-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/11/2013 3:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.


เนื่องในวาระดิถีอะไรกันเนี่ย....

สงสัย "ผีเข้า" ซะมั้ง.... พอแล้วน่ะ....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
teeen2005
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012
ตอบ: 163

ตอบตอบ: 29/11/2013 12:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยาเฉิ่มทะลุกลางปล้อง เนื่องในวาระใกล้ปีใหม่ หรือองค์ลง ยายเฉิ่มเอาฮ้าอีกแล้ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 30/11/2013 8:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับพี่

ผมติดตามกระทู้นี้ตั้งแต่หน้าแรกๆ ขออนุญาติ นำภาพไปใช้ พร้อมทั้ง อ้างอิง คำพูด จากแหล่งที่มา ขอเบอร์พี่แดงด้วยครับ...

สมชาย

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 05/12/2013 2:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
.


เนื่องในวาระดิถีอะไรกันเนี่ย....

สงสัย "ผีเข้า" ซะมั้ง.... พอแล้วน่ะ....



.


สวัสดีครับลุงคิม....(ตอบช้าไปหน่อย)

ไม่ใช่ " ผีเข้า " หรอกครับ แต่เป็น " ครูขึ้น " น่ะครับ....พอดีว่า ผมจะต้องเดินทางไกล ขึ้นเขา ลงดอย เลยไหว้ครูซะก่อนเพื่อขอให้เจอสิ่งดี ๆ เด็ด ๆ

แล้วอีกอย่างนึง....คนรุ่นใหม่ เรียนสูง ความรู้ดี แต่ว่า...

...ไม่ค่อยมีสัมมาคาระวะ ไม่เคารพครูบาอาจารย์ วาจาสามหาว ยกมือไหว้คนไม่เป็น ขอโทษใครไม่เป็น อโหสิกรรมไม่เป็น อยากจะได้อย่างเดียว ให้ใครไม่เป็น ฯลฯ.........อย่าไปบอกใครนะครับว่า ไม่มีใครสั่งสอน....อายเค้า...


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 10/12/2013 5:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 06/12/2013 5:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

somchai บันทึก:
ขอบคุณครับพี่

ผมติดตามกระทู้นี้ตั้งแต่หน้าแรกๆ ขออนุญาติ นำภาพไปใช้ พร้อมทั้ง อ้างอิง คำพูด จากแหล่งที่มา ขอเบอร์พี่แดงด้วยครับ...

สมชาย

.


สวัสดีครับลุงคิม @คุณ somchai

ตอบมาทาง PM แล้วครับ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 09/12/2013 8:35 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร ภาค 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร ภาค 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย

บทที่ 17 ตอนที่ 1 - 17 พย.56 ข้าว 149 วัน

ผมได้รับรูปข้าวหอมดอยจากเพื่อนกระเหรี่ยงส่งมาให้ ก่อนเดินทางขึ้นปาย 2 วัน เป็นรูปข้าวอายุ 149 วัน…..ผมนำเสนอช้าไปหน่อยเนื่องจากต้องสะสางงานค้างและเตรียมของฝากหลายอย่างก่อนการเดินทาง ไปดูรูปกันครับ




(361)



(362)



(363)



(364)



(365)



(366)



(367)



(368 )

(361 – 368 ) ข้าวเหลืองใกล้จะเกี่ยวได้แล้ว เนื่องจากข้าวดอย เป็นข้าวพันธุ์ไวแสง เพื่อนบอกว่า อีกสองสามวันจะเกี่ยว ผมจะเดินทางเย็นวันที่ 19 พย. ไปถึงวันที่ 20 พย. คงจะทันได้เห็นการเกี่ยวข้าวรุ่นนี้




(369)



(370)

(369 – 370) ใบข้าวที่โคนกอข้าว บางส่วนแห้งเหลือง แต่บางส่วนเขียว หน้าดินชื้น





(371) ความสมบูรณ์ของเมล็ดข้าวในรวง เต่งตึง เมล็ดเหลือง แต่ก้านรวงเขียว





(372) มีบางส่วนที่โคนก้านรวง แห้งดำ เมล็ดบางส่วนลีบ บางส่วนเมล็ดเต็ม ภาษากระเหรี่ยงเค้าบอกชื่อมาว่าเกิดจาก.....? .... ผมจำชื่อไม่ได้ ผมคิดเอาเองนะครับ(ไม่ยืนยัน)ว่า อาจเกิดจากเชื้อรา หรืออาการเน่าคอรวง ...มั๊ง..


เพื่อนกระเหรี่ยงถามด้วยความสงสัยว่า..
..ทุกครั้งก่อนเกี่ยว ทั้งรวงและใบข้าวจะเหลือง แต่ข้าวรุ่นนี้พ่นปุ๋ย 3 in 1 (สหประชาชาติ) ไป 9 ครั้ง รวงข้าวแก่สุกเหลือง ทำไมรุ่นนี้ข้าวแก่ แต่ใบข้าวยังเขียว....
ผมบอกว่า.... เป็นผลจากการใช้ปุ๋ย 3 in 1 ซึ่งมีธาตุรอง ธาตุเสริม แม็กนีเซี่ยม สังกะสี แคลเซี่ยม-โบร่อน ...น้องสาวสูเรียนเกษตร เฮา จะอธิบายให้สูเข้าใจง่าย ๆ คงลำบาก สงสัยให้ถาม ชาชา....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hans
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2013
ตอบ: 146

ตอบตอบ: 09/12/2013 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีค่ะ ลุงอาจารย์คิม ทิดแดง และสมาชิกแนวบ้า ทุกๆๆท่าน

ป้าดเข่าอีหยังมางามแท้ อยากเฮ็ดได้คือเขาเน๊าะ


ป้าห่านจ้า


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 10/12/2013 6:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hans บันทึก:
.

สวัสดีค่ะ ลุงอาจารย์คิม ทิดแดง และสมาชิกแนวบ้า ทุกๆๆท่าน

ป้าดเข่าอีหยังมางามแท้ อยากเฮ็ดได้คือเขาเน๊าะ


ป้าห่านจ้า


.


สวัสดีครับลุงคิม ป้าห่าน....

ป้าบอกว่า อยากเฮ็ดได้คือเขา.....ไม่ยาก

ลุงคิมเคยพูดเสมอว่า ใจครับ ใจต้องมาก่อน...ต่อมาก็ ศรัทธา และ เชื่อมั่นในตัวเอง ตามด้วย ความมุ่งมั่นและมุมานะ แล้วก็ กัลยาณมิตร

ทั้งหมดนี่ป้าห่านมีครบ แต่บางอย่างยังไม่เต็มร้อย

ใจป้ามี แต่บางครั้ง ใจแป้ว

ศรัทธา ป้ามีอยู่ แต่ยังขี้สงสัย

ความเชื่อมั่นในตัวเอง ป้าก็มีแต่ยังขาด ๆ หาย ๆ

กัลยาณมิตรป้ามีพร้อม เกินร้อย.... ลุงHans ลุงคิม ..
...จะถามก็กลัว ๆ กล้า ๆ กลัวโดนด่า.
...ป้าครับ..กระท้อน ถ้าไม่ทุบกินไม่หวานหรอกครับป้า ....อยากได้ลูกเสือ ต้องเข้าถ้ำเสือ..ผมน่ะโดนจนชิน จนเป็นเรื่องธรรมดาแล้วละครับ

ลุงคิมบอกย้ำตลอดว่า จะปลูกพืช ดินต้องมาก่อน

ข้าวดอย ปลูกได้ปีละครั้ง ก่อนปลูกข้าว กระเหรี่ยงปลูกถั่วเหลือง จากถั่วเหลืองปลูกงา แล้วปลูกถั่วเหลืองตามอีกครั้ง เมื่อถึงเวลาปลูกข้าว ปุ๋ยทางดินไม่ต้องใช้เลย....แม้แต่แหมะเดียว...(คำพูดลุงคิม ล้อเลียนครูบาอาจารย์)

