-ข้าวเหนียว







คนในตระกูลไท-ลาวในอุษาคเนย์กินข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่งเป็นอาหารหลักไม่ต่ำกว่า 3, 000 ปีมาแล้ว อาทิ
ไทอาหม ในแคว้นอัสสัมของอินเดีย ชาวลื้อในสิบสองปันนาของจีน ชาวไทในเวียดนาม รวมทั้งชาวจ้วงในจีน
ซึ่งแม้ปัจจุบันจะกินข้าวเจ้าเป็นหลัก แต่ก็มีนาข้าวเหนียวซึ่งปลูกเอาไว้เลี้ยงผีบรรพบุรุษ

วัฒนธรรมข้าวนึ่งของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่วัฒนธรรมการกินข้าวเจ้าและการปลูกข้าวเจ้าเมื่อมีการติดต่อค้าขาย
และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอินเดีย เมื่อราวพ.ศ. 1000 โดยเริ่มปลูกที่ภาคใต้ก่อนขยายสู่พื้นที่ภาคกลาง

นักโบราณคดีพบว่า ราวหลังพ.ศ. 1900 การปลูกข้าวเหนียวลดลง ปลูกข้าวเจ้ามากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ภาค
กลางซึ่งเป็นอาณาจักรอยุธยา และราวหลังพ.ศ. 2200 เป็นต้นมา ภาคกลางเป็นแหล่งปลูกข้าวเจ้ามากที่สุดส่วน
ข้าวเหนียวปลูกกันเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานเท่านั้น

แม้คนในภาคกลางจะเปลี่ยนมากินข้าวเจ้าเป็นหลักและทำนาข้าวเจ้า แต่ก็มีปลูกข้าวเหนียวไว้เพื่อทำขนมโดยเฉพาะ
อาจเนื่องมาจากคุณสมบัติที่จับตัวกันง่ายของข้าวเหนียวซึ่งเหมาะในการทำขนมมากกว่าขนมส่วนใหญ่จึงทำจากแป้ง
ข้าวเหนียวซึ่งเหมาะในการทำขนมมากกว่าขนมส่วนใหญ๋จึงทำจากแป้งข้าวข้าวเหนียว






วงจรชีวิตข้าว





ในโลกทัศน์ของชาวนาไทย วงจรชีวิตข้าวดำเนินไปเฉกเช่นพัฒนาการแห่งชีวิตมนุษย์ ช่วงข้าวเติบโตเป็น
ต้นกล้าและเพิ่งปักดำใหม่ๆ ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เปรียบเหมือนวัยเด็กที่เพิ่งเจริญเติบโต เดือนสิงหาคม
ต้นข้าวเริ่มแตกลำต้นให้เห็นชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณยอดที่จะออกเป็นรวงข้าวเรียกว่า คอรวง พร้อมออกเป็น
รวงข้าวแล้ว ช่วงนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า ข้าวเป็นสาว หรือ ข้าวถือแหวน จากนั้นไม่นาน ลำต้นข้าวจะเริ่มกลม
เรียวมากขึ้น บริเวณยอด เริ่มนูน อวบอ้วนมากขึ้น ชาวบ้านเรียกข้าวช่วงนี้ว่า ข้าวมาน หรือข้าวตั้งท้อง จากนั้น
ไม่ถึง 2 สัปดาห์ จากแรม 15 ค่ำไปถึงวันขึ้น 15 ค่ำ ดอกข้าวเริ่มแทงช่อดอกจากยอด ของลำต้นที่นูน กลม ช่วง
นี้ชาวบ้านอีสานเรียกว่า หยิ่งแข้ว หรือ ยิงฟัน การถ่ายยอดดอกเป็นสัญลักษณ์บอกว่าเกสรดอกข้าวได้รับการ
ผสมพันธุ์ให้ติดเป็นเมล็ดในอีกไม่ช้า ช่วงที่ชาวนาผู้เป็นเจ้าของก็เฝ้ามองต้นข้าวในนาด้วยความห่วงใย ระหว่าง
เดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน ต้นกล้าเขียวตะการเต็มทุ่ง เมื่อข้าวเริ่มออกดอก ลมช่วงปลายฤดูฝนช่วยพัดหอบเอา
เกสรจากรวงดอกของข้าวปลิวไปจับกออื่นๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ แมลงต่างๆ ก็ช่วยผสมเกสร ตามความเชื่อของชาว
อีสานข้าวหรือแม่โพสพจะตั้งท้องหรือออกรวงได้ก็ต่อเมื่อข้าวได้รับน้ำจาก พญแถน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความ
อุดมสมบูรณ์หล่อเลี้ยงอย่างอุดมสมบูรณ์เพียงพอ

ช่วงเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม ข้าวออกรวง เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตต้นข้าว ชาวนาต้องคอยหมั่นดูแลน้ำ
ในนาข้าวให้ขังต้นข้าวในระดับที่พอเหมาะ หล่อเลี้ยงให้สม่ำเสมอขาดไม่ได้ ต้นข้าวที่กำลังสร้างเมล็ด มีน้ำใสขุ่น
จากเมล็ดลีบเล็ก ค่อยขยายโตขึ้น น้ำในเมล็ดข้าวมีรสชาติหวานมัน ชาวบ้านเชื่อว่าแม่โพสพกำลังสร้างน้ำนม จึง
เรียกช่วงนี้ว่า ข้าวน้ำนม ตามนิทานชาดกในพระพุทธศาสนา ท้าวจุลกาล หรือโฏญฑัญญะเถระ เมื่อครั้งที่ชาวนา
ได้นำข้าวที่กำลังเป็นน้ำนมรสหวานไปกวนเป็นข้าวมธุปายาสเพื่อถวายพระพุทธเจ้าชาวนาจะนำข้าวมาตำเป็น
ข้าวฮาง และ ข้าวเม่า เพื่อทำบุญเช่นกัน จากนั้นต้นข้าวจะค่อยๆ เหลืองแก่ จนเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน
เป็นต้นไป



แหล่งอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร. 2541. ข้าว...วัฒนธรรมแห่งชีวิต. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 78-79.



http://www.brrd.in.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=766:2012-11-15-01-51-44&catid=61:rice-knowledge&Itemid=77





27.


ตำราปลูกข้าวให้ได้รวงมาก จากการสังเกตของคนโบราณครับ ไม่ลองก็ไม่รู้ ไม่มีอะไรเสียหาย ยังไ ๆ ก็อย่าไปปลูกหรือหว่าน
ในวันขึ้น แรมที่รวงไม่มีเมล็ดก็แล้วกัน




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 7:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

28. พันธุ์ข้าว ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)



ชื่อพันธุ์
- ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายทอง ฝอยหิรัญ พนักงานเกษตร จากอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495-
2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ
55-3-148

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 ธันวาคม
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.9 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลสส 22-26 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 415 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวต้นสูง ปลูกได้ดีในที่ลุ่ม
- คุณภาพการสีดี ได้เมล็ดข้าวสารสวยใส แกร่ง
- คุณภาพการหุงต้ม ร่วน นุ่ม
- รวงยาวใหญ่ เมล็ดมีน้ำหนัก

ข้อควรระวัง
- ต้นข้าวค่อนข้างอ่อน ล้มง่าย
- นวดค่อนข้างยาก
- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม เป็นโรคขอบใบแห้ง และโรคใบจุดสีน้ำตาลปานกลาง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดน้ำตาล


พื้นที่แนะนำ
- ภาคกลาง และพื้นที่ลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Khao_Pahk_Maw_148.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/12/2012 6:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 3:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

29.



