-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 06/09/2011 9:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 18

ลำดับเรื่อง....


456. 42% ชายไทยนกเขาไม่ขัน พัฒนาสมุนไพรสู้กับไวอะกร้า
457. 'หมามุ่ย' เพิ่มสมรรถภาพ ช่วยท่านชายนกเขาไม่ขัน
458. หนุนอุตสาหกรรมยางเต็มสูบ
459. ปรับปรุงข้าวหอมมะลิด้วยเทคนิคลำไอออน นาโน
460. กลุ่มนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว มก. พบยีนความหอม

461. ไทยต่อยอด "เวชสำอางข้าวหอมมะลิ" คุณภาพเทียบแบรนด์นำเข้า
462. พัฒนาสารธรรมชาติเคลือบผิวไข่ไก่ คงความสดได้เป็นเดือน
463. อนาคตข้าวขาวดอกมะลิ ในภาวะโลกร้อน
464. จุดกำเนิดและประวัติข้าวไทย
465. งานวันเกิด ครบรอบ 51 ปี ข้าวหอมมะลิ

466. พัฒนาพันธุ์ข้าว "หอมมะลิ" หวังยกระดับเทียบชั้น "บาสมาติ"
467. การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยรังสี
468. พัฒนาสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน
469. ผลไม้เมืองหนาว
470. ดอกแอปเปิ้ล ที่โครงการหลวงขุนวาง

471. รูป แอ็ปเปิ้ล สดๆ จากต้น
472. "สวนแอปเปิ้ล" เมืองไทย
473. มาดูการเกษตรที่ประเทศไต้หวันกันครับ
474. ผลไม้ใกล้ตัว ที่กินแล้วอ้วน

475. ผลไม้ขับผิวขาว
476. สุขภาพดี ด้วยมหัศจรรย์จากผลไม้ไทย
477. "ลำไย" เมืองจันท์!! เปิดตัวแรงส่งออกกว่าปีละ 300 ตัน
478. มาเลย์ส่งออกทุเรียน บุกตลาดจีน แข่งไทย
479. เมล็ดพันธุ์ : อธิปไตยในไร่นา
480. หนามแหลม หวานมัน นั่นล่ะ 'ทุเรียนนนท์'

---------------------------------------------------------------------------







456. 42% ชายไทยนกเขาไม่ขัน พัฒนาสมุนไพรสู้กับไวอะกร้า


หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


แพทย์เปิดผลศึกษาชายไทยอายุระหว่าง 40-70 ปี มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศสูงถึง 42% ขณะนี้ได้พัฒนาสมุนไพรที่หาได้ในประเทศ ทำเป็นยาเสริมสมรรถภาพสำเร็จ

กรุงเทพฯ * ตะลึง ชายไทย 42% นกเขาไม่ขัน พบอายุ 35 ปีขึ้นไปก็มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แพทย์ไทยเผยผลงานวิจัยกลุ่มยาสมุนไพรจีนหลายชนิดช่วยอวัยวะเพศแข็งตัวปึ๋งปั๋ง คิดค้นสูตรเฉพาะเพิ่มสมรรถภาพทางเพศทดแทนนำเข้ายาไวอะกร้าจากต่างประเทศ หลังทดลองกับผู้ป่วยแล้วเห็นผล ไร้อาการข้างเคียง

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม นพ.สรรชัย วิโรจน์แสงทอง ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรม ซีไออาร์ดี ศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสมุนไพรตะวันออก เปิดเผยว่า จากการศึกษาพบว่า ชายไทยอายุระหว่าง 40-70 ปี พบภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) หรือนกเขาไม่ขัน 42% ซึ่งเป็นผู้ที่มีอาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรง วิธีการรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาสังเคราะห์ในการบำบัด ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง รวมทั้งมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงได้นำเอาภูมิปัญญาด้านศาสตร์สมุนไพรมาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้ได้คุณสมบัติของสมุนไพรที่เชื่อถือและปลอดภัย โดยร่วมมือกับนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาวิจัยกลุ่มยาสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว ขณะนี้ผ่านขั้นตอนการวิจัยทางคลินิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นพ.สรรชัยกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยกลุ่มยาสมุนไพรตะวันออกเป็นการแพทย์ทางเลือก ในการป้องกันและรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ทดแทนการใช้ยาเคมีนำเข้าจากต่างประเทศ ตัวยาสมุนไพรที่สำคัญ เช่น เขากวาง, สอเอี้ยง, อิมเอี้ยคัก, เม็ดเก๋ากี้, ปาเก็กเทียน, เก้ากุ๊กเฮี้ยง, เน็กฉ่งยัง เป็นต้น ซึ่งเป็นสมุนไพรจีนที่มีรายงานการวิจัยสรรพคุณทางวิชาการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ โดยนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ แล้วทดสอบกับผู้ป่วยจำนวน 60 ราย ด้วยการให้รับประทานยาจริงและยาหลอก ผลการทดลองพบว่า ช่วยสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยโดยไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ ขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรสูตรยาสมุนไพรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยโดยตรง และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่ในที่สุด แต่ที่จริงแล้วพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าสมรรถภาพทางเพศส่วนมากขึ้นกับอายุ สาเหตุของอวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวไม่เต็มที่ขณะมีเพศสัมพันธ์เกิดได้หลายปัจจัย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.ภาวะทางกายภาพ ได้แก่ โรคเบาหวาน ทำให้เส้นเลือดเสื่อม ไม่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศ และ
2.ภาวะจิตใจ เช่น ความเครียดกังวล

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสภาพร่างกายไม่พร้อม เพราะทำงานหนักเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งจะมีผลทำให้การผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง

"ปัจจุบันมีการใช้ยาสังเคราะห์ในกลุ่ม PDE5-Inhibitor เพื่อรักษาอาการดังกล่าว เป็นยาเคมีที่มีอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ในระดับสูง เช่น ความดันโลหิตต่ำ ปวดศีรษะ คัดจมูก อีกทั้งยากลุ่มนี้มีราคาสูง หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงก็ต้องใช้วิธีการฉีดยาและการผ่าตัดใส่แกนอวัยวะเพศเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน" นพ.สรรชัยเผย

ส่วนการวิจัยทางคลินิกได้ดำเนินการที่ห้องทดลองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่หย่อนสมรรถภาพทางเพศระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อายุ 35 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีขึ้น โดยใช้เวลาทดสอบประมาณ 1 ปี เสร็จสิ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มยาสมุนไพรที่วิจัยขึ้นมาไม่ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้มีภาวะหลั่งเร็ว เพราะสรรพคุณของยาตัวนี้ คือ ช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้นและบำรุงร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

ด้านนายสุเมธ นิรเพียรนันท์ ผู้พัฒนาสูตรยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว กล่าวว่า สมุนไพรจีนเหล่านี้มีฤทธิ์ร้อน ช่วยให้เลือดในร่างกายสูบฉีดและไหลเวียนดีขึ้น ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว ยกตัวอย่างสรรพคุณสมุนไพรที่มีรายงานวิจัยอย่างเป็นทางการ เช่น เขากวาง ช่วยบำรุงเลือด, สอเอี้ยง ช่วยบำรุงไต, อิมเอี้ยคัก ซึ่งเป็นพระเอกของกลุ่มยาสมุนไพรสูตรนี้ ช่วยในเรื่องการขยายหลอดเลือด ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรปและจีน นำไปใช้เป็นส่วนประกอบตัวหลัก, เม็ดเก๋ากี้ ที่ใช้ต้มยาในบ้านเรา ช่วยบำรุงร่างกาย, เน็กฉ่งยัง ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเชื้ออสุจิ นอกจากนี้ยังมีดอกคำฝอย ซึ่งช่วยขับปัสสาวะและเหงื่อเพื่อไม่ให้ตัวยาตกค้างในร่างกาย

"กลุ่มยาสมุนไพรนี้ผลิตขึ้นในประเทศไทย และต้องการให้คนไทยหันกลับมาใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น ทดแทนการซื้อยาไวอะกร้า รวมทั้งยาปลอมที่มีผลอันตรายต่อสุขภาพ และในอนาคตจะมีการวิจัยสมุนไพรพื้นบ้านในประเทศไทยต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ สาเหตุที่เลือกวิจัยสมุนไพรจีน เพราะมีสรรพคุณสำคัญต่อสมรรถภาพทางเพศดีกว่าสมุนไพรไทย" นายสุเมธกล่าวในที่สุด.


บรรยายใต้ภาพ
นพ.สรรชัย วิโรจน์แสงทอง



http://www.ryt9.com/s/tpd/1225505


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:42 am, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 06/09/2011 9:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

457. 'หมามุ่ย' เพิ่มสมรรถภาพ ช่วยท่านชายนกเขาไม่ขัน

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง


ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวในงานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ซึ่งมีนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ว่า ขณะนี้มีสมุนไพรไทยอย่างหมามุ่ย ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว มีสารซีโรโทนิน ทำให้เกิดอาการคัน แต่มีรายงานทางการแพทย์ว่า เมล็ดของหมามุ่ย มีคุณสมบัติหลายอย่าง คือ เพิ่มจำนวนสเปิร์มและปริมาณน้ำเชื้อ แก้ปัญหาสภาวะการมีบุตรยาก ส่วนฤทธิ์ในการบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ยังมีการทดลองในสัตว์ พบว่า ทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าในเมล็ดหมามุ่ยมีองค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ว่ามีสารแอลโดปา ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โดพามีน เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสัน

ภญ.ผกากรอง กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันที่ประเทศอินเดียมีการปลูกแปลงเกษตรเพื่อนำเมล็ดหมามุ่ยมา สกัดเป็นยา เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศ อีกทั้งช่วยในการคลายเครียดได้ดีด้วย ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัยพัฒนา เพื่อหารูปแบบในการนำมาใช้ เนื่องจากเมล็ดหมามุ่ยมีความยากลำบากในการเก็บฝัก แต่พบว่าตำรับสมุนไพรไทยที่นำหมามุ่ยมาใช้มีอยู่หลายตำรับ ทั้งบดเพื่อดื่มเป็นชาหรือตากแห้งบดเป็นยาลูกกลอนกิน เป็นต้น


http://www.ryt9.com/s/bmnd/1220267
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 06/09/2011 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

458. หนุนอุตสาหกรรมยางเต็มสูบ

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง


นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เดินหน้าโครงการพัฒนาเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการขยายผลในการสร้างเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม จำนวน 32 เตา ภายในระยะเวลา 3 ปี (ปีงบประมาณ 2553-2555) ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยด้วยงบประมาณกว่า 11 ล้านบาท

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2551 นำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, นครศรีธรรมราช และพัทลุง เป็นการสนับสนุนศักยภาพการผลิตยางพาราของไทย ซึ่งเตาอบยางแผ่นรมควันที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ สามารถลดต้นทุนไม้ฟืนลงได้มากกว่า 40% ระยะเวลาในการอบยางสั้นลงจาก 4 วันเหลือ 3 วัน ปริมาณยางเสียลดลง 100% เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยสามารถดึงควันกลับเข้าไปใช้ได้อีก และทำให้ยางมีคุณภาพดียิ่งขึ้น และปัญหาการร้องเรียนในพื้นที่เรื่องโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราปล่อยกลิ่นเหม็น เสียงดัง ควันดำได้หมดไป เมื่อใช้เตาแบบใหม่แทนระบบเดิมที่มีปัญหาการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์

ในส่วนของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยาง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อยู่ในระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางจากต่างประเทศเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาในด้านสิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อการลงทุน

การดำเนินงานดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งนับเป็นอุตสาหกรรมที่โดดเด่นและมีศักยภาพ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางใน 2 ด้าน ได้แก่ 1.การให้ความสำคัญกับทักษะฝีมือแรงงาน 2.การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราอย่าง "ครบวงจร" ตั้งแต่วิธีกรีดยางไปจนถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม และกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป

"หากรัฐบาลจะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาทนั้น เชื่อว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูปในประเทศ เพราะไทยมีพื้นที่เพาะปลูกยางพาราอยู่เกือบทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 1 ล้านครอบครัว และมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 16.8 ล้านไร่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องของวัตถุดิบที่จะป้อนให้กับโรงงาน" นายวิฑูรย์ กล่าว



http://www.ryt9.com/s/bmnd/1229217
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 5:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

459. ปรับปรุงข้าวหอมมะลิด้วยเทคนิคลำไอออน นาโน



ข้าวหอม เป็นข้าวเมล็ดยาวและมีกลิ่นหอมหลังจากที่หุงแล้ว ข้าวหอมมีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของไทยคือ ข้าวหอมดอกมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นมากทุกปี เฉลี่ยปีละ 4-5 ล้านตัน ส่งออกมากกว่า 120 ประเทศ ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือในด้านคุณภาพ จากตัวเลขการส่งออกในปี 2547 ส่งออกประมาณ 7.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 76,368 ล้านบาท

ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัด คือ ความหอมของข้าวหอมมะลินั้นเป็นสารหอมระเหยที่หายไปได้ ดังนั้น การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิ ควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ลำต้นค่อนข้างสูง จึงล้มง่ายก่อนการเก็บเกี่ยว

รศ.ดร.สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่า การปรับปรุงพันธุ์พืชโดยวิธีก่อกลายพันธุ์ถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก จึงเกิดแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีลำไอออนพลังงานต่ำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จึงได้รวบรวมทีมงานประกอบด้วย คุณบุญรักษ์ พันธ์ไชยศรี นักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ยู เหลียง เติ้ง และ ศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ที่ปรึกษาโครงการจากศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ และ ดร.รัฐพร จันทร์เดช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อพัฒนาข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ใหม่ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.)

โดยทั่วไปการก่อกลายพันธุ์พืชจะใช้รังสีแกรมมา รังสีเอ็กซ์ แต่ปัจจุบันใช้เทคนิคล่าสุด คือ การใช้ลำไอออนพลังงานต่ำ เป็นเครื่องที่สร้างขึ้นเอง ราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัว เป็นเครื่องเร่งอนุภาคมวลหนัก ขนาด 150 กิโลวัตต์ วิธีการทำงานโดยอาศัยอนุภาคที่มีประจุ เช่น ไอออนของไนโตรเจนหรืออาร์กอน ที่ถูกเร่งให้เกิดพลังงานสูงขึ้นภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายคือ เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิด้วยความเร็วสูงในภาวะสุญญากาศ เมื่ออนุภาคกระทบกับเป้าหมายจึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี โดยไม่เป็นอันตรายที่โครงสร้างและพื้นผิว อนุภาคของประจุจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะการเรียงตัวของสารพันธุกรรมภายในเซลล์ ชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ จึงเรียกข้าวที่กลายพันธุ์นี้ว่า ข้าวหอมมะลินาโน

ประโยชน์ของข้าวหอมมะลินาโน หลังจากผ่านกระบวนการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของข้าวหอมมะลิแล้ว ได้นำไปทดลองปลูก ผลปรากฏว่า ได้สายพันธุ์ใหม่ 3 สายพันธุ์ มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ สายพันธุ์ต้นเตี้ย สายพันธุ์ต้นสูง และสายพันธุ์ต้นเตี้ย เมล็ดดำ โดยทั้ง 3 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

สายพันธุ์ต้นเตี้ย จะช่วยให้ลำต้นไม่ล้มง่าย เก็บเกี่ยวสะดวก

สายพันธุ์ต้นสูง เป็นพันธุ์ที่ออกรวงเร็ว มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก มีประโยชน์ต่อการผลิตเม็ดเลือดแดงธาตุแมงกานีส ช่วยในการสร้างเม็ดโลหิตแดง กระดูก ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ ธาตุสังกะสี ช่วยควบคุมระบบประสาท สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันอนุมูลอิสระ

สายพันธุ์ต้นเตี้ยและเมล็ดดำ เป็นพันธุ์ที่ออกรวงได้เร็ว เมล็ดข้าวสีน้ำตาลอมขาวคล้ายข้าวก่ำ กลิ่นหอม รสชาติอร่อยและนุ่มนวล

ความสำเร็จจากการปรับปรุงข้าวหอมมะลินาโนดังกล่าว ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2549 จาก สกว. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. (053) 943-333, (053) 941-303, (081) 595-0597, (053) 943-346



โดยธงชัย พุ่มพวง

http://pre-rsc.ricethailand.go.th/knowledge/6.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 5:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

460. กลุ่มนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว มก. พบยีนความหอม


กลุ่มวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยจาก ม.เกษตรฯ คว้ารางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น 53" ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ย่นเวลาพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่จาก 10 ปี เหลือ 5 ปี ตั้งความหวังผลิตนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวรุ่นใหม่ รักษาข้าวหอมมะลิให้อยู่คู่แผ่นดินไทย และพัฒนาสายพันธุ์ให้หอม อร่อย มากคุณค่าทางโภชนาการ


มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสยามซิตี้ โดยผู้ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นในปีนี้ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จากผลงาน "เทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ (2-acetyl-1-pyrroline) เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว"

รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร หัวหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว กล่าวว่า การปรับปรุงพันธุ์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญมากๆ เพราะเมื่อทำสำเร็จแล้วจะช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ได้มาก จากแต่ก่อนการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องการ 1 สายพันธุ์ ต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี แต่ด้วยเทคโนโลยีเครื่องหมายดีเอ็นเอทำให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าว 1 สายพันธุ์ในปัจจุบันใช้เวลาเพียง 5 ปี

"วันนี้เราสามารถย่นระยะเวลาปรับปรุงพันธุ์ข้าวจาก 10 ปี ให้เหลือ 5 ปีได้ และเกิดคำถามตามมาอีกว่าเราจะย่นเวลาจาก 5 ปี ให้เหลือ 3 ปี และ 1 ปี ได้หรือไม่" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าว และบอกว่าเขาศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอมาเป็นเวลากว่า 12 ปีแล้ว หลังจากที่ได้ร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติทำการถอดรหัสพันธุกรรมข้าว ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้มีความหอม ต้านทานโรค-แมลงศัตรูพืช และทนทานต่อสภาพแวดล้อม จนได้ข้าวพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก โดยเฉพาะข้าวเหนียว กข 6 ที่ได้รับความนิยมปลูกในหลายจังหวัด

