-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 9 ส.ค
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 9 ส.ค
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 9 ส.ค

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/08/2011 6:49 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 9 ส.ค ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 9 ส.ค


***********************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ....

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

***********************************************





จาก : (182)147-52xx
ข้อความ : รู้ได้อย่างไร พืชเป็นโรคมีเชื้อ หรือไม่มีเชื้อ และแก้ไขอย่างไร ? ....ขอบคุณค่ะ

ตอบ :
เข้า LAB ครับ ถ้าเป็นโรคมีเชื้อก็จะรู้ว่า "เชื้ออะไร" ถ้าเป็นโรคไม่มีเชื้อก็แสดงว่าขาดสารอาหาร ก็จะรู้ว่า "ขาดสารอาหาร" ตัวไหน

เมื่อไม่สามารถเข้า LAB ได้ ก็ต้องใช้วิธีเหมาจ่าย นั่นคือ ให้ทั้ง "ยา และ สารอาหาร" ไปพร้อมกันเลย ควบคู่กับบำรุงต้นให้สมบูรณ์เพื่อให้ต้นเกิดภูมิต้านทานสู้กับเชื้อโรคได้


-----------------------------------------------------------------------------




จาก : (084) 881-1321
ข้อความ : ชาวนาไม่รู้ว่าจะฆ่าหอยเชอรรี่ทำไม ที่อุดรรับซื้อแบบแกะแล้ว กก.ละ 40 บาท .......... วิรุต

ตอบ :
ก็เคยเห็นนะที่เขาซื้อขายทั้งตัวหอยทั้งไข่ แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์ ไม่งั้นนคนซื้อเขาจะซื้อไปทำไม ..... ว่ามั้ย

ที่น่าแปลกใจอย่างมากๆ คือ ทำไมจนป่านนี้เกษตรกรอาชีพจึงไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ คำว่า "ปุ๋ยซากสัตว์ - ปุ๋ยซากพืช" อีแบบนี้โทษผู้ส่งเสริมหรือผู้รับการส่งเสริมดีล่ะ

เรื่องของเรื่อง มัน "ง่ายมาก-ดีมาก-ประโยชน์-ประหยัดมาก" มากจนไม่น่าเชื่อ ดูไม่ขลัง ยังงั้นไหม ?

หอยเชอรี่ ทั้งตัวทั้งไข่ ซัก 5 กก. บดให้ละเอียดที่ดเท่าที่จะละเอียดได้ บดสดๆนั่นแหละ ด้วยเครื่องอะไรก็สุดแท้ ..... ได้มาแล้ว ผสมน้ำเท่าไหร่ก็เชิญ เติมกากน้ำตาลลงไป 1-2 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี สาดลงดินที่จะปลูกพืช (ทุกชนิด) ให้ทั่ว ช่วงเตรียมดินแล้วไถกลบลงดินตามปกติ จากนั้นจะทำอะไรก็ทำไป

หอยเชอรี่บดละเอียดละลายน้ำกับกากน้ำตาล ที่ลงไปอยู่ในดิน นั่นคือการ "หมักในดิน" ไม่นาน สารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน (เนื้อสัตว์ทุกชนิด คือ โปรตีน) ในเนื้อและไข่หอยเชขอรี่จะถูกจุลินทรีย์ประจำถิ่นย่อยสลายจนกลายเป็นสารอาหาร (ปุ๋ย) แก่พืชได้

