-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 21 MAR
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 21 MAR
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 21 MAR

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/03/2012 5:38 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 21 MAR ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 21 MAR

**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ก่อนเริ่ม
รายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

**********************************************************



จาก : (080) 481-42xx
ข้อความ : ทำไมพืชพื้นเมืองจึงไม่ต้องการปุ๋ยเคมี....
ตอบ :
เป็นคุณลักษณะทางธรรมชาติโดยเฉพาะ
พืชประเภทใช้เป็นสมุนไพรหรือยา ถ้าได้รับปุ๋ยเคมี (ปุ๋ยสังเคราะห์) จะเจริญเติบโตดีมาก แต่คุณภาพไม่ค่อยดี เช่น เนื้อฟ่าม กลิ่น-รส-สี ไม่จัด

แต่พืชประเภทใช้เป็นอาหาร ควรได้รับปุ๋ยเคมี (ปุ๋ยสังเคราะห์) บ้างเล็กน้อย จะช่วยให้การเจริญเติบโตดี และคุณภาพดีขึ้น


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 903-17xx
ข้อความ : มะม่วงยางไหลตามต้นแก้ไขอย่างไร.....ฉะ
ตอบ :
สาเหตุเพราะขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน อย่างรุนแรง
มะม่วงเขียวเสวยมักมีอาการนี้มากกวาสายพันธุอื่น


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 903-17xx
ข้อความ : กระรอกกัดกินมะม่วงเสียหาย ใช้สมุนไพรตัวไหน....ฉะ
ตอบ :
ใช้สมุนไพรรสขมจัด เช่น บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร ฉีดพ่นที่ผลโดยตรง สารในบอระเพ็ดเป็นสารดูดซึม จะอยู่ในเนื้อมะม่วงนาน 7-10 วัน

พร้อมกันนั้นควรจัดอาหารสำหรับกระรอก เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาด แตงกวา ใส่ถาดวางไว้บนพื้นดินโคนต้นด้วยเพื่อให้กระรอกมากิน เมื่อกระรอกกินอิ่มแล้วก็จะไม่ไปวอแวกับผลมะม่วงอีก


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 798-63xx
ข้อความ : ไนโตรเจนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของต้นข้าวในช่วงไหน อย่างไรบ้างครับ....
ตอบ :
มีความสำคัญต่อพืชทุกชนิด ทุกระยะ ตั้งแต่เกิดถึงตาย ไม่ใช่เฉพาะแต่ต้นข้าวเท่านั้น เพราะต้นข้าวก็คือพืช

การที่จะให้ไนโตรเจนเกิดประสิทธิภาพทางไหนต่อต้นพืช จำเป็นต้องมีปุ๋ยตัวอื่นช่วยกำกับหรือร่วมไปด้วยเสมอ

กรณีไนโตรเจนต่อต้นข้าว :
ระยะกล้า-แตกกอ.....................3:1:1 หรือ 2:1:1
ระยะตั้งท้อง-ออกรวง.................46-0-0
ระยะน้ำนม.............................3:1:2

ข้อมูลจากอีรี. ระบุว่า ไนโตรเจน.ทางใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5 วัน ช่วยให้ต้นข้าวออกรวงดี ชาวนาไทยเรียกว่า "สารลมเบ่ง" นั่นแหละ




หน้าที่ของไนโตรเจน

สารประกอบไนโตรเจนที่พบในเนื้อเยื่อของพืชมีทั้งที่เพิ่งดูดเข้าไปและยังไม่เปลี่ยนแปลงกับอินทรียสารซึ่งมีการสังเคราะห์ขึ้นใหม่จากไนเตรท แอมโมเนียและยูเรียที่พืชดูดได้ อินทรียสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอาจแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม คือ

