-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 3:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 19

ลำดับเรื่อง....


481. ทุเรียนติดเซนเซอร์..สุกพร้อมกินรู้ทันที
482. สติกเกอร์เปลี่ยนสีบอกทุเรียนสุก
483. สูตรกิมจิรสชาติไทย
484. น้ำส้มสายชูหมัก จากแอปเปิ้ล
485. น้ำมันรำข้าว

486. เทคนิคการขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา
487. ผลของกระทบไตรโคเดอร์มาต่อรากของทุเรียน
488. ไตรโคเดอร์มา ป้องกัน “โรคเหี่ยวของพริก”
489. โรครากหรือหัวเน่าในมันสำประหลัง
490. ไตรโคเดอร์มา เป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช

491. โรครากขาวในยางพารา ควบคุมด้วยไตรโคเดอร์ม่า
492. นํ้ายาชนิดใหม่สำหรับสกัดโปรตีนจากจุลชีพ
493. ชุดตรวจสอบเอนไซม์ ENZhance
494. ปัจจัยในการกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอก
495. กุหลาบในขวดแก้ว ปูทางธุรกิจโฉมใหม่

496. กัญชา
497. ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของพืช
498. ผึ้งและนก สัตว์ผู้อยู่เบื้องหลังครัวโลก
499. วิกฤตน้ำจืด
500. กระบวนการลำเลียงน้ำของพืช

501. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต
502. เตรียมพร้อมสู่ 'ปุ๋ยสั่งตัด' ลดต้นทุนการผลิตกันเถอะ
503. กล้วยหอมทอง ปลอดสารพิษ เจาะตลาดญี่ปุ่น

---------------------------------------------------------------------------






481. ทุเรียนติดเซนเซอร์..สุกพร้อมกินรู้ทันที

โดย : สาลินีย์ ทับพิลา







นักวิจัยด้านวิศวกรรมไทรคมนาคม ประยุกต์คลื่นสัญญาณไมโครเวฟ ทำเซนเซอร์ตรวจวัดความแก่ของทุเรียน ไม่ต้องเดาผิดถูกๆจากเสียงไม้เคาะเปลือก


“ส้ม 2 ลูกที่ภายนอกเหมือนกันเกือบทุกอย่าง แต่พอแกะทาน ลูกแรกหวานอร่อย แต่ลูกที่ 2 กลับฝ่อ จืด จึงเกิดเป็นไอเดีย หากสามารถตรวจวัดได้ว่าผลไม้ที่เราจะกิน ลูกไหนสุก ก็จะทำให้เราเลือกผลไม้รสดีได้ไม่ยาก จึงพัฒนาเครื่องมือถือสำหรับตรวจส้มก่อน” ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าว

จากความเป็นไปได้ของอุปกรณ์ตรวจส้มด้วยคลื่นไมโครเวฟ ศ.ดร.โมไนย จึงมองว่า คลื่นไมโครเวฟมีศักยภาพที่จะตรวจสอบความแก่ของผลไม้ได้ โดยเฉพาะผลไม้เศรษฐกิจ จึงศึกษาข้อมูลผลไม้ส่งออกพบว่า อันดับที่ 1 คือ ลำไย ตามด้วยทุเรียน แต่ด้วยลำไยมีความซับซ้อน จึงมุ่งไปที่ทุเรียน

นักวิจัยอธิบายว่า ปัญหาของชาวสวนทุเรียน คือ ต้องเก็บทุเรียนที่มีความแก่ประมาณ 80% ซึ่งแก่พอที่จะตัดมาขาย แต่หากทุเรียนอ่อนเกินไป ตัดมาแล้วจะไม่สุกเลย ไม่สามารถกินได้

“ชาวสวนวิธีนับอายุดอกทุเรียน โดยจะนับหลังจากทุเรียนออกดอกไปอีก 120 วัน แต่ก็มีปัญหาด้านความแม่นยำ เพราะความผันแปรของอากาศและความชื้น ทำให้ทุเรียนอาจจะแก่เร็วหรือช้ากว่าปกติได้”

ด้วยไม่มีความรู้เกี่ยวกับทุเรียนจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาเซนเซอร์ส่งคลื่นไมโครเวฟตรวจความแก่ของลูกทุเรียน โดยคำนวณจากปริมาณแป้งและน้ำตาลที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อทุเรียนแก่ขึ้น และคำนวณหาเป็นเปอร์เซ็นต์ความแก่ของทุเรียน

ปี 2549 ทีมวิจัยเริ่มงานวิจัยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี โดยเริ่มจากติดเซนเซอร์ที่ทุเรียน จากนั้นเขียนโปรแกรมตั้งเวลาวัดข้อมูลและส่งข้อมูลที่วัดได้กลัมาที่แม่ข่ายผ่านโครงข่ายไร้สายทุกวัน และสุ่มตัดลูกทุเรียนมาตรวจวัดแป้ง น้ำตาล และความชื้นทุก 3 วัน เพื่อหาข้อสรุปสำหรับการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ความแก่

เซนเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาคลื่นผ่านเปลือก เนื้อ และสะท้อนกลับมายังเครื่องรับสัญญาณที่อยู่ติดกัน

“เราพบว่า เปลือกทุเรียนมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก แต่เนื้อทุเรียนจะเปลี่ยนปริมาณแป้งและน้ำตาล โดยทุเรียนดิบจะมีแป้งมาก น้ำตาลน้อย แต่ทุเรียนที่แก่ขึ้น ปริมาณแป้งจะลดลง ในขณะที่ปริมาณน้ำตาลจะเพิ่ม ทำให้ค่าฉนวนของเปลือกทุเรียนเปลี่ยน สัญญาณไมโครเวฟที่ส่งกลับมายังเครื่องรับก็จะเปลี่ยนด้วย” ศ.ดร.โมไนย อธิบาย

สำหรับความแม่นยำ นักวิจัยย้ำว่า ยังคงต้องปรับเพิ่ม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ทารุณของการเกษตรไทย ทำให้เซนเซอร์ที่ติดกับลูกทุเรียนต้องตากแดดตากฝน ทำให้ส่งผลต่อการส่งสัญญาณไปยังแม่ข่าย อย่างไรก็ดี เราสามารถปรับการติดเซนเซอร์ให้ไม่ต้องติดกับทุเรียนทุกลูกในสวน ทำให้สามารถเลือกติดในพื้นที่ที่ปลอดภัยได้

งานวิจัยนี้ ทำมาแล้ว 4 ปี ใช้เวลาศึกษาวิจัยและเริ่มต้นพัฒนา 2 ปี จากนั้นทดสอบในสวนทุเรียนที่จันทบุรี 1 ฤดู และนครศรีธรรมราชอีก 1 ฤดู โดย ศ.ดร.โมไนย ได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พ.ศ. 2548 และ 2551

“4 ปีที่ผ่านมา เราได้ข้อมูลพื้นฐานครบถ้วน ซึ่งใน 2 ปีที่เหลือ เราจะพัฒนาอุปกรณ์และโปรแกรมให้สมบูรณ์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่จะทำงานไปพร้อมๆ กัน คือ เราจำพัฒนาเซนเซอร์วัดความแก่ของทุเรียนในสวน ซึ่งจะต้องแม่นยำ 100% เพื่อให้ทำนายวันเก็บเกี่ยวได้อย่างถูกต้อง เหมาะกับชาวสวนทุเรียนที่ต้องการควบคุมคุณภาพผลผลิต ในขณะเดียวกันก็จะพัฒนาเซนเซอร์มือถือ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่จะคัดทุเรียนส่งออก รวมถึงผู้บริโภค ให้ไม่ต้องใช้ไม้เคาะ แค่แตะดูก็รู้ได้เลย” ศ.ดร.โมไนยกล่าว

ต่อจากนี้ นักวิจัยตั้งเป้าได้เครื่องมือต้นแบบในอีก 1 ปี และวางแผนที่จะพัฒนาให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ในปี 2554



http://www.bangkokbiznews.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/11/2016 6:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 3:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

482. สติกเกอร์เปลี่ยนสีบอกทุเรียนสุก

โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน






ศูนย์เทคโนโลยีโลหะฯ คิดค้นสติกเกอร์บอกระดับความสุกของทุเรียน แบ่งเป็น ดิบ-สีขาว สุกกรอบ-สีฟ้า สุกนิ่ม-สีน้ำเงิน ไม่ต้องพึ่งเสียงไม้เคาะ

น.ส.นวพร ศรีนวกุล นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค/สวทช.) กล่าวว่า สติกเกอร์บอกระดับความสุกในทุเรียน ผลงานจากการคิดค้นของเอ็มเทค นำทีมโดย ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกทุเรียนได้ตรงกับความต้องการอย่างแม่นยำ โดยรายงานได้ 3 ระดับความสุก แบ่งเป็นทุเรียนดิบ สุกกรอบ และสุกนิ่ม แสดงเป็นแถบสีขาว สีฟ้า และสีน้ำเงิน ตามลำดับ

“ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อทุเรียนได้ตามที่ชอบ ไม่ต้องรอการคาดเดาจากแม่ค้า ซึ่งมีโอกาสคำนวณผิดพลาด ทำให้เราได้ทุเรียนระดับความสุกที่ไม่ตรงความต้องการ สติกเกอร์นี้น่าช่วยเพิ่มมูลค่าให้ทุเรียนส่งออก และลดปัญหาการกดราคาจากผู้นำเข้าต่างชาติ ซึ่งอ้างถึงจุดอ่อนเรื่องไทยขาดระบบการประกันคุณภาพและระดับการสุกของทุเรียน ที่ไม่สามารถยืนยันให้ชัดเจน"

นักวิจัย เอ็มเทค ทดลองใช้สติกเกอร์เปลี่ยนสีในสวนทุเรียนภาคตะวันออก สามารถรายงานระดับความสุกได้แม่นยำ จึงอยู่ระหว่างการขยายเพื่อศึกษาไปยังสวนทุเรียนภาคใต้ หากสำเร็จตามเป้าหมาย

ในส่วนของการต่อยอดผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี/สวทช.) ได้เข้ามามีบทบาทเป็นที่ปรึกษาด้านการงานแผนการตลาดและการยื่นจดสิทธิบัตร ทั้งยังเปิดคอร์สอบรมทีมวิจัยตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีประจำปี 2552

หลังผ่านการอบรมกับ ทีเอ็มซี แล้ว ทีมวิจัยสนใจจะตั้งบริษัทขึ้น เพื่อผลิตและส่งเสริมให้เทคโนโลยีสติกเกอร์เปลี่ยนสี เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้จำหน่ายทุเรียน จากนั้นจะขยายผลไปยังสติกเกอร์วัดระดับความสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งไม่ว่าผลดิบหรือผลสุกต่างก็เป็นผิวสีทอง ทำให้ยากในการเก็บเกี่ยวและเลือกซื้อ

ในอนาคตยังสามารถปรับสูตรให้บอกระดับความสุกในผลไม้ชนิดอื่นในห้างสรรพสินค้าได้ด้วย เช่น อโวคาโด กีวี แอปเปิล เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้า



http://www.bangkokbiznews.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/11/2016 6:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

483. สูตรกิมจิรสชาติไทย


กิมจิ (김치, 김치, , MC: Gimchi, , MR: Kimch'i ?) มีข้อสันนิษฐานกันว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ชิมเช" ((침채, , ฮันจา: 沈菜, , MC: chimchae, , MR: ch'imch'ae ?) ที่แปลว่าผักดองเค็ม กิมจิเป็นอาหารเกาหลีประเภทผักดองที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี ด้วยการหมักพริกสีแดงและผักต่างๆ โดยทั่วไปจะเป็นผักกาดขาว ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซาและเบอร์เกอร์ ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน แม้ปัจจุบันมีบริษัทอาหารผลิตกิมจิสำเร็จรูปหรือแบบสดขายตามห้างสรรพสินค้าก็ตาม แต่ชาวเกาหลีก็ยังนิยมทำกิมจิกินเองที่บ้าน



กิมจิชนิดต่างๆ
วัตถุดิบในการทำกิมจิโดยทั่วไปแล้วจะเป็นผักกาดขาว (Chinese cabbage, 배추, baechu) หัวผักกาด (radish, 무, mu) กระเทียม (garlic, 마늘, maneul) พริกแดง (red pepper, 빨간고추, ppalgangochu) หัวหอมใหญ่ (spring onion, 파, pa) ปลาหมึก (squid, 오징어, ojingeo) กุ้ง (shrimp) หอยนางรม (oyster, 굴, gul) หรืออาหารทะเลอื่นๆ ขิง (ginger, 생강, saenggang) เกลือ (salt, 소금, sogeum) และน้ำตาล (sugar, 설탕, seoltang)