ชื่อพันธุ์
- ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao´ Jow Hawm Phitsanulok 1)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- ขาวดอกมะลิ 105 / LA29´73NF1U-14-3-1-1// IR58


ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ LA29´73NF1U-14-3-1-1 กับ
IR58 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2525-2526

- พ.ศ. 2528-2533 นำไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPRLR83228-PSL-32-1


การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
- ลำต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงเอน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.4 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 14.9%

ผลผลิต
- ประมาณ 579 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต
- ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบหงิก
- เป็นข้าวอายุหนักกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถปลูกเสริมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพื่อช่วยกระจาย
แรงงานในการเก็บเกี่ยว
- คุณภาพเมล็ดดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 % ได้
- คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี นุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอมใกล้เคียงขาวดอกมะลิ 105

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคใบสีส้ม
- อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=14:khaoa-jow-hawm-phitsanulok-1&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 5:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 3:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=17:chiang-phatthalung&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53


30.




ชื่อพันธุ์
- เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง มีชื่อเดิมหลายชื่อได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล บางแก้ว นายเฉี้ยง ทองเรือง ชาวนาอำเภอ
ป่าบอน จังหวัดพัทลุง ได้นำข้าวพันธุ์นี้จากอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ไปปลูกที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด เป็นครั้ง
แรก เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดู และเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายในเวลาต่อมา ใน
ปี พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมข้าวพันธุ์ดังกล่าวจากแปลงนาเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัด
สงขลา และคัดเลือกแบบหมู่จนได้สายพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537










ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนมกราคม
- ใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.8 x 2.5 x 1.8 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.7 x 2.1 x 1.6 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่ปานกลาง
- ปริมาณอมิโลส 27%

ผลผลิต
- ประมาณ 470 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
- สามารถปรับตัวได้ดีทั้งในพื้นที่ที่เป็นนาดอน และนาลุ่ม
- คุณภาพการสีดี

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคไหม้

พื้นที่แนะนำ
- ภาคใต้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 6:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

31.


ชื่อพันธุ์
- ชุมแพ 60 (Chum Phae 60)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- กำผาย 41/ เหลืองทอง 78

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์กำผาย 41 และพันธุ์เหลืองทอง 78 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี 2504
ปลูกศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีและระหว่าง สถานีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้
สายพันธุ์ SPT6118-34

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160-180 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 27 พฤศจิกายน
- ลำต้นและใบสีเขียว กอตั้งตรง แตกกอดี ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบแคบยาว ใบธงตก รวงและคอรวงยาว เมล็ดเรียวยาว
ร่วงยาก มีท้องไข่ปานกลาง
- ข้าวเปลือกสีฟาง สาแหรกสีน้ำตาล และมีขนสั้น
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.2 x 2.7 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.6 x 2.3 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 27.35 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 564 กิโลกรัม/ไร่


ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตสูงในที่ลุ่มสภาพนาน้ำฝน
- ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสภาพแปลง
- ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดหลังขาวในสภาพเรือนทดลอง
- ทนดินเค็มปานกลาง

ข้อควรระวัง
- ไม่เหมาะสำหรับนาที่ดอน
- อ่อนแอต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

พื้นที่แนะนำ
- ในที่ลุ่มสภาพนาน้ำฝน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



http://brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=12:chum-phae-60&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 7:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

32.



ชื่อพันธุ์
- นางพญา 132 (Nahng Pa-yah 132)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2493 แล้วนำไปปลูกคัด
เลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ นางพญา 37-30-132

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 175 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและใบสีเขียว แตกกอดี คอรวงยาว เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 16 กุมภาพันธ์
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.9 x 2.5 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.6 x 2.2 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 28-32 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 486 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวต้นสูง เหมาะที่จะปลูกในที่ลุ่มทั่วไปของภาคใต้
- มีคอรวงยาวเหมาะที่จะเก็บเกี่ยวด้วยแกระ
- ลำต้นแข็งไม่ล้มง่าย
- แตกกอดี
- ค่อนข้างต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบสีส้ม
- ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ข้อควรระวัง
- มักมีเมล็ดลีบที่โคนรวง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ
- ภาคใต้


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=38:nahng-pa-yah-132&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

33.



ชื่อพันธุ์
- นางมล เอส-4 (Nahng Mon S-4)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้มาจากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 นำมา
ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุด

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ พ.ศ. 2499, 2504, 2508







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นสีเขียว ใบกว้าง รวงใหญ่และยาว เมล็ดรูปร่างยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 26 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.7 x 2.9 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.4 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 19 %
- คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต
- ประมาณ 436 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ทนแล้งได้ดี ปลูกเป็นข้าวไร่ได้
- ทนน้ำลึกได้ดี แต่ไม่เกิน 1 เมตร
- คุณภาพการสีดี ได้เมล็ดข้าวสารสวย ใส แกร่ง
- อายุค่อนข้างเบา เก็บเกี่ยวได้เร็ว

ข้อควรระวัง
- เมล็ดร่วงง่าย
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- ภาคกลาง



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=30:nahng-mon-s-4&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 9:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

34.



ชื่อพันธุ์
- น้ำสะกุย 19 (Nam Sa-gui 19)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายสมพงษ์ บุญเย็น พนักงานเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2507 จำนวน 300 รวง จาก
อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สาย
พันธุ์ น้ำสะกุย 445-4-19

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2511








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 143 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ข้อต่อระหว่างกาบใบและตัวใบสีม่วง แตกกอดี ทรงกอแผ่เล็กน้อย เมล็ดข้าวยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีฟางก้นจุด
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 3 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.5 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.2x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 30-31 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 499 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- แตกกอดี ลำต้นแข็ง อายุเบาเหมาะสมกับพื้นที่ฝนหมดเร็ว
- คุณภาพการสีดี ได้เมล็ดข้าวสารใส เลื่อมมัน
- ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=34:nam-sa-gui-19&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/12/2012 6:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/12/2012 9:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

35.


