-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/02/2012 8:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 57


ลำดับเรื่อง....



1.535. ชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย-เจ็บปวดทรมานพอทน

1,536. การทำยางก้อนถ้วย
1,537. ข้าวหอมมะลิไทย เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง
1,538. เขตการค้าเสรีอาเซียน กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
1,539. ดินเค็มและการปรับปรุงแก้ไข
1,540. ประวัติข้าวไทย

1,541. เตรียมน้ำเขียว สร้างอาหารธรรมชาติก่อนปล่อยกุ้งปลา
1,542. เกษตรอินทรีย์ ทางเลือก ทางรอด สู่พลังใหม่ของเกษตรกรไทย
1,543. แว็กซ์เคลือบผิวผลไม้
1,544. เทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
1,545. การผลิตพืชอินทรีย์

1,546. งานวิจัย : สมุนไพรกำจัดเพลี้ยแป้งสำปะหลัง
1,547. งานวิจัย : สมุนไพร ชะลอความเหี่ยวของดอกไม้
1,548. งานวิจัย : น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสกับการงอกของเมล็ดพืช
1,549. งานวิจัย : สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัดแมลงหวี่ขาว
1,550. “แป้นสิรินนท์ ” มะนาวพันธุ์ใหม่ ผลดก น้ำมาก กลิ่นหอม

1,551. พืชผักชื่อแปลกๆ
1,552. 84 สายพันธุ์ข้าว สู่ "ข้าวของพ่อ วิถีพอเพียง"
1,553. ขาวดอกมะลิทนน้ำท่วม
1,554. วิธีควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
1,555. หนุน 'ข้าวหอมมะลิแดง' ต้านโรค

1,556. ข้าวหอมมะลิสีชมพู Pink Rice
1,557. เขตการค้าเสรีอาเซียน
1,558. การขาดแคลนธาตุอาหารพืช
1,559. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ pH ของสารละลายธาตุอาหารและการปรับ pH


---------------------------------------------------------------------------------------------------







1.535. ชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย-เจ็บปวดทรมานพอทน





"ชิคุนกุนยา" หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการรุนแรง
กว่าเด็ก คือจะมีอาการไข้สูงพร้อม ๆ กับการปวดข้อ (ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้) ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า อาการปวดข้อ
จะพบได้หลาย ๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (Migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ และ
จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะ
อยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก

หลังจากที่ได้ติดตามการระบาดและสอบถามอาการของชาวสวนยางพาราที่ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายมาได้ 2-3
ราย และหลังจากที่ได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา แล้วคัดลอกมาพิมพ์แจกเพื่อน ๆ ได้ไม่ทันไร ความรู้เกี่ยวกับอาการป่วยด้วย
โรคชิคุนกุนยา ก็เข้ามาหาตัวผมเองโดยไม่ต้องไปค้นคว้าอีกต่อไปเพราะดูเหมือนจะหมดสิทธิ์ที่จะทำได้อันเนื่องมาจากร่างกายต้องเผชิญ
กับไข้สูง ทรมานและทนเจ็บปวดตามข้อไปทั่วร่างกาย

เช้าของวันที่ 4 พ.ค. 2552 ก่อนจะลุกจากเตียงก็รู้สึกเอะใจ และแปลกใจว่าทำไมจึงรู้สึกเจ็บข้อไหล่ขวามากเมื่อขยับตัวเพียงเล็กน้อย
หลังจากลุกขึ้นมาเดินก็รู้สึกเจ็บที่เข่าและข้อเท้าเป็นอย่างมาก วันนั้นกะว่าจะลางานเพราะต้องไปเยี่ยมอาการคุณแม่ที่กำลังออกจากห้อง
ผ่าตัดเข่าและต้องเข้าห้องไอซียูต่อ เมื่อกลับมาถึงบ้านตอนสาย ๆ ก็รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัวเป็นอย่างมาก ในใจตอนนั้นก็
ให้นึกถึงโรคชิคุนกุนยา ขึ้นมาทันที และเท่าที่รู้มาว่าโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่จะรักษาไปตามอาการที่เป็น จึงตัดสินใจทานยา
พาราเซตตามอล 2 เม็ด เพื่อลดอาการไข้ แล้วนอนห่มผ้าเพราะรู้สึกหนาวมาก

ก่อนเที่ยง เมื่ออาการไข้เริ่มลดลง ก็ได้ทำการสำรวจร่างกายตัวเองอีกครั้ง ก็พบว่าข้อไหล่ด้านขวามีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ไม่
สามารถใช้หรือทำอะไรได้เลย (แม้เพียงขยับแขนสัก 1 เซนติเมตร) แต่ข้อไหล่ด้านซ้ายเจ็บน้อย พอจะใช้งานได้บ้าง ข้อมือก็เจ็บ
ข้อเท้าก็ปวด ข้อเข่ายิ่งร้ายแรงเพราะไม่สามารถงอเข่าได้แม้เพียงน้อยนิด จึงทำให้การเดินต้องเดินแบบช้า ๆ ขาตรง เข่าตรงอยู่ตลอด
เวลา หากต้องการขึ้นบันไดก็ต้องค่อย ๆ ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปพักไว้ก่อน แล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าอีกข้างหนึ่งมาพักไว้ใก้ล ๆ ก่อนที่จะก้าวขึ้น
ขั้นถัดไป ไม่สามารถขึ้นลงแบบสลับเท้าได้ ผู้ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาจึงต้องทนทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิตประจำวันพอสมควร เพราะแม้
แต่การนั่งอยู่บนที่นั่งหากต้องการลุกขึ้นยืน กว่าจะลุกขึ้นได้ก็ต้องร้องโอดโอยเพราะเข่าไม่สามารถพยุงร่างกายได้ ครั้นจะใช้มือช่วยค้ำ
ข้อมือก็เจ็บไม่สามารถค้ำหรือลงน้ำหนักได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้หญิง ก็จะเจ็บมากกว่าผู้ชายโดยเฉพาะเวลานั่งถ่ายหนัก หรือถ่ายเบา บางคน
อาเจียน ด้วยอีกต่างหาก

หลังจากผ่านไป 3 วัน ซึ่งก็ทานยาพาราเซตตามอลไป ถึง 6 ครั้ง อาการไข้หนัก หรือไข้สูงก็ทุเลาขึ้น แต่ก็ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างเล็ก ๆ
น้อย ๆ ผมสามารถขึ้นลงบันได้ได้ แต่อาการใหม่คือเริ่มบวบแดงตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ไปกด ๆ ดูจะรู้สึกเจ็บ ๆ ทำให้มีปัญหาในการหยิบ
จับของที่มีลักษณะเป็นขอบ ๆ เช่น แว่นตา หรือแผ่นซีดี เป็นต้น

หลังจากผ่านไป 5-6 วัน สิ่งที่น่ากลัวอีกอย่างก็คือ ผื่นแดง ก็จะค่อย ๆ เริ่มปรากฎให้เห็นทั่วตัว รวมทั้งบนใบหน้าบ้างเล็กน้อย ประมาณ
3 วัน ผืนแดงก็จะค่อย ๆ หายไป (บางคนอาจคันบ้าง) หากต้องการความแน่นอนก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวเลือดว่าไม่ใช่ไข้เลือดออก)
จากนั้นก็จะมีอาการเจ็บบริเวณฝ่าเท้าทั้งสอง ใส่รองเท้าแตะก็เจ็บ เวลาเดินก็เจ็บ นอกจากฝ่าเท้าแล้วก็จะเจ็บบริเวณหลังเท้าด้วยเช่นกัน
และหลังจากนี้เป็นต้นไป อาการปวดตามข้อก็จะค่อย ๆ หายไปซึ่งอาจใช้เวลาระยะหนึ่ง และต้องคอยดูแลตัวเองไม่ให้เป็นซ้ำอีก

การดูแลรักษาต้วเองขณะเป็นนั้น นอกจากว่าต้องทานยาพาราเซตตามอล หรือยาเขียวใหญ่เพื่อลดอาการไข้แล้ว หากไปหาแพทย์ก็
อาจได้ยาลดอาการปวดข้อมาทานบ้าง สิ่งง่าย ๆ ที่ควรทำในการดูแลตัวเองก็คือ ควรทานผักผลไม้ให้มาก ๆ ทานน้ำให้มาก ๆ พักผ่อนให้
มาก ๆ หากใครมีอาหารเสริมดี ๆ ก็พอจะช่วยให้อาการดีเร็วขึ้นได้ (ผมทานน้ำมันรำข้าว เช้าหลังอาหาร 2 แคปซูล และทานจีเอ็มวัน
(สารสกัดจากมังคุด) ก่อนนอน 2 แคปซูล







สำหรับสาเหตุและการติดต่อ น.พ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า เมื่อยุงลาย (ทั้งยุงลายป่าและยุงลาย

ที่บ้าน)ตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่ม
จำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นเกิด
อาการของโรคได้ โดยทั่วไปจะมีการฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อคือระยะไข้สูงประมาณ
วันที่ 2-4 ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก


ในสภาพความเป็นจริงขณะนี้ มีผู้เป็นโรคนี้แล้วนับหมื่นคน บางหมู่บ้าน ชาวสวนยางเป็นกันมากอาจถึงร้อยละ 90
บางคนเป็นซ้ำสองก็มีพอสมควร และโรคนี้ได้กระจายไปมากกว่า 15 จังหวัดแล้ว หากช่วย ๆ กันได้ก็ควรรีบทำ
นะครับ เพราะตอนนี้เป็นหน้าฝนอยู่ด้วย ใครที่หยุดกรีดยางนาน ๆ (ด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่) หากไม่ตะแคงถ้วย
รับน้ำยาง ปล่อยให้น้ำขังในถ้วยยางก็ ก็จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเป็นอย่างดี หากปล่อยไว้แบบนี้นาน ๆ ยุงใน
สวนยางแปลงนั้นก็จะมากผิดปกติ หากคนเข้าไปแล้วกลับออกมา ยุงก็จะบินตามมkติด ๆ อีกประมาณ 2 โหล
พอเปิดประตูขึ้นรถ มันก็จะประชิดติดตัวเราและเข้าในรถพร้อมเดินทางไปกับเราทันที




http://www.live-rubber.com/index.php/rubber-news-events/27-from-rubber-plantation/222-chikungunya-in-thailand


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2012 5:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 15 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/02/2012 8:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,536. การทำยางก้อนถ้วย





ชาวสวนยางพาราที่ต้องการทำยางก้อนถ้วย จะต้องเตรียมสารละลายกรดฟอร์มิกเจือจาง 10 % ก่อน ซึ่งทำได้โดยใช้น้ำกรดฟอร์มิก
10 ส่วนผสมน้ำ 90 ส่วน หลังจากลอกขี้ยางเส้นออกจากรอยกรีด เช็ดหรือทำความสะอาดถ้วยยางแล้ว ก็ทำการกรีดยางตามปกติจนหมด
ทั้งแปลง พักเพื่อรอให้น้ำยางหยุดไหล จากนั้นให้หยอดสารละลายกรดฟอร์มิกเจือจางประมาณ 12-15 ซีซี/ต้น แล้วคนให้เข้ากัน
ปล่อยให้น้ำยางสดจับตัวในถ้วยซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชม. เสร็จแล้วแคะยางก้อนถ้วยออกมาเสียบไว้ที่ลวด 1 วัน แล้วจึงเก็บใส่ถุง
หรือตาข่ายไนลอน นำมาเกลี่ยและผึ่งบนแคร่ในร่มเพื่อไม่ให้ก้อนยางติดกัน รอจำหน่ายต่อไป

ยางก้อนถ้วยมักถูกนำไปใช้ทำยางแท่ง เนื่องจากยางก้อนถ้วยมีจุดเด่นตรงที่ มีความสะอาด หรือมีสิ่งเจือปนน้อยมาก ซึ่งคุณสมบัติดัง
กล่าว มีผลทำให้ต้นทุนการผลิตยางแท่งลดลง นั่นเอง



http://www.live-rubber.com/index.php/para-rubber-articles/51-para-rubber/185-cup-lump-selling


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/03/2012 8:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/02/2012 4:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,537. ข้าวหอมมะลิไทย เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง


1. จุดแข็ง (Strength)
- ความหอมที่คล้ายใบเตย (ทั้งแบบที่เป็นเมล็ดข้าวสารหรือในระหว่างหุงจะมีกลิ่นหอมโชยมา) เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
ที่ชาวสหรัฐอเมริการู้จักกันอย่างแพร่หลาย

- มีลักษณะเมล็ดข้าวที่ขาวสะอาดและมีความเหนียวนุ่มพอดี

- ข้าวหอมมะลิมีชื่อเสียงอย่างมากในตลาดสหรัฐอเมริกา (Brand Recognition)เมื่อพูดถึงข้าว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ข้อมูลจาก
การเก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภค (end user)) ประมาณร้อยละ 80 จะนึกถึง Jasmine Rice (ข้าวหอมมะลิ) มา
เป็นอันดับแรก รองลงมาประมาณร้อยละ 15 คือ Long Grain Rice (ข้าวเมล็ดยาว) และลำดับสุดท้ายคือประมาณร้อยละ 5
คือ Basmati Rice (ข้าวอินเดีย/ข้าวบาสมาติ)


2. จุดอ่อน (Weakness)
- ข้าวหอมมะลิไทยมีกำลังการผลิตในประเทศไทยค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับข้าวไทยสายพันธ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น
ข้าวปทุมฯ จากความคล้ายคลึงกันทำให้ข้าวปทุมฯ เริ่มเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดของข้าวหอมมะลิ โดยใช้ชื่อในการส่งออก
เช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิแต่จำแนกคุณภาพเป็นคุณภาพระดับรองลงมา ซึ่งประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้นำเข้าบางรายเข้าใจผิดว่าข้าวปทุมฯ
เป็นข้าวหอมมะลิ แต่คุณภาพไม่ดีเทียบเท่าของเดิม เนื่องจากขาดคุณสมบัติในเรื่องความหอมและความเหนียวนุ่ม หมายเหตุ: ข้าวที่
นำมาจำหน่ายในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็น ส่วนมากมักจะพบข้าวสองประเภท คือ ข้าวหอมมะลิชั้นดีพิเศษ (คือมีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่
เกินร้อยละ 5) และข้าวหอมมะลิชั้นดี (คือมีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกินร้อยละ 15)

- การเก็บรักษาข้าวหอมมะลิให้มีกลิ่นหอมนาน จำเป็นต้องเก็บรักษาสินค้าไว้ที่อุณหภูมิ 59 องศาฟาเรนไฮน์ หรือประมาณ 15
องศาเซลเซียส หากเก็บในที่ร้อนหรือเย็นกว่านี้กลิ่นหอมของข้าวอาจถูกทำลายลงได้ ซึ่งปัจจัยตรงนี้ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบ
โดยตรงกับลักษณะเด่นของข้าวหอมมะลิ

- การปลอมปน เนื่องจากข้าวหอมมะลิเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดสหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงมีผู้ประกอบการบางรายนำเข้าสินค้า
จากประเทศอื่น แต่มาระบุบนถุงว่าเป็นข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย ซึ่งหากสินค้าไม่มีคุณภาพอาจจะทำลายชื่อเสียงที่สั่งสมมา
ของประเทศไทยได้

- เนื่องด้วยผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิของไทยส่วนใหญ่เป็นคนไทยและเอเซีย จึงไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นในการขยายตลาด
เพิ่มเติม


3. โอกาสทางการตลาด (Opportunity)
- ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นข้าวที่มีเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงอยู่แล้ว ดังนั้น หากมีการควบคุมคุณภาพสินค้าจากต้นทาง ประกอบ
การทำ Image Promotion ในสหรัฐอเมริกา จะกระตุ้นการส่งออกมามากขึ้น

- ผู้นำเข้ารายแล็กและรายกลางจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาจะช่วยสร้าง Identity ของข้าวหอมมะลิไทยให้มี Impact ในตลาด
สหรัฐอเมริกา มากกว่าผู้ซื้อรายใหญ่ๆ

- ผู้บริโภครุ่นใหม่และกลุ่มผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพเริ่มให้ความสนใจในการบริโภคข้าวหอมมะลิเพิ่มมากขึ้น

- การขยายตัวของร้านอาหารไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีในการใช้เครือข่ายร้านอาหารไทยประชาสัมพันธ์ข้าว
หอมมะลิ

- โอกาสในการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหารแบบฟู้ดเซอร์วิส ซึ่งใช้ข้าวเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารชาติใดก็ตามและ
อาหารไทยกำลังเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง



4. ข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่ง (Threat)
- ด้วยคุณภาพและราคาของข้าวหอมมะลิไทย มีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้า หรือผู้ประกอบการร้านอาหารบางรายที่สนใจในเรื่อง
ราคา อาจหันไปบริโภคข้าวชนิดอื่นที่มีคุณภาพทดแทนกันได้ แต่มีราคาย่อมเยากว่า เช่น ข้าวเมล็ดยาวจากจีนผสมข้าวหอม
มะลิไทยหรือข้าวปทุมฯ มีความร่วนซุยมากกว่า แต่ทว่ายังคงมีกลิ่นหอม

- ปัจจุบันนี้ ข้าวเมล็ดยาวและข้าวบาสมาติมีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อ ทำให้ง่ายต่อ
การการบริโภคของผู้ซื้อปลายทาง

หมายเหตุ : ข้าวหอมมะลิไทยส่วนใหญ่มักจำหน่ายที่ร้านแบบ Oriental Store เป็นหลัก แต่ซุปเปอร์หรือร้านสะดวกซื้อของ
สหรัฐอเมริกายังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก อย่างไรก็ดีร้านค้าระดับสูงบางร้านก็เริ่มนำข้าวหอมมะลิไทยมาวางจำหน่ายในชั้น
บ้างแล้ว

- ข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวที่คนส่วนใหญ่รู้จัก แต่คนส่วนใหญ่ไม่เป็นผู้บริโภคที่จงรักภักดีในตราสินค้า เหมือนผู้บริโภคข้าวบาสมาติ
ทำให้มีโอกาสสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดได้ง่ายมาก

- ปัญหาอัตราความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าข้าวบางรายชะลอการนำเข้าจากประเทศ
ไทย แต่หันไปนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่แข่งขันรายอื่นๆ


2. ราคา
ข้าวหอมมะลิจะมีปริมาณการส่งออกมายังตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น Costco นิยมนำเข้าข้าว
หอมมะลิจากไทยเป็นจำนวนมาก โดยซื้อจากผู้ประกอบการไทยในราคาที่ค่อนข้างต่ำ (Low margin-High quantity) ซึ่งปัจจัย
ดังกล่าวจะมีผลต่อการควบคุมคุณภาพข้าวหอมมะลิในอนาคต นอกจากนี้แล้วซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สั่งซื้อข้าวหอมมะลิจาก
ไทยนำไปใส่บรรจุภัณฑ์ภายใต้ยี่ห้อของตนเองและจำหน่ายในราคาที่ไม่แพงนัก ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยขาดความเป็นเอกลักษณ์
และขาดความเป็น Brand Identity เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับผู้นำเข้าขนาดกลางและ
ขนาดเล็กควบคู่กันไปด้วย เพราะ กลุ่มเหล่านี้อย่างน้อยจะช่วยพยุงความเป็นข้าวหอมมะลิของไทยอยู่ ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้า
ที่มีราคาสูงมีคุณภาพดีเชื่อถือได้ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา


นอกจากนี้ ข้าวปทุมฯ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิถูกนำมาจัดจำหน่ายให้กับประเทศใกล้เคียงอย่างจีนในราคาที่ไม่
แพงมาก จีนจะซื้อข้าวปทุมจากไทยและนำไปผสมผสานกับข้าวเมล็ดยาวของจีน (Local long grain rice) เพื่อลดกลิ่น
หอมของข้าวไทยลงและเพื่อลดต้นทุนการผลิต ข้าวดังกล่าวเมื่อถูกผสมผสานเรียบร้อยแล้วจะถูกนำมาใส่ในบรรจุภัณฑ์และ
จัดจำหน่ายทั้งภายในประเทศจีนและส่งออกยังต่างประเทศในราคาที่ไม่แพง จากสถิติการนำสินค้าเข้าข้าวของสหรัฐอเมริกา
ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2010 พบว่าสหรัฐอเมริกาเริ่มหาแหล่งอุปทานอื่น มาทดแทนแหล่งเดิม มีการนำเข้าจากเวียด
นามเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของไทย ซึ่งปัจจุบันมีประมาณร้อยละ 75.58 จากสัดส่วนตลาดการนำเข้า
ข้าวทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา ไทยควรเร่งสร้าง Brand Awareness และนำเสนอวิธีการส่งเสริมการขายใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอด
การนำเข้าต่อไป



http://www.depthai.go.th/DEP/DOC/53/53002078.doc


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/03/2012 9:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/03/2012 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,538. เขตการค้าเสรีอาเซียน กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
(ASEAN Free Trade Area : AFTA)





เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) คือ ข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เป็นความตกลงว่าด้วย
อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีให้เสร็จภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะค่อยๆ ลดภาษีสินค้าทุกรายการให้เหลือ 0-5% ภาย
ในปี พ.ศ.2553 จากนั้นจะค่อยยกเลิกเครื่องกีดขวางการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษีให้หมดไปด้วย เช่น การจำกัดโควต้านำเข้า เป็นต้น

ข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและศิลปะ อย่างไรก็ตามประเทศ
สมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน หมายความว่า การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของ
ประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน



ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
ผลกระทบในระยะสั้น : AFTA อาจทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ส่วนหนึ่งจากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลงและทำให้อุตสาหกรรมที่มี
ความสามารถในการผลิตต่ำและไม่มีความสามารถในเชิงแข่งขันได้รับผลกระทบ อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาห
กรรมที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง อาจเสียเปรียบในการแข่งขันกับสิงคโปร์ซึ่งประกอบการมานานแล้ว นอกจากนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยเสียเปรียบด้านวัตถุดิบจะมีปัญหาการแข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมทั้งสินค้าสำเร็จรูปที่มี
การลดภาษีใน AFTA ล้วนแต่เป็นสินค้าที่ต้องอาศัยวัตถุดิบนำเข้าจากนอกอาเซียน ซึ่งไทยมีอัตราภาษีนำเข้าในระดับสูง เช่น
วัตถุดิบของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น


ผลกระทบในระยะยาว : AFTA จะส่งประโยชน์ต่อประเทศไทย ดังนี้
1. การลดภาษีของอาเซียนจะทำให้สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาเซียนมีราคาถูกและสามารถแข่งขันกับประเทศนอกกลุ่มได้

2. การลดภาษีของไทย จะทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากอาเซียนในราคาถูก ซึ่งจะมีผลต่อการลดต้นทุน
การผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก

3. ผู้บริโภคสามารถบริโภคสินค้าบริโภค และอุปโภค ในราคาถูกลง


ผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์อะไร ?
อาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คอม
พิวเตอร์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน กานแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่
ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบจะส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้

เกษตรกรไทยได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่ ?
ประเทศไทยทำข้อตกลงในการเปิดเสรีทางการค้าในสินค้าเกษตร ซึ่งมีสินค้าผูกพันตามข้อตกลงจำนวน 23 รายการ ได้แก่
น้ำนมดิบ/นมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ลำไยแห้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธ์หอมใหญ่ มันฝรั่ง
พริกไทย ข้าว เมล็ดถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง ชา เมล็ดกาแฟ
กาแฟสำเร็จรูป ไหมดิบ น้ำตาล แลใบยาสูบ

ผู้บริโภคได้อะไร ?
ประชาชนที่เป็นผู้บริโภคก็อาจจะซื้อสินค้าราคาถูกในระยะแรก แต่เมื่อเกษตรกรรายย่อยล่มสลายก็จะเกิดการผูกขาดทำ
ให้สินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงตลอดไป

ทั้งนี้ เมื่อมองภาพเศรษฐกิจโดยรวมแล้วไทยและอาเซียนต่างก็ได้รับประโยชน์จาก AFTA แต่จะมากน้อยกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่
กับความสามารถในการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง AFTA เป็นต้นมา การค้าระหว่าง
ไทยกับอาเซียนขยายตัวขึ้นมากและมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


ข้อมูลจาก : หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา


http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:43 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/03/2012 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,539. ดินเค็มและการปรับปรุงแก้ไข

วันชัย วงษา เรียบเรียง


ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป มีกระทบต่อการเจริญเติบโต ปริมาณ
และคุณภาพของผลผลิต ซึ่งอาจรุนแรงถึงท าให้พืชตายได้ เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืช พืชเกิดอาการขาดน้ำ
และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป ลักษณะการเกิดและการแพร่กระจาย (ของดินเค็มภาคกลาง / ดินเค็มภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ) แหล่งเกลือเกิดจากตะกอนน้ำกร่อย/หินเกลือใต้ดิน น้ำใต้ดินเค็ม หินดินดานที่อมเกลืออยู่ หรือเค็ม
ที่ทับถมมานานหรือเกิดจากน้ำใต้ดินเค็มทั้งที่อยู่ลึกและอยู่ตื้น เมื่อน้ำใต้ดินไหลผ่านแหล่งเกลือแล้วไปโผล่ที่ดินไม่เค็มที่อยู่
ต่ำกว่าทำให้ดินบริเวณที่ต่ำกว่านั้นกลายเป็นดินเค็มทั้งนี้ขึ้นกับภูมิประเทศแต่ละแห่ง

สาเหตุการเกิดแพร่กระจายออกมามาก ส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์โดยการสูบน้ำไปใช้มากเกินไป เกิดการทะลักของน้ำเค็มเข้าไป
แทนที่ การชลประทาน การทำคลองชลประทานรวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ในไร่นาบนพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอนน้ำเค็ม
หรือจากการขุดหน้าดินไปขายทำให้ตะกอนน้ำเค็มถึงจะอยู่ลึกนั้น กลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเกลือได้ วิธีสังเกตดินเค็ม

ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตได้ คือ ดินจะมีลักษณะชื้นอยู่ตลอดเวลา หากเค็มมากๆ จะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดิน และมักเป็นที่ว่าง
เปล่าไม่ได้ทำการเกษตร มีวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามแดง หนามปี เสมา เหงือกปลาหมอ ลำแพน ลำพู เป็นต้น

ลักษณะอีกประการหนึ่ง คือ ความเค็มจะไม่มีความสม่ำเสมอในพื้นที่เดียวกันและความเค็มจะแตกต่างกันระหว่างชั้นความลึก
ของดิน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล สำหรับนาข้าว ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ การแตกกอน้อย ต้นแคระแกรน
ใบหนา ข้อสั้น ใบอาจมีสีเขียวเข้ม ขอบปลายใบไหม้และม้วนงอ

ในพื้นที่ดินเค็มจัด ต้นข้าวจะตายเป็นหย่อมๆ ในช่วงที่ขาดน้ำผิวดินจะแห้งทำให้ดินมีความเค็มสูงขึ้น ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ข้าว
ออกดอกออกรวง จะทำให้ดอกข้าวลีบ ไม่ติดเมล็ด หรือมีเมล็ดลีบ สาเหตุการแพร่กระจายดินเค็ม เกลือเกิดขึ้นเป็นเกลือที่ละลาย
น้ำได้ดี น้ำจึงเป็นตัวการหรือพาหนะในการพาเกลือไปสะสมในที่ต่าง ๆ ที่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดการแพร่กระจาย
ดินเค็ม หินหรือแร่ที่อมเกลืออยู่เมื่อสลายตัวหรือผุพังไป โดยกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพ ก็จะปลดปล่อยเกลือต่างๆ
ออกมาเกลือเหล่านี้อาจสะสมอยู่กับที่หรือเคลื่อนตัวไปกับน้ าแล้วซึมสู่ชั้นล่างหรือซึมกลับมาบนผิวดินได้โดยการระเหยของน้ำ
ไปโดยพลังแสงแดดหรือถูกพืชนำไปใช้


น้ำใต้ดินเค็มที่อยู่ระดับใกล้ผิวดินเมื่อน้ำนี้ซึมขึ้นบนดิน ก็จะน้ำเกลือขึ้นมาด้วยภายหลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้วก็จะทำให้มีเกลือ
เหลือสะสมอยู่บนผิวดินและที่ลุ่มที่เป็นแหล่งรวมของน้ำ น้ำแหล่งนี้ส่วนมากจะมีเกลือละลายอยู่เพียงเล็กน้อยก็ได้นานๆ เข้าก็
เกิดการสะสมของเกลือโดยการระเหยของน้ำพื้นที่แห่งนั้นอาจเป็นหนองน้ำหรือทะเลสาบเก่าก็ได้

สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ การทำนาเกลือ ทั้งวิธีการสูบน้ำเค็มขึ้นมาตากหรือวิธีการขูดคราบเกลือจากผิวดินมาต้ม เกลือที่อยู่
ในน้ำทิ้งจะมีปริมาณมากพอที่จะทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกลายเป็นพื้นที่ดินเค็มหรือแหล่งน้ำเค็ม การสร้างอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่
ดินเค็มหรือมีน้ำใต้ดินเค็ม ทำให้เกิดการยกระดับของน้ำใต้ดินขึ้นมา ทำให้พื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียงเกิดเป็นพื้นที่ดิน เค็มได้

การชลประทานที่ขาดการวางแผนในเรื่องผลกระทบของดินเค็มมักก่อให้เกิดปัญหาต่อพื้นที่ซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานนั้นๆ
แต่ถ้ามีการคำนึงถึงสภาพพื้นที่และศึกษาเรื่องปัญหาดินเค็มเข้าร่วมด้วย จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาดินเค็มได้วิธีหนึ่งและการตัดไม้
ทำลายป่า ทำให้สภาพการรับน้ำของพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายจากสภาพทางอุทกธรณีของน้ำ
เปลี่ยนแปลงไป แทนที่พืชจะใช้ประโยชน์กลับไหลลงไปในระบบส่งน้ำใต้ดินเค็มทำให้เกิดปัญหาดินเค็มตามมา แนวทางการจัดการ
ดินเค็ม การป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายดินเค็มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากสาเหตุการเกิด ดำเนินการได้โดยวิธีการทาง
วิศวกรรม วิธีทางชีวิทยา และวิธีผสมผสานระหว่างทั้ง 2 วิธี

วิธีทางวิศวกรรม จะต้องมีการออกแบบพิจารณาเพื่อลดหรือตัดกระแสการไหลของน้ำใต้ดินให้อยู่ในสมดุลของธรรมชาติมากที่สุด
ไม่ให้เพิ่มระดับน้ำใต้ดินเค็มในที่ลุ่ม

วิธีทางชีวิทยา โดยใช้วิธีการทางพืชเช่นการปลูกป่าเพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็ม มีการกำหนดพื้นที่รับน้ำที่จะปลูกป่า ปลูกไม้
ยืนต้นหรือไม้โตเร็วมีรากลึก ใช้น้ ามากบนพื้นที่รับน้ าที่กำหนด เพื่อทำให้เกิดสมดุลการใช้น้ำและน้ำใต้ดินในพื้นที่ สามารถแก้ไขลด
ความเค็มของดินในที่ลุ่มที่เป็นพื้นที่ให้น้ำได้ วิธีผสมผสาน การแก้ไขลดระดับความเค็มดินลงให้สามารถปลูกพืชได้ โดยการใช้น้ำชะ
ล้างเกลือจากดินและการปรับปรุงดิน ดินที่มีเกลืออยู่สามารถกำจัดออกไปได้โดยการชะล้างโดยน้ำ การให้น้ำส าหรับล้างดินมีทั้ง
แบบต่อเนื่องและแบบขังน้ำเป็นช่วงเวลา แบบต่อเนื่องใช้เวลาในการแก้ไขดินเค็มได้รวดเร็วกว่าแต่ต้องใช้ปริมาณน้ ามาก ส่วนแบบ
ขังน้ำใช้เวลาในการแก้ไขดินเค็มช้ากว่า แต่ประหยัดน้ำ การใช้พื้นที่ดินเค็มให้เกิดประโยชน์ตามสภาพที่เป็นอยู่ ไม่ปล่อยให้พื้นดิน
ว่างเปล่า โดยการคลุมดินหรือมีการเพิ่มผลผลิตพืชโดยเปลี่ยนพืชเป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม เช่น พืชทนเค็ม หรือพืชชอบเกลือ การ
ปรับปรุงดินเค็มเพื่อปลูกข้าว

1. การล้างดิน โดยอาศัยน้ำฝนหรือน้ำจืด ขังน้ำไว้ในนากระทั่งดินอิ่มตัว น้ำก็จะเริ่มเค็ม สังเกตุจากการเปลี่ยนสีของน้ำที่เป็นสีน้ำ
ตาลอ่อนๆ แล้วจึงระบายน้ำทิ้ง ทำอย่างนี้ 2-3 ครั้ง จนกว่าความเค็มจะต่ำกว่า 16 มิลิโมห์/เซนติเมตร

2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในพื้นที่ดินเค็มมักขาดอินทรียวัตถุมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น การใช้แหนแดง การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ
เป็นปุ๋ยพืชสด หรือใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

3. การใช้แกลบ ทำให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำดีขึ้น นอกจากนี้แกลบยังปลดปล่อยซิลิกาให้แก่ข้าว ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่ล้มง่าย
เพิ่มภูมิต้านทานความเป็นพิษของเกลือ ต้านทานโรคแมลง ช่วยเพิ่มผลผลิตให้ข้าว

4. การใช้ปูน ได้แก่ ปูนขาว ปูนมาร์ล หินปูนบด ในดินเค็มที่เป็นดินกรด

5. การใช้ยิปซั่ม ในกรณีที่ดินเค็มเป็นดินด่าง ช่วยให้การดินระบายน้ำดีขึ้น ช่วยให้การล้างเกลือออกจากดิน ลดความเค็มออกไป
จากดิน การใช้ต้องวิเคราะห์ดินและได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการเกษตรเป็นรายแปลง

6. ร่วมกับการใช้กล้าที่มีอายุมากกว่ากล้าปกติ (อายุประมาณ 5 สัปดาห์) ใช้จำนวนจับมากขึ้น (6-8 ต้นต่อจับ) ใช้ระยะปักดำที่ถี่
มากขึ้น( 20 x 20 เซนติเมตร) การใส่ปุ๋ยเคมีควรแบ่งใส่ 3 ครั้ง ช่วงรองพื้น แตกกอ และช่วงข้าวตั้งท้อง

ตารางการคัดเลือกพืชทนเค็ม ช่องที่ลงชนิดพืชตรงกับค่าความเค็มของดิน พืชยังสามารถเจริญเติบโตได้และให้ผลผลิตลดลง
ไม่เกิน 50 %

1. ชั้นคุณภาพของดิน เค็มน้อย เค็มปานกลาง เค็มมาก

2. การน าไฟฟ้า มิลิโมห์/ซม.(เดซิซีเมน/เมตร) 2-4 4-8 8-12 12-16

3. เปอร์เซนต์เกลือ 0.12-0.25 0.25-0.50 0.50-0.75 0.75-1.00 พืชสวน ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย แตงร้าน
แตงไทย บวบ กะหล่ าดอก พริกยักษ์ กะหล่ าปลี ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้ าเต้า กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ข้าวโพดหวาน
แตงโม ผักกาดหอม องุ่น แคนตาลูป สับปะรด ผักชี ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กระเพรา ผักบุ้งจีน
ชะอม ไม้ดอก เยอบีร่า กุหลาบ บานบุรี เฟื่องฟ้า บานไม่รู้โรย เล็บมือนาง ชบา คุณนายตื่นสาย เข็ม เขียวหมื่นปี แพรเซี่ยงไฮ้
พืชไร่ พืชอาหารสัตว์ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วแขก ถั่วปากอ้า งา ข้าว โสนอินเดีย ป่าน โสนพื้นเมือง ทานตะวัน ปอ
แก้ว ข้าวโพด หม่อน ข้าวฟ่าง หญ้าเจ้าชู้ ถั่วอัญชัญ มันส าปะหลัง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า หญ้านวลน้อย โสนคางคก ข้าวทนเค็ม คำฝอย
โสนอัฟริกัน มันเทศ หญ้าขน หญ้ากินี ฝ้าย หญ้าแพรก หญ้าชันอากาศ แห้วหมู ป่านศรนารายณ์ ไม้ผล ไม้โตเร็ว อาโวกาโด กล้วย
ลิ้นจี่ มะนาว ส้ม มะม่วง ชมพู่ ปาล์มน้ ามัน ทับทิม มะกอก แค มะเดื่อ ฝรั่ง ขี้เหล็ก มะยม ยูคาลิปตัส มะม่วงหิมพานต์ กระถิน
ณรงค์ ละมุด พุทรา สนมะขาม มะพร้าว อินทผาลัม สะเดา มะขามเทศ

ดินเค็มมากกว่า 16 เดซิซีเมน(เกลือมากกว่า 1%) ได้แก่ พืชชอบเกลือ เช่น ชะคราม สะเม็ด แสม โกงกาง พันธุ์ข้าวทนเค็ม
ได้แก่ ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ขาวดอกมะลิ 105 เก้ารวง 88 กข.1 กข.6 กข.7 กข.8 กข.15 ขาวตาแห้ง หอมอ้น เจ๊กกระโดด ขาวตาอู๋
เหนียวสันป่าตอง



http://r05.ldd.go.th/Website_station/ksn/PDF/knowledge/005.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/03/2012 11:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,540. ประวัติข้าวไทย

ข้าวในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่าตระกูล Oryza gramineae เมื่อ 230-600 ล้านปีมาแล้ว ข้าวเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูง
กว่าระดับน้ำทะเลถึง 2,500 เมตร หรือมากกว่า ในเขตร้อนและอบอุ่น ที่ราบลุ่มจนถึงที่สูง ครอบคลุมตั่งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือ
ถึง 35 องศาใต้ ข้าวมีการผสมข้ามพันธุ์จนมีข้าวพื้นเมืองมากมายหลายพันธุ์ เกิดข้าวลูกผสมที่มีกว่า 120,000 พันธุ์ทั่วโลก
ให้ผลผลิตสูง และปลูกได้ตลอดปี





มนุษย์ค้นพบวิธีปลูกข้าว
- แบบทำไร่เลื่อนลอย ตามหลักฐานในวัฒนธรรมลุงซานประเทศจีน และวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม ประมาณ
10,000 ปีมาแล้ว

- แบบทำนาหว่าน ตามหลักฐานวัฒนธรรมยางเชา บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ในวัฒนธรรมลุงชานประเทศจีน และวัฒนธรรม
ฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม 5,000-10,000 ปีมาแล้ว

- แบบนาปักดำ พบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียง ประเทศไทยของเรานี้เอง ไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว เมล็ดข้าวที่เก่าแก่
ที่สุดในประเทศไทย มีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 3,000-3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
ได้แก่ รอยแกลบ ซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่าแก่ที่สุด คือประมาณ 3,500 ปี ก่ิอนคริสต์ศักราช เมล็ดข้าวที่ขุดพบในถ้ำปุงฮุง จังหวัด
แม่ฮ่องสอน มีทั้งลักษณะข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูง เป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แสดงว่าสยามประเทศมีการ
ปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,000-3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 5,400 ปีมาแล้ว แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดร
ธานี พบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผา มีอายุใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือ ประมาณ 2,000-
3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

ข้อสรุปเมื่อปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยทำนาปลูกข้าวมาแล้วประมาณ 5,471 ปี ผลของการขุดค้นที่โนนนกทา สนับสนุนสมมุติ
ฐานที่ว่า ข้าวนั้นได้เริ่มปลูกในทวีปเอเชียเอคเนย์ในสมัยหินใหม่ จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี


http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:44 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/03/2012 2:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,541. เตรียมน้ำเขียว สร้างอาหารธรรมชาติก่อนปล่อยกุ้งปลา


เกษตรกรที่เตรียมบ่อเลี้ยงปลาอย่างรอบคอบ โดยการสำรวจตรวจตราวัดค่าพีเอชของดินและน้ำให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม โดยดิน
และน้ำจะต้องมีค่ากลางๆ (เมื่อทำการตรวจด้วยน้ำยาหยดเทียบสีแล้วจะต้องมีค่าอยู่ใกล้เคียงกับ 7) ไม่เป็นกรดหรือด่างจัดเกินไป
ถ้าตรวจพบว่าดินและน้ำมีค่าที่น้อยหรือมากกว่า 7 มากเกินไปจะต้องทำการแก้ไขปรับปรุงให้ค่าพีเอชกลับมาอยู่ในจุดที่เหมาะสม
ปลาน้ำจืดส่วนใหญ่จะชอบน้ำและดินที่เป็นกลาง ส่วนปลาหรือกุ้งน้ำเค็มจะชอบน้ำที่มีค่า 8.5 อย่างน้อยในช่วงอนุบาลหรือในสอง
หรือสามสัปดาห์แรกก็จะต้องใช้น้ำทะเลและหลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นน้ำจืดจนปลาและกุ้งโตสามารถเลี้ยงแบบน้ำกร่อยได้ ถ้า
ให้ความสำคัญกับการเตรียมบ่อที่ดีสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับปลาในการให้อยู่รอดปลอดภัยไปได้มากพอสมควร


ทั้งดินและน้ำจะต้องทำการตรวจเช็คให้ตระนี่ถี่ถ้วนก่อนที่จะมีการเติมปูนชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปูนขาว เพราะถ้าค่าพีเอชอยู่ในช่วงที่
เหมาะสมดีแล้วคือมีค่า 7 ตามกระดาษเทียบสีจากชุดตรวจวัดเรายังมัวห่วงที่จะไปใส่ไปเพิ่มปูนด้วยความเคยชินอีก ทีนี้จะทำให้ดินมี
ค่า พีเอช. สูงขึ้นไปจนกลายเป็นด่าง จะยิ่งมีความยากลำบากในการปรับให้ลดต่ำลงมาเสียเวลาเปลืองเงินโดยใช่เหตุจึงควรทำการ
ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน ควรใส่ปูนเมื่อตรวจวัดน้ำและดินมีคีาเป็นกรดหรือเปรี้ยวเท่านั้น ถ้าทำเพื่อวัตถุประสงค์อื่นไม่ควรทำ เพราะจะ
ยิ่งไปซ้ำเติมเพิ่มปัญหามากขึ้น หรือใครคิดที่จะใส่ปูนเพื่อหวังฆ่าเชื้อโรคก็ไม่ควรหรือตระหนักให้ดี เพราะเท่าที่ทราบยังไม่เคยมี
รายงานหรือวิจัยใดๆที่อ้างว่าปูนขาวสามารถฆ่าเชื้อโรคได้มีแต่เพียงระงับยับยั้งไม่ให้สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของ
จุลินทรีย์และแบคทีเรียเท่านั้น แต่ไม่ได้ฆ่า คือถ้ามัวแต่ห่วงเรื่องเชื้อโรคอัดปูนขาวเข้าไปมากๆ ไอ้ที่น่าห่วงมากกว่าคือ ลูกปลาตัวเล็กๆ
จะตายเสียก่อน


สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการเตรียมน้ำเขียวและสร้างสารอาหารหน้าดิน (Benthos) จะช่วยให้กุ้งและปลาเจริญเติบโตจากอาหารธรรมชาติ
โดยอาศัยสัตว์หน้าดินเป็นอาหารจะช่วยลดต้นทุนในการซื้ออาหารจากท้องตลาดลงไปได้มากอีกทั้งช่วยให้ทั้งกุ้งและปลาเจริญเติบโตเร็ว
แข็งแรงแบบธรรมชาติ หลังจากเตรียมบ่อโดยทำความสะอาดลอกเลนเก็บเศษไม้ใบหญ้า (Organic Matter) ตรวจวัดปรับปรุงแก้ไข
กรด-ด่างจนเหมาะสมแล้ว จึงปล่อยน้ำเข้ามาในนะระยะอนุบาลอาจจะกั้นหรือล้อมคอกผ้าใบหรือปรับพื้นที่ส่วนท้ายบ่อให้ลึกเพื่อกันไว้
เป็นบ่ออนุบาลในช่วงเริ่มแรกก็ได้ ระดับน้ำไม่ต้องลึกมากเพราะปลาหรือกุ้งยังเล็กอยู่ ในระยะนี้ควรนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกนำมาห่อมุ้งเขียว
แล้วนำไปปักต้งไว้ตามจุดต่างๆของบ่อ เมื่อเริ่มได้สีน้ำเขียวเป็นที่ต้องการอย่าปล่อยทิ้งไว้จนเขียวเข้มหนืดเกินไป เพราะจะทำให้แพลงค์
ตอนดรอปและตายลงเป็นจำนวนมากส่งผลให้อ๊อกซิเจนในบ่อลดลงอย่างฉับพลันจะทำให้กุ้งและปลาตายได้ อาจทิ้งไว้สักสองสามวันก็พอ
ไม่ควรใช้ปุ๋ยยูเรียสำหรับมือใหม่เพราะจะมีผลทำให้แอมโมเนียตกค้างปลาตาบอดและตายได้ วันนี้ขออนุญาตบอกกล่าวเล่าให้ฟังเพียง
เท่านี้ก่อนนะครับ วันหน้าจะนำมาเล่าให้ฟังต่อกันใหม่ในโอกาสต่อไป

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com


http://tree2520.wordpress.com/2012/02/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/03/2012 3:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,542. เกษตรอินทรีย์ ทางเลือก ทางรอด สู่พลังใหม่ของเกษตรกรไทย





ดร.ชมชวน บุญระหงส์ ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน สะท้อนความรู้สึกบางส่วนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตร
กรรมที่ตนเอง และครอบครัวยึดเป็นอาชีพหลักมาตลอดทั้งชีวิตในการเสวนาหัวข้อ

“พลังใหม่ พลังเกษตรอินทรีย์” ในงานประชุมวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์สู่สังคม ครั้งที่1 ที่ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมใหญ่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายตลาดนัดสีเขียว

การจัดงานในครั้งนี้ยังมีวิทยากรภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาแลกเปลี่ยนเพื่อร่วมกันหาทาง
ออกให้กับทางเลือก และทางรอดของเกษตรไทยในยุคใหม่

อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพไม่ต่างจากครอบครัวของ

ดร.ชวนชม เนื่องเพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจโลกทำให้ความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จึงทำ
ให้เกิดการเร่งการผลิตพืชผลทางเกษตร ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาสารเคมี ทั้งยากำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี และฮอร์โมนต่าง ๆ จึงทำ
ให้เกษตรและผู้บริโภคต้องพบเจอกับความเสี่ยงจากสารเคมีต่างๆ เหล่านี้

ทั้งนี้จากรายงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์เรื่องของการบริโภคกับความเสี่ยงพบว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
มากที่สุด โดย 70เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เสียชีวิตนั้นสาเหตุมาจากมลพิษจากอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลายโรค
ที่เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของคนไทย อาทิ โรคหัวใจ โรคความดันและโรคเบาหวาน ก็เกิดมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่
ปลอดภัยแทบทั้งสิ้น

“สมัยก่อนแถวบ้านผมเรียนการปลูกพืชผักพวกต้นหอม ถั่ว หัวกะหล่ำว่า ผักไร้ญาติ เพราะผักพวกนี้จะต้องเติบโตได้ด้วยสารเคมี พอ
ญาติเสียชีวิตเขาชวนให้ไปงานศพก็ไปไม่ได้เพราะต้องฉีดยาฆ่าแมลงให้กับผัก ญาติก็โกรธไม่มีใครคบ เขาก็เลยเรียกว่าผักไร้ญาติ
เรื่องเล่าอันนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ตลกสำหรับคนที่ได้ฟังครั้งแรกแต่สำหรับเกษตรที่เขาประกอบอาชีพนี้เขาต้องพบเจอเรื่องราวเหล่านี้
จริงๆ อย่างเช่นครอบครัวผมพ่อผมก็ต้องตายไปก็เพราะได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่แกใช้ตอนปลูกผัก”ผู้อำนวยการสถาบันชุมชน
เกษตรกรรมยั่งยืนบอกเล่าให้ผู้เข้าร่วมงานเสวนาฟัง

ดร.ชวนชม ยังบอกเล่าเพิ่มเติมอีกว่า ภายหลังจากที่ครอบครัวได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องเสี่ยงกับ
การใช้สารเคมี เขาได้พยายามหาช่องทางใหม่ๆ ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกทางรอดให้กับเกษตรไทยในยามที่ยุคของสารเคมีเฟื่องฟูเช่นนี้
จนมาพบกับแนวทางของเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ต้องพึ่งพิงสารเคมี และเป็นมิตรกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค “ผมและแกนนำชาวบ้านหลาย
คนได้เปลี่ยนมาปลูกผักด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ไม่ต้องพึ่งพิงสารเคมี ปุ๋ยเราก็ทำกันเอง ที่ดินก็ที่ดินของเรา เมล็ดพันธุ์เราก็ไม่ต้องไป
ซื้อจากนายทุน พวกเราลองทำกันแบบลองผิดลองถูกจนปัจจุบันนี้หลายครอบครัวอยู่กันได้พึ่งพิงตนเองได้ หลายคนมีเงินซื้อที่ดิน
เพิ่มมีเงินซื้อรถด้วย ผมไม่ได้เอาเงินมาล่อแต่สิ่งที่มันได้รับมันเห็นกันได้ขนาดนี้เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีการขยายเครือข่ายในการทำงาน
ด้านนี้ออกไปให้มากๆ”ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนกล่าวนอกจากการสร้างเครือข่ายของเกษตรกรที่จะวางมือจาก
สารเคมีเพื่อหันกลับมาสู่รูปแบบการผลิตของเกษตรอินทรีย์อย่างที่ดร.ชวนชมได้กล่าวทิ้งท้ายในการเสวนาไว้นั้น ทุน หรือตลาด
ก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การผลิตรูปแบบนี้อยู่รอดในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ด้วย

วัลลภ พิชญ์พงศา เลขานุการสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย ได้เป็นตัวแทนขององค์กรเล็กๆ ที่ขยายตลาดเกษตรอินทรีย์ของ
เกษตรกรไทยให้ยิ่งใหญ่ในต่างแดนร่วมแสดงทรรรศนะไว้ในการเสวนาครั้งนี้อย่างน่าสนใจว่า “แรกเริ่มเดิมทีนั้น บริษัทของผมทำ
โรงสีข้าวธรรมดา เราก็ไปทำการรับข้าวจากชาวนามาสี ก็รับมาสีไป แบบไม่ได้มีการพูดคุยอะไรกันมาก ต่อมาที่บริษัทได้เกิดความ
คิดในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจนี้คือเราได้เปลี่ยนมาทำการส่งออกข้าวอินทรีย์ให้กับประเทศยุโรป ผมเห็นได้ชัดเจน
เลยว่าการทำธุรกิจแบบเดิมนั้นขาดความสัมพันธ์กันกับชาวนา แต่การทำการเกษตรอินทรีย์นั้นเราได้ลงไปพูดคุยกับชาวนา และชาวนา
เองก็มีสิทธิ์และมีส่วนที่จะเข้ามาร่วมกับกระบวนการผลิตกับเราเกือบทุกขั้นตอนทั้งการส่งข้าว การสีข้าว การเก็บข้าว” เลขานุการสมาคม
การค้าเกษตรอินทรีย์ไทยกล่าว

วัลลภยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการทำธุรกิจในลักษณะนี้นั้นจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดในระบบตลาด เพราะไม่มีการเจรจา
ต่อรอง ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร และระบบธุรกิจอินทรีย์นั้นจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกัน เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรนั้นมัก
จะถูกเอาเปรียบและถูกแนะนำให้ทำการเกษตรในรูปแบบที่เป็นอันตรายกับตัวเองจากตัวแทนของบริษัทขายปุ๋ย และยาฆ่าหญ้า
หากแต่การเกษตรอินทรีย์นั้นจะทำลายระบบเดิมๆ และทำให้เกษตรสามารถพึ่งพิงตนเองได้

ขณะที่ รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมในการเสวนาในครั้งนี้ด้วยเช่นกันกล่าวถึงประโยชน์ของการทำ
การเกษตรอินทรีย์ว่า “เกษตรอินทรีย์ มันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมที่เราใช้ระบบกู้กิน กู้ใช้ มันจะกลาย
เป็นการอยู่ดี กินดี ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องแสวงหา ตามความศรัทธาของท่านมหาตมะคานธีกล่าวไว้อย่างชัด
เจนว่า กิจกรรมที่มนุษย์ควรทำคือการทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตต้องเกี่ยวกับปัจจัยสี่นั้นจะต้องนำไปสู่การขัดเกลาชีวิตของเราเอง
ให้ได้ เรื่องอาหารเป็นเรื่องทีเกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจ ข้อยึดถือของการเกษตรอินทรีย์จึงมีอย่างชัดเจนว่า การเกษตรของเรานั้น
จะต้องไม่ไถพรวนดิน ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ฉีดยาค่าแมลงและต้องไม่ใส่ปุ๋ย ซึ่งแนวคิดนี้นั้นผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นอยู่กับผู้ทำแทบทั้ง
สิ้นเพราะไม่ต้องมาเสี่ยงกับการได้รับผลกระทบจาการใช้สารพิษและสารเคมีต่างๆ ” สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครกล่าวทิ้งท้ายไว้
อย่างน่าสนใจ

อาจกล่าวได้ว่าในวันนี้ เริ่มมีเกษตรกลุ่มเล็กๆ ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับระบอบใหญ่ การต่อสู้ของเกษตรกรที่ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ในครั้งนี้
นั้นอาจจะเป็นบุคคลกลุ่มเล็กแค่สิบหรือยี่สิบคน หากแต่กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ นี้อาจจะกลายเป็นทางเลือกทางรอดในยามที่โลกเกิดวิกฤต
ขึ้นในวันข้างหน้า ก็ได้เหลือแค่รอเวลาให้โลกเป็นผู้จัดสรรและพิสูจน์เท่านั้นเอง



http://news.thaipbs.or.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:44 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/03/2012 6:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,543. แว็กซ์เคลือบผิวผลไม้






เดี๋ยวนี้เวลากินผลไม้ สังเกตว่า เปลือกผิวของผลไม้มันเงาวาวกว่าปกติ สีสวยเด่นชวนเลือกซื้อเลือกหาดี สอบถามจากแม่ค้า
จึงรู้ว่าการที่ผิวของผลไม้เงาสวยนั้น เป็นเพราะผลไม้ล้วนผ่านการ แว๊กซ์ หรือ เคลือบเงาผิว จึงทำให้สีสันแลดูสดสวย ผิว
ของผลไม้น่ากินยิ่งขึ้น

แว๊กซ์ หรือ สารเคลือบผิวผลไม้ ที่ว่านี้ได้มาจากไขผสม ทั้งที่เป็นไขจากแหล่งตามธรรมชาติ และที่สังเคราะห์ขึ้น แต่จะใช้ได้ต้อง
ผ่านการควบคุมและตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค มีคุณสมบัติคือ ช่วยปิดบังริ้วรอยขีดข่วนที่ผิวผลไม้ ซึ่งเกิดขึ้นได้
ระหว่างการเก็บเกี่ยว ทดแทนไขธรรมชาติที่หลุดออกระหว่างการทำความสะอาด และช่วยยืดอายุการสุกของผลไม้ให้ยาวนานขึ้น
ป้องกันการสูญเสียน้ำอันเป็นเหตุให้ผลไม้เหี่่ยวแห้งเร็ว การเคลือบยังทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อสินค้าจากรูปลักษณ์ภาย
นอก เพราะความเงางาม สีสันแวววาว ได้อีกด้วย

สารเคลือบผลไม้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่ส่วนใหญ่จะเห็นชัดเจนบนผิวแอปเปิ้ลหรือส้ม เรียกชื่อเต็มว่า Wax Soluble มีคุณสมบัติละลาย
ในน้ำปกติได้ ถ้ากินเข้าไปบ้าง ก็ไม่เป็นอันตราย เพราะไตสามารถขับออกได้ อย่างไรก็ดี ควรล้างทำความสะอาดหรือ เช็ดออกให้
สะอาดทุกครั้งที่จะส่งผลไม้เข้าปาก

ส่วนสารที่มีคุณสมบัติให้ความเงามันเหมือน Wax Suloble ที่นิยมใช้อีกอย่างคือ "ไขเทียนที่ไม่ใส่สี" ตัวนี้ยิ่งต้องทำความสะอาด
ออกให้มาก เพราะเป็นสารที่ไม่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในร่างกาย





‘เชลแล็ก เคลือบผิวผลไม้’ ช่วยยืดอายุ หนุนส่งออก
ผลไม้ไทย ยังเป็นที่ขึ้นชื่อในตลาดโดยเฉพาะราชาผลไม้อย่างทุเรียนและราชินีอย่างมังคุดซึ่งมีรสชาติเป็นที่ถูกใจของคนทั่วโลก
อุตสาหกรรมผลไม้จึงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและทำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี แต่อุปสรรคการส่งออกของ
ผลไม้ไทยยังคงประสบปัญหาต่าง ๆ อาทิ เรื่องระยะเวลาการเก็บรักษา ซึ่งยังไม่สามารถทำได้นานเพียงพอ

โครงการวิจัยเกี่ยวกับสารเคลือบผิวผลไม้ โดยความสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และบริษัท เอกเซลแลคส์
จำกัด รศ.ดร.สีรุ้ง ปรีชานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงวิจัยนี้ กล่าวว่า
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ

1. เพื่อศึกษาให้ได้มาซึ่งกระบวนการผลิตสารละลายเชลแล็กในน้ำและกระบวนการเคลือบผิวผลไม้ที่เหมาะสมต่อการเคลือบผิวทุเรียน
มังคุด และมะม่วง และ

2. ศึกษาประสิทธิภาพของสารละลายเชลแล็กในการเคลือบผิวผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิที่เหมาะสม
ในการเก็บรักษา จากนั้นจึงเปรียบเทียบกับการใช้สาร เคลือบผิวผลไม้ที่มีการผลิตเป็นการค้าและนำเข้าจากต่างประเทศ

โดยงานวิจัยนี้ได้นำ เชลแล็กขาวเกรดอาหาร ซึ่งผลิตจากครั่งซึ่งเป็นเรซินธรรมชาติชนิดหนึ่งมาทดลองใช้เป็นองค์ประกอบของสาร
เคลือบผิวผลไม้ และจากการศึกษาพบว่าสารละลายเชลแล็กที่ผลิตขึ้นสำหรับการใช้งานเคลือบผิวผลไม้นี้ ให้ผลใกล้เคียงหรือสาร
เคลือบผิวทางการค้าซึ่งมีกระบวนการผลิตคร่าว ๆ คือละลายผงเชลแล็กขาวเกรดอาหารลงในสารละลายแอมโมเนียเจือจาง โดย
อาจมีการเติมสารเติมแต่งบางชนิดซึ่งทำให้ ได้ฟิล์มเชลแล็กที่สามารถให้ความมันเงาของผิว ผลไม้ อีกทั้งยังไม่เกิดการชะล้าง
เมื่อผิวผลไม้มีหยดน้ำ โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการผลิตสาร ละลายเชลแล็กนี้เป็นถังกวนธรรมดาในระบบปิดส่วนกระบวนการ
เคลือบผิวที่เหมาะสมสำหรับ ผลไม้ทั้งสามชนิดคือวิธีการฉีดพ่นบนผิวของผลไม้นั้น ๆ

จากการทดลองเคลือบผิวทุเรียน มังคุด และมะม่วงด้วยสารละลายเชลแล็กพบว่าให้ผลเป็นที่น่าพอใจโดยช่วยเพิ่มความมันวาวดึง
ดูดใจผู้บริโภค ชะลอการเ***่ยวและการเปลี่ยนสีเปลือกรวมทั้งช่วยลดการสูญเสียน้ำหนัก อีกทั้งผู้บริโภคยังคงพึงพอใจในรสชาติ
ของผลไม้ที่ใช้สูตรสารเคลือบผิวดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้ทดสอบคุณสมบัติของสารเคลือบผิวผลไม้ดังกล่าวนั้นพบว่ามีความคง
ตัวและสามารถใช้งานได้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ทั้งที่อุณหภูมิในการเก็บรักษา 4 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิห้อง ทั้งนี้
ทีมวิจัยมีแนวทางการทำวิจัยต่อเพื่อปรับปรุงสูตรสารเคลือบดังกล่าวให้ลดองค์ประกอบของเชลแล็กขาวลงเพื่อช่วยลดต้นทุน การ
ผลิต นอกจากนี้การนำเชลแล็กขาวเกรดอาหารมาใช้เป็นสารเคลือบผิว ผลไม้ยังคงมีความปลอด ภัยสำหรับผู้บริโภคเป็นที่ยอมรับจากองค์
การอาหาร และยาจากสหรัฐอเมริกา (FDA) เนื่องจากเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติอีกด้วย โดยความสำเร็จดังกล่าวจากงานวิจัยนี้ยังเป็น
โอกาสที่จะสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมผลไม้ไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้ต่อไป





สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้พัฒนาและออกแบบเครื่องเคลือบผิวผลไม้ มีประสิทธิภาพใน
การเคลือบแวกซ์ผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มตรา มะนาว และผลไม้ทรงกลมอื่นๆ เป็นต้น เครื่องเคลือบผิวส้มซึ่ง
มีส่วนประกอบเครื่องครบสมบูรณ์ดังนี้

ชุดล้างทำความสะอาดส้ม ความสามารถในการทำความสะอาดมีตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัม/ชั่วโมง ถึง 5,000 กิโลกรัม/ชั่วโมง
ขนาดเครื่องกว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 3.5 เซนติเมตร สูง 80 เซนติเมตร

ชุดอบแห้งหลังการล้าง ใช้ระบบอุโมงค์ลมร้อนและผ่านลมเย็นจากพัดลม มีระบบโซ่นำลำเลียงลูกกลิ้งโรลเลอร์เป็นสเตนเลสขนาด
ของชุดเป็นรางยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 70 เซนติเมตร สูงประมาณ 1.5 เมตร

ชุดเคลือบไข เป็นระบบลูกกลิ้งแปรงลำเลียง มีความยาวรางประมาณ 3.5 เมตร ขนแปรงเป็นไนลอนหรือขนม้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์
กลางของลูกกลิ้ง 10 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร เครื่องฉีดผลส้มเป็นหัวพ่นแบบละเอียด ( Fire Nozzle) สามารถ
ปรับอัตราการฉีดพ่นได้ง่าย

ชุดอบแห้งหลังเคลือบ มีอุณหภูมิอบแห้งประมาณ 46-48 องศาเซนซิเมตร ใช้เวลาประมาณ 50-60 วินาที

เครื่องที่ออกแบบโดย วว. เป็นเครื่องที่ออกแบบและจัดสร้างให้มีความทัดเทียมกับเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่มีราคาถูก
กว่าประมาณ 3-5 เท่า เพื่อให้ผิวผลไม้สะอาด เป็นเงา แวววาว เป็นการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มแรงจูงในในการซื้อของผู้บริโภค เพิ่ม
มูลค่าผลส้มที่ผ่านการเคลือบผิวโดยส้มที่ผ่านการเคลือบผิวโดยส้มทีผ่านการเคลือบผิวสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าส้มที่ไม่ได้
ผ่านการเคลือบผิว ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลส้มให้ยาวนานขึ้น ลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ

คุณลักษณะเด่น
- ช่วยยืดอายุผลไม้ให้เก็บได้นานขึ้น
- เพิ่มมูลค่า เพิ่มแรงจูงใจ
- ผิวผลไม้สะอาดเงาแวววาว
- ลดการสูญเสียน้ำ ผลไม้เหี่่ยวช้าลง





สารเคลือบผลไม้มีอยู่หลายชนิด มีคุณสมบัติละลายในน้ำปกติได้ ถ้ากินเข้าไปบ้าง ก็ไม่เป็นอันตราย เพราะไตสามารถขับออก
ได้ อย่างไรก็ดี ควรล้างทำความสะอาดหรือ เช็ดออกให้สะอาดทุกครั้งที่จะส่งผลไม้เข้าปากนะคะ..



ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kengmanny&month=29-06-2010&group=9&gblog=183

http://www.phtnet.org/news/view-news.asp?nID=24

http://www.tistr-foodprocess.net/innovation_tistr/innovation3.htm

ภาพจาก GooGle ค่ะ


http://atcloud.com/stories/85151
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/03/2012 6:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,544. เทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยว


การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
สุเมษ เกตุวราภรณ์ (2537) กล่าวว่าในการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บผลไม้จากต้น (harvesting) ควรเข้าใจคำว่า “maturity” ซึ่ง
เป็นสภาพของผลที่พร้อมจะเก็บได้ ความหมายของคำนี้ในทางพืชสวนหมายถึงผลไม้ซึ่งพร้อมที่จะเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ คืออาจ
อยู่ในสภาพยังอ่อนอยู่จนถึงแก่เต็มที่ ส่วนในทางพฤกษศาสตร์นั้น หมายถึงผลที่เจริญจนเต็มที่ไม่เพิ่มขนาดอีกต่อไป ฉะนั้นในทาง
พืชสวนจึงทราบ maturity ได้ยากกว่าทางพฤกษศาสตร์

การเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนอันหนึ่งที่เสียค่าใช้จ่ายสูง ไม้ผลบางชนิดจะเสียค่าใช้จ่าย ในการเก็บเกี่ยวสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาผล
ผลิต ความพยายามที่จะลดการสูญเสียผลผลิตในการเก็บเกี่ยว และการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวจะช่วย ให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น
อย่างมาก การเก็บเกี่ยว ผลไม้แบ่งออกได้ 2 อย่างใหญ่ ๆ คือ

1. การใช้มือเก็บเกี่ยว (hand picking) เป็นวิธีการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพดี สามารถคัดเลือกผลไม้ที่จะเก็บเกี่ยว และมีความ
เสียหายต่อผลผลิตไม่มากนัก แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการบริหารแรงงานและเสียค่าใช้จ่ายสูง การเก็บเกี่ยวด้วยมือบางครั้งก็มี
การใช้เครื่องมือช่วยบ้าง เช่น การเก็บเกี่ยวมะม่วง อาจจะใช้ตระกร้อสอย ไม้ผลบางชนิดมีขนาดต้นสูงมากจำเป็นต้องใช้บันไดช่วยใน
การเก็บเกี่ยว อุปกรณ์ที่ช่วยในการเก็บเกี่ยวด้วยมือมีมากมายหลายชนิด ผู้ผลิตจะต้องศึกษาวิธีการเก็บไม้ผลแต่ละชนิด แล้วตระเตรียม
อุปกรณ์ช่วยในการเก็บเกี่ยวให้พร้อม

2. การใช้เครื่องจักรกล (harvesting machine)ในประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีปัญหาค่าแรงสูง ดังนั้นเพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการ
เก็บเกี่ยวจึงมีผู้ผลิตเครื่องจักรแบบต่างๆ หลายชนิดเพื่อจะใช้ในการเก็บเกี่ยวไม้ผลแต่ละอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลที่จะนำไปส่ง
โรงงานแปรรูป เช่น บรรจุกระป๋องหรือทำแยม เป็นต้น





การเก็บเกี่ยวผลไม้ถือหลักที่ว่าผลไม้บอบช้ำน้อยที่สุด เช่นการเก็บเกี่ยวกล้วยเราอาจใช้ถุงพลาสติกบาง ๆ คลุมเครือกล้วยเสียก่อน
แล้วจึงตัดเครือออกจากต้นจะช่วยป้องกันรอยข่วน (bruise) บนผลกล้วยได้ หรือการเก็บเกี่ยวผลไม้ลูกโตๆ จากต้นสูงๆ อาจต้องใช้
เชือกผูกลูกแล้วค่อยหย่อนลงมาเป็นต้น ผลไม้บางชนิดจะต้องปล่อยให้อยู่บนต้นจนมีคุณภาพที่ต้องการเสียก่อนจึงจะเก็บได้ เช่น องุ่น
เงาะ เป็นต้น ถ้าเราเก็บผลไม้เหล่านี้ในระยะที่ยังไม่สุกจะทำให้รสเปรี้ยวหรือคุณภาพไม่เป็นที่พอใจของผู้บริโภค ทั้งนี้เพราะผลไม้ประเภท
นี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นน้ำตาลได้ หลังจากเก็บมาจากต้นแล้ว แต่ไม้บางประเภทเมื่อเก็บจากต้นแล้วสามารถเปลี่ยนให้เป็น
น้ำตาลได้เราก็อาจเก็บก่อนที่ผลจะสุกเต็มที่ได้ เช่น กล้วยและสับปะรด เพื่อส่งตลาดไกๆ ก็อาจเก็บในระยะ “mature green” เป็นต้น

การเจริญเติบโตของผลไม้ก่อนถึงระยะสุกเต็มที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งรวมอยู่ใน “ripening process” ผลไม้จะมีการเปลี่ยน
แปลงดังนี้

1. การเพิ่มขนาดของผล หลังจากติดผลแล้ว การเจริญเติบโตของผลไม้โดยทั่วไป จะมีการเพิ่มขนาดทั้งในทางเส้นผ่าศูนย์กลางและ
ทางด้านยาว การเจริญของผลแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยการเจริญของผล

2. การเปลี่ยนสีของส่วนต่างๆ ของผล สีเปลือกของผล แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ สีพื้น (ground color) เป็นสีพื้นของผิวก่อนที่จะเกิด
สีทับ (over color) สีพื้นโดยทั่วไปแล้วจะมีสีเขียวแต่ผลไม้บางชนิด เช่น ชำมะเลียง (Otophora cambodiana) เปลือกผล
ขณะที่ยังอ่อนอยู่จะมีทั้งสีเขียวปนสีเหลืองแดง ส้ม หรือสีอื่นๆ แล้วแต่ชนิดของผลไม้ นอกจากเปลือกผิวของผลจะเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อผลแก่แล้ว เนื้อของผล และเมล็ดก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกันการที่ผลไม้มีสีต่างๆ กันนั้นจะเกี่ยวกับชนิดของเม็ดสี (pigments)
ซึ่งมีอยู่ในเซลล์ของผล ที่เกิดในคลอโรฟิลล์ คลอโรฟิลล์ เอ (chlorophyll a) มีสี blue black คอลโรฟิลล์ บี มีสี greenish black
นอกจากนี้มีเม็ดสี คาโรตินอยส์ (carotinoids) ซึ่งมีสีเหลืองซีดจนถึงสีแดงสด ประกอบด้วยสารหลายชนิดเป็น ไลโคฟิน (lycopene)
มีสีแดงแอลฟา-คาโรติน (alfa-carotene) พบในดอกและที่รากแครอท เบตา-แคโรตีน (beta-carotene) พบในมะละกอ นอก
จากนี้พบเม็ดสีอยู่ในเซลล์แซฟ เช่น แอนโธแซนทิน (anthoxanthins) ซึ่งมีสีเหลือง สารเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อผลแก่ขึ้น จึงทำให้ผล
ไม้มีสีต่างๆ นอกจากนี้สีของผลไม้จะเป็นผลที่เกิดจากอุณหภูมิและแสงแดดด้วย

3. การอ่อนตัวของผล (solftening) เมื่อผลไม้ยังไม่แก่ผลจะแข็งตัวมาก เมื่อแก่เข้าจะค่อยๆ อ่อนตัวลง ทั้งนี้เพราะมิดเดิล ลาเมลล่า
(middle lamela) ซึ่งอยู่ในผนังเซลล์ เปลี่ยนแปลงและสลายตัวไป ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์แต่ละเซลล์หลุดออกจากันกิ่งแก่เข้าการ
ยึดเกาะของเมล็ดจะลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดจะสลายตัวหมดเมื่อผลสุกงอม

4. การเกิดนวล (bloom) ไม้ผลบางชนิดจะขับสารบางอย่างออกมาอาจเป็นพวกขี้ผึ้ง มีลักษณะเป็นผลอ่อนๆ เกาะอยู่ตามผิวของผล
เมื่อผลไม้ผลใกล้จะแก่ ผลอันนี้เราเรียกว่า “นวล” หรือ bloom

5.จำนวนแป้งในผลลดลง เมื่อผลติดใหม่ๆ อาหารที่ส่งไปจากใบซึ่งปกติอยู่ในรูปของสารละลายพวกน้ำตาล เมื่อถึงผลจะมีการเปลี่ยน
แปลงเป็นแป้งสะสมอยู่ พอแก่ขึ้นแป้ง (carbohydrates) จะค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อน้ำตาลเพิ่มขึ้นแป้งจะลด
ลงเรื่อย ๆ แต่ในพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพดหวาน ถ้าเราเก็บไว้ในห้องธรรมดาหลังจากเก็บผักมาจากต้นแล้วเกิน 24 ชั่วโมง น้ำตาลใน
ผลจะเปลี่ยนเป็นแป้งได้

6. ความถ่วงจำเพาะของผลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะผลจะสะสมอาหารต่างๆ เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำหนักของผลเพิ่มขึ้น

7. สารบางอย่าง เช่น กรดแทนนิน (tannin) จะลดลงเมื่อผลใกล้จะแก่เน่าผลไม้บางชนิดที่เรียกว่า “acid fruit” กรดภายในผลจะ
เพิ่มขึ้นทุกทีเมื่อแก่ขึ้น ปกติแทนนิน (tennin) จะลดลง จึงทำให้ผลไม้สุกมีรสฝาด (astringency) น้อยลงสารบางอย่าง เช่น
ไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) จะเพิ่มขึ้น เช่น ในผลมะพร้าว ลูกเนย (avocado) ผลไม้บางชนิดเมื่อแก่จะมีเทนนินเพิ่มขึ้น

จากการเปลี่ยนแปลงของผลไม้ดังกล่าวมาแล้วนี้ เรานำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเก็บ (picking) ผลไม้โดยตั้งเป็นมาตรฐานในการ
เก็บที่เรียกว่า “picking index” การเก็บเราอาจใช้มาตรฐานเก็บวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้

1. การใช้ขนาด การวัดขนาดของผลไม้นิยมใช้กับสวนทั่วๆ ไป โดยมากชาวสวนใช้ความชำนาญ ไม่มีอะไรเป็นมาตรฐาน ถ้าเราทำมาตร
ฐานสำหรับผลไม้แต่ละชนิดไว้เช่น ทำเป็นห่วงมีด้ามมีเส้นผ่าศูนย์กลางแปรไปตามชนิดของผลไม้ การใช้อาจทำได้ โดยการเก็บผลไม้
ในสวนมา แล้วใช้ห่วงครอบดู เราจะทราบว่าผลไม้ชนิดต่างๆ ที่แก่พอจะเก็บได้นั้นโตขนาดไหน แล้วก็ทำเป็นมาตรฐานไว้

2. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง ผลไม้บางชนิดเมื่อแก่แล้ว บางส่วนของผลจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป เช่น กล้วยถ้าเหลี่ยมลบแสดงว่าแก่
พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ แต่ถ้าเก็บก่อนเหลี่ยมลบจะบ่มสุกช้า หรือทำให้คุณภาพเสียไป ในขนุนดูการเปลี่ยนแปลงของหนาม (stigma)
ว่าหนามห่างก็แสดงว่าแก่แล้ว ผลระกำถ้าแก่ต้นขั้วจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นต้น