กิมจิมีมากมายหลายชนิดจากเอกสารของพิพิธภัณฑ์กิมจิในเมืองโซล (The Kimchi Field Museum in Seoul) กิมจิมีมากกว่า 187 ชนิดโดยจะแตกต่างกันตามถิ่นและสภาพอากาศ ตัวอย่างเช่นกิมจิหัวผักกาด (깍두기, kkakdugi) เป็นหัวผักกาดล้วนไม่มีผักกาดขาวผสม กิมจิแตงกวายัดไส้ (오이소배기,oisobaegi) และกิมจิผักกาดขาวที่ถือว่าเป็นกิมจิที่รู้จักกันมากที่สุดในนานาชาติ ซึ่งจะเป็นการผสมผักกาดขาว พริกแดง กระเทียม ขิง และน้ำซุบจากปลากะตัก (젓갈, jeotgal) เข้าด้วยกันซึ่งผักกาดขาวควรจะเป็นผักกาดขาวจีน (Chinese cabbage) จึงจะได้กิมจิที่มีรสชาติดีและจัด หากทำจากผักกาดขาวชนิดอื่นจะทำให้กิมจิมีรสชาติที่อ่อนลง

กิมจิถูกจัดเป็นหนึ่งในห้าอาหารสุขภาพโดยเฮลท์แม็กกาซีน (Health Magazine) โดยให้เหตุผลว่ากิมจิอุดมด้วยวิตามิน ช่วยในการย่อยอาหาร และอาจจะช่วยรักษาโรคมะเร็ง สรรพคุณในกิมจิได้มาจากหลายปัจจัยเพราะว่ากิมจิทำมาจากผักกาดขาว หัวหอม และกระเทียม ผักทั้งสามอย่างนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ กิมจิยังมีโปรไบโอติกส์แลคโตแบซิลลัสที่ให้กรดแลคติก (Lactic acid) หลังจากการหมักเหมือนในโยเกิร์ตด้วย อีกทั้งกิมจิมีพริกแดงเป็นส่วนผสมหลักซึ่งก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกัน

สรรพคุณที่มีประโยชน์ของกิมจิอาจจะเป็นโทษได้เช่นกัน มีการศึกษาความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 นักวิจัยชาวเกาหลีใต้เปิดเผยว่ามีความเสี่ยงถึงร้อยละ 50 ที่อาจจะเป็นเหตุให้เกิดมะเร็งในกระเพาะถ้าบริโภคกิมจิมากเกินไป ดั่งอัตราการเป็นมะเร็งในกระเพาะของประชากรเกาหลี และญี่ปุ่นที่มีมากเป็นสองเท่าของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามแป้งฝุ่น และสารระคายเคืองในข้าวขาวในทั้งสองประเทศอาจจะเป็นสาเหตุทางอ้อมในการเกิดมะเร็งก็เป็นได้ แต่ในการศึกษาบางชิ้นนั้น อ้างว่าการบริโภคกิมจิมีส่วนช่วยในการลดการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร แม้กระนั้นก็มีการศึกษาบางชิ้นอีกเช่นกันที่อ้างว่ากิมจิ(ที่มีส่วนผสมเป็นหัวผักกาด)จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง และการบริโภคกิมจิเป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นได้รับเกลือหรือน้ำปลาที่ใช้ในการหมักและปรุงรสเป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพขึ้นได้เช่นโรคความดันโลหิตสูง


วัตถุดิบที่ใช้ทำมีดังนี้

1. ผักกาดขาวปลีหรือผักกาดหางหงส์ 1 ต้นใหญ่




2. แครอท 1 หัว




3. หัวไชเท้า 1 หัว



4. พริกชี้ฟ้าแดง ผ่าครึ่งเอาเมล็ดออก 5 เม็ด ถ้าชอบเผ็ดมากใช้พริกขี้หนูสีแดง 1 กำมือ



5. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
6. ซอสพริกอย่างเผ็ด 5 ช้อนโต๊ะ
7. ขิงแก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ
8. กระเทียมสับ 5 กลีบใหญ่
9. ต้นหอม หั่นเป็นท่อน 5 ต้นหรือมากกว่าตามชอบ
10. เกลือทะเล 7 ช้อนโต๊ะ, มะนาว 1-2 ลูก

วิธีทำกิมจิแบบถูกปากคนไทย
1. นำผักกาดขาวล้างให้สะอาด ผ่าครึ่ง หั่นตามแนวยาว ใส่ตะกร้าผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2. ขยำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะกับผักกาดขาว แล้วหมักทิ้งไว้ 30 นาที
3. ล้างผักกาดขาวที่หมักแล้วด้วยน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง(ชิมดู ถ้าเค็มเกินไปให้ล้างอีก) แล้วบีบน้ำออก จากนั้นนำผักใส่ลงในชามหรือหม้อที่สะอาดพักไว้
4. ล้างแครอทและหัวไชเท้าให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นตามขวาง แล้วหั่นเป็นเส้นอีกครั้ง
5. ขยำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะกับแครอทและหัวไชเท้าที่หั่นเป็นเส้นแล้ว หมักทิ้งไว้ 30 นาที
6. ล้างแครอทและหัวไชเท้าที่หมักแล้วด้วยน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง (ชิมดู ถ้าเค็มมากไปให้ล้างอีก) บีบน้ำออก แล้วนำใส่ชามหรือหม้อที่ใส่ผักกาดขาวที่ล้างแล้ว
7. นำพริกชี้ฟ้าแดง ซอสพริก ขิงแก่สับ กระเทียม ปั่นให้ละเอียด
8. นำเครื่องปรุงที่ปั่นแล้วผสมกับน้ำตาลทราย แล้วใส่ลงในชามหรือหม้อที่ใส่ผักไว้แล้ว ใส่ต้นหอม เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
9. บรรจุใส่ขวดโหลปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง(ให้เหลือที่ว่างในขวดโหลเล็กน้อย เพราะผักจะมีก๊าซออกมา)
10. เมื่อครบ 24 ชั่วโมง ชิมรสให้ออกเปรี้ยวเค็ม อาจปรุงรสเพิ่มด้วยเกลือหรือมะนาว เก็บไว้ในตู้เย็นอยู่ได้ 1 เดือน






http://kimchi-thaitaste.blogspot.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

484. น้ำส้มสายชูหมัก จากแอปเปิ้ล





Apple cider vinegar [แอป-เปิ้ลไซ-เดอ-วิ-เน-ก้า]
น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลสีแดงที่สุกคาต้น หรือสุกมากมาก กลิ่นหอม รสชาติเปรี้ยว ใช้ในซอสต่างๆ เช่น ซอสมินต์ ซอสขิง รวมถึงใช้ทำน้ำสลัด เลือกซื้อที่ใส ไม่มีตะกอน ไม่หมดอายุ

น้ำส้มสายชูหมัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธัญพืช ผลไม้ หรือน้ำตาลมาหมักกับส่าเหล้าแล้วหมักกับเชื้อ น้ำส้มสายชูตามกรรมวิธีธรรมชาติ การหมักจะเปลี่ยนน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ให้เป็นแอลกอฮอล์โดยอาศัย ยีสต์ที่มีตามธรรมชาติ เพื่อให้น้ำส้มสายชูที่หมักมีกลิ่นหอมและรสชาติดี

จากนั้นจะอาศัยบักเตรีตามธรรมชาติ หรือการเติมบักเตรี เพื่อเปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดน้ำส้ม น้ำส้มสายชูหมักจะมีสีเหลืองอ่อนตามธรรมชาติ มีรสหวานของน้ำตาลที่ตกค้าง มีกลิ่นของวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก ความแตกต่างในด้านกลิ่นรส และความเข้มข้นขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก

น้ำส้มสายชูหมักจะใส ไม่มีตะกอน ยกเว้นตะกอนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4%



http://www.foodietaste.com/FoodPedia_detail.asp?id=103


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 8:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 8:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

484. น้ำมันรำข้าว





Rice Bran Oil [ไรซ-บราน-ออย]
น้ำมันรำข้าว ได้มาจากการสกัดส่วนของเปลือกข้าวและจมูกข้าว เป็นน้ำมันรำข้าวจะมีลักษณะสีเหลืองทอง กลิ่นบางเบา ทนความร้อนได้สูงถึง 230 องศาเซลเซียส เหมาะแก่การทอด, ผัด หรือทำน้ำสลัด จัดได้ว่าเป็นน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพ

- มีสารแกมม่าโอไรซานอล (โอรีซานอล) สูง เป็นสารที่พบได้แต่ในรำข้าวเท่านั้น ช่วยในการลดโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) แต่เพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ทำให้หลอดเลือดสะอาด ลดภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามิน อี ถึง 6 เท่า

- กรดโอเลอิก (Oleic acid) หรือ โอเมก้า 9 ช่วยในการปรับระดับโคเลสเตอรอลรวม (LDL และ Triglyceride) ให้ต่ำลง

- กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) หรือ โอเมก้า 6 เป็นองค์ประกอบสำคัญของฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนให้สมดุล , ช่วยยับยั้งเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

- วิตามินอี (Vitamin E : Tocotrienol, Tocopherol) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ เพิ่มภูมิต้านทาน อีดทั้งเป็นสารป้องกันความหืน จากธรรมชาติ (Natural Antioxidant) ช่วยยืดอายุของน้ำมันโดยไม่ต้องเติมสารกันหืนสังเคาระห์

- ไม่มีโคเลสเตอรอล และ ไขมันชนิดทรานส์




http://www.foodietaste.com/FoodPedia_detail.asp?id=395
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 6:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

485. เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย
(Portable Steam Distillation Unit)


ดร. สุรัตน์วดี จิวะจินดา
นักวิจัยเชี่ยวชาญ งานทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง โทร. 034-281-092
E-mail: rdiswj@ku.ac.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยนี้ เป็นเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่ออกแแบบขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก เนื่องจากเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยในระบบอุตสาหกรรมโดยทั่วไปมักจะมีขนาดใหญ่ ยากต่อการติดตั้งหรือขนย้าย และมีราคาแพง ส่วนชุดเครื่องกลั่นที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมักจะมีส่วนประกอบที่เป็นแก้ว ซึ่งชำรุดเสียหายได้ง่าย ไม่เหมาะกับการใช้งานในลักษณะของอุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือโดยกลุ่มเกษตรกร


เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ใช้กลั่นเพื่อสกัดแยกเอาน้ำมันชนิดน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ไม่ใช่น้ำมันพืชทั่วไป (Fixed oil) จากส่วนที่มีน้ำมันหอมระเหยสะสมอยู่ของพืช เช่น ใบ ราก ดอก หรือเนื้อไม้ ออกแบบให้เป็นถังกลั่นชนิดเบ็ดเสร็จถังเดียวขนาดเล็กโดยใช้ระบบการกลั่นด้วยน้ำ (Hydro distillation) มีระบบควบคุมอุณหภูมิ และความดัน โดยมีส่วนที่ทำการควบแน่น (Condenser) แยกต่างหาก สามารถประกอบ หรือถอดชิ้นส่วนออกได้ง่าย และขนย้ายได้สะดวก ทำจากเหล็กปลอดสนิมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (Stainless steel, Food grade) สามารถทนแรงดันจากภายในได้ไม่ต่ำกว่า 3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีส่วนประกอบทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่

1. ถังกลั่น (Retort)
2. ฝาของถังกลั่น (Retort cover)
3. ท่อนำไอน้ำ (Vapour conduct tube)
4. ตัวควบแน่น (Condenser)
5. ถังรองรับน้ำมันและแยกน้ำมัน (Receiver and separator)



ส่วนต่างๆ เมื่อนำมาประกอบกันแล้วจะได้เครื่องกลั่นตามรูป






เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยนี้ ได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว และได้รับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 534 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ได้ผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้สนใจแล้วจำนวนหนึ่ง และได้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2546 ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ข้อมูลจากการทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชชนิดต่างๆ
คลิกไปดูตารมลิงค์อ้างอิง....