ขณะเดียวกันทีมวิจัยของ รศ.ดร.อภิชาติ ยังได้ค้นพบยีนควบคุมความหอมของข้าวขาวดอกมะลิและกระบวนการที่ทำให้ข้าวหอมขึ้นได้ ซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ไม่หอมแต่ให้ผลผลิตสูง จนได้ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง อาทิ ข้าวหอมชลสิทธิ์ ข้าวปิ่นเกษตร และข้าวสินเหล็ก รวมถึงการเพิ่มความหอมในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ถั่วเหลืองหอม มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น

อย่างไรก็ดี นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวจากกำแพงแสนระบุถึงอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าว คือความไม่ต่อเนื่องของทุนวิจัย และการขาดแคลนนักวิจัยที่ทำงานในด้านนี้

"เป้าหมายสูงสุดของเราคือการสร้างนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวรุ่นใหม่ที่จะมาสานต่องานวิจัยและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมให้อยู่คู่คนไทยและแผ่นดินไทยตลอดไป ไม่ให้สูญหายไปอย่างข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว รวมทั้งพัฒนาข้าวไทยให้มีความหอม อร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ และทนทานต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งยังมียีนอีกหลายยีนที่ควบคุมคุณสมบัติเด่นต่างๆ ในข้าวที่ยังไม่เคยมีใครศึกษาและค้นพบมาก่อน" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าวต่อสื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ซึ่งพวกเขาหวังว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะสามารถพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ๆ ได้ 1 ปี ต่อ 1 สายพันธุ์

สำหรับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ในปีนี้มอบให้แก่นักวิจัย 3 คน จาก 3 สถาบัน ได้แก่ ผศ.ดร.โชติรัตน์ รัตนามหัทธนะ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการใช้ไดนามิกส์ไทม์วอร์ปปิงในการทำเมืองข้อมูลอนุกรมเวลา, ผศ.ดร.พิมพ์พอง ทองนพคุณ คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จากผลงานเทคโนโลยีการผลิตนาโนซิลเวอร์เคลย์และเทคนิคการขึ้นรูปเครื่องประดับเงินจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ และ ผศ.ดร.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากผลงานการสร้างเครื่องผสมสารน้ำและควบคุมการผสมสารละลายด้วยระบบไมโครคอลโทรลเลอร์ "สมาร์ทโดเซอร์" (Smart Doser) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ และการพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมโรงเรือนเลี้ยงไก่และหมู

ผู้ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะได้รับรางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดและเหรียญรางวัลเรือใบซูเปอร์มด พร้อมเงินรางวัล 600,000 บาท สำหรับนักเทคโนโลยีดีเด่น และ 100,000 บาท สำหรับนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้ง 36 (วทท. 36) ในวันที่ 26 ต.ค. 53 ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000143117


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/09/2011 7:07 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 6:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

461. ไทยต่อยอด "เวชสำอางข้าวหอมมะลิ" คุณภาพเทียบแบรนด์นำเข้า


นักวิจัย มช. ทำสำเร็จ "เวชสำอางข้าวหอมมะลิไทย" ต้านริ้วรอยแห่งวัย ประสิทธิภาพเทียบใกล้แบรนด์ดังระดับโลก แต่ต้นทุนถูกกว่าหลายเท่า หวังเพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทยสู่สินค้าไฮเอนด์ ด้านเอกชนที่รับต่อยอดเชิงพาณิชย์เผยเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในเดือน พ.ย.นี้ มั่นใจแข่งขันได้ด้วยจุดเด่นของความเป็นข้าวหอมมะลิไทย

ศ.ดร.อรัญญา มโนสร้อย และ ศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย อาจารย์และนักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ร่วมกันพัฒนาเครื่องสำอางต่อต้านริ้วรอยและชะลอวัยจากสารสกัดจากข้าวกล้องหอมมะลิสำเร็จ พร้อมกับถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์แล้ว โดยได้มาการแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 23 ก.ย.53 ณ อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์

"ข้าวมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย ขณะที่มูลค่าทางการตลาดของเครื่องสำอางในไทยเติบโตขึ้น 20% ทุกปี แต่วัตถุดิบส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีและอาจต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งหากเราสามารถนำข้าวหอมมะลิไทยมาพัฒนาให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางได้ จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประสิทธิภาพสูงที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ข้าวหอมมะลิไทยด้วย" ศ.ดร.อรัญญา กล่าวต่อสื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์

อีกทั้งในฐานข้อมูลตำรับยาสมุนไพรไทย "มโนสร้อย 2" พบว่ามีตำรับยาสมุนไพรไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตล้านนาในอดีต มีข้าวเป็นองค์ประกอบในตำรับยาสมุนไพรที่มีข้อบ่งใช้เป็นยาอายุวัฒนะและบำรุงผิวพรรณ จึงได้นำเอาคุณค่าของข้าวและองค์ความรู้จากภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีระดับสูง

นักวิจัยได้นำข้าวไทยสายพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 6 สายพันธุ์ มาศึกษาหาปริมาณสารสำคัญ โดยนำเมล็ดข้าวมาหมักด้วยกระบวนการทางชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์เฉพาะ จากนั้นแยกเอาเฉพาะน้ำหมักข้าวมาวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ พบว่าน้ำหมักจากข้าวกล้องหอมมะลิมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุด อาทิ แกมมา-ออไรซานอล, กรดไฟติก, กรดเฟอรูลิค, โทโคเฟอรอล, โทโคไตรอีนอล และกรดไขมันไม่อิ่มตัวอีกหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดปฏิกิริยออกซิเดชั่นอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมสภาพ

เมื่อได้สารสำคัญมาแล้วจึงนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางต้านริ้วรอยในรูปแบบเจล ซีรั่ม และเอสเซนซ์ โดยใช้นาโนเทคโนโลยีบรรจุสารสำคัญเข้าไว้ในถุงนีโอโซมขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร ซึ่งช่วยนำพาสารสำคัญผ่านเข้าสู่เซลล์ผิวหนังในชั้นเดอมิส และทำให้สารสำคัญเหล่านี้มีความคงตัวและคงประสิทธิภาพอยู่ได้นานในผลิตภัณฑ์เป็นเวลาถึง 2 ปีที่อุณหภูมิห้อง

จากการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการพบว่าผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากข้าวกล้องหอมมะลิมีฤทธิ์ยั้บยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดสี ยับยั้งเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 (MMP-2) ที่เกี่ยวข้องกับการสลายคอลลาเจนอันเป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอย นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง โดยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองเมื่อทดสอบบนผิวกระต่าย

ผลจากการทดสอบประสิทธิภาพต้านริ้วรอยของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอาสาสมัครจำนวน 30 คน ที่มีอายุระหว่าง 25-45 ปี โดยทาผลิตภัณฑ์บนผิวปลายแขนทุกวัน วันละครั้งต่อเนื่องกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยมีการวัดความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้นของผิว และการเปลี่ยนแปลงของสีผิวด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ และสัปดาห์ที่ 9 พบว่าให้ผลใกล้เคียงกันในอาสาสมัครทุกคน โดยผลิตภัณฑ์เอสเซนซ์มีประสิทธิภาพการลดริ้วรอยสูงสุดประมาณ 70% เทียบกับก่อนใช้และผิวหนังบริเวณที่ไม่ได้ทาผลิตภัณฑ์ ซึ่งใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ นักวิจัยใช้เวลาศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากข้าวหอมมะลิไทยเป็นเวลา 18 เดือน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งได้ขอจดสิทธิบัตรแล้ว โดยการนำสารสกัดจากข้าวหอมมะลิมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอยสามารถเพิ่มมูลค่าให้ข้าวหอมมะลิได้มากถึง 300 เท่า และล่าสุดได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอม ไทย-จีน จำกัด

นางบังอร เกียรติธนากร ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอม ไทย-จีน จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่าตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นทุกปี แม้ในช่วงภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ส่วนข้าวหอมมะลิของไทยก็มีความโดดเด่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จึงคิดว่าผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอยจากข้าวหอมมะลิไทยน่าจะทำการตลาดได้ไม่ยากและสามารถแข่งขันกับเครื่องสำอางชั้นนำได้ โดยคาดว่าในเดือน พ.ย. นี้จะเริ่มเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ขณะเดียวกันก็จะจำหน่ายสารสกัดในรูปวัตถุดิบให้แก่บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางต่างๆด้วย


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000134054
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

462. พัฒนาสารธรรมชาติเคลือบผิวไข่ไก่ คงความสดได้เป็นเดือน


“ไข่ไก่สด” กับ “ไข่ไก่ไม่สด” ต่างกันอย่างไร คุณแม่บ้านคงรู้วิธีดูเป็นอย่างดี และบ้านไหนที่รายรับน้อยหน่อยคงรู้อีกว่า ไข่ไม่สดราคาถูกแตกต่างจากไข่ไก่สดกี่เท่า นี่เองที่ทำให้มีการค้นหาวิธีรักษาความสดของไข่ไก่ให้อยู่ได้นานขึ้น โดยคุณภาพไม่ลดลง ที่สำคัญราคาไม่ตกอย่างน่าเจ็บใจ ซึ่งนักวิจัยไทยจากรั้ว ม.เกษตรฯ ทำได้แล้ว

ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กล่าวว่า ทีมวิจัยได้พัฒนาสารเคลือบผิวไข่ไก่จากสารประกอบโพลีแซคคาไรด์จากพืชเพื่อรักษาคุณภาพความสดของไข่ไก่สดได้แล้ว โดยกำลังอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตรสูตรการผลิตสารเคลือบผิวไข่ไก่สดอยู่ในเวลานี้

ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ เผยว่า นี่จึงเป็นวิธีที่แตกต่างจากในอดีตทีเดียว ซึ่งพ่อค้าแม่ขายจะเคลือบผิวเปลือกไข่ไก่สดด้วยน้ำมันเพื่อลดการคายน้ำอันเป็นสาเหตุทำให้ไข่ไก่เสียความสด และมีน้ำหนักลดลง

จากการทดสอบ สารเคลือบผิวไข่ไก่สดจากสารธรรมชาติดังกล่าวจะยืดอายุไข่ไก่ในอุณหภูมิห้องได้นานกว่า 1 เดือน – 1 เดือนครึ่ง และลดการสูญเสียความชื้นตลอดจนน้ำหนักของไข่ได้ถึง 50% โดยไข่ไก่ยังสดและอยู่ในสภาพเกรดเอ หรือราคาดีที่สุด

อีกทั้ง สารเคลือบผิวจากธรรมชาติดังกล่าวยังมีความหลากหลายมาก ซึ่งพบแล้วอย่างน้อย 3 ชนิด ที่มีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย ขณะเดียวกันยังลดการนำเข้าสารเคลือบผิวไข่ไก่จากต่างประเทศ ซึ่งเก็บไข่ไก่ให้สดได้เพียง 10 -12 วันเท่านั้น

“เราสามารถเก็บไข่ไก่ให้สดได้ในอุณหภูมิห้อง วิธีนี้จึงทำให้เราไม่ต้องแช่ไข่ในตู้เย็นจึงประหยัดค่าไฟฟ้า ขณะที่มีต้นทุนการเคลือบอยู่ที่ 0.01% ของราคาไข่ไก่หรือ 0.04 บาท/ฟอง แต่ทำให้ไข่ไก่ราคาไม่ตกตามคุณภาพที่ลดลงได้ดีกว่าวิธีที่ใช้กันในท้องตลาด” นักวิจัยว่า

ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ บอกด้วยว่า งานวิจัยนี้จึงมีความเป็นไปได้สูงในการใช้งานในไทยที่มีการบริโภคไข่ไก่มากถึง 15,000 ล้านบาท/ปีทีเดียว และทีมนักศึกษาจากคณะพาณิชยการและการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเก็บข้อมูลการวิจัยนี้พบว่า มีความคุ้มทุนมากถึง 441%

ส่วนก้าวต่อไป ทีมวิจัยจะพัฒนาให้สารประกอบพอลีแซกคาไรด์ดังกล่าวนำไปใช้เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ให้มากขึ้น อาทิ เนื้อสัตว์ และผักสด ซึ่งสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มรักษาความสดได้แล้ว เช่น การขึ้นรูปซองอาหารหรือเครื่องปรุงรส หรือแม้แต่การนำไปใช้ในกระบวนการผลิตผ้าอนามัย

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อขอรายละเอียดงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โทรศัพท์ 02-562-5058 หรือโทรสาร 02-562-5046


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000102526


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/09/2011 7:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

463. อนาคตข้าวขาวดอกมะลิ ในภาวะโลกร้อน


บัดนี้สภาวะโลกร้อนได้มาเยือนพื้นทีอีสานเป็นที่เรียบร้อย
ชาวนาไทยรู้สึกได้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น

ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีบริเวณ 2.1 ล้านไร่ กินพื้นที่ 5 จังหวัดในภาคอีสาน สถาบันวิจัย ม.ขอนแก่น ได้รายงานว่าสภาวะโลกร้อนสร้างผลกระทบกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิอย่างชัดเจนทำให้ผลผลิตของข้าวหอมไทยมีผลผลิตลดลงมากถึง 45 % เกษตรกรต้องเจอกับ ภัยน้ำท่วมสลับกับความแห้งแรงที่เกิดขึ้น

ดังนั้น อนาคตข้าวขาวดอกมะลิจึงอยู่ที่การปรับปรุงพันธุ์ให้มีความทนต่อสภาพแห้งแล้ง น้ำท่วม แมลง นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นอุปสรรคในการผสมเกสร ทำให้เกสรตัวผู้เป็นหมัน คือ สาเหตุให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก



ในสภาวะโลกร้อนเกิดผลกระทบกับนาน้ำฝนอย่างรุนแรง นาน้ำฝนเป็นฝืนนาที่กว้างใหญ่ของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ตั้งแต่พม่าจรดเวียดนาม ฝืนนาแห่งนี้ต้องรอน้ำฝนเพื่อการเพาะปลูกเท่านั้น ข้าวพันธุ์พื้นเมืองได้ปรับตัวเข้ากับสภาวะจำกัดการเจริญเติบโต จึงจำเป็นต้องปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้ให้มีความทนยิ่งขึ้น ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาวะโลกร้อน คือ เเมลงจะปรับตัวได้ดีขึ้น จะระบาดหนัก เทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นคำตอบได้หรือไม่ ? ....... ติดตามต่อในบทความนี้





พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens) เป็นหนึ่งในแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดต่ำลงทั้งในเขตนาน้ำฝนและนาชลประทาน ซึ่งมีการระบาดทั้งนาปีและนาปรัง โดยที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำเลี้ยงและท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก อาการไหม้ (hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 (generation) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นาข้าวที่ขาดน้ำตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิกหรือโรคจู๋ (rice ragged stunt) และโรคเขียวเตี้ย (rice grassy stunt) ทำให้ข้าวเตี้ย แคระแกร็น ไม่ออกรวงหรือออกรวงน้อย เมล็ดไม่สมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เนื่องจากมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประจำทุกปีและในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจึงเป็นแนวทางที่สำคัญยิ่ง การสืบหาสายพันธุ์ข้าวที่มีการต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบกว้าง โดยทดสอบพันธุ์ต่าง ๆ และใช้ประชากรแมลงที่มีชีวชนิด (biotype) ต่างกัน พบว่าสายพันธุ์ข้าว PTB 33 และ Rathu Heenati ต้านทานต่อทุกประชากรแมลงที่เก็บรวบรวมไว้ จากนั้นจึงนำข้าวทั้งสองสายพันธุ์นี้มาผสมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 (KDML 105) ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณภาพหุงต้มและรับประทานเป็นที่พอใจของผู้บริโภค แต่ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แล้วทำการคัดเลือกบริเวณยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดที่โครโมโซม 6 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ.ร่วมกับการทดสอบความต้านทานเพลี้ยกระโดด และการผสมกลับ (backcross) จนได้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข 6 ที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานโรคไหม้
โรคไหม้ข้าวเกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea ที่สามารถเข้าทำลายต้นข้าวได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยสามารถพบอาการของโรคได้ทุกส่วนของต้นข้าวที่อยู่เหนือดิน และได้มีการประเมินไว้ว่า ในแต่ละปีผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่เป็นพันธุ์อ่อนแอโรคไหม้จะสูญเสียไปเนื่องจากโรคนี้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทั้งหมด ถึงแม้จะมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานโรคไหม้ได้ แต่เมื่อแนะนำส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ได้ไม่นานเชื้อโรคก็จะมีการพัฒนาตัวเองให้สามารถเข้าทำลายข้าวพันธุ์ต้านทานนั้นได้ จึงมีความจำเป็น และเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความต้านทานอย่างยั่งยืนต่อโรคไหม้นี้


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานโรคไหม้
ข้าวเจ้าหอมนิล และข้าว IR 64 เป็นพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพสูงในการต้านทานเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ของประเทศไทย ได้มีการศึกษาหาตำแหน่งของยีนต้านทานโรคไหม้และมีการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อนำมาใช้ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ซึ่งได้มีการดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าว 2 วิธีด้วยกัน คือ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยการเพิ่มความต้านทานโรคไหม้ลงในข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีการผสมกลับ และการรวบยอดยีนต้านทานโรคไหม้จากข้าวเจ้าหอมนิล และ IR 64 เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีการเพิ่มความต้านทานโรคไหม้