3. ดูสีส่วนต่างๆ ของผล ผลไม้ส่วนมากถ้าสุกจะมีสีเหลือง เพราะเกิดสารบางอย่างขึ้น เช่น คาโรตีน (carotene) แอนโธแซนธิน
(anthoxanthins) คาโรตินอยด์ (carotinoids) เป็นต้น ผลไม้บางชนิดมักจะมีสีเมื่อใกล้จะสุก อย่างไรก็ดีสีของผลไม้อาจเกิดจาก
ปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสงแดด ฉะนั้นควรพิจารณาให้รอบคอบ เช่น ส้ม เขียวหวานทางภาคเหนือ จะเหลืองกว่าที่ปลูกในแถว
ภาคกลาง เพราะอุณหภูมิทางเหนือเย็นกว่า ผลไม้บางชนิดเวลาโดนแดดจัด สีผิวของผลจะซีดลง เป็นต้น นอกจากนี้การดูสีเนื้อ และสีเมล็ด
จะทำให้ทราบความแก่อ่อนของผลได้ สีของเนื้อมักจะไม่ใช่เป็นมาตรฐาน มีเพียงบางชนิดเท่านั้นแต่ส่วนมากไม่แน่นอน ปกติเมล็ดของ
ผลเมื่อแก่จะมีสีคล้ำหรือดำ และชาวสวนนิยมใช้กัน

4. ขั้วผล ตรงส่วนขั้วที่ต่อมาจากกิ่งของผลไม้บางชนิด เมื่อแก่จะมีรอยหรือเกิด abscision zone ตาย แบ่งแยกผลออกจากกิ่ง
เช่น แตงไทย เป็นต้น

5. จำนวนวัน การใช้จำนวนวันเป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยวเราอาจทำได้โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งของการเจริญเติบโต เช่น ตั้งแต่
เริ่มออกดอก ปกติเราเริ่มตั้งแต่ระยะ “full bloom” คือเมื่อดอกในต้นบานประมาณ 70-75 % จากระยะนี้เราก็ศึกษาหรือนับดูว่าใช้
เวลากี่วันจึงถึงเวลาเกี่ยวได้ แล้วทำเป็นมาตรฐานสำหรับผลไม้ชนิดหนึ่งในท้องถิ่นเฉพาะแห่งไป วิธีนี้เป็นวิธีง่ายและควรใช้เป็นไม้ผล
ที่ใช้เวลาแก่นาน อย่างไรก็ดีจำนวนวันที่แก่ของผลไม้บางชนิดอาจแตกต่างออกไป ถ้าเราเก็บเกี่ยวเพื่อส่งตลาดที่มีระยะทางต่างกัน เช่น
การเก็บผลไม้เพื่อส่งไปตลาดต่างประเทศที่มีระยะทางไกลจำนวนวันอาจจะน้อยกว่าพวกที่จะส่งตลาดภายในเพราะต้องการให้ผลไม้เก็บ
อยู่ได้นานวันขึ้น การใช้มาตรฐานการเก็บแบบนี้อาจได้รับความกระทบกระเทือนได้ถ้าดินฟ้าอากาศแปรปรวน แต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็
สามารถเตรียมแผนการเก็บล่วงหน้าได้

6. การใช้หน่วยความร้อน (heat unit) ในพืชบางอย่างเราอาจบอกระยะเก็บเกี่ยวได้ โดยใช้ความร้อนที่พืชนั้นได้รับ คือพืชจะค่อย
สะสมความร้อนในแต่ละวันจนครบ heat unit ของพืชหาได้โดยการเอาอุณหภูมิต่ำสุดที่พืชจะขึ้นได้ (zero point) หรือ minimum
หรือ best-line temperature ไปลบกับอุณหภูมิเฉลี่ยประจำวันผลต่างก็จะเป็นจำนวนความร้อนมีหน่วยเป็น “degreen day”
และถ้าเอา 24 คูณ ก็จะเป็น “degree-hour” ตัวอย่าง เช่น ไม้ผลชนิดหนึ่งมีอุณหภูมิต่ำสุดที่จะขึ้นได้ 50 จF ถ้ามีอุณหภูมิเฉลี่ย
ประจำวัน 60 จF ในวันนั้นพืชจะได้รับความร้อนเท่ากับ 10 degree-day แต่ถ้าวันนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ย 40 จF ความร้อนที่พืชได้รับ
ในวันนั้นจะเป็น 0 degree-day

พืชแต่ละชนิดจะมี heat unit ตายตัว ในพันธุ์ต่างๆ ของพืชชนิดเดียวกันอาจมี heat unit ต่างกัน เช่น ในองุ่นจะมี heat unit
อยู่ในช่วง 1,500-3,000 degree-day พันธุ์คาดินัล (Cardinal) ต้องการความร้อนตั้งแต่ดอกบนจนถึงสุกประมาณ 1,800-2,000
degree-day พันธุ์ไวท์มาละกา (White Malaga) ต้องการความร้อนประมาณ 3,000 degree เป็นต้น

การใช้จำนวนความร้อน เป็นมาตรฐานในการเก็บเกี่ยวในเขตที่มีอุณหภูมิร้อนจัดเกินไป จะทำให้การคำนวณผิดพลาดได้ เพราะอุณหภูมิ
เฉลี่ยประจำวันมากเกินไป ในจำนวนนี้พืชจะเอาไปใช้เป็นบางส่วนเท่านั้น

7. การใช้จำนวนแป้งในผล การใช้จำนวนแป้งในผลเป็นเครื่องวัด อาศัยหลักที่ว่าผลไม้จะเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลเมื่อแก่ เราต้องทำการ
ศึกษาดูว่าเมื่อผลแก่เต็มที่หรือสุกจะมีแป้งเหลือเท่าไร แล้วทำเป็นมาตรฐานเอาไว้
8. การใช้จำนวนน้ำตาล ปริมาณน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นใน
ขณะที่แป้งลดลงเมื่อผลแก่เพราะแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล เราควรศึกษาดูว่าไม้ผลชนิดใดมีน้ำตาลเท่าใด จึงควรจะเก็บและถือเป็นมาตรฐาน
ว่าผลไม้นั้นแก่แล้ว น้ำตาลในผลไม้มีหลายอย่าง ถ้าเราจะทำการหาโดยละเอียดจะเป็นการยาก จึงใช้วัดในรูปของ soluble solids คือเป็น
จำนวนของ solids ที่ละลายอยู่ในเซลล์แซบ จะเป็นน้ำตาล การวัดทำได้ 2 วิธีคือ

ก. วัดจากความแน่น (density) ของเซลล์หรือน้ำหวานของผลไม้โดยการนำเอาน้ำหวานที่เราคั้นมาจากผลไม้ใส่ลงไปในกระบอก
หรือภาชนะที่เขามีไว้ให้ และใช้ Brix Hydrometer จุ่มลงไปก็จะทราบปริมาณน้ำตาลได้ การใช้ไฮโดรมิเตอร์จะต้องวัดตามอุณห
ภูมิที่เขากำหนดให้ หรือถ้าวัดอุณหภูมิที่แตกต่างออกไปก็อาจทำการแก้ไขให้ถูกต้องได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับวัดผลไม้ที่มีน้ำหวานมากๆ

ข. ใช้ทำการหักเหของแสง โดยอาศัยการหักเหของแสงมากน้อยเป็นเกณฑ์ คือปกติแสงจะหักเหตามความหนาแน่นของสารละลาย
วัดได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “sugar refractometer”


9. การใช้อัตราส่วนของแป้งต่อน้ำตาล เป็นการหาทั้งปริมาณของแป้งและน้ำตาลเมื่อผลแก่พอจะเก็บได้ แล้วทำเป็นตัวเลขไว้
สำหรับผลไม้แต่ละชนิด

10. การใช้จำนวนกรดในผล เป็นการหาปริมาณของกรดที่มีอยู่ในน้ำหวานผลไม้ โดยการ titrate น้ำหวานกับโซเดียมไฮดรอกไซด์
(NaOH) แล้วเอาตัวเลขมาทำมาตรฐานไว้

11. ใช้อัตราส่วนระหว่างน้ำตาลต่อกรด (S/A ratio) ผลไม้บางชนิดจะใช้กรดหรือน้ำตาล แต่เพียงอย่างเดียวจะไม่เหมาะสม เพราะเรา
ต้องการให้มีรสเปรียวกับหวานปนกัน เช่น ส้ม เวลาซิมดูจะรู้สึกว่ามีรสแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและกรดรส
เปรี้ยวหวานในน้ำส้มนั้นปกติใช้น้ำตาลต่อกรดในอัตรา 6:1 แต่อาจผิดไปจากนี้ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคนหรือแต่ละชาติ
ผลไม้บางชนิดเราต้องการรสหวานแก่เพียงอย่างเดียวเช่น มังคุด ทุเรียน มะม่วงสุก เราก็ใช้น้ำตาลเพียงอย่างเดียวเป็นมาตรฐานใน
การเก็บเกี่ยว

12. การอ่อนตัวของผล เราทราบว่าแล้วว่าเมื่อผลแก่ขึ้น การอ่อนตัวของผลจะมีมากขึ้น การวัดทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “pressure
tester” มีอยู่ 2 ขนาด คือขนาดใหญ่ใช้กับผลไม้ที่มีเนื้อแข็งมาก อีกอย่างหนึ่งขนาดเล็กกว่าใช้สำหรับการวัดการอ่อนตัวของผลไป
ที่มีเนื้ออ่อนๆ บนเครื่อง


การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
ธนัท ธัญญาภา(2537) กล่าวว่าหลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวผลไม้มาแล้ว จะต้องมีขั้นตอนอีกหลายอย่างที่จะต้องจัดการกับผลไม้ ผลไม้
บางอย่างอาจมีขั้นตอนน้อยมากเพราะราคาต่ำมาก ส่วนผลไม้ที่มีราคาสูง จะมีขั้นตอนมาก หลังจากเก็บเกี่ยวผลไม้อาจถูกทำความ
สะอาด ผลไม้บางอย่างจะถูกล้างน้ำหรือนำไปคัดขนาดแบ่งแยกตามคุณภาพของผล เช่น สีของผล จากนั้นจึงถูกนำไปบรรจุในภาชนะ

การคัดขนาดและการบรรจุไม้ผลบางชนิดก็ใช้เครื่องจักร
โดยทั่วไปผลไม้จะถูกนำไปขายโดยทันที แต่ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง หรือมีปัญหาการตลาด เช่น จะต้องขนส่งระยะทางไกล หรือ
ราคาผลผลิตตกต่ำ ก็จะต้องมีวิธีการยืดอายุของผลไม้ด้วยวิธีการต่างๆ วิธีการเหล่านี้ได้แก่

การใช้อุณหภูมิต่ำ เมื่อเก็บเกี่ยวผลไม้มาแล้ว และได้ดำเนินตามขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งบรรจุภาชนะแล้ว ผลไม้จะถูกนำไปลดอุณหภูมิ
ลงซึ่งอาจจะใช้ลมเย็น น้ำเย็น หรืออาจใช้วิธีลดความดันอากาศในภาชนะปิดที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อผลไม้มีอุณหภูมิต่ำตามที่กำหนดแล้ว
จึงนำไปเก็บรักษาในห้องเย็น โดยขนส่งด้วยรถยนต์หรือเรือที่มีระบบห้องเย็น ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ
ต่ำจะช่วยให้ผลไม้ลดอัตราการหายใจลงทำให้ผลไม้มีอายุยืนยาวนานขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลไม้ชนิดต่างๆ ควรจะเก็บรักษาที่
อุณหภูมิต่ำ แตกต่างกัน ผลไม้เขตร้อนบางอย่าง เช่น กล้วยหอมทองถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส จะทำให้เปลือก
ผลเป็นสีดำไม่สามาถนำไปจำหน่ายได้ นอกจากอุณหภูมิที่เก็บรักษาจะเหมาะสมแล้ว การหมุนเวียนของอากาศจะช่วยให้อุณหภูมิใน
ห้องเย็นมีคามสม่ำเสมอ และจะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์สูงพอเหมาะกับความต้องการของผลไม้แต่ละชนิด ตัวอย่างสภาพการเก็บรักษาที่
เหมาะสม และอายุการเก็บรักษาของผลไม้บางชนิดสามารถสรุป


การเก็บรักษาโดยควบคุมบรรยากาศรอบๆ ผลไม้ (Controlled Atmosphere storage)
การเก็บรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องใช้โรงเก็บที่ปิดสนิทไม่ให้มีการรั่วไหลของอากาศ โดยทั่วไปจะใช้ร่วมกับอุณหภูมิต่ำ แล้วเพิ่มปริมาณคาร์บอน
ไดออกไซด์และลดปริมาณออกซิเจน ในโรงเก็บ วิธีการดังกล่าวเริ่มใช้ครั้งแรก กับการเก็บรักษาแอบเปิ้ลในประเทศอังกฤษ เนื่องจาก
แอปเปิลบางพันธุ์เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (ศูนย์องศาเซลเซียส) แล้วยังมีปัญหาเก็บได้ไม่นาน โดยทั่วไปมักจะควบคุมให้บรรยากาศใน
ห้องเก็บมีออกซิเจน 2-3 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ 1-8 เปอร์เซ็นต์ และใช้อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามการเก็บ
รักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผลไม้บางชนิดบางพันธุ์ ดังนั้นการศึกษาอย่างละเอียดก่อนใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง


การเก็บรักษาโดยการแปลงบรรยากาศรอบๆ ผลไม้ (Modified Atmosphere Storage) เป็นการเก็บผลไม้ในถุงพลาสติกชนิด
พิเศษ ซึ่งยอมให้ก๊าชและไอน้ำผ่านได้เป็นบางส่วน มีผลทำให้บรรยากาศในถุงพลาสติกที่มีผลไม้อยู่ฤดูดัดแปลงไป เมื่อผลไม้
หายใจ ปริมาณออกซิเจนในถุงพลาสติกจะลดลง ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้นทำให้การหายใจลดลง ผลไม้
จะมีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น

การเก็บรักษาโดยลดความดันของบรรยากาศ (Hypobaric Storage) ในสภาพความดันต่ำ ผลไม้จะมีอายุยืนยาวนานขึ้น และชะลอ
การสุกของผลไม้ ใช้ได้ผลดีกับผลไม้เขตร้อนและเขตกึ่งร้อน โดยไม่ต้องใช้อุณหภูมิต่ำมากนัก เพื่อช่วยในการเก็บรักษา เช่น
การเก็บรักษาผลอะโวกาโดด้วยวิธีนี้จะเก็บได้นาน 3.5 เดือน โดยที่ผลไม่สุกเพราะมีการหายใจต่ำ


http://champtechno.blogspot.com/2008/02/blog-post_594.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/03/2012 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,545. การผลิตพืชอินทรีย์

เป็นระบบการผลิตพืชที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สมดุลธรรมชาติและความหลาก หลายทางชีวภาพ มีการจัดการระบบนิเวศที่คล้ายคลึง
กับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้
พืชที่เกิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับปรุงดินให้มี
ความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง ผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยจากอันตราย
ของสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

ปัจจุบัน มีประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ มากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก พื้นที่รวม 143.75 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในออสเตรเลีย
สหภาพยุโรปและลาตินอเมริกา ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Center : ITC / UNCTAD / WTO)
ประมาณการว่าในปีพ.ศ. 2546 มูลค่าของ สินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกมีประมาณ 23,000-25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
มีการขยายตัวร้อยละ 10 - 20 ต่อปี โดยมีตลาดผู้บริโภคที่สำคัญ คือสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ประเทศไทย มีพื้นที่
ผลิตพืชอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง โดยกรมวิชาการเกษตร ประมาณ 53,810 ไร่ พืชที่ส่งออกได้ในปัจจุบันได้แก่ ข้าว ข้าวโพดฝัก
อ่อน ข้าวโพดหวาน หน่อไม้ฝรั่ง ชา ผลไม้ และสมุนไพรในปี 2548 กระทรวงพาณิชย์ ได้ประมาณมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร
อินทรีย์ของไทย ประมาณ 426 ล้านบาท ซึ่งยังนับว่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่ารวมของตลาดโลก ทั้งนี้ประเทศไทย มีศักยภาพสูง
ที่จะปรับเปลี่ยนสู่การผลิตสินค้าเกษตรส่งออกทั่วไปเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยมีความได้ เปรียบในเรื่องความหลากหลายของชนิดพืชและ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


เหตุผลและความสำคัญของการเกษตรอินทรีย์
ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรไทยทำการเกษตรแบบหลากหลาย และพึ่งพิงความสมดุลตามธรรมชาติ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าคนไทย
รู้จักการทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว และสามารถพึ่งตนเองในการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์ โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่
และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมต่อเนื่องกันมาจนได้รับการยกย่องจากนานาชาติว่าเป็นอู่น้ำของภูมิภาค พันธุ์ข้าวไทยชนะเลิศการประกวด
พันธุ์ข้าวของโลกเมื่อปี2474 ที่เมืองเรจิน่า ประเทศคานาดา ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นสวรรค์ของพันธุ์ไม้ผลมีพื้นที่ป่าไม้
มากกว่าครึ่งของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศมีดิน น้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ดังคำพังเพยที่กล่าวกันจนติดปากว่า ‘ในน้ำมีปลาในนามีข้าว’’ แต่ต่อ
มาได้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

ปี พ.ศ. 2500 ธนาคารโลก (Word Bank) ส่งคณะสำรวจสภาวะเศรษฐกิจเดินทางมาประเทศเพื่อทำการศึกษาแนวทางการ
พัฒนาประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2501 ธนาคารโลกเสนอรายงาน โครงการพัฒนาของรัฐบาลสำหรับประเทศไทย(Pubic Drogram for Thailand)

ปี พ.ศ. 2502 ข้อเสนอของธนาคารโลกดังกล่าว ได้ใช่เป็นแนวทางการวางนโยบายการเกษตรของไทย โดยปรากฏในแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 – 7 (ปี พ.ศ. 2504 – ปี พ.ศ. 2539) ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น
ดังนั้น จึงส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก เช่น ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์เครื่องจักรกลทางการเกษตร จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร ฯลฯ และการผลิตได้ปรับเปลี่ยนจากการผลิตแบบการรวมกลุ่มของเกษตรกร ฯลฯและการผลิตได้
ปรับเปลี่ยนจากการผลิตแบบหลากหลาย เป็นการผลิตเพื่อการพาณิชย์และการส่งออก ได้มีการขยายพื้นที่การเกษตรโดยการบุกเบิก
เข้าไปใน ที่เดิมซึ่งเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยความหลายกหลายทางชีวภาพ การเกษตรได้ถูกปรับเปลี่ยนโดยเน้นการผลิตพืชเชิง
เดี่ยว (Monoculture) โดยเฉพาะพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์ เป้าหมายหลักเพ่อการส่งออกป้อนสินค้า
เกษตรสู่ประเทศอุตสาหกรรมนำไปเลี้ยงสัตว์ เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป ฯลฯ

ปี พ.ศ. 2503 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศทศวรรษแห่งการพัฒนา (Development Decade พ.ศ. 2503 – 2513)
แนวทางการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นนั้นดูเหมือนจะทำให้ประเทศไทยมีความเจริญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาการเกษตรตามแนว
ทางของการปฏิวัติเขียว ที่ต้องใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการเพิ่มผลผลิต แต่การพัฒนาดังกล่าวนั้นได้มีผลเปลี่ยนแปลงจากการที่ประ
เทศไทยได้พึ่งตนเองในการเกษตรมาโดยตลอดไปสู่การต้องพึ่งการนำเข้า และไม่สามารถพึ่งตนเองได้จนถึงทุกวันนี้ ในด้านสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศไทยได้สูญเสียป่าไม้ไปถึง 110 ล้านไร่ ในเวลาของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมา ส่งผลกระทบ
ในทางลบทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่ปรากฏต่อเกษตรกรไทย คือ
ความยากจน สุขภาพอนามัยที่ไม่ดี และสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ดังนี้


ด้านการลงทุนและผลตอบแทน
การเกษตรแบบปฏิวัติเขียวที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยต้องใช้สารเคมี ทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศมี
ราคาสูงขึ้นมาก ตามอัตราค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงตามลำดับเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศทำให้เกษตรกรต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น
ราคาผลผลิตการเกษตรที่เกษตรกรขายได้ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของราคาสารเคมีที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรขาดทุน และเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น

ด้านสิ่งแวดล้อม
ดินมีสภาพความเป็นกรดสูงมากขึ้นทำให้ธาตุอาหารในดินไม่เกิดประโยชน์ต่อพืช
มีการเผาทำลายเศษซากพืชหลังการเก็บเกี่ยวทำ
ให้ดินขาดอินทรียวัตถุอย่างวิกฤต

การใช้ปุ๋ยเคมีต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปีเพื่อรักษาปริมาณผลผลิตให้ได้เท่าเดิม ดินจึงเป็นกรดและขาดอินทรียวัตถุมากขึ้น

ศัตรูพืชเพิ่มชนิดและทวีความรุนแรงของการระบาดมากขึ้น เนื่องจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ฆ่าแต่เพียงศัตรูพืชแต่ฆ่าสิ่งมีชีวิตที่
เป็นประโยชน์อื่นๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นการทำลายความสมดุลตามธรรมชาติ ศัตรูพืชสามารถสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัด
ศัตรูพืช ทำให้ต้องใช้สารเคมีในปริมาณและความเข้มข้นมากขึ้น สิ้นเปลืองและอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้น
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทำลายสัตว์สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่เป็นอาหารเช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ทำให้คนในชนบทไม่มีแหล่งอาหาร


ด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้บริโภค
เกษตรกรต้องได้รับพิษจากการสัมผัสโดยตรงจากการใช้สารเคมีที่เป็นพิษในไร่นา
ผู้บริโภคได้รับพิษจากการบริโภคผลผลิตที่มีสารพิษ
ตกค้างในอาหารทำให้ป่วยไข้และพิการ


ด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
สินค้าเกษตรที่ส่งออกของประเทศ ได้รับการกีดกันจากประเทศผู้นำเข้า เนื่องจากมีสารเคมีตกค้างเกินกว่าปริมาณที่รับได้ ทำให้
มีปัญหาสินค้าถูกกักกันแล้วส่งกลับหรือถูกทำลายที่จุดนำเข้า

ประเทศไทยต้องนำเข้าสินค้าที่เป็นสารเคมีการเกษตรปีละประมาณห้าหมื่นล้านบาท ทั้งที่มีปัจจัยการผลิตที่มีในประเทศทดแทนได้ดีและ
ปลอดภัย รัฐต้องเสียงบประมาณในการตรวจวิเคราะห์และควบคุมสารเคมีการเกษตรตามกฎหมายปีละหลายพันล้านบาท

รัฐต้องเสียงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยไข้เนื่องจากสาเหตุของสารพิษตกค้างในอาหารและสัมผัสโดยตรงที่ไม่สามารถจะประเมิน
เป็นมูลค่าได้ นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์


รัฐบาลปัจจุบัน (2544 – 2548) ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรในระดับรากหญ้า โดยได้แถลง
นโยบายด้านการเกษตรต่อรัฐสภาเมื่อวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 ในข้อ 3 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาค
เกษตรในตลาดโลก และมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ คือ “ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือก และเกษตร
อินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร เพื่อรองรับการเปิดตลาดเสรีสินค้าเกษตรในอนาคต และผลักดันให้ประ
เทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และครัวโลก”

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดให้ปี 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยทางด้านอาหารอีกด้วย ในส่วนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545 – 2549) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรด้วยกลยุทธ์พัฒนาการผลิตใน
รูปแบบเกษตรยั่งยืน ที่สามารถพัฒนาการผลิตได้ในเชิงพาณิชย์และยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยกล
ยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตเช่นส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าปลอดภัยจากสารพิษ
แบบครบวงจร


เกษตรอินทรีย์คืออะไร
คือการเกษตรที่ ใช้หลักการพึ่งพิงความสมดุลตามธรรมชาติเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดระบบนิเวศการเกษตรที่ยั่งยืน สามารถให้ผลผลิตที่
ดีอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานระบบการเกษตรทุกระบบ ที่ส่งเสริมและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ผลิตอาหารและปัจจัยพื้น
ฐานการดำรงชีพ ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ใช้หลักการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเกษตรให้เกิดการผสมผสาน
เกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างเป็นองค์รวม มีการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลีกเลี่ยงการใช้ปัจจัยการผลิตจาก
ภายนอกระบบนิเวศเกษตร (ยกเว้นกรณีจำเป็น) ใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นชีวภัณฑ์ และสารอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต รวมทั้งสารอนิน
ทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ปฏิเสธการใช้ปัจจัยที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์รวมทั้งพันธุ์ที่ผ่านการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรม (Genetically
Modified Organisms)


คำจำกัดความของการเกษตรอินทรีย์
สำนักงานมาตรฐานสนค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำจำกัดความของเกษตรอินทรีย์
ไว้ว่า “เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบ องค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อ
ระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพโดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสัง
เคราะห์ และไม่ใช้พืชสัตว์ หรือจุลินทรีย์ ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม(genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม
(genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตร
อินทรีย์และคุณภาพ ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน”


เกษตรอินทรีย์มีประโยชน์อย่างไร
อนุรักษ์ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้ห่วงโซ่อาหารที่ถูกทำลายไปโดยสารเคมีกลับฟื้นคืนดี
ทำให้ประชาชนมีอาหารที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด แย้ นก ฯลฯ

ลดต้นทุนการผลิต ทำให้เกษตรกรได้กำไรมากขึ้น เกษตรกรที่ยากจนสามารถปลดเปลื้องหนี้สินให้ลดลงและหมดไปได้

ผลผลิตขายได้ราคาสูงกว่าผลผลิตจากการผลิตโดยใช้สารเคมีทั้งในตลาดต่างประเทศและในประเทศประมาณ 10 – 30%

ประสิทธิภาพการผลิตต่อพื้นที่มากขึ้นในระยะยาว เพราะดินได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิตปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้อัตราการป่วยไข้ และเสียชีวิตของประชาชนทั้งประเทศลดจำนวนลง และประชาชนมี
สุขภาพพลานามัยดีขึ้นทำให้รัฐสามารถประหยัดเงินงบประมาณในการรักษาพยาบาลลงได้มาก

ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลงได้คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000 ล้านบาท ประหยัด
เงินตราต่างประเทศและสามารถสร้างงานและรายได้ในส่วนนี้ให้กับคนไทยที่ผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารธรรมชาติกำจัดศัตรูพืชขึ้นทดแทน
ได้อีกด้วย

แก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้าการเกษตรที่มีสารเคมีที่เป็นพิษเจือปน และถูกประเทศผู้นำเข้าตั้งข้อรังเกียจที่จะนำเข้าสินค้า
การเกษตรจากประเทศไทย หากปรับเปลี่ยนมาใช้การผลิตโดยวิธีเกษตรอินทรีย์จะทำให้ประเทศไทยส่งออกสินค้าการเกษตรได้
มากขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า

ลดภาระงบประมาณของรัฐในการดำเนินการควบคุณตามกฎหมายและการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตรลง
ได้ คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้าน



ประวัติความเป็นมาของเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย
เริ่มมีความสำคัญตั้งแต่ปี 2535 เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการโดยเกษตรกร และการผลักดันขององค์กรพัฒนาภาค
เอกชน แต่ยังไม่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 % สำหรับในปัจจุบันมีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนคือ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมสห
กรณ์และกรมส่งเสริมการเกษตร

สำหรับสินค้ารายการแรกที่ภาครัฐส่งเสริมการผลิตคือสินค้าข้าว ซึ่งเริ่มดำเนินการปี 2535 เป็นการร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตร
กับบริษัทในเครือนครหลวงค้าข้าวและบริษัทเครือสยามวิวัฒน์ เพาะปลูกในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา ผลผลิตข้าวประมาณ
1,200-1,500 ตัน เพื่อการส่งออกภายใต้การควบคุมดูแลและการให้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ได้รับการรับรองจากองค์
การตรวจสอบคุณภาพในประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์สากล (International Federation of Organic
Agriculture Movement : IFOAM) ข้าวในโครงการนี้เป็นที่ยอมรับของประเทศยุโรป


ประวัติความเป็นมาของเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ
ในยุโรปเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2479 จากผลงานวิจัยของ Alwin Seifest ซึ่งได้เสนอผลงานวิจัยต่อกระทรวงเกษตร
เยอรมนี ทำการเกษตรไม่ไถพรวนปฏิเสธการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว (Monoculture) และมีนักวิทยาศาสตร์อีกหลาย
ท่าน เช่น เซอร์อัลเบิรต โฮวาร์ต ได้เสนอผลงานชื่อคัมภีร์เกษตร (An Agricultural Testament) เป็นต้น

ต่อมากลุ่มประเทศในยุโรป ได้ค้นคว้าในเรื่องของเกษตรกรรมที่ปลอดสารพิษตกค้างหรือการปนเปื้อนของสารเคมี มีการรวมกลุ่ม
กันจัดทำมาตรฐานการผลิตทางเกษตรที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อใช้เปรียบเทียบภายใต้
การดำเนินงานของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์สากล (International Federation Organic Agriculture Movement = IFOAM)
และได้จัดทำมาตรฐานขึ้นในปี 2532

http://www.agri.kps.ku.ac.th/oa/ 7/7/2551




ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรอินทรีย์
มนุษย์รู้จักการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรมานับพันปีแล้ว โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการแปรรูปผลผลิต การผลิตอาหาร การปรับ
ปรุงบำรุงดิน และการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืช ในช่วง 3 ทศวรรษมานี้ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรมาก
ขึ้น ซึ่งอาจจะแยกประเภทของจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการเกษตรออกเป็น 5 ประเภท คือ

- ประเภทที่ใช้ในการผลิตอาหาร เช่น เห็ดชนิดต่างๆ
- ประเภทที่ใช้ในการแปรรูปผลผลิต เช่น ยีสต์ เชื้อรา ฯลฯ
- ประเภทที่ใช้ในการปรับปรุงดิน เช่น ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ฯลฯ
- ประเภทที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เชื้อ bacillus thuringieneses, เชื้อไวรัส NPV Nuclelar Polyhedrosis Virus,
เชื้อรา Entomophthora
grylli เป็นต้น
- ประเภทที่ใช้ในการสร้างพลังงาน เช่น จุลินทรีย์ที่ใช้ทำก๊าซชีวภาพ

จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมีนั้น จุลินทรีย์จะ
มีบทบาทที่ช่วยทดแทนการใช้สารเคมีได้มาก หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสามารถจะใช้ทดแทนสารเคมีการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์แบบที
เดียว ที่กล่าวมานี้มิใช่จะเกินความเป็นจริง เพราะได้พิสูจน์ด้วยการปฏิบัติมาแล้วดังนี้คือ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องจุลินทรีย์จากสามาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี

อาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา สตรีที่อดีตเคยเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญา
ของเธอให้กับการเกษตรธรรมชาติได้ชักนำ Mr. Han Kyu Cho เกษตรกรชาวเกาหลีซึ่งเป็นประธานของสมาคมเกษตรธรรมชาติ
แห่งประเทศเกาหลี (The Korean Natural Farming Association –KNFA) ให้ได้มีโอกาสมาเสนอความรู้ในเรื่องการใช้จุลิน
ทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organism-IMO) แก่เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนโดยได้จัดการบรรยายขึ้นที่กรมวิชา
การเกษตรและสถานที่ต่างๆ ในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม 2540 จากความรู้ที่ได้รับจาก Mr. Cho ในครั้งนั้น กลุ่มของนักวิชาการและ
เกษตรกรไทยได้นำไปทดลองปฏิบัติทั้งผลิตและใช้ รวมทั้งบางรายสามารถจะผลิตเพื่อจำหน่ายได้ด้วย และด้วยความมหัศจรรย์ของ
IMO ในการปรับปรุงบำรุงดิน การทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อการทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งการช่วยขจัดสิ่งปฏิกูล
ทั้งในน้ำและในกองขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกษตรกรและประชาชนจำนวนมากได้นำไปใช้จากการเผยแพร่ของกลุ่มนัก
วิชาการ และนักปฏิบัติที่ได้ตั้งเป็นชมรมเกษตรธรรมชาติ จนขณะนี้มีผู้นำไปใช้อย่างได้ผลอย่างกว้างขวางในเวลาเพียงสามปีเศษเท่านั้น
Koyama, A (1996) ได้รายงานไว้ในวิทยานิพนธ์ว่า Mr. Cho ได้แยกผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ พื้นฐานออกเป็น 5 ชนิด คือ


1. จุลินทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organisms)
สามารถจะเก็บได้จากธรรมชาติโดยใช้ข้าวหุงสุกแล้วใส่จานหรือถาดเกลี่ยให้หนาประมาณ 3 เซนติเมตร ปิดด้วยกระดาษ แล้วนำไป
ใส่ในกรง เพื่อกันหนูหรือสัตว์อื่นมากิน แล้วนำไปตั้งทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ในป่าละเมาะ หรือภายในกองใบไม้แห้งที่มีผ้าพลาสติกคลุม เพื่อ
กันฝนและน้ำค้างที่มากเกินไป ทิ้งไว้ 5-6 วัน จะมีราสีขาวขึ้นคลุมหน้า จากนั้นให้เทข้าวใส่ในโถกระเบื้องดินเผา ผสมกับน้ำตาลแดง
หรือกากน้ำตาล สัดส่วน 1/3 ของน้ำหนักข้าว ส่วนผสมนั้นจะกลายเป็นของเหลวข้นมีจุลินทรีย์เจริญอยู่มากมาย แล้วนำของเหลวนี้
ไปผสมกับรำข้าวในสัดส่วนร้อยละ 0.2 ใช้กระสอบป่านคลุมจะเกิดความร้อน ต้องคอยควบคุมไม่ให้ความชื้นเกิดกว่าร้อยละ 65
แต่ถ้าแห้งเกินไปก็ให้พรมน้ำ ทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงเอาไปคลุกผสมกับปุ๋ยคอก มูลสัตว์ในปริมาณ 30 - 50 เท่า แล้วคลุมไว้ประมาณ
3 สัปดาห์ ก็จะได้ปุ๋ยหมักสมบูรณ์ นำไปใส่ปรับปรุงดินประมาณ 1 กิโลกรัม / 1ตารางเมตร สำหรับการปลูกผักอินทรีย์


2. น้ำหมักพืช (Fermented Plant Juice-FPJ)
ขณะที่คนไทยเรียกว่าน้ำสกัดชีวภาพ (Bio-Extract-B.E.) ผลิตภัณฑ์นี้ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีสรรพคุณที่หลากหลายเช่น
เดียวกับสาร อี.เอ็ม. วิธีการก็คือนำเศษพืช ถ้าหากเป็นพืชชนิดเดียวกับที่ปลูกอยู่ก็จะดี และไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนของพืชที่จะใช้
เป็นอาหาร แต่อาจจะเป็นเศษเหลือที่จะทิ้งแล้วก็ได้ ในปริมาณ 3 ส่วนต่อน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน สำหรับเศษพืช
นั้นควรจะสับให้มีขนาดเล็ก 2-3 นิ้ว แล้วใส่ในภาชนะคลุกเคล้าให้เข้ากันภาชนะไม่จำกัดชนิดและขนาดในสวนผักบางแห่งใช้วงซีเมนต์
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 เมตร สำหรับทำบ่อส้วม จำนวน 3 วง มาเชื่อมต่อกันเป็นภาชนะ โดยมีทอเปิดด้านล่าง เมื่อ
หมักได้ที่ ซึ่งจะใช้เวลา 5-7 วันก็จะได้น้ำหมักพืชหรือน้ำสกัดชีวภาพตามต้องการ น้ำหมักพืชนี้จะต้องนำไปเจือจางในน้ำธรรมดาใน
อัตรา 1:1,000 1 ช้อนแกง (10 ซีซี) ต่อน้ำ 10 ลิตร (1,000 ซีซี) ใช้รดพืชผัก และใช้รดลงในดินที่ปลูกพืช


3. ซีรั่ม ของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum, LAS)
เตรียมได้จากการดึงเอาจุลินทรีย์ในอากาศมาอยู่ใน
น้ำซาวข้าว แล้วจึงนำไปเพาะเลี้ยงในน้ำนมอีกให้เกิดเป็น ซีรั่มของกรดแล็คติค ใช้น้ำหมักนี้ในการพ่นลงบนใบพืชให้มีความแข็งแรง
เพื่อป้องกันโรคพืช


4. กรดอะมิโนจากปลา (Fish Amino acid, FAA)
ทำได้จากการนำเอกเศษปลามาผสมกับน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน 1/1 หมักทิ้งไว้ 30 วันหรือนานกว่าก็ได้ (หรืออาจจะใช้กากน้ำตาล)
น้ำจากการหมักนี้จะเป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจนให้กับพืชอย่างดีเยี่ยม


5. สุราหมักจากข้าวกล้อง (Brown Rice Vinegar)
สุราเกิดจากการหมักของข้าวกล้อง หรือถ้าไม่มีก็น่าจะใช้สุราขาวที่มีขายโดยทั่วไป นำมาผสมน้ำให้เจือจาง ฉีดพ่นบนใบพืชจะทำให้พืช
แข็งแรงต้านทานต่อโรคพืชได้


* เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ที่พืชและสัตว์ รวมทั้งจุลินทรีย์สร้างขึ้นในขบวนการหมัก (fermentation) มีหน้าที่ช่วยในการทำงาน
ของทุกระบบในสิ่งมีชีวิตทั้งหมด สิ่งมีชีวิต จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเอนไซม์ เอนไซม์บางชนิดทำหน้าที่ย่อยอาหารในคนและสัตว์
จุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์เองและต้นไม้


