-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 23 ส.ค.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 23 ส.ค.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 23 ส.ค.

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/08/2011 5:37 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 23 ส.ค. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 23 ส.ค

**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************




จาก : (085)443-27xx
ข้อความ : คุณลุงคะ ผักหวานบ้าน กับ ผักหวานป่า อย่างไหนน่าปลูกกว่ากัน ตลาดดีกว่ากัน ช่วยบอกวิธีปลูกด้วยค่ะ......ขอบคุณค่ะ


ตอบ :
โดยวิสัยของคนรักการเกษตรเพาะปลูกพืช หรือคนทั่วๆไปที่รักต้นไม้ต้นพืช ต้นอะไร พันธุ์อะไร มันน่าปลูกไปเสียทั้งหมดนั่นแหละ จะปลูกเป็นหรือปลูกไม่เป็นไม่สนใจ เรียกว่า เห็นเป็นชอบ ชอบเป็นปลูก ประมาณนั้น

ผักหวานบ้าน-ผักหวานป่า ก็เหมือนกัน ดีทั้งคู่ น่าปลูกทั้งคู่ เหตุผลข้อแรก คนกินทั้งคู่ เหตุผลข้อสอง มื้อนี้กินผักหวานป่า มื้อหน้ากินผักหวานบ้าน มันจะสุขีภิญโญแค่ไหน

ผักหวานบ้านปลูกง่าย ขนาดนกกินลูกมันแล้วไปขี้ลงตรงไหนเป็นงอกตรงนั้น ใหญ่ได้เอง โตได้เอง ทั้งๆที่ไม่ได้รดน้ำ ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ไม่ได้ฉีดฮอร์โมน โรคแมลงอะไรก็ไม่ค่อยมี

ผักหวานป่า ตัวนี้ต้องต้องอาศัยฝีมือระดับปราบเซียนสักหน่อย สังเกตุเคล็ดลับดีๆ ก่อนตัดสินใจลงมือปลูก

- กิ่งตอน ต้องผ่านการเลี้ยงกิ่งไว้บนต้นข้ามปี รอให้รากแก่จัดจริงๆ ถึงจะตัดลงมาใส่ถุงดำอนุบาลในเรือนเพาะชำได้ แล้วต้องอนุบาลต่ออีกข้ามปี นั่นแหละถึงจะได้ต้นกล้าเอาไปปลูกลงแปลงจริงได้ รากที่แก่จัดแบบนี้ โอกาสรอด 75% โอกาสตายคาหลุม 25%

- เพาะเมล็ด ใช้เมล็ดแก่จัด สุกคาต้น สดใหม่ ไม่มีโรค ได้เมล็ดมาแล้ว ล้างเนื้อล้างเปลือกออกให้หมด ล้างเบาๆ มือนิ่มๆ ถ้าเมล็ดในช้ำมากๆ เอาไปเพาะแล้วจะไม่งอก....ล้างเมล็ดแล้วเอาลงเพาะทันที เพราะเมล็ดผักหวานป่าไม่มีระยะพักตัว

- ระบบรากของผักหวานป่าอ่อนแอมากๆ กระทบกระเทือนนิดๆหน่อยๆ พ่อพาลไม่โตเอาเลย เพราะฉนั้น เมื่อเพาะเมล็ดลงไปแล้ว จะไม่มีการถอนย้ายที่ปลูกเด็ดขาด ลงเมล็ดตรงไหน หมายถึงให้อยู่ตรงนั้น โตตรงนั้นเลยตลอดชีวิต .....ถ้าเป็นต้นกล้าในถุงดำยิ่งต้องประณีตมากๆ การถอดต้นออกจากถุงดำแบบถอดถุงแล้วลงหลุมปลูก โอกาสรอด 5% โอกาสตาย 95% ..... เทคนิคการย้ายกล้าจากถุงลงปลูก ทำยังงี้ ปล่อยให้ดินในถุงแห้งดีๆ เพื่อดินหุ้มรากจะได้ไม่แตก ตอนจะลงแปลงจริง เขาไม่ถอดต้นกล้าออกจากถุงหรอก แต่เขาใช้วิธีตัดก้นถุงแล้ววางลงที่หลุมปลูกเลย ถุงด้านข้างไม่เอาออกนะ ปล่อยให้ป้องกันดินหุ้มรากไว้อย่างนั้น วางถุงตัดก้นลงไปแล้ว หาเศษดินคลุมก่อนแล้วทับด้วยเศษหญ้าแห้งหนาๆ ถ้าต้นกล้าสูงก็ให้พิจารณามีหลักปักยึดกันลมโยกหน่อยก็ดี เสร็จแล้วรดน้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น ประมาณ 1-2 ปี ก็เก็บยอดได้

