-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-วิธีการสกัดสารจากสมุนไพร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - วิธีการสกัดสารจากสมุนไพร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

วิธีการสกัดสารจากสมุนไพร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 3:32 pm    ชื่อกระทู้: วิธีการสกัดสารจากสมุนไพร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกร็ดความรู้เรื่อง วิธีการสกัดสารจากสมุนไพร


ในการสกัดสมุนไพรนั้น ทำได้หลายวิธี แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ การสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกตัวทำละลาย ก็จะต้องดูว่า เราต้องการสารอะไรออกมาจากสมุนไพรนั้น มีขั้ว/ไม่มีขั้ว (polar/nonpolar) หากต้องการพวกน้ำมันซึ่งเป็นพวกที่ไม่มีขั้ว ก็ใช้ตัวทำละลายไม่มีขั้ว ถ้าต้องการพวกที่มีขั้วขึ้นมาหน่อย ก็ใช้ตัวทำละลายที่มีขั้วสูงขึ้นมา

ตัวทำละลายที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ เช่น เฮกเซน , คลอโรฟอร์ม, เอทิลอะซิเตด, เมทานอล, ฯลฯ ซึ่งแต่ละตัวก็มีขั้วที่ต่างๆ กัน


ขั้นตอนในการสกัดสมุนไพรด้วยตัวทำละลาย ก็มีดังนี้ (แบบคร่าวๆ) :
นำพืชสมุนไพรมาอบให้แห้งที่อุณหภูมิไม่เกินประมาณ 40 องศาเซลเซียส หรือตากลมให้แห้ง แล้วบดให้ละเอียด(ที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้) นำไปแช่ในตัวทำละลายทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน แล้วกรองเอาส่วนที่เป็นของเหลวออกมา (สามารถแช่ซ้ำอีกได้โดยเติมตัวทำละลายลงไปอีก) นำสารละลายที่ได้มาระเหยแห้งก็จะได้สารสกัดหยาบออกมา ซึ่งอาจมีสารที่เราต้องการปนอยู่กับสารชนิดอื่นก็ได้

แนะนำว่า ถ้าต้องการเอาไปใช้กับคน ควรแยกสารให้ได้สารที่บริสุทธิ์ หรือที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่เราต้องการจริงๆ ไม่ควรนำสารสกัดหยาบไปใช้ทันที เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากสารอื่นๆ ในสารละลายนั้นก็ได้

ข้อควรระวังก็คือ ตัวทำละลายอินทรีย์ทุกชนิด ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น อาจถึงตาย หรือพิการได้ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นตัวทำละลายของสารอินทรีย์ และร่างกายเราก็เป็นสารอินทรีย์เหมือนกัน ดังนั้น ในการทำสารพวกนี้ ต้องมีการป้องกันตัว โดยการสวมผ้าปิดจมูก แว่นตาแล็บ เสื้อคลุม และถุงมือให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์(สิน)

หรือถ้าใช้วิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้านก็คือ จะใช้เอทานอล หรือแอลกอฮอลล์กินได้ หรือ เหล้าขาว มาเป็นตัวทำละลาย แต่ไม่ควรนำมาทานโดยตรง อาจใช้เป็นยาทาภายนอก (แล้วแต่สรรพคุณ) หรืออาจสกัดด้วยน้ำกลั่นก็ได้ แล้วแต่ ว่าต้องการสารอะไร




**** การสกัดสารจากสมุนไพรควรจะรู้ว่าต้องารสารประกอบที่อยู่ในรูปใดคือ สารที่ระเหยได้ volatile oil หรือสารประเภทไม่ระเหย nonvolatile compound ถ้าต้องการสารระเหยได้นิยมสกัดด้วยการกลั่นโดยใช้ไอน้ำ steam distillation ส่วนสารที่ไม่ระเหยจะต้องสกัดด้วย สารทำละลายที่อาจเป็นน้ำก็ได้หากสารที่ต้องการนั้นละลายน้ำได้หรือใช้ อัลกอฮอล์ชนิดต่างๆ หรือ solvent อื่นที่ต้องศึกษามาก่อนว่า สารที่ต้องการสกัดนั้นจะละลายใน สารทำละลายชนิดใดปัจจัยที่เกี่ยวกับการสกัดคือ