* ฮอร์โมน เป็นสารอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่พืช สัตว์และจุลินทรีย์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
ในคนและสัตว์ ฮอร์โมนในพืชชนิดที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ จี.เอ. หรือจิบเบอร์เรลลิค (Giberellic) อ๊อคซิน (Auxin) จุลินทรีย์ก็สามารถ
ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เช่นเดียวกับพืชและสัตว์


ความเข้าใจต่อบทบาทจุลินทรีย์
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถพิเศษ สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร จุลินทรย์หลาย
ชนิดรวมกันและอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน จุลินทรีย์มีความหลากหลายของชนิดที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด
เย็นจัดหรือแห้งแล้งจัด แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของแต่ละชนิดด้วยเทคนิคจุลินทรีย์การปลูกพืชอินทรีย์ โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี
เพราะพืชสามารถสังเคราะห์อาหารได้เองเกือบทั้งหมด ส่วนที่ขาดก็จะได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่ได้จากซากสัตว์ และพืช
รวมทั้งซากของจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์จะผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นธาตุอาหารสำหรับจุลินทรีย์เองและพืชก็
จะได้รับประโยชน์ด้วยจากการดูดเข้าไปทางรากในรูปแบบของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กรดอะมิโน กลูโคส ไวตามิน ฮอร์โมนและแร่
ธาตุ เป็นต้น



http://plantscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=165792
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/03/2012 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,546. งานวิจัย : สมุนไพรกำจัดเพลี้ยแป้งสำปะหลัง

เปรียบเทียบประสิทธิภาพสารสกัดจากสมุนไพร 4 ชนิด ในการก าจัดเพลี้ยแป้ง


บทคัดย่อ :

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรั้ง 4 ชนิด ได้แก่ สะเดา พริกขี้หนู โหระพา และน้อยหน่า ด้วยการสกัด
แบบหยาบ เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง Ferrisia virgata ในไร่มันสำปะหลังที่บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ 24 - 28 เดือนมิถุนายน 2553 พบว่า

สารสกัดจากพริกขี้หนูมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังสูงสุด โดยทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังมีอัตรา
การตาย 98.67%

รองลงมา คือ น้อยหน่า โหระพา และสะเดา ทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังมีอัตราการตาย 65.00% 46.67% และ 10.00%
ตามลำดับ

จากนั้นได้ทำการทดลองกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยสารสกัดจากพริกขี้หนู ที่ระดับความเข้มข้น 1-10% พบว่า เมื่อระดับความเข้มข้นของ
สารสกัดสูงขึ้นอัตราการตายของเพลี้ยแป้งจะเพิ่มขึ้นด้วย


คำสำคัญ : เพลี้ยแป้ง สะเดา พริกขี้หนู โหระพา น้อยหน่า




http://www.itrmu.net/web/06rs1/gallery.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/03/2012 9:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/03/2012 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,547. งานวิจัย : สมุนไพร ชะลอความเหี่ยวของดอกไม้


เปรียบเทียบรสชาติของพืชสมุนไพรที่มีผลต่อการชะลอความเหี่ยวของดอกไม้



บทคัดย่อ :
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของรสชาติจากสารสกัดจากสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ พริก (รสเผ็ด) มะระขี้นก (รสขม) อ้อย (รสหวาน)
มะนาว (รสเปรี้ยว) ด้วยสารสกัดแบบหยาบและน้าไปเจือจางในน้้า เพื่อชะลอการเหี่ยวของดอกไม้ที่สวนพฤกษาศาสตร์ภาคตะวันออก
(เขาหินซ้อน) จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ 24-28
มิถุนายน พ.ศ. 2553

โดยนeสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด มาสกัดแบบหยาบ จ้านวน 50 กรัมและเจือจางในน้้า 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร นeเอาดอกกุหลาบมาแช่ไว้
ในสารสกัดทั้ง 4 ชนิด เมื่อทดลองเป็นระยะเวลา 28
เซนติเมตร พบว่า

สารสกัดจากมะนาวสามารถช่วยคงความสดของดอกกุหลาบได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยจ้านวนรอยเหี่ยวช้้าเป็น 3.67

รองลงมา คือ อ้อย มะระขี้นก และพริก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยจ้านวนรอยเหี่ยวช้้าเป็น 5.58 8.21 และ 8.29 ตามล้าดับ

ส่วนสารสกัดที่ได้จากมะระขี้นกช่วยท้าให้ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ 0.7 เซนติเมตร

รองลงมา คือ อ้อย มะนาว และพริก ซึ่งมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เพิ่มขึ้นเป็น 0.8 0.9 และ 1.6 ตามล้าดับ

ส่วนน้้าเปล่าช่วยให้ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด แต่จ้านวนรอยเหี่ยวช้้ามีจ้านวนมากรองจากพริกและมะระขี้นก


คำสำคัญ : พริก มะระขี้นก อ้อย มะนาวชะลอความเหี่ยว

* โรงเรียนชลราษฎรอ้ารุง ต้าบลบ้านสวน อ้าเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000



http://www.itrmu.net/web/06rs1/gallery.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/03/2012 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,548. งานวิจัย : น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสกับการงอกของเมล็ดพืช


บทคัดย่อ :

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส โดยการนำไปเจือจางในปริมาณ 10% 30% และ 50% เพื่อทำให้
ทราบว่าสารละลายนี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโต หรือการงอกของเมล็ดหรือไม่ พบว่า

เมื่อใช้น้ำบริสุทธิ์ การงอกของเมล็ดถั่วเขียวเป็นไปตามปกติโดยใช้เวลา 13 ชั่วโมง มีการงอกเป็น 78.4%

รองลงมา คือ ความเข้มข้น 10% 30% และ 50% มีอัตราการงอกของเมล็ดพืชเป็น 20% 8 % 1.2% ตามล้าดับ

คำสำคัญ : น้้ามันหอมระเหย ยูคาลิปตัส การงอกของเมล็ด


โรงเรียนนครนายกวิทยาคม อ้าเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000


http://www.itrmu.net/web/06rs1/gallery.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/03/2012 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,549. งานวิจัย : สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัดแมลงหวี่ขาว


เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสมุนไพร 3 ชนิด ในการกำจัดแมลงหวี่ขาว


บทคัดย่อ :

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดของสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ใบสะเดา ใบตeลึง และใบหางนกยูงไทย ด้วยวิธีการสกัด
แบบหยาบ เพื่อกำจัดแมลงหวี่ขาว โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 12.5% 10% และ 5%

จากการทดลองเมื่อจับแมลงหวี่ใส่ในโหลพลาสติคใส โดยมีสมุนไพรแต่ละชนิดอยู่ในโหลแต่ละโหล สังเกตและบันทึกผลทุก ๆ 15
นาที ผลการทดลองที่ได้ พบว่า สารสกัดจากใบสะเดา ที่มีความเข้มข้น 12.5% มีประสิทธิภาพในการกeจัดแมลงหวี่สูงที่สุด

รองลงมา คือ สารสกัดจากใบสะเดา ที่มีีความเข้มข้น 10% และสารสกัดจากใบหางนกยูงไทย ที่มีความเข้มข้น 5% ตามลำดับ ใน
ระดับความเข้มข้นที่เท่ากัน สารสกัดจากใบสะเดาจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงหวี่ได้ดีที่สุด

คำสำคัญ : การสกัดแบบหยาบ สารสกัดสมุนไพร ใบสะเดา ใบต าลึง ใบหางนกยูงไทย แมลงหวี่

โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 (ดอนทอง) อ าเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000



http://www.itrmu.net/web/06rs1/gallery.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/03/2012 9:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,550. “แป้นสิรินนท์ ” มะนาวพันธุ์ใหม่ ผลดก น้ำมาก กลิ่นหอม






มะนาว ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งประมาณเดือน
มีนาคม-เมษายน มักมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดในปริมาณน้อย ทำให้มะนาวช่วงหน้าแล้งมีราคาสูงกว่าปกติ จากการรวบรวมของ
ตลาดสี่มุมเมืองพบว่า

ช่วงหน้าแล้งปีนี้ มะนาวเบอร์ใหญ่ มีราคาขายส่งถึงร้อยละ 450 บาท ทีเดียว ทำให้หลายคนหันมาสนใจปลูกมะนาวนอกฤดู
เป็นอาชีพกันมากขึ้น หากใครมีพื้นที่อยู่แล้ว แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกปลูกมะนาวพันธุ์ใด ก็ขอแนะนำ “แป้นสิรินนท์”
มะนาวพันธุ์ใหม่ให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในใจคุณ


“แป้นสิรินนท์” มะนาวพันธุ์ใหม่ ที่ถูกค้นพบด้วยความบังเอิญ
อาจารย์แป๊ะ หรือ คุณบุญเกื้อ ชมฉ่ำ ปัจจุบันเป็นข้าราชการครู สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง
ของจังหวัดนนทบุรี เล่าให้ฟังว่า ผมปลูก “มะนาวแป้นสิรินนท์” มาได้ประมาณ 2 ปีแล้ว มะนาวพันธุ์นี้ถูกค้นพบด้วยความบังเอิญ
โดยผมได้รับการขอร้องจากเพื่อน ให้ช่วยไปติดตากระท้อนที่สวนแห่งหนึ่งในย่านนนทบุรี

สวนแห่งนี้เพิ่งถูกเลิกเช่าที่ เพื่อนผมมีต้นมะนาวพันธุ์ดี ลูกใหญ่มาก และอนุญาตให้ผมขุดต้นมะนาวไปปลูก ผมรู้สึกเกรงใจเพื่อน
จึงตัดกิ่งมะนาวไปเพียงแค่ 5 กิ่ง และนำมาเสียบกิ่งบนตอส้มโอ เมื่อต้นมะนาวออกผล จึงรู้ว่า กิ่งพันธุ์ที่นำมาปลูกมีคุณภาพดีมาก
ผมจึงย้อนกลับไปขอกิ่งใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่า สวนแห่งนั้นถูกถมที่เพื่อสร้างบ้านจัดสรรไปหมดแล้ว ผมถามเพื่อนว่า มะนาวพันธุ์
นี้ชื่ออะไร เขาก็บอกว่าไม่เคยตั้งชื่อ และไม่เคยขายกิ่งมะนาวพันธุ์นี้ให้แก่ใครมาก่อน


อาจารย์แป๊ะ จึงตั้งชื่อมะนาวพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบนี้ว่า แป้นสิรินนท์ ก่อนหน้านี้อาจารย์แป๊ะเคยถามพ่อค้าที่ขายกิ่งพันธุ์
มะนาวมา เคยรู้จักมะนาวที่มีลักษณะลำต้นและผลมะนาวเหมือนกับแป้นสิรินนท์บ้างหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่เคยรู้จักต้น
มะนาวที่มีลักษณะแบบนี้มาก่อน อาจารย์แป๊ะจึงเชื่อว่า มะนาวแป้นสิรินนท์ น่าจะมีถิ่นกำเนิดในเมืองนนท์นี่แหละ


จุดเด่นของมะนาวแป้นสิรินนท์
มะนาวแป้นสิรินนท์ เป็นพันธุ์มะนาวที่ให้ดอก ออกผลได้ตลอดปี ผลมีขนาดใหญ่ ทรงผลแป้น เปลือกบาง มีกลิ่นหอม สามารถ
ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะสภาพร่วนซุย มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุผสม และมีแหล่งน้ำที่เหมาะสม มะนาว
แป้นสิรินนท์จะสามารถเจริญงอกงาม มีผลดก และคุณภาพดี

สำหรับใบมะนาวสายพันธุ์ทั่วไป จะมีโครงสร้างใบ 2 ส่วน คือ แผนใบ และก้านใบ แต่แป้นสิรินนท์มีส่วนประกอบของใบที่เพิ่ม
ขึ้นมาอีก 1 ส่วน คือ หูใบ เป็นรยางค์คู่หนึ่งที่อยู่ตรงฐานของก้านใบ ทั้งนี้ มะนาวแป้นสิรินนท์ ถือว่ามีลักษณะใบสั้น และมีหูใบ
เป็นลักษณะเด่นที่แตกต่างจากต้นมะนาวสายพันธุ์ทั่วไป

คุณเล็ก หรือ คุณฉัตราพร สิงหราช น้องสาวอาจารย์แป๊ะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า เมื่อต้นมะนาวแป้นสิรินนท์ให้ผลรุ่นแรกในช่วงเดือน
สิงหาคม ปี 2552 พวกเราตื่นเต้นกันมาก เพราะมีขนาดผลใหญ่และออกลูกดกมาก จนแซวกันเล่นว่า เป็นต้นมะนาวหรือลองกอง
กันแน่

เพราะแป้นสิรินนท์ให้ผลผลิตดกเป็นก้อนๆ เลยทีเดียว ผิวมะนาวแป้นสิรินนท์สวยมาก ผิวมันเหมือนมีแวกซ์เคลือบผิวโดยทั่วไป
หากซื้อผลมะนาวพันธุ์อื่นจากตลาดเก็บไว้ข้ามคืน ผิวมะนาวทั่วไปมักจะด้าน แต่ผลมะนาวแป้นสิรินนท์เก็บไว้ข้ามคืน ผิวก็ยังคง
มันวาวเช่นเดิม

การนำผลมะนาวมาใช้งาน หากเป็นมะนาวทั่วไป ต้องปล่อยให้ผลมะนาวลืมต้น สัก 2-3 วันก่อน ค่อยจะนำผลมะนาวมาคั้นจึงจะ
ได้ปริมาณน้ำมาก แต่มะนาวแป้นสิรินนท์ เมื่อเก็บผลจากต้นแล้ว ไม่ต้องรอให้ลืมต้น สามารถนำมาคั้นน้ำได้เลยทันที เพราะ
มะนาวพันธุ์นี้มีผิวบางเหมือนกับกลีบส้มเขียวหวานนั่นเอง

เมื่อถามถึงปริมาณน้ำมะนาว ก็ได้รับคำตอบจากคุณเล็กว่า มะนาวแป้นสิรินนท์มีปริมาณน้ำเยอะมาก เคยทดลองนำผลมะนาว
แป้นสิรินนท์ไปลอยน้ำเปรียบเทียบกับมะนาวพันธุ์อื่นๆ ปรากฏว่า ผลมะนาวสายพันธุ์อื่นลอยน้ำหมด ยกเว้น แป้นสิรินนท์เพียง
ชนิดเดียวที่จมน้ำ

บ่งบอกว่า มีปริมาณน้ำเยอะมากกว่ามะนาวสายพันธุ์อื่นๆ แม้นำมะนาวแป้นสิรินนท์ผลเล็กที่ยังไม่โตเต็ม 100% เคยทดลอง
นำมาลอยน้ำเปรียบเทียบ ปรากฏว่า ผลมะนาวจมน้ำเช่นกัน นี่เป็นเรื่องจริงที่คุณเล็กกล้าท้าให้ทุกคนลองพิสูจน์ได้

โดยทั่วไป คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่า น้ำมะนาวคั้นจากผลสด ต้องมีรสเปรี้ยว ไม่ขม มีกลิ่นหอมของมะนาวสด และน้ำมะนาวต้อง
สีขาว ซึ่งน้ำมะนาวแป้นสิรินนท์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความต้องการของตลาด

คุณเล็ก เล่าเพิ่มเติมว่า น้ำมะนาวแป้นสิรินนท์ นอกจากมีความเด่นในเรื่องรสชาติความเปรี้ยวสูงแล้ว ยังมีความหอมของรส
มะนาว หากนำผลมะนาวแป้นสิรินนท์ที่เด็ดจากต้น มาบีบเค้นจะได้กลิ่นหอมของมะนาวติดจมูก

ก่อนหน้านี้ เคยให้ลูกค้าประจำซึ่งมีอาชีพครูและข้าราชการในวัยเกษียณทดสอบ รสชาติและกลิ่นของมะนาวแป้นสิรินนท์ ลูกค้า
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่เป็นกลิ่นมะนาวที่ทุกคนต้องการ มะนาวต้องเป็นกลิ่นนี้แหละ


การปลูก และการดูแล
หากใครต้องการปลูกมะนาวแป้นสิรินนท์ให้มีผลตอบแทนต่อไร่สูง และดูแลจัดการง่าย อาจารย์แป๊ะ แนะนำให้ใช้เทคนิค “การ
ปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์” เพราะต้นมะนาวที่ปลูกในท่อซีเมนต์ ต้นจะไม่สูงใหญ่ ดูแลจัดการง่าย ตั้งแต่การควบคุมปัญหาโรค
และศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดแต่งกิ่งทำได้ง่ายขึ้น และสามารถบังคับให้มะนาวออกผลเก็บเกี่ยวในช่วงหน้าแล้งได้
เป็นอย่างดี


ขั้นตอนแรกให้เตรียมอุปกรณ์สำคัญ คือ ท่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 80-100 เซนติเมตร สูงประมาณ
50 เซนติเมตร พร้อมฝาท่อซีเมนต์ ใช้ขนาดเท่ากับท่อซีเมนต์ ส่วนวัสดุปลูกใช้สูตร “ไฮโดรโปนิกส์” (hydroponics)
แบบแห้ง

ที่อาจารย์แป๊ะได้แนวคิดจากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 27 หน้าที่ 161-163 โดยประยุกต์ใช้วัสดุใน
ท้องถิ่นที่หาได้ง่าย คือเปลือกมะพร้าวขนาดกระสอบใหญ่ ดินที่บรรจุถุงขาย จำนวน 1 ถุง ขี้วัว 1 ถุง ดินประมาณ 10%

เนื่องจากต้นมะนาวที่ปลูกในท่อซีเมนต์โดยทั่วไป มักจะมีปัญหาเรื่องการทรุดตัว อาจารย์แป๊ะจึงแนะนำให้แก้ไขปัญหาโดย
นำกิ่งพันธุ์มะนาวใส่กระถางดำ เจาะรูรอบกระถาง นำกระถางตั้งไว้กลางท่อซีเมนต์ และใส่วัสดุปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์แบบ
แห้งไว้รอบกระถาง

ในปีแรกต้องนำไม้พร้อมเชือกฟาง ผูกมัดกับต้นมะนาวไม่ให้ล้มหรือเอียง พอเข้าปีที่สอง รากต้นมะนาวแข็งแรงก็ไม่จำเป็นต้อง
ค้ำยันต้นอีก หลังจากนั้น ค่อยเติมเปลือกมะพร้าวเพียงปีละ 1 ครั้ง สำหรับสวนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ลำคลอง มักมีสภาพดินอ่อน
ท่อซีเมนต์ที่วางไว้บนพื้นอาจจะทรุดจมดินได้ในที่สุด

ควรแก้ไขปัญหาได้โดยนำล้อยางรถยนต์เก่ามารองใต้ถังปูนอีกชั้นหนึ่ง วิธีนี้อาจารย์แป๊ะทดลองมาแล้ว ได้ผลดีเต็ม 100%

อาจารย์แป๊ะ มั่นใจว่า มะนาวพันธุ์แป้นสิรินนท์ สามารถนำไปปลูกที่ไหนก็ได้ ต้นมะนาวก็จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีได้ทุก
แห่ง เพียงนำต้นมะนาวพันธุ์นี้ไปเสียบกับตอส้มโอ แต่ไม่แนะนำปลูกกับตอมะขวิด เนื่องจากตอมะขวิดเติบโตไม่ดี เพราะมี
รากฝอยน้อย

ส่วนการดูแลมะนาวแป้นสิรินนท์ก็ใช้หลักการเดียวกับมะนาวพันธุ์ทั่วไป เพียงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพ เปลือกมะพร้าว และ
สารปรับสภาพ และให้น้ำผ่านระบบสปริงเกลอร์ หัวดอกเห็ด 100 ลิตร วันละประมาณ 10 นาที ไม่ต้องให้น้ำมาก แค่
ให้เปลือกมะพร้าวมีความชื้นอยู่ตลอดเวลาก็เพียงพอแล้ว และให้ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ใส่โรยรอบต้นมะนาวที่มีขนาดใหญ่

ใส่ปุ๋ยต้นละประมาณ 3 ช้อน ทุกๆ 15 วัน หากช่วงใดที่ต้องการให้ต้นมะนาวออกดอก ก็ปล่อยให้ต้นมะนาวอดน้ำสัก 2-3 วัน
ต้นมะนาวก็จะเริ่มออกดอกสีขาวพราวเต็มต้น ส่วนช่วงที่ต้นมะนาวออกดอกก็สามารถให้น้ำวันเว้นวันได้ อย่าให้น้ำเยอะ

เมื่อกลีบร่วงเห็นเป็นผลชัดเจน ก็จึงให้น้ำอย่างเต็มที่ หากต้องการให้ต้นมะนาวมีผลผลิตเรื่อยๆ ก็ต้องให้น้ำเป็นงวดๆ ขึ้นอยู่กับ
เราต้องการให้มีปริมาณผลผลิตมากน้อยแค่ไหน

อาจารย์แป๊ะ กล่าวว่า ผมคอยตัดแต่งกิ่งต้นมะนาวอยู่เสมอ ภายหลังจากที่เราตัดแต่งกิ่งไปแล้ว ต้นมะนาวจะแตกกิ่งออกมาใหม่
ให้ตัดแต่งกิ่งลักษณะนี้ 3 ครั้ง แต่กิ่งฝอยข้างในไม่ต้องตัดทิ้ง เพราะเป็นกิ่งที่ต้นมะนาวออกลูก

หากตัดออกก็เท่ากับตัดเงินทองทิ้งหมดเลย ผมไปได้ความรู้เทคนิคการตัดแต่งทรงพุ่มวิธีนี้มาจากสวนเจริญวีรวัฒน์ ที่จังหวัดระยอง
เขาจะตัดปลายกิ่งภายนอกพุ่มทิ้งหมดเลย แต่ข้างในต้น จะไม่ตัด เพราะเป็นกิ่งออกลูก

ช่วงที่ต้นมะนาวแตกใบอ่อนใหม่ มักจะเกิดปัญหาเรื่องหนอนผีเสื้อ หากปลูกต้นมะนาวจำนวนน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี
กำจัดแมลง แค่จับไข่ผีเสื้อทิ้งไปก็ใช้ได้ หากสวนใดปลูกต้นมะนาวจำนวนมาก ก็ควรฉีดสารเคมีกำจัดแมลง ชื่ออะบาเม็กติน (ab
amectin) ประมาณ 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

อาจารย์แป๊ะ ยอมรับว่า มะนาวแป้นสิรินนท์ก็เจอโรคแคงเกอร์รบกวนบริเวณลำต้นเหมือนกับต้นมะนาวพันธุ์ทั่วไป แต่สามารถหยุด
การแพร่ระบาดของโรคได้ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่ผลิตจากไพล จำนวน 15 กิโลกรัม หนอนตายหยาก 5 กิโลกรัม ใบสะเดา
แก่ 2-3 กิโลกรัม รวมทั้งหญ้าสาบเสือ กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม ใส่น้ำจนท่วมถังหมัก ขนาด 50 ลิตร ร่วมกับสารเร่ง พด. 2
ของกรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 1 ซอง หมักเป็นระยะเวลา 1 เดือน

จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพสูงในการกำจัดโรคและแมลง เมื่อต้องการนำไปใช้งาน เพียงผสมน้ำ ในอัตราส่วน 1 : 150 นำ
ไปใช้ฉีดพ่นต้นมะนาวที่มีปัญหาโรคแคงเกอร์ ปรากฏว่าได้ผลดี แผลแห้งสนิทในระยะเวลาอันสั้น ก่อนหน้านี้ได้ทดลองนำน้ำ
หมักสูตรนี้ไปทดลองใช้กับต้นลีลาวดีที่มีปัญหาโรคสนิมเหลือง ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน

หากเปรียบเทียบปริมาณผลผลิตระหว่างสิรินนท์กับแป้นพิจิตร อาจารย์แป๊ะ กล่าวว่า ได้ผลผลิตใกล้เคียงกัน แต่แป้นสิรินนท์ออก
เป็นพวงน้อยกว่าแป้นพิจิตร สิรินนท์จะออกผลกระจายรอบต้น คิดคำนวณจำนวนผลแล้ว ผมคิดว่า สิรินนท์ให้ผลผลิตมากกว่า
แป้นพิจิตร ประมาณ 10%

สำหรับเกษตรกรที่ประสงค์จะปลูกมะนาวนอกฤดู หากนำพันธุ์สิรินนท์ไปปลูกก็แค่ให้อดน้ำอย่างเดียว ยิ่งปลูกใส่ถังจะสามารถ
บังคับการออกลูกได้ง่ายมาก การผลิตมะนาวนอกฤดู จะต้องเริ่มต้นโดยนับถอยหลัง 6 เดือน ช่วงก่อนเดือนกันยายน เราก็ดูแล
ให้ปุ๋ยและน้ำ จนต้นมะนาวงามเต็มที่ ใบเริ่มแก่ ก็เริ่มให้อดน้ำแค่ 5 วัน

สำหรับต้นมะนาวที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบแห้ง หากหยุดให้น้ำ 5 วัน ต้นมะนาวก็เหี่ยวหมดแล้ว เพราะต้นมะนาวสุข
สบายมีความชื้นตลอด หากใช้วิธีนี้ ก็จะมีผลผลิตออกมาในช่วงฤดูแล้ง

หากใครคิดที่จะปลูกมะนาวแป้นสิรินนท์เพื่อขายผลมะนาวสด ผมมั่นใจว่า คุณภาพมะนาวแป้นสิรินนท์สู้กับมะนาวสายพันธุ์อื่น
ได้สบาย โดยทั่วไปคนไทยจำนวนมากเชื่อว่า มะนาวแท้คุณภาพดี ต้องมีน้ำมะนาวสีขาว มะนาวแป้นสิรินนท์ก็มีน้ำมะนาวสีขาว
มีเมล็ดน้อยและเปลือกบาง

ขณะที่มะนาวบางสายพันธุ์มีเมล็ดเยอะกว่า มีน้ำมะนาวสีเหลืองและเปลือกหนา เท่าที่ผมมีโอกาสสำรวจตลาดมะนาวในห้างสรรพ
สินค้าย่านพระราม 5 ก็ไม่เคยเจอมะนาวที่มีไซซ์ใหญ่เท่าแป้นสิรินนท์ออกวางจำหน่ายเลย มะนาวแป้นสิรินนท์ แม้ผลแก่
แต่ยังมีสีเขียวสดตลอด ซึ่งแตกต่างจากมะนาวพันธุ์ทั่วไป หากเป็นมะนาวแก่จะมีผิวสีเหลือง

อาจารย์แป๊ะ มั่นใจว่า มะนาวแป้นสิรินนท์น่าจะนำไปใช้ในกลุ่มภัตตาคาร หรือร้านอาหารได้ดี เพราะจุดเด่นเรื่องกลิ่นหอมและ
รสชาติความเปรี้ยวของมะนาวแป้นสิรินนท์ หากนำไปปรุงรสในหม้อต้มยำ จะได้กลิ่นหอมของมะนาว และเพิ่มความอร่อยทำให้ต้ม
ยำมีรสชาติอร่อยจัดจ้านจนลืมไม่ลงทีเดียว


ขายสินค้าดี การันตีคุณภาพทุกต้น
คุณเล็ก เล่าอีกว่า มะนาวแป้นสิรินนท์มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากมะนาวในท้องตลาดทั่วไปก็คือ ไม่ต้องดูแลมาก สำหรับผู้สน
ใจที่ไม่มีความรู้เรื่องการเกษตรมาก่อนเลยก็ตาม ก็สามารถปลูกดูแลมะนาวพันธุ์นี้ได้อย่างสบาย

เพราะคุณเล็กได้ทำแผ่นพับเพื่อแนะนำขั้นตอนการดูแลต้นมะนาว ให้กับลูกค้าทุกรายอยู่แล้ว หากใครซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวแป้น
สิรินนท์จากสวนของเราไป บำรุงดูแลตามคำแนะนำของเรา ภายในระยะเวลา 8-12 เดือน ต้นมะนาวก็พร้อมจะออกลูกได้

คุณเล็ก เล่าว่า ครอบครัวเรามั่นใจว่า มะนาวแป้นสิรินนท์มีคุณภาพดี ตรงตามความต้องการตลาด จึงเตรียมพื้นที่แห่งใหม่จำนวน
12 ไร่ ในอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี สำหรับเป็นพื้นที่ผลิตกิ่งพันธุ์มะนาวแป้นสิรินนท์ สำหรับกิ่งพันธุ์ที่เตรียมนำออกมาจำ
หน่าย สวนของเราใช้การเสียบยอดแบบปลอดเชื้อ บนตอส้มโอเพาะเมล็ด เพื่อช่วยให้ต้นมะนาวมีรากที่แข็งแรงทนทาน โตไว

หลังจากเสียบกิ่งเสร็จแล้ว ต้องนำกิ่งที่เสียบยอดไปคลุมถุงพลาสติค เพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพคงที่ ยอดจะได้ไม่
เหี่ยว ซึ่งวิธีนี้อัตราการติดจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเกือบ 100% และกิ่งที่เสียบจะติดยอดภายในระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์
ทางสวนจะเลี้ยงกิ่งพันธุ์ต่อไปอีก 2 เดือน

เพื่อดูแลให้ต้นมะนาวมีระบบรากที่แข็งแรง ใบแตกยอดก่อน จึงค่อยนำกิ่งพันธุ์ออกจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ ในราคาไม่เกิน 300
บาท สำหรับไม้กระถาง 8 นิ้ว ส่วนไม้กระถาง ขนาด 11 นิ้ว จะขายในราคา 500 บาท หากลูกค้าซื้อกิ่งพันธุ์ ขนาด 11 นิ้ว ไป
ขยายพันธุ์ลงดิน

ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ก็ได้ต้นมะนาวพุ่มใหญ่ ที่พร้อมผลิดอกออกผล หลังจากนั้น สามารถตัดขยายพันธุ์ได้เลย สำหรับ
เกษตรกรที่ขยายพันธุ์เป็น หากซื้อกิ่งพันธุ์ ขนาด 11 นิ้ว จากเราไปแล้วก็สามารถนำไปเสียบยอดได้ไม่ต่ำกว่า 12 ต้น

สำหรับกิ่งพันธุ์ของเรา หากลูกค้าซื้อไปปลูกแล้วแจ้งกลับมาว่า ต้นตายไม่ติด เราก็เคลมสินค้าใหม่ชดเชยให้แก่ลูกค้า เพราะก่อน
หน้านี้เราก็เป็นผู้ซื้อกิ่งพันธุ์มาก่อน เคยเจอปัญหาสินค้าที่ซื้อมามีคุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณา

แต่วันนี้เราเปลี่ยนบทบาทมาเป็นคนขาย ก็ตั้งใจบริการลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยยึดหลักปฏิบัติ เอาใจเขามาใส่ใจเรา สินค้าของสวน
เราต้องรับประกันคุณภาพว่า ไม่ผิดพลาดจากที่โฆษณาอย่างแน่นอน

ขณะนี้ ทางสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ วางแผนเปิดตัวมะนาวแป้นสิรินนท์อย่างเป็นทางการ ภายในงาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี
-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2011” ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน-2 ตุลาคม 2554 ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค MCC HALL
ชั้น 4 และลานอเนกประสงค์

คาดว่าภายในงานดังกล่าวจะมีกิ่งพันธุ์มะนาวแป้นสิรินนท์จำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 กิ่ง ส่วนผู้อ่านท่าน
ใดสนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือใจร้อนอยากได้มะนาวแป้นสิรินนท์ไปทดลองปลูกก่อน

ติดต่อสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าได้ที่ สวนบางไผ่พันธุ์ไม้ เลขที่ 113/4 หมู่ที่ 4 ซอยวัดสังฆทาน ถนนนครอินทร์ พระราม 5 ตำบล
บางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี หรือติดต่อโดยตรงได้ที่ คุณฉัตราพร สิงหราช (เล็ก) โทร. (086) 569-6225 หรือ
คุณกัลยารัตน์ ชมฉ่ำ (แดง) โทร. (084) 656-1174


ขอขอบคุณ มติชนออนไลน์
เทคโนโลยีการเกษตร
คุณจิรวรรณ โรจนพรทิพย์

ศุกรวารสวัสดิ์วัฒนาค่ะ


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=06-2011&date=10&group=116&gblog=62
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2012 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,551. พืชผักชื่อแปลกๆ




ผัก "พ่อค้าตีเมีย" ใช้ยอดอ่อนมาทำอาหาร





ผัก "ซาดิสต์" กินแล้วจะซาดิสต์เหมือนชื่อหรือเปล่า...





พริกขี้หนูหวาน อ้าว..ทำไมไม่เผ็ด




"ส้มสันดาน"




มะเขือกินใบ ลูกโตน่ากินเนอะ แต่เขาไม่กินกัน นิยมกินใบแทน




คลิกไปอ่านรายละเอียด....
http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:46 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/03/2012 7:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,552. 84 สายพันธุ์ข้าว สู่ "ข้าวของพ่อ วิถีพอเพียง"


การตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงาน "เกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน" ในปี 2552 และปี 2553 ทั้ง 2 ครั้ง เป็นเครื่อง
กระตุ้นเตือนให้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ต้องจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานครั้งต่อไปให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เพื่อตอบสนอง
ความต้องการให้ครบทุกด้าน ซึ่งปีนี้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้อง เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ บางแค ภายใต้
ชื่อ "งานเกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2012"

ซึ่งนอกเหนือจากการรวบรวมความมหัศจรรย์จากพืชแปลกและทรงคุณค่า มานำเสนอด้วยการจัดรูปแบบและเนื้อหาให้ผู้ชมที่สนใจ
ได้สัมผัสและเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว ไฮไลต์งานยังชูโรงด้วยการนำข้าว 84 สายพันธุ์ มาจัดแสดง ทั้งยังนำตัวอย่างข้าวพันธุ์พื้นเมือง
และหายาก มาให้ชมพร้อมชิม ตลอดการจัดงาน



รายละเอียดของข้าวทั้ง 84 สายพันธุ์ มีดังนี้

1.พญาลืมแกง
พญาลืมแกง เป็นข้าวไร่พื้นเมือง รวบรวมได้จากอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม เป็นข้าวที่ขึ้นชื่อในเรื่องความอ่อนนุ่ม รสชาติอร่อย
พญาลืมแกงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ลำต้นอ่อน ล้มง่าย แตกกอน้อย ใบสีเขียวแก่ ใบธงห้อย รวงยาว
จับถี่ เมล็ดแบน เปลือกเกลี้ยง สีเหลืองอ่อน มีหางยาว เมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น เก็บเกี่ยวประมาณเดือนตุลาคม



2. สินเหล็ก
ข้าวสินเหล็ก เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 (พันธุ์แม่) ซึ่งเป็น
ของสถาบันวิจัยข้าว กับข้าวเจ้าหอมนิล (พันธุ์พ่อ) ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเริ่มดำเนินการ เมื่อ
พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เมื่อได้ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเองแล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น คัดเลือกต้น F2 จาก
การสังเกตลักษณะต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว มีกลิ่นหอม ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประ
เมินคุณภาพเมล็ดโดยกะเทาะเมล็ด แล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่น ของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก
F3 family ได้ 300 ครอบครัว

ปลูกครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้น ต่อครอบครัวแบบปักดำ คัดเลือกต้นครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่
ยาวเรียว ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง เปลือกเมล็ดสะอาด คัดพันธุ์ที่มีเมล็ดสีขาว น้ำหนักเมล็ดต่อครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัว
ดี แล้วทำการคัดเลือกภายในครอบครัวให้ได้จำนวนประมาณ 2-5 ต้น ในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี 2547

จากนั้นเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548 โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำ จำนวน 25
ต้น ต่อครอบครัว ทำเป็น 3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออก ปริมาณธาตุเหล็กและคุณค่าทางโภชนาการ แล้วคัด
เลือกต้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนา
การซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวหอม สีขาว ที่มีธาตุเหล็กสูงและคุณสมบัติโภชนาการโดยรวมดีเด่น 1 สายพันธุ์ ในปี 2548
โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า "สินเหล็ก"

ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 148 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว 125 วัน
ผลผลิต 600-700 กิโลกรัม ต่อไร่
เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
รูปร่างเมล็ด เรียวยาว
ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร
ข้าวกล้อง 7.6 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.0 มิลลิเมตร
สีของข้าวกล้อง สีน้ำตาลอ่อน
ปริมาณอะไมโลส 16.7%
อุณหภูมิแป้งสุก (GT) น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส
ปริมาณธาตุเหล็ก 1.5-2.0 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
ดัชนีน้ำตาล ปานกลางในข้าวกล้อง 58 ข้าวขัด 72

ข้าวพันธุ์สินเหล็กกำลังอยู่ในขั้นปลูกประเมินพันธุ์ ประกอบการขอจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ โดยกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการ
เกษตร คาดว่าจะถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไปในอนาคต ในทางเศรษฐกิจ ข้าวสินเหล็กเป็นที่ต้องการในตลาดโภชนาการเป็นอย่าง
มาก เนื่องจากมีธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณที่สูงและมีดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางถึงต่ำ จึงทำให้เมล็ดข้าวสินเหล็กมีมูลค่าสูง



3. ไรซ์เบอร์รี่
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(พันธุ์พ่อ) กับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จากสถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) โดยเริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิจัยข้าว มหา
วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เมื่อได้ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น คัดเลือกต้น F2 จาก
การสังเกตลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประเมินคุณ
ภาพเมล็ดโดยกะเทาะเมล็ดแล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่น ของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก F3
family ได้ 300 ครอบครัว

ปลูกครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้น ต่อครอบครัวแบบปักดำ คัดเลือกต้นครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่
ยาวเรียว ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง เปลือกเมล็ดสะอาด คัดพันธุ์ที่มีเมล็ดสีขาวกล้องสีม่วงเข้ม-ดำ น้ำหนักเมล็ด ต่อครอบครัวดี แล้วคัด
เลือกภายในครอบครัวดี แล้วทำการคัดเลือกภายในครอบครัวให้ได้จำนวนประมาณ 2-5 ต้น ในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4
และ F5 ในปี 2547

จากนั้นเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548 โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำจำนวน 25 ต้น
ต่อครอบครัว ทำเป็น 3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออก ปริมาณธาตุเหล็กและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ
แล้วคัดเลือกต้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าทาง
โภชนาการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม เมล็ดเรียวยาว ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยรวม
ดีเด่น 1 สายพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2548 โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า "ไรซ์เบอร์รี่"

ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 106 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน
ผลผลิต 750-850 กิโลกรัม ต่อไร่
เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
ความต้านทานโรค ต้านทานโรคไหม้
รูปร่างเมล็ด เรียวยาว
ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร
ข้าวกล้อง 7.5 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.0 มิลลิเมตร
ปริมาณอะไมโลส 15.6%
อุณหภูมิแป้งสุก (GT) ระดับ 7 (น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส)
ปริมาณธาตุเหล็กสูง 1.5-1.8 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
ปริมาณสารเบต้าแคโรทีน 60 ug ต่อ 100 กรัม
ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดที่ละลายน้ำ 4,755 mnol ascorbic acid eq./g.
ปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระชนิดละลายในน้ำมัน 3,344 nmol Trolox eq./g.