นาแถบบ้านป้า ปลูกถั่วเหลืองไม่ได้ก็ปลูกถั่วเขียวซีครับ ประหยัดปุ๋ยทางดินไปได้อีกแยะเลย จะปลูกเอาฝักหรือไม่เอาก็ตามใจ ...ถ้าปลูกเอาฝัก แกะเมล็ดแล้วเอาต้มน้ำตาลกินแก้ร้อนในได้ด้วย หรือจะเอามากำถั่ว ทายเล่นกะลุง Hans สองคนก็ยังด้ายยยย....ต้นถั่วทิ้งไว้กลางนาอีกไม่นานก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย
ถั่วเขียว เมล็ดจิ๋ว แต่แจ่ม และแจ๋ว เจ๋งอีกต่างหาก(แอบกระซิบ ...ไม่ต้องซื้อระเบิดของลุงคิมไปใช้อีกด้วย เย๊)

แต่ก่อนร่อนแต่ไร ปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมนฮอร์แมว กระเหรี่ยงไม่เคยรู้จัก สมุนไพรไม่เคยใช้ ...ทำตามธรรมชาติ ไม่มีเคมี อินทรีย์ล้วน ๆ ผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ

ข้าวดอย หรือข้าวพันธุ์พื้นเมืองอย่างอื่น ปลูกได้อย่างมากก็ 35 - 45 ถังต่อไร่
ก็ถือว่า เลิศหรูแล้ว

เป็นคราวโชคร้ายของกระเหรี่ยง ที่พ่อของเค้ามารู้จักกับคนบ้า ๆ อย่างผม ๆ ก็แนะนำให้เค้าทำ ..

..ผมเก่งแค่ไหนถึงไปแนะนำให้กระเหรี่ยงเชื่อได้ ...ไม่เลย มีความรู้แค่หางอึ่ง แต่ทุกเรื่องที่คุยได้มาจากปาก...ขี้ไม่อก เยี่ยวไม่ออก บอกลุงคิม....จนลุงบอก

มึงถามตะพึด ที่นี่สอนให้คิด....
..(รำพึง) ก็ไม่รู้นี่หว่า จึงได้ถาม ถ้ารู้แล้วจะถามทำไม แล้วคิดอย่างเดียวมันจะเป็นจริงได้ ฤา คิดแล้วต้องลงมือทำด้วย.ทำแล้วได้ผลก็เงียบ...ทำแล้วไม่ได้ผลก็ วีน ..

.ลุงครับ..
.อะไรของมึงอีกวะ...

นั่นแหละ....ก็ว่ากันไป

และหากว่าป้าอยากรู้จริง ๆ ชวนลุง Hans ขึ้นดอยไปกับผม ดีไม่ดี ป้าต้องกลับคนเดียว เพราะลุง Hans หลงทางติดอยู่บนดอยหาทางกลับไม่เจอ.....เด๊อ



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 10/12/2013 10:42 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/12/2013 7:20 am    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร ภาค 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:



(372) มีบางส่วนที่โคนก้านรวง แห้งดำ เมล็ดบางส่วนลีบ บางส่วนเมล็ดเต็ม ภาษากระเหรี่ยงเค้าบอกชื่อมาว่าเกิดจาก.....? .... ผมจำชื่อไม่ได้

ผมคิดเอาเองนะครับ (ไม่ยืนยัน) ว่า อาจเกิดจากเชื้อรา หรืออาการเน่าคอรวง ...มั๊ง..

เพื่อนกระเหรี่ยงถามด้วยความสงสัยว่า..
ทุกครั้งก่อนเกี่ยว ทั้งรวงและใบข้าวจะเหลือง แต่ข้าวรุ่นนี้พ่นปุ๋ย 3 in 1 (สหประชาชาติ) ไป 9 ครั้ง รวงข้าวแก่สุกเหลือง ทำไมรุ่นนี้ข้าวแก่ แต่ใบข้าวยังเขียว....
COMMENT :
โรคไหม้ (Rice Blast Disease)
พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.

อาการ :
ระยะกล้า : ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ : อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) : ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก




หรือ....


โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)
สาเหตุ : เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.
Cercospora oryzae I.Miyake.
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly.
Sarocladium oryzae Sawada.

อาการ : ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว







.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 10/12/2013 11:51 am    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร ภาค 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:


-----

(372) มีบางส่วนที่โคนก้านรวง แห้งดำ เมล็ดบางส่วนลีบ บางส่วนเมล็ดเต็ม ภาษากระเหรี่ยงเค้าบอกชื่อมาว่าเกิดจาก.....? .... ผมจำชื่อไม่ได้

ผมคิดเอาเองนะครับ (ไม่ยืนยัน) ว่า อาจเกิดจากเชื้อรา หรืออาการเน่าคอรวง ...มั๊ง..

เพื่อนกระเหรี่ยงถามด้วยความสงสัยว่า..
ทุกครั้งก่อนเกี่ยว ทั้งรวงและใบข้าวจะเหลือง แต่ข้าวรุ่นนี้พ่นปุ๋ย 3 in 1 (สหประชาชาติ) ไป 9 ครั้ง รวงข้าวแก่สุกเหลือง ทำไมรุ่นนี้ข้าวแก่ แต่ใบข้าวยังเขียว....
COMMENT :
โรคไหม้ (Rice Blast Disease)
พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.

อาการ :
ระยะกล้า : ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ : อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) : ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก




หรือ....


โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)
สาเหตุ : เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.
Cercospora oryzae I.Miyake.
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly.
Sarocladium oryzae Sawada.

อาการ : ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว





.


ขอบคุณครับลุง.....และวิธีป้องกัน...นอกจากใช้สมุนไพรขม ๆ เผ็ดจัด ๆ แล้วมีอะไรที่จะใช้ป้องกันได้อีกบ้างครับ.....

และสำหรับ ชาชา นี่คือคำตอบ....สู Copy คำอธิบายเอาไปเขียนรายงานส่งอาจารย์ได้เลย .....

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 10/12/2013 12:05 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย

บทที่ 17 ตอนที่ 2 – 20 พย.56 ข้าว อายุ 152 วัน

ดูรูปกันเลยครับ




(373)



(374)



(375)



(376)



(377)



(378 )



(379)



(380)



(381)



(382)



(383)

(373 – 383) ข้าวแก่สุกคารวง แต่ใบยังเขียว ข้าวไร่ ข้าวดอย ได้เมล็ดเต่ง ติดรวงดูมีน้ำหนักขนาดนี้นับว่าดีเกินพอแล้วละครับ





(384) ความสูงประมาณ 1.20 เมตร





(385) จากซ้ายไปขวา ซ้ายสุดข้าวญี่ปุ่น ถัดมาเป็นข้าวหอมดอย ถัดมาข้าวแห้งคอรวง ขวาสุด ลักษณะเหมือนเป็นเชื้อราบางชนิด





(386 ) ข้าวญี่ปุ่น





(387) ข้าวหอมดอย





(388 ) ข้าวแห้งคอรวง





(389) เป็นเหมือนเชื้อราบางชนิด





(390) ซ้ายเมล็ดข้าวญี่ปุ่น ขวาเมล็ดข้าวหอมดอย





(391) ศัตรูข้าวมาทางอากาศ... 2 ปีก 2 ขา 1 ปาก กระเหรี่ยงบอกว่า
....ตัวสองตัวพอทน แต่พวกบินลงกินข้าวครั้งนึงเป็นฝูง (100 กว่าตัว) ไม่ใช้ตาข่ายดัก ข้าวคงไม่เหลือ...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 10/12/2013 6:51 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย

บทที่ 17 ตอนที่ 3 – 21 พย.56 ข้าว อายุ 153 วัน เกี่ยว

ความจริงกระเหรี่ยงควรจะเกี่ยวเมื่อข้าวอายุครบ 150 วัน แต่เค้ารู้ว่าผมจะขึ้นมาวันที่ 19 พย. ก็เลยคอยให้ผมมาดูเค้าเกี่ยวข้าว เลยรอมาถึง 153 วัน...