1.ขนาดอนุภาคของสมุนไพรที่จะนำมาสกัด
2.สัดส่วนของสมุนไพรกับปริมาณสารทำละลายที่จะใช้
3.อุณหภูมิและเวลาในการสกัดที่เหมาะสม


***** การสกัดสารที่อยู่ในพืชสมุนไพรจะใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) เช่น dichloromethane ethylacetate methanol hexane ซึ่งชนิดที่ใช้จะขึ้นกับความมีขั้ว (polarity) และสมบัติการละลาย (solubility) ของสารที่เราต้องการสกัด ถ้าสารที่เราสนใจมีขั้วก็ใช้ตัวทำละลายที่มีขั้วสกัด หากเป็นสารที่ไม่มีขั้วก็ใช้ตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว แต่โดยปกติการสกัดจะได้เป็นสารสกัดหยาบก่อน (crude extract) ซึ่งมีสารหลายร้อยชนิดปนกันออกมา ดังนั้นต้องมีขั้นตอนการแยกและทำให้บริสุทธิ์ (separation and purifie) อีกทีนึงครับ




***** สารสกัดว่านหางจระเข้
วิธีการสกัด
นำว่านหางจระเข้สดที่มีขนาดกาบโตมาปลอกเปลือกออกเอาแต่วุ้นใสๆมาชั่งน้ำหนักให้ได้ประมาณ 1 กิโลกรัม แล้วปั่นจนละเอียดใส่ลงในภาชนะแล้วเติมโพรพิลีนไกลคอล 1 กิโลกรัม (ประมาณหนึ่งลิตร) ลงไปกวนจนเข้ากันแล้วเติมน้ำ 1 กิโลกรัม (ประมาณครึ่งลิตร) ลงไป แล้วปิดฝาให้สนิทตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 3 เดือนจะได้สารละลายใสไว้ใช้งาน

aloctin เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นไกลโคโปรตีน ในว่านหางจระเข้จะมี aloctin อยู่หลายชนิด คือ aloctin A aloctin B aloctin C อื่นๆ แต่ที่มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อจะเป็น aloctin A มีข้อเสียอย่างแรง คือ สารชนิดนี้สลายตัวได้ง่าย and เร็วโคตร โดยอย่าให้ถูกความร้อน และไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง

ทุกปัญหามีทางออก aloctin สามารถสกัดได้ในรูปของวุ้นผง โดยนำวุ้นว่านหางจระเข้ใสใสไม่เอาเมือกเหลืองๆมาให้ความร้อนในแคลอรีมิเตอร์ (ทำให้แห้งแล้วบดเป็นผง) เนื่องจาก aloctin จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อนและเกิดการสูญเสียพลังงาน ดังนั้นจะต้องรักษาพลังงานที่ให้กับตัววุ้น จึงจะรักษา aloctin ได้ ถ้าโรงเรียนไม่มีแคลอรีมิเตอร์จะมอบให้ก็สามารถใช้เตาอบไมโครเวฟแทนก็ได้ แต่หลังจากเวฟแล้วให้ปล่อยให้แห้งแล้วบดเป็นผง (aloctinไม่ระเหย)

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการสกัดแบบหยาบ ถ้าต้องการให้ aloctin บริสุทธิ์เกิน75% ขึ้นไปจะต้องนำไปปั่นแยกส่วน หรือไม่ก็ใช้วิธีทางสเปกโทรสโกปี




***** ใบหูกวางสดอบในตู้อบ อุณหภูมิ 40-45๐C ประมาณ 6 ชั่วโมง เพื่อลดความชื้น การสกัดใบหูกวางในการทดลองนี้ใช้การหมัก (Maceration) (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2545 ) กับตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ เอทิลแอลกอฮอล์70% และเอทิลแอลกอฮอล์ 95% ในภาชนะปิด ทิ้งไว้ 3 วัน ในอัตราส่วน สมุนไพร 1 ส่วน : ตัวทำละลาย 10 ส่วน (w/v) รินสารออก บีบเอาน้ำออกจากกากให้มากที่สุด สารสกัดที่ได้ระเหยเอาตัวทำละลายออก โดยใช้ evaporation และทำให้สารสกัดเป็นผงโดยใช้ Freeze dry และชั่งน้ำหนักสารที่ได้ นำมาคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์การสกัด