1. โปรตีน (proteins) ประกอบด้วยกรดอะมิโน (amino acids) ชนิดต่าง ๆ ต่อเรียงกันอย่างมีแบบแผน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 หน่วย โดยกรดอะมิโนเหล่านั้นเชื่อมกันด้วยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) โปรตีนมีหน้าที่สำคัญมากในเซลล์โดยเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของ
(ก) ไซโทพลาซึม
(ข) เยื่อเป็นทั้งโครงสร้างและพาหะในการเคลื่อนย้ายสารผ่านเยื่อ
(ค) เอนไซม์ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาชีวเคมีจึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมอย่างกว้างขวาง

2. กรดอะมิโน มีไนโตรเจนอยู่ที่หมู่อะมิโน (amino group) กรดอะมิโนเป็นหน่วยในโครงสร้าง (building blocks) ของโปรตีน โดยต่อเรียงกันอย่างมีแบบแผน นอกเหนือจากกรดอะมิโนที่เป็นโครงสร้างของโปรตีนแล้ว ยังมีอีกมากที่อยู่อย่างอิสระในเซลล์ สัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละอย่าง กรดอะมิโนอิสระกับกรดอะมิโนในโครงสร้างของสารต่าง ๆ เป็นลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด

3. ฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนที่พืชสังเคราะห์ขึ้นเองและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ คือ ออกซิน (auxins) กับไซโทไคนิน (cytokinins) กรดอินโดลแอซิติก (indole-3-acetic acid, IAA) เป็นออกซินที่พืชสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนชื่อทริปโตเฟน (tryptophane) บทบาทที่สำคัญของ IAA ต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เร่งการขยายขนาดเซลล์ ควบคุมการแตกราก ยับยั้งการเจริญของตาข้าง ป้องกันการร่วงของใบ กิ่งและผล ไซโทไคนินเป็นฮอร์โมนพืชที่ส่งเสริมการแบ่งเซลล์ การขยายขนาดเซลล์ ส่งเสริมการสร้างและการเจริญของตา ช่วยในการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการสร้างโปรตีน ชลอความเสื่อมตามอายุ (senescence) ซึ่งองค์ประกอบทางเคมี คือ 6-(4-hydroxy-3-methyl-trans-2-butenylamido) Purine สำหรับไซโทไคนินที่พบในพืชต่าง ๆ ล้วนเป็นอนุพันธ์ของ isopentenyl adenine

4. กรดนิวคลิอิก (nucleic acids) มีอยู่ 2 ชนิด คือ ribo nucleic acid (RNA) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน และ deoxyribo nucleic acids (DNA) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลทางพันธุกรรม

5. สารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ เช่น อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (adenosine triphosphate, ATP) โคเอนไซม์ (Co-enzymes) เช่น NAD (nicotinamide adenine dinucleotide) และ NADP (nicotinamide adenine dinucleotide phosphate)

6. สารประกอบไนโตรเจนที่พืชสะสมไว้ (reserves) หรือทำหน้าที่ป้องกัน (protective compounds) เช่น แอลคาลอยด์ (alkaloids) ตัวอย่างของแอลคาลอยด์ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ นิโคติน (nicotine) จากใบยาสูบ และมอร์ฟีน (morphine) จากฝิ่น

http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/indexnitro.htm





หลักการของการจัดการธาตุอาหารพืช

หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนใหญ่ได้มาจาก Dobermann, A. and Fairhurst, T. 1999. Field handbook. Nutritional disorders and nutrient management in Rice. IRRI, PPI/PPIC.

หลักการที่สำคัญในเรื่องของการให้ธาตุอาหาร คือ การให้ธาตุอาหารแก่พืชในปริมาณและช่วงระยะเวลาที่พืชต้องการ ธาตุอาหารแต่ละชนิดที่อยู่ในดินจะมีการ
เคลื่อนย้ายได้แตกต่างกันไป ซึ่งจะมีผลต่อความเป็นประโยชน์สำหรับพืช ไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีการเคลื่อนย้ายได้ดีในดิน ขณะที่ฟอสฟอรัสเป็นธาตุ ที่เคลื่อนย้ายได้ยาก