ดูรูปกันเลยครับ



(392)



(393)



(394)



(395)



(396)



(397)



(398 )



(399)



(400)



(401)



(402)



(403)



(404)



(406)



(407)



(408 )

(392 – 408 ) การเกี่ยวข้าวบนดอย ไม่สามารถใช้รถเกี่ยวได้ เพราะแปลงนาแต่ละแปลงไม่ใหญ่นัก พื้นที่ก็ลาดเอียงขืนใช้รถเกี่ยว มีหวังรถได้กลิ้งตกเขาแน่ ๆ จึงยังใช้วิธีการแบบเดิม ๆ เป็นการร่วมด้วยช่วยกัน หรือคนไทยเรียกว่า ลงแขกเกี่ยวข้าว ...

.. ระหว่างเกี่ยวก็มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันเป็นที่สนุกสนาน เพื่อเป็นการคลายเครียด ไม่ว่าไทย หรือกระเหรี่ยง ก็คงไม่พ้นเรื่อง ทะลึ่งตึงตังกันตามประสาละครับ

เกี่ยวแล้วก็วางเรียงไว้บนตอซัง เพื่อเป็นการตากข้าวให้แห้งอย่างน้อยก็อีก 3 - 4 วัน ถึงจะนวดโดยวิธีการ ตีข้าว....





(409) เกี่ยวอยู่ดี ๆ พวกผู้หญิงร้องวี๊ดว๊าย พวกผู้ชายเข้าไปดู ก็คว้าไม้ไล่ตี แป๊บเดียว ได้มาแล้ว ..งูสิง..อาหารจานเด็ด ..

..งูสิง ตัวนี้โตขนาดข้อมือ....คนเหนือ คนกระเหรี่ยง คนดอย ชอบกินงูสิงครับ ....เผา ลอกหนัง ย่าง แล้วแกะเนื้อมาทำแบบต้มยำ ใส่ลูกมะแขว่น .ว๊าว......ถ้าถามว่า ...

..ผมกินกะเค้าหรือเปล่า ..
..โถคุณท่าน เข้าเมืองกระเหรี่ยง ก็ต้องกินแบบกระเหรี่ยงละครับ นครปฐมมีงูสิงให้กินซะที่ไหนล่ะ....

..แล้วอร่อยมั๊ย...
.เอาเนื้อไก่มาแลกก็ไม่ยอม....เนื้อขาว หวานจ๊วก ๆ ....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/12/2013 7:57 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:




(385) จากซ้ายไปขวา ซ้ายสุดข้าวญี่ปุ่น ถัดมาเป็นข้าวหอมดอย ถัดมาข้าวแห้งคอรวง
ขวาสุด ลักษณะเหมือนเป็นเชื้อราบางชนิด





(389) เป็นเหมือนเชื้อราบางชนิด

COMMENT :
โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)
สาเหตุ : เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.
Cercospora oryzae I.Miyake.
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly.
Sarocladium oryzae Sawada.



อาการ : ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว





(391) ศัตรูข้าวมาทางอากาศ... 2 ปีก 2 ขา 1 ปาก กระเหรี่ยงบอกว่า
....ตัวสองตัวพอทน แต่พวกบินลงกินข้าวครั้งนึงเป็นฝูง (100 กว่าตัว) ไม่ใช้ตาข่ายดัก ข้าวคงไม่เหลือ...
COMMENT :
** การไล่โดยคน ในกรณีที่แรงงานมากพอ การใช้คนไล่นกก็จะได้ผลดี
- ใช้เครื่องมือทำให้เกิดเสียงดัง เพื่อให้นกตกใจบินหนี เช่น การจุดประทัดเป็นระยะๆ การใช้ปืนยิง การใช้เครื่องระเบิดโดยใช้แก๊ส การใช้ปี๊บน้ำมันคว่ำแล้วผูกเชือกห้อยของหนักไว้ภายในเหมือนกระดิ่ง แล้วคอยกระตุกไล่นก เป็นต้น

- ใช้วัสดุที่ทำให้แสงสะท้อนวูบวาบ เช่น ใช้กระจกเงา หรือแผ่นอลูมิเนียมเงา หรือสายเทปคาสเซทที่ไม่ใช้หรือยืดแล้ว หรือแผ่น ซีดี. แขวนให้ทั่วบริเวณที่ต้องการไล่ อาศัยลมพัดตามธรรมชาติทำให้วัสดุนั้น ๆ หมุนและเกิดสะท้อนแสง ทำให้นกตกใจหนีได้

- การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี .... สารเคมีที่ทดสอบแล้วว่าใช้ได้ผลดี เป็นพวกสารไล่นก พ่นให้ทั่วรวงข้าว เมื่อนกลงมากินจะเกิดอาการเข็ดและหนีไฟ สารเคมีดังกล่าวได้แก่ “เมซูรอล” ใช้ในอัตรา 120 กรัมต่อไร่ของสารออกฤทธิ์ หรือประมาณ 12 ช้อนแกงต่อไร่โดยผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นครั้งแรกในระยะข้าวเป็นน้ำนม และหลังจากนั้นประมาณ 12 วัน จึงฉีดพ่นอีกครั้งหนึ่งจะได้ผลดีที่สุด





กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/12/2013 12:16 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย

บทที่ 17 ตอนที่ 4 – เกี่ยวแล้วตากข้าวก่อนตี


ลุงคิม COMMENT : วิธีไล่นก...ขอบคุณครับลุง

ลุงบอกว่า ...

** การไล่โดยคน ในกรณีที่แรงงานมากพอ การใช้คนไล่นกก็จะได้ผลดี

-การใช้ปี๊บน้ำมันคว่ำแล้วผูกเชือกห้อยของหนักไว้ภายในเหมือนกระดิ่ง แล้วคอยกระตุกไล่นก เป็นต้น


2 วิธีนี้กระเหรี่ยงขอผ่านครับ เพราะขาดแคลนแรงงาน และแปลงนาอยู่ไกลบ้าน


- ใช้วัสดุที่ทำให้แสงสะท้อนวูบวาบ เช่น ใช้กระจกเงา หรือแผ่นอลูมิเนียมเงา หรือสายเทปคาสเซทที่ไม่ใช้หรือยืดแล้ว หรือแผ่น ซีดี. แขวนให้ทั่วบริเวณที่ต้องการไล่ อาศัยลมพัดตามธรรมชาติทำให้วัสดุนั้น ๆ หมุนและเกิดสะท้อนแสง ทำให้นกตกใจหนีได้

วิธีนี้ใช้(ไม่ได้ผล)มาแล้วครับ ทั้งแขวนหุ่นไล่กา ในรูปก็มีแผ่น ซีดีแขวน แรก ๆ ก็ไม่ลง นานเข้าก็ลงกินครับ

- ใช้เครื่องมือทำให้เกิดเสียงดัง เพื่อให้นกตกใจบินหนี เช่น การจุดประทัดเป็นระยะๆ การใช้ปืนยิง การใช้เครื่องระเบิดโดยใช้แก๊ส
…




ผมเคยตีเกราะเคาะโกรวอันนี้ ปรากฏว่า พวกกระเหรี่ยงหน้าตาตื่น ถือมีด ถือปืนวิ่งมากันแทบจะทั้งหมู่บ้าน ผมต้องเสียเหล้าเสียไก่เพื่อเซ่นผี
ถ้าขืนจุดประทัดหรือยิงปืน มีหวังพวกแห่มากันทั้งดอย ผมต้องเซ่นผีด้วยการเสียตัวแน่ ๆ ครับคราวนี้


- การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี .... สารเคมีที่ทดสอบแล้วว่าใช้ได้ผลดี เป็นพวกสารไล่นก พ่นให้ทั่วรวงข้าว เมื่อนกลงมากินจะเกิดอาการเข็ดและหนีไป
สารเคมีดังกล่าวได้แก่ “เมซูรอล” ใช้ในอัตรา 120 กรัมต่อไร่ของสารออกฤทธิ์ หรือประมาณ 12 ช้อนแกงต่อไร่โดยผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นครั้งแรกในระยะข้าวเป็นน้ำนม และหลังจากนั้นประมาณ 12 วัน จึงฉีดพ่นอีกครั้งหนึ่งจะได้ผลดีที่สุด

อันนี้น่าจะ Work ครับ ....ขอบคุณอีกครั้งครับ


.....ไปดูกระเหรี่ยงตากข้าวครับ
หลังจากเกี่ยวแล้ว ก็เอารวงข้าว วางเรียงไว้บนตอซัง เพื่อตากให้เมล็ดข้าวแห้งขึ้นอีกหน่อย





(410 ) มองดูเหมือนควันออกจากภูเขาไฟ แต่เป็นเมฆครึ้มฝนบนยอดดอยครับ





(411) ดอกกุหลาบยามฟ้าสาง




(412)



(413)



(414)



(415)



(416)



(417)



(418)


(412 – 418 ) เกี่ยวแล้วก็ตากบนตอซังเพื่อให้เมล็ดข้าวแห้ง เพื่อทำการ ตีข้าวต่อไป...

การตากข้าวแบบนี้ เท่าที่ผมเคยเห็น คนทางเหนือและคนไทยภาคกลางก็เคยทำมาก่อน ส่วนภาคอื่น ๆ ผมไม่รู้ว่าเค้าทำแบบนี้หรือเปล่า
และปัจจุบันก็เห็นที่เชียงรายแถวบ้านทิดบัติ เค้ายังทำแบบนี้กันอยู่ โดยตากไว้ประมาณ 3 วันแล้วจึงนวดหรือตี...
..ในแต่ละวัน ตอนกลางคืนถึงเช้า ข้าวจะโดนน้ำค้าง กลางวันได้รับแสงแดด ข้าวก็จะแห้ง แต่ไม่ยักกะเกิดเเชื้อรา...

จากข้อมูลที่ได้รู้จากกระเหรี่ยงว่า ที่ต้องทำแบบนี้ เพื่อว่า เมื่อนวดหรือตีออกมาแล้ว ข้าวที่เอาไปตำหรือสีออกมา ..เมื่อเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือแล้วเอาไปหุง จะทำให้รสชาดของข้าวกินอร่อยกว่าข้าวที่เกี่ยวแล้วนวดหรือตีทันทีเลย

....ผมก็มานึกถึง ส้มโอ เมื่อเก็บจากต้นใหม่ ๆ เอามาปอกกินจะไม่อร่อย ต้องทิ้งไว้ให้เปลือกนิ่ม ซึ่งเรียกว่า ให้มันลืมต้น เสียก่อน เอามาปอกกิน มันจะอร่อย....ข้าวก็คงเหมือนกัน



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 16/12/2013 9:38 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กระเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กระเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย

บทที่ 17 ตอนที่ 5 – 26 พย.56 ..ตีข้าว(นวดข้าว ฟาดข้าว ...แล้วแต่จะเรียก)

หลังจากกระเหรี่ยงตากข้าวไว้ตั้งแต่วันที่ 22 พย. ผ่านไป 4 วัน พอถึงวันที่ 26 พย.เค้าก็ตีข้าว...(จะเรียกว่า นวดข้าว ฟาดข้าว หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก)

...บังเอิญว่า วันที่ 25 – 26 พย.56 ผมมีภารกิจต้องเดินทาง(ขึ้น)ไปที่ ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน (อยู่ที่ปาย ก็นับว่าอยู่บนดอยแล้ว แต่ไปแม่ฮ่องสอนต้องขึ้นดอยสูงขึ้นไปอีก) ฉะนั้นวันที่ 26 พย. ผมไม่อยู่จึงไม่มีรูปกระเหรี่ยงตีข้าว.. ....จึงมีแต่รูปหลังจากที่กระเหรี่ยงตีข้าวไปแล้ว....
..ความจริงผมได้เคยเสนอรูปการตีข้าวไว้ครั้งหนึ่งแล้ว




(419)



(420)



(421)



(422)



(423)


(419 – 423) เป็นบริเวณที่ใช้ตีข้าว ฟางข้าวที่เหลือหลังการตีข้าว รวมทั้งตอซังที่เกี่ยวข้าวไปแล้ว สำหรับคนบนดอย ฟางมีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด ๆ คนบนดอยเค้าไม่(โง่)เผาฟางกันหรอกครับ เพราะ

1.- ในฤดูการท่องเที่ยว(ธค. – กพ.) ตามรีสอร์ตต่าง ๆ จะหาซื้อฟาง เอาไปมุงหลังคา ทำกระต๊อบทำเหมือนกางเต็นท์ให้คนเช่า(คืนละ 300 จ้า) หมดฤดูท่องเที่ยว รีสอร์ตต่าง ๆ เค้าก็รื้อทิ้ง คนดอยก็ไปขนเอามาใช้

2.- เวลาปลูกกระเทียม ปลูกถั่วเหลือง ปลูกผัก เค้าต้องใช้ฟางคลุมแปลง

3.- คนดอยจะไม่เผาฟางในแปลงนา ผมเคยถามว่า ทำไมไม่เผาฟาง....คำตอบคือ....เผาให้โง่รึ ปุ๋ยอยู่ในฟางทั้งนั้น.....




(424)



(425)



(426)



(427)



(428 )

(424 – 428 ) ข้าวลีบ ข้าวร่วง ข้าวหล่น ในแปลงนาหลังเกี่ยวและตีข้าว ถ้ามีเครื่องสีฝัดแบบโบราณ น่าจะช่วยให้ได้เมล็ดข้าวเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย ส่วนข้าวที่เกี่ยวแล้ว หลุด ร่วง หล่น....ซึ่งอาจจะมาจาก แคลเซี่ยม-โบร่อน ก็คงช่วยได้ในระดับหนึ่ง




(429)



(430)



(431)

(429 – 431) ตอข้าวหลังเกี่ยว เวลาผ่านไป 4 วัน แตกใบขึ้นมาเขียว นาบางแห่งที่ปล่อยทิ้งเอาไว้ จะกลายเป็นข้าวเรื้อ เมื่อถึงเวลาจะออกรวง ....ทิดบัติเคยบอกว่า ....เคยไปเกี่ยวจากนาที่ชาวบ้านปล่อยทิ้ง เมื่อ พย.55 เอาข้าวไปขายยังได้เงินเป็นหมื่น ....





