-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ไคโตซาน.กับนาข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไคโตซาน.กับนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไคโตซาน.กับนาข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/12/2009 5:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุยกันเรื่ออะไรน่ะ......บอกลุงหน่อย อยากคุยด้วยน่ะ.....
กระทู้ "ไคโตซาน" เริ่มต้นดูดีนี่นา แล้วไง ตอนท้ายชักจะเขวๆ.....เง็ง

ยอมรับ....คนแก่ตาไม่ทัน (ว่ะ)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/03/2010 5:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 02/12/2009 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่มีอะไรหรอกลุง เขาชวนไปดูการใช้ไคโตซานกับสวนปาล์มน้ำมัน ยางพารา ก็เท่านั้น

ไคโตซานเดี่ยวๆ ใช้กับพืชแล้วดีได้ ผมก็จะนับถือเลยแหละ

เคยมี ดร. แห่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งประเทศไทย(วว.) นำไคโตซานยี่ห้อ
ดังของเมืองไทย ไปเข้า LAP เพื่อดูส่วนผสม พบปุ๋ยเกล็ดและธาตุอาหารพืชบางชนิด

ทีนี้จะเชื่อหรือยังว่าไคโตซานที่ขายๆ กันนะ มันก็คือปุ๋ยทางใบกับฮอร์โมนตัวหนึ่งเท่านั้น

ไม่ได้โจมตีใครแต่เล่าสู่กันฟังเท่านั้นครับ

อ๊อดครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/12/2009 9:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องแค่นี้ถือว่าปกติธรรมดามากนะอ๊อด..... ลุงคิมเคยเห็นแล้วก็ได้ยินมาหลายต่อหลาย
เรื่อง.....มีทั้งรู้จักคนทำแล้วก็ไม่รู้จัก......ก็ไม่รู้ว่าในตลาดเกษตรทั่วประเทศรวมแล้วมาก
ขนาดไหน....


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/03/2010 5:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/03/2010 4:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไคติน ไคโตซาน

ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
โทร. 0-2470-9007 โทรสาร 0-2428-3534

หลักการและเหตุผล
ไคติน จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตประเภทโครงสร้างที่เป็นเส้นใย คล้ายคลึงกับเซลลูโลสจาก
พืช ไคตินพบได้ในเปลือกของสัตว์ เช่น กุ้ง ปู แกนหมึก แมลง ตัวไหม หอยมุก และผนังเซลล์
ของพวกรา ยีสต์ และจุลินทรีย์อีกหลายชนิด ไคตินในธรรมชาติมีโครงสร้างของผลึกที่แข็งแรง 3
ลักษณะ ได้แก่ แอลฟ่าไคติน เกิดจากเปลือกกุ้งและเปลือกปู เบต้าไคติน เกิดในแกนหรือ
กระดองหมึก และแกมม่าไคติน ไคโตซาน คือ สารโพลิเมอร์ชีวภาพที่สกัดจากไคติน ซึ่งเป็นโครง
สร้างของเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก และผนังเซลของเห็ด ราบางชนิด ไคติน-ไคโตซาน
จัดเป็นโคโพลิเมอร์ที่อยู่ร่วมกันในธรรมชาติ มีปริมาณของไคตินมากเป็นอันดับสองรองจาก
เซลลูโลส ไคติน-ไคโตซาน มีสมบัติพื้นฐานที่เข้ากับธรรมชาติได้ดี ย่อยสลายง่าย ไม่ก่อให้เกิด
อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไคติน-ไคโตซาน มีหมู่อะมิโนที่แสดงสมบัติพิเศษ
หลายประการที่ต่างจากเซลลูโลส เช่น การละลายได้ในกรดอินทรีย์เจือจาง การจับกับอิออนของ
โลหะได้ดี และการมีฤทธิ์ทางชีวภาพ ปัจจุบันมีการนำสารไคติน-ไคโตซาน มาประยุกต์ใช้จริงทั้ง
ในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ทางการแพทย์และเภสัชกรรม เช่น สารตกตะกอนในการ
บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเส้นใยสิ่งทอ เพื่อป้องกันแบคทีเรียและเชื้อรา
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อคุณภาพในการลดไขมันและคอเลสเตอรอล เรื่องความสวยความงามที่
เป็นที่สนใจของคุณสุภาพสตรีทั้งหลาย สารเร่งการเจริญเติบโตในพืชและสัตว์แลกเนื้อต่าง ๆ เช่น
สุกร กุ้ง เป็ด ไก่ สารเคลือบผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา สารถนอมอาหาร และแผ่นฟิล์มปิด
แผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