ชื่อพันธุ์
- เผือกน้ำ 43 (Peuak Nam 43)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แล้วนำไปปลูกคัดเลือก แบบคัดพันธุ์
บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เผือกน้ำ 184-5-43

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 166 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและใบสีเขียว แตกกอมาก รวงใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดข้าวเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- ท้องไข่ปานกลาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 22 กุมภาพันธ์
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.2 x 2.6 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.1 x 2.1x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 24-27%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน ค่อนข้างแข็ง


ผลผลิต
- ประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ลำต้นแข็งไม่ล้มง่าย เก็บเกี่ยวง่าย
- รวงใหญ่ และคอรวงยาว
- แตกกอดี
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาลปานกลาง


ข้อควรระวัง
- เมล็ดร่วงง่ายในขณะที่เก็บเกี่ยว
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
พื้นที่แนะนำ - ภาคใต้



http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=28.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 29/12/2012 4:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

36.



ชื่อพันธุ์
- ปทุมธานี 60 (Pathum Thani 60)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- ดอกมะลิ 70*2 / ไชนีส 345

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ดอกมะลิ 70 กับสายพันธุ์ไชนีส 345 เมื่อ ปี พ.ศ.2501 ที่สถานีทดลองข้าว
สันป่าตอง และนำไปปลูกคัดเลือกในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ SPT5837-400

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 159 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
- ลำต้นและใบสีเขียว มีขนบนใบ รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดเรียวยาว
- ท้องไข่น้อย
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.5 x 2.7 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.3 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 27-32 %
- คุณภาพข้าวสุก ค่อนข้างร่วน มีกลิ่นหอม

ผลผลิต
- ประมาณ 517 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- คุณภาพเมล็ดดี เรียวยาว เลื่อนมัน ใสแกร่ง
- มีท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี
- ต้านทานโรคกาบใบเน่า และโรคใบหงิก ในสภาพธรรมชาติ

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ
- ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=31:pathum-thani-60&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 29/12/2012 4:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

37.



ชื่อพันธุ์
- พวงไร่ 2 (Puang Rai 2 )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมือง โดยนายประวิทย์ สายทอง และ นายชัยทัศน์ นิจจสาร พนักงานเกษตร จาก
อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 85 รวง นำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จน
ได้สายพันธุ์ พวงไร่ 20-55-2

การรับรองพันธ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ 13 มิถุนายน 2511










ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและใบสีเขียว ต้นสูง กอแผ่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 กุมภาพันธ์
- ท้องไข่น้อย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.3 x 1.9 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 28-30 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน ค่อนข้างแข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 437 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวเบาปลูกได้ดีในที่ลุ่มภาคใต้
- คุณภาพการสีดี เมล็ดข้าวสารสวยใส แกร่ง
- ค่อนข้างต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล
- ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ข้อควรระวัง
- ล้มง่าย
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคใต้



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=1:puang-rai-2&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 11:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

38.



ชื่อพันธุ์
- พัทลุง 60 (Phatthalung 60 )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ชื่อคู่ผสม
- กข13 / กข7

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข13 และพันธุ์ กข7 ที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง) ในปี พ.ศ.
2520 ปลูกคัดเลือกจนถึงชั่วที่ 5 ที่สถานีทดลองข้าว นครศรีธรรมราช จนได้สายพันธุ์ KGTLR77003-3-NSR-1-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530









ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 156 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 6 -13 มกราคม

- ผลผลิตประมาณ 457 กิโลกรัมต่อไร่

- ต้นค่อนข้างแข็ง ล้มยาก มีรวงแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดมาก รวงยาวและใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดค่อนข้างป้อม ท้องไข่ปานกลาง
- ข้าวเปลือกสีฟางมีกระน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.7 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร


ฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวรับรองของไทย,
Powered by Bureau of Rice Research and Developmentvalid xhtmlvalid css



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=44:phatthalung-60&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 11:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

39.



ชื่อพันธุ์
- ลูกแดงปัตตานี ( Look Daeng Pattani )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากบริเวณชายฝั่งซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจาก
ตำบลกำชำ ตำบลบางเขา และตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2528 นำไปปลูกทดสอบใน
เรือนทดลอง พร้อมทั้งปลูกศึกษาและ คัดเลือกพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวปัตตานี

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์ แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์
- ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน และตั้งตรง ใบธงแผ่เป็นแนวนอน รวงยาว ระแง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดงเข้ม
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.5 x 1.8 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.5 x 1.8 มิลลิเมตร
- ท้องไข่ค่อนข้างมาก
- ปริมาณอมิโลส 25 %

ผลผลิต
- ประมาณ 418 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ทนต่อสภาพดินเค็มและดินเปรี้ยวได้ดี
- ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้
- คุณภาพการสีดี
- คุณภาพหุงต้มข้าวสุก นุ่ม

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาดินเปรี้ยวและดินเค็มภาคใต้ ในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส




http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=41:look-daeng-pattani&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 12:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

40. พันธุ์ข้าว เล็บนกปัตตานี (Leb Nok Pattani)


ชื่อพันธุ์ - เล็บนกปัตตานี ( Leb Nok Pattani )

ชนิด - ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ - ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่นิยมปลูกทางภาคใต้ โดยนักวิชาการ จากสถานีทดลองข้าว
ปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2527 จำนวน 307 พันธุ์ จาก 107 อำเภอ 14 จังหวัด ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่และคัดเลือกพันธุ์
บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เล็บนก (PTNC84210)

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537











ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณกุมภาพันธ์
- ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวแน่น ระแง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.0 x 1.7 มิลลิเมตร
- ท้องไข่ปานกลาง
- ปริมาณอมิโลส 26 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ผลผลิต - ประมาณ 480 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
- คุณภาพการสี และหุงต้มดี
- แปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณภาพดี มีความนุ่มเหนียว

ข้อควรระวัง
- มีอายุการเก็บเกี่ยวล่า ไม่ควรปลูกในพื้นที่นาดอน
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ในระยะกล้า จึงควรหลีกเลี่ยงการตกกล้าแห้ง

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาลุ่ม น้ำแห้งช้าในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Leb_Nok_Pattani.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/12/2012 3:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 1:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

41. การดำรงอยู่ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองปักษ์ใต้ (งานวิจัย)



ชื่อวิทยานิพนธ์
การดำรงอยู่ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองปักษ์ใต้ : กรณีศึกษาข้าวบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
THE MAINTENANCE OF THE INDIGENOUS RICE IN SOUTHERN THAILAND : A CASE STUDY OF
BANGKAEW RICE IN PATTHALUNG PROVINCE

ชื่อนิสิต
เทพรัตน์ จันทพันธ์
Tepparat Chantapan

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
เอี่ยม ทองดีเรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์ภัททิยา ยิมเรวัต
Iam ThongdeeRuengdet PankhenkhatPattiya Jimreivat


ชื่อสถาบัน
มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย
Mahidol University. Bangkok (Thailand). Graduate School.

ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศิลปศาสตร์ (พัฒนาชนบทศึกษา)
Master. Arts (Rural Development Studies)

ปีที่จบการศึกษา
2546



บทคัดย่อ(ไทย)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพพันธุ์ข้าวพื้นเมืองชุมชนบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

- ศึกษาปัจจัยที่ทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองชุมชนบางแก้วคงอยู่
- ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองชุมชนบางแก้วดำรงอยู่ และ
- ศึกษาบทบาทการอนุรักษ์และการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองชุมชนบางแก้ว

วิธีดำเนินการวิจัย
- กำหนดวิธีดำเนินการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในลักษณะกรณีศึกษา (Case Study) พันธุ์
ข้าวพื้นเมืองชุมชนอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
- การเก็บข้อมูลภาคสนามใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant observation) การสังเกตทั่วไป (Obser-
vation) และ
- การสัมภาษณ์ (Interview) โดยสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านที่เป็นหัวหน้าครอบครัว

ในส่วนของการวิเคราะห์ แบ่งออกเป็น
1) การวิเคราะห์เนื้อหาคติชาวบ้าน (Folklore) เพราะคติชาวบ้านเป็นวัฒนธรรมการบอกเล่า (Oral tradition) ซึ่งช่วยให้ทราบ
ถึงบุคลิกของประชากรในหมู่บ้านได้
2) วิเคราะห์ข้อมูลทางวัฒนธรรมที่เก็บรวบรวมไว้ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำให้ทราบเบื้องหลัง
การผลิตและทราบความสัมพันธ์ทางสังคม

ผลการวิจัยพบว่า คนในชุมชนบางแก้วได้ทำนาปลูกข้าวมาเป็นระยะเวลานานมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหลายชนิดที่ปลูกเพื่อการบริโภค
และเพื่อจำหน่าย จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและทางธรรมชาติ ทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในชุมชนบางแก้วมีการเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลา โดยได้จำแนกพันธุ์ข้าวออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามระยะเวลาที่ให้ผลผลิต คือ

- ข้าวเบา ข้าวหนัก ข้าวกลางปี
- มีวิธีการทำนา 2 วิธี 1) การทำนาหว่าน (Broadcasting) 2) การทำนาดำ (Transplanting)
- การคัดเลือกพันธุ์ข้าวมีแบบทางราชการดำเนินการซึ่งมุ่งเน้นผลผลิตต่อไร่สูง และชาวบ้านที่มุ่งเน้นรสนิยมในการบริโภคในครัว
เรือนเป็นหลัก

การคัดเลือกพันธุ์ทำโดยการคัดจากในนาโดยนำรวงที่ใหญ่และสวยงาม ตัดเป็นเลียงแยกไว้ต่างหาก ในปัจจุบันมีการซื้อพันธุ์ข้าว
ปลูกเพิ่มจากสถานีทดลองข้าวพัทลุง ต.ควนกุฎ จ.พัทลุง โดยมีการส่งเสริมและรับรองพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 3 พันธุ์ คือ

- พันธุ์ข้าวเล็บนกปัตตานี
- พันธุ์ข้าวเฉี้ยงพัทลุง และ
- พันธุ์ข้าวลูกแดงปัตตานี

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยควรศึกษาเรื่องการดำรงอยู่ของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ในพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลา เช่น พื้นที่จังหวัด
สงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง

ทั้งนี้เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพระบบนิเวศที่ใกล้เคียงกัน จะทำให้ทราบถึงพันธุ์ข้าวต่าง ๆ ในบริเวณนี้ และหาแนวทางอนุรักษ์
ต่อไป รวมทั้งควรมีการศึกษาข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะเด่นทางด้านความหอม ความนุ่ม ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไป




บทคัดย่อ (English)
The objectives of this research are to study the status of indigenous rice in the Bangkaew community, Patthalung province, to study factors affecting the existence of indigenous rice, to study problems and obstacles affecting the existence of indigenous rice, and to study the role of conservation and the development of indigenous rice. Research methodology was qualitative research in the case study of the Bangkaew rice strains, Patthalung Province. Anthropological fieldwork were employed was participant observation, and interview. Interviews were done with key informants, community leaders, and heads of the households. Data analysis was analyzing folklore because the villagers use oral tradition in passing on stories, thus displaying a characteristic of the community itself, and collecting cultural materials as important data about indigenous knowledge of the people, thus displaying the history of production and social relationships. Results illustrated that people in the Bangkaew community have planted rice for a long time. There are many indigenous rice strains that have been planted for consumption and sales. Changes in society and the environment have dictated continuous change in the indigenous rice of Bangkaew community, which can be divided into 3 main categories as (1) Bao rice (light rice), Nak rice (heavy rice), and Klang Pee rice (mid-year rice) according to the length of time they take in bearing yields. Planting Methods are broadcasting and transplanting. The selection process begins in the paddy, with separation of the large, attractive grains. At the time, there might have been experimentation with the rice grown at the Rice Experiment Station in Pathalung. This is because at the time, there was support and guarantees for 3 indigenous rice strains: Leb Nok Battany, Chiang Pathalung, and Luk Daeng Pattani. It can be concluded that the maintenance of the indigenous rice of Bangkaew Community depends on the change of environment, economy, society, culture, and technology. It is recommended for further researches to be done on the existence of indigenous rice strains in the area along the Songkla Lake, such as Songkla, Nakorn Sri Thammarat, and Patthalung, because the aforementioned areas have similar ecosystems. Such a study could then point out the various rice strains existing in the area and find further ways to conserve them. It is also recommended that there be a study regarding indigenous rice strains that are fragrant and soft, which at present have disappeared. The study would seek to find the causes and problems that have made these qualities disappear; the research might be a joint research between the farmers in Bangkaew community and the relevant governmental authorities.



http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1202546000613


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/12/2012 3:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 2:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

42. พันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี ๒๕๕๕


บัญชีรายชื่อพันธุ์ข้าวและน้ำหนัก ฤดูนาปี ๒๕๕๔
โครงการนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่นำเข้าในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ประจำปี ๒๕๕๕


สำหรับปี ๒๕๕๕ นี้ กรมการข้าวได้ดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำพันธุ์ข้าวทั้งหมด ๑๐ พันธุ์
รวมน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ข้าวทั้งสิ้น ๙๐๐ กิโลกรัม จัดส่งให้สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว นำเข้าพระราชพิธีพืช
มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี ๒๕๕๕ และจัดเป็น "พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” และบรรจุในซองพลาสติก
แจกจ่ายเพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพการเกษตรตามประเพณีนิยม เพื่อให้เป็นไปตามพระราช
ประสงค์สืบไป



ข้าวนาสวน
พันธุ์ข้าว .............................น้ำหนัก (กิโลกรัม)
๑. สุพรรณบุรี ๑ ........................ ๖๘
๒. กข ๓๑ (ปทุมธานี ๘๐) ............ ๔๐
๓. ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ................. ๒๐๙
๔. กข ๔๕( หอมปราจีนบุรี ) ......... ๖๘
๕. กข ๔๗ ............................. ๑๑๘
๖. กข ๖ ............................... ๒๑๐
๗. ปทุมธานี ๑ ........................ ๖๕


