-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 MAR
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 MAR
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 MAR

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/03/2012 6:49 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 MAR ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 8 MAR

**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

**********************************************************



จาก : (081) 204-46xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ นา 20 ไร่ อยู่สิงห์บุรี ต้นข้าวสูงจัง จริงอย่างลุงคิมว่า ต้นยาวรวงสั้น แถมล้มอีกต่างหาก ข้าน้อย
ขอคำชี้แนะ ทำอย่างไรให้ต้นข้าวเตี้ย ไม่ล้ม ออกรวงดี น้ำหนักดี ไม่มีข้าวลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว......จาก สิงห์สาวค่ะ
ตอบ :
ระยะ "ตั้งท้อง-ออกรวง หรือ ต้นกลม" ให้ "ไทเป" หรือ "0-42-56" อย่างใดอย่างหนึ่ง 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 5 วัน
ณ วันที่ให้ ต้นข้าวสูงเท่าไรก็จะสูงเท่านั้น ไม่สูงต่อ แต่จะโตทางข้าง ทำให้ต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย

ต้นข้าวสูงเพราะระดับน้ำลึก ต้นข้าวต้องเร่งสูงหนีน้ำ กับได้รับ N มากเกินจำเป็น

ให้แม็กเนเซียม. ข้าวจะใบเขียวถึงวันเกี่ยว ทำให้มีใบสังเคราะห์อาหารเลี้ยงเมล็ดได้ทั้งรวง
ให้สังกะสี. ช่วยสร้างแป้ง ทำให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ
ให้แคลเซียม โบรอน. ทำให้เมล็ดแกร่ง ใส ไม่เป็นท้องปลาซิว
ให้ธาตุอาหารครบทั้ง 14 ธาตุ จะได้ผลผลิตคุณภาพดีกว่าให้แต่ N (46-0-0) กับ P (16-20-0)

------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (084) 295-71xx
ข้อความ : ผมทำไร่ถั่วเขียวกับถั่วดำมานานหลายปี ฟังลุงคิมบอกว่างาราคาดี ตลาดต้องการ ขอถามลุงคิมว่า ควรปลูก
งาดำ หรือ งาขาว งาต้องการจุลินทรีย์ 3 ตัว จำชื่อไม่ได้ ที่ลุงคิมบอกไหม....ขอบคุณครับ
ตอบ :
ถามคนรับซื้อครับ...........

คีโตเมียม. ไรโซเบียม. และไมโครไรซ่า. เป็นจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในพืชไร่ตระกูลถั่ว หลังเก็บเกี่ยวถั่วเขียว.ถั่วดำ. แล้ว ให้ไถกลบเศษ
ซากทั้งต้นและรากหมักทิ้งไว้ในดินก็จะได้จุลินทรีย์กลุ่มนี้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหา เมื่อปลูกงา หรือปลูกพืขไร่อย่างอื่นก็จะเจริญงอกงามดี


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (085) 190-84xx
ข้อความ : อาทิตย์ก่อน ซื้อแตงโมมา 20 ลูก ตั้งใจช่วยเหลือเกษตรกร กับคิดจะปลูกแตงโมนอกฤดูบ้าง มาถึงบ้าน
ผ่าออกมา ไส้ล้ม 3 ลูก ที่เหลือเปลือกหนามาก รสไม่ค่อยหวานเลย อยากปรึกษาลุงคิมว่าจะแก้ปัญหาไส้ล้ม เปลือก
หนา รสไม่หวานได้ยังไง......สาวสระบุรี
ตอบ :
สาเหตุเพราะขาด "ธาตรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน" ทั้งทางรากและทางใบอย่างรุนแรง....

แก้ปัญหาโดยการให้ธาตุอาหารครบทั้ง 14 ธาตุ ตามระยะการเจริญเติบโต ทั้งทางรากและทางใบ....


------------------------------------------------------------------------------------------------------




จาก : (091) 398-26xx
ข้อความ : มะเขือเปราะ เปลือกเหนียว เมล็ดดำ ลูกเล็กลูกใหญ่เป็นเหมือนกันหมด คนซื้อติมาก เราผ่าดูเองก็เป็นจริง มีคน
บอกให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ บวกกับยูเรีย ลุงคิมว่าจะแก้ไขได้ไหมครับ.....ชาวสวนปทุมธานี
ตอบ :
สาเหตุเพราะขาด "ธาตรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน" ทั้งทางรากและทางใบอย่างรุนแรง....