© 2009 ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
1 หมู่ 6 ถนนมาลัยแมน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม 73140
โทรศัพท์: 034-281-092 โทรสาร: 034-351-399 E-mail: rdi.clgc@ku.ac.th

http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/clgc-products/distiller
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 6:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

486. เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) ในรูปหัวเชื้อสด


กณิษฐา สังคะหะ และคณะ
นักวิจัยชำนาญการพิเศษ งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง โทร. 034-281-092 ต่อ 462
E-mail: rdikas@ku.ac.thอีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) เป็นจุลินทรีย์เชื้อราที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงจะเห็นเส้นใยและสปอร์สีเขียว สามารถพบได้ทั่วไปในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีอินทรีย์วัตถุสูง


คุณประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถนำมาใช้ควบคุม ทำลาย หรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชที่ก่อให้เกิดอาการโรครากเน่าโคนเน่ากับพืช ทั้งในพืชผัก พืชไร่ และไม้ผล เช่น เชื้อราเมล็ดผักกาด (Sclerotium rolfsii) เชื้อราพิเทียม (Pythium sp.) เชื้อราไรซอคโทเนีย (Rhizoctonia sp.) เชื้อราฟัยทอปโทรา (Phytophthora sp.) และเชื้อราฟูซาเรียม (Fusarium sp.) ซึ่งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชเหล่านี้เมื่อเข้าทำลายระบบรากพืช จะทำให้พืชแสดงอาการรากเน่าและโคนเน่า ในต้นที่แสดงอาการรุนแรงจะเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด ดังนั้นหน่วยงานราชการต่างๆ จึงได้วิจัยและส่งเสริมให้เกษตรกรหันมารู้จักใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เป็นการลดสารพิษตกค้างในพืชและสภาพแวดล้อม


หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์ งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ได้ศึกษาการใช้วัสดุเหลือใช้ต่างๆ ทางการเกษตร ซึ่งหาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่นพร้อมทั้งราคาถูก นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมเชื้อราในดินสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าในพืช และได้นำผลงานวิจัยออกเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตโดยใช้ปลายข้าวและแกลบผสมรำข้าวเป็นวัสดุเพาะเลี้ยง หลังจากเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มาแล้ว ประมาณ 5-7 วัน จะเห็นเส้นใยและสปอร์สีเขียวของเชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญเต็มภาชนะเพาะเลี้ยง จากนั้นจึงนำมาคลุกผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และนำไปใช้ควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าในพืชต่อไปได้





ขั้นตอนและวิธีการเตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปหัวเชื้อสด

สูตรปลายข้าว

แช่ปลายข้าวในน้ำ นาน 15 นาที
|
ทำให้สะเด็ดน้ำ
|
เทใส่ลงในภาชนะที่ต้มน้ำเดือด ต้มนาน 5 นาที
|
เมื่อปลายข้าวสุก ตักใส่ในตะแกรงแช่น้ำเพื่อให้ปลายข้าวเย็น
แล้วทำให้สะเด็ดน้ำ
|
เทใส่ในตะแกรงที่รองด้วยพลาสติก
เกลี่ยให้ทั่ว บางๆ ไม่หนามาก ปล่อยให้เย็น
|
โรย หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา (หัวเชื้อบริสุทธิ์)
ให้ทั่วปลายข้าวในตะแกรง ฉีดพ่นน้ำให้ความชื้น
|
ปิดด้วยพลาสติก
|
บ่มนาน 4-5 วัน เห็นสปอร์สีเขียวขึ้นบริเวณผิวหน้า
|
นำไปใช้ผสมกับอินทรียวัตถุเพื่อใช้ในการควบคุมโรคพืช




หมายเหตุ
- ปลายข้าว 5 กิโลกรัม เมื่อต้มแล้วจะได้ประมาณ 6 กิโลกรัม (ประมาณ 7 ตะแกรง)
- การเก็บหัวเชื้อสด ควรใส่ถุงมือและผ้าปิดจมูก เพื่อสุขภาพของตนเอง



วิธีการใช้
นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปหัวเชื้อสดผสมกับอินทรียวัตถุ เช่น ขี้ไก่ แกลบ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกชนิดต่างๆ

อัตราการใช้
พืชผัก พืชไร่ และไม้ผล ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เตรียมในรูปหัวเชื้อสด ผสมกับอินทรียวัตถุในอัตราส่วน 1 ต่อ 10

รูปแบบการใช้
คลุกดินก่อนปลูกหรือหลังปลูกพืช
- พืชผัก อัตราการใช้ 25 กรัม/ต้น
- ไม้ผล อัตราการใช้ 10 กก. ต่อตารางเมตร
จากนั้นใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ และให้ความชื้นโดยการรดน้ำให้กับพืชทุกวัน



http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/clgc-products/trichoderma
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

486. เทคนิคการขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา




โดย ผศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
โทรศัพท์/โทรสาร (034) 281-047 หรือ 0-2942-8200-44 ต่อ 3406


เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) เป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โรคโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน (เน่าคอดิน) ของกล้าพืช และโรคเหี่ยว

ในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกษตรกรได้รู้จักและใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะยิ่งในภาครัฐ สถาบันส่งเสริมเกษตรชีวภาพ และโรงเรียนเกษตรกร ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ทำหน้าที่ผลิตเชื้อสดโดยการเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มาบนเมล็ดข้างฟ่างที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกร

อย่างไรก็ตามการผลิตเชื้อสดดังกล่าว นอกจากจะประสบปัญหาการผลิตที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรแล้ว ยังพบปัญหาที่เกี่ยวกับการปนเปื้อนของจุลินทรีย์อื่นๆ การเก็บรักษาเชื้อสดไม่ได้นาน และการเสื่อมหรือกลายพันธุ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ส่งผลให้คุณภาพ และประสิทธิภาพของเชื้อด้อยลง

สำหรับภาคเอกชนได้มีบริษัทเอกชนผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปชีวภัณฑ์ชนิดผงแห้งออกจำหน่ายแล้ว ซึ่งเพิ่มความสะดวกในการใช้และการเก้บรักษา แต่ก็ยังคงพบปัญหาความไม่สะดวกในการจัดซื้อ และชีวภัณฑ์มีราคาค่อนข้างสูง

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางโครงการพัฒนาวิชาการ "การพัฒนาการผลิตและการประยุกต์ใช้ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา" ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด ได้พัฒนาเทคนิคการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด โดยใช้หัวเชื้อบริสุทธิ์ชนิดผงแห้งขึ้นจนประสบความสำเร็จ ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างมากต่อไป เพราะเทคนิคที่พัฒนานี้จะช่วยให้เกษตรหรือประชาชนทั่วไปสามารถผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาไว้ใช้ควบคนุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการง่ายๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดต้นทุนในการผลิตพืช ลดการใช้สารเคมี ช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากผู้ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม สามารถตอบสนองต่อกระบวนการผลิตพืชแบบเกาตรอินทรีย์ต่อไป



ขั้นตอนและวิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
ในการผลิตเชื้อรานั้น วัสดุอาหารและหัวเชื้อเป็นปัจจัยที่สำคัญ ผลการวิจัยพบว่าปลายข้าวเป็นวัสดุอาหารที่ดีที่สุด หาซื้อง่ายและราคาถูก ส่วนหัวเชื้อไตรโคเดอร์มา ทางโครงการได้พัฒนาให้อยู่ในรูปผงแห้ง ซึ่งสะดวกในการใช้และเก็บรักษา


หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาบริสุทธิ์ :
คือเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ CB-Pin-01 ที่ดีที่สุดจากการคัดเลือกเก็บในวัสดุอินทรีย์ที่ปราศจากจุลินทรีย์ปนเปื้อนทุกชนิด สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลานานและสะดวกต่อการนำไปใช้เพื่อขยายหรือเพิ่มปริมาณเชื้อ


วิธีเก็บรักษาหัวเชื้อ :
เก็บไว้ในตู้เย็น ( ประมาณ 8-10 องศาเซลเซียส ) สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 1 ปี ถ้าเก็บที่อุณหภูมิในห้องปกติ สามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน


วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจสามารถขยายปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดไว้ใช้ได้เองตามต้องการ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้
วิธีการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

1. ใช้ปลายข้าวหรือข้าวสาร 3 แก้ว (1แก้วมีความจุประมาณ 250 ซีซี .) ประมาร 600 กรัม ใส่น้ำเปล่าสะอาด 2 แก้วหรือ ประมาณ 0.5 ลิตร หุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเมื่อสุกแล้วจะได้ข้าวสุก (ประมาณ 1 กิโลกรัม)

2. ตักข้ามที่หุงสุกใหม่ๆใส่ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว ถุงละ 2 แก้วน้ำ (ประมาร 250-300 กรัม) รีดอากาศออกจากถุงแล้ว พับปากถุงไว้ รอให้ข้าวอุ่นหรือเก็บเย็น จึงเทหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงในถุงพลาสติก (หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 ขวด บรรจุ 20 กรัม ใส่ในข้าวสุกได้จำนวน 16 ถุง รวมทั้งหมด 4 กิโลกรัม )

3. หลังใส่หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาแล้ว มัดปากถุงด้วยหนังยางให้แน่น (มัดให้สุดปลายถุง) เขย่าหรือขยำเบาๆให้หัวเชื้อคลุกเค้ากับข้าวสุกทั่วทั้งถุง ใช้ปลายเข็มเจาะถุงพลาสติกใต้หนังยางที่มัดเล็กน้อย ประมาณ 15-20 จุดต่อถุง (เพื่อให้มีอากาศถ่ายเท เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์มา) แล้วแผ่ข้าวสุกให้แบนราบ

4. บ่มเชื้อไว้ในที่มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างส่องถึง ไม่ตากแดด ปลอดภัยจากมด ไร และสัตว์อื่นๆ เมื่อครบ 2 วัน ขยำถุงเบาๆ เพื่อให้เส้นใยของเชื้อกระจายทั่วทั้งถุง บ่มถุงเชื้อต่ออีก 4-5 วันก่อนนำไปใช้ เมื่อบ่มเชื้อครบ 7 วันแล้ว ถ้ายังไม่ใช้ต้องเก็บถุงเชื้อไว้ในตู้เย็น แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 15 วัน


คำแนะนำ :
ในการบ่มเชื้อ ถ้าวางถุงเชื้อในที่มีแสงสว่างน้อย ควรเพิ่มแสงด้วยการติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดนีออน) ช่วยโดยให้แสงสว่างนาน 12 ชั่งโมง/วัน หรือตลอด24 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อ เชื้อที่ขึ้นดีจะมีสีเขียวเข้ม


คำเตือน :
ต้องขยายเชื้อโดยใช้หัวเชื้อบริสุทธิ์เท่านั้น ไม่ควรต่อเชื้อจากเชื้อที่ขยายแล้ว เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น และเชื้อที่ขยายต่อจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชลดลง




วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
การใช้ราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์
ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในอัตราส่วน1:4:100 โดยน้ำหนักโดย

- เติมรำข้าวเล็กน้อยลงไปในถุงเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คลุกเคล้าและบีบให้เชื้อที่เกาะเป็นก้อนแตกออก ต่อจากนั้นจึงเทเชื้อที่คลุกรำข้าวแล้วผสมกับรำข้าวที่เหลือให้ครบตามจำนวน แล้วคลุกให้เข้ากันอีกครั้ง

- นำหัวเชื้อสดที่ผสมกับรำข้าว (อัตราส่วน 1:4 โดยน้ำหนัก) ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำพอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย เมื่อได้ส่วนผสมของเชื้อสดกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปใช้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. การผสมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะชำ
ใส่ส่วนผสมของเชื้อสด ผสมดินปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%)นำดินปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุง หรือกระถางปลูก

2. การใส่หลุมปลูกพืช
- ใช้ส่วนผสมของเชื้อสด อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง) ต่อหลุม โรยในหลุมก่อนการหยอดเมล็ดพืช
- ใช้ส่วนผสมของเชื้อสดอัตรา 10-20 กรัมคลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ถ้าหลุมใหญ่อาจใช้ 50-100 กรัม/หลุม