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนแล้ง
ภัยแล้งเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแต่ละปีมักประสบปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณและการกระจายตัวของฝน จึงเกิดสภาพแล้งและน้ำท่วมเป็นประจำความแห้งแล้งนี้จะเกิดได้ทุกระยะการปลูก คือ ต้นฤดูฝน กลางฤดู หรือปลายฤดูฝน ถ้าปีไหนแล้งจัดก็อาจจะแห้งแล้งทั้งต้นและปลายฤดูปลูก เป็นต้น ซึ่งการเกิดสภาพแล้งในระยะที่ข้าวกำลังออกรวงนั้น ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก ซึ่งในปีที่แล้งจัดเกษตรกรอาจจะไม่ได้ผลผลิตข้าวเลย

เป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเเล้ง จึงเน้นที่การนำ QTL จากพันธุ์ข้าวทนแล้งเกี่ยวข้องกับการยกระดับของศักยภาพผลผลิต การเลี่ยงแล้งโดยมีอายุออกดอกที่เร็วขึ้น 1-2 สัปดาห์ การทนต่อสภาพการขาดน้ำโดยกลไกทางสรีรวิทยาและระบบรากคที่ลึกมาใส่ในพันธุ์ข้าวขาวดอกามะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือก (MAS)


ผลการทดลอง
จากการทดสอบพันธุ์ปรับปรุงของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีชิ้นส่วนของพันธุ์แล้ง บนโครโมโซมที่ 1, 3, 4 และ 8 ภายใต้สภาพแล้งที่มีความรุนแรงในการทำให้ผลผลิตลดลง 50 % พบว่า มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าและเปอร์เซ็นต์ความเป็นหมันลดลง อีกทั้งยังมีการสะสมน้ำหนักในเมล็ดสูง ถึงแม้ว่าการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้ MAS จะแสดงถึงความสำเร็จระดับหนึ่ง ดังนั้น ในระยะหลังของกระบวนการคัดเลือกจึงจำเป็นจะต้องคัดเลือกลักษณะทนเเล้งและผลผลิตภายใต้สภาพแล้งในแปลงทดลอง ซึ่งต้นที่แสดงลักษณะที่ดีภายใต้สภาพแล้งนั้น เกิดจากการรวม QTL ที่ดีของพันธุ์ทนแล้งและพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เข้ากัน




http://dna.kps.ku.ac.th



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/11/2016 6:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

464. จุดกำเนิดและประวัติข้าวไทย


พันธุ์ข้าวที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูล Oryza gramineae สันนิษฐานว่า พืชสกุล Oryza มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีป Gondwanaland ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวและเคลื่อนออกจากกันเป็นทวีปต่าง ๆ เมื่อ 230-600 ล้านปี มาแล้ว จากนั้นกระจายจากเขตร้อนชื้นของแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย อเมริกากลางและใต้

ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลถึง 2,500 เมตร หรือมากกว่า ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งในที่ราบลุ่มจนถึงที่สูง ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือ ถึง 35 องศาใต้ มนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ มีการผสมพันธุ์ข้ามระหว่างข้าวที่ปลูกกับวัชพืชที่เกี่ยวข้อง เกิดข้าวพื้นเมืองมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี ก่อให้เกิดพันธุ์ข้าวปลูกที่เรียกว่า ข้าวลูกผสมซึ่งมีปริมาณ 120,000 พันธุ์ทั่วโลก

ข้าวที่ปลูกในปัจจุบันแบ่งออกเป็นข้าวแอฟริกาและข้าวเอเชีย

ข้าวแอฟริกา (Oryza glaberrima) แพร่กระจายอยู่เฉพาะบริเวณเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น สันนิษฐานว่าข้าวแอฟริกาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตศักราช


ข้าวเอเชีย เป็นข้าวลูกผสม เกิดจาก Oryza sativa กับข้าวป่า มีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศ บริเวณดินแดนสามเหลี่ยมระหว่างพม่า ไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้



Oryza sativa : ข้าวเอเชียแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ :
ข้าวสายพันธุ์แรกเรียกว่า สายพันธุ์ Senica หรือ Japonica ปลูกบริเวณแม้น้ำเหลืองของจีน แพร่ไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นข้าวเมล็ดป้อม


ข้าวสายพันธุ์ที่สอง เรียกว่า Indica เป็นข้าวเมล็ดยาวปลูกในเขตร้อนแพร่สู่ตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา แหลมมาลายู หมู่เกาะต่าง ๆ และลุ่มแม่น้ำแยงซีของจีนประมาณคริสต์ศักราช 200


ข้าวสายพันธุ์ที่สาม คือ ข้าวชวา (Javanica) ปลูกในอินโดนีเชีย ประมาณ 1,084 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นแพร่ไปยังฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น ในข้าวเอเชียแพร่เข้าไปในยุโรปและแอฟริกา สู่อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปจากหมู่เกาะมาดากัสกา


ในเบื้องแรก มนุษย์ค้นพบวิธีปลูกข้าวแบบทำไร่เลื่อนลอย ดังปรากฏหลักฐานในวัฒนธรรมลุงซาน ประเทศจีนและวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว

ต่อมามนุษย์ค้นพบการทำนาหว่าน ดังปรากฏหลักฐานในวัฒนธรรมยางเชา บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ในวัฒนธรรมลุงซาน ประเทศจีนและวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม เมื่อ 5,000-10,000 ปีมาแล้ว

ภูมิปัญญาด้านการปลูกข้าวพัฒนาสู่การปักดำ พบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียงประเทศไทย เมื่อไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ในประเทศไทย เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูก ของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว3,000 - 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ รอยแกลบข้าว ซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่าแก่ที่สุด คือ ประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช

หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ อาทิ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,000-3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 5,400 ปีมาแล้ว

แกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุงมีทั้งลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูง เป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แต่ไม่พบลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดป้อมหรือข้าวพวก Japonica เลย

แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผา กำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือ ประมาณ 2,000-3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ลักษณะเป็นข้าวเอเชีย (Oryza sativa) หลักฐานการค้นพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอบแกลบบนเครื่องปั้นดินเผา

ที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังพบหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าเมืองไทยที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช (อาจก่อนหรือหลังจากนั้นประมาณ 300 ปี) ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น

ส่วนหลักฐานภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ที่ผาหมอนน้อน บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่งมีลักษณะเหมือนข้าว ภาพควายในแปลงพืชคล้ายข้าว อาจตีความได้ว่ามนุษย์สมัยนั้นรู้จักข้าวหรือการเพาะปลูกข้าวแล้ว

ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สรุปไว้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ว่า "ประเทศไทย ทำนาปลูกข้าวมาแล้วประมาณ 5471 ปี ผลของการขุดค้นที่โนนนกทา สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ข้าวเริ่มปลูกในทวีบเอเชียอาคเนย์ ในสมัยหินใหม่ จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี



http://www.thairice.org/html/aboutrice/about_rice1.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/09/2011 7:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

465. งานวันเกิด ครบรอบ 51 ปี ข้าวหอมมะลิ





จังหวัดร้อยเอ็ดจัดงาน วันเกิด ครบรอบ 51 ปี ข้าวหอมมะลิ ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2553


นายธวัชชัย ฟักอังกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า พื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดในโลก มีเนื้อที่ ประมาณ 2 ล้าน ไร่ และ เนื้อที่จำนวน 3 ใน 5 ส่วนอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ข้าวหอมมะลิ หรือข้าวขาวดอกมะลิ 105 (หนึ่งร้อยห้า) เป็นพันธุ์ข้าวที่ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว มีมติ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 ประกาศให้เป็นพันธุ์ข้าวที่แนะนำและส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ต่างๆได้ ทำให้เกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด นิยมปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อการค้าครอบคลุมทั้ง 20 อำเภอ กว่า 2 ล้านไร่ ผลผลิตต่อปีประมาณ 9 แสนตัน คิดเป็นเงินมูลค่า 9 พันล้านบาท

ดังนั้น จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงได้กำหนดจัดงาน วันเกิดครบรอบ 51 ปี ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ณ บึงพลาญชัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิร้อยเอ็ดให้เป็นรู้จักอย่างแพร่หลายและต่อเนื่องยิ่งขึ้น
กิจกรรมในงานประกอบด้วย

การทำบุญวันเกิดข้าวหอมมะลิ โดยเชิญชวนประชาชนนำข้าวสารหอมมะลิ หรือข้าวสุกหอมมะลิ ร่วมตักบาตร พระสงฆ์ 101 รูป ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป จากนั้นเวลา 10 นาฬิกา พิธีเปิดงาน ชมการหุงข้าวหอมมะลิด้วย มวย ที่ใหญ่ที่สุดในโลก การแสดงนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ , การมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ,การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ ,การแสดงศิลปวัฒนธรรมบนเวที และรับประทานข้าวหอมมะลิ-ไข่เจียว ฟรี ณ โรงทานตลอดงาน จึงขอเชิญชวนเกษตรกรและผู้สนใจ ทุกท่าน ร่วมงาน วันเกิด ครบรอบ 51 ปี ข้าวหอมมะลิ ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 นี้ ที่ บึงพลาญชัยร้อยเอ็ด


ขอบคุณเนื้อหา คุณสมเกียรติ สระกาศ ส.ปชส.ร้อยเอ็ด
http://www.showthep.com/show-172309


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/09/2011 7:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

466. พัฒนาพันธุ์ข้าว "หอมมะลิ" หวังยกระดับเทียบชั้น "บาสมาติ"


ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มก. เร่งพัฒนาข้าวใหม่ ให้ดัชนีน้ำตาลต่ำ หวังยกระดับราคาขายเทียบชั้นข้าวบัสมาติ หลังปล่อยให้ชาติอื่น ทำข้าวเลียนแบบหอมมะลิมาหลายปี พร้อมปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ รับมือข้าวแจ๊สแมนจากสหรัฐฯ แย่งพื้นที่ในตลาดโลก กลางปีเตรียมทดลองปลูกข้าวหอมมะกันเปรียบเทียบข้าวหอมไทย หวังให้ได้กลิ่นกันจะจะว่าข้าวใครหอมกว่าใครแน่

รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและการค้นหาและใช้ประโยชน์จากยีนข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิให้มีคุณสมบัติดีและสามารถขายได้ในราคาสูงเทียบเท่าข้าวบาสมาติ (Basmati rice) ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวหอมของอินเดีย


"ข้าวหอมมะลิของไทยขายได้ราคาประมาณ 30-40 บาทต่อกิโลกรัม หากเป็นข้าวไม่ขัดสีอย่างมากสุดก็ขายได้ไม่เกินกิโลกรัมละ 90 บาท แต่ข้าวบาสมาติมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 300 บาท

หากเราสามารถพัฒนาข้าวหอมมะลิให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและสามารถขายได้ราคาเท่ากับข้าวบาสมาติได้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลกได้ หลังจากที่เราปล่อยให้ชาติอื่นๆ พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเลียนแบบข้าวหอมมะลิของไทยมาหลายปี" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าว


ขณะนี้ รศ.ดร.อภิชาติ ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) จำนวน 41 ล้านบาท ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิให้เมล็ดมีความยืดตัวสูงขึ้นเมื่อหุงต้ม และมีดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อให้เหมาะแก่ผู้บริโภคที่เป็นเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ และสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงเช่นเดียวกับข้าวบาสมาติของอินเดีย โดยคาดว่าจะได้ข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวในอีกไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า


"เราไม่ได้ต้องการพัฒนาพันธุ์ใหม่ที่ขายได้ราคาดีเหมือนบาสมาติขึ้นมาเพื่อเป็นคู่แข่งของข้าวหอมมะลิเดิมของเรา แต่ต้องการทำให้ทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เพื่อเป็นการเสริมตลาดข้าวหอมมะลิที่มีอยู่เดิม" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ภายในงานสัมมนาพิเศษเรื่องข้าว "งานวิจัยข้าวไทย : วิกฤตและโอกาส" ที่มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 53 ณ อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

นอกจากนั้น ภายใต้ทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวก. รศ.ดร.อภิชาติ ยังมีโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้าวขาวดอกมะลิที่มีคุณสมบัติดีหลายประการรวมอยู่ด้วยกัน ทั้งความสามารถทนต่อโรค แมลง สภาพแวดล้อม และให้ผลผลิตสูง เพื่อเตรียมรับมือกับข้าวแจ๊สแมน (Jazzman rice) ที่สหรัฐฯ พัฒนาขึ้นให้มีความหอมเทียบเท่าข้าวหอมมะลิของไทย และเตรียมที่จะปลูกเชิงพาณิชย์ในอีกไม่กี่ปีนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยได้

ขณะเดียวกัน รศ.ดร.อภิชาติ ยังมีโครงการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบคุณสมบัติของข้าวขาวดอกมะลิของไทยกับข้าวหอมแจ๊สแมน ในพื้นที่ปลูกในประเทศไทย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับมหาวิทยาลัยรัฐหลุยส์เซียนา (Louisiana State University) ซึ่งเป็นเจ้าของพันธุ์ข้าวแจ๊สแมน ภายหลังจากที่ได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเริ่มศึกษาได้ราวกลางปีนี้ และใช้เวลาอีกอย่างน้อยหนึ่งปีจึงจะรู้ผล

"เราต้องการพิสูจน์ว่า หากนำข้าวแจ๊สแมนมาปลูกในประเทศไทย จะให้กลิ่นหอมเทียบเท่าข้าวขาวดอกมะลิของไทย และให้ผลผลิตสูงกว่าตามที่ได้มีการอ้างไว้หรือไม่ เพราะแม้แต่ ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ยังให้ค่าความหอมไม่เท่ากันเลย และโดยปกติข้าวที่มีสารหอมมากมักให้ผลผลิตต่ำ" รศ.ดร.อภิชาติ เผย ซึ่งผลจากการวิจัยเปรียบเทียบข้าวทั้งสองสายพันธุ์ จะเป็นข้อมูลให้ประเทศไทยเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตได้ ซึ่งข้าวแจ๊สแมนเป็นข้าวไม่ไวแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น และเวียดนามก็สนใจที่จะนำมาปลูกด้วยเช่นกัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยแน่ เพราะเวียดนามเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่งของไทย.




ที่มา: ผู้จัดการ

http://thairecent.com/Science/2010/603807/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 6:54 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

467. การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยรังสี


มนุษย์ได้รู้จักปรับปรุงพันธุ์พืชมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่เริ่มมีการเพาะปลูก โดยใช้วิธีคัดเลือกลักษณะที่เห็นว่าดีในธรรมชาติ เก็บขยายพันธุ์ ต่อมาได้รู้จักนำพันธุ์ที่ดีมาผสมกัน จนในปัจจุบัน มีการนำรังสีมาใช้งานปรับปรุงพันธุ์พืช โดยรังสีสามารถชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ รังสีนที่นิยมใช้คือรังสีแกมมาและรังสีเอกซ์ เพราะสามารถฉายผ่านทะลุเข้าไปถึงเนื้อเยื่อภายในได้ดี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับยีนส์ (genes) ซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือทำให้เกิดการขาดของโครโมโซม ทำให้ได้ลักษณะพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา การใช้รังสีสามารถใช้กับส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ ของพืช เช่น กิ่งตา หน่อ ไหล แต่ที่นิยมมากคือ เมล็ด เนื่องจากหาได้ง่ายมีปริมาณมากและสะดวกในการขนส่ง แม้ว่าจะต้องใช้รังสีขนาดสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของพืชก็ตาม



ฉายรังสีแกมมาเมล็ดแตงโมพันธุ์ห้วยทรายทอง ปริมาณรังสี 200 เกรย์ แล้วปลูกที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ห้วยทราย จ.เพชรบุรี พบลักษณะกลายพันธุ์ที่ผิวผลมีลายเป็นไม่มีลาย



การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยรังสี มีขั้นตอนดำเนินการดังต่อไปนี้
การเลือกพันธุ์ที่ใช้ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะส่วนใหญ่ดีอยู่แล้ว แต่ต้องการปรับปรุงลักษณะบางประการให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มความต้านทานโรค หรือปรับปรุงให้ไม่ไวต่อช่วงแสง ผลิตผลสูงขึ้น

การหาปริมาณรังสีที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการกลายพันธุ์มาก แต่ไม่ถึงขนาดทำให้พืชทดลองนั้นตายหมด ปริมาณรังสีที่ใช้ในพืชแต่ละชนิด ก็แตกต่างกันไป
การปลูกรักษาต้นที่ 1 (M1) คือต้นที่เจริญจากเมล็ด หรือส่วนของพืชที่ฉายรังสี ต้องดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้เหลือรอด และสามารถเก็บเกี่ยวเมล็ด หรือส่วนของพืชไว้ปลูกในรุ่นต่อไปได้ ในรุ่นนี้อาจพบลักษณะบางอย่าง เช่น ใบบิดเบี้ยวหงิกงอ หรือเป็นด่าง ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นผลจากรังสี แต่หากรุนแรง ก็อาจทำให้ต้นตายในเวลาต่อมา

การปลูกและการคัดเลือกต้นกลายพันธุ์ในรุ่นที่ 2 (M2) ถ้าเป็นพวกที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ก็เก็บแบบแยกต้น หรือเก็บรวบรวมแล้วปลูก หรือหากเป็นกิ่งก็ตัดกิ่งไปชำใหม่ ในรุ่นนี้ จะพบความแปรปรวนมาก และอาจพบลักษณะการกลายพันธุ์ ที่เห็นเด่นชัด แต่บางลักษณะอาจเห็นไม่ชัด ต้องทำการเก็บเมล็ด หรือส่วนของพืชนั้น ปลูกทดสอบในรุ่นต่อไป จนถึงรุ่นที่ 5 หรือ 6 แล้วทำการทดสอบพันธุ์ที่ได้ ก่อนที่จะแนะนำเป็นพันธุ์ส่งเสริม