ส่วนโพแทสเซียมเป็นธาตุที่มีความสามารถเคลื่อนย้ายในดินได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยทั่วไปแล้วไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีข้อจำกัดมากที่สุด โพแทสเซียมที่ข้าวดูดกินขึ้นไป ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในส่วนของตอซัง ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของตอซังข้าว จะมีผลอย่างมากต่อเรื่องความสมดุลย์ของ ธาตุโพแทสเซียม ในการจัดการเกี่ยวกับธาตุไนโตรเจนที่อยู่ในดินในรูปของไนเตรตจะมีการสูญเสียไปในรูปก๊าซ เมื่อดินมีสภาพน้ำขังและขาดแคลนก๊าซออกซิเจน นอกจากนั้นยังอาจเกิดการสูญเสียได้ในกระบวนการ ชะล้างไปยังดินชั้นล่าง


หลักการที่สำคัญของการจัดการธาตุไนโตรเจน คือ ความต้องการของพืช ไนโตรเจนที่ได้รับพอเพียงในช่วงระยะการตั้งตัวของข้าวจนถึงการแตกกอจะเป็นการประกันที่จะทำให้ข้าวมีจำนวนกอต่อหน่วยพื้นที่ในปริมาณที่มากพอ

ไนโตรเจนที่ได้รับพอเพียงในช่วงระยะก่อนและระยะการแทงช่อรวงอ่อน จะเป็นการประกันทำให้รวงที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่ และจะเป็นแหล่ง สะสมของอาหาร (sink)

ไนโตรเจนเกือบทั้งหมดที่จะให้กับข้าวควรใส่ในระยะก่อนจนถึงหรือระยะการแทงช่อรวงอ่อน

ไนโตรเจนที่ได้รับพอเพียงในช่วงระยะการสะสมของเมล็ดจะเป็นการประกันทำให้ได้รับผลผลิตสูงทั้งนี้เนื่องมาจากกระบวนการแสงสังเคราะห์

ฤดูกาล
รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้อยู่ที่ระดับ 5 เซนติเมตร และระบายน้ำออกให้มากขึ้นเมื่อต้องการใส่ปุ๋ยในช่วงระยะกลางของฤดูปลูก ทุก ๆ วันที่พืชมีสีเหลือง ก็เป็นผลกำลังจะทำให้ผลผลิตสูญหายไป


ปริมาณ
ในการผลิตข้าวเพื่อให้ได้น้ำหนักเมล็ด 1 ตัน ข้าวจะต้องได้รับธาตุอาหารต่าง ๆ โดยประมาณ ดังต่อไปนี้

- ไนโตรเจน (N) 15-20 กิโลกรัม
- ฟอสฟอรัส (P) 2-3 กิโลกรัม
- โพแทสเซียม (K) 15-20 กิโลกรัม

ถ้าปล่อยตอซังข้าวทั้งหมดเอาไว้ในนา ก็จะทำให้ปริมาณของโพแทสเซียมที่จะใช้ลดลงไปได้ 3-5 กก. ต่อเฮกตาร์ ต่อผลผลิตเมล็ดข้าว 1 ตัน ทั้งนี้จะต้องกระจายตอซังให้ทั่วพื้นนาอย่างสม่ำเสมอ

ผลของฤดูกาล
ความต้องการปุ๋ยไนโตรเจนจะน้อยกว่าในกรณีที่ปลูกข้าวในฤดูฝน (มีแสงอาทิตย์น้อยกว่าและมีศักยภาพในการให้ผลผลิต น้อยกว่า) ในขณะที่ต้องการปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าสำหรับข้าวที่ปลูกในฤดูแล้ง (มีแสงอาทิตย์มากกว่าและมีศักยภาพในการให้ผลผลิตมากกว่า) ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ในปริมาณมากกว่าจะทำให้มีการแตกกอมากขึ้น มีพื้นที่ใบมากขึ้น และสุดท้ายจะทำให้ได้รับผลผลิตมากขึ้น

