-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 16, 17, 18 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 8:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 17

ลำดับเรื่อง...


431. ลดต้นทุนการปลูกอ้อย ด้วยน้ำขี้หมู
432. สาหร่ายกับสาระน่ารู้
433. เพาะหนอนมูลหมูเลี้ยงปลานิล
434. สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม
435. การให้ปุ๋ยทางใบกับพืช

436. รายชื่อกล้วยไม้พันธุ์แท้ของไทยบางชนิดที่มีกลิ่นกลิ่นหอมแรง
437. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่
438. วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสถานะแตกต่างกัน
439. ปลูกพริกซูเปอร์ฮอท 5 ไร่ ฟันปีละ 4 แสน
440. เคล็ด (ไม่) ลับ กับการปลูกพริกให้ทันช่วงราคาสูง

441. อินโดฯ ให้ประชาชน "ปลูกพริก" หลังราคาพุ่งสูงถึง 360 บ./กิโล
442. capsicum คือ พริกชนิดใด
443. หน่วยวัดความเผ็ดมัน คือ อะไร ?
444. ในเมืองไทยปลูก "ฮอป" ที่ไหน ?
445. ประโยชน์ของข้างบาร์เล่ย์

446. วิธีกำจัดปลวก แบบง่ายๆไม่เสียตังค์เยอะ
447. มาพับแขนสูท ปลูกข้าวบนตึกกันดีกว่า (ญี่ปุ่น)
448. "วังขนาย" ทาบจัดรูปที่ดิน พัฒนาพื้นที่เกษตร-เพิ่มผลผลิตอ้อย
449. น้ำมันข้าวหอมมะลิธรรมชาติบริสุทธิ์ พิเศษ
450. ทำไมข้าวหอมมะลิจึงไม่มีการปลูกในจังหวัดฉะเชิงเทรา

451. ใครจะเป็นผู้รักษาเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย
452. ข้าวและเกษตรกรไทย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี
453. เผยผลวิเคราะห์ข้าว Jazzman เป็นการผสมระหว่างข้าวจีน
454. จีนยกนิ้วหอมมะลิไทย การันตีคุณภาพ-รสชาติดีที่สุด
455. สศก.เผย โคเนื้อลูกผสมพันธุ์กำแพงแสน ราคาพุ่ง

------------------------------------------------------------------------------------






431. ลดต้นทุนการปลูกอ้อย ด้วยน้ำขี้หมู





ในการปลูกพืชนั้นต้นทุนการผลิตนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง อ้อยโรงงานเป็นพืชตัวหนึ่งที่ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3-5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตที่ได้แต่ละปี ถ้าลดลงมากก็ต้องทำการปลูกใหม่ฉะนั้นการบำรุงและการดูแลรักษาจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การปลูกอ้อยโรงงานนั้นจึงมีเทคนิคและวิธีที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เพราะว่าสภาพแวดล้อมและปริมาณน้ำที่แตกต่างกันไปจึงทำให้ได้ผลผลิตในแต่ละท้องที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในแต่ละท้องที่จึงต้องสรรหาวิธีการและเทคนิคต่างๆ มาใช้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงสุดหรือไม่ก็จะต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิตลง

ขี้หมูเป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ซึ่งมีปริมาณธาตุอาหาร

ไนโตรเจน (N) 1.3%
ฟอสฟอรัส (P) 2.4%
โพแทสเซียม (K) 1.0%


ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักซึ่งพืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต

ดังนั้นการใช้น้ำขี้หมูจากฟาร์มหมูจึงเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต

คุณสนั่น น่วมนารี เป็นเกษตรกรที่หาวิธีลดต้นทุนในการทำไร่อ้อยโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือ น้ำขี้หมู ซึ่งในจังหวัดราชบุรี มีฟาร์มเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมาก คุณสนั่นปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงานมาเป็นระยะเวลา 30 กว่าปี เพราะว่าพื้นที่อยู่ในเขตใช้น้ำฝนจึงเลือกที่จะปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาลอยู่ใกล้ ในการทำไร่อ้อยนั้นจะใช้น้ำขี้หมูเป็นหลัก อ้อยที่ปลูกทั้งหมดมีประมาณ 300 ไร่ แบ่งเป็นอ้อยใหม่ประมาณ 75 ไร่ อ้อยตอ 2 (ปีที่ 2) ประมาณ 80 ไร่ อ้อยตอ 3 (ปีที่ 3) ประมาณ 80 ไร่ อ้อยตอ 4 (ปีที่ 4) ประมาณ 65 ไร่

ในการปลูกอ้อยใหม่นั้นสิ่งแรกคือ การเตรียมดินจะไถด้วยผาน 3 และตามด้วยผาน 7 แล้วใช้รถปลูกเพื่อลดต้นทุนค่าแรงงาน การใช้รถปลูกนั้นจะปลูกโดยระบบน้ำหยดเหมือนกับเกษตรกรทั่วไป แต่น้ำที่ใช้จะเป็นน้ำขี้หมูที่ได้จากฟาร์มหมูในพื้นที่ ซึ่งการปลูกแบบน้ำหยดนั้นจะมีหางปลูก ซึ่งออกแบบมาสำหรับเปิดหน้าดินและมีตัวตัดท่อนอ้อยลงมาโดยจะมีความยาวประมาณ 1 ฟุต ซึ่งจะมีตาอ้อยประมาณ 3-4 ตา และบนหลังคารถไถจะมีน้ำขี้หมูซึ่งจะปล่อยลงมาตามร่องที่เปิดไว้ หลังจากนั้นจะมีตัวสำหรับกลบดินเพื่อไม่ให้น้ำระเหยออกไป หลังจากปลูกเสร็จจะต้องมีการคุมหญ้าโดยใช้อามีทีน 80 ซึ่งมีคุณสมบัติคุมหญ้าก่อนและหลังงอกจะทำให้เกิดการดูดซึมทางรากทำให้หญ้าตาย

พันธุ์อ้อยที่เลือกใช้ได้แก่ พันธุ์ลำปาง หรือ LK92-11 และพันธุ์ขอนแก่น หรือ UT 94-2-200 ซึ่งมีน้ำหนักดี ลำต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรค ประมาณ 7 วัน อ้อยจะเริ่มแทงหน่อและประมาณ 1 เดือน อ้อยจะเริ่ม
แตกกอและใช้น้ำขี้หมูรดอีกรอบหนึ่ง

ส่วนการใส่ปุ๋ยจะใช้ปุ๋ยชีวภาพใส่ในปริมาณ 50 กก./ไร่ แล้วไถกลบจะไม่ค่อยใช้ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูง น้ำขี้หมูช่วยได้เยอะผมไว้ตออ้อยได้ถึงตอที่ 4 (ปีที่ 4) ทำให้ลดต้นทุนค่าปลูกใหม่ในส่วนของอ้อยตอ 2 (ปีที่ 2) ตอ 3 (ปีที่ 3) และตอ 4 (ปีที่ 4) พออ้อยแตกหน่อได้ประมาณ 1 เดือน นำน้ำขี้หมูมารดแล้วทำการไถกลบใบอ้อยเพื่อเป็นการเพิ่มแร่ธาตุในดิน พออ้อยอายุ 3 เดือน ทำการไถกลบและรดน้ำขี้หมูอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าเป็นการให้น้ำและให้ปุ๋ยไปพร้อมกัน การควบคุมวัชพืชใช้อาทราซีน 80 ในปริมาณ 1 กก. ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อฆ่าหญ้าและวัชพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาเพื่อแย่งอาหารอ้อย ซึ่งใช้ได้ผลดีเกินคาด