ภาพรวมการใช้ไคติน-ไคโตซานในประเทศไทย ณ วันนี้อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยได้เปรียบกว่า
ประเทศอื่นๆ อันเนื่องมาจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ (เปลือกกุ้งและปู) ศักยภาพในด้านวัตถุ
ดิบนี้ เป็นผลมาจากการที่ประเทศไทย เป็นประเทศที่ส่งออกกุ้งแช่แข็งเป็นสินค้าออกอันดับต้นๆ
ของโลก ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลได้มีนโยบายในการจำกัดพื้นที่การเพาะเลี้ยงกุ้ง แต่เปลือกกุ้งที่จะถูก
ป้อนให้กับโรงงาน เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นไคติน-ไคโตซาน นั้นได้มาจาก 2
แหล่ง คือ จากฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งประมาณ 2 แสนตันต่อปี และจากทะเลประมาณ 3 แสนตันต่อปี
ดังนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาในด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ เมื่อความต้องการใช้ไคติน-ไคโตซานในท้อง
ตลาดมีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันนี้ก็ยังมีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีที่ใช้ใน
การผลิตสารไคติน-ไคโตซาน เป็นเทคโนโลยีที่ง่ายไม่ซับซ้อน สามารถทำได้ตั้งแต่ในระดับครัว
เรือน ชุมชนและขยายใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม ปัจจุบันโรงงานที่ดำเนินการผลิต ยังมีอยู่ไม่มาก
อัตราการผลิตของแต่ละโรงก็ยังไม่สูงมาก และเท่าที่ปรากฏก็ไม่ค่อยแสดงตัวมากนัก หากความ
ต้องการของตลาดมีมากขึ้น การขยายตัวเป็นอุตสาหกรรมมีความเป็นไปได้มากและรวดเร็ว เพราะ
ใช้เงินลงทุน เครื่องจักร-เครื่องมือ และแรงงานไม่มาก สามารถจัดการระบบการผลิตได้ไม่ยาก
จากความพร้อมในหลายด้านดังกล่าว ในอนาคตเมืองไทยอาจจะเป็นประเทศที่ส่งออกไคติน-ไค
โตซานระดับต้นๆ ของโลก เช่นเดียวกับกุ้งแช่แข็งก็อาจจะเป็นไปได้ ในแง่กระบวนการผลิตมีการ
ใช้สารเคมีร่วม ซึ่งอาจจะมีปัญหาตามมาได้ เช่น ปัญหาสารเคมีตกค้างและปัญหาผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อม แต่ก็สามารถจัดการแก้ไขและควบคุมได้ โดยอาจนำแนวทางความรู้ทางเทคโนโลยี
สะอาดและเทคโนโลยีชีวภาพมาร่วมจัดการได้ นอกจากนี้เรายังสามารถพัฒนาการผลิตให้ครบ
วงจรได้ตั้งแต่ สารไคติน สารไคโตซาน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสารไคติน-ไคโตซาน เช่น ปุ๋ย
เครื่องสำอาง และอาหารเสริม ฯลฯ อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยัง
ไม่เป็นการเสียเปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศ กล่าวคือ ในการที่เราต้องส่งสารไคติน-ไคโต
ซานออกขายให้กับต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น จากนั้นประเทศเหล่านั้น ก็ทำการผลิต
ผลิตภัณฑ์จากสารนี้ แล้วส่งกลับมาขายในเมืองไทย ในราคาสูงมากเมื่อเทียบกับราคาไคติน-ไค
โตซานที่เราขายให้ไปข้างต้น ทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในประเทศไทยเอง ก็มีความรู้
ความสามารถพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ แต่ทว่ายังต้องการแรงสนับสนุนและการส่ง
เสริมการผลิต ตลอดจนความร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักอุตสาหกรรม และผู้
ประกอบการ เพื่อนำไปสู่ระบบการผลิตเต็มรูปแบบในลำดับต่อไป