เวลาที่เหมาะสม
ไนโตรเจนเกือบทั้งหมดควรใส่ในระยะเวลาช่วงก่อนจนถึงช่วงการแทงช่อรวงอ่อน
ปุ๋ยไนโตรเจนที่แนะนำให้ใช้ในอัตราสูงกว่า 60 กิโลกรัม N ต่อเฮกตาร์ต่อฤดูปลูก ควรแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง สำหรับข้าวที่ปลูกในฤดูฝน หรือแบ่งใส่ 3-5 ครั้ง สำหรับข้าวที่ปลูกในฤดูแล้ง จำนวนครั้งของการแบ่งใส่ปุ๋ยควรมากขึ้นสำหรับข้าวพันธุ์อายุยาว
โดยเฉพาะถ้าปลูกในฤดูแล้งและเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตสูงกว่า การจัดการเกี่ยวกับธาตุไนโตรเจนทำให้มีความสมดุลย์ของการพัฒนาการของส่วนที่เป็น sink และ source หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณมาก ๆ เป็นปุ๋ยรองพื้น (เช่น อัตราที่มากกว่า 50 กิโลกรัม N ต่อเฮกตาร์) สำหรับข้าวนาดำ (transplanted rice) ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงระยะ 3 สัปดาห์หลังจากมีการปักดำข้าว จะเป็นระยะที่ข้าว เจริญเติบโตช้า ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นควรมีการคลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ดีก่อนที่จะปักดำหรือหว่านข้าว

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะที่ข้าวมีอายุมาก (ระยะออกดอก) จะช่วยยืดอายุทำให้ใบแก่ช้าออกไป และช่วยเพิ่มการพัฒนา ของเมล็ดให้ดีขึ้น โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกในฤดูแล้งและเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง


การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรปฏิบัติดังนี้
ใส่ในระยะแรกเพื่อกระตุ้นการแตกกอ ซึ่งทำให้มีส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เป็น source (ใบ) พอเพียง และทำให้มีจำนวนกอที่จะทำหน้าที่เป็น sink (รวง) พอเพียงใส่ในช่วงการแทงช่อรวงอ่อน ซึ่งทำให้ได้เมล็ดที่มีขนาดใหญ่พอที่จะใช้สะสมอาหารในช่วงที่ข้าวแก่

ปุ๋ยโพแทสเซียมครึ่งหนึ่งควรแบ่งใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น และส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งใส่ในระยะช่วงกลางของการแตกกอ ต้องหลีกเลี่ยงการไหลบ่าของน้ำเพื่อไม่ให้ปุ๋ยสูญเสียไป มีการศึกษาการทดสอบในไร่นาที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยแบ่งใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมครึ่งหนึ่งใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น อีกครึ่งหนึ่งใส่ในระยะออกรวง ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ข้าวมีความต้านทานต่อการทำลายของแมลงได้ดีขึ้น

ปุ๋ยโพแทสเซียมอาจมีผลบ้างต่อการล้มของข้าว แต่ในส่วนหลังนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการล้มของข้าว และการเข้าทำลายของศัตรูข้าว จึงไม่ควรที่จะใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่มากเกินพอ ในช่วงระหว่างการแทงช่อรวงอ่อน และช่วงระยะออกดอกโดยเฉพาะการปลูกข้าวในฤดูฝน

การจัดการเกี่ยวกับน้ำ:
ต้องระบายน้ำออกจากนาข้าวก่อนที่จะมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นปุ๋ยแต่งหน้า หลังจากนั้นให้ทดน้ำเข้าในนาเพื่อให้ปุ๋ยไนโตรเจนมีการเคลื่อนย้ายในดินได้ดีขึ้น เพื่อเป็นการลดการสูญเสียไนโตรเจนไปในรูปของก๊าซ จึงไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียลงไปบนน้ำที่นิ่งในขณะที่มีลมแรง และในช่วงที่ข้าวยังมีใบปลกคลุมไม่เต็มพื้นที่ และไม่ควรใส่ปุ๋ยในช่วงระยะเวลาเที่ยงวัน เนื่องจากน้ำในนามีอุณหภูมิสูง