แก้ปัญหาโดยการให้ธาตุอาหารครบทั้ง 14 ธาตุ ตามระยะการเจริญเติบโต ทั้งทางรากและทางใบ....


ให้สูตรเสมอ (16-16-16) บวกกับยูเรีย (46-0-0) ก็พอได้ ได้แต่ธาตหลัก แล้วธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน.ล่ะ ถามเขาซิว่าจำเป็นมั้ย....


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 365-47xx
ข้อความ : ลุงคิมบอกว่า อาหารพืช สัตว์ คน เป็นตัวเดียวกัน ถ้าเราเอาแบลนด์ให้กับต้นไม้ จะเป็นอย่างไรครับ.....คนอยากรู้
ตอบ :
ในแบลนด์. มีธาตุอะมิโน โปรตีน. ที่ มนุษย์-สัตว์-พืช สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการเอ็นไซม์อีก

ใช้ได้-ได้ใช้ = ดี แต่มันเปลืองเพราะราคาแพง หาอะมิโน โปรตีน.จากแหล่งอื่นดีกว่ามั้ย

------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (087) 194-64xx
ข้อความ : อยากทราบข้อมูลการทำน้ำหมัก BMW โดยไม่ใช้กากน้ำตาล....
ตอบ :
ข้อมูลมีเท่านี้....
วิเคราะห์ลึกๆแล้วทำให้รู้ว่า ทำไมงานส่งเสริมโดยภาครัฐจึงล้มเหลว....



น้ำหมักชีวภาพ Bacterio Mineral Water

นงลักษ์ ปั้นลาย, อดิศักดิ์ คำนวณศิลป์, ปิยะรัตน์ จังพล, นลินี ศิวากรณ์, สาธิต อารีรักษ์, สุภา โพธิ์จันทร์

สถาบันวิจัยพืชไร่, สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร,
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท กรมวิชาการเกษตร

จากกระแสการลดการใช้สารเคมีในการผลิตพืชได้ทดลองนำน้ำหมักชีวภาพ BMW ซึ่งเป็นระบบการผลิตน้ำหมักชีวภาพแบบให้อา
กาศมากนำมาทดสอบ โดยการเพิ่มประชากรจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในแปลงทดลอง

การตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำหมัก BMW พบว่า มี pH 8.3 ปริมาณแบคทีเรียอยู่ระหว่าง 2x104–1.21 x 1010 colony forming
unit (cfu)/มล. เชื้อรา 2-24 โคโลนี/มล. มีสีน้ำตาลอ่อนใสคล้ายน้ำชา ไม่มีกลิ่น

การทดสอบต่อการเจริญของต้นกล้าถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 ในห้องปฏิบัติการภายใน 7 วัน พบว่าที่ความเข้มข้น 5% สามารถทำให้
มีความยาวของต้นสูงสุด คือ 19.1 ซม. ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับน้ำเปล่าที่ยาว 12.9 ซม. แต่ความยาวของราก
ถั่วเขียวไม่แตกต่างกัน

เมื่อนำไปหมักกับปุ๋ยมูลวัวพบว่าสามารถเพิ่มปริมาณแบคทีเรียเป็น 2.14 x 106–5.78 x 108 cfu/g ซึ่งมากกว่าการใช้น้ำประปา
เกือบหนึ่งเท่าตัว ที่มีค่า 0.9 x 106-3.21 x 108 cfu/g

เมื่อทำการทดลองในสภาพแปลงทดลองที่ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตลพบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 8
กรรมวิธีจำนวน 3 ซ้ำ ทำการทดลองซ้ำที่เดิม 3 ปี โดยทุกครั้งที่ปลูกได้เพิ่มปุ๋ยหมักตามกรรมวิธี 2,000 กก./ไร่ และเมื่อหมดฤดูปลูก
ได้รักษาจุลินทรีย์ดินโดยปลูกปอเทือง ในปี 2549

ผลผลิตของถั่วเขียวทุกการทดลองที่มีปุ๋ยหมัก มูลวัวมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 240-265 กก./ไร่ ซึ่งแตกต่างทางสถิติกับการใช้
ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวที่ได้ 207 กก./ไร่