- ปลูกกล้วยลงไปก่อน รอให้กล้วยเริ่มแทงหน่อ ค่อยเอาเมล็ดผักหวานป่าที่เตรียมเรียบร้อยแล้วฝังลงไปที่โคนต้นกล้วยโดยตรงเลย ฝังลึกแต่ข้อนิ้วมือเดียวก็พอ เป้าหมายการปลูกในกอกล้วยก็เพื่อ อาศัยต้นกล้วยเป็นพี่เลี้ยงบังแดด กับอาศัยรากกล้วยช่วยสร้างความชุ่มชื้นในดิน เมื่อเมล็ดผักหวานป่างอกขึ้นมาแล้วจะไม่มีการขุดย้ายที่ปลูกอีกเด็ดขาด ปล่อยให้ทั้งกล้วยทั้งผักหวานป่าโตด้วยกันอย่างนั้น อย่างน้อย 2-3 ปี จนกระทั่งเห็นว่าต้นผักหวานป่าเลี้ยงตัวเองได้แล้วจึงพิจารณาเอาพี่เลี้ยงออก

นอกจากกล้วยแล้ว ไม้อื่นที่เป็นพี่เลี้ยงได้ ที่เคยเห็นก็มี สะเดา เหรียง มะขามเทศ นี่แหละ

ก็เพราะผักหวานทั้งสองอย่าง ปลูกง่ายกับยากต่างกันนี่แหละ ถ้าผักหวานบ้านราคา กก.ละ 40 ผักหวานป่าก็ต้อง 140 ต่างกันเยอะนะ


เรื่องการบำรุงน่ะเหรอ....
- ทางใบ ให้ "น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 50-100 ซีซี." ซัก 15-20 วัน/ครั้ง ก็พอแล้ว

- ทางราก ใส่ "ขี้วัวแห้งเก่าข้ามปี + ยิบซั่ม + น้ำหมักระเบิดเถิดดทิง 30-10-10 (2 ล./ไร่)" ซัก 1-2 เดือง/ครั้ง......ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- น้ำมะพร้าวอ่อน, น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก มีจิ๊บเบอเรลลิน ถ้าทำเป็นก็ให้ใช้ตัวนี้แทนจิ๊บฯ เคมี
- ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม เพราะในไบโออิ. กับระเบิดเถิดเทิง. มีให้พอเพียงแล้ว

- ดงผักหวานป่าอยู่ที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ที่นั่นมีการจัดงาน "วันผักหวานป่า" ทุกปี ทำกันเป็นล่ำเป็นสันทุกบ้าน ๆละ 1-2-5-10 ไร่ กันเลย


--------------------------------------------------------------------------



จาก : (089)769-21xx
ข้อความ : เคยได้ยินคุณลุงผู้พันบอกว่า ใช้ "เชอรี่เดธ + สารสกัดสมุนไพร" ฆ่าหนอน อยากทราบว่าใช้สมุนไพรตัวไหน......ขอบคุณครับ

ตอบ :
"เชอรี่เดธ" เป็นชื่อการค้าของบริษัทสปอนเซอร์รายการวิทยุภาคเช้า ชื่อสามัญว่าไง อันนี้ไม่รู้ เห็นว่าทำมาจากกากชา นำเข้าจากต่างประทศ คงไม่ใช่ชาที่คนเอามาชงกินหรอกนะ กับรู้แต่เพียงว่าในนั้นมีสาร "ซาโปนิน" เป็นสารธรรมชาติ ซึ่งเป็นพิษต่อหอยเอรี่ ใส่ลงไปในแปลงนา ออกฤทธิ์อยู่ได้ 3 วัน แล้วก็จะเสื่อมฤทธิ์ไปเอง