ข้าวพันธุ์นี้กำลังอยู่ในขั้นปลูกประเมิน ประกอบการขอจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ คาดว่าจะถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไปในอนาคต ในทาง
เศรษฐกิจ ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นที่ต้องการในตลาดโภชนาการเป็นอย่างมาก เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณที่สูง จึงเป็นตัว
ผลักดันให้เมล็ดข้าวไรซ์เบอร์รี่มีมูลค่าสูง



4. สังข์หยด
"ข้าวสังข์หยด พัทลุง" เป็นข้าวที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศรับรอง ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา ให้เป็นสินค้า
บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พันธุ์แรกของประเทศไทย (จีไอ) โดยชื่อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงนั้น หมายถึง ข้าวสังข์หยด ที่ผลิตตามระบบ
การตรวจรับรองการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ (GAP) และภายใต้เงื่อนไขของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจะเรียกกันตามถนัด
ของแต่ละคน แต่ถ้าให้ถูกต้องจริงๆ ต้องเรียกว่า "ข้าวสังข์หยด เมืองพัทลุง"

เพื่อให้เห็นความแตกต่างตั้งแต่ชื่อ ตลอดถึงคุณภาพด้วย ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication ย่อว่า GI) โดยมีผลทำให้ข้าวสังข์หยด ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายใน
สิทธิของชุมชนผู้ผลิต เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพข้าวสังข์หยดที่ผลิตในท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าของข้าวสังข์หยด เพราะเครื่องหมาย
จีไอ เป็นเสมือนเครื่องหมายทางการค้า ที่รับรองคุณภาพของข้าวสังข์หยด ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้แปรรูปในท้องถิ่น ได้รักษามาตรฐานสินค้า
ส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ทั้งยังสร้างชื่อเสียงแก่ชุมชน จังหวัด ตลอด
ถึงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป็นข้าวต้นสูง กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบข้าวเปลือกสีฟาง ขนาดเมล็ด 9.35 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร ฃ
หนา 1.75 มิลลิเมตร จัดเป็นข้าวเจ้านาสวน ถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง

ข้าวสังข์หยด มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ คือ มีกากใยอาหารสูง จึงมีประโยชน์ในการชะลอความแก่ นอกจากนี้ มีโปรตีน
ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและป้องกันโรคความจำ
เสื่อม และยังมีสารแอนติออกซิแดนต์ พวก oryzanol และมี Gamma Amino Butyric Acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของ
การเป็นมะเร็ง จึงนับได้ว่า ข้าวพันธุ์สังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารสูง

คุณลักษณะของข้าวสารสังข์หยด เมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับ
ตัวกันคล้ายข้าวเหนียว วิธีการหุง ให้ซาวข้าวเบาๆ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าของข้าว เติมน้ำให้
ท่วมข้าว สูง 1 ข้อนิ้ว เมื่อข้าวสุกทิ้งไว้ให้ข้าวระอุ ประมาณ 5-10 นาที หากต้องการให้ข้าวแข็งหรือนุ่ม สามารถลดหรือเพิ่มน้ำ
ได้ตามความชอบ

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวสังข์หยด ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
- พลังงาน 364.2 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 73 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 73.1 กรัม
- เส้นใย 4.81 กรัม
- แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 317 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี 1 0.32 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี 2 0.01 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 6.4 มิลลิกรัม



5. เฉี้ยง
ข้าวเฉี้ยง เป็นพันธุ์หนึ่งที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ดี และปลูกได้ในหลายท้องที่ทุกจังหวัดใน
ภาคใต้ อายุในการเก็บเกี่ยวปานกลาง ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีชลประทาน และที่อาศัยน้ำฝน"

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้านาสวน มีส่วนสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคม มี
ใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โดยมีระยะพักตัวของเมล็ด
ประมาณ 1 สัปดาห์ ให้ผลผลิตประมาณ 470 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนเมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.1x6.7x1.6 มิลลิเมตร
มีท้องไข่ปานกลาง ปริมาณอะมิโลส 27 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์เฉี้ยงนั้น มีอายุเบา โดยจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถปรับตัวได้ดีทั้งในพื้นที่ที่
เป็นนาดอนและนาลุ่ม มีความเหมาะสมกับพื้นที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ทั้งที่เป็นน้ำชลประทานและน้ำฝน มีการปลูกกันมากในจังหวัด
พัทลุง และนครศรีธรรมราช

คุณภาพการสีดีและคุณภาพการหุงต้มดี ทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ ข้าวใหม่สามารถสีบริโภคได้ทันที สำหรับคุณภาพข้าวสุกแล้ว ร่วน
แข็ง และหอม แต่สิ่งสำคัญมีข้อควรระวัง คือไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง



ลืมผัว
ข้าวลืมผัว เป็นข้าวไร่ที่เป็นข้าวเหนียวนาปีของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 3 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ
จังหวัดตาก สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 650 เมตร คุณพนัส สุวรรณธาดา เจ้าพนักงานการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถา
บันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้นำมาคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์
ระหว่างปี 2534-2538

โดยได้มอบเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ให้ คุณไชยวัฒน์ วัฒนไชย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ขณะนั้น (ปัจจุบัน เกษียณราชการ และ
ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรมการข้าว) เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์
บริสุทธิ์ไปให้ชาวไทยภูเขาในพื้นที่ปลูกดังเดิม

แต่เมื่อเวลาผ่านไป พบว่า ข้าวลืมผัว มีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นปน และไม่เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สำนักวิจัยข้าว กรมการข้าว
โดย คุณอภิชาติ เนินพลับ คุณอัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ คุณพงศา สุขเสริม และศูนย์วิจัยข้าวแพร่ โดย คุณวรพจน์ วัจนะภูมิ จึง
ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์อีกครั้ง

ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง ในปี 2551 และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 ขณะนี้อยู่ในโครงการนำร่องอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวเพื่อใช้ประโยชน์ ของสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว
กรมการข้าว

ข้าวลืมผัว มีต้นสูงประมาณ 137 เซนติเมตร ออกดอกประมาณ วันที่ 15 กันยายน จำนวนเมล็ด ต่อรวง เฉลี่ย 130 เมล็ด เมล็ดค่อน
ข้างอ้วน น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 37.9 กรัม

สถิติสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศเหมาะสม ได้ 490 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้ 200-350
กิโลกรัม ต่อไร่ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว

ข้าวลืมผัว มีสีเปลือกหุ้มเมล็ดเปลี่ยนไปตามระยะการเจริญเติบโตของเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีม่วงดำ ที่เรียกว่า ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำ
เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ

การบริโภคทำได้ทั้งแบบข้าวเหนียวนึ่ง รับประทานกับอาหาร ผสมข้าวต้มทำให้มีสีม่วงอ่อนสวยงาม ทำเป็นขนมแบบข้าวเหนียวเปียก
ทำเป็นชาข้าวคั่วแบบเพิร์ล บาร์เลย์ หรือเครื่องดื่มทั้งแบบมีแอลกอฮอล์หรือปราศจากแอลกอฮอล์ จะมีสีคล้ายทับทิมสวยงาม

คุณค่าทางโภชนาการที่เด่นเป็นพิเศษ เมื่อวิเคราะห์ทันทีหลังเก็บเกี่ยวฤดูนาปี 2552 พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนติออกซิ
แดนต์) โดยรวม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ในปริมาณสูงถึง 833.77 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิก ต่อ 100 กรัม

มีวิตามินอี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดคอเลสเตอรอล ปริมาณ 16.83 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม

มีแกมมา-โอไรซานอล ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตลอดจนการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณ 508.09 มิลลิ
กรัม ต่อกิโลกรัม

มีกรดไขมัน ที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมองและช่วยความจำ ได้แก่ โอเมก้า-3 อยู่ 33.94 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

มีโอเมก้า-6 ที่บรรเทาอาการขาดภาวะเอสโตรเจนของวัยทองและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สูงถึง 1,160.08 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

มีโอเมก้า-9 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน และช่วยลดความอ้วนสูง
ถึง 1,146.41 มิลลิกรัม ต่อ 100 กิโลกรัม

มีแอนโทไซยานิน 46.56 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม โปรตีน 10.63 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 84.18 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ส่วนแคลเซียม
สังกะสี และแมงกานีส มีในปริมาณ 169.75, 23.60 และ 35.38 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย
บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่, สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตร
ฃศาสตร์ และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี



7. ปิ่นเกษตร
ข้าวปิ่นเกษตร เป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนามาจากการผสมระหว่างข้าวดอกมะลิ 105 กับข้าวไม่ไวแสงที่ทนแล้ง (CT9993)
เมื่อได้ F1 แล้วปล่อยให้มีการผสมตัวเอง จากนั้นปลูก F1 แบบต้นเดียว และปลูก F3-F7 แบบ Pedigree selection จนสามารถ
คัดเลือกข้าวหอมสีขาวที่ไม่ไวแสง มีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวล มีเมล็ดยาวและใสมาก โดยใช้ชื่อว่า "ปิ่นเกษตร"

ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 3 จากการประกวดข้าวโลก (2nd World Rice Competition) ในปี พ.ศ. 2547

ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 150 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว 138 วัน
ผลผลิต 80-700 กิโลกรัม ต่อไร่
เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร
ข้าวกล้อง 8.2 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.6 มิลลิเมตร
ปริมาณอะไมโลส 16%
อุณหภูมิแป้งสุก (GT) ระดับ 3
ปริมาณธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

ธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวพันธุ์นี้มีความเป็นประโยชน์สูงมาก ทั้งในระดับเซลล์ทดสอบและในร่างกายมนุษย์

ข้าวปิ่นเกษตรได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 จากการประกวดข้าวโลก จึงเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรโดยทั่วไป ทั้งคุณภาพและปริมาณ
ผลผลิต ในขณะนี้ข้าวปิ่นเกษตรกำลังส่งเสริมและทดลองปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี
สุพรรณบุรี และนครปฐม



8. มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สำนักวิจัยและ
พัฒนาข้าว กรมการข้าว คณะเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ซึ่งได้จากการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเจ้าต่างสี พันธุ์พื้นเมืองไวต่อ
ช่วงแสง 3 พันธุ์ คือ มะลิแดง เบอร์ 54 มะลิพื้นเมือง (ข้าวแดง) และมะลิดำ เบอร์ 53 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของศูนย์วิจัย
ข้าวสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2548 จนได้พันธุ์บริสุทธิ์ จำนวน 12 สายพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง จำนวน 5 พันธุ์ คือ มะลิโกเมน
สุรินทร์ 1-5 และกลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ จำนวน 7 พันธุ์ คือ มะลินิลสุรินทร์ 1-7

ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ สามารถสนองต่อการเรียกหาของคนรักสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อีกทั้งยังมี
ข้อดีทางด้านคุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี คือ เป็นข้าวเมล็ดเรียวยาว เปอร์เซ็นต์อะมิโลสต่ำ ข้าว
สุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม

จากการตรวจวิเคราะห์ในเมล็ดพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ประกอบด้วย สารประกอบฟีโนลิก และแอนโทไซยานิน ที่มี
ผลทำให้ผิวหนังของเราไม่เหี่ยวแห้งเร็วก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด ช่วย
ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมองและโรคอัมพาตอีกด้วย

นอกจากนั้น ข้าวกลุ่มนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์เพราะมีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ จึงเป็นทางเลือกสำหรับชาวนาที่
ทำนาแบบอินทรีย์ ผลผลิตภายใต้สภาพการปลูกแบบอินทรีย์ จะอยู่ที่ 224-458 กิโลกรัม ต่อไร่ ความสูง 158-185 เซนติเมตร
ออกดอกระหว่างวันที่ 20-29 ตุลาคม

"มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ตอบสนองต่อปุ๋ยค่อนข้างต่ำ ผลผลิตจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุงดิน ไม่ว่าจะได้
ผลผลิต 270, 300 หรือ 400 กิโลกรัม ต่อไร่ มันก็กำไรอยู่แล้ว เพราะต้นทุนต่ำ"

คุณสมบัติของข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ที่ได้จากการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าว
มีความต้องการปุ๋ยเคมีน้อย แต่ปัจจัยของผลผลิตของข้าวสายพันธุ์นี้ ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุและอาหารในดิน ดังนั้น การดูแลรักษาและ
บำรุงดิน จึงจัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าผลผลิตจะออกมาเท่าไหร่ ผู้ที่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์นั้น
ก็มีกำไรเสมอ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตข้าวที่ต่ำ

การแพร่กระจายพันธุ์ของมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์นั้น มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนในปัจจุบันมีเกษตรกรและกลุ่ม
เกษตรกรทั่วประเทศ นำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ไปปลูกแล้วกว่า 300 ราย ต่อกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม
เกษตรกรที่ทำนาเกษตรอินทรีย์ที่มีการปลูกเชิงการค้า ตัวอย่าง เช่น สหกรณ์การเกษตรปราสาท จำกัด เกษตรกรในจังหวัดสกล
นคร เกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม เกษตรกรในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และเกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรรม
ทางเลือกภาคอีสาน ที่จังหวัดยโสธรและร้อยเอ็ด นอกจากนั้น ฤดูนาปี 2554 มีเกษตรกรสนใจนำไปทดลองปลูกในภาคอีสาน
แล้วจำนวนหลายราย



9. ลูกผสม ซีพี 304
เป็นข้าวลูกผสมที่ปรับปรุงพันธุ์โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จุดเด่นข้าว ซีพี 304 คือให้ผล
ผลิตต่อไร่สูงถึง 938 กิโลกรัม สามารถต้านทานโรคไหม้ได้ อายุการเก็บเกี่ยวสั้นที่ 90-105 วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพดินและฤดูกาล)
รูปร่างเมล็ดยาวเรียว เมล็ดยาว 7.61 มิลลิเมตร กว้าง 2.11 มิลลิเมตร ปริมาณอะมิโลส 27.41 เปอร์เซ็นต์ ท้องไข่น้อย ทั้งนี้เนื้อ
สัมผัสข้าวสุกค่อนข้างนิ่ม เมื่อเย็นแล้วจะแข็งและเหนียว

ข้าว ซีพี 304 เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ลักษณะพิเศษ ลำต้นตั้งตรง ใบและกาบใบมีสีเขียว
ใบธงตั้งตรง คอรวงสั้น มีจำนวนเมล็ดต่อรวงที่ 250 เมล็ด ข้าวสุกมีลักษณะร่วน นุ่มปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200-1,500 กิโลกรัม
ต่อไร่

พื้นที่แนะนำ :
พื้นที่นาในเขตชลประทาน ดินอุดมสมบูรณ์ และที่สำคัญ เกษตรกรต้องมีความพร้อม



10. ลูกผสมแท้ ซีพี 111
ข้าวลูกผสม ซีพี 111 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งนาปี และนาปรัง ซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ของสถานี
วิจัยข้าวลูกผสมฟาร์มกำแพงเพชร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด

ข้าวลูกผสม ซีพี 111 เป็นข้าวเจ้า ความสูงประมาณ 115-120 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและพื้นที่ปลูก ลำต้นตั้งตรง ใบธงตั้งตรง
คอรวงยาว เป็นข้าวที่ตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยได้ดี เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดยาว 7.36 มิลลิเมตร ความยาวของรวงประมาณ 26-30
เซนติเมตร จำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อรวง ประมาณ 136 เมล็ด มีปริมาณอะมิโลส 28% คุณภาพข้าวสุก ร่วน ค่อนข้างแข็ง เปอร์เซ็นต์ข้าว
ต้นประมาณ 45-50% ผลผลิตข้าวสูงถึง 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ในฤดูกาลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมีการจัดการดูแลที่ถูกต้อง

ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ ซีพี 111 มีความสามารถต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้และขอบใบแห้ง ในทุกฤดูนาปีและนาปรัง
จะให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกๆ ปี เมล็ดข้าวแกร่ง ใส ท้องไข่น้อย

ช่วงเวลาปลูกข้าว ซีพี 111 ที่เหมาะสม คือช่วงนาปี และนาปรัง เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนหนาว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิ
ประเทศและลักษณะภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ในแต่ละพื้นที่

ฤดูการปลูกข้าวพันธุ์แท้ที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม



11. กข 45
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 45 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ PCRBR83012-267-5 (ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์หอม
นายพล กับ IR46) กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี เมื่อ ปี 2532

กข 45 เป็นข้าวเจ้าน้ำลึก ไวต่อช่วงแสง จะออกดอกประมาณวันที่ 25 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน ควรปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 100
เซนติเมตร มีความสามารถยืดปล้องได้ดีที่ระดับน้ำ 90 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ต้นแข็งปานกลาง
ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว 27.7 เซนติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.73 มิลลิเมตร และหนา 2.09 มิลลิ
เมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.44 มิลลิเมตร กว้าง 2.33 มิลลิเมตร และหนา 1.83 มิลลิเมตร

คุณภาพการสีดี เมล็ดข้าวขาวใส มีท้องไข่น้อย สีเป็นข้าว 100% ได้ ปริมาณอะมิโลสต่ำ 16.35 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ
ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน 80 มิลลิเมตร อัตราการยืดตัวของข้าวสุก 1.67 เท่า ข้าวเมื่อหุงต้มด้วยอัตราส่วน ข้าวต่อน้ำ เป็น 1 :
1.7 เท่า (โดยน้ำหนัก) นุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 9 สัปดาห์



12. เหนียวสันป่าตอง
ข้าวเหนียวสันป่าตอง เกิดจากการกลายพันธุ์ของพันธุ์ข้าวเจ้าเหลืองใหญ่ 10 เมื่อประมาณปี 2498 สถานีทดลองสันป่าตองได้
พบว่า พันธุ์ข้าวเจ้าเหลืองใหญ่ที่เกษตรกรปลูกอยู่นั้น มีลักษณะของข้าวเหนียวปะปนอยู่ จึงได้คัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวออกจาก
พันธุ์ข้าวเจ้าเดิม แล้วนำไปปลูกศึกษาพันธุ์แบบรวงต่อแถว ใช้เวลานาน 7 ปี

ข้าวเหนียวที่ศึกษานั้นมีลักษณะที่ดีหลายประการ สายพันธุ์คงที่ ไม่กลายพันธุ์ เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ยประมาณ
520 กิโลกรัม ต่อไร่ ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด น้ำหนักประมาณ 29.6 กรัม ข้าวนึ่งอ่อนนุ่ม ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล ทนต่อสภาพ
ดินเค็ม ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการนี้เอง คณะกรรมการข้าวจึงได้พิจารณามีมติให้เป็นข้าวพันธุ์ส่งเสริมและขยายพันธุ์ได้ เมื่อวันที่
6 พฤษภาคม 2505 และตั้งชื่อว่า "ข้าวเหนียวสันป่าตอง"

ข้าวเหนียวสันป่าตอง เป็นข้าวที่มีลำต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ทรงกอแผ่ ปล้องสีเหลืองอ่อน กาบใบและใบสีเขียว มีขนบนใบ
ใบแก่ช้าปานกลาง มุมของยอดแผ่นใบตก ข้อต่อระหว่างใบและกาบใบสีเขียวอ่อน ลิ้นใบมีลักษณะแหลมสีขาว หูใบสีเขียวอ่อน ปลาย
ยอดดอกและกลีบรองดอกสีฟาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ใบธงหักลง รวงยาวและแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงยาว ก้านรวง
อ่อน เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล ยอดเมล็ดสีฟาง มีขนที่เปลือกเมล็ด ข้าวกล้องรูปร่างยาวเรียว ยาว 7.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.3 มิลลิเมตร
หนา 1.8 มิลลิเมตร ข้าวสุกอ่อนนุ่ม หอม ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์



13. น้ำรู
ข้าวน้ำรู ได้จากการรวบรวมสายพันธุ์ข้าวจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ที่บ้านน้ำรู ดอยสามหมื่น ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัด
เชียงใหม่ โดย คุณวิฑูรย์ ขันธิกุล ได้ทำการปลูกศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาว อำเภอสะเมิง
และสถานีทดลองเกษตรที่สูงในภาคเหนือ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร ได้รับรองสายพันธุ์ เมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม 2530

ข้าวน้ำรูเป็นข้าวไร่ ข้าวเจ้า ลำต้นสูง 141 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน อายุการเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกในระดับความสูงจากระดับ
น้ำทะเล 1,100-1,250 เมตร จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนตุลาคม หากปลูกในพื้นที่สูงกว่านี้ การออกดอกจะช้าลง แต่ถ้าพื้นที่
ต่ำกว่านี้จะออกดอกเร็วขึ้น สภาพพื้นที่ที่แนะนำให้ปลูกได้ดีและเหมาะสมคือ 1,000-1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวน้ำรู คือ ลำต้นตรงและแข็ง ไม่ล้มง่าย แตกกอดี ทรงต้นค่อนข้างแน่น ใบยาว แผ่นใบกว้างตรง มีขนเล็ก
น้อย กาบใบสีเขียว ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดร่วงปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ
1 สัปดาห์ คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม ผลผลิตประมาณ 247 กิโลกรัม ต่อไร่ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่อากาศหนาวเย็นและพื้นที่สูง
มากๆ ต้านทานโรคเมล็ดด่างในธรรมชาติ ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ ข้อควรระวังคือไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคใบหงิก
โรคเขียวเตี้ย โรคหูด ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคเน่าคอรวง



14. ก่ำดอยสะเก็ด
ข้าวก่ำดอยสะเก็ด เป็นข้าวเหนียวที่มีประวัติการปรับปรุงพันธุ์ ในปี 2538 ซึ่งได้รวบรวมพันธุ์ข้าวจาก คุณพินิจ คำยอดใจ อาชีพทำนา
อยู่บ้านเลขที่ 31/1 บ้านสันปูเลย ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะพันธุ์ข้าวก่ำดอยสะเก็ด เป็นพืชล้มลุกวงศ์หญ้า เป็นข้าวเหนียวตอบสนองต่อช่วงไวแสง ระบบรากแบบ Fibrous Root System
ลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้น มีการแตกกอ เฉลี่ย 9 กอ ต่อต้น มีความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร สีของลำต้นเป็นสีม่วง มี
ปล้องสีม่วง ส่วนเขี้ยวใบก็เป็นสีม่วงเช่นกัน รูปร่างของใบเป็นแบบใบแคบ มีสีม่วงทั้งกาบใบและตัวใบ มีเส้นกลางใบเป็นสีม่วง ลักษณะ
ช่อดอกเป็นแบบรวง ดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ กลีบดอกรองมีสีม่วง และกลีบดอกมีสีม่วงเช่นกัน เกสรตัวผู้สีเหลือง เกสรตัวเมียสีม่วง

ลักษณะของเมล็ดมีเปลือกสีม่วง เยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง เมล็ดเรียวยาว ขนาดเมล็ดกว้าง 0.33 เซนติเมตร ยาว 0.97 เซนติเมตร ส่วนจำนวน
เมล็ดต่อรวงเฉลี่ย 120 เมล็ด อายุการออกดอก 86 วัน มีระยะเวลาการบานดอกจากกอแรกถึงการบาน 90 เปอร์เซ็นต์ นาน 15 วัน



15. เล็บนก
ข้าวเล็บนก เป็นข้าวที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์ 307 พันธุ์ จาก 104 อำเภอ ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ในปี 2527 โดยพันธุ์เล็บนกที่เก็บ
มาจากตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ข้าวพันธุ์เล็บนกมีผลผลิตเฉลี่ย 476 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาที่โรงสีท้องถิ่นรับซื้อกัน ราคา
อยู่ที่ระหว่าง 9,500-10,000 บาท

ข้าวเล็บนก เป็นข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวที่ผลิตเป็นการภายในท้องถิ่นภาคใต้ ลักษณะประจำพันธุ์
ของข้าวพันธุ์เล็บนก เป็นข้าวเจ้า ประเภทไวต่อแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ รวงยาวจับกันแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว
และความสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ข้าวพันธุ์เล็บนกให้ผลผลิตค่อนข้างสูง เมื่อปลูกในสภาพนาเป็นลุ่มน้ำที่แห้งช้า ปรับตัวได้ดีใน
สภาพแวดล้อมของภาคใต้ตอนกลาง บริเวณพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง



16. หอมมะลิแดง ข้าวเจ้านาปี
มะลิแดง หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ข้าวหอมแดง เป็นสายพันธุ์ข้าวเจ้าที่กลายพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งพบในแปลงปลูกของ
สถานีทดลองข้าวจังหวัดสุรินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2525-2526 โดยจากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวพันธุ์หลัก ขาวดอก
มะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ซึ่งมี คุณบุญโฮม ชำนาญกุล เป็นผู้อำนวยการสถานีในขณะนั้น พบว่า ในรวงข้าวจำนวนหนึ่ง
มีเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ จึงแยกเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ และแยกเมล็ดแต่ละรวงไปปลูกศึกษาลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2527

จน พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์ข้าวทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า "ข้าวหอมแดง" (Red Hawm
Rice) และมีอีกชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า มะลิแดง

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 120-130 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 20 พฤศจิกายน
- ลำต้นแข็ง กอตั้ง
- ใบสีเขียวอ่อน ใบโน้ม ใบธงตก
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
- ท้องไข่น้อย
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.1x7.5x1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 16.9%

ผลผลิต
- ประมาณ 643 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม
- ข้าวสุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในสภาพธรรมชาติได้ดี
- ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคใบขอบแห้ง และโรคใบขีดโปร่งแสง

พื้นที่แนะนำ
- ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะ เพราะเป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง การนำไปปลูกในแปลงข้าวขาวอาจทำให้ปะปนกัน

พร้อมกันนี้ยังได้มีการศึกษาพบว่า ข้าวมะลิแดงที่ผลิตออกมาในลักษณะข้าวกล้องอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ
ที่สำคัญต่อร่างกาย มีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก เช่น ธาตุเหล็ก ทองแดง วิตามินอี อีกทั้งยังช่วยลดน้ำตาลในเลือดด้วย ซึ่งเหมาะสมกับ
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน



17. เข็มเงิน
เข็มเงิน เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จะหารับประทานในพื้นที่อื่นได้ยาก ชาวบ้านจะอนุรักษ์ปลูกไว้ในรูป
แบบของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตข้าวซ้อมมือ ชุมชนสะพานโยง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คุณลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์เข็มเงิน คือ เมล็ดเล็ก รสชาติดี หุงแล้วนุ่ม หอม อร่อย ไม่แพ้ข้าวหอมพันธุ์อื่นๆ ให้ผลผลิตต่อไร่น้อย
เพียงแค่ 60 ถัง ต่อไร่ เท่านั้น

ปัจจุบัน ข้าวพันธุ์เข็มเงินปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะนำมาแปรรูปเป็น
ข้าวซ้อมมือ และข้าวกล้อง



18. เหลืองอ่อน
ข้าวเหลืองอ่อน เป็นข้าวนาปี ต้นสูง เก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนธันวาคม เป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพหุงต้มดี เป็นที่ต้องการของตลาด
มีเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองอ่อน เรียวยาว เมล็ดข้าวสารเลื่อมมัน นิยมปลูกกันอยู่ในนาน้ำฝน ในภาคกลาง หลายจังหวัด เช่น ราชบุรี
เพชรบุรี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปลูกในจังหวัดร้อยเอ็ด

ข้าวเหลืองอ่อน มีฟางอ่อนล้มง่าย ถ้าข้าวงอกงามอาจล้มไวทำให้เสียหายต่อผลผลิต การปรับปรุงพันธุ์ทำได้โดยหาข้าวฟางแข็ง
มาผสม พันธุ์ข้าวฟางแข็งพันธุ์พื้นเมืองยังมีอยู่หลายพันธุ์

ลักษณะเด่นของข้าวเหลืองอ่อน จะแตกกอดี พันธุ์ข้าวที่มีฟางแข็ง พันธุ์ข้าวที่มีรวงใหญ่ รวงเป็นพวง พันธุ์ข้าวที่มีเมล็ดใหญ่ ลักษณะ
ต่างๆ เหล่านี้สามารถจะนำมาใช้เป็นพันธุ์พ่อแม่ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้



19. ปะกาอำปึล (ดอกมะขาม) ข้าวหอม ทนแล้งเป็นที่ 1
ปะกาอำปึล เป็นข้าวพันธุ์หนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ถิ่นกำเนิดของข้าวพันธุ์นี้ อยู่ตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชา ทางฝั่งไทยปลูกกันแถบ
จังหวัดสุรินทร์ ส่วนกัมพูชาคือจังหวัดอุดรมีชัย

คุณอร่าม ทรงสวยรูป ผู้ศึกษาข้าวพันธุ์นี้ บอกว่า ปะกาอำปึล แปลว่า ดอกมะขาม

ทำไม คุณอร่าม ต้องสนใจข้าวพันธุ์นี้
คุณอร่ามแนะนำว่า ข้าวปะกาอำปึล เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105

"ต้นตอผู้ที่เก็บรักษาข้าวพันธุ์นี้ไว้ เป็นพระ อยู่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จุดเด่นของข้าวปะกาอำปึลอยู่ที่ทนแล้ง ผลผลิตอาจจะ
น้อยกว่าข้าวหอมมะลิ เหมาะปลูกตามหัวไร่ปลายนา น้ำขังได้นิดหน่อย ไม่ชอบน้ำขังมาก เมื่อสุกแก่ เปลือกของข้าวสีเหลืองทองเหมือน
ดอกมะขาม เมล็ดยาว เมื่อขัดขาวจะสีขาวเหมือนข้าวทั่วไป หากสีเป็นข้าวกล้องเมล็ดสีน้ำตาลออกเขียว ทนทานต่อโรคแมลง เท่า
ที่ถามคนรักษาพันธุ์ไว้ เมื่อปลูกไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้สารกำจัดศัตรูข้าว ปลูกทิ้งรอเก็บเกี่ยว อาจจะกำจัดวัชพืชให้บ้าง"

คุณอร่ามบอก และเล่าต่ออีกว่า
"คุณภาพการหุงต้ม เป็นข้าวที่นุ่ม เมื่อเก็บเกี่ยวและสีใหม่ๆ มาหุง มีความหอมไม่น้อยไปกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อหุงกินแล้วเหลือ
อยู่ได้นาน ไม่บูดง่าย ผมว่าเปรียบเทียบกับข้าวที่นิยมปลูกกัน ตัวนี้น่าสนใจ เพราะปุ๋ยและสารเคมีไม่ต้องให้ ปลูกนาโคก ขาดน้ำก็ได้
เกี่ยว ขอให้น้ำค้างตกถึงใบก็ได้เกี่ยวข้าวยาไส้แล้ว"



20. หอมนิล
ข้าวเป็นยา จัดเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี การแตกกอดี ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ต้นสูง 75 เซนติเมตร ใบและ
ลำต้นสีเขียวอมม่วง เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ 6.5 มิลลิเมตร มีสีม่วงดำ เปลือกหุ้มเมล็ดข้าวสีม่วงเข้ม อายุการเก็บเกี่ยว 95-100
วัน ผลผลิตเฉลี่ย 400-700 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้

ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5% มีปริมาณแป้งอะไมโลส
ประมาณ 12-13% มีปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ พวก Cyclohexanone ใน
ปริมาณมาก มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ปริมาณธาตุเหล็กแปรปรวนอยู่ระหว่าง 2.25-3.25 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

ข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล ต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประ
กอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสีผสม
อาหารตามธรรมชาติ

ในส่วนของรำและจมูกข้าว มีวิตามินอี วิตามินบี และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำมีน้ำมันรำข้าว 18% เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง
80% เป็นชนิด C18 : 1 และ C18 : 2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพด และพบว่ามีสาร โอเมก้า-3 ประมาณ
1-2% รำของข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณเส้นใย digestible fiber สูงถึง 10% จากข้อมูลทางโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิลเป็น
ข้าวที่มีศักยภาพในการนำมาแปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารสูง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวเจ้าหอมนิล รวมทั้ง
ขนมขบเคี้ยวต่างๆ

ข้าวเจ้าหอมนิล มีเมล็ดสีม่วงดำ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสีของเมล็ด สีม่วงดำประกอบไปด้วย สีม่วงเข้ม (cyanidin) สีชมพูอ่อน (peonidin)
และสีน้ำตาล (procyanidin) ผสมกัน ซึ่งสีที่เห็นนั่นเป็นสารประกอบกลุ่ม flavonoid ที่เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน (antho-
cyanin) ที่ประกอบไปด้วยสาร cyanidin กับ สาร peonidin สารโปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidin) ประกอบด้วยสาร
procyanidin ซึ่งสารดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นสาร antioxidant ที่ทำหน้าที่จับกับอนุมูลอิสระแล้วช่วยทำให้กลไกลการทำงานของ
ร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ

สารแอนโทไซยานิน มีรายงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจ และสมอง
บรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงสายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นเวลามองตอนกลางคืน สาร cyanidin มีประสิทธิภาพใน
การ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินอี หลายเท่า และยังยับยั้งการเจริญเติบโตของ epidermal growth factor receptor
ในเซลล์มะเร็ง สารโปรแอนโทไซยานิดิน หรือเรียกว่า สาร condensed tannins มีรายงานวิจัยพบว่า สารโปรแอนโท
ไซยานิดิน ทำการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) สารโปรแอนโทไซยานิดิน
ยังไปจับกับอนุภาคของกัมมันตภาพรังสีทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดป้องกันโรคหัวใจ
และโรคความดันโลหิตสูง ยังยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร และเม็ดเลือดขาว



21. หลวงประธาน
เป็นข้าวนาสวน พื้นที่ที่นิยมปลูกจะอยู่บริเวณลุ่มภาคกลาง ความสูงประมาณ 160 เซนติเมตร ลำต้นแข็งปานกลาง ทรงกอตั้ง ใบธง
ทำมุมเอนปานกลาง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ก้านรวงอ่อน แตกระแง้ปานกลาง ข้าวเปลือกสีน้ำตาล ติดเมล็ดมากกว่า
90% เมล็ดร่วงง่าย การนวดง่าย



22. ปิ่นแก้ว
ข้าวชนะที่ 1 ของโลก ปี 2476
เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย จึงมีการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดนี้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เมื่อปี 2476 ข้าวไทยดังกระฉ่อน
โลก ที่ประเทศแคนาดา คือข้าวพันธุ์ "ปิ่นแก้ว"

เดิมปิ่นแก้ว เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่ได้จากการประกวดพันธุ์ข้าว ของนางจวน (ไม่มีการบันทึกนามสกุล) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
จากนั้นมีการนำไปคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยพระยาโภชากรและทีมงานนาทดลองคลองหก รังสิต ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยข้าว
ปทุมธานี กรมการข้าว

ไทยได้ส่งข้าวปิ่นแก้วไปประกวดที่เมืองเรจินา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2476 ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1 นอก
จากนี้ สายพันธุ์อื่นๆ ยังได้ที่ 2 และ 3 รวมแล้ว 11 รางวัลด้วยกัน ซึ่งการประกวดครั้งนั้นมีทั้งหมด 20 รางวัล

ข้าวปิ่นแก้ว เป็นข้าวที่ปลูกในระดับน้ำลึกได้ดี ต้นสูง 200 เซนติเมตร หรืออาจสูงกว่านี้ ตามระดับน้ำ เป็นข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง
ทรงกอแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว

ข้าวเปลือกยาว 10.82 มิลลิเมตร กว้าง 2.2 มิลลิเมตร หนา 2.12 มิลลิเมตร ข้าวกล้องยาว 8.39 มิลลิเมตร กว้าง 2.35
มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร คุณภาพการหุงต้มดี



23. ขาวห้าร้อย
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 23 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียวมีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง
จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือกยาวxกว้างxหนา = 9.92x2.50x2.40 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.79x2.43x2.16 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 28.22 เปอร์เซ็นต์



24. ปลุกเสก
เป็นข้าวเจ้า ที่นิยมปลูกกันในสมัยก่อน ปัจจุบันยังมีการรักษาพันธุกรรมไว้
ข้าวปลุกเสก มีความสูง 128.4 เซนติเมตร กอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง หากปลูกในฤดูปกติ ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน

ที่มาของชื่อข้าวนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอี่ยม ทองดี ผู้ทรงคุณค่าวงการข้าวไทย ให้แง่คิดว่า ข้าวพันธุ์นี้ น่าจะได้มาจากพิธีกรรมสำคัญ
เมื่อครั้งในอดีต



25. หอมทุ่ง
หอมทั่วทุ่ง ตั้งแต่เริ่มออกดอก
เป็นข้าวเหนียว ที่มีถิ่นกำเนิดแถบอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ความสูงของต้น 99.4 เซนติเมตร กอตั้ง เปลือกเมล็ดสีฟาง
เมล็ดยาว 9.61 มิลลิเมตร กว้าง 2.88 มิลลิเมตร ออกดอกช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

เหตุที่ได้ชื่อพันธุ์ว่า "หอมทุ่ง"นั้น เพราะช่วงเวลาที่พันธุ์นี้ออกดอก กลิ่นหอมจะกระจายไปทั่วทุ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตนำมานึ่ง ยังมี
กลิ่นหอมกรุ่น ชวนลิ้มลองรสชาติ



26. เบื่อน้ำ
ชื่อพันธุ์ข้าว มีที่มาหลายทางด้วยกัน เช่น ตั้งตามชาวนาที่มีพันธุ์ข้าวอยู่
ตั้งตามลักษณะเมล็ดข้าว
มีอยู่ไม่น้อย ตั้งตามคุณสมบัติโดดเด่นที่ข้าวมีอยู่
ข้าวเบื่อน้ำ เป็นข้าวเจ้าที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง

ถึงแม้คุณสมบัติเรื่องการหุงต้มและผลผลิต อาจจะสู้บางสายพันธุ์ไม่ได้ แต่ก็มีการเก็บรักษาพันธุกรรมไว้



27. ดอโนน
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 94 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 26 กันยายน ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียว มีขน ปล้องสีเขียวอ่อน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียว ลำต้นแข็งมาก จำนวน
ข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.53 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.27x3.40x2.28 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.09x2.84x1.99 มิลลิเมตร
- ลักษณะข้าวหุงสุกนุ่ม เหนียว



28. ขาวปากหม้อ
เป็นข้าวเจ้า ได้จากการรวบรวมพันธุ์ของ คุณทอง ฝอยหิรัญ พนักงานการเกษตร อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี 2495-2496
จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148

คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508

ข้าวขาวปากหม้อ ต้นสูง 140 เซนติเมตร ไวต่อแสง ลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดรูปร่างเรียวยาว
ข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 3 ธันวาคม ระยะการพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง ยาว
และหนา 2.3, 7.6 และ 1.9 มิลลิเมตร ปริมาณอะมิโลส 22-26 เปอร์เซ็นต์ จุดเด่นของขาวปากหม้อ อยู่ที่คุณภาพของข้าวสุก
ร่วน นุ่ม และขาว รับประทานอร่อย



29. เบาขี้ควาย
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 135 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 8 ธันวาคม ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีเหลือง ยอดดอกสีน้ำตาล จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด
หนัก 3.10 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 8.15x2.55x1.79 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.16x2.19x1.66 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 24.16 เปอร์เซ็นต์



30. ผาแดง
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 26 ตุลาคม ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียว มีขน ปล้องสีเขียว คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นแข็งปานกลาง จำนวนข้าว
เปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.27 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.54x3.45x2.15 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.88x2.92x1.93 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่มาก
- ปริมาณอะมิโลส 26.12 เปอร์เซ็นต์
- ลักษณะข้าวหุงสุก ร่วน แข็ง ไม่มีกลิ่นหอม



31. หอมจันทร์
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 166 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณ วันที่ 24 ธันวาคม ทรงกอแบะ
แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีม่วง คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงดำ ยอดดอกสีแดง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด
หนัก 3.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.73x2.64x1.72 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.24x2.23x1.68 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 21.70 เปอร์เซ็นต์



32. เหลืองใหญ่
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 180 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียวมีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นแข็งปานกลาง
จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.40 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดสีน้ำตาล ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.48x2.61x2.21 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.05x2.29x1.77 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่ปานกลาง
- ปริมาณอะมิโลส 26.35 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะเด่น ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



33. ทองมาเอง
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 188 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นล้ม จำนวน
เมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.80x2.45x2.20 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.23x2.32x1.82 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 28.97 เปอร์เซ็นต์



34. นางกลาย
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 159 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 23 ธันวาคม ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียวมีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีน้ำตาล จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด
หนัก 3.10 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 7.43x2.93x1.89 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.26x2.36x1.76 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 23.11 เปอร์เซ็นต์



35. บือพะทอ
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 142 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 19 กันยายน ทรงกอแบะ
แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีขาว จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด
หนัก 2.91 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.92x3.03x2.04 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.55x2.53x1.67 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 17.92 เปอร์เซ็นต์



36. บือปิอี
เป็นข้าวเหนียว ที่ปลูกสืบทอดกันมานาน ของชนเผ่ากะเหรี่ยง
ต้นข้าวสูง 119.6 เซนติเมตร ออกรวงปลายเดือนตุลาคม กอตั้ง
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
จัดเป็นข้าวที่คุณสมบัติโดดเด่น เป็นหนึ่งในข้าวพันธุ์ดีของชนเผ่ากะเหรี่ยง



37. กระดูกช้าง
ถิ่นกำเนิดเดิม อยู่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นข้าวเจ้าที่ต้นสูงมาก ออกดอกในเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะของกอ แตกกอปานกลาง กอตั้ง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ สีเปลือกข้าวสีฟาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.8 มิลลิเมตร กว้าง
2.73 มิลลิเมตร หนา 2.07 มิลลิเมตร

คุณภาพข้าวเมื่อหุงสุก แข็ง ร่วน
คุณสมบัติพิเศษ ฟางข้าวแข็งมาก

สำหรับการตั้งชื่อ สันนิษฐานว่า สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "กระดูกช้าง" น่าจะมาจากฟางข้าวที่แข็ง ซึ่งหากมีการนำไปใช้งานบางอย่าง น่าจะ
เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก



38. สายบัว
จัดเป็นข้าวพันธุ์หนัก ตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลา 240 วัน
เป็นข้าวเจ้า ที่ลำต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรค แมลง
สู้น้ำดี หมายถึง ยืดตามระดับความสูงของน้ำ จึงจัดเป็นข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวหนีน้ำอีกสายพันธุ์หนึ่ง

ข้าวพันธุ์นี้ นิยมปลูกกันพอสมควร เมื่อ 40 ปีที่แล้ว

เรื่องคุณสมบัติของข้าวเมื่อหุง อาจจะสู้พันธุ์อื่นไม่ได้ แต่ข้าวสายบัว โดดเด่นในเรื่องการนำมาแปรรูป เช่น การทำขนมจีน ขนมปาด ลอดช่อง
ดอกจอก ตะโก้ และอื่นๆ



39. ลูกปลา
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าไวต่อแสง ต้นสูงประมาณ 123 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณ วันที่ 9 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่น
ใบสีม่วงที่ริมมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงดำ ยอดดอกสีแดง ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวน
ข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.02 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 8.44x2.55x1.95 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 6.21x2.19x1.72 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่มาก
- ปริมาณอะมิโลส 19.12 เปอร์เซ็นต์
- ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม เหนียว



40. บือเกษตร
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 114 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 9 ตุลาคม ทรงกอตั้ง
แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีขาว จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด
หนัก 3.22 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 8.21x3.44x2.08 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 5.78x2.88x1.81 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 16.88 เปอร์เซ็นต์



41. ดอเตี้ย
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 98 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 25 กันยายน ทรงกอแบะ
แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง
จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.00 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.51x3.14x2.03 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.27x2.56x1.83 มิลลิเมตร
- ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม



42. ดอหางวี
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 106 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 2 ตุลาคม ทรงกอแบะ
แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดดอกและยอดเกสรตัวเมียสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง
จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.52 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 9.74x2.68x1.95 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.12x2.22x1.75 มิลลิเมตร
- ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม



43. แลกหลาน
คุณไพบูลย์ ผิวพันธมิตร ชาวนาอยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 11 ตำบลศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีอาชีพเป็นช่างไม้ แต่ก็ทำนา
ไว้กินข้าว คุณไพบูลย์บอกว่า พันธุ์ข้าวที่ปลูก ส่วนหนึ่งเก็บสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า บางส่วนนำมาจากทางราชการที่แนะนำให้
"ข้าวที่ปลูกเป็นข้าว 6 และข้าวแลกหลาน พันธุ์หลังนี่มีมานานแล้ว" คุณไพบูลย์บอก

ข้าว 6 ที่คุณไพบูลย์บอก คือข้าว กข 6 ของกรมการข้าว บางปีเขาก็ปลูกข้าว 8 คือ กข 8 กรมการข้าวได้วิจัยข้าวออกมา หากเป็น
ข้าวเหนียวเป็นเลขคู่ หากเป็นข้าวเจ้าใช้เลขคี่ อย่างกข 9

ข้าวแลกหลานนั้น คุณไพบูลย์ บอกว่า ตนเองปลูกมานานพอสมควร โดยได้พันธุ์มาจากเพื่อนบ้านอีกทีหนึ่ง ที่มาของชื่อยังไม่ชัด
เจนนัก ซึ่งมีที่มาหลายทางด้วยกัน

เนื่องจากข้าวพื้นเมืองของที่นั่น มีคุณสมบัติโดดเด่น ให้ผลผลิตสูง เมล็ดสวย รับประทานอร่อย ทนทานต่อโรค แมลง มีคนอยาก
ได้พันธุ์ข้าวที่ว่ามาก แต่เจ้าของหวง สุดท้าย คนอยากได้ ยินยอมนำหลานสาวไปแลกกับพันธุ์ข้าวที่มีอยู่ จึงเรียกพันธุ์ข้าวที่ได้มาว่า
"ข้าวแลกหลาน"...นี่เป็นคำบอกเล่า

คำบอกเล่าอีกทางหนึ่ง มีคนปลูกข้าวพันธุ์ดีอยู่ ข้าวที่ว่าให้ผลผลิตดีกว่านาคนอื่น แต่เจ้าของไม่ยอมนำออกเผยแพร่ จะขอซื้ออย่างไร
ก็ไม่ขาย มีชาวนาที่อยากได้ข้าวที่ว่ามาก นำหลานไปแลกพันธุ์ข้าว

หากเป็นอย่างหลังนี่ แสดงว่าคนอยากได้พันธุ์ข้าว ไม่ได้รักหลานเลย

ทุกวันนี้ ข้าวแลกหลานมีปลูกมากแถบริมน้ำเลย ใครอยากได้มาปลูก ก็แบ่งปันกันได้ ไม่จำเป็นต้องนำหลานไปแลกแล้ว

คุณไพบูลย์บอกว่า ข้าวแลกหลานเป็นข้าวเหนียว คล้ายๆ ข้าว กข 6 แต่แตกต่างตรงที่ ข้าวแลกหลานเมล็ดสั้นกว่า ต้นข้าวแข็งแรง
ไม่ล้มง่ายในแปลง ต่างจาก กข 6 เมื่อขณะที่อยู่ในแปลงนาและใกล้เกี่ยวมักล้มง่าย



44. หอมดง
เป็นข้าวพื้นเมืองของคนเชื้อสาย ญัฮกุร
ญัฮกุร หรือ เนียะกุล ที่คนไทยเรียก แต่ไม่เป็นที่ชอบใจของชาวญัฮกุรนักคือ "ชาวบน" เป็นชุมชนที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขา
แถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว และ
อำเภอจัตุรัส กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า "ญัฮกุร" (Nyah-Kur) แปลว่า "คนภูเขา" คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า "ชาวบน"
ซึ่งพูดภาษาที่คนไทยภาคต่างๆ ฟังไม่รู้เรื่อง

ชาวบน มีผิวค่อนข้างดำ ตาโตกว่าคนไทย แต่ไม่ต่างจากคนไทยมากนัก รูปร่างสูงปานกลาง ผู้หญิงจะหน้าตาดี การแต่งกายแบบดั้ง
เดิมของชาวบน คือ ผู้หญิงจะสวมเสื้อเก๊าะ และนุ่งผ้านุ่งมีชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูใหญ่ ชาวบนเรียก
กะจอน ทำด้วยไม้มีกระจกติดข้างหน้า ไว้ผมยาวเกล้ามวย ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก วิธีการนุ่งแบบเหน็บธรรมดา

ข้าวหอมดง จัดเป็นข้าวเจ้า ที่นิยมปลูกในสภาพไร่ ต้นเตี้ย วัดความสูงเฉลี่ย 70 เซนติเมตร แตกกอดี ใบสีเขียว ใบธงนอน รวงสั้น
จับห่าง คอรวงเหนียว เป็นข้าวกลาง เก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายน เมล็ดอ้วนสั้น เปลือกสีเหลืองนวล หางสั้น ข้าวสารสีขาวใส
เหมาะต่อการบริโภค มีกลิ่นหอมมาก



45. เอวมดแดง
ข้าวพันธุ์เอวมดแดง เป็นข้าวพื้นที่ของภาคใต้ โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้เก็บรวบรวมสายพันธุ์
มาจากอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ข้าวพันธุ์เอวมดแดง เป็นข้าวเจ้านาสวน
ข้าวพันธุ์นี้ จะมีความสูงของลำต้นประมาณ 187 เซนติเมตร
ทรงกอ เป็นกอแบะ
ลักษณะรวงจะจับกันแน่นมาก ก้านรวงตั้งตรง แต่พบว่ามีการร่วงของเมล็ดมาก
สีของแผ่นใบมีสีเขียวจาง สีของกาบใบ มีสีเขียวเส้นม่วง
ออกดอก ประมาณ วันที่ 26 ธันวาคม



46. ล้นยุ้ง
ล้นยุ้ง เป็นชื่อพันธุ์ข้าวนาสวน ประเภทข้าวเจ้า
ถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของประเทศไทย
โดยชื่อของสายพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ตั้งให้มีความหมายในทางที่ดี เป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมากๆ เช่น
เดียวกับข้าวสายพันธุ์อื่นๆ เช่น ขาวเศรษฐี ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น

กรมการข้าว ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์ข้าวล้นยุ้งมาจากอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

โดยข้าวล้นยุ้ง จะออกดอกช่วงประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะประจำพันธุ์ : ต้นสูงปานกลาง กอแบะ แตกกอปานกลาง
ใบ : สีเขียว มีขนบนใบ
สีข้าวเปลือก : สีฟาง
คุณภาพข้าวสุก : ร่วน
ขนาดเมล็ดข้าวเปลือก : ยาว 9.74 มิลลิเมตร กว้าง 2.76 มิลลิเมตร หนา 1.99 มิลลิเมตร



47. ดอกพะยอม
ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในระหว่างปี พ.ศ.
2502-2521 โดยนำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวภาคใต้ จนคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร
มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522

ข้าวดอกพะยอม เป็นข้าวไร่พื้นเมือง ลำต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน มีอายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูก
ต้นเดือนมิถุนายน เกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ถ้าปลูกปลายเดือนสิงหาคม เกี่ยวปลายเดือนมกราคม (อายุประมาณ 145-150 วัน)

ลำต้นเขียว ใบยาว ค่อนข้างแคบ ชูรวงดี เมล็ดเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟางก้นจุด มีระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 2 สัปดาห์ เมล็ด
ข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.3x2.4x2.0 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.3x 2.2x1.8 มิลลิเมตร ปริมาณ
อะมิโลส 24% คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต ประมาณ 250 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น คอรวงยาว สามารถปลูกเป็นพืชแซมยางได้ดี มีความต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบวงสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ พื้นที่ข้าวไร่ในภาคใต้



48. เจ๊กเชยเสาไห้
พันธุ์ข้าว จีไอ
เจ๊กเชย เป็นชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์
เพราะเป็นสายพันธุ์ข้าวที่หุงจะขึ้นหม้อ เมล็ดข้าวสวย รสชาตินุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญคือไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อ
ราดแกง โดยสายพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยนั้นหากดูที่สีของกาบใบจะแบ่งออกเป็น หนึ่ง เจ๊กเชยกาบใบเขียว และ สอง เจ๊กเชยกาบใบม่วง

ที่มาของชื่อนั้น สืบเนื่องมาจากผู้ที่นำสายพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งเป็นพ่อค้าที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ "เจ๊กเชย" จึงกลาย
เป็นชื่อเรียกที่สืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเสาไห้ ซึ่งปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ ได้เลิกปลูกกันเป็นจำนวนมาก เนื่อง
จากมีสาเหตุปัญหาด้านผลผลิตที่ต่ำ ปลูกได้เพียงปีละครั้ง ความไม่บริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนความแปรปรวนในประชากรของ
พันธุ์ข้าวเจ๊กเชยทำให้ราคาไม่จูงใจให้เกษตรกรปลูก

ดังนั้น ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมการข้าว จึงดำเนินการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์จากพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยพื้นเมืองไปสู่การปรับปรุงมาตร
ฐานคุณภาพข้าวเสาไห้ให้ดีเด่นเหมือนกับอดีตที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2545 โดยเก็บรวบรวมพันธุ์จากแปลง
เกษตรกรในจังหวัดสระบุรี จำนวน 34 ตัวอย่างพันธุ์ ทำการปลูกคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ได้สายพันธุ์ PTTC02019
แล้วคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) จนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ PTTC02019-1 ในฤดูนาปี 2546

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ข้าว ชื่อ เจ๊กเชย 1 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 26 กันยายน
2551

ลักษณะประจำพันธุ์ เจ๊กเชย 1
- เป็นข้าวเจ้า สูงเฉลี่ย 160-170 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว วันที่ 10 ธันวาคม
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงหักลง คอรวงยาว
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาวxกว้างxหนา = 10.3x2.5x2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาวxกว้างxหนา = 7.7x2.1x1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลสสูง 27.1%
- คุณภาพข้าวสุกค่อนข้างแข็ง
- ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 6-7 สัปดาห์

ผลผลิต เฉลี่ย 812 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ข้าวสารมีคุณภาพดีแบบข้าวเสาไห้ หุงขึ้นหม้อ ร่วนเป็นตัวไม่เกาะกัน เนื้อสัมผัสจากการชิมค่อนข้างแข็ง แต่มีความนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง
- สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี
- สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากเป็นข้าวต้นสูงและทนน้ำท่วมได้ดีกว่าข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงในพื้นที่
เดียวกัน

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- จังหวัดสระบุรีและใกล้เคียงที่มีนิเวศการเกษตรคล้ายคลึงกัน

ด้วยข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเสาไห้เป็นสายพันธุ์ข้าวคุณภาพดี กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้รับการจดทะเบียนให้เป็นหนึ่งในสินค้าสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546



49. ช่อไม้ไผ่
ช่อไม้ไผ่ เป็นชื่อสายพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้
ลักษณะเด่นคือ เมื่อนำมานึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม

คนในภาคใต้ จะนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่าง ใช้ในงานบุญประเพณี ทำให้มีราคาจำหน่าย
สูงกว่าข้าวทั่วไป

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะวิตามินบี 1 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 และวิตามินอี

พื้นที่แนะนำปลูก เหมาะสำหรับปลูกในบริเวณพื้นที่นาดอนและสภาพไร่ในภาคใต้

แต่ข้อควรระวังคือ อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ไม่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่นาลุ่ม

จากลักษณะเด่นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว จึงดำเนินการปลูกคัดเลือก
ให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถว คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTNC96004-49 และต่อมาได้ขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อ ข้าวเหนียวพันธุ์
เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49

โดยเป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกปลายเดือนมกราคม ผลผลิตเฉลี่ย 363 กิโลกรัม ต่อไร่

ความสูงของลำต้น ประมาณ 135 เซนติเมตร
ลักษณะทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสีเขียว ใบธงหักลง
ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีม่วง กลีบดอกสีม่วงดำ คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง รวงยาว 28.5 เซนติเมตร เมล็ดเกาะ
กันเป็นกลุ่มบนระแง้ กลุ่มละ 2-4 เมล็ด ส่วนใหญ่มี 3 เมล็ด

ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.21 มิลลิเมตร กว้าง 3.66 มิลลิเมตร หนา 2.22 มิลลิเมตร

ข้าวกล้องสีม่วงดำ รูปร่างเมล็ดค่อนข้างป้อม ยาว 7.20 มิลลิเมตร กว้าง 2.81 มิลลิเมตร หนา 1.92 มิลลิเมตร

ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 34.59 กรัม น้ำหนักข้าวเปลือก 10.38 กิโลกรัม ต่อถัง
คุณภาพการสี ปานกลาง
ระยะพักตัว ประมาณ 8 สัปดาห์

สถานที่ติดต่อ ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี เลขที่ 128 หมู่ที่ 7 ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โทร. (076) 343-135



50. แม่โจ้ 2
ผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น ปี 55
"ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์แม่โจ้ 2" ผลงานวิจัยของ ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะ
วิทยาศาสตร์ ร่วมกับทีมงานนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร และสาขาเทคโนโลยี
ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทดลองและปรับปรุงพันธุ์นานถึง 7 ปี โดยใช้ข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับ
และข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ให้ ใช้วิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก

"ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์แม่โจ้ 2" มีคุณสมบัติสำคัญคือ ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและ
นาปรัง ความสูงประมาณ 90-120 เซนติเมตร

ลักษณะต้นเตี้ยช่วยต้านทานต่อการหักล้มและง่ายต่อการใช้รถเก็บเกี่ยว แก้ปัญหาการขาดแรงงานเก็บเกี่ยว ความเป็น "ข้าวเหนียวหอม"
จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวเหนียว เนื่องจากสายพันธุ์แม่โจ้ 2 มีกลิ่นหอม

สำหรับ "ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย แม่โจ้ 2" ขณะนี้กำลังอยู่ในการทดลองปลูกสถานีสุดท้ายก่อนเผยแพร่พันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจต่อไป



51. ก่ำพะเยา
ข้าวก่ำ เป็นข้าวที่คนทางภาคเหนือนิยมปลูก เพื่อใช้รับประทาน และปลูกเนื่องจากเป็นความเชื่อจากอดีต ส่วนความเป็นมาของข้าว
ก่ำพะเยา เริ่มจาก คุณศรีวรรณ และ คุณจันทร์ฟอง วงศ์เรือง สองสามีภรรยาชาวบ้านซ่อน อยู่บ้านเลขที่ 123 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่
นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นผู้ริเริ่ม นำพันธุ์ข้าวก่ำมาปลูกเป็นคนแรก โดยนำมาจากอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กระทั่ง
ปี 2515 คนจึงเรียกข้าวพันธุ์นี้ว่า ข้าวก่ำพะเยา

จากการค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ พบว่า ข้าวก่ำพะเยามีสาร Anthocyanin (แอนโทไซยานิน) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านการ
เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะสารแอนโทไซยานิน
เป็นชนิดที่พบในข้าวสีม่วงกลุ่มอินดิก้า (ซึ่งรวมข้าวก่ำไทย) คือ cyanindin-3 glucoside ได้พิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติใน
การยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด และมีสารแกมมาโอไรซานอล

นอกจากจะมีคุณสมบัติเป็นการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเช่นเดียวกันแล้ว ยังสามารถลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ
เพิ่มระดับของ HDLในเลือด และยังมีผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมอง ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยับยั้งการรวมตัว
ของเกล็ดเลือด ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มระดับของฮอร์โมนอินซูลินของคนเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ต้านการ
หืนของไขมันในรำข้าวและนมผงไขมันเต็ม

คุณประโยชน์ที่มากกว่าการหุงเป็นข้าวสุกรับประทาน คือ การทำเป็นข้าวกล้องงอก และน้ำข้าวกล้องงอกเพื่อการบริโภค



52. หอมชลสิทธิ์
ทนน้ำท่วมฉับพลัน
ข้าวหอมชลสิทธิ์ ผลงานวิจัยโดย ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (Biotec) สวทช.
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดยแหล่งที่มาของชื่อนั้น สืบเนื่องมาจากผู้วิจัยต้องการตั้งชื่อที่แสดงความรู้ว่าเกี่ยวข้องกับน้ำ และเป็นช่วงจังหวะเดียวกับที่มีพระราช
พิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จึงได้กลายเป็นที่มาของชื่อ พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์

ข้าวสายพันธุ์นี้เป็นหนึ่งในผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ผลผลิตสูงให้ทนต่อสภาพน้ำท่วม
ฉับพลัน ในทุกระยะการเจริญเติบโต

โดยเป็นลูกผสมของข้าวทนน้ำท่วมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105

จากนั้นได้ถูกนำมาคัดเลือกให้มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม

คุณสมบัติเด่นที่สำคัญอีกประการคือ สามารถปลูกได้ทั้งปี และสามารถทนอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 2 สัปดาห์ จึงเหมาะกับสภาพพื้นที่นา
ในเขตภาคกลาง ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลันอย่างต่อเนื่อง

อีกจุดเด่นของข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ คือทนต่อการระบาดของแมลงศัตรูข้าว อย่างเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง

ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกต่อไร่อยู่ในระดับ 900-1,000 กิโลกรัม

ปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ส่งเสริมให้เกิดแปลงนาสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ระดับขยายพันธุ์ข้าว ณ
สหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำกัด

ลักษณะประจำสายพันธุ์
1. ข้าวเจ้าหอม ความสูงประมาณ 105-110 เซนติเมตร
2. พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน
3. ข้าวเปลือกสีฟางคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
4. จำนวนรวงต่อกอประมาณ 15 รวง (นาดำ)
5. ความยาวรวงประมาณ 15 เซนติเมตร
6. ลำต้น ใบสีเขียวยาวกว้างปานกลาง
7. ใบธงทำมุมกับคอรวง ทรงกอตั้งแบะเล็กน้อย
8. เมล็ดข้าว ขนาดกว้าง 2.5 ยาว 10.9 หนา 2.0 มิลลิเมตร



53. ขาวโป่งไคร้
เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน ได้จากการรวบรวมจากแปลงของเกษตรกร กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพื้นที่ราบ บ้านโป่งไคร้ ตำบล
โป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดย คุณวิชัย คำชมภู สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ปลูกศึกษาพันธุ์ที่ไร่นาสาธิตแม่เหียะ
และเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวในภาคเหนือ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์
รับรอง เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2530

ลักษณะเด่น
ต้านทานต่อโรคไหม้ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 243 กิโลกรัม ต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง นวดง่าย ข้าวสุกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ปรับตัวเข้ากับการปลูกบนที่สูงถึง 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 142 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบและกาบใบสีเขียว ใบธงกว้างและตรง มีเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง รวงยาว ระแง้ถี่ เมล็ด
รูปร่างป้อม และรวงปานกลาง อายุเก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 8.3 มิลลิเมตร กว้าง 3.0 มิลลิเมตร
หนา 2.1 มิลลิเมตร ระยะพักตัวของเมล็ด 1 สัปดาห์ คุณภาพข้าวสุก ค่อนข้างแข็ง

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคใบหยิก โรคเขียวเตี้ย โรคหูด และไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว



54. เจ้าฮ่อ
เป็นข้าวเจ้าพื้นเมือง ไวต่อแสงอย่างอ่อน ได้จากการคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซุ (ลีซอ) จังหวัดเชียงราย
โดย คุณสมพงษ์ ภู่พวง สถานีทดลองข้าวพาน ในปี 2522 ปลูกศึกษาพันธุ์ และเปรียบเทียบผลผลิตในสถานีทดลองข้าว และ
สถานีทดลองพืชสวนในภาคเหนือ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม 2530

ลักษณะเด่น
ต้านทานต่อโรคไหม้และโรคหูด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 210 กิโลกรัม ต่อไร่ สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพข้าวไร่ทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือ
ตอนบน รูปร่างลำต้นตั้งตรง ลำต้นใหญ่ค่อนข้างแข็ง คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว

ลักษณะประจำพันธุ์
มีความสูง 134 เซนติเมตร สีเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงโผล่พ้นใบธงพอดี ใบค่อนข้าวกว้างและยาว ข้อต่อระหว่าง
ใบและกาบใบสีฟาง เมล็ดร่องปานกลาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนตุลาคม ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.8
มิลลิเมตร มีประมาณอะมิโลส 15.8 เปอร์เซ็นต์ ระยะพักตัวของเมล็ด 1 สัปดาห์

ข้อควรระวัง
อายุค่อนข้างหนัก จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีฝนค่อนข้างสม่ำเสมอ และดินอุ้มความชื้นได้ดีเท่านั้น ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบ
สีส้ม โรคใบหยัก โรคเขียวเตี้ย ไม่ต้านทานแมลงบั่ว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปลูกได้ดีในสภาพข้าวไร่ ความสูงไม่เกิน 800 เมตร
จากระดับน้ำทะเล แต่สามารถให้ผลผลิตได้ในพื้นที่ความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร



55. เจ้าขาว
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อแสง ได้จากการรวบรวมของ คุณวิทูรย์ ขันธิกุล เจ้าหน้าที่เกษตร สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี พ.ศ. 2523
จากอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 รวง นำมาปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบรวงต่อแถว ได้รวงที่ 123 ซึ่งมีคุณสมบัติ
ตรงตามความต้องการ หลังจากนั้นดำเนินการศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบพันธุ์ตามลำดับ พบว่า สายพันธุ์ข้าวเจ้าขาว (SPTC
80187-126) สามารถให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ต้านทานโรคไหม้ ออกดอกประมาณ วันที่ 20 กันยายน มีคุณภาพการหุงต้มและ
รับประทานตรงตามความต้องการของเกษตรกร

ลักษณะเด่น
สามารถปลูกได้ในพื้นที่สูง ระดับ 800-1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัม ต่อไร่ คุณภาพ
การสีดี รูปร่างลำต้นตั้งตรง ลำต้นแข็ง ไม่ล้ม ต้านทานโรคไหม้ คุณภาพข้าวสุก อ่อนนุ่ม

ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 175 เซนติเมตร สีเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว ใบและกาบใบสีเขียว มุมของใบธงหักลง อายุเก็บ
เกี่ยวประมาณ วันที่ 20 ตุลาคม ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.29 มิลลิเมตร กว้าง 2.70 มิลลิเมตร หนา 1.99 มิลลิเมตร มีปริมาณ
อะมิโลส 18.7 เปอร์เซ็นต์ ระยะพักตัวของเมล็ด 4 สัปดาห์

ข้อควรระวัง
ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวในสภาพไร่นา



56. กข 6
เป็นข้าวเหนียว ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด อาบ
เมล็ดพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน และสถานีทดลองข้าวพิมาย

จากการคัดเลือก ได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวช่วงที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัว ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สาย
พันธุ์ KDML105"65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยน
กรรมพันธุ์โดยใช้รังสีซึ่งคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเหนียว ลำต้นสูงประมาณ 154 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง
ลำต้นแข็งปานกลาง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล คุณภาพการสีดี เมล็ดยาวเรียว เมล็ดข้าวเปลือกมีสีน้ำตาล อายุเก็บเกี่ยว ประ
มาณ วันที่ 21 พฤศจิกายน

ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 5 สัปดาห์
เมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.2x7.2x1.7 มิลลิเมตร

คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม
ผลผลิตประมาณ 666 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและทนแล้ง

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบแห้ง ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



57. หางยี 71
ได้จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าวจากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์
ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี
- ลำต้นสีเขียว ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนก
- เมล็ดข้าวยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.1x7.1x1.8 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 506 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคไหม้
- ค่อนข้างต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
- เป็นข้าวต้นสูง อายุเบา เหมาะกับสภาพที่ดอนที่น้ำหมดเร็ว

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว



58. เขียวนกกระลิง
เขียวนกกระลิง เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่หายากของประเทศไทย ข้าวสายพันธุ์นี้อยู่ในกลุ่มข้าวเจ้า กรมการข้าวมีการรวบเมล็ด
พันธุ์ข้าวเขียวนกกระลิงได้จากเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของชื่อ เป็นการตั้งตามหลักการตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะมาในส่วนของใบและกาบใบ
ข้าวที่มีสีเขียวเหมือนกับสีเขียวบนลำตัวของนกกระลิง

จากข้อมูลของกรมการข้าว บอกว่า ข้าวพันธุ์นกกระลิง เป็นข้าวเจ้าขึ้นน้ำ ที่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะของกอจะแบะ และแตกกอน้อย
ใบและกาบใบสีเขียว ไม่มีขนบนแผ่นใบ ใบธงทำมุม 45 องศา กับลำต้น สีข้าวเปลือฟางก้นจุด ขนาดเมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.40
มิลลิเมตร กว้าง 2.84 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร ในส่วนความสูงของลำต้นนั้น มีสถิติที่บันทึกไว้ว่า เคยพบ ต้นข้าวเขียว
นกกระลิงสูงถึง 1.20 เมตร ข้าวสายพันธุ์นี้ จะออกดอกประมาณช่วงต้นเดือนธันวาคม และข้าวสารของพันธุ์เขียวนกกระลิง
เมื่อนำไปหุงแล้ว พบว่า ข้าวสุกจะมีลักษณะแข็งร่วน



59. อัลฮัม ดุลิลละฮฺ
มาจากภาษามลายู แปลว่า ขอบคุณพระเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ข้าวอัลฮัม ชาวนาพัทลุงได้นำข้าวอัลฮัมไปปลูก โดยตั้งชื่อใหม่ว่า "ข้าวขาวสตูล"

ข้าวอัลฮัม เป็นข้าวพันธุ์ไวแสง ที่มีลักษณะพิเศษคือ ทนต่อความเป็นกรดของดินในพื้นที่ภาคใต้ได้ดี เช่นเดียวกับข้าวพันธุ์ลูกแดง
ข้าวขาวตายก ไข่มด ช่อมุก ดอนทราย ลูกเหลือง ข้าวแดง หมออรุณ รวงยาว สีรวง มัทแคนดุ เป็นต้น ซึ่งข้าวพื้นเมืองในกลุ่มนี้โดย
ทั่วไปจะมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณไร่ละ 15-40 ถัง

ชาวนาสตูลนิยมปลูกข้าวอัลฮัม ในช่วงนาปี เริ่มปักดำนาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ใช้เวลาปลูกและดูแลประมาณ 5-8 เดือน และจะเก็บ
เกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ข้าวพันธุ์นี้ดูแลไม่ยุ่งยาก แค่หว่านปุ๋ยไร่ละ 15 กิโลกรัม ใน 2 ระยะ
คือ ช่วงปักดำเพื่อเร่งให้ต้นข้าวแตกกอและช่วงที่ต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง ข้าวอัลฮัม มีลักษณะเด่นที่สำคัญคือ เป็นข้าวขาวที่มีรสชาติ
หวานมัน มีคุณค่าทางอาหารสูง ปลูกง่าย ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันปลูกเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แล้วยังจำหน่าย
ในท้องถิ่นและส่งขายในประเทศมาเลเซียอีกด้วย



60. เล้าแตก
เป็นข้าวเหนียวประจำถิ่นอีสาน มีเรื่องเล่าว่า ผู้เฒ่าคนหนึ่งปลูกข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวก็เก็บข้าวขึ้นเล้า (ยุ้ง) แต่เก็บยังไงก็ยังไม่พอใส่ ....




http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05030150255&srcday=&search=no
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/03/2012 11:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,553. "หอมมะลิ 80" ขาวดอกมะลิทนน้ำท่วม


ทีมวิจัยดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80 ผ่านบรูณาการวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเน้นการใช้เทคนิคโมเลกุล
เครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือก (DNA Marker Assisted Selection) ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับ (Backcrossing)
เพื่อถ่ายทอดยีนที่ทนน้ำท่วมซึ่งทีมวิจัยค้นพบบนโครโมโซมที่ 9 เข้าสู่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 วิธีการดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน
การคัดเลือกและย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ลง ผลจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าว ทำให้ได้พันธุ์ข้าวขาว
ดอกมะลิ 105 ที่มียีนทนน้ำท่วมฉับพลันเพิ่มเติมเข้ามา โดยยังคงลักษณะคุณภาพการหุงต้มและความอร่อยของข้าวขาวดอกมะลิไว้








วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80
ข้าวหอมมะลิ 80 ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับร่วมกับการคัดเลือกด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมาย ของยีนควบคุมความทนทาน
ต่อน้ำท่วมฉับพลัน จากนั้นนำสายพันธุ์ที่ได้ไปทดสอบความทนทานต่อน้ำท่วมในพื้นที่ซึ่งประสบปัญหาในจังหวัดต่างๆ พร้อมกับ
ทำการประเมินการยอมรับของเกษตรกรที่เคยปลูกขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ดั้งเดิมในปี พ.ศ. 2550 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทค
โนโลยีชีวภาพแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสายพันธุ์หอมมะลิ 80 นี้แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อ
ทรงประทานช่วยเหลือหรือเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมฉับพลัน


ลักษณะประจำพันธุ์
- ทนน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะการเจริญเติบโต
- ข้าวเจ้าหอม ความสูงประมาณ 155 เซนติเมตร
- พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี
- ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณช่วงวันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน ของทุกปี
- จำนวนรวงต่อกอประมาณ 10 – 12 รวง (นาดำ) .
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.2 x 1.7 มิลลิเมตร
- การเกิดท้องไข่ประมาณ 0.8
- ข้าวเปลือกสีฟางคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้อง
- ปริมาณอะไมโลส 14-15%
- ระดับค่าการสลายตัวในด่าง (1.7% KOH) ประมาณ 7 % เหมือนข้าวขาวดอก มะลิ 105
- ค่าการยืดตัวของแป้งสุกประมาณ 70 - 95 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับพันธุ์ขาว ดอกมะลิ 105 ซึ่งมีค่า 70 – 85 ม.ม.
- คุณภาพข้าวสุก ความนุ่ม และกลิ่นหอม คล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ105
- เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวประมาณ 63% ใกล้เคียงพันธุ์ขาวดอกมะลิ105

(ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ)




http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/หอมมะลิ-๘๐.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/03/2012 7:29 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/03/2012 11:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,554. วิธีควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว




ขณะนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งปลูกข้าวใน เขตชลประทานพื้นที่
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทั้งยังมีรายงานว่า พบการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดด
สีน้ำตาลค่อนข้างมากในพื้นที่จังหวัด นครนายกและปราจีนบุรีด้วย อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักงาน
เกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์แพร่ระบาด
อย่างใกล้ชิด

นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังได้ให้ ศูนย์บริหารศัตรูพืช 9 แห่ง เร่งสำรวจปริมาณ
เชื้อราบิวเวอร์เรีย ที่มีอยู่ในสต๊อก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ระบาดนำไปใช้ควบคุมและป้องกัน กำจัดเพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาล โดยเน้นให้ใช้ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นฐานในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรียและเป็นศูนย์กลางการถ่าย
ทอดความรู้ และแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาดด้วย

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนด มาตรการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว
และชีพจักรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3 ระยะ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาช่วยเหลือเกษตรกร โดย ระยะที่ 1 ข้าวระยะกล้า-แตกกอ
หรืออายุ 0-35 วัน มักพบ การเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวอพยพเข้าแปลงนา เพื่อวางไข่ ดังนั้น
เกษตรกรจึงควรสำรวจแปลงนา ถ้าพบตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลควรควบคุมโดยวิธีผสมผสาน คือ ใช้สารเคมีประเภทยับยั้งการ
ลอกคราบฉีดพ่นตามคำแนะนำของทางราชการ เช่น สารบูโปเฟซิน (แอฟพลอด 10% WP หรือ 25% WP) หรือใช้สารสกัด
จากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบ กรณีที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง (ประมาณร้อยละ 50 ขึ้นไป) ให้พิจารณา ใช้
เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น และระบายน้ำออกจากแปลงนาทิ้งไว้ 4 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้านาเพื่อปรับสภาพไม่ให้เหมาะสมต่อการดำรง
ชีวิตของศัตรูพืช ชนิดนี้

ระยะที่ 2 ข้าวตั้งท้อง-ออกรวง (อายุ 60-90 วัน) มักพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวอ่อนรุ่นที่ 2 และตัวเต็มวัย เกษตรกรสามารถใช้
วิธีควบคุมที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น หรือใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบของเพลี้ย
กระโดดสี น้ำตาล มีการระบายน้ำออก-เข้าแปลงนาด้วย หากจำเป็นต้อง ใช้สารเคมีควรฉีดพ่นตามคำแนะนำ เช่น ไดโนทีฟูแรน
(สตาร์เกิล 10% WP) สารไทอะมิโทแซม (แอคทารา 25% WP) และสารอีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน 10% EC) เป็นต้น

สำหรับ ระยะที่ 3 ข้าวออกรวง- เก็บเกี่ยว (อายุ 90-120 วัน) ช่วงนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะสร้างปีก และตัวเต็มวัยจะอพยพออก
จากแปลงนาไปตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งสามารถควบคุมโดยใช้วิธีกลและฟิสิกส์ อาทิ ใช้กับดักกาวเหนียว
ทาวัสดุ เช่น ใบตอง และถุงพลาสติก หรือใช้แสงไฟ (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ล่อให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาเล่นไฟ แล้วจับทำลายทิ้ง
โดยทุกพื้นที่ควรรณรงค์ให้ดำเนินการควบคุม ป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหา
การแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

...นี่เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดน้อยลง.. ส่วนพื้นที่ที่ยัง ไม่พบการ
ระบาดก็อย่านิ่งนอนใจ ศัตรูพืชตัวรายนี้อาจกำลังรุกคืบเข้าใกล้แปลงนาของท่าน ดังนั้น ควรเกาะติดสถานการณ์เอาไว้และเตรียม
พร้อมรับมือ ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้.



ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/วิธีควบคุม...เพลี้ยกระโดดฯ.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/04/2012 5:43 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/03/2012 12:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,555. หนุน 'ข้าวหอมมะลิแดง' ต้านโรค






เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสาน โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับ
สถานีอนามัยนากระเดา และ องค์การบริหารส่วนตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดทำ “โครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวาน”
เพื่อหาคำตอบต่อข้อสงสัย โดยทดลองให้ผู้ป่วยเบาหวานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค “ข้าวหอมมะลิแดง” ซึ่งมีสารอาหารที่มี
คุณค่าต่อร่างกายหลากหลายมากกว่า

นายจรินทร์ คะโยธา ผู้ประสานงานเครือข่ายภูมินิเวศน์จังหวัดกาฬสินธุ์และนครพนม เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสาน และผู้
ประสานงานโครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวานเปิดเผยว่า งานของเครือข่ายฯ มุ่งเน้นเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
และพันธุ์ผักพื้น ถิ่น ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรให้หันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี
โดยปัจจุบันในพื้นที่อำเภอนาคูมีเกษตรกรในเครือข่าย จำนวน 47 ครัวเรือน ซึ่งแต่ละบ้านจะแบ่งพื้นที่นาประมาณ 5 ไร่มาปลูกและ
อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านหลายสายพันธุ์ และทำการเกษตรแบบผสมผสาน

“มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่าพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมีสารอาหารและคุณค่า ทางโภชนาการสูงกว่าข้าวที่นิยมปลูกและบริโภคใน
ปัจจุบันที่มีเพียงไม่กี่สาย พันธุ์ และเมื่อมองย้อนไปในอดีต พบว่าบรรพบุรุษของเรามีการปลูกและบริโภคข้าวที่หลากหลายสายพันธุ์
ทำให้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเบาหวาน ประกอบกับเกษตรกรในเครือข่ายมีการปลูกข้าวหอมมะลิแดงอยู่แล้ว จึงร่วมกับสถานีอนามัยนา
กระเดา ทดลองให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานกินข้าวหอมมะลิแดงของเครือข่ายที่ส่งไปตรวจ ที่สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
พบว่ามีคุณสมบัติป้องกันโรคเบาหวานได้ เพื่อหาข้อสรุปที่จะนำไปสู่การขยายผลในการปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้น บ้านออกไปให้
กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพราะข้าวเจ้าเป็นข้าวที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดและปลูกทั่วทุกพื้นที่ของ ประเทศ” นายจรินทร์ระบุ

นายอำนาจ วิลาศรี ประธานเครือข่ายภูมินิเวศน์จังหวัดกาฬสินธุ์และนครพนม เล่าว่า ในตำบลสายนาวัง มีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านประมาณ
10 สายพันธุ์ แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 4 พันธุ์เท่านั้นคือ ข้าวก่ำ ข้าว สันป่าตอง ข้าวกอเดียว และข้าวหอมมะลิแดง ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้น
บ้านเหล่านี้มีข้อดีคือทนต่อโรคและความแล้ง ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี แต่ให้ผลผลิตและน้ำหนักดีมีรสชาติอร่อย และจากการสอบถามคน
รุ่นพ่อรุ่นแม่ พบว่าสมัยก่อนมีการกินข้าวไม่น้อยกว่า 7 สายพันธุ์สลับกันไปทำให้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะ “ข้าวก่ำ” นั้น
ถือได้ว่าเป็นพญาข้าว จึงมีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าทำนาอย่าลืมนำข้าวก่ำให้เอาไปหุงต้มผสมกินจะเป็นยาเพราะเป็นข้าวที่ ดีที่สุด

นางดวงพร บุญธรรม หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านนากระเดา เปิดเผยว่า ในพื้นที่ 4 หมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีอนามัย
ประกอบไปด้วยบ้านกุดตาใกล้ หมู่ 4 และหมู่ 7 บ้านนากระเดา หมู่ 5 และหมู่ 6 จากการสำรวจพบว่ามีประชากรป่วยด้วยโรคเบา
หวานสูงถึง 70 คน และอีก 20 คนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะน้ำตาลสูงที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งทั้งผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้คนในหมู่บ้านมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคเบาหวานสูงมาก ประกอบกับทางเครือข่ายเกษตรทางเลือกฯ มี
โครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวาน จึงหาอาสาสมัครจำนวน 18 คนมาเข้าร่วมโครงการ โดยให้ข้าวไปทดลองคนละ 5 กิโลกรัม และขอ
ความร่วมมือให้กินข้าวพันธุ์หอมมะลิแดงให้ได้ทุกวันวันละ 3 มื้อ

“ปัญหาก็คือบางคนกินบ้างไม่กินบ้าง ไม่ครบ 3 มื้อตามที่ขอ เกิดจากการใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่ ชาวบ้านไม่นิยมรับ
ประทาน หลังจากนั้น 1 เดือนก็มาตรวจเลือดพบว่ามีผู้ป่วย 8 คนที่มีน้ำตาลลดลง แต่อีก 8 คนกลับมี น้ำตาลเพิ่มขึ้นและ 2 คนมีค่า
คงที่ ก็เลยทดลองต่ออีก 3 เดือนซึ่งพบว่ามี 4 คนที่น้ำตาลลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้อาจจะยังไม่มีความแน่นอน แต่ถือว่าเป็นการ
นำร่องให้เกิดมีการขยายผลการทดลองเพิ่มขึ้นกับชาวบ้านอีก 32 รายอย่างจริงจังมากขึ้นในขณะนี้ โดยจะมีการติดตามลึกไปถึง
พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อค่าน้ำตาลด้วย” นางดวงพร กล่าว

ข้าวพันธุ์พื้นบ้านสายพันธุ์ต่าง ๆ จะมีคุณค่าของสารอาหารในสัดส่วนที่สูงกว่าข้าวทั่วไปที่นิยมกันในปัจจุบัน อย่างเช่นข้าวหอมมะลิแดง
หรือข้าวก่ำ ที่มีเปอร์เซ็นต์ของสารต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินเอในอัตราส่วนที่มาก บางสายพันธุ์มีวิตามินอีสูงมากกว่าถึง 26 เท่า
ของข้าวทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก.





ที่มาข่าวจาก เดลินิวส์

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/หนุน-ข้าวหอมมะลิแดง-ต้านโรค.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/03/2012 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,556. ข้าวหอมมะลิสีชมพู Pink Rice





ข้าวหอมมะลิสีชมพู (แดง) ข้าวหอมมะลิแดง เป็นข้าวจ้าวที่เรารู้จักในชื่อของ “ข้าวมันปู” เม็ดข้าวมีสีน้ำตาลแดง ข้าวหอมมะลิแดง
มีประโยชน์มากกว่าข้าวขัดสี มีกากใยอาหารสูง มีไขมันในปริมาณที่มากกว่าข้าวขัดสีประมาณ 1 เท่า มีสารที่เรียกว่า แคโรทีน ซึ่ง
จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กมากกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง

ข้าวกล้องข้าวแดงหอมมี แป้ง ไขมัน โปรตีน ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูง มีเยื่อ (dietary fiber) และวิตามินบี 6 สูง


คุณประโยชน์ของข้าวหอมมะลิแดง
1. ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายป้องกันอาการท้องผูก ป้องกันมะเร็งลำไส้
2. ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอก
3. ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
4. ช่วยลดอาการเป็นตะคริว
5. เสริมสร้างเม็ดเลือด
6. ป้องกันโรคหัวใจ,
7. ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
8. ป้องกันโรคแขนขาไม่มีกำลังวังชา
9. ป้องกันโรคนอนไม่หลับ



http://www.familyfarmorganic.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:47 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/03/2012 9:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,557. เขตการค้าเสรีอาเซียน


เขตการค้าเสรีอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Free Trade Area) หรือ อาฟต้า (AFTA) เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่
ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด


หลักการ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิด
เสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวย
ต่อการค้าเสรี

กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ AFTA คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งกำหนดให้ประเทศ
สมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่น
สำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันด้วย ทั้งนี้ CEPT ได้กำหนดให้สินค้าที่ได้รับ
ประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถ
คำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%


http://th.wikipedia.org/wiki






ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ อะไร
มีเป้าหมายอย่างไร และ
ไทยได้ประโยชน์อย่างไร


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน ภายหลัง
การลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วมมือต่าง ๆ เป็นลำดับและในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประ
ชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ
การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐ
กิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาเซียนมี
อำนาจซื้อสูงขึ้นตามมา เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนอง
การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี

การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง อาเซียนจึงมีโครง
การเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย
กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟ
ให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย

ขณะที่การเจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าทีว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้ ประเทศ
ต่าง ๆ จึงได้พยายามที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคี หรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม
เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี
และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป

หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทาง
การค้า และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งอาเซียนยัง
มีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
มายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม

http://hq.prd.go.th


ACE คือ อะไร

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
สำหรับอาเซียนและประเทศไทยอย่างน้อย 3 ประการ คือ

1. อาเซียนกำลังจะมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

2. กฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นธรรมนูญฉบับแรกของอาเซียนในรอบ 40 ปี นับแต่มีการจั้ดตั้งและเป็นครั้งแรกที่มีการให้สถานะนิติ
บุคคลแก่อาเซียนซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ และ

3. ไทยกำลังจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมศกนี้ ไปจนถึงธันวาคมศกหน้า


ไทยจะได้ประโยชน์อะไร
ถามว่าทำไมต้องสร้างประชาคมอาเซียนและเมื่อสร้างแล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร อาเซียนเป็นกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคกลุ่ม
แรกๆ ของโลกที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ปี 2510 โดยที่ผ่านมา แม้ภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลากหลาย ตั้งแต่ภัยคอม
มิวนิสต์ สงครามอินโดจีน การแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจเพื่อเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคในยุคสงครามเย็น แต่ความร่วมมือในกรอบ
อาเซียนก็ทำให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้มีความสงบสุข มั่นคง ปราศจากการใช้อาวุธเพื่อทำสงครามมาเป็นเวลากว่า 40 ปีโดยมี
ผลทำให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาของประเทศสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของ
ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า และต่อต้านภัยคุกคามต่างๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ
เช่น ยุโรป อเมริกา เอเชีย และแอฟริกาต่างก็รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างโอกาสและอำนาจต่อรอง และเพิ่มความสามารถในการแข่ง
ขันทางการค้าและการลงทุน ทั้งสหภาพยุโรป (EU) เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NAFTA) สหภาพแอฟริกา (AU)
เป็นต้น


ในบริบทเช่นนี้ ประเทศไทยประเทศเดียวมีประชากรแค่ 60 กว่าล้านคน มี GDP 4 พันกว่าล้านบาท คงไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่ม
ประเทศเหล่านี้ หรือมหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างจีนหรืออินเดียได้ แต่ถ้ารวมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นตลาดและฐาน
การผลิดเดียวสำเร็จ เราจะมีประชากรรวมเกือบ 600 ล้านคน หรือ 1 ใน 10 ของประชากรโลก ที่มี GDP รวมเกือบ 30,000 ล้าน
บาท นับเป็นตลาดและแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพมหาศาล และยังเป็นฐานของไทยในการค้าขายกับตลาดอื่นๆ นอกภูมิภาคอีกด้วย นับ
ตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2535 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จนขณะนี้
คิดเป็นเกือบ 20% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และทำให้อาเซียนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยแซงหน้าสหรัฐฯ
และยุโรปไปแล้ว

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนยังจะช่วยกระชับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรง
ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ปัญหาความยากจน โรคติดต่อ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แรงงาน ผู้ด้อย
โอกาส โดยสิ่งเหล่านี้จะนำให้ประชาชนไทยและอาเซียนจะอยู่ในสังคมที่มีความแข็งแกร่ง มีจริยธรรมและธรรมาภิบาล และก่อให้
เกิดความพอเพียงในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

AEC คืออะไร
อาเซียนให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากการดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขต
การค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
(ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEANEconomic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
(European EconomicCommunity: EEC) และให้อาเซียนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิ
ภาพมากยิ่งขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบให้มีการ
รวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภายในปี 2563 และให้เร่งรัด

การรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์
ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศและสุขภาพ


เป้าหมายของ AEC
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยมีแนวคิดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขต
การผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือ Single market and production base นั่นหมายถึงจะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้
อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงานมาร่วมในการ
ผลิต มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์กฎระเบียบเดียวกัน


http://115.31.173.10/anda/krabi/webboard/showQAnswer.asp?qNo=16055


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:48 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/03/2012 11:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,558. การขาดแคลนธาตุอาหารพืช


อาการผิดปกของพืชเมื่อขาดแคลนธาตุอาหาร
รากเน่า - ขาดแคลนโพแทสเซียม

ลักษณะอาการของใบ:
- ปลายและขอบใบไหม้ - ขาดแคลนโพแทสเซียม
- ใบอ่อนที่งอกออกมาใหม่สูญเสียสีเขียว - ขาดแคลนเหล็ก; ขาดแคลนไนโตรเจน
- ใบแก่โดยทั่วไปมีสีเหลืองและแห้ง - ขาดแคลนไนโตรเจน
- ใบมีสีเหลืองและแห้งหลังจากขังน้ำในนา - ขาดแคลนสังกะสี

- การแตกกอลดลง - ขาดแคลนไนโตรเจน
- การออกดอกไม่สม่ำเสมอ - ขาดแคลนฟอสฟอรัส
- ออกดอกล่าช้า - ใช้บ่งบอกถึงการขาดแคลนฟอสฟอรัส

การขาดแคลนไนโตรเจน
พืช - แคระแกร็น และเป็นสีเหลือง
ใบ - โดยทั่วไปเป็นสีเหลือง

ในพืชอายุน้อย - พืชทั้งต้นจะเป็นสีเหลือง
ในพืชแก่ - อาการที่แสดงการขาดแคลนจะอยู่ในส่วนของใบแก่

การแตกกอ - ลดลงมากมาย
การออกดอก - อาจล่าช้า?
การเกิดขึ้นของเมล็ด - จำนวนเมล็ดต่อรวงจะลดลง

การขาดแคลนฟอสฟอรัส - ยากที่จะตรวจพบจนกว่าจะเกิดอย่างรุนแรง
ราก - อาจจะอ่อนแอ
พืช - แคระแกร็น
ใบ - สีเขียวเข้ม นอกจากนั้นอาจมีสีม่วงเกิดขึ้น
การแตกกอ - ลดลง
การออกดอกจะล่าข้า หรือออกดอกไม่สม่ำเสมอ
การเกิดขึ้นของเมล็ด - ลดลง


โดยทั่วไปในอดีต ทั้ง P และ K ได้ถูกจำแนกว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากโดยเฉพาะช่วยป้องกันความเป็นพิษของ
ธาตุเหล็กในรูป Fe2+ (ยังคงมีการถกเถียงกันว่าความเป็นพิษของเหล็กนั้นเป็นสาเหตุเนื่องมาจากความเป็นพิษของ Fe2+ โดย
ตรง หรืออาจเนื่องมาจากการขาดแคลนธาตุโพแทสเซียมและ/หรือธาตุฟอสฟอรัสที่ทำให้รากอ่อนแอ อย่างไรก็ตามการขาดแคลน
ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมก็จะชักนำให้รากมีความอ่อนแอ และรากจะเกิดเป็นสีดำ (ตาย) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ รากที่มีการเจริญ
เติบโตปกติจะมีสีขาวหรือเป็นสีน้ำตาล)


การขาดแคลนโพแทสเซียม
ราก - อาจเน่า
พืช - แคระแกร็นแต่ไม่รุนแรง
ใบ - ห้อยลง

ใบแก่ที่บริเวณปลายใบและขอบใบมีอาการไหม้ (สีเหลืองหรือสีส้มจนถึงเป็นสีน้ำตาล ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะเริ่มจากปลายใบ
ไปทางโคนใบ)

การแตกกอ - ถ้าขาดแคลนอย่างรุนแรง จะทำให้การแตกกอลดลงบ้าง
การออกดอก - ยังไม่พบว่าการขาดแคลนโพแทสเซียมมีผลหรือไม่
การเกิดขึ้นของเมล็ด - ขนาดและน้ำหนักของเมล็ดจะลดลง


โดยทั่วไปในอดีต ทั้ง P และ K ได้ถูกจำแนกว่ามีความสำคัญต้องการเจริญเติบโตของราก โดยเฉพาะช่วยป้องกันความเป็นพิษของ
ธาตุเหล็กในรูปของ Fe2+
(ยังคงมีการถกเถียงกันว่าความเป็นพิษของเหล็กนั้นเป็นสาเหตุเนื่องมาจากความเป็นพิษของ Fe2+ โดยตรง หรืออาจเนื่องมาจากการ
ขาดแคลนธาตุโพแทสเซียม และ/หรือ ธาตุฟอสฟอรัสที่ทำให้รากอ่อนแอ อย่างไรก็ตามการขาดแคลนฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมก็
จะชักนำให้รากมีความอ่อนแอ และรากจะเกิดเป็นสีดำ (ตาย) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรากที่มีการเจริญเติบโตปกติจะมีสีขาวหรือเป็นสี
น้ำตาล)


การขาดแคลนสังกะสี
ข้าวจะมีอาการดีขึ้นจากที่เคยแสดงความผิดปกติหลังจากเมื่อมีการระบายน้ำออกจากนา

ใบ :
สูญเสียคุณสมบัติในเรื่องของความเต่งและมีแนวโน้มพับลงมาในน้ำ
มีสีเขียวอ่อนครึ่งหนึ่งของใบบริเวณโคนใบใน
ช่วง 2-4 วัน หลังจากน้ำท่วม
สูญเสียสีเขียว โดยมีลักษณะเป็นจุดและเริ่มแห้งในช่วง 3-7 วัน หลังจากน้ำท่วม
สูญเสียสีเขียวทั้งใบกรณีถ้าขาดรุนแรงในช่วง
ที่มีน้ำท่วมสูงสุด

การแตกกอ -
การออกดอก -
การเกิดขึ้นของเมล็ด -

การขาดแคลนเหล็ก
พืช -
ใบ - ใบที่งอกมาใหม่จะสูญเสียสีเขียว
การแตกกอ -
การออกดอก -
การเกิดขึ้นของเมล็ด -



โดยทั่วไปในอดีต ทั้ง P และ K ได้ถูกจำแนกว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของราก โดยเฉพาะช่วยป้องกันความเป็นพิษของ
ธาตุเหล็กในรูปของ Fe2+ ยังคงมีการถกเถียงกันว่าความเป็นพิษของเหล็กนั้นเป็นสาเหตุเนื่องมาจากความเป็นพิษของ Fe2+ โดยตรง
หรืออาจเนื่องมาจากการขาดแคลนธาตุโพแทสเซียม และ/หรือ ธาตุฟอสฟอรัสที่ทำให้รากอ่อนแอ อย่างไรก็ตามการขาดแคลนฟอสฟอรัส
และโพแทสเซียมก็จะชักนำให้รากมีความอ่อนแอ และรากจะเกิดเป็นสีดำ (ตาย) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรากที่มีการเจริญเติบโตปกติจะมี
สีขาวหรือเป็นสีน้ำตาล)




เอกสารอ้างอิง: Mueller, K.E. 1980. Field Problems of tropical Rice. IRRI. Miley, W.N., Huey, B. and Helms, R. Growing Rice on
Alkaline Soils. Cooperative extension Service, Univ. of Arkansas. USDA. EL470.



http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/Technology%20Changes_Rice/07.p;ant%20nutrition%20mang.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/03/2012 12:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,559. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ pH ของสารละลายธาตุอาหารและการปรับ pH

โดย ผศ.ดร. ยงยุทธ เจียมไชยศรี
โทรศัพท์ 08-16277287 หรือ 0-2331 1127


ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของสารละลายธาตุอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปลูกเลี้ยงพืชในแบบไฮโดรโพนิกส์ พืชจำเป็น
ต้องดูดซึมธาตุอาหารต่างๆ เข้าไปในต้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโตทั้งในการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์และการปลูกในดิน ไม่ว่า
สารละลายธาตุอาหารจะดีมากเพียงใดพืชอาจเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควรและอาจมีปัญหาได้ถ้า pH สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป พืชจะดูด
ซึมธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองได้เป็นปกติก็ต่อเมื่อ pH ของสารละลายธาตุอาหารอยู่ในช่วงที่เหมาะสม


ค่า pH มีความสำคัญ
ค่าที่บ่งชี้ความเป็นกรดเป็นด่างของสารละลายคือค่า pH ที่มีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 (เป็นกรดสูงอย่างยิ่ง) ถึง 14 (เป็นด่างหรือเป็นเบส
สูงอย่างยิ่ง) โดยที่ถือเอาว่า pH 7 เป็นกลางเพราะมีความเป็นกรด (H+) และความเป็นด่าง (OH-) เท่ากัน ที่ระดับ pH ที่แตกต่าง
กันหนึ่งหน่วยเช่น pH 5 กับ pH 6 ความเป็นกรดมีค่าต่างกัน 10 เท่า และสารละลายที่มี pH 5 มีความเป็นกรด 100 เท่าของสาร
ละลายที่มี pH 7 พืชส่วนใหญ่ชอบสารละลายที่เป็นกรดเล็กน้อย ในปัจจุบันขอแนะนำให้ปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ใน
ช่วง 6.0 ถึง 6.5 เนื่องจาก pH ของสารละลายธาตุอาหารที่ปลูกเลี้ยงมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงควรถือเอา pH 6.0 เป็นเป้า
หมายในการปรับ ในช่วงที่เริ่มมีการปลูกพืชโดยไม่ใช่ดินในประเทศไทย มักจะถือเอาว่าค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ที่ 5.5 และรักษาระดับ
pH ของสารละลายธาตุอาหารอยู่ในช่วง 5.2 ถึง 5.8 การปรับสารละลายธาตุอาหารให้มี pH ประมาณ 5.5 อยู่เสมอทำให้พืชผัก
เจริญเติบโตถ้าไม่มีโรครากเน่ารบกวน แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครากเน่าสูง การปรับ pHของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ในช่วง
6.0 ถึง 6.5 เมื่อใส่สปอร์ของเชื้อไตรโคเดอร์มาลงไปด้วยจะให้ผลดีทั้งทางด้านการปลอดโรครากเน่าและด้านการเจริญเติบโตของ
พืชผักที่ไม่แพ้การปรับ pH ให้มีเป้าหมายอยู่ที่ pH 5.5 เมื่อใช้ไตรโคเดอร์มาจะไม่มีการตกตะกอนของแคลเซียมฟอสเฟตในช่วง pH
ดังกล่าว ถ้าท่านอ่านเอกสารจากต่างประเทศอาจพบว่าระดับ pH ที่แนะนำให้ปรับต่ำกว่าที่แนะนำไว้ในเอกสารนี้ เช่นบางเอกสารแนะนำ
ให้ปรับให้อยู่ในช่วง 5.2 ถึง 5.8 โดยที่มีจุดเหมาะสมอยู่ที่ 5.5 ดังที่เราเคยใช้กันมาก่อนในประเทศไทยในช่วงที่เริ่มมีไฮโดรโพนิกส์
ซึ่งเราใช้ข้อมูลของต่างประเทศที่มีอากาศเย็นกว่าเราเป็นหลัก เอกสารต่างประเทศบางฉบับแนะนำให้ใช้ pH 5.5 – 6.1 โดยที่มีจุด
เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ pH 5.8 ค่า pH 5.8 นี้อาจใช้ได้ดีในประเทศไทยสำหรับกรณีที่ใช้เครื่องปรับ pH อัตโนมัติเพราะจะไม่มีการพลาด
ต่ำไปบ้างเหมือนการปรับด้วยมือ การปรับ pH ด้วยมือในประเทศไทยโดยที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 6.0 น่าจะเหมาะสมกว่าโดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในช่วงที่มีอากาศร้อนเพราะถ้าพลาดต่ำไปบ้างก็ยังไม่ต่ำมากนัก ในช่วงที่อากาศร้อนจัดมากๆ อาจใช้เป้าหมายของการปรับที่เท่ากับ
6.5 ตามคำแนะนำของคุณอรรถพร สุบุญสันต์(http://www.phutalay.com/home/?p=776 )
เราควรปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารในฤดูต่างๆ



ค่า pH ที่เหมาะสมกับฤดูกาล
ช่วงฤดูหนาว ควรปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 5.5-6.0 ค่า EC 1.5-1.6 เพราะในฤดูหนาวมีโรครบกวนน้อย
จึงปลูกผักที่ pH ระดับต่ำที่เหมาะกับการเจริญเติบโตได้

ช่วงฤดูฝน ควรปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 5.5 ค่า EC 1.6-1.7 เพราะในฤดูฝนสารละลายอุ่นขึ้นแต่ยังจะไม่
ร้อนมากเหมือนในฤดูร้อน

ช่วงฤดูร้อน ควรปรับ pHของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 6.5-6.8 ค่า EC 1.2-1.4 เพราะในฤดูนี้สารละลายอุ่นขึ้นมาก ในสภาพ
ที่มี pH ค่อนข้างสูงเช่นนี้ การใช้ไตรโคเดอร์มาและเหล็กคีเลทชนิดที่ทน pH สูงได้ดังที่จะกล่าวต่อไปภายหลังเป็นสิ่งที่จำเป็น ขอแนะนำ
ให้อ่านบทความเรื่องการปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารในฤดูต่างๆ ของคุณอรรถพร สุบุญสันต์ และบทความทางด้านการใช้ไตร
โคเดอร์มาในไฮโดรโพนิกส์ของ รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง และของคุณอรรถพร สุบุญสันต์ ( http://www.phutalay.com/home/?p=776 )

pH ที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปเป็นปัญหาที่พบบ่อย ยกเว้นในกรณีที่ใช้เครื่องปรับ pHอัตโนมัติและเครื่องวัดนั้นได้รับการปรับเทียบมาตร
ฐานอยู่เสมอ เนื่องจากผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่ปรับ pH ด้วยมือ ปัญหานี้จึงยังมีความสำคัญอย่างมาก ระดับ pH มีผลกระทบต่อการดูด
ซึมธาตุอาหารของรากและการใช้ประโยชน์ของธาตุอาหารในพืช เช่น pH ที่สูงกว่า 7.5 ทำให้เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน
และโมลิบดีนัมเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยลง pH ที่ต่ำกว่า 5.5 ที่อุณหภูมิค่อนข้างสูงเช่นสูงกว่า 26°C จะส่งเสริมการเกิดโรคราก
เน่า pH ต่ำทำให้เกิดการขาดแคลเซียม แต่ถ้า pH สูงเกินไปแคลเซียมและฟอสเฟตก็ตกตะกอนและไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดย
ทั่วไปเพื่อการปลูกเลี้ยงดำเนินไป pH ของสารละลายจะเพิ่มขึ้น เราจำเป็นต้องปรับ pH ให้กลับตัวสู่ช่วงที่เหมาะสมอยู่เสมอ


ค่า pH มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทำไม pH ของสารละลายจึงเปลี่ยนแปลง ในการดูดซึมธาตุอาหารที่อยู่ในรูปอนุมูลลบ (ธาตุหรือหมู่ธาตุอาหารที่ถือประจุลบ เช่นไนเตรท
หรือฟอสเฟตเป็นต้น) พืชจะปล่อยด่าง (OH-) ออกมาแลกเปลี่ยน ส่วนการดูดซึมธาตุอาหารที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก (ธาตุหรือหมู่ธาตุ
อาหารที่ถือประจุบวก เช่นโพแทสเซียม แอมโมเนียม แมกนีเซียม เป็นต้น) พืชจะปล่อยกรด (H+) ออกมาแลกเปลี่ยน ดังนั้นผลต่าง
ระหว่างการดูดซึมอนุมูลบวกกับอนุมูลลบจะทำให้มีผลต่างระหว่างกรดกับด่าง (เบส) ซึ่งจะทำให้มีกรดหรือด่างเพิ่มขึ้นจนทำให้ pH
เปลี่ยนแปลง ถ้าดูดซึมอนุมูลลบมากกว่าอนุมูลบวก pH จะเพิ่มขึ้นเพราะพืชปล่อยด่างมากกว่ากรดดังที่เราพบบ่อย ในทางกลับกันถ้า
พืชดูดซึมอนุมูลบวกมากกว่าอนุมูลลบ pH จะลดลงเพราะพืชปล่อยกรดมากกว่าด่างดังที่เราพบในกรณีที่มีแอมโมเนียมอยู่ในสารละลาย
ธาตุอาหาร เนื่องจากพืชต้องการธาตุไนโตรเจนมากเพื่อการเจริญเติบโต และเราอาจให้ธาตุไนโตรเจนแก่พืชได้ทั้งในรูปที่เป็นหมู่ธาตุที่
ถือประจุลบ (ไนเตรท,NO3-) และในรูปที่เป็นหมู่ธาตุที่ถือประจุบวก (แอมโมเนียม ,NH4+) อัตราส่วนของสองรูปของไนโตรเจนนี้
จึงมีผลอย่างมากต่อทิศทางของการเปลี่ยนแปลงและความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของ pH ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลง pH อาจรวด
เร็วเกินคาดเราจึงควรเฝ้าตรวจ pH อย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลง pH มากในทิศทางที่ pH ต่ำลงอาจทำให้รากเสียได้ เช่นใน
กรณีของการปลูกเลี้ยงผักสลัดด้วยสารละลายธาตุอาหารที่มีแอมโมเนียมและปล่อยให้ pH ต่ำกว่า6.0 ในกรณีเช่นนี้ควรรักษาระดับ pH
ไว้ที่ 6.5 เพื่อลดผลเสียของแอมโมเนียม และเพื่อรักษาระดับ pH ของสารละลายที่อยู่ชิดกับผิวรากแต่ละเส้นที่สานกันอยู่ไม่ให้ต่ำมาก
สารละลายในบริเวณที่ชิดกับผิวรากจะถูกชะออกไปช้าเมื่อรากปล่อยกรด สารละลายส่วน root zone นี้จะมี pH ต่ำกว่าสารละลาย
ที่ไหลเวียนอยู่ในระบบและถึงขั้นที่ทำให้รากเสียด้วยกรดที่รากปล่อยออกมาเองได้ ถ้าปล่อยให้สารละลายในระบบมี pH ค่อนข้าง
ต่ำถึงแม้จะไม่ต่ำมาก การมีแอมโมเนียมอยู่ในสารละลายธาตุอาหารอาจเกิดขึ้นได้จากการจงใจใช้โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟตในสูตร
สารละลายธาตุอาหารเช่นสูตรผักจีน หรืออาจเกิดขึ้นได้จากการใช้แคลเซียมไนเตรทชนิดที่มีลักษณะแห้งและเป็นเม็ดกลมๆ ซึ่งมีไน
โตรเจนในรูปแอมโมเนียมอยู่หนึ่งเปอร์เซ็นต์เศษ ในกรณีเช่นนี้เมื่อเปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารใหม่ๆควรตั้งเป้าหมายในการปรับ
pH ไว้ที่ 6.5 เมื่อใช้กับผักสลัด สำหรับการปลูกผักจีนและผักร็อกเกตควรมีแอมโมเนียมอยู่ในสารละลายธาตุอาหารเพื่อให้ผัก
เจริญเติบโตดี ในการปลูกผักร็อกเกตของผู้เขียนมีการเติมโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟตลงไปในถังสารละลายเป็นช่วงๆ ในปริมาณ
ที่จะทำให้พืชปล่อยกรดออกมาปรับ pH ของสารละลายโดยไม่ต้องเติมกรดเลย ผักร็อกเกตที่ได้งามดีสีเขียวเข้มและกลิ่นรสเข้มข้น

การสังเคราะห์แสงในเวลากลางวันอาจทำให้เกิดไฮโดรเจนไอออน (กรด) ขึ้นมาบ้างและอาจทำลายบางส่วนของด่างที่เกิดจากการดูด
ซึมไนเตรทและจากการดูดซึมอนุมูลลบอื่นๆ ไปบ้าง อย่างไรก็ตามทิศทางของการเปลี่ยนแปลง pH ในเวลากลางวันโดยทั่วไปก็ยังมี
ทิศทางไปในทางที่เป็นด่างเพิ่มขึ้น (pH สูงขึ้น) อยู่ดี และจะมี pH เพิ่มขึ้นเร็วมากในระยะที่ผักเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งมีการดูดซึม
ไนเตรทมาก ในเวลากลางคืนจะไม่ได้ไฮโดรเจนไอออนจาการสังเคราะห์แสง แต่กลับมีปัจจัยที่มาเพิ่มด่างที่เกิดจากการดูดซึมไนเตรต
และอนุมูลลบอื่นๆ นั่นคือการหายใจของพืชและจุลินทรีย์และการสลายกรดอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นโดยจุลินทรีย์ ดังนั้นการเพิ่ม pH ของ
สารละลายธาตุอาหารในเวลากลางคืนอาจมากว่าที่คาด เราควรตรวจวัด pH และปรับ pH ตั้งแต่เช้า ในสภาพที่มีแสงน้อย เช่น ในช่วง
ที่มีเมฆมากพืชมักจะดูดซึมโพแทสเซียมจากสารละลายธาตุอาหารมากขึ้นในขณะที่ดูดซึมไนเตรตน้อยกว่าในสภาพที่มีแดด ดังนั้นพืชจะ
ปล่อยกรดออกมามากขึ้นแต่ปล่อยด่างออกมาน้อยลง สารละลายธาตุอาหารจะมีการเพิ่ม pH ช้าลงและในบางกรณีอาจถึงขั้นที่มี pH
ลดลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีแอมโมเนียในสารละลาย การดูดโพแทสเซียมเพิ่มมากขึ้นในสภาพที่มีแสงน้อยเช่นนี้
อาจอธิบายปรากฏการณ์ที่เราพบว่าหลังฝนตกสารละลายปลูกเลี้ยงมักเป็นกรด นอกจากพืชจะปล่อยกรดออกมามากขึ้นแล้ว น้ำฝนยัง
เป็นน้ำที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลง pH เพราะไม่มีเกลือแร่ที่สามารถต้านการเปลี่ยนแปลง pH อีกด้วย จากที่กล่าวมาแล้วนี้คงจะเห็นได้
ว่าการเติมกรดเพื่อปรับ pH จึงไม่ควรทำ “อย่างที่เคย” ทุกวันไปเพื่อป้องกันการเติมเกิน การเติมต้องดูจากการวัด pH และถ้าจะหยด
กรดเจือจางมากเพื่อรักษา pH ให้คงที่ หลังจากการปรับ pH แล้ว (ดังที่ได้กล่าวถึงภายหลัง) ควรพิจารณาถึงดินฟ้าอากาศ อัตราการ
เจริญเติบโตและขนาดของผักด้วย


ค่า pH มีอิทธิพลต่อการละลายของธาตุอาหาร
โดยทั่วไป pH ของสารละลายธาตุอาหารจะมี pH สูงขึ้นตามลำดับ เมื่อมีจำนวนต้นของผักต่อสารละลายธาตุอาหารหนึ่งลิตรมาก pH
อาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนต้องปรับ pH วันละหลายครั้ง ถ้าไม่ทำเช่นนั้น pH จะเพิ่มขึ้นสูงมากจนทำให้ธาตุอาหารบางอย่างตกตะกอน
รากพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารจากสารละลายธาตุอาหารเมื่อธาตุอาหารอยู่ในรูปสารละลายที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อธาตุอาหารไปอยู่
ในรูปตะกอนไม่ว่าจะละเอียดเพียงใดหรือในรูปสารแขวนลอยละเอียดพิเศษ ธาตุอาหารเหล่านั้นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช พืชจะแสดง
อาการทางใบให้เราเห็นเมื่อพืชขาดธาตุอาหารไปสักระยะหนึ่งซึ่งเป็นระยะที่สายไปเล็กน้อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือในกรณี
ของธาตุเหล็กที่เป็นธาตุที่จำเป็นซึ่งการละลายอยู่ในรูปสารละลายได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเพิ่ม pH แม้ว่าจะใช้เหล็กในรูป
เหล็กคีเลท การเพิ่ม pHของสารละลายธาตุอาหารก็ยังมีผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เหล็ก EDTA ที่ pH ประมาณ 6.4 เหล็ก
EDTA จะสลายตัวและเหล็กหลุดออกมาเกิดเป็นสารประกอบของเหล็กที่เป็นตะกอน เหล็ก DTPA จะทนได้จนถึง pH ประมาณ
7.4 ส่วนเหล็ก EDDHA (เหล็กแดง) จะทนได้ถึง pH ที่เกิน 10 ซึ่งเราไปไม่ถึงระดับนั้น เหล็ก EDDHA มีแนวโน้มที่จะเป็นสาร
แขวนลอยอยู่บ้างและส่วนนั้นไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จนกว่าจะละลายเป็นสารละลายที่แท้จริง

ตัวอย่างที่สำคัญของผลเสียที่เกิดจาก pH สูงอีกอย่างหนึ่ง คือ การใช้ประโยชน์ได้ของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ pH สูงกว่า 6.0 การ
ละลายได้ของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของฟอสเฟตจะลดลงและมีตะกอนของแคลเซียมฟอสเฟตเกิดขึ้นในขณะที่ธาตุ
อื่นยังอยู่ในรูปสารลายเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าธาตุอาหารรองบางชนิดอาจตกตะกอนร่วมไปกับตะกอนของแคลเซียมฟอส
เฟตด้วย การเจริญเติบโตของผักที่ pH สูงกว่า 6 มักด้อยกว่าที่ pH 5.5-5.8 แต่เมื่อใส่ไตรโคเดอร์มาในสารละลายธาตุอาหารเรา
สามารถปลูกเลี้ยงผักได้ดีมากที่ pH ในช่วง pH 6.0-6.5 ที่แนะนำไว้โดยที่ไม่มีตะกอนในรางปลูกและผักใช้ประโยชน์จากธาตุอาหาร
ได้ดีดังที่กล่าวมาแล้ว


การวัดค่า pH มีความสำคัญมาก
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่าเราจำเป็นต้องมีความสามารถในการวัด pH มีความเข้าใจในการเลือกชนิดของกรดที่จะใช้ใน
การลด pH และรู้วิธีการใช้กรดนั้นอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ผลดีอย่างมีความปลอดภัยต่อพืชผักที่เราปลูกและต่อตัวผู้ปลูกเลี้ยงด้วย
ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลง pH เป็นไปในทิศทางที่ต่ำลง (เป็นกรด) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางกรณีถึงแม้ว่าจะไม่บ่อยนักก็ตาม เราควร
มีความเข้าใจในการเลือกชนิดของสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างชนิดที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่ม pH ของสารละลายธาตุอาหาร และรู้วิธีการ
ใช้สารที่เป็นด่างนั้นอย่างถูกต้องที่ไม่ทำให้ธาตุอาหารตกตะกอน การเติมด่างลงไปในสารละลายธาตุอาหารมักจะทำให้ธาตุอาหาร
ตกตะกอนเป็นทางยาวตาวแนวที่เติมสารละลายของสารที่เป็นด่าง

การวัด pH อาจทำได้โดยใช้เครื่องวัด pH สารละลายของอินดิเคเตอร์ชนิดที่เหมาะสมซึ่งสีจะเปลี่ยนแปลงไปตาม pH ที่เปลี่ยนแปลง
ไป สารละลายนี้ในวงการเรียกกันว่าดรอปเทสท์หรือสารละลายเทียบสี หรือกระดาษเทียบสีที่เป็นกระดาษชุบสารละลายของ
อินดิเคเตอร์แล้วทำให้แห้งที่ผลิตจำหน่ายเป็นม้วนหรือเป็นชิ้นที่มีแถบสีที่ pH ต่างๆของอินดิเคเตอร์ชนิดนั้นๆให้มาด้วย

วิธีการวัด pH ที่ใช้เทคโนโลยีสูงสุดคือการใช้เครื่องวัด pH (pH มิเตอร์) แบบดิจิตัล เครื่องมือวัด pH มีอยู่มากมายหลายขนาด
หลายราคา ตั้งแต่ชนิดที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิจัยไปจนถึงนาดเล็กแบบพกพาที่ใช้กันในวงการไฮโดรโพนิกส์ pHมิเตอร์แบบพกพา
หรือที่เรียกว่าแบบมือถือนี้นำไปใช้ที่แปลงปลูกได้สะดวกและใช้ง่าย เพียงแต่จุ่มอิเล็กโทรด (กระเปาะแก้วที่อยู่ส่วนปลาย) ลง
ไปในสารละลายลงไปในสารละลายธาตุอาหารแล้วอ่านค่า pH ที่แสดงอยู่ที่จอ LCD ได้เลย pH มิเตอร์ให้การตรวจวัดที่เที่ยง
ตรงถ้าได้รับการปรับเทียบมาตรฐานด้วยสารละลายมาตรฐานที่มีจำหน่ายเป็นการค้าให้ถูกต้องอยู่เสมอ เช่นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
หรือบ่อยกว่านั้น อย่างไรก็ตามในการใช้ pH มิเตอร์ ผู้ใช้ควรมีความเข้าใจทางด้านการดูแลรักษาที่เหมาะสม มิฉะนั้นเครื่องอาจ
ไม่ทำงานหรือวัดได้ค่าที่ผิดพลาด อิเล็กโทรดที่เป็นกระเปาะแก้วที่บางมากนั้นควรได้รับการรักษาให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและเปียก
โดยใช้น้ำกลั่นตลอดเวลา pHมิเตอร์ แบบพกพามักจะใช้ไม่ทนจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับอิเลกโทรด pH มิเตอร์โดยทั่วไปไวต่ออุณ
หภูมิของสารละลายอยู่บ้างแต่มักไม่มีปัญหาเพราะเครื่องในปัจจุบันมีการชดเชยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยอัตโนมัติอยู่ด้วย
สำหรับเครื่องที่ไม่มีการชดเชยก็ใช้ได้ถ้าเราวัดสารละลายสารที่มีอุณหภูมิไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจาก pHมิเตอร์ อาจให้ผลการ
วัดที่คลาดเคลื่อนได้และบางครั้งอาจคลาดเคลื่อนไปมากถ้าไม่ได้รับการเปรียบเทียบมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ค่าที่ผิดพลาด
นี้เคยทำให้เกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงมาแล้ว ถ้าเลือกที่จะใช้การวัด pH โดยวิธีนี้ ผู้ใช้จำเป็นต้องปรับเทียบมาตรฐานโดยใช้สาร
ละลายมาตรฐานอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าทำให้มีภาระและสิ้นเปลืองค่าสารละลายมาตรฐานก็ต้องทำ ถ้ามีกิจการขนาดใหญ่พอสมควรน่า
จะมี pH มิเตอร์สำรองไว้ด้วย ในกรณีของกิจการขนาดเล็กอาจใช้สารละลายเทียบสีเป็นตัวทดสอบเมื่อสงสัยว่า pHมิเตอร์เราคลาด
เคลื่อนไปมาก ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะใช้สารละลายเทียบสีเป็นตัวเทียบมาตรฐานให้ pH มิเตอร์ เราทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะ
สารละลายเทียบสีให้ค่าที่มีความละเอียดไม่พอ ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วผู้เขียนจึงชอบใช้สารละลายเทียบสีมากกว่า pHมิเตอร์
เพราะความละเอียดในระดับสารละลายเทียบสีเพียงพอสำหรับงานไฮโดรโพนิกส์และไม่ต้องห่วงทางด้านการคลาดเคลื่อนของ
อุปกรณ์อีกด้วย

การใช้กระดาษเทียบสีหรือกระดาษวัด pH ที่ทำจากกระดาษอาบสารที่เปลี่ยนสีตาม pH (pH อินดิเค-เตอร์) หนึ่งชนิดหรือหลาย
ชนิดรวมกันเป็นทางหนึ่งในการวัด pH ของสรละลายธาตุอาหาร การวัด pH ทำได้โดยการจุ่มการดาษนั้นลงไปในสารละลายธาตุ
อาหารที่ต้องการวัดแล้วนำมาเทียบกับแถบสีที่ pH ต่างๆที่ผู้ผลิตให้มาด้วย โดยทั่วไปอ่านค่า pH จากกระดาษเทียบสีได้ยากกว่า
การอ่านค่าจากสารละลายเทียบสี เพราะในกรณีเทียบสีเราดูความแตกต่างของสีได้ยากและมือต้องสะอาดมากหรืออาจต้องใช้ปาก
คีบที่สะอาดจับกระดาษเทียบสี สารละลายที่ติดมากับกระดาษเทียบสีมีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สิ่งที่เปื้อนนิ้วมือจึงทำให้ค่าผิดพลาด
ได้ง่าย

ในปัจจุบันการใช้สารละลายอินดิเคเตอร์หรือที่เรียกกันว่าสารละลายเทียบสีหรือดรอปเทสต์เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับ
ผู้ปลูกเลี้ยงระดับต่างๆที่ไม่ได้ใช้เครื่องปรับ pH อัตโนมัติ การวัดด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการเติมสารละลายเทียบสีหนึ่งหยด (ถ้าสารละลาย
เทียบสีเจือจางอาจต้องใช้มากกว่าหนึ่งหยด) ลงไปยังสารละลายธาตุอาหารประมาณหนึ่งช้อนโต๊ะในภาชนะขาวขุ่น เช่น ถ้วย
โยเกิร์ตหรือถ้วยกระเบื้องสีขาวขนาดเล็กหรือช้อนกระเบื้องสีขาว แล้วดูสีเทียบกับแถบสีที่แสดงสีของอินดิเคเตอร์นั้นที่ pH ต่างๆ
ถ้าใช้สารละลายเทียบสีที่เป็นอินดิ-เคเตอร์ชนิดเดิมอยู่เสมอ หลังจากใช้ไปได้ไม่นานก็จะจำสีได้โดยไม่ต้องเทียบ วีธีนี้ทำได้ง่าย
กว่า เที่ยงตรงและไว้ใจได้มากกว่ากระดาษวัดpH เมื่อปี พ.ศ.2541 ผู้เขียนนำอินดิเคเตอร์ที่เป็น bromcresol purple ในระยะ
แรกยังมีผู้สงสัยว่าจะให้ผลที่ละเอียดพอหรือไม่แต่ไม่นานหลังจากนั้นสารละลายเทียบสีก็เป็นตัววัดpHที่นิยมใช้กันทั่วไป หลัง
จากนั้นเราค้นพบว่าไฮโดรโพนิกส์ในประเทศไทยควรใช้ pH สูงกว่าที่ใช้กันในต่างประเทศ เพราะสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูง
กว่าและผู้เขียนเริ่มสั่งเหล็ก EDDHA เข้ามาทดลอง เหล็กชนิดนี้ทำให้สารละลายธาตุอาหารมีสีแดง ผู้เขียนจึงเสนอให้ใช้ bromo-
thymol blue ซึ่งเหมาะสำหรับ pH ที่สูงขึ้นกว่าเดิมและวัด pH ของสารละลายธาตุอาหารที่มีแดงได้ดี อินดิเคเตอร์ ชนิดหลังนี้ได้
รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยมา นดิเคเตอร์ที่ให้สีต่างๆที่ pH ต่างๆที่นำมาใช้อาจเป็นสารเดี่ยวดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หรืออาจเป็นสารผสม
ของอินดิเคเตอร์สองชนิดหรือมากกว่า เมื่อสารให้สีที่ใช้แตกต่างกันแถบสีมาตรฐานที่ใช้เทียบก็จะต้องแตกต่างกันไปจะใช้สลับกันไม่ได้
อินดิเคเตอร์ที่เปลี่ยนสีในช่วงที่ต้องการวัดในกิจการไฮโดรโพนิกส์มีอีกหลายชนิดซึ่งอาจหาดูได้จากหนังสือทางเคมีต่างๆเช่น Merck
Index เป็นต้น ผู้เขียนมักจะแนะนำให้ใช้ pH อินดิเคเตอร์ที่เป็นสารเดี่ยวเพราะเตรียมให้เป็นสารละลายที่เหมือนกันทุกครั้งได้
ง่าย นอกจากนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้สารละลายเทียบสีที่มีความเข้มข้นของ pH อินดิเคเตอร์มากพอที่จะใช้เพียงหยดเดียวในการ
วัดแต่ละครั้งเพื่อความสะดวก ถ้าสารละลายของ pH อินดิ-เคเตอร์ของท่านเจือจางกว่านั้นอาจใช้สองหยดแต่ก็จะได้สีเหมือนกัน
และวัดได้ผลเท่ากันสำหรับอินดิเคเตอร์ชนิดนั้นๆ ผู้ปลูกเลี้ยงทั่วไปควรเลือกสารละลายเทียบสีชนิดใดชนิดหนึ่งจนแน่ใจว่าวัดได้
อย่างแม่นยำ แต่ถ้าท่านชอบทดลองและมั่นใจว่าไม่สับสนอาจมีไว้มากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้เพื่อการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษที่สารละลาย
เทียบสีชนิดที่ใช้เป็นหลักไปไม่ถึง pH นั้นๆ

เหตุใดจึงนิยมใช้กรดไนตริกสำหรับปรับค่า pH
โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลง pH ของสารละลายาตุอาหารที่ใช้ปลูกเลี้ยงจะไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้น (เป็นด่างเพิ่มขึ้น) ด้วยเหตุผลดัง
ที่กล่าวมาแล้ว สารหลักที่ใช้ในการปรับ pHของสารละลายธาตุอาหารจึงเป็นกรด เนื่องจากการเป็นด่างเพิ่มขึ้นของสารละลาย
ธาตุอาหารเป็นผลมาจากดูดซึมไนเตรตเข้าไปในพืชและพืชปล่อยด่างออกมาแลกเปลี่ยน กรดซึ่งเหมาะสมที่สุดจึงเป็นกรดที่
ให้ทั้งความเป็นกรด (H+) เพื่อลด pH ให้พอเหมาะและอนุมูลไนเตรต (NO3-)เพื่อชดเชยไนเตรตที่พร่องไปจากสารละลาย
ธาตุอาหารและทำให้ส่วนประกอบของสารละลายธาตุอาหารที่คล้ายคลึงกับเดิมมากที่สุด เราใช้กรดไนตริคในรูปที่เจือจางมาก
จึงไม่ต้องกลัวอันตรายจากการถูกกรดกัด ถ้าทำตามวิธีการที่จะได้กล่าวถึงต่อไปภายหลัง ตามความคิดเห็นของผู้เขียนแล้ว
กรดชนิดอื่นๆที่ได้รับการกล่าวไว้ในเอกสารต่างๆถึงแม้ว่าจะให้ความเป็นกรดในการปรับ pH ได้ แต่ก็มีความไม่เหมาะสมในแง่
ต่างๆ ดังนี้
- กรดกำมะถันจะให้ความเป็นกรด (H+) และอนุมูลซัลเฟต (SO42-) ซึ่งเป็นอนุมูลที่พืชต้องการอยู่บ้างแต่มีมากเกินพออยู่
แล้วเป็นอย่างมากจากแมกนีเซียมซัลเฟตและเราไม่ต้องการให้อนุมูลนี้เพิ่มขึ้นอีก

- กรดเกลือจะให้ความเป็นกรด (H+) และอนุมูลคลอไรด์ (Cl-) ซึ่งเป็นอนุมูลที่มีอยู่อย่างพอเพียงอยู่แล้วจากส่วนที่มีอยู่ในน้ำและ
อาจติดมาจากแม่ปุ๋ยต่างๆและเราไม่ต้องการให้อนุมูลนี้เพิ่มขึ้นอีก

- กรดฟอสฟอริคจะให้ความเป็นกรด (H+) และอนุมูลฟอสเฟต (ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต,H2PO4-) ซึ่งเป็นอนุมูลที่มีประโยชน์
ต่อพืชแต่พืชดูดซึมฟอสเฟตไปเพียงเล็กน้อย ถ้าเราเติมกรดในรูปกรดฟอสฟอริคความเข้มข้นของฟอสเฟตจะสูงขึ้นมากในขณะ
ที่ไนเตรตต่ำลงเพราะพืชดูดซึมไปมากแต่ไม่ได้รับการชดเชย อัตราส่วนระหว่าง NRazz ในสารละลายธาตุอาหารจะเปลี่ยนไปมาก
จนไม่เป็นไปตามความต้องการของพืชผัก กรดฟอสฟอริคนี้ได้รับการกล่าวถึงเพราะเป็นกรดอนินทรีย์ที่แตกตัวเป็นกรดน้อย ผู้แนะนำ
มุ่งไปทางความปลอดภัยแม้ใช้อย่างไม่ถูกต้อง การที่แตกตัวเป็นกรดน้อยทำให้ต้องใช้มากอัตราส่วนระหว่าง NRazz จึงผิดไปจากเดิม
อย่างมาก กรดอินทรีย์บางชนิดก็ได้รับการกล่าวถึงด้วยความกลัวกรดอนินทรีย์ กรดอินทรีย์ เช่นกรดน้ำส้ม (กรดอาซีติก) และ

- กรดมะนาว (กรดซิตริค) กรดเหล่านี้แตกตัวเป็นกรดน้อยทำให้ต้องใช้มากและกรดเหล่านี้ให้อนุมูลอาซีเตทและอนุมูลซิเตรตที่
จุลินทรีย์ใช้ได้ด้วย โอกาสที่จะมีแบคทีเรียเจริญในสารละลายย่างมากและใช้ออกซิเจนในน้ำไปมากจึงมีอยู่สูง เราจึงไม่ควร
ใช้กรดเหล่านี้ โดยสรุป คือเราควรใช้กรดไนตริคและใช้อย่างถูกต้องและทำให้ได้ผลดี มีความถูกต้องทางเทคนิคและมีความ
ปลอดภัยพร้อมกันไป


ตัวอย่างการปรับค่า pH ของสารละลายธาตุอาหาร
ต่อไปนี้เป็นวิธีการใช้กรดไนตริคที่ผู้เขียนใช้อยู่ที่จะนำมากล่าวไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ท่านอาจดำเนินการที่แตกต่างจากนี้ได้
เมื่อทำความเข้าใจแล้ว กรดไนตริคเข้มข้น/กรดอุตสาหกรรมมีความเข้มข้นประมาณ 68% ถ้าเป็นกรดไนตริคเข้มข้นที่ใช้
ในห้องปฏิบัติการความเข้มข้นจะสูงกว่านี้เล็กน้อย ไม่ว่ากรดเข้มข้นที่ได้มาจะมีความเข้มข้นเท่าใดเราใช้วิธีเดียวกันได้เพราะทุกอย่าง
เป็นไปโดยประมาณ ส่วนที่ปรับอย่างเที่ยงตรงเป็นขั้นสุดท้ายเป็นค่า pH ของสายละลายธาตุอาหาร ขั้นแรกเราควรทำให้กรดที่ได้
รับเป็นกรดเจือจางขั้นที่หนึ่งที่เจือจางลง 0 เท่าและเก็บไว้ในรูปนี้ ตัวอย่างเช่นเราซื้อกรดไนตริคเข้มข้นมา 2 ลิตร และขวดที่เรามีอยู่
มีขนาดประมาณ 3 ลิตร และเราจะบรรจุกรดเจือจางขวดละ 2.5 ลิตร เราจะนำขวดเปล่าที่สะอาด 8 ขวดมาบรรจุน้ำขวดละประมาณ
2.25 ลิตร และเรียงไว้กลางแจ้งนอกบ้านที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงหรือเด็ก รินกรด 0.25 ลิตร ลงในภาชนะแก้วที่มีขีดวัดปริมาตร เช่น ถ้วย
ตวงแก้วไพเร็กซ์ที่มีหูจับและปากสำหรับช่วยในการเท รือขวดกาแฟที่เราทำขีดไว้ตรงที่มีปริมาตรที่ต้องการเมื่อได้ปริมาตรที่ต้องการ
แล้วเทกรดผ่านกรวยลงไปในขวดที่บรรจุน้ำทีละขวด ปิดฝาเขย่าให้เข้ากัน ในกรณีของกรดเข้มข้นมากเราจะเติมกรดลงไปในน้ำ แต่
หลังจากทำให้เจือจาง 1:10 แล้วเช่นนี้เราจะเทกรดลงไปในน้ำหรือเทน้ำลงไปในกรดก็ได้ เราจะเก็บขวดกรดไนตริคที่ทำให้เจือจาง
แล้ว 10 เท่าที่ปิดฉลากบอกว่าบรรจุกรดเจือจาง 10 เท่าไว้ ในที่ร่ม ในที่ที่เด็กเข้าไม่ถึง เมื่อจะใช้ปรับ pH ของสารละลายธาตุ
อาหารในกรณีของ NFT ควรนำกรดเจือจาง 10 เท่านั้นมาทำให้เจือจางเพิ่มเติมอีกประมาณ 10 เท่าเช่นในขวดนมขนาด 850 มิล
ลิลิตร เจาะรูเล็กๆที่ฝาสำหรับผู้ที่ปลูกเลี้ยงเป็นชุดเล็กๆ ต่อจากนั้นบีบขวดฉีดกรดเป็นเส้นเล็กๆ ลงไปยังสารละลายธาตุอาหารที่
กำลังไหลกลับลงถังเป็นเวลาประมาณ 2-3 วินาที รอให้น้ำเวียนผสมทั่วทั้งระบบแล้วจึงวัด ถ้า pH ยังสูงอยู่ก็ทำเช่นเดิมอีก ถ้ารู้
แน่ชัดว่าต้องใช้กรดมากกว่านี้เพื่อบีบกรดลงไป 3-4 วินาที แล้วรอประมาณ 5 วินาที จึงบีบลงไปอีก 3-4 วินาที เป็นช่วงๆ ไป
แล้วจึงวัดค่า pH ถ้ายังลงไม่ถึง pH เป้าหมายก็เติมเพิ่มอีก ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นโดยที่นึกถึงระบบ 6 เมตร 8 ราง
ท่านอาจปรับเปลี่ยนอย่างไรก็ได้ให้เหมาะกับขนาดของระบบและความชอบของท่านโดยที่ท่านต้องมั่นใจว่ากรดจะผสมกับสารละลาย
เป็นอย่างดีพอควรก่อนที่จะถูกดูดขึ้นไปบนรางที่มีผักอยู่ เห็นได้ชัดว่าถ้าคำนึงกับเรื่องนี้ควรวางปั๊มให้ห่างจากจุดที่น้ำไหลกลับลงมา
ซึ่งก็ควรจะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วเพื่อให้น้ำที่ไหลกลับมีโอกาสผสมกับน้ำส่วนใหญ่ในถังก่อนที่จะถูกปั๊มรวมกันขึ้นไปบนรางอีก ท่านอาจทำ
ที่เติมกรดไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งที่ปลายสุดของรางนอกหรืออาจเว้นหลุมปลูกไว้หนึ่งหลุมเพื่อเป็นที่เติมกรดก็ได้ โดยวิธีนี้กรดที่เติมลงไปจะ
ถูกเจือจางด้วยน้ำไหลของทั้งระบบและผสมกันอย่างดีก่อนลงสู่ถังสารละลาย บางครั้งผู้เขียนจะวางขวดกรดที่มีที่ปรับการหยดของ
กรดที่ทำจากขวดนำยาล้างจานชามกับที่ปรับลมของตู้ปลาไว้บนปลายรางให้กรดที่เจือจางมากเป็นพิเศษที่ประกอบด้วยกรดที่ทำให้
เจือจาง 100 เท่าในปริมาณที่ต้องการใช้ใน 1 วัน ผสมกับน้ำประมาณ 3 ลิตร หยดลงไปอย่างช้า ๆ เพื่อรักษา pH ให้ค่อนข้างคงที่
ตลอดทั้งวัน การทำเช่นนี้เป็นการเลียนแบบเครื่องปรับ pH อัตโนมัติแต่ควรเติมกรดค่อนข้างน้อยกว่าที่ควรเพื่อกันพลาดแล้วมาปรับ
เพิ่มในเวลาเช้าเย็น การหยดกรดเจือจางมากเช่นนี้หยดที่ถังสารละลายก็ได้และตรงจุดใดก็ได้ที่ท่านสามารถตั้งขวดได้ อุปกรณ์ควบ
คุม pH ตลอดวันอย่างง่ายเช่นนี้ทำให้ผักเจริญเติบโตดีมาก

สำหรับ NFT ระบบรวมที่ไม่ใช้เครื่องปรับ pH อัตโนมัติและระบบ RFT ควรนำภาชนะใส่กรดที่มีสายต่อที่ปรับการหยดได้มาติดตั้ง
ให้หยดกรดเข้าสู่ถังสารละลายและปรับการหยดให้เหมาะสม ในกรณีของ RFT ที่มีน้ำอยู่ในถังสารละลายน้อยเทียบกับสารละลายทั้ง
ระบบและเมื่ออัตราเวียนน้ำค่อนข้างต่ำ เราควรปรับ pH แบบหยดต่อเนื่องอย่างช้าเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้สารละลายในถังเป็นกรดมาก
เกินไปก่อนถูกปั๊มเข้าสู่โต๊ะปลูก การหยดกรดควรหยดให้ชิดกับท่อน้ำกลับและห่างจากปั๊มเช่นเดียวกับระบบ NFT ขนาดเล็กเพื่อป้อง
กันไม่ให้กรดที่เติมลงไปใหม่ถูกดูดขึ้นไปบนโต๊ะปลูก

การเตรียมสารละลายธาตุอาหารเริ่มแรกและการเตรียมสารละลายชุดใหม่ในการเปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารเราก็ต้องปรับ pH เพราะ
น้ำที่นำมาใช้ในการเตรียมสารละลายธาตุอาหารเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลมักจะมี ไบคาร์บอเน็ตที่มีฤทธิ์เป็นด่างอยู่ การปรับ pH เป็น
การเติมกรดไนตริคเช่นเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้ว ถ้าในระบบมีพืชผักอยู่ด้วยเช่น เมื่อเปลี่ยนสารละลายปลูกเลี้ยงเราต้องทำเช่นเดียว
กันกับที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือปรับโดยการเติมกรดเจือจางมากอย่างช้าที่สุด แต่ถ้าไม่มีพืชผักอยู่ในระบบอาจปรับอย่างรวดเร็วได้แล้วคอย
จนสารละลายธาตุอาหารผสมกันทั่วและปรับได้ pH ตามที่ต้องการแล้วจึงนำพืชผักลงมาปลูก คำถามที่ผู้เขียนได้รับเสมอคือ ทำไมเมื่อ
ปรับ pH ครั้งแรกแล้วไม่นาน pH จะเพิ่มขึ้นอีกไม่ว่าจะมีหรือไม่มีพืชผักอยู่ในระบบ คำตอบก็คือ เมื่อมีไบคาร์บอเนตอยู่ในน้ำแล้วปรับ pH
ให้เป็น 6 ไบคาร์บอเนตจะถูกทำลายไปเพียงบางส่วนและความเป็นกรดในขณะนั้นมาจากกรดคาร์บอนิคที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไบคาร์
บอเนตกับกรด เมื่อเวียนน้ำไปไม่นานคาร์บอนไดออกไซด์จะหลุดออกมาจากกรดคาร์บอนิคเหลือแต่น้ำ pH จะเพิ่มขึ้นอีกจนเราต้องเพิ่ม
กรดไนตริคลงไปใหม่อีกเพื่อให้ทำปฏิกิริยากับไบคาร์บอเนตที่เหลือและทำเช่นนี้เรื่อยไปจนไบคาร์บอเนตหมดหรือเกือบหมดาต้องการ
ปรับครั้งเดียวเราอาจปรับครั้งเดียวให้ pH ลดลงถึงประมาณ .2 ซึ่งไบคาร์บอเนทเกือบทั้งหมดจะทำปฏิกิริยากับกรดไนตริค หลังจาก
เวียนน้ำหรือเป่าอากาศไม่นาน pH จะเพิ่มขึ้นมาที่ pH 6 และพร้อมสำหรับการปลูกโดยที่ pH จะไม่เพิ่มขึ้นเองแบบเก่าอีก การปรับ pH
ลงต่ำเช่นนี้ถ้ามีพืชผักอยู่ด้วยต้องปรับอย่างช้าๆ และอย่างระมัดระวังไม่ให้สารละลายที่มี pH ต่ำกว่า 5 ถูกดูดขึ้นบนรางไปผ่านราก

ข้อควรระวังเพิ่มเติมในการปรับค่า pH
การปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารเริ่มแรกเมื่อเริ่มปลูกชุดใหม่และสารละลายธาตุอาหารที่เตรียมขึ้นในการเปลี่ยนสารละลายของ
ระบบ มีข้อควรระวังเพิ่มเติมอีกประการหนึ่งถ้าสารละลายธาตุอาหารนั้นมีแอมโมเนียมอยู่ด้วย สารละลายธาตุอาหารอาจมีแอมโมเนียม
เป็นส่วนประกอบจากการใช้แอมโมเนียมฟอสเฟต (โมโนแอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต) ในสูตรสารละลายธาตุอาหารเช่น สูตรผัก
จีน รืออาจมีแอมโมเนียมเป็นส่วนประกอบจากการใช้สูตรสารละลายธาตุอาหารที่ไม่มีแอมโมเนียมแต่ใช้แคลเซียมไนเตรทที่มีแอมโมเนียม
อยู่ด้วยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สารละลายเช่นนี้เมื่อปลูกเลี้ยงไป pH จะลดลงในระยะแรกเนื่องจากพืชดูดซึมแอมโมเนียมได้ดีแล้ว
ปล่อยกรดออกมาแลกเปลี่ยนมาก เมื่อเวลาผ่านไปพืชผักจะค่อยๆ ปล่อยกรดน้อยลงเพราะความเข้มข้นของแอมโมเนียมลดลงตาม
ลำดับและพืชผักจะปล่อยด่างออกมาเพิ่มขึ้นเพราะดูดซึมไนเตรทเพิ่มขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้การเปลี่ยนแปลง pH ของสารละลายธาตุ
อาหารจะเป็นการมีpH ลดลงไปช่วงหนึ่ง ความยาวของช่วงนี้จะขึ้นอยู่กับการลดลงของแอมโมเนียมซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นเริ่มแรก
ของแอมโมเนียมและขนาดและจำนวนของผักที่จะดูดซึมแอมโมเนียมออกไป ในกรณีนี้หลังจากเตรียมสารละลายธาตุอาหารแล้ว
อาจยังไม่เติมกรดเลยถ้าน้ำที่ใช้มีคาร์บอเนตไม่มากนักเช่นน้ำประปา หรืออาจเติมกรดบ้างถ้าน้ำที่ใช้มีไบคาร์บอเนตมากเช่น น้ำบาดาล
แต่ไม่ควรปรับให้ pH ต่ำกว่า 6.5 เพื่อป้องกันไม่ให้ pH ที่ผิวรากต่ำเกินไปในขณะที่รากปล่อยกรดออกมา เราควรรอให้ pH คงที่แล้ว
เริ่มเพิ่มขึ้นจึงเติมกรดตามปกติตามปริมาณด่างที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ pH อยู่ในช่วงที่ต้องการ


วิธีการแก้ปัญหาเมื่อค่า pH ต่ำกว่าปกติ
ในบางกรณีที่ไม่พบบ่อยนักดังที่กล่าวมาข้างต้น pH ของสารละลายธาตุอาหารอาจต่ำลงกว่า pH ที่กำหนดไว้มากจนต้องปรับ pH ให้สูงขึ้น
เราจะต้องเติมด่าง สารที่เป็นด่างที่ใช้อาจเป็นสารประเภทไฮดรอกไซด์,คาร์บอเนต หรือไบคาร์บอเนตของธาตุที่ไม่เป็นพิษต่อพืช เช่นโพ
แทสเซียม และไม่ควรใช้ธาตุที่พืชไม่ชอบเช่น โซเดียม ดังนั้นเราอาจใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมคาร์บอเนต
หรือโพแทสเซียมไบคาร์บอเนต ตามความคิดเห็นของผู้เขียนเราควรหลีกเลี่ยงการใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เพราะเป็นด่างแก่ที่ทำ
ให้ธาตุอาหารตกตะกอนง่ายกว่าในกรณีที่ใช้โพแทสเซียมคาร์บอเนต หรือโพแทสเซียมไบคาร์บอเนตซึ่งเป็นด่างที่อ่อนลงตาม
ลำดับ เมื่อคาร์บอเนตหรือไบคาร์บอเนตทำปฏิกิริยากับกรดจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิคและเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำตามลำดับ
เราควรใช้สารสองชนิดหลังนี้ชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่จะหาได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นสารละลายเจือจางอย่างมากของสารสองชนิดหลังนี้ที่
เป็นด่างอย่างอ่อนก็ตาม เมื่อหยดหรือรินอย่างช้าๆ ลงไปยังสารละลายธาตุอาหารจะมีสารประกอบของแคลเซียมตกตะกอนเป็นทาง
ตะกอนเหล่านี้มักจะไม่ละลายใหม่และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการตกตะกอนเพิ่มเติม การปรับ pH ให้เพิ่มขึ้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรใช้
สารละลายของด่างแต่แต่ควรเติมน้ำที่มีไบคาร์บอเนตเช่นน้ำบาดาลถ้ามีใช้ การเติมน้ำประปาก็ทำให้ pH เพิ่มขึ้นเพราะมีไบคาร์บอเนต
อยู่บ้าง ถ้าจำเป็นต้องใช้ด่างควรละลายในน้ำปริมาณมากหลายๆ ลิตรแล้วค่อยๆ เติมลงไปอย่างช้าๆ นั่นคือต้องทำให้เจือจางมากกว่า
ในกรณีของกรดอย่างมากและเติมลงไปอย่างช้าๆ เช่นเดียวกัน ยกเว้นในกรณีที่เติมน้ำเพราะไบคาร์บอเนตเจือจางมากจนไม่เกิดบริเวณ
ที่เป็นด่างมากพอที่จะทำให้เกิดการตกตะกอน เราควรหลีกเลี่ยงการตกตะกอนให้มากที่สุดเพราะการตกตะกอนของธาตุอาหารมักเป็น
ผลให้การเจริญเติบโตของพืชผักลดลง

การปรับ pH ถ้ามองอย่างผิวเผินแล้วไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด แต่จากผู้ที่โทรศัพท์มาปรึกษาผู้เขียนได้พบว่าผักรากเสียจาก
การเติมกรดเร็วเกินไปเกิดขึ้นมากเกินคาด ถึงแม้จะเริ่มมีรากเสียที่ส่วนหน้าของรางเท่านั้นก็อาจเป็นจุดเริ่มของโรครากเน่าได้ ผู้ปลูก
เลี้ยงควรทำความเข้าใจหลักการและดำเนินการตามหลักการนั้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วก็ได้ ถ้าให้ผู้ช่วยปรับ pH
ให้ ควรทำความเข้าใจหรือกำหนดวิธีการให้แน่นอนและควรบอกให้เขาทราบถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงหากปรับ pH อย่าง
ไม่ระมัดระวัง



http://www.phutalay.com/home/?p=770
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 57 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©