-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-บันทึกไว้เป็นเกียรติ "ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ" ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดู...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดู...
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2011 9:39 pm    ชื่อกระทู้: แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดู... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดู
Method on Produced Off Season Fruits

ฉลองชัย แบบประเสริฐ
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2579-0308


ผลไม้ในฤดูกาลก็มีให้รับประทานอยู่แล้วมากมาย แต่ความต้องการของมนุษย์นั้นมีไม่สิ้นสุดจึงเกิดมีมนุษย์ที่มีความต้องการ
ผลไม้นอกฤดูและขณะเดียวกันผลไม้นอกฤดูก็มีราคาสูง จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่จะทำให้มีผลไม้ออกมาจำหน่าย
นอกฤดูกาลมากขึ้น จึงมีงานวิจัยที่อาศัยความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้ไม้ผลมีการออกดอกติดผลนอกฤดูกาล
กันมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ทั่วไป แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดูมีวิธีการต่างๆ หลายวิธีดังนี้

ใช้พันธุ์ที่ออกดอกนอกฤดูอยู่แล้ว เช่น มะม่วงพันธุ์ทะวายต่างๆ น้ำดอกไม้ทะวาย พิมเสนมันทะวาย โชคอนันต์ เป็นต้น

เลือกช่วงเวลาการปลูกให้ไม่ตรงกับคนอื่น ใช้กับไม้ผลที่มีอายุสั้นเมื่อถึงอายุก็ออกดอกติดผล เช่น กล้วย มะละกอ ปกติต้อง
อาศัยน้ำฝนจะปลูกต้นฤดูฝน หากมีน้ำชลประทานควรเลือกปลูกช่วงปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้งจะทำให้มีผลผลิตจำหน่ายไม่ตรง
กับเขตอื่น

ใช้การตัดแต่งกิ่ง ทำกับไม้ผลที่เมื่อแตกกิ่งใหม่จะมีช่อดอกออกมาด้วย เช่น น้อยหน่า ฝรั่ง องุ่น เป็นต้น

ใช้ปุ๋ยเคมี N.D.Bondad it af 1978 รายงานว่าโปแตสเซียมไนเตรทอัตราความเข้มข้น 1-4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มะม่วงพันธุ์
คาราบาวแทงช่อดอกนอกฤดูกาลได้

การใช้สารชะลอการเจริญเติบโต เช่น พาโคลบิวทราโซล ใช้กับมะม่วงโดยฉีดพ่นทางใบ อัตรา 1,000-2,000 ppm. ทำ
ให้มะม่วงออกดอกก่อนกำหนด 35 วัน ในปัจจุบันนิยมราดทางดินชิดโคนต้นระยะเหมาะสมของต้นที่จะใช้ต้องมีใบสีเขียวอ่อน
ปริมาณสารต่อต้นเท่ากับความกว้างทรงพุ่มเป็นเมตรคูณด้วยค่าคงที่ของพันธุ์ คือ พันธุ์ออกง่ายให้ค่าคงที่เท่ากับ 10 ได้แก่
มะม่วงน้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น ทองดำ หนองแซง เจ้าคุณทิพย์ แก้วลืมรัง ลิ้นงูเห่า โชคอนันต์ ส่วนพันธุ์ที่ออกยากให้ค่าคงที่ของพันธุ์
ออกยาก เท่ากับ 15 ได้แก่ มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย หนังกลางวัน อกร่อง แรด และพิมเสนมัน


การวางแผนการขายน้อยหน่าโดยการตัดแต่งกิ่ง







ตัวอย่างเช่น ปริมาณสารต่อต้นของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ขนาดพุ่มต้น 4 เมตร
= ก x พ
= 4 x 15
= 60 ซีซี.คัลทาร์ 10%
= 60 กรัม พรีดิกซ์ 10%

ปริมาณสารต่อต้นในมะม่วงน้ำดอกไม้พุ่มต้น 4 เมตร
= ก x พ
= 4 x 10
= 40 ซีซี.คัลทาร์ 10%
= 40 กรัม พรีดิกซ์ 10%


เมื่อคำนวณสารต่อต้นได้แล้วเอาสารละลายในน้ำ 2 ลิตร คนให้เข้ากัน ราดชิดโคนต้น เมื่อราดสารแล้วให้รดน้ำแก่ดิน บริเวณ
พุ่มต้นไม้ให้ชุ่ม ระดับ 10-15 เซนติเมตร ทุก 5 วัน อีก 4-5 ครั้ง เพื่อให้สารขึ้นไปที่ยอด ระยะเวลาเกิดตาดอก พันธุ์ออกง่าย
60-70 วัน พันธุ์ออกยาก 90-120 วัน การใส่ในช่วงฤดูฝน บางครั้งตาดอกอาจเกิดเป็นตาใบได้ ควรป้องกันโดยในพันธุ์ออก
ง่าย เมื่อใส่สารพาโคลบวทราโซลได้ 1 เดือน ควรพ่นปุ๋ย 0-52-34 (โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต) อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20
ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน พันธุ์ออกยากควรพ่นเมื่อใส่สารพาโคลบิวทราโซลได้ 2 เดือน เมื่อครบกำหนดเกิดตาดอกที่
ยอดใช้โปแตสเซี่ยมไนเตรท 500 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไธโอยูเรีย 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ตาดอกเจริญเป็น
ช่อออกมา และดูแลรักษาให้ติดผลและเก็บเกี่ยวได้ต่อไป



ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ออกง่าย




ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ที่ออกยาก



หมายเหตุ :
1.ใช้สารคัลทาร์ให้เกิดตาดอก
2.ใช้โปแตสเซียมไนเตรท 2.5% หรือไธโอยูเรีย 0.5% ให้ช่อดอกเจริญ
3. ดอกบาน
4. เก็บเกี่ยวผล


การทำนอกฤดูต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีดอกบานในช่วงฝนชุก :
หิรัญ หิรัญประดิษฐ์ และคณะ (2542) ได้ทดลองสารพาโคลบิวทราโซลกับทุเรียนและก่อนใช้สารต้องมีการเตรียมความพร้อม
ของต้นทุเรียนซึ่งมีปฏิบัติดังนี้ การเร่งให้ทุเรียนแตกใบอ่อนด้วยการตัดแต่งกิ่ง เช่น การตัดแต่งกิ่ง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งแขนงด้านในพุ่ม
และกิ่งเล็กๆ ที่อยู่ส่วนปลายกิ่งออก โดยเฉพาะกิ่งที่ชี้ลงหรือกิ่งที่ชี้ตั้งขึ้น เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ขนานแนวพื้นไว้ แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
หรือ 16-16-16 พร้อมให้น้ำ ทุเรียนจะแตกใบอ่อนให้สมบูรณ์ โดยป้องกันกำจัดโรคและแมลงไม่ให้ใบถูกโรคและแมลงทำลาย

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลที่มีความเข้มข้น 1,00-15,000 พีพีเอ็ม (สารชนิด 10% ใช้อัตรา 200-300 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร)
ต้นทุเรียนที่พร้อมจะฉีดพ่นใบต้องเป็นใบแก่ สีเขียวเข้มเป็นมัน มีการแตกใบอ่อนหลายชั้นในช่วงที่ผ่านมา การฉีดพ่นควรฉีดพ่น
ให้ถูกกิ่งอ่อน เป็นตำแหน่งที่สารพาโคลบิวทราโซลจะเข้าสู่พืชได้ดีและสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายไปสะสมและทำปฏิกิริยา

การฉีดพ่นต้องปรับหัวฉีดให้เป็นฝอย ฉีดพ่นทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่มให้เปียกพอสม่ำเสมอและต้องฉีดพ่นให้เสร็จก่อนฝนตก
ประมาณ 2 ชั่วโมง

เมื่อทุเรียนดอกบานต้องช่วยผสมเกสรและควบคุมการให้ปุ๋ยให้น้ำให้พอเหมาะ เมื่อผลทุเรียนโตขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งผลให้เสร็จ
ภายในสัปดาห์ที่ 4 หลังจากดอกบานโดยตัดแต่งผลที่บิดเบี้ยว มีขนาดเล็ก หรือต่างรุ่นออกให้ผลอยู่ในตำแหน่งที่มีระยะห่างที่พอ
เหมาะ เมื่อผลโตขึ้นจะได้ไม่เบียดกัน

6. การใช้สารเคมีอื่นๆ เช่น โปแตสเซียมคลอเรต พาวิน มะโนชัย (2542) รายงานว่าโปแตสเซียมคลอเรทสามารถทำให้ลำไยออก
นอกฤดูกาลได้ โดยลำไยอีดอใช้สารดังกล่าว 8 กรัมต่อตารางเมตร สำหรับพันธุ์ชมพูใช้สารดังกล่าวอัตรา 1 กรัมต่อตารางเมตร
จะทำให้ออกดอก 100% โดยลำไยจะต้องได้รับการปฏิบัติดูแลโดยการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ จนแตกกิ่งใหม่และมีใบแก่อย่างสมบูรณ์
โดยสังเกตจากสายตาว่ามีใบสีเขียวเข้ม แล้วจึงใช้สารโปแตสเซียมคลอเรท ผสมน้ำ 20 ลิตรราดดินบริเวณแนวชายทรงพุ่มแต่ก่อน
ใส่สารและหลังใส่สารควรรดน้ำให้กับต้นลำไยให้ดินชุ่มอยู่เสมอ

หลังจากบังคับให้ไม้ผลออกดอกได้แล้วต้องดูแลให้ติดผลและผลเจริญเติบโตถึงแก่เก็บเกี่ยวจึงจะได้ผลไม้นอกฤดูตามที่ต้องการ






http://www.rdi.ku.ac.th/Techno_ku60/res-18/index18.html





พืชนอกฤดู

เรียบเรียงโดย ดร.ชยพร แอคะรัจน์...www.geocities.com/university2u

ไม้ผลนอกฤดู
ธรรมชาติของการออกดอกของไม้ผล :

1. พวกออกดอกที่ปลายกิ่งที่มีใบแก่จัด มะม่วง ลำใย เงาะ มะปราง กระท้อน ลิ้นจี่
ให้ใช้เทคนิคการราดสารฮอร์โมน

2. พวกออกดอกที่ลำต้นและบริเวณกิ่ง ได้แก่ ขนุน ทุเรียน มะไฟ ลางสาด โกโก้
ให้ใช้เทคนิคการตัดแต่งกิ่ง

3. พวกออกดอกที่กิ่งอ่อนที่แตกใหม่ๆ ได้แก่ น้อยหน่า ฝรั่ง ส้มต่างๆ องุ่น ให้ใช้
เทคนิคการตัดแต่งกิ่ง และการควบคุมน้ำ


http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/off22.html






เทคนิคการผลิตไม้ผลออกนอกฤดูกาล

“ไม้ผลนอกฤดูกาล” คำๆ นี้ในปัจจุบันเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่นักวิชาการเกษตร เกษตรกรและบุคคลทั่วไป ทั้งนี้
ก็เนื่องมาจากการประสบผลสำเร็จในการทำให้ไม้ผลบางชนิดสามารถออกดอกนอกฤดูได้นั่นเอง จากความสำเร็จดังกล่าวก็ได้สร้าง
ความสนใจให้กับบุคคลในวงการเกษตรกันมาก จนถึงกับได้มีการศึกษาและทดลองกันอย่างกว้างขวางกับไม้ผลชนิดอื่น และก็มีแนว
โน้มว่าสามารถที่จะบังคับใช้ไม้ผลบางชนิดออกดอกนอกฤดูได้เช่นเดียวกัน

การบังคับหรือกระตุ้นหรือชักนำเพื่อให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูนั้น หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นได้ว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้
บังคับให้ไม้ผลออกดอกนั้นมีการปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว โดยในสมัยก่อนวิธีการเหล่านั้นอาจจะค้นพบโดยบังเอิญหรือไม่ได้ตั้งใจ
ยกตัวอย่างเช่น การทรมานต้นไม้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสับกิ่ง สับต้น การตอกตะปูที่ต้น การรมควัน การตอนกิ่ง รัดกิ่ง
หรือแม้กระทั่งการที่ต้นไม้ขาดน้ำเป็นต้น และเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป เมื่อรู้ตัวว่าใกล้จะตาย เช่น ถูกทรมานด้วยวิธีการ
ต่าง ๆ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็มีการแตกดอกออกผลขึ้นมา มนุษย์ก็ได้ก็ได้สังเกตและรู้หลักการอันนี้จึงได้มี
การบังคับให้ไม้ผลออกดอกด้วยวิธีการดังกล่าว ปัจจุบันนี้วิทยาการในการบังคับเพื่อให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้ก้าวหน้าไปมาก
มีการใช้สารเคมีบางชนิดและเทคโนโลยีใหม่ ๆ บังคับให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้แน่นอนขึ้นและกระทำได้อย่างกว้างขวางกับไม้
ผลหลายชนิด

อย่างไรก็ตาม การผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลก็ยังเป็นศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง กล่าวคือ แม้ว่าในขณะนี้เราสามารถผลิตไม้ผล
นอกฤดูขึ้นได้ในพืชหลายชนิดและนั่นก็ไม่ใช่ว่าจะกระทำได้อย่างแน่นอนหรือกระทำได้ทั่ว ๆ ไปในทุกสภาพท้องที่แต่ยังขึ้น
อยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายชนิด อาทิเช่น พันธุ์ ความสมบูรณ์ของต้น สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนเทคนิค และวิธีปฏิบัติของแต่
ละคน ในบางครั้งถึงแม้จะมีปัจจัยเหล่านี้อยู่อย่างครบถ้วนแล้วก็ตามการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลก็อาจไม่ประสบผลสำเร็จเต็มที่เสมอไป

ดังนั้น เนื้อหาหรือข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นเพียงแนวทางอย่างกว้าง ๆ ที่ได้นำเสนอเพื่อเป็นลู่ทางไปสู่การผลิตไม้ผลนอก
ฤดูกาลขึ้น หากเกษตรกรหรือชาวสวนนำไปปฏิบัติกันจริง ๆ ก็ควรจะศึกษาให้ลึกซึ้งถึงขั้นตอนและรายละเอียดในการปฏิบัติ ตลอด
จนข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ที่จะนำไปปฏิบัติต่อไป

แนวทางในการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล
ไม้ผลเป็นพืชที่ทำให้ออกดอกนอกฤดูกาลได้ยาก หรือแม้ในฤดูเองบางครั้งก็ทำได้ยากเช่นกัน ทั้งนี้เพราะยังไม่สามารถกระทำได้
หลายวิธีด้วยกัน กล่าวคือ

1. การใช้พันธุ์ทะวาย
พันธุ์ทะวายโดยทั่ว ๆ ไปเกิดจากการกลายพันธุ์ผ่าเหล่าที่แตกต่างไปจากต้นเดิม และต่อมาก็กลายพันธุ์กันอย่างถาวร เมื่อขยาย
พันธุ์จากต้นที่กลายพันธุ์อย่างถาวรก็ยังคงปรากฏว่ายังคงมีการทะวายอยู่เช่นเดิม ปัจจุบันมีไม้ผลหลายชนิดที่เป็นพันธุ์ทะวายและ
ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในมะม่วง เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้ ทะวาย พิมเสนมันทะวาย ทองดำทะวาย มันแห้งทะวาย แก้วทะวาย อกร่องมัน
ทะวาย เหล่านี้เป็นต้น ส่วนในไม้ผลชนิดอื่น แม้จะไม่มีการแยกเป็นพันธุ์ทะวายโดยเฉพาะ แต่ก็มีไม้ผลหลายชนิดที่ทยอยกันออก
ผลเป็นเวลานานหลายเดือน อาทิเช่น ขนุน ซึ่งมีการออกผลยาวนานถึง 8 เดือน เช่น พันธุ์แม่น้อยทะวาย นอกจากนี้ยังมีทุเรียน
บางสายพันธุ์ที่ปรากฏทะวายหรือออกผลนอกฤดูกาล โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทองซึ่งมีการวางขายเกือบตลอดปี

2. การใช้พันธุ์เบา
พันธุ์เบาก็คือพันธุ์ที่อาจจะมีการออกดอกก่อนหรือออกดอกพร้อมกับพันธุ์กลางหรือพันธุ์หนักก็ได้ แต่ช่วงการสุกแก่ของผลจะเร็วกว่า
พันธุ์กลางหรือพันธุ์หนัก การทำให้พันธุ์เบาออกดอกก่อนฤดูนั้นสามารถทำได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำสายพันธุ์เบาไปปลูกในต่างพื้นที่
และออกดอกก่อนการออกดอกในสภาพพื้นที่ปลูก
เดิมอีกด้วย เช่น ลำไยพันธุ์อีดอ สามารถนำมาปลูกทางภาคกลางและบางพื้นที่ของภาคตะวันออกได้ และออกดอกให้ผลเร็วกว่าภาค
เหนืออีกด้วย

3. การประวิงวงจรก่อนเก็บเกี่ยว
การทำให้ไม้ผลเก็บเกี่ยวล่าช้ากว่าปกตินั้น นอกจากจะใช้สายพันธุ์หนักแล้ว และสามารถประวิงเวลาการออกดอกได้อีกเล็กน้อย
ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเร่งให้ไม้ผลออกดอกก่อนกำหนดก็ต้องเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น เพื่อให้มีระยะเวลาพักตัวเร็วขึ้น แต่ถ้าต้องการ
ให้ไม้ผลออกดอกช้ากว่าปกติ ก็ต้องประวิงเวลาการแก่ของใบให้ช้ากว่าปกติ เพื่อให้เกิดการพักตัวช้ากว่าปกติเล็กน้อย การทำให้ใบ
แก่ช้ากว่าปกติไม้ได้หมายความว่า จะให้ใบแก่เมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติของการดอก ซึ่งมีปัจจัย
เรื่องความหนาวเย็นของอากาศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยปกติแล้วการทำให้ใบแก่ช้ากว้าปกติ จะต้องทำให้ใบแก่เต็มที่พร้อมจะออกดอก
ได้ก่อนที่อากาศหนาวเย็นจะหมดไป ซึ่งอาจช้ากว่าปกติได้ไม่เกิน 20 วัน ฉะนั้นการประวิงเวลาให้ใบแก่ช้าเมื่อหมดฤดูหนาวแล้วจึงทำ
ไม่ได้เพราะอากาศไม่หนาวเย็นพอ ดังนั้นการบังคับให้ไม้ผลออกดอกล่าช้ากว่าปกติจะต้องทำการควบคุมสภาพลำต้นและใบให้อยู่ใน
ลักษณะพร้อมที่จะออกดอกอย่างเข้มงวด มิเช่นนั้นแล้ว ถ้าพลาดไปก็แสดงว่าในปีนั้นจะไม่มีการออกดอกเลย

4. การใช้วิธีตัดแต่งกิ่ง
มีไม้ผลหลายชนิดเมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วจะตอบสนองต่อการออกดอกได้ดี ไม้ผลในกลุ่มนี้ เช่น น้อยหน่า องุ่น ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน เป็นต้น
ในน้อยหน่าโดยธรรมชาติแล้วก่อนการออกดอก น้อยหน่าจะเคลื่อนย้ายธาตุอาหารจะใบมาสะสมที่ลำต้นและกิ่งแล้วจะทิ้งใบ เมื่อมี
ความชื้นในดินเหมาะสมน้อยหน่าจะแตกกิ่งใหม่พร้อมกับการออกดอก ในองุ่น และฝรั่งก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรมักจะเลือกฤดูในการ
ตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้มีการออกดอก และเก็บผลผลิตได้ในช่วงที่ไม่ตรงกับผลไม้อื่น

5. การตัดแต่งราก
การตัดแต่งรากมีจุดประสงค์เพื่อให้ต้นไม้หยุดการเจริญทางกิ่งและใบ เพื่อให้ต้นไม้เกิดการพักตัวและสะสมอาหารเตรียมไว้ก่อนการ
ออกดอก ฉะนั้น เมื่อรากของต้นไม้ถูกตัดโดยเฉพาะรากฝอย ซึ่งเป็นรากที่หาอาหารและน้ำมีน้อยลงก็จะทำให้เกิดการสะสมอาหาร
พวกคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ต้นไม่ก็สามารถออกดอกได้ ในการตัดแต่งรากนอกจากจะทำให้พืชออกดอกได้แล้ว ยังทำให้เกิดราก
ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้นได้ดีขึ้น

6. การรมควัน
การรมควันเป็นวิธีการหนึ่งที่ค้นพบโดยบังเอิญ กล่าวคือ แต่เดิมไม่มีการใช้สารเคมีกันอย่างแพร่หลายเหมือนเช่นปัจจุบันนี้ เกษตร
จึงได้หาวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่มาทำลายได้ผล การรมควันก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ชาวสวนได้ทดลองปฏิบัติกัน แม้ว่า
ควันไฟไม่สามารถฆ่าแมลงได้ทั้งหมดก็ตามแต่อย่างน้อยก็เพียงพอที่จะไล่แมลง ให้บินหนีไปได้ ต่อมาชาวสวนสังเกต และพบว่าไม้
ผลบางชนิด โดยเฉพาะมะม่วงที่ถูกควันไฟ สามารถออกดอกได้ดีกว่าต้นทีไม่ถูกควันไฟ และยังพบว่าอีก ต้นที่ถูกควันไฟยังออก
ดอกได้เร็วกว่าต้นที่ไม่ถูกควันไฟอีกด้วยเมื่อมีการสังเกตนานเข้า ก็ลงความเห็นว่า ควันไฟช่วยให้ได้ผลบางชนิดออกดอกได้ดีและ
ออกดอกก่อนฤดูกาลได้อีกด้วย และได้ปฏิบัติกันมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

7. การกักน้ำ
การกักน้ำก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้เช่นเดียวกัน โดยพบว่า ถ้ามีการกักน้ำก่อนถึงฤดูการออกดอก ซึ่งทำ
ให้ความชื้นในดินน้อยลง ก็จะเป็นผลให้ต้นไม่มีการออกดอกเร็วขึ้น และในทางกลับกัน ถ้าให้น้ำเป็นปริมาณที่มากไปจนถึงฤดูออก
ดอกก็ทำให้การออกดอกล่าช้าออกไป ด้วยวิธีเดียวกันนี้ได้มีการทดลองในส้มเขียวหวาน เพื่อบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกล่าช้า
กว่าปกติเพื่อเป็นการยืดเวลาการเก็บเกี่ยวออกไป ซึ่งปกติแล้วส้มเขียวหวานจะเก็บเกี่ยวผลได้มากในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงธันวาคม
แต่ชาวสวนต้องการยืดเวลาเก็บเกี่ยวออกไปจนถึงปลายเดือนมกราคมต่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อกักส้มเขียวหวานเอาไว้รอจำหน่าย
ในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยใช้วิธีการทดน้ำเข้าไปช่วยตลอดเวลาที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว ซึ่งสามารถบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอก
ช้าปกติได้

8. การทรมานต้นไม้
การทรมานต้นไม้เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้ วิธีการนี้ในครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นการกระทำที่บังเอิญมากกว่า
การจงใจ และเมื่อเห็นว่าสามารถบังคับให้ไม้ผลออกดอกฤดูกาลได้ ก็กระทำกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับวิธีการต่าง ๆ ในการ
ทรมานต้นไม้มีดังต่อไปนี้

- การควั่นกิ่ง
การควั่นกิ่งเป็นการควั่นเอาเปลือกกรอบกิ่งหรือรอบลำต้น เพื่อให้มีรอยแผล แคบ ๆ ปรากฏอยู่ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เซลล์ท่ออาหารถูก
ตัดขาด แต่เนื้อเยื่อเจริญและเซลล์ท่อน้ำตรงบริเวณแผลยังคงอยู่อย่างเดิม ดังนั้นอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วก็จะเคลื่อนที่ลงมาคั่งอยู่ใน
บริเวณเหนือรอยแผลขึ้นไป ซึ่งมีผลทำให้ไม้ผลออกดอกได้

- การลอกเปลือกออกเป็นแถบ
วิธีการนี้ใช้มีดคม ๆ กรีดเปลือกให้เป็นแถบเล็ก ๆ ยาวพอประมาณตามความยาวของกิ่ง แล้วลอกดึงเอาเปลือกไม้ออกก็จะทำให้เกิด
การสะสมอาหารไว้เหนือรอยแผล ซึ่งผลที่ได้ก็เช่นเดียวกันสับการควั่นกิ่ง

- การเฉือนเปลือกเป็นรูปปากฉลาม
วิธีการนี้ให้เฉือนกิ่งหรือลำต้นด้วยมีดคม ๆ ให้ลึกเข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณนั้นยาวประมาณ
1-2 นิ้วก็จะเป็นรูปปากฉลาม จากนั้นจึงใช้ก้านไม้ขีดสอดขัดเอาไว้แล้วจึงใช้เชือกพลาสติกพันทับส่วนนี้ให้กระชับและแน่น อาหาร
ก็จะเคลื่อนย้ายไม่สะดวก เป็นผลให้ส่วนปลายของกิ่งเกิดดอกได้

- การสับเปลือก
ในสมัยก่อนการสับเปลือกรอบบริเวณลำต้นหรือกิ่งของไม้ผลนิยมทำกับมะม่วงและขนุนที่ไม่ยอมออกดอก โดยใช้มีดโต้หรือขวาน
สับตามกิ่งหรือลำต้น ก็จะทำให้ไม้ผลออกดอกได้เช่นเดียวกัน

- การใช้ลวดรัดรอบกิ่งหรือรอบต้น
วิธีนี้นิยมทำกับไม้ผลที่ยังมีขนาดเล็กอยู่โดยใช้ลวดเส้น เล็ก ๆ รัดรอบต้นหรือรอบกิ่ง เมื่อทำเสร็จควรใช้ปูนแดงหรือสีน้ำมันทาแผล
เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผล จากนั้นให้ใช้เชือกพลาสติกหรือเทปพันสายไฟพันหุ้มทับเพื่อป้องกันน้ำเข้าแผล เมื่อกิ่งหรือลำต้นโต
ขึ้นลวดที่ได้รัดไว้ก็จะรัดเปลือกขาดเช่นเดียวกับการควั่นกิ่ง ทำให้ต้นไม้ผลออกดอกได้เช่นกัน

- การงอกิ่ง
การงอกิ่งเป็นการงอหรือตัดกิ่งไม้ผลที่มีขนาดโตหรือกิ่งแก่เพื่อให้เอนมาสู่แนวระดับ และผูกมัดเชือกยึดไว้ให้แน่น ซึ่งสามารถทำให้
ไม้ผลออกดอกได้ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ได้มีการทดลองงอกิ่งมะนาวเตี้ยที่มีความยาวประมาณ 1 คืบ ซึ่งต่อกิ่งบนต้นตอส้มโอ พบ
ว่ากิ่งของมะนาวเตี้ยกิ่งนั้นสามารถผลิดอกออกมามากมาย

- การทำให้ใบร่วง
วิธีการนี้นิยมกระทำกับส้มเขียวหวาน โดยปล่อยให้ส้มเขียวหวานขาดาน้ำก่อนฤดูออกดอกเล็กน้อย เมื่อส้มเขียวหวานขาดน้ำใบก็
จะร่วงหล่นเป็นผลให้อัตราส่วนคาร์โบไฮเดรตและในโตรเจนที่อยู่ในต้นมีปริมาณพอเหมาะที่จะเกิดดอก ส้มเขียวหวานก็จะออกดอก
ออกมาให้เห็น

9. การเลือกช่วงฤดูกาลปลูก
การเลือกช่วงฤดูกาลปลูกมักจะทำกับไม้ผลที่มีอายุสั้น เช่น กล้วย มะละกอ ซึ่งปกติแล้วการปลูกของเกษตรกรที่อาศัยน้ำฝนส่วน
ใหญ่จะปลูกต้นฤดูฝนหากเกษตรการที่อยู่ในเขตชลประทานหรือ เกษตรกรที่สามารถหาแหล่งน้ำได้ และปลูกพืชดังกล่าว
ในช่วงปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้ง เมื่อครบอายุของพืช พืชดังกล่าวก็จะออกดอกติดผลได้เอง ซึ่งจะไม่ตรงกับฤดูที่คนอื่นเขาปลูกกัน

10. การใส่ปุ๋ยเคมี
การใส่ปุ๋ยเคมีก็มีผลทำให้ไม้ผลออกดอกได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงและปุ๋ยคอก ปุ๋ยชนิดดังกล่าวถ้า
ให้กับไม้ผลที่มีอายุน้อยจะทำให้ออกดอกช้าลง เพราะปุ๋ยจะไปเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านและใบส่วนไม้ผลที่ให้ผลแล้ว
การให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงจะทำให้ได้จำนวนดอกลดลง ดังนั้นในระยะที่ต้องการให้เกิดดอก ชาวสวนจะใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจน
น้อยลง และเพิ่มธาตุฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้ไปกระตุ้นการออกดอก ในประเทศ
ไทยขณะนี้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ การใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท เพื่อเร่งให้มะม่วงออกดอก โดยใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท
อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นมะม่วง ทำให้มะม่วงออกดอกก่อนฤดูได้ประมาณ 15-21 วัน สำหรับพืชพวกส้มหรือมะนาว
อาจใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อทำให้ใบร่วงและเกิดการแตกกิ่งใหม่ออกมาพร้อมกับการออกดอก

11. การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตกับไม้ผลนั้น นับว่าเป็นวิธีใหม่สำหรับเกษตรกรไทย ส่วนในต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่
หลายแล้ว อย่างไรก็ตามงานทดลองทางด้านการบังคับให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาล ยังไม่ไม่ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง
และผลการทดลองที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ยังเป็นการทดลองกับไม้ผลเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น

12. การใช้อุณหภูมิต่ำ
อุณหภูมิก็มีผลต่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลเช่นกัน กล่าวคือ อุณหภูมิต่ำจะมีผลทำให้การสังเคราะห์แสงลดน้อยลง ซึ่งจะมีผลไปถึง
การออกดอกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในไม้ผลหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ ถ้าปีใดที่อากาศเย็น (อุณหภูมิต่ำ)
ในปีนั้นไม้ผลดังกล่าวจะออกดอกได้มากกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะความหนาวเย็น ไปกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนหรือสารอื่น ๆ ที่
ช่วยในการออกดอกนั่นเอง


http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker





เกษตรนอกฤดู..กลยุทธ์เพื่อการตลาด

ปีหนึ่งมี 12 เดือน หรือ 365 วัน จัดเป็นรอบใน 1 ปีที่ถูกกำหนดโดยการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจะมี
ฤดูกาลเกิดขึ้นในแต่ละช่วงก็จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ซึ่งการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก นอกจากจะทำ
ให้เกิดฤดูร้อน ฝน หนาว แล้ว ยังทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับพืช อันได้แก่ การออกดอกออกผล ซึ่งเรามักได้ยินกันจนคุ้นหูว่า
การออกดอกออกผลตามฤดูกาล ปัจจุบันมีพืชหลายชนิดที่สามารถออกนอกฤดู ที่เรียกว่า "ทะวาย" ซึ่งเกิดจากการใช้สายพันธุ์
ใหม่ที่ปรับปรุงขึ้นมา หรือใช้เทคนิคต่างๆ แต่เดิมเราจะกินผลไม้ตามฤดูกาล แต่มาถึงปัจจุบันนี้มีผลไม้หลายชนิดสามารถหากินได้
ตลอดปี เรื่องของการออกดอกตามฤดูกาลนี้ส่วนใหญ่แล้วจะถูกกำหนดโดย แสง อุณหภูมิ ความชื้น ถ้าเป็นการออกดอกออก
ผลตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันเกษตรกรสามารถบังคับการออกดอกออกผลได้ตามความต้องการ ซึ่งจะเห็นได้จากการผลิตลำไย
นอกฤดูของหมู่เฮาชาวเหนือ

การบังคับเพื่อให้ได้ลำไยนอกฤดูกาลนี้ จะเป็นแนวทางที่จะสามารถกำหนดให้ช่วงเวลาที่ได้ผลผลิตตรงกับความต้องการของตลาด
ที่ได้ราคา แต่อย่างว่าแหละการทำให้เกิดการออกดอกออกผลนอกฤดูนี้ ในหลายกรณีก็มีข้อจำกัดอยู่ตรงที่เกษตรกรจำเป็นต้อง
ลงทุนสูงกว่าการออกดอกตามฤดูกาล สำหรับเกษตรกรชาวเหนือแล้วยังมีผลไม้อีกหลายชนิด โดยเฉพาะลำไยก็สามารถที่จะใช้
เทคนิคเหล่านี้ได้ แต่ต้องมีฝีมือหน่อยถึงจะได้ผล


การออกดอกออกผลตามฤดูกาล...เรื่องธรรมชาติของพืช :
โดยปกติแล้วพืชที่เราปลูกกันทั่วไปนั้น จะมีการปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดการพักตัว การแตกใบใหม่ หรือการออก
ดอกออกผล ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วเมื่อพืชมีการสะสมอาหารได้อย่างเหมาะสม และมีปัจจัยภายนอกในเรื่องของแสงแดด ความชื้น
ฝน และอุณหภูมิ ก็จะมีการออกดอกออกผล โดยทั่วไปแล้วก็ยังมีพืชหลายชนิด โดยเฉพาะไม้ผลก็จะมีการออกดอกออกผลปี
ละ 1 ครั้ง ในช่วงเวลาที่เหมาะสมแต่ละพืช ต่อจากนั้นก็จะมีการพักตัวเพื่อสะสมอาหาร และมีการออกดอกใหม่ในปีต่อไป พืช
ที่เด่นชัดที่สุด คือ ลำไย จะเห็นได้ว่าหมู่เฮาชาวเหนือในสมัยก่อนนี้ เรามีลำไยกินกันปีละครั้ง ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-
สิงหาคม ไปไหนมาไหนก็จะเห็นแต่ลำไยเต็มไปหมด ลำไยจัดเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวเหนือมาช้านาน โดยเมื่อประมาณ 10 กว่า
ปีมานี้ เฮาก็เกิดปัญหาขึ้นมาอย่างหนึ่ง นั่นคือ ลำไยขาดตลาด ได้มีการออกดอกออกผลตามฤดูกาลก็เลยไม่มีลำไยกินกันใน
ช่วงนั้น หากใครมีลำไยก็ได้ขายเพราะมีราคาสูง

โดยธรรมชาติแล้วพืชจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบภายในของตัวเองเป็นหลักถึงจะมีการออกดอกออกผล ตัวอย่าง
ที่สำคัญก็คือ ในอดีตเราจะมีการทำนากันปีละครั้ง ซึ่งจำเป็นต้องปลูกในเวลาที่กำหนดและเก็บเกี่ยวในเวลาที่กำหนด ในสมัย
ก่อนนั้นเราจึงมีฤดูกาลที่เป็นเรื่องเป็นราวชัดเจนกว่าสมัยนี้ การออกดอกของข้าวที่แน่ๆก็คือ ขึ้นอยู่กับแสงแดด ซึ่งเป็นช่วงความ
ยาวนานของแสงในรอบวัน หรือที่เกษตรกรเรียกว่า “ช่วงแสง” ข้อกำหนดดังกล่าวจึงทำให้ชาวนาในสมัยก่อนต้องการปฏิทินปลูก
ถึงจะได้ผล ต่อมาก็ได้มีการค้นคิดว่าปลูกข้าวแบบเดิม ก็คงต้องทำได้แค่ปีละครั้ง จึงได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า
ข้าวไม่ไวแสง คือ ปลูกเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วนับวันเก็บเกี่ยว จึงทำให้เกิดมีการปลูกข้าวแบบนาปี และนาปรัง

อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดและยังถูกกำหนดโดยธรรมชาติ ก็คือ พืชผลบางชนิด เช่น ลิ้นจี่ ปัจจุบันก็ยังมีการออกดอกออกผล
ตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่ การออกดอกออกผลของพืชนั้นธรรมชาติเป็นตัวกำหนด จึงทำให้เกิดภาวะที่อาจเรียกได้ว่าเหมาะสมกับ
มนุษย์ เพราะเชื่อได้ว่าการออกดอกออกผลตามฤดูกาลนั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดความกระจายให้มนุษย์มีกินมีใช้ตลอดปี