**** นำสมุนไพรที่ต้องการสกัดไปอบแห้ง หลังจากนั้นบดเป็นผง แล้วนำไปสกัดด้วย 95% EtOH 3 ครั้ง โดยสกัดครั้งแรก ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 วัน แล้วนำไปกรอง จะได้กากและสารละลาย เก็บสารละลายไว้ แล้วนำกากไปสกัดอีกรอบ ทำแบบเดิม 3 ครั้ง (เพื่อให้แน่ใจว่าสารออกมาหมด) หลังจากนั้นนำสารละลายที่เก็บไว้ไประเหย โดยไม่ต้องให้แห้งนะคะ ขั้นตอนการระเหยก็เพื่อระเหยเอา 95% EtOH ออก จนได้สารละลายที่มีความเข้มข้นตามที่เราพอใจ


**** วิธีการสกัดนำมันหอมระเหยจากไพลวิธีง่ายๆ มีดังนี้ นำไพลสดมาปอกเปลือกหั่นบางๆ ชั่งอัตราส่วน ไพล 2 ส่วน แล้วนำไปทอดในนำมันพืช 1 ส่วน ทอดจนไพลเหลืองกรอบ มีสีนำตาลอ่อนๆ จึงกรองกากไพลทิ้งโดยใช้ผ้าขาวบาง จะได้นำมันไพลออกมา 1 ส่วน ไพลที่เก็บในฤดูฝนจะไม่ค่อยมีกลิ่นเท่ากับในฤดูหนาว หรือฤดูร้อน เพราะมีนำมากเป็นไพลหนุ่มยังไม่แก่จัด



http://www.vcharkarn.com/vcafe/49614
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 3:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีการสกัดสารจากพืช (พวก anti microbial)

ต้องการสกัดสารจากพืชสมุนไพรที่คาดว่าจะต้านเชื้อแบคทีเรีย salmonella spp ได้น่ะค่ะ เท่าที่ทราบ คิดว่าสารนี้คือ สารเทนนิน แต่ลักษณะของงานที่ทำมันเป็นโครงงาน ที่อยากจะถือว่าเราไม่รู้จักสารนี้มาก่อน เพราะตอนนี้(ภายในระยะเวลาจำกัดมาก) ถ้าสกัดออกมาได้ ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อยู่ดีว่าใช่สารเทนนินหรือไม่อยู่ดี

การสกัดสาร มันมีเรื่องน่าห่วงตรงที่ว่า ใช้แอลกอฮอล์ไม่ได้ (อันตรายเพราะเป็นการกิน) อยากทำทั้งสดทั้งแห้ง แต่ทั้งสองอย่างก็มีปัญหาเรื่องการมีเชื้อโรคและสารอื่นปนเปื้อน กลัวจะมีผลกระทบต่อการทดลอง และถ้าฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ก็กลัวว่าสารที่จะเอามายับยั้งแบคทีเรียจะถูกทำลายซะก่อน เลยคิดไม่ออกว่าควรจะทำแบบไหนดี

และการทำการทดลอง ก็ยังไม่แน่ใจว่าควรทำบน plate หรือทำในหลอดทดลอง(จำชื่อวิธีการแบบนี้ไม่ได้) ถ้าทำบน plate ก็ต้องดูที่ clear zone (Inhibition zone) แต่ถ้าเป็นในหลอดทดลอง จะเหมือนการเพาะเชื้อ แต่ในวุ้นนั้นมีสารจากสมุนไพรอยู่ด้วย ถ้าตัวไหนยับยั้งได้ แบคทีเรียก็จะไม่เจริญ หรือเจริญน้อย