3. การใช้เชื้อหว่านในแปลงปลูก
หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูกก่อนการปลูกพืช ด้วยอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูก ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต และกำลังมีโรคระบาด ด้วยอัตรา 50-100 ต่อตารางเมตร

4. การใช้เชื้อหว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืช
หว่านส่วนผสมเชื้อสดทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่มอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือโรยส่วนผสมเชื้อสด บริเวณโคนต้นพืชกรณีที่เกิดโรคโคนเน่า ด้วยอัตรา 10-20 กรัมต่อต้น

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดคลุกเมล็ดพืช
ใส่เชื้อสดลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ดอัตรา 10 กรัม (1ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี. บีบเชื้อสดให้แตกตัวเทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงแล้วเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งหรือใช้ปลูกได้ทันที


การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับน้ำ
ในกรณีที่ไม่สะดวกในการจัดหาปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และรำข้าวหรือกรณีที่ต้องการใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาลงดินโดยไม่ประสงค์จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์และรำข้าวลงไปในดินด้วย เนื่องจากไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เตรียมไว้ผสมกับน้ำ ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ 250 กรัม (เชื้อสด 1 ถุง) ต่อน้ำ 50 ลิตร ใช้น้ำเชื้อที่เตรียมได้ฉีดพ่นลงดินด้วยอัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร สำหรับขั้นตอนการใช้เชื้อสดผสมน้ำมีดังนี้

1. นำเชื้อสดมา 1 ถุง (250 กรัม) เติมน้ำลงไปในถุง 300 มิลลิลิตร (ซีซี.) หรือพอท่วมตัวเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม

2. กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่งจนเชื้อหลุดจากเมล็ดข้าวหมด เติมน้ำให้ครบ 50 ลิตร ก่อนนำไปใช้


1. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช
1.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนกระบะเพาะหลังจาดหยอดเมล็ดแล้วหรือในระหว่างที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโตโดยฉีดให้ดินเปียกฉุ่ม

1.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในถุงหรือกระถางปลูกพืช ตั้งแต่เริ่มปลูกหรือในระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโตโดยฉีดให้ดินเปียกชุ่ม


2. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืช
2.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืชหลังจากเพาะเมล็ดแล้ว โดยฉีดพ่นให้ดินเปียกชื้น

2.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืชหลังย้ายพืชลงปลูกแล้ว โดยฉีดให้ดินเปียกชื้น


3. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูกพืช
3.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงพืชหลังจากหว่านเมล็ด และคลุมแปลงด้วยฟางแล้วในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชทันที

3.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูก อัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ก่อนคลุมแปลงด้วยพลาสติกดำ
3.3 กรณีที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลง ในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร

4. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดโคนต้นพืชและใต้ทรงพุ่ม
4.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงตรงโคนต้นพืช และบนดินบริเวณรอบโคนต้นพืช โดยให้ผิวดินเปียกชื้น

4.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนดิน ใต้บริเวณใต้ทรงพุ่มและขอบชายพุ่ม ให้ดินพอเปียกชื้น



คำเตือน :
- ควรฉีดพ่นในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็นกรณีที่บริเวณที่ฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย

- ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อน หรือให้น้ำทันทีหลังฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพอเชื้อซึมลงดิน


ขณะนี้ทางโครงการ ได้ถ่ายทอดเทคนิคการผลิตหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาบริสุทธิ์ชนิดผงแห้งให้กับบริษัทยูนิซีดส์ จำกัด เพื่อดำเนินการผลิตจำหน่ายแล้ว ทางโครงการได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการดำเนินการยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเรื่อง "กรรมวิธีผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด โดยใช้หัวเชื้อบริสุทธิ์ชนิดแห้ง" จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดย บริษัท ยูนิซีดย์ จำกัด เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

นอกจากนี้ทางผู้วิจัยได้จักพิมพ์เอกสารวิชาการเรื่อง "การผลิตและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด" เรียบร้อยแล้ว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการเกษตรกู้ชาติ (ปี 2544) ผู้สนใจเอกสารดังกล่าวสามารถติดต่อขอรับได้ที่ ผศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร วิยาเขตกำแพงแสน



http://www.ku.ac.th/e-magazine/april45/agri/trichoderma.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/09/2011 9:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

487. ผลของกระทบไตรโคเดอร์มาต่อรากของทุเรียน
และการใช้ไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารเคมี



Researcher Name จิรเดช แจ่มสว่าง

Organization/source ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน


ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ชอบเจริญอยู่บริเวณผิวดิน และในดินที่มีความลึกไม่ เกิน 15 ซม. โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณผิวดินที่ปกคลุมด้วยเศษใบไม้ หรือเศษวัชพืช

ดังนั้น บริเวณใดที่มีการเกิดรากใหม่ ถ้ามีเชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญอยู่ในบริเวณดังกล่าว เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยป้องกันรากที่เกิดใหม่จากการเข้าทำลายของเชื้อราฟัยทอฟทอราได้ ส่งผลให้ระบบรากของทุเรียนแข็งแรง มีปริมาณมาก เพื่อทำหน้าที่ดูดซับน้ำ และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการเพิ่มความแข็งแรงและความสามารถต้านทาน โรคให้กับทุเรียนได้เป็นอย่างดี

ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง ย่อมได้รับผลกระทบจากสารเคมีควบคุมเชื้อรา สาเหตุโรคพืชบ้าง แต่จากการทดสอบ

พบว่า ปริมาณความเข้มข้นปกติของสารเคมีควบคุมเชื้อราหลายชนิด ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญ และการสร้างสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ยกเว้น สารเคมีในกลุ่มเบโนมิล และ คาร์เบนดาซิม เท่านั้น

สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช และไรต่างๆ ตลอดจนสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ในสวนทุเรียน ล้วนไม่ส่งผลกระทบต่อการ เจริญและความมีชีวิตของเชื้อราไตรโคเดอร์มา

อย่างไรก็ตามการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไม่ ให้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชทุกชนิดสัมผัสกับผงเชื้อราไตรโคเดอร์มาโดยตรง และในปริมาณ ที่มากเป็นสิ่งที่ควรกระทำ




http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=172&PHPSESSID=d4f7ba405e3613e9e009115e43ecc395
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

488. ไตรโคเดอร์มา ป้องกัน “โรคเหี่ยวของพริก”


เป็นเชื้อราปฏิปักษ์สามารถควบคุม เชื้อราไฟทอปธอราที่เป็น สาเหตุของโรคเหี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเชื้อไตรโคเดอร์มา จะเข้าทำลาย เส้นใยเชื้อราไฟทอป ธอรา ด้วยการพันรัด หรือแทง เข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อไฟทอปธอรา


จุดเด่น ของการใช้ เชื้อไตรโคเดอร์มา คือ เป็นการควบคุม โรคพืชโดยใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูธรรมชาติกำจัดสิ่งมีชีวิตที่เป็น สาเหตุของโรคพืชด้วยกัน


พริก เป็นพืชสวนครัวของคนไทยมาเป็นเวลานานและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เมื่อปลูกแล้วแล้วมักจะประสบปัญหาโรคศัตรูพริกหลายชนิด โดยเฉพาะในช่วงที่พริกเริ่มออกดอกมักจะมีเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวระบาดทำความเสียหาย

วิธีการหนึ่งที่สามารถควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของพริกอย่างได้ผลคือ การใช้เชื้อ ไตรโคเดอร์มาป้องกันโรคเหี่ยวของพริก

วิธีการใช้ นำผงเชื้อ 1 กิโลกรัม ผสมกับรำละเอียด 10 กิโลกรัม และ ปุ่ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์อย่างละ 40 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้ากันให้ทั่วและพรมน้ำให้ชุ่ม กองไว้ในที่ร่ม แล้วคลุมด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 7 วัน ก็นำไปใช้ได้เลยหรือผสมเสร็จใหม่ ๆ ก็นำไปใช้ได้เลยเช่นกัน ( ไม่ต้องทิ้งไว้ 7 วัน ) หรือนำผงเชื้อแห้งรองก้นหลุมได้เลย

การนำไปใช้
นำไปโรยก้นหลุมก่อนปลูก 1-2 ช้อนแกง/หลุม และ หว่านโคนต้นอีกครั้ง ก่อนพริกจะออกดอกประมาณ 10 วัน หรือ หลังจากปลูกได้ 45 วัน อัตรา 1-2 ช้อน แกง/ต้น หลังหว่านแล้วการให้น้ำก็ให้ตาม ปกติได้เลย แต่อย่าให้น้ำขังแฉะเกินไป


ข้อสำคัญ
เนื่องจากเชื้อไตรโคเดอร์มาเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต อยู่ไม่ควรผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีโดยตรง และไม่ควรใช้ สารกำจัดวัชพืชในแปลงที่มี การใช้เชื้อไตรโคเอร์มา เพราะอาจทำให้เชื้อนี้ตายได้มี การทดสอบ การใช้เชื้อ ไตรโคเดอร์มา เพื่อประโยชน์ในด้านควบคุมโรคพืช ได้อย่างชัดเจนในหลายประเทศ ในประเทศไทย ได้มี การศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการใช้เชื้อไตร โคเดอร์มา โดย ดร. จิระเดช แจ่มสว่าง ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเวลานานจนยอมรับ การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อควบคุมโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราไฟทอปธอราที่มีประสิทธิภาพ



http://www.weloveshopping.com/template/a13/show_article.php?shopid=127087&qid=59790
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

489. โรครากหรือหัวเน่าในมันสำประหลัง





โรครากหรือหัวเน่า (Root and Tuber Rot Diseases)

*(โรคหัวเน่าที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora ใช้เชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า)

สาเหตุของโรครากเน่ามีเชื้อรา 36 ชนิด บักเตรี 4 ชนิด และ Phytomonas 1 ชนิด สำหรับเชื้อราสาเหตุที่สำคัญ คือ เชื้อราในสกุล Fusarium spp. Diplodia spp. Phytophthora spp. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง P. drechsleri และ Pythium spp. ในประเทศไทยเท่าที่สำรวจมีอยู่ 3 ชนิด



- โรคหัวเน่า (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot) เชื้อสาเหตุคือ Phytophtora drechsleri
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วงถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย



- โรคหัวเน่าแห้ง (Dry Root Rot หรือ White Thread) เชื้อสาเหตุคือ Rigidoporus (Formes) lignosus
ลักษณะอาการ จะเกิดเส้นใยสีขาวในดินรอบโคนท่อนพันธุ์และราก เส้นใยของเชื้อจะเข้าทำลายก้านมันสำปะหลังทางแผลของท่อนพันธุ์หรือรากทำให้เน่า ใบเหี่ยวและจะตายไปในที่สุด



การป้องกันกำจัด
- การเตรียมแปลงปลูก ควรจะเป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดี ไม่ควรเป็นที่เคยมีน้ำท่วมขังหรือใกล้ทางระบายน้ำ หากดินระบายน้ำยาก ควรปลูกโดยวิธียกร่อง

- ทำความสะอาดแปลงก่อนปลูกโดยการทำลายเศษพืชที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

- คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และปราศจากโรค

- ถ้าพบอาการรากเน่าเกินกว่า 3% ควรงดปลูกพืชนานอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากพืชสาเหตุมีพืชอาศัยกว้าง




ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://210.246.186.28/power_oil/cassava/protect.htm

http://www.weloveshopping.com/template/a13/show_article.php?shopid=127087&qid=34208
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

490. ไตรโคเดอร์มา เป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช


โรคเมล็ดเน่า} โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ)} รากเน่า} หัวหรือแง่งเน่า} และโคนเน่า, โรคราดำของมะเขือเทศ, โรคดอกสนิมของกล้วยไม้, โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง, โรคแคงเกอร์ของมะนาว, โรคแอนแทรคโนสของมะม่วง และพริก



เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืชซากสัตว์และอินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า "โคนิเดีย" หรือ "สปอร์" จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีขาว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิตและแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช

คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วนละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค

จากผลการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ.2528 ถึงปัจจุบัน สามารถคัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์มา จากดินในธรรมชาติได้หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ CB-Pin-01 มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคของพืช เศรษฐกิจต่างๆทั้งพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด ได้ในสภาพแปลงเกษตรกร ทั้งโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) รากเน่า หัวหรือแง่งเน่า และโคนเน่า เป็นต้น

โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ผล ใบ หรือดอก เช่น

- โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง
- โรคแคงเกอร์ของมะนาว
- โรคราดำของมะเขือเทศ
- โรคใบปื้นเหลืองและโรคดอกสนิมของกล้วยไม้
- โรคแอนแทรคโนสของมะม่วงและพริกทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมโรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกินใบต่างๆ ที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร(ระบบไฮโดรโพนิกส์) และจากผลการวิจัยล่าสุดพบว่าการแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนใช่หว่านลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ของข้าวที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด ตลอดจนช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ด และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ด้วย

ที่มา : บทความส่วนหนึ่งในเวปไซด์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เชื้อราสาเหตุ ที่สามารถควบคุมโดย เชื้อไตรโคเดอร์ม่า

ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
สามารถควบคุมราที่ทำให้เกิดโรคพืชได้หลายชนิดเช่น
1 เชื้อราพิเทียม ทำให้เกิดรากเน่า โคนเน่า โรคยอกเน่าของต้นกล้าในพืชไร่
2.เชื้อราไฟท็อบเทอร่า ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล
3.เชื้อสคลอโรเทียม ทำให้เกิดโรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผัก
4.เชื้อราฟิวซาเรียม ทำให้เกิดโรคเหี่ยวในไม้ดอก
5.เชอราไรซ็อกโตเนีย ทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน


ข้อระวังในการใช้
1.ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ในบริเวณที่แฉะ
2.ไม่ควรใช้สารเคมีในแปลงที่มีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
3.ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราในแปลงที่มีการใช้เชื้อราไตรโค




http://www.weloveshopping.com/template/a13/show_article.php?shopid=127087&qid=34191
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

491. โรครากขาวในยางพารา ควบคุมด้วยไตรโคเดอร์ม่า






โรครากขาว (disease white root)

เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus (Klotzsch) lmazeki สามารถพบเห็นการเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปโดยจะแทงเส้นใยเข้าไปในเนื้อเยื่อ ทำให้การทำงานของเชลล์รากเสียหายไม่สามารถดูดน้ำดูดอาหารได้เต็มที่ ทำให้ขบวนการสังเคราะห์แสงของยางพาราค่อยๆ ลดลง เมื่อระบบรากถูกทำลาย ยางพาราจะแสดงอาการให้เห็นที่ทรงพุ่มและนั่นเป็นระยะที่รุนแรงไม่สามารถจะรักษาได้ บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏเส้นใยราสีขาวเจริญแตกสาขาปกคลุม เกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีดในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม หากพบในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม ดอกเห็ดนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว ส่วนใหญ่พบการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกและมีความชื้นสูง

“ยางพารามีอาการใบเหลือง หรือจุดปื้นเหลืองทั่วบริเวณใบ ใบมีขนาดเล็กลง ยอดหยุดนิ่งไม่แตกยอด น้ำยางไม่ไหลในยางเปิดกรีด มีเส้นใยสีขาวหรือเหลืองขึ้นบริเวณโคนต้นคล้ายตาข่าย บางต้นอาจมีดอกเห็ดลักษณะคล้ายเห็ดหลินจือแต่มีขอบดอกสีขาว” แต่รับประทานเป็นอาหารไม่ได้

ขั้นตอนในการป้องกันและกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชโดยใช้เชื้อไตรโครเดอร์ม่าสายพันธุ์ฮาร์เซียนัม ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุม ทำลาย ยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุของโรคพืชที่ก่อให้เกิดอาการโรครากขาว หรือโรครากเน่าโคนเน่ารวมถึงพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็น เชื้อราเมล็ดผักกาด (Sclerotium rolfsii) เชื้อราพิเทียม (Pythium sp.) เชื้อราไรซอคโทเนีย (Rhizoctonia sp.) เชื้อราฟัยทอปโทรา (Phytophthora sp.) และเชื้อราฟูซาเรียม (Fusarium sp.) ซึ่งเชื้อราสาเหตุโรคพืชเหล่านี้เมื่อเข้าทำลายระบบรากพืช จะทำให้พืชแสดงอาการรากเน่าและโคนเน่า ในต้นที่แสดงอาการรุนแรงจะเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด ซึ่งหน่วยงานราชการบางหน่วยงานได้มีการวิจัยและส่งเสริมให้เกษตรกรนำเชื้อราไตรโครเดอร์ม่ามาใช้ควบคุมโรคพืช เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี ลดสารพิษตกค้างในพืชและสภาพแวดล้อม


เทคนิคการนำเชื้อไตรโครเดอร์ม่าไปใช้ในแปลงยางพาราที่เป็นโรครากขาว สามารถทำได้ดังนี้ (สามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งได้)

1 .ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก. ผสมร่วมกับปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) 50 กก. และภูไมท์ซัลเฟต 20 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปหว่านรอบทรงพุ่ม โดยห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร อัตรา 1-2 กก./ต้น

2. ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 100 กรัม ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 15 วันครั้ง


3. ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 ช้อนแกง (20 กรัม) ผสมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก. และน้ำเปล่า 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 8-10 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตร ฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 7 วันครั้ง




http://www.weloveshopping.com/template/a13/show_article.php?shopid=127087&qid=70813
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

492. นํ้ายาชนิดใหม่สำหรับสกัดโปรตีนจากจุลชีพ




คำอธิบายเทคโนโลยี
นํ้ายาชนิดใหม่สำหรับสกัดโปรตีนจากจุลชีพให้ได้หลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ และรา โดยไม่ต้องใช้วิธีทางเครื่องกล (mechanical disruption) ที่ทำให้เซลล์แตก


การสกัดโปรตีนออกจากเซลล์จุลชีพเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาวิจัย เพื่อนำโปรตีนที่ได้ไปทำการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ที่สนใจต่อไป ปัจจุบันวิธีการสกัดโปรตีนออกจากเซลล์สามารถทำได้โดยวิธีการทางกล (physical method) เช่น การใช้ความดัน (French press) การใช้การบด (homogenization) หรือการใช้คลื่นความถี่สูง (sonication) แต่วิธีการดังกล่าวมักต้องอาศัยการใช้เครื่องมือราคาแพง และต้องอาศัยความชำนาญทางเทคนิค ส่วนวิธีการเคมีนั้นปัจจุบันมีการจำหน่ายน้ำยาสกัดโปรตีนสำหรับจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง



สรุปเทคโนโลยี
น้ำยาที่พัฒนาขึ้นเป็นการสกัดโปรตีนด้วยวิธีการทางเคมีโดยอาศัยการทำให้เซลล์แตกด้วยสารเคมีจำพวกสารลดแรงตึงผิว (surfactant) เนื่องจากสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ



จุดเด่นของเทคโนโลยี
1. สามารถใช้ในการสกัดโปรตีนได้จากทั้งแบคทีเรีย ยีสต์ และรา ในขณะที่น้ำยาที่นำเข้ามักใช้ได้กับจุลินทรีย์เพียงบางชนิดเท่านั้น

2. สามารถใช้กับจุลินทรีย์ที่สำคัญได้หลากหลายชนิด โดยที่ยังคงรักษากิจกรรมทางชีวเคมีของโปรตีนไว้เพื่อให้ได้โปรตีนที่มีคุณสมบัติที่ดีในการนำไปศึกษาวิจัยต่อไป

3. สามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าน้ำยาที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก (ถูกกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบราคาขาย)

4. น้ำยาสกัดโปรตีนที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการสกัดจีโนมิกดีเอ็นเอ (Genomic DNA) ของพวกจุลินทรีย์ต่างๆได้โดยเพิ่มขั้นตอนการตกตะกอนดีเอนเอเข้าไป






ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
คุณสุมลวรรณ สังข์ช่วย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-564-6700 ต่อ 3133
โทรสาร 0-2564-6985

E-mail sumonwan@biotec.or.th
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บันทึกข้อมูลโดย : นาย เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ, http://www.clinictech.most.go.th,

http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/biotechnology/00000-963.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

493. ชุดตรวจสอบเอนไซม์ ENZhance


“ชุดตรวจสอบเอนไซม์ ENZhance”

สำหรับตรวจสอบเอนไซม์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม
การใช้ “ชุดตรวจสอบเอนไซม์ ENZhance” เพื่อตรวจสอบกิจกรรมของเอนไซม์ที่ผลิตจากแบคทีเรีย



ข้อดีของชุดตรวจสอบเอนไซม์แบบเททับ

Sensitive : เพิ่มความไวและความแม่นยำในการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ ทำให้ตรวจสอบกิจกรรมของเอนไซม์ได้แม้กิจกรรมของเอนไซม์จะอยู่ในระดับต่ำ



Independent : ตรวจสอบการทำงานของเอนไซม์ได้โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับสภาวะการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้สามารถตรวจสอบกิจกรรมของเอนไซม์ที่สภาวะต่างๆได้หลากหลาย เช่น อุณหภูมิ (4-55° c) pH (3-12) ความเข้มข้นของสารเคมี เป็นต้น เพื่อให้ได้เอนไซม์

ที่เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมได้จริง

User – friendly : ใช้ง่ายไม่ต้องอาศัยความชำนาญทางเทคนิค

Inexpensive : ราคาถูกเมื่อเทียบกับวิธีการดั้งเดิม

Versatile : ใช้ตรวจสอบเอนไซม์ได้หลากหลายชนิด ขึ้นกับสารตั้งต้นที่ใช้ และตรวจได้พร้อมกันหลายเอนไซม์ในปฏิกิริยาเดียว

Fast : เพิ่มความเร็วในการตรวจสอบเมื่อเทียบกับวิธีการดั้งเดิม

Intra / Extracellular : สามารถตรวจสอบกิจกรรมเอนไซม์ทั้งแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์แล้วปลดปล่อยออกมานอกเซลล์หรือเก็บสะสมไว้ในเซลล์ได้

Viable : ภายหลังการตรวจสอบสามารถนำเซลล์ไปเพาะเลี้ยงต่อเพื่อผลิตเอนไซม์ที่สนใจได้


ชุดตรวจสอบเอนไซม์แบบเททับ ชุด A (ENZhance Complete) Kit A

การใช้งาน สามารถใช้ตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์หนึ่งชนิดหรือมากกว่า 1 ชนิดในช่วง pH4(กรด),7(กลาง)และ10(ด่าง)



เหมาะสำหรับ
1)ผู้เริ่มต้นการทำงานตรวจสอบเอนไซม์จากเชื้อจุลินทรีย์

2) ผู้ประกอบการที่ต้องการตรวจสอบเอนไซม์จากเชื้อจุลินทรีย์อย่างรวดเร็ว

3) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย



ประกอบด้วย
10*reagent buffer pH 4.0 ขนาด 40 ml

10*reagent buffer pH 7.0 ขนาด 40 ml

10*reagent buffer pH 10.0 ขนาด 40 ml

สับสเตรทสำหรับเอนไซม์เซลลูเลส 0.05 g

สับสเตรทสำหรับเอนไซม์ไซแลนเนส 0.05 g

สับสเตรทสำหรับเอนไซม์อะไมเลส 0.05 g

สับสเตรทสำหรับเอนไซม์โปรตีเอส 2.0 g



ดูรูปภาพประกอบ


สำหรับการตรวจสอบเอนไซม์ 10 ครั้งที่แต่ละ pH

ชุดตรวจสอบเอนไซม์แบบเททับ ชุด B (ENZhance Wide pH) Kit B

การใช้งาน สามารถใช้ตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ ในการสร้างเอนไซม์ที่น่าสนใจได้ในทุกช่วง pH (3-12


เหมาะสำหรับ
1. ผู้ที่ต้องการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ที่สร้างเอนไซม์ที่สนใจโดยผู้วิจัยมีสับสเตรทที่ต้องการตรวจสอบอยู่แล้ว

2. ผู้ที่ต้องการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ที่สร้างเอนไซม์ที่ทำงานได้ดีในช่วงที่ไม่ใช่ pHมาตรฐานเช่น pHที่เป็นกรดหรือด่างสูง

ซึ่งชุดตรวจธรรมดาไม่สามารถตรวจสอบได้ ประกอบด้วย
10* reagent buffer pH 3.0-12.0 ขนาด 10 ml



ที่มา : Techno Mart 2007
บันทึกข้อมูลโดย : นาย เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ, http://www.clinictech.most.go.th,

http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/biotechnology/00000-785.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

494. ปัจจัยในการกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอก


สืบเนื่องจากหลายกระทู้ที่ผ่านมา มีบางคนสงสัย ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้นไม้ที่ปลูกอยู่ไม่ออกดอก หรือบางคน กล่าวหาว่า ผู้ที่ตอบในกระทู้ที่เขาถามรู้จักต้นไม้ที่เขาถาม หรือแนะนำเขาจริงๆหรือเปล่า

ส่วนตัวผมคิดว่า คงไม่มีใครที่ไม่รู้จริงแล้วกล้าตอบลงไปครับ เสียชื่อเปล่าๆ ถ้าผู้ที่ถามมีจิตวิทยาดีหน่อย จะช่วยถนอมน้ำใจคนที่ตั้งใจตอบไม่ให้เสียความรู้สึกได้เลย

ส่วนในกระทู้นี้ ผมอยากเชิญชวนหลายๆท่านที่มีความรู้, หรือมีประสบการ์ณมาร่วมแบ่งปันความรู้ หรือบางท่านร่วมแสดงความคิดเห็น จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆครับ ผิดถูก ไม่เป็นไรครับ ผมจะยกบางตัวอย่างเป็น สังเขป ถ้าไม่ถูกช่วยเสริม หรือแย้งก็ดีครับ

แต่ผมปลูกต้นไม้มานานนับ 20 ปีครับ จากที่ศึกษามาบ้าง หรือจากการสังเกตุปัจจัยนึง ใช้ความเย็น เป็นตัวกระตุ้นในการทำให้เกิดตาดอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าต้นไม้แต่ละชนิดต้องการระดับอุณหภูมิต่ำไม่เท่ากันด้วย ต้นไม้ดอก ก็เช่น ทิวลิป , ไฮแดรนเยีย , ไฮยาซิน, แกลดิโอลัส, BIRD OF PARADISE, โคมญี่ปุ่น (FUCHSIA) ฯลฯ

บางชนิดไม่ต้องใช้ความเย็นช่วยในการออกดอก แต่ถ้าปลูกในที่มีอากาศเย็นจะกระตุ้น ให้ออกดอกได้มากกว่าพื้นที่อื่นในรอบปี เช่น กล้วยไม้ คัทลียา ปลูกที่ เชียงใหม่ จะมีดอกได้มากกว่าที่ กทม.

ไม้ผลที่ต้องการอากาศเย็นอุณหภูมิต่ำในตอนกลางคืน ก่อนออกดอกระยะนึง ก็เช่น มะม่วง, ลำใย แอปเปิ้ล ฯลฯ ในปีใดที่มีอากาศเย็นต่อเนื่องนาน หรือมีอากาศหนาวจัด ทางซีกโลกเหนือในปีนี้ จะสังเกตุว่าไม้ดอกยืนต้นก็จะออกดกได้มาก, ปัจจัยที่ใช้ช่วงแสงในรอบวันเป็นการกระตุ้นให้เกิดตาดอก เช่น ในฤดูหนาว (อากาศอาจไม่หนาวนัก) ท้องฟ้าสว่างช้าแต่มืดเร็ว ต้นไม้ที่ออกดอกด้วยปัจจัยนี้ ก็เช่น เบญจมาศ, รักเร่, ดาวเรืองฝรั่งเศส, ดาวกระจาย ชนิดดอก สีชมพู อ่อน, เข้ม, ขาว, ม่วง, ว่านสี่ทิศ, ว่านอื่นๆบางชนิด ฯลฯ,

ปัจจัยที่ใช้ CARBON RATIO เป็นตัวกระตุ้นการออกดอก CARBON RATIO คือ ธาติ CARBON. ในต้นไม้จะมีมากกว่าธาติ NITROGEN ก็คือ มีความชื้นในดินน้อยลง และได้รับแสงสว่างมาก ในธรรมชาติ ในสภาวะที่ต้นไม้ได้รับแสงสว่างมาก และดินแห้ง เช่น ปลายฤดูหนาว-ฤดูร้อน แดดจัด ความเข้มของแสงมีมาก จึงกระตุ้นให้ ต้นไม้ มีปริมาณ CARBON ในต้นสูงกว่าปริมาณในโตรเจน ต้นไม้จึงออกดอกได้ง่าย และมากด้วยในช่วงนี้ เช่น ไม้ดอกไม้ผลหลายชนิด เช่น มะนาว, เฟื่องฟ้า, กุหลาบ ฯลฯ

การบังคับต้นไม้ให้ออกดอกในฤดูอื่น เช่น มะนาว และเฟืองฟ้า ให้ออกดอกในกระถางได้ตลอดก็ใช้หลักการนี้ นอกจากนี้ต้นไม้หลายชนิด ยังใช้หัวน้ำตาลเข้มข้น ผสมน้ำ ฉีดกระตุ้นให้ต้นไม้สะสมอาหาร เป็นการเพิ่ม CARBON ในต้น ช่วยให้การออกดอกได้ง่ายขึ้น ในปัจจุบันมีหลายบริษัท ทำการปรับปรุงพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ตลอดเวลาเพื่อเอา
ชนะธรรมชาติ และเอาใจผู้ที่รักต้นไม้ เช่น ทำให้ต้นไม้ออกดอกออกผลได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องง้ออากาศหนาว อากาศร้อน ก็ปลูกไก้ หรือไม่ต้องง้อ ความเข้มแสง ฯลฯ

หากท่านใดมีข้อมูลเสริม เชิญแสดงความเห็น ต่อได้เลยครับ



http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2006/04/J4314249/J4314249.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

495. กุหลาบในขวดแก้ว ปูทางธุรกิจโฉมใหม่





เลิกคิดเรื่องเก็บเวลาในขวดแก้วที่ไร้สาระเสียเถอะ ปลูกกุหลาบจิ๋วในขวดแทนดีกว่า

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ คิดค้นเทคนิคเพาะพันธุ์กุหลาบจิ๋วในขวดแก้ว รองรับความต้องการในตลาดไม้ดอกไม้ประดับ เผยการทดลองเบื้องต้นประสบความสำเร็จ โดยกุหลาบกว่า 90% ผลิดอก เดินหน้าพัฒนาสูตรอาหารเจลที่มีคุณสมบัติพิเศษในการชักนำให้ดอกไม้แตกดอก

นายอิทธิฤทธิ์ อึ้งวิเชียร นักวิชาการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ทีมวิจัยสามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกุหลาบจิ๋ว ให้ผลิดอกในขวดแก้วได้กว่า 90% จากจำนวนกุหลาบที่เพาะเลี้ยงทั้งหมด โดยใช้เวลาเพียง 45 วัน และเตรียมพัฒนาสูตรอาหารที่จำเพาะ ซึ่งมีคุณสมบัติชักนำให้กุหลาบจิ๋วผลิตได้อย่างคงที่ คาดว่าต้องใช้เวลาในการศึกษาอีกระยะหนึ่ง

ส่วนความคืบหน้าของการวิจัย อยู่ระหว่างการพัฒนาวิธีเพาะเลี้ยงกุหลาบจิ๋วในขวดแก้ว ให้สามารถผลิดอกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการผลิตดอกยังขาดความแน่นอน นอกจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกุหลาบจิ๋วแล้ว วว.ยังทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากไม้ดอกไม้ประดับอีกหลากหลายชนิด เช่น เดหลีจักรพรรดิ กล็อกซิเนีย แอฟริกันไวโอเลต และต้นออมเงินออมทอง เป็นต้น

นักวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า กุหลาบจิ๋วมีมากกว่า 50 สายพันธุ์ ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและต่างประเทศ ทีมวิจัยเลือกใช้สายพันธุ์ของไทยในการวิจัย โดยเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่นิยมเพาะพันธุ์ในกลุ่มธุรกิจชุมชน (โอท็อป) คาดว่าหากสามารถขยายพันธุ์กุหลาบจิ๋วได้เป็นจำนวนมาก ในระยะเวลาที่ต้องการ จะเพิ่มศักยภาพการผลิตให้กลุ่มโอท็อป และส่งออกไปยังต่างประเทศได้มากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ วว.ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้แก่โรงเรียนตามชนบทตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยในปี 2551 คาดว่าจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนครบทั้ง 190 แห่งทั่วประเทศ

นอกจากนี้ วว.เตรียมตั้งศูนย์อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในโรงเรียนปทุมวนารามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจะเป็นศูนย์อบรมแห่งแรกในกรุงเทพฯ เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป


http://www.siamptc.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538691482&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/09/2011 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

496. กัญชา








http://th.asiaonline.com/article?article=Cannabis_cultivation
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

497. ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของพืช





ถอดความจากผลงานของ Dorothy Morgan



เหล็ก
เป็นธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อโครงสร้างเอนไซม์หลายชนิด และยังเป็นตัวเร่งการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ จึงมีความจำเป็นกับการเจริญเติบโตของพืชในช่วงแรกๆ เมื่อขาดธาตุเหล็กพืชจะแสดงอาการซีดที่ใบอ่อน สีใบเหลือง เส้นใบนูนขึ้น เหล็กสามารถถูกชะล้างได้และมักอยู่ในดินชั้นล่าง หากดินมีภาวะเป็นด่างสูง เหล็กจะถูกปลดปล่อยออกมาอย่างมากโดยที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ การให้ธาตุเหล็กกับพืชจึงควรให้ในรูปคีเลตซึ่งเป็นกรดในรูปน้ำก็จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้



แมงกานีส
มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์แสง การหายใจ และ metabolism อาการขาดธาตุแมงกานีสจะคล้ายกับการขาดเหล็กคือมีแสดงที่ใบอ่อนมีสีซีดลง หลังจากนั้นจากเปลี่ยนเป็นสีขาว อาจมีจุดสีน้ำตาล ดำ หรือเทาใกล้เส้นใบ เรามักพบอาการนี้ได้บ่อยกว่ากับดินที่มีสภาพเป็นกลางหรือด่าง ในดินกรดจัดพืชนำแมงกานีสไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แต่หากปริมาณมากเกินไปก็อาจเกิดภาวะพิษต่อพืชได้เช่นกัน



โบรอน
จำเป็นต่อการสร้างผนังเซล ความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ และช่วยในการลำเลียงน้ำตาล โบรอนเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อ 16 กระบวนการในพืชซึ่งประกอบด้วยการออกดอก การผสมเกสร การติดผล การแบ่งเซล การลำเลียงน้ำ และการเคลื่อนย้ายฮอร์โมน ปกติแล้วพืชต้องการโบรอนตลอดช่วงชีวิต มันเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายและถูกชะล้างไปจากดินได้ง่าย หากขาดโบรอน เซลปลายยอดที่ตาพืชจะตาย ใบหนาแข็งม้วนแต่เปราะกรอบฉีกง่าย ในไม้ผลและพืชที่สะสมอาหารที่รากและหัวสีจะซีด แตกหรือด่างเป็นจ้ำสีน้ำตาล



สังกะสี
เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หรือเป็นส่วนประกอบร่วมของเอนไซม์ฮอร์โมนหลายชนิดเช่น auxin สังกะสีมีความจำเป็นในกระบวนการ metabolic แป้งและน้ำตาล การสังเคราะห์โปรตีน การยืดตัวของเซลเนื้อเยื่อ เมื่อขาดสังกะสีใบจะเป็นจุดซีดๆ การขาดสังกะสีในเบื้องต้นจะส่งผลกระทบให้พืชแสดงอาการขาดเหล็กด้วย ช่วง pH ที่พืชสามารถใช้ประโยชน์จากสังกะสีได้ดีคือ 5.5-7.0 หากเป็นกรดกว่านี้สังกะสีอาจเป็นพิษต่อพืชได้



ทองแดง
มีสำคัญต่อระบบรากพืชและมีส่วนช่วยในกระบวนการ metabolism ไนโตรเจน ทองแดงเป็นส่วนประกอบในเอนไซม์หลายชนิด หากขาดทองแดงพืชจะมีอาการยืนต้นตายจากปลายยอด ที่ปลายใบมีจุดสีน้ำตาล ทองแดงจะถูกจับอยู่ในดินกับส่วนอินทรียวัตถุและอาจพบว่าพืชแสดงอาการขาดอย่างรุนแรงในภาวะดินเป็นกรดจัด แม้มันจะถูกจับยึดติดอยู่กับดินแต่อาจจะอยู่ในภาวะที่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับพืช ปริมาณทองแดงที่มากเกินไปก่อให้เกิดอาการพิษกับพืชได้เช่นกัน