รูปของปุ๋ย : ปุ๋ยไนโตรเจนควรใช้ในรูปของปุ๋ยแอมโมเนียม

การปรับปรุงเพื่อให้ข้าวดูดกินไนโตรเจนได้ดีขึ้น:
คลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากับดิน และรักษาให้ดินมีความชื้นที่อิ่มตัวอย่างต่อเนื่อง
ถ้าดินมีการเปลี่ยนสลับกลับไปกลับมาระหว่างสภาพที่มี และสภาพที่ขาดก๊าซออกซิเจน ปุ๋ยที่ข้าวดูดกินมาได้คิดเป็นร้อยละ 30 ถึง 40 หรือน้อยกว่าจากปุ๋ยที่ใส่รองพื้น ในสภาพที่มีน้ำท่วมขังอย่างถาวร ปุ๋ยที่ใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้าในระยะช่วงกลางของการแตกกอข้าวจะดูดกินมาได้คิดเป็นร้อยละ 40 ถึง 50 ส่วนที่ใส่ในช่วงการแทงช่อรวงอ่อนข้าวจะดูดกินได้คิดเป็นร้อยละ 60 ถึง 70



http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/Technology%20Changes_Rice/07.p;ant%20nutrition%20mang.htm


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 501-36xx
ข้อความ : ลุงชิน หนูเอาน้ำปุ๋ยฉีดอ้อยครั้งเดียวพอไหมคะ.....จาก หนองตากยา
ตอบ :
ถามอ้อยเองซิครับ ..... ลุงคิมไม่รู้ เพราะไม่ได้เป็นอ้อย.

อ้อยเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ

งานวิจัยหลายมหาวิทยาลัย ยืนยันตรงกันว่า อ้อยต้องการน้ำ 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 .............. หลังปลูก หรือหลังเจียนตอ ต้องเร่งให้ภายในไม่เกิน 3 วัน
ครั้งที่ 2 .............. ระยะย่างปล้อง
ครั้งที่ 3 และ 4 ...... อ้อยโตแล้ว


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (080) 489-52xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ ถ้าเราจะใช้ปุ๋ยน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเลย ปลูกผักอินทรีย์ตามสเปคของคนรับซื้อ
จะได้ไหมคะ.....จุ๋มค่ะ
ตอบ :
การที่จะให้พืชเจริญเติบโตก็ต้องให้พืชได้รับสารอาหาร ไม่ว่าคนรับซื้อที่ไหนก็ต้องการสเปคใหญ่ๆทั้งนั้น เว้นเสียแต่ไม่มีสเป็คใหญ่ๆให้เลือกเท่านั้น.....สารอาหารที่พืช (ทุกชนิด) ต้องการ คือ ธาตหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ .... สารอาหารมี 2 ชนิด (ประเภท/แบบ/ฯลฯ) คือ สารอาหารอินทรีย์ กับสารอาหารเคมี....สารอาหารอินทรีย์มีเปอร์เซ็นต็เนื้อสารอาหารน้อย เพราะเกิดเองตามธรรมชาติ แต่ในสารอาหารเคมีมีเปอร์เซ็นต์เนื้อสารอาหารมากเพราะเกิดจากฝีมือมนุษย์สร้าง

โดยหลักการทางธรรมชาติแล้ว พืชผักสวนครัวอายุสั้นฤดูกาลเดียว มีความจำเป็นต้องใช้สารอาหารในปริมาณไม่มากนัก เมื่อเทียบกับไม้ใหญ่ยืนต้น นั่นคือ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่ทำมาจากวัสดุส่วนผสมที่เลือกสรรเป็นพิเศษก็มีเปอร์เซ็นต์สารอาหารสำหรับบำรุงพืชผักสวนครัวให้เจริญเติบโตเป็น เกรด เอ. ได้

การปลูกพืชหรือผักโดยไม่ใช้สารอาหารเคมีที่เรียกว่า "ปุ๋ยเคมี" เลยนั้น จึงมีทางทำได้ คือ ไม่ใช้สารอาหารเคมี (ปุ๋ยเคมี/ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์) แล้วใช้แต่สารอาหารอินทรีย์ (ปุ๋ยอินทรีย์/ฮอร์โมนอินทรีย์) .....