แต่สิ่งที่ติดที่สุดก็ยังเป็นเรื่องการควบคุมเชื้อ/สารปนเปื้อนอยู่ดี




ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับสารพวกแทนนินก่อนครับ

แทนนิน (tannin) นั้นเป็นสารพวก polyphenols ซึ่งจะจับและตกตะกอนกับโปรตีนได้

การสกัดสาร
เราต้องดูความเป็น polar และ non polar ของสารตัวนั้น สารพวกแทนนินนั้นเป็นสารค่อนข้าง polar ปกติจะละลายได้ในน้ำ ยกเว้น พวกที่มีโมเลกุลและโครงสร้างใหญ่ๆ จะละลายใน organic solvents

การสกัดสารแทนนินออกมาจากพืชนั้น โดยทั่วไปจะใช้สารผสมระหว่าง70% acetone and 30% water ซึ่งจะมีประสิทธิภาพการสกัดมากกว่าใช้ สารพวกแอลกอฮอล์ อย่างเดียว โดยสาร acetone นั้นจะยับยั้งการจับกันระหว่างแทนนินกับโปรตีนได้ด้วย

สารสกัดที่ได้ออกมานั้น แน่นอนย่อมไม่บริสุทธิ์ ถ้าจะให้ได้สารแทนนินบริสุทธิจริงๆ นั้นต้องใช้วิธี TLC เพื่อแยกให้ได้ สารประกอบแทนนินเดี่ยวๆออกมาเลย ซึ่งเป็นวิธีขั้นสูง ในระดับนี้ถ้าต้องการคร่าวๆก็ให้ใช้สารสกัด ที่สกัดได้เฉยๆมาทดลองการมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ salmonella เลย

วิธีทำ
ขั้นแรกน่าจะหมัก พืชของเราไว้กับ methyl alcohol ก่อนซัก 7 วันเพื่อแยกสารที่ไม่ต้องการออกไป กรองเอาเฉพาะสารที่ได้ออกมาเรียกว่า clude extract
จากนั้นนำ clude extract นั้นไปลง collume chromatography ซึ่งใช้สารพวก Sephadex LH-20 เป็นสารดูดซับ และก็ใช้ solvent เป็น อะซิโตน 70% น้ำ30%

เก็บคอลัมม์ ละซัก 20 ml ก็ได้ เก็บไปซัก 100 คอลัมม์ เพราะเราไม่รู้ว่าสารแทนนินจะออกมาคอลัมม์ไหน (ช่วงแรกๆอาจมีสารพวกคลอโรฟิล ออกมาเยอะ กรณีพืชของเราเป็นใบ) จากนั้นเราจะรู้ได้ไงว่าสารแทนนินเราอยู่คอลัมไหน ถ้าไม่ใช้วิธี TLC ก็คงยากอ่ะ คงต้องเปิดตำราดูสีของสาร แล้วคาดคะเนเอาว่าน่าจะอยู่ในช่วงคอลัมม์ไหน เมื่อได้สารที่ต้องการมาแล้ว ให้ไประเหยเอา solvent ออกไป ก็จะได้สารแทนนินค่อนข้างเยอะแล้วแหล่ะ (จะทำได้ไหมเนี่ย) ต้องเปิดตำราดูวิธีทำเอาอ่ะ ที่บอกมาเป็นแนวคิดกว้างๆเท่านั้น

วิธีทดสอบฤทธิ์ antimicrobial
ให้ นำเชื้อ salmonella ไปสเตรท ใน plate โดยใช้วิธี aceptic tecnique ห้ามไม่ให้มีการปนเปื้อนของเชื้ออื่นโดย plate แรกเป็นสารแทนนินของเราผสมลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ plate ที่สองเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อธรรมดา

จากนั้นนำไป incubate ดูผลซัก 3 วัน ในตู้ปราศจากเชื้อ นำ plate ออกมาดูผลการยับยั้ง salmonella เปรียบเทียบดูว่า plate ที่มีสารแทนนินอยู่เชื้อเจริญ หรือไม่ ถ้าไม่เจริญ แล้วอีก plate นึงเจริญ ก็ เตรียม get A เลยครับ เอิกๆๆๆ