การเก็บเกี่ยวผลผลิต คุณสนั่นกล่าวว่า การตัดจะใช้รถตัดแล้วใส่รถสิบล้อไปเลย ค่าตัดก็อยู่ที่ตันละ 150 บาท ค่าขนอยู่ที่คันละประมาณ 100 บาท ในการใช้รถตัดจะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ถ้าใช้คนตัดครั้งหนึ่งต้องใช้คน 30-50 คน ที่จะมาตัดสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ข้อดีของการใช้รถตัดตออ้อยจะเตียนและอ้อยที่ได้จะยาวกว่าที่ใช้คนตัดทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ผลผลิตที่ได้จะอยู่ที่ประมาณ 12 ตัน/ไร่ ในอ้อยตอ 2 จะลดลงเหลือประมาณ 10 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 3 จะอยู่ที่ประมาณ 8 ตัน/ไร่ อ้อยตอที่ 4 จะได้ผลผลิตประมาณ 6 ตัน/ไร


เป็นเทคนิคการลดต้นทุนการผลิตโดยอาศัยของเหลือทิ้งจากฟาร์มสุกรที่อยู่ในท้องถิ่นอีกวิธีหนึ่ง ทำให้มองเห็นว่าการลดต้นทุนการผลิตต้องมองวัสดุหรือวัสถุดิบที่อยู่ในท้องถิ่น หาได้ง่าย มาประยุกต์ใช้ให้ได้ผลจริง ท้องถิ่นไหนเลี้ยงไก่เยอะก็ใช้ขี้ไก่ เลี้ยงวัวเยอะก็ใช้ขี้วัว อยู่ใกล้โรงานน้ำตาลก็ใช้กากอ้อยหรือน้ำส่า (น้ำจากขบวนการผลิตน้ำตาล) เพื่อใช้ในการปรับปรุงดิน จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าไปแสวงหาวัตถุดิบมหัศจรรย์จากต่างประเทศหรือต่างพื้นที่




ขอขอบคุณขอมูลจาก นิตยสารพืชพลังงาน http://www.mediaofgreengroup.com/g4.html
เขียนโดย modernfarmers

http://modrenfarmers.blogspot.com/2010/10/blog-post_30.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:42 am, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 8:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

432. สาหร่ายกับสาระน่ารู้



รวบรวมโดย ไปรมา ยงมานิตชัย


สาหร่ายเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสภาพแวดล้อมของโลกและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของต้นทางห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์ เป็นตัวการในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ สามารถสร้างสารพิเศษบางชนิดที่มีประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ ฉะนั้นจึงมีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย เพื่อที่จะรวบรวมและจัดจำแนกให้เป็นระบบสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

การศึกษาค้นคว้าหาแหล่งอาหารโปรตีนแหล่งอื่นนอกเหนือจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืช ซึ่งนับวันการผลิตจะไม่เพียงพอกับการเพิ่มของประชากรโลก สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-เยอรมัน ได้เห็นความสำคัญของสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและสารเคมีที่มีมูลค่าสูง เพราะประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนซึ่งเหมาะต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ตลอดทั้งปีโดยอาศัยพลังงานจากแสงแดด จึงได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการสาหร่ายขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เพื่อศึกษาค้นคว้า ทดลองและวิจัย การเพาะเลี้ยงสาหร่ายโดยทำการสำรวจรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย แยกเชื้อสาหร่ายบริสุทธิ์และเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายในสภาพที่เป็นวุ้น ซึ่งในระยะแรกศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสาหร่ายในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ในระยะต่อมาทดลองทำอาหารบางชนิดโดยการผสมสาหร่ายเพื่อทดสอบความนิยมของผู้บริโภค รวมทั้งการทดสอบความเป็นพิษของสาหร่ายด้วย


สาหร่ายคืออะไร
ถ้าถามว่าสาหร่ายคืออะไร คงจะตอบได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากสาหร่ายมีความแตกต่างกันในเรื่องของที่อยู่อาศัย ขนาดสรีระ ชีวเคมี การสืบพันธุ์ และการจัดระเบียบขึ้นมา อย่างไรก็ตามได้มีผู้ให้คำจำกัดความที่ครอบคลุมความหมายของคำว่าสาหร่ายได้ดีพอสมควร โดยคำว่า "สาหร่าย" หมายถึง พืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากประกอบด้วยเซลล์เดียว ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่ยาวเป็นเมตรประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจมีลักษณะเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูง โดยมีส่วนที่คล้ายราก ลำต้น และใบรวมเรียกว่า Thallus


เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่าย
สายพันธุ์สาหร่ายที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในทางการค้า ควรเป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารพิษ ทนทานต่ออุณหภูมิสูง ถ้าเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ก็จะง่ายต่อการเก็บเกี่ยว


เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายมี 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1. การเพาะเลี้ยง (Algal cultivation) ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อสาหร่ายในห้องควบคุม การเพาะเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่ การกวน การให้อากาศ และการใส่สารอาหาร

2. การเก็บเกี่ยว (Harvesting) โดยจะใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ตามแต่ชนิดของสาหร่าย เช่น เครื่องเหวี่ยง การตกตะกอน การกรอง

3. การทำแห้ง (Drying) โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การตากแดด (Sun-drying) ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar-drying) การอบแห้งแบบลูกกลิ้ง (Drum-drying) การอบแห้งแบบพ่นฝอย (Spray-drying) การอบแห้งแบบระเหิด (Freeze-drying)


การใช้ประโยชน์จากสาหร่าย
- ใช้เป็นอาหารมนุษย์
มนุษย์รู้จักนำสาหร่ายมาใช้เป็นอาหารนานนับพันปีแล้ว เช่น ชาวจีน ญี่ปุ่น ใช้สาหร่ายสีน้ำตาล (Laminaria) และสาหร่ายสีแดง (Porphyra) หรือที่เรียกว่า จีฉ่าย มาทำอาหารพวกแกงจืด ญี่ปุ่นผสม Chlorella sp. ลงในชา ซุป น้ำผลไม้ บะหมี่ และไอศครีม สำหรับห้องปฏิบัติการสาหร่ายตามธรรมชาติ คัดแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ วิเคราะห์ปริมาณโปรตีน 40-50% ศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายในห้องควบคุมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งผลงานวิจัยมีมากมาย เช่น การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนตระดับต่าง ๆ กัน การคัดเลือกหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว Spirulina Sp. เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพันธุ์พื้นบ้านเพื่อหาปริมาณโปรตีนเปรียบเทียบกับพันธุ์ Scenedesmus acutus (Selection of Local Algal Strains Related to Protein Content Compared with Scenedesmus acutus) เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของสาหร่ายจากการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชนิด (Growth Comparison of Green Algec Cultivated in Two Different Media.)