มี สมช.รายการวิทยุบางคนเอาเชอรี่เดธ 1 ถุง 5 กก. แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ได้ "หัวเชื้อ" .... เอาหัวเชื้อ 1 ล. ผสมน้ำเปล่า 20 ล. ฉีดพ่นในแปลงผัก ปรากฏว่าทั้งหนอนบนต้นผัก หมัดกระโดดที่พื้นดินโคนต้น ตายเรียบ

กรณีให้เอามาบวกกับสมุนไพรตัวไหนกำจัดหนอน ก็ต้องสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดหนอนโดยเฉพาะซี่ อย่างเช่น สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร กลอย เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดมันแกว อีกเยอะแยะ อะไรก็ได้ อย่างเดียวเดี่ยวๆ หรือหลายๆอย่าง แต่หลายอย่างย่อมดีกว่าอย่างเดียว เรียกว่า "ตัวต่อตัวมีรุม" ไงล่ะ

วิธีการก็คือ เอาน้ำแช่กากชาพร้อมใช้แล้วกับน้ำหมักสารสมุนไพรพร้อมใช้แล้วเหมือนกัน ผสมกันแล้วใช้ด้วยกันเลย (....หมักแยก แต่ใช่ร่วม....)

หรือไม่ก็ หมักพร้อมกัน หมักในถังเดียวกัน ทุกตัวเลย แล้วใช้ตามปกติ ก็ได้



--------------------------------------------------------------------------


จาก : (086)172-84xx
ข้อความ : ข้าวเมล็ดดำเกิดจากอะไรคะ ? และมีวิธีแก้อย่างไร ?.....ขอบคุณค่ะ


ตอบ :

หนักนะ .... ขนาดคนเป็นเจ้าของ ทำกับมือ เห็นกับตา ยังไม่รู้ว่า "คืออะไร เกิดจากอะไร" แล้วลุงคิมนั่งอยู่ตรงนี้ เห็นแต่ตัวหนังสือบนจอคอม. .... จะรู้มั้ยเนี่ยยยย



เดานะ...

เดา 1.... เป็นเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ อันนี้แก้ไขโดยการ "แช่เมล็ดพันธุ์" ในไคโตซาน....สารไคติเนสในไคโตซาน นอกจากช่วยกำจัดเชื้อปนเปื้อนตัวนี้ได้แล้ว ยังบำรุงเมล็ดให้สมบูรณ์ (สะสมสารอาหารตั้งแต่ก่อนเกิด) เมื่องอกเป็นต้นจนโตก็จะให้ผลผลิตดี

เดา 2.... เป็นเชื้อราที่เกิดขึ้นภายหลัง น่าจะเป็นราเข้าช่วงออกรวงตากเกสร (ชาวนา....ลุงประเสริฐ 080-110-5512 สุพรรณบุรี....เล่าให้ฟัง) อันนี้ สารสมุนไพรกำจัดเชื้อราโดยตรง หรือสมุนไพร + สารเคมี ก็ได้

เดา 3.... เป็นเชื้อราที่เกิดตอนเมล็ดเป็นน้ำนมแล้ว ช่วงนี้หน้าฝน ความชื้นสูง โดยเฉพาะนาหว่าน โอกาสเกิดโรคสูงกว่านาดำ อันนี้ก็ สมุนไพรเดี่ยวๆ บ่อยๆ หรือสมุนไพร + สารเคมี ได้เหมือนกัน



อ้างอิง :

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์ จากน้อยหน่า

หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สารสกัดใบน้อยหน่า วงศ์ Annonaceae ได้ถูกนำไปตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเมล็ดพืชและฤทธิ์ ฆ่าแมลงCallosobruchus chinensis ที่เป็นศัตรูของเมล็ดพืช การสกัดแยกพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ด พืชได้ทั้งหมด และมีฤทธิ์ฆ่าแมลงปีกแข็งได้ 80% ที่ความเข้มข้น 0.07 มก./ มล. ซึ่งสารกลุ่มฟลาโวนอยด์นี้มีฟลาโวนอล การศึกษานี้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสารสกัดใบน้อยหน่าที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาเมล็ดพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยว

http://soclaimon.wordpress.com/2010/05/25/%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5/

--------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©