(432) มีบางรวงที่ตีแล้วเมล็ดไม่สลัดรวง





(433) เพื่อนกระเหรียงบอกให้ผมผสม ปู๋ ลู คี สู่ ที อี วา (ปุ๋ยลุงคิมสูตร ทรี อิน วัน – หรือสูตรสหประชาชาติ)ให้เค้าไว้ด้วย.... ไม่ยากเพื่อน จัดให้เลย

....ชุดที่เห็นน้ำสีดำ ๆ นี่ 1 ขวดเล็ก(ประมาณ 500 ซีซี)ให้ผสมน้ำ 400 ลิตร ฉีดข้าวทุก 15 วันตั้งแต่ปลูกแล้ว 20 วัน จนถึงวันเกี่ยวรวม 9 ครั้ง ..
...ส่วนแกลลอนสีขาวเป็น ปุ๋ยปลา ใช้สำหรับฉีดผัก …

.ผมนั่งรถทัวร์ ไม่ได้เอารถไปเอง มีกระเป๋าเดินทางอีก 1 ใบ ก็หิ้วมาได้แค่นี้แหละเพื่อน





(434) ขวดนี้เป็น ธาตุรอง ธาตุเสริม(มัลติแชมป์) + แมกสปีด(แมกนีเซี่ยม) + BK80 (สังกะสี) ผสมเสร็จแล้ว เพื่อนกระเหรี่ยงบอกว่า ....น้ำมันใส ดูไม่มีพลัง.........ไม่ยากว่ะ.......ผมก็เอา เหล็กคีเลท ใส่ลงไป น้ำมันก็ดำปี๋แบบนี้ ...เพื่อนบอกว่า ....แบ่ นี้ ช่า เลอ(แบบนี้ใช่เลย)

ของชุดนี้ ผมเอาไปเป็นซองใส่กระเป่าไป... ผสมน้ำแล้วเก็บเอาไว้ อัตราการใช้ 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

ส่วนสิ่งละอันพันละน้อยอื่น ๆ ก็บอกวิธีการทำ วิธีการผสมไว้ให้เจ้า ชาชา จดเอาไว้แล้ว ..........ส่วนน้ำสมุนไพรในป่ามีเยอะแยะ เก็บมา ต้มเอง ทำเอง…..(ของบางอย่าง ....บ้านเฮาไม่มี สูเอาตากแห้ง แล้วส่งไปให้เฮาบ้าง(โว๊ย)

ทำให้เสร็จเรียบร้อย เพื่อนกระเหรี่ยงบอกว่า.....ตะ บลือ เอาะ เม....(ขอบคุณครับ ไปกินข้าวกันดีกว่า)

ลืมบอกไปว่า ข้าวดอยรุ่นนี้ ปลูกในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ได้ข้าวตามมาตรากระเหรี่ยง... 11 หลัง 7 ควาย ครับ...( 1หลัง = 112 กก. ..1 ควาย = 14 กก.)
ได้กี่ถังคำนวณดูนะครับ

มาตรชั่ง ตวง วัด ของกระเหรี่ยง
1 หลัง = 8 ควาย
1 ควาย = 8 แป่
1 แป่ = 8 ควัก

เทียบเป็น กิโลกรัม
1 หลัง = 112 กิโลกรัม
1 ควาย = 14 กิโลกรัม


งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา

...ผมพาเพื่อน ๆ ไปดูการปลูกข้าวของกระเหรี่ยงบนดอยมาหลายรุ่น หลายตอน ก็ในฤดูกาลต่อ ๆ ไป เค้าก็คงทำเหมือนเดิม การนำเสนอมันก็คงซ้ำ ๆ กันแบบเดิม ๆ ..เรื่องราวต่าง ๆ ก็คงจบแค่นี้
..แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า เพื่อนเค้าจะส่งรูปมาให้ผมอีกหรือไม่ ถ้ามีรูปมาก็จะนำเสนอต่อนะครับ

ทีนี้.....มันมีเรื่องต่อจากนี้คือ ผมได้มีโอกาสไปคุยกับเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน แล้วก็เพื่อนชาวดอยที่ปลูกข้าว...
...ได้อะไรมาหลายอย่างหลายเรื่อง ทั้งเรื่องที่นำเสนอได้ และเรื่องที่พูดไม่ได้.....

แล้วก็มีเรื่อง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าว กข6 ข้าวสังข์หยด ซึ่งแต่เดิมเป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เป็นข้าวนาปี และปลูกได้เฉพาะพื้นที่ แต่ ณ ปัจจุบัน เค้าทำให้เป็นสายพันธุ์ที่เป็นข้าวไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง แล้วก็ปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย....

ที่น่าสนใจ เพื่อนกระเหรี่ยงของผม เค้าปลูกข้าวขาวมะลิ 105 ได้แล้วบนดอย.....


หากเพื่อสนใจก็ติดตามต่อใน เกษตรสัญจร 2 ภาค 2 นะครับ......

ขอบคุณครับลุงและเพื่อน ๆ ที่หลวมตัวเข้ามาอ่าน


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 31/12/2013 12:54 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย

บทที่ 17 ตอนที่ 6 - ข้าวสาลีบนดอย กับ ไก่ฟ้าพญาลอ(มันเกี่ยวกันตรงไหนหว่า)

ผมว่าจะจบชุดแล้ว แต่เพื่อนกระเหรี่ยงส่งรูปชุดนี้มาให้ บอกว่า เป็นการปลูกข้าวสาลีบนดอย ซึ่งมีแต่รูป ไม่ได้บอกว่า เป็นแปลงทดลองข้าวของใคร ปลูกที่ไหน และใครเป็นคนปลูก ผมอธิบายไม่ถูก เพราะไม่เคยปลูก….ก็ดูแต่รูปสวย ๆ ก็แล้วกันนะครับ....




(436)



(437)



(438 )



(439)



(440)



(441)

(436 – 441) รูปข้าวสาลีตั้งแต่ระยะกล้าอ่อน จนถึงออกรวง




(442)



(443)

(442 – 443) เป็นรูปไก่ฟ้าพญาลอ เพศผู้กับเพศเมียครับ…ขืนเอามาเลี้ยงขังกรงที่นครปฐม มีหวัง ได้ลงหม้อแกงก่อนจะมีลูกแน่ ๆ เพราะมันจะพยายามดิ้นรนหาทางออกจากกรงจนกว่ามันจะตายครับ และถ้าเอามาจริง ๆ คงโดนจับละครับ

...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 04/01/2014 11:46 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2

บทที่ 1 ตอนที่ 1 - แปลงทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 บนดอย

......ในตอนท้ายของเกษตรสัญจร 2 ภาค 1 ...ผมบอกไว้ว่า....ผมพาเพื่อน ๆ ไปดูการปลูกข้าวของกระเหรี่ยงบนดอยมาหลายตอน ก็คงจบแค่นี้ ..เพราะในฤดูกาลต่อ ๆ ไป เค้าก็คงทำเหมือนเดิม...แต่

ทีนี้ มันมีเรื่องการปลูกข้าวบนดอยมาอีกคือ ผมขึ้นไปที่ปายครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 20 – 30 พย.56
มีโอกาสได้ไปคุยกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน และ กับผู้นำชุมชนชาวดอยที่กำลังระดมชนเผ่าบนดอยให้หันมาปลูกข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง... แทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งถูกบริษัท ซีพัง เอาเปรียบสารพัดอย่าง....ได้ความรู้มาหลายเรื่อง มีทั้งเรื่องที่นำเสนอได้ และเรื่องที่รับฟังได้ แต่พูดไม่ได้.

.... โดยเฉพาะมีงานวิจัยเรื่อง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าว กข15 และข้าวสังข์หยดพัทลุง ซึ่งแต่เดิมเป็นข้าวไวแสง เป็นข้าวนาปี ปลูกได้เฉพาะพื้นที่ปีละครั้ง.... แต่ ณ ปัจจุบัน เค้าทำให้เป็นสายพันธุ์ที่เป็นข้าวไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง แล้วก็ปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย..

.แล้วก็ยังมี ข้าวกข6 สายพันธุ์ใหม่ต้นเตี้ย .

