-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-กระบวนการความคิด
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - กระบวนการความคิด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

กระบวนการความคิด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 18/10/2009 2:58 pm    ชื่อกระทู้: กระบวนการความคิด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.pyo1.obec.go.th/kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=302

กระบวนการคิด

การสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 ได้ระบุไว้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
- ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ดังนั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยสมอง ด้วยกายและด้วยใจ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง โดยให้มีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ จินตนาการ ความวาม ปัญญาและฐานความจริง
ผู้เรียนที่พึงปรารถนาในอนาคต ควรเป็นผู้เรียนที่มีทักษะการคิดระดับสูง ทั้งนี้เพราะ ทักษะการคิดเป็นหัวใจในของการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าถึงความรู้ และความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้

- การปลูกฝัง หรือการพัฒนาการคิด ต้องริเริ่มตั้งแต่ผู้เรียนเข้าสู่สถานศึกษา เพราะผู้เรียนมีธรรมชาติของความอยากรู้อยากเห็น สูงอยู่แล้ว ถ้าผู้เรียนได้รับการกระตุ้น ส่งเสริมตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะเป็น การช่วยพัฒนาศักยภาพทางการคิดที่มีอยู่ในตัว ให้ก้าวหน้าถึงขีดสูงสุดซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาความสามารถในการคิดที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน

เป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน
เป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียนที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ การพัฒนาความสามารถในการคิดที่ต้องการให้เกิดในตัวผู้เรียน ได้แก่ การคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
หากสถานศึกษาสามารถพัฒนาการคิดทั้ง 3 ลักษณะดังกล่าวให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ก็จะนำไปสู่โครงสร้างกระบวนการคิดของผู้เรียน (Metacognitive Thinking) ทำให้ผู้เรียนมียุทธศาสตร์การคิดของตนเอง สามารถกำกับและควบคุมกระบวนการการคิดของตนเองได้
การคิดที่มีการไตร่ตรอง จะช่วยให้การคิดนั้นมีความรอบคอบมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดไตร่ตรองเป็น
การ คิดเชื่อมโยงกับการคิดลักษณะอื่นๆ เพราะเป็นการคิดที่ต้องสร้างสรรค์ การคิดไตร่ตรอง บางครั้งนำไปสู่ การคิดสร้างสรรค์ และในทางกลับกัน การคิดสร้างสรรค์ก็นำไปสู่ การคิดไตร่ตรอง

ผู้เรียนที่มีความคิดไตร่ตรอง จะต้องมีความสามารถ ดังนี้
1. เชื่อมโยงความคิดที่เคยมีมา หรือกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันกับประสบการณ์
และสิ่งที่คาดหวังไว้
2. ตั้งคำถามและถามตนเองได้
3. ประเมินตนเองและประเมินสถานการณ์

ผู้เรียนที่ทีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะต้อง
1. ตรวจสอบ
2. ทำให้กระจ่าง
3. จัดระบบ
4. ให้เหตุผล
5. วิเคราะห์
6. ตั้งสมมติฐาน
7. ทำนาย
8. ประเมิน
9. สังเคราะห์

ผู้เรียนที่มีการคิดสร้างสรรค์ จะต้อง
1. สร้างแนวความคิดใหม่
2. แสวงหาและพิจารณาทางเลือกอย่างหลากหลาย
3. พลิกแพลงปรับเข้าหาแนวทาง
4. สำรวจทางเลือกที่เหมาะสม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถในการคิด
ยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียน ได้แก่
1. สอนด้วยการตั้งคำถาม เช่น เทคนิคการตั้งคำถาม โดยใช้หมวกความคิด 6 ใบ ของ Edward de Bono หรือใช้กรอบการถามของ Benjamin Bloom หรือใช้คำถามความคิดสร้างสรรค์ทั้งคำถามเดียว
และคำถามบบชุด
2. สอนโดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Mapping) ฝึกการวิเคราะห์และสังเคราะห์
3. การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
4. บันทึกการเรียนรู้ บันทึกข้อสงสัย ความรู้สึกส่วนตัวความคิดที่เปลี่ยนไป
5. การถามตนเอง ในการวางแผนจัดระเบียบคิดไตร่ตรองในเรื่องการเรียนรู้ของตน
6. การประเมินตนเอง เพื่อประเมินความคิด และความรู้สึกของตน
แนวการสอนเพื่อพัฒนาการคิด