สำหรับสาหร่ายเกลียวทอง เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในรูปของอาหารเสริมสุขภาพ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นคือ มีปริมาณโปรตีนสูงถึง 60% และเป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นกระจัดกระจายอยู่ในเซลล์อย่างได้สัดส่วน มีวิตามิน เกลือแร่ และสารให้สีธรรมชาติจำนวนมาก นอกจากนี้สาหร่ายเกลียวทองยังมีเซลล์ขนาดใหญ่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่าย ผนังเซลล์บาง จึงถูกย่อยและดูดซึมได้เร็วกว่าสาหร่ายสีเขียวซึ่งมีผนังเซลล์หนา


- ใช้เป็นอาหารสัตว์
สาหร่ายสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น หมู และสัตว์ปีกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สาหร่ายยังเป็นอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ปลา กุ้งและแพลงตอนสัตว์ เช่น ไรแดง ไรน้ำเค็ม ในประเทศญี่ปุ่นใช้สาหร่ายเกลียวทองเลี้ยงปลาไหล ปลาเทร้า กุ้ง ปลาคาร์พสี เป็นต้น ทำให้เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงามได้พัฒนาก้าวไกลออกไปมาก ผลงานวิจัย เช่น การเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. จากน้ำทิ้งแหล่งชุมชนเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ การศึกษาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของสาหร่าย Chlorella Sp. (K3) สำหรับนำไปเลี้ยงพวกไดอะตอม แพลงตอนสัตว์ (Lapadella benjamini) ที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน การนำ Chlorella Sp. ที่ได้จากการเลี้ยงในน้ำทิ้งโรงงานผลิตน้ำนมถั่วเหลืองมาเลี้ยงไรแดง ความเป็นไปได้ในการเลี้ยงหอยมุกน้ำจืด Chamberlai hainesiana ด้วยสาหร่ายชนิดต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น


- ใช้ในการกำจัดน้ำเสีย
การใช้สาหร่ายในการกำจัดน้ำเสียร่วมกับแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียจะทำการย่อยสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ให้เป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น แอมโมเนียม ไนเตรต คาร์บอนไดออกไซด์ และเกลือแร่ต่าง ๆ ในสภาพการเกิดที่มีอากาศ (aerobic) หรือไม่มีอากาศ (anaerobic) จากนั้นสาหร่ายจะใช้สารประกอบเหล่านี้ในกระบวนการเมตาบอลิสมต่าง ๆ สำหรับสาหร่ายที่ได้จากระบบกำจัดน้ำเสียนี้ อาจนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยพืชสด หรือใช้ในการทำแก๊สชีวภาพได้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ การศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis ที่เพาะเลี้ยงในมูลหมูผสมมูลไก่ที่มีการหมุนเวียนของสารอาหารแตกต่างกัน การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง จากน้ำทิ้งโรงงานแป้งมันสำปะหลัง การเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองจากน้ำทิ้งโรงงานน้ำอัดลม เป็นต้น


- ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ
สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue green algae) รู้จักกันแพร่หลายในแง่ของการใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในนาข้าวบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียม ทำให้ข้าวเจริญเติบโต ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ Anabaena sp. และ Nostoc sp. พันธุ์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบในประเทศและให้ผลผลิตดี มีชื่อว่า Anabaena siamensis



- ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
สาหร่ายประกอบด้วยสารเคมีบางชนิดที่ช่วยในการรักษาผิวหนัง ชนเผ่า Kanembu ที่อยู่รอบทะเลสาบชาด ได้ใช้สาหร่ายเกลียวทองรักษาโรคผิวหนังบางชนิด การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า เครื่องสำอางที่ผสมสาหร่ายและสารสกัดจากสาหร่ายเกลียวทองช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นและลดริ้วรอย ส่วนในประเทศไทยก็ได้มีบริษัทหลายแห่งที่ใช้สาหร่ายเกลียวทองเป็นเครื่องสำอางในรูปครีมบำรุงผิว



- ใช้ในอุตสาหกรรมยา
นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์หลายท่านได้ทดลองใช้สาหร่ายเกลียวทองในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคกระเพาะ อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดและความไม่สมดุลในร่างกาย ในประเทศฝรั่งเศส ได้ทดลองใช้ยาที่ผสมสาหร่ายเกลียวทองทาแผล ทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น ธาตุแมกนีเซียมในคลอโรฟิลล์ยังมีบทบาทอย่างสำคัญในการรักษาบาดแผล มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อป้องกันการเกิดของแบคทีเรียและช่วยสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ด้วย คลอโรฟิลล์ในสาหร่ายมีโครงสร้างเหมือนสารสีแดงในเลือด (hemo-globin) นักวิทยาศาสตร์จึงแนะนำให้ใช้คลอโรฟิลล์รักษาโรคโลหิตจาง นอกจากนี้สาหร่ายบางชนิดสารปฏิชีวนะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ ได้แก่ cyanophycin หรือ marinamycin ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ได้ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว scytonema No.11 เป็นสาหร่ายที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย แยกได้จากดินนาจังหวัดพิษณุโลก พบว่า สามารถผลิตสารปฏิชีวนะ Cyanobacterin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นทั้ง algicide และ bacteriocide ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิดได้



- ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
สาหร่ายสีแดงพวก Gelidium, Gracilaria สามารถนำไปสกัดทำเป็นวุ้น เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหาร และเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์

สาหร่ายสีน้ำตาลพวก Laminaria, Ascophyllum, Macrocystis นำไปสกัดเป็น แอลจินหรือแอลจิเนต ซึ่งนำไปใช้ในการทำนม ขนมปัง ไอศครีม ขนมหวาน ลูกกวาด สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น



ปัจจุบันห้องปฏิบัติการสาหร่ายนอกจากจะพัฒนากรรมวิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนแล้ว ยังได้นำสายพันธุ์สาหร่ายที่มีศักยภาพที่สามารถผลิตในทางการค้า เช่น Chlorella, Scenedesmusbs Spirulina, Dunaliella, Haematococcus มาศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตสารอาหารหรือสารเคมีที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งวิธีการสกัด การนำไปใช้ประโยชน์และการแปรรูปในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการสาหร่ายยังให้บริการสายพันธุ์สาหร่าย ให้คำปรึกษา แนะนำด้านการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายแก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจทั่วไปด้วย




http://www.ku.ac.th/e-magazine/july46/agri/seaweed.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/09/2011 9:05 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 9:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

433. เพาะหนอนมูลหมูเลี้ยงปลานิล


เกษตรกรส่วนใหญ่ ที่เลี้ยงปลาด้วยอาหารสำเร็จรูปแบบนี้ มักมีค่าใช้จ่ายสูง และยังต้องเสริมด้วยโปรตีน เพื่อให้ปลาเจริญเติบโตเร็วและมีเนื้อมาก แต่วิธีนี้สิ้นเปลืองนะครับ และบางครั้งปลาที่ได้ คุณภาพก็ไม่ตรงกับที่ตลาดต้องการอีกคุณลุงถนอม แก้วลอดหล้า เกษตรกรที่จังหวัดสกลนคร มีเทคนิคในการเลี้ยงปลานิล โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง ด้วยการนำหนอนแมลงวันมาเลี้ยงขุน

วิธีนี้ คุณลุงถนอมจะเพาะหนอนแมลงวันเอง เริ่มแรกจะต้องล่อแมลงวันให้มาวางไข่บนมูลหมู และจะใช้เฉพาะมูลหมูขุนเท่านั้น เพราะมีสารอาหารสำคัญเป็นส่วนประกอบอยู่มากกว่ามูลหมูอื่น โดยนำมูลหมูมาวางกองไว้ให้สูงประมาณ 2 ถึง 3 เซนติเมตร แล้วเติมน้ำเปล่าลงไปเพียงเล็กน้อย พอให้มีความชื้น วันถัดมาจะเริ่มเห็นตัวอ่อนของแมลงวันเกิดขึ้น ให้รำอ่อนเป็นอาหาร และคอยเติมมูลหมูและน้ำเปล่าลงไปอีก ไม่ให้กองยุบ จนวันที่ 5 ตัวอ่อนของแมลงวัน จะกลายเป็นตัวหนอนขนาดใหญ่ขึ้น เกษตรกรจะล่อให้หนอนออกจากมูลหมู ด้วยการนำรำอ่อน มาผสมกับหอยเชอรี่บดแล้วเทกองเอาไว้ข้างๆ เพื่อล่อให้หนอนมากินอาหารใหม่ และเป็นการคัดแยกตัวหนอนจากนั้นนำไปเลี้ยงต่อในกระชังพลาสติกอีก 1 คืน ตัวหนอนจะเข้าสู่ช่วงของดักแด้ ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่กินอาหาร เกษตรกรจะนำไปใช้เลี้ยงปลานิลได้ โดยให้หนอนวันละ 20กิโลกรัม ควบคู่ไปกับปลายข้าวหมักด้วยอีเอ็ม และกากน้ำตาล เฉพาะในช่วงบ่ายการเลี้ยงปลานิลด้วยหนอนแมลง ไม่ต้องเสียค่าต้นทุนใดๆ จะมีรายจ่ายเพียงค่าปลายข้าว ที่นำไปใช้เลี้ยงเสริมเท่านั้น ปลาที่ได้เจริญเติบโตดี เพราะได้รับโปรตีนจากหนอนเกษตรกรใช้เวลาเลี้ยงขุนนาน 6 เดือน ปลาจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยตัวละ 3 ถึง 4 ขีดก็สามารถจับขายได้