ที่น่าสนใจ เพื่อนกระเหรี่ยงของผม เค้าทดลองนำข้าวขาวมะลิ 105 ไปปลูกบนดอย

รูปชุดนี้เป็นแปลงทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 บนดอย
เค้าไม่เคยบอกผมมาก่อนว่าได้ทดลองปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ โดยบอกเหตุผลว่า เป็นการทดลองจึงไม่ได้บอก และต้องการ Surprise เมื่อผมไปถึง

…..เพื่อที่จะให้เรื่องต่อเนื่องกัน ผมไม่อยากเปิดกระทู้ใหม่...ก็เลยเขียนต่อจากเกษตรสัญจร 2 ภาค 1 .....เป็นเกษตรสัญจร 2 ภาค 2




(1)



(2)



(3)



(4)

(1 – 4) เพื่อนส่งมามีแต่รูป ไม่มีคำอธิบายประกอบ บอกเพียงแต่ว่า...
.. เป็นแปลงทดลอง เอาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไปปลูกบนดอย

เป็นไงครับเพื่อนชาวนาพื้นราบ ที่รอจำนำข้าวเกวียนละ 12,000 ทั้งหลาย..... กระเหรี่ยงบนดอย Offside นำร่องเอาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ขึ้นไปทดลองปลูกบนดอย

เกี่ยวแล้วสีเป็นข้าวกล้อง ขายได้ลิตรละ 30 บาท(กระเหรี่ยงและชาวดอยจะขายข้าวเป็นลิตร ไม่ขายเป็นกิโลกรัมครับ)..(ตามมาตราชั่งตวงวัด.. 20 ลิตร เป็น 1 ถัง (600 บาท)....100 ถัง เป็น 1 เกวียน..ขายข้าวกล้อง 1 เกวียน ก็เป็นเงิน 60,000 บาท) ในขณะที่เพื่อน ๆ ชาวนาพื้นราบ ยังมัวแต่รอจำนำข้าวที่คนกินไม่ได้เกวียนละ 12,000 อยู่อีกหรือ(จะได้เต็ม 12,000 หรือเปล่าก็ยังไม่รู้).

...จำนำข้าวรุ่นที่ผ่านมา ยังไม่มีใครได้เงินกันซักคนเลยจ้า.....รบ. บอกว่า เพราะมี ม๊อบ จึงจ่ายเงินค่าจำนำข้าวไม่ได้ ...เข้าใจเล่นว่ะ...

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 24/01/2014 8:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 08/01/2014 10:28 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2

บทที่ 2 ตอนที่ 1 - เตรียมลุย แปลงทดลองข้าวขาวดอกมะลิ 105 บนดอย

ระหว่างวันที่ 20 – 30 พย.56 ผมได้มีโอกาสขึ้นไปที่ปาย มาอีกรอบนึง แล้วก็โต๋เต๋ขึ้นไปหาเพื่อนกระเหรี่ยงบนดอยด้วย....

การไปคราวนี้ ก็มีข่าวเด่นประเด็นร้อนเกี่ยวกับข้าว 3 สายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่ไวแสง ...ซึ่งผมได้นำเสนอไปแล้วนิดหน่อยใน เกษตรสัญจร 2 ภาค 2 บทที่ 1 ตอนที่ 1

ก็ได้ตกลงนัดหมายกันว่า วันที่ 25 พย.56 จะฝ่าความหนาวเย็นบนยอดดอย.....ไปลุยแปลงทดลองข้าวที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน(จาก อ.ปาย คดเคี้ยว ขึ้นดอยไปทางตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอนอีก ประมาณ 75 กิโล...ไปคนละทางกับทางไปบ้านเจ้าโชเล่ ขับรถ มั๊น มัน มันทุกเม็ดยิ่งกว่าถั่วอบโก๋หนุ่ม)

แต่ก่อนจะลุย.....คงต้องนำเสนอเรื่องนี้ก่อน

เนื่องจากมีสมาชิกหลายท่านสนใจและสอบถามเรื่อง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์ใหม่(ข้าวไม่ไวแสง)

ก็ขอเล่าให้ฟังพอสังเขปก็แล้วกันนะครับ

..เรื่องของเรื่องก็คือ เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ หรือ คอบช. ซึ่งประกอบด้วย สวก., สกว., สวรส., สวทช., สกอ., สวทน., และ วช. ย่อมาจากอะไรบ้าง หาคำตอบเอาเองนะครับ ผมอ่านแล้วปวดตับ เพราะไม่รู้จักซักอัน

เอาเป็นว่า สำนักงานพัฒนาการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือ สวก. (Agricultural Research Development Agency ( Public Oeganization) หรือ ARDA…เค้าได้รับงบให้ทำการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าว.... โดยเฉพาะ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ข้าวสังข์หยดพัทลุง และ กข 15 เพื่อให้สามารถปลูกได้ทุกฤดู

ทั้งนี้เพราะ ข้าว 3 สายพันธุ์นี้ เป็นข้าวไวแสง จะปลูกได้ในฤดูหนาวเพียงฤดูเดียวเท่านั้น ประกอบกับ สภาวะอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการแปรปรวนของฤดูกาลต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล จึงต้องควรจะมีการปรับปรุงพันธุ์

เรื่องก็มาตกที่ ท่านผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ (อยู่ จว.เชียงใหม่นะครับ) ได้รวมทีมงาน ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าว 3 สายพันธุ์ยอดฮิต คือ พันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และ สังข์หยดพัทลุง ซึ่งเป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี เป็นข้าวต้นสูง และจะหักล้มง่าย ทำให้ผลผลิตต่ำ …

.ก็จะพัฒนาให้กลายเป็นข้าวที่ไม่ไวแสงอีกต่อไป....ต้นจะเตี้ยลง ปลูกได้ตลอดปี และสามารถเกี่ยวได้ด้วยรถเกี่ยว ....และทีมงานก็จะพัฒนาทั้งสายพันธุ์ข้าวเจ้า และข้าวเหนียวด้วย

ในการพัฒนานั้นเค้าทำยังไง.....

ท่านอาจารย์ วราภรณ์ ได้นำพันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ซึ่งมีลักษณะต้นเตี้ย และเป็นข้าวไม่ไวแสง(จากนาแปลงของใคร ไม่ได้บอก) เอามาเป็นพ่อพันธุ์ แล้วก็เอาข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ทีเอ่ยชื่อมาเป็นแม่พันธุ์...

เค้าเอามาผสมกลับแบบใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกพันธุ์ ...

....หลังจากปรับปรุงพันธุ์มา 3 ปี (กับอีกกี่เดือน กี่วันไม่ได้บอก) ก็ประสบความสำเร็จ ได้ข้าวพันธุ์ กข15, ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสังข์หยดพัทลุง ออกมาเป็นข้าวไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ทั้งปี ทุกฤดูกาล และมีลักษณะต้นเตี้ย โดยยังคงรสชาติ สี กลิ่น ความนุ่มหอมเหมือนเดินทุกประการ....

ที่สำคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้นเตี้ยลง สามารถต้านทานการหักล้ม ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 15 – 20 %

นอกจากนี้ ม.แม่โจ้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าจับตามองคือ งานปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสุพรรณบุรี 1 ให้มีเมล็ดข้าวกล้องยาวเท่ากับข้าว บัสมาติ ทั้งนี้เพราะว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ใช่พันธุ์ข้าวหอมชนิดเดียวในโลกที่หอม....ยังมีข้าว บัสมาติ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวหอมเมล็ดยาว ปลูกแพร่หลายในอินเดียและปากีสถาน

ข้าวบัสมาติ ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของข้าวหอมไทย ที่ผ่านมา ข้าวบัสมาติ ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 300 บาท ในขณะที่ ข้าวหอมมะลิไทยขายได้ กิโลกรัมละ 30 – 40 บาทเท่านั้น

ดังนั้นถ้าคุณหรือนักวิชาการไทย สามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ให้มีคุณภาพใกล้เคียงหรือดีกว่าข้าวบัสมาติได้ ก็ย่อมหมายถึงการเพิ่มศักยภาพการส่งออกข้าวหอมไทยสู่ตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ตลาดตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งนิยมบริโภคข้าวเมล็ดยาว...

นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยเรื่อง โยเกิร์ตข้าวก่ำลืมผัว อีกด้วยนะจ๊ะ ....

อย่างไรก็ตาม ทาง สกว. เค้าต้องส่งพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ ให้ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, เชียงราย, และพัทลุง ทดสอบเพื่อยืนยันผลผลิตให้ได้ผลเป็นที่แน่นอนอีกครั้ง จึงจะนำพันธุ์ข้าวออกส่งเสริมให้เกษตรกรต่อไป.....

หากสมาชิกท่านใดสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเอาเองได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน)...02 – 579 – 7435 ในวันและเวลาราชการ....หรือ www.arda.or.th ติดต่อได้เลย ไม่ต้องห่วงผมครับ.....


มีรูปให้ดู พอหอมปาก หอมแก้ม ด้วยนะครับ..




(5) โชว์ผลงานวิจัยที่แม่โจ้





(6) โชว์ผลงานในแปลงทดลอง.....ติดรวงขนาดนี้เข้าตำรา... เมล็ดละหม้อ กอละเกวียน.....เจ้าของนาที่ปลูก ร้องได้คำเดียวว่า วี๊แหว่ ๆๆๆ ต๊ายแหน่ ๆ ๆ ๆ ...


ไปลุยศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนต่อกันดีกว่าครับ....

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 24/01/2014 8:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 08/01/2014 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

ขอบคุณครับ รอติดตามอยู่ครับพี่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
boonsue
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/07/2013
ตอบ: 36

ตอบตอบ: 09/01/2014 2:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม ทิดแดง และสมช.ทุกท่าน
เย้ เราจะได้มีข้าวพันธ์ใหม่ปลูกกันแล้ว มีพันธุ์เหลือบ้างไหมคะ ขอซักน้อยนึง

เงียบไปซะนาน ไม่ได้หายไปไหนหรอกค่ะ ก็แอบติดตามความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดจ้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/01/2014 2:06 am    ชื่อกระทู้: แหวกหญ้าให้งูตื่น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

boonsue บันทึก:
สวัสดีค่ะ ลุงคิม ทิดแดง และสมช.ทุกท่าน
เย้ เราจะได้มีข้าวพันธ์ใหม่ปลูกกันแล้ว มีพันธุ์เหลือบ้างไหมคะ ขอซักน้อยนึง

เงียบไปซะนาน ไม่ได้หายไปไหนหรอกค่ะ ก็แอบติดตามความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดจ้า




สวัสดีครับลุงคิม และสมาชิกทุกท่าน

ผมบอกไว้ตอนท้ายเรื่องคราวก่อนแล้วไงว่า....

อย่างไรก็ตาม ทาง สกว. หรือ สวก. เค้าต้องส่งพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ ให้ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, เชียงราย, และพัทลุง ทดสอบเพื่อยืนยันผลผลิตให้ได้ผลเป็นที่แน่นอนอีกครั้ง จึงจะนำพันธุ์ข้าวออกส่งเสริมให้เกษตรกรต่อไป.....

และคุณ wit สมาชิก แจ้งผมว่า ได้ติดต่อไปที่ สกว. หรือ สวก. แล้ว ก็ได้ข้อมูลอย่างเดียวกัน คือ ต้องรอให้เค้าทดสอบก่อน แล้วก็รอให้กรมการข้าวประกาศรับรองสายพันธุ์ จากนั้นจึงจำหน่ายจ่ายแจกให้เกษตรกรชาวนาเอาไปปลูก.... คงไม่ทันวันแลกนาปีนี้แหง๋ ๆ

..จะรอจนน้ำท่วมหลังเป็ดหรือเปล่าไม่รู้นะ

ยังไงๆ สำหรับผมคงไม่รอให้เป็ดถูกน้ำท่วมหลังหรอกนะ

รูปตัวอย่าง...



แปลงทดลองพันธุ์ข้าว ศูนย์ฯ มส. ยาวไกลสุดลูกหูลูกตา....




ขี่แมงกะไซด์ 3 วันยังไม่รอบ แล้วคนงาน มีหลายชนเผ่า ...เด็กเราทั้งน๊าน....ด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ....น้ำมังสะวิรัตนำ แบล๊คซักขวด ....ธรรมชาติเสริม....ต้มเปรตปลาไหล....แกงป่านก...กบนายำ ....บรรยากาศเงียบสงบยามแลง ตะวันรอน....เชื่อพี่น่าพ่อ.... อะไรจะเหลือ.....จริงมั๊ยครับลุง

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 24/01/2014 9:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/01/2014 9:17 am    ชื่อกระทู้: Re: แหวกหญ้าให้งูตื่น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:


..จะรอจนน้ำท่วมหลังเป็ดหรือเปล่าไม่รู้นะ




อยากเห็น "น้ำท่วมหลังเป็ด" เหรอ ?

เอากะละมังใบใหญ่มา ใส่น้ำ ละลายแฟ็บ แล้วปล่อยเป็ดลงไป

เพราะไอ้เจ้าน้ำแฟ็บมันไปละลายไขมันที่ขนเป็ดไงล่ะ
ขนเป็ดไม่มีไขมัน เป็ดก็จมน้ำน่ะซี...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/01/2014 12:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:


รูปตัวอย่าง...



แปลงทดลองพันธุ์ข้าว ศูนย์ฯ มส. ยาวไกลสุดลูกหูลูกตา....




-----------------------------------------------------------------------------------------

COMMENT นี้ มิได้หมายถึงแปลงทดลองแปลงนี้โดยเฉพาะ แต่หมายถึงงานวิจัยจากแปลงทั่วไป ทุกแปลง ทั่วประเทศ
เพราะไม่เคยเห็น (อ่าน) งานวิจัยไหน สรุปรายการการให้ปุ๋ยในต้นข้าวถึงธาตุอาหารตัวอื่นเลย ..... หรือว่า !
- ธาตุอาหารตัวอื่นในจำนวน 14 ตัว ที่มีประโยชน์ต่อต้นข้าวมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ธาตุอาหารตัวอื่นๆ ไม่จำเป็น
- เจนตนาปิดบัง .... เพราะไม่เชื่อจริงๆ (สาบาล) ว่า ระดับนักวิชาการไม่รู้ถึงประโยชน์ที่แท้จริงของธาตุอาหหารพืช



COMMENT :
งานผลิตเมล็ดพันธุ์ :

การผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์คัดและชั้นพันธุ์หลัก :

...... ฯลฯ ................

การดูแลรักษา :
- รักษาระดับน้ำที่ 5-10 ซม. ตลอดระยะการเจริญเติบโต
- ใส่ปุ๋ย 3 ครั้งตามคำแนะนำ

ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง 16-20-0 หลังหว่าน 20 วัน หรือ 1 วันก่อนปักดำ อัตรา 25-30 กก./ไร่ และยูเรีย (46-0-0) ที่ระยะแตกกอ และกำเนิดช่อดอก ครั้งละ 10 กก./ไร่

ข้าวไวต่อช่วงแสง 16-20-0 หลังหว่าน 20 วัน หรือ 1 วันก่อนปักดำ อัตรา 20-25 กก./ไร่ และยูเรีย (46-0-0) ที่ระยะแตกกอ และกำเนิดช่อดอก ครั้งละ 5 กก./ไร่)


.................. ฯลฯ .................

ลิงค์ อ้างอิง :
http://brrd.in.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=153&Itemid=38

--------------------------------------------------------------------------------------------


ให้น่าสงสัย .... ?

ให้สารอาหารแค่ 46-0-0, 16-20-0 เพียงเท่านี้ แล้วสารอาหารตัวอื่นๆ ล่ะ... ?

แล้วข้อมูลทางวิชาการจากงานวิจัย (ไทย-ต่างประเทศ) ให้ใช้ แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม. เหล็ก, ฯลฯ เชื่อถือไม่ได้เลยเหรอ....?