การใช้รังสีในการปรับปรุงพันธุ์พืชนั้นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในพวกพืชผสมตัวเอง เช่น ข้าว ถั่ว ยาสูบ มะเขือเทศ และในพวกไม้ดอกไม้ประดับก็มีการเปลี่ยนสีดอก ส่วนพืชพวกผสมข้าม เช่น ข้าวโพด ก็มีบ้างแต่เป็นส่วนน้อย ลักษณะต่าง ๆ ของพืชที่สามารถปรับปรุงโดยการใช้รังสี เช่น ผลผลิต ระยะเวลาการออกดอก และการสุกของผล ทรงต้นของพืช ความต้านทานต่อการล้มและการหักของต้น ความทนต่อสภาพภูมิอากาศหรือภูมิประเทศบางแห่ง ความตานทานต่อโรคและแมลง การเพิ่มปริมาณโปรตีน แป้ง น้ำมัน ฯลฯ



ลักษณะใบและฝัก ของกระเจี๊ยบเขียว ที่เป็นโรคเส้นใบเหลือง ทำให้ฝักมีสีเหลือง



ต้น B-21-6-2-1 กระเจี๊ยบเขียวสายพันธุ์กลาย ที่แสดงลักษณะ ต้านทานโรคเส้นใบเหลือง


การใช้รังสีช่วยปรับปรุงพันธุ์พืชได้ดำเนินการกันมาเป็นเวลา 70 ปีแล้ว ได้พันธุ์ใหม่ ๆ ประมาณ 2,200 กว่าพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นการค้า ในจำนวนนี้เป็นธัญพืชประมาน 1,000 พันธุ์ ไม้ดอกไม้ประดับประมาณ 550 พันธุ์ สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเทคนิคนี้มาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา กรมวิชาการเกษตรได้นำเมล็ดข้าวมาฉายรังสีที่ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (ขณะนั้นยังไม่ได้แยกตัวออกมาจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ) จนกระทั่งคัดเลือกได้ข้าวพันธุ์ใหม่ 3 พันธุ์ คือ

ข้าวพันธุ์ กข 6 ได้จากการนำข้าวขาวดอกมะลิ 105 ฉายรังสีแกมมาขนาด 200 เกรย์ คัดเลือกจนได้พันธุ์ข้าวเหนียวที่ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เดิมถึงร้อยละ 23 มีความต้านทานต่อโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล

ข้าวพันธุ์ กข 10 ได้จากการนำข้าว กข 1 อาบด้วยอนุภาคนิวตรอนเร็วขนาด 10 เกรย์ คัดเลือกจนได้พันธุ์ข้าวเหนียวเมล็ดยาวขึ้น ต้นเตี้ย ผลผลิตสูง คุณภาพในการหุงต้มดีขึ้น ค่อนข้างทนทานต่อโรคไหม้

ข้าวพันธุ์ กข 15 ได้จากการนำข้าวขาวดอกมะลิ 105 ฉายรังสีแกมมาขนาด 150 เกรย์ คัดเลือกจนได้พันธุ์ข้าวเจ้าหอมเหมือนพันธุ์เดิม ต้นเตี้ยกว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ทนแล้งได้ดี

จะเห็นได้ว่า รังสีมีประโยชน์ต่องานปรับปรุงพันธุ์พืช ช่วยให้ได้พันธุ์ใหม่ ๆ ออกมาในระยะเวลาสั้น โดยที่ลักษณะดีของพันธุ์เดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็มีปัญหาอยู่บ้างในการดำเนินงานทดลองคือ ต้องใช้พืชทดลองเป็นจำนวนมาก และใช้เนื้อที่มากในการเพาะปลูก เพื่อให้มีโอกาสพบพันธุ์กลาย (mutants) สูงขึ้น แต่อาจใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อในหลอดทดลอง (in vitro culture techniques) เข้าช่วยได้ อีกปัญหาหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนั้นอาจเกิดขึ้นได้แต่ยากแก่การตรวจพบ จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคที่เหมาะสมมาช่วยในการคัดเลือก โดยต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน ว่าต้องการปรับปรุงให้ได้ลักษณะใด แล้วทำการคัดเลือกให้ได้ลักษณะนั้น



โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้รังสี
ร่วมกับสถานีทดลองข้าวคลองหลวง



ลักษณะแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในฤดูนาปรังระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ซ้าย) กับพันธุ์กลายที่คัดเลือกไว้ (200-17) พบว่าพันธุ์กลายออกดอกเร็ว ไม่ไวต่อแสง ส่วนข้าวขาวดอกมะลิ 105 (KDML 105) นั้นเพิ่งเริ่มออกดอกและมีจำนวนน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่..
คุณ วไลลักษณ์ แพทย์วิบูลย์
โทร. 02 562 0114, 02 579 5230 ต่อ 2411 หรือ 2416
อีเมล valailak@oaep.go.th

http://www.tint.or.th/application/apply-plant.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/09/2011 7:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/09/2011 7:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

468. พัฒนาสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน

ด้วยการผสมข้ามพันธุ์ พัฒนาสายพันธุ์ข้าวโดยวิธีธรรมชาติ


ปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยเกิดเป็นประจำเกือบทุกปี ถึงแม้การปลูกข้าวต้องมีการปล่อยให้น้ำขังประมาณ 2-3 นิ้ว ในแปลงนา แต่การเกิดน้ำท่วมฉับพลันในระดับสูงท่วมต้นข้าวและขังอยู่เป็นเวลานาน ทำให้ต้นข้าวทั่วไปตายหลังน้ำท่วมขังเพียงไม่กี่วัน

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เห็นความสำคัญนี้ และมีหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวโดยการผสมพันธุ์ข้าวด้วยวิธีธรรมชาติ อาทิ การวิจัยและพัฒนาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของไทยให้ทนน้ำท่วมฉับพลัน จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนน้ำท่วมฉับพลันได้ประมาณ 15-21 วัน โดยต้นข้าวไม่ตาย และเมื่อทดลองปลูกในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลันในปีการเพาะปลูก ปี 2547-2548 ที่อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย พบว่า

สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วม ฟื้นตัวหลังน้ำท่วมได้ดีกว่าสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์เดิม โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 303 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเพียง 56 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทดลองปลูกในพื้นที่ปกติ ทั้งสองสายพันธุ์ให้ผลผลิตใกล้เคียงกันและมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน

พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลันที่ได้จากงานวิจัยนี้ เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน มีลักษณะเด่น คือ สามารถทนน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะของการเติบโต สามารถอยู่ใต้น้ำโดยไม่ตายได้ 2-3 สัปดาห์ นอกจากนั้น ยังทนแล้งและดินเค็มได้ดีพอสมควร โดยมีลักษณะที่ดีเหมือนพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 เดิม เช่น เมล็ดข้าวยาว คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอมและอ่อนนุ่ม

เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ไบโอเทคได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว และมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ น้อมเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 3,000 กิโลกรัม แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2550 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และทรงพระราชทานเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวแก่สมาชิกสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้สมาชิกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมใช้ปลูกและขยายพันธุ์ หน่วยงานละ 1,500 กิโลกรัม

สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ได้แจกจ่ายเมล็ดข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลันให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกข้าวคุณธรรม (ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์และผู้ปลูกถือศีล 5 จำนวน 45 คน) ในพื้นที่ 150 ไร่ ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดยโสธร ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอทรายมูล อำเภอกุดชุม อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอป่าติ้ว จังหวัดอำนาจเจริญ ได้แก่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอโนนคูณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมและคัดเลือกเกษตรกรเพื่อปลูกและขยายข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอลับแล และอำเภอท่าปลา มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 20 คน ในพื้นที่ 71 ไร่

ผลการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน ในปี พ.ศ. 2550 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 220-615 กิโลกรัม ต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เดิม มีลำต้นแข็งแรง รวงยาว เมล็ดติดดี ไม่ร่วงง่าย น้ำหนักเมล็ดดี เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวสารยาว สวย มีกลิ่นหอมเหมือนพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เดิม และให้ผลผลิตแม้เจอสภาพแล้ง


เกษตรกรมีความพึงพอใจและเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้เพื่อปลูกในแปลงของตนเองและแจกจ่ายให้กับเกษตรกรรายอื่นปลูกในปี พ.ศ. 2551 ต่อไป สำหรับปี พ.ศ. 2550 ได้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรจำนวน 45 คน ปลูกในพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 37,500 กิโลกรัม และนำเข้ากองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน จำนวน 2,000 กิโลกรัม นอกจากนี้ เทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ได้ตั้งโครงการจัดทำแปลงสาธิตปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 10 ไร่ ในปี พ.ศ. 2551 โดยเมล็ดพันธุ์ที่ได้จะแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ต้องการเมล็ดพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมต่อไป

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา นักวิจัยศูนย์ไบโอเทค กล่าวว่า การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนั้น ได้มีการศึกษาพันธุ์ข้าวให้มีความรู้ทันชาติอื่น โดยมีการศึกษาระดับโมเลกุลที่ทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม มีการผสมผสานในการใช้ เทคโนโลยีชาวบ้านสมัยใหม่ และ เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน นำความรู้มาวิเคราะห์ทดสอบประเมินว่าสิ่งมีชีวิตปรับปรุงพันธุ์ได้โดยไม่ต้องรอเวลาอีก 3-6 ปี เหมือนเช่นเดิมอีกต่อไป มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวทำให้ใช้เวลาสั้นลง ซึ่งเดิมใช้เวลายาวนานในการผสมข้ามพันธุ์แล้วคัดเลือกสายพันธุ์


ศูนย์ไบโอเทค สวทช. ได้ทำวิจัยและพัฒนามากว่า 15 ปีแล้ว ตั้งแต่การตรวจหาพันธุกรรมข้าวซึ่งมียีนที่แตกต่างกัน (DNA Fringer Print) เป้าหมายทำความเข้าใจความรู้ให้มากที่สุดใน 2 ประเด็น คือ

1. พันธุศาสตร์ของข้าว ยีนที่สำคัญนำมาพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างยั่งยืนมีคุณค่ามากขึ้น
2. การอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ความก้าวหน้าของการพัฒนาพันธุ์ข้าว ใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวกับข้าว โดยศูนย์ไบโอเทค สวทช. ได้บูรณาการร่วมกับกรมการข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา โดยมีเป้าหมายในการทำวิจัย 5 ประเด็น ดังนี้

1. ใช้เทคโนโลยีชีวภาพศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าว ต้นกำเนิดข้าวของเอเชียตั้งแต่อินเดียจนกระทั่งมาถึงประเทศไทย สมัยก่อนมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมากมาย รวมทั้งข้าวป่าด้วย มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวจำนวนหลายสายพันธุ์เป็นประโยชน์ในอนาคต เพราะมีสิ่งที่ดีๆ ในพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ข้าวป่า ธาตุเหล็กเสริม เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัยพันธุ์ข้าวป่าหลากหลายชนิด

2. การใช้ยีนที่มีความสำคัญในการพัฒนาพันธุ์ข้าวด้วยวิธีผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติ ทำให้พบยีนต้านทานโรคในข้าว ใช้เทคโนโลยีชีวภาพค้นหายีน การทำงานของยีนและสมบัติของยีน เช่น ความหอม เป็นต้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

4. พัฒนาสายพันธุ์ข้าวได้รวดเร็วขึ้น เป็นการย่นระยะเวลาในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี

5. ตรวจสอบเมล็ดข้าวและผลผลิตข้าวว่ามีการปลอมปนหรือไม่

การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวได้ทำมา 10 กว่าปีแล้ว เช่น การศึกษาความหลากหลาย ศึกษายีนที่จำแนกสายพันธุ์ข้าวและการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวกว่า 500 สายพันธุ์ มีธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว (Seed Bank) เพื่อเก็บพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ดีไว้ ศูนย์ไบโอเทคได้มีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะดีที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองและข้าวป่า เป็นต้น

ปัญหาในการผลิตข้าวของไทย อาทิ โรคขอบใบแห้งของข้าว ทนน้ำท่วม และทนแล้ง มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้สามารถเติบโตได้ในสภาวะทนน้ำท่วมและทนแล้งได้ ต้นข้าวไม่ตาย ฝนแล้งแต่ยังให้ผลผลิตได้ พบว่า มียีนมากกว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในข้าวพันธุ์ดี 12 โครโมโซม ที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้

การรู้ยีนเป็นหัวใจหลักของการปรับปรุงพันธุ์สมัยใหม่ในระดับโมเลกุล (Melecular Breeding, Marker Collection Breeding) มียีนที่ต้องการหรือไม่ เช่น พัฒนาพันธุ์ข้าวต้านทานโรคไหม้ ฉีดเชื้อของโรค ตัดยีนต้านทานโรคไหม้ เก็บยีนไว้แล้วนำไปทำวิจัยต่อยอดต่อไป ทำให้กระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ดีสั้นลง สมัยก่อนต้องทำวิจัยและพัฒนา โดยคัดเลือกสายพันธุ์ในสภาพน้ำท่วมและสภาพแล้งมีโรคต่างๆ เกิดขึ้น ปัจจุบันหากรู้ยีนข้าวก็สามารถเจาะลงไปให้ครอบคลุมจากที่ต้องใช้เวลายาวนานภายใน 3 ปี ให้มีระยะเวลาสั้นลงเหลือเพียงปีเดียว

ปัจจุบันมีการตรวจหา DNA ของเมล็ดพืชได้เลย จะทำให้ทราบว่าในสายพันธุ์นั้นมียีนทนแล้งหรือมียีนทนน้ำท่วม พบโรคได้โดยไม่ต้องนำไปปลูกแล้วต้องรอเวลาทำวิจัยในระยะยาว และมีโอกาสประสบผลสำเร็จได้สูง ศูนย์ไบโอเทคได้นำองค์ความรู้มาทำวิจัยร่วมกับกรมการข้าว โดยศูนย์ไบโอเทคพัฒนาข้าวไทยใน 2 ระบบ คือ ข้าวนาน้ำฝน เช่น ข้าวหอมมะลิ ซึ่งปลูกมากว่า 40 ปีแล้ว และข้าวเหนียว กข 6 มีการเพาะปลูกมากกว่า 60-70% ของพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด

คนไทยชอบข้าวอร่อย มีความหอม แต่ไม่ทนน้ำท่วม ไม่ทนแล้ง ไม่ทนต่อโรคและแมลง จึงมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ทำให้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีคุณสมบัติทนน้ำท่วม ทนแล้ง ทนเค็ม ทนต่อโรคและแมลง ผลผลิตโดยรวมของเกษตรกรเพิ่มขึ้นและมีความเสียหายน้อยลง และให้ได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่ร่วมทำวิจัยกับกรมการข้าว ข้าวนาชลประทานภาคกลาง ต้องการพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวไวแสงปรับปรุงพันธุ์ให้ทนน้ำท่วม) การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวเหนียว กข 6 มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยผสมกับข้าวสายพันธุ์หอมมะลิ มีการพัฒนาข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่มีคุณสมบัติทนน้ำท่วม ทนแล้ง ต้านทานโรค ต้านทานเพลี้ย เป็นต้น

การพัฒนาพันธุ์ข้าวนั้น คุณสมบัติที่ดีต่างๆ จะรวมอยู่ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีการวางแผนในการพัฒนาพันธุ์ข้าวมานานเพราะต้องใช้เวลามาก เทคโนโลยีทำให้ใช้เวลาสั้นลง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ได้รับการพัฒนาจะมีคุณสมบัติที่ดี ดังนี้ เกษตรกรได้รับการประกันพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีคุณสมบัติทนต่อสภาวะน้ำท่วม ทนแล้งได้ดีและยังให้ผลผลิตข้าวได้ ส่วนข้าวเหนียว กข 6 มีลักษณะเดียวกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่ข้าวเหนียว กข 6 พัฒนาได้เร็วกว่าเพราะมีการวิจัยต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ ให้เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ซึ่งข้าวนาชลประทาน นำไปปลูกได้ในพื้นที่ภาคกลาง ต้านทานโรคไหม้และมีคุณภาพดี ข้าวทนน้ำท่วมภาคกลาง อยู่ในช่วงขยายเมล็ดพันธุ์ซึ่งกำลังทดสอบในพื้นที่ปลูก อีกทั้งมีการยกระดับข้าวลูกผสม พัฒนาสายพันธุ์ที่เป็นหมัน นำเทคโนโลยีชีวภาพใช้งานในการเพาะเนื้อเยื่อพืช (Tissue Culture) การพัฒนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองซึ่งเป็นพันธุ์แท้ จากเดิมที่ต้องใช้เวลาเพาะปลูกยาวนานถึง 7-8 รุ่น กว่าจะได้ผลออกมา ซึ่งการเพาะเนื้อเยื่อทำให้ร่นเวลาเหลือเพียงปีเดียว มีการเร่งรัดการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้ได้พันธุ์แท้ไวขึ้น เพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์เดิมไว้

คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ตรวจสอบการปลอมปนของพันธุ์พืชสายพันธุ์แต่ละชนิดมี DNA Fringer Print) ซึ่งมียีนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการค้าหรือส่งออกข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะตรวจสอบได้ว่ามีการปลอมปนอะไร เท่าไหร่ มีเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในงานวิจัยต้นข้าว ความหลากหลายที่หาพันธุ์ข้าวกว่า 500 สายพันธุ์

กรมการข้าวมีการรักษาสายพันธุ์ข้าว และศูนย์ไบโอเทคสนใจเก็บจำแนกสายพันธุ์ที่จะเป็นประโยชน์ในแง่พันธุ์ที่มีความต้านทานดี คุณค่าทางอาหารสูง ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ จะมีการพัฒนาต่อไปในอนาคต เช่น ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ข้าวปิ่นแก้ว เป็นพันธุ์ที่ขึ้นน้ำ ข้าวอีก้อ ข้าวอัพแลนด์ เป็นต้น

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณบงกช สาริมาน ประชาสัมพันธ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โทรศัพท์ (02) 564-6700 ต่อ 3114 โทรสาร (02) 564-6702 e-mail : bongkoch.sar@biotec.or.thโดย บุปผา มั่นอารมณ์




ที่มา http://info.matichon.co.th/techno
http://clinictech.wu.ac.th/detail.php?id=262
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 11:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

469. ผลไม้เมืองหนาว



กีวีฟรุต
(Kiwi, Chinese Gooseberry, Actinidia chinensis)