ในแปลงไม้ผล เขตบริเวณทรงพุ่ม ขุดหลุม 1 หลุม กว้าง 1 ฝ่ามือ ลึก 2 ฝ่ามือ หยอดหอยเชอรี่ทั้งตัวลงไป 1 ตัว ทำเป็นวงกลมรอบทรงพุ่ม แต่ละหลุมห่างกัน 1 ม. หรือ 2 ก้าว จากนั้นใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เศษหญ้าเศษใบไม้แห้งคลุมหน้าดินไว้ ให้น้ำตามปกติ ...... หลังจากนั้น 3 เดือน 6 เดือน เปิดหลุมตรวจสอบว่ายังมีหอยเชอรี่หลงเหลืออยู่ไหม แล้วจะเห็นว่า หอยทั้งตัวโดยเฉพาะเนื้อมันหายไปหมดเหลือแต่เปลือก แสดงว่าเนื้อหอยเชอรี่ถูกจุลินทรีย์ประจำถิ่นย่อยสลายกลายเป็นสารอาหารแก่ไม้ต้นนั้นไปแล้ว ทำเยี่ยงนี้ 2-3 ปี/ครั้ง....งานนี้ยากที่ใจ ใช่หรือไม่ ?


-----------------------------------------------------------------------------




จาก : (081)274-6709
ข้อความ : สวัสดีค่ะลุงคิม เป็นกำลังใจให้นะจ๊ะ หอยคล้ายหอยเชอรี่ที่พูดถึง สวย อันตรายกับพืช กินใบฟักทอง เตย.....

ตอบ :
กำลังใจมีเยอะแล้ว โดน "ด่า" ทีไรกำลังใจเกิดทุกที....เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม ?





อ้างอิง :

หอยศัตรูพืช

หอยที่เป็นศัตรูพืชแบ่งออกเป็นกลุ่ม หอยทาก (land snails) ทาก (slugs) ซึ่งอาศัยอยู่บนบก มักมีขนาดเล็ก ยกเว้นหอยทากยักษ์แอฟริกาซี่งมีขนาดใหญ่ หลายชนิดเป็นศัตรูกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประกับ ผักที่ปลูกใกล้ที่ชื้นแฉะ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ หอยเลขหนึ่ง หอยทากสาริกา หอยซัคซิเนีย หอยเจดีย์เล็ก หอยเจดีย์ใหญ่ หอยทากสยามหรือหอยดักดาน ส่วนหอยทากอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ เป็นหอยทากน้ำจืด (fresh water snail) ชนิดที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ คือ หอยเชอรี่

หอยเชอรี่ หอยโข่งเหลือง หรือ หอยเปาฮื้อน้ำจืด เป็นหอยทากน้ำจืด หอยเชอรี่ มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในอเมริกาใต้ นำเข้าประเทศไทยมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2–3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1–2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน หอยจะวางไข่สีชมพู เกาะติดกันอย่างหลวมๆ และยึดติดกับวัสดุทุกชนิดเหนือผิวน้ำ กลุ่มไข่มีสีชมพูกลุ่มละ 100-200 ฟอง หอยเมื่อโตเต็มที่มีขนาดและรูปร่างคล้ายหอยโข่ง แต่เปลือกบางกว่า เป็นศัตรูสำคัญของข้าว บัวและพืชไม้น้ำชนิดอื่นๆ กัดทำลายต้นข้าวระยะกล้าจนถึงแตกกอในช่วงเช้าและเย็น พบระบาดมากในนาข้าวทั่วประเทศ

http://www.vcharkarn.com/vcafe/179565





แนะวิธีกำจัด 'หอยทาก' ศัตรูสำคัญของกล้วยไม้

สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ที่มี นางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ เป็นอธิบดี จัดทำระบบการจัดการคุณภาพ GAP สำหรับกล้วยไม้ เพื่อรับรองแปลงเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแผนการควบคุมการผลิตกล้วยไม้ ให้ผลิตกล้วยไม้ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่น่าพอใจของคู่ค้าและผู้บริโภค ขณะเดียวกันสามารถผลิตกล้วยไม้ที่ตรงตามพันธุ์ มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กำหนดและปลอดศัตรูพืช โดยผู้ที่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาระบบ GAP แล้ว กรมวิชาการเกษตรจะมอบเครื่องหมายสัญลักษณ์ Q ให้