การเพาะหนอนทำได้ง่ายครับ เกษตรกรไม่ต้องซื้อหัวอาหารโปรตีนมาใช้เลี้ยงปลาอีก ซึ่งปลาที่ได้คุณภาพดี และน้ำหนักตัวมากใกล้เคียงกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปทั่วไป เห็นแบบนี้แล้ว อาหารสำเร็จรูปของผมคงไม่จำเป็น




ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณถนอม แก้วลอดหล้า, โทร.084-390-3797

ช่อง 7 สี : 25-11-2553
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=115297

http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?topic=4597.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 9:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

434. สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม


ยาที่ถูกสร้างขึ้นมาจากนมของแพะที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อรักษาโรคเลือดที่พบได้น้อย (Rare Blood Disorder) มีแนวโน้มที่จะได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าแพะดัดแปลงพันธุกรรมนั้นไม่สมควรที่จะเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่อาหาร แต่ถ้ายาที่ผลิตจากนมแพะนี้ได้ผ่านการอนุญาตให้ใช้ได้แล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่สัตว์ชนิดอื่นที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Engineered (GE) Animals) จะได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ในสหรัฐฯไม่ว่าจะเพื่อจุดประสงค์ใดด้วยเช่นกัน

สหรัฐฯได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 1990 (พ.ศ. 2533 – 2542) หลายประเทศได้ยึดถือหลักการและกฎระเบียบของสหรัฐฯเป็นแนวทางในการควบคุมสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม แต่ทุกวันนี้สหรัฐฯยังไม่อนุญาตให้นำสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งถูกตัดแต่งพันธุกรรมโดยใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม (Recombinant DNA (rDNA)) มาใช้เป็นอาหาร

หน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมในสหรัฐฯขึ้นอยู่กับหน่วยงานของสหรัฐฯสองแห่งซึ่งได้แก่ องค์กรอาหารและยา (Food and Drug Administration (FDA)) และกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture (USDA)) องค์กรอาหารและยาทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการรับรองความปลอดภัยของสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่จะนำมาใช้เป็นอาหาร ของมนุษย์ ส่วนกระทรวงเกษตรทำหน้าที่ควบคุมดูแลการนำเข้าสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิดไม่ว่าจะถูกสร้างเพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหรือนำมาใช้เป็นอาหารจะต้อง ผ่านกฎระเบียบขั้นตอนต่างๆเหมือนกันเพื่อให้ได้รับการอนุญาตในสหรัฐฯ

สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอาจจะให้ประโยชน์อย่างมากมาย นักพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสามารถสร้างสัตว์ที่ให้คุณลักษณะพิเศษชนิดใหม่โดยการใส่ชิ้นส่วนดีเอ็นเอของสัตว์ สายพันธุ์หนึ่งให้กับสัตว์อีกสายพันธุ์ ความเป็นไปได้เช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่มีขีดจำกัด สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอาจจะมีความสามารถในการสร้างโปรตีนหรือแอนติบอดี้ (Antibodies) เพื่อนำมาใช้ในผลิตยาหรือวัคซีน ซึ่งเรียกวิทยาการแขนงนี้ว่า ฟาร์มมิ่ง (Pharming) ตัวอย่างเช่น วัวที่มีความต้านทานต่อโรคเต้านมอักเสบ (Mastitis) หรือโรควัวบ้า (Mad Cow Disease) และหมูที่สามารถสร้างกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3 Fatty Acids) ซึ่งช่วยบำรุงหัวใจในเนื้อของตัวมันเองได้ในปริมาณมาก

นักวิเคราะห์ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพหลายคนได้โต้แย้งว่ายังมีปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดจากสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอยู่อีกหลาย ประการที่ยังไม่เห็นเป็นที่แน่ชัด พวกเขาต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัยที่เกี่ยวกับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม นอกจากนี้พวกเข้ายังได้เน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการระบุความเกี่ยวพันทางด้านจริยธรรม ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอแนวทางที่เกี่ยวกับการควบคุมสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม

การที่จะเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งอยู่ในช่วงการพิจารณาตรวจสอบขององค์การอาหารและยานั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากภายใต้กฎหมายด้านอาหาร ยา และเครื่องสำอาง (Federal Food, Drug and Cosmetic Act (FFDCA)) ของสหรัฐฯ ข้อมูลเหล่านี้จะไม่สามารถถูกเปิดเผยได้ อย่างไรก็ตามบริษัทบางแห่งได้มีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้สู่สาธารณชนบ้าง แต่เป็นไปด้วยความสมัครใจ

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งในกรอบงานด้านกฎระเบียบข้อบังคับที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้คือ ความไม่ชัดเจนว่าสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งสามารถผลิตยาได้จะต้องมีการได้รับอนุญาตก่อนที่จะอนุญาตให้ใช้ยาชนิดนั้นหรือไม่

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 องค์การอาหารและยาได้จัดทำร่างเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางในกระบวนการพิจารณาตรวจสอบขององค์การฯ สำหรับอุตสาหรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในร่างเอกสารฉบับนี้ได้ระบุว่าสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิดจะถูกพิจารณาว่าเป็นยาชนิดใหม่ ดังนั้นสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องผ่านการ ได้รับอนุญาตจากองค์การฯก่อนออกสู่ตลาด ทั้งนี้องค์การฯได้พิจารณาถึงกระบวนการสร้างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมและเห็นว่าดีเอ็นเอสายผสมที่ถูกสร้างขึ้นมาใน สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมนั้นจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโครงสร้างหรือหน้าที่ของสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายด้านอาหาร ยา และเครื่องสำอางของสหรัฐฯ ดังนั้นในกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 หลังจากที่ได้พิจารณาข้อคิดเห็นจากประชาชนเป็นจำนวนประมาณ 28,000 ความเห็นแล้ว องค์การอาหารและยาจึงได้ดำเนินการจัดทำเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางในกระบวนการพิจารณาตรวจสอบขององค์การฯฉบับสมบูรณ์

องค์การอาหารและยาวางแผนที่จะพิจารณาให้การรับรองอนุญาตสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมเป็นกรณีไป เนื่องจากรูปแบบของยีนในสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมและจุดประสงค์ของการขออนุญาตเพื่อใช้งานมีความแตกต่างกัน สำหรับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมตัวอย่างเช่น หนูและแมลง ซึ่งเป็นสัตว์ที่โดยปกติไม่ได้เป็นอาหารของมนุษย์นั้น อาจจะไม่ต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยาก่อนที่จะออกสู่ตลาด หรือสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงตัวอย่างเช่น ปลาเรืองแสง (Day-Glo Pet Fish) ก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยาก่อนออกจำหน่าย