---- เป็นแนวคิดคร่าวๆ ประมาณนี้ครับ ----


ผมว่าถ้าเป้าหมายอยู่ที่ Tannin ต่อเชื้อ Salmonella ทำไมไม่ทดสอบว่า Tannin มีผลต่อเชื้อเป้าหมายหรือไม่โดย เตรียมสารละลายTannin (ผงTannin มีขาย) แล้ว Sterile โดยกรองผ่าน Membran 0.45 ไมครอน นำกระดาษกรองตัดเป็รวงกลมชิ้นเล็กๆ ใช้ที่เจาะกระดาษก็ได้ (ฆ่าเชื้อก่อนใช้) จุ่มในสารละลายTannin แล้ววางบนPlate ที่Smearเชื้อ Salmonellaเอาไว้ เอาเข้า Incubate แล้วดูClear zone หรือจะใช้วิธี MIC

Mininum Inhibition Concentration โดยเตรียมสารละลาย Sterile Tannin ที่ความเข็มข้นต่างๆ แล้วผสมลงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลว(Broth) ให้ได้ความเข้มข้นระดับต่างๆที่วางแผนไว้ Innoc เชื้อ Salmonella ลงในแต่ละ Tube นำเข้าIncubate ดูผลโดยดูจากความขุ่น


http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X3587535/X3587535.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 4:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การนำพริกและสารสกัดจากพริกมาใช้ทางยา

โดย ผศ.นัฏฐา แก้วนพรัตน์
ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



พริกที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นพริกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ซึ่งมีหลายชนิดที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ พริกขี้หนูหรือพริกแกว (Capsicum frutescens linn.) พริกหยวก (Capsicum annuam Linn.)


สารออกฤทธิ์ฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรีย Capsaicin มีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis


สารสกัดจากพริกที่นำมาใช้ทางยา
สารสกัดจากพริกแห้งที่นำมาใช้ทางยา ได้แก่

Capsicum oleoresin ได้จากการสกัด capsicum ด้วย alcohol (90%) แล้วระเหยเอาตัวทำละลายออกไป Oleoresin ที่ได้มีลักษณะเป็นของเหลวหนืดสีน้ำตาลแดง กลิ่นฉุนมาก ละลายได้ใน alcohol, acetone, ether น้ำมันหอมระเหยและไขมัน มีสารสำคัญคือ capsaicins (capsaicin, dihydrocapsaicin, nordihydrocapsaicin) ไม่ต่ำกว่า 8%

Capsicum Tincture เตรียมได้จากการหมัก capsicum oleoresin ด้วย alcohol (90%) ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับ Methyl Salicylate Ointment, Compound ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยใช้ในปริมาณ 1.5%
Capaicin: (C18H27NO3, MW 305.4)

เป็นสารสำคัญที่สกัดได้จากผลสุกแห้งของ พริก ละลายน้ำน้อยมาก ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ เมื่อทาบริเวณผิวหนังจะรู้สึกร้อนแดงโดย ไม่เกิดตุ่มพอง ในทางยาใช้เป็นยาต้านการระคายเคือง (counter irritant) ในผู้ที่มีอาการปวดบริเวณผิวหนัง ระงับอาการปวดประสาทหลังจากเป็นโรคงูสวัด ความเข้มข้นที่ใช้จะอยู่ในช่วง 0.025-0.25% โดยทาผิวหนังวันละสามถึงสี่ครั้ง

ปัจจุบันนี้ได้มีการนำพริกแห้งบดละเอียด สารสกัดจากพริก เช่น capsicum oleoresin, capsicum tincture หรือ capsaicin มาเป็นสารสำคัญในการเตรียมยารูปแบบต่างๆ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมในยาน้ำผสม (mixtures) เพื่อเป็นยาธาตุ ยาเจริญอาหาร ยาขับลม หรือ เป็นส่วนผสมในยาเตรียมทางผิวหนังที่อยู่ในรูปยากึ่งแข็ง เช่น ยาขี้ผึ้ง ยาครีม ยาเจล เพื่อระงับอาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดประสาทหลังจากเป็นโรคงูสวัด ซึ่งแสดงตัวอย่างสูตรตำรับและวิธีเตรียมดังนี้