ข้าวไร่
พันธุ์ข้าว ........................... น้ำหนัก (กิโลกรัม)
๑. ซิวแม่จัน .......................... ๕๖
๒. ดอกพะยอม ....................... ๒๖
๓. ลืมผัว(ข้าวเหนียว) ............... ๔๐

รวม ๙๐๐





ชื่อพันธุ์ พันธุ์ข้าว กข๓๑ (RD31) (ปทุมธานี ๘๐)ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPR๘๕๑๖๓-๕-๑-๑-๒ กับสายพันธุ์ IR๔๐๑๗-๑๓๑-๑-๓-๒ ที่ศูนย์วิจัยข้าว
สุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ ปลูกคัดเลือก ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๗ ถึง พ.ศ.๒๕๓๙ ได้สายพันธุ์ SPR๙๓๐๔๙- PTT-๓๐-๔-
๑-๒ ศึกษาพันธุ์ ประเมินลักษณะประจำพันธุ์ และลักษณะทางการเกษตรทดสอบความต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าวที่
สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ประเมินผลผลิตและทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ย
ไนโตรเจน ในศูนย์วิจัยเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร ๘ จังหวัดในภาคกลาง จนถึง
พ.ศ.๒๕๔๙

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการรับรองพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข๓๑(ปทุมธานี๘๐) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก
เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ต้นสูงเฉลี่ย ๑๑๗ เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว ๑๑๘ วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ และ ๑๑๑ วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
- ใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ใบธงตั้ง
- คอรวงยาว รวงยาว ๒๙.๙ เซนติเมตร ติดเมล็ด ๙๐ เปอร์เซ็นต์
- จำนวนเมล็ดดีต่อรวง ๑๓๐ เมล็ด นวดง่าย เปลือกเมล็ดสีฟาง เมล็ดไม่มีหาง
- ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว ๗.๓๙ มิลลิเมตร กว้าง ๒.๑๓ มิลลิเมตร หนา ๑.๘๔ มิลลิเมตร
- คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว ๔๗.๕ เปอร์เซ็นต์
- ปริมาณแอมิโลส ๒๗.๓ – ๒๙.๘ เปอร์เซ็นต์
- อุณหภูมิแป้งสุกระดับปานกลาง แป้งสุกอ่อน ข้าวสุกค่อนข้างแข็ง ไม่หอม
- ระยะฟักตัวของเมล็ด ๒ สัปดาห์

ผลผลิต
- เฉลี่ย ๗๔๕ กิโลกรัม/ไร่ (ปักดำ)
- เฉลี่ย ๗๓๘ กิโลกรัม/ไร่ (นาหว่านน้ำตม)


ลักษณะเด่น
๑. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพสม่ำเสมอกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี
๒. ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล
และโรคเมล็ดด่าง
๓. กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ผลผลิตสูง ปลูกโดยวิธีปักดำให้ผลผลิต ๗๔๕ กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์
สุพรรณบุรี ๑ ประมาณ ๖ เปอร์เซ็นต์ และปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตมให้ผลผลิตเฉลี่ย ๗๓๘ กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผล
ผลิตของสุพรรณบุรี ๑ ประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์

ข้อควรระวัง
- กข๓๑ (ปทุมธานี๘๐) อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม

พื้นที่แนะนำ
- นาชลประทานภาคกลาง





พันธุ์ข้าว กข๒๙ (RD29) (ชัยนาท ๘๐)

ชื่อพันธุ์
- พันธุ์ข้าว กข๒๙ (RD29) (ชัยนาท ๘๐)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมสามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ ๑ ของพันธุ์สุพรรณบุรี ๖๐ และสายพันธุ์ IR๒๙๖๙๒-๙๙-๓-๒-๑ กับ
สายพันธุ์ IR๑๑๔๑๘-๑๙-๒-๓ ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNT๘๙๐๙๘-๒๘๑-
๒-๑-๒-๑ ศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๔๑ จาก
นั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทใน
ฤดูนาปี พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงฤดูนาปี พ.ศ.๒๕๔๗ นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี
และชัยนาท ในฤดูนาปี พ.ศ.๒๕๔๒ ถึงฤดูนาปี พ.ศ.๒๕๔๗ นำเข้าทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ที่ศูนย์วิจัยข้าว
พิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานีสกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี พัทลุง คลองหลวง ราชบุรี ชัยนาท ลพบุรีและ
ฉะเชิงเทรา คัดเลือกเข้าทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร ในจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย ชัยนาท
และสิงห์บุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ.๒๕๔๔ ถึงฤดีนาปรัง พ.ศ.๒๕๔๘

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการรับรองพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข๒๙ (ชัยนาท ๘๐) เพื่อแนะนำให้เกษตร
กรปลูก เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ๑๐๓ วัน ในฤดูนาปี และ ๙๙ วัน ในฤดูนาปรัง เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
- กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย
- สูงเฉลี่ย ๑๐๔ เซนติเมตร
- ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว
- เปลือกเมล็ดสีฟาง
- ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว ๗.๓๔ มิลลิเมตร กว้าง ๒.๒๓ มิลลิเมตร หนา ๑.๘๐ มิลลิเมตร

ผลผลิต
- เฉลี่ย ๘๗๖ กิโลกรัม/ไร่


ลักษณะเด่น
๑. อายุสั้น มีอายุวันเก็บเกี่ยว ๙๙ วัน ในฤดูนาปรัง และ ๑๐๓ วันในฤดูนาปีเมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
๒. ผลผลิตสูง เฉลี่ย ๘๗๖ กิโลกรัมต่อไร่
๓. ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง
๔. คุณภาพการสีดีมาก สามารถสีเป็นข้าวขาว ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
๕. มีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้อง ๑๕.๗ มิลลิกรัม ต่อ ๑ กิโลกรัม ในข้าวสาร ๖.๗ มิลลิกรัมต่อ ๑ กิโลกรัม

ข้อควรระวัง
- ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีอากาศเย็น ทำให้เมล็ดลีบ - กข๒๙ อ่อนแอต่อ
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา

พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่ต้องการข้าวอายุสั้น โดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม ธันวาคม
และเมษายน หรือสำหรับปลูกหลังถูกน้ำท่วมในฤดูฝน สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ ๒ ครั้ง ในฤดูนาปรังก่อนถูกน้ำท่วม




พันธุ์ข้าว ปทุมธานี ๑ (Pathum Thani 1)

ชื่อพันธุ์
- ปทุมธานี ๑ (Pathum Thani 1)

ชนิด
-ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- BKNA๖-๑๘-๓-๒ / PTT๘๕๐๖๑-๘๖-๓-๒-๑

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA๖-๑๘-๓-๒ กับสายพันธุ์ PTT๘๕๐๖๑-๘๖-๓-๒-๑ ที่ศูนย์วิจัย
ข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT๙๐๐๗๑-๙๘-๑-๑

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ ๓๐พฤษภาคม ๒๕๔๓

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ ๑๐๔-๑๓๓ เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ ๑๐๔-๑๒๖ วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม ๔๕ องศา กับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ ๓-๔ สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง & times ; ยาว & times ; หนา = ๒.๑ & times ; ๗.๖ & times ; ๑.๗ มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส ๑๕-๑๙ เปอร์เซ็นต์
- คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน

ผลผลิต
- ประมาณ ๖๕๐-๗๗๔ กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
๑. ผลผลิตสูง
๒. คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวดอกมะลิ ๑๐๕
๓. ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
๔. ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

ข้อควรระวัง
- ค่อนข้างอ่อนแอเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม

พื้นที่แนะนำ
- เขตชลประทานในภาคกลาง




ข้าวพันธุ์ สุพรรณบุรี ๑ (Suphan Buri 1)

ชื่อพันธุ์
- สุพรรณบุรี ๑ (Suphan Buri 1)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- IR๒๕๓-๕๗-๒-๓/ กข๒๓// IR๒๗๓๑๖-๙๖-๓-๒-๓///SPRLR๗๗๒๐๕-๓-๒-๑-๑/ SPRLR๗๙๑๓๔-๕๑-๒-๒

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกผสมชั่วที่ ๑ ของ IR๒๗๓๑๖-๙๖-๓-๒-๓/ กข๒๓// IR๒๗๓๑๖-๙๖-๓-๒-๒ และ
ลูกผสมชั่วที่ ๑ ของ SPRLR๗๗๒๐๕-๓-๒-๑-๑/ SPRLR๗๙๑๓๔-๕๑-๒-๒ ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๘ ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR๘๕๑๖๓-๕-๑-๑-๒

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง
เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๗

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้านาสวน สูงประมาณ ๑๒๕ เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ ๑๒๐ วัน
- ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้ม ใบสีเขียวเข้ม มีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาวค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว รวงค่อนข้างแน่น
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะฟักตัวของเมล็ดประมาณ ๒๒ วัน
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง & times ; ยาว & times ; หนา = ๒.๒ & times ; ๗.๓ & times ; ๑.๘ มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส ๒๙ เปอร์เซ็นต์
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ ๘๐๖ กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
๑. ผลผลิตสูง
๒. ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย
๓. ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ต้านทานโรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม ในสภาพธรรมชาติ
๔. ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ข้อควรระวัง
- พบโรคใบขีดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

พื้นที่แนะนำ
- ทุกภาคในเขตชลประทาน




ข้าวพันธุ์ พัทลุง (Patthalung )

ชื่อพันธุ์
- พัทลุง (Patthalung)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- สุพรรณบุรี ๙๐/ RP๒๒๔๓-๗-๔ // IR๕๕๒๒๘๐-๑๑๗-๑-๑-๓

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมสามทาง ระหว่างสุพรรณบุรี ๙๐ และสายพันธุ์ RP๒๒๔๓-๗-๔ กับสายพันธุ์ IR๕๕๒๒๘๐-๑๑๗-๑-๑-๓
ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาทในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNT๖๒๐๒๔-๔-๒-๑-๑

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๖

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ ๑๐๔ เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ ๑๑๒ วัน (ปักดำ) และ ๑๐๓ วัน (หว่านน้ำตม)
- รูปแบบต้นดี กอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่ปานกลาง คอรวงสั้น ต้นแข็ง ไม่ล้ม
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะฟักตัวของเมล็ดประมาณ ๖ สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง & times ; ยาว & times ; หนา = ๒.๓๐ & times ; ๗.๕๕ & times ; ๑.๘๓ มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส ๒๘.๙ เปอร์เซ็นต์
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ ๗๑๔ กิโลกรัมต่อไร่ (หว่านน้ำตม)


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ภาคใต้ที่ต้องการข้าวอายุสั้นโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่มีการปลูกข้าวช่วงก่อน น้ำท่วมและหลัง
น้ำลด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม ในช่วงฤดูนาปี เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม




ข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ (Khao Dawk Mali 105)

ชื่อพันธุ์
- ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ (Khao Dawk Mali 105)

ชนิด
- ข้าวเจ้าหอม

ประวัติพันธุ์
- ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓-๒๔๙๔
จำนวน ๑๙๙ รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทด
ลองข้าวโคกสำโรงแล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนได้สาย
พันธุ์ขาวดอกมะลิ ๔-๒-๑๐๕ ซึ่งเลข ๔ หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข ๒ หมายถึงพันธุ์ทดสอบ
ที่ ๒ คือ ขาวดอกมะลิ และเลข ๑๐๕ หมายถึง แถวหรือรวงที่ ๑๐๕ จากจำนวน ๑๙๙ รวง

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๐๒

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ ๑๐๔ เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ ๒๕ พฤศจิกายน
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง & times ; ยาว & times ; หนา = ๒.๑ & times ; ๗.๕ & times ; ๑.๘ มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส ๑๒-๑๗ เปอร์เซ็นต์
- คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอม

ผลผลิต
- ประมาณ ๖๓๖ กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. ทนแล้งได้ดีพอสมควร
2. เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี
3. คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม
4. ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน




ข้าวพันธุ์ กข๖ (RD 6)

ชื่อพันธุ์
- กข๖ (RD 6)

ชนิด
- ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ ๒๐ กิโลแรด อาบเมล็ด
พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากาการคัด
เลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ ๒ นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์
KDML๑๐๕๖๕-G2U-๖๘-๒๕๔ นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทยที่ค้นคว้าได้ โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้
เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๒๐

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ ๑๕๔ เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียว
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ ๒๑ พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ ๕ สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง & times ; ยาว & times ; หนา = ๒.๒ & times ; ๗.๒ & times ; ๑.๗ มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต
- ประมาณ ๖๖๖ กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงและทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง
2. คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม
3. ลำต้นแข็งปานกลาง
4. ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
5. คุณภาพการสีดี

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบไหม้
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ





http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=8830
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 3:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


43. ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์



ความหมาย :
การผลิตเมล็ดพันธุ์ผลิตเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ที่มีลักษณะถูกต้องตรงตามพันธุ์ มีความบริสุทธิ์ ความงอกและ
ความแข็งแรงสูง ปราศจากโรคแมลง ให้มีปริมาณมากเพียงพอที่จะจำหน่ายในราคาพอสมควรแก่ชาวนาทั่วไป


ลักษณะของเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี :

1. มีความบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์ ไม่มีพันธุ์อื่นปน
2. รูปร่าง ขนาดและสีของเมล็ดสม่ำเสมอตรงตามพันธุ์ เมล็ดในกองเดียวกันควรมีขนาด น้ำหนัก และสีสันใกล้เคียงกัน
3. มีความงอก และความแข็งแรงสูง ความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่ควรต่ำกว่า 85%
4. เป็นเมล็ดที่เจริญเติบโตเต็มที่ ไม่มีรอยแตก ไม่บอบช้ำหรือได้รับความเสียหาย
5. ไม่มีโรคและแมลงติดมากับเมล็ด
6. มีความชื้นในเมล็ดต่ำ ถ้าต้องการเก็บรักษาควรมีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า 12 %


ประเภทของเมล็ดพันธุ์ 5 ประเภท :-
1. เมล็ดพันธุ์จากรวง (Panicle Seed) คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้เก็บรวงมาจากพันธุ์หรือสายพันธุ์ที่ได้มาจากแปลง
เปรียบเทียบพันธุ์และจะต้องเป็นพันธุ์ที่คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ประกาศให้ขยายพันธุ์ได้

2. เมล็ดพันธุ์คัด (Breeder Seed) คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากเล็ดพันธุ์จากรวงโดยปลูกรวงต่อแถวและได้รับการ
ควบคุมตรวจสอบสายพันธุ์อย่างถี่ถ้วน ตามวิธีการของนักบำรุงพันธุ์และปฏิบัติตามวิธีการที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้า
หน้าที่ส่งเสริมการเกษตรหรือสถานีทดลองข้าว

3. เมล็ดพันธุ์หลัก (Foundation Seed) คือ เมล็ดที่ได้จากการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์คัดตามวิธีการของนักบำรุงพันธุ์
ของกรมวิชาการเกษตร

4. เมล็ดพันธุ์ขยาย (Stock Seed) คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์หลักทุกปี และจำหน่ายให้ชาวนา
ปลูกเมล็ดพันธุ์ในปีต่อไป

5. เมล็ดพันธุ์จำหน่าย (Multiplication Seed) คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ขยาย และปฏิบัติ
ตามวิธีการที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร



ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ แบ่งได้ 2 ประเภท :

1. ความบริสุทธิ์ทางพันธุกรรม (genetic purity) ได้แก่ การตรงตามพันธุ์ ไม่มีพันธุ์อื่นปน ปราศจากพืชอื่น พันธุ์อื่นและวัชพืช

2. ความบริสุทธิ์ทางกายภาพ (physical purity) ได้แก่ ความสม่ำเสมอของเมล็ด ไม่มีสิ่งเจือปน (inert matter) ไม่มีเมล็ด
วัชพืช (weed seed) หรือเมล็ดพืชอื่น (other seed) ปะปน ไม่มีโรคแมลงติดมากับเมล็ด


การเตรียมเมล็ดพันธุ์ปลูก :
1. พันธุ์คัด (Breeder Seed) เลือกจากรวงข้าว (Panicle Seed) ที่ละรวง เป็นรวงที่ถูกต้องตรงตามพันธุ์ แก่จัดมีความงอก
สูง ความชื้นต่ำ (12-14%) ปราศจากโรค แมลงทำลาย และไม่มีข้าวแดงปน

2. พันธุ์หลัก (Foundation Seed) เลือกเมล็ดพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์คัด ที่ตรงตามพันธุ์ มีความสะอาด ความงอกไม่ต่ำกว่า 80%
และควรคลุกสารเคมีป้องกันโรค แมลงให้ถูกต้องตามวิธีการก่อนนำไปปลูก


วิธีตกกล้าและถอนกล้า :
พันธุ์คัด :
ใช้วิธีวางรวง โดยเอารวงข้าวแช่น้ำ 1 คืน นำไปหุ้มอีก 1 คืน แล้ววางรวงข้าวแต่ละรวงบนแปลงตกกล้าที่เตรียมไว้ให้
ห่างพอสมควร เขี่ยระแง้ให้แยกออกจากกัน ใช้ฝ่ามือกดให้เมล็ดแนบติดดิน

พันธุ์หลัก : ตกกล้าเป็นแปลงๆใช้เมล็ดพันธุ์ 50 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร หรือไร่ละ 6 ถัง ปักป้ายบอกชื่อพันธุ์วันตกกล้า

การถอนกล้า : ให้ถอนตรงกลางแปลงโดยทิ้งขอบแปลงไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร


ระยะปลูกที่ใช้พันธุ์คัด :
- ความยาวของแถว 4.00 เมตร
- ระยะระหว่างแถว 33 เซนติเมตร
- ระยะระหว่างกอ 1 ต้น
- ระยะระหว่างผืน 1.00 เมตร

ควรปลูกพันธุ์ละกระทงนาเพื่อกันการผสมข้ามพันธุ์ ถ้ากระทงกว้างมาก และจำเป็นต้องปลูกสองพันธุ์ในกระทงเดียวกัน ให้เว้นที่
ว่างระหว่างพันธุ์ 4 เมตร การปักดำข้าวพันธุ์คัดให้ปักดำแถวละรวง ถ้ากล้าปักดำไม่พอแถวห้ามนำกล้ารวงอื่นมาปักดำเพิ่ม และ
ห้ามซ่อมข้าวที่ตายไป ถึงแม้จะเป็นกล้าในรวงเดียวกันก็ตาม


ระยะปลูกที่ใช้พันธุ์หลัก :
- ความยาวของแถว 4.50 เมตร
- ระยะระหว่างแถว 25 เซนติเมตร
- ระยะระหว่างกอ 25 เซนติเมตร
- ปักดำกอละ 1 ต้น
- ระยะระหว่างผืน 50 เซนติเมตร

ควรปลูกพันธุ์ละกระทงนาเพื่อกันการผสมข้ามพันธุ์ ถ้ากระทงกว้างมาก และจำเป็นต้องปลูกสองพันธุ์ในกระทงเดียวกัน ให้เว้น
ที่ว่างระหว่างพันธุ์ 3 เมตร การปักดำ ปักดำตามวิธีการที่กล่าวมาการซ่อมต้นข้าวที่ตายไปเนื่องจากบอบช้ำหรือโดนปูกัด ให้รีบ
ซ่อม โดยเร็วไม่ควรล่ากว่า 7 วัน

การตรวจแปลงดูข้าวปนและรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ :
มีจุดประสงค์เพื่อรักษาพันธุ์ข้าวที่ปลูกให้มีลักษณะและความบริสุทธิ์เหมือนพันธุ์ข้าวที่เจ้าหน้าที่ปรับปรุงพันธุ์ได้กำหนดไว้ การ
กำจัดข้าวปนข้าวเรื้อ ข้าวกลายพันธุ์มีความจำเป็นมาก

พันธุ์คัด ให้ปฏิบัติดังนี้ :-
- ระยะแรกในแปลงกล้า
-ในระยะที่สอง ตรวจระหว่างการแตกกอ ดูลักษณะการแตกกอ
- ระยะที่สามระยะออกดอก
- ระยะที่สี่ข้าวโน้มรวง
- ระยะที่ห้าดูตอนข้าวเหลืองให้ตรวจดูลักษณะเมล็ดให้ตรงตามพันธุ์