ปลาม้าลาย (Zebrafish) ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้สามารถเรืองแสงได้กำลังเป็นที่นิยมในตลาดสหรัฐฯโดยไม่ต้องผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา



ในปัจจุบันองค์การอาหารและยากำลังพิจารณาคำร้องขออนุญาตเพื่อให้การรับรองสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอย่างน้อยสองชนิดที่อาจนำ มาเป็นอาหารของมนุษย์ภายในปลายปี พ.ศ. 2552 นี้ หนึ่งในนั้นเรียกว่า หมูเอนไวโร (Enviropig) ซึ่งเป็นหมูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้ผลิตฟอสฟอรัสในมูลในปริมาณที่น้อยกว่าหมูปกติ ดังนั้นจึงสามารถนำมูลของหมูชนิดนี้มาใช้เป็นปุ๋ยได้มากขึ้น

หมูเอนไวโรนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกูเอลฟ (University of Guelph) ในมณฑลออนตาริโอ (Ontario) โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูให้สามารถใช้มูลหมูชนิดนี้เป็นปุ๋ยได้โดยที่ไม่ขัดกับกฎหมายด้านการจัดการ ธาตุอาหาร (Nutrient Management Laws) ของแคนาดา กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่จะนำมาใช้ในเขตเพาะปลูก ซึ่งโดยปกติแล้วฟอสฟอรัสในมูลของหมูจะมีปริมาณมากกว่าไนโตรเจนถึงหนึ่งส่วนสามเท่า ดังนั้นปริมาณฟอสฟอรัสจึงเป็นองค์ประกอบหลักที่จำกัดปริมาณของมูลหมูที่จะนำมาใช้เป็นปุ๋ยในเขตเพาะปลูก

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกูเอลฟได้สร้างหมูเอนไวโรโดยการเชื่อมยีนที่ได้รับมาจากแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) กับโปรโมเตอร์ (Promoter) ที่ได้รับมาจากหนู ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการคัดลอกรหัสของยีน (Transcription) แล้วใส่เข้าไปในตัวอ่อนของหมู ดีเอ็นเอส่วนเล็กๆในยีนที่รับมาจาก เอสเชอริเชีย โคไลนี้จะกระตุ้นให้มีการผลิดเอนไซม์ไฟเตส (Phytase) ที่ต่อมน้ำลาย (Salivary Glands) ของหมู เอนไซม์ชนิดนี้จะช่วยย่อยฟอสฟอรัสในรูปของไฟเตท (Phytate) ซึ่งอยู่ในอาหารเลี้ยงหมู จึงเป็นผลให้มูลของหมูมีปริมาณฟอสฟอรัสน้อยลง

โดยปกติแล้วเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจะเติมไฟเตสเข้าไปในอาหารของหมูเพื่อเป็นอาหารเสริม แต่หมูเอนไวโรจะสามารถสร้างไฟเตสเองได้ ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจะสามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 1.00 ถึง 1.50 เหรียญสหรัฐฯตลอดชีวิตของหมูหนึ่งตัว โดยถ้าเกษตรกรเลี้ยงหมูจำนวนมากขึ้น จำนวนเงินที่เกษตรกรสามารถประหยัดได้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

นายเซซิล ดับเบิ้ลยู ฟอร์สเบิร์ค (Cecil W. Forsberg) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่เกษียณแล้วด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลและเซลล์จากมหาวิทยาลัยกูเอลฟ รวมทั้งเป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยของหมูเอนไวโรได้กล่าวว่า ทีมนักวิจัยกำลังรอการตัดสินใจจากองค์การอาหารและยาเกี่ยวกับหมูเอนไวโรซึ่งได้ยื่นคำร้องเพื่อขอการรับรองไปตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2550 นายฟอร์สเบิร์คยังได้เน้นว่า ประโยชน์ที่แท้จริงของหมูเอนไวโรคือช่วยลดปัญหามลพิษที่เกิดจากสารอาหาร (Nutrient Pollution) รวมทั้งช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของหมู เพราะไฟเตสที่หมูเอนไวโรสามารถสร้างขึ้นเองได้นั้นจะช่วยให้หมูแข็งแรง โดยที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่อาหารเสริมเพิ่มเข้าไปในอาหารเลี้ยงหมูเลย



หมูเอนไวโร (Enviropig) ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้ผลิตฟอสฟอรัสน้อยกว่าหมูปกติ




สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอีกชนิดที่อยู่ในช่วงการพิจารณาการรับรองจากองค์การอาหารและยาคือปลาแซลมอนที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมซึ่ง มีชื่อเรียกว่า อควู แอดแวนเทจ (AquAdvantage) ปลาแซลมอนชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทอควา เบาน์ตี้ เทคโนโลยี (Aqua Bounty Technology) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองวัลท์แฮม (Waltham) มลรัฐแมสซาชูเส็ทส์ (Massachusetts) ปลาแซลมอนชนิดนี้เป็นปลาแซลมอนแอตแลนติค (Atlantic Salmon) ซึ่งประกอบไปด้วยยีนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จากปลาแซลมอนชีนุค (Chinook Salmon) และโปรโมเตอร์จากปลาน้ำเย็นที่มีชื่อว่า โอเชียน เพาท์ (Ocean Pout)

ปลาแซลมอนอควู แอดแวนเทจ จะเจริญเติบโตได้เร็วกว่า แต่ไม่ได้มีขนาดใหญ่ไปกว่าปลาแซลมอนธรรมดา นอกจากนี้ปลาแซลมอนอควู แอดแวนเทจจะมีวงจรชีวิตที่สั้นกว่า ดังนั้นปลาแซลมอนนี้จึงมีโอกาสได้รับสารปนเปื้อนหรือเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าปลาแซลมอนธรรมดา

นายโรนัลด์ แอล สโตติสช์ (Ronald L. Stotish) ซึ่งเป็นซีอีโอและประธานบริษัทอควา เบาน์ตี้ ได้กล่าวว่าทางบริษัทได้ยื่นคำร้องขอการรับรองไปเป็นระยะเวลานานมากแล้ว นอกจากนี้พวกเขายังได้ยื่นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าปลาแซลมอนชนิดนี้มีสำเนาของยีนที่ถูกดัดแปลงเพียงหนึ่งชุดอยู่ในบริเวณที่จำเพาะ ซึ่งยีนชุดนี้มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะไม่เปลี่ยนแปลงหรือไม่ทำให้ปลาแซลมอนเกิดการกลายพันธุ์ไปในมากกว่า 7 รุ่นอายุ (Generations) ของปลาแซลมอนชนิดนี้

นอกจากนี้นายสโตติสช์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปลาแซลมอนที่ทางบริษัทได้ผลิตเพื่อจำหน่ายนั้นได้ถูกทำให้เป็นหมันทั้งหมด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปลาเกิดการแพร่พันธุ์ต่อไปได้ถ้าเกิดหลุดปนเปื้อนไปในธรรมชาติ นอกจากนี้บริษัทยังไม่ต้องการให้บุคคลอื่นนำปลาชนิดนี้ไปผสมพันธุ์เพื่อจำหน่ายเอง เพราะจะทำให้บริษัทเกิดการสูญเสียผลประโยชน์ในแง่ของธุรกิจด้วย


ปลาแซลมอนอควู แอดแวนเทจ (AquAdvantage) จะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลาแซลมอนปกติถึงสองเท่าดังแสดงในรูป ซึ่งปลาแซลมอนทั้งสองตัวในรูปที่แสดงมีอายุเท่ากัน