แต่ข้อดีของประเทศไทยอย่างยิ่งก็คือ ทำให้มีของกินตลอดปีสลับกันไปตามฤดูของพืชผล ดังจะเห็นได้จากอดีตที่เรามีฤดูกาลของ
เงาะ ลำไย ทุเรียน วิถีชีวิตของเกษตรกรก็จะอาศัยดูปฏิทินและทำตามสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ การออกดอกออกผลตามฤดูกาล
นี้จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องดี แต่ในการดำเนินชีวิตของเกษตรกรในปัจจุบัน เรื่องของการออกดอกออกผลตามฤดูกาล อาจเป็นข้อจำกัด
ที่สำคัญก็คือ เรื่องของการกระจายตัวของการตลาดและการผลิต การทำนานอกฤดูจึงเป็นมิติที่ถือได้ว่า อยู่ในความสนใจของภาค
การเกษตรอย่างยิ่ง


การออกดอกออกผลนอกฤดู....กับเกษตรกรชาวเหนือ :
พืชปลูกในภาคเหนือมีมากมายหลายชนิด หมู่เฮาชาวเหนือเป็นภูมิภาคที่มีการผลิตทั้งพืชไร่ พืชสวนในปริมาณมาก การใช้เทคนิค
หรือพันธุ์พืชที่สามารถออกดอกออกผลนอกฤดูกาลนั้น เริ่มปฏิบัติกันมาช้านาน ที่มีตัวอย่างเห็นได้ชัด คือ การใช้ข้าวพันธุ์ไม่ไว
แสง ซึ่งสามารถทำให้ชาวเหนือมีข้าวปลูกที่ให้ผลผลิตได้ทั้งปี เพียงแต่นับวันปลูกและวันเก็บเกี่ยว พูดง่ายๆก็คือ ข้าวสมัยใหม่
ปลูกเมื่อไหร่ก็ได้ โดยใช้อายุเป็นหลัก มองใกล้ตัวมาอีกนิดหนึ่ง คือ พืชผลที่สำคัญของชาวเหนือ ก็คือพืชผลลำไย ที่มาของลำไย
นอกฤดูกาลนั้นจะว่าไปแล้วพึ่งมีการค้นพบมา 20 กว่าปีนี้เอง มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ลำไยขาดตลาด เพราะในปีนั้นลำไยไม่ออกดอกออก
ผลจัดเป็นวิกฤติ แต่โชคดีที่ทำให้เกิดโอกาสขึ้นมานี้ ถือมีการค้นคิดเรื่องการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในวง
การเกษตร ที่เกษตรกรสามารถบังคับการออกดอกของลำไยได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็มีการบังคับการออกดอกของลำไย เพื่อให้ได้
ผลผลิตลำไยนอกฤดูกาลตามความต้องการภายใต้เงื่อนไข เวลา และปริมาณ ขบวนการทางสรีระวิทยาของลำไยก็ยังไม่มีการชี้ชัด
ว่ามีกระบวนการปฏิกิริยาเคมีอย่างไร ที่สามารถทำให้ลำไยเปลี่ยนจากตาใบเป็นตาดอก เรื่องของการทำลำไยนอกฤดู จึงเป็นต้นแบบ
สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดอื่น แต่ก็ยังถือได้ว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับการผลิตลำไย

การผลิตพืชโดยเฉพาะไม้ผลยืนต้น เพื่อให้มีการออกดอกนั้น อาจใช้พันธุ์ที่มีการปรับปรุงขึ้นมาก็ได้ แต่ที่ประสบความสำเร็จ
ก็คงเป็นเรื่องของการใช้สารเคมี และเทคนิคบางประการ ปัจจุบันมีพืชอีกหลายชนิดที่สามารถบังคับการออกดอกตามใบสั่งได้
เช่น สับปะรด และมะม่วง ในส่วนของสับปะรด จะเห็นได้ว่า มีการบังคับโดยใช้สารเร่งดอก ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถกำหนด
เวลาการออกดอกและขายผลผลิตตามความต้องการ พูดง่ายๆก็คือ เกษตรกรสามารถกำหนดตามใบสั่งได้ 100%


ข้อได้เปรียบของการผลิตเกษตรนอกฤดู :
ถ้าจะถามว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำให้พืชผลเกษตรมีการออกดอกออกผลนอกฤดู ก็คงไม่จำเป็นมากนักแต่ถ้ามองถึง
เรื่องของการกำหนดราคาก็กล่าวได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เรื่องของลำไยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุดของเกษตรชาวเหนือ ซึ่งปัจจุ
บันสามารถบังคับการออกดอกออกผลได้ตามความต้องการ ข้อได้เปรียบประการหนึ่งก็คือ

ผลไม้ที่ออกนอกฤดูนั้น ส่วนใหญ่จะมีราคาดีกว่าผลไม้ตามฤดูกาล สาเหตุประการหนึ่งก็คือ การออกดอกนอกฤดูกาลนั้นจะ
ไม่ชนกับการผลิตในฤดูที่มีปริมาณมาก ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วว่า ของกินของใช้ถ้ามีน้อยราคาย่อมสูง

การผลิตภาคเกษตรนอกฤดูยังช่วยทำให้การกระจายสินค้าถูกต้องตามความต้องการของตลาด ซึ่งเกษตรกรสามารถที่จะวาง
แผนเพื่อกำหนดการปลูก การผลิตให้ถูกต้องตามผู้ซื้อหรือผู้บริโภคจึงเท่ากับว่าเป็นการสร้างความมั่นคง ในเรื่องของตลาดรับ
ซื้อสินค้า

การทำผลไม้นอกฤดูการโดยเฉพาะลำไยของชาวเหนือ น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องมีการวางแผนทั้ง
ระบบ ที่ไม่ใช่เฉพาะของตัวแต่ละเกษตรกรแต่ละแห่ง ในเรื่องนี้จำเป็นจะต้องหาคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือหน่วยงาน
ใดที่มาควบคุมภาครัฐและจัดสรรการปฏิบัติของเกษตรกรตามเวลาและปริมาณ ที่สำคัญก็คือ

การบังคับผลผลิตเกษตรนอกฤดูนี้สามารถมีการวางแผนหรือการซื้อ-ขายล่วงหน้าได้

เรื่องของการทำการเกษตรเพื่อให้ออกดอกออกผลฤดูกาลนี้ จึงเป็นเรื่องของการเกษตรแบบใหม่ ถือเป็นการทำการเกษตร
ที่น่าสนใจจริงๆ


โดย ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์

http://kasetcity.com/Worldag/view.asp?id=352


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/06/2011 4:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 29 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2011 9:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




การผลิตมะม่วงในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิชาการต่างๆ เข้าช่วยเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของมะม่วงให้เป็นไป
ในทิศทางที่ต้องการ เรื่องการออกดอกติดผลของมะม่วงในอดีต เป็นปัญหาสำคัญซึ่งทำให้ผลผลิตของมะม่วงประสบผล
สำเร็จเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันนี้เราสามารถบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกได้อย่างเป็นที่น่าพอใจโดยการใช้สารเคมีบางประเภท
ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเกษตรและยังเป็นแนวทางในการผลิตพืชนอกฤดูชนิดอื่นอีกต่อไป

การออกดอกของมะม่วง มีหลักการอยู่ที่ว่า ต้นต้องมีความสมบูรณ์และมีระดับฮอร์โมนภายในอย่างเหมาะสม ซึ่งในบรรดา
ฮอร์โมนทั้งหลายนั้นพบว่า จิบเบอเรลลิน(gibberellins)มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกดอกของมะม่วง จิบเบอเรลลินเป็น
ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นเอง และมีผลกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ จึงทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก แต่ที่สำคัญ คือ จิบเบอเรลลินเป็น
ฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ใบและยับยั้งการออกดอก ดังนั้นสภาพใดก็ตามที่ทำให้มีจิบเบอเรลลินภายในต้นมาก
ก็จะทำให้เกิดการเติบโตแต่ทางด้านกิ่ง ใบเพียงอย่างเดียว โดยไม่ออกดอก เช่น ในสภาพดินแห้ง มีไนโตรเจนน้อย หรือ กระทบ
อากาศเย็นเป็นระยะเวลานานพอสมควร จะทำให้จิบเบอเรลลินลดน้อยลงผลที่ตามมาก็คือ การเจริญทางด้านกิ่งใบหยุดชะงักลง
และมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการข้อนี้จึงอาจใช้ป็นหลักการข้อนี้จึงอาจใช้เป็นหลักในการควบคุมการออกดอกของ
มะม่วงได้ โดยหาทางลดปริมาณจิบเบอเรลลินลง เพื่อให้มีโอกาศสร้างตาดอกได้มากขึ้น

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสารเคมีชนิดต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย และในบรรดาสารเหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ นั้นคือ สารชะลอ
การเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardants) สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติคือ สามารถยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินภาย
ในต้นลดน้อยลง และหยุดการเติบโตด้านกิ่งใบ แต่จะพัฒนาดอกขึ้นมาแทน จากการทดลองใช้สารกลุ่มนี้หลายชนิดกับมะม่วงพบว่า
มีอยู่สารหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งจิบเบอเรลลินในต้นมะม่วง นั่นคือ สารแพกโคลบิวทราโซล (paclobutrazol) และ
พบว่าสารนี้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูได้ จากการทดลองครั้งแรก โดยคณาจารย์ของภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยทดลองกับมะม่วงนำดอกไม้ทะวาย ปรากฎว่าต้นมะม่วงที่ใช้สารนแพกโคลบิวโซลสามารถออก
ดอกได้ทุกต้นภายในเวลา 2-4 เดือนภายหลังการใช้สาร เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้งานวิจัยเรื่องการใช้สารแพก-โคลบิวทราโซลเริ่มแผ่
กว้างขวางมากขึ้น โดยได้มีการทดสอบกับมะม่วงพันธุ์อื่น ๆ เช่น เขียวเสวย หนังกลางวัน เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น ศาลายา หนองแซง
อกร่อง ทองดำ ซึ่งก็ปรากฎว่าได้ผลดี เช่นกัน ต่อมาได้มีการนำสารแพก-โคลบิวทราโซลออกมาจำหน่ายแก่เกษตรกรโดยใช้ชื่อ
สินค้าต่าง ๆ กันเพื่อที่ใช้บังคับการออกดอกของมะม่วงโดยเฉพาะ สารแพกโคลบิวทราโซล เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิด
หนึ่งซึ่งถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจไม่ได้ผลตามคุณสมบัติที่สารนั้นมีอยู่ และอาจเกิดผลเสียแก่ต้นพืชได้ จากการวิจัยมาเป็นเวลานาน
พอได้ข้อสรุปที่จะแนะนำวิธีการใช้ให้ดังนี้

1. ต้นมะม่วงที่จะใช้สารต้องมีความอุดมสมบูรณ์ ต้องบำรุงรักษาต้นโดยการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย และดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
ปราศจากโรคและแมลงเข้าทำลาย

2. ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารคือ ในช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง (อายุประมาณ 15 ถึง 30 วัน) ซึ่งหากต้น
มะม่วงไม่มีการแตกใบอ่อน ก็สามารถกระตุ้นให้มีการแตกใบอ่อนขึ้นมาใหม่ได้ โดยการใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงและให้น้ำสม่ำเสมอ
นอกจากนี้อาจใช้สารเคมีประเภท โพแทสเซียมไนเตรท 2.5% (ใช้สาร 500 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร) หรือไทโอยูเรีย 0.5%
(ใช้สาร 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) พ่นให้ทั่วต้นในระยะทีมะม่วงใบแก่จัดเพื่อกระตุ้นให้มีการแตกตา

3. เมื่อมะม่วงมีการแตกใบอ่อนแล้ว ต้องดูแลใบอ่อนให้อยู่ในสภาพมี่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงรบกวน จนกระทั่งใบ
อ่อนมีอายุ 15 ถึง 30 วัน จึงใช้สารแพกโคลบิวทราโซล เพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอก

4. ถึงแม้ปัจจุบันจะทราบว่าการใช้สารแพกโคลบิวทราโซลสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพ่นทางใบ การฉีดเข้าต้น หรือ
การราดลงดิน แต่วิธีการให้แพกโคลบิวทราโซลที่เหมาะสมที่สุดคือ การราดลงดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งราดโดยตรงที่โคนต้น เนื่อง
จากสารนี้ดูดซึมได้ดีทางราก ขั้นตอนกรให้สารมีวิธีการดังนี้

4.1 วัดขนาดทรงพุ่มของมะม่วง โดยวัจากชายพุ่มอีกด้านหนึ่ง การวัดทรงพุ่มมีหน่วยเป็นเมตร

4.2 ให้น้ำแก่ต้นมะม่วง จนกระทั่งดินเปียกทั่ว

4.3 คำนวณปริมาณสารแพกโคลบิวทราโซลที่ต้องใช้ โดยใช้ขนาดทรงพุ่มเป็นเกณฑ์ดังนี้

4.3.1 มะม่วงสายพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือมีพันธ์ทะวาย เช่น น้ำดอกไม้ ศาลายา เจ้าคุณทิพย์ โชคอนันต์ ให้ใช้สารแพกโคลบิว
ทราโซลอัตรา 1 กรัมเนื้อสารต่อทรงพุ่ม 1 เมตร เช่น เมื่อวัดทรงพุ่มตามข้อ 4.1 ได้ 3.5 เมตร ก็ใช้สารแพกโคลบิวทราโซล 3.5 กรัม
เนื้อสาร

4.3.2 มะม่วงสายพันธุ์ที่ออกดอกยากเช่น เขียวเสวย หนังกลางวัน ทองดำ แรด ให้ใช้สารแพกโคลบิวทราโวลในอัตรา 1.5 กรัมเนื้อ
สารต่อขนาดทรงพุ่ม 1 เมตร เช่น เมื่อวัดขนาดทรงพุ่มตามข้อ 4.1 ได้ 3 เมตร ก็ใช้สารแพกโคลบิวทราโซล 4.5 กรัมเนื้อสาร

4.4 ผสมสารแพกโคลบิวทราโซล ในน้ำประมาณ 1-2 ลิตรตามอัตราที่คำนวณได้จากข้อ 4.3 แล้วราดสารรอบโคนต้น โดยให้สาร
กระจายอย่างสม่ำเสมอมีข้อสังเกตว่า สารแพกโคลิบิวทราโซลที่ใช้นั้น ไม่ใช้สารบริสุทธิ์ แต่ส่วนใหญ่มีเนื้อสารอยู่จริง 10 กรัม
ดังนั้น เมื่ออัตราการการใช้สารแพกโคลิบิวทราโซลที่ระบุไว้ให้ในข้อ 4.3 นั้น เป็นกรัมเนื้อสาร จึงต้องพิจารณาปริมาณที่ต้องใช้
จริงโดยดูความเข้มข้นของสารแพกโคลิบิวทราโซล ซึ่งระบุไว้ภาชนะบรรจุเช่น หากต้องการใช้สารแพกโคลิบิวทราโซลปริมาณ
3.5 กรัมเนื้อสาร แต่สารที่ซื้อมาจำนวน 35 กรัม จึงจะมีเนื้อสารจริง 3.5 กรัม วิธีการคือชั่งนำหนักสารมา 35 กรัม ผสมลงใน
นำปริมาณ 1-2 ลิตร แล้วราดที่โคนต้นให้รอบ

4.5 ให้น้ำแก่ต้นมะม่วงอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้ดูดซึมสารเข้าไปในต้นเป็นไปได้อย่างดีขึ้น

5. ภายหลังการให้สารแล้วประมาณ 2 เดือนครึ่ง มะม่วงจะเริ่มออกดอกได้หากต้องการให้มะม่วงมีการออกดอกอย่างสม่ำเสมอ
พร้อมกันทั้งต้น ก็สามารถกระตุ้นการแตกตาโดยการใช้สารโพแทสเซียมไนเตรท หรือไทโอยูเรียได้ โดยมีเทคนิคและวิธีการดังนี้

5.1 ถ้าเป็นมมะม่วงพันธุ์ที่ออกดอกง่าย หรือมีแนวโน้มที่ป็นพันธุ์ทะวาย เช่น ฟ้าลั่น น้ำดอกไม้ ศาลายา เจ้าคุณทิพย์ เพชรบ้านลาด
หนองแซง ให้ใช้โพแทสเซียมไนเตรท 2.5% (ใช้สาร 500 กรัมผสมนำ 20 ลิตร) หรือไทโอยูเรีย 0.5% (ใช้สาร 100 กรัม
ผสมน้ำ 20 ลิตร) พ่นให้ทั่วต้น ภายหลังจากการราดสารพาโคบิวทราโซลแล้ว 2 เดือน ถึง 2 เดือนครึ่ง มะม่วงจะแตกตากลาย
เป็นช่อดอก ปรากฎให้เห็นได้ภายใน 7 ถึง 14 วัน ภายหลังการพ่นสารเหล่านี้

5.2 ถ้าเป็นมะม่วงที่ออกดอกยาก หรือไม่ปรากฎว่ามีพันธุ์ทะวาย เช่น เขียวเสวย อกร่อง แรด หนังกลางวัน ทองดำ ให้ใช้ไทโอยู
เรีย 0.5% (ใช้สาร 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร) พ่นให้ทั่วต้นภายหลังการรากสารแพกโคลบิวทราโซลแล้ว 3 เดือนครึ่ง ถึง 4 เดือน
ช่อดอกจะปรากฎให้เห็นภายใน 14 ถึง 21 วัน ถ้าระยะนี้ยังไม่พบการแตกตาหรือยังแตกตาไม่สม่ำเสมอ ให้ใช้สารไทโอยูเรียซ้ำใน
อัตราเดิม

5.3 ในกรณีที่มีการใช้สารโพแทสเซียมไนเตรท หรือไทโอยูเรียเร็วเกินไป ซึ่งตาดอกอาจยังสร้างไม่สมบูรณ์ จะมีผลทำให้
มะม่วงมีการแตกใบอ่อนทั้งต้นแทนการออกดอก หรือเกิดเป็นช่อดอกปนใบ ดังนั้นอาจทดสอบได้ก่อนว่ามะม่วงมีการสร้างตาดอก
แล้วหรือไม่ โดยการพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรทหรือไทโอยูเรียเพียงบางกิ่งก่อน แล้วติดตามดูว่าตาที่เกิดขึ้นเป็นช่อหรือใบหาก
เกิดเป็นช่อดอกได้สมบูรณ์จึงพ่นสารให้ทั่วทั้งต้น เพื่อที่จะกระตุ้นตาที่เหลืออยู่ให้แตกออกมา แต่ถ้าตาที่ออกมาเป็นใบอ่อนก็ให้
ชะลอการให้สารโพแทสเซียมไนเตรทหรือไทโอยูเรียไว้ก่อน

6. เมื่อช่อดอกมะม่วงเริ่มเจริญขึ้นมายาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ให้ใช้ เอทีฟอน ความเข้มข้น 10-20 มิลลิกรัมต่อลิตร (หากเป็น
สารเอทีฟอน ซึ่งมีเนื้อสาร 39.5% ให้ใช้อัตรา 0.5-1 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร) พ่นให้ทั่วต้นเพื่อช่วยให้มีดอกสมบูรณ์เพศ
มากขึ้น ซึ่ งเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการติดผลได้มากขึ้นด้วย

7. เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรบำรุงต้นไม้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอกใน ฤดูกาลถัดไปและถ้ามีการใช้สาร
เร่งดอกอีกในปีถัดไปต้นต้องมีการแตกใบอ่อนมาแล้วอย่างน้อย 1 ชุด แล้วดำเนินการใช้สารเร่งกรออกดอกตามวิธีการเดิม

การใช้สารแพกโคลบิวทราโซล ซ้ำในปีที่ 2 นั้น อาจลดอัตราการใช้ลงได้อีกถ้าเป็นพันธุ์ที่ออกดอกง่าย เช่น น้ำดอกไม้ ก็สามารถ
ลดอัตราการใช้ลงได้ประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราเดิม เช่น ปีแรกใช้อัตรา 4 กรัมต่อต้น เมื่อมีการใช้สารซ้ำต้นเดิมในปีถัดมา ก็สามารถ
ลดอัตราการใช้ลงเหลือเพียง 2 กรัมต่อต้นได้ ส่วนพันธุ์ที่ออกดอกยาก เช่น เขียวเสวย สามารถลดอัตราการใช้ลงได้ 1/4 ของ
อัตราส่วนเดิม เช่นถ้าใช้ในปีแรก 4 กรัม ก็สามารถใช้ซ้ำในอัตรา 3 กรัม ในปีถัดมาโดยได้ผลเช่นกัน

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การบังคับให้มะม่วงออกดอกโดยการใช้สารเคมีนั้นๆไม่ป็นเรื่องยากเย็นอะไรอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม
ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ ยังไม่มีวิธีการใดที่ช่วยเพิ่มผลผลิตมะม่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการใช้สาร
เคมีนั้นยังได้ผลไม่แน่นอน จึงยังไม่อาจแนะนำให้ใช้ได้ ปัญหาเรื่องการติดผลของมะม่วงนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพแวดล้อมขณะออกดอก และความสมบูรณ์ของต้น มะม่วงจะมีการติดผลได้ดีในสภาพที่อากาสไม่ชื้นเกินไป
อุณหภูมิไม่สูงหรือต่ำเกินไปและต้นมีความสมบูรณ์สูง มีการให้ปุ๋ยและน้ำสม่ำเสมอ ดังนั้น เมื่อสามารถบังคับการออกดอกของมะม่วง
ได้โดยไม่จำกัดฤดูกาลเช่นนี้ จึงมีข้อแนะนำว่าไม่ควรบังคับให้มะม่วงออกดอกใช่วงที่ฝนชุก ซึ่งมีความชื้นในอากาศสูงเกินไป ทำให้
การติดผลได้น้อย และอีกประการหนึ่งคือ ควรบำรุงรักษาต้นให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดผลให้ดีขึ้น


ตารางที่ 1 อัตราการใช้สารแพกโคลบิวทราโซล เพื่อกระตุ้นการออกดอกของมะม่วงเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของ
ต้น ดังนี้

เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม............ อัตราการใช้ต่อต้น 1/
2-3 เมตร ........................... 20-30 มิลลิลิตร
3-4 เมตร ........................... 30-40 มิลลิเมตร
4-5 เมตร ........................... 40-60 มิลลิลิตร
5-6 เมตร ........................... 60-100 มิลลิลิตร
6-10 เมตร ......................... 100-200 มิลลิลิตร







ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการบังคับให้มะม่วงออกดอกและเก็บในช่วงเทศกาล เช่น วันขึ้นปีใหม่ (25-30 ธันวาคม) จะต้องนับวันย้อน
หลังข้นไปเป็นขั้นตอน ก็สามารถกำหนดวันที่ให้สารแพกโซลและโพแทสเซี่ยมไนเตรทได้ ดังนี้




http://www.ku.ac.th/e-magazine/april46/agri/mango.html





การผลิตมะม่วงนอกฤดูโดยการเสียบกิ่ง

เรียบเรียง/ภาพ:
สังวร สุขสามัคคี สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์พาวิน มะโนชัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้


ปัจจุบัน การผลิตมะม่วงให้สามารถเก็บเกี่ยวนอกฤดูกาลทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารพาโคลบิวทราโซล บังคับให้ออกดอก การ
ปลูกมะม่วงพันธุ์ทวาย (เช่น พันธุ์โชคอนันต์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี) นอกจากทั้งสองวิธีดังกล่าวแล้วยังมีการ
ผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือ "การชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูโดยการเสียบกิ่ง"


วิธีการชักนำให้มะม่วงออกนอกฤดูกาลโดยการเสือบกิ่ง มีดังนี้
1. การเลือกต้นพันธุ์ ที่ใช้ชักนำการออกดอกจะต้องเป็นพันธุ์ทวายเท่านั้น (พันธุ์ที่ได้ผลดีคือ พันธุ์โชคอนันต์)

2. ช่วงเวลาในการเสืยบ ควรทำการเสียบกิ่งก่อนที่พันธุ์มะม่วงโชคอนันต์จะออกดอกประมาณ 1 เดือน โดยปกติมะม่วงพันธุ์โชค
อนันต์จะออกดอกนอกฤดูในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ฉะนันจึงทำการเสียบกิ่งในช่วงต้นเดือนมีนาคม

3. การเลือกยอดพันธุ์ ที่จะนำมาเสียบควรเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการและจำหน่ายราคาสูง เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้, เขียวเสวย, ฟ้าลั่น,
หนองแซง ฯลฯ

4. ตำแหน่งการเสียบควรทำการเสียบที่ปลายยอด เพราะจะทำให้มีการแทงช่อดอกได้ดีกว่าการเสียบในตำแหน่งอื่น

5. จำนวนยอดต่อต้น ปริมาณยอดที่จะเสียบต่อต้นจะมากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นพันธุ์โชคอนันต์ที่ใช้เป็นต้นตอ

6. วิธีการเสียบกิ่ง ใช้วิธีการเสียบข้าง โดยเฉือนเปลือกกิ่งต้นตอเป็นแผลยาวประมาณ 1.5 นิ้ว (ภาพ ก.) แล้วนำยอดพันธุ์ดี
ตัดใบออกให้หมด พร้อมกับเฉือนเป็นรูปปากฉลามความยาว 1.5 นิ้วเช่นกัน นำมาประกบกับรอยแผลต้นตอ เสร็จแล้วพันพลาส
ติก (ภาพ ข.)

7. หลังจากที่เสียบยอดได้ประมาณ 20-25 วัน ยอดพันธุ์ดีก็จะเริ่มแตกตา ให้เปิดพลาสติกตรงบริเวณยอดพันธุ์ดี (ภาพ ค.) ให้
ยอดพันธุ์ดีเจริญเติบโตต่อไป (ภาพ ง)

















http://www.doae.go.th/library/html/detail/mango4/m2.htm[/img]




แนวทางผลิตมะม่วงนอกฤดู

ผลไม้ในฤดูกาลก็มีให้รับประทานอยู่แล้วมากมาย แต่ความต้องการของมนุษย์นั้นมีไม่สิ้นสุดจึงเกิดมีมนุษย์ที่มีความต้องการผลไม้
นอกฤดูและขณะเดียวกันผลไม้นอกฤดูก็มีราคาสูง จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่จะทำให้มีผลไม้ออกมาจำหน่ายนอกฤดูกาลมาก
ขึ้น จึงมีงานวิจัยที่อาศัยความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้ไม้ผลมีการออกดอกติดผลนอกฤดูกาลกันมากขึ้นจนเป็นที่
ยอมรับของเกษตรกร ทั่วไป แนวทางการผลิตผลไม้นอกฤดูมีวิธีการต่างๆ หลายวิธีดังนี้

ใช้พันธุ์ที่ออกดอกนอกฤดูอยู่แล้ว เช่น มะม่วงพันธุ์ทะวายต่างๆ น้ำดอกไม้ทะวาย พิมเสนมันทะวาย โชคอนันต์ เป็นต้น

เลือกช่วงเวลาการปลูกให้ไม่ตรงกับคนอื่น ใช้กับไม้ผลที่มีอายุสั้นเมื่อถึงอายุก็ออกดอกติดผล เช่น กล้วย มะละกอ ปกติต้องอาศัย
น้ำฝนจะปลูกต้นฤดูฝน หากมีน้ำชลประทานควรเลือกปลูกช่วงปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้งจะทำให้มีผลผลิตจำหน่ายไม่ตรงกับเขตอื่น

ใช้การตัดแต่งกิ่ง ทำกับไม้ผลที่เมื่อแตกกิ่งใหม่จะมีช่อดอกออกมาด้วย เช่น น้อยหน่า ฝรั่ง องุ่น เป็นต้น

ใช้ปุ๋ยเคมี N.D.Bondad it af 1978 รายงานว่าโปแตสเซียมไนเตรทอัตราความเข้มข้น 1-4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มะม่วงพันธุ์คาราบาว
แทงช่อดอกนอกฤดูกาลได้

การใช้สารชะลอการเจริญเติบโต เช่น พาโคลบิวทราโซล ใช้กับมะม่วงโดยฉีดพ่นทางใบ อัตรา 1,000-2,000 ppm. ทำให้มะม่วง
ออกดอกก่อนกำหนด 35 วัน

ในปัจจุบันนิยมราดทางดินชิดโคนต้นระยะเหมาะสมของต้นที่จะใช้ต้องมีใบสีเขียวอ่อน ปริมาณสารต่อต้นเท่ากับความกว้างทรงพุ่ม
เป็นเมตรคูณด้วยค่าคงที่ของพันธุ์ คือ พันธุ์ออกง่ายให้ค่าคงที่เท่ากับ 10 ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น ทองดำ หนองแซง เจ้าคุณ
ทิพย์ แก้วลืมรัง ลิ้นงูเห่า โชคอนันต์ ส่วนพันธุ์ที่ออกยากให้ค่าคงที่ของพันธุ์ออกยาก เท่ากับ 15 ได้แก่ มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย
หนังกลางวัน อกร่อง แรด และพิมเสนมัน

การวางแผนการขายน้อยหน่าโดยการตัดแต่งกิ่ง :
ตัวอย่างเช่น ปริมาณสารต่อต้นของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ขนาดพุ่มต้น 4 เมตร = ก x พ = 4 x 15 = 60 ซีซี.คัลทาร์ 10% = 60
กรัมพรีดิกซ์ 10%

ปริมาณสารต่อต้นในมะม่วงน้ำดอกไม้พุ่มต้น 4 เมตร = ก x พ = 4 x 10 = 40 ซีซี.คัลทาร์ 10% = 40 กรัมพรีดิกซ์ 10%

เมื่อคำนวณสารต่อต้นได้แล้วเอาสารละลายในน้ำ 2 ลิตร คนให้เข้ากัน ราดชิดโคนต้น เมื่อราดสารแล้วให้รดน้ำแก่ดิน บริเวณพุ่ม
ต้นไม้ให้ชุ่ม ระดับ 10-15 เซนติเมตร ทุก 5 วัน อีก 4-5 ครั้ง เพื่อให้สารขึ้นไปที่ยอด ระยะเวลาเกิดตาดอก พันธุ์ออกง่าย 60-70
วัน พันธุ์ออกยาก 90-120 วัน

การใส่ในช่วงฤดูฝน บางครั้งตาดอกอาจเกิดเป็นตาใบได้ ควรป้องกันโดยในพันธุ์ออกง่ายเมื่อใส่สารพาโคลบิวทราโซลได้ 1 เดือน
ควรพ่นปุ๋ย 0-52-34 (โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต) อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน

พันธุ์ออกยากควรพ่นเมื่อใส่สารพาโคลบิวทราโซลได้ 2 เดือน เมื่อครบกำหนดเกิดตาดอกที่ยอดใช้โปแตสเซี่ยมไนเตรท 500 กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไธโอยูเรีย 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ตาดอกเจริญเป็นช่อออกมา และดูแลรักษาให้ติดผลและเก็บเกี่ยว
ได้ต่อไป

ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ออกง่าย

ตารางแนวทางการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อการผลิตนอกฤดูสำหรับมะม่วงพันธุ์ที่ออกยาก

หมายเหตุ
1. ใช้สารคัลทาร์ให้เกิดตาดอก
2. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท 2.5 เปอร์เซ็นต์ หรือไธโอยูเรีย 0.5 เปอร์เซ็นต์ ให้ช่อดอกเจริญ
3. ดอกบาน
4. เก็บเกี่ยวผล



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
เขียนโดย tanathep

http://tanathep2535.blogspot.com/2009_09_01_archive.html




มะม่วงนอกฤดู

- ปกติ (ในฤดู) พฤษภาคม- กรกฎาคม กิ่ง ใบ เจริญเติบโต
- สิงหาคม-ตุลาคม กิ่ง ใบ หยุดขยายตัว เริ่มสะสมอาหาร
- พฤศจิกายน-มกราคม แทงช่อดอก ดอกโต ติดผล

เทคนิคการทำนอกฤดู
1. พฤศจิกายน-มกราคม ซึ่งมะม่วงแทงช่อดอก ให้ตัดแต่งกิ่งที่ติดช่อดอกทิ้ง

2. ราดสารพาโคบิวทราโซล สารนี้จะทำให้มะม่วงยอดอั้น โดยราดสารในเดือนกรกฎาคม จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือน
ธันวาคม-มกราคม ราคาดีมาก) หรือราดสารในเดือนเมษายน จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนสิงหาคม (ราคาดีมาก)

3. ราดสารตามอัตราที่ฉลากแนะนำ เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 2-4 เมตร ใช้สารน้ำ 20-40 ซีซี. หรือสารผง 20-40 กรัม

4. หลังราดสาร 1 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 0-52-34 หรือใกล้เคียงที่สุด ในอัตรา 60-80 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทุกๆ
ใบของต้นมะม่วง จะเร่งให้ใบแก่

5. หลังจากนั้นอีก 15 วัน ทำแบบข้อ 4 อีกครั้งหนึ่ง


http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/off22.html





ราดสารฯ มะม่วง ....

มะม่วง เป็นผลไม้ที่คนไทยให้ความนิยมชมชอบมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดีประกอบกับเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโต
ได้ดีในสภาพพื้นที่ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้วิทยาการในการผลิตมะม่วงได้ก้าวหน้าไปมากมีการใช้เทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ
เข้ามาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผลตลอดจนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และโดยเฉพาะในเรื่องของการ
ออกดอกของมะม่วงนั้นในขณะนี้ เราสามารถบังคับใช้มะม่วงออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่
ยุคใหม่ของการเกษตร

วิธีการในการชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูนั้นได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการเกษตรหลายท่าน จนเป็นผลทำให้ขณะ
นี้ประเทศไทยเราสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลกันได้มากขึ้น และเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้

การค้นคว้า ทดลองของนักวิชาการเกษตรดังกล่าวคงจะก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นที่สามารถกำหนดปัจจัยในการบังคับให้มะม่วงมี
การออกดอกติดผลได้มาก จนถึงกับสามารถกำหนดระยะเวลาของการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและแน่นอน และก้าวหน้าต่อไป
ในมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ

ปัจจัยที่มีผลต่อการชัดนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล :
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบสำเร็จมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนด
ในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอก ติดผล หรืออาจจะ
มีการออกดอก ติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อ
การออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้
หมด เช่น กิ่งกระโดง กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น. ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน
การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กก. และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา
1-2 กก. หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้
ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบ
มะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้า
มีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช่มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วง
ออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่าน
ออกมาแล้ว 2 ชุดและใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่าใบพวง

3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง
ที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการบังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย
ตัวอย่างเช่น พันธุ์น้ำดอกไม้. ฟ้าลั่น. แห้ว. หนองแซง.และเจ้าคุณทิพย์. จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วง
ที่ออกดอกค่อนข้างยาก เช่น เขียวเสวย. แรด. หนังกลางวัน. จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออดดอกนอกฤดูกาล :
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและ
การฉีดพ่นด้ายสารเคมี

ก. การสุมไฟ
การสุมไฟหรือการรมควันให้กับต้นมะม่วงเป็นวิธีการกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าฤดูกาลปกติ โดยให้ควันไฟผ่านเข้า
ไปในพุ่มต้นมะม่วงเพื่อให้มะม่วงแตกตาดอกออกมา แต่วิธีการนี้มีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือ ต้องใช้แรงงานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
ดังนั้นข้อควรคำนึงก็คือ การเลือกต้นมะม่วงสำหรับสุมไฟต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้นมะม่วงที่สุมไฟแล้วจะออกดอกได้ดีนั้นจะ
ต้องเป็นต้นที่มีกิ่งและใบแก่เต็มที่ ถ้าหากใบยังอ่อนอยู่หรือกิ่งยอดยังแก่ไม่พอ ก็ไม่สามารถยังคับให้ออกดอกด้วยวิธีนี้ได้ ดังนั้นเพื่อ
ให้การบังคับด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงควรเลือกต้นมะม่วงที่มีใบสีเขียวแก่ ผิวด้านหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเปราะง่าย (เมื่อขยำด้วย
มือ) สภาพของต้นและตายอดต้องอยู่ระยะพักตัว

วัสดุที่ใช้สุมไฟที่ดีได้แก่ใบไม้แห้ง หญ้าดิบ แกลบ กิ่งไม้และเศษวัสดุอื่น ๆ ในการก่อกองไฟควรให้กองไฟอยู่เหนือลมเพื่อให้ควัน
ไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ง่าย และอาจใช้แผงกั้นที่ทำจากทางมะพร้าวหรือไม้ไผ่มากั้นไว้เพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้นและจะ
ต้องให้กองไฟอยู่ห่างจากโคนต้นในระยะที่ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วง ส่วนระยะเวลาของการรมควันจะสั้นหรือเร็วจะขึ้นอยู่กับสภาพ
ของต้นและกิ่งมะม่วง กล่าวคือถ้ากิ่งมะม่วงเป็นกิ่งที่มีอายุมากและผ่านการพักตัวมาแล้ว ระยะเวลาของการรมควันจะสั้นเข้า แต่ถ้าเป็น
กิ่งที่มีอายุน้อย ระยะเวลาของการรมควันก็จะมากขึ้น

นอกจากนี้แล้วในการสุมไฟต้นมะม่วงให้ทำทั้งกลางวันและกลางค้นเป็นเวลาหลาย ๆ วันติดต่อกันจนกระทั่งตาดอกเริ่มปรากฏให้เห็น
แต่ถ้าตาดอกไม่เกิดหลังจากที่ได้สุมไฟไปแล้วประมาณ 9-15 วัน ก็ให้เลิกสุมไฟแล้วเริ่มไฟ หลังจากหยุดรมควันไปได้ 20-30 วัน
และเมื่อตาเริ่มผลิออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตาที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นตาดอกหรือตาใบ ต้องรอจนกระทั่งตาขยายตัว
ขึ้น ถ้าตาที่ปรากฏเป็นตาดอกก็จะมีรูปร่างเป็นจงอย ส่วนตาที่เจริญเป็นกิ่งหรือเป็นใบ จะมีรูปร่างเป็นทรงยาวและตั้งตรงอย่างไรก็ตาม
การบังคับให้มะม่วงออกดอกด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการยุ่งยากและมีวิธีอื่นที่สะดวกกว่า
และได้ผลที่แน่นอนกว่า

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี
การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงอออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมาซึ่งมีทั้ง
ที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออก
ดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอน ได้แก่

1. สารโปแตสเซียมไนเตรท ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปแตสเซียม ไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งการ
ออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัว
สารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม้ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธี
ปฏิบัติ รวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรท
สามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

1.1 ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5% ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและยังให้ผลได้
เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่าแต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรทเพราะไม่สะดวก
ในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่น ๆ ที่เป็นพิษกับพืชซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้

1.2 ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กก.) ผสมน้ำ 20 ลิตรก็จะได้โปแตสเซียมไนเตรทเข้มข้น 2.5% โดยน้ำหนัก
และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรท
เข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น

1.3 ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามือ ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการ
ลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่าหลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็น
เป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการแดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่
ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ
ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้
การดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว.