Capsicum Ointment
- Capsicum 5 g
- White Petrolatum 95 g

วิธีเตรียม
1. บดผสมผง capsicum กับ white petrolatum ปริมาณเล็กน้อยจนได้เพสต์เนื้อเนียน
2. นำ white petrolatum ที่เหลือมาผสมกับเพสต์เนื้อเนียนที่เตรียมได้โดยวิธี geometric dilution

Capsaicin 0.05% Cream
- Capsaicin 0.05 g
- O/W Cream 95.95 g


วิธีเตรียม
1. บดผสม capsaicin กับ cream ปริมาณเล็กน้อย จนได้เพสต์เนื้อเนียน
2. นำ cream ที่เหลือมาผสมกับเพสต์เนื้อเนียนที่เตรียมได้ โดยวิธี geometric dilution

Capsicum 0.32%, Methyl Salicylate 25% and Menthol 10% Analgesic Cream
Capsicum Oleoresin 0.32 g
Methyl Salicylate 25.0 g
Menthol 2.0 g
Polysorbate 80 5.0 ml
Cream Base q.s. to 100.0 g


(จากสูตรตำรับจะมีปริมาณ capsaicin ประมาณ 0.025% เมื่อใช้ร่วมกับ methyl salicylate จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการลดอาการปวด)

วิธีเตรียม
1. ละลาย menthol และ methyl salicylate เข้าด้วยกัน
2. ผสม capsicum oleoresin และ polysorbate 80 เข้าด้วยกัน
3. ผสมสารละลายที่ได้จากข้อ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน
4. นำสารผสมที่ได้นี้ไปผสมกับ cream base โดยค่อยๆ เติมสารผสมที่ได้ใน cream base ทีละน้อย ผสมให้เข้ากันทุกครั้งที่เติม




เอกสารอ้างอิง
Anon. 1999. Capsaicin 0.05% Gel. Int J Pharm Compound. 3(6): 486.
Anon. 1999. Capsicum and Capsaicin Formulas. Int J Pharm Comp. 3(6): 468.
Anon. 2000. Capsicum 0.32%, Methyl Salicylate 25% and Menthol 10% Analgesic Cream. Int J Pharm Comp. 4(2): 52.
สรจักร ศิริบริรักษ์ 2539 เภสัชโภชนา โรงพิมพ์กรุงเทพ หน้า 79-90.
นิจศิริ เรืองรังษี 2534 เครื่องเทศ พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 101-110.
โครงการพัฒนาเทคนิคการทำยาสมุนไพร การใช้สมุนไพร เล่ม 2 2524 พิมพ์ครั้งที่ 2 บริษัทสารมวลชนจำกัด หน้า 108-113.


http://herbal.pharmacy.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=117&Itemid=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 4:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การสกัดสารจากพืชสามารถทำได้ 3 วิธี



1. Maceration วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยทำการคัดเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมกับสารในพืชสมุนไพรแล้วนำพืชสมุนไพรไปใส่ไว้ในภาชนะที่ปิด เช่น ขวดปากกว้าง ขวดรูปชมพู่หรือโถ ทำการเขย่าเป็นเวลา และแช่ไว้อย่างน้อย 7 วัน จากนั้นนำมากรองแล้งบีบเอาสารสกัดออกมาจากกากสมุนไพรให้ได้มากที่สุด นำสารละลายสมุนไพรที่ได้ไปทำการกรองเอาเศษสมุนไพรที่ติดออกให้หมด แล้วจึงนำสารที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อ วิธีนี้มีข้อดีคือ สารสกัดจะไม่ถูกความร้อน ทำให้โอกาสในการสลายตัวของสารสกัดลดลง ข้อเสียของวิธีนี้คือจะสิ้นเปลืองตัวทำละลายมาก