คุณสมบัติและลักษณะเด่น

*สมบัติและหน้าที่
**การประยุกต์ใช้และผลิตภัณฑ์ที่ได้นำไปใช้แล้ว

1. โพลีอิเลกโตรไลท์และคีเลต (B) ตัวรวมตะกอนและตัวตกตะกอน และการทำหน้าที่แคทอิออ
นิกสำหรับบำบัดน้ำเสีย ตัวตกตะกอนโปรตีนที่เป็นกรด และตัวตกตะกอนเพื่อแยกยูเรเนียม และ
โลหะจำเพาะบางชนิด ตลอดจนโลหะกัมมันตภาพรังสี

2. การขึ้นรูปเป็นลักษณะต่างๆ (A, B) ขึ้นรูปเป็นเส้นใย สิ่งทอ ขึ้นรูปเป็นแผ่นเยื่อบาง เพื่อใช้ใน
การกรองแยก เช่น แยกน้ำออกจากแอลกอฮอล์ ขึ้นรูปเป็นเม็ด เป็นแคปซูลเพื่อการเพาะเซลล์

3. การเป็นเจลที่อุ้มน้ำ (B) การใช้หุ้มเซลล์ และหุ้มเอนไซม์ เป็นตัวกลางสำหรับการแยกด้วยวิธี
โครมาโตกราฟฟีแบบเจล การขึ้นรูปเป็นรูพรุนแบบฟองน้ำ เชอโรเจล

4. การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (A, B) ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ การทำวัสดุผสม
กับคาร์บอนไดออกไซด์

5. การย่อยสลายด้วยน้ำ (A, B) ผลิตสารกลูโคซามีน และโอลิโกเมอร์ของน้ำตาลต่างๆ (โดยทา
เคมีและเอนไซม์)

6. สารเหนียวและอุ้มน้ำ (B) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง สำหรับบำรุงรักษาผิวและผม

7. การดูดซับโมเลกุลต่างๆ (A, B, C) ใช้เป็นตัวกลางเพื่อทำโครมาโตกราฟฟีแบบต่างๆ เช่น
แบบดูดซับและแบบแลกเปลี่ยน เพื่อแยกเลกติน, ไคติเนส และไลโซไซม์

8. ปฏิกิริยาเคมี (A, B) การสร้างกลิ่น รส การขจัดกลิ่นของฟอร์มาลดีไฮด์ การสังเคราะห์
สารอนุพันธ์ต่างๆ เป็นสารต่อเนื่อง

9. การนำไฟฟ้า (B) การนำแผ่นเยื่อบางไคโตซานผสมลิเธียม ไตรเฟลท ที่ใช้เป็นอีเลกโตรไลท์
ในแบตเตอรี่ ที่ปราศจากมลพิษ

10. การเคลือบ (B) การทำสีในการพิมพ์ การย้อมและสารเติมแต่งต่างๆ การทำสีทา
การทำลำโพง ทำเครื่องดนตรีเป็นสารแติมแต่งในอุตสาหกรรมกระดาษ เคลือบผิวผลไม้ ผัก เพื่อ
ยืดอายุการเก็บรักษา เคลือบรักษาเมล็ดพันธุ์พืช

11. ตัวดึงออกมา (A, B, C) เป็นตัวเหนี่ยวนำของโปรตีนที่ก่อให้เกิดโรคได้ สารที่ใช้ในการ
เกษตร เช่น การเคลือบเมล็ด การพ่นเคลือบใบ