ในกรณีที่องค์การอาหารและยาได้ให้การรับรองสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอย่างเช่นหมูเอนไวโร หรือปลาแซลมอนอควู แอดแวนเทจแล้ว ผู้บริโภคจะไม่สามารถรู้ได้ว่าเนื้อหมูหรือเนื้อปลาแซลมอนที่กำลังบริโภคนั้นได้รับมาจากสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายของสหรัฐฯไม่ได้มีข้อบังคับให้บริษัทผู้จำหน่ายอาหารที่มาจากสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมนั้นต้องติดฉลากแสดงว่า ผลิตภัณฑ์นั้นได้รับมาจากสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม

ศาสตราจารย์มาร์กาเรต เมลลอน (Margaret Mellon) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการด้านอาหารและสิ่งแวดล้อมของสหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่มีจิตสำนึกทางสังคม (Union of Concerned Scientists) ได้เขียนความเห็นเพื่อเสนอให้กับองค์การอาหารและยาในเรื่องที่เกี่ยวกับร่างเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางในกระบวนการพิจารณา ตรวจสอบสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมขององค์การฯ โดยกล่าวว่าปัจจุบันผู้บริโภคได้ให้ความสนใจในเรื่องต้นกำเนิด กระบวนการผลิตอาหาร รวมทั้งสิทธิ์ที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวกับอาหารมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีอำนาจควรจะต้องเข้ามาจัดการเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบขององค์การฯให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาและ กระบวนการผลิตอาหารเหล่านั้น

ศาตราจารย์เมลลอนได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การปฏิเสธไม่ให้ผู้บริโภครับรู้ข่าวสารอาจทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกต่อต้าน เพราะผู้บริโภคไม่ได้รับรู้ข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับประโยชน์ หรือความเสี่ยงของเทคโนโลยีนี้ ดังเช่นกรณีของเหตุการณ์ที่เกิดการต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Engineered (GE) Crops) จากมหาชนในยุโรปช่วงทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ. 2533 – 2542) ดังนั้นความโปร่งใส รวมทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทางกฎหมายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยอมรับของผู้บริโภคในเรื่องของ สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม

ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ว่าผู้บริโภคน่าจะยอมรับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้ผลิตยารักษาโรคมากกว่า สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้ตั้งความหวังให้องค์การอาหารและยาพิจารณาอนุญาตยาตัวแรกที่ผลิตจาก สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมโดยเร็ว เพื่อที่สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมนั้นจะได้ถูกรับรองไปด้วยในฐานะที่เป็นต้นกำเนิดของยานั้น และเมื่อผู้บริโภคได้รู้สึกคุ้นเคยและยอมรับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำมาทำเป็นยาแล้ว ในภายหลังสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารก็จะมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับและจำหน่ายได้ง่ายขึ้น

ซึ่งแผนการในการที่จะให้ผู้บริโภคเริ่มยอมรับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมนี้ได้มีการเปิดเผยให้เห็นแล้ว โดยเมื่อต้นเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการที่ปรึกษาองค์การอาหารและยา (FDA Advisory Committee) ได้ลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นในเพื่อสนับสนุนการรับรองยาที่มีชื่อว่า แอดทริน (ATryn) ซึ่งถูกสร้างในต่อมน้ำนม (Mammary Gland) ของแพะที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม ยานี้ได้พัฒนาขึ้นโดยบริษัท จีทีซี ไบโอเธราพิวติกส์ (GTC Biotherapeutics) ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐแมสซาชูเส็ทส์ โดยมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการอุดตันของทางเดินโลหิตในผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเลือดที่พบได้ยาก (Rare Blood Disorder) ยาแอดทรินได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้แทนยาแอนติทรอมบิน (Antithrombin) ที่ผลิตจากพลาสมาของมนุษย์และเป็นที่ขาดแคลนในปัจจุบัน

องค์การอาหารและยาคาดหวังที่จะสรุปผลการพิจารณายานี้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซึ่งถ้ายานี้ผ่านการรับรอง ความกดดันที่จะเกิดขึ้นกับองค์การฯอีกประการคือการพิจารณาให้การรับรองสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อผลิตยานี้โดยเร็ว

นักวิเคราะห์ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีความกังวลว่าถ้าสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมชนิดหนึ่งได้รับการอนุมัติแล้ว สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมชนิดอื่นๆก็จะได้รับการอนุมัติตามมาอย่างรวดเร็วอีกมากมาย อย่างไรก็ตามผู้สังเกตหลายคนได้มีความเห็นว่าการอนุมัติสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นมากมายอย่างที่หลายคนคาดคิด ด้วยเหตุผลประการสำคัญคืออุตสาหกรรมนี้กำลังเกิดภาวะขาดแคลนเงินทุนวิจัย เงินทุนจากรัฐที่สนับสนุนงานวิจัยทางด้านสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงเกษตรได้ถูกตัดลดลง รวมทั้งยังไม่มีหน่วยงานเอกชนใดที่เข้ามาให้เงินทุนสนับสนุนวิจัยทางด้านนี้

นายฟอร์สเบิร์คได้กล่าวว่า ในปัจจุบันยังไม่มีนักลงทุนคนใดที่สนใจหมูเอนไวโร และทางบริษัทก็ไม่ได้คาดหวังว่านักลงทุนจะสนใจจนกว่าหมูเอนไวโรนี้ได้ผ่านการรับรองแล้ว

ในช่วงระหว่างรอผลการพิจารณาจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ นายฟอร์สเบิร์คได้วางแผนที่จะเตรียมเอกสารเพื่อขอการรับรองหมูเอนไวโรนี้ในประเทศอื่นๆ โดยมุ่งไปที่ตลาดเอเชีย ซึ่งในขณะนี้ทางบริษัทได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรสำหรับหมูเอนไวโรในประเทศจีนเแล้ว

ในส่วนของบริษัทอควา เบาน์ตี้ ก็มีแผนการที่จะจำหน่ายปลาแซลมอนดัดแปลงพันธุกรรมนี้ไปทั่วโลกเช่นกัน แต่ทางบริษัทต้องการที่จะรอผลการรับรองจากองค์การอาหารและยาก่อนที่จะดำเนินการขอการรับรองในประเทศอื่นๆ เพื่อที่จะใช้เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลว่าปลาชนิดนี้ได้มีการรับรองตรวจสอบจากทางสหรัฐฯแล้ว

ในขณะที่ประเทศอื่นๆทั่วโลกได้พยายามค้นหามาตรการที่จะจัดการและควบคุมสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ผลิตในสหรัฐฯและ ต่างประเทศนั้น สหรัฐฯได้มีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการจัดการและควบคุมสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่นำเข้ามาจากประเทศอื่นๆ โดยในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Inspection Service) ซึ่งขึ้นกับกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ได้ส่งหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆเพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวกับงานวิจัยรวมทั้งข้อมูลการนำเข้าสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม

ภาพรวมของกระบวนการทางกฎหมายในการควบคุมสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมนั้นยังคงคลุมเครือ โดยเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 นายเอ็ด เชฟเฟอร์ (Ed Schafer) อดีตปลัดกระทรวงเกษตรได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของกระทรวงเกษตร (USDA Biotechnology Advisory Committee) ทำการไตร่ตรองข้อกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมและผลผลิตจากสัตว์เหล่านี้ที่รัฐควรจะนำมาพิจารณา คณะกรรมการได้มีการจัดประชุมใหญ่ทั้งหมด 4 ครั้ง รวมทั้งมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยอีกหลายครั้งเป็นระยะเวลาทั้งสิ้นมากกว่า 10 เดือน แต่คณะกรรมการก็ยังไม่สามารถสรุปอย่างเป็นเอกฉันท์ได้