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ให้แนวทางการฝึกกระบวนการทางปัญญาซึ่งการฝึกพื้นฐานมีหลายตัวที่เป็นการ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ เช่น การสังเกต การบันทึก การฟัง การตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม ฯลฯ
ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้
1.ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปดูนก ดูผีเสื้อหรือในการทำงาน การฝึกสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศน์ และวิธีคิด สติ – สมาธิ จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกตและสิ่งที่สังเกต
2. ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรบันทึก โดยจะวาดรูปหรือบันทึกข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและสถานการณ์ การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา
3. ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมกลุ่ม เมื่อมีการทำงานกลุ่มเราไปเรียนรู้อะไรมาบันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่องได้อย่างไร ก็ต้องฝึกการนำเสนอ การนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนาปัญญา
ทั้งของผู้นำและของกลุ่ม
4. ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น โบราณเรียกว่าเป็นพหูสูต บางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิดของตนเองหรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้ ฉันทะ
สติ สมาธิ จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น
5. ฝึกปุจฉา – วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้ว ฝึกปุจฉา – วิสัชนา หรือ ถาม – ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผลวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้น ๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม – ตอบ ก็จะไม่แจ่มแจ้ง
6. ฝึกตั้งสมมติฐานและคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้วเราต้องสามารถตั้งคำถามคำถามได้ว่าสิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดจากอะไร อะไรมีประโยชน์ ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น และมีการฝึกตั้งคำถามถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีมีความสำคัญก็จะอยากได้คำ ตอบ
7. ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบ จากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต หรือคุยกับคนเฒ่าคนแก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่สำคัญจะสนุกและทำให้ได้ความรู้มาก ต่างจากการท่องหนังสือโดยไม่มีคำถาม บางคำถาม เมื่อค้นหาคำตอบทุกวิถีทางจนหมดแล้วก็ไม่พบแต่คำถามยังอยู่และมีความสำคัญ ต้องหาคำตอบต่อไป
ด้วยการวิจัย
8. การวิจัย การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ การวิจัยจะทำให้ค้นพบ
9. เชื่อมโยงบูรณาการ ให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเอง ธรรมชาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง เมื่อเรียนรู้อะไรมาอย่าให้ความรู้นั้นแยกเป็นส่วนๆ แต่ควรจะเชื่อมโยงบูรณาการให้เห็นความเป็นทั้งหมด ในความเป็นทั้งหมดจะมีความงาม และมีมิติอื่นผุดบังเกิดออกมาเหนือความเป็นส่วน ๆ และในความเป็นทั้งหมดนั้นมองเห็นตัวเอง เกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร จริยธรรมที่ตรงนี้คือการเรียนรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่า สัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร ดังนั้น ไม่ว่าการเรียนรู้อะไรๆ ก็มีมิติทางจริยธรรมอยู่ในนั้นเสมอ มิติทางจริยธรรมอยู่ในความเป็นทั้งหมดนั่นเอง ต่างจากการเอาจริยธรรมไปเป็นวิชา ๆ หนึ่ง แบบแยกส่วนแล้ว
ไม่ค่อยได้ผล
ในการบูรณาการความรู้ที่เรียนรู้มาให้รู้ความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเอง นี้ จะนำไปสู่อิสรภาพและความสุขอันล้นเหลือ เพราะหลุดพ้นจากความบีบคั้นของความไม่รู้ การไตร่ตรองนี้จะโยงกลับไปสู่วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ว่าเพื่อลดตัวกู – ของกู และเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ อันจะช่วยกำกับให้การแสวงหาความรู้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวมิใช่ ความเป็นไปเพื่อความกำเริบแห่งอหังการ – มมังการ และเพื่อรบกวน
การอยู่ร่วมกันด้วยสันติ
10. ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ ถึงกระบวนการเรียนรู้และความรู้ใหม่ที่ได้มีการเรียบเรียงทางวิชาการเป็นการ เรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น ทำให้ค้นคว้าหาหลักฐานที่มีทีอ้างอิงของความรู้ให้ถี่ถ้วน
แม่นยำขึ้น การเรียบเรียงทางวิชาการจึงเป็นการพัฒนาปัญญา ของตนเองอย่างสำคัญและเป็นประโยชน์
ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป

แหล่งอ้างอิง : เอกสารแนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอนแนวทางการจัดการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๙.
“ ๒๕๔๙ ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 19/10/2009 2:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 18/10/2009 6:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://gotoknow.org/blog/lifediagram/164995

โรงเรียนชาวนาจึงเปลี่ยน "ความคิด" ชาวนา

การถอดบทเรียนการทำงานของโครงการนำร่องเกษตรกรรมยั่งยืนที่ได้ดำเนินการเป็นเวลา ๓ ปี ครอบคลุม ๑๙ ภูมินิเวศน์เกษตรทั่วประเทศ ได้ทำให้พวกเราเรียนรู้ว่า เกษตรกรรมยั่งยืนที่แท้จริงนั้นเป็นเรื่องราวของ “ภายใน” เป็น เรื่องของอุดมการณ์และจิตวิญญาณ เป็นการทำการเกษตรด้วยความรัก โดยมุ่งเกื้อกูลทั้งต่อตัวเอง ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อทุกผู้คนในสังคม

การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากระบบเกษตรกรรมแบบพึ่งพาสารเคมีไปสู่ระบบเกษตรกรรม ยั่งยืน...จึงจำต้องสร้างขบวนการเปลี่ยนแปลงจากภายใน หากทว่าสิ่งที่เรียกกันว่า “กระบวนทัศน์” ที่ฝังลึกอยู่ในตัวเกษตรกรนั้น.. ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนได้โดยง่าย

พี่เดชาได้อธิบายถึงเรื่องนี้ให้ลูกศิษย์เราฟังว่า

“แต่ความแปลกก็คือ ๑๐ ปีมาแล้วที่คุณชัยพรทำ แต่ไม่มีใครทำตาม…”

“เป็นเพราะทำ “ใจ” ไม่ได้ ออกจาก “โปรแกรม” นี้ไม่ได้” เสียงพี่เดชาเล่าปนหัวเราะต่อไปอีกว่า“ถ้าไม่ฉีดยาแล้ว นาข้างบ้านทำ มันนอนไม่หลับ...ถ้าไม่ใส่ปุ๋ย แล้วข้างบ้านใส่ ก็นอนไม่หลับ...”

มิน่าเล่า ครูบาอาจารย์ถึงสอนนักหนาว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” และสิ่งที่อยู่เหนือนายอีกชั้นหนึ่งนั้น ก็คือ “นิสัย” นั่นเอง... อะไรที่เราทำซ้ำ ๆ ทำบ่อย ๆ ทำจนกลายเป็น “ความเคยชิน” นั่นแหละคือนิสัย ซึ่งถ้าหากไม่ได้ทำสิ่งนั้นแล้ว...จะเกิดความรู้สึกว่าไม่มีความสุขหรือไม่ สบายใจ เช่น การที่เราสวดมนตร์ไหว้พระและนั่งสมาธิก่อนนอนเป็นประจำทุกคืน ถ้ามีคืนไหนที่ไม่ได้ทำ ก็อาจจะนอนไม่หลับ...

ชาวนาก็คงเหมือนกันนั่นแหละนะ ด้วยความเคยชิน ความที่เคยทำแบบนี้มานาน ถ้าจะให้เปลี่ยนนิสัย คงต้องใช้เวลาไม่น้อย...

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ชาวนาให้หลุดพ้นจากความเชื่อ...หลุดพ้นจากการโฆษณาที่มีมานานกว่า ๓๐ ปี จึงไม่ใช่เรื่องง่าย” มาถึงตรงนี้ พี่เดชาโยนคำถามท้าทายมายังสถาบันการศึกษา "ชาวนาไม่มีทางรอด...หากความรู้ในสถาบันการศึกษายังรับใช้ระบบทุนนิยม ยังสอนแบบนักวิชาการที่เรียนมาแบบฝรั่ง คือสอนให้พึ่งพา...”

อีกประโยคต่อมาของพี่เดชาที่ “โดนใจ” เราเข้าเต็ม ๆ “อาจารย์หากินกับบริษัท ตั้งบริษัทเองก็มี แล้วอย่างนี้ ชาวนาจะรอดได้อย่างไร?”

“ทำไมไม่ใช้เครื่องดำนาล่ะ? เพราะขัดผลประโยชน์...พวกขายพันธุ์ข้าวไม่เอา พวกขายยาฆ่าหญ้าไม่เอา พวกขายปุ๋ยก็ไม่เอา...ถ้าหว่านใช้ปุ๋ยเยอะ ถ้าดำใช้ปุ๋ยน้อย...” พี่เดชาอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่มีการศึกษาค้นคว้าเท่าที่ควรเกี่ยวกับเครื่องจักรกลที่ใช้ในการดำนา ทั้ง ๆ ที่เครื่องดำนานี้เองที่เป็น “ตัวคลิก” ในการพัฒนาระบบการปลูกข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครัวเรือนเกษตรและชุมชนชนบทที่กำลังขาดแคลนแรงงาน

“ถ้า ชาวนาทำนาแล้วลดต้นทุนแบบนี้ บริษัทก็จะเดือดร้อน กำไรขายปุ๋ยประมาณ ๑ เท่าตัว คือ ประมาณ ๘ หมื่นล้าน ยาอีกประมาณ ๒-๓ หมื่นล้าน ...เกษตรกรไม่ซื้อเสียอย่าง ใครจะมาบังคับ” เรา คิดไว้นานแล้วว่า น่าจะมีใครช่วยทำการศึกษาวิจัยระบบธุรกิจสารเคมีการเกษตรนะ ข้อค้นพบจากงานวิจัยจะได้นำสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ...แต่คงไม่มีใครกล้าให้ทุน หรือถึงให้ทุนก็คงไม่มีใครให้ข้อมูลนักวิจัยเป็นแน่

“โรงเรียนชาวนาจึงเปลี่ยน “ความคิด” ชาวนา......”