มีความรู้สึกเหมือนว่า....
ที่ลุงคิม ส่งเสริมไปนั้น ขี่ฮก ทั่งเพ....
ที่ สมช. ทำแล้วได้ผล O.K. นั้น แท้จริง ขี่จุ๊ ขี้ตั๊วะ ขี้โม้ ทั้งน้านนนนนน ....

ยังงั้นเหรอ.....? !




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/01/2014 12:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2464
มหัศจรรย์ธาตุสังกะสี....


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2011&sid=e2a9bf3383fb208104003847bd6e6ce0
มหัศจรรย์ธาตุแคลเซียม



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2013&sid=e2a9bf3383fb208104003847bd6e6ce0
มหัศจรรย์ธาตุกำมะถัน



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2012&sid=e2a9bf3383fb208104003847bd6e6ce0
มหัศจรรย์ธาตุแม็กเนเซียม



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2014 11:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พลิกโฉมการทำนา ในยุคปุ๋ยเคมีแพง


โดย ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
E-mail : prateep.v@pan-group.com


ยุคทุนนิยมแข่งขันเสรีเป็นยุคทองของคนที่เข้มแข็ง คนอ่อนแอจะอยู่อย่างยากลำบาก เป็นยุคที่เกษตรกรต้องแข่งขันกันทั้งในด้านราคาและคุณภาพของผลิต จึงควรเร่งพัฒนาให้เป็น มืออาชีพ เร็วที่สุด กล่าวคือ ทำอะไรก็ต้องมีเป้าหมายชัดเจน มีหลักคิดที่ถูกต้อง ใช้ข้อมูล ความรู้ ความรอบคอบในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนจนถึงการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

ขณะที่ปัจจัยการผลิตมีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี เกษตรกรต้องทบทวนดูว่า ต้นทุนการผลิตจะลดลงได้อีกเท่าไร ? ด้วยวิธีใด ? โดยเริ่มจากการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิต จากนั้นกำหนดว่าจะลดค่าใช้จ่ายในส่วนไหน ? อย่างไร ?

ระวัง ! อย่าคิดแยกส่วน หรือคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว พืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงก็ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถจัดการให้เกิด ความลงตัวพอดี ระหว่างพันธุ์พืชกับปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดิน ปุ๋ย น้ำ แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น วัชพืช โรคแมลงศัตรูพืช เป็นต้น

สิ่งที่น่ากังวล คือ เกษตรกรขาดความตระหนักถึงความสำคัญของดิน ทั้งๆ ที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ และดินยังเป็นต้นทุนที่สำคัญยิ่งของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดินจึงเปรียบเสมือนรากฐานของชีวิตเกษตรกร

แปลกแต่จริง ดินเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุด แต่เกษตรกรรู้จักน้อยที่สุด

ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางมีการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็นถึงเท่าตัว โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ต้นข้าวจึงอ่อนแอ ล้มง่าย โรคแมลงระบาด ในขณะเดียวกัน ข้าวที่ปลูกในดินเหนียวในหลายพื้นที่เริ่มแสดงอาการขาดโพแทสเซียม (เมล็ดลีบ)

ความเชื่อที่ต้องเปลี่ยน คือ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมให้แก่ข้าวที่ปลูกในดินเหนียว เพราะดินมีโพแทสเซียมเพียงพอแล้ว เกษตรกรจึงใช้แต่ปุ๋ย 16-20-0 มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

สาเหตุของข้าวที่ปลูกในดินเหนียวแสดงอาการขาดโพแทสเซียม เพราะในปัจจุบันชาวนาปลูกข้าวปีละ 2-3 ครั้ง ใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง จึงมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกออกจากพื้นที่ในแต่ละปีมากกว่าในอดีตถึง 5-6 เท่าตัว ซึ่งในอดีตปลูกข้าวเพียงปีละครั้ง ใช้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้ผลผลิต 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในการผลิตข้าวเปลือก 1 ตัน ข้าวต้องใช้ไนโตรเจน 20 กก., ฟอสฟอรัส 5 กก., และโพแทสเซียม 25 กิโลกรัม

จึงมีแนวโน้มที่ดินไม่สามารถปลดปล่อยโพแทสเซียมออกมาให้ข้าวใช้ได้อย่างเพียงพอ


จากเวทีเสวนาของเกษตรกรผู้นำจากศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดดังกล่าว สรุปว่า ควรปลูกข้าวเพียงปีละ 2 ครั้ง และถ้าต้องการลดต้นทุนการทำนาลงร้อยละ 20 โดยผลผลิตข้าวไม่ลดลง ต้องดูแลจัดการ 4 จุดคอขวด (จุดวิกฤต/จุดเปลี่ยน/จุดเป็นจุดตาย) ดังนี้

(1) เมล็ดพันธุ์ข้าว : ปัญหาคุณภาพ (เมล็ดข้าวดีดข้าวเด้ง) และใช้อัตราเมล็ดพันธุ์มากเกินไป แนะนำให้ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 20-25 กิโลกรัมต่อไร่

(2) การปรับปรุงบำรุงดิน : ปัญหาการเผาฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว แนะนำให้ไถกลบหรือหมักฟางในนา และเร่งการผุพังสลายตัวด้วยน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดปุ๋ยไนโตรเจนลงได้มาก ทั้งยังลดการระบาดของหนอนกอ สำหรับดินที่เสื่อมโทรม ให้ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด โดยใช้ปอเทือง ถั่วมะแฮะ ฯลฯ)

(3) ปุ๋ยเคมี : ปัญหาใช้ปุ๋ยเคมีไม่ตรงกับความต้องการของข้าว ทั้งสูตรปุ๋ยและปริมาณปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งใช้เกินถึง 2-3 เท่าตัว แนะนำให้ ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนจากการใส่ปุ๋ยแบบ เสื้อโหล มาเป็นแบบ สั่งตัด รวมทั้งต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 (ปุ๋ยแต่งหน้า) ให้ตรงเวลาด้วย แนะนำให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 (ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนทั้งหมด) ในวันที่ 60 นับถ้อยหลังจากวันเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นระยะกำเนิดช่อดอกของข้าว

(4) สารฆ่าแมลง : ปัญหาใช้สารฆ่าแมลงเกินความจำเป็น ปัญหานี้ลดลงมามาก เมื่อใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพในอัตราที่เหมาะสมและใช้ปุ๋ยเคมีถูกต้อง และแนะนำให้สำรวจแมลงศัตรูข้าวก่อนฉีดพ่นสารฆ่าแมลง

หมายเหตุ :
ควรวิเคราะห์ดินก่อนการปลูกข้าวและข้าวโพดทุกครั้ง (3-4 ครั้งแรก) เพื่อปรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดินในไร่นา โดยการสังเกตการเจริญเติบโตของพืช หลังจากนั้นควรวิเคราะห์ดินทุกๆ 2 ปี

นอกจากนี้ แนะนำให้ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และไถกลบฟางข้าว หรือหมักฟางข้าวในนา เพราะจะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน และยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย

ฉะนั้น ควรใช้วิกฤตปุ๋ยเคมีแพงเป็นโอกาสใน การเคลื่อนใจ เคลื่อนความคิด ของชาวนาให้ตระหนักถึงความสำคัญของ ดิน เพราะ ถ้าดินดี ย่อมใช้ปุ๋ยน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ และเร่งส่งเสริมให้ชาวนาผลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของผืนนา โดยการสร้างโอกาส บรรยากาศ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้ชาวนาได้ยกระดับความรู้ด้านดินและปุ๋ย

เพราะ ถ้าไม่รู้จักดิน ไม่รู้จักปุ๋ย จะปรับปรุงดิน หรือใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร?



http://news.sanook.com/scoop/scoop_256280.php


.

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 5 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©