ข้อพิจารณาก็คือ พืชผักที่ได้รับสารอาหารอินทรีย์ ถ้าปริมาณหรือเปอร์เซ็นต์สารอาหารในอาหารอินทรีย์มีมากพอ พืชผักนั้นก็เจริญเติบโตดี มีคุณภาพสูงได้ แนวทางแก้ปัญหาสารอาหารอินทรีย์มีน้อยหรือมีไม่พอเพียงก็คือ ทำขึ้นมาเอง โดย เลือก/เพิ่ม/เติม/บวก ส่วนผสมที่เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีสารอาหารเฉพาะอย่างในอินทรีย์วัตถุนั้นๆให้มากขึ้น เช่น

ปลาทะเลมีสารอาหารมากกว่าปลาน้ำจืด
ปลาน้ำจืดมีสารอาหารมากกว่าหอยเชอรี่
หอยเชอรี่มีสารอาหารมากว่าพืชผักผลไม้ เป็นต้น .....

จากนั้นเข้าสู่กระบวนการผลิต (หมัก/สกัด) เพื่อเปลี่ยนรูปอินทรีย์สารที่ได้จากอินทรีย์วัตถุ (ส่วนผสม) ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ เช่น โปรตีนเปลี่ยนรูปเป็นอะมิโนโปรตีน เป็นต้น

ใช้ควบคู่กับ ....
- เทคนิค เตรียมดิน-เตรียมแปลง อย่างเหมาะสม
- เทคนิคการให้สารอาหารอย่างเหมาะสม
- ฮอร์โมนธรรมชาติอย่างเหมาะสม

ผักกินใบ ผักกินผล ผักกินยอด ผักกินดอก ผักกินหัว ต้องการชนิดของสารอาหารและฮอร์โมนต่างกัน เพราะฉนั้นต้องเลือกให้ตามความเหมาะสมด้วย

สรุป :
ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สามารถทดแทน ปุ๋ยเคมีได้ ถ้าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพนั้นมี ชนิดและปริมาณ ของสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผักสวนครัว

------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (086) 278-41xx
ข้อความ : ปีนี้ทุเรียนดกมากกว่าปีก่อนๆ จะบำรุงอย่างไรให้ทุกลูกคุณภาพดี....
ตอบ :
บำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์สะสม (เน้นย้ำ...สะสม) ตลอดปี เพื่อเตรียมต้นให้พร้อมล่วงหน้า ...ช่วงมีผลบนต้นให้บำรุง ดังนี้....

ทางใบ ...... แม็กเนเซียม-สังกะสี-ฯลฯ (ไบโออิ) สลับ 21-7-14 + ไคโตซาน + อะมิโนโปรตีน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (ยูเรก้า) อาทิตย์ละครั้ง เสริมด้วยแคลเซียม โบรอน เดือนละ 1 ครั้ง

ทางราก...... ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้วัว-ขี้ไก่) ยิบซั่ม เศษพืชแห้งคลุมโคน, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 เดือนละ 1 ครั้ง, ให้น้ำสม่ำเสมอ ....ต้นใหญ่มาก อายุต้นมาก ติดผลบนต้นดกมาก แนะนำให้ใส่ 21-7-14 เพิ่ม 500 กรัม - 1 กก./ต้น/เดือน เพื่อต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้วจะไม่ได้ไม่โทรมเนื่องจากต้องรับภาระเลี้ยงผลบนต้นมากจนเกินกำลัง