นางชมพูนุท จรรยาเพศ นักสัตววิทยา 8 สำนักวิจัยพัฒนาอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรว่า เนื่องจากสวนกล้วยไม้ส่วนใหญ่มีความชื้นสูง มักพบหอยทากบกเข้าทำลายตาและหน่อดอกหรือใบ ถึงแม้ว่าความเสียหายจะไม่มากนัก แต่ถ้าไม่มีการจัดการใด ๆ ประชากรหอยจะเพิ่มสูงขึ้น จนก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้หอยยังปล่อยเมือกไว้เป็นแนวตามทางเดินอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราซ้ำได้ และประการสำคัญคือการที่หอยปะปนไปกับกล้วยไม้ ที่ส่งต่างประเทศ เป็นสาเหตุให้ถูกเผาทำลาย นอกเหนือจากการต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลแล้วยังทำให้ไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง

สำหรับมาตรการการป้องกันการนำต้นไม้เข้าสวนจะต้องแยกไว้ต่างหาก เพราะอาจมีหอยและไข่หอย นอกจากนี้ยังต้องหมั่นตรวจในสวน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบเห็นหอยทากได้ง่าย ถ้าหากเริ่มพบหอยทากตามพื้นดินแสดงว่าภายในปีต่อมาจะเริ่มไต่ขึ้นบนโต๊ะวางกล้วยไม้ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่ต้องระวัง ควรชุบเครื่องปลูกในสารฆ่าหอยหรืออบ หรือตากแห้งก่อนใช้งาน เพื่อกำจัดลูกหอยหรือไข่หอย

วิธีการกำจัดหอยทากชนิดตัวใหญ่ ได้แก่ หอยสาลิกา หอยดักดาน หรือหอยทากยักษ์แอฟริกาให้เก็บออกมาทุบทำลาย หรือใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูปเมทัลดีไฮด์ ซึ่งเป็นเม็ด วางโคนต้นภายหลังให้ น้ำกล้วยไม้ ในวันที่ฝนไม่ตก เพื่อให้เหยื่อพิษมีประสิทธิภาพอยู่ได้นานหลายวัน

หอยชนิดเล็ก ได้แก่ หอยทากซัคซิเนีย หอยเจดีย์ใหญ่ หอยเจดีย์เล็ก และหอยหมายเลขหนึ่ง ระบาดมาก การใช้เหยื่อพิษแบบเม็ดหว่านให้ทั่วทั้งสวน ให้หอยทากเดินมาพบและกินหรือสัมผัสอาจจะได้ผลไม่ดีจึงแนะนำให้ใช้สารฆ่าหอย molluscicide ในรูปผงมาละลายน้ำแล้วพ่นด้วยเครื่องพ่นชนิดใช้แรงดัน หรือเครื่องสูบโยกสะพายหลังที่หัวพ่นมีรูใหญ่ และใช้แรงดันต่ำ เดินพ่นให้ช้ากว่าพ่นสารกำจัดวัชพืช โดยเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งดังต่อไปนี้

1. เมทัลดีไฮด์ เป็นผงสีขาวผสมน้ำในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. นิโคลซาไมด์ เป็นผงสีเหลืองผสมน้ำในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. เมทิโอคาร์บ เป็นผงสีขาวผสมในน้ำอัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
4. กากเมล็ดชา เป็นผงแช่น้ำไว้ 1 คืน อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