“และการจะปรับเปลี่ยนความคิดหรือกระบวนทัศน์ได้นั้น ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้กับกระบวนการกลุ่มเป็นเครื่องมือ”

ภาพ และเรื่องราวของโรงเรียนชาวนาในวิดิทัศน์ว่าด้วยเครือข่ายการจัดการความรู้ ของมูลนิธิข้าวขวัญที่ลูกศิษย์ได้ดูในชั่วโมงเรียนก่อนหน้านี้แล้วนั้น คงช่วยให้ลูกศิษย์รับรู้สิ่งที่พี่เดชาเล่าได้ชัดเจนขึ้น

ก่อนจากกันวันนั้น พี่เดชาได้ให้ข้อคิดทิ้งท้ายกับลูกศิษย์เราไว้ว่า

“ฟังแล้วคิดได้บ้างไหม... ที่มาสอนก็เพราะเชื่อว่า อาจมีนิสิตที่มาทำงานด้านนี้... มาเป็น NGO ...สักคนสองคน”

“ไม่ต้องห่วงชาวนาก็ได้ แต่ควรห่วงตัวเอง ดูแลตัวเองให้ดี...เอาตัวให้รอดก่อน ค่อยช่วยชาวนา...ไม่รู้จบแล้วพวกเราจะไปเป็นอะไร?”

“ต้องยก ระดับจิตใจ...ฟังเพลงต่ำ ใจก็ต่ำ ดูหนังดีหรือหนังรุนแรง ใจก็ต่างกัน ...เราเสพแต่ของแย่ ๆ เราจึงเป็นคนคุณภาพต่ำ แม้จะเรียนสูง....

นั่นซินะ...ด้วยสิ่งที่เราเลือกเสพนี้เองเราจึงเป็นคนคุณภาพต่ำ... แม้จะเรียนสูง

ลูกศิษย์เราสมควรต้องไปเข้าเรียนใน “โรงเรียนชาวนา” เสียแล้วกระมัง

เพราะในสถาบันการศึกษาที่พวกเขาเรียนอาจไม่ได้สอนพวกเขาในเรื่องเหล่านี้ ???
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 19/10/2009 2:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://gotoknow.org/blog/tuky2/221199

การพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์

การพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ (ตอนที่ 1)

1. การคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดนอกกรอบ (Think Outside) หรือคิดในแนวราบ ที่ขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางกว่าเดิม ไปสู่ความคิดที่แปลกใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากความคิดเดิมและเป็นเชิงบวกหรือเป็นประโยชน์

2. ความสำคัญและลักษณะของความคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่ที่ดีกว่า ช่วยให้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและตัดสินใจให้เกิดผลดีขึ้น ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้มนุษย์พัฒนาศิลปะและวิทยาการให้เจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีลักษณะพิเศษดังนี้

-เป็นกระบวนการขั้นตอนในการกำเนิดความคิด การกำหนดปัญหา การแก้ไข ตลอดจนการนำไปปฎิบัติ

-เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ไม่มีมาตรฐานเป็นมาตรวัด แต่ขึ้นอยู่กับบุคคลในสถานะนั้น ๆ

-เป็นการมุ่งแก้ปัญหา เป็นเรื่องของการแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

-เป็นการคิดเชิงบวก เริ่มต้นจากทัศนะที่ว่า ปัญหาต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้นได้

-เป็นทักษะ เป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้ ไม่ใช่เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด

3.คุณลักษณะของบุคคลที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์

- มีสติปัญญา

- มีเชาว์และไหวพริบ

- ชอบการเปลี่ยนแปลง

- มีความเป็นตัวของตัวเอง

- ชอบสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนและท้าทาย

- มีความอยากรู้อยากเห็น

- มีความตื่นตัวอยู่เสมอ

- ชอบสงสัยในปรากฎการณ์ที่อยู่รอบตัว

- มีสมาธิและความจำดี

- มีอารมณ์ขัน

- ชอบใฝ่ฝันจินตนาการในสิ่งที่ยังไม่มีหรือยังไม่เกิดขึ้น

- ชอบคิดในแง่มุมที่แปลกและแตกต่าง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©