1.4 การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วัน ถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่
โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็ว
กว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็
เป็นการลงทุนที่ถูกมากเนื่องจากโปแตสเซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก


2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. (N.A.A)
ฮอร์โมนเอ็นเอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์ แพลนนิโมนศ์ฟิกซ์แพนเตอร์ เป็นต้น
หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือเมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน ได้มากขึ้น และเอทธิลีน.
นี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ
ให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซีซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรท
อัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้วให้การทำการฉีดพ่นใบมะม่วงที่แก่เต็มที่ (ซึ่งเป็นใบที่แตกจากใบอ่อนครั้งสุดท้าย) ก่อนถึง
ฤดูกาลออกดอกของมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไป
แล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 กรัม


3. สารพาโคลบิวทราโซล
เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลว
มีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์ มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร
25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผลซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมา
ได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง
ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้น ในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมี
ลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจน
น้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินมีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมากก็คือ
การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลง และมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการ
ออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินลง เพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มากขึ้น และสารพาโคล
บิวทราโซลก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินได้ดี

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน
ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจาการใช้สาร เป็นต้น สารพาดคลบิวทราโซลก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สาร
นี้ให้ได้ผลดีนั้นควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้ม
ข้นสุงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือมะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่า ๆ กัน

2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณมากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้า
ต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไป หรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก

3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบราก
ไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้

4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซลให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา
ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล

5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจาก
สิ่งเหล่านี้อาจจะดุดเอาสารพาโคลบิวทราโซลเข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป

6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วง
เจริญได้ดี

7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วน
ในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล :
การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธี
ที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้น
ของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมาก
กว่ามะม่วงทีมีอายุน้อยและขนาดทรงพุ่มเล็กกว่า


http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2011 7:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/04/2011 5:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลิตลำไยนอกฤดูสูตร "หมอดิน" สารโพแทสผสมปุ๋ยน้ำลดต้นทุน





คมชัดลึก : แม้ผู้ปลูกลำไยส่วนใหญ่จะมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) เร่งให้ต้นลำไยออกดอกเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูกัน
อย่างแพร่หลายและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น หวังจะทำให้ลำไยออกดอกได้ดี แต่ผลที่ได้กลับพบว่าการใช้สารในอัตราสูงกว่าคำแนะนำมีผลทำ
ให้การออกดอกลดลง 30-40% ขณะเดียวกันยังทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และยังมีสารเคมีตกค้างในดินด้วย หากใช้ปริมาณมากติดต่อกัน
หลายปีจะทำให้ต้นลำไยมีปัญหา เช่น ต้นทรุดโทรมเร็ว หรือเกิดอาการใบเหลืองแล้วแห้งตาย

อินทอง หล่อเถิน เกษตรกรผู้ปลูกลำไยนอกฤดู อ.ป่าซาง จ.ลำพูน หนึ่งในเกษตรกรที่ยึดแนวทางการผลิตลำไยโดยการใช้สารเคมีเพียง
อย่างเดียว ทั้งสารโพแทสเซียมคลอเรต ปุ๋ยเคมี สารกำจัดแมลงศัตรูพืชมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งเมื่อได้รับการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการ
ใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรจากกรมพัฒนาที่ดิน และการเข้ารับการอบรมจากที่ต่างๆ จึงเกิดความสนใจศึกษาทดลองทำสาร
อินทรีย์ไว้ใช้ดูบ้าง หลังจากทราบแล้วว่าสารอินทรีย์มีประโยชน์ต่อดินและพืชรวมทั้งสามารถทำเองได้ จึงหาทางศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการผลิตสาร
อินทรีย์ต่างๆ อย่างถูกวิธี จนได้รับคำแนะนำจากสถานีพัฒนาที่ดินลำพูน

“เมื่อก่อนใช้เคมีอย่างเดียวดินแห้งแข็ง มีลำไยอยู่ 3 ต้น ทดลองนำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ไปใส่ ปรากฏว่าใบเขียวขึ้น ต้นสมบูรณ์ดีกว่าต้นอื่นๆ
จึงรู้ว่าการใช้สารอินทรีย์ร่วมกับสารเคมีสามารถทำได้ และให้ผลดีกว่าการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะนอกจากต้นลำไย
สมบูรณ์ขึ้นแล้ว ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สามารถทำใช้เองได้ต้นทุนไม่สูง”

อินทองเผยถึงที่มาของการเปลี่ยนมาใช้สารอินทรีย์ชีวภาพควบคู่กับสารเคมีทางการเกษตร โดยการผลิตลำไยนอกฤดูตามแบบฉบับของหมอ
ดินอินทองนั้น ก่อนใส่สารโพแทสเซียมคลอเรต ต้องบำรุงต้นให้สมบูรณ์ หลังเก็บผลผลิตแล้วต้องใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ซึ่งหมัก
จากเศษหญ้า กิ่ง และใบลำไยในอัตราส่วนใส่ตามอายุของต้นลำไย 1 ปีต่อ 1 กก. พอถึงช่วงที่ช่อดอกยาวประมาณ 1 คืบ ฉีดพ่นยืดช่อดอกด้วย
น้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ซึ่งหมักจากมะละกอ ฝักทอง กล้วยสุก และปลา

โดยใช้อัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร ผสมน้ำ 500 ลิตร เมื่อลูกลำไยขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟให้ใส่ปุ๋ยหมักอีกครั้ง และฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพอัตรา
ส่วนเท่าเดิม รวมทั้งฉีดพ่นสารป้องกันแมลงศัตรูพืชจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ที่หมักจากสะเดา ตะไคร้หอม ยาสูบ ข่าแก่ ใบยูคาลิปตัส ใน
อัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ทุกๆ 7 วัน

“ผมไม่ได้บอกว่าปุ๋ยอินทรีย์ดีกว่าปุ๋ยเคมี แต่อยากบอกว่าปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินทำให้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปได้ใช้
ประโยชน์มากขึ้น จึงไม่ต้องใส่มากเหมือนเดิมเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนตัวแล้วทุกวันนี้ยังคงใช้เคมีอยู่แต่ใช้
น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น โดยหันมาพึ่งการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ไว้ใช้เองควบคู่กันไป "อินทอง กล่าว

นอกจากเรื่องการผลิตลำไยนอกฤดูแล้วในพื้นที่ 11 ไร่ ยังมีการเลี้ยงปลา ปลูกผักและไม้ผลอีกหลายชนิดเพื่อเป็นรายได้เสริม โดยสถานีพัฒนา
ที่ดินลำพูนได้คัดเลือกพื้นที่ของนายอินทอง จัดตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งสาธิต ศึกษา ดูงาน
และเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรในพื้นที่ เช่น การใช้พืชปุ๋ยสด การผลิตและใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสารเร่ง พด. การปลูกหญ้า
แฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นต้น

เกษตรกรท่านใดสนใจแนวทางการผลิตลำไยนอกฤดูโดยใช้สารอินทรีย์ควบคู่กับสารเคมีทางการเกษตร หรือจะดูงานด้านการพัฒนาที่ดิน
ก็สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงได้ ที่หมอดินอาสา อินทอง หล่อเถิน เลขที่ 138 หมู่ 1 บ้านหนองสร้อย ต.มะกอก อ.ป่าซาง
จ.ลำพูน โทร.08-6912-3914 ได้ตลอดเวลา

"สุรัตน์ อัตตะ"



http://www.komchadluek.net/detail/20110113/85493/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99.html



โปแตสเซียม คลอเรต ต่อลำไย :

การใช้สารเคมีอื่นๆ เช่น โปแตสเซียมคลอเรต พาวิน มะโนชัย (2542) รายงานว่าโปแตสเซียมคลอเรทสามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูกาลได้
โดยลำไยอีดอใช้สารดังกล่าว 8 กรัมต่อตารางเมตร สำหรับพันธุ์ชมพูใช้สารดังกล่าวอัตรา 1 กรัมต่อตารางเมตร จะทำให้ออกดอก 100%
โดยลำไยจะต้องได้รับการปฏิบัติดูแลโดยการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ จนแตกกิ่งใหม่และมีใบแก่อย่างสมบูรณ์ โดยสังเกตจากสายตาว่ามี
ใบสีเขียวเข้ม แล้วจึงใช้สารโปแตสเซียมคลอเรท ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดดินบริเวณแนวชายทรงพุ่มแต่ก่อนใส่สารและหลังใส่สารควรรดน้ำให้
กับต้นลำไยให้ดินชุ่มอยู่เสมอ

หลังจากบังคับให้ไม้ผลออกดอกได้แล้วต้องดูแลให้ติดผลและผลเจริญเติบโตถึงแก่เก็บเกี่ยวจึงจะได้ผลไม้นอกฤดูตามที่ต้องการ



เขียนโดย tanathep

http://tanathep2535.blogspot.com/2009_09_01_archive.html





หลักการผลิตลำไยนอกฤดู

1. จัดทรงพุ่มให้เหมาะสมกับการทำลำไยนอกฤดูและพร้อมกับทำลำไยคุณภาพ โดยควบคุมความสูงไม่เกิน 3 เมตร และทำ
ทรงพุ่มให้โปร่ง

2. พักต้นให้พร้อม ประมาณ 8 เดือน ขึ้นไป หรือหลังการเก็บเกี่ยวควรให้แตกใบ 3 ชุด จึงราดสาร

3. การราดสารให้เหมาะสม คือรัศมีทรงพุ่ม 1 เมตร ต่อสาร 1 ขีด

4. การให้น้ำที่เหมาะสม ในระบบสปริงเกลอร์ ควรให้น้ำเป็นแนวกว้าง ประมาณ 1 เมตร บริเวณปลายทรงพุ่ม

5. ปริมาณในการให้น้ำที่เหมาะสมคือ ให้น้ำซึมลึกลงดิน ประมาณ 1-2 นิ้ว

6. เมื่อเริ่มแทงช่อดอก หรือดอกแซมใบ หรือออกช่อเป็นใบ ให้ใช้สารหรือฮอร์โมนฉีดพ่นทางใบเพื่อเร่งการแทงช่อดอกที่สมบูรณ์

7. เมื่อดอกออกประมาณ 70% ให้เกษตรกรดูแลรักษาตามปกติ เพื่อคุณภาพของลำไย


ข้อได้เปรียบของการทำลำไยนอกฤดู :
1. ไม่ประสบปัญหาในด้านการตลาด ได้ราคาดี
2. ไม่แย่งแรงงาน
3. มีพ่อค้ารับซื้อถึงสวน
4. มีรายได้ต่อเนื่อง จากการแบ่งเป็นแปลงๆ ในการทำลำไยนอกฤดู
5. ลดอัตราการเสี่ยงและสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
6. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทำนอกฤดู ช่วยให้ขายได้ราคา :
คุณยลวิไล ประสมสุข ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำลำไย
นอกฤดูเพื่อกระจายผลผลิตนั้น เป็นแนวทางที่สามารถหลีกเลี่ยงราคาลำไยตกต่ำได้ แต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ได้คุณภาพ
เกษตรกรที่สนใจการทำลำไยนอกฤดูขอให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัด
หรือที่ คุณสมสวย ปัญญาสิทธิ์ ผู้ประสานงานการผลิตลำไยนอกฤดู กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักส่งเสริมและพัฒนาการ
เกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (081) 884-6791

http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/z7.html




การผลิตลำไยนอกฤดูของ นายวินัย หวันชัยศรี
เกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวนของภาคเหนือ ปี 2553


การผลิตลำไยนอกฤดูของนายวินัย หวันชัยศรี เกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวนของภาคเหนือ ปี 2553

เกษตรกรชาวสวนลำไยโดยทั่วไป มักจะปล่อยให้ผลผลิตลำไยออกตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนมีอุณหภูมิต่ำและหนาวเย็นนาน ลำไย
จะออกดอกติดผลมาก ในขณะที่บางปีอากาศไม่หนาวเย็นพอ ลำไยจะติดผลน้อยและในช่วงที่ผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดมากช่วง
กลางเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เกษตรกรก็เดื่อดร้อนเนื่องจากถูกกดราคา ดังนั้นการผลิตลำไยนอกฤดูจึงเป็นทางเลือกของเกษตรกร
ชาวสวนลำไยที่จะต้องให้ความสำคัญถึงแม้จะใช้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ได้ราคาดีคุ้มค่าต่อการลงทุน

นายวินัย หวันชัยศรี เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวนของภาคเหนือ ปี 2553 ได้เล่าว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 มีผู้ค้นพบคุณสมบัติของ
สารโปตัสเซียมคลอเรท สามารถชักนำการออกดอกของลำไยได้ ไม่ต้องพึ่งพาภูมิอากาศที่หนาวเย็น ทำให้เกษตรกรสามารถควบคุม
และวางแผนการผลิตลำไยได้ว่าจะให้ผลผลิตออกช่วงเวลาใด เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทำให้ขายได้ราคาดี แต่
เกษตรกรต้องมีการศึกษาธรรมชาติของลำไยว่ามีความต้องการสารเพิ่มประสิทธิภาพ ฮอร์โมนประเภทใด มีการวางแผน
ขั้นตอน จังหวะและเวลาที่เหมาะสม ให้ลำไยออกดอกติดผล ทำเป็นลำไยคุณภาพ ลูกโต ผิวสวย ปลอดสารปนเปื้อน จะได้ราคาดีเป็น
ที่ต้องการของตลาด

การผลิตลำไยนอกฤดู
1. หลังจากการเก็บเกี่ยว ทำการตัดแต่งกิ่งให้โปร่งทันที สูงไม่เกิน 6 เมตร (3 วา)และอย่าให้ปลายทรงพุ่มชนกัน พร้อมกับให้ปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยอิน
ทรีย์ เพื่อเร่งให้แตกใบ 3 ครั้งก่อนราดสาร

2. วิธีการทำลำไยนอกฤดู โดยการราดสารโปรตัสเซียมคลอเรต ด้วยการพ่นบนดิน การพ่นทางใบและมีการบำรุงรักษา ตั้งแต่เริ่มตัดแต่งกิ่งจน
ติดผลและหลังการเก็บเกี่ยว

3. การจัดระบบน้ำให้พอเพียง ทำสปิงเกอร์เป็นวิธีที่ทำให้น้ำพุ่งแรงและจัดวางท่อระบบน้ำให้ทั่วถึง

4. วางแผนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด





ความคิดเห็นที่ 1
การให้สารโปรตัสเซียมคลอเรต

1. ฤดูร้อน ราดต้นมีนาคม เก็บเกี่ยวต้นตุลาคม
................ราดปลายเมษายน เก็บเกี่ยวต้นพฤศจิกายน
................ราดต้นพฤษภาคม เก็บเกี่ยวกลางพฤศจิกายน
ลำไยออกดอกได้ดี

2. ฤดูฝน ราดต้นมิถุนายน เก็บเกี่ยวกลางธันวาคม
................ราดต้นกรกฎาคม เก็บเกี่ยวกลางกุมภาพันธ์
................ราดต้นสิงหาคม เก็บเกี่ยวกลางมีนาคม
................ราดต้นกันยายน เก็บเกี่ยวกลางเมษายน
ลำไยออกดอกได้ดี(ตลาดต้องการ 4 กุมภาพันธ์ -วันตรุษจีนและ
5 เมษายน -วันเซ็งเม้ง)

3. ฤดูหนาว ราดต้นตุลาคม เก็บเกี่ยวกลางพฤษภาคม
................ราดต้นพฤศจิกายน เก็บเกี่ยวต้นมิถุนายน
................ราดต้นธันวาคม เก็บเกี่ยวกลางกรกฎาคม
................ราดต้นมกราคม เก็บเกี่ยวกลางสิงหาคม
ลำไยออกดอกได้น้อยและช่วงมิถุนายน -ลำไยจีนเริ่มออก





ความคิดเห็นที่ 2
เทคนิคการทำลำไยนอกฤดูของนายวินัย หวันชัยศรี แห่งสวนคุ้มไร่ไผ่บง

-วันที่ 1 สิงหาคม - พ่นคลอรีน(CL2) อัตราส่วน 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร รอบๆทรงพุ่มลำไย เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ก่อนราดสาร
โปรตัสเซียมคลอเรท(KCLO3)

-วันที่ 4 สิงหาคม – ราดสารโปรตัสเซียมคลอเรท 1 กิโลกรัมต่อต้น ผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพ 0.4 กิโลกรัมต่อต้น น้ำ 20 ลิตรต่อต้น
และให้น้ำไปเรื่อยๆ 3-5 วันต่อครั้ง

-วันที่ 9 สิงหาคม – พ่นทางใบครั้งที่ 1 โดยใช้อัตราส่วนน้ำยาเร่งลำไยให้ออกดอก 1 กิโลกรัม โปรตัสเซียมไนเตรทจีฟาสต์ 1 กิโลกรัม
น้ำยาจับใบและน้ำ 200 ลิตร จากนั้นให้น้ำลำไยไปตลอด 3-5 วัน อย่าให้ลำไยขาดน้ำ (ปริมาณอัตราส่วนนี้ใช้ได้ 40 ต้นหรือ 1 ไร่)

-วันที่ 14 สิงหาคม – พ่นทางใบ ครั้งที่ 2 อัตราส่วนเหมือนกับครั้งที่ 1
-วันที่ 19 สิงหาคม – เปิดตาดอกครั้งที่ 1 โดยพ่นทาง
ใบใช้ฮอร์โมนประเภทสาหร่าย ประกอบด้วย วิสแคล (Viscal) 200 ซีซี. ซีราส(Chiraz) 200 ซีซี. ฮอร์โมนตรากิ 200 ซีซี. ดอกดี
500 ซีซี. โปรตัสเซียมไนเตรท จีฟาสต์ 1 กิโลกรัม น้ำยาจับใบและน้ำ 200 ลิตร
-วันที่ 24 สิงหาคม - -พ่นทางใบสูตรเปิดตาดอกครั้ง
ที่ 2 อัตราส่วนเหมือนกับครั้งที่ 1

จากเทคนิคดังกล่าวทางสวนลำไยคุ้มไร่ไผ่บง มีเนื้อที่ 30 ไร่ 1,200 ต้น สามารถผลิตลำไยนอกฤดูที่ได้คุณภาพมาตราฐาน ลูกโต ผิวสวย
ราคาดี ต้นหนึ่งได้ 200-300 กก. ผลผลิตต่อไร่ ได้ประมาณ 8,000-12,000 กก. ในแต่ละปีจำหน่ายมีรายได้ 1,800,000.00 บาท

นายวินัย หวันชัยศรี เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2487 ปัจจุบันอายุได้ 66 ปี บ้านเลขที่ 115 หมู่ที่ 4 บ้านหนองสะลิง ตำบลศรีเตี้ย
อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวนระดับเขต ประจำปี 2553 ของสำนัก
ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรที่สนใจการผลิตลำไยนอกฤดูสามารถ
เข้าไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ได้ที่สวนคุ้มไร่ไผ่บงหรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.081-6715559 ,
083-4787499,087-3017407





http://www.pantown.com/board.php?id=65172&area=&name=board6&topic=5&action=view


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/05/2011 9:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/04/2011 6:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การจัดการทุเรียนนอกฤดูกาล

ความสำคัญของดิน เพื่อเกษตรกรรมนั้น ทราบกันดีคำว่า “ดินดี-น้ำดี” การดูแลรักษาดีพืชก็เจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตดี
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรรมทุกสาขาไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หรือการประมง ความสำเร็จ
ของเกษตรกรรมเหล่านี้จะมีได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความอุดสมบูรณ์ของดินเป็นพื้นฐาน และปรับสภาพแวดล้อมให้
เหมาะสม เราต้องรักษาความเป็นผู้ผลิตทางด้านเกษตรไว้ให้จงได้ ด้วยการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ และวิธีที่เหมาะสม
ที่สุดคือ การคืนอินทรียวัตถุที่ได้จากดินให้แก่แผ่นดินแม้จะเป็นเพียงบางส่วนแต่ก็ให้เหมาะสม ก็เป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์
ของดินไว้สืบไป การบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเกษตร

ปัจจุบันทั้งในแง่ของการเพิ่มผลผลิตและการลดค่าใช้จ่าย ต้องถือว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำและต้องลงทุนทั้งยังสามารถทำ
อย่างค่อยเป็นไปทีละเล็กทีละน้อย สม่ำเสมอแต่ได้ผลดีตลอดไป จึงขอให้เราความตั้งใจแน่วแน่ และใช้ความยันหมั่นเพียรทำงาน
เสริมการกระทำของธรรมชาติ เราก็สามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินไว้ได้ตลอดไป


การปฏิบัติต่อต้นทุเรียน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ตรวจความเป็นกรดเป็นด่าง
- ปรับค่าของความเป็นกรด โดยการใช้ปูนขาว หรือปูนโดโลไมท์ ลดความเป็น กรด
- ปรับค่าของความเป็นด่าง โดยการใช้ปุ๋ยหมัก-
ปุ๋ยคอก ลดความเป็นด่าง ค่า PH ของดินที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืช 6-7

2. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว
- ตัดกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ และขั้วผล ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วทรงพุ่ม ลดปัญหา
การเกิดโรคและช่วยให้การพ่นสารกำจัดศัตรูพืชหรืออาหารเสริมได้ทั่วถึงสะดวกในการฉีดพ่น

3. การใส่ปุ๋ยทางดิน
- ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-0-0 (2–2.5 กิโลกรัม)/ต้น
- ปุ๋ยหมัก–ปุ๋ยคอก (10–15 กิโลกรัม)/ต้น

การใส่ปุ๋ยให้ใส่ก่อนตัดแต่งกิ่ง เก็บผลเสร็จแล้วก็ใส่ปุ๋ย 15-0-0 ทันที หลังจากนั้น 5–10 วัน ก็ให้ใส่ปุ๋ยหมักแล้วจึงทำการตัดแต่ง
กิ่งลงมาทับปล่อยให้ใบร่วงก่อนแล้วเก็บกิ่งมาเผาไฟ ส่วนใบปล่อยให้ย่อยสลายทั่วใต้ทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุอีกทางหนึ่ง
และเติมฮิวมิค อีก 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7–10 วัน ฮิวมิค 40 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดใต้ทรงพุ่มแทนการราดใช้ฮิวมิค 400 ซีซี./น้ำ
200 ลิตร ฉีด 10 ต้น กระตุ้นการแตกใบอ่อน



หลังจากตัดแต่งกิ่งควรฉีดพ่นทันทีเพื่อกระตุ้นให้ออกยอดเร็วขึ้น
- ใช้ปุ๋ยเกล็ด (30-20-10) 500 กรัม
- สาหร่าย 300 ซีซี.
- สังกะสี 300 ซีซี.
- สารจับใบ 50 ซีซี.
- น้ำสะอาด 200 ลิตร

ฉีดพ่นครั้งที่ 2 เมื่อทุเรียนแตกยอดอ่อน แล้วประมาณ 50-60%
- ใช้ปุ๋ยเกล็ด (30-20-10) 500 กรัม
- สาหร่าย 300 ซีซี.
- คลอไฟริฟอส (อบาแม๊กติน) 300 ซีซี.
- สารจับใบ (ไซเฟอร์เทริน) 50 ซีซี.

ฉีดพ่นป้องกันและกำจัด เพลี้ยไฟ–เพลี้ยไก่แจ้ บำรุงยอดอ่อนฉีดพ่นครั้งที่ 3 เมื่อใบเพสลาดเริ่มแก่ทำการฉีดพ่นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเร่ง
ให้ใบแก่เร็วขึ้น พร้อมที่จะออกยอดชุดต่อไป และเพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำลายใบทุเรียน

- ใช้ปุ๋ยเกล็ด (21-21-21) 500 กรัม
- แมกนีเซียม 300 ซีซี.
- น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี.
- ยาป้องกันเชื้อรา (คอปเปอร์) 200 ซีซี.
- ยาฆ่าแมลงแล้วแต่ความจำเป็น 300 ซีซี.

การทำยอด 1 ชุด ควรฉีดพ่นอย่างน้อย 3 ครั้ง ต้องทำยอดให้ได้ 3 ชุด ทุเรียนจึงจะเรียกว่าสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะใช้สารบังคับ
ให้ออกนอกฤดูกาลได้ จะทำการฉีดพ่นสารช่วงใบเพสลาด 70-80% ของยอดชุดที่ 3 เราไม่ฉีดพ่นอาหารครั้งที่ 3 เพราะต้องฉีด
สารเวลานั้น

วิธีผสมสารน้ำยาปรับสภาพน้ำตามอัตรา เพื่อให้น้ำเป็นกลาง
- น้ำสะอาด 20 ลิตร
- สารแพคโคลบิวทราทรอล 15% 1 กิโลกรัม
- สารแพคโคลบิวทราทรอล 10% 1 กิโลกรัม

1. ใช้น้ำยาปรับสภาพน้ำในถัง
2. ใช้ถังเล็กละลายสารให้ดีก่อนแล้วจึงเทใส่ถัง 200 ลิตร แล้วกวนให้เข้ากัน แล้วก็ใส่สารจับใบ เป็นอันดับสุดท้าย 100 ซีซี.

เวลาฉีดต้องกวนสารตลอดจนหมดถัง และควรฉีดวันที่มีแสงแดดและท้องฟ้าแจ่มใส

ข้อสังเกต ในการฉีดสารหลังจากฉีดพ่นแล้ว 3-4 วัน ถ้าไม่มีแดดหรือฝนตกล้าง ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ภายใน 5-7 วัน ให้สาร
15% 1 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร

ขั้นตอนการผสมก็เหมือนกับครั้งแรก
ต่อไปหลังจากพ่นสาร 5-7 วัน ก็เริ่มให้อาหารเพื่อเร่งให้ใบแก่สะสมอาหารได้เร็วขึ้น
1. ใช้ปุ๋ยเกล็ด (10-50-17) 1 กิโลกรัม
แคลเซี่ยม–โบรอน 300 ซีซี.
แมกนีเซียม 300 ซีซี.
คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลทางด่วน) 300 ซีซี.
ยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

2. หลังพ่นครั้งแรก 7 วัน ก็ให้อาหารอีกครั้ง
ใช้ปุ๋ยเกล็ด (0-52-34) 1 กิโลกรัม
ใช้ปุ๋ยเกล็ด (13-06-46) 1 กิโลกรัม
แคลเซียม 300 ซีซี.
แมกนีเซียม 300 ซีซี.
คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลทางด่วน) 300 ซีซี.
ยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

3. หลังจากพ่นครั้งที่ 2 ประมาณ 7 วัน ให้อาหารอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับการกดยอดไปด้วย
ใช้ปุ๋ยเกล็ด (0-42-56) 1 กิโลกรัม
ใช้ปุ๋ยเกล็ด (13-0-46) 1 กิโลกรัม
แคลเซียม 300 ซีซี.
แมกนีเซียม 300 ซีซี.
สังกะสี 300 ซีซี.
เมฟิฟอส 100-200 ซีซี.
สารจับใบ 30-50 ซีซี.



หลังจากนั้นให้อาหารกดยอดไปแล้ว ใบเริ่มแก่เต็มที่แล้ว ก็ทำการตัดแต่งกิ่งอีกครั้งหนึ่ง คือ กิ่งแขนงก็ขึ้นมาใหม่ตามลำกิ่ง และกิ่ง
ที่เห็นว่าไม่ใช้ประโยชน์ ทำการตัดแต่งออกให้หมด เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว ก็ทำความสะอาดใต้ทรงพุ่มหรือกวาดเผาไฟ ให้สะอาด
ทั้งแปลง เพื่อให้พื้นดินแห้งเร็วที่สุด เพื่อพื้นดินแห้งเร็วดอกก็จะออกเร็วขึ้น (หมายเหตุ เราวางแผนกำจัดวัชพืชล่วงหน้าก่อนถึงกำหนด
ทำความสะอาด) หลังจากทำความสะอาดพื้นดินเรียบร้อยแล้ว ก็สำรวจแปลงว่ามีโรค–แมลง ศัตรูที่สำคัญระยะนี้ คือ ไรแดง ต้อง
คอยตรวจดูอย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นพอเริ่มมีดอกออกมาบ้าง ก็ให้ฉีดกระตุ้นตาดอกอีกครั้ง เพื่อให้ตาดอกได้พัฒนาเร็วขึ้น

ใช้ปุ๋ยเกล็ด (13-0-46) 1–1.5 กิโลกรัม
สาหร่าย 400 ซีซี.
น้ำตาลทางด่วน 300 ซีซี.
สารจับใบ 30-50 ซีซี

ฉีดทั้งนอกและในทรงพุ่ม หรือท้องกิ่ง

หลังจากมีการกระตุ้นตาดอก 7-10 วัน จะมีดอกออกมาเต็มที่ ถ้าเห็นว่าดอกยังออกไม่เต็มที่ก็ให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าเต็ม
ที่แล้ว เพียงพอกับความต้องการแล้ว ก็ให้เติมปุ๋ยทางดินอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเร่งดอกให้สมบูรณ์ และเร่งให้มีการแตกยอดพร้อม ๆ กัน

ทุเรียน ถ้าออกดอกและออกยอด ในเวลาเดียวกันนั้นถือว่าสุดยอดของความสมบูรณ์ ปุ๋ยที่ใช้ 15-15-15 หรือ 16-16-16
(2-2.5 กก.)/ต้น แล้วให้น้ำเต็มที่ 5-10 วัน หลังจากนั้นแล้ว ให้ตามปกติจนดอกเข้าสู่มะเขือพวงกลางก็ให้เริ่มทำการตัดแต่งดอก
คือ ดอกที่อยู่ปลายกิ่ง ดอกที่หนาแน่นมากเกินไป ดอกโคนกิ่งและหลังกิ่ง ข้างกิ่งออกเสีย การแต่งดอกเหมือนกับเราจัดระเบียบ
ตำแหน่งผลให้มีระยะห่างกัน ไม่ทำให้ผลเบียดเสียดและยังสะดวกในการดูแลรักษาผลให้มีคุณภาพขายได้ราคาอีกด้วย


การดูแลบำรุงรักษาดอก
หลังจากแต่งดอกแล้ว ให้ฉีดพ่นดอก 1–2 ครั้ง ตามความจำเป็น เพื่อป้องกันโรคแมลง เข้าทำลาย

ดอกทุเรียน และเพิ่มอาหารบำรุงดอก
ยาป้องกันเชื้อรา แอนแทรกโนส ตามอัตราต่อน้ำ 200 ลิตร
ยาฆ่าแมลง ตามอัตรา แคลเซียมโบรอน 300 ลิตร
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

หลังจากนั้นดอกบานถึงระยะหางแย้ไหม้ หรือเท่านิ้วโป้ง ให้ฉีดพ่นอีกครั้ง ป้องกันโรคแมลง (เพลี้ยแป้ง)


ยาป้องกันเชื้อราตามอัตรา
ยาฆ่าแมลง ถ้ามีเพลี้ยแป้ง ใช้คลอไฟร์ฟอส 250 ซีซี.
น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
ฮอร์โมน NAA 10-20 ซีซี.
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

ครั้งต่อไปฉีดพ่นเมื่อผลเท่าไข่ไก่
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 30-20-10 ซีซี. เพื่อบำรุงผล
ใช้ปุ๋ยเกล็ด (30-20-10) 300 กรัม
ยาป้องกันเชื้อราตามอัตรา
แคลเซียม 200 ซีซี.
ฮอร์โมน NAA 10-20 ซีซี.
สารจับใบ 30-50 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
ทำพร้อมกับการให้ปุ๋ยทางดินระยะผลเล็ก


การตัดแต่งผลต้องทำ 2–3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อผลเท่าไข่ไก่ ให้ตัดผลที่ไม่สมบูรณ์ผลใหญ่–ผลที่เป็นช่อออกให้เหลือผลขนาดเดียวกัน
หรือใกล้เคียงกันแต่ไม่ให้มากจนเกินไป ตัดแต่งผลครั้งที่ 2 เป็นระยะเริ่มสร้างเมล็ดประมาณ 1 กก. ให้เริ่มตัดอีกครั้ง ตัดผลที่ไม่
สมบูรณ์ออกให้หมด ถ้าให้ดีมีการนับผลแล้ว กำหนดว่าต้นหนึ่งไว้ได้กี่ผล สมมุติไว้ได้ 100 ผล เราก็ตัดให้เหลือ 120 ผล เพื่อไว้ตัด
แต่งครั้งสุดท้าย 20 ผล ตัดแต่งครั้งสุดท้ายเป็นระยะสร้างเนื้อผล ขนาดประมาณ 2–2 ½ กก. ทำควบคู่ไปกับการแต่งกิ่ง
อีกครั้ง คือ กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ทำมุมอับ กิ่งที่มีใบมากเกินไป แต่งให้โปร่งนิดหนึ่ง เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการดูแลรักษาผลให้
มีคุณภาพที่ดี


ทางดินใช้ปุ๋ย 12-12-17 , 13-13-21, (2-2 1/2 กก.)/ต้น
หลังจากให้ปุ๋ยทางดินระยะผลเล็กไปแล้วจนถึงระยะสร้างเมล็ดให้ฉีดอีกครั้งเพื่อป้องกันโรคแมลงและขยายผล
ใช้ปุ๋ยเกล็ด (21-21-21) 400 กรัม
อาหารเสริมชนิดผง 50-60 กรัม
แคลเซียม 300 กรัม
สารจับใบ 30-50 กรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร

ครั้งต่อไปฉีดพ่นเมื่อผลทุเรียนสร้างเนื้อป้องกันโรค–แมลง
บำรุงผลใช้ปุ๋ยเกล็ด (6-32-32) 400 กรัม
แคลเซียม 200 กรัม
น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร


ยาป้องกันเชื้อราตามความจำเป็น
ยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

การให้ปุ๋ยทางดิน ครั้งที่ 2 เมื่อชุดแรกเข้าสู่ระยะเพสลาดเริ่มแก่ใช้ยูเรีย 1.5 กก. ร่วมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15, 16-16-16,
(2–2 1/2 กก.)/ต้น แล้วต่อไปเมื่อใบชุดที่ 2 เริ่มเข้าสู่ระยะเพสลาด เริ่มแก่เป็นการให้ปุ๋ยครั้งที่ 3 ให้ทำเช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ย
ครั้งที่ 2 ต่อไปเป็นการให้ปุ๋ยครั้งที่ 4 เพื่อเร่งการออกดอก ปุ๋ยที่ใช้สูตร 8-24-24 (2-3 กก.)/ต้น ให้ก่อนออกดอกประมาณ 30-45
วัน หรือหลังจากพ่นสารทันที เพราะหลังจากฉีดสารต้องให้น้ำเต็มที่ 10 วัน หรือใบเริ่มแก่จึงหยุด หลังจากฉีดพ่นระยะสร้างเนื้อจำเป็น
ต้องเติมปุ๋ยทางดิน เพื่อช่วยในการสร้างแป้งและน้ำตาลภายหลังจากสร้างเนื้อ จำเป็นต้องเติมปุ๋ยทางดิน เพื่อช่วยในการสร้างแป้ง
และน้ำตาลภายหลังจากสร้างเนื้อ

ปุ๋ยที่ใช้สูตร 15-15-15, 16-16-16 (1 1/2-2 กก.)/ต้น
หลังจากนั้นผลทุเรียนเริ่มเข้าสู่ระยะสร้างแป้งและน้ำตาลให้เติมปุ๋ยอีกครั้ง เป็นการใส่ครั้งสุดท้าย 30 วัน ก่อนเก็บผลเพื่อให้เนื้อดีมี
คุณภาพ และได้น้ำหนักดีใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 (2-2 1/2 กก.)/ต้น การฉีดพ่นผลต่อไปนี้ฉีด 10-15 วัน/ครั้ง เพื่อป้องกันโรค–
แมลงทำลายผลทุเรียนโดยเชื้อราไฟทอปทอรา ซึ่งทำให้ผลทุเรียนเน่าเสียก่อนเก็บเกี่ยว ช่วงผลโตต้องดูแลเป็นพิเศษเพราะเหลือเวลา
ไม่นานก็จะเก็บขายแล้ว

การฉีดพ่นผลให้อาหารเสริมทางผลตั้งแต่ผลเล็กไปจนถึงผลขนาดกลาง ก็หยุดให้อาหารเสริม ช่วงผลขนาดกลางถึงการเก็บเกี่ยว
เน้นเฉพาะยาป้องกันโรคและแมลง การใส่ปุ๋ยทางดินให้ใส่ครั้งละน้อย และบ่อยครั้งตามช่วงจังหวะของการเจริญเติบโตย่อมดีกว่าการ
ใส่ครั้งละมาก ๆ แต่น้อยครั้ง

นอกจากนี้ เกษตรกรต้องมีหัวใจสำคัญ 5 อย่างคือ
1. เรื่อง พืช
2. รู้เรื่อง เคมี
3. รู้เรื่อง ธรรมชาติ
4. รู้เรื่อง การจัดการ
5. รู้เรื่อง ตลาด


km.doae.go.th/bestpractice/uploadfile/bestranong0001.doc -





การทำนอกฤดูต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีดอกบานในช่วงฝนชุก :

หิรัญ หิรัญประดิษฐ์ และคณะ (2542) ได้ทดลองสารพาโคลบิวทราโซลกับทุเรียนและก่อนใช้สารต้องมีการเตรียมความพร้อมของ
ต้นทุเรียนซึ่งมีปฏิบัติดังนี้ การเร่งให้ทุเรียนแตกใบอ่อนด้วยการตัดแต่งกิ่ง เช่น การตัดแต่งกิ่ง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งแขนงด้านในพุ่มและ
กิ่งเล็กๆ ที่อยู่ส่วนปลายกิ่งออก โดยเฉพาะกิ่งที่ชี้ลงหรือกิ่งที่ชี้ตั้งขึ้น

เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ขนานแนวพื้นไว้ แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 พร้อมให้น้ำ ทุเรียนจะแตกใบอ่อนให้สมบูรณ์ โดย
ป้องกันกำจัดโรคและแมลงไม่ให้ใบถูกโรคและแมลงทำลาย

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลที่มีความเข้มข้น 1,00-15,000 พีพีเอ็ม. (สารชนิด 10% ใช้อัตรา 200-300 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร)
ต้นทุเรียนที่พร้อมจะฉีดพ่นใบต้องเป็นใบแก่ สีเขียวเข้มเป็นมัน มีการแตกใบอ่อนหลายชั้นในช่วงที่ผ่านมา การฉีดพ่นควรฉีดพ่น
ให้ถูกกิ่งอ่อน เป็นตำแหน่งที่สารพาโคลบิวทราโซลจะเข้าสู่พืชได้ดีและสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายไปสะสมและทำปฏิกิริยา

การฉีดพ่นต้องปรับหัวฉีดให้เป็นฝอย ฉีดพ่นทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่มให้เปียกพอสม่ำเสมอและต้องฉีดพ่นให้เสร็จก่อนฝนตก
ประมาณ 2 ชั่วโมง

เมื่อทุเรียนดอกบานต้องช่วยผสมเกสรและควบคุมการให้ปุ๋ยให้น้ำให้พอเหมาะ เมื่อผลทุเรียนโตขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งผลให้เสร็จ
ภายในสัปดาห์ที่ 4 หลังจากดอกบานโดยตัดแต่งผลที่บิดเบี้ยว มีขนาดเล็ก หรือต่างรุ่นออกให้ผลอยู่ในตำแหน่งที่มีระยะห่างที่พอ
เหมาะ เมื่อผลโตขึ้นจะได้ไม่เบียดกัน



http://tanathep2535.blogspot.com/2009_09_01_archive.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 5:51 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/04/2011 6:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ไฟในการบังคับให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดู




บังคับการออกดอกทุเรียนนอกฤดูด้วย "ไฟ + สารเร่ง"

การใช้ไฟในการบังคับให้ทุเรียนออกนอกฤดู เป็นเทคนิคที่ค้นพบด้วยตนเอง โดยเป็นวิธีการที่ใช้เสริมกับการใช้สารเคมีเร่งโดยทั่วไป
ซึ่งจะช่วยให้การทำทุเรียนนอกฤดู ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้



ขั้นตอนการใช้ไฟในการทำให้ทุเรียนออกนอกฤดู :
• ในช่วงที่ทุเรียนแตกยอดอ่อนชุดที่ 2 ให้กวาดโคนต้นให้สะอาด แล้วทำการล่อรากโดยใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 แล้วนำเอาเศษใบไม้
คลุมทับเพื่อให้รากขึ้นมาด้านบน

• ประมาณ 20-25 วัน ฉีดพ่นสารแพกโคบิวทราโซล 15% ในอัตรา 2 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกทั้งนอกและในทรงพุ่ม

• ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน จึงทำการกวาดโคนออกจนกระทั่งเห็นราก โดยสุมกองใบไม้ไว้รอบโคนต้น โดยวางระยะห่างรอบทรงพุ่ม

• งดให้น้ำประมาณ 5 วัน

• ช่วงที่งดให้น้ำให้ทำการเผากองใบไม้รอบทรงพุ่ม โดยมีเทคนิคคือ ห้ามเผาให้เกิดเปลวไฟ โดยให้มีเพียงควันเท่านั้น มิฉะนั้นจะทำให้
เกิดใบเหี่ยว

• หลังจากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 5 วัน ให้ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นตาดอก

• ประมาณ 15 วัน จะเริ่มเห็นตาดอกแทงขึ้นมา


ข้อดีของการใช้ไฟกระตุ้นให้เกิดทุเรียนนอกฤดู :
• ช่วยให้การออกดอกได้เร็วขึ้น
• การออกดอกดีขึ้น มากขึ้น
• ในฤดูฝนจะช่วยทำให้ดินแห้งเร็ว ซึ่งมีผลทำให้ทุเรียนออกดอกได้เร็วขี้น



แหล้งข้อมูล : นายสายัญ ชัยหา ต.เขาไชยราช อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชุมพร


http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=81426&action=edit&joomla=1





ทุเรียน;
ไทโอยูเรีย; โพแตสเซียมไนเตรท; พาโคลบิวทราโซล; การกระตุ้นการออกดอก; ความหนาแน่นของดอก;
ปริมาณดอก; ปริมาณการติดผล

บทคัดย่อ :
ในฤดูการผลิตปี 2531/32 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ทดลองใช้สาร thiourea อัตรา 500 1,000 1,500 ppm และ KNO3
อัตรา 20,000 ppm ฉีดพ่นเฉพาะที่กิ่งภายในทรงพุ่มเมื่อสังเกตุพบดอกทุเรียนในระยะไข่ปลา หลังการฉีดพ่นสาร paclobutrazol
อัตรา 1,000 ppm พบว่าการฉีดพ่นด้วยสาร thiourea ทุกอัตรา และ KNO3 สามารถเพิ่มปริมาณดอกได้มากกว่าการฉีดพ่น
ด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียว 7-44 เปอร์เซ็นต์ โดย thiourea อัตราสูงจะช่วยกระตุ้นให้ต้นทุเรียนออกดอกได้มากกว่า
สาร thiourea อัตราต่ำ

ส่วน KNO3 มีประสิทธิภาพในการชักนำให้ตาดอกของทุเรียนพัฒนาได้น้อยกว่าสาร thiourea อัตรา 1,000 และ 1,500
ppm ปี 2532/33 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีเป็นใช้สาร thiourea อัตรา 1,000 1,500 2,000 3,000 ppm และ
อัตรา 1,500 ppm ร่วมกับ KNO3 อัตรา 15,000 ppm โดยวิธีการอื่นคงเดิม

พบว่าการพ่นด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียวหรือฉีดพ่นด้วยสารpaclobutrazol ร่วมกับสาร thiourea
หรือสาร thiourea และ KNO3 ต่างช่วยให้ต้นทุเรียนออกดอกได้มากกว่าการไม่ได้ฉีดพ่น แต่การฉีดพ่นด้วยสาร thiourea
และ KNO3 ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสาร paclobutrazol ได้ เนื่องจากมีฝนตกมากกว่า 35 มม./วัน ติดต่อกันหลายวัน

ในปี 2533/34 และ 2534/35 ทำการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol อัตรา 1,000 ppm จนต้นทุเรียนเริ่มออกดอกใน
ระยะไข่ปลา ฉีดพ่นด้วยสาร thiourea อัตรา 1,500 และ 3,000 ppm และสาร thiourea ในอัตราดังกล่าวมาร่วมกับทางด่วน
(น้ำตาลเด็กซ์โตรส + กรดฮิวมิค + ปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15) หรือสาร thiourea อัตรา 1,500 ppm ร่วมกับ NAA
อัตรา 22.50 ppm + ปุ๋ย ทางใบ สูตร 15-30-15 หรือ NAA อัตรา 11.25 ppm + ปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15) หรือ
ร่วมกับฟลอริเจนอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ใน 3 แหล่งปลูก ของ จ.จันทบุรี

พบว่า ในปี 2533/34 การฉีดพ่นด้วยสาร thiourea อัตรา 3,000 ppm อย่างเดียว และการฉีดพ่นสาร thiourea ร่วมกับ
สารเคมีชนิดอื่นๆ

ทุกกรรมวิธีสามารถเพิ่มปริมาณการออกดอกของทุเรียนได้มากกว่าการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียวและในฤดู
การผลิตนี้ในขณะที่ทุเรียนกำลังออกดอกในระยะไข่ปลามีฝนตกมากกว่า 10 มม./วัน ติดต่อกันหลายวัน

ในปี 2534/35 การฉีดพ่นด้วยสาร thiourea อย่างเดียวหรือการฉีดพ่นสาร thiourea ร่วมกับสารเคมีชนิดอื่น ไม่สามารถ
เพิ่มปริมาณดอกทุเรียนได้มากกว่าการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียว เพราะในฤดูการผลิตนี้มีฝนตกในขณะที่ทุเรียน
ออกดอกน้อยกว่า 10 มม./วัน และการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol เพียงอย่างเดียวสามารถกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกได้เต็มที่แล้ว


http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb2.exe?rec_id=000910&database=agdb2&search_type=link&table=mona&back_path=/agdb2/mona&lang=thai&format_name=TFMON







การผลิตทุเรียนนอกฤดู

ทุเรียนเป็นผลไม้ ที่มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะถ้ามีการผลิตทุเรียน นอกฤดูอย่างเช่นในเดือนพฤษภาคม
หรือหลังมิถุนายนไปแล้วราคาจะยิ่งแพงขึ้นไป อีกและยังหารับประทานได้ยาก ด้วยเหตุนี้ชาวสวนทุเรียนจึงพยายามทำทุเรียน นอก
ฤดูกันขึ้น ซึ่งมีทั้งที่ประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ ที่ประสบผล สำเร็จและมีชื่อเสียงในขณะนี้ได้แก่ คุณประภัทรพงษ์
เวชชาชีวะ คุณโก เตียงกวง โกศัลล์วัฒนา และคุณสรรเสริญ ศรีพระยา สำหรับหลักการอย่างกว้าง ๆ ในการผลิตทุเรียน
นอกฤดูของเกษตรกรทั้ง 3 ท่านนี้ก็คือ พยายามทำให้ปัจจัยภายในและภายนอก ต้นทุเรียนพร้อม จะออกดอกโดยมีการดูแล
รักษาต้นทุเรียนทั้งในเรื่องของการตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ย ให้น้ำ กำจัด วัชพืช และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรคแมลง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุเรียน
มีความ สมบูรณ์และมีความพร้อมที่จะออกดอกเมื่อถึงเวลาอันสมควร





อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการผลิตทุเรียนนอกฤดูในขณะนี้ก็คือ การที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยบางอย่างในการออกดอกได้ โดย
เฉพาะในเรื่องของสภาพฟ้าอากาศและความหนาวเย็น ยกตัวอย่างเช่น ในบางครั้งที่มีการผลิตทุเรียนนอกฤดูเกษตรกรหรือชาวสวน
สามารถควบคุมหรือ กำหนดปัจจัยพื้นฐานในการออกได้ อาทิเช่น มีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืช จนกระทั่งทุเรียน
มีความสมบูรณ์แต่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยให้ โอกาสที่ทุเรียนออกดอกออกผลมีน้อยมาก ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่
ต้นทุเรียนพร้อมออกดอกแต่มีฝนตกลงมา แทนที่ทุเรียนจะแทงตาดอกออกมาก็จะแตกตาใบขึ้นมาแทน หรือในกรณีที่มีปัจจัยต่างๆ
อยู่พร้อม แต่ไม่มีสภาพความแห่งแล้งและอากาศหนาวเย็น โอกาสที่ทุเรียนออกดอกจะมีน้อยมากเช่นเดียวกัน



ต่อไปนี้จะเป็นแนวคิดและวิธีปรับปัจจัยเพื่อให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดู ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ


วิธีการที่ 1 :
เป็นแนวความคิดในเรื่องของการปรับปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์และพร้อมที่จะออกดอก โดยวีการดังนี้ คือ

1. การเร่งให้ต้นทุเรียนพร้อมที่จะออกผล
การบังคับให้ทุเรียนออกผลนอกฤดูกาลนั้นจำเป็นต้องเร่งให้ทุเรียนมีความพร้อม เสียก่อน ในทางปฏิบัติจะทำได้โดยการใส่ปุ๋ยให้แก่
ต้นทุเรียน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์เร็วขึ้นและพร้อมที่จะออกดอกทันทีเมื่อกระทบ อากาศเย็น การใส่ปุ๋ยให้กับต้นทุเรียน
กระทำเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

ก. การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและบำรุงต้นทุเรียน โดยให้ใส่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปุ๋ยที่ใส่ได้แก่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 3-4
กิโลกรัมต่อต้น การใส่ปุ๋ยให้แบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 2-3 สัปดาห์ การใส่ปุ๋ยในระยะนี้จะทำให้ผลทุเรียนมีคุณภาพดีสำหรับการให้ปุ๋ย
ทุเรียนใน สวนที่มีระบบการชลประทานดีและมีน้ำอย่างเพียงพอ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ซึ่งมีข้อดีคือจะทำให้ขั้วทุเรียน
เหนียวและไม่ร่วงง่าย แต่ถ้าทุเรียนแตกใบอ่อนแล้วให้ใส่ปุ๋ยเพิ่มเป็นสองเท่าและฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 20-20-20 จำนวน 3
ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน จะทำให้ต้นทุเรียนไม่สลัดผลทิ้ง เพราะมีอาหารเพียงพอที่จะบำรุงต้นและผล
ผลทุเรียนที่ได้จะมีขนาดโต

ข. การใส่ปุ๋ยหลังการตัดแต่ง ภายหลังจากที่ได้ตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้วให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น
โดยใส่ในช่วงเดือนกรกฏาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก จะทำให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและจะมีความสมบูรณ์มากขึ้น

ค. การใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งให้ทุเรียนเตรียมออกดอก ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน ให้ใส่ปุ๋ยเม็ดเพื่อกระตุ้นให้ทุเรียน
ออกดอกโดยใส่ปุ๋ยสูตร 6-24-24 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น จะทำให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์และพร้อมที่จะออกดอก

ง.การฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนเร่งการออกดอกและผล ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกและพื้นดินเริ่มแห้ง ให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบแก่
ทุเรียน ปุ๋ยที่นิยมฉีดให้ต้นทุเรียนได้แก่ปุ๋ยสูตร 10-52-17 จำนวน 2-3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบน้ำมีข้อ
ดี คือ ทำให้ต้นทุเรียนได้รับน้ำไม่มากจนเกินไปพอที่จะทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อนได้ นอกจากนี้มีชาวสวนบางรายใช้ฮอร์โมน เอ็น.
เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่าแพลนโนฟิกซ์ ฉีดพ่นในอัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-15 วัน ซึ่งการฉีดพ่นฮอร์โมนดัง
กล่าวจะช่วยให้ทุเรียนมีการสะสมอาหารจำพวกแห้งเพิ่ม มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ทุเรียนมีความพร้อมในการออกดอกและผลได้เร็วขึ้น

2. การปรับสภาพพื้นที่ภายในสวนให้เหมาะสมต่อการออกดอกและผล
การปรับสภาพพื้นที่เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถ
ช่วยเร่งให้ทุเรียนออกดอกได้ เร็วขึ้น และควรทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน ในการปรับสภาพพื้นที่ภายใน
สวนนั้นควรปรับให้มีสภาพดังนี้

ก. ปรับพื้นที่ให้มีการระบายน้ำดี โดยธรรมชาติแล้วไม้ผลที่ขึ้นอยู่ในที่ดินดอนจะออกดอกได้ง่ายและเร็วกว่าต้น ที่ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม
และต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ดินทรายจะออกดอกได้
ง่ายกว่าต้นที่ขึ้นในที่ดินเหนียว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับสภาพพื้นดินเพื่อให้มีการระบายน้ำดี การปรับสภาพดังกล่าวจะทำให้
ทุเรียนหยุดการเจริญทางกิ่งก้านและใบเพื่อเตรียม ตัวสำหรับการออกดอกและออกผลต่อไป

ข. ทำความสะอาดโคนต้นทุเรียน การทำความสะอาดโคนต้นทุเรียนให้กระทำก่อนที่จะหมดช่วงฤดูฝน โดยเก็บเศษใบไม้ ใบหญ้า
ออกให้หมด ซึ่งจะทำให้ดินบริเวณโคนต้นทุเรียนแห้งเร็วและมีอากาศถ่ายเทได้ดีรวมทั้งไม่ เป็นแหล่งสะสมของโรคแมลง

3. ตัดแต่งกิ่งที่งอกออกมาใหม่
ภายหลังจากที่ชาวสวนเก็บผลผลิตหมดแล้วช่วงนี้มักจะมีกิ่งใหม่แตกออกมาเสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ชาวสวนจะต้องทำการตัด
แต่งกิ่งเหล่านั้นทิ้งไปเสีย เพื่อช่วยรักษาทรงพุ่มให้โปร่งและไม่ต้องเปลืองธาตุอาหารโดยไม่จำเป็นสำหรับ กิ่งที่ควรทำการ
ตัดแต่งควรมีลักษณะดังนี้

1. กิ่งที่เจริญออกจากโคนต้นจนถึงความสูง 1 เมตร ให้ตัดแต่งออกให้หมด

2. กิ่งที่เจริญออกจากลำต้นตั้งแต่ระดับความสูง 1 เมตรขึ้นไป ควรปล่อยให้มีการแตกสลับกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้กิ่งเหล่านั้นไม่
บังแสงซึ่งกันและกัน และระยะห่างของกิ่งที่แตกก็ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะช่วยทำให้ทุเรียนมีการแตกใบนอกทรงพุ่มเหมือนกัน
หมด การตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะช่วยให้แสงส่องเข้ามาในทรงพุ่มได้สะดวก ทั้งยังช่วยให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์ ลดความรุนแรงของโรค
รากและโคนเน่าได้อันจะช่วยให้ทุเรียนออกดอกและติดผลได้ เร็วกว่าฤดูปกติอีกด้วย



วิธีการที่ 2 :
เป็นแนวความคิดของคุณโกเตียงกวง โกศัลล์วัฒนา เกษตรกรชื่อดังแห่งจังหวัดจันทบุรี มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. การตัดแต่งกิ่ง
การปลูกทุเรียน เพื่อให้มีผลดกมีคุณภาพดี จำเป็นจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งทุกปี โดยทำในช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวผลทุเรียนเสร็จ
แล้วประมาณ 15-20 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนเข้าสู่ระยะการพักตัว และจะทำการตัดแต่งเฉพาะกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์เท่า
นั้นเช่น กิ่งที่เป็นโรค กิ่งแขนงหรือกิ่งที่แสงแดดส่งไม่ถึง การตัดแต่งกิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์ในแง่ที่ทุเรียนได้รับธาตุอาหาร
อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกระจายอาหารไปยังกิ่งทุกกิ่งบนต้นรวมถึงกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ด้วย

2. การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยทุเรียนสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
ก. การใส่ปุ๋ยทางดิน เป็นการใส่เพื่อให้ทุเรียนได้ใช้ธาตุอาการอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่พอเหมาะ โดยใช้ปุ๋ยที่มีสูตรตัว
หน้าต่ำเช่นสูตร 9-24-24 สำหรับเหตุผลที่ใช่ปุ๋ยสูตร 9-24-24 แทนการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก็เพราะถ้าใส่ปุ๋ยสูตร
15-15-15 ซึ่งเป็นสูตรที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง อาจทำให้ไนโตรเจนตกค้างอยู่ในดินเป็นปริมาณที่มาก ซึ่งมีผลถึงช่วงที่ทุเรียน
ออกดอก จะทำให้มีการแตกใบอ่อนออกมาได้ในทางปฏิบัติแล้วถ้าต้องการให้ทุเรียนแตกใบ อ่อน เช่น ในกรณีต้อง
การให้ทุเรียนแตกใบอ่อนเร็ว เพื่อให้ทุเรียนมีใบแก่และพักตัวเร็วขึ้น จะใช้วิธีฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเลย เพราะให้ผลดีกว่าและ
มีธาตุไนโตรเจนตกค้างอยู่ในดินในจำนวนที่น้อยมาก

ข. การให้ปุ๋ยทางใบ การให้ปุ๋ยทางใบเป็นการให้ปุ๋ยเพื่อให้ต้นทุเรียนใช้ธาตุอาหารได้อย่างรวด เร็ว โดยปกติมักใส่ปุ๋ยสูตร
เสมอ เช่นสูตร 18-18-18 หรือ 20-20-20 แล้วเพิ่มด้วยจิบเบอร์เรลลิน ในอัตราส่วน 100 มิลลิกรัม (2 หลอด) ต่อน้ำ
200 ลิตร เพื่อต้องการเร่งให้ใบชุดแรกออกมาเร็ว ส่วนในครั้งต่อไปให้ใช้ ซีปลาสเอฟ อัตรา 30 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือใช้อีกสูตรหนึ่งแทนก็ได้คือ

- ดีซ (อาหารเสริม) 400 ซี.ซี.
- ปุ๋ยเก็ด (10-52-17) 400 กรัม
- โปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46) 600 กรัม
- น้ำสะอาด 200 ลิตร
- การให้ปุ๋ยหรืออาหารเสริมทางใบนี้จะให้ 2 ครั้ง โดยฉีดพ่นดังนี้

ครั้งที่ 1 ฉีดพ่นในช่วงทุเรียนเข้าสู่ระยะพักตัวไปจนกระทั่วทุเรียนออกดอกและดอก ทุเรียนอยู่ในระยะไข่ปลา แล้วจึงหยุดฉีด
(ควรจะฉีดครบรอบวงจรประมาณ 4-5 ครั้ง)

ครั้งที่ 2 ฉีดเมื่อทุเรียนติดผลเท่ากับไข่ไก่และจะฉีดต่อไปทุก ๆ 15-20 วัน ในแต่ละครั้งที่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบอาจใส่ปุ๋ยทางใบ
เสริมด้วยก็ได้เพื่อให้ผลโต เร็วยิ่งขึ้น ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยสูตร 12-12-17+2

*** การฉีดพ่นปุ๋ยหรืออาหารเสริมทางใบนี้ ควรจะปฏิบัติในช่วงที่ทุเรียนอยู่ในระยะใบเพสลาด ทั้งนี้เพราะทุเรียนจะปรับตัวได้ดี
ทำให้มีการเก็บอาหารได้เพิ่มขึ้นและสามารถแทงตาดอกออกมาได้เร็วขึ้น ในกรณีที่ต้องการจะฉีดพ่นในช่วงใบอ่อนก็สามารถ
กระทำได้ แต่มีผลเสียกล่าวคือปุ๋ยที่ให้จะไปเลี้ยงใบให้เจริญมากเกินไปจนทำให้ตาดอก ออกได้ช้า ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว
ไม่นิยมทำกัน

3. การให้น้ำ
การให้น้ำนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ทุเรียนกำลังติดดอก ฉะนั้นจึงควรมีการปฏิบัติด้วย
ความระมัดระวังและพิถีพิถันโดยมีวิธีการให้น้ำ ดังนี้

ระยะก่อนดอกทุเรียนบาน 15 วันไปจนถึงดอกบานแล้ว 15 วัน ควรให้น้ำจากปลายพุ่มใบเข้าไปประมาณ 1 เมตร โดยให้ใน
ปริมาณที่เท่ากับจำนวนที่เคยให้การให้น้ำวิธีนี้จะทำให้มี เปอร์เซ็นต์การติดดอกดีขึ้นและทุเรียนจะติดดอกที่โคนกิ่งได้มากขึ้น
ซึ่งทำ ให้ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำหรือโยงกิ่ง เหมือนกับกรณีที่ทุเรียนติดดอกบริเวณปลายกิ่งอย่างเช่นกรณีที่ให้น้ำด้วย วิธีอื่น

ระยะต่อไป ให้ทำไปจนถึงปลายพุ่มใบ สำหรับความถี่ความบ่อยครั้งของการให้น้ำนั้น ให้สังเกตจากความชื้นของดินบริเวณ
โคนต้นเป็นหลัก ถ้าดินมีความชื้นสูงก็ไม่ควรให้น้ำ แต่ถ้าความชื้นในดินมีน้อยหรือดินแห้งก็เริ่มให้น้ำได้ การให้น้ำควรระวัง
อย่าให้น้ำถูกลำต้นทุเรียนเพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้ง่าย

*** สำหรับอัตราการให้ปุ๋ยทางดินนี้จะขึ้นอยู่กับอายุของทุเรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ

- ทุเรียนอายุ 8-12 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 2-5 กิโลกรัมต่อต้น
- ทุเรียนอายุ 13-19 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อต้น
- ทุเรียนอายุ 20-30 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 4.5-5 กิโลกรัมต่อต้น
(การใส่ปุ๋ยจะใส่เพียงครั้งเดียงโดยใส่พร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบครั้งแรก)



วิธีการที่ 3 :
เป็นแนวความคิดของคุณประภัทรพงษ์ เวชชาชีวะ ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจากการผลิตทุเรียนกระดุมนอกฤดู สวนนี้เน้นในเรื่องพันธุ์และ
การดูแลรักษาโดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ

1. พันธุ์
พันธุ์ที่เน้นก็คือพันธุ์เบาที่ออกลูกง่าย ติดผลง่าย เช่น พันธุ์กระดุม กบแม่เฒ่า ก้านยาว ชะนี อีลวง สาวน้อยเรือนงาม เป็นต้น

2. การดูแลรักษา
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งและต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีการปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1. การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งทุเรียนจะทำภาย หลังจากที่ทุเรียนให้ผลและเก็บผลไปแล้ว โดยกิ่งที่ทำการตัดแต่งคือ กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่แสงแดด
ส่องไม่ถึงกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่อ่อนแอหรือกิ่งที่ใกล้จะตาย และโดยเฉพาะกิ่งน้ำค้างนั้นเป็นกิ่งที่มีการเจริญเติบโตได้เร็ว และคอย
แย่งน้ำ และอาหารจากลำต้น จึงจำเป็นต้องติดแต่งทิ้งทันที

2. การใส่ปุ๋ย
หลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวผลไปแล้วให้ใส่ปุ๋ยที่มี ไนโตรเจนสูงเนื่องจากผลทุเรียนที่ตัดไปนั้น มีแป้งเป็นองค์ประกอบ และแป้ง
เหล่านั้นก็ได้มาจากอาหารพวกไนโตรเจน ดังนั้นเมื่อทุเรียนสูญเสียแป้งไปมาก ก็ต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเสริมเข้าไป ปุ๋ยที่
ใส่เช่นสูตร 14-14-14 , 15-15-15, 16-16-16 หรือ 20-10-10 ก็ได้ จากนั้นก็ควรฉีดปุ๋ยยูเรียทางใบหรือทางราก
เสริมอีกครั้งหนึ่ง

*** เมื่อถึงช่วงปลายฤดูฝนระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พอฝนเริ่มทิ้งช่วงก็ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ก่อนที่ทุเรียนจะออกดอก
โดยใส่ปุ๋ยสูตรตัวหน้าต่ำเช่น สูตร 6-24-24 , 9-24-24 ซึ่งใช้กับดินทราย แต่ถ้าเป็นดินเหนียว ซึ่งมีโปแตสเซี่ยมสูงอยู่แล้ว
ก็ใช้สูตร 1 : 2 : 1 เช่น 12-24-12 เพื่อให้ทุเรียนเตรียมพร้อมสำหรับการออกดอกต่อไป

3. การให้น้ำ
การให้น้ำทุเรียนจะให้หลังจากที่ฝนทิ้งช่วงในระหว่างปลาย ฤดู คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ทุเรียน
มีการพักตัวและมีสภาพพื้นดินแห้งแล้ง อาจจะเป็น 10-18 วันก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับความสูงของพื้นที่ เช่น ถ้าพื้นที่มีความสูงมาก

การให้น้ำก็จะเร็วขึ้น เมื่อเห็นว่าพื้นดินแห้ง ก็เริ่มให้น้ำ เพื่อกระตุ้นให้ทุเรียนเกิดตาดอก หลังจากให้น้ำไปแล้วต้องคอยสังเกตดู
ว่าทุเรียนแตกตาดอกหรือยัง ถ้ามีการแตกตาดอกแล้ว และเห็นว่าปริมาณดอกมีน้อยอยู่ก็ให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในปริมาณน้อย ๆ
ประมาณ 3-4 วันหลังจากนั้นก็จะเห็นดอกทุเรียนเพิ่มมากขึ้น

*** เมื่อเห็นว่าดอกทุเรียนมีปริมาณเพียงพอแล้วก็ให้น้ำเต็มที่ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามปริมาณดอกทุเรียนจะมีมากหรือน้อย
ยังขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้น การสะสมอาหาร การให้ปุ๋ย การปราบวัชพืชและการตัดแต่งกิ่งด้วย สำหรับวิธีการให้น้ำแก่
ต้นทุเรียนนั้น อาจให้แบบสปริงเกลอร์ หรือใช้สายพลาสติกปล่อยน้ำไปที่โคนต้นก็ได้ ถ้าให้แบบสปริงเกลอร์ อาจจะให้วัน
เว้นวัน หรือทุกวันก็ได้ แต่ถ้าให้วันเว้นวัน ก็ควรให้ในปริมาณที่มากต่อครั้งหนึ่ง ๆ ถ้าให้แบบใช้สายพลาสติกปล่อยน้ำไปที่
โคนต้นทุเรียน ก็ควรให้ประมาณ 5-6 วันต่อครั้ง

4. การฉีดยาป้องกันโรคแมลง
โรคและแมลงนับว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดู กาล ทั้งนี้เพราะในกรณีที่มีการใส่ปุ๋ยไป
แล้ว ทุเรียนจะเกิดใบอ่อนและในช่วงนี้จะมีแมลงมากัดกินเสมอ ดังนั้นปุ๋ยที่ใส่ให้ทุเรียนก็จะถูกแมลงเหล่านี้กินทางอ้อม
ต้นทุเรียนก็ขาดความสมบูรณ์ ซึ่งจะมีผลไปถึงการออกดอกและติดผลต่อไป สำหรับโรคนั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันคือ
ในช่วงฤดูฝนในสภาวะที่มีอากาศชื้น ความชื้นสัมพันธ์สูงนั้น มักจะเกิดโรคระบาดในทุเรียนเสมอ โดยเฉพาะโรครากเน่าและ
โคนเน่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดยาป้องกันและกำจัดอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อม
ที่จะให้ดอกและติด ผลต่อไป



วิธีการที่ 4 :
เป็นแนวความคิดของคุณสรรเสริญ ศรีพระยา ซึ่งเป็นเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีเช่นเดียวกัน สวนนี้จะเน้นในเรื่องการสร้าง
พื้นฐานทางดินและการใส่ปุ๋ยก่อน แล้วจึงเข้าไปสู่สรีระวิทยาของทุเรียนและมีสภาพฟ้าอากาศเป็นส่วนประกอบกล่าว คือ

การใส่ปุ๋ย ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโต ช่วงออกดอกหรือหลังเก็บเกี่ยว แต่
ชนิดของปุ๋ยที่ทุเรียนต้องการจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงต้องค้นหาว่า แต่ละช่วงทุเรียนต้องการปุ๋ยอะไร และให้ปุ๋ยเสริม
จนเพียงพอที่จะออกดอก สำหรับชนิดของปุ๋ยที่ใช้ในสวนทุเรียนนั้นได้แก่ ปุ๋ยสูตร 9-24-24 และอาหารเสริมทางใบ พอ
ทุเรียนเริ่มออกดอกก็ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 พร้อมอาหารเสริมทางใบและปุ๋ยทางใบสูตร 10-52-17 การให้อาหารเสริม
ในช่วงที่ทุเรียนกำลังออกดอกและติดผลนี้มีความสำคัญมาก เพราะจะมีผลถึงการติดผลและการขยายขนาดของผลหรือ
ความสมบูรณ์ของผล



วิธีการที่ 5 :
เป็นการใช้สารเคมีเร่งดอกทุเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลทุเรียนก่อนฤดูหรือต้นฤดู ดังนั้นหากมีการผลิตทุเรียนออกมาจำหน่าย
ได้ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ก็จะจำหน่ายได้ในราคาสูงมาก สารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเร่งดอกทุเรียนก็ คือ

สารพาโคลบิวทราโซล แต่วิธีการใช้สาร ที่เหมาะสมกับทุเรียนจะแตกต่างจากมะม่วงและมะนาว จากงานทดลองต่าง ๆ ของ
นักวิชาการสรุปได้ว่าการใช้สารพาโคลบิวทราโซลความเข้มข้น 1,000 พีพีเอ็ม พ่นต้นในระยะใบอ่อน จะทำให้ทุเรียนออก
ดอกได้ภายใน 2 เดือนหลังจากการพ่นสาร อย่างไรก็ตามในกรณีของทุเรียนนี้เรื่องความสมบูรณ์ของต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก
ถ้าต้นไม่สมบูรณ์เพียงพอก็จะไม่ตอบสนองต่อสารนี้ เท่าที่มีการศึกษาเรื่องนี้ในปัจจุบัน พอสรุปได้ว่าพันธุ์ที่เติบสนอง
ต่อสารได้ดี คือ พันธุ์ชะนี ส่วนพันธุ์อื่นยังไม่มีข้อมูลที่เด่นชัด จึงยังไม่สามารถแนะนำให้ใช้กับพันธุ์อื่น




http://blog.taradkaset.com/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/05/2011 10:08 am, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/04/2011 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิต มังคุด นอกฤดูกาล


คงไม่มีใครไม่รู้จัก “มังคุด” ราชินีผลไม้ที่แสนจะอร่อยและเป็นผลไม้โปรดของใครหลายๆคน โดยปกติมังคุดจะออกดอกตามฤดูกาล
แต่เมื่อถึงในฤดูกาลมังคุดจะแก่ และ ออกจากสวนพร้อมๆกันจนล้นตลาด อีกทั้งยังมีระยะเวลาการเก็บรักษาที่สั้นมาก ทำให้จำหน่าย
ได้ราคาต่ำ ดังนั้นการผลิตมังคุดนอกฤดูกาลจึงเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้แก่เกษตรกรได้อีกวิธีหนึ่ง

แต่หากว่าใครกำลังคิดจะทำ การผลิตมังคุดนอกฤดูกาล คงต้องศึกษาขั้นตอนการทำให้ละเอียด วางแผนการทำงานให้ชัดเจน และเตรียม
หาวิธีการรับมือธรรมชาติที่แปรปรวนเอาไว้ด้วย การผลิตมังคุดนอกฤดูกาล จะเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสวนหลายๆคนคงจะเริ่มต้น
บำรุงต้นบำรุงใบ เพื่อรองรับการผลิตในรอบปี ทั้งการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง และอื่นๆ และจะทำการดูแลต้นมังคุดอย่างเอาใจใส่เป็นอย่างดี
ไปจนถึงเดือนธันวาคม และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตมังคุดนอกฤดูกาล ในเดือนมกราคม ปีถัดไป

ปฏิทิน การผลิตมังคุดนอกฤดูกาล
- เดือน ธันวาคม – เดือนมกราคม เป็นช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตนอกฤดูกาล

- เดือน กุมภาพันธ์ ให้เราเริ่มต้นบำรุงต้นบำรุงใบ เพื่อรองรับการผลิตในรอบปี โดยการ ตัดแต่งกิ่งของมังคุด ใส่ปุ๋ยและให้น้ำมาก
ประมาณ 60% โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหน้าสูง เพื่อเร่งใบชุดที่ 1 ชักนำให้แตกใบอ่อนหลังเก็บเกี่ยว 2 อาทิตย์

- เดือน มีนาคม ให้ฉีดยาป้องกันหนอนกัดกินใบ และ เพลี้ยไรแดง

- เดือน เมษายน จะเกิดใบชุดที่ 2 ช่วงนี้ควรให้น้ำ ใส่ปุ๋ยเร่ง นับเป็นเวลา 14-16 สัปดาห์ หรือ 100 วัน หลังจากนั้น งดให้น้ำ เป็น
เวลา 9 สัปดาห์ หรือ 2 เดือนครึ่ง

- เดือน มิถุนายน หลังจากเรางดให้น้ำแล้ว จะสังเกตเห็นลักษณะของมังคุดแล้งน้ำจนกิ่งปล้องที่ 2 เหี่ยว ถ้าจะเห็นให้ชัดเจนให้ดูที่
ปลายใบสุดจะมีอาการใบตก ให้เกษตรกรให้น้ำครั้งแรกประมาณ 30-40 มิลลิเมตร พร้อมกับ ฉีดพ่นปุ๋ยเร่งให้ชุ่มทั้งต้น
ถ้ามังคุดยังไม่ออกดอกควรให้น้ำอีกครั้งห่างกัน 7-10 วัน จำนวนน้ำที่ให้ประมาณ 17.5- 20 มิลลิลิตร

- เดือน กรกฎาคม มังคุดก็จะออกดอก

- เดือน สิงหาคม ถึง เดือน พฤศจิกายน เกษตรกรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

- เดือน กันยายน ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอเพื่อบำรุงต้นและผล และควรใส่ปุ๋ยที่มีเลขหลังสูงเพื่อบำรุงผลมังคุด และ ยังคงให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
จนถึงเดือนพฤศจิกายน

- เดือน ธันวาคม – เดือนมกราคม ก็สามารถเก็บเกี่ยวมังคุดไปขายได้ รวมระยะเวลาตั้งแต่ มังคุดเริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผล
ผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน


หมายเหตุ
สำหรับการใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องวัดรอบทรงพุ่มของมังคุดด้วย คือ ถ้าทรงพุ่มมีขนาด 3 เมตร ให้เราใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม หรือเทียบได้ คือ
3:1 ให้เราหว่านให้รอบทรงพุ่มห่างจากต้น 1 เมตร


(ข้อมูล โดย เกรียงศักดิ์ ขุนฤทธิ์, ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช)

จะเห็นได้ว่าการผลิตมังคุดนอกฤดูกาลนั้น จำเป็นต้องอาศัยการเอาใจใส่ดูแลตลอดทั้งปี แต่ก็คุ้มค่ากับราคาผลผลิตที่ได้

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการผลิตมังคุดนอกฤดูกาลนั้นต้องอาศัยการดูแลใกล้ชิด หากต้นมังคุดไม่ออกดอกตามระยะเวลาที่คาด
อาจจะไม่ได้ผลผลิตตามที่หวังไว้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสต้นจะทรุดโทรมจนไม่สามารถผลิตได้ในฤดูกาลถัดไป อีกทั้งยังมีต้น
ทุนการใช้ปุ๋ยพอสมควร

ดังนั้นแล้วในบทความถัดไปจะแนะนำการผลิตมังคุดนอกฤดูกาล โดยใช้ เอทีดี อะมิโน ซึ่งเป็นสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช จาก
ธรรมชาติ ที่จะช่วยป้องกันปัญหาข้างต้นได้เป็นอย่างดี

http://www.npknetwork.com



ปี 2541 เขาเริ่มทดลองทำ มังคุดนอกฤดู ด้วยวิธีของตัวเอง โดยอาศัยประสบการณ์และไปเห็น
ต้นมังคุดของเพื่อนบ้าน ที่ปลูกติดกับบ่ออาบน้ำจะไม่ค่อยออกดอกออกผลเหมือนกับต้นอื่น ๆ

เขานำสิ่งที่พบเห็นไปขบคิดและก็ได้ข้อสรุปว่า มังคุดน่าจะผลิตผลนอกฤดูได้ จึงทดลองทำและก็ประสบความสำเร็จดังที่คิดไว้
โดยใช้หลักการให้น้ำในช่วงก่อนมังคุดเริ่มแตกยอดดอก เมื่อต้นสมบูรณ์มันแตกกิ่งแตกใบแทน

มิแปลกที่สวนมังคุดของเขาจะติดตั้งระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ทุกต้น
"ทุกครั้งที่เราเก็บผลผลิตออกขายแล้ว ก็ตัด
แต่งกิ่งเล็กน้อย และใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ประมาณ 3 กิโลกรัม ต่อต้น ทั้งนี้เพื่อเร่งให้ออกยอด หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว ใบ
มังคุดก็เป็นเพสลาด เราก็ใส่ปุ๋ยสูตร 0-24-24 อีกครั้ง จากนั้นอีก 2 เดือน หรือใบแก่จัดแล้ว เราก็หยุดให้น้ำและกวาดใบใต้
โคนแห้ง เพื่อให้พื้นดินแห้งสนิท ประกอบกับในช่วงนี้ที่นี่ส่วนใหญ่ฝนได้ทิ้งช่วงให้พอดี เมื่อพื้นดินแห้ง ใบเริ่มเหี่ยว ธรรมชาติ
ของต้นไม้ต้องให้ลูก เพื่อสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป หลังจากนั้น เรารดน้ำต่อไป" ผู้ใหญ่ดำ กล่าว

มังคุดนอกฤดูที่นี่จะให้ผลผลิตตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์
มังคุด 400 ต้น ปลูกบนเนื้อที่ 20 ไร่ ของ
ผู้ใหญ่ดำ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาให้ผลผลิต 9 ตัน และส่วนใหญ่เป็นมังคุดที่มีคุณภาพเกือบทั้งนั้น

สำหรับราคารับซื้อนั้น ต่ำสุด 48 บาท ต่อกิโลกรัม สูงสุด 148 บาท โดยเฉลี่ยทั้งฤดูกาลตกอยู่ที่ 60 บาท ต่อกิโลกรัม

"หากเราทำมังคุดในฤดูกาล ตกอยู่กิโลกรัมละ 10 บาทเศษๆ ทำนอกฤดูกาลนี้คุ้มค่าหลายเท่าตัว แต่ที่จังหวัดอื่น โดยเฉพาะภาค
ตะวันออก เข้าใจว่าทำไม่ได้ เพราะว่ามีฝนตกในช่วงกลางปี ทำให้ไม่สามารถควบคุมให้ต้นมังคุดออกดอกได้ สู้พื้นที่ภาคใต้โดย
เฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ได้ ช่วงกลางปีฝนจะทิ้งช่วงนาน" ผู้ใหญ่ดำ กล่าว

ไม่เพียงที่ผู้ใหญ่ดำทำมังคุดนอกฤดูได้แล้ว เขายังควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ด้วย ดังนั้น พ่อค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เข้ามาติดต่อซื้อถึงบ้านเลยทีเดียว

"ส่วนใหญ่มังคุดจากสวนของผม มีพ่อค้าเข้ามาซื้อเพื่อการส่งออกทั้งนั้น และบางครั้งผมทำหน้าที่วิ่งไปติดต่อบริษัทส่งออก
โดยตรงด้วย ทั้งนี้เพื่อตัดพ่อค้าแม่ค้าคนกลางออกไป ซึ่งที่ผ่านๆ มา การทำมังคุดนอกฤดูไม่มีปัญหาด้านการตลาดเลย"
ผู้ใหญ่ดำ กล่าวทิ้งท้าย

http://clinictech.wu.ac.th/detail.php?id=151


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/08/2020 6:42 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/04/2011 10:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




โดย ...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวี เสรฐภักดี



ในช่วงระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา การตลาดของมะนาวในประเทศไทยยังมีรูปลักษณ์ ที่มิได้มีการ เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมแต่อย่างใด
โดยจะพบว่ามะนาวมีผลผลิตที่ออกสู่ตลาด เป็นจำนวนมาก ในช่วง ระหว่างเดือน พฤษภาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน เมื่อปริมาณของผลมะนาว
ที่ผลิตได้มีจำนวนมากจึงทำให้ราคา ที่เกษตรกรจำหน่ายได้ตกต่ำลงอย่างมากจนเกือบไม่มีราคา ในทางตรงข้ามราคาของ ผลมะนาว เริ่ม
ขยับสูงขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไปและมีราคาสูงที่สุด ในช่วง ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนอันเรียกกันทั่วไปว่า "มะนาวหน้าแล้ง"
ซึ่งย่อมเป็นสิ่งที่ แน่นอนว่า เมื่อผลิตผลของมะนาวที่เข้าสู่ตลาดมีปริมาณน้อยถึงน้อยมาก ส่งผลให้ราคามะนาวที่ เกษตรกรจำหน่ายได้
มีราคาสูงมากขึ้นหลายสิบเท่าตัว วงจรดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ติดต่อกัน มาทุกปีจากอดีตถึงปัจจุบันโดยยังไม่สามารถที่จะแก้ไข
ปัญหาได้

เกษตรกรและนักวิชาการจำนวนมากได้พยายามศึกษาค้นคว้าและทดลองโดยกรรมวิธีต่างๆ ในอันที่จะให้ได้มาซึ่งวิธีการของ การผลิต
มะนาวนอกฤดู อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่ามีข้อมูลใดที่สัมฤทธิผลอย่างเต็มที่ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล จากผลการทดลอง
ต่างๆ หลายเรื่องร่วมกับหลักการสำคัญทางสรีรวิทยา และประสบการณ์ที่ได้ศึกษามา โดยนำมาประกอบกันขึ้น เป็นข้อมูล สังเคราะห์ที่ต่อ
เนื่องระหว่างผลของการศึกษาต่างๆ ในอันที่จะหาวิธีการผลิตมะนาวนอกฤดูอย่างเป็นระบบต่อไป เพื่อให้ได ้ประสิทธิผลสูงสุดตามวัตถุประสงค์
อนึ่ง ใคร่ขอย้ำเตือนในที่นี้ว่า การผลิตมะนาวนอกฤดูให้ประสบผลสำเร็จนั้น ไม่มีสูตร สำเร็จรูป ทั้งนี้ต้องเข้าใจถึงธรรมชาติ ของต้นมะนาวเ
ป็นอย่างดีเสียก่อนรวมทั้งมีการจัดการด้านเขตกรรมต่างๆ อย่างถูกต้อง โดยนำสิ่ง เหล่านี้มาประกอบเข้าด้วยกันจึงจะสัมฤทธิผลได้ โดยขอ
ลำดับสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้








ในรอบ 1 ปี ต้นมะนาวที่ออกตามฤดูกาลนั้นสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (วงจรที่ 2) ต้นมะนาว มีการออกดอก ในช่วงระหว่าง
เดือนสิงหาคม - กันยายน อายุของผลมะนาวที่นำมาใช้ประโยชน์จากน้ำคั้นได้นับตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง ประมาณ 4.5 ถึง
5.5 เดือน โดยในระยะเริ่มแรกเมื่อเปลือกเริ่มบางลง ซึ่งตรงกับระยะที่ผล มีขนาดโตพอที่เก็บเกี่ยวได้ แล้วเมื่อประมาณ 4.5 เดือน และเริ่ม
เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง เมื่ออายุ 5 เดือน และเหลืองสดในระยะสุดท้ายก่อนร่วงหล่นไป ดังนั้น ผลมะนาวจึงมีช่วงอายุการเก็บเกี่ยวที่ยืดหยุ่น
บนต้นได้ประมาณ 1 เดือน โดยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคมีความต้องการผลมะนาว ที่เป็น สีเขียวมากกว่าสีเหลือง อย่างไรก็ตาม หากเป็นช่วงฤดู
หนาวในระหว่างเดือนธันวาคมหรือมกราคมนั้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงทำให้ ผลมะนาว มีการเปลี่ยนแปลงสีที่รวดเร็วมาก จึงทำให้ผลสุกและร่วงได้เร็ว
ยิ่งขึ้น ต้นมะนาว มีดอกชุดสุดท้ายประมาณ ปลายเดือน ธันวาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งผลชุดนี้จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ เดือนพฤษภาคมเป็นต้น
ไปอันเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลปกติ ต้นมะนาว จะมีดอก ที่เป็นชุดใหญ่อีกครั้ง (วงจรที่ 1) ประมาณปลายเดือน มีนาคมและเมษายน เมื่อผ่านช่วง
ของฤดูแล้งและได้รับฝนติดตามมา การเก็บเกี่ยว ของผลมะนาวในรุ่นนี้จะตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และมีการออกดอกมากอีกครั้ง
ในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน ซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะสิ้นสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม อันเป็นช่วงปลายของฤดูกาล ของมะนาว
และราคาของ ผลมะนาวจึงเริ่มเขยิบตัวสูงขึ้น ตั้งแต่ในช่วงนี้เป็นต้นไป ดังนั้น หากชาวสวนผู้ใดต้องการการผลิตให้มะนาว ออกนอกฤดูได้ก็
จำเป็นต้องหากรรมวิธีในการหลีกเลี่ยง หรือสร้างจุดเหลื่อมหรือใช้วิธีการ ยับยั้งช่วงวงจรของการออกดอกครั้งใหญ่ทั้งสองนี้ให้ได้









การออกดอกของพืชในกลุ่มส้ม (citrus) ซึ่งรวมทั้งมะนาวนั้นโดยปกติมักเกิดขึ้นพร้อมกับ ยอดอ่อนที่ผลิขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ
กรณียังพบว่าต้นมะนาวมีการออกดอกแตกต่าง ออกไปจากสภาวะนี้ โดยที่ดอกมะนาวนั้นสามารถแบ่งระดับชั้นของคุณภาพ (ซึ่งเกี่ยวข้อง
กับการติดผลและขนาดของผล) ได้เป็น 3 ระดับดังนี้ คือ

(1) ดอกที่เกิดพร้อมกับปลายยอดอ่อนที่ผลิใหม่ จัดเป็นดอกที่มีคุณภาพสูงที่สุดเนื่องจาก มีใบอ่อนผลิขึ้นมาใหม่ (ซึ่งใบเหล่านี้มีความ
สามารถในการสร้างอาหาร หรือการสังเคราะห์แสงสูง) มาช่วยในการเจริญเติบโตของตัวดอกอันรวมถึง การติดผลด้วย

(2) ดอกที่เจริญจากตาข้างของใบที่แก่หรือใบที่มีอายุมากกว่า 1 ฤดูกาล ดอกเหล่านี้ถือเป็นดอกที่มีคุณภาพรองลงมา สาเหตุอาจเนื่องมาจาก
ขณะที่มีการผลิใบอ่อนนั้น สภาพต้นยังไม่สมบูรณ์หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น มีฝนตกมาก หรือใบถูกโรคแคงเกอร์หรือหนอนชอน
ใบเข้าทำลาย เมื่อต้นกระทบแล้งอีกครั้ง หรือ มีการชักนำการออกดอกอีกครั้ง ก็จะมีการสร้างตาดอก จากตาข้างของกิ่งเหล่านั้น ในบางกรณี
พบว่า กิ่งที่เจริญขึ้นมาเหล่านี้มีสภาพของกิ่ง ใบและดอกที่สมบูรณ์ หากแต่ดอกเหล่านั้นไม่มีการติดผลหรือมีการ ติดผลแล้วผลอ่อนหลุดร่วง
ไป ดอกที่เกิดจากกิ่ง ลักษณะดังกล่าวนี้ยังกล่าวได้ว่า มีคุณภาพสูงเช่นกัน แต่ในอีกหลายกรณีก็พบว่ากิ่งที่เจริญขึ้นมามีลักษณะอวบใหญ่
แข็งแรงมากอันสืบเนื่องจากเป็นสภาพ ของกิ่งกระโดง (sucker) กิ่งเหล่านี้จะไม่มีการออกดอกในช่วงระยะแรก แต่เมื่อกิ่งมีขนาดยาวมาก
ขึ้นน้ำหนักกิ่ง ทำให้กิ่งห้อยย้อยลง สภาพของการเป็นกิ่งกระโดงก็หมดลง กิ่งจึงมีการออกดอกจากตา ข้างเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตามโครงสร้างของพุ่มต้น ก็สูญเสีย รูปทรงที่ดีไปด้วยและพุ่มต้นมีแนวโน้มเจริญไปในทางสูงขึ้น

(3) ดอกที่เกิดจากกิ่งที่ไม่มีใบ จัดเป็นดอกที่มีคุณภาพเลวที่สุด เนื่องจากไม่มีใบในการช่วยสร้างอาหาร มักพบเป็นดอกตัวผู้ (ไม่มีเกสรตัว
เมียหรือลีบไป) ค่อนข้างมากหรือเกือบทั้งหมด โอกาสที่จะติดผลได้จึงต่ำมากและผลที่ได้มักมีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์ การออกดอกใน
ลักษณะนี้พบในต้นที่ไม่สมบูรณ์หรือมีการใช้วิธีการทำลายใบให้ใบร่วง ดอกที่เกิดขึ้นมาในบางครั้งพบว่ายอดเกสรตัวเมีย (stigma) เจริญ
โผล่พ้นส่วนของกลีบดอกตั้งแต่ในระยะก่อนดอกบาน โอกาสของการติดผลจึงต่ำมาก





ต้นมะนาวมีการออกดอกได้ดีเมื่อผ่านช่วงของความแล้งมาระยะหนึ่งโดยใช้ระยะเวลาระหว่าง 20-30 วัน ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่ ความสมบูรณ์
ของต้น ขนาดของทรงพุ่มต้นและสภาพของดิน หากเป็นดินทรายย่อมได้เปรียบมากกว่า ดินเหนียวและสามารถ ชักนำ ให้เกิดสภาพแล้ง
ให้กับระบบรากได้เร็วกว่า บางครั้งใช้เวลาเพียง 10 วันก็เพียงพอ การปฏิบัติดูแลรักษาเพื่อ ช่วยให้ผิวดิน มีโอกาส ได้สัมผัสกับลม และแดด
เช่น การตัดแต่งกิ่งให้พุ่ม ต้นโปร่ง การกำจัดวัชพืชใต้พุ่มต้น ระยะที่ใช้ปลูก ฯลฯ หากมีการนำวิธีการต่างๆ เหล่านี้มาใช้ร่วมกันก็จะเป็นการ
ช่วยให้ มีประสิทธิผลของการชักนำ สภาพแล้งได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้หากต้นมะนาว มีสภาวะต้นที่ สมบูรณ์ ก็สามารถที่จะ มีการออกดอกได้
ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่มีช่วงแล้งก็ตาม โดยอาจพบต้นสามารถออกดอกได้ทั้งที่เป็นคุณภาพ ของดอกประเภทหนึ่งหรือสองก็ได้ อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่ควรจดจำไว้ให้มากสิ่งหนึ่งคือ มะนาวจะไม่มีการออกดอกในกิ่งที่มีการติดผลอยู่ ดังนั้น หากต้องการให้กิ่งมีการออกดอกในช่วงที่ต้อง
การตามที่กำหนดไว้ ก็จำเป็นที่จะต้องกำจัดดอกหรือผลอ่อน ในกิ่งเหล่านั้น ออกไปให้หมดสิ้นเสียก่อน






ในด้านที่เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของต้นมะนาวเพื่อใช้สำหรับชักนำให้สามารถออกดอก และติดผลของการผลิตนอกฤดูนั้น จำเป็นที่จะ
ต้องใช้หลายๆ ลักษณะเข้ามาร่วมกัน ทั้งนี้โปรดอย่าได้ลืมนึกถึงความสมบูรณ์ของต้นอันเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักด้วย โดยสิ่ง สำคัญๆ มีดังนี้


(1) การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วถึงด้านการออกดอกของต้นที่มีในฤดูกาลใหญ่อยู่ 2 ระยะ รวมทั้ง
กิ่งที่มีผลผลิตติดอยู่ก็ไม่สามารถ ออกดอกได้อีกด้วย ดังนั้น การที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้อง กำจัดดอกและ
ผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออก ทิ้งไปเสียก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไป ได้บางส่วนแล้ว ยัง
เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ภายหลังจากตัดแต่งแล้ว ดอกและผลอ่อน ที่เหลือก็สามารถใช้
สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือฮอร์โมนมาช่วยได้ หรืออาจกระทำการพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อกำจัดดอกและผลอ่อนให้หลุด
ร่วง ไปก่อนแล้วจึงดำเนินการตัดแต่งกิ่งในภายหลัง พร้อมทั้งกำจัดผลที่ยังเหลือตกค้างอยู่ออกไป การตัดแต่งกิ่งเพื่อกำจัดดอก และผลอ่อน
พร้อมทั้งการกระตุ้นให้เกิดยอดใหม่นั้น ไม่ควรตัดลึกมาก ควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่งระดับ 5-10 ซม. หากตัดลึกมากแล้วจะเกิดกิ่งกระโดง
แทน ทำให้เสียโอกาสการออกดอกไป

สารควบคุมการเจริญเติบโตเหล่านี้เท่าที่มีรายงานผลการทดลองใช้เพื่อการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาวนั้นมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ NAA
เข้มข้น 2,000 ppm 1/ สามารถปลิดดอกและผลอ่อนในระยะกลีบดอกโรย (petal fall) และระยะที่ผลมีอายุ 2-3 สัปดาห์ได้ดีกว่า
ระยะที่เป็นตาดอกและระยะดอกบาน อย่างไรก็ตาม การใช้ NAA ในความเข้มข้นระดับนี้ ไม่สามารถกำจัดดอก และผลอ่อนให้หมดไปได้
ตามต้องการ การใช้ความเข้มข้นที่สูงมากกว่านี้อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษกับต้นมะนาวได้ สารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดหนึ่งที่ใช้ใน
การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว


--------------------------------------------------------------------------------
1/ NAA 2000 ppm เตรียมจาก NAA 4.5 % โดยใช้จำนวน 888 มล. ผสมน้ำ 20 ลิตร



ดอกที่เกิดจากตาข้างของกิ่งแก่ที่มีใบสมบูรณ์



ดอกที่เกิดจากกิ่งที่ไม่มีใบ



ดอกที่เกิดจากกิ่งที่ไม่มีใบดอกมีขนาดเล็ก
และไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นดอกตัวผู้



ดอกที่เจริญขึ้นมาจากกิ่งที่ไม่สมบูรณ์
หรือกระทบช่วงแล้ง ดอกมีเกสรตัวเมีย
เจริญโผล่พ้นส่วนของตาดอกออกมา



ต้นมะนาวที่มีผลติดอยู่จะไม่มีการออกดอก



กิ่งที่มีช่อดอกและผลอ่อนภายหลัง
การฉีดพ่นด้วยสาร NAA



ดอกที่เกิดจากตาข้างของกิ่งแก่ที่มี
ใบสมบูรณ์




ดอกที่เกิดพร้อมกับการผลิยอดอ่อน



ช่อดอกและผลอ่อนที่หลุดร่วงไปใน
กิ่งที่พ่นด้วยเอทธีฟอน



ระยะดอกบานสามารถปลิดออกได้ดี
ด้วยเอทธีฟอน



ผลที่มีขนาดใหญ่อายุมากกว่า 1 เดือน
ยากต่อการปลิดด้วยสาร



ระยะกลีบดอกโรย (ผลอ่อน) สามารถ
ปลิดออกได้ดีด้วยเอทธีฟอนเช่นกัน


จัดทำโดยครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
โรงเรียสตรีศรีสุริโยทัย เขตสาทร กทม.

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/agri/tree/sec01p04.html



มะนาวหน้าแล้ง

- ปกติ (ในฤดู) เริ่มทะยอยออกดอก-กุมภาพันธ์-เมษายน
- หลังจากนั้น 6 เดือน (กรกฎาคม-กันยายน) เก็บผลผลิตได้
- นิสัยออกดอก ต้องผ่านช่วงแล้ง (ขาดน้ำ) จนใบร่วง แล้วจึงจะแตกใบใหม่ พร้อมออกดอก
- กุมภาพันธ์-เมษายน มะนาวราคาแพงที่สุด


เทคนิคการทำนอกฤดู ต้นมะนาว ต้องอายุ 2 ปีขึ้นไป และสมบูรณ์ แข็งแรง
1. ต้นฤดูฝน ตัดปลายกิ่งออกประมาณ 1-3 นิ้ว ทั่วทั้งต้น
2. ให้น้ำ ในช่วงขาดฝน
3. หลังจากตัดกิ่งได้ 1 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือใกล้เคียง (ตัวกลางสูง) อัตรา 1 กระป๋องนมต่อต้น รอบชายพุ่ม
4. หลังจากนั้น มะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อนชุดใหม่ พร้อมดอกอ่อน ในฤดูฝนตอนปลาย (กันยายน-ตุลาคม) หลังจากนั้น 6 เดือน
(กุมภาพันธ์-เมษายน) ก็เก็บผลผลิตได้


http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/off22.html





วิธีการบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูกาล


มะนาวเป็นพืชที่ไวต่อการขาดน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ชัดในช่วงที่มะนาวมีใบแก่จัด ถ้าปล่อยให้ขาดน้ำ ใบจะร่วงหล่นเร็วมากและจะแสดงอาการ
คล้ายจะตาย แต่ถ้าให้น้ำและปุ๋ยไปบ้าง มะนาวจะแตกใบใหม่และออกดอกตามมา และเมื่อใดที่ได้รับน้ำและปุ๋ยอย่างเพียงพอมะนาวจะ
แตกกิ่งใหม่ได้มาก ใบจะเขียวสดอยู่ได้นานและไม่ค่อยมีการออกดอกติดผล จากพฤติกรรมดังกล่าวจึงได้มีผู้คิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อ
บังคับให้มะนาวออกดอกได้คราวละมาก ๆ เช่น

1. ใช้วิธีตัดแต่งกิ่งหรือปลายกิ่งออกประมาณ 1-2 นิ้วทั้งต้นแล้วจึงมีการใส่ปุ๋ยเพื่อกระตุ้นให้เกิดการออกดอกขึ้น

2. ใช้วิธีการรมควันเพื่อให้ใบร่วงแล้วแตกใบใหม่พร้อมกับให้ดอกตามมาภายหลัง

3. ใช้ลวดเล็ก ๆ รัดโคนกิ่งใหญ่เพื่อให้มะนาวมีการสะสมอาหารเตรียมพร้อมที่จะออกดอก

4. งดการให้น้ำเพื่อทำให้ใบเหี่ยว แล้วกลับมารดน้ำและใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก

5. ปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกประมาณ 3-4 วัน แล้วจึงระบายน้ำออก

6. ใช้น้ำอุ่นค่อนข้างร้อนฉีดให้ใบร่วง

7. ใช้ปุ๋ยยูเรีย 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักละลายน้ำฉีดให้ใบไหม้และร่วง แล้วจึงใส่ปุ๋ยเร่งเพื่อให้มีการเกิดดอก

วิธีการตามที่ได้กล่าวมานี้ บางวิธีอาจทำให้มะนาวทรุดโทรมและตายได้หรือให้ผลผลิตแล้วตายไปเลย และบางวิธีก็ไม่เหมาะกับการปฏิบัติ
รักษาต่อมะนาวที่ปลูกไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นวิธีการที่ทำให้มะนาวออกดอกในหน้าแล้งโดยที่ไม่ทำให้มะนาวทรุด
โทรมจนเกินไป ดังต่อไปนี้


วิธีที่ 1
งดการใช้น้ำชั่วระยะหนึ่งเพื่อปล่อยให้ใบเหี่ยว เมื่อใบเหี่ยวก็ให้น้ำเล็กน้อยสักหนึ่งวัน และเมื่อเห็นว่าต้นมะนาวมีการฟื้นตัวดีแล้วค่อยให้
น้ำมาก ๆ ติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน จนดินชื้น แล้วจึงใส่ปุ๋ยเร่งดอกที่มีตัวกลางสูงเช่น ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-27-27 ประมาณ
1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรืออาจใส่กระดูกป่นลงไปด้วยก็ได้ นอกจากนี้อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยขี้หมูประมาณ 60 กิโลกรัม กระดูกป่น 6 กก. และ
โปแตสเซียมซัลเฟต 3 กก. ผสมเข้าด้วยกันแล้วใส่รอบโคนต้น จะได้ผลดีเช่นเดียวกัน


วิธีที่ 2
งดการให้น้ำประมาณ 7-15 วัน แล้วจึงทำการตัดแต่งกิ่งออกประมาณ 1-2 นิ้ว ให้ทั่วทั้งต้น การตัดแต่งกิ่งนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มะนาว
แตกกิ่งวิธีนี้จะใช้เพื่อเพิ่มปริมาณการออกดอกติดผลในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม กับต้นมะนาวที่ติดผลในช่วงนี้ไม่ดกนัก


วิธีที่ 3
พ่นใบด้วยปุ๋ยยูเรียความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ (ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46 เปอร์เซ็นต์ 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร) การฉีดพ่นควรฉีด
ไปที่ทรงพุ่มของมะนาวให้โชกทั่วทั้งต้น ประมาณ 4-5 วัน ต่อมาใบมะนาวจะเริ่มร่วงโดยเฉพาะใบแก่ส่วนใบอ่อนจะไม่ร่วง ลักษณะของใบ
มะนาวที่ร่วงนั้นคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกหลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 โรยใส่ต้นมะนาวต้นละ 1-2 กก. ประมาณ 15-20 วัน
หลังจากที่ได้ฉีดพ่นปุ๋ยยูเรียไปแล้วมะนาวจะเริ่มออกดอก ในช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-14-14 อัตราต้นละ 200-300 กรัม โดยทิ้งห่างกัน
ประมาณ 1 เดือน สัก 3-4 ครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผลมะนาว ในช่วงที่มะนาวเริ่มออกดอกจนถึงติดผลนี้จะต้องระวังอย่าให้
มะนาวขาดน้ำเพราะจะทำให้ผลร่วงหรือการเจริญเติบโตของผลไม่ดีเท่าที่ควร มะนาวที่บังคับให้ออกดอกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ถ้ามีการ
ปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าวมาแล้วเพื่อเข้าหน้าแล้งราวเดือนเมษายน ผลมะนาวจะแก่จัดและสามารถเก็บผลไปจำหน่ายได้


วิธีที่ 4
เป็นวิธีที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง วิธีนี้ไม่ทำให้ต้นมะนาวโทรมเร็วเหมือนกับวิธีแรก ๆ มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
1. ประมาณเดือนกันยายน ใส่ปุ๋ยเกรด 1:3:3 เช่น ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น และเก็บสะสมอาหารไว้บำรุงดอกต่อไป

2. ต้นเดือนตุลาคม งดให้น้ำเพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร

3. ปลายเดือนตุลาคม ให้น้ำอย่างเต็มที่หลังจากงดให้น้ำมาเป็นเวลา 15-20 วัน

4. ต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากที่ได้ให้น้ำไปแล้วประมาณ 7 วัน มะนาวจะเริ่มออกดอก ช่วงนี้ควรมีการพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลง
ในช่วงที่กำลังมีดอกอ่อน

5. ปลายเดือนพฤศจิกายน ดอกเริ่มบานและมีการติดผล ควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะนาวในช่วงที่กำลังติดผลเล็ก ๆ

6. ต้นเดือนธันวาคม ใส่ปุ๋ยเคมีเกรด 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงให้ผลมีความสมบูรณ์ในขณะที่ผล
มะนาวมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด

7. ประมาณเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปจะสามารถเก็บผลมะนาวออกจำหน่ายได้ ซึ่งตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี

8. หลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคมควรทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์และพร้อมสำหรับการผลิตมะนาวหน้าแล้งในปีต่อไป


วิธีที่ 5
เป็นวิธีที่ชาวสวนแถบจังหวัดเพชรบุรีนิยมปฏิบัติกัน ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนไม่ควรให้น้ำต้นมะนาว เพราะเป็นช่วงฤดูฝน และการทำให้ใบมะนาวร่วงในช่วงนี้จึงทำ
ได้ยากเพราะยังมีฝนตกอยู่

2. ชาวสวนใช้วิธีทรมานเล็กน้อย โดยใช้กรรไกรตัดปลายกิ่งต้นมะนาวประมาณ 1-2 นิ้วออกทั่วทั้งต้น เสร็จแล้วจึงกระตุ้นด้วยปุ๋ยสูตร
12-24-12 หรือ 9-27-27 ในอัตราต้นละ 1 กก. ปุ๋ยดังกล่าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูงจึงสามารถเร่งการออกดอกของมะนาวได้

3. ถ้าหากฝนไม่ตกก็ให้ใช้ปุ๋ยเม็ดละลายน้ำรดแทนทิ้งไว้ 14-21 วัน มะนาวจะเริ่มผลิใบและดอกออกมา หลังจากนั้นจึงใส่ปุ๋ยบำรุงต้น
มะนาวโดยใช้สูตร 20-14-14 หรือ 20-11-11 ในอัตราต้นละ 200-300 กรัม รวม 3-4 ครั้ง โดยห่างกันครั้งละ 1 เดือนเพื่อเร่งให้
ผลมะนาวโต

4. ในช่วงนี้ถ้าอากาศแห้งแล้ง ควรพรวนดินและใช้เศษหญ้าคลุมโคนมะนาวพร้อมกับรดน้ำ 10-14 วัน/ครั้ง จากนั้นดอกมะนาวจะค่อย ๆ
เจริญเติบโตกลายเป็นผล จนสามารถเก็บจำหน่ายผลได้ในช่วงฤดูแล้งซึ่งตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี


วิธีที่ 6
ใช้สารพาโคลบิวทราโซล ซึ่งเป็นวิธีใหม่ล่าสุดเท่าที่มีการทดลองอยู่ในขณะนี้ และมีแนวโน้มว่ามะนาวตอบสนองต่อการใช้สารนี้ได้ดี
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเพื่อให้มะนาวเก็บเกี่ยวได้ในช่วงหน้าแล้ง โดยใช้สารพาโคลบิวทราโซลนั้นสามารถกระทำได้ดังนี้
1. ในเดือนกรกฎาคม ภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลมะนาวหมาดแล้ว ใช้บำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์ โดยทั้งนี้เพื่อจะให้มะนาวแตกใบอ่อน
1 ชุดก่อนการออกดอก

2. ต้นเดือนสิงหาคม ทำการตัดแต่งกิ่งมะนาวให้โปร่ง เพื่อให้ดินแห้ง ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้น สภาพที่ดินเป็นดินเหนียวควรควรใช้
ปุ๋ยสูตร 12-24-24 แต่ถ้าเป็นดินทรายให้ใช้ปุ๋ยสูตร 9-24-24 ในอัตรา 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของทรงพุ่มโดยหว่านรอบชายพุ่มเพื่อ
ช่วยเร่งการเกิดดอกได้ดีขึ้น

3. ต้นเดือนกันยายน ให้รดสารพาโคลบิวทราโซลในอัตราเนื้อสาร 1 กรัม (เช่น คัลทาร์ 10 ซีซี.) ที่โคนต้นมะนาวในระยะใบเพสลาด แต่
ก่อนทำการรดสารนั้นควรให้น้ำกับต้นมะนาว เพื่อให้ดินชุ่ม ซึ่งจะช่วยให้รากดูดซึมสารเข้าไปภายในต้นได้ดีขึ้น

4. ประมาณเดือนสิงหาคมต้นเดือนตุลาคม จะมีดอกมะนาวทะวายทยอยกันออกมาและจะต้องคอยปลิดดอกหรือผลเหล่านั้นทิ้ง เพื่อให้ต้น
มะนาวมีอาหารสะสมมากพอสำหรับการเกิดดอกในปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายนได้มาก การปลิดดอกทิ้งอาจทำได้โดยใช้สาร
เคมีบางชนิด เช่น เอ็น.เอ.เอ.(N.A.A.) อัตรา 15-30 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ดอกและผลร่วง โดยที่ไม่มีอันตรายต่อใบแต่อย่างใด

5. ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกกำลังบานและมีการผสมเกสรเพื่อเจริญไปเป็นผล ช่วงนี้ต้องคอยดูแลกัน
เป็นพิเศษ และเมื่อผลมะนาวมีอายุได้ 1-2 เดือน ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคา-มกราคม เป็นระยะที่อากาศแห้งแล้งพร้อมกับมะนาวมีการ
พักตัวและผลัดใบเก่าทิ้ง ผลมะนาวมีโอกาสร่วงได้มากจึงต้องคอยระยังอย่าให้มะนาวขาดน้ำ และถ้าอากาศแห้งมากอาจพรมน้ำได้ด้วย
ก็ได้

6. หลังจากผลมะนาวมีอายุได้ 1-2 เดือนไปแล้ว จะเป็นช่วงที่ผลมะนาวมีการขยายขนาดของผลมาก จึงควรให้ปุ๋ยสูตร 15-5-20 + 2
(MgO) หรือสูตร 16-11-14+2 (MgO) ลงไปด้วย ถ้ามะนาวต้นไหนติดผลดกอาจเพิ่มปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือ สูตร 30-20-10
โดยฉีดพ่นทางใบเพื่อช่วยขนาดของผล

7. ประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มะนาวก็จะเก็บผลได้ (สำหรับมะนาวที่มีอายุการเจริญเติบโตของผลนานกว่านี้ ควรเลื่อนเวลา
การบังคับการออกดอกให้เร็วขึ้นไปอีก)

8. ในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน หลังจากเก็บผลหมดแล้ว ควรทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก
ในอัตรา 20-30 กก./ไร่และปุ๋ยเคมีเช่นสูตร 15-15-15 เป็นประจำทุกปี ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งกิ่งมะนาวเริ่มแตก
ใบอ่อนซึ่งตรงกับช่วงฤดูฝนพอดี ซึ่งเป็นการเพียงพอที่จะให้มะนาวเก็บสะสมธาตุอาหารโดยเฉพาะพวกแห้งจนถึงระดับที่จะออกดอก
ได้ดีในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน แต่ถ้ากิ่งมะนาวแตกใบอ่อนล่าออกไปจนถึงปลายฤดูฝน อาจทำให้มะนาวออกดอกได้ไม่มาก
เพราะมีระยะเวลาที่จะสะสมอาหารพวกแห้งได้น้อย และถ้าหากต้นมะนาวไม่แตกใบอ่อนออกมา เราอาจใช้วีตัดปลายกิ่งหรือตัดแต่งกิ่ง
ให้โปร่งและให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงพร้อมทั้งให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและในปริมาณที่เพียงพอ หรืออาจพิจารณาใช้สารที่กระตุ้นการพัก
ตัวเช่น ไทโอยูเรีย 0.5% ฉีดพ่นให้ทั่วต้นในระยะที่ใบแก่จัดซึ่งจะทำให้มะนาวแตกใบอ่อนออกมาได้ ซึ่งเป็นการเตรียมตัวเพื่อจะบังคับ
ให้มะนาวออกดอกและเก็บผลในหน้าแล้งต่อไปได้


http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำฝรั่งนอกฤดู.....





โดยทั่วไปฝรั่งจะให้ผลเร็วถ้าเป็นฝรั่งที่ได้จากกิ่งตอน จะให้เก็บผลครั้งแรกเมื่ออายุได้ประมาณ 1 ปี หรือถ้าเป็นต้นที่ได้จากการเพาะ
เมล็ดจะเก็บผลได้ช้ากว่า คือ เมื่ออายุ 1 -2 ปี แล้วแต่สายพันธุ์ฝรั่งจะออกดอกในส่วนยอดที่เกิดใหม่ ตรงโคนก้านใบคู่ที่ 3-4 บน
กิ่งอ่อน กิ่งหนึ่งมีดอก 1-6 ดอก แล้วแต่พันธุ์ ดอกเป็นชนิดที่สมบูรณ์เพศ ทำให้ติดผลง่าย ดังนั้น ถ้าปลูกฝรั่งแล้วไม่ค่อยออกดอก
ออกผล อาจจะใช้การบังคับให้ฝรั่งออกดอก โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1. การโน้มกิ่ง ฝรั่งมีช่อดอกที่กิ่งอ่อน ดังนั้น การทำให้เกิดกิ่งอ่อนก็จะชักนำให้เกิดตาดอกได้ การโน้มกิ่งฝรั่งให้อยู่ในแนวระดับแล้ว
ใช้ไม้รวกยึดปักไว้ เร่งใส่ปุ๋ย รดน้ำ ฝรั่งก็จะแตกกิ่งจากกิ่งที่โน้มพร้อมทั้งมีช่อดอกออกมาด้วย

2. การตัดแต่งกิ่ง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าตาดอกจะเกิดจากกิ่งอ่อน ดังนั้น การตัดแต่งจะทำให้เกิดการแตกกิ่งอ่อนและช่อดอกได้
กิ่งที่จะตัดแต่ง คือ กิ่งที่อ่อนแอ กิ่งที่เป็นโรคและกิ่งที่ไม่ได้รับแสง

3. การทำให้ใบร่วง โดยใช้ปุ๋ยพวกยูเรียหรือสารเคมีละลายน้ำให้เข้มข้น 25% พ่นให้ทั่วทั้งต้น เพื่อให้ใบฝรั่งร่วงหมด ระยะนี้จะต้อง
ให้น้ำและปุ๋ยบำรุงต้น หลังจากนั้นประมาณ 5 สัปดาห์ จะเห็นช่อดอกเจริญออกมาพร้อมกิ่งอ่อนที่แตกขึ้นใหม่และจะเก็บเกี่ยวผล
ผลิตได้ในอีก 5 เดือนต่อมา

4. การเด็ดยอดฝรั่ง โดยนับใบจากปลายกิ่งเข้าไปถึงใบคู่ที่ 4 แล้วจึงเด็ดยอดทิ้ง จากนั้นไม่กี่วันฝรั่งก็จะแทงดอกออกมา

อนึ่ง การบังคับให้ฝรั่งออกดอกนั้นทำได้ไม่ยากนัก ถ้าต้นฝรั่งสมบูรณ์แข็งแรง และปลูกในที่ ๆ มีแสงแดดเพียงพอ แต่ควรคำนึงด้วย
ว่าการให้ฝรั่งมีผลมากผลก็จะเล็กลง ดังนั้น จึงต้องให้ปุ๋ยและน้ำแก่ต้นฝรั่งที่บังคับการออกดอกให้มากกว่าปกติ การบังคับให้ฝรั่งออกดอก
จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ใช้เวลาประมาณ 9 เดือน คือ ใช้เวลาในการบังคับให้ฝรั่งออกดอกจนกระทั่งติดผล 7 เดือน และมีช่วง
เก็บเกี่ยวผลอีก 2 เดือน


http://www.doae.go.th/library/html/detail/guava/guava8.htm




วิธีบังคับให้ฝรั่งไทยออกดอก

โดยส่วนใหญ่ฝรั่งทุกชนิดจะออกดอกได้ง่ายหลังจากมีการตัดแต่งกิ่ง 4–6 สัปดาห์ แต่สำหรับเกษตรกรที่ปลูกฝรั่งเพื่อเก็บ
ผลขาย การตัดแต่งกิ่งครั้งแต่เป็นการตัดแต่งกิ่งเพื่อทำให้ฝรั่งแตกกิ่งก้านใหม่เป็นพุ่มสวยงาม จึงต้องเด็ดดอกทิ้งหลังตัดแต่งกิ่ง
ครั้งแรก พอมีดอกในชุดต่อไปจึงปล่อยให้ติดเป็นผล จะทำให้มีผลสมบูรณ์โดยมีข้อกำหนดไว้ว่า หลังปลูก “ฝรั่งไทย” 1 ปี
ไปแล้ว จึงควรปล่อยให้ติดผล

ซึ่งการบังคับให้ “ฝรั่งไทย” มีดอกใช้วิธีงดให้น้ำจนใบเหี่ยว แล้วจึงให้น้ำและใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เพื่อกระตุ้นให้ต้นเกิด
อาการสะดุ้งแตกยอด และออกดอกใหม่ จากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพิ่มความหวานเมื่อ “ฝรั่งไทย” ติดผลได้ 1 เดือน
ผลโตเท่าผลมะนาว ให้ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์และสวมทับด้วยถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นฝรั่งมีอายุได้ 100–150 วัน
จะเริ่มแก่พร้อมที่จะเก็บรับประทานหรือเก็บขายได้


www.moac-info.net/modules/news/images/35_1_34018_ฝรั่งไทย.doc


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/05/2011 6:45 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำกระท้อนนอกฤดู....


ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆ บังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูได้ และไม่มีกระท้อนทะวาย (ให้ผลปีละ 2รุ่น) ดังนั้นการที่จะบังคับ
กระท้อนให้ออกนอกฤดูกาลปกติ (ก่อน/หลัง) ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีบังคับโดยการบำรุงอย่างเต็มที่เท่านั้น


บังคับกระท้อนให้ออกก่อนฤดู :
เลือกกระท้อนสายพันธุ์เบา (ทับทิม) ที่มีผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือน พ.ค. มาทำกระท้อนให้ออกก่อนฤดู โดยบำรุงผลแก่ก่อนเก็บ
เกี่ยวรุ่นปีการผลิตปีนี้ทางรากด้วย 8-24-24 กับบำรุงทางใบด้วย 0-21-74 และเมื่อถึงปลายเดือน พ.ค.ให้เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตบนต้นให้
หมดแบบ ล้างต้น แล้วลงมือบำรุงตามขั้นตอน ดังนี้


ช่วงเดือน พ.ค.- ก.ค. (เตรียมต้น)
หลังจากเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเริ่มบำรุงเพื่อ เตรียมความพร้อมของต้น โดยตัดแต่งกิ่ง ปรับสภาพทรงพุ่มให้โปร่ง เรียกใบ
อ่อนให้ได้ 1-2 ชุด เมื่อใบอ่อนออกมาแล้วให้เร่ง บำรุงใบอ่อนให้เป็นใบแก่โดยเร็ว ส่วนทางรากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยิบซั่มธรรมชาติ
กระดูกป่น ตามปกติระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค.-มิ.ย.-ก.ค.) ต่อการเรียกใบอ่อน 3 ชุดนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความ
สมบูรณ์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะมาตรการบำรุงต้นให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปีติดต่อกัน

หมายเหตุ :
ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายๆปีและในรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาไว้ผลน้อยแต่บำรุงเต็มที่
เมื่อถึงรุ่นปีการผลิตใหม่ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด แล้วสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อได้เลย ทั้งนี้เพื่อย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น

ช่วงต้น ส.ค.- กลาง ก.ย. (สะสมอาหารเพื่อการออกดอก)
หลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายที่ต้องการเพสลาดแล้ว ให้
ลงมือบำรุงทางใบด้วยสูตร สะสมอาหาร เพื่อการออกดอก 2-3 สูตร ระยะการให้ห่างกันสูตรละ 5-7 วัน และบำรุงทางรากอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเร่งให้ต้นได้สะสมทั้งอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล (ซี) และกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น (เอ็น) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ช่วงปลายเดือน ก.ย.(ปรับ ซี/เอ็น เรโช)
ปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยทางรากให้เปิดหน้าดินโคนต้น งดน้ำเด็ดขาด ส่วนทางใบให้สารอาหารสูตรสะสมตาดอกเหมือนเดิมแต่ให้พอเปียก
ใบ ระวังอย่าให้น้ำหยดลงพื้นเพราะจะทำให้มาตรการงดน้ำล้มเหลว พร้อมกันนั้นให้เสริมด้วยการ รมควัน ทุก 2-3 วันช่วงหลังค่ำ ครั้งละ
10-15 นาที เพื่อเร่งให้ใบสลดแล้ว "เหลือง-แห้ง-ร่วง" เร็วขึ้น


ช่วงต้น ต.ค. (เปิดตาดอก)
เปิดตาดอกด้วย “13-0-46” หรือ “0-52-34” หรือ
“13-0-46 + 0-52-34” สูตรใดสูตรหนึ่งสลับกับฮอร์โมนไข่ อย่างละ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- กระท้อนก่อนฤดูออกสู่ตลาดพร้อมกับทุเรียน เงาะ มังคุด อาจไม่ได้ราคาดี แต่ถ้าเป็นกระท้อนคุณภาพเกรด เอ. ขนาดจัมโบ้ ก็พอสู้ได้

- ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการปฏิบัติบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายปี สามารถออกดอกได้เอง (ทั้งพันธุ์เบา
และพันธุ์หนัก) โดยไม่ต้องเปิดตาดอกในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. จากนั้นก็จะทยอยออกมาเรื่อยๆกลายเป็นไม่มีรุ่น

- กระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนก่อนฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกก่อนช่วงเดือนดังกล่าว ด้วยการ
เตรียมความพร้อมต้นตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 (เรียกใบอ่อน) ทันทีหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีที่ผ่านมา ควบคู่กับเร่งระยะเวลาการบำรุงตาม
ขั้นตอนต่างๆให้เร็วขึ้นด้วย

- เตรียมต้นที่จะทำให้ออกก่อนฤดูด้วยการเว้นการออกดอกติดผลในรุ่นปีการผลิตนี้ แล้วบำรุงต้นไว้อย่างต่อเนื่องเพื่อรอโอกาส หรือไว้
ผลในต้นให้เหลือน้อยๆเพื่อไม่ให้ต้นโทรม จะช่วยให้การทำให้ออกก่อนฤดูในรุ่นปีการผลิตต่อไปง่ายและแน่นอนยิ่งขึ้น

- เนื่องจากธรรมชาติของกระท้อนออกดอกจากกิ่งแก่อายุข้ามปี ระหว่างที่มีผลอยู่บนต้นนั้นถ้ามีกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลมากกว่ากิ่ง
ที่ออกดอกติดผล ให้เตรียมการบำรุงกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลนั้นให้ออกดอกแล้วทำเป็นกระท้อนก่อนฤดู โดยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
แล้วให้บำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” ทั้งทางรากและทางใบต่อได้เลย ซึ่งขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกนี้อาจต้องใช้ระยะ
เวลานาน 3-4 เดือน แต่ถ้าประสบความสำเร็จก็ถือว่าคุ้ม

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้
“นมสัตว์สดหรือกลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่ม
ลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิด
ตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย



บังคับกระท้อนให้ออกหลังฤดู
เลือกกระท้อนพันธุ์อีล่า เพราะมีนิสัยออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่นโดยทำให้อีล่าออกช้ากว่าอีล่าด้วยกัน เพื่อบังคับ
ให้เป็น อีล่า-ล่าฤดู หรือบังคับกระท้อนพันธุ์นิยมด้วยการยืดระยะเวลาในการบำรุงแต่ละระยะตามขั้นตอนให้นานขึ้นก็ได้ ดังนี้

1. เรียกใบอ่อนให้ครบทั้ง 3 ชุด เมื่อได้แต่ละชุดมาแล้วไม่ต้องเร่งให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติเพื่อยืดระยะเวลา

2. ยืดเวลาขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกให้นานขึ้นด้วยสูตรสะสมอาหาร (ธาตุรอง/ธาตุเสริม/นมสัตว์สด) ไปเรื่อยๆโดย
ยังไม่ปรับ ซี/เอ็น เรโช. (งดน้ำ) แม้ว่าต้นจะพร้อมแล้วก็ตาม จนกว่าจะได้ระยะเวลาที่ต้องการจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. แล้ว
เปิดตาดอก

3. เมื่อดอกออกมาแล้วให้บำรุงไปตามปกติเพราะไม่สามารถยืดอายุดอกให้นานขึ้นได้

4. บำรุงผลเล็กตามปกติ

5. บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วย สูตรบำรุงผลให้แก่ช้า จนกระทั่งได้เวลาเก็บเกี่ยวตามต้องการจึงเปลี่ยนมาบำรุงด้วยสูตรบำรุงผล
แก่ใกล้เก็บเกี่ยวตามปกติ

หมายเหตุ :
ในเมื่อกระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนล่าฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกหลังช่วงเดือนดังกล่าวให้นาน
ที่สุดเท่าที่สภาพภูมิอากาศและสภาพต้นอำนวย แล้วปฏิบัติบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนแรก (เรียกใบอ่อน) จนถึงขั้นตอนสุดท้าย (บำรุงผล
แก่) แบบยืดเวลาให้นานขึ้น


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/05/2011 9:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 10:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำชมพู่นอกฤดู.....


ฤดูกาลออกดอกและติดผลของชมพู่
หลังจากเก็บเกี่ยวและตัดแต่งต้นชมพู่แล้ว ต้นชมพู่จะสะสมอาหารไว้ที่ต้นและใบเมื่อมีอาหารเพียงพอและสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม
ชมพู่ที่จะออกดอกออกผลโดยมีช่วงที่ออกดอกดังนี้ ออกดอกเดือนตุลาคม รุ่นนี้ออกดอกไม่มากนักจะเก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนธันวาคม
ส่วนใหญ่ราคาจะดี ออกดอกเดือนพฤศจิกายน รุ่นนี้จะออกดอกทะยอยต่อจากรุ่นเดือนตุลาคม ออกดอกค่อนข้างมากจะสามารถเก็บ
เกี่ยวผลได้ในเดือนมากราคม ราคาไม่ค่อยดีนัก ออกดอกเดือนธันวาคม รุ่นนี้ออกดอกมากที่สุด จะเก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนใหญ่ราคาไม่ค่อยดี เพราะจะมีผลไม้ชนิดอื่นออกมาสู่ตลาดมาก เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด และอื่น ๆ นอกจากนี้ชมพู่ยังสามารถ
ออกดอกทะยอยได้ทั้งปีลำต้นมีความสมบูรณ์เพียงพอ แต่ดอกไม่ค่อยมาก อาจจะไม่คุ้มกับการลงทุนถ้าเกษตรกรไม่ต้องการก็ควรใช้ฮอร์โมน
NAA เช่น เพลนโนฟิกซ์ฉีดพ่นอัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่นที่ดอกจะทำให้ดอกที่เราไม่ต้องการร่วงได้




การบังคับให้ออกนอกฤดู
ปกติชมพู่เป็นไม้ผลที่ออกทะวายอยู่แล้ว แต่ปริมาณไม่มากนัก ไม่คุ้มกับการลงทุน นักวิชาการต่าง ๆ จึงหาวิธีทำให้ออกนอกฤดูเพื่อหลีก
เลี่ยงการออกในฤดู ซึ่งจากการติดผลทางวิชาการยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดีนัก นอกจากบำรุงต้นให้สมบูรณ์เต็มที่ โดยการใส่ปุ๋ยทั้งทางพื้นดิน
และให้ปุ๋ยทางใบพร้อมกับการตัดแต่งกิ่ง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=orchids-and-fern&group=1&month=10-2007&date=10






การใช้สารเคมีบังคับชมพู่ออกนอกฤดู

สำหรับการใช้สารเคมี กฤษฎา ทัสนารมย์ (2537) รายงานว่า มีการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่พันธุ์ทูลเกล้าอายุ 3 ปี
โดยใช้สารเข้มข่น 1, 2 และ 4 กรัม ของสารออกฤทธิ์ และพ่นทางใบระดับความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2 ซีซี./ น้ำ 20 ลิตร ที่ใบ
มีอายุ 40-90 วันหลังการตัดแต่งกิ่ง ทำให้ดอกในช่วง 60 วัน หลังให้สาร โดยระดับความเข้มข้น 4 กรัม/ต้น โดยราดลงดิน 2 ซีซี.
/น้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้ดอกสูงกว่าความเข้มข้นระดับอื่น ๆ


ในชมพู่เพชร ประทีป กุณาศล ได้ทำการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่เพชรอายุ 7 ปีขึ้นไป และ 2-4 ปี โดยใช้สารจำนวน
30 ซีซี. ผสมน้ำ 2 ลิตร กับทรงพุ่มที่มีขนาดผ่าศูนย์กลาง 2-3 เมตร โดยราดสารในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ชมพู่แทงช่อในเดือน
สิงหาคม - ตุลาคม ซึ่งต้นที่ได้รับสารจะออกดอก 90% ขณะที่ต้นที่ไม่ได้รับสาร ออกเพียง 5% ชมพู่ไม่แสดงอาการผิดปกติ ยกเว้น
ข้อใบสั้นลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามหลังให้สารแก่ต้นชมพู่แล้วประมาณ 1 เดือน ควรให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงได้แก่ 12-24-12 ,
8-24-24 หรือ 9-24-24 เพื่อให้ต้นชมพู่เตรียมพร้อมในการสร้างตาดอก ซึ่งอาจจะทำให้ชมพู่สามารถออกดอกได้มากยิ่งขึ้น

http://www.google.co.th/url?q=http://www.moac-info.net/modules/links/upload_doc/11_p2_484_%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2590%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3.doc&sa=U&ei=Fl-5Tf72KM7prQfZ-ZDdBA&ved=0CBIQFjADOBQ&usg=AFQjCNGoA9dBZRwAclgIgIwJzymamy1rfg




ชมพู่;
พาโคลบิวทราโซล; พันธุ์เพชรทูลเกล้า; การผลิตนอกฤดู; สารควบคุมการเจริญเติบโต; ความเข้มข้น; วิธีการให้สาร; ระยะเวลา;
การออกดอก; คุณภาพ; ผลผลิต

บทคัดย่อ :
การให้สาร paclobutrazol กับชมพู่พันธุ์เพชรทูลเกล้า อายุประมาณ 3 ปี โดยการราดลงดินที่ระดับความเข้มข้น 0, 1, 2 และ 4
g.ai ต่อต้น และการฉีดพ่นทางใบที่ระดับความเข้มข้น 0, 500, 1,000 และ 2,000 ppm เมื่อใบมีอายุ 40 และ 90 วันหลัง
การตัดแต่ง เพื่อส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู

โดยทำการทดลองระหว่างเดือน กรกฎาคม 2535 ถึงเดือนตุลาคม 2536 ที่ สวนเอกชน อ.สามพราน จ.นครปฐม พบว่า ....

ต้นชมพู่ที่ได้รับสาร paclobutrazol สามารถออกดอกและให้ผลผลิตได้ในช่วงนอกฤดู คือ ในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม
ในขณะที่ต้นไม่ได้รับสารจะไปออกดอกและให้ผลผลิตในช่วงในฤดู คือ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม

โดยการให้สารขณะที่ใบมีอายุ 40 วัน หลังการตัดแต่ง จะชักนำให้ต้นชมพู่มีการออกดอกเริ่มต้นดีกว่าการให้สารขณะใบมีอายุ 90 วัน

การให้สารโดยวิธีราดลงดิน จะสามารถชักนำให้ต้นชมพู่มีปริมาณดอกเริ่มต้นมากกว่าการฉีดพ่นทางใบ และสารที่ระดับความเข้มข้นสูง
ทั้งการราดลงดิน และการฉีดพ่นทางใบ จะสามารถชักนำให้ต้นชมพู่มีปริมาณดอกเริ่มต้นมากกว่าต้นที่ได้รับสารในความเข้มข้นที่ต่ำกว่า
และพบว่าผลชมพู่ที่เก็บเกี่ยวได้จากต้นที่ได้รับสาร paclobutrazol จากทุกการทดลอง มีคุณภาพที่ไม่แตกต่างกัน



http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb1.exe?rec_id=043693&database=agdb1&search_type=link&table=mona&back_path=/agdb1/mona&lang=thai&format_name=TFMON


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/05/2011 9:02 am, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 10:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำส้มเขียวหวานนอกฤดู....


ส้มเขีคยวหวานนอกฤดู :
สรุปว่า ถ้าต้องการทำส้มนอกฤดูให้ได้ ณ วันนี้ต้องทำให้ได้ใบส้มชุดที่สำคัญที่สุดก่อนฝนให้ได้ คือ

ช่วงเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม และต้องบังคับให้ออกดอกโดยกักน้ำ เว้นน้ำ ถ้าเป็นต้นส้มที่เริ่มให้ผลผลิต 2 ปีขึ้นไป
ให้เริ่มสอนดอกจะทำให้ได้ดอกส้มออกเป็นรุ่น

กล่าวคือ ต้องจัดการกับการเจริญเติบโตของต้นส้มให้รู้จักแตกยอดอ่อนและมีดอกติดที่ปลายยอดบ้างประปราย

ทั้งนี้การสอนดอกในปีที่ 2 จะมีโอกาสได้ดอกออกเป็นชุดในปีที่ 3

นอกจากนี้การจัดการเรื่องโรคและแมลงก็ง่ายขึ้น เพราะการใช้สารกำจัดศัตรูพืชจะเป็นชุด ไม่ต้องใช้หลายชนิดพร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ตามการผลิตส้มนอกฤดูอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติส้มที่ล้นตลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
ในอนาคต

เนื่องจากเป็นเทคนิคที่สามารถบังคับให้ผลผลิตส้มออกในช่วงไหนก็ได้ตามความเหมาะสมของสภาพดินฟ้าอากาศของ
แต่ละพื้นที่

ดังนั้นหน้าที่ที่ชาวสวนจะต้องเรียนรู้ต่อไป คือ จะวางแผนการผลิตออกมาในช่วงไหนดี เพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมาพร้อมๆ กัน
อีก ซึ่งก็หนีไม่พ้นการรวมกลุ่มที่เหนียวแน่นนั่นเอง หากการรวมกลุ่มประสบความสำเร็จอนาคตของส้มก็คงไม่น่าเป็น
ห่วงมากนัก


สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย

http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=26:2009-07-20-07-52-02&catid=1:2009-07-16-05-16-29




การบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดู

นิยมทำกับสวนที่ปลูกแบบยกร่องเพราะสามารถทำได้ง่ายกล่าวคือ ถ้าต้องการจะให้ผลส้มแก่ในช่วงไหนก็ต้องนับย้อนหลัง
ไปประมาณ 10 เดือน แล้วเริ่มทำการงดให้น้ำ (การงดน้ำนี้จะเป็นกระตุ้นให้ต้นส้มมีการสะสมสารประกอบประเภทแป้งและ
น้ำตาลภายในต้นให้สูงขึ้นจนทำให้อัตราส่วนระหว่างแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเดิมซึ่งใน
ลักษณะเช่นนี้จะเป็นปัจจัยทำให้ส้มเขียวหวานสามารถออกดอกได้) ในขณะที่ทำการงดน้ำนั้นจะต้องสังเกตว่าส้มเขียว
หวานไม่มีใบอ่อน หากมีใบอ่อนจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งใบเพื่อให้มีใบแก่ตลอดทั้งต้น ปุ๋ยที่ใช้เร่งใบได้แก่ปุ๋ยสูตร 1:3:3
เช่น สูตร 8-24-24 และเมื่อใบแก่แล้วจึงค่อยทำการงดน้ำต่อไป สำหรับเหตุผลที่ไม่ทำการงดน้ำในช่วงที่ส้มยังมีใบอ่อน
ก็คือ จะทำให้ต้นโทรมมากและระบบรากก็จะเสียไป ทั้งนี้เพราะรากจะต้องดูดน้ำและธาตุอาหารอย่างมากเพื่อเลี้ยงใบอ่อน
ที่กำลังเจริญเติบโต

วิธีการงดน้ำที่ชาวสวนกระทำกันทั่วไป ๆ ไปนั้น โดยการสูบน้ำออกจากร่องสวนให้หมด ต่อมาอีกประมาณ 15-20 วัน จะ
เห็นส้มแสดงอาการขาดน้ำโดยใบจะเริ่มห่อเข้าหากัน ต่อจากนั้นควรให้น้ำอย่างเต็มที่ โดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงจนถึงโคน
ต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร แล้วจึงลดระดับน้ำลงอยู่ในระดับปกติเหมือนกับระดับก่อนที่จะทำการงดน้ำ แต่ถ้าเป็น
ส้มเขียวหวานที่มีใบแก่แต่ยังไม่มีการใส่ปุ๋ยเร่งใบมาก่อน พอถึงช่วยนี้ควรให้น้ำอย่างเต็มที่โดยการรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้น
ประมาณ 7 วันจะเริ่มมีการแทงตาดอกออกมาให้เห็น เมื่อมีดอกออกมาแล้วก็ให้น้ำตามปกติประมาณ 30 วันต่อมาดอก
จะบานและมีการติดผลในช่วงนี้ควรมีการฉีดยาป้องกันกำจัดแมลงศัตรูด้วย และเมื่อผลโตได้ขนาดเท่าหัวแม่มือให้ใส่ปุ๋ย
เกรด 1:1:1 เช่นปุ๋ยสูตร 15-15-16 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงผลให้มีการเจริญอย่างเต็มที่ จนเมื่อส้มเขียวหวานมีอายุ
ผลได้ประมาณ 5 เดือนควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังสูง เช่น สูตร 13-13-21 เพื่อทำให้คุณภาพของส้มดีขึ้น และเป็นการ
เพิ่มความหวานให้กับผลส้มด้วย และก่อนเก็บเกี่ยวผลประมาณ 10 วันควรหยุดการให้น้ำเพื่อให้ผลส้มมีรสชาติเข้มข้น เนื้อ
จะไม่ฉ่ำน้ำและสามารถเก็บรักษาผลส้มไว้ได้นานกว่าแบบที่ไม่งดน้ำในช่วงนี้

จะเห็นได้ว่าการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกักน้ำนี้ เป็นการกระทำที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับ
ซ้อนและมีผลดีคือสามารถกำหนดวันที่จะจำหน่ายผลผลิตได้แน่นอน และผลผลิตที่ได้จะออกมาพร้อมกันและมีปริมาณ
มากในครั้งหนึ่ง ๆ ซึ่งทำให้สะดวกในการขายผลผลิต แต่อย่างไรก็ตามการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกและติดผล
นอกฤดูโดยวิธีการกัดน้ำนี้ย่อมจะมีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือจะทำให้ต้นส้มโทรมเร็วกว่าการปล่อยให้ออกดอกติดผล
ตามฤดูปกติ แต่เมื่อคำนึงถึงรายได้และราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ ย่อมคุ้มค่ากับการที่ท่านจะยอมเสี่ยงมิใช่หรือ

http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 10:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำลองกองนอกฤดู.....


ทำได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าหน้าแล้งหรือว่าหน้าฝน
ก่อนอื่นเกษตรกรต้องศีกษาลองกองตั้งแต่ช่วงออกดอก เก็บเกียวผลผลิตกี่เดิอน ให้แม่นยำเสียก่อนแล้วค่อยลงมือทำลองกองนอกฤดู
ก่อนทำตัองหาตลาดและศีกษาว่าช่วงไหนน่าจะผลิตลองกองเพื่อที่จะได้ราคาในการจำหน่าย (แนะนำเพิ่มเติม ช่วงหน้าฝนควรทำมากที่สุด
เพราะผลไม้ทุกชนิดออกไม่ได้ )


เริ่มแรกก่อนที่จะลงมือทำ
เกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่ ระบบน้ำให้พร้อม
สำหรับลองกอง ประมาณ 100-200 ต้น / แรงงาน 2 คน
วิธีการแต่งและเตรียมต้นลองกอง เลือกต้นลองกองที่สมบูรณ์ มีเทคนิค 2 วิธี แล้วแต่เกษตรกรจะเลือกใช้ ตามความเหมาะสม เมื่อเลือก
ต้นที่สมบูรณ์ ใบแก่เต็มทีได้แล้ว ตัดแต่งต้นให้เหลือใบน้อยที่สุด หรือไม่ไห้มีใบเลยก็ได้ และ/หรือ ใช้ ไทโอยูเรีย ฉีดพ่นใบให้เหลือน้อย
ที่สุด 1 กก.ต่อน้ำ 20 ลิตร

4. ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ ใบและดอกก็จะเริ่มออก ช่วงที่ช่อดอกยาวประมาณ 5 ซ.ม. ให้แต่งเลือกที่ช่อดอกไม่สมบูรณ์ออก
ในแต่ละช่อให้เหลือไว้ประมาณ 1-2 ก้าน จนกระทั้งยาวประมาณ 10-15 ซม. ให้ดูลักษณะก้านที่สั้น และไม่สมบูรณ์ออกเหลือประมาณ 1
ก้านต่อช่อ และเว้นระยะห่างให้เหมาะสม 30 ซม.อย่างน้อยพยายามให้เหลือน้อยที่สุด ระยะนี้ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ

5. ใส่ปุ๋ยช่วงยืดช่อดอกให้ยาว โดยใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 (2-5 กก.) แล้วแต่ความเหมาะสมของต้นลองกอง

6. ปุ๋ยยาไม่ต้องใช้มาก ให้สังเกตดูว่าช่อลองกองมีหนอนหรือไม่ สำคัญเวลาใกล้จะห่อช่อลองกองถ้ามีเพลี้ยแป้ง ให้ฉีดยากันเพลี้ยก่อนแล้ว
จึงเริ่มห่อช่อลองกอง (ซึ่งจะเริ่มห่อช่อช่วงขนาดลูกประมาณผลเท่านิ้วกลาง) ใส่ปุ๋ย 13-13-21 (2.5 กก.) หรือแล้วแต่ขนาดของต้น
วัสดุที่ใช้ห่อลองกอง ทุนน้อยใช้กระสอบอาหารสัตว์ หรือถุงข้าวสารเวลาห่อใช้แม็กเย็บปากห่อ

7. เพื่อให้ลองกองที่ออกมามีคุณภาพ ผิวสวย รสชาติหวาน เกษตรกรต้องห่อช่อลองกองทุกช่อ ปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ

***** ที่สำคัญเกษตรกรต้องทำสัญลักษณ์ หรือติดเบอร์ ว่าต้นไหนผลผลิตออกมาก่อนเพื่อเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต จะได้ไม่สับสนว่าต้น
ไหนควรตัดก่อนหลัง

8 ช่วงสำคัญในการเก็บผลผลิต เกษตรกรต้องทำความเข้าใจก่อนว่าลองกองจะสุก 3 ช่วง

ช่วงแรกที่ผลสุกเหลืองจะมีรสชาดเปรี้ยวอมหวานเล็ก
ช่องที่สองผล ที่สุกจะรสชาดจืด ไม่หวาน สังเกตเปลือกจะยังแข็งอยู่
ช่วงที่สามผลจะเหลืองแก้มขาวสะอาด สังเกตเปลือกจะนิ่ม จะมีรสชาดหวาน หอมให้เกษตรกรตัดผลผลิตช่วงนี้

ข้อสำคัญคือ การแต่งช่อดอกดูกิ่งใหญ่เล็กให้เหลือน้อยที่สุด ถึงนับช่อดอกต่อกิ่ง ต่อต้นแล้วเกษตรกรจะได้ผลผลิตช่อแน่นเป็นมัด สีเหลือง
ขาวสะอาด

อยากเห็นเกษตรกรที่ทุนน้อยประสบความสำเร็จ ผลงานที่ออกมาก คือ ฝีมือของเราเอง

สวนศรีสยา

http://www.hinlotom.com/wizContent.asp?wizConID=84&txtmMenu_ID=64




ภูมิปัญญาหมอดินอาสาสงขลา บังคับลองกองออกนอกฤดูกาลได้

หมอดินอาสาสงขลา ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดินลองผิดลองถูกจนสามารถ
บังคับต้นลองกอง ให้ออกผลผลิตนอกฤดูกาล ทำรายได้เพิ่มอย่างงดงาม


นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ลองกองเป็นผลไม้ยอดนิยมของไทย ที่มีรสชาติความหวานหอม และออกสู่ตลาด
ตามฤดูกาลนั้นจะมีราคาถูก เพราะผลผลิตออกมามีจำนวนมาก การที่เกษตรกรสามารถใช้ภูมิปัญญาทำการผลิตลองกองบังคับออกผล
ผลิตนอกฤดูกาลได้นั้น จึงเป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่ทำให้ราคาผลผลิตลองกองเพิ่มขึ้น ขายทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ


นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินและโฆษกกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวถึงรายละเอียดการทำสวนลองกองว่า จะเริ่มออก
ดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฤดูแล้ง แต่การผลิตลองกอง นอกฤดูกาลนั้น ในช่วงเดือนนี้ต้องห้ามไม่ให้ลองกองออกดอก
จึงต้องมีการจัดการตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม ถางหญ้ารอบโคนต้น ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ร่วมกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน


นายเล็ก พรรณศรี หมอดินอาสาประจำจังหวัดสงขลา เกษตรกรผู้ทำสวนลองกอง กล่าวว่า ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ลองกอง
จะเริ่มออกดอก แต่การผลิตลองกองนอกฤดูกาล ในช่วงนี้ ต้องห้ามไม่ให้ลองกองออกดอก จึงต้องมีการตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม ตัดหญ้ารอบ
ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ซึ่งหมักจาก สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และให้น้ำทุกวัน โดยระบบสปริงเกอร์ เพื่อให้น้ำกระจายทั่วทั้งต้น และให้น้ำ
หมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 ทางระบบให้น้ำ ทุกๆ 10 วัน ถึงเดือนกรกฎาคม หยุดการให้น้ำ และในเดือนสิงหาคม ลองกอง จะผลัดใบและ
เริ่มแทงยอด ให้ตัดหญ้ารอบทรงพุ่มแล้วหว่านปุ๋ยเพื่อเร่งการออกดอก หลังจากนั้น ให้เอาเศษหญ้า และใบไม้มาคลุมบริเวณรอบๆ ทรงพุ่ม
ที่หว่านปุ๋ยไว้ ให้น้ำทางระบบสปริงเกอร์ และให้น้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 ทางระบบให้น้ำ ทุกๆ 3 วัน ในช่วงเดือนกันยายน ลองกองจะ
เริ่มออกดอก ให้ทำการแต่งช่อดอก โดยจุดไหน มีหลายช่อ ให้เหลือไว้เพียงช่อเดียว โดยเลือกช่อที่มีขนาดใหญ่และก้านช่อยาวที่สุดไว้
เพราะเป็นช่อที่สมบูรณ์


เมื่อดอกบานให้ตัดบริเวณปลายช่อทิ้ง เพราะหากเก็บไว้ผลบริเวณปลายจะสุกช้ากว่า ผลมีขนาดเล็ก ลองกองจะติดผลประมาณเดือนตุลาคม
ให้ทำการแต่งผล โดยการเอาผลที่อยู่บริเวณโคนช่อออก เพราะหากเก็บไว้ เมื่อผลผลิตโตขึ้นจะดันระหว่างกิ่งหลัก และช่อผล ทำให้ช่อผล
หลุดได้ และหากในช่อมีผลมากเกินไปให้เลือกเอาผลออกบ้างเพื่อให้ช่อโปร่งขึ้น เมื่อผลลองกองโตเต็มที่จะมีขนาดเท่าๆกัน หลังจากนั้น
ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงผลให้สมบูรณ์ และในเดือนพฤศจิกายน ให้ห่อผลผลิตเพื่อป้องกันการทำลายจากแมลงศัตรูพืช สามารถเก็บผลผลิตลองกอง
ได้ในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งในช่วงนี้ราคาจะดีกว่าขายตามฤดูกาล หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้พักต้น เพื่อเตรียมการทำลองกอง
นอกฤดูกาลต่อไป


สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 จังหวัดสงขลา
โทร. 074-333-213 หรือ 074-333-163

นายณัฐรินทร์ วงษ์ครุธ : รายงาน
(นางตุลญา จงสกุล)
เลขานุการกรม รักษาราชการแทนหัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

http://ofs101.ldd.go.th/webprs/adminofs_5/ofsnews/report_empnews01.asp?ensid=00012/2553


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2011 6:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 10:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำ มะปราง-มะยง นอกฤดู....


ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนชนิดใดบังคับให้ มะปราง-มะยง ออกนอกฤดูโดยตรงได้ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีบังคับ
หรือควบคุมด้วยวิธี "บำรุง" เท่านั้น



วิธีบำรุง “มะปราง-มะยง” ให้ออกนอกฤดู

เตรียมต้นในรุ่นปีปัจจุบัน
1. บำรุงต้นแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี
2. ไว้ผลน้อยๆ เพื่อให้ต้นได้เหลืออาหารกลุ่มสร่งดอกบำรุงผลไว้ในต้นมากๆ
3. บำรุงระยะผลกลางจนถึงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ทางรากด้วย 8-24-24
4. บำรุงระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวทางรากด้วย 8-24-24 และทางใบด้วย 0-21-74 + กลูโคสหรือนมสัตว์สด
5. ระหว่างเลี้ยงผลให้หมั่นตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผล ตั้งแต่เริ่มแทงออกมาเป็นยอดอ่อน
6. บริหารจัดการปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ


วิธีทำให้ออกก่อนฤดูกาล
1. เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จให้ตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกใบอ่อนทันทีในวันรุ่งขึ้น

2. ได้ใบอ่อนชุดแรกแล้วเริ่มบำรุงเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ทันทีที่ใบอ่อนเริ่มแผ่กางโดยบำรุงชุดละ 2 รอบ ห่างกัน
รอบละ 5-7 วัน

3. เมื่อใบอ่อนชุดแรกเป็นใบแก่แล้วเรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อทันที

4. เมื่อใบอ่อนชุด 2 เริ่มแผ่กางให้ข้ามขั้นตอนไปเป็นบำรุงเปิดตาดอก โดย...

ทางใบ :
ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.) หรือ 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) สูตรใด
สูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. กับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.
+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้น ด้วยการละลายน้ำราดโคนต้นทั่วบริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

5. เมื่อดอกออกมาแล้วให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงปกติต่อไปจนถึงเก็บเกี่ยว


หมายเหตุ :
- ช่วงเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ทุกครั้งให้เสริม “กลูโคส” หรือ “นมสัตว์สด” ร่วมด้วย
- เพื่อความมั่นใจและประกันความผิดหวังว่าต้นได้ “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” มากอย่างเพียงพอ เมื่อใบอ่อน
ชุด 2 เริ่มแผ่กางให้บำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วันโดยฉีด
พ่นพอเปียกใบพร้อมกับ “งดน้ำ” เพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช. และหลังจากให้อาหารกลุ่มสร้างบำรุงผลครบจำนวนครั้ง
หรือต้นเริ่มแสดงอาการสมบูรณ์ชัดเจนบ้างแล้วให้เสริมด้วยการ “รมควัน” ทรงพุ่ม 2-3 รอบ รอบละ 10-15 นาที
ก็จะช่วยทำให้ต้นมีความพร้อมต่อการเปิดตาดอกมากยิ่งขึ้น
- ถ้ามะปราง-มะยงก่อนก่อนฤดูกาลปกติเพียง 1 เดือนก็ถือประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้ว


สรุป :
วิธีทำมะปราง-มะยงให้ออกก่อนฤดู คือ การย่นระยะเวลาปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนแต่ละขั้นตอนให้เร็วขึ้น 2-4 สัปดาห์
เท่าที่สภาพอากาศอำนวยและความพร้อมของต้นที่สามารถรับได้นั่นเอง


วิธีทำให้ออกหลังฤดูกาล
1. หลังจากเก็บเกี่ยวผลลิตเสร็จปล่อยต้นตามลำพัง 1-2 เดือน หรือเลื่อนระยะเวลา ตัดแต่งกิ่ง และ เรียกใบ
อ่อน ออกไปก่อน

2. เรียกใบอ่อน 3 ชุด แต่ละชุดเมื่อออกแล้วปล่อยให้พัฒนาเป็นใบแก่ตามปกติโดยไม่ต้องเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่

3. เมื่อใบชุด 3 (ชุดท้าย) เพสลาดให้บำรุง สะสมอาหารเพื่อการออกดอก ตามปกติแต่ให้นานขึ้นด้วยการเพิ่ม
จำนวนครั้ง จนกระทั่งได้ระยะยืดเวลาในการออกดอกตามต้องการแล้วจึงลงมือเปิดตาดอกตามปกติ


สรุป
วิธีทำมะปราง-มะยงให้ออกหลังฤดูปกติคือ การยืดช่วงระยะเวลาปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนแต่ละขั้นตอนให้นานขึ้น
2-4 สัปดาห์เท่าที่สภาพอากาศอำนวยและความพร้อมของต้นสามารถรับได้นั่นเอง



เปิดตาดอกมะยงชิด-มะปราง แบบำรุง
1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ให้บำรุงเพื่อปรับปรุงสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาตามขั้นตอน "เรียกใบอ่อน" ปกติ

2. บำรุงทางใบด้วย "ฮอร์โมนน้ำดำ" (เพื่อให้ต้นได้สะสม Mg-Zn) สลับด้วย Ca.Br. เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับ
ให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ

3. ก่อนถึงฤดูกาลเปิดตาดอก 3 เดือน ช่วง 2 เดือนแรกบำรุงทางใบด้วย 0-39-39 ทุก 10 วัน ตลอดระยะ 2 เดือน
พร้อมกับให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอเพื่อเร่งใบให้แก่จัด ขั้นตอนนี้ให้สำรวจตุ่มตา ถ้าพบว่าตุ่มตามีอาการลักษณะ
พร้อมออกดอกให้งดน้ำเด็ดขาด ซึ่งขั้นตอนงดน้ำนี้น่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน

4. งดน้ำกระทั่งใบสลดแล้วจึงให้น้ำโชกๆ 2-3 วันติดต่อกัน จากนั้นประมาณ 10-15 วันก็จะแทงดอกออกมาให้เห็น
การออกดอกหรือไม่ออกดอกขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) อำนวย

หมายเหตุ :
การบำรุงต้นให้ได้สะสม Mg–Zn–Ca-B เป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จนั้น ธาตุอาหารทั้ง 3 ตัวนี้ จะ
เป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ต้นมะยงชิด-มะปราง ออกดอกง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยทางใบสูตรเปิดตาดอกเหมือน
ไม้ผลอื่นๆได้


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2011 8:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 10:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำน้อยหน่านอกฤดู.....

- ปกติ (ในฤดู) จะตัดแต่งกิ่ง มกราคม เก็บผลผลิตได้ มิถุนายน-กันยายน
- เทคนิคการทำนอกฤดู ให้ตัดแต่งกิ่งพฤษภาคม จะเก็บผลผลิตได้ ตุลาคม-พฤศจิกายน
- ให้ตัดแต่งเฉพาะปลายกิ่งสีเขียว
- หลังตัดแต่งกิ่ง ต้องให้น้ำ

http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/off22.html




การทำน้อยหน่านอกฤดู.....

น้อยหน่า จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ดีพอควร ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่าง สีสัน และรสชาติ
ตรงกับรสนิยมของผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ แหล่งปลูกน้อยหน่าในประ
เทศที่สำคัญอยู่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยเฉพาะอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมานั้นจัดได้ว่า
เป็นแหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุด ส่วนในภาคอื่น ๆ มีการปลูกน้อยหน่ากันบ้าง แต่เป็นการปลูกเพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือนเสีย
มากกว่า

การปลูกน้อยหน่าในปัจจุบันนี้ได้รับการพัฒนาไปมาก ทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ใหม่ ๆ จนทำให้น้อยหน่าที่
ปลูกในระยะหลังนี้มีผลโต เนื้อมาก เมล็ดน้อย รสชาติหวานอร่อย และที่สำคัญก็คือสามารถบังคับให้น้อยหน่าออกดอกนอก
ฤดูกาลได้ด้วย ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกก่อนฤดูปกติ :
วิธีนี้เหมาะกับสวนที่มีระบบการให้น้ำดีและมีน้ำใช้ตลอดปี หากมีน้ำไม่เพียงพอหรือระบบการให้น้ำไม่ดี การบังคับให้น้อยหน่า
ออกดอกก่อนฤดูจะกระทำไม้ได้ผล วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถกำหนดช่วงการแก่และเก็บผลได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้
ผลแก่ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้อยหน่าออกมาขายในตลาดน้อยและมีราคาสูงเราสามารถกระทำ
ได้โดยปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เดือนสิงหาคม บำรุงให้ต้นน้อยหน่าสมบูรณ์โดยใส่ปุ๋ยเกรด 1 : 3 : 3 เช่นสูตร 8-24-24 พร้อมกับให้น้ำ ต่อจากนั้นก็
ปล่อยให้พักตัวประมาณ 1 เดือน

2. เดือนกันยายน ทำการตัดแต่งกิ่งทันที โดยกิ่งที่ทำการตัดแต่งนั้นควรเป็นกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 1/2 -2 เมตร
ขนาดของกิ่งถ้าเล็กกว่า 1/2 ซม. ควรตัดออกให้หมดแต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า 1/2 ซม. ให้ตัดเหลือปลายกิ่งไว้ประมาณ 15 ซม.
หากปลายกิ่งใดมีสีเขียวอยู่ก็ให้ตัดออกให้หมด เหลือเพียงกิ่งสีน้ำตาลไว้เท่านั้นและหากมีกิ่งกระโดงหรือกิ่งแขนงที่แตกใกล้
ระดับพื้นดินต้องตัดออกให้หมดเช่นกัน

3. ปลายเดือนกันยายน หลังจากทีได้ตัดแต่งกิ่งไปแล้วประมาณ 20 วัน ต้นน้อยหน่าเริ่มแตกใบอ่อนและออกดอกมา
ให้เห็น ช่วงนี้ควรมีการให้น้ำตามปกติ

4. เดือนตุลาคม ประมาณ 31-45 วันต่อมาดอกจะบาน ส่วนการให้น้ำก็ปฏิบัติเช่นเดิม

5. เดือนพฤศจิกายน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลมีขนาดเท่าหัวแม่มือ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโตเต็มที่

6. เดือนธันวาคม เมื่อผลมีขนาดโตเท่าไข่ไก่ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 เพื่อให้ผลมีคุณภาพดีขึ้น

7. เดือนกุมภาพันธ์ ผลแก่สามารถเก็บไปจำหน่ายได้ ซึ่งตรงกับช่วงที่น้อยหน่ามีราคาแพงพอดี


หากไม่ใช้วิธีตัดแต่งกิ่งอาจใช้สารเคมีแทนก็ได้โดยใช้สารเคมีพวกพาราควอท (ชื่อการค้าว่า กรัมม๊อกโซน , น๊อกโซน, แพลน
โซน) ให้ใช้ในอัตราความเข้มข้น 0.05-0.1 เปอร์เซ็นต์ (ของเนื้อสาร) ในปริมาณ 41-82 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีด
พ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้ใบร่วงหมดภายในเวลา 7-10 แต่การฉีดสารเคมีนี้ต้องระวังไม่ฉีดในขณะที่ต้นน้อยหน่าแตกกิ่งหรือใบ
อ่อน เพราะจะทำให้กิ่งหรือใบไหม้ได้


การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกในฤดูปกติและหลังฤดูปกติอีกบางส่วน :
การปฏิบัติเหมือนกับที่ทำในฤดูปกติ คือ จะ
ตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และเลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีผลติด ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 5 ม.ม. และจะ
ติดผลประมาณเดือนเมษายน ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคมจะทำการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยทำการตัดปลายกิ่งออกเฉพาะช่วง
ที่มีสีเขียวและให้เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว หลังจากนั้นให้รูดใบของกิ่งที่ตัดออกให้หมด กิ่งพวกนี้จะแตกใบใหม่
พร้อมกับมีดอกออกมาอีก 1 รุ่น ซึ่งร่นที่ 2 นี้จะเก็บผลขายได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีผล
ไม้อื่นออกมามากนักเลยทำให้ขายได้ราคาสูง

การทำให้น้อยหน่าออกดอกหลังฤดูปกติอีกครั้งหนึ่งนั้น ควรมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปด้วย โดยเฉพาะปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยวิทยา
ศาสตร์ เช่น ปกติใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1/2-1 ปี๊บ ควรเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 อีกต้นละ 2 กก. จะ
ช่วยให้ผลน้อยหน่ามีขนาดใหญ่และคุณภาพของผลดียิ่งขึ้น

http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/04/2011 7:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 11:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำมะขามหวานนอกฤดู.....


- โดยธรรมชาติ ใบร่วงก่อน(ผลัดใบ) แล้วจะแตกใบใหม่ พร้อมออกดอกไล่เลี่ยกัน

- ชอบกระทบแล้ง แล้วค่อยออกดอก (ไม่เหมือนมะม่วง ที่ชอบกระทบหนาวแล้วค่อยออกดอก)

- ปกติ (ในฤดู) จะออกดอก พฤษภาคม-มิถุนายน, ติดฝัก กันยายน-ตุลาคม, ฝักแก่ ธันวาคม-มีนาคม แล้วกระทบแล้ง
ในเดือนเมษายน (1 เดือน) จะสลัดใบ พักตัว พอเข้าฤดูฝน (พฤษภาคม)ได้น้ำ ก็แตกใบใหม่ พร้อมออกดอกไล่เลี่ยกัน

- เทนิคการทำนอกฤดู ในฤดูฝน (พฤษภาคม) กักน้ำ ทำให้ใบร่วงหมด แล้วเว้นไว้ 1 เดือน (กรกฎาคม) แล้วจึงให้น้ำเต็มที่
(สิงหาคม) ก็จะออกดอกในเดือนกันยายน ติดฝักเดือนมกราคม

- ฝักแก่เดือนเมษายน-กรกฎาคม


http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/off22.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 11:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำขนุนนอกฤดู....

- ปกติ (ในฤดู) จะออกดอกที่กิ่งใหญ่ โดยเฉพาะโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง คือ ธันวาคม-มกราคม และเมษายน-พฤษภาคม
หลังจากออกดอก 5 เดือน เก็บผลผลิตได้

- เทคนิคการทำนอกฤดู ช่วงที่ขนุนกำลังจะเริ่มออกดอก ให้ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ให้แสงถึงโคนต้นประมาณ 30% จะทำให้
ขนุนเลื่อนเวลาการออกดอกออกไป ทำให้การเก็บผลผลิตเลื่อนตามออกไปด้วย


http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/off22.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 11:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำส้มโอนอกฤดู .....

ส้มโอ เป็นผลไม้ในตระกูลส้มที่ทุกคนรู้จักดีและนิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวาง จัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพในด้านการส่งออก
ไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ส้มโอมีการปลูกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่แหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอสามพราน
และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการปลูกส้มโอกันมาช้านานแล้วปัจจุบันส้มโอเป็นพืชที่มีความสำคัญทาง
เศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากประชาชนนิยมบริโภคกันมากขึ้นประกอบกับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เก็บไว้ได้นาน
และเป็นผลไม้ที่ตรงกับรสนิยมของชาวต่างประเทศ มีการส่งส้มโอไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ นำเงินเข้าสู่ประเทศ
เป็นจำนวนหลายล้านบาท

ส้มโอที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปนี้ปกติจะเริ่มอกดอกในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์และผลแก่สามารถเก็บผลได้ในเดือนกันยายนถึงตุลาคม
ถ้านับเวลาตั้งแต่วันออกดอกจนถึงเก็บผลได้ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน การเก็บเกี่ยวส้มในฤดูปกตินี้เรียนกันว่า ส้มปี และอาจมีส้ม
ที่ออกนอกฤดูอีกบางส่วน ซึ่งเรียกว่า ส้มทะวาย

ส้มทะวายนี้เกิดได้ทั้งตามธรรมชาติและเกิดจากการบังคับ ส้มทะวายที่เกิดตามธรรมชาตินั้นมักจะเกิดตามแหล่งปลูกในที่ดอน
เช่น แถบภาคกลางตอนบนขึ้นไปในแหล่งดังกล่าวนี้หลังจากฝนตกในช่วงต้นฤดูไปแล้ว ฝนมักจะเกิดการทิ้งช่วง การที่ฝนทิ้งช่วง
นี้จะทำให้ส้มโอที่ปลูกอยู่เกิดการขาดน้ำ และหากมีการขาดน้ำในช่วงระยะหนึ่ง เช่นประมาณ 15-30 วัน ถ้ามีฝนตกลงมาอีกครั้ง
หนึ่งก็จะไปกระตุ้นให้ส้มโอเกิดการแทงดอกนอกฤดูทันที

ส่วนส้มทะวายที่เกิดจากการบังคับนั้น มักจะนิยมทำกับส้มโอพันธุ์ขาวพวงทั้งนี้เพราะพันธุ์ที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ โดย
มีตลาดรับซื้อแถวประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์เพื่อนำไปใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ซึ่งตรงกับเดือนกันยายนของทุกปี ดังนั้นชาว
สวนส้มโอจึงต้องการบังคับให้ส้มโอพันธุ์ขาวพวงออกดอกก่อนฤดูปกติ เพื่อให้ส้มโอแก่ทันก่อนตัดไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ใน
ช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์หรือก่อนเทศกาลไหว้พระจันทร์เล็กน้อย

สำหรับวิธีการบังคับให้ส้มโอออกดอกนอกฤดูกาลนี้ใช้หลักการเดียวกันกับการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกนอกฤดูกาล กล่าวคือ
ใช้วิธีงดน้ำหรือกักน้ำเป็นหลักสมมุติถ้าต้องการให้ส้มโอเก็บผลผลิตได้ในช่วงปลายเดือนกันยายน ต้องบังคับการใช้น้ำตั้งแต่ต้น
เดือนธันวาคมของปีก่อน เมื่อส้มโอแสดงอาการขาดน้ำโดยใบเริ่มเหี่ยวเฉา (ประมาณ 20 วันหลังจากงดให้น้ำ) ก็ให้น้ำ
อย่างเต็มที่ ประมาณต้นเดือนมกราคมส้มโอจะเริ่มแตกใบอ่อนพร้อมทั้งออกดอก ช่วงนี้ควรมีการดูรักษากันเป็นพิเศษ จนเมื่อ
ติดผลไปแล้วค่อยดูแลรักษาตามปกติเหมือนกับส้มที่ติดผลในฤดูปกติ จนครบ 8 เดือน ส้มโอก็แก่พอที่จะเก็บผลได้ซึ่งตรง
กับช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนพอดี


http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 12:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำสับปะรดนอกฤดู....

สับปะรด เป็นพืชใบเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถปลูกได้ในพื้นที่แทบทุกแห่งของประเทศไทย แหล่งปลูกสับปะรด
ที่สำคัญอยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้ทะเล เช่น แถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และจังหวัดทางภาคใต้
เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร ซึ่งนิยมปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา สับปะรดที่ปลูกกันทั่วไปนั้นมักจะออกผลทยอยกันตลอดปี และในปี
หนึ่ง ๆ จะมีช่วงที่สับปะรดออกดอกและให้ผลมากอยู่ 2 ช่วงคือช่วงแรกสับปะรดจะออกดอกประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
และจะเก็บผลได้เดือนเมษายนถึงมิถุนายน และช่วงที่สองจะออกดอกประมาณเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม และจะเก็บผลได้ในช่วงเดือน
ตุลาคมถึงธันวาคม

หากมีการปล่อยให้สับปะรดออกดอกตามธรรมชาติแล้วจะพบว่าการติดผลและเก็บผลจะไม่พร้อมกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยากมากในการ
เก็บเกี่ยวและการเลี้ยงหน่อในรุ่นต่อไป

นอกจากนี้การออกดอกของสับปะรดตามธรรมชาติจะทำให้มีผลผลิตออกมาปริมาณมากในช่วงเดียวกัน ซึ่งทำให้สับปะรดที่ออกมาใน
ช่วงดังกล่าวมีราคาที่ต่ำมาก ดังนั้นหากมีการบังคับให้สับปะรดออกดอกและให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกติ ทำให้สับปะรดมีราคาสูงขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของสวนสับปะรดต้องการหรือปรารถนาให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามในการบังคับให้สับปะรดออกดอก และให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกตินั้นย่อมจะต้องมีปัจจัยต่าง ๆ คอยควบคุมอยู่ ปัจจัยที่
นับว่าสำคัญมาก ได้แก่สภาพความสมบูรณ์ของต้นสับปะรด มีขนาดเล็กเกินไปการบังคับจะทำไม้ได้ผลเนื่องจากต้นสับปะรดยังไม่มี
ความพร้อมหรือความสมบูรณ์พอหรือถ้าออกดอกได้จะทำให้ผลมีขนาดเล็ก สำหรับสับปะรดที่พร้อมจะทำการบังคับนั้นต้องเป็นสับปะรด
ที่มีความสมบูรณ์ โดคนต้นจะต้องอวบใหญ่ มีน้ำหนักของต้นประมาณ 2.5 กก.ขึ้นไปหรือมีใบมากกว่า 45 ใบ หรือมีอายุได้ 7-8
เดือน ต้องทำหลังจากการใส่ปุ๋ยทางดินอย่างน้อย 3 เดือน และสามารถคำนวณระยะเก็บเกี่ยวได้ โดยนับตั้งแต่บังคับให้ออกดอกไป
ประมาณ 160 วัน

ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอกและวิธีการใช้ :
1. ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์
เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยมใช้กันมากเพราะหาง่ายและราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วยกัน 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1
ป่นถ่านแก๊สให้เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรด จากนั้นจึงหยอดน้ำตามลงไปประมาณ 50 ซีซี. (ประมาณ
1/4 กระป๋องนม) หรืออาจจะดัดแปลงโดยป่นถ่านแก๊สป่นประมาณ 0.5-1.0 กรัม/ต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1-2 กก.)
วิธีนี้มักจะทำให้ช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวกและประสิทธิภาพการใช้ถ่ายแก๊สจะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1 นี้ มีข้อเสีย
คือ สิ้นเปลืองเวลาและแรงงานมากเพราะต้องมีคนใส่ถ่ายแก๊สคนหนึ่ง และหยอดน้ำตามอีกคนหนึ่ง

วิธีที่ 2
ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กก. ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซีซี. (1 กระป๋องนม
หยอดได้ 4 ต้น) วิธีนี้เหมาะมากถ้าทำในช่วงฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็วแต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างคือ สิ้นเปลืองถ่านแก๊สมาก

วิธีที่ 3
ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปในกรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย ลงไปยังยอดสับปะรด วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติ
กันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวกในการปฏิบัติ


หลังจากหยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็นดอกสีแดง ๆ โผล่ขึ้นมาจากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5
เดือน จะสามารถตัดสับปะรดแก่ไปขายหรือนำไปบริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน ดังนั้น
ถ้านำไปขายก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ


การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูกบางรายลงความเห็นว่า การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงาน
หรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้การเกิดหน่อของสับปะรดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อเลยและที่เห็นได้ชัดเจน
ก็คือขนาดของผลเล็กลง ทำให้หนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ลดลงด้วย นอกจากนี้แล้วสับปะรดที่ใช้ถ่ายแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่
นาน คือ เพียง 3-5 วันเท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรดจะไส้แตก เนื้อจะน่า รสชาติจะเปลี่ยนไป และหากมีการใช้ถ่านแก๊ส
มากเกินไปจะทำให้ยอดสับปะรดเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงการ
ตั้งข้อสังเกตและลงความเห็นของเกษตรกรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้คงจะหมดไป ถ้าหากนักวิชาการเกษตรหันมา
ให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

2. เอทธิฟอน
เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทธิลีนออกมาโดยตรง เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรดจะแตกตัว
ปล่อยเอทธิลีนออกมาเอทธิลีนจะเป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมี 2 ชนิด คือ

1. ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถุงพลาสติกขนาด 1 แกลลอนโดยใช้อัตรา 17-30 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและ
ปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซีซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)

2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีชื่อการค้าว่า อีเทรล ใช้ในอัตรา 60-120 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บ
และปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซีซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)

ปริมาณการใช้เอทธิฟอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดของต้นสับปะรดด้วยกล่าวคือ ถ้าหยอดในช่วงเดือนมิถุนายนถึง
ตุลาคมหรือต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ในปริมาณมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืนช่วงที่มีอากาศร้อนอบด้าวให้
ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

3. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลนโนฟอกซ์ใช้ในอัตรา 50 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร
และปุ๋ยยูเรีย 4-5 กก. หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา 60 ซีซี./ต้น สามารถบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกัน


ข้อควรคำนึงในการบังคับให้สับปะรดออกดอกนอกฤดูกาล :
1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำใน
ตอนเข้าหรือตอนเย็น หรือในเวลากลางคืน ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น

2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่ง ๆ นั้นควรผสมสารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัว
ยาบางชนิดเสื่อมคุณภาพ

3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากหยอดสาร จะต้องหยอดสารใหม่

4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้งแรกไปแล้ว 7 วัน ทั้งนี้เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น

5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือไส้เน่าก็ให้ใช้ยา อาลีเอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซีซี.
ต่อต้นซึ่งสามารถรักษาโรคนี้ได้ดี

6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา 50 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20
จำนวน 50 กรัม ราดหรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และกระทำทุก ๆ 30-45 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาด
และน้ำหนักของผล ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์ อัตรา 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร
และผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่ผลสับปะรดจะแก่หรือสุกประมาณ 15 วัน
ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยวผลสับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดที่เก็บเกี่ยวล่าช้านี้
ให้ดียิ่งขึ้น


http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 12:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำลิ้นจี่นอกฤดู.....

การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลย่อมมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องและควบคุมอยู่ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นได้แก่

1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการออกดอก หากมองอย่างผิวเผินแล้วจะเห็นได้ว่า การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลนั้นจะต้องอาศัย
ลักษณะความสูงของพื้นที่และสภาพอุณหภูมิต่ำเป็นประการสำคัญ จากการศึกษาถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการออกดอก
ของลิ้นจี่ปรากฏว่า การออกดอกของลิ้นจี่จะต้องอาศัยสภาพพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ เช่นสภาพพื้นที่บนเขาหรือพื้นที่
ที่มีความสูงเกิน 800 เมตรขึ้นไป และจะต้องอาศัยช่วงอากาศหนาวเย็นในระยะก่อนออกดอกในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 องศาเซล
เซียส เป็นเวลา 120-200 ชั่วโมง

2. สภาพความสมบูรณ์ของต้นลิ้นจี่ เป็นที่น่าสังเกตว่าสวนลิ้นจี่ที่ปลูกบนพื้นที่สูงที่มีการผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลนั้น ลิ้นจี่จะไม่มีการ
ออกดอกติดผลทุกต้นแม้จะมีสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันก็ตาม ทั้งนี้เกิดจากลิ้นจี่มีความสมบูรณ์ของต้นไม่เท่ากันและมีการ
เจริญเติบโตที่ไม่ได้จังหวะพอดีกับการแตกตาดอก และเป็นที่ทราบกันดีว่าการเจริญเติบโตของต้นลิ้นจี่นั้น สามารถดูได้จากใบ
ลิ้นจี่ที่แตกออกมา ซึ่งปกติแล้วลิ้นจี่จะแตกใบอ่อนปีละ 3 ครั้งคือในฤดูฝน 2 ครั้งและในฤดูแล้งอีก 1 ครั้งโดยในแต่ละครั้ง
ใช้เวลาประมาณ 60 วัน และจากสภาพที่ลิ้นจี่มีการแตกใบอ่อนไม่พร้อมกัน และเจริญเติบโตไม่เท่ากันกล่าวคือในบางต้นมี
ใบแก่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันอีกต้นหนึ่งกำลังแตกใบอ่อนอยู่ ดังนั้น เมื่อมีการออกดอกและติดผล จึงไม่พร้อมกันหรือในบาง
ต้นอาจะไม่มีการออกดอกหรือติดผลเลยก็ได้

3. พันธุ์ พันธุ์ลิ้นจี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการออกดอก ทั้งนี้เพราะลิ้นจี่พันธุ์ต่างกัน มีความต้องการความหนาวเย็นของอากาศ
เพื่อการออกดอกที่ไม่เท่ากัน กล่าวคือ

1. พันธุ์ลิ้นจี่ที่ต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานกว่า 100 ชั่วโมงก่อนการออกดอกได้แก่ พันธุ์ค่อม , กิมจี้ , โอเฮี๊ยะ ,
ไทยใหญ่ และไทยธรรมดา เป็นต้น

2. พันธุ์ลิ้นจี่ที่มีความต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานประมาณ 120-140 ชั่วโมงการออกดอกเช่น พันธุ์สาแหรกทอง
และพันธุ์กะโหลกต่าง ๆ

3. พันธุ์ลิ้นจี่ที่ต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานประมาณ 150-170 ชั่วโมงก่อนการออกดอกได้แก่พันธุ์โฮงฮวย ,
ฮ่องกง , กิมเจง , จูบีจี้ , เขียวหวาน , กระโถน , สำเภาแก้ว เป็นต้น

4. พันธุ์ลิ้นจี่ที่ต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานประมาณ 200 ชั่วโมงก่อนการออกดอกได้แก่ พันธุ์กวางเจา และพันธุ์
จักรพรรดิ


4. อัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจน (C/N ratio) การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลนั้น สิ่งที่นำมาพิจารณาคืออัตราส่วน
ระหว่างคาร์โปไฮเดรตและไนโตรเจน ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่า ถ้าอัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนมีปริมาณที่เท่า ๆ
กันเช่น 2:2 ลิ้นจี่จะแตกตาใบขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนแตกต่างกัน เช่น 3:1 ลิ้นจี่จะแตก
ตาดอก จากหลักการดังกล่าวนี้ หากมีการลดอาหารจำพวกไนโตรเจน โดยงดให้น้ำหรือไม่ปล่อยน้ำเข้าสู่ระบบรากของลิ้นจี่ ลิ้นจี่
จะแตกตาดอกได้ง่ายและเร็วกว่าปกติด้วย

ลิ้นจี่ที่ออกผลนอกฤดูกาลจะฟอร์มตาดอกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็นเหมาะต่อ
การสะสมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต และในขณะเดียวกันหากสถานที่ปลูกมีความลาดเทมาก น้ำไม่ขังเวลาฝนตกจะเป็นการลด
อาหารพวกไนโตรเจนไปในตัว จึงทำให้ลิ้นจี่มีฮอร์โมนที่สร้างตาดอกขึ้น ดังนั้นพอถึงเดือนกรกฎาคมลิ้นจี่จึงตั้งช่อดอกและจะติด
ผลในช่วงเดือนสิงหาคม ผลจะใหญ่และแก่ตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงมกราคม ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลปีใหม่พอดี ดังนั้นลิ้นจี่ที่
ออกผลในช่วงนี้จึงขายได้ในราคาสูงกว่าปกติมาก

อย่างไรก็ตาม การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลย่อมจะมีปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น มักมีแมลงเข้ามากินหรือ
ทำลายผลลิ้นจี่เสมอ นอกจากนี้ก็มีศัตรูอื่น ๆ เข้าทำลายอีกเช่น ค้างคาวหรือนก ซึ่งเข้ามากัดกินผล และโดยเฉพาะปัญหาเกี่ยว
กับสภาพแวดล้อมที่มีปัจจัยต่อการออกดอกของลิ้นจี่นั้นนับได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก ทั้งนี้เพราะการปลูกลิ้นจี่หรือพืชอื่น ๆ
ย่อมจะต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมเป็นหลัก เช่น ดิน ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งปัจจัยเหล่า
นี้มีความแปรปรวนไปได้ง่าย ดังนั้น ถ้าหากปัจจัยเหล่านี้มีความแปรปรวนไปมาก ๆ ทำให้การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลไม่ประสบผล
สำเร็จได้ ฉะนั้นก่อนที่จะมีการผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาล เกษตรกรควรได้ศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐาน
พร้อมทั้งอาจจะประยุกต์วิธีการและขั้นตอนบางอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่จะปฏิบัติต่อไป



http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 12:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำแก้วมังกรนอกฤดู......


การใช้ฮอร์โมนเร่งการออกดอกในแก้วมังกร :
ขณะนี้มีเกษตรหลายท่าน ทดลองใช้ฮอร์โมนที่มีส่วนผสมไซโตไคนิน เพื่อกระตุ้นการออกดอกในแก้วมังกรแต่อฮร์โมนดังกล่าว
ปัจจุบันราคาสูงมาก ตกราว ซีซี.ละ 100 บาท 1 ขวดเล็กมี 5 ซีซี. 450 บาท มักจะทดลองใช้ในการทำนอกฤดู ที่เวียตนามก็มี
การทดลองใช้เช่นกัน บางท่านก็ว่าไม่ได้ผลบางท่านก็ว่าไม่ชัวร์ 50-50 บางท่านก็บอกว่าดี ได้ผลถึง 70-80 % คงขึ้นอยู่กับ
ความพร้อมของต้น
สภาพแวดล้อม ปริมาณแสง อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ฯลฯ

วิธีการ หากเราต้องการให้ไปออกดอกช่วงปีใหม่ หรือตรุษจีน ก็นับถอยหลังลงมาเลย 50 วันหากอากาศไม่หนาวเกิน เพราะหาก
หนาวมากมักไม่ได้ผล ให้ตัดแต่งปลายกิ่งล่วงหน้ามาแล้ว โดยกิ่งยาวพ้นค้างห้อยลงมาไม่เกิน 1 เมตร บำรุงต้นมาอย่างดี เลือกดู
หนามที่อ้วนๆ ค่อยๆเอามีดปลายแหลมแคะหนามหรือเปลือกตาออก ถ้าเห็นเนื้อเป็นสีเหลืองก็ใช้ได้ ถ้าเป็นสีเขียวหรือขาวมักจะ
เป็นตายอด ไม่ใช่ตาดอก
ให้เอาปลายพู่กันแตะฮอร์โมน แล้วป้ายที่ตาดอกดังกล่าว ราว 3 วัน ตาดอกจะงอกออกมา

แต่บอกก่อนนะครับว่าต้นทุนค่อนข้างสูง ตกราว 1 บาท/ตา ได้ผลหรือไม่ต้องทดลองกันเองนะครับ ผมไม่กล้ารับรอง ถ้าอยาก
ลองให้ลองน้อยๆก่อนดีกว่าครับ
ฮอร์โมนตัวนี้ บางท่านใช้ป้ายที่ขั้วผลแก้วมังกร เพื่อขยายขนาดผลด้วย ช่างเป็นผู้ที่ขยันทดลองจริงๆ ไม่ทราบว่าได้ผลหรือเปล่า
ใครนใจก็ลองดูได้นะครับ

บางท่านก็ใช้ฮอร์โมนตัวนี้ในการเร่งการแตกตายอด โดยเฉพาะท่านที่ขายกิ่งพันธ์ใหม่ๆ ต้องเร่งให้แตกยอด ใช้กับการเปลี่ยนยอด
หรือติดตาครับ เขาต้องเร่ง ทำเวลา เพราะหากออกช้า คนอื่นจะขายได้ก่อนครับ

ยิ่งกว่านั้น ที่เวียตนาม ก็มีการทดลองทำนอกฤดู โดยตัดแต่งกิ่งแบบหนัก เหลือพ้นค้างไม่เกิน 50 เซนติเมตร ก่อนหน้าที่จะทำนอก
ฤดูซัก 1 เดือน หากมียอดอ่อน หรือกิ่งอ่อนแตกออกมา แกเล่นตัดทิ้งหมดเลย บำรุงต้นต่อ ทั้งใส่ปุ๋ย รดน้ำ พอถึงกลาง พฤศจิ
กายน ถึงธันวาคม อากาศไม่หนาวเกินไป ก็เอาฮอร์โมนดังกล่าว
ป้ายที่ตาที่พร้อม ทั้งที่ปลายกิ่งและที่โคนต้นด้วย

ปกติแก้วมังกร มักจะออกดอกที่กิ่งใหม่เป็นส่วนใหญ่ คนเวียตนามรายนี้ทดลองอะไรแปลกดีเหมือนกัน เล่นทดลองกับกิ่งเก่า เขาว่า
ได้ผลพอใช้ได้ ผลโตดีด้วย แต่แกไม่ได้บอกว่าได้กี่ผลต่อต้น ป้ายไปกี่ตา ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ใครอยากทดลองก็ขอให้สนุกนะครับ
แต่อย่าไปคาดหวังมากนัก เพราะฮอร์โมนราคาสูง

ผมเองปลายปีนี้ว่าจะหาโอกาสทดลองกับเขาบ้าง เผื่อจะมีอะไรมาเล่าให้อ่านกัน
ฮอร์โมนที่ใช้ มีขายในบ้านเรายี่ห้อ โปรโมท
ครับ ของ กฤษณามาเก็ตติ้ง ผมไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ และไม่ได้ส่งเสริมให้ใช้กันนะครับ แต่ท่านใดอยากทดลอง จะได้มีข้อมูลครับ


http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=reddragonfruits&id=34






การบังคับแก้วมังกรให้ออกก่อนฤดูกาล


- เดือน ก.ค.- ส.ค. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ก.ย.- ต.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอกพร้อมกับให้แสง ไฟขนาด 100 วัตต์ 1 หลอด/4 ต้น
ช่วงเวลา 18.00-21.00 น.และ 05.00-06.00 น. ทุกวัน ตลอด 1 เดือน
- เดือน ม.ค. เปิดตาดอก
- เดือน ก.พ. บำรุงผล

หมายเหตุ :
- การให้แสงไฟวันละ 2-4 ชม.หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง ช่วงอากาศหนาว (พ.ย.-ธ.ค.) ต้องใช้ระยะเวลานาน
20-25 วันขึ้นไป แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งใช้ระยะเวลาให้ประมาณ 15-20 วัน ซึ่งดอกที่ออกมาจะดกกว่าช่วง
อากาศปกติที่ไม่มีการให้แสงไฟ....ในฤดูกาลปกติถ้ามีการให้แสงไฟก็จะช่วยให้ออกดอกดีและดกกว่าการไม่ให้
แสงไฟ
- การบังคับให้ออกนอกฤดูจะสำเร็จได้ ต้นต้องได้รับการบำรุงอย่างดี มีการจัดการปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร
(ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องสม่ำเสมอจนต้นสมบูรณ์เต็มที่ และ
ไม่ควรปล่อยให้ออกดอกติดผลในฤดูกาลมาก่อน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/05/2011 6:56 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 1:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำเงาะนอกฤดู.....


การผลิตเงาะนอกฤดูกาลโดยใช้เกษตรอินทรีย์ 50% ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก บำรุงต้น ให้สมบูรณ์ ฉีดพ่นสาร พด.5 กำจัดวัชพืช
ตัดแต่งกิ่งคลุมโคนต้นที่อยู่ในระดับต่ำออกให้หมด การผลิตเงาะนอกฤดูกาลโดยใช้เกษตรอินทรีย์ 50%

มีการปลูกเงาะในพื้นที่บ้านกลาง ม.2 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เกษตรกรมีการผลิตเงาะนอกฤดูกาล จำนวน
10 ราย พื้นที่ 100 ไร่ ซึ่ง นายเจริญ โมราศิลป์ อดีตเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการผลิตไม้ผลให้ออกนอกฤดู
กาลจะต้องอาศัยปัจจัยธรรมชาติ 50% สำหรับการผลิตเงาะนอกฤดูกาลของคุณเจริญ โมราศิลป์ มีจำนวน 350 ต้น

ในปีที่ผ่านมาเนื่องจากสภาวะปัจจัยทางธรรมชาติไม่อำนวยทำให้ได้รับผลผลิตเพียง 30% ราคากิโลกรัมละ 50 บาท วิธีการ
ปฏิบัติผลิตเงาะนอกฤดูกาลของคุณเจริญ โมราศิลป์ จะต้องใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก บำรุงต้น ให้สมบูรณ์ ฉีดพ่นสาร พด.5 กำจัด
วัชพืช ตัดแต่งกิ่งคลุมโคนต้นที่อยู่ในระดับต่ำออกให้หมด ซึ่งสามารถกระทำได้กับเงาะอายุระหว่าง 5-15 ปี

ระยะเวลาที่ปฏิบัติหรือดำเนินการช่วงเดือนธันวาคม -มกราคม ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา
2-3 กก./ต้น ก่อนออกดอก 1 เดือน ทำให้บริเวณทรงพุ่ม โล่งเตียน โดยฉีดพ่นสาร พด.5 ปราบวัชพืช ให้ปุ๋ยทางดิน
สูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 2-3 กก./ต้น และให้ดินมีความชื้นพอสมควร จากนั้นประมาณ

http://gotoknow.org/blog/phromkiri/62084




การผลิตเงาะนอกฤดู....

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูในภาคตะวันออกจำนวน 3 การทดลอง
ในแหล่งปลูกต่างๆ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ระหว่างปีการทดลอง พ.ศ. 2547-2551 โดยศึกษาหาวิธีการปรับปรุงโครง
สร้างต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การให้สภาวะเครียดเนื่องจากการขาดน้ำในระดับต่างๆ ต่อการกระตุ้นการออกดอก
และการจัดการเขตกรรมหรือการใช้สารเคมีกระตุ้นการออกดอก พบว่า

ต้นทดลองที่ทำการควั่นกิ่ง และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน มีผลกระตุ้นการออกดอกได้เร็วกว่ากรรมวิธีควบคุม

การควั่นกิ่งมีการออกดอกได้เร็วกว่ากรรมวิธีควบคุมประมาณ 10-20 วัน

และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน อัตรา 10 ก./พื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตรม. มีการออกดอกเร็วกว่ากรรมวิธีควบคุม
เฉลี่ยประมาณ 10 วัน โดยยังคงมีคุณภาพช่อดอกในด้านความยาวช่อดอก ความหนาแน่นช่อดอกได้ดีกว่ากรรมวิธีควบคุม
อย่างเห็นได้ชัดเจนทางสถิติ

และมีการติดผล พัฒนาการของผลผลิตได้ดีเช่นกัน ส่งผลให้มีน้ำหนักเฉลี่ยในเกณฑ์ค่อนข้างสูง คือ 40.73 และ
40.20 ก. ตามลำดับ

นอกจากนั้นยังให้คุณภาพการบริโภคได้ดี มีความหวานและสัดส่วนที่บริโภคได้ไม่แตกต่างจากผลผลิตที่ได้จากต้นทดลอง
ในกรรมวิธีควบคุมสามารถเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนเมษายนซึ่งมีราคาเฉลี่ยสูงถึง 25-30 บาท/กก. และเก็บเกี่ยวเงาะชุดสุด
ท้ายราวต้นเดือนพฤษภาคม ที่ยังคงมีราคาเฉลี่ยค่อนข้างสูงคือ 12-13 บาท/กก. สูงกว่าราคาเฉลี่ยของผลผลิตในฤดูกาล
ผลิตที่ได้รับประมาณ 6-8 บาท/กก.

และจากการติดตามปริมาณไนโตรเจน และปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่ไม่อยู่ในโครงสร้าง ในระยะพัฒนาการของดอก พบว่า
ปริมาณไนโตรเจนมีการเปลี่ยนแปลงระดับค่อนข้างน้อย มีความเข้มข้นในใบเฉลี่ย 1.97-2.0 % ในระยะก่อนออกดอก
และลดลงเล็กน้อยคือ 1.91 % ในระยะแทงช่อดอกแล้ว หรือระยะใบที่เริ่มแก่

ส่วนปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่ไม่อยู่ในโครงสร้างมีการเปลี่ยนมากกว่า โดยมีระดับที่ค่อยๆ สูงขึ้นในช่วงก่อนออกดอก และ
ลดระดับลงในระยะการแทงช่อดอก หลังจากนั้นจึงมีการสะสมปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่ไม่อยู่ในโครงสร้างในระยะต่างๆ
เฉลี่ย คือ 4.7 6.1 และ 4.1 %

นอกจากศึกษาเทคโนโลยการผลิตเงาะนอกฤดูแล้ว ยังมีการศึกษาการแก้ปัญหาเงาะผลสดที่มีอายุเก็บรักษาสั้น ขนเงาะ
ดำ สูญเสียคุณภาพในเชิงการค้าภายหลังเก็บรักษาไว้ได้ไม่เกิน 3 วัน ในอุณหภูมิห้อง และ 7-10 วันในตู้ควบคุมอุณหภูมิ
เป็นสาเหตุของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเงาะผลสดให้ยาวนานขึ้นเพื่อการส่งออกทางเรือ


http://it.doa.go.th/refs/search.php?sqlQuery=SELECT%20author%2C%20title%2C%20type%2C%20year%2C%20publication%2C%20abbrev_journal%2C%20volume%2C%20issue%2C%20pages%2C%20corporate_author%2C%20thesis%2C%20address%2C%20keywords%2C%20abstract%2C%20publisher%2C%20place%2C%20editor%2C%20language%2C%20summary_language%2C%20orig_title%2C%20series_editor%2C%20series_title%2C%20abbrev_series_title%2C%20series_volume%2C%20series_issue%2C%20edition%2C%20issn%2C%20isbn%2C%20medium%2C%20area%2C%20expedition%2C%20conference%2C%20notes%2C%20approved%2C%20call_number%2C%20serial%20FROM%20refs%20WHERE%20serial%20%3D%201105%20ORDER%20BY%20author%2C%20year%20DESC%2C%20publication&client=&formType=sqlSearch&submit=Display&viewType=&showQuery=&showLinks=1&showRows=20&rowOffset=&citeOrder=&citeStyleSelector=Polar%20Biol&exportFormatSelector=RIS&exportType=html&citeType=html&headerMsg=


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 9:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 5:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำไผ่ตงนอกฤดู....


วิธีการผลิตไผ่นอกฤดูเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ตัดแต่งต้น ให้เหลือลำอยู่ 10 ลำ ต่อกอในจำนวนนี้เป็นลำใหม่ 5 ลำ
พร้อมใส่ปุ๋ยขี้ไก่ 2 หาบ จากนั้นให้ปุ๋ยชีวภาพและรดน้ำเต็มที่ และอย่าลืมดูแลเรื่องน้ำอย่างสม่ำเสมอ

ราวเดือนมีนาคมไผ่ก็จะมีหน่อออกมา ตัดขายได้กิโลกรัมละ 30 บาท

เดือนเมษายนราคาหน่อไผ่ก็ลดลงอีก จนต่ำสุด 5 บาท ต่อกิโลกรัม

จากสวนเมื่อเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมการเก็บผลผลิตจะไปสิ้นสุดราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ขนาดของหน่อ
ไผ่มีตั้งแต่ 1-3 กิโลกรัม ต่อหน่อ ผลผลิตที่ได้นั้นกอหนึ่งไม่ต่ำกว่า 25 หน่อ ต่อปี


http://www.raidaidd.com/forums/archiver/?tid-3254.html





ไผ่เปาะนอกฤดู

สำหรับเทคนิคการผลิตหน่อไม้นอกฤดูตามวิธีการของตนเองนั้น หลังจากตัดหน่อไม้ไผ่ที่ออกในหน้าฝนแล้ว ทำการตัดลำไผ่ต้น
ที่แก่นำไปใช้จักสาน ทำไม้ตะเกียบ และอื่นๆ เหลือแต่หน่อของต้นใหม่ช่วงเดือนกันยายน ใช้เศษใบไผ่ ใบไม้แห้งปกคลุม
โคนต้น

ทำการบำรุงต้นด้วยการใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 1 กิโลกรัมต่อกอ โดยการทยอยใส่เรื่อยๆ ใส่ปุ๋ยหมัก และเปลือกถั่วลิสง

ใช้น้ำสกัดชีวภาพจากผลไม้ผสมน้ำราดที่โคนต้นให้ทั่ว อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

ให้น้ำด้วยระบบน้ำที่วางท่อไว้ตลอดทั้งสวน ควบคู่กับการใส่ปุ๋ยแห้งที่ผ่านการหมักบ่มแล้ว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อกอ

ใส่ปุ๋ยคอกและกากถั่ว รดน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะและต่อเนื่องกัน

ไผ่เปาะก็จะเริ่มแทงหน่อใหม่ขึ้นมา และเพื่อให้ได้หน่อไม้ที่ใหญ่กว่าปกติ จึงใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการใช้ถังพลาสติก
หรือปี๊บ ความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร เจาะก้นถังออก นำไปครอบหน่อที่เริ่มพ้นดินแล้วใช้ปุ๋ยคอกจากมูลวัวและกากถั่ว
ใส่ให้เต็มถัง ทิ้งไว้ประมาณ 12-20 วัน หน่อก็จะเจริญเต็มที่จนแทงยอดพ้นถังพลาสติกหรือปี๊บที่ครอบอยู่จึงเปิดออก
หน่อที่สมบูรณ์จะหนักหน่อละ 2-3 กิโลกรัม

วิธีการแบบนี้ จะได้หน่อไม้ไผ่เปาะที่มีเนื้อสีขาวอวบ เนื้ออ่อน รสชาติหวาน เอร็ดอร่อยกว่าหน่อไม้ในฤดู ราคาหน่อไม้นอก
ฤดูราคากิโลกรัมละ 50-90 บาท ไผ่เปาะสามารถสร้างรายได้ให้ปีละ 20,000-30,000 บาทต่อไร่ ในปี 2549 ได้ขยาย
พื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 4 ไร่ ใช้ระยะปลูก 2 x 3 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 250 กอ

ปัจจุบันนี้นายบุญยัง เทพแก้ว จึงเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องการปลูกไผ่เปาะและการผลิตหน่อไผ่เปาะนอกฤดู
อย่างแท้จริง และได้ทำการขยายพื้นที่ปลูกไผ่เปาะทั้ง 50 ไร่ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพ
ทำสวน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2553 มีความพร้อมที่จะเป็นจุดเรียนรู้ การศึกษาดูงานแก่เกษตรกรทั่วไปเรื่องการ
ปลูกไผ่เปาะนอกฤดู

ติดต่อสอบถามได้ที่โทรศัพท์ 053-687-101, 08-2195-0814, สำนักงานเกษตรอำเภอแม่สะเรียง 053-681-351


http://www.organic.moc.go.th/view_news.aspx?data_id=1186&control_id=8&pv=32&view=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/04/2011 10:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 5:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำมะลิหน้าหนาว....


เนื่องจากในฤดูหนาว มะลิจะออกดอกน้อยแต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณที่สูง จึงทำให้มะลิมีราคาแพงกว่าปกติ ดังนั้น
หากเกษตรกรสามารถทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มะลิออก
ดอกในฤดูหนาวมี ๒ ข้อดังนี้

๑. การตัดแต่งกิ่ง โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และกิ่งเลื้อย
ซึ่งวิธีการตัดแต่งกิ่งมี ๒ วิธี คือ

- แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้เหมาะ
สมกับมะลิที่มีอายุน้อย

- แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง ๓-๔ กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ ๑-๑.๕ ฟุต การตัดแต่งกิ่งวิธี
ใช้กับมะลิอายุ ๒ ปีขึ้นไป


มะลิช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอก จนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ ๖ สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าเกษตรกรต้องการให้
มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป ๖ สัปดาห์ และถ้าต้องการให้แปลงมะลิทุกแปลงออก
ดอกพร้อมกันหมด เวลาตัดแต่งกิ่งก็ตัดให้หมดทุกแปลงเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือ ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน

๒. การบำรุงรักษาต้นและดอก
๒.๑ การบำรุงต้น เมื่อตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว จำเป็นมากที่ผู้ปลูกจะต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ โดยการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยคอกใส่ได้ไม่จำกัด ส่วนปุ๋ยเคมีใส่เดือนละครั้ง สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ใช้ในอัตรา ๑-๒ ช้อนแกง/ต้น

๒.๒ การบำรุงดอก ในฤดูหนาว นอกจากมะลิจะออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก ดังนั้น จึงควรให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัส
สูง เช่น สูตร ๑๐-๔๕-๑๐ ฉีดพ่นหลังใบ ในอัตรา ๒ ช้อนแกง / น้ำ ๒๐ ลิตร โดยฉีดพ่นทุก ๑๐ วัน แนะนำให้ใช้ฤดูหนาว
เท่านั้นสำหรับฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน


การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกในฤดูหนาว
สารไทโอยูเรียมีผลต่อการซักนำให้มะลิออกดอก จากการวิจัยเกี่ยวกับการบังคับให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวนั้นพบว่า สารไทโอ
ยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออกดอกของมะลิในฤดูหนาวได้เป็นผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
๑. ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายน
๒. ให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์โดยใช้ปุ๋ย ๑๕-๑๕-๑๕ อัตรา ๓๐ กรัมต่อต้น ในเดือนกันยายนและตุลาคม
๓. พ่นสารไทโอยูเรีย ๑% (ไทโอยูเรีย ๒๐๐ กรัม ผสมน้ำ ๒๐ ลิตร) ในเดือนพฤศจิกายน


มะลิจะออกดอกหลังจากพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ ๒๐ วัน และเก็บดอกต่อเนื่องไปอีก ๑ เดือน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า
การให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีก

จากการปฏิบัติดังกล่าว เราสามารถบังคับมะลิให้ออกดอกในช่วงที่ต้องการได้คือ ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วง
ฤดูหนาว ดอกมะลิราคาแพง


ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/in_agricultural/sub_agricultural_1.html?sub_id=2694&head=เทคนิคการบังคับมะลิให้ออกดอกในฤดูหนาว&click_center=1

จากคุณ : ญี่ปุ่น35

http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2006/10/J4798227/J4798227.html







การปลูกมะลิการมุ้ง

เป็นวิธีการปฏิบัติ เพื่อลดต้นทุนทางด้านการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลง และรักษาสภาพแวดล้อม โดยใช้ตาข่าย
คลุมแปลงมะลิ จะคลุมเฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้น เพื่อป้องกันการวางไข่ของหนอนผีเสื้อกลางคืน ซึ่งเป็นหนอนกัดกินดอกมะลิ
สาเหตุที่ไม่คลุมช่วงกลางวันก็เพราะว่า มะลิต้องการแสงแดดจัดเพื่อการออกดอก ถ้ามะลิได้รับแสงน้อยมะลิจะให้ดอกไม่ดก
การปฏิบัติเช่นนี้ จะเพิ่มต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มขึ้น

เนื่องจากต้องใช้แรงงานในการเปิด - ปิดตาข่าย แต่เมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีแล้ว ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นยังน้อยกว่าการใช้สาร
เคมี ดังนั้น วิธีนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับแปลงมะลิมาก


http://www.shongmive.ob.tc/b6.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/04/2011 9:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/04/2011 5:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำกุหลาบวาเลนไทน์....


Happy valentine's day
เพื่องลุงคิม ชื่อ มิสเตอร์โรเบิร์ต ทิงนองน็อย. บอกมาว่า สะกดผิด นะ [/color]

ลุงคิมคะ แล้วตัดแต่งตอนไหนให้ออกดอก ตรงวันวาเลนไทน์ค่ะ


...มีบุญค่ะ...........แล้วเว็บลุงลงรูปยังงัยค่ะ...???





ประสบการณ์ตรง กุหลาบ ......

- กุหลาบพันธุ์ดีมีระบบรากไม่แข็งแรง แก้ไขโดยปลูกกุหลาบป่าลงไปก่อนแล้วเปลี่ยนพันธุ์ดีบนตอนั้น จะช่วยให้กุหลาบต้นนั้น
อายุยืนนานได้หลายสิบปี.....กุหลาบที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ อายุต้นถึงวันนี้น่าจะกว่า 50 ปีแล้ว สภาพยังสมบูรณ์ ออกดอก
สพรั่งได้ก็เพราะใช้ตอกุหลาบป่าเปลี่ยนเป็นพันธุ์ดีนี่แหละ

- ที่ อ.พนัสนิคม ชลบุรี ปลูกกุหลาบพันธุ์ต่างประเทศ (เมืองหนาว) 100 ไร่ เป้าหมายส่งออกต่างประเทศ อายุต้นได้ไม่กี่ปี ปรากฏ
ตายเรียบ

- กุหลาบต้นพันธุ์กิ่งตอน ต้องการปลูกลงกระถาง ให้ปรุงดินปลูก (......."ดินขุยไผ่ตากแดดจัด 20 แดด + ใบก้ามปูแห้ง + กาบมะ
พร้าวสับเล็ก + แกลบขาวเก่า + ขี้วัวแห้งเก่า + ขี้ไก่แห้งเก่า + ยิบซั่ม + กระดูกป่น"......) ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี พรมด้วยน้ำ
หมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงพอชื้น ทำกอง บ่มทิ้งไว้ 2-3 เดือน จึงใส่ลงกระถาง) ปลูกต้นพันธุ์ลงไป วางกระถางอย่าให้
ก้นกระถางสัมผัสพื้น ใช้ก้อนอิฐหนุนให้ก้นกระถางพ้นพื้น เพื่อให้น้ำในกระถางระบายออกได้....วิธีนี้จะช่วยยืดอายุต้นให้ยืนนาน
ขึ้นได้

- กุหลาบในกระถางวันนี้ ดินแน่น น้ำขังค้าง แก้ไขโดยการนอนกระถางลง ใช้ไม้แยงรูก้นกระถางให้ทะลุถึงดินปากกระถาง จับกระถาง
ตั้งขึ้นอย่างเดิม แล้วบำรุงดินด้วย "ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัว+ขี้ไก่ (โรยหน้าดิน) น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (รดโคนต้น)" ไม่นาน
ดินในกระถางจะโปร่ง ไม่อุ้มน้ำอีก.....แรกๆ น้ำจะออกทางรูที่เจาะนั้น

- กุหลาบที่ดอกแก่ ปล่อยแห้งคาต้น ต้นนั้นจะแตกยอดแล้วออกดอกใหม่ช้า ถึงช้ามากๆ ดังนั้น เมื่อเห็นว่าดอกไหแก่จัดแล้ว ให้ชิงตัดทิ้ง
ก่อนเลย.....หลังจากตัดดอกแก่แล้ว ราว 2-3 อาทิตย์ ก็จะมีดอกใหม่ให้ตัดได้อีก

- กุหลาบต้องการ "กระดูกป่น + ยิบซั่ม + ขี้วัว+ขี้ไก่ (1:1)" 4 เดือน/ครั้ง....เทคนิคการใช้กระดูกไก่รองก้นกระถาง 2-3 ชิ้นเล็กๆ
จะช่วยให้กุหลาบได้รับสารอาหารจากกระดูกนานนับหลายๆปี

- กุหลาบชอบ "หญ้าไซ" คลุมโคนต้น

- ให้ "ฮอร์โมนน้ำดำไบโออิ" (แม็กฯ - สังกะสี - ฯลฯ) เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันต้นโทรม

- ให้ "ฮอร์โมนไข่ไทเป" 10-15 วัน/ครั้ง ช่วยให้ออกดอก

- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 เดือนละ 1 ครั้ง

- หลังจากตัดดอกเดี่ยวๆ สำหรับร้อยมาลัย หรือ ตัดดอกรวมก้าน สำหรับปักแจกันแล้ว ช่วงหน้าร้อนหลังตัดประมาณ 20-25 วัน จะตัด
ดอกรอบใหม่ได้ แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวประมาณ 15-18 วัน ก็ตัดดอกรอบใหม่ได้อีก....หน้าหนาว กุหลาบโตเร็ว-หน้าร้อนกุหลาบโตช้า

เพราะฉนั้น ที่ถามมาว่า ตัดกิ่งวันไหนให้มีดอกตัดได้วันวาเลนไทน์....คำตอบก็คือ ตัดวันที่ 28 ม.ค., 30 ม.ค. 2 ก.พ. วันละ 1 ชุด
โดยถือหลัก 15 วัน +/- 3 วัน ในจำนวน 3 ชุดนี้ ต้องมี 1 ชุด ออกดอกวาเลนไทน์ได้พอดี หรือ ก่อน/หลัง 1 วัน....ทั้งนี้สภาพต้นต้อง
สมบูรณ์พร้อมด้วยนะ

- เทคนิคบำรุงกุหลาบก้านปักแจกัน ให้โน้มกิ่งประธานลงขนานกับพื้น ผูกยึดกับหลักยึดให้มั่นคง ตัดปลายกิ่งประธาน ริดกิ่งแขนงทั้ง
หมด รูดใบให้เหลือสัก 10% จากนั้นบำรุงด้วยสูตร "เรียกใบอ่อน" กิ่งประธานที่ปลายด้วนแล้วนั้นจะแตกกิ่งกระโดงใหม่ทั่วกิ่งประธาน
บำรุงเลี้ยงกิ่งกระโดงไปเรื่อยๆ กระทั่งได้ความยาวก้าน (30-50 ซม.) แล้วให้เปิดตาดอกด้วย ฮอร์โมนไข่ไทเป ก็จะออกดอกที่ปลาย
กิ่งกระโดง ทำให้ได้กุหลาบก้านยาว


- สูตรเรียกใบอ่อน : .......
(ทางใบ) "น้ำ 20 ล. + 25-5-5 (20 กรัม) + จิ๊บเบอเรลลิน 20 ซีซี. + ไคโตซาน 20 ซีซี." หรือ "ฮอร์โมนน้ำดำ ไบโออิ +
ยูเรีย จี." (สูตรใดสูตรหนึ่ง) ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก 5-7 วัน ช่วงเช้าแดดจัด ....

(ทางราก) "น้ำ 20 ล. + น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 40 ซีซี. + 25-7-7 (250 กรัม)/10 ต้น/เดือน.......

ให้สูตรนี้ไปเรื่อยๆ กุหลาบจะไม่ออกดอกแต่ก้านจะยืดยาว (สูง) ขึ้นเรื่อยๆ หรือหากออกดอกมา ดอกนั้นก็จะไม่โตหรือโตช้า จนกระทั่ง
ได้ความยาวก้านตามต้องการจึงหยุดสูตรเรียกใบอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนไข่ไทเปเพื่อเรียกดอกให้ออกใหม่ หรือบำรุงดอกที่ออก
มาแล้วให้โตต่อไป

ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/05/2011 3:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/04/2011 9:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำองุ่นนอกฤดู.....

การบังคับให้องุ่นออกดอกนอกฤดูนั้น เกษตรกรมักจะปฏิบัติหลังจากที่ได้เก็บผลไปแล้ว โดยที่เกษตรกรจะต้องมีการบำรุงต้นให้มี
ความสมบูรณ์ มีการสะสมอาหารได้เพียงพอ และมีการป้องกันโรค แมลง เพื่อองุ่นจะได้มีความพร้อมและความสมบูรณ์ในการออก
ดอก ออกผล

1. หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเสร็จแล้ว เกษตรกรควรปล่อยให้ต้นองุ่นโทรมประมาณ 15-30 วัน แล้วจึงใส่ปุ๋ย
โดยในตอนแรกใส่ปุ๋ยคอก พร้อมทั้งปุ๋ยน้ำทางในสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น สูตร 11-22-11 ฉีดพ่น 1 ครั้ง พร้อมทั้งเตรียมลอก
เลนขึ้นจากท้องร่อง และตบแต่งคันร่องเพื่อรอการตัดแต่งกิ่ง

2. การตัดแต่งกิ่งองุ่นจะตัดเอากิ่งแขนงหรือกิ่งสาขาให้สั้นลง และให้มีตาองุ่นบนกิ่งแก่ และตัดกิ่งที่แพร่กระจายทับกันออก โดย
ให้เหลือตาองุ่นไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นพันธุ์ไวท์มะละกาให้มีตาเหลือไว้ประมาณ 5-7 ตาต่อกิ่ง แต่ถ้าเป็นพันธุ์คาร์ดินัล ให้เหลือ
แค่ 3-5 ตาต่อกิ่งเท่านั้น

3. เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จเกษตรกรควรให้ปุ๋ยน้ำที่มีธาตุอาหารหลักคือ เอ็น พี เค ให้สูตรตัวหน้าสูงเพื่อช่วยเร่งตาองุ่นให้ออกเร็วขึ้น
เช่น ใช้สูตร 20-10-10 หรือสูตรอื่นที่ใกล้เคียงกันในอัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่ หรือขนาดร่อง 5 ตารางวาต่อปุ๋ย 10 กิโลกรัม
โดยหว่านให้ทั่วทั้งร่อง การใส่ปุ๋ย ควรเลือกเวลาตอนบ่ายหรือตอนเช้าในขณะที่แสงแดดไม่แรงมากนัก หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วต้อง
รดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลายและรากขององุ่นจะดูดซึมเพื่อไปเลี้ยงลำต้นได้เร็วขึ้น


การปลูกองุ่นนอกฤดู
4. ในระยะ 2-3 วันแรกหลังตัดแต่งกิ่งสำเร็จ ให้เกษตรกรฉีดปุ๋ยน้ำทางใบสูตร คือ กลางสูง เช่นสูตร 11-22-11 และอาหารเสริม
ทางใบ เพื่อเร่งให้องุ่นแทงช่อดอกออกมาพร้อมกับใบ โดยทำการฉีด 5-7 วันต่อครั้ง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับองุ่นนั้นจะมี
ประสิทธิภาพดีกว่าการให้ทางดิน และเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายเกษตรกรอาจจะผสมยาฆ่าแมลงและยาป้องกันกำจัดโรคราลงได้
ด้วยก็ได้

5. หลังจากที่ได้ตัดแต่งกิ่งประมาณ 15-20 วัน ตาขององุ่นก็จะแตกใบใหม่ออกมาให้เห็น ถ้าเป็นฤดูร้อนและในฤดูฝนตาจะแตก
เร็วกว่าประมาณ 15 วัน แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว ตาจะแตกใบอ่อนช้าออกไปอีกประมาณ 20 วันขึ้นไป และโดยธรรมชาติขององุ่นเมื่อ
ตาแตกใบอ่อนออกมาแล้ว ช่อดอกจะแทงออกมาด้วย ในขณะที่ดอกองุ่นกำลังบานหรือติด เกษตรกรอาจเด็ดตาดอกที่ไม่มีดอก
ทิ้งก็ได้ เพื่อไม่ให้องุ่นมีใบมากในช่วงนี้

6. หลังจากที่องุ่นแทงช่อดอกออกประมาณ 16-17 วัน เกษตรกรอาจจะเพิ่มคุณภาพขององุ่น โดยใช้ฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน,
เอ็น.เอ.เอ. หรืออาหารเสริมทางใบ เพื่อยืดช่อดอกองุ่นให้ยาวใหญ่ขึ้น แต่การใช้ฮอร์โมนยืดช่อดอก เกษตรกรจะต้องใช้ด้วย
ความระมัดระวัง และต้องรู้จักวิธีการใช้ เพราะหากใช้ผิดพลาดแล้วจะเกิดผลเสียหายต่อดอกและผลองุ่น เช่น ดอกยาวเกินไป ดอกร่วง
หรือทำให้องุ่นไม่ติดผลได้

7. เมื่อองุ่นติดผล การปฏิบัติดูแลรักษาตามปกติ และโดยเฉพาะการฉีดยาป้องกันกำจัดโรค แมลง จะต้องกระทำสม่ำเสมอ อาทิตย์
ละครั้ง หรืออาจจะฉีดพร้อมกับการให้อาหารเสริมทางใบด้วยก็ได้ จนกระทั่งผลองุ่นโตเต็มที่ เพื่อรอการเก็บเกี่ยวผลต่อไป



http://www.xn--12ca4dscc8ayd2f.com/tag/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/04/2011 5:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©