โมลิบดินัม
เป็นส่วนประกอบโครงสร้างของเอนไซม์ ในการ reduction ไนเตรทให้เป็นอัมโมเนีย หากขาด กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนจะหยุดชะงัก การเจริญเติบโตของพืชจะหยุดเช่นกัน ในพืชตระกูลถั่วที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ต้องการโมลิบดินัมมาก อาการขาดจะแสดงที่ใบโดยจะมีสีซีดลง ม้วนงอ

ยังเหลือตอนสุดท้ายอีก 5 ธาตุจ้า



http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nahoad&month=24-01-2007&group=4&gblog=9
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

498. ผึ้งและนก สัตว์ผู้อยู่เบื้องหลังครัวโลก





มีผลงานการศึกษาชิ้นแรกของโลกที่เกี่ยวกับการประมาณการผลผลิตทางการเกษตรนั้น แมลงและสัตว์อย่างผึ้ง นกและค้างคาว มีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเกสร และมีผลต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้ถึง 35% ต่อ 87 พืชอาหารที่สำคัญในโลกของเรา ผลงานการศึกษาชิ้นนี้เป็นของ Alexandra-Maria Klein จาก University of Goettingen ในเยอรมัน และ Claire Kremen จาก University of California Berkeley ซึ่งได้ทำการศึกษามาจากแหล่งเพาะปลูกพืชใน 200 ตัวอย่าง

รายงานการศึกษาฉบับนี้ระบุว่าได้ทำการศึกษาพืช 115 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้ 87 ชนิดการให้ผลผลิตมีความเกี่ยวข้องกับการช่วยผสมเกสรจากสัตว์ ซึ่งในจำนวนนี้นับเป็น 1 ใน 3 ของพืชอาหารที่สำคัญในโลกทีเดียว ในจำนวนนี้ พืช 13 ชนิด มีความต้องการการช่วยผสมจากสัตว์อย่างสมบูรณ์ นั่นคือจะไม่ติดผลหากไม่มีสัตว์ช่วยผสม นอกจากนี้พืชอีก 30 ชนิดมีความเกี่ยวข้องในระดับสูง และ 27 ชนิดมีความเกี่ยวข้องในระดับปานกลาง แต่พืชอาหารที่สำคัญอย่างข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าวกลับไม่มีความสัมพันธ์มากนักระหว่างการช่วยผสมเกสรของสัตว์กับการให้ผลผลิต

Klein กล่าวว่า “การช่วยผสมเกสรของสัตว์เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะเป็นส่วนช่วยให้ได้ผลผลิตมากขึ้น แต่ยังช่วยในการรักษาสมดุลในกับนิเวศด้วย ดังนั้นเราต้องช่วยกันสร้างเสริมความหลากหลายทางชีวภาพนี้ไว้เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ได้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยการวางแผนจัดการโรค แมลง วัชพืช และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์”

รายงานฉบับเต็มหาอ่านได้ที่ The Proceedings of the Royal Society B : Biological Sciences



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nahoad&month=12-2006&date=06&group=4&gblog=7
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

499. วิกฤตน้ำจืด





ทุกวันนี้ 1 ใน 4 ของมนุษย์โลกกำลังเผชิญวิกฤตภายใต้ความขาดแคลนน้ำใช้ในชีวิตประจำวัน นั่นคือมีน้ำใช้ต่อปีน้อยกว่า 1,700 Cubic metre ต่อปี มีการคาดการณ์กันว่าในปี พ.ศ.2592 หรือ 41 ปีต่อจากนี้ ความต้องการใช้น้ำอุปโภคและบริโภคในครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น 61% และความต้องการใช้น้ำในภาคเกษตรก็จะเพิ่มขึ้น 140% หากการคาดการณ์ข้างต้นไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก ปี พ.ศ.2568 วิกฤตการขาดแคลนน้ำจะคุกคาม 2 ใน 3 ของประชากรโลก และ 1 ใน 4 จะเผชิญวิกฤตหนักหน่วงคือแทบไม่มีน้ำให้ใช้เลย

มุมภาพกลับกันคือความต้องการใช้น้ำในปัจจุบัน อาจจะเรียกได้ว่า "ไม่บันยะบันยัง" ในเมือง Gujarat ของอินเดียเมืองเดียว มีเครื่องสูบน้ำ 20 ล้านตัว ถ้าเทียบกับปี พ.ศ. 2498 หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในเวลานั้นเมืองนี้ทั้งเมืองมีเครื่องสูบน้ำเพียง 1 แสนเครื่องเท่านั้น หรือในเขตเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของอเมริกา การสูบน้ำเพื่อเติมเต็มในถังสำรองใช้น้ำในฟาร์ม เฉลี่ยต้องสูบน้ำจากแหล่งธรรมชาติถึง 14 ครั้งเพื่อจะเติมให้เต็มได้ ความน่ากลัวด้าน Water supply อีกประเด็นหนึ่งคือ ปริมาณน้ำใต้ดินของโลกเพิ่มขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบอัตราส่วนที่ได้ใช้ไป และแหล่งน้ำใหม่ก็ยังไม่สามารถหามาทดแทนได้

เพื่อนร่วมโลกของเราอีก 1,100 ล้านคนกำลังขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค หากจะมองภาพในอดีตตัวเลขที่กล่าวถึงน่าใจหายอยู่ไม่น้อย เพราะปี พ.ศ.2533 ในขณะนั้นมีจำนวนคนที่เผชิญวิกฤตนี้ 410 ล้านคน และเพิ่มเป็น 530 ล้านคนในปี 2547 ตีตัวเลขกลมๆ ก็คือ เพิ่มขึ้น 2 เท่าใน 4 ปี

สำหรับปัญหาน้ำเพื่อการอุปโภค คนจำนวน 2,600 ล้านในโลกกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำอุปโภค หากแบ่งตาม Sector ภาคเกษตรยังคงครองแชมป์การใช้น้ำ โดยมีสัดส่วนการใช้น้ำ 70% ตามด้วยภาคอุตสาหกรรม 20% ส่วนการใช้ในครัวเรือนมีสัดส่วนการใช้ 10% ประมาณกันว่าอาหารที่เรารับประทานกันทุกวันนั้น มาจากวัตถุดิบทางการเกษตรที่ต้องใช้น้ำในกระบวนการเพาะปลูกถึง 6,000 ลิตร ยกตัวอย่างข้าว 1 กิโลกรัมอาจจะต้องใช้น้ำในการปลูกมากถึง 5,000 ลิตร

ถอดความจากหลายแหล่ง โดยมากจาก UN Report



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nahoad&month=07-2008&date=21&group=4&gblog=19
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

500. กระบวนการลำเลียงน้ำของพืช


กระบวนการลำเลียงน้ำของพืช ซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยน้ำออกสู่บรรยากาศโดยทั่วไปก็ทางใบ ลำต้น ดอกและราก ที่ผิวใบพืชมีเซลชุดที่เรียกว่าปากใบทำหน้าที่ปิดเปิดเพื่อรักษาดุลความชื้น พืชโดยมากแล้วจะมีปากใบอยู่ที่ท้องใบ นอกจากนี้ปากใบยังเป็นจุดที่พืชดูดเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงอีกด้วย

การลำเลียงน้ำจากรากขึ้นสู่ใบเกิดโดยเมื่อพืชปลดปล่อยน้ำออกสู่บรรยากาศทางปากใบ เมื่อความดันของน้ำที่บริเวณบนของต้นพืชลดลง ส่วนรากของพืชจะเริ่มดูดเอาความชื้นจากดินหรืออากาศกลับเข้าสู่ต้น ในขั้นตอนนี้มันจะดูดเอาธาตุอาหารเข้ามาใช้โดยผ่านท่อลำเลียงอาหารที่เรียกว่า Xylem

อัตราการลำเลียงน้ำขึ้นอยู่กับการเปิดของปากใบซึ่งก็เชื่อมโยงกับสภาพบรรยากาศรอบๆ ต้นพืชในขณะนั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการระเหยน้ำจากต้นพืชได้ขึ้นอยู่กับขนาดของใบ ความเข้มของแสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วของลมที่พัดผ่าน ยิ่งไปกว่านั้นดิน น้ำและอุณหภูมิในดินยังมีอิทธิพลต่อการเปิดของปากใบและอัตราการลำเลียงอีกด้วย

ต้นไม้ใหญ่สามารถคายน้ำได้เป็นหลายร้อยแกลลอนในวันที่มีอากาศร้อนจัด ต้นไม้ในทะเลทรายและพืชในวงศ์สนปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมด้วยกลไกพิเศษ เช่นการมีผิวใบหนาเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ หรือการมีใบขนาดเล็กเพื่อลดการระเหยน้ำลง พืชบางชนิดมีปากใบที่อยู่ลึกลงใบในเนื้อใบและอาจมีขนเล็กๆ เพื่อช่วยชะลอการคายน้ำออกสู่บรรยากาศ พืชในสกุลกระบองเพชรหลายชนิดสามารถสังเคราะห์ใบในส่วนที่เป็นลำต้นโดยไม่จำเป็นต้องมีใบ พืชทะเลทรายหลายชนิดมีระบบการสังเคราะห์แสงแบบ CAM Crassulacean Acid Metabolism เพราะแทนที่จะเปิดปากใบเพื่อรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวันแบบพืชอื่น พืชในกลุ่มนี้จำเป็นต้องรักษาความชื้นด้วยการปิดปากใบในเวลากลางวันและเปิดในเวลากลางคืนแทน



ถอดความจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Transpiration

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nahoad&month=04-2010&date=04&group=4&gblog=28
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/09/2011 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

501. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต



การใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผลทางการเกษตรของเกษตกรในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้น ยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นมีคุณภาพดี จำหน่ายได้ในราคาแพง แต่ถ้าหากใช้ในปริมาณมากอาจทำให้มีผลกระทบต่างๆ ตามมามากมาย ปุ๋ยเคมีนอกจากจะมีราคาแพงทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรมีราคาสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม การใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เกษตรกรจะสามารถนำไปใช้ในแปลงพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร

นอกจากจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ยังสามารถช่วยในการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากขึ้น และที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย ปุ่ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเป็นปุ๋ยชีวภาพอีกชนิดหนึ่ง ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยมีรายละเอียดและข้อแนะนำในการใช้ดังนี้ ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลักของพืชในดินที่ใช้ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะมีฟอสฟอรัสสำรองอยู่ในดินนั้นในปริมาณมาก โดยมาจากการสะสมของฟอสฟอรัสที่ได้จากการใช้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ


อย่างไรก็ตาม ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ประมาณ 95–99 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในรูปที่ไม่ละลาย พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้การขาดฟอสฟอรัสในดินจึงเกิดขึ้นทั่วโลก จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ราเส้นใย ยีสต์ และแอคติโนมัยซีส เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยการเพิ่มฟอสฟอรัสรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้ให้ดิน โดยเฉพาะดินที่ขาดฟอสฟอรัส จากการศึกษาพบว่าเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียในดินสามารถละลายอนินทรีย์ฟอสฟอรัสให้พืชใช้ประโยชน์ได้



นอกจากนี้พบว่า จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตสามารถละลายหินฟอสเฟตซึ่งเป็นปุ๋ยฟอสเฟตอย่างหนึ่ง ปลดปล่อยฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น กรมวิชาการเกษตรโดยกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ทำการศึกษารวบรวมจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตที่ในประเทศและคัดเลือกให้ได้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการละลายหินฟอสเฟตและฟอสเฟตรูปที่ไม่ละลายอื่น ๆ แล้วทดลองนำไปใช้กับพืช





จากผลการทดลองพบว่า การใช้จุลินทรีย์ละลายฟสเฟตร่วมกันหินฟอสเฟต สามารถเพิ่มการเจริญเติบโต และผลผลิตพืชได้มากกว่าการใส่เฉพาะหินฟอสเฟต โดยเฉพาะในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 27–40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้เชื้อ จากนั้นจึงทดลองผลิตจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตให้อยู่ในรูปแบบปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กรมวิชาการเกษตรแนะนำการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต โดยแนวทางการใช้จะเป็น ดังนี้

- ใส่ร่วมกับหินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหินฟอสเฟตซึ่งจัดเป็นปุ๋ยฟอสเฟตราคาถูก และเป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารฟอสฟอรัสออกมาทีละน้อย

- ใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้บางชุดดินที่วิเคราะห์แล้ว พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสในดินสูง โดยจุลินทรีย์ที่ใส่เพิ่มลงไปจะไปละลายฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง โดยฟอสฟอรัสในดินดังกล่าวมาจากปุ๋ยเคมีฟอสเฟตที่ใส่ลงดินให้กับพืชระหว่างเพาะปลูก แต่พืชสามารถดูดใช้ได้บางส่วนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วเหลือตกค้างในดินโดยถูกดินยึดตรึงเอาไว้ จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟตอีกเมื่อใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ดังนั้น ถ้าสามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ตามแนวทางนี้กับดินทำการเกษตรทั่วไป จะสามารถลดการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตลงได้

- ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตกับการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันหินฟอสเฟต ซึ่งตามมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ หินฟอสเฟตถูกกำหนดเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสอย่างหนึ่งในการผลิตพืช


ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็นผงบรรจุในถุงพลาสติก ขนาดบรรจุ 500/ถุง มีจุลินทรีย์หลักเป็นจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรา Penicillium sp. และ/หรือ เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas sp. ที่สามารถละลายหินฟอสเฟตและฟอสเฟตที่มีอยู่ในดินบางรูปที่พืชใช้ไม่ได้ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์แก่พืช และยังมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารช่วยในการเจริญเติบโตของพืช กล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตของกรมวิชาการเกษตร ช่วยพืชให้ได้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต


วิธีใช้และอัตราการใช้
ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตคลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้า สำหรับพืชปลูกใหม่ ใส่รองก้นหลุมประมาณ 2 ช้อนแกง/หลุม สามารถใช้ร่วมกัยหินฟอสเฟต และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใส่ไม่ต้องลึก สำหรับพืชที่โตแล้วใส่รอบทรงพุ่ม อัตรา 150 กรัม/ทรงพุ่ม 0.5 เมตร โดยคลุกผสมกับหินฟอสเฟตและปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก แล้วสับกลบลงดิน




ข้อควรระวัง
เก็บปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตไว้ในที่เย็น ที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเท หรือในตู้เย็น ระวังอย่าให้โดนแดด และไม่ควรซ้อนทับถุงปุ๋ยชีวภาพหลายชั้นเป็นเวลานาน ด้วยผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยชีวภาพ ภายใต้การดำเนินงานของนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ปุ๋ยเคมีเท่าที่จำเป็น เนื่องจากปุ๋ยเคมีในปัจจุบันมีราคาแพง ปุ๋ยชีวภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกษตกรลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ ท้ายที่สุด จะเกิดผลดีโดยรวมต่อตัวเกษตกรเองและส่งผลในระยะยาวถึงสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้นในอนาคตด้วย


ผู้อ่านท่านใดสนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรกรมวิชาการเกษตร โดยสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2579-0065 หรือ 0-2579-7522-3 ในวัน เวลา ราชการ



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n14/v_1-feb/kayaipon.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/09/2011 8:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

502. เตรียมพร้อมสู่ 'ปุ๋ยสั่งตัด' ลดต้นทุนการผลิตกันเถอะ


การใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่า เกษตรกรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการใช้ปุ๋ยให้ “ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี” แต่ขณะนี้เกษตรกรไทยเกือบ 100% ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินก่อนปลูกพืช ทั้งยังใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับดินและไม่ตรงตามความต้องการของพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการผลิตพืช ดังนั้น จึงได้พัฒนาเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกข้าว, ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน…นี่เป็นคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“ปุ๋ยสั่งตัด” หรือ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ เป็นการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแต่ละชุดดินที่มีมากกว่า 200 ชุดดิน ทั้งยังต้องสอดคล้องกับความต้องการของพืช โดยนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน และปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดินมาพิจารณาร่วมกัน โดยใช้แบบจำลองการปลูกพืชและโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจมาคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์ คาดคะเนคำแนะนำปุ๋ย เอ็น-พี-เค ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีความแม่นยำและสอดคล้องกับความต้องการของพืช และยังสามารถคาดคะเนผลผลิตและผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อใช้เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด”

การใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด มี 3 ขั้นตอน ขั้นแรก เกษตรกรต้องตรวจสอบชุดดินในแปลงของตนเองก่อน โดยสามารถสอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือดูจากแผนที่ชุดดิน หรือสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.soil.doae.go.th ขั้นที่สองตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน โดยเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์ หรือเกษตรกรอาจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit) และ ขั้นสุดท้าย ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ โดยศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือโปรแกรม SimRice, SimCorn และ SimCane สำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th

เกษตรกรส่วนใหญ่มองว่า การตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน มีวิธีการและขั้นตอนยุ่งยากจึงไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ไม่รู้จักดินในแปลงของตนเอง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเบื้องต้นต้องแบ่งพื้นที่ก่อน หากพื้นที่ใหญ่มากหรือดินไม่สม่ำเสมอและดินมีลักษณะแตกต่างกัน ปลูกพืชต่างกัน ใช้ปุ๋ยต่างกัน และดินมีสีต่างกัน ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย และแยกเก็บดิน 1 ตัวอย่างต่อ 1 แปลงย่อย

การเก็บดินในแต่ละตัวอย่าง ให้เดินในลักษณะซิกแซ็ก สุ่มเก็บดินให้ทั่วแปลง แปลงละ 15 จุด ซึ่งการเก็บดินแต่ละจุดให้ใช้จอบหรือพลั่วขุดดินเป็นรูปลิ่ม ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร (นาข้าว) หรือลึก 15-20 เซนติเมตร (สำหรับข้าวโพด) ใช้เสียมหรือพลั่วแซะด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 เซนติเมตรจนถึงก้นหลุม ใช้เฉพาะส่วนกลางของแผ่น ตัวอย่างดินที่ได้นับเป็นตัวแทนของดินหนึ่งจุด นำตัวอย่างดินใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก และคลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก และคลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง ถ้าดินเปียก ตากในที่ร่ม ห้ามตากแดด ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ กองดินเป็นรูปฝาชี แล้วขีดเส้นแบ่งกองดินเป็นสี่ส่วนเท่ากัน จากนั้นเก็บตัวอย่างจากกองดินเพียง 1 ส่วน ให้ได้ดินน้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม ถ้าดินยังเปียกอยู่ ให้ผึ่งในที่ร่มต่อไป แล้วบดให้ละเอียดโดยใช้ขวดแก้วที่สะอาด เก็บใส่ถุงพลาสติก และเขียนหมายเลขกำกับไว้ ส่งตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน หรือทำการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินด้วยตนเอง โดยใช้ ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Soil Test Kit) ใช้เวลาเพียง 30 นาที ก็ทราบผลได้ ซึ่งชุดตรวจสอบดังกล่าว ราคาชุดละ 3,745 บาท สามารถตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารเอ็น-พี-เค ในดินและความเป็นกรดด่างของดินได้ 50 ตัวอย่าง จะทำให้เกษตรกรทราบว่า ดินในแปลงของตนเองมีธาตุอาหาร เอ็น-พี-เค อยู่ในระดับต่ำ ปานกลางหรือสูง และใช้คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนาไว้ให้เรียบร้อยแล้วสำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” มีอยู่ในลักษณะเป็นรูปเล่มและในรูปของโปรแกรมซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th หรือ www.banrainarao.com ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้ถูกต้อง และลดต้นทุนการผลิต

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ทำการวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปลูกพืช และเป็นแนวทางนำไปสู่การลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ใน “โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร” .



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/933663/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/09/2011 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

503. กล้วยหอมทอง ปลอดสารพิษ เจาะตลาดญี่ปุ่น





กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท แพนแปซิฟิคฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำเข้ากล้วยหอมทองของประเทศไทย และให้สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด เป็นผู้ดำเนินการด้านการผลิตและส่งออก โดยส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 จำนวน 6 ตัน/สัปดาห์

ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2542 ชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคน ประเทศญี่ปุ่น หรือชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคในปัจจุบัน เดินทางมาเจรจาและได้ตกลงรับซื้อกล้วยหอมทองจาก สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด โดยตรง มาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยส่ง เฉลี่ยสัปดาห์ละ 8 ตัน

ล่าสุด นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงปริมาณการส่งออกกล้วยหอมทองของไทยไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ตั้งแต่ปี 2548–2550 รวมมูลค่าการส่งออกกล้วยหอมของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด 1,098.89 ตัน มูลค่า 15.15 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด ปริมาณ 1,401.83 ตัน มูลค่า 35.04 ล้านบาท รวมสหกรณ์ทั้งสองแห่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 2,500.72 ตัน มูลค่าสูงถึง 50.19 ล้านบาท ในส่วนของราคากล้วยหอมทองในการส่งออก จะขึ้นอยู่กับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ณ ที่ทำการสหกรณ์ โดยสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด จะส่งกล้วยหอมทองให้กับบริษัท แพนแปซิฟิคฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด 15 บาท/กิโลกรัม และสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด ส่งให้สหกรณ์ผู้บริโภคโตโต้ ประเทศญี่ปุ่น 25 บาท/กิโลกรัม

ส่วนราคากล้วยหอมทองที่สหกรณ์รับซื้อจากสมาชิกราคา ณ สวนของสมาชิกสหกรณ์ โดยสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด รับซื้อ 10.50 บาท/กิโลกรัม สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด รับซื้อจากสมาชิก 12 บาท/กิโลกรัม ซึ่งนับได้ว่าคุณภาพกล้วยหอมทองที่สหกรณ์รับซื้อจากสมาชิก จำนวน 100 กิโลกรัม สามารถคัดแยกออกเป็น กล้วยหอมทองที่อยู่ในเกรดส่งออกร้อยละ 70-75 ส่วนกล้วยหอมทองที่ตกเกรดหรือไม่ได้มาตรฐานการส่งออก ร้อยละ 25-30 ทางสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด จะขายให้กับพ่อค้าในจังหวัดราชบุรีในราคาประมาณ 3-4 บาท ต่อกิโลกรัม สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด จะขายให้กับโรงงานแปรรูป และโรงแรมในกรุงเทพฯ ตลอดถึงห้างค้าปลีก ประมาณ 6-7 บาทต่อกิโลกรัม

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า เนื่องจากขณะนี้การดำเนินงาน ในการส่งออกกล้วยหอมทองประสบความสำเร็จ ดังนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เร่งดำเนินการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนสหกรณ์การเกษตรที่มีความพร้อมและศักยภาพให้มีการพัฒนาด้านการผลิตเพิ่มมากขึ้นเพื่อก้าวสู่เวทีโลก ทั้งด้านวิชาการ การผลิต การแปรรูป การตลาด และเงินทุน โดยใช้ประสบการณ์ของสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จแล้วมาเป็นแม่แบบ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาขบวนการสหกรณ์ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์ต่าง ๆ อันจะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและแรงงานของประเทศในอนาคต

ส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก คือ ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง ถ้ามีลมแรงความเร็วประมาณ 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้เกิดความเสียหายบริเวณโคนต้นกล้วยได้ ถ้าความเร็วลมตั้งแต่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้ต้นกล้วยหักล้มลงทันที ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้ในกรณีฝนทิ้งช่วง หรือกรณีฝนตกมากเกินไป ต้องมีทางระบายน้ำได้ด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตไม่ควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และไม่ควรสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ใช้พันธุ์พื้นเมืองในการเพาะปลูก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่สูง มีรสชาติอร่อย หอมหวาน และผลโต

โดยสมาชิกได้ใช้หน่อในการขยายพันธุ์ ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน หรือซื้อขายหน่อพันธุ์ในอัตราหน่อละ 3-4 บาท ปลูกแบบไถเป็นร่อง โดยการใช้รถไถหรือแรงงานคน ทำเป็นร่องกว้างประมาณ 50-100 เซนติเมตร มีความลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างท้องร่องของแต่ละแถว 2 เมตร การปลูกจะนำหน่อกล้วยปลูกในท้องร่อง ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 22 เมตร.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/940210/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 19 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©