หมายเหตุ (1) :
- คุณภาพของผลผลิตจะดีได้ต้อง "ถึง" ธาตุรอง/ธาตุเสริม เท่านั้น....ตัวอย่างมีให้พิสูจน์ที่ไร่กล้อมแกล้ม ที่เรียกว่า "รสจัดจ้าน" นั่นแหละ

- ทุเรียนลูกยอด (ปลายกิ่ง) มักไม่มีเนื้อ สาเหตุมาจากไม่ได้รับสารอาหาร....การให้สารอาหารทางราก ทำให้ลูกแรกในกิ่งได้รับอาหารเต็มที่ แต่ลูกสุดท้ายปลายกิ่งกลับไม่ได้ .... แนวทางแก้ไข คือ ให้อาหารทางใบ แบบนี้จะทำให้ลูกสุดท้ายปลายกิ่งกลายเป็นลูกแรกที่ได้รับอาหาร ทำให้มีเนื้อและคุณภาพดี ไม่ต่างจากลูกแรกโคนกิ่ง

หมายเหตุ (2) :
ทุเรียนผลดกมากย่อมต้องการสารอาหารมากขึ้น ปุ๋ย 21-7-14 ที่มีอยู่ในระเบิดเถิดเทิงอาจไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไขดังนี้....

- ต้นสาวอายุ 5 ปี ให้ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 แล้วใส่ 21-7-14 เพิ่มอีกต่างหาก อัตรา 500 กรัม/ต้น/เดือน หรือ 250 กรัม/ต้น/15 วัน

- ต้นอายุ 5 ปีขึ้นไป ให้ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 แล้วใส่ 21-7-14 เพิ่มอีกต่างหาก อัตรา 1 กก./ต้น/เดือน หรือ 500 กรัม/ต้น/ 15 วัน

โดยละลายปุ๋ยในระเบิดเถิดเทิงแล้วราดรดโคนต้นตามปกติ หรือปล่อยไปกับระบบน้ำสปริงเกอร์ก็ได้

ถ้าปุ๋ยธาตุหลักไม่เพียงพอ นอกจากจะได้ผลผลิตที่คุณภาพไม่ดีหรือไม่สมบูรณ์แบบจริงแล้ว หลังเก็บเกี่ยวผลหมดต้น สภาพต้นจะโทรมมาก ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตรุ่นหน้าอีกด้วย


หมายเหตุ (3):
ระหว่าง "ทุเรียนไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี" กับ "มะเขือ-พริก ไม้ผลอายุสั้นอายุปีเดียว" ย่อมมีความต้องการปริมาณสารอาหาร มาก/น้อย ต่างกัน.....ปริมาณสารอาหารธาตุหลักในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงอาจจะเพียงพอสำหรับ มะเขือ-พริก แต่คงไม่เพียงสำหรับทุเรียนอย่างแน่นอน นั่นคือ ต้องเพิ่มปริมาณสารอาหารธาตุหลักในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดให้มากขึ้นตามความต้องการของทุเรียนนั่นเอง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเทิงมีส่วนผสมที่เป็นสารอาหารธาตุหลักในปริมาณที่เพียงพอหรืออาจจะเพิ่มอีกเล็กน้อยสำหรับพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว หากจะใส่ให้มากจนเพียงพอสำหรับไม้ผลยืนต้นไม่สามารถทำได้ เพราะเนื้อสารอาหารธาตุหลัก (ปุ๋ยทางราก) ไม่ละลาย หรืออิ่มตัวเสียก่อน กับทั้งการทำก็ต้องทำสำหรับพืชทั่วๆไปไว้ก่อน ไม่ได้ทำเฉพาะพืชใดพืชหนึ่งเป็นการเฉพาะ นี่คือหลัการ "อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสม (ไม้ผลยืนต้น หรือ ผักสวนครัวกินผล)....." อย่างแท้จริง


------------------------------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©