-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 23 DEC
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 23 DEC
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 23 DEC

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2011 9:09 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 23 DEC ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 23 DEC



**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************




จาก : (089) 289=54xx
ข้อความ : มะม่วงมี ดอก-ลูกเล็ก-ลูกใหญ่ ในต้นเดียวกัน จะบำรุงสูตรหยุดเมล็ดอย่างไร ขอคำอธิบายด้วยค่ะ......พิษณุโลก

ตอบ :
ก่อนอื่น อยากให้ทำความเข้าใจเรื่องลักษณะทางธรรมชาติของเมล็ดตามสายพันธุ์ก่อนว่า ระหว่างเมล็ด มะม่วง-ลิ้นจี่/ลำไย/
เงาะ-ทุเรียน (ก้านยาว/ชะนี-หมอนทอง) ไม้ผลเหล่านี้มีความแตกต่างของเมล็ด....มะม่วงทุกสายพันธุ์ เมล็ดแบนลีบ....
ลิ้นจี่/ลำไย/เงาะ เมล็ดเต็มกลม....ทะเรียนก้านยาว เมล็ดลีบแบน แต่ก้านยาวชะนีเมล็ดเต็มกลม

สารอาหารต่อพัฒนาการของดอกและผล :
- ช่วงเป็นดอกควรบำรุงดอกด้วย 1 : 3 : 1 + NAA P. คือ สารอาหารบำรุงดอก และ NAA บำรุงเกสร
- เมื่อดอกผสมติดเป็นผลแล้ว เมล็ดจะเป็นผู้สร้างเนื้อให้แก่ผล และสารอาหารบำรุงเมล็ดก็คือ p.

**** ดังนั้นช่วงเริ่มผสมติดเป็นผลใหม่ๆ หรือผลเล็ก ควรใช้สารอาหารสูตรบำรุงดอก บำรุงผลเล็กต่อ สักระยะหนึ่ง อย่างน้อย
2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ก็จะช่วยให้ผลเมื่อโตขึ้นมีคุณภาพ สมบูรณ์ แข็งแรงดี *****

สารอาหารต่อพัฒนาการของผล กลาง-ก่อนเก็บเกี่ยว :
- สารอาหารตัวหลักในการสร้างเนื้อ คือ N ที่ถูกกำกับด้วย P-K (3: 1 : หรือ 2 21-7-14), Zn เป็นตัวรอง และ ไคโตซาน -
อะมิโน โปรตีน เป็นตัวเสริม ในขณะที่ Ca เป็นตัวสร้างคุณภาพ

(หมายเหตุ : คำว่า ตัวหลัก-ตัวรอง-ตัวเสริม ไม่ใช่หรือไม่ได้หมายถึง ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตเสริม แต่หมายถึง ความสำคัญใน
การพัฒนาดอกและผลของพืช.....)

เหล่านี้คือ "หลักวิชาการ" ที่แปลงมาเป็น "ภาษาพูด" เพือการเข้าใจง่าย



แนวทางปฏิบัติ :
- ช่วงเป็นดอกให้บำรุงดอกด้วย 1 : 3 : 1 + NAA ตามปกติ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
- ช่วงติดเป็นผลเล็ก ให้ข้ามไปบำรุงด้วยสูตรบำรุงผล 3 : 1 : 2 ได้เลย มุ่งสร้างเนื้อโดยไม่ต้องห่วงสร้างเมล็ด ...... หลักการ
และเหตุผล : แม้ใน 3 : 1 : 2 มี p. น้อย เมื่อไม่มี P. บำรุงเมล็ด หรือจะไม่มีเมล็ดไปสร้างเนื้อ แต่เราสามารถอาศัย N. สร้าง
เนื้อแทนได้ นอกจากนี้ยังอาศัย ไคโตซาน. Zn. อะมิโน โปรตีน. ในการสร้างเนื้อได้อีกด้วย

**** มะม่วง หลังดอกผสมติดเป็นผล (เท่าเมล็ดถั่วเขียว) ให้บำรุงด้วย "3 : 1 : 2 + ไคโตซาน + อะมิโน โปรตีน"
แล้วหาจังหวะให้ Ca-Br 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ช่วงผลเล็ก (ขนาดไข่ไก่) 1 รอบ กับช่วงผลขนาดกลางอีก 2 รอบ

**** ลิ้นจี่-ลำไย-เงาะ-ก้านยาว-ชะนี-ฯลฯ ก็ให้บำรุงเหมือนมะม่วงได้เลยเช่นกัน แม้ใน 3 : 1 : 2 จะมี P น้อย
อาจจะไม่เพียงพอต่อการบำรุงเมล็ด เพื่อจะอาศัยเมล็ดมาสร้างเนื้อเมื่อผลโตขึ้นก็ตาม แม้เมล็ดเต็มของผลไม้เหล่านี้จะ
ไม่โตตามมาตรฐานสายพันธุ์หรือโตขึ้นได้เพียงเล็กน้อย แต่สารอาหารใน "สูตรสร้างเนื้อ" จะเป็นตัวสร้างให้
ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นเองได้

หมายเหตุ : สารอาหารทางใบจะเกิดประสิทธิภาพสูง ถึงสูงสุดได้ ต้องมีความสมบูรณ์สะสม (เน้นย้า.....สะสม) ของ
ต้นเป็นพื้นฐานรองรับ และความสบูรณ์ต้นมาจาก "6 ปัจจัยพื้นฐาน" เป็นหลักสำคัญ


-------------------------------------------------------------------------------------------------





จาก : (089) 441-98xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ หลานมีข้อเสนอแนะ เรื่องการเปิดอบรมที่ไร่กล้อมแกล้ม ให้กำหนดแน่นอนไปเลย เดือนละ 1 ครั้ง ให้ลุงคิม
บอกล่วงหน้า เพื่อว่าคนที่จะไปอบรมจะได้มีเวลาเตรียมตัว หลานเคยไปอบรมแล้ว 1 ครั้ง ยอมรับว่าเนื้อหาดีมากๆ อบรมแค่วันเดียว
ไม่รู้เรื่องหรอก ควรอบรมอย่างน้อย 3-5 วัน ลุงคิมมีความคิดเห็อย่างไรคะ......รักลุงคิมอย่างพ่อ กำแพงแสน
ตอบ :

คำตอบนี้ ยาววววววว

-------------------------------------------------------------------------------------------------




จาก : (081) 011-77xx
ข้อความ : มะละกอทำไมจึงปลูกซ้ำที่ไม่ได้ครับ.....
ตอบ :
- เพราะเกิดการสะสมเชื้อโรค ทั้งโรคในดิน และโรคเหนือดิน
- เชื้อโรคในดิน คือ โรคที่เกิดกับส่วนของต้นที่อยู่ในดิน ตามปกติแม้จะมีเชื้อโรคพวกนี้อยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วแต่อยู่แบบแฝง
ถ้า (เน้นย้ำ....ถ้า) สภาพแวดล้อม คือ ดินไม่เป็นกรดจัด, มีเชื้อปฏิปักษ์, โอกาสที่เชื้อโรคพวกนี้จะเจริญจนสำแดงอิทธิฤทธิ์ได้
ก็จะไม่มี.......การปฏิบัติต่อพืชของเกษตรกรส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ เป็นการปฏิบัติแบบส่งเสริมกระบวนการเชื้อโรค เช่น ทำดินให้
เป็นกรดจัดด้วยการเติมกรดลงไป (ยาฆ่าหญ้า สารเคมียาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี) น้ำขังค้างจนแฉะ ฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อปฏิปักษ์

- เชื้อเหนือดิน คือ โรคที่เกิดกับทุกส่วนของต้นที่อยู่เหนือพื้นดิน (ต้น ใบ ดอก ผล) โดยมีแมลงเป็นพาหะนำมา ซึ่งแมลงพาหะ
พวกนี้ชอบมะละกอ เมื่อเขารู้ว่าที่นี่มีมะละกอ มีมานานแล้ว มีมากเป็นดงขนาดใหญ่ แล้วก็ไม่มีพืชอื่นหรือสิ่งที่เป็นพิษใดๆ ที่
แมลงไม่ชอบรวมอยู่ด้วยเลย แน่นอนว่า แมลงพาหะเหล่านั้นจะต้องเข้ามาหามะละกอ มาหากินเพื่อความอยู่รอด ในตัวแมลง
มีเชื้อโรคแฝงอยู่ (พัฒนาการของเชื้อโรค) จึงได้โอกาสเข้าสู่ต้นมะละกอ

**** ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่เกิด ที่ไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัยส่งเสริมให้เกิด

**** ไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสมุนไพรใดๆในโลกนี้ สามารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้วให้ดีคืนอย่างเดิมได้
เรียกว่า เสียแล้วเสียเลย แม้จะกำจัดตัวศัตรูพืชนั้นได้จนตายสนิท ก็ใช่ว่าจะได้พืชที่ดีกลับคืนมา ก็หาไม่

แก้ปัญหาโรคพืชแบบ "คิดนอกกรอบ" :
- ปรับปรุง/สร้าง สภาพแวดล้อมในแปลงปลูก ให้ไม่เหมาะสมต่อการ เกิด/กระจาย/อาศัย ของศัตรูพืช
- บำรุงพืชให้สมบูรณ์ โดยเริ่มจาก "6 ปัจจัยพื้นฐานฯ" เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานภายในต้นที่ต้านศัตรูพืชได้
- ใช้เทคนิคการปลูกพืชแบบ ตัดวงจร" ชีวิตของศัตรูพืช ด้วยระบ ไอพีเอ็ม.



เกษตรานุสติ :
- เลิกคิดเอาชนะธรรมชาติ แต่ให้คิดที่จะอยู่กับธรรมชาติ
- อ่าน LINE ธรรมชาติให้กระจ่าง แล้วแสวงประโยชน์จากธรรมชาติ

- สารเคมียาฆ่าแมลงกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชได้จริงหรือ ? ถ้ากำจัดได้จริง ทำไมโรคแมลงศัตรูพืชจึงยังไม่หมดชักที แถมแพร่
ระบาดหนักกว่าเก่า รุนแรงกว่าเก่า กินวงกว้างกว่าเก่า เพิ่มชนิดพืชที่ทำลายมากก่าเก่า.....
- ในประเทศผู้ผลิตสารเคมียาฆ่าแมลงออกขายทั่วโลก นอกจากเกาตรประเทศผู้ซื้อมาใช้จะไม่ได้ผลแล้ว เกษตรกรในประเทศ
ผู้ผลิตเองก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน

- คนที่ร่ำเรียนมาจนถึงระดับ ศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ยังเอาชนะศัตรูพืชไม่ได้ แล้ว ตาสียายสาลุงมีป้ามา จะสู้กับศัตรูพืชได้อย่างไร

------------------------------------------------------------------------------------------------





จาก : (089) 902-78xx
ข้อความ : คุณมีความรู้ทั้งสองท่าน ผมอยากท่านให้ผลัดกันพูด ได้ฟัง่ายๆ ..... ขอแสดงความเคารพอย่างสูง
ตอบ :

ทราบ.......


-------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (085) 169-45xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ อ้อยเป็นใบลายตามความยาวใบ สีขาวอมเหลืองซืด ถามลุงคิมว่าใช้สมุนไพรอะไรดี
หรือแก้ไขอย่างไร......อ้อย สุพรรณ
ตอบ :


คลิก.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2464#19587
15. อ้อยกับอาการขาดสังกะสี (Zinc,Zn)

-------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก :
ข้อความ :
ตอบ :
-------------------------------------------------------------------------------------------------



.[youtube][/youtube]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©