การใช้สารฆ่าหอยพ่นต้องให้ถูกตัวหอยมากที่สุด โดยพ่นในเวลาเช้าซึ่งยังมีความชื้นในอากาศ โดยพ่นน้ำเปล่าให้ทั่วตามพื้นทางเดินก่อนพ่นสารประมาณ 10 นาที เพื่อชักนำให้หอยทาก ออกมาจากที่ซ่อน เพราะขณะที่หอยทากเคลื่อนที่ส่วนกล้ามเนื้อที่ยื่นออกมาจะได้สัมผัสสารเต็มที่ นอกจากนี้ควรพ่นสารตามพื้นทางเดินระหว่างโต๊ะวางกล้วยไม้ เพื่อให้สารฆ่าหอยสัมผัสกับตัวหอยโดยตรง และหากพบหอยไต่ขึ้นอาศัยอยู่ในกาบมะพร้าวบนโต๊ะให้พ่นสารที่โคนต้นและที่กาบมะพร้าว โดยหลีกเลี่ยงส่วนดอกเพราะอาจเปื้อนคราบสาร หรือใช้สารฆ่าหอยแบบเม็ด เหยื่อพิษโรยบนเครื่องปลูกนั้นแทนการพ่น

เห็นได้ว่าหอยทากเป็นศัตรูของกล้วยไม้อีกประเภทหนึ่งที่เกษตรกรจะต้องกำจัดให้สิ้นซาก หากเกษตรกรไม่สนใจดูแลก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกล้วยไม้ของไทย และจะเป็นผลเสียต่อชื่อเสียงของไทยในอนาคตด้วย ซึ่งเท่าที่ผ่านมาประเทศ คู่ค้ามักพบหอยทากติดไปกับกล้วยไม้ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย และถูกขึ้นบัญชีดำ ทำให้การส่งออกกล้วยไม้ไทยได้รับผลกระทบตามมาอีกด้วย


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=175341&NewsType=1&Template=1

http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=529


หมายเหตุ :
หอย 2 ฝา (หอยกาบ หอยเชลล์) เคลื่อนที่ด้วยการกระพือกาบ เหมือนนกกระพือปีก แต่หอยฝาเดียว (หอยโข่ง หอยทาก) เคลื่อนที่ด้วยการใช้ปากกระดื๊บๆไปบนพื้น และปากนี้ก็ใช้กินอาหารได้ด้วย.....บนเส้นทางที่หอยฝาเดียวใช้ปากกระดื๊บๆไปนั้น มีรสเผ็ดจัด ร้อนจัด ฉุนจัด ขมจัด กลิ่นจัด (สภาพแวดล้อมทุกอย่างที่มันไม่ชอบ) เข้าสู่ร่างกายมันทางปากแบบนี้ มันจะอยู่ได้ไหม ?

ทางที่ดีเอา ฟ้าทะลายโจร, บอระเพ็ด, พริก, ขมิ้น, ไพล. ข่า, ยาฉุน, แม้แต่ฟ้าทะลายโจร ทำเป็นสารสกัดสมุนไพร ฉีดพ่นบนพื้นทางเดินของมัน ตามต้นพืชที่มันไต่ขึ้น แม้แต่ต้นข้าวในนาก็ฉีดที่ต้นข้าวนั่นแหละ

สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตทุกชนิดในโลกนี้ย่อมต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะไม่อยู่ หรือไม่ก็ตายไปเลย

การเอาสารเคมีไปฉีดพ่น เพราะในตัวสารเคมี มีอะไรบางอย่างที่สัตว์ศัตรูพืชพวกนี้ไม่ชอบ มันจึงหนีหรือหนักหน่อยก็ตายไปเลย ...... อีหร็อบเดียวกัน ถ้าเราจะอาศัยสารออกฤทธิในพืชสมุนไพรเพื่อต่อสู้กับสัตว์ศัตรูพืชพวกนี้บ้างล่ะ จะได้ไหม ? ดีกว่าไหม ?


ลุงคิม (อยู่ในกรอบ แต่คิดนอกกรอบ) ครับผม

-----------------------------------------------------------------------------




จาก : (089)885-5557
ข้อความ : (ส่งรูปหอยมาในโทรศัพท์....)


ตอบ :
-----------------------------------------------------------------------------




จาก :
ข้อความ :


ตอบ :
-----------------------------------------------------------------------------



จาก :
ข้อความ :


ตอบ :
-----------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©