กีวีฟรุต มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน แต่มาได้รับความสำเร็จ ในการปลูกเป็นการค้า ใหญ่โตที่ประเทศนิวซีแลนด์ ถึงกับใช้ชื่อใหม่ว่า กีวีฟรุต (kiwi fruit) ซึ่งเป็น ฉายาของประเทศนิวซีแลนด์นั่นเอง เป็นผลไม้ชนิดเถาเลื้อยต้องใช้ค้างคล้ายกับการปลูกองุ่นผล หน้าตาแปลก คือ สีน้ำตาล มีขนปกคลุมทั่วทั้งผล แต่เนื้อในมีสีเขียว และมีเมล็ด เล็กๆ สีดำ กระจายอยู่ทั่วทั้งผล แต่เนื้อในมีสีเขียวและมีเมล็ด เล็กๆ สีดำ กระจายอยู่ทั่วไปสวยงามมาก จึงมักนิยมใช้ประดับหน้าขนม หรือแต่งจานสลัด ไอศกรีม ฯลฯ

โครงการหลวงได้ทำการวิจัยการปลูกกีวีฟรุต มาตั้งแต่ พ.ศ.2518 พบว่ากีวีฟรุตต้องการอากาศหนาวเย็นค่อนข้างมาก ขณะนี้ปลูกได้ดีที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และกำลังแนะนำส่งเสริม ให้ชาวเขาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจต่อไป





ท้อ
(Peach, Prunus persica)



เรารู้จักท้อป่า หรือท้อพื้นเมืองกันมานานแล้ว เป็นท้อที่ชาวเขา และจีนฮ่อนำเข้ามาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน โครงการหลวงได้ริเริ่มนำท้อพันธุ์ดี หรือท้อฝรั่งเข้ามาทดลองเป็นจำนวนมาก และได้คัดพันธุ์ที่ดี แนะนำให้ชาวเขาปลูก ท้อพันธุ์ดีจะมีผลใหญ่ เนื้อมาก หวานฉ่ำ ใช้รับประทานสด หรือทำเป็นลอยแก้วได้ดี ผิดจากท้อ พื้นเมืองซึ่งต้องใช้ดองหรือแปรรูปเท่านั้น

ท้อพันธุ์ดีที่แนะนำให้ปลูกอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ Earli Grande, Flordabelle และ Flordasun ฤดูท้อสุกจะอยู่ใน ช่วงเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม




บ๊วย
(Japanese apricot, Prunus mume)



ได้มีการปลูกบ๊วยกันมานานพอสมควรแล้ว ที่จังหวัดเชียงราย แต่เป็นบ๊วยที่มีคุณภาพไม่ค่อยดี ต่อมาโครงการหลวงได้นำพันธุ์ดีมาจากไต้หวันและญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากและได้คัดเลือกพันธุ์ที่ดีไว้หลายพันธุ์ บ๊วยเป็นไม้ผลที่ปลูกง่ายและไม่ต้องดูแลรักษามากนัก จึงเหมาะสำหรับชาวเขาโดยทั่วไป ขณะนี้ในปีหนึ่งๆ มีผลผลิตหลายสิบตัน ซึ่งพ่อค้ามีความต้องการมากและความต้องการของตลาดยังมีอีกมาก นับว่าเป็นไม้ผลที่เหมาะในการบุกเบิกให้ชาวเขาสนใจที่จะทำสวนผลไม้ และจะก้าวหน้าไปสู่การปลูกไม้ผลอื่นๆ ได้ต่อไปในอนาคต

บ๊วยจะแก่เก็บได้ในเดือนมีนาคม ถึงเมษายน ซึ่งโรงงานจะนำไปแปรรูปเป็นบ๊วยดอง บ๊วยเค็ม และ ผลิตภัณฑ์จากบ๊วยอื่น ๆ



พลับ

(Persimmon, Diospyros kaki)



คนไทยรู้จักพลับแห้ง ซึ่งส่งมาขายจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ต่อมาก็นิยมพลับสดจากจีนที่มีเนื้อและเมื่อสุก เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งกลับเนื้อกรอบมาขาย คนไทยก็เปลี่ยนรสนิยมไปชอบพลับกรอบได้อีก นับว่าเป็นผลไม้ที่คนไทยชอบมากอย่างหนึ่ง จึงมีคนพยายามปลูกมานานแล้วทางจังหวัดภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น แต่สมัยนั้นไม่ค่อยมีพันธุ์ที่ดี การทำสวนพลับจึงไม่ค่อยก้าวหน้า ต่อมาโครงการหลวงได้นำพันธุ์พลับจากไต้หวันและประเทศอื่นๆ เข้ามาทดลอง และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ขณะนี้เรามีพันธุ์ที่เหมาะสำหรับทำแห้ง และสำหรับรับประทานสดหลายพันธุ์ และชาวเขาได้ทำสวนพลับและได้รายได้มาก เป็นที่น่าพอใจ

ฤดูเก็บเกี่ยวจะอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน และสามารถเก็บไว้ในห้องเย็นได้นานหลายเดือน ทำให้มีระยะเวลาในการขาย สะดวกกว่าผลไม้อีกหลายอย่าง



พลัม
(Plum, Prunus japonica)



พลัม เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่โครงการหลวงได้ทำการวิจัย จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ในสมัยก่อนมีการนำเข้ามาจากเมืองจีน เรียกกันว่า "ลูกไหน" ซึ่งเป็นพลัมที่คุณภาพไม่ดีนักตามดอยต่างๆ บางทีจะพบพลัมผลขนาดเล็ก ปลูกกันอยู่บ้างเป็นพลัมที่จีนฮ่อนำเข้ามา พลัมที่โครงการหลวงแนะนำให้ปลูกอยู่ในขณะนี้ บางพันธุ์ เช่น พันธุ์ Gulf Ruby จะมีขนาดใหญ่ และรสดี นอกจากใช้รับประทานสดแล้ว ยังใช้แปรรูปได้ดีอีกด้วย พลัมจะสุกใกล้เคียงกับท้อ คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม




รัสพ์เบอรี่
(Raspberry, Rubus idaeus)



ได้มีการทดลองปลูกรัสพ์เบอรี่กันมานานพอสมควรแล้ว แต่โครงการหลวงได้ทำการวิจัยอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2522 จนได้ผลสำเร็จและสามารถส่งเสริมให้ปลูกได้ในขณะนี้ รัสพ์เบอรี่เป็นไม้เลื้อยต้องมีค้างให้เกาะพยุงต้น ผลเป็นช่อ มีกลิ่นหอมจัด เป็นพืชในจำพวกเดียวกับสตรอเบอรี่ คือ รับประทานสด หรือแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ทำแยมอร่อยมาก และทำขนมต่างๆ ได้อร่อยดี



สตรอเบอรี่
(Strawberry, Fragaria spp.)



สตรอเบอรี่ ในประเทศมีประวัติความเป็นมายาวนาน คือ มีการนำพันธุ์เข้ามา ทดลองปลูกหลายยุคหลายสมัยทางภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่งได้พันธุ์ที่เหมาะสม สามารถปลูกได้ทั่วไปในบริเวณตัวเมืองเชียงใหม่ และเขตชานเมือง แต่พันธุ์ในสมัยนั้นมีข้อสีย คือ ผลชอกช้ำง่าย ทำให้ขนส่งไปขายในที่ไกลๆ ไม่ได้ โครงการหลวงได้นำพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามามากมายหลายพันธุ์ และคัดพันธุ์ได้ 3 พันธุ์ คือ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นพันธุ์สตรอเบอรี่ทั้ง 3 พันธุ์นี้ แก่เกษตรกรที่หมู่บ้านช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2515 และเกษตรกรรู้จักกันในนามพันธุ์พระราชทาน เบอร์ 13, 16 และ 20 ตามลำดับ

ต่อมาจนถึงขณะนี้สตรอเบอรี่ได้กลายเป็นผลไม้ที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ของภาคเหนือ สามารถส่งออกได้ในลักษณะสตรอเบอรี่แช่แข็ง และทำเงินเข้าประเทศได้เป็นจำนวนมาก ตลาดในประเทศก็กว้างขวางมาก เพราะใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้ง รับประทานสด และแปรรูป



สาลี่
(Oriental Pear, Pyrus spp.)



สาลี่มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สาลี่ฝรั่ง (European pear) ซึ่งมีเนื้อนุ่ม และสาลี่จีน (Chinese หรือ Oriental pear) ซึ่งมีเนื้อกรอบ คนไทยนิยมสาลี่จีนมากกว่า เพราะมีความคุ้นเคยกับสาลี่ประเภทนี้มานาน สาลี่พันธุ์ดีๆ จะมีเนื้อกรอบแต่ฉ่ำและหวานหอมชื่นใจ

สาลี่ต้องการความหนาวเย็นพอควร แต่ปลูกไม่ยากเท่าแอบเปิ้ล และมีพันธุ์ที่ได้มาจากไต้หวัน เช่น พันธุ์ Yokoyama wase, Pien Pu, Xiang Sui และ Sung-mao

สาลี่จะสุกประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม และจะขายได้ดีในช่วงสารทจีน จึงนับว่าเป็นผลไม้ที่มีตลาดที่ดีอีกอย่างหนึ่ง



แอปเปิ้ล
(Apple, Malus spp.)





แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ยอดนิยมของคนไทยมานานแล้ว และในขณะนี้เราก็ยังต้องสั่ง เข้ามาขายเป็นจำนวนมากในแต่ละปี แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ชอบอากาศหนาว และต้องการการดูแลรักษาอย่างดีในการปลูก จึงทำให้ขยายพื้นที่ปลูกได้ค่อนข้างช้า แต่คาดว่าคงจะเป็นผลไม้เศรษฐกิจของที่สูงได้ในอนาคต เนื่องจากไม่มีปัญหาในด้านการตลาดเลย

พันธุ์ที่ส่งเสริมให้ปลูก คือ Anna และ Ein Shemer ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้องการอากาศหนาวมากนัก ฤดูเก็บเกี่ยวจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน




มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยี สารสนเทศ
สนับสนุนการจัดทำ Website นี้
http://kanchanapisek.or.th/kp12/product/fruit/fruit-detail.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 11:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

470. ดอกแอปเปิ้ล ที่โครงการหลวงขุนวาง





เราเพิ่งจะเคยเห็นต้นแอปเปิ้ลในเมืองไทย สมัยเด็กๆไปที่เอไอที รังสิตเพื่อนหลอกให้ไปดูต้นแอปเปิ้ล..ยังจำได้





ที่นี่ของแท้ แอปเปิ้ล ที่โครงการหลวงขุนวาง



ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางนี้อยู่ที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ปลูกพืชหลายอย่างทดแทนการปลูกฝิ่น
เขียนโดย 9hvp ที่ 12:50

http://toyach.blogspot.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 12:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

471. รูป แอ็ปเปิ้ล สดๆ จากต้น




































http://atcloud.com/stories/27385


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 2:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 12:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

472. "สวนแอปเปิ้ล" เมืองไทย



คลิกไปดูรูป....copy มาไม่ได้...
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2122939
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2122939





แสดงความคิดเห็น

สวนแอปเปิ้ลทางภาคเหนือของไทย
แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 10 เมษายน 2554 / 19:17



กินมาตั้งแต่เด็กจนโต เพิ่งเห็นต้นแอปเปิ้ลก็คราวนี้ล่ะ
ต้นมันก็เตี้ยๆเอง คิดว่าสูงมาตั้งนาน ถ้ามีไว้หน้าบ้านสักต้นคงจะดี


ถ้าไม่บอกคงคิดว่าของเมืองนอก ^_^


ไม่เห็นมี ไร มายืนยันเลยว่าไทย มีแต่ดิน ต้นไม้ หญ้า ดูแค่นี้ไม่รู้หรอก


ทำไม ไม่ถ่าย หน้าไร่ เลย >''< เอาให้มัน เก็ท ๆ ไปเลย
นี่มีแต่ ต้นมัน ถ้าแบบนี้ ถ่ายมาจากเมืองนอก ยังได้ !! อิอิ ^^
ไม่ได้ว่าไม่ เชื่อนะคะ แค่ออก ความเห็นนิดหน่อยย ยย.


ปลูกในไทยจริงหรอ ไม่น่าเชื่อ


เคยดูสารคดีสมเด็จย่า
ต้นแอปเปิ้ลพวกนี้ปลูกกันอยู่ในโครงการหลวงดอยตุงหรืออะไรนี่ล่ะที่จังหวัดเชียงราย


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 2:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 1:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

473. มาดูการเกษตรที่ประเทศไต้หวันกันครับ


ผมได้มีโอกาสไปโครงการแลกเปลี่ยนของมหาลัยทางด้านพืชสวนเป็นโครงการโคระหว่าง ม.จงชิง กับ ม.เกษตร ไปทั้งคณะ 17 คน เป็นเวลา 20 วัน เลยนำมาให้พี่ๆชมกันครับ (อัพเท่านี้ก่อน เยอะมากๆ อยู่ 20 วัน ไม่ค่อยได้หยุด ดูงานตามศูนย์วิจัยต่างๆ บ้านเกษตรกร ซึ่งเด็กเขายังไม่ได้ชมสิ่งดีๆแบบนี้เท่าเราเลย ผมไม่ค่อยเก่งภาษาสักเท่าไหร่ ถ้าสงสัยอะไรผมจะถามอาจารย์มาให้ครับ แบบทางเทคกะนิคอะครับ มีบางอย่างผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ)




การเกษตรที่ไต้หวันส่วนใหญ่เป็นของคนรวยเพราะมีที่ดิน เขาจึงสนใจในด้านเกษตร
มากๆ ลงทุนสูง ได้ผลผลิตดี คุณภาพดี ราคาดี ข้าวบ้านเขาเป็นข้าวเมล็ดสั้น เหนียว
เขาใช้เครื่องปลูกเป็นแถว แปลงนี้เป็นแปลงอินทรีย์ ประเทศเขาเป็นประเทศ ส่งออก
สิ่งต่างๆเป็นอันดับ 6 ของโลก มีประชากร 23 ล้านคน ขับรถจากเหนือลงใต้ ใช้เวลา
5 ชม. ค่าเงินพอๆ กับบ้านเรา มีคนไทยไปทำงานแสนคน ส่วนใหญ่ทำภาค
อุตสาหกรรม






น้ำใสสะอาดมาก มีการปล่อยเป็ดลงแปลงกินหอย ใส่น้ำจุลลินทรีย์เขาใช้น้ำนม
เปรียวนำมาหมัก ปลูกพวกตะไคร้ไล่แมลงรอบแปลง ไม่เผาตอซัง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ขี้
ไก่ (เหมือนคน ค้นคนเลยที่อยู่บางปลาม้ามีที่ทำนา 100 ไร่) การใส่ปุ๋ยเคมีถ้าใส่
มากไปเกินความจำเป็นจะทำให้ต้นข้าวอ่อนแอได้ครับ เคยได้ยินโครงการปุ๋ยสั่งตัด
ไหมครับ ที่ อ.ดร ทัศนีย์ฯ ทำไว้ ผมเคยไปติดตามท่านไปแนะนำชาวบ้านของ
โครงการพระดาบถ ท่านให้วิเคราะห์ค่าดิน และ ค่าปุ๋ยเคมี ให้เหมาะสมกับความต้อง
การของพืช เหมือนการตัดเสื้อครับ ที่ขายๆ สูตรต่างๆ ท้องตลาดจะเป็นเสื้อโหล
เราต้องนำมาแก้ให้เราใส่ให้ได้พอดี ไม่ให้หลวม หรือคับ





รูปนี้เป็นแปลงสวนสาธารณะ บ้านเขาให้คนเช่าปลูกผัก ไว้ขาย ไว้ทานในครอบครัว





ส่วนใหญ่ทุกอย่างจะเป็นอินทรีย์หมด





มาชมไม้ผลกันบ้างครับนี้คือพุทรา เขาตัดแต่งแก่งแล้วเทรนให้เลื่อยไปตามลวดทำ
แบบองุ่น ทำคล้ายบ้านเรา ลูกใหญ่สู้บ้านเราไม่ได้ (พันธุ์นมสด)




แก้วมังกรคุมฟาง เปิดไฟ น้ำหยด บ้านเขาราคาแพง คนนิยมทานเพราะคนจีนชอบ
อะไรที่เป็นสีแดงๆ การทำเกษตรต้องมีข้อมูลครับ อะไรที่คนปลูกมากๆ ก็หลีกเลี่ยง
เพราะประเทศเราปลูกพืชได้เหมือนกันทั้งประเทศ




กีวี้กำลังติดผลปลูกโดยมีพลาสติกคลุม ป้องกันฝนสาเหตุของการเกิดโรค ช่วยคุม
อุณหภูมิ




อันนี้เป็นแปลงองุ่นพันธุ์เคียวหก เขาปล่อยให้หญ้าคลุมดิน (อินทรีย์) ส่งขายญี่ปุ่น







รสชาติดีครับ หวานนุ่ม ยังสุกแก่ไม่เต็มที่ องุ่นที่สุกดูที่ก้านจะมีสีน้ำตาล







ส่วนเกษตรกรเขาปลูกองุ่นทำไวน์ซึ่งมีการสนับสนุนจากรัฐ ให้เงินลงทุนเรื่องเครื่อง
จักรอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ ซึ่งต่างจากบ้านเรา งบทั้งประเทศ 100 บาท ภาค
เกษตรได้มา 3.3 บาท บ้านเราเป็นประเทศอุตสาหกรรมนะครับ (ฟังเขามา T T )




อันนี้เป็นห้องวินิจฉัยโรคพืชบริการให้เกษตรกรฟรี หรือส่งรูปเข้าเมลถามได้ ถ้าเป็น
บ้านเราก็เด็ดใบเป็นโรคแล้วไปถามร้านค้าขายยา หรือเซลแมน พี่ๆ เป็นโรคไร เอ๊า
เอานี่ไป 500 บาท อ่านตามฉลาก ผสมผิดบ้างถูกบ้าง