พันธุ์หลัก : ให้ใช้หลักการและวิธีการแบบข้าวพันธุ์คัด แต่การกำจัดข้าวที่ไม่บริสุทธิ์ใช้วิธีถอนทิ้งเป็นกอ ๆ เฉพาะกอที่ไม่บริสุทธิ์

การเก็บเกี่ยวและการตากข้าวขยายพันธุ์ :
พันธุ์คัด :
การเก็บรวงสำหรับทำพันธุ์คัด การเก็บรวงไม่ควรเก็บน้อยแถวและเก็บรวงแต่ละแถวเป็นจำนวนมาก รวงข้าวที่เก็บไว้
สำหรับทำพันธุ์คัด ควรเก็บไว้อย่างน้อย 2,000 รวง

พันธุ์หลัก : การเก็บเกี่ยว เกี่ยวเป็นแปลง ๆ แปลงนาทุกแปลงที่ปลูกทำพันธุ์หลักจะต้องให้เลขประจำแปลงไว้

สาเหตุพันธุ์ข้าวเสื่อม :
1. ข้าวเรื้อและข้าวปน
2. การผสมข้าม และกลายพันธุ์

การจำหน่ายจ่ายแจก เมล็ดพันธุ์ข้าว (ศูนย์วิจัยข้าว) :
ผู้ซื้อ/ผู้ขอ.............................................การซื้อ................การขอ
1. เกษตรกร.........................................1,000 กก. ...........20 กก.
2. นักเรียน นิสิต นักศึกษา..........................1,000 กก. ...........0.5 กก.
3. บุคคลทั่วไป/นิติบุคคลที่มีความสนใจศึกษา....1,000 กก. ...........0.5 กก.
4. หน่วยราชการอื่น ยกเว้น สวพ. ..................2,000 กก. ..........200 กก.



มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice Seed Standard) :
เมล็ดพันธุ์ทุกชนิดมีมาตรฐานไว้เป็นมาตรฐานไว้เป็นหลักการในการตรวจสอบเพื่อ ให้ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี มีความบริสุทธิ์

ตรงตามพันธุ์และสายพันธุ์ตามที่นักปรับปรุงพันธุ์ได้คัดเลือกไว้ เพื่อพิจารณาขยายเป็นข้าวพันธุ์ดี



มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว ของสำนักวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว กรมการข้าว (สถาบันวิจัยข้าว 2532) :
ส่วนประกอบ..................................พันธุ์คัด.............พันธุ์หลัก
เมล็ดพันธุ์ข้าวบริสุทธิ์ (ต่ำสุด)................98%.................98%
ข้าวแดง (สูงสุด)..............................ไม่มี..................ไม่มี
ข้าวพันธุ์อื่นปน (สูงสุด).......................ไม่มี.........1 เมล็ด ใน 1,000 กรัม
สิ่งเจือปน (สูงสุด) ............................2%...................2%
ความงอก (ต่ำสุด) ............................80%.................80%
ความชื้น(สูงสุด) ..............................14%.................14%

หมายเหตุ :
- ในเมล็ดพันธุ์หลักข้าวเจ้า ไม่มีข้าวเหนียวปน
- ในเมล็ดพันธุ์หลักข้าวเหนียวมีข้าวเจ้าปนได้ไม่เกิน 5 เมล็ดใน 500 กรัม
- ในทางปฎิบัติสำหรับเมล็ดข้าวพันธุ์หลักจะใช้ความงอก (ต่ำสุด) 85% ในการพิจารณาจัดสรรและแนะนำให้ลดความชื้นลงต่ำ
กว่า 12%




http://spr.brrd.in.th/web/index.php/2009-10-05-15-12-45/31-seed-production?start=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 6:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

44. พันธุ์ข้าว หางยี 71 ( Hahng Yi 71 )


ชื่อพันธุ์
- หางยี 71 ( Hahng Yi 71 )

ชนิด
- ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าว จากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัดเลือกแบบคัด
พันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี
- ลำต้นสีเขียว ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนก
- เมล็ดข้าวยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 506 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคไหม้
- ค่อนข้างต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
- เป็นข้าวต้นสูง อายุเบา เหมาะกับสภาพที่ดอนที่น้ำหมดเร็ว

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการข้าว
Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B5_71"


http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B5_71
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

45. พันธุ์ข้าว เหมยนอง 62 เอ็ม (Muey nawng 62 M)


ชื่อพันธุ์
- เหมยนอง 62 เอ็ม ( Muey Nawng 62 M )

ชนิด
- ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่ของสถานีกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2494 และนายมณี เชื้อวิโรจน์ เจ้าหน้าที่
วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำมาปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาค
เหนือ จนได้พันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2502






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและขอบใบสีม่วง แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว กอค่อนข้างแผ่ เมล็ดสั้นป้อม
- ข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ก้นจุด
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 6.6 x 2.0 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 540 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานแมลงบั่ว
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และค่อนข้างต้านทานโรคใบสีส้ม

ข้อควรระวัง
- เมล็ดมีระยะพักตัวสั้น ดังนั้นเมื่อเมล็ดข้าวสุกแก่ให้รีบเก็บเกี่ยวทันที
- นวดยาก
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดของแมลงบั่ว



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/Muey_Nawng_62_M.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 8:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

46.



ชื่อพันธุ์
- เหนียวอุบล 1 ( Niaw Ubon 1 )

ชนิด
- ข้าวเหนียว

คู่ผสม
- เหนียวสันป่าตอง* 2 / ไออาร์262

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง และพันธุ์ ไออาร์262 ในปีพ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหา
พันธุ์เหนียว สันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ทำการคัดเลือกต่อที่สถานีทดลอง
ข้าวอุบลราชธานี จนได้สายพันธุ์ UBN6721-11-1- 6(3)

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 145 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน
- ทรงกอตั้งตรง แตกกอดี ต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.6 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.52 มิลลิเมตร ยาว x กว้าง x หนา = 7.52 x 2014 x1.78 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 660 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ค่อนข้างต้านทานโรคใบสีส้ม ในสภาพธรรมชาติ

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โดยเฉพาะระยะออกรวง

พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=23:niaw-ubon-1&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 30/12/2012 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

47.


ชื่อพันธุ์
- เหนียวอุบล 2 ( Niaw Ubon 2 )

ชนิด
- ข้าวเหนียว

คู่ผสม
- SPT7149-429-3 / IR21848-65-3-2

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPT7149-429-3 และIR21848-65-3-2
ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เมื่อปี
พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีจนได้ สายพันธุ์ IR43070-UBN-501-2-1-1-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2541







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว สูงประมาณ 118 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 15 พฤศจิกายน
- ทรงกอแผ่ ต้นแข็ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสี เขียว ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 463 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคไหม้
- ทนทานดินเค็ม

ข้อควรระวัง
- ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่โรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด เป็นประจำ

พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=41.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©