-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 27 ส.ค
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 27 ส.ค
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 27 ส.ค

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/08/2011 5:37 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 27 ส.ค ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 27 ส.ค


**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************



จาก : (089)703-63xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ผักกินผลพุ่มเตี้ยตระกูลเถา ติดดอกออกผลเพลี้ยกิน ใช้น้ำ
ส้มสายชู เหล้าขาว และฉีดอัตราส่วนเท่าไรครับ

ตอบ :
ผักกินผลพุ่มเตี้ย (น่าจะหมายถึง พริก มะเขือ...)
ตระกูลเถา (น่าจะหมายถึง ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฟัก มะระ...)
คุณเอา 2 อย่างมาเรียกรวมกัน ..... งง (ว่ะ...)


เพลี้ย-เพลี้ย และเพลี้ย....เพลี้ยอะไรล่ะ
เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้งสีชมพู เพลี้ยหอย เพลี้ยกระสอบ.....

เหล้าขาว + น้ำส้มสายชู ใช้กับเพลี้ยอ่อน = ดี, เพลี้ยอย่างอื่น ไม่มีข้อมูล...


------------------------------------------------------------------------------




จาก :(089)542-03xx
ข้อความ : คุณลุงคะ หนูมีปัญหาจะถามเรื่องพริก เวลาเก็บเม็ดไปสัก 2-3 รุ่น มัก
จะเป็นรากปม สาเหตุเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร .... ขอบคุณ คุณลุงค่ะ


ตอบ :
สาเหตุ ..... ดินเป็นกรดจัด ดินเป็นกรดจัด และดินเป็นกรดจัด เพราะ....
- คนใส่กรดลงไป (ยาฆ่าหญ้า, สารเคมียาฆ่าแมลง, ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก, ฯลฯ)
- ไม่มีจุลินทรีย์หรือมีน้อย ทั้งจุลินทรีย์ประจำถิ่นและจุลินทรีย์จากภายนอก
- เชื้อโรคสะสมเพราะปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำซาก
- น้ำขังค้างนาน (แฉะ)
- ฯลฯ

เกษตรานุสติ :
1. เชื้อโรคพืชในดิน (ไฟธอปเทอร์ร่า, พิเทียม, ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม, ไรซ็อคโทเนีย. ไส้เดือนฝอยรากปม และอีก 10-20 ชนิด ไม่ได้ท่องจำมา...) ทุกชนิดของทุกพืช เกิดขึ้นเองได้เมื่อดินเป็น "กรดจัด" ถ้าดินไม่เป็นกรดจัด เชื้อโรคจะไม่เกิด หรือเกิดไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

2. ในดินที่เป็นกรดจัด จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ (เชื้อดี) เกิดไม่ได้ อยู่ไม่ได้ ที่เคยมีอยู่เดิมก็จะค่อยๆทะยอยตายไปจนหมด

3. ในดินที่เป็นกรดอ่อนๆ (5.8-6.3 หรือ 6.0) นอกจากเหมาะสมต่อวงจรชีวิตจุลินทรีย์ดีฯ แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย

4. ปัญหานี้จุลินทรีย์ช่วยได้...........คลิกไปอ่านเรื่องจุลินทรีย์
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=13


แนวทางแก้ไข :
- อย่าให้น้ำขังค้าง (พูนดินโคนต้น ทำร่องระบายน้ำ)
- ปรับสภาพดิน (ใส่ปุ๋ยหมัก ยิบซั่ม) รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดถิดเทิง 30-10-10
- รดดินด้วยน้ำสารสกัดสมุนไพรกำจัดเชื้อรา
- บำรุงต้นทางใบด้วยสูตร UN. (ไบโออิ-ไทเป-ยูเรก้า)




อ้างอิง :

ไส้เดือนฝอยรากปม

ลักษณะอาการ
ส่วนของพืชที่จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจนที่ส่วนรากของพืช คือ เกิดอาการเป็นปมขึ้น ถ้าไส้เดือนฝอยดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณใกล้ปลายราก ก็จะทำให้รากไม่ยืดยาวออกไป และกลายเป็นปมกุดอยู่ พืชจะถูกทำลายระบบรากและแย่งอาหารทำให้การดูดอาหารไม่สะดวก พืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน และแคระแกรน ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ไม่ออกดอกและผล ผลผลิตลดลง บางครั้งเกิดอาการเน่าเละเนื่องจากมีจุลินทรีย์ชนิดอื่นเข้าทำลายซ้ำเติม


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การแพร่ระบาด
มีการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ไข่ปะปนอยู่ในดินหรือเศษรากพชที่เน่าเปื่อยอยู่ มักจะแพร่ระบาดในข่วงฤดูฝน ซึ่งดินมีความชื้นเหมาะสม หรือไข่ / ตัวอ่อนไหลไปตามน้ำไประบาดที่อื่นได้

การป้องกันกำจัด
ไขน้ำท่วมแปลงเป็นเวลานาน 3-4 เดือน สามารถฆ่าตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปมในดินได้ แต่ถ้าจะฆ่าไข่ต้องปล่อยให้น้ำท่วมอยู่ถึง 12 เดือน

ไถพลิกตากแดดในฤดูร้อน ความร้อนจากแสงแดดสามารถฆ่าตัวอ่อนได้ ส่วนไข่ที่ได้รับออกซิเจน จะอบอุ่นให้ฟักเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนจะถูกฆ่าตายโดยความร้อนต่อไป

หยอดก้นหลุมก่อนปลูกด้วยคาร์โบฟูราน อัตรา 2-3 กรัม/หลุม



ผู้เรียบเรียง
วิโรจน์ สุนทรภัค, ประพนธ์ ไทยวานิช และ ศุภลักษณ์ กลับน่วม
กลุ่มงานโรคพืช กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร

สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

http://forecast.doae.go.th/web/celery/322-animal-pests-of-celery/1207-meloidogyne-graminicola.html





เชื้อรา Pochonia chlamydosporia ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม

ไส้เดือนฝอยรากปม (root-knot nematode : Meloidogyne spp.) เป็นศัตรูพืชสำคัญที่ทำความเสียหายกับพืชปลูกทั่วโลกทั้งพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไร่ รวมทั้งไม้ผล พืชที่ถูกทำลายแสดงอาการรากบวมพอง(root knot, gall) กุดสั้น ท่อลำเลียงน้ำและอาหารอุดตัน ลำต้นแคระแกร็น ทำให้ผลผลิตลดลง หรือตายในที่สุด

การควบคุมด้วยสารเคมีให้ประสิทธิภาพสูง แต่เกิดสารพิษตกค้างในระบบนิเวศน์ที่เป็นอันตรายต่อห่วงโซ่อาหาร การควบคุมโดยชีววิธีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

เชื้อรา Pochonia chlamydosporia (PC) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีการศึกษากันมากในต่างประเทศและพบว่ามีศักยภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม แต่การศึกษาในประเทศไทยยังมีข้อมูลจำกัด ดังนั้น จึงควรมีการเก็บรวบรวมเชื้อราชนิดนี้และคัดเลือกไอโซเลตที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมโดยชีววิธีต่อไป

ผลการศึกษาสามารถเก็บรวบรวมเชื้อรา PC ได้ 29 ไอโซเลต
เมื่อนำเชื้อราไปทดสอบการทำลายไข่ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita (MI) ในห้องปฏิบัติการ พบว่าเชื้อราทุกไอโซเลตสามารถทำลายไข่ของ MI ได้ ในจำนวนนี้มี 11 ไอโซเลต ทำลายไข่ได้ตั้งแต่ 90% ขึ้นไป และไอโซเลต YT 008 เป็นไอโซเลตที่สามารถทำลายไข่ MI สูงสุด คือ 97.4%

เมื่อนำเชื้อราไอโซเลต YT 008 ทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรครากปมของพริกมะเขือเทศ และคะน้า ในเรือนปลูกพืชทดลอง พบว่าเชื้อราสามารถควบคุมประชากรของ MI ได้ โดยสามารถลดจำนวนปม จำนวนไข่ จำนวนตัวที่รากพืช และจำนวนตัวในดินปลูกพริกและคะน้าได้ดี

ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรครากปมในสภาพแปลงปลูก



แหล่งที่มา : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2554.

http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/4699-efficacy-of-pochonia-chlamydosporia




โรครากปม (Root knots)

สาเหตุ :
ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita

ลักษณะอาการ :
พริกแคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดเนื่องจากไส้เดือนฝอยทำลายระบบรากและแย่งอาหารจากพืช ทำให้ระบบรากเสียหายไม่ยืดยาวเหมือนปกติแต่กลายเป็นปมกุดทำให้การดูดน้ำและอาหารไม่สะดวกพริกจึงเหี่ยวในช่วงกลางวันที่มีอากาศร้อน หากมีการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรุนแรง ทำให้เกิดอาการรากเน่าเนื่องจากจุลินทรีย์อื่นๆ ในดินเข้าร่วมทำลาย






การแพร่ระบาด : ดิน น้ำ พืช

การป้องกันกำจัด
• เสริมความแข็งแรงให้พืช
• ใช้กล้าพริกที่สมบูรณ์ หรือปลูกกล้าในถุงที่ใช้วัสดุปลอดไส้เดือนฝอย
• หากพบว่าในพื้นที่ใดมีไส้เดือนฝอยปล่อยดินให้ว่าง และไถพลิกตากดิน โดยงดปลูกพืชไม่น้อยกว่า 6 เดือน
• พบการระบาดของโรครากปม ไขน้ำท่วมแปลงนาน 3-4 เดือน ฆ่าตัวอ่อนได้ และนาน 12 เดือน ฆ่าไข่ไส้เดือนฝอยได้
• ปลูกดาวเรืองเพราะดาวเรืองสามารถผลิตสารที่มีคุณสมบัติควบคุมไส้เดือนฝอย ได้หลายชนิด
• ใช้ความร้อนจากแสงแดด โดยใช้พลาสติก (Polyethylene) คลุมดินที่มีความชื้นพอประมาณ นอกจากช่วยฆ่าไส้เดือนฝอย และจุลินทรีย์โรคพืชอื่นๆ ยังมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และชีววิทยาของดิน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มของไนโตรเจน และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

เสริมความแข็งแรงให้พืช
• ก่อนปลูกพืชหรือหลังเก็บผลผลิต เก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับพืชที่จะปลูกใหม่ พร้อมใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือไถกลบปุ๋ยพืชสด 1-3 ตันต่อไร่
• เว้นระยะต้น และระยะแถวให้เหมาะสม เพื่อให้แสงแดดส่องผ่านถึงพื้นดินและมีการระบายอากาศในทรงพุ่มได้ดี
• พ่นน้ำปูนใส 2-3 ครั้ง ทุก 2-3 วันในแปลงกล้าก่อนย้ายปลูก และทุก 7 วัน ในแปลงปลูก หรือให้น้ำปูนใสในถุงปลูกตามสายน้ำหยดแทนการให้น้ำทุก 7 วัน จนกว่าจะเริ่มเก็บผลผลิต
• ช่วงพืชเจริญเติบโต และเริ่มให้ผลผลิตใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ และเสริมปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยเคมี
• มีทางระบายน้ำออกจากแปลงได้ทันทีเมื่อมีน้ำท่วมขัง



เขียน/เรียบเรียง
กรรณิการ์ ลาชโรจน์

จัดทำ
สิรี สุวรรณเขตนิคม สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง
นวลจันทร์ เสียวกสิกรณ์ และฐิติวรดา สมบัติใหม่

-------------------------------------------------------------------------------



จาก : (088)863-4367
ข้อความ : ดิฉันไปซื้อของที่ร้านของลุงคิม หน้า ม.มหิดล ศาลายา ลูกสาวต้อนรับดี
ค่ะ สวยด้วย ขายของเก่งด้วย พูดเก่งเหมือนพ่อเลยนะคะ ดีใจด้วยค่ะ....อ.มหิดล
ศาลายา



ตอบ :
ร้านนี้ลูกสาวคนโต ชื่อ "น้ำส้ม" นิสัย "หวาน..."
ใกล้ๆกันนั้นมีอีกร้านนึง ลูกสาวคนรอง ชื่อ "น้ำหวาน" แต่นิสัย "เปรี้ยว"

ที่จริง ที่สอนๆ ผู้ฟังรายการวิทยุนั่น เจตนาลึกๆ คือ "สอนลูกตัวเอง" เพราะเขาฟังอยู่บ่อยๆ แต่บังเอิญไปตรงกับชีวิตจริงของผู้ฟังบางท่าน ก็ถือว่า "ฟลุค" ซะมากกว่า


------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089)703-63xx
ข้อความ : เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ครับ

ตอบ :
เพลี้ยอ่อน ..... ใช้ "น้ำส้มสายชู 150 ซีซี. + เหล้าขาว 750 ซีซี." ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น" พร้อมใช้งาน
อัตราใช้/วิธีใช้ ..... หัวเชื้อ 15-20 ซีซี./น้ำ 20 ล. (ห้ามใช้หัวเชื้อเกิน เพราะจะทำให้ใบไหม้ ทางที่ดี ทดสอบก่อนแล้วค่อยเอาจริง)


เพลี้ยไฟ .... ใช้สารสกัด ขมิ้นชัน พริก ข่า กระชาย ฉี่ (วัว/ควาย/หมู/คน) อะไรก็ได้ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ได้ แต่มีข้อแม้ ต้องฉีดพ่น "ตอนเที่ยง" เพราะเพลี้ยไฟมาตอนเที่ยงวัน โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อนแห้ง

------------------------------------------------------------------------------



จาก : (1188)
ข้อความ : พืชที่มีหัวใต้ดิน และมีดอกสวยๆ คือ กระเจียว ดาหลา ต้นบุก

ตอบ :
ถ้างั้น สี่ทิศ. กุมารไฟ. ซ่อนกลิ่น. ก็ใช่ .... เยอะแยะ แต่นึกไม่ออก
ขึ้นชื่อว่า "ดอกไม้" สวยทั้งนั้น เพราะเป็นศิลปธรรมชาติ...แม้แต่ดอกหอม ดอกกระเทียม ดอกข่า ดอกขิง ดอกบอน ก็ศิลปธรรมชาติ....ยกเว้น ดอกเบี้ย ดอกนี้ดูยังไงก็ไม่สวย ว่ามั้ย

ศิลปิน ศิลปินกับศิลปะ แม้แต่กองขยะ มองให้เป็นศิลปะ ก็จะเป็นศิลปิน...(เพลง)

------------------------------------------------------------------------------



จาก : (084) 340-5820 (พนม/สองพี่น้อง สุพรรณบุรี)
ข้อความ : (คุยทางโทรศัพท์) นาข้าว 70 ไร่ ใส่ปุ๋ย 130 กส., ขายกระสอบ
เปล่าใบละ 3 บาท ไปทำกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมเป็นคันรถๆ



ตอบ :

----------------------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©