ขณะที่แปลงตรวจสอบได้ 194 กก./ไร่ พบว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลองการเกิดโรคใบจุดในถั่วเขียวลดลงทุกการทดลองขณะที่ผลผลิตของ
ทุกการทดลองเพิ่มขึ้นระหว่าง 71-120 กก./ไร่ จากปีแรกของการทดลอง โดยกรรมวิธีที่ 6 คือ การใส่ปุ๋ยเคมี + ปุ๋ยคอกมูลวัวหมัก
น้ำหมักชีวภาพ BMW มีผลผลิตเพิ่มมากที่สุด คือ 120 กก./ไร่ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนฝัก/ต้น ที่เพิ่มสูงสุดคือ 11.9 ฝัก/ต้น ขณะที่
แปลงตรวจสอบได้ผลผลิตเพิ่ม 76 กก./ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเพิ่ม 72 กก./ไร่ และจำนวนฝัก/ต้น เพิ่มขึ้น 5.9 และ 6.7 ฝัก/ต้น
ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์ทางเคมีของดิน พบว่า ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ที่อยู่ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ของทุกการทดลองที่มีปุ๋ยหมักมูลวัวเพิ่ม
ขึ้นระหว่าง 200-400 ppm และ 200 ppm ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวและแปลงตรวจสอบ

ผลการวิเคราะห์ทางกายภาพของดินพบว่า ที่ความลึกไม่เกิน 5 ซม. กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมี มีการดูดซึมน้ำน้อยที่สุดอยู่ที่ระดับ moderate
คือ 7.5 mm/hr ขณะที่ทุกกรรมวิธีที่มีปุ๋ยมูลวัวหมักน้ำหมัก BMW มีการดูดซึมน้ำที่ระดับ Rapid คือ ระหว่าง 56.7-89.7 mm/hr ซึ่ง
ไม่ต่างจากแปลงตรวจสอบที่มีค่า 70.2 mm/hr

ประชากรของแบคทีเรียในดินพบว่า ทุกการทดลองที่มีปุ๋ยหมักมูลวัวมีปริมาณสูง คือ ระหว่าง 2.7 x 106- 4.32 x 106 cfu/กรัม
ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวมีจำนวนน้อยที่สุดเพียง 0.74 x 106 cfu/g และแปลงตรวจสอบมี 1.18 x 106 cfu/กรัม ผลการ
ทดลองสรุปได้ว่า การปรับปรุงดินโดยใช้มูลวัวที่มีน้ำหมัก BMW ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติจากการใช้มูลวัวปกติ อีกทั้งให้ผลผลิต
ที่สูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว และให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ตลอดจนเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ
ดินได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว

ดังนั้นสรุปได้ว่าในดิน Clay loam ที่มีประวัติการใช้ปุ๋ยเคมีมานาน เช่น ศบป.ลพบุรี สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวร่วมกับ
การรักษาความชื้นในดิน โดยปลูกปอเทืองสลับ ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มบทบาทของจุลินทรีย์ดินในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและ
ผลผลิตพืช และลดความรุนแรงของโรคถั่วเขียวได้

http://it.doa.go.th/refs/search.php?sqlQuery=SELECT%20author%2C%20title%2C%20type%2C%20year%2C%20publication%2C%20abbrev_journal%2C%20volume%2C%20issue%2C%20pages%2C%20corporate_author%2C%20thesis%2C%20address%2C%20keywords%2C%20abstract%2C%20publisher%2C%20place%2C%20editor%2C%20language%2C%20summary_language%2C%20orig_title%2C%20series_editor%2C%20series_title%2C%20abbrev_series_title%2C%20series_volume%2C%20series_issue%2C%20edition%2C%20issn%2C%20isbn%2C%20medium%2C%20area%2C%20expedition%2C%20conference%2C%20notes%2C%20approved%2C%20call_number%2C%20serial%20FROM%20refs%20WHERE%20serial%20%3D%20515%20ORDER%20BY%20author%2C%20year%20DESC%2C%20publication&client=&formType=sqlSearch&submit=Display&viewType=&showQuery=&showLinks=1&showRows=20&rowOffset=&citeOrder=&citeStyleSelector=Polar%20Biol&exportFormatSelector=RIS&exportType=html&citeType=html&headerMsg=





http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=594&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=
ผลของน้ำหมักชีวภาพ Bacterio Mineral Water ในการผลิตถั่วเขียว

------------------------------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©