12. ตัวต้านจุลินทรีย์ (B) ใช้ในการเก็บรักษาอาหารและผลไม้

13. ส่งเสริมพวกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (A, B) ช่วยในการปรับปรุงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น
1..... ในดินและในน้ำ
2..... ในสัตว์และในลำไส้คน

14. สารที่ปราศจากพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิต จึงใช้ได้ทั่วไป

15. สร้างภูมิต้านทานได้ (A, B, C) เป็นตัวเหนี่ยวนำไลโซไซม์ และ LPL activities ใน เนื้อ
เยื่อและในเลือด ต่อต้านสารก่อมะเร็ง

16. สมานแผล (A, B, C) ใช้เป็นตัวรักษาแผล โดยเฉพาะไฟไหม้ และแผลที่ ผิวหนังสำหรับ
คน สัตว์ และต้นไม้ (ทำผิวหนังเทียม) รักษากระดูก เอ็น และซ่อมแซมพวกเอ็นยึดอวัยวะต่างๆ

17. ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ (A, B, C) ทำไหมเย็บแผลที่ละลายได้ สารปลดปล่อยยาอย่าง
ช้าๆ ควบคุมการย่อยสลายของเอ็นไซม์

18. ลดโคเลสเตอรอล (B) ใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพ และใช้เติมแต่งในอาหาร สัตว์ ลดความ
ดันเลือด

19. ห้ามเลือดต่อต้านการเกิดลิ่มเลือด (C) ทำยาห้ามเลือด ใช้ทำเส้นเลือด ใช้ทำคอนแทค
เลนซ์ตา

20. ใช้เป็นฟิล์มเคลือบผลไม้ (B) ช่วยให้ผลไม้ และผักสดอยู่นาน

21. เข้ากันได้กับอวัยวะร่างกาย (A, B, C) รักษาแผลไหมเย็บแผล


การนำผลงานไปใช้ประโยชน์
บัญชา ธนบุญสมบัติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

สารไคติน และสารไคโตซาน เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพ ซึ่งผลิตจาก เปลือกกุ้ง และเปลือกปู แผ่น
เมมเบรน จากไคโตซาน ใช้ในการปิดแผล มีคุณสมบัติ ช่วยลดแผลเป็น บนผิวหนัง สารไคติน
และสารไคโตซาน

การทำวิจัยในเรื่องไคติน ไคโตซานได้กระทำแล้ว และได้นำสารสกัดจากไคติน-ไคโตซาน ไป
ประยุกต์ใช้อย่างจริงจังด้วยตัวเอง เพราะมีฟาร์มเล็ก ๆ อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก มีการเลี้ยง
สัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ ปลูกผลไม้ต่าง ๆ เช่น มะละกอ มะนาว มะม่วง และอื่น ๆ เมื่อนำสารสกัด
จากไคติน-ไคโตซานเข้าไปประยุกต์ ปรากฏว่า ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจยิ่ง นอกจาก
นั้นยังได้นำไปใช้จริงกับนาข้าว ไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกบนภูเขาทางภาคเหนือด้วย การใช้สารไค
ติน-ไคโตซานจะนำไปสู่การเกษตรแบบอินทรีย์ (Organic Farm) ซึ่งสามารถลดปัญหาสารเคมี
ตกค้าง ปัญหามลพิษ ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้ และผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และยัง
สามารถทดแทนการใช้สารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละจำนวนมากๆ

ไคติน/ไคโตซาน (Chitin/Chitosan)
ไคติน/ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพซึ่งผลิตจากสิ่งเหลือจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแช่แข็ง (เช่น
เปลือกกุ้งและเปลือกปู) และเป็นพอลิเมอร์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ
ไคติน/ไคโตซานมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (biocompatible) และ สามารถสลายตัวได้ทาง
ชีวภาพ (biodegradable) จึงถือได้ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งไคติน (chitin) และไคโตซาน (chitosan) มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายเซลลูโลส ต่างกันตรง
ที่ไคตินจะมีหมู่อะเซตาไมด์และอะเซตามิโด แต่ไคโตซานจะมีหมู่เอมีน (amine group) แทน
ที่จะเป็นหมู่ไฮดรอกซิลที่ C-2 ของวงแหวนน้ำตาล (sugar ring) ตามปกติจะพบทั้งวงแหวน
น้ำตาลของไคตินและไคโตซานในสายโซ่เดียวกัน จึงมักจะรวมเรียกสารเคมีพวกไคติน/ไคโต
ซาน การแบ่งแยกไคตินกับไคโตซานจะอาศัยจำนวนหมู่เอมีน ถ้ามีหมู่เอมีนมากกว่า 70% จะ
เรียกว่าไคโตซานในแง่ของวัสดุแล้วไคติน/ไคโตซานถือว่ามีสมบัติโดดเด่น ทั้งนี้เนื่องจากเปลือก
กุ้งและเปลือกปูซึ่งเป็นแหล่งไคติน/ไคโตซานนั้นเป็นวัสดุเชิงประกอบที่นอกจากจะเหนียวฉีกขาด
ยาก ยังสามารถรับแรงได้สูง และไม่เปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย ๆ ถ้าหากพิจารณาในเชิงโครงสร้าง ไคติน
จะจัดเรียงตัวเป็นโครงสร้างผลึกเหลวแบบคลอเลสเทอริก

(cholesteric liquid crystal structure) โดยมีโปรตีนและปูนขาวแทรก ทำให้วัสดุนี้ทนแรง
ได้ทุกทิศทางไคติน/ไคโตซานมีความเป็นวัสดุพิเศษ คือ ตัววัสดุสามารถทำหน้าที่ทางเคมีหรือ
ทางชีวภาพบางอย่างได้ด้วยตัวเอง

(ภาษาอังกฤษเรียกว่าเป็น functional materials) ตัวอย่างเช่น เป็นแผ่นโพลาร์เมมเบรน
(polar membrane) ซึ่งสามารถใช้ในการแยกแอลกอฮอล์ (เจือจาง) โดยกระบวนการเพอร์วา
พอเรชัน (pervaporation) เป็นต้น

ในทางการแพทย์และเภสัชกรรม ได้มีการศึกษาแล้วว่าเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วนั้นนอกจากที่จะ
ไม่ดูดซึมเข้าไปในร่างกายและช่วยในการเคลื่อนตัวของอาหารในลำไส้ดังเช่นอาหารจำพวกไฟ
เบอร์โดยทั่วไปแล้ว ยังจะมีความสามารถในการจับคลอเลสเตอรอลและไขมันในอาหารที่รับ
ประทานเข้าไปก่อนที่จะเกิดการดูดซึมสารเหล่านั้น

ในปัจจุบันได้มีการนำไคโตซานบริสุทธิ์มาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพในการประกอบการลดความอ้วน
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ทำผิวหนังเทียมรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้ปลดปล่อยยา รักษา
เหงือกและฟัน

นอกจากนี้ สารไคติน/ไคโตซานยังสามารถประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่าง
หลากหลาย เช่น ใช้หุ้มเมล็ดพันธ์พืชเพื่อยืดอายุการเก็บและป้องกันราและจุลินทรีย์ในอุตสาห
กรรมการเกษตร ใช้เป็นสารต่อต้านราและจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันบูด เคลือบอาหาร ผัก และผล
ไม้ ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้เติมแต่งและเป็นสารพื้นฐานของแป้งทาหน้า แชมพู ครีม และสบู่ โล
ชันเคลือบป้องกันผิวและผม เนื่องจากไคติน/ไคโตซานสามารถอุ้มน้ำและเป็นตาข่ายคลุมผิวหนัง
ใช้ผสมเส้นใย เช่น สิ่งทอและกระดาษ เพื่อป้องกันและต้านทานเชื้อโรค และยัง
ทำให้เยื่อเหนียวและแข็งแรงเพิ่มขึ้น เป็นต้น

Lowly shrimp shells could yield jumbo benefits, researchers say
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©