ในบันทึกข้อความที่ทางคณะกรรมการได้เสนอให้นายเซฟเฟอร์ในช่วงสุดท้ายของการบริหารงานโดยการนำของประธานาธิบดีบุชนั้น คณะกรรมการได้เน้นประเด็นสำคัญบางประเด็นเช่น ความปลอดภัยของอาหารและอาหารเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับมาจากสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม สุขภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ได้รับมาจากการนำเข้า นอกจากนี้คณะกรรมการยังได้มีการพูดถึงการพิจารณาความสำคัญของตลาดโลกเป็นต้นว่าในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การพิจารณาในด้านจริยธรรม การทำให้กระบวนการทางกฎหมายมีความโปร่งใส รวมทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทางกฎหมาย

ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ศาสตราจารย์แพทริเชีย เอ เลย์ตัน (Patricia A. Layton) จากคณะทรัพยากรป่าไม้และธรรมชาติ (Forestry and Natural Resources) มหาวิทยาลัยเคลมสัน (Clemson University) ได้กล่าวว่า ถ้ามีเวลาในการพิจารณามากกว่านี้ ทางคณะกรรมการที่ปรึกษาฯน่าจะสามารถไตร่ตรองและเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการร่วมมือทางกฎหมายระหว่างประเทศ และการแข่งขันในอนาคตของสัตว์เกษตรกรรมในสหรัฐฯเพิ่มเติมได้

ในกระบวนการการพิจารณาการรับรองสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมก่อนนำออกสู่ตลาดนั้น สหภาพยุโรปก็ยังไม่ได้ก้าวไปไกลกว่าสหรัฐฯมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อย่างไรก็ตามในกรณีของแอดทริน ซึ่งเป็นยาที่สร้างจากแพะดัดแปลงพันธุกรรมและกำลังรอการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯนั้น ยาแอดทรินนี้ได้ผ่านการรับรองให้มีการใช้ได้ในสหภาพยุโรปแล้ว ในส่วนของประเทศในเอเชีย ศาตราจารย์เลย์ตันมั่นใจว่าบางประเทศได้ก้าวหน้าไปไกลกว่าสหรัฐฯในเรื่องของการพิจารณาอนุมัติรับรองยาที่สร้างจากสัตว์ดัดแปลง พันธุกรรมไปมากแล้ว

จากบันทึกการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (Inspector General (IG) Report) ของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯที่ได้เผยแพร่ในช่วงกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 มีการรายงานว่าจีนกำลังวางแผนที่จะลงทุน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯในด้านเทคโนโลยีชีวภาพภายในปี พ.ศ. 2553 ในบันทึกการตรวจสอบยังได้รายงานว่ากระทรวงเกษตรของสหรัฐฯยังไม่มีนโยบายควบคุมการนำเข้าของสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม และไม่มีแผนการในการตรวจติดตามการพัฒนาสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมชนิดใหม่ในประเทศอื่นๆ

รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นได้มีการกล่าวเป็นนัยถึงสิ่งต่างๆที่ประเทศในเอเชียกำลังดำเนินการศึกษาในรายงานข้อคิดเห็นที่ส่งให้ องค์การอาหารและยา ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังต้องการคำยืนยันจากสหรัฐฯว่าองค์การอาหารและยาจะมีการจัดตั้งกฎเกณฑ์การนำเข้าเพื่อเปิดช่องทางให้มี การนำเข้าสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมทั้งอาหารที่ได้รับมาจากสัตว์ที่ผ่านการฉีดวัคซีนหรือเคยได้รับยาที่สร้างมาจากจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ (Recombinant-Live Vaccines/Genetically Engineered (GE) Microorganisms) หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในสหรัฐฯ

อุตสาหกรรมสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมยังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น แต่ก็มีศักยภาพที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้มากมายอย่างเช่น ปัญหาด้านสุขภาพในโลก ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้อุตสาหกรรมนี้ยังช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแรงโดยมีการสร้างงานใหม่ให้กับคนในสังคม นายสโตติสช์ ได้กล่าวว่า บริษัทอควา เบาน์ตี้คาดว่าปลาแซลมอนของบริษัทจะช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในสหรัฐฯ ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนลดลงไปมากตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว

ในท้ายที่สุดเพื่อที่จะให้ผู้บริโภคมีการยอมรับเทคโนโลยีนี้ ประเด็นปัญหาต่างๆในด้านสังคม จริยธรรม และศาสนา ที่นอกเหนือจากขอบข่ายการดูแลขององค์การอาหารและยาควรจะต้องมีการยกขึ้นมาชึ้แจง ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้คาดการณ์ว่า สภาคองเกรสจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม และให้อำนาจแก่องค์การอาหารและยาเพิ่มขึ้นในการออกกฎระเบียบให้ผู้จำหน่ายมีการติดฉลากแสดงว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนั้น ได้รับมาจากสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกและตัดสินใจว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นหรือไม่


http://www.ostc.thaiembdc.org/news_us/Feb52_8.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 12:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

435. การให้ปุ๋ยทางใบกับพืช


การให้ปุ๋ยทางใบอาจไม่ใช่เทคนิคใหม่เอี่ยมที่วงการเกษตรเพิ่งเริ่มใช้ แต่ในปัจจุบันการให้ปุ๋ยในลักษณะนี้ยังคงได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพดีหากเปรียบเทียบกับการให้ปุ๋ยแบบอื่นๆ การให้ปุ๋ยทางใบอาศัยหลักการทางสรีรวิทยาของพืชที่สำคัญ 2 ประการคือการแพร่และการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารพืช นั่นคือ

1) พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารจากสารละลายจากทางใบและชิ้นส่วนอื่นของพืชผ่านทางเยื่อหุ้มบางๆ ด้วยการแพร่ โดยอาศัยความแตกต่างของความดัน ความเข้มข้น อุณหภูมิ ภายในต้นพืชและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและน้ำในต้นพืชก็มีส่วนสำคัญที่จะเร่งหรือลดการดูดซึมทางใบได้ด้วย

2) พืชสามารถดูดธาตุอาหารจากสารละลายทางรากตามปกติจากพลังงานจากการสังเคราะห์แสงโดยหลักการลำเลียงทั้งแบบ active และ passive transport




ดังนั้นการให้ปุ๋ยทางใบมีเทคนิคพื้นฐานดังนี้
1) ในการให้ปุ๋ยทางใบควรใช้ปุ๋ยเฉพาะเท่านั้น เช่น ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเกร็ด อย่าพยายามคิดพิเรนทร์ไปใช้ปุ๋ยเม็ดที่ให้ทางดินมาละลายน้ำรดเด็ดขาด

2) ประสิทธิภาพในการแพร่ผ่านใบพืชจะทำได้ดีในเวลากลางวัน (ที่มีแสง) แต่ควรให้ปุ๋ยในช่วงเช้าที่แดดอ่อนเท่านั้น หากเป็นช่วงบ่ายที่แดดจัดก็ต้องเสี่ยงกับอาการไหม้ ทั้งนี้ในเวลากลางคืนไม่ใช่ว่าพืชไม่สามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่ามาก

3) ควรให้ปุ๋ยกับทุกส่วนของต้นพืช โดยให้ทุกส่วนของพืชเปียกน้ำให้นานที่สุด ควรรดน้ำให้พืชเปียกชุ่มก่อนแล้วจึงให้ปุ๋ยตาม ระยะเวลาในการดูดธาตุอาหารไปใช้จะมากเท่าที่ใบพืชนั้นเปียก อาจใช้สารจับใบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมด้วยก็ได้