2. Soxhlet Extraction เป็นวิธีที่ใช้ความร้อนในการสกัดและต้องอาศัยการควบแน่นเข้าช่วย เป็นวิธีการสกัดแบบต่อเนื่อง ตัวทำละลายจะต้องมีจุดเดือดต่ำเมื่อระเหยจะนำสารจากพืชสมุนไพรไปด้วยจากนั้นเมื่อถูกความเย็นก็จะกลั่นตัวลงใน Thimble ซึ่งบรรจุสมุนไพรไว้ เมื่อทำตัวละลายใน extracting chamber สูงขึ้นถึงระดับกาลักน้ำ สารสกัดจะไหลกลับไปในขวดรูปชมพู่ด้วยวิธีกาลักน้ำ ทำตัวละลายก็ระเหยขึ้นแล้วกลั่นตัวกลับมาเป็นตัวทำละลายสกัดสารใหม่วนเวียนไป การใช้ความร้อนอาจทำให้สารที่ระเหยง่ายระเหยออกไป จึงไม่เหมาะกับการสกัดสารจากพืชสมุนไพรที่มีสารที่ระเหยง่าย เป็นองค์ประกอบ วิธีการสกัดแบบต่อเนื่องนี้เหมาะสำหรับการสกัดสารองค์ประกอบที่ทนต่อความร้อน และใช้ตัวทำละลายน้อยไม่สิ้นเปลือง






3. Extraction of volatile oil ใช้สำหรับการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี เลือกใช้ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด เช่นการดูดซับ การใช้ตัวทำละลาย วิธีการบีบ การกลั่นโดยน้ำหรือไอน้ำ

จากการศึกษาพบว่า การสกัดด้วยวิธีแรก หรือที่เรียกว่า Maceration เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดสารจากเปลือกมังคุคทั้งในแง่ของคุณภาพของสารสกัดที่ได้ อีกทั้งกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก และประชาชนทั่วไปก็สามารถนำไปศึกษาและนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนในการสกัดได้ดังนี้คือ ขั้นแรกนำเปลือกมังคุดมาล้างให้สะอาด ผึ่งให้น้ำแห้ง แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต่อจากนั้นนำมาทำการสกัดเย็นโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอล แช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 3-7 วัน แยกสารละลายที่สกัดได้มากรอง แล้วทำการสกัดซ้ำด้วยเอทานอลจนครบ 3 ครั้ง นำสารสกัดที่ได้จากการสกัดทั้ง 3 ครั้งมาระเหยตัวละลายด้วยเครื่อง rotary evaporator



จะได้สารสกัดหยาบด้วยเอทานอล (ethanol crude extract) แต่หากไม่มีเครื่อง rotary evaporator ก็ให้นำสารสกัดที่ได้ไปตากแดดให้แอลกอฮอล์ระเหยออกจนหมด อาจสังเกตได้ด้วยการดมดูว่ากลิ่นแอลกอฮอล์หมดไปหรือยัง ถ้าไม่มีกลิ่นแล้วก็แสดงว่าแอลกอฮอล์ระเหยออกไปหมดแล้ว จากนั้นนำไปปิดฝาให้มิดชิดแล้วเก็บไว้ในที่เย็น เพราะถึงแม้ว่า สารสกัดมังคุดจะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ก็ตามแต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อราบางชนิดได้ หากไม่ปิดฝาให้มิดชิดและเก็บไว้ในที่เย็นก็อาจขึ้นราได้




ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต http://www.ekanake.net/images/story/fruit01.jpg

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=26828
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/08/2011 9:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หม้อกลั่นแบบลูกทุ่ง....(นศ.สจล.ฝึกงาน)


สมุนไพรสูตรข้างทาง "กลั่น" (ครั้งที่ 1) ......



9. พวกเรากำลังนำ ผกากรอง มาใส่ในถังกรั่นครับ แต่เอ๊ะ!!!! ทำไม อ๋อมแอ๋ม ถึงถือ "ต้นกะเพรา"ล้ะ Laughing




10. ในกระบวนการกลั่น ด้านบนสุดของหม้อกลั่นจะต้องเป็นน้ำเย็นเพื่อที่ น้ำในถังที่ละลายขึ้นมาจะได้มีการควบแน่น
กลายเป็นหยดน้ำ จากในภาพ ทิวกำลังเติมน้ำด้านบนใหม่ ส่วนอ๋อมแอ๋มกำลังสำรวจ ปรินาณน้ำที่กลั่นได้ Wink



11. ขวดที่หนึ่งนั้นได้มาจากการกลั่น ตะไคร้ ใบดาหลา และ ใบมะกรูด ครับบ ส่วนใบที่สองนั้น ได้มาจาก
ต้นผกากรอง ครับ ที่สำคัญทุกอย่างที่นำมาใส่ ล้วน "อยู่รอบๆไร่เรา" นี่เองครับ Very Happy !!!![/

เสริม :
พืชสมุนไพรประเภทกลิ่น วิธีสกัดเอาสารออกฤทธิ์ ต้องใช้วิธี "กลั่น" จึงจะได้สารออกฤทธิ์แรง ......การกลั่น
ด้วยความร้อน 100 องศา ซี. จะได้สารออกฤทธิ์ 30% น้ำ 70% แต่ถ้ากลั่นด้วยความร้อน 70 องศา ซี. จะได้
สารออกฤทธิ์ 70% น้ำ 30% .... เทคนิคการกลั่นเหมือนต้มเหล่าเถื่อน ทุกประการ......(ลุงคิม)





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Atcharapan
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 06/02/2013
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 28/02/2013 1:20 pm    ชื่อกระทู้: อุปกรณ์การสกัดผักกาดน้ำ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อุปกรณ์การสกัดผักกาดน้ำ มีอะไรบ้างคะ? แล้วผักกาดน้ำจะหาได้จากที่ไหนคะ ??
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 28/02/2013 5:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระทู้เดิม....

จาก : Atcharapan
ถึง : kimzagass

ตอบ : 06/02/2013 10:11 pm
ชื่อกระทู้ : อยากได้โครงงานผักกาดน้ำ

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3311&sid=7611b0ff39b471dc8bbd6fc3e1c895d0


---------------------------------------------------------------------------------------------

กระทู้เดิมมี เรื่องเดียวกัน ทำไมไม่โพสต่อจากกระทู้เดิม....
ไม่ใช่จู้จี้ แต่อยากรู้คำถามเดิม เพื่อจะได้ให้คำตอบใหม่ถูกต้อง



ตอบ :
ลุงคิมไม่ใช่นักวิชาการ (ทุกสาขา) ในชีวิตเรียนวิชาเดียว "วิชาฆ่าคน" ...ความจริง ไม่ใช่กวน

เรื่องเกษตร ลุงคิมยึดหลัก "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ" ที่นี่สอนให้ทำ ทำแล้วใช้ ..... ดีใช้ต่อ ไม่ดีแก้ไข

ข้อมูลทั้งสิ้นทั้งปวงที่เป็นหลักวิชาการ งานวิจัย มีเท่าที่เห็นนี่แหละหนู

ถามว่า "ผักกาดน้ำ" หาได้ที่ไหน โน่น....บ้านสบแปบ จ.เชียงราย, บ้านโต๊ะโมะ จ.นราธิวาส, บ้านอีต่อง จ.กาญจนบุรี, บ้านเวินบึก จ.อุบลราชธานี. .... ครบ 4 ทิศเลย

โถ โถ โถ.....แม่เจ้าประคุณรุนช่อง หนู่อยู่จังหวัดไหน ไม่ได้แจ้ง แล้วลุงคิมจะฌานมองเห็นมั้ยเนี่ยยยยย....

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/03/2013 2:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

นศ. สจล.ฝึกงาน ไร่กล้อมแกล้ม
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1894&postdays=0&postorder=asc&start=25&sid=84ace1c9887df157421cbacd2de194e3
ทดสอบ การทำ/การใช้ สารสมุนไพรกำจัดวัชพืช....



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2322
สูตรยาฆ่าหญ้า ชีวภาพ


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=363
ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช


http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-5126.html
ผักกาดน้ำ


.


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©