ศูนย์วิจัยสารเคมีซึ่งที่นี่ทันสมัย เป็นเงินของรัฐครึ่งเอกชนครึ่ง ผ่านมาตราฐาน TAP
GAP ออกานิค เครื่องที่เห็นราคาประมาณ 40 ล้านบาท ตรวจจำแนกสารได้กว่า
100 ชนิด มีเครื่อง LC 8 เครื่อง GCMS 12 เครื่อง และมีกระจายไปตามมหาลัย
ต่างๆ เขาตรวจให้เกษตรกรฟรีครับ ถ้าบ้านเราจะคิดอยู่ที่ประมาณตัวอย่างละ 4 พัน
บาท มีไว้สู้กับมาตราฐานและการกีดกันทางตลาด




มาดูผลไม้ที่ตลาดกลางกันบ้าง น้อยหน่าที่นี้หวานคล้ายน้อยหน่าหนังบ้านเรา แตงโม
ลูกใหญ่หวาน และผลไม้เขตกึ่งหนาว ราคาแพงดีครับ มีทั้งนำเขาและภายใน
ประเทศ ส่วนไม้ผลเขตร้อนแพงมากๆ มะพร้าวลูกละ 40 บาท เราคงสงสัยว่าทำไม
ผลไม้บ้านเขาถึงสู้กับผลไม้นำเข้าได้ เพราะคนเขามี 40% อนุรักษ์กินผลไม้ผลิตใน
ประเทศอีก 60% ชอบผลไม้ต่างประเทศ ซึ่งทำให้ผลไม้ที่ผลิตออกมาจะหมดก่อน
เรามากินผลไม้ไทยกันเถอะครับ ญี่ปุ่นมังคุดลูกละ 100 บาท เงาะ 3 ลูกร้อย เชียวนะ




รูปนี้ผลไม้นำเข้าของเขาซื้อมาขายไป เราเคยได้ยินไหมครับ สิงคโปร์ส่งออกมะม่วง
อันดับ 3 โลก
เพราะรับจากไทยและฟิลิปปินส์ไปขายต่อ




แตงโม และตระกูลแตงบ้านเขา อร่อยสุดยอดครับ ลูกใหญ่มาก



มะม่วงพันธุ์เออร์วินครับ สีแดงลุกใหญ่ส่งออกดี ต่างประเทศชอบทาน และก็อีกพันธุ์
นวลคำ บ้านเราไม่ค่อยนิยม รสชาติไม่ดีกลิ่นแรง อกร่องอร่อยกว่าเยอะๆ^^





ทุเรียน บ้านเราส่งไปขายที่ไต้หวัน ถามเด็กไต้หวันว่าชอบกินป่าว เขาบอกเหม็นกลิ่น
แรง ผมว่าคนแกะเขาแกะไม่เป็น มีรอยช้ำ หรืออาจไว้นาน สุกบ้างดิบบางปนๆกันไป
ราคาก็แพง




กล้วยไข่เขาเอาพันธุ์บ้านเราไปผสม ยังไม่หวานเท่าบ้านเรา บ้านเรากินไปถึงขั้นร้อนใน






กล้วยหอมส่งออกญี่ปุ่น บ้านเขาต้องเอาเสามาปักกันพายุ (สหกรณ์บ้านลาดเราลูก
ใหญ่กว่า)





ชมพู่เขาซึ่งเขาได้นำพันธุ์ทับทิมจันทร์เราไปปลูกซึ่งเป้นที่นิยมอย่างมาก มาต่อไม้
ดอกกันบ้างนะครับ ได้มีโอกาศไปงาน ฟลอล่าเอ็กโปร 2010 อินไต้หวัน ก่อนงาน
หมดสิบวัน เขาทุ่มทุนสร้างร่วม 4 พันล้าน







ขึ้นมาที่สูงกันบ้างครับ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,600 กมทะเล อุณหภูมิที่ไปตอน
เที่ยงหน้าร้อน 11 องศา อันนี้เป็นสวนแอปเปิ้ลครับ ดูการแทรนเกิ่งครับ โน้มลงมา
เห็นเป็นเสา คือ ที่พ่นยากันโรค ไปช่วงไม่มีผลผลิตแต่ได้กินแอปเปิ้ลกับสาลี่ อบ
กรอบ และจิบกาแฟร้อน อร่อยมากๆครับ ประมาณทุเรียนอบกรอบบ้านเรา



อันนี้ลิ้นจี่ครับ เขาได้รวบรวมพันธุ์ พันธุ์จักรพรรดิ์ และก็มีพันธุ์ค่อมบ้านเราด้วย ต้น
เตี้ยดี เก็บง่าย



ประเทศเขาเลี้ยงนักวิจัยไว้เยอะมากครับ โดยส่งเด็กเขาไปเรียนต่างประเทศ พอจบ
แล้วดึงกลับมาพัฒนาประเทศเขาโดยเปิดโอกาสให้อยู่ไต้หวัน 8 เดือน อีก 4 เดือน
กลับต่างประเทศ (ฟังพี่คนไทยที่ไต้หวันมา) ส่วนนักวิจัยในไทยเก่งๆเยอะครับ ตาม
หลักศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์ ได้การสนับหรือปล่าว ก็ไม่แน่ใจ





สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณ อาจารย์หยาง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่จงชิง ท่านมีคุณกับคน
ไทยมาก ท่านเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการหลวงไม้ผลเขตหนาว และให้การต้อนรับ
การไปดูงานในครั้งนี้อย่างดีมากๆๆๆๆครับ ท่านสุดยอดจริงๆ และขอบคุณพี่ๆ ที่
ศึกษาอยู่จงชิงทุกๆคน ที่ค่อยช่วยเหลือดูแลเป็นอย่างดี เป็นคนแปลภาษาให้และพา
ไปดูงานขอให้พี่ๆ จบดร. กันเร็วๆ นะครับ



สุดท้ายนี้ก็ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน หวังว่าได้ความรู้ไม่มากก็น้อย...
ความรู้ที่พิมพ์ได้จากการฝึกงานโครงการหลวงที่ปางดะ ดูงานที่ไต้หวัน และการประชุมวิชาการพืชสวนครั้งที่ 10 และความรู้งูๆ ปลาๆ ของผม ประเทศต้องพัฒนาครับ ความจริงเกษตรกรบ้านเราโครตเก่งทั้งปราชญ์และภูมิปัญญา และพันธุ์พืชที่เรามีอยู่หลากหลายมากๆ ทั้งดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ปลูกอะไรก็ขึ้น ถ้าประยุกต์กับเทคโนโลยี และศาสตร์ต่างๆ จะสุดยอดมากๆ ครับ....




คลิก มีรูปให้ดู (คิด) อีกเยอะมากๆ....(ขอบคุณ บ้านสวนพอเพียง...ลุงคิม)
http://www.bansuanporpeang.com

,


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/11/2016 6:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 2:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

474. ผลไม้ใกล้ตัว ที่กินแล้วอ้วน


ทราบหรือไม่ว่า การกินผลไม้นอกจากมีประโยชน์แล้ว ยังสามารถทำให้อ้วนได้อีก วันนี้มีมาบอก

การกินผลไม้ กินแล้วดี มีประโยชน์มากมาย แต่บางครั้งก็ต้องเลือกกิน และกินในปริมาณที่พอดี เพราะมีผลไม้บางชนิดที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งอาจจะทำให้อ้วนได้

ผลไม้ที่กินแล้วอ้วนสุดๆ คือ กล้วยไข่

อันดับ 2 คือ กล้วยน้ำว้า

อันดับ 3 คือ ขนุน

อันดับ 4 คือ กล้วยหอม

อันดับ 5 คือ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก

อันดับ 6 คือ ลำไยกะโหลกเขียว

อันดับ 7 คือ ลองกอง

อันดับ 8 คือ เงาะ

อันดับ 9 คือ ลางสาด

อันดับสุดท้ายน้ำตาลน้อยสุด คือ ละมุด

แต่ทุเรียน ก็เป็นผลไม้ ที่ขึ้นชื่อว่ามีน้ำตาลสูงมากๆ ใครที่กินรับรองอ้วนแน่ ส่วนผลไม้ที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ได้แก่ แอปเปิ้ล ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วงดิบ มะละกอ และแตงโม

รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าเผลอทานผลไม้ที่ว่ามานี้กันจนเพลินกันนะจ๊ะ ถ้าไม่อยากอ้วนจนเกินไป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก (เดลินิวส์)
http://health.365thai.com/show-170812.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 2:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 2:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

475. ผลไม้ขับผิวขาว





ผลไม้ขับผิวขาว (เดลินิวส์)

มะเขือเทศ .... ช่วยชะลอวัยให้อ่อนเยาว์ และป้องกันความเสื่อมของเซลล์

มะนาว ........ มีวิตามินซีสูงช่วยให้ผิวเนียนใส

ส้ม ........... เสริมสร้างคอลลาเจนให้กับผิว

ฝรั่ง .......... เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ด้วยวิตามินซีปริมาณสูง

แตงโม ....... บำรุงผิวพรรณ ช่วยล้างไต และขับปัสสาวะ

กล้วยหอม .... เหมาะกับผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก เพราะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว และอยู่ท้องนาน

มะละกอ ...... เป็นยาระบายอ่อนๆ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาท้องผูก

แอปเปิ้ล ...... อุดมด้วยเพคติน จึงช่วยให้เล็บแข็งแรง




ขอขอบคุณข้อมูลจาก


http://health.kapook.com/view1254.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 2:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 2:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

476. สุขภาพดี ด้วยมหัศจรรย์จากผลไม้ไทย


คุณแววตา เอกชาวนา นักโภชนาการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงแนะประโยชน์ของผลไม้ไทย เพื่อสร้างนิสัยการเลือกรับประทานผลไม้ไทย เริ่มกันที่

สับปะรด เช่น สับปะรดภูแลเชียงราย สับปะรดศรีราชา ผลไม้ไทยที่หารับประทานได้ตลอดทั้งปี มีเอนไซม์โบรมีเลน (Bromelain) และ ไฟเบอร์ (Fiber) ช่วยในการย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือดและช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ทั้งยังมีวิตามินซีช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง

มะขามหวาน เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเส้นใยอาหารสูง มีฤทธิ์เป็น ยาระบายอ่อนๆ มีวิตามินซีสูง ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังอุดมด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและโพแทสเซียม ช่วยปรับสมดุลในร่างกายให้เหมาะสม

ส้มโอ เป็นผลไม้ที่ให้คุณค่าอาหารสูง เช่น ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม ส้มโอขาวน้ำผึ้งนครปฐม มีสารเบต้าแคโรทีน ป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์ ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ลดระดับคอเลสเตอรอล บำรุงหัวใจ และมีวิตามินซี ช่วยบำรุงผิวพรรณ

ชมพู่ เช่น ชมพู่เพชรสายรุ้ง แห่งเมืองเพชรบุรี ที่ได้ขึ้นโต๊ะการประชุมระดับชาติมาแล้ว มีสารแอนโทไซยานีน ช่วยบำรุงการทำงานของระบบเซลล์ประสาทและสมอง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ มีวิตามินซี ป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์ และวิตามีอี ช่วยให้ผิวพรรณสดใส

คุณแววตา เอกชาวนา นักโภชนาการแนะบริโภคผลไม้ไทย ได้ประโยชน์
ตบท้าย นักโภชนาการยังแนะเคล็ดไม่ลับเสริมอีกว่า เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายควรเลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลายชนิด ด้วยการทานผลไม้ 7 สี ด้วยสีสันของผลไม้ที่ชวนดึงดูด น่ารับประทาน พร้อมได้คุณประโยชน์นานาชนิด อาทิ

สีส้ม-แดง เช่น มะละกอ แตงโม มะม่วง มีเบต้าเคโรทีน ต่อต้านอนุมูลอิสระ

สีม่วง-คราม เช่น ทับทิม กระเจี๊ยบ มีสารแอนโทไซยานีน ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

สีเหลือง เช่น แตงโมเหลือง ส้มเขียวหวาน มีสารโฟเลท ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆของร่างกาย

สีเขียว เช่น ฝรั่ง ชมพู่เขียว มีสารคลอโรฟิลล์ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายของร่างกาย และสุดท้าย

สีขาว เช่น ลองกอง ลำไย แก้วมังกร มีวิตามินซี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และ บำรุงผิวพรรณ ให้แลดูอ่อนกว่าวัย



ขอขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

เนื้อหา ASTV ผู้จัดการออนไลน์
http://health.365thai.com/show-171464.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 2:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 2:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

477. "ลำไย" เมืองจันท์!! เปิดตัวแรงส่งออกกว่าปีละ 300 ตัน

เล่นเอามังคุด-ทุเรียน ชิดซ้าย





ผลไม้อินเตอร์ที่ว่านี้ไม่ใช่อะไรหรอกครับ มันคือลำไยนั่นเอง และลำไยที่นี่ก็ไม่ได้ต่างจากที่อื่นเลย แต่ที่พิเศษก็ตือ ผลผลิตที่ได้จากลำไยนั้นจะส่งออกไปยังต่างประเทศเท่านั้น ไม่วางจำหน่ายในไทย เห็นไหมครับว่าอินเตอร์จริง ๆ

ช่วงนี้ใครเดินทางไปที่จังหวัดจันทบุรี โดยเฉพาะอำเภอโป่งน้ำร้อน ซึ่งเป็นอำเภอเล็ก ๆ ติดชายแดนกัมพูชา จะเต็มไปด้วยต้นลำไย ลูกดกเต็มต้น รสชาติไม่ต้องพูดถึงครับ หวานกำลังดี ลูกโตชวนให้น่ารับประทาน เมื่อไปเห็นแทบจะไม่น่าเชื่อว่าต้นลำไยที่มักจะเห็นในแถบภาคเหนือจะมาโผล่อยู่ที่ภาคตะวันออก มากกว่า 500 ไร่กันเลยทีเดียว


จากเดิมเมื่อเอ่ยถึงเมืองจันท์ เมืองแห่งผลไม้ที่มีกินอยู่ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นราชา-ราชินีผลไม้ เงาะ มังคุด ลางลาด ลองกอง สละ ระกำ สำรอง และผลไม้ขึ้นชื่อของเมืองไทยอีกหลายชนิด ต่างก็ปลูกกันมากในแถบนั้น เพราะเมืองจันทบุรีนับว่าเป็นจังหวัดที่มีบรรยากาศครบทั้งภูเขา น้ำตก ทะเล เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ลำไยกำลังจะเป็นผลไม่เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด โดนเฉพาะประเทศจีน ในแถบยุโรปบางประเทศ

จากการเดินเที่ยวชมกันจนเมื่อย เมื่อได้ลิ้มลองผลลำไยสดจากต้นแล้วก็เป็นอันติดใจ พี่เหมี่ยว หรือนายบุญเชิง เจียมอู เกษตรกรเจ้าของสวนลำไยทั้งหมด 500 ไร่ บอกว่าลำไยที่นี่ค่อนข้างจะต่างจากที่อื่น หวานและรสชาติดีกว่า อาจจะเป็นเพราะอากาศ พื้นที่ปลูก การบำรุงต้นและผล

ผลผลิตที่ได้พี่เหมี่ยวเล่าว่า แต่ละปีที่ขายมานั้นราคาจะอยู่ที่ 35-40 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตต่อปีเฉพาะแปลงนี้ (70 ไร่) ประมาณ 10 ตัน และพื้นที่ อื่นของไรก็ปลูกลำไยเช่นเดียวกัน แต่ต้นยังเล็ก ส่วนอายุของต้นที่สามารถให้ผลผลิตได้อยู่ที่ 3 ขึ้นไป และจะให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องประมาณ 10 ปี จากเดิมที่พื้นที่นี้เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อน แต่ราคาไม่ค่อยดี จึงหันมาปลูกลำไยแทน และพื้นที่อื่น ๆ โดยรอบนี้ก็ปลูกลำไยเช่นกัน ส่วนการขายนั้นจะมีพ่อค้ามารับเหมา ตอนนี้ทั้งพื้นที่ที่มีการปลูกผลผลติรวมจะอยู่ที่ประมาณ 300 ตัน

การปลูกจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่เริ่มให้สารกระตุ้นการออกดอก จากนั้นก็ดูแลเรื่อยมาจนมาถึงช่วงเดือนมกราคมผลก็จะสุกเต็มที่พร้อมจำหน่าย ส่วนต้นทุนในการปลูก ดูแล ก็ไม่สูงมาก เนื่องจากว่าช่วงนี้นำอุดมสมบูรณ์ ดูแลง่าย และก่อนที่จะขายต้องผ่านการตรวจ GAP หรือการปฏิบัติในการผลิตพืชเพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานปลอดภัย ปลอดศัตรูพืชและคุณภาพถูกใจ ก่อนอีกด้วยเพื่อความมั่นใจในการส่งออก





ลองคิดดูเล่น ๆ นะครับว่าพี่เหมี่ยวจะมีรายได้มากซักแค่ไหน เมื่อผลผลิตที่ได้ขณะนี้ 10 ตันต่อแปลง เฉลี่ยจำหน่ายกิโลกรัมละ 40 บาท คร่าว ๆ ก็มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 4 แสนบาท นี่เป็นเพียง 1 ใน 7 ของพื้นที่ที่พี่เหมี่ยวมีอยู่ ยังไม่รวมกับต้นเล็ก ๆ ที่ลูกยังไม่ดก ถ้าทั้งหมด 500 ไร่ และถ้าสามารถจำหน่ายได้ในราคา 35-40 บาท รับรองเกษตรกรรวย

หากใครอยากลิ้มลองสด ๆ จากต้นในช่วงนี้แล้ว ผสมกับการรับอากาศเย็น ก็ต้องเดินทางไปที่เมืองจันท์ หรือหากใครต้องการเคล็ดลับในการปลูก พี่เหมี่ยวก็ยินดีให้คำปรึกษา แต่ใครจะไปเหมาซักกระบะรถต้องขอบอกว่าอดนะครับ เพราะที่นี่เขาสงวนเพื่อออกเท่านั้น แต่ก็มีบ้างที่จำหน่ายในสวนเพื่อเอาไปเป็นของฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ






เนื้อหา มติชน ออนไลน์
http://travel.365thai.com/show-172653.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

478. มาเลย์ส่งออกทุเรียน บุกตลาดจีน แข่งไทย





มาเลเซียตั้งเป้าส่งทุเรียนรุกตลาดจีนตั้งแต่เดือนกรกฏาคมนี้ หวังช่วงชิงส่วนแบ่งทุเรียนไทยเจ้าตลาด

นายโนห์ โอมาร รัฐมนตรีเกษตรมาเลเซีย กล่าวว่ามาเลเซียจะเริ่มส่งออกทุเรียนไปจีน ในหน้าทุเรียนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนนี้ อันเป็นความพยายามท้าทายการผูกขาดตลาดของไทย การเจาะตลาดจีนมีขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่าของจีนเดินทางเยือนกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนที่แล้ว และเห็นชอบให้มาเลเซียส่งออกทุเรียนไปจีนได้

ที่ผ่านมาไทยครองตลาดการส่งออกทุเรียนไปยังต่างประเทศมานานกว่า 30 ปี สถิติจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่าในปีที่แล้วไทยสามารถส่งออกทุเรียน 1.38 แสนตันไปยังจีน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านบาท โดยทุเรียนไทยได้รับความนิยมในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่คิดเป็น 60% ของการนำเข้าทุเรียนของจีนทั้งหมด


นายอาห์เมด อิสชัค หัวหน้าสำนักงานกลางด้านการตลาดสินค้าเกษตรมาเลเซีย เปิดเผยว่ามาเลเซียสามารถผลิตทุเรียนได้ปีละประมาณ 3.3 แสนตัน ต่อปี โดยส่วนใหญ่จัดจำหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ

นายอาห์เมดเปิดเผยด้วยว่ามาเลเซียจะส่งออกทุเรียนแช่แข็ง 2 แบบ ประกอบไปด้วยแบบมีเมล็ด และ ไม่มีเมล็ด

อย่างไรก็ตามไทยยังมีความได้เปรียบในการส่งทุเรียนไปยังต่างประเทศเพราะสายพันธุ์ทุเรียนไทยสามารถเก็บเกี่ยวก่อนที่จะสุก และนำมาบ่มให้สุกระหว่างการขนส่งได้ แต่ทุเรียนสายพันธุ์มาเลเซียต้องเก็บเกี่ยวขณะที่สุกคาต้นและหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียนมาเลเซียจะเปลี่ยนแปลงรสชาติได้อย่างรวดเร็วทั้งยังเน่าเสียง่ายภายในช่วงเวลาไม่ถึงสัปดาห์หลังการเก็บเกี่ยว



http://www.bangkokbiznews.com

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/11/2016 6:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 3:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

479. เมล็ดพันธุ์ : อธิปไตยในไร่นา

โดย : ชุติมา ซุ้นเจริญ



จุดประกายเสนอซีรีส์3ตอน"การเดินทางของเมล็ดข้าว" เบื้องหลังความอิ่มอร่อยนี้ไม่ได้ง่ายและงามราวกับใส่ปุ๋ยเคมี ประเดิมตอนแรกด้วย "เมล็ดพันธุ์"

มีหลักฐานว่าคนไทยทำนามากว่าห้าพันปี แต่เพียงไม่กี่ทศวรรษหลังชาวนาไทยเป็นหนี้และติดอยู่ในวงจรอุบาทว์ เชื่อหรือไม่ว่าจุดเริ่มต้นของปัญหาอยู่ตรงสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า "เมล็ดพันธุ์" นี่เอง



“กินข้าวหรือยัง”
คำทักทายแบบไทยๆ ที่สะท้อนนิสัยใจคอและความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารเมื่อครั้งอดีต อาจกลายเป็นเพียงมรดกทางภาษาที่เจือจางด้วยข้อเท็จจริง เช่นเดียวกับคำว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หากว่าสถานการณ์ข้าวยังดำเนินไปตามครรลองที่เป็นอยู่

บางทีอาจจะดีกว่าหากใครต่อใครหันมาทักทายกันด้วยคำว่า “กินข้าวอะไรมา” เพราะนั่นจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ สำหรับอนาคต“ข้าว” อาหารหลักของคนไทย


เรื่องนี้คงไม่มีใครให้ความกระจ่างได้ดีเท่ากับ พ่อบุญส่ง มาตรขาว ชาวนาอีสาน ผู้เป็นต้นแบบของการประกาศอิสรภาพในไร่นาของตนเอง

ย้อนหลังไปกว่าสิบปี พ่อบุญส่ง ออกเดินทางจากบ้านเกิดในอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง ปลายทางไม่ใช่ทำเนียบรัฐบาลอย่างที่เพื่อนเกษตรกรปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแทบทุกปี

ที่แห่งนั้นคือ เวทีแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ของชาวนาที่หันหลังให้กลับเกษตรเชิงเดี่ยว พ่อบุญส่ง มองหาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านที่เหมาะกับผืนนามรดกที่บ้านกำแมด ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ “ไม่มีเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านหลงเหลืออยู่ในพื้นที่อีกแล้ว”


การออกตามหาเมล็ดพันธุ์ของชาวนาคนหนึ่ง อาจฟังดูน่าเศร้า ทว่าสำหรับคนที่กำลังจมดิ่งอยู่ในวังวนของหนี้สินและปัญหาสุขภาพ นี่คือก้าวแรกของการคืนศักดิ์ศรีให้กับตนเองบนพื้นฐานของเกษตรกรรมยั่งยืน


เมล็ดพันธุ์ที่หายไป
สำหรับคนทั่วไป “ข้าวหอมมะลิ” ดูจะเป็นข้าวไทยสายพันธุ์เดียวที่รู้จักและภาคภูมิใจ


ทว่ากับชาวนาดั้งเดิมแล้ว ข้าวมีหลากหลายสายพันธุ์แตกต่างกันไปตามพื้นที่เพาะปลูก บางชนิดเหมาะกับนาลุ่ม บางชนิดเหมาะกับนาดอน บางชนิดอายุการเก็บเกี่ยวสั้น บางชนิดอายุปานกลาง นาในอดีตจึงปลูกข้าวมากกว่าหนึ่งพันธุ์ นอกจากจะทำให้สามารถจัดสรรแรงงานได้เพียงพอในการเก็บเกี่ยว ยังทำให้มีข้าวกินตลอดทั้งปี

ข้าวดำรงอยู่ในสังคมไทยมานานนับพันปี มากกว่าการเป็นอาหาร คือ มิติทางวัฒนธรรมที่เชื่อมร้อยอดีตกับปัจจุบัน คนในครอบครัวชุมชนให้พึ่งพาอาศัย โดยเฉพาะคนที่ได้ชื่อว่า “กินข้าวหม้อเดียวกัน”

กระทั่งการปฏิวัติเขียวเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว สถาบันวิจัยข้าวได้ส่งข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตมากกว่าเดิมไปยังไร่นาทั่วประเทศ เพื่อให้ข้าวเป็น “สินค้า” ที่สมบูรณ์แบบ

พ่อบุญส่งเล่าว่า แรกๆ คนก็ยังไม่นิยมมากนัก เพราะข้าวพันธุ์ใหม่ถอนกล้ายาก

“พอประมาณปี 2520 ตลาดขยายตัวขึ้น ข้าวที่ตลาดมีความต้องการคือข้าวเม็ดเรียวเม็ดยาว ก็เริ่มมีข้าว กข. ข้าวหอมมะลิ เข้ามา ราคาที่สูงขึ้นเป็นแรงจูงใจให้คนทิ้งข้าวที่เคยใช้ เมล็ดพันธุ์ที่เคยเก็บไว้ก็เริ่มหายไป”

พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง คือ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะข้าวพันธุ์ใหม่เหล่านี้ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีเท่านั้น หลังจากพวกมันรุกคืบไปทั่วทุกหัวระแหง ใช้เวลาไม่ถึงทศวรรษ ประกายแห่งความหวังจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นก็ดับวูบลง พร้อมกับต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

“ปุ๋ยต้องใช้เพิ่มขึ้นทุกปี จากเดิมที่นา 20 กว่าไร่ ใช้ปุ๋ยไม่เกิน 4-5 กระสอบ ก็กลายเป็น 6, 7, 8 กระสอบ จนสุดท้ายต้องใช้ถึง 15-20 กระสอบ แล้วก็เริ่มมีหญ้า มีเพลี้ยกระโดด มีหนอน มีแมลงอะไรขึ้นมา ต้องหายาอย่างอื่นมาเพิ่มอีก ผลก็คือ กบเขียดปูปลาในน้ำในนาก็ตายไปด้วยกัน สิ่งแวดล้อมเริ่มเจอปัญหา”

ที่ย่ำแย่ที่สุด คือ สุขภาพ พ่อบุญส่งเล่าว่า ระยะหลังเริ่มวิงเวียนศรีษะ แน่นหน้าอก ไม่สบายบ่อย จึงตัดสินใจเปลี่ยนวิถีการผลิตไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์

แม้หนี้สินหลักล้านจะสร้างความยากลำบากในช่วงต้น แต่ด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเท หลังจากเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านจากเพื่อนชาวนาต่างถิ่นได้ถูกหว่านลงไปบนผืนดิน ข้าวมะลิแดงแห่งอำเภอกุดชุม ได้มอบชีวิตใหม่ในฐานะเกษตรกรตัวอย่างให้กับพ่อบุญส่ง

ปราชญ์อีสานผู้จุดประกายความหวังให้กับชาวนานับล้านครอบครัวที่ยังจมอยู่ในกองหนี้สินและคำโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ส่งเสียงไปถึงเพื่อนชาวนาด้วยความเป็นห่วง

“ชาวนาเฮา ถ้าต้องพึ่งเมล็ดพันธุ์จากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ ก็ถึงจุดที่เขาจะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด”


ทว่าเสียงที่สะท้อนกลับมานั้น กลับตอกย้ำถึงความเจ็บช้ำน้ำใจที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา

“เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านเขาบอกว่าไม่ดี ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัท ปุ๋ยขี้วัว ขี้ควาย มันไม่ได้ผล ต้องใช้ปุ๋ยเคมี เสร็จแล้วชาวนาก็ต้องหอบข้าวไปที่โรงสี ถามว่า...ข้าวของฉันราคาเท่าไหร่”

“เราเสียอธิปไตยไปแล้วใช่มั้ย...ชาวนา”


ข้าวไทยในวิกฤติอาหาร
“กินข้าวอะไร” คำถามง่ายๆ ที่แม้จะคาดหวังคำตอบว่า ...ข้าวแผ่แดง ข้าวพญาลืมแกง ข้าวดอฮี ข้าวคำผาย ข้าวเล้าแตก หรืออีกสารพัดชื่อแปลกหูของข้าวพื้นบ้านที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้กว่า 20,000 พันธุ์


แต่คำตอบที่ได้คงวนเวียนอยู่แค่ ข้าวหอมมะลิ ข้าว กข. ข้าวชัยนาท

“พื้นที่ปลูกข้าว 60 กว่าล้านไร่ในบ้านเรา ครึ่งหนึ่งปลูกข้าวแค่ 2 สายพันธุ์ คือ หอมมะลิ กับชัยนาท, 90 เปอร์เซ็นต์ ปลูกข้าวประมาณ 15 สายพันธุ์ ซึ่งทั้งหมดเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง”

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ จากมูลนิธิชีววิถี ให้ข้อมูลพื้นฐาน ก่อนจะยืนยันว่า พันธุกรรม คือ หัวใจสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร


“ฐานเรื่องพันธุกรรมเป็นจุดตั้งต้นของการกำหนดแบบแผนการผลิต เพราะฉะนั้นถ้าพันธุ์พืชไม่ได้อยู่ในมือของเกษตรกร ผ่องถ่ายไปอยู่ในมือของภาควิจัยสาธารณะ คือหน่วยงานของรัฐ ท้ายที่สุดมันก็ถูกผ่องถ่ายไปยังบริษัท แบบแผนการผลิตก็จะถูกกำหนดโดยบริษัท รวมถึงชะตากรรมของเกษตรกรด้วย”

นั่นคือ คำอธิบายว่า ทำไมราคาข้าวที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จึงไม่อาจทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้

“แต่เดิมต้นทุนการผลิตข้าว ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แต่พอมาเป็นข้าวลูกผสมจะขึ้นไปถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ไม่รวมค่าปุ๋ยค่ายา แต่อันนี้ไม่ใช่ทั้งหมด ปัจจัยที่มีผลเยอะตอนนี้ก็คือ ฐานทรัพยากรอื่น เช่น เรื่องที่ดิน ในภาคกลาง เกษตรกรที่เป็นผู้เช่านาประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ทั้งประเทศมีคนที่ต้องเช่านาประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 3 เท่า”

นอกจากนี้ปัญหาที่ซ้อนทับเข้ามาก็คือ ราคาคาน้ำมันและพืชอาหารที่มีแนวโน้มแพงขึ้น นายทุนเริ่มสนใจพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกพืชพลังงาน ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรภาคเกษตรมากขึ้น

“ตรงนี้ถ้าจัดการไม่ดี มันก็คือวิกฤติดีดีนี่เอง” วิฑูรย์ แสดงความกังวล

เมื่อราคาข้าวหักกลบลบหนี้แล้วขาดทุน ที่ดินก็หลุดไปจากมือชาวนา การก้าวเข้ามาของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งสัญชาติไทยและข้ามชาติที่เล็งเห็นกำไรจากพืชอาหาร กำลังจะเปลี่ยนชาวนาให้กลายเป็นแค่ “เกษตรกรรับจ้าง” ซึ่งนั่นหมายถึงคนเพียงไม่กี่กลุ่มคือผู้ครอบครองความมั่นคงทางอาหารของคนทั้งประเทศ

“ตอนนี้ต้องยอมรับว่า คนที่ถือครองอาหารในสังคมไทยมีไม่กี่บริษัท แม้แต่ข้าวก็มีคนที่ถือไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่ จะเหลืออยู่กับเกษตรกรบ้างเล็กน้อย ความน่าเป็นห่วงก็คือ บริษัทไม่กี่บริษัทนี่แหละที่จะบอกว่าราคาอาหารวันนี้เท่าไหร่ ไม่ใช่เกษตรกร หรือแม้แต่ผู้บริโภค” สุเมธ ปานจำลอง ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างอธิปไตยทางอาหารฯ สกว. ตั้งข้อสังเกต

ล่าสุดธนาคารโลกคาดการณ์ว่า หากราคาข้าวและพืชอาหารพุ่งสูงขึ้นอีก 10เปอร์เซ็นต์ จะผลักดันให้ประชาชนประมาณสิบล้านคนทั่วโลก ลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน


ปัญหาสังคม การแย่งชิงทรัพยากรจะรุนแรงขึ้น บางคนเริ่มจินตนาการถึงสงครามที่มีชนวนเหตุจากอาหาร หลายประเทศคิดถึงการพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหาร แล้วอะไรคือทางออกของสังคมไทย



อิสรภาพทางพันธุกรรม
เมล็ดข้าว ทั้งกลมสั้น เรียวยาว หน้าตาสีสันแตกต่างกันไป คือ มรดกล้ำค่าที่พ่อบุญส่งและชาวบ้านในเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนไม่เพียงถนอมรักษา แต่ยังพัฒนาต่อยอดจนได้รับการยอมรับจากสถาบันวิชาการ


“ข้าวมะลิแดง นี่มีงานวิจัยรับรองว่า มีคุณค่าทางโภชนาการสูง กินแล้วไม่เป็นเบาหวาน” คำบรรยายสรรพคุณนี้แม้จะชวนให้หลายคนสนใจซื้อหาไปเป็นเสบียง แต่ปัญหาของการทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านก็คือ การตลาด ที่ไม่อาจเชื่อมระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง

ดังนั้นแม้จะถูกมองด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ทั้งคนปลูกข้าวและคนกินข้าวที่รักสุขภาพ แต่การเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปของเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เทียบไม่ได้เลยกับการก้าวกระโดดของกลุ่มทุนด้านการเกษตร

ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทเหล่านี้ยังพยายามผลักดันอย่างหนักให้เกิดการยอมรับการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม หรืออีกนัยก็คือ การผูกขาดตลาดเมล็ดพันธุ์

“กฎหมายเมล็ดพันธุ์ ปี 2518 ถูกออกแบบมาโดยฐานคติที่ว่าเกษตรกรเป็นผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ เพราะฉะนั้นคนที่ผลิตก็คือ รัฐบาลหรือบริษัท สองก็คือ ควบคุมมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ของบริษัทเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดี วัตถุประสงค์ก็ โอ.เค. แต่ในทางปฏิบัติมันไม่เอื้อเฟื้อการพัฒนาและผลิตเมล็ดพันธุ์ของวิสาหกิจชุมชน

ซ้ำร้ายก็คือ บริษัททั้งหลายซึ่งผูกขาดเมล็ดพันธุ์นี้ ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดขวางการพัฒนาพันธุ์ของเกษตรกร ไปจับชาวบ้าน แต่เราแทบไม่เห็นการจับนี้เลยในหมู่พวกบริษัทด้วยกัน” วิฑูรย์ ชี้ปัญหาที่เกิดขึ้น

การรวมตัวกันเพื่อประกาศอิสรภาพทางพันธุกรรม เรียกร้องให้ภาครัฐออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่เกษตรกรในการผลิต แลกเปลี่ยน และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ จึงเป็นแนวทางหนึ่งของชาวนาในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้

พวกเขายืนยันหลักการว่า เมล็ดพันธุ์ต้องกระจายอยู่ในมือของเกษตรกรรายย่อย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทย

“เรามีชาวนา 3.5 ล้านครอบครัวขึ้นไป เป็นฐานการผลิตที่กว้างมาก แต่ถ้าเปลี่ยนแบบแผนการผลิต ต้นทุนสองในสามจะไหลไปอยู่ในมือบริษัท นั่นกลายเป็นว่าจุดแข็งของเรา ในการกระจายการผลิต ต้นทุนต่ำ ไม่พึ่งพาฟอสซิล อาจจะกลายเป็นวิกฤติซ้ำเติมความมั่นคงทางอาหาร ซ้ำเติมเกษตรกรให้แย่ลงไปอีก”