4) อย่าพยายามใช้ความเข้มข้นของปุ๋ยเกินกว่าที่ระบุไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่อากาศร้อนและแดดจัด การให้ปุ๋ยจะปลอดภัยกว่าหากใช้ความเข้มข้นต่ำๆ อย่าลืมคนให้ผสมกันดีก่อนใช้ด้วยทุกครั้ง



http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nahoad&month=05-06-2007&group=3&gblog=26
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 12:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

436. รายชื่อกล้วยไม้พันธุ์แท้ของไทยบางชนิดที่มีกลิ่นกลิ่นหอมแรง


ช้างกระ (Rhynchostylis gigantea)
ไอยเรศ (Rhynchostylis retusa)
เขาแกะ (Rhynchostylis coelestris)
สามปอยหลวง (Vanda denisoniana)
สะแล่ง (Vanda pumila)
เอื้องแซะหลวง (Dendrobium scabrilingue)
เอื้องคำปากไก่ (Dendrobium trigonopus)
เอื้องชะนี (Dendrobium senile)
ลิ้นกระบือ (Hygrochilus parishii)
กุหลาบกระเป๋าเปิด (Aerides falcata)
กุหลาบไอยราวรรณ (Aerides rosea)

กลิ่นหอมอ่อน
เข็มหนู (Smitinandia micrantha)
สามปอยชมพู (Vanda bensonii)
เอื้องเงินหลวง (Dendrobium formosum)
เอื้องตาเหิน (Dendrobium infundibulum)
เอื้องผาเวียง (Dendrobium albosanguineum)
เอื้องโรย (Bromheadia aporoides)
เอื้องดิน (Bromheadia finlaysoniana)
พญาไร้ใบ (Chiloschista parishii)
สิงโตนักกล้าม (Bulbophyllum lasiochilum)
จุหลัน (Cymbidium ensifolium)
กระเจี้ยง (Epigenium amplum)
สายสุคนธ์ (Trichoglottis cirrhifera)
อินจัน (Eria biflora)
เอื้องพร้าว (Phaius tankervilleae)
เอื้องจิ๋ว (Schoenorchis fragrans)

กลิ่นเหม็นคาว
เอื้องครั่งแสด (Dendrobium unicum)
สิงโตขยุกขยุย (Bulbophyllum dayanum)

กลิ่นเฝื่อน เหม็นเขียว
กะเรกะร่อนธรรมดา (Cymbidium aloifolium)
กะเรกะร่อนปากเป็ด (Cymbidium finlaysonianum)



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nahoad&group=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 12:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

437. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่
Technology of increate cassava yield

ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง และดร.เรณู ขำเลิศ



มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับแนวหน้า และกำลังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยอย่างกว้างขวาง และสามารถปลูกได้ในดินดอนทั่วไปอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดเมื่อมีการปฏิบัติดูแลอย่างดีพอสมควร มันสำปะหลังนับว่าเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูงมากพืชหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และในท้องที่ที่มีสภาพที่เหมาะสม อาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ โดยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์

ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายตายยากและให้ผลผลิตโดยง่าย โดยมีความเสี่ยงน้อยต่อความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การที่จะให้มันสำปะหลังแสดงออกถึงศักยภาพของแต่ละสายพันธุ์ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปย่อมเป็นที่รู้ในหมู่นักวิชาการว่าในการปลูกมันสำปะหลังนั้นมีหลัก และขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ปลูกควรจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติซึ่งได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ดีที่เหมาะสมกับท้องที่ การใช้ต้นพันธุ์ และการใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธี การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การปลูกย่างประณีตโดยใช้ระยะปลูกอย่างเหมาะสม การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอและสมดุล การปฏิบัติดูแลด้วยการเอาใจใส่พอสมควร ไปจนถึงการเลือกเวลาเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมาก เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เป็นต้น

ปัจจุบันนี้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีถูกสร้างออกมาให้เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นพันธุ์รับรองซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีมากกว่า 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น และนำอกมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังขึ้นมาพันธุ์หนึ่งและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งเป็นมันสำปะหลังอีกพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

จากการทดลองในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปี พ.ศ.2546-2547 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 สามารถให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ที่อายุ 13 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-28 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีมันสำปะหลังที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองแต่มีศักยในการให้ผลผลิตดีในบางท้องที่ และยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรรวบรวมหรือจัดหามาได้ ก็อาจนำมาใช้ได้ ปัจจุบันระบบการปลูกมันสำปะหลังอาจมีความจำเป็นจะต้องนำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้มากขึ้น ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ดังนั้นพันธุ์มันสำปะหลังที่จะนำมาใช้นอกจากจะมีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแล้วยังควรมีลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสังเกตและเลือกเก็บพันธุ์ที่ดีด้วยตนเอง


ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก
เมื่อผู้ปลูกมันสำปะหลังแน่ใจว่าพันธุ์ที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นพันธุ์ที่ดี ขั้นต่อไปก็คือควรจะปลูกรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ และเอามาเป็นท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงนำมาใช้เมื่อมีอายุระหว่าง 8-20 เดือน โดยใช้เฉพาะส่วนกลางของลำต้นที่มีความแก่-อ่อน พอเหมาะ ขนาดของท่อนพันธุ์ที่ใหญ่มักจะให้หัวมากกว่าท่อนพันธ์ที่เล็กถ้าสามารถตัดได้โดยไม่แตก ความยาวของท่อนอาจอยู่ที่ 15-25 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูกและเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่ค่อนข้างสั้นจะเหมาะกับการปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ในช่วงต้นฝนหรือผู้ปลูกมีต้นพันธุ์จำนวนจำกัด การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร อาจใช้ได้ดีเมื่อเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยได้ลึกหรือในสภาพที่ปัญหาวัชพืชที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการใส่ปุ๋ยและปลูกลึกในบางพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก


การเตรียมดิน
มีวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ และสภาพของดิน ปริมาณน้ำฝน และการจัดการอื่นๆ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หน้าดินลึก ดินร่วนซุย ในบางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องไถพรวน เพียงแต่ปลูกท่อนพันธุ์ และใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมดินที่ได้ถอนหัวมันออกแล้วก็อาจได้ผลผลิตดีพอๆ กับที่มีการเตรียมดินอย่างดี แต่สำหรับในบางดินบางสถานการณ์ การเตรียมดินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชต้องการอากาศมาก และต้องการสภาพของดินที่ร่วนโปร่งและฟู ในบางครั้งอาจจะต้องใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้กายภาพของดินมีสภาพเหมาะสมดังกล่าว และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้ลงไปในระดับลึก ซึ่งจะทำให้เกิดผลดี เมื่อเสียบท่อนพันธุ์ลงไปในระดับลึกได้โดยไม่ขัดขวางการงอกของรากจากรอยตัด และทำให้รากของต้นอ่อนมันสำปะหลังอยู่ในอยู่ในระดับใต้ดินที่ยังมีความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สามารถผ่านช่วงแล้ง 5-6 เดือนได้ อย่างไรก็ดี การปลูกลึกอาจสร้างปัญหาทำให้เก็บเกี่ยวยากขึ้น ในดินที่ค่อนข้างเหนียว เกษตรกรไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะน้ำหนักของเครื่องมือจะกดทับดินชั้นล่างให้เป็นแผ่นดินดานแข็ง ในดินที่มีปัญหาเกิดแผ่นดานขึ้นในชั้นใต้ดินควรใช้ไถสิ่วหรือไถระเบิดดาน (sub-soiler) กดลงไปในระดับลึกซึ่งจะช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและระบายอากาศดีขึ้น


การใส่วัสดุปรับปรุงