-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/01/2013 3:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...


98. ข้าวพันธุ์ สุรินทร์ 1 (Surin 1)
99. ข้าวพันธุ์ ตะเภาแก้ว 161 (Ta – pow Gaew 161)
100. ข้าวพันธุ์ นางฉลอง (Nahng Cha – lawng)

101. ข้าวพันธุ์ ปิ่นแก้ว 56 (Pin Gaew 56)
102. ข้าวพันธุ์ พลายงามปราจีนบุรี (Plai Ngahm Prachin Buri)
103. ข้าวพันธุ์ เล็บมือนาง 111 (Leb Meu Nahng 111)
104. ข้าวพันธุ์ ขาวบ้านนา 432
105. อึ้ง ! ฉีดสารเคมีไม่ยั้ง 15 ครั้งต่อ 1 ฤดูกาล เร่งส่งจำนำข้าว รบ.

106. ข้าวพันธุ์ ข้าวหอมแดง (Red Hawn Rice)
107. ข้าวพันธุ์ ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice)
108. ข้าวพันธุ์ กู้เมืองหลวง (Goo Meuang Luang)
109. ข้าวพันธุ์ ขาวโป่งไคร้ (Khao Pong Krai)
110. รวมพันธุ์ข้าวที่สูง (เจ้าลีซอสันป่าตอง, อาร์ 258, น้ำรู, เจ้าฮ่อ, ขาวโป่งไคร้, ข้าวหลวงสันป่าตอง, บือโปะโละ 39, ข้าวบือพะทอ 12, ขามเหนี่ย 26, ยากู่)

111. ข้าวหอม ดำ/แดง สุโขทัย
112. ชาวนา ‘เหนือ-อีสาน’ รวยเงียบ ปลูกข้าวพรีเมี่ยม ตันละ 7 หมื่น / ส่งญี่ปุ่น-อเมริกา
113. พันธุ์ข้าวญี่ปุ่น
114. เป็นเศรษฐี ด้วยข้าวอินทรีย์ !
115. เยือนนาข้าวญี่ปุ่น ทึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่

116. เกษตรเร่งวิจัยข้าวหนี “เวียดนาม”
117. ผลประกวดนาข้าว แชมป์ผลผลิต 1.5 พัน กก./ไร่
118. จีนยึดเมล็ดพันธุ์ข้าวอาเซียน
119. เวียดนามรื้อนาทั้งระบบ ชูข้าวพันธุ์ดี ลดนาข้าวแข็งเหลือ 20%
120. ข้าวหอม (Fragrant rice)

121. วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มาทำลายข้าว
122. ข้าวหอมนิลเพาะงอก


------------------------------------------------------------------------------------------------------





98.


ชื่อพันธุ์
- สุรินทร์ 1 ( Surin 1 )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- IR61078 / IR46329-SRN-18-2-2-2

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง IR61078 และ IR46329- SRN-18-2-2-2 ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) เมื่อปี พ.ศ. 2531ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ จนได้สายพันธุ์ IR62558-SRN-17-2-1- B

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2543







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 122 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 138 วัน
- ทรงกอตั้งตรง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น ลำต้นแข็ง ใบแก่ช้า
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดร่วงยาก
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.4 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 30.4 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 718 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
- ทนทานต่อดินเค็ม
- ทนทานต่อความแห้งแล้ง
- เมล็ดยาวเรียว คุณภาพการสีดี เหมาะที่จะใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เส้นหมี่ เส้นขนมจีน แผ่นแป้ง

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- ฤดูนาปีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=97:surin-1&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/03/2013 11:09 am, แก้ไขทั้งหมด 32 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/01/2013 5:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

99.

ชื่อพันธุ์
- ตะเภาแก้ว 161 (Ta – pow Gaew 161)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดปี พ.ศ.2498 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธุ์ ที่สถานีทดลอง
ข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนได้สายพันธุ์ ตะเภาแก้ว 55-161

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ลึกไม่เกิน 2 เมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 9 ธันวาคม
- ลำต้นสูง ใบสีเขียวยาวแต่ค่อนข้างแคบ ลำต้น กาบใบและขอบใบสีม่วง แต่จะจางลงเมื่อระดับน้ำในนาสูงขึ้น
และข้าวโตขึ้นจนถึงระยะออกรวง สีม่วงจะจางหายไป แตกกอปานกลาง เมล็ดยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ท้องไข่น้อย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.5 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.5 x 1.7 มิลลิเมตร
- ประมาณอมิโลส 30-32%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 350 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- อายุเก็บเกี่ยวเหมาะกับสภาพนาข้าวขึ้นน้ำที่น้ำแห้งเร็ว
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
- ขึ้นน้ำได้ดีปานกลาง

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=73:ta--pow-gaew-161&catid=25:photosensitive-floating-rice&Itemid=56


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 6:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/01/2013 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

100.

ชื่อพันธุ์
- นางฉลอง (Nahng Cha – lawng)

ชนิด
- ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง โดยเจ้าหน้าที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2497

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ลึกไม่เกิน 150 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน
- ลำต้นสูง กาบใบสีเขียวจาง ใบสีเขียว ใบยาวและกว้าง สามารถยึดปล้องปานกลางข้อปล้องส่วนกลางและปลายของ
ต้นยาว มีรากออกจากข้อที่อยู่ในน้ำเหนือผิวดิน
- ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดร่วงง่าย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 7.3 x 1.9 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 394 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=74:nahng-cha-lawng&catid=25:photosensitive-floating-rice&Itemid=56


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 6:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/01/2013 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

101.


ชื่อพันธุ์
- ปิ่นแก้ว 56 (Pin Gaew 56)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- เป็นข้าวที่ชนะการประกวดในปี พ.ศ.2498 จึงได้นำรวงมาปลูกแบบรวงต่อแถวแล้ว
คัดเลือกรวงที่ดีที่สุด ไปปลูกเปรียบ
เทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าว แล้วนำไปปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่น คัดได้สายพันธุ์ที่ 56

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502









ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ในระดับน้ำไม่เกิน 5 เมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 29 ธันวาคม
- ลำต้นสูง ใบยาวสีเขียว ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน แตกกอปานกลาง มีความสามารถในการขึ้นน้ำได้ดี เหมาะที่
จะปลูกในที่นาลุ่ม ระดับน้ำลึกประมาณ 1- 4 เมตร และน้ำแห้งช้า
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.7 x 2.6 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.2 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณ อมิโลส 23 – 31 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 362 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- มีความสามารถในการแตกแขนง และแตกรากที่ข้อเหนือผิวดินในน้ำ และมีการชูรวงดี
- คุณภาพการสี ข้าวสารใสแกร่ง
- ทนน้ำลึกได้ดี (ไม่เกิน 5 เมตร)

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคกาบใบเน่า โรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลิ้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอ และแมลงบั่ว
- ผลผลิตค่อนข้างต่ำ

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=75:pin-gaew-56&catid=25:photosensitive-floating-rice&Itemid=56
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/01/2013 6:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

102.

ชื่อพันธุ์
- พลายงามปราจีนบุรี (Plai Ngahm Prachin Buri)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้จากการเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ โดยนายเพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัย
ข้าวปราจีนบุรี จากตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2523 ปลูกคัดเลือกแบบหมู่ จน
ได้พันธุ์บริสุทธิ์

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวขึ้นน้ำพันธุ์พื้นเมือง สูงประมาณ 240 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ)
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 ธันวาคม
- ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว ระแง้ถี่ การชูรวงดี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.6 x 2.8 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.4 x 1.8 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่ปานกลาง
- ปริมาณอมิโลส 27 – 28 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 380 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ขึ้นน้ำได้ดี ในระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร และท่วมขังนานกว่า 1 เดือน
- ทนแล้งได้ดี
- ต้านทานโรคไหม้ ในระยะกล้าดี
- แปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณภาพดี มีความนุ่มเหนียว

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบหงิก โรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีระดับน้ำลึกมากกว่า 1 เมตร ท่วมขังเป็นเวลานาน ตั้งแต่ 1 เดือน
และน้ำแห้งนาปลายเดือนธันวาคม


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=76:plai-ngahm-prachin-buri&catid=25:photosensitive-floating-rice&Itemid=56


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 6:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/01/2013 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

103.

ชื่อพันธุ์
- เล็บมือนาง 111 (Leb Meu Nahng 111)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองโดยนายสุรศักดิ์ แสงสวาสดิ์ จากอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ปี
พ.ศ.2493 จำนวน 127 รวง ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คัดได้สายพันธุ์ เล็บมือนาง 14 – 12 – 111

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502












ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ในน้ำลึกไม่เกิน 4 เมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 19 ธันวาคม
- ลำต้นสูง แตกกอปานกลาง ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน ใบกว้างและยาวสีเขียว รวงใหญ่ เมล็ดร่วงง่าย มีความ
สามารถยืดตัวตามน้ำได้ ชูรวงดี
- เมล็ดข้าวเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่ค่อนข้างมาก
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.8 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.1 x 2.3 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 29 – 32 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 328 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ขึ้นน้ำได้ดี ชูรวงดี
- ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยวได้ดี
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=79:leb-meu-nahng-111&catid=25:photosensitive-floating-rice&Itemid=56


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 6:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/01/2013 9:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

104.



ชื่อพันธุ์
- ขาวบ้านนา 432

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองขาวบ้านนา จากจังหวัดปราจีนบุรี คัดเลือกสายพันธุ์ดี
จำนวน 20 สายพันธุ์ ในระหว่างปี 2538-2540 ปลูกทดสอบและประเมินการยอมรับของชาวนาข้าวขึ้นน้ำในเขต
อำเภอเมืองจังหวัด ปราจีนบุรี จนสามารถคัดเลือกได้ข้าวขาวบ้านนาสายพันธุ์ดีเด่น“PCRC92001-432” ซึ่ง
เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 218 เซนติเมตร
- ข้าวเจ้าขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 10 ถึง 14 พฤศจิกายน
- ทรงกอแบะ ต้นแข็งปานกลาง มีใบ กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงเป็นแนวนอน
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.96 x 2.74 x 2.19 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 8.01 x 2.33 x 1.93 มิลลิเมตร
- คุณภาพการสีดี ท้องไข่มาก

ผลผลิต
- ประมาณ 449 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เมล็ดข้าวมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้น ได้แก่ เส้นหมี่ และเส้นขนมจีน ลักษณะเส้นเหนียวนุ่ม

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งในสภาพเรือนทดลอง

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาน้ำลึกมากกว่า 100 เซนติเมตร มีน้ำท่วมขังนานกว่า 1 เดือน และมีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวประมาณกลาง
เดือนธันวาคม จึงเหมาะสมกับพื้นที่น้ำลึกในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่ข้าวนาขึ้นน้ำ
อำเภอบ้านสร้างและอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลีและอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=126:pcrc92001-432&catid=25:photosensitive-floating-rice&Itemid=56
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/01/2013 9:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

105. อึ้ง ! นาข้าวสุพรรณฯฉีดสารเคมีไม่ยั้ง 15 ครั้งต่อ 1 ฤดูกาล เร่งส่งจำนำข้าว รบ.


ไทยนำเข้าสารเคมีมากถึง 87 ล้านกิโลกรัม ขณะที่นาข้าวสุพรรณฯใช้สารเคมีสูง 30% ของต้นทุนการผลิต ฉีดไม่ยั้ง 15 ครั้งต่อ 1 ฤดูกาลปลูก เหตุทุ่มทุนเพื่อนำไปจำนำข้าว หวั่นกระทบผู้ปลูกและผู้บริโภค ด้านเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีฯ เสนอเก็บภาษีสารเคมีทางการเกษตร ตั้งกองทุนเยียวยาชดเชย เตรียมถกใหญ่ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ 15-20 ธ.ค.นี้


วันนี้ (29 พ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในการแถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ “อนาคตความปลอดภัยทางอาหารของไทย” เนื่องมาจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 จะทำให้การส่งออกโดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรมีความอิสระมากยิ่งขึ้น ไม่มีกำแพงกั้นระหว่างภาษี ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้าที่กว้างยิ่งขึ้น ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลถึงความพร้อมในการรับมือ ในการกำหนดมาตรฐานที่ปลอดภัยสำหรับการนำเข้า โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารและสินค้าเกษตรซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไทย

ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 กล่าวว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้ากลุ่มสินค้าอาหารและเกษตรที่เป็นอาหารจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เพิ่มขึ้นโดยตลอดในหลายปีที่ผ่านมา โดยปี 2552 มีการนำเข้ามูลค่า 32,255 ล้านบาท ต่อมาปี 2553 มูลค่า 37,255.5 ล้านบาท และปี 2555 มูลค่า 49,521 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีการกังวลถึงความพร้อมในการกำหนดมาตรฐานที่ปลอดภัยสำหรับการนำเข้าโดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไทยโดยตรง อาจมีความเสี่ยงต่อสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อการบริโภค จึงจำเป็นที่จะต้องมีระเบียบในการตรวจสอบไม่ให้อาหารที่ไม่มีความปลอดภัยเข้าสู่ประเทศ ซึ่งในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่5 ระหว่างวันที่ 18-20 ธ.ค. 2555 ที่ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา จะมีการหารือเรื่องนี้เพื่อหาแนวทางป้องกัน

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ที่ปรึกษาคณะที่ทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น “การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ AEC โดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร” กล่าวว่า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประชาคมอาเซียน ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการนำเข้าอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร โดยเสนอให้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติหน่วยงานที่กำกับดูแลเพิ่มความเข้มแข็งในการตรวจสอบกำกับดูแลสินค้าที่ผลิตและนำเข้า และเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ห้องปฏิบัติการและเครื่องมืออย่างเพียงพอนอกจากนี้ควรสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในระดับชุมชนเพื่อให้เกิดการดูแลที่ครอบคลุมด้วย

ด้าน นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิภี และคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น “ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช” กล่าวว่า ในปี 2554 ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีถึง 87 ล้านกิโลกรัม มูลค่า 22,000 ล้านบาท บางชนิด เช่น คารูโบฟูรานและเมโทมิลมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึง 1 เท่าตัว นอกจากนี้ จากการที่เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ทำการศึกษาการใช้สารเคมีนาข้าวของเกษตรจำนวน 200 ราย ใน 5 อำเภอ ของ จ.สุพรรณบุรี ในช่วงปี 2555 พบว่า มีการใช้สารเคมีในนาข้าวคิดเป็น 30 %ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด จากเดิมที่เพียง 7-10 % โดยมีการฉีดสารเคมีถึง 15 ครั้งต่อ 1 ฤดูกาลผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าห่วง และน่ากังวลอย่างมาก

“ตอนแรกคาดว่าต้องมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแน่นอนถึงมีการใช้สารเคมีมากขนาดนี้ แต่ปรากฏว่า ปีนี้เพลี้ยเบาบาง เมื่อเข้าไปศึกษาจึงทำให้ทราบว่าชาวนาต้องการให้ได้ผลผลิตข้าวจำนวนมากจึงทุ่มทุกอย่าง เพื่อนำไปจำนำข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ซึ่งท้ายที่สุดโครงการนี้หากไม่ได้กำกับควบคุมคุณภาพของข้าว ในระยะยาวจะย้อนมาทำลายทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค รัฐบาลจึงควรดำเนินการโครงการนี้แบบมีเงื่อนไข เรื่องการปรับปรุงการผลิต เช่น รับจำนำตันละ 15,000 บาทสำหรับผู้ผลิตแบบเกษตรปลอดภัย ส่วนผู้ที่ใช้สารเคมี จำนำตันละ 12,000 บาทเพื่อที่ส่วนต่างของการจำนำจะได้เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการผลิตแบบเกษตรปลอดภัยมากขึ้น” นายวิฑูรย์ กล่าว

นายวิฑูรย์ กล่าวอีกว่า ในการประชุมสมัชชาสุขภาพฯเครือข่ายฯมีข้อเสนอสำคัญ ได้แก่

1. ให้เก็บภาษีสารเคมีทางการเกษตร เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยให้กระทรวงการคลังศึกษาความเป็นไปได้ รวมทั้งแนวทางในการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำมาใช้ในการเยียวยา ชดเชยผลกระทบทางสุขภาพ และเศรษฐกิจจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสนับสนุนการผลิตที่ปลอดภัย ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และ

2.ให้ทบทวนการอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนและนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายร้ายแรง ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศในอาเซียนบางประเทศได้ประกาศห้ามผลิต ห้ามใช้ และไม่ให้ขึ้นทะเบียนแล้ว เพราะมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ยืนยันว่าเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ ได้แก่ คารูโบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และ อีพีเอ็น



http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000145855&CommentReferID=22371289&CommentReferNo=17&
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/01/2013 10:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

106.


ชื่อพันธุ์
- ข้าวหอมแดง (Red Hawn Rice)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- พ.ศ. 2525 – 2526 จากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวพันธุ์หลัก ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ซึ่งมีนายบุญโฮม ชำนาญกุล เป็นผู้อำนวยการสถานีในขณะนั้น พบว่า ในรวงข้าวจำนวนหนึ่งมีเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ จึงแยกเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ จึงแยกเมล็ดแต่ละรวงไปปลูกศึกษาลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จากการแยกเมล็ดที่ปนอยู่กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ออกปลูกเป็นกอๆ และทำการศึกษาลักษณะของเมล็ดข้าวกล้อง พบว่ากอหนึ่งมีเยื่อหุ้มเมล็ด (Pericarp) ของข้าวกล้องสีแดงเรื่อๆ ซึ่งมีทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ทางสถานีทดลองข้าวสุรินทร์จึงแยกชนิดข้าวเจ้า และข้าวเหนียวไว้ และให้ความสนใจเฉพาะที่เป็นข้าวเจ้า

- พ.ศ. 2529 – 2530 เมล็ดข้าวแดงที่เชื่อว่ากลายพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยธรรมชาติ ถูกแบ่งและส่งไปปลูกที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ และสถานีทดลองขาวโคกสำโรง โดยนักวิชาการที่สนใจใช้เวลาว่างปลูกบริเวณพื้นที่หัว / ท้ายแปลงทดลอง เพื่อศึกษาคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ต่อเป็นสายพันธุ์ต่างๆ

- พ.ศ. 2531 นายบุญโฮม ชำนาญกุล ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้นำเอาเฉพาะเมล็ดข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงไปปลูกคัดเลือกรวงและปลูกแบบรวงต่อแถว โดยมีข้าวแดงประมาณ 100 กว่าสายพันธุ์ และได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวแดงหอมไว้ 50 สายพันธุ์

- พ.ศ. 2533 มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ปรากฏว่า มี 5 สายพันธุ์ ที่ไม่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลาย และได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่นเพียง 2 สายพันธุ์ คือ KDML105R-PSL-1 ซึ่งเป็นข้าวหนักและ KDML105R-PSL-2 ซึ่งเป็นข้าวเบา

- พ.ศ. 2535 เกษตรกรที่อยู่ใกล้ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกได้นำเมล็ดข้าวสายพันธุ์ดีเด่น ไปปลูกและแปรรูปเป็นข้าวกล้องข้าวแดง จำหน่ายในชื่อ “ข้าวเสวย”

- พ.ศ. 2536 พบว่า อายุสุกเก็บเกี่ยวของข้าวแดงหอมในแปลงเกษตรกรยังมีการกระจายตัว ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจึงได้นำสายพันธุ์ข้าวเบาและข้าวหนักกลับมาคัดเลือกใหม่

- พ.ศ. 2538 ได้สายพันธุ์ KDML105R-PSL-E-14

- พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เป็น พันธุ์ข้าวทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า ข้าวหอมแดง (Red Hawm Rice)






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 120 – 130 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 20 พฤศจิกายน
- ลำต้นแข็ง กอตั้ง
- ใบสีเขียวอ่อน ใบโน้ม ใบธงตก
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
- ท้องไข่น้อย
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.6 x 3.9 x 2.3 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 16.9 %

ผลผลิต
- ประมาณ 643 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม
- ข้าวสุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในสภาพธรรมชาติได้ดี
- ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง และโรคใบขีดโปร่งแสง

พื้นที่แนะนำ
- ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะ เพราะเป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง การนำไปปลูกในแปลงข้าวขาวอาจทำให้ปะปนกัน


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=103:red-hawn-rice&catid=38:photosensitive-red-rice&Itemid=61
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/01/2013 10:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

107.


ชื่อพันธุ์ - ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice)

ชนิด - ข้าวเจ้า
คู่ผสม - KDML105R-PRE-5*4 / ไออาร์64

ประวัติพันธุ์ - พ.ศ. 2529 ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้รับรวงข้าวแดงหอมจำนวนหนึ่งจากสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ จึงทำการปลูกคัดเลือกและแยกสายพันธุ์ชนิด ข้าวเหนียวและข้าวเจ้าออกจากกัน

- พ.ศ. 2531 นายสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการเกษตรของศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้นำข้าวแดงหอมสายพันธุ์ KDML105R-PRE-5 เป็นพันธุ์แม่ผสมกับ IR64 และผสมย้อนกลับ (Back Cross) ไปหาพันธุ์แม่ 3 ครั้ง

- พ.ศ. 2533 ได้ให้รหัสเป็นคู่ผสมของศูนย์วิจัยข้าวแพร่เป็น PRE90020

- พ.ศ. 2534 – 2537 นำสายพันธุ์ข้าวที่ได้ไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้สายพันธุ์ดีเด่นจำนวน 10 สายพันธุ์

- พ.ศ. 2537 พบว่า สายพันธุ์ PRE90020-R36-PSL-8-3-14-3 เป็นสายพันธุ์ที่เป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง และมีลักษณะต่างๆตามต้องการ

- พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็น พันธุ์ข้าวทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า ข้าวหอมกุหลาบแดง








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 90 – 100 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 123 วัน
- ลำต้นแข็ง กอตั้งตรง แตกกอดี
- รวงแน่นปานกลาง
- ใบมีสีเขียว แก่ช้า ใบธงตั้งตรง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
- ท้องไข่น้อย
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.0 x 7.3 x 1.6 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 13.9 %

ผลผลิต
- ประมาณ 750 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวที่ให้ข้าวกล้องมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม
- ข้าวสุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะ เพื่อป้องกันปัญหาเมล็ดปะปนกับข้าวขาว



http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/Red%20Rose%20Rice.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/01/2013 11:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

108. พันธุ์ข้าว กู้เมืองหลวง (Goo Meuang Luang)


ชื่อพันธุ์
- กู้เมืองหลวง (Goo Meuang Luang)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ที่ปลูกเป็นข้าวไร่บางท้องที่ในภาคใต้ ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองยางในภาคใต้

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ข้าวเจ้าพื้นเมือง สูงประมาณ 155 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกต้นมิถุนายน เก็บเกี่ยวกลางพฤศจิกายน ถ้าปลูกปลายสิงหาคม เก็บเกี่ยวกลางมกราคม (อายุประมาณ 135 – 165 วัน)
- ลำต้นสีเขียวเข้ม ใบกว้างและโน้ม เมล็ดยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.5 x 8.4 x 1.9 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 28 – 30 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง ท้องไข่มาก

ผลผลิต
- ประมาณ 240 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ทนแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวไร่ในภาคใต้และปลูกเป็นพืชแซมยาง
- การชูรวงดี คอรวงยาว เหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ
- ต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล
- ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบวงสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ข้าวไร่ภาคใต้ และปลูกเป็นพืชแซมยาง


http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/06/Goo_Meuang_Luang.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/01/2013 11:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

109.


ชื่อพันธุ์
- ขาวโป่งไคร้ (Khao Pong Krai)

ชนิด
- ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
- ได้ จากการเก็บรวบรวมจากแปลงเกษตรกร บ้านโป่งไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายวิชัย คำชมภู สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ปลูกศึกษาพันธุ์ที่ไร่นาสาธิตแม่เหียะและเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลอง ข้าวในภาคเหนือ

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2530








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ข้าวเหนียว สูงประมาณ 142 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ ปลายเดือนตุลาคม
- ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบและกาบใบสีเขียว ใบธงกว้างและตก รวงยาว ระแง้ถี่ เมล็ดมีรูปร่างป้อม และร่วงปานกลาง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 11.1 x 4.0 x 2.5 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 8.3 x 3.0 x 2.1 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก ค่อนข้างแข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 243 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- นวดง่าย
- ข้าวสุกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
- ต้านทานโรคไหม้
- ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง
- เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ปรับตัวเข้ากับการปลูกบนที่สูงถึง 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย โรคหูด
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- สภาพที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 800 – 1,250 เมตร


http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=96.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/01/2013 11:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

110. รวมพันธุ์ข้าวที่สูง

(เจ้าลีซอสันป่าตอง, อาร์ 258, น้ำรู, เจ้าฮ่อ, ขาวโป่งไคร้, ข้าวหลวงสันป่าตอง, บือโปะโละ 39, ข้าวบือพะทอ 12, ขามเหนี่ย 26, ยากู่)


ข้าวที่สูงมีทั้งข้าวที่ปลูกในสภาพนาและสภาพไร่ กล่าวคือ การปลูกในสภาพนาที่มีน้ำขัง จะมีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำคล้ายกับการทำนาในพื้นที่ราบทั่วไป ๆ เพียงแต่จะมีกระทงนาขนาดเล็กเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีเนื้อที่ไม่กว้างมากนัก ส่วนการปลูกในสภาพไร่ เป็นการปลูกในที่ดอนหรือ บริเวณไหล่เขา ไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ พันธุ์ข้าวที่สูงที่เกษตรกรปลูกมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว โดยทั่วไปชุมชนบนพื้นที่สูงมักจะปลูกข้าวเจ้าเพื่อบริโภคเป็นอาหารหลัก และปลูกข้าวเหนียวเพื่อใช้ในพิธีกรรมและแปรรูป ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี มีส่วนน้อยที่ไม่ไวต่อช่วงแสง

พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกโดยทั่วไป เป็นพันธุ์พื้นเมืองมีหลายพันธุ์ พันธุ์ที่ปลูกในสภาพนา เช่น บือโปะโละ บือพะทอ บือม้ง บือกวา น้ำรู ขามเหนี่ย บือพะโด่ะ เป็นต้น ในสภาพไร่ เช่น เจ้าลีซอ เจ้าฮ่อ น้ำรู ขาวโป่งไคร้ เป็นต้น เกษตรกรมักปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียหายของผลผลิตจากศัตรูพืชต่างๆ เช่น นก หนู โรค และแมลงศัตรูข้าว พันธุ์ข้าวที่สูงจะแตกต่างจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกบริเวณพื้นราบทั่วไป เนื่องจากระดับความสูงของพื้นที่และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน

จากการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สูงในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กรมการข้าว
ได้ข้าวพันธุ์รับรอง และพันธุ์แนะนำสำหรับเกษตรกรใช้ปลูก จำนวน 7 พันธุ์ แบ่งเป็นข้าวไร่ 6 พันธุ์ ได้แก่

- เจ้าขาวเชียงใหม่ เจ้าลีซอสันป่าตอง, อาร์ 258, น้ำรู, เจ้าฮ่อ, ขาวโป่งไคร้.
- ข้าวนาที่สูง 1 พันธุ์ คือ ข้าวหลวงสันป่าตอง
- อยู่ในระหว่างการดำเนินการคัดเลือกพันธุ์โดยมีสายพันธุ์ข้าวดีเด่น จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ บือโปะโละ39, บือพะทอ12, ขามเหนีย 26, และยากู่

--------------------------------------------------------------------------------------------------






ประวัติ
ข้าวไร่พันธุ์เจ้าลีซอสันป่าตอง เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง คัดได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์จากอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2522 โดยเจ้าหน้าที่การเกษตร สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ปี พ.ศ. 2523 นำมาปลูกคัดเลือกรวงต่อแถวที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ปี พ.ศ. 2524– 2529 ปลูกรักษาพันธุ์ ที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า ปี พ.ศ. 2530 – 2533 ปลูกศึกษาพันธุ์และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ปี พ.ศ. 2533 ที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีในปี พ.ศ. 2535 – 2537 ที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า และวิเคราะห์คุณสมบัติของเมล็ดทางกายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในแปลงเกษตรกรในปี พ.ศ. 2537 – 2545 ที่จังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน ได้รับการรับรองให้เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2547

ลักษณะเด่นของพันธุ์
ข้าวเจ้าลีซอสันป่าตอง เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ในที่ราบและที่สูง
ระดับไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ ผลผลิตเฉลี่ย 391 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เจ้าฮ่อ ร้อยละ 13 ต้านทานต่อโรคไหม้ คุณภาพการสีดี ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดดีกว่าข้าวไร่พันธุ์เจ้าฮ่อประมาณร้อยละ 6 แต่ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอ ตั้งตรง ปล้อง กาบใบ ใบ มีสีเขียว ใบมีขน ลักษณะใบธง ตั้งตรง ไม่ล้มง่าย ความสูงประมาณ 145 เซนติเมตร รวงยาวเฉลี่ยประมาณ 24 เซนติเมตร ระแง้ถี่ รวงแน่น การยืดของคอรวงสั้น สีของยอดเมล็ดและเปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนบนเปลือกเมล็ด กลีบรองดอกยาว สีของกลีบรองดอกสีฟาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.03 มิลลิเมตร กว้าง 3.12 มิลลิเมตร หนา 2.41 มิลลิเมตร รูปร่างของเมล็ดข้าวกล้องยาว 7.26 มิลลิเมตร กว้าง 2.87 มิลลิเมตร และหนา 1.94 มิลลิเมตร จำนวนรวงเฉลี่ย 135 รวงต่อตารางเมตร จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 151 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 34.5 กรัม เมล็ดมีระยะพักตัวประมาณ 4 สัปดาห์ ออกดอกประมาณวันที่ 16 กันยายน ปริมาณอมิโลส 16.07 % อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ

-------------------------------------------------------------------------------------





ประวัติ
อาร์ 258 เป็นข้าวไร่ข้าวเหนียว ได้คัดเลือกจากพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมือง ชื่อ ดอสามเดือน และให้เลขประจำพันธุ์เป็น อาร์ 258 โดยศูนย์วิชาการ โครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรภาคเหนือ สถานีพัฒนาที่ดินห้างฉัตร จ.ลำปาง คณะทำงานโครงการข้าวไร่ที่สูงสถาบันวิจัยข้าวได้นำมาปลูกและศึกษาในการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ในปี พ.ศ. 2525-2529 และมีการทดสอบพันธุ์ข้าวไร่ท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร

ลักษณะเด่นของพันธุ์
ข้าวไร่ อาร์ 258 เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุสั้น ทนแล้งดีกว่าพันธุ์ซิวแม่จัน ให้ ผลผลิต 252 กิโกรัมต่อไร่ เป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกร ปลูกได้ในพื้นที่สูงไม่เกิน 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่มีข้อเสีย เมล็ดร่วงง่าย นกมักทำลายเพราะมีอายุสั้น ข้าวไร่ อาร์ 258 อายุประมาณ 106-134 วัน มีความต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้ แต่ไม่มีความต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม โรคจู๋ โรคเขียวเตี้ย โรคหูดและไม่ต้านทานต่อแมลงบั่วและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลักษณะของพันธุ์
พันธุ์ อาร์ 258 มีทรงกอค่อนข้างแน่น มีการแตกกอปานกลาง ให้จำนวนรวง 125 รวงต่อตารางเมตร ความสูงของต้นประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียวค่อนข้างแข็งไม่ล้มง่าย ข้อและกาบมีสีเขียว ใบและใบธงค่อนข้างกว้างและยาวปานกลาง ใบค่อนข้างตั้งตรง มีขนเล็กน้อย ใบธงตกเมื่อรวงแก่ เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝน สีฟาง รวงลักษณะยาวปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงสั้นโผล่พ้นใบธงพอดี เมล็ดร่วงง่าย เมล็ดมีสีฟาง ขนบนเปลือกเมล็ดมีมาก เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.67 มิลลิเมตร กว้าง 3.91 มิลลิเมตร หนา 2.35 มิลลิเมตร ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.14 มิลลิเมตร กว้าง 3.33 มิลลิเมตร หนา 2.15 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อม มีสีขาว น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 34.2 กรัม แป้งสุกในอุณหภูมิต่ำ ข้าวสุกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย มีความนุ่มน้อยกว่าพันธุ์ข้าวเหนียวสันป่าตอง


--------------------------------------------------------------------------------





ประวัติ
ข้าวไร่น้ำรู เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ได้มาจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ บ้านน้ำรู ดอยสามหมื่น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2518 โดยนายวิฑูรย์ ขันติกุล สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง ได้ทำการปลูกศึกษาพันธุ์ มาจนถึงปี พ.ศ. 2524-2525 ได้นำมาทำการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตในแปลงทดลองของสถานีเกษตรที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ และนำเข้าทดลองเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ระหว่างสถานีในปี พ.ศ. 2526 และได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร ในปี 2530

ลักษณะเด่นของพันธุ์
ข้าวไร่น้ำรู เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน เมื่อปลูกกลางถึงปลาย พฤษภาคม ออกรวง 13-19 กันยายน ในระดับความสูง 1,100-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล ให้ ผลผลิตเฉลี่ย 247 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้ ไม่ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคจู๋ โรคหูด ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เจริญเติบโตได้ดีที่มีอากาศหนาวและบนที่สูง การชูรวงดีและระแง้ถี่ ต้านทานโรคเมล็ดด่างดี ในสภาพธรรมชาติพันธุ์ข้าวนี้ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสูง

ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์น้ำรู มีทรงกอค่อนข้างแน่น แตกกอดี ให้จำนวนรวง 174 รวงต่อตารางเมตร มีความสูงประมาณ 140 เซนติเมตร ลำต้นตรงค่อนข้างแข็ง ไม่ล้มง่าย มีสีเขียว ข้อมีสีเขียว ใบยาว มีแผ่นกว้างปานกลางค่อนข้างตรง มีขนเล็กน้อย กาบใบสีเขียว ใบธงตั้งและตกเมื่อรวงแก่ เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง รวงและคอรวงยาว ระแง้ค่อนข้างถี่ การร่วงเมล็ดปานกลาง ยอดเมล็ดอ่อนสีฟาง เมื่อแก่ไม่มีหางแต่ปลายระแง้บางเมล็ดมีหางสั้น ไม่มีขน เมล็ดข้าวเปลือกยาว 8.95 มิลลิเมตร กว้าง 3.04 มิลลิเมตร หนา 2.08 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องสีขาว ยาว 7.08 มิลลิเมตร กว้าง 2.74 มิลลิเมตร หนา 1.91 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อม น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 30.0 กรัม การยืดตัวเมล็ดข้าวสุก 1.74 เท่า ปริมาณอมิโลส 23.4 % ข้าวสุกไม่หอม นุ่มปานกลาง


--------------------------------------------------------------------------------






ประวัติ
เจ้าฮ่อ เป็นข้าวไร่พื้นเมืองที่ได้มาจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ จังหวัดเชียงราย รวบรวมโดยสถานีทดลองข้าวพาน ในปี พ.ศ. 2522 ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2525 ปลูกศึกษาพันธุ์ทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ระหว่างสถานีภาคเหนือ และในปี พ.ศ. 2526 ทำการทดสอบพันธุ์ข้าวไร่ท้องถิ่น และได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ.2530

ลักษณะเด่นของพันธุ์
ข้าวไร่เจ้าฮ่อ เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน ออกรวงระหว่าง 17-25 กันยายน เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ปลูกได้ในพื้นที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ให้ ผลผลิตเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคหูดปานกลาง ไม่มีความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคจู๋ โรคเขียวเตี้ย ไม่ต้านทานต่อแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอตั้งตรง ลำต้นใหญ่ มีขนาดกอปานกลาง ความสูงของต้น 135 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็งแรง ไม่ล้มง่าย ลำต้นและข้อมีสีเขียว ใบค่อนข้างยาวและกว้าง แผ่นใบมีขน ก้านใบสีเขียว ข้อต่อระหว่างใบและกาบใบสีฟาง ใบธงกว้างและยาว จะตกเมื่อรวงแก่ เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงโผล่พ้นใบพอดี เมล็ดมีการร่วงปานกลาง สียอดเมล็ดขณะอ่อนมีสีฟาง แก่มีสีน้ำตาล เมล็ดอ่อนสีเขียวสีฟางเมื่อแก่ เมล็ดไม่มีหาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.88 มิลลิเมตร กว้าง 3.84 มิลลิเมตร หนา 2.18 มิลลิเมตร ข้าวกล้องมีสีขาว ยาว 7.37 มิลลิเมตร กว้าง 2.83 มิลลิเมตร หนา 1.95 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อม น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 33.1 กรัมเปอร์เซ็นต์ท้องไข่ต่ำ การยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก 1.64 เท่า ปริมาณอมิโลส 15.8 % ข้าวสุกไม่มีกลิ่นหอม มีความนุ่มน้อยกว่า กข21

-------------------------------------------------------------------------------------





ประวัติ
ข้าวพันธุ์ขาวโป่งไคร้ ได้รวบรวมมาจากบ้านโป่งไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายวิชัย คำชมภู สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี พ.ศ. 2523 ได้นำมาศึกษาที่โครงการไร่นาสาธิตแม่เหียะ ต่อมาได้ทำการทดสอบผลผลิตบนที่สูงระดับต่าง ๆ และนำมาทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ระหว่างสถานี ชุดข้าวเหนียวที่สูง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร

ลักษณะเด่นของพันธุ์
ขาวโป่งไคร้ เป็นข้าวไร่ที่สูง ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ออกรวง 17-22 กันยายน ในระดับความสูง 800-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล ให้ ผลผลิต 248 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคไหม้สูง มีความต้านทานปานกลางต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ต้านทานต่อโรคใบสีส้ม โรคจู๋ เขียวเตี้ย โรคหูด และไม่ต้านทานแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวพันธุ์นี้ ทรงกอค่อนข้างแน่น แตกกอพอใช้ ให้จำนวนรวง 143 รวงต่อตารางเมตร ลำต้นตรง ค่อนข้างแข็ง ไม่ล้มง่าย ลำต้นและข้อมีสีเขียว ใบกาบใบสีเขียว ใบยาวเรียว มีขนเล็กน้อย ใบธงค่อนข้างกว้างจะตั้งในระยะแรกและตกในระยะหลัง เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง รวงยาว เมล็ดร่วงปานกลาง ยอดเมล็ดอ่อนสีฟาง เมล็ดแก่สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดมีเปลือกเขียวตองอ่อนแต่แก่มีสีฟาง ไม่มีหาง ไม่มีขน นวดง่ายเมล็ด ข้าวเปลือกยาว 11.07 มิลลิเมตร กว้าง 3.87 มิลลิเมตร หนา 2.49 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องสีขาว ยาว 8.34 มิลลิเมตร กว้าง 3.05 มิลลิเมตร หนา 2.11 มิลลิเมตร รูปร่างป้อมใหญ่ น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 46.2 กรัม ข้าวสุกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย นุ่มน้อยกว่าข้าวซิวแม่จัน

--------------------------------------------------------------------------------






ประวัติ
ข้าวหลวงสันป่าตอง เป็นข้าวนาสวนที่สูงพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ได้มาจากการเก็บรวบรวมพันธุ์จากบ้านปางม่วง หมู่ที่ 10 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง 925 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยนายวิชัย คำชมภู เจ้าพนักงานการเกษตร สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้นำมาคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่ออำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปี 2541 และในปี 2547 ได้รับการรับรองให้เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นบนพื้นที่สูง สามารถปลูกได้ดีในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ ผลผลิตค่อนข้างสูงเฉลี่ย 582 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขามเหนี่ยประมาณร้อยละ 52 คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกเหนียวนุ่ม รสชาติดี ข้อควรระวังไม่ต้านทานต่อแมลงบั่ว

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง ค่อนข้างแข็ง ไม่ล้มง่าย สีของปล้อง ใบ และกาบใบสีเขียว ใบมีขน คอรวงยาว ลักษณะรวงยาว เมล็ดในรวงแน่น ระแง้ถี่ วันออกดอก 15-17 ตุลาคม กลีบรองดอกสั้น เปลือกเมล็ดมีสีฟางกระน้ำตาล มีขนบนเปลือกเมล็ด จำนวนรวงต่อตารางเมตรเฉลี่ย 190 รวงเมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.98 มิลลิเมตร กว้าง 3.30 มิลลิเมตร หนา 3.00 มิลลิเมตรเมล็ดข้าวกล้องสีน้ำตาลอ่อน ยาว 7.11 มิลลิเมตร กว้าง 2.93 มิลลิเมตร หนา 2.07 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อมใหญ่น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 34.1 กรัม ข้าวสุกเหนียวนุ่ม ปริมาณอมิโลส 14.26 % อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ

-----------------------------------------------------------------------------------------





ประวัติ
บือโปะโละ 39 (SPTC97003) เป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมืองชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บรวบรวมพันธุ์มาจากบ้านขุนแตะ ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่ออำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ระหว่างปี 2540-2543 ทดสอบปฎิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของเมล็ดที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถานีทดลองข้าวพาน สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง เมื่อปี พ.ศ. 2542

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 26-28 ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 155-157 เซนติเมตร ทนต่ออากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ ผลผลิตเฉลี่ย 400–495 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคไหม้และโรคเมล็ดด่าง แต่อ่อนแอต่อแมลงบั่ว ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบสีส้มและโรคใบสีแสด

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอแบะ สีของปล้อง กาบใบและใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งตรง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขนบนเมล็ด ความยาวของกลีบรองดอกสั้น เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.89 มิลลิเมตร กว้าง 2.92 มิลลิเมตรและหนา 2.98 มิลลิเมตร จำนวนรวงต่อตารางเมตรเฉลี่ย 164 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 135 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 20.59 กรัม เมล็ดข้าวกล้องมีรูปร่างค่อนข้างป้อม สีของข้าวกล้องค่อนข้างทึบ เมล็ดข้าวกล้อง เฉลี่ยยาว 6.55 มิลลิเมตร กว้าง 2.55 มิลลิเมตร หนา 1.94 มิลลิเมตร ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ปริมาณอมิโลส 10.80 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ

--------------------------------------------------------------------------------





ประวัติ
ข้าวบือพะทอ 12 (SPTC97002) เป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บรวบรวมพันธุ์จากบ้านขุนแตะ ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่ออำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ระหว่างปี 2540-2543 ทดสอบปฎิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของเมล็ดที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถานีทดลองข้าวพาน สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกเป็นพันธุ์ดักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 24-27 ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 154-156 เซนติเมตร ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคเมล็ดด่าง ทนต่ออากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ ผลผลิตเฉลี่ย 440-500 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวสุกอ่อนนุ่ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบสีส้มและโรคใบสีแสด

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอแบะ สีของปล้อง กาบใบและใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งปานกลางทำมุม 45? คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความยาวของกลีบรองดอกสั้น จำนวนรวงต่อตารางเมตร 208 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 143 เมล็ด เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1000 เมล็ด 20.91 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.88 มิลลิเมตร หนา 2.86 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว สีของข้าวกล้องค่อนข้างทึบ ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.25 มิลลิเมตร กว้าง 2.52 มิลลิเมตร หนา 1.83 มิลลิเมตร เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ปริมาณอมิโลส 10.20 เปอร์เซ็นต์

--------------------------------------------------------------------------------





ประวัติ
ขามเหนี่ย 26 (SPTC97001) เป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้า ประเภทไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน เก็บรวบรวมพันธุ์จากบ้านป่าคาสันติสุข หมู่ที่ 1 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2540 หลังจากนั้นนำมาปลูกคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตองและโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2543 ทดสอบปฏิกริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของเมล็ดที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถานีทดลองข้าวพาน สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และสถานีทดลองข้าวและธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกเป็นพันธุ์ดักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน สามารถปลูกฤดูนาปรังได้ อายุเบา เก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 18-22 ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 130-150 เซนติเมตร ต้านทานโรคไหม้ โรคเมล็ดด่าง ต้านทานต่อแมลงบั่ว แต่ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีขาวและโรคใบสีส้ม ทนต่อสภาพอากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ ผลผลิตเฉลี่ย 400-600 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอแบะ ปล้อง กาบใบและใบมีสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งตรง รวงสั้น คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง กลีบรองดอกสั้น จำนวนรวงต่อตารางเมตรเฉลี่ย 118 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 151 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1000 เมล็ด 20.73 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีขนบนเปลือกเมล็ด เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.20 มิลลิเมตร กว้าง 2.98 มิลลิเมตร หนา 2.33 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างค่อนข้างป้อม มีสีขาวขุ่น เมล็ดข้าวกล้องยาว 6.18 มิลลิเมตร กว้าง 2.66 มิลลิเมตร หนา 1.96 มิลลิเมตร เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ปริมาณอมิโลส 10.50 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม

--------------------------------------------------------------------------------




ประวัติ
ยากู่ (SPTLR82078-PTG-B3-24-1-1) เป็นข้าวนาที่สูง ชนิดข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ที่ได้จากการผสมพันธุ์ข้าวระหว่าง ข้าว กข 25 กับ B2983B-SR-77-1-3-1 (ข้าวอินโดนีเซีย) ในปี พ.ศ. 2525 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง แล้วส่งเมล็ดข้าวลูกผสมชั่วที่สองขึ้นไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์พัฒนาที่สูงปางตอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และนำมาปลูกศึกษาและทดลองในแปลงทดสอบพันธุ์ข้าวนาสวนในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวนาที่สูงประเภทข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกฤดูนาปรังได้ ในฤดูนาปีอายุ 125 วัน ส่วนในฤดูนาปรังอายุประมาณ 160 วัน ต้นสูงประมาณ 115 เซนติเมตร ลำต้นแข็งปานกลาง ทนสภาพอากาศเย็น ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและโรคเมล็ดด่าง

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอค่อนข้างแน่น ลำต้นตรง แข็งปานกลาง ปล้อง ข้อ กาบใบและใบมีสีเขียว ข้อต่อระหว่างใบและกาบใบมีสีเขียวอ่อน ใบค่อนข้างเรียวยาวตั้งตรงมีขน เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง เกสรตัวเมียสีขาว ใบธงตั้งตรง คอรวงโผล่พ้นใบธงปานกลาง รวงยาวปานกลาง ระแง้ถี่ สีของเมล็ดอ่อนสีเขียวแต่แก่มีสีฟาง สีของยอดเมล็ดสีฟาง เมล็ดส่วนมากไม่มีหาง บางส่วนมีหางสั้น เมล็ดมีขนน้อยและสั้น น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1000 เมล็ด 20.65 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.70 มิลลิเมตร กว้าง 2.63 มิลลิเมตร หนา 2.00 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียวยาว เมล็ดข้าวกล้องยาว 7.06 มิลลิเมตร กว้าง 2.28 มิลลิเมตร หนา 1.84 มิลลิเมตร ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่มและเลื่อมมัน เมื่อเย็นตัวค่อนข้างร่วน


--------------------------------------------------------------------------------



รายชื่อพันธุ์ข้าวบางพันธุ์ที่ปลูกในความสูงระดับต่างๆในภาคเหนือตอนบน

1. ความสูงไม่เกิน 700 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
1.1 ข้าวเจ้า : หอมไร่-5, มะแป๋, นิกอ
1.2 ข้าวเหนียว : อาร์258, ซิวแม่จัน, ซิวแดง, ข้าวลืมหมา(SPTC80135), ข้าวห้าว(SPTC80042), มะกอกปี, ดอทัย-3, SMGC89001-6 , สันป่าตอง 1, เหมยนอง 62 เอ็ม

2. ความสูง 700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
2.1 ข้าวเจ้า : ข้าวหลวงสันป่าตอง, ขามเหนี่ย, เจ้าฮ่อ, เจ้าลีซอสันป่าตอง, บือโปะโละ, บือพะโด่ะ, บือม้ง, บือทอแม
2.2 ข้าวเหนียว : ขาวโป่งไคร้, แพร่ 1

3. ความสูง 1,000-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
3.1 ข้าวเจ้า : เจ้าขาวสันป่าตอง, ข้าวเขียว (SPTC80102), เบล้ไช่, โมโตซ่า, จะพูม่า, บือพะทอ, บือโปะโละขุนแตะ
3.2 ข้าวเหนียว : ขาวโป่งไคร้

4. ความสูง 1,250-1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
4.1 ข้าวเจ้า : น้ำรู, ลาซอ (SPTC80203), เวตาโม, ขี้ช้าง, ขะสอ
4.2 ข้าวเหนียว :

5. ความสูง 1,400-1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
5.1 ข้าวเจ้า : ดามูดะ
5.2 ข้าวเหนียว :

---------------------------------------------------------------------------------------



http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=6.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/03/2013 11:08 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 7:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

111. ข้าวหอม ดำ/แดง สุโขทัย...

คลิก...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1983


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 10:57 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 10:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


112. ชาวนา ‘เหนือ-อีสาน’ รวยเงียบ ปลูกข้าวพรีเมี่ยม ตันละ 7 หมื่น / ส่งญี่ปุ่น-อเมริกา



เชียงราย - ชาวนาเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก ชัยนาท สกลนคร หนองคาย ปลูกข้าวญี่ปุ่น ขายตันละ 5-7 หมื่นบาท โบรกเกอร์ ไทย-ฮ่องกงกว้านซื้อเรียบ ปล่อยต่อตลาดคนรวย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป และประเทศในตะวันออกกลาง ขณะ ที่ข้าวสังข์หยดพัทลุง ขายในห้าง กิโลกรัมละ 80 บาท หรือตันละ 8 หมื่นบาท ‘เจ้าสัวซี.พี.’ แนะลดพื้นที่เพาะปลูกจาก 63 ล้านไร่เหลือ 25 ล้านไร่ เน้นขายตลาดบน ส่วนตลาดล่างรับจากพม่ามาปล่อยแทน

แหล่งข่าวระดับสูงในวงการข้าว เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์ดีอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งนอกเหนือจากสายพันธุ์ที่ปลูกและคิดค้นโดยคนไทยแล้ว ยังมีข้าวสายพันธ์จากต่างประเทศเช่นข้าวญี่ปุ่นปลูกขายอีกด้วย โดยเฉพาะข้าวญี่ปุ่นนั้นทำรายได้ให้กับเกษตรกรในจังหวัดเชียงรายอย่างมาก เพราะมีราคาขายค่อนข้างสูง คือข้าวสารราคาตันละ 5 หมื่นบาท (เปรียบเทียบข้าวสารไทยราคาตันละ 2-3 หมื่นบาท) โดยมีการประกันราคารับซื้อจากโบรกเกอร์ในจังหวัดเชียงรายหลายราย ซึ่งโบรกเกอร์เหล่านี้จะส่งไปขายต่อญี่ปุ่นอีกทอดหนึ่ง เท่าที่ทราบญี่ปุ่นรับซื้อในราคาตันละ 7 หมื่นบาท ปัจจุบันปลูกกันมากในหลายอำเภอ เช่น อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอพาน เป็นต้น

“สยามธุรกิจ” ได้ตรวจสอบข้อมูลพบว่า ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย เป็นศูนย์วิจัยข้าวแห่งแรกที่นำ “ข้าวญี่ปุ่น” เข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2507 โดยได้ดำเนินการที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จากนั้นนำไปปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก ชัยนาท สกลนคร และจังหวัดหนองคาย ใช้ชื่อพันธุ์ว่า ‘ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 และข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2’ มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าข้าวญี่ปุ่นพันธุ์อื่นๆ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า นอกจากข้าวญี่ปุ่นแล้ว ข้าวที่มีคุณลักษณะพิเศษ อาทิ ข้าวกล้อง ข้างสังข์หยดจังหวัดพัทลุง ยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก จำหน่ายในราคาตันละ 4-5 หมื่นบาท แปรรูปเป็นข้าวสารขายกิโลกรัมละ 80 บาทหรือตันละ 8 หมื่นบาท โดยมีโบรกเกอร์ชาวฮ่องกงบินมากว้านซื้อเพื่อไปปล่อยต่อในตลาดโลก เท่าที่ทราบโบรกเกอร์ชาวฮ่องกงจะได้ออเดอร์จากต่างประเทศก่อน แล้วจึงมาหาซื้อสินค้าในเมืองไทย

สอดคล้องกับข้อมูลที่ “สยามธุรกิจ” ได้รายงานไปก่อนหน้านี้ว่ามีกลุ่มพ่อค้าคนกลางหรือเทรดเดอร์ จากฮ่องกงบินมาเจรจาขอซื้อข้าวสารไทยไปขายต่อในตลาดโลก โดย นายพอลล์ อลัน คาร์โดนา ผู้แทนบริษัท ไคลอง บิสซิเนส ดีเวลลอปเม้นท์ เซอร์วิส จำกัด ที่เป็นทั้งเทรดดิ้งและเป็นตัวแทนจัดหาจัดซื้อสินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคในหลายตลาด เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และประเทศในตะวันออกกลาง นอกจากบริษัท ไคลอง บิสซิเนส ดีเวลลอปเม้นท์ เซอร์วิส แล้วยังมีบริษัทฮ่องกงอีกอย่างน้อย 3-5 บริษัทสั่งซื้อข้าวไทยไปปล่อยต่อ
สำหรับข้าวสังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดพัทลุงที่มีการปลูกและเป็นที่นิยมในท้องถิ่นมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว โดยเป็นข้าวนาสวนที่มีคุณภาพ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี และที่สำคัญเมื่อหุงสุกแล้ว ข้าวสังข์หยดจะมีความอ่อนนุ่ม ค่อนข้างเหนียว ทำให้ย่อยง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่ใช้แรงงานหนัก ปัจจุบันกระแสความนิยมของผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพ ปลอดภัยจากสารพิษ ข้าวสังข์หยดเป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในภาคอีสานด้วย

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า สิวสเซอร์แลนด์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ต้องการข้าวคุณภาพสูง เนื่องจากมีการวิจัยในยุโรปว่าข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่มีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ และเนื่องจากสวิสเป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป ปัจจัยสำคัญของข้าวที่จะได้รับความนิยมและสามารถจำหน่ายในสวิสได้ต้องเป็นข้าวคุณภาพสูงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่เกี่ยงเรื่องราคา เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ฯลฯ

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ จุดเปลี่ยนการค้าโลก ไทยจะเดินอย่างไร ในงานวันสถาปนากระทรวงพาณิชย์ ครบรอบ 92 ปีว่า ควรลดพื้นที่ปลูกข้าวลงให้เหลือเพียง 25 ล้านไร่ในเขตชลประทาน จากปัจจุบัน 63 ล้านไร่ โดยพัฒนาการผลิตให้สมบูรณ์แบบ ดีกว่าปลูกมากแต่ไม่ได้คุณภาพ เพื่อเพิ่มระดับราคาให้สูงขึ้น และรักษาระดับตลาดบนไว้ ในขณะที่ตลาดระดับล่าง ควรให้ภาคเอกชนซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะพม่ามาส่งออกแทน



http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413367003
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 11:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

113. พันธุ์ข้าวญี่ปุ่น


ข้าวญี่ปุ่น (Khao’Yipun) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น โดยทั่วไปให้ผลผลิตสูง ลักษณะเป็นข้าวต้นเตี้ย แตกกอดี มีการเจริญเติบโตตอบสนองต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำสูง เมื่อปลูกในสภาพภูมิอากาศร้อน อายุการเก็บเกี่ยวจะสั้นลง และมีโอกาสมากที่จะให้ผลผลิตต่ำ จึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงที่มีอุณหภูมิอากาศเกิน 35 องศาเซลเซียส ประเทศไทยส่งเสริมการผลิตข้าวญี่ปุ่นเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะในแหล่งที่มีระบบน้ำชลประทานสมบูรณ์ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก เนื่องจากพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงส่งเสริมปลูกได้ทั้งฤดูนาปี และนาปรัง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ชื่อพันธุ์
- ข้าวญี่ปุ่น กวก.2 (Khao ’Yipun DOA2)

ชนิด
- ข้าวญี่ปุ่น

ประวัติพันธุ์
- สถาบันวิจัยข้าว เริ่มดำเนินงานเพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ตลอดจนความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507
- พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวพานได้รวบรวมพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจากแหล่งต่างๆ และส่วนหนึ่งรับเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติมจากอดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้าว (นายประพาส วีระแพทย์) เพื่อนำไปปลูกขยายเมล็ดพันธุ์
- พ.ศ. 2531 – 2532 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้นที่สถานีทดลองข้าวพาน จำนวน 96 พันธุ์ โดยพิจารณาคัดเลือกไว้ดำเนินการศึกษาพันธุ์ต่อจำนวน 44 พันธุ์
- พ.ศ. 2532 – 2533 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูงที่สถานีทดลองข้าวพานและสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง
- พ.ศ. 2533 – 2534 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ระหว่างสถานี
- พ.ศ. 2534 – 2538 ปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรในหลายจังหวัด พร้อมทั้งบันทึกผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูปลูก ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ และทางเคมี ตลอดจนทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลง พบว่าพันธุ์อกิตะโกมาชิ (Akitakomachi) มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์โคชิฮิการิ (Koshihikari) ซึ่งเป็นข้าวชั้น 1 ของญี่ปุ่น มีความเหมาะสมและปลูกได้ผลดีในเขตภาคเหนือตอนบน

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2538







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง สูงประมาณ 80 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 117 วัน
- ต้นแข็ง ทรงกอตั้งตรง ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่คอรวงสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้น ยอดเมล็ดสีฟาง มีหางบางเมล็ด
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 5.13 มิลลิเมตร ที่ท้องไข่น้อย
- ปริมาณอมิโลส 15.6%
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 3.3 x 2.2 มิลลิเมตร

ผลผลิต
- ประมาณ 707 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
- สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน
- คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 52%
- คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐาน สำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น
- ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

ข้อควรระวัง
- ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูงจะไม่ต้านทานโรคไหม้
- มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวแบบธรรมดาจะนวดยาก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรตากข้าวในนา 3 – 4 วัน แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที
- เมล็ดข้าวเปลือกเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8 – 10% และเก็บในปีบ หรือภาชนะที่สามารถปิดผนึกได้
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้มและโรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดหลังขาว

พื้นที่แนะนำ
- แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------






ชื่อพันธุ์
- ข้าวญี่ปุ่น กวก.1 (Khao’ Yipun DOA1)

ชนิด
- ข้าวญี่ปุ่น

ประวัติพันธุ์
- สถาบันวิจัยข้าว เริ่มดำเนินการเพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ตลอดจนความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507
- พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวพานได้รวบรวมพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจากแหล่งต่างๆ และส่วนหนึ่งรับเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติมจากอดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้าว (นาย ประพาส วีระแพทย์) เพื่อนำไปปลูกขยายเมล็ดพันธุ์
- พ.ศ. 2531 – 2532 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้นที่สถานีทดลองข้าวพาน จำนวน 96 พันธุ์ โดยพิจารณาคัดเลือกไว้ดำเนินการศึกษาพันธุ์ต่อจำนวน 44 พันธุ์
- พ.ศ. 2532 – 2533 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูงที่สถานีทดลองข้าวพานและสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง
- พ.ศ. 2533 – 2534 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ระหว่างสถานี
- พ.ศ. 2534 – 2538 ปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรในหลายจังหวัดพร้อมทั้งบันทึกผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูปลูก ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ และทางเคมี ตลอดจนทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลง พบว่าพันธุ์ซาซานิชิกิ (Sasanishiki) มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์โคชิฮิการิ (Koshihikari) ซึ่งเป็นข้าวชั้น 1 ของญี่ปุ่น มีความเหมาะสมและปลูกได้ดีในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2538






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้านาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง สูงประมาณ 88 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน
- ต้นค่อนข้างแข็ง ทรงกอตั้งตรง ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้น ยอดเมล็ดสีฟางและมีหางเล็กน้อย
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 5.18 มิลลิเมตร มีท้องไข่ระดับปานกลาง
- ปริมาณอมิโลส 16.4%
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 3.5 x 2.2 มิลลิเมตร

ผลผลิต
- ประมาณ 718 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
- สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
- ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าข้าวญี่ปุ่นพันธุ์อื่นๆ
- คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดีตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น
- คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 48%
- ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

ข้อควรระวัง
- ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูงจะไม่ต้านทานโรคไหม้
- มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวทำได้ยาก หลังจากเก็บเกี่ยวควรตากข้าวในนา 3 – 4 วัน แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที
- เมล็ดข้าวเปลือกเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8 – 10% และเก็บในภาชนะปิดผนึก
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

พื้นที่แนะนำ
- แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=category&id=40&Itemid=63
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 11:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

114. เป็นเศรษฐี ด้วยข้าวอินทรีย์ !





และก็อดไม่ได้ที่จะวนกลับไปที่ “ข้าว” สินค้าพื้นฐานที่เป็น “พระเอก” ในการค้าขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็น “ของดี” อันสยามประเทศใช้เป็นสินค้าส่งออก ค้าขาย แลกเปลี่ยนกับนานาชาติมาเนิ่นนาน สืบประวัติศาสตร์ย้อนหลังกลับไปได้หลายร้อยปี

ด้วยความที่ ไทยหรือสยามประเทศแห่งนี้ มีที่ราบศักยภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นทุ่งเจ้าพระยา ไปจนถึงพื้นที่ซึ่งฟ้าฝนไม่ค่อยเป็นใจอย่างทุ่งกุลาร้องไห้ ก็สามารถใช้เป็นแหล่งผลิต “ข้าว” ได้มากจนเหลือกินเหลือใช้ เหลือมากพอจะส่งไปขายประเทศอื่นๆ ในทวีปต่างๆ สร้างรายได้ปีละมากๆ เสียด้วยซ้ำ




แม้จะไม่ใช่ผู้ส่งออกหรือขายข้าวได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ประเทศไทยก็ถือเป็นแถวหน้าในเวทีการค้าข้าวระหว่างประเทศมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม หากจะพิจารณาองค์ประกอบในหลายๆ เรื่อง ก็พอจะสรุปสั้นๆ ได้ว่า ถึงที่สุดแล้ว เราก็คงหยุดอยู่กับที่ด้วยการเป็น ผู้ขายข้าว แบบเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไป

“ข้าวอินทรีย์” หรือการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ได้สินค้า “ข้าวออร์แกนิก” จึงเป็นทางเลือก และทางออกที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

แน่นอนว่า นี่ยังเป็นเรื่องใหม่ และแม้จะมีความพยายามในการส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ มาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้วก็ตาม แต่สัดส่วนก็ยังคงน้อยนิดเมื่อเทียบกับผลผลิตรวมทั้งประเทศ เช่นเดียวกับสัดส่วนในการส่งออก ข้าวอินทรีย์ ก็ยังไม่ติดฝุ่น เมื่อเทียบกับตัวเลข ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ ธรรมดา ที่สร้างรายได้เป็นล่ำเป็นสันอยู่ในทุกวันนี้




แน่นอนว่า การปลูก ข้าวอินทรีย์ ไม่ใช่เรื่องง่าย การเปลี่ยนวิถีจากการปลูกข้าวแบบเดิมยิ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในอีกด้านหนึ่งนี่คือความท้าทายสำหรับเกษตรกร พร้อมๆ กับที่กระแสความตื่นตัว ความต้องการ “ข้าวออร์แกนิก” ก็กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ

อาจไม่รวดเร็วทันใจแต่ถึงจุดหนึ่งก็จะค่อยๆ พัฒนา ขยายตัว ซึ่งคนที่ตัดสินใจก้าวเดินมาก่อน ย่อมได้เปรียบ

เช่นเดียวกับที่ในอดีต เราแทบไม่อยากเชื่อว่า จะมีคนเลือกบริโภค “ผักปลอดสารพิษ” กันเยอะแยะขนาดนี้ ย้อนกลับไปไม่กี่ปี “สลัด” แทบจะเป็นเมนูที่อยู่กับอาหารตะวันตกเท่านั้น แต่วันนี้ “สลัด” กลายเป็นประเภทอาหารที่หารับประทานได้ตั้งแต่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตระดับหรู ไปจนถึงแผงลอยข้างถนนสนนราคาไม่ถึง 30 บาท/ชุด




ในอดีต มีแค่กาแฟโบราณชงนมก็เปิดสภากาแฟกันได้ทุกหย่อมหญ้า ต่อมา กาแฟผงสำเร็จรูปก็เข้ามาทดแทนในชีวิตประจำวัน จวบจนนาทีนี้ ใครจะนึกว่า ปลูกกาแฟเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย เพราะธุรกิจกาแฟสดยังคงเบ่งบานทั่วฟ้าเมืองไทยได้ขนาดนี้

เห็นไหมครับ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่กระแสความต้องการของผู้บริโภคมาถึง ทุกสิ่งก็ค่อยๆ เปลี่ยนได้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตสินค้า การค้าขาย และรูปแบบบริการ

ข้าวอินทรีย์ก็เช่นเดียวกัน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นข้าวสวย ข้าวปรุงสุก อาหารแปรรูปจากข้าวอินทรีย์ ฯลฯ

วันนี้อาจจะเพิ่งเริ่มต้น ค่อยๆ ขยายตัว แต่อีกไม่นาน เทรนด์นี้มาแน่ๆ ครับ



http://www.thaismefranchise.com/?p=21109
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 12:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

115. เยือนนาข้าวญี่ปุ่น ทึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่

ปัทมา ทองสิน รายงาน


โครงการจำนำข้าวของรัฐบาล ยังเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายจับตาว่าสุดท้ายแล้วชาวนาได้ประโยชน์จริงหรือไม่

ด้วยแนวนโยบายที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนาไทยเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม

เพราะประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็น "อู่ข้าวอู่น้ำของโลก" ด้วยภูมิประเทศเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร

และข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย โดยมีพื้นที่ปลูกคิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของประเทศ

แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน "ชาวนาไทย" ยังต้องต่อสู้กับความยากลำบาก ถูกเอารัดเอาเปรียบ เหมือนสมัยหนึ่งที่ชาวนาญี่ปุ่นเคยประสบ แต่กับญี่ปุ่นสถานการณ์ค่อยๆ เปลี่ยนไปนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเกิดการรวมตัวของชาวนาและรัฐบาลเข้าอุ้มผลผลิตอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 4-8 ต.ค. การร่วมทริปไปญี่ปุ่นของบริษัทสยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตรรายใหญ่ในไทย จึงเป็นโอกาสสัมผัสกับชีวิตของชาวนาญี่ปุ่นในปัจจุบัน

เนื่องจากครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักและเพื่อการค้ามีจำนวนลดลง โดยชุมชนและครัวเรือนที่มีอาชีพทำนาข้าวมีอัตราขาดแคลนมากที่สุด ขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ในสัดส่วน 90% ประกอบอาชีพอื่นด้วย ซึ่งจุดนี้แตกต่างจากประเทศไทยมาก ที่อาชีพเกษตรกรมีแนวโน้มสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการให้ข้อมูลของ เคนจิ นิิอิโนะ ไที่ปรึกษาด้านเทคนิคของคูโบต้า ประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่เคยเป็นที่ปรึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในสมัย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ เมื่อปีพ.ศ.2548-2550




สําหรับข้อมูลด้านเกษตรกรล่าสุดของญี่ปุ่น จากการสำรวจจำนวนประชากรที่ทำเกษตรกรรมและป่าไม้ โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (MAFF) พบว่า มีอายุเพิ่มขึ้นและมีจำนวนลดลง

ประชากรญี่ปุ่นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักมีจำนวนทั้งหมด 2.61 ล้านคนในปี 2553 ลดลง 33% จาก 10 ปีก่อน และลดลง 22% จาก 5 ปีก่อน

อายุโดยเฉลี่ยของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจาก 61.1 ปี เป็น 63.2 ปี และ 65.8 ปี

ดังนั้นทางรัฐบาลญี่ปุ่นจึงพยายามกระตุ้นและพัฒนาความสามารถของคนรุ่นใหม่ในธุรกิจการเกษตร โดยใช้โรดแม็ปที่คิดค้นโดยฝรั่งเศส เป็นเกณฑ์วัดการพัฒนาความสามารถในการผลิตและความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตรมาใช้

ฝรั่งเศสคิดค้นระบบการให้เงินชดเชยตลอดชีพแก่เกษตรกรที่เลิกประกอบอาชีพและยกทรัพย์สินในการทำงานเกษตรกรรมให้แก่ลูกหลาน รวมถึงระบบการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรและการให้กู้เงิน โดยคิดดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรหนุ่มสาว

เป็นวิธีช่วยเหลือด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 40 ปี ในด้านการฝึกอบรม จัดเตรียมวางแผนการพัฒนาการว่าจ้างในธุรกิจการเกษตรและการเข้าสู่ธุรกิจนี้ภายใน 1 ปี หลังจากได้รับเงินช่วยเหลือ

ในปี 2552 เงินช่วยเหลือทางด้านการเกษตรอยู่ที่ 10,700 ล้านเยน หรือราว 4,150 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 1.8 ล้านเยน หรือ 7 แสนบาทต่อเกษตรกร 1 ราย เป็นจำนวนทั้งหมด 6,000 ราย

ระบบเหล่านี้ทำให้สัดส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นอาชีพหลักที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นประมาณ 30%

ด้วยความสำเร็จของชาวนาญี่ปุ่น ทางสยามคูโบต้าจึงนำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้กับชาวนาไทย ตามวิสัยทัศน์ของบริษัทแม่ของ คูโบต้า ในประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องการมุ่งยกระดับคุณภาพพัฒนาการเกษตร และเกษตรกร

กับโครงการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองหลังการเก็บเกี่ยวข้าวในภาคอีสาน โดย "ถั่วเหลือง" เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ไทยต้องนำเข้าทั้งในรูปเมล็ด และกากถั่วเหลืองเป็นมูลค่ารวมกว่า 55,000 ล้านบาท ต่อปี เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส และน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนกากถั่วเหลืองนำมาใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์

ในขณะที่ผืนนาของภาคอีสานของประเทศไทยมากกว่า 30 ล้านไร่ ถูกปล่อยทิ้งว่างเปล่าหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว สยามคูโบต้าจึงริเริ่ม "โครงการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองหลังการเก็บเกี่ยวข้าว" เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้พื้นที่นาว่างเปล่าหลังการเก็บเกี่ยวข้าวให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่ทำนาเพียงครั้งเดียว

โครงการดังกล่าวยังช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างน้อย 3,500 บาทต่อไร่ และช่วยบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำไม่มาก เมื่อเทียบกับการทำนาปรัง

สยามคูโบต้าเริ่มต้นโครงการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลือง ตั้งแต่ปีการปลูก 2553/2554 เป็นต้นมา โดยการส่งเสริมในรูปของกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ ซึ่งในปีการปลูก 2555/2556 มีการส่งเสริมในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น และอุดรธานี

พื้นที่ในการส่งเสริมประมาณ 7,500 ไร่ มีแนวทางการดำเนินโครงการ ตั้งแต่คัดเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม โดยพื้นที่ต้องมีน้ำเพียงพอในปริมาณ 500 ลบ.ม.ต่อไร่

พร้อมกันนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ต้องรวมกลุ่มกันอย่างน้อย 500 ไร่ และมีผู้นำกลุ่มที่บริหารจัดการภายในกลุ่มอย่างเป็นระบบ

ขณะเดียวกันการส่งเสริมจากสยามคูโบต้า จะอบรมให้ความรู้ แนะนำการปลูก การดูแลรักษา การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนจัดหาตลาดรับซื้อผลผลิต นับว่าเป็นการดูแลเกษตรกรที่ร่วมโครงการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

ด้วยความมุ่งมั่นว่า จะช่วยยกระดับชาวนาไทยให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น
เพราะวันหนึ่งเราอาจได้เห็นชาวนาระดับเศรษฐีของไทย ผงาดเทียบชั้นชาวนาญี่ปุ่น


คลิกดูภาพประกอบ...
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEl5TVRBMU5RPT0=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

116. เกษตรเร่งวิจัยข้าวหนี “เวียดนาม”


จัดระบบปลูก-ยึดหลัก GAP ยกระดับผลผลิตคุณภาพสูง





นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมการข้าวต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะมีการแข่งขันกันสูงในสินค้ากลุ่มข้าว เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มพัฒนาการผลิตทั้งในแง่ของคุณภาพและปริมาณขึ้นมาทัดเทียมกับประเทศไทย โดยต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อร่วมกันเดินหน้าการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมถึงดำเนินโครงการจัดระบบปลูกข้าวให้เป็นไปตามเป้าหมาย 4.6 ล้านไร่ ระหว่างปี 2554-2557 เพื่อให้เกษตรกรและชาวนาเห็นถึงข้อดีของระบบ zoning ในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุน และป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาดศัตรูพืช

ด้าน นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมการข้าวได้ดำเนินงานสำคัญแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านวิจัยและพัฒนาข้าว ซึ่งมีการออกรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ 4 พันธุ์ คือ ข้าวขาวบ้านนา 432 ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 และข้าวเจ้าพันธุ์ กขผ1 ควบคู่กับการส่งเสริมเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิต

2. ด้านการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ มีการวางระบบเครือข่ายการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์และช่วยเหลือยามเกิดภัยพิบัติ

3. ด้านการส่งเสริมการผลิตข้าว ผ่านการจัดระบบปลูกข้าว โดยส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าว 2 ครั้งต่อปี ปลูกพืชหลังนาและใช้ปุ๋ยพืชสด ระยะเวลาของโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2557 คิดเป็นพื้นที่ 4.6 ล้านไร่ จาก 22 จังหวัดในเขตชลประทาน และ

4. ด้านพัฒนาข้าวไทย ด้วยการเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมที่ดีกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 รวมถึงพันธุ์ข้าวอื่นๆ ให้มีคุณภาพสูง เพื่อให้ก้าวล้ำหน้าคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามที่ตั้งเป้าจะพัฒนาด้านข้าวให้ชนะไทยในปี 2020

นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ด้วยการประสานเพิ่มแหล่งน้ำ ยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยการส่งเสริมให้ใช้เมล็ดพันธุ์รับรองจากกรมการข้าว ส่งเสริมให้เพาะปลูกตามหลัก GAP และข้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดและมีตลาดมูลค่าสูงพร้อมที่จะรองรับสินค้าข้าวส่วนดังกล่าว รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ในการแปรรูปข้าวเพิ่มมูลค่าอีกด้วย


http://www.naewna.com/local/28469


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 5:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 4:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

117. ผลประกวดนาข้าว แชมป์ผลผลิต 1.5 พัน กก./ไร่


นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องการรวบรวมเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เกษตรกรปฏิบัติได้ผลผลิตสูงสุดและเหมาะสม นำมาใช้เป็นต้นแบบในการส่งเสริม เผยแพร่ สู่เกษตรกรต่อไป จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดำเนินการประกวดผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2555/56 โดยมีจังหวัดต่างๆสมัครเข้าร่วมประกวด จำนวน 55 จังหวัด 505 แปลง แบ่งเป็นแปลงประกวดผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงสุด 245 แปลง แปลงประกวดต้นทุนเฉลี่ยต่อกิโลกรัมต่ำสุด 161 แปลงและแปลงประกวด ทั้ง 2 ประเภท 99 แปลง




ชนะเลิศระดับประเทศ ประเภท ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงสุด
นางบุญสม ขาวบริสุทธิ์
ข้าวพันธุ์ พิษณุโลก 2 ผลผลิต 1,520.31 ก.ก./ไร่
ที่อยู่ 182 ม.2 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ (087) 151-0361


ชนะเลิศระดับประเทศ ประเภท ต้นทุนเฉลี่ยต่อกิโลกรัมต่ำสุด
นายกำพล ทองโสภา
ข้าวพันธุ์ กข47 ต้นทุนต่อหนึ่งกิโลกรัม 2.71 บาท
ที่อยู่ บ้านหนองหลอด ม.6 ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ (081) 836-1570


สำหรับผลการประกวดประเภทผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงสุด
- อันดับที่ 1 นางบุญสม ขาวบริสุทธิ์ จังหวัดสุพรรณบุรี ผลผลิตเฉลี่ย 1,520.31 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรสุทธิ 12,801 บาทต่อไร่
- อันดับที่ 2 นายถนอม ยังเจริญ จังหวัดสมุทรปราการ ผลผลิตเฉลี่ย 1,346.87 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรสุทธิ 13,024 บาทต่อไร่
- อันดับที่ 3 นายทวี ประสานพันธ์ จังหวัดอุบลราชธานี ผลผลิตเฉลี่ย 1,323.25 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรสุทธิ 13,431 บาทต่อไร่


ส่วนประเภทต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อกิโลกรัมต่ำสุด
- อันดับที่ 1 คือ นายกำพล ทองโสภา จังหวัดสุพรรณบุรี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2.71 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 1,314.65 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรสุทธิ 13,199 บาทต่อไร่
- อันดับที่ 2 นายธำรง ทัศนา จังหวัดราชบุรี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3.01 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 1,161.87 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรสุทธิ 11,317 บาทต่อไร่
- อันดับที่ 3 นายถนอม ยังเจริญ จังหวัดสมุทรปราการ ต้นทุนเฉลี่ย 3.08 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 1,346387 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรสุทธิ 13,024 บาทต่อไร่

http://www.naewna.com/local/36757
http://www.suphanburi.doae.go.th/

-------------------------------------------------------------------------------------------------------




ชื่อพันธุ์
- กข47 (RD 47)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- สุพรรณบุรี 1 / IR64 นำไปผสมกับ CNT86074-25-9-1

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของสุพรรณบุรี 1 กับ IR64 นำไปผสมกับ CNT86074-25-9-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553





ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 90-100เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 104-107 วัน (หว่านน้ำตม) และ 112 วัน(ปักดำ)
- ลำต้นแข็งมาก ใบสีเขียว มุมใบธงกว้างปานกลาง รวงยาว
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.4 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.9 x 2.1 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 26.81%
- สีขาวนวลไม่เลื่อมมัน ค่อนข้างร่วนและแข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 793 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี
- ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดีกว่า กข41 และค่อนข้างต้านโรคไหม้ดีกว่าพิษณุโลก 2
- คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีถึงดีมาก สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้

ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชีวชนิดที่ 5 และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากจังหวัดนครปฐม
- อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง
- ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง และค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อสาเหตุโรคไหม้ในภาคกลาง
- ไม่ทนอากาศเย็นจึงไม่ควรปลูกในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน

พื้นที่แนะนำ
- เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=125.htm


----------------------------------------------------------------------------------------------------------




ชื่อพันธุ์
- พิษณุโลก 2 (Phitsanulok 2)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- CNTLR81122-PSL-37-2-1 / SPRLR81041-195-2-1 // ไออาร์56

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ CNTLR81122-PSL-37-2-1 และ SPRLR81041-195-2-1 กับ
ไออาร์56 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ปี พ.ศ. 2533-2534 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PSL91014-16-1-5-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2543




ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 114 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 119-121 วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง รวงแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงสั้น ฟางแข็ง ใบแก่ช้า
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.5 x 2.5 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.9 x 2.1 x 1.6 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 28.6 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 807 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว
- คุณภาพการสีดี ท้องไข่น้อย

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว
- เมล็ดค่อนข้างร่วงง่าย

พื้นที่แนะนำ
- ทุกภาคในเขตชลประทาน

http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=82:phitsanulok-2&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/01/2013 10:38 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 5:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

118. จีนยึดเมล็ดพันธุ์ข้าวอาเซียน


วิชัย พูนพิริยะทรัพย์ "ยักษ์ ซีพี" อึดอัด ตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกอาเซียนถูกจีนครองตลาดทั้งในเวียดนาม พม่า เหตุนโยบายรัฐบาลไทยไม่เอื้อ ห้ามส่งออกข้าวเปลือก ทำเสียโอกาสทางการตลาด ชี้สัญญาณอันตรายส่งออกข้าวไทย ทัพเอกชนแดนมังกรรุกเช่าพื้นที่ปลูกข้าวในลาว กัมพูชา พม่า ขณะรัฐบาลพม่าเร่งดันส่งออกอีกเท่าตัว จับตาอนาคตอาเซียนคู่แข่งสำคัญส่งออกข้าวไทย

นายวิชัย พูนพิริยะทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวครบวงจร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากการที่รัฐบาลไทยมีนโยบายห้ามนำเข้า และห้ามส่งออกข้าวเปลือกไปต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบต่อเกษตรกรในประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือก ซึ่งอาเซียนถือเป็นตลาดใหญ่สำหรับธุรกิจนี้ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไม่มีการห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกจากต่างประเทศแต่อย่างไร

จากเหตุผลดังกล่าว ส่งผลให้เวลานี้ภาคเอกชนของจีนนับร้อยบริษัท โดยการสนับสนุนของรัฐบาลจีน ทั้งเงินอุดหนุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวลูกผสม(ข้าวไฮบริด)นับร้อยพันธุ์ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาเป้าหมายหลักเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอในประเทศ และเพื่อส่งออก ล่าสุดบริษัทเอกชนของจีนหลายบริษัทได้เข้าไปตั้งสำนักงานขายรวมถึงตั้งตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง แล้วทั้งในเวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งเท่าที่ได้รับรายงานจากเวียดนาม เมล็ดพันธุ์ข้าวจีนให้ผลผลิตสูงถึง 2,000 กก.หรือ 2 ตันต่อไร่ และสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวพันธุ์ลูกผสมของจีนในเวียดนามได้แล้วเป็นแสนไร่

"รัฐบาลเวียดนามเขามีนโยบายส่งเสริมปลูกข้าวลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตในการส่งออก ส่วนพม่าเขาก็มีนโยบายใช้เทคโนโลยี และข้าวพันธุ์ดีเพื่อเพิ่มคุณภาพข้าวและเพิ่มผลผลิตในประเทศ โดยให้เอาพันธุ์ลูกผสมไปปลูกได้ ซึ่งเขาก็อยากได้พันธุ์ข้าวลูกผสมจากไทย แต่ไทยไม่มีนโยบายส่งออกข้าวเปลือก นอกจากนี้รัฐบาลพม่ายังได้ให้การสนับสนุนบริษัทเอกชนพม่าที่มีฐานะทางการเงินดี และมีธุรกิจที่แข็งแรงในการพัฒนาการปลูกข้าวเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น โดยพม่ามีเป้าหมายเพิ่มการส่งออกข้าวในปีนี้อีกเท่าตัว (ปี 2554 พม่าส่งออกข้าว 7 แสนตัน ปีนี้ตั้งเป้า 1.5 ล้านตัน) และเพิ่มมากขึ้นในอนาคต"นายวิชัยกล่าวและว่า

นอกจากจีนจะส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกลูกผสมไปตีตลาดหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนแล้ว ล่าสุดภาคเอกชนของจีนโดยการสนับสนุนของรัฐบาลจีน ยังได้เข้าไปเช่าพื้นที่ในลาว กัมพูชา และพม่า ทั้งในรูปการลงทุนเอง 100% รวมถึงการร่วมทุนกับคนในพื้นที่เพื่อปลูกข้าว ซึ่งในประเทศเหล่านี้สามารถเช่าพื้นที่ได้ระยะยาว หรือมีหลายเงื่อนไขตามที่ตกลงกัน โดยจีนมีเป้าหมายทั้งทำตลาดข้าวในประเทศข้างต้น ส่งกลับไปจีน หรือส่งออกไปประเทศที่สาม อีกทั้งจีนยังได้ไปลงทุนปลูกข้าวในหลายประเทศของทวีปแอฟริกา เพื่อเป็นทั้งตลาด และแหล่งวัตถุดิบ ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี

จากสัญญาณต่างๆ ข้างต้นทุกประเทศที่กล่าวมาในอนาคตจะเป็นคู่แข่งและแย่งตลาดส่งออกข้าวไทยในตลาดโลกได้มากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการคือ การคิดค้นข้าวพันธุ์ดี และให้ผลผลิตต่อไร่สูง และขายได้ราคาสูงออกมาแข่งขัน ซึ่งในส่วนของเครือ ซีพี ล่าสุดได้มีการพัฒนาข้าวพันธุ์ลูกผสม 111 ออกจำหน่ายในตลาดในฤดูการผลิตข้าวนาปรัง 2555 นี้ มีเป้าหมายผลผลิตเฉลี่ยอย่างต่ำ 1,000 กก.หรือ 1 ตันต่อไร่ ซึ่งข้าวพันธุ์นี้มีอัตรางอกสูง ต้นแข็งแรง ใส่ปุ๋ยไม่มาก ใช้ปริมาณข้าวในการหว่านเพียง 1 ถุง/15 กก.ต่อไร่ จากปกติเกษตรกรจะใช้ข้าวเปลือกในการหว่านประมาณ 25 กก.ต่อไร่ ล่าสุดได้จัดแคมเปญแชมป์ชาวนามืออาชีพวางเป้าหมายแชมป์ต้องปลูกข้าว ให้ได้ 1.5 ตันต่อไร่ ซึ่งจะได้รับประกาศนียบัตร และทองคำ 1 บาท โดยวางเป้าหมายใช้เมล็ดพันธุ์ 111 ให้ได้ 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ

"ธุรกิจอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงไก่ หมู เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด และอาหารแปรรูปของ ซีพีถือเป็นผู้นำในอาเซียน แต่ในธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว เราต้องเร่งพัฒนาสายพันธุ์ในประเทศให้ดี และเน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก เพราะถือมีตลาดที่ใหญ่ แต่หากรัฐบาลเปลี่ยนนโยบายให้ส่งออกได้ เราก็พร้อมที่จะแข่งขัน"



http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=117055:2012-04-12-09-56-53&catid=87:2009-02-08-11-23-26&Itemid=423
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

119. เวียดนามรื้อนาทั้งระบบ ชูข้าวพันธุ์ดี ลดนาข้าวแข็งเหลือ 20%


ชาวนาเดินผ่านท้องทุ่งเขียวขจีกลับเข้าหมู่บ้านชานกรุงฮานอย ในภาพวันที่ 2 พ.ค.2555 ข้าวกำลังออกรวงในผืนนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงภาคเหนือ ส่วนที่ราบใหญ่ภาคใต้เพิ่งจะเก็บเกี่ยวนาฤดูใบไม้ผลิต-ฤดูร้อนแล้วเสร็จ ทุ่งนาในเวียดนามไม่เคยว่าง แต่ทุกอย่างก็กำลังเปลี่ยนแปลง แต่นี้เป็นต้นไปกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้กำหนดพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในฤดูกาลต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ที่เพิ่งกำหนดออกมาใช้ ทั่วประเทศจะลดพื้นที่ปลูกข้าวคุณภาพต่ำลงเหลือไม่ถึง 20% และปลูกข้าวเมล็ดยาวคุณภาพดีแทนที่ และค่อยๆ ขยายเนื้อที่ปลูกข้าวหอมซึ่งขายได้ราคาดีที่สุดในตลาดโลก นับเป็นการรื้อโครงสร้างการทำนาครั้งสำคัญทีเดียว. -- REUTERS/Kham.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม กับสมาคมอาหารเวียดนามได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ข้าวของประเทศครั้งใหญ่แบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ โดยรัฐบาลเสนอสิทธิประโยชน์แก่ชาวนาอย่างเต็มที่ เพื่อให้หันมาปลูกข้าวคุณภาพดีกับข้าวหอม ขณะเดียวกัน ก็ลดการปลูกข้าวคุณภาพต่ำให้เหลือเป็นส่วนน้อย แม้ว่าจะให้ผลผลิตสูงกว่าก็ตาม

ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการมาตรการส่งเสริมต่างๆ เหล่านี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐในหลายประการ รวมทั้งการประกันข้าวในผืนนาให้ 100% อันเป็นส่วนหนึ่งในแผนการสร้าง “แบรนด์” ให้แก่ข้าวเวียดนามในตลาดโลก และเพิ่ม “ห่วงโซ่คุณค่า” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ

หนังสือพิมพ์ไซ่ง่อนหยายฝอง (Sài Gòn Giải Phóng) หรือ “ไซ่ง่อนปลดปล่อย” รายงานเรื่องนี้อ้างการเปิดเผยของนายบุ่ยบ๊าบ๋อง (Bùi Bá Bổng) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งระบุด้วยว่า เพื่อเป้าหมายดังกล่าว มีความจำเป็นที่จะต้องคัดพันธุ์ และเจาะลงพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกเพื่อส่งออก

ปัจจุบัน ในเวียดนามมีพันธุ์ข้าวกว่า 200 ชนิด ที่กระทรวงเกษตรฯ ให้การรับรอง แต่การวิจัยและพัฒนาด้านนี้ยังจะต้องดำเนินต่อไป เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์สุดยอดที่ให้ทั้งคุณภาพ และปริมาณ นายซเวืองวันจี๋น (Dương Văn Chín) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวกื๋อลอง [Cửu Long (Mekong) Rice Research Institute] ที่ร่วมในการยกร่างแผนยุทธศาสตร์ข้าว และการทำนากล่าว

กระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้กำหนดพันธุ์ข้าวที่จะปลูกในฤดูกาลต่างๆ ตามความเหมาะสม เนื่องจากข้าวให้ผลผลิตแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศในฤดูกาลที่ต่างกัน และการผลิตข้าวยังจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกในแต่ละช่วงอีกด้วย

นายเหวียนจี๊หง็อก (Nguyễn Trí Ngọc) อธิบดีกรมกสิกรรม กระทรงเกษตรฯ กล่าวว่า การปลูกข้าวคุณภาพต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ IR50404 ที่ปลูกกันแพร่หลายในขณะนี้ จะต้องลดลงให้เหลือเนื้อที่ต่ำกว่า 20% ของทั้งหมด ถึงแม้จะให้ผลผลิตต่อไร่สูง แต่ก็ขายได้ราคาไม่ดี และรสชาติไม่อร่อย

ปัจจุบัน ข้าวพันธุ์ IR50404 คิดเป็นประมาณ 27.6% ของที่นาในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จ.โด่งท้าป (Đồng Tháp) ปลูกข้าวพันธุ์นี้มากที่สุด 52% ของที่นาทั้งจังหวัด

นางเหวียนถิเลย (Nguyen Thi Loi) ชาวนาที่หมู่บ้านหง็อกจึก (Ngoc Truct) ชานกรุงฮานอย กำลังวิดน้ำเข้านาในภาพวันที่ 18 เม.ย.2555 เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงอู่ข้าวใหญ่ทางภาคเหนือปลูกข้าวเลี้ยงดูประชากรอย่างมั่นคง ขณะที่ผืนในในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงทางภาคใต้ปลูกข้าวใหญ่สำหรับส่งออกเป็นหลัก เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากไทย และปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีมานี้. -- REUTERS/Kham.

ชาวนากำลังปักดำนาในฤดูใบไม้ผลิ ในท้องทุ่งนอกหมู่บ้านจุงนา (Trung Na) ชานกรุงฮานอยภายใต้อากาศหนาวเย็นช่วงหลังเทศกาลตรุษ ในภาพวันที่ 22 ก.พ.2555 เวียดนามปรับโครงสร้างการผลิตข้าวครั้งใหญ่ ในแผนการปลูกข้าวคุณภาพดีเพื่อสร้างแบรนด์ของเวียดนามในตลาดโลก เมื่อไทยจดสิทธิบัตร "หอมมะลิ" อินเดียมี "บาสมาติ" ที่รู้จักกันทั่วโลก เวียดนามก็กำลังจะมีของตัวเองบ้าง. -- REUTERS/Kham.

รถบรรทุกทหารนำยานเกราะแล่นผ่านท้องนานอกหมู่บ้านจุงนา (Trung Na) ชานกรุงฮานอย ในภาพวันที่ 22 ก.พ.2555 ประเทศนี้ทำนาตลอดทั้งปี ครองตำแหน่งผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลกมานาน ทำท่าจะปีนขึ้นสู่อันดับ 1 แทนประเทศไทยในอีกไม่ช้า หลายปีมานี้ข้าวเวียดนามแย่งตลาดข้าวไทยในย่านเอเชียไปหมดสิ้นและเพิ่งจะแย่งตลาดข้าวหอมในฮ่องกงไปหยกๆ การรื้อแผนทำนาของรัฐบาลในขณะนี้ เชื่อว่าจะทำให้ข้าวเวียดนามทะยานขึ้นมาเป็นหนึ่ง ทั้งปริมาณ คุณภาพและราคา. --REUTERS/Kham.

คนงานแบกกระสอบข้าวที่นำเข้าจากเวียดนาม ในโกดังเเก็บขององค์การอาหารอินโดนีเซียหรือ "บูล็อก" (BULOG) ในเมืองมาคัสซาร์ (Makassar) จ.สุลาเวสีใต้ (South Sulawesi) อินโดนีเซียนำเข้าข้าวจากเวียดนามปีละหลายแสนถึงกว่า 1 ล้านตัน ประเทศเกาะที่มีเนื้อที่จำกัดและประชากรกว่า 100 ล้านคน เคยเป็นตลาดใหญ่ของข้าวไทยมาก่อน. -- REUTERS/Yusuf Ahmad.

คนงานนำกระสอบข้าวที่นำเข้าจากเวียดนามขึ้นจากเรือที่ท่าเรือมะนิลาในภาพวันที่ 15 เม.ย.2555 ชาวฟิลิปปินส์ทำนากันมากมาย แต่ประเทศเกาะมีเนื้อที่จำกัดและมีประชากรถึง 100 ล้านคน ทำให้ต้องนำเข้าจากเวียดนามปีละกว่า 1 ล้านตันตลอดหลายปีมานี้ เป็นประเทศนำเข้าข้าวมากที่สุดในโลก ที่นี่เคยเป็นตลาดใหญ่ของข้าวไทยมาก่อนเช่นกัน. -- REUTERS/Romeo Ranoco/Files.

กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดแบ่งพื้นที่ปลูกข้าวออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มแรก - ข้าวเมล็ดสั้น รวมทั้งพันธุ์ IR50404 กับ OM576 จะต้องลดเนื้อที่ลงให้เหลือต่ำกว่า 20% และเพิ่มเนื้อที่สำหรับข้าวกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นข้าวเมล็ดยาวคุณภาพสูง ให้เป็น 60-70% ที่เหลืออีก 10-20% เป็นข้าวหอม และจะค่อยๆ ขยายพื้นที่ข้าวกลุ่มที่ 3 นี้ในปีต่อๆ ไป เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว

ปัจจุบัน การเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อนในที่ราบปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นอู่ข้าวใหญ่ของประเทศแล้วเสร็จเกือบจะสมบูรณ์ คาดว่าจะได้ผลผลิตรวม 11.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1 ล้านตันจากฤดูเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นผลผลิตเฉลี่ย 6.67 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) เพิ่มขึ้น 2 ตันต่อเฮกตาร์

แต่ถ้าหากคิดรวมกันทั้งภาคใต้ ผลผลิตเฉลี่ยจะสูงถึง 6.83 ตันต่อเฮกตาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.โด่งท้าป กับนครเกิ่นเทอ (Cần Thơ) ซึ่งรายงานตัวเลข 7.35-7.4 ตันต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ไซ่ง่อนหยายฝองกล่าว

อย่างไรก็ตาม การปลูกข้าวคุณภาพต่ำ แม้จะให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเช่นกัน ชาวนา จ.โด่งท้าป รายงานว่าต้นทุน (ค่าปุ๋ย-ยาต่อต้านแมลงศัตรูข้าว) ที่สูงขึ้นทำให้ชาวนามีกำไรเหลือเพียงประมาณ 20% เท่านั้น แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งตัวกำไรให้ 30-40% ก็ตาม

ตามตัวเลขของกระทรวงเกษตรฯ ทั่วเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกรวมกัน 33 ล้านเฮกตาร์ ในนั้นเป็นนาข้าวเพียง 5.3 ล้านเฮกตาร์ และในนั้น 3.9 ล้านเฮกตาร์อยู่ในเขตกื๋อลอง หรือที่ราบปากแม่น้ำโขง ข้าวส่งออกกว่า 90% ไปจากที่นี่

เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีมานี้ จาก 3.5 ล้านตันในปี 2543 เป็น 6.75 ล้านตันในปี 2553 และเกือบ 7 ล้านตันในปี 2554 เป้าหมายปีนี้ อยู่ระหว่าง 6.5-7 ล้านตัน

สมาคมอาหารเวียดนามจะปรับเป้าส่งออกข้าวทุกๆ ไตรมาส โดยพิจารณาจากปริมาณข้าวที่ผลิตได้ประจำฤดู กับความต้องการของตลาดโลกในแต่ละช่วง.




http://www.manager.co.th/indochina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000058208&CommentReferID=21254826&CommentReferNo=9&
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 5:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

120. ข้าวหอม (Fragrant rice)

โดย สกล หาญสุทธิวารินทร์


เมื่อกล่าวถึงข้าวหอม หลายท่านนึกถึงข้าวหอมไทย แต่ความจริงแล้ว ข้าวหอมมิได้ปลูกเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น ยังมีอีกหลายประเทศที่ปลูกข้าวหอม ซึ่งเรียกชื่อต่างๆ กัน ข้าวหอมที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย นอกจากข้าวหอมไทย ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) ข้าวเท็กซ์มาติ (Texmati rice) ข้าวเวฮานิ (Wehani rice) ข้าวไวด์พีแคน (Wild pecan rice)

ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) เป็นข้าวขาวเมล็ดยาวที่รู้จักกันอย่างค่อนข้างแพร่หลาย คำว่า บาสมาติ เป็นภาษาฮินดี มีความหมายคือ ราชินีแห่งความหอม

ข้าวเท็กซ์มาติ (Texmati rice) เป็นข้าวหอมที่พันธุ์ผสมระหว่างข้าวอเมริกันเมล็ดยาวกับข้าวบาสมาติ มีรสชาติและกลิ่นหอมดีกว่าข้าวอเมริกันเมล็ดยาวพันธุ์แม่ แต่ด้อยกว่าข้าวบาสมาติ

ข้าวเวฮานิ (Wehani rice) เป็นข้าวหอมชนิดหนึ่งมีกลิ่นคล้ายข้าวโพดคั่ว ข้าวเวฮานิ เป็นข้าวที่พัฒนาพันธุ์มาจากข้าวบาสมาติ เริ่มปลูกในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ข้าวไวด์พีแคน (Wild pecan rice) เป็นข้าวหอมพันธุ์ผสม เมื่อหุงมีกลิ่นคล้ายข้าวโพดคั่วเช่นเดียวกับข้าวเวฮานิ

นอกจากข้าวหอมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต่างก็มีการปลูกและพัฒนาพันธุ์ข้าวหอม เช่น เขมร ลาว โดยเฉพาะเวียดนาม มีการส่งออกข้าวหอมแล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า ข้าวหอมเวียดนามมีชื่อเรียกเฉพาะว่าอะไร แต่วงการข้าวของไทยคาดว่า ข้าวหอมเวียดนามน่าจะเป็นพันธุ์ข้าวจากไทย โดยเฉพาะข้าวปทุมธานี 1

ล่าสุด มีข่าวเกี่ยวกับข้าวหอมที่น่าติดตาม คือ ทางการของประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์ให้ชาวมาเลเซีย หันมาบริโภคข้าวหอมที่พัฒนาพันธุ์ โดยองค์กรพัฒนาการเกษตรของมาเลเซีย ข้าวหอมดังกล่าวทางมาเลเซียขนานนามว่า "Mar Wangi Malaysia" และอ้างว่ามีคุณภาพดีกว่าข้าวหอมที่นำเข้าจากไทย โดยทางการมาเลเซียตั้งความหวังว่า หากชาวมาเลเซียหันมาบริโภคข้าวหอมที่ปลูกในมาเลเซียจะสามารถลดการนำเข้าข้าวหอมจากไทยได้ร้อยละ 30 และจะช่วยให้ชาวมาเลเซีย มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับข้าวหอมไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ที่เดิมเรียกว่า Jasmine Rice ต่อมากระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรฐาน โดยให้ชื่อเฉพาะเรียกขานว่า ข้าวหอมมะลิไทย (Khoa Hom Mali Rice) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้ว ขณะนี้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบแยกแยะ ระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งทางการไทย กำลังปรับปรุงกฎเกณฑ์การตรวจสอบ เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ใช้การตรวจสอบ DNA ช่วยอีกวิธีหนึ่ง เป็นต้น

ปัญหาการตรวจสอบแยกแยะคุณภาพข้าว มิใช่เกิดขึ้นกับข้าวหอมมะลิไทยเท่านั้น แต่ก็เกิดขึ้นกับการตรวจสอบข้าวบาสมาติเช่นเดียวกันว่า เป็นบาสมาติหรือไม่ ซึ่งมีการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ โดยใช้การตรวจสอบ DNA เช่นเดียวกับที่ไทยกำลังดำเนินการอยู่


http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006dec05p4.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/01/2013 7:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

121. วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มาทำลายข้าว



เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของคนทำนาปลูกข้าว ชาวนาทุกคนรู้จักแมลงชนิดนี้ดี เพราะบางทีแมลงชนิดนี้สร้าง ความเสียหายได้ในชั่วข้ามคืน ถึงกับหมดเนื้อหมดตัว เรามาทำความรู้จัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กันก่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรสีน้ำตาล มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Brown planthoppeพ และชื่อวิทยาศาสตร์: Nilaparvata lugens (Stal) ) เป็นแมลงศัตรูพืช ชนิดปากดูด โดยมักทำลาย ข้าว โดยดูดน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทุกระยะการเจริญเติบโตจนทำให้ข้าวแห้งตาย เป็นจุดๆ ในแปลงนา และขยายตัวเป็นวงกว้าง ออกไปตามปริมาณของเพลี้ยกระโดดที่เพ่ิมขึ้น ทำให้บริเวณที่มีเพลี้ยเกาะอยู่ มีลักษณะคล้ายใบโดนน้ำร้อนลวก ใบเหลือง แดงและต้นข้าวตาย หากข้าวที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงไม่ตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดโรคใบหงิก หรือโรคจู๋ ข้าวไม่ออกรวง สร้างความเสียหาย แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างมาก


วิธีการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ให้มาทำลายต้นข้าวในแปลงนาที่เราปลูกมีหลายวิธีการ แต่ในที่นี้จะแนะนำวิธีการ แบบง่ายๆ แต่เรา ไม่ค่อยจะทำกัน เรียกว่าเป็นการ ป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ

วิธีแรก เริ่มจากการเตรียมแปลงนาปลูกข้าวให้สะอาด ปราศจากวัชพืช ซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูข้าว เนื่องจากในบางครั้งหลังจากเราเก็บเกี่ยงผลผลิตข้าว รุ่นก่อนหน้านี้แล้ว อาจมีแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวอาศัยอยู่ เราต้องตัด และเผาทำลายทิ้งให้หมด ให้เผาเฉพาะ วัชพืชตามคันนา ส่วนฟางข้าว ให้หมักด้วยจุินทรีย์สำหรับย่อยสลายตอซัง และฟางข้าว ดินในนาของเราจะได้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น


วิธีที่สอง การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ใช้ อัตราส่วน 30- 40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ในบางแปลงปลูกข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวมากถึง 60 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์โดยใช่เหตุ ไม่ควรมากกว่านี้ เนื่องจากจะทำให้ ต้นข้าวขึ้นอย่าง แออัด หนาแน่นเกินไป แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง โคนต้นข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบมาอาศัยและวางไข่ และดูดน้ำเลี้ยงต้นข้าว รวมทั้งทำให้การเชื้อรา ได้ง่ายๆ


วิธีที่สาม การใส่ปุ๋ยให้กลับแปลงนาปลูกข้าว ควรแบ่งระยะการใส่เป็นช่วงๆ หากเป็นไปได้ แนะนำให้ใส่ 4 ระยะ ของการเจริญเติบโตของข้าวดังนี้

ระยะที่ 1 หลังจากไขน้ำเข้านา ข้าวอายุ 10-20 วัน ใส่ปุ๋ย ยูเรีย แบบ หว่านลงแปลงนาข้าว

ระยะที่ 2 ข้าวอายุ 35- 45 วัน ใส่ ปุ๋ยเต็มสูตร ที่ีมี N P K โดยให้ ปุ๋ยตัวแรก สูงที่สุดและไล่ตามมา ต่ำสุด ที่ตัวท้าย

ระยะที่ 3 ข้าว อายุ 55-65 วัน ใส่ปุ๋ยผสมทางใบ N และ K โดยให้ มีสูตร N ต่ำกว่า K 3-5เท่า เช่น สูตร 11-0-52 โดยการฉีดพ่นทางเครื่อง อัดแรงดัน แบบลากสาย อัตตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อ น้ำ 200 ลิตร ซึ่งปุ๋ยสูตรนี้ จะมีส่วนทำให้ ข้าวมีการพัตนาตาดอก สร้างระแง้ เพื่อรองรับเมล็ด ออกมาเป็นจำนวนมาก เป็นเคล็ดลับในการเพิ่มผลผลิตข้าว ที่ชาวนา หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว น้อยคนที่จะรู้ ข้อสำคัญเราต้องคาดคะเนเวลาให้เหมาะสมในช่วงที่ข้าวกำลังสร้างตา ดอก ก่อนการตั้งท้อง

ระยะที่ 4 ข้าว ตั้งท้อง ใส่ปุ๋ยผสมเต็มสูตร N P K โดยให้มี K สูงที่สุด ในจำนวน ธาตุอาหาร 3 ตัว ร่วมกับการใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 11-0-52

ในที่นี้จะยังไม่ขอกล่าวรายระเอียดลึกๆ เกี่ยวกับ ปุ๋ยข้าว แต่ที่นำเสนอเรื่องวิธีการใส่ปุ๋ยข้าว มามากพอสมควรเพราะว่าตามปกติ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมักจะใช้ ปุ๋ย ยูเรีย( N ) เป็นจำนวนมาก ตลอดอายุ การเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งทำให้ ต้นข้าวมีความอ่อนแอ เนื่องจากปุ๋ยยูเรีย จะไปเร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นข้าวเพียงอย่างเดียว ทำให้ใบเขียว ต้นสูง แต่ผลเสียที่ตามมาคือ แมลงแทบทุกชนิดชอบต้นข้าวที่มีลักษณะอวบอ้วนที่เกิดจากการใช้ N เกินความจำเป็น โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพลี้ยกระโดด เพิ่มขึ้น หากรอดจากเพลี้ยกระโดด ข้าวที่ให้ผลผลิตระยะ ก่อนการเก็บเกี่ยว อาจล้มง่าย ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าหากข้าวล้มพังพาบกับพื้นนาเสียแล้ว การเก็บเกี่ยว ก็จะไม่ได้ผลลิตเต็มที่ พอๆกับการถูกทำลายด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

วิธีการวิธีการปลูกข้าวไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายข้าวในแปลงนาของเรา ดังกล่าวมาเป็นวิธีการที่ต้องมีการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพแปลงนาของแต่ละคน รวมถึงสายพันธุ์ข้าวที่ทำการปลูกด้วย




http://www.xn--22c8eyak8i.com/2010/01/blog-post_29.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/03/2013 4:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 21/01/2013 12:01 am    ชื่อกระทู้: ข้าวเกวียนละเกือบ สองแสนบาท ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่าน

ผมไม่ได้เข้ามาดูกระทู้นี้หลายเพลาแล้วเนื่องจาก ติดภารกิจหลายหลากวันนี้มีรูปมาฝาก

122.

เป็นรูปข้าวหอมนิลเพาะงอก ราคา กิโลกรัมละ 195 บาท ถ้าคิดเป็นน้ำหนัก 1 เกวียน หรือ 1,000 กิโลกรัม ก็จะได้ราคาเกวียนละ 195,000
(หนึ่ง แสน เก้า หมื่น ห้า พัน บาท)


เห็นแล้วสะดุ้งสุดตัว ....ขาดอีก 5,000 บาทก็จะถึงเกวียนละ 200,000 บาท

ถ้าไม่มีคนซื้อเค้าคงไม่ทำออกมาขายหรอกนะครับ

นี่เป็นราคาขายในเมืองไทยนะครับ ถ้าทำส่งออกจะราคาเท่าไหร่ แต่คงยากเพราะปริมาณที่จะส่งออก คงทำได้ไม่ง่ายนัก
นอกจากจะส่งออกได้เป็นครั้งคราว





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 5 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©