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิกฤติอาหารที่เกิดขึ้นถือเป็น “วิกฤติการณ์ถาวร”

“ตอนนี้ดัชนีอาหารมันไปสู่ระดับที่เคยเกิดวิกฤติการณ์แล้วโดยที่ไม่เกิดสงครามเลย มันเกิดขึ้นเพราะราคาน้ำมัน ประเด็นก็คือ การที่อาหารแพงน่าจะเป็นโอกาสของเกษตรกรรายย่อย ผู้สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศไทยมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์ เราจึงมีข้อเสนอว่า พันธุ์ข้าวเราต้องรักษาไว้และขยายพื้นที่ให้ได้ อันนี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะรักษาระบบการเกษตรให้อยู่ในมือเกษตรกร” วิฑูรย์ กล่าวถึงจุดยืนของเครือข่ายเกษตรกร

ทั้งนี้เพราะความหลากหลายของพันธุกรรม นอกจากจะสัมพันธ์กับวิถีการผลิตและวัฒนธรรมชุมชนแล้ว ในทางวิชาการยังเป็นการสร้างสมดุลในระบบนิเวศน์ ลดความเสี่ยง ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติด้วย

เรื่องน่ายินดีก็คือ ทุกวันนี้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยมีศักยภาพในการพัฒนาพันธุ์ข้าว และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ข้าวพันธุ์พื้นบ้านไม่ต้องใช้สารเคมีและให้ผลผลิตดีเกินคาด

หากตัดอุปสรรคด้านนโยบายที่ไม่หนุนเสริมเกษตรกรรายย่อย และขวากหนามที่เกิดจากวิธีคิดที่มอง “ข้าว” เป็น “สินค้า” มากกว่า “ความมั่นคงทางอาหาร” ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ

ข้าวไทย ก็จะเป็นทั้ง “คลังเสบียง” และ “ความหวัง” ของคนไทย



http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20110523/391853/เมล็ดพันธุ์-:-อธิปไตยในไร่นา.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/09/2011 3:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

480. หนามแหลม หวานมัน นั่นล่ะ 'ทุเรียนนนท์'

โดย : นิรันศักดิ์ บุญจันทร์







ร้อนนี้ ทุเรียนหากินได้ง่ายเหมือนเดิม แต่มีอยู่ชนิดหนึ่ง นับวันจะหากินยากขึ้นทุกที ราคาก็แพงขึ้นเรื่อยๆ แต่คนก็ยอมจ่ายในราคาเรือนหมื่นต่อลูก

ในบรรดาจังหวัดที่เลื่องลือเกี่ยวกับผลไม้แล้ว จังหวัดนนทบุรี เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ขึ้นชื่อและถูกกล่าวขานมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ "ทุเรียน" ถือเป็นผลไม้สุดยอดที่ยากจะหาจากที่อื่นเทียบได้


นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา เมื่อจังหวัดเริ่มมีการปลูกต้นทุเรียน จนกระทั่งกลายเป็นถิ่นที่มีชื่อเสียงในเรื่องผลไม้หนามแหลมในเวลาต่อมานั้น แม้ว่าจะมีการสืบทอดจากยุคหนึ่งมาสู่ยุคหนึ่ง รุ่นต่อรุ่น แต่อาชีพชาวสวนทุเรียนเมืองนนท์ ก็มีการแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลามาโดยตลอด แม้จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ตาม หลายสิ่งหลายอย่างกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญ ทั้งที่ทำให้ทุเรียนเมืองนนท์พัฒนา มีการสืบทอด อนุรักษ์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางสิ่งรุกล้ำเข้าเปลี่ยนวิถีชีวิตชาวสวนเมืองนนท์ จนทำให้ทุเรียนเมืองนนท์ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญ ลดน้อยถอยลง และแตกต่างจากยุคเก่าก่อนอย่างลิบลับ

แต่ถึงกระนั้น ชื่อของทุเรียนเมืองนนท์ก็ยังตราตรึงใจคนที่เคยได้ลิ้มรสมาหลายยุคสมัย กระทั่งทุกวันนี้ เสน่ห์ทุเรียนเมืองนนท์ก็ยังไม่เสื่อมคลาย เพราะมีรสชาติและสายพันธุ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งเนื้อทุเรียนที่หนาและความหวานมัน และแม้ว่าจะมีการนำสายพันธุ์ทุเรียนจากเมืองนนท์ไปปลูกยังจังหวัดอื่นๆ อย่างมากมาย แต่ทุเรียนเมืองนนท์ก็ยังเป็นที่โหยหาของคนที่ชอบกินราชาแห่งผลไม้ ที่ทั้งหายาก ราคาหรือก็แพงลิบลิ่ว


ทำไมต้องเมืองนนท์
มีการตั้งข้อสังเกตุที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างทุเรียนเมืองนนท์กับทุเรียนจังหวัดอื่นๆ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า จุดเด่นและความแตกต่างของทุเรียนเมืองนนท์แท้นั้น มี 3 อย่างด้วยกันคือ


1. หนามคม เปลือกบาง
2. เนื้อหวานมัน
3. เมล็ดในเล็กลีบ


นี่เป็นคุณสัมบัติที่สำคัญที่ทำให้ทุเรียนเมืองนนท์มีเอกลักษณ์ และแตกต่างจากทุเรียนที่อื่นๆ ซึ่งจากลักษณะเบื้องต้นนี้ แม้ว่าจะนำเอาพันธุ์ทุเรียนจากเมืองนนท์ไปปลูกที่อื่น ก็จะไม่เหมือนทุกเรียนเมืองนนท์อย่างเด็ดขาด เพราะเกี่ยวข้องกับสภาพดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะดินและน้ำย่านเมืองนนท์ เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้กับการปลูกทุเรียนมาตั้งแต่อดีต

นอกจากนี้แล้ว สายพันธุ์ทุเรียนเมืองนนท์จากอดีตถึงปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งบางสายพันธุ์หายากเพราะเก่าแก่ ดังนั้น จึงกลายเป็นสิ่งที่มีค่าและเป็นที่ปรารถนาของคนชอบกินทุเรียนอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่จะได้ลิ้มรสชาติที่หวานมันเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อจิตใจอีกด้วย

มีการรวบรวมและสืบค้นสายพันธุ์ทุเรียนเมืองนนท์จากอดีตจนถึงทุกวันนี้ พบมากกว่า 40 สายพันธุ์เลยทีเดียว ซึ่งนอกเหนือจากที่รู้จักคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เช่น ก้านยาว, ชะนี, หมอนทอง, อีรวง...ก็ยังมีชื่อแปลกๆ ที่คนยุคนี้ไม่คุ้นหรือไม่รู้จักแล้วอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น กบตาแม้น, กบตามิตร, กบรัศมี ,กบพิกุล , กบตาขำ, กบแม่เฒ่า, กบตาแพ, กบชายน้ำ, กบชายมะไฟ, ย่ำแม่หวาด, กระดุม, กลีบสมุทร, จอกลอย, บาตรทองคำ, สาวน้อย, สาวชม, ขุนนนท์, อีน่ะ, การะเกด, กลีบสมุทร, ทับทิม,ฝอยทอง, นมสด, นมสวรรค์, ทองใหม่, ทองหยิบ, ทองสุข, ทองนพคุณ, ทศพิณ, ตะพาบน้ำ, ตะโกทองแดง, แดงรัศมี, อียักษ์, อีทุย รวมถึงตระกูลกบ ชะนี กำปั่น และพันธุ์กระเทย เช่น กระเทยเนื้อแดง, กระเทยเนื้อเหลือง, กระเทยขั้วสั้น, กั่นปั่น, บางสีทอง เป็นต้น

แม้ว่าในวันนี้บางพันธุ์จะเหลือน้อยมาก หรือบางพันธุ์จะสูญหายไป แต่จากการสำรวจพบว่า ยังมีต้นทุเรียนที่มีอายุยาวนานมากตั้งแต่ปี พ.ศ.2485 หลงเหลืออยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีการฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียนนนท์อีกด้วย


วิกฤติครั้งใหญ่
หายนะที่เกิดขึ้นกับสวนทุเรียนเมืองนนท์ และส่งผลต่างๆ ติดตามมามากมาย คือ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2538 เพราะทำให้ชาวสวนได้รับความเสียหายมากมาย โดยเฉพาะต้นทุเรียนตามสวนต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วม บางต้นตาย บางต้นไม่ออกผล ทำให้ชาวสวนจำนวนมากต้องประสบปัญหาทั้งในแง่พลิกฟื้น และส่งผลให้การทำสวนทุเรียนในจังหวัดนนทบุรี ร่อยหรอลงเรื่อยๆ


ทุเรียนเมืองนนท์จึงเหลือน้อยและหายาก
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆอีก ที่ทำให้สวนทุเรียนเมืองนนท์กลายเป็นผลไม้หายาก จากการเปิดเผยของ ประเมิน นาน่วม ชาวสวนทุเรียน และเป็นสมาชิกชมรมอนุรักษ์ทุเรียนนนท์คนหนึ่งบอกว่า

"พอหลังจากน้ำท่วมครั้งนั้นแล้ว พื้นที่การทำสวนทุเรียนลดลงอย่างเห็นได้ชัด....แต่ที่เป็นปัญหามากที่สุดก็คือ ความเจริญที่คืบคลานเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการกว้านซื้อที่ดินของชาวสวน"

ประเมิน นาน่วม ผู้ได้รับมรดกตกทอดจากพ่อแม่ และทำสวนทุเรียนเล่าว่า...."ทุกวันนี้ราคาที่ดินมันล่อใจอย่างมาก บางครอบครัวก็ตัดสินใจขาย เพราะลูกๆ ไม่อยากจะทำสวนกันแล้ว อย่างของผมมีร่วม 20 ไร่ มีคนมาขอซื้อ 150 ล้านบาท แต่ผมไม่ขาย เพราะไม่ได้เดือดร้อนอะไร อีกอย่างหนึ่ง สวนทุเรียนเหล่านี้มันมีผลต่อจิตใจ และยังทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจอีกด้วย ผมจึงปฎิเสธไป"


ประเมิน นาน่วม หยุดเล่าชั่วขณะ แล้วชี้ให้ดูกำแพงรั้วหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งที่อยู่ติดกับสวนทุเรียนของเขา ซึ่งกำแพงเหล่านี้เอง ที่ทำให้สวนทุเรียนเมืองนนท์ลดลง เพราะราคาขายสูงลิ่ว โดยเฉพาะสวนทุเรียนที่มีถนนใหญ่เฉียดใกล้ จะได้ราคาดี เย้ายวนใจมาก

นอกจากนี้แล้วปัญหาอีกอย่างที่เกิดขึ้นก็คือ ไม่มีคนรุ่นหลังๆ สืบสานอาชีพชาวสวนนั่นเอง โดยประเมิน ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนมากขึ้น

"ไม่ต้องไปดูอื่นไกลเลยนะ....ดูอย่างผมนี่ก็ได้....พวกลูกๆ เขาไม่ได้สนใจเรื่องทำสวนแล้ว เพราะพวกเขาเรียนหนังสืออย่างเดียว ไม่เหมือนคนรุ่นผม ตอนเป็นเด็กๆ นอกจากจะเรียนหนังสือแล้วยังตามพ่อแม่เข้าสวนอีกด้วย โตขึ้นจึงทำสวนเป็น แต่เด็กยุคนี้ไม่มีแล้วที่จะเข้ามาทำสวน เรียนจบก็ต้องทำงานบริษัท สบายกว่า.....หรืออย่างเพื่อนบ้านบางคนที่เคยทำสวนมาก่อน พอราคาที่ดินแพงก็ขายเลย ได้มา 5-6 ล้าน ลูกชายลูกสาวมีรถเก๋งขับคนละคัน...ส่วนพ่อแม่ก็ต้องกลายเป็นคนในหมู่บ้านจัดสรร ไม่ได้เป็นชาวสวนอีกต่อไป"

เพราะฉะนั้น ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับสวนทุเรียนนนท์ในทุกวันนี้ก็คือ ความเจริญต่างๆ ที่กำลังรุกไล่อย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการขายที่สวน หรือปัญหาน้ำเสียต่างๆ ที่ทำให้สวนทุเรียนออกลูกน้อยลงก็ตาม



จองตั้งแต่บนต้น
จากการสำรวจเก็บสถิติข้อมูลของชมรมอนุรักษ์ทุเรียนนนท์ พบว่าพื้นที่ปลูกทุเรียนส่วนใหญ่ใน อ.เมือง, อ. บางกรวย, อ. บางใหญ่ และ อ.บางกร่าง พบว่ามีสวนทุเรียนทั้งเล็กและใหญ่เหลืออยู่ราวๆ 200 กว่าสวน

กษาปณ์ทอง นาคมา ชาวสวนและเป็นกรรมการฝ่ายทะเบียนของ ชมรมอนุรักษ์ทุเรียนนนท์ บอกว่า

"พื้นที่ปลูกทุเรียนในจังหวัดนนท์ทั้งหมดปัจจุบันนี้มีราว 2,000 กว่าไร่ มีลูกทุเรียนที่ออกมาขายตกปีละ 50,000 ลูก โดยทุเรียนก้านยาวจะแพงที่สุด รองลงมาก็คือ หมอนทอง"

สำหรับราคาทุเรียนนนท์ที่แพงที่สุด บางลูกแตะหลักหมื่นบาทเลยทีเดียว โดยเฉพาะลูกที่ผ่านการประกวดจนชนะรางวัล จะได้ราคาสูงมาก โดยเฉพาะทุเรียนก้านยาว ราคาโดยเฉลี่ย 1,000-6,000 บาทต่อลูก


เกี่ยวกับราคาทุเรียนเมืองนนท์นั้น ประเมิน นาน่วม เสริมว่า
"ในแต่ละปีจะมีการโทร.สั่งจองไว้ก่อนเลย ส่วนมากจะเป็นลูกค้าเก่าแก่ โดยเฉพาะลูกค้าที่มีฐานะแถวเยาวราช จะโทรมาถามเลยว่า ปีนี้ทุเรียนต้นที่เคยซื้อประจำติดลูกหรือไม่ ถ้าต้นที่เขาต้องการติดลูกก็จะจองไว้เลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาเชื่อใจ และเป็นความสุขทางใจด้วยที่มีโอกาสได้กินทุเรียนนนท์ต้นเก่าแก่ นอกจากจะซื้อกินเองแล้ว บางทีเขาก็เอาไปฝากคนสนิทหรือคนที่เคารพนับถืออีกด้วย


กฏกติกาว่าด้วย "ทุเรียนนนท์"
เมื่อถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าทุเรียนลูกไหนเป็นทุเรียนนนท์จริง ลูกไหนเป็นทุเรียนนนท์ปลอม กษาปณ์ทอง นาคมา เฉลยว่า


"อันดับแรกเลยคือ การสังเกตลักษณะเบื้องต้นก่อน อย่างหนามแหลม เปลือกบาง เนื้อหนา รสชาติหวานมัน....แต่ก่อนที่จะบอกว่าเป็นทุเรียนนนท์หรือไม่นั้น คนขายจะถูกตรวจสอบมาก่อน คือ คนขายที่เป็นสมาชิกชมรม จะถูกตรวจสอบตั้งแต่ทุเรียนออกลูกในสวนเลยทีเดียว คือ ทางชมรมจะเก็บสถิติไว้หมด และจะมีการออกฉลากให้ติดก่อนขายด้วย"

สำหรับใครก็ตามที่นำเอาทุเรียนอื่นๆ มาปลอมปนหรือแอบอ้างว่าเป็นทุเรียนนนท์มาขาย ทางชมรมจะมีมาตรการจัดการที่รัดกุม

"เมื่อจับได้ว่านำทุเรียนมาปลอมขาย...อย่างแรกคือ จะถูกปรับ 10 เท่าของราคาขาย ส่วนมาตรการอื่นๆ ก็เช่น ตรวจสอบถึงที่สวน การขอจดสิทธิบัตรแหล่งผลิตทุเรียนนนท์ และการให้เข้ามาเป็นสมาชิกของชมรม"


คนสวนรุ่นใหม่
แม้ว่าปัจจุบันพื้นที่การทำสวนทุเรียนนท์จะลดลง และต้องประสบกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งความเจริญ และสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไป แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีชวนสวนทุเรียนรุนใหม่บางส่วนที่พยายามจะอนุรักษ์และสืบทอดอาชีพนี้เอาไว้ โดยคนสวนรุ่นเก่าที่ยังเหลืออยู่ได้ช่วยกันถ่ายทอดความรู้ให้ ขณะเดียวกันกลุ่มหรือชมรมต่างๆ ก็มีการให้ความรู้ และแจกพันธุ์ต้นทุเรียนให้กับชาวสวนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก

สิ่งหนึ่งที่ชาวสวนรุ่นใหม่พึงรู้ คือ กว่าจะเติบโตออกลูกออกผล ต้องอาศัยเวลาอย่างน้อยๆ 4-5 ปี ถึงจะเก็บเกี่ยวได้ ระหว่างนั้น การดูแลต้นทุเรียน จำเป็นต้องเอาใจใส่ ประคบประหงม ไม่ต่างอะไรกับการเลี้ยงดูเด็กเล็กๆ

แต่พอผลสุกคาต้น น้ำ-ฝน-ปุ๋ย และ ใจ ที่ใส่เข้าไปในตอนปลูก ส่งผลให้ "ลูกดก" ก็อาจจะทำราคาหน้าสวนได้ถึงหลักแสน

อาจเป็นคำปลอบใจว่าถึงอย่างไร เส้นทางทุเรียนนนท์ก็ยังสดใส และยังหวานมันขึ้นชื่อไม่เสื่อมคลาย!




http://www.bangkokbiznews.com

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/11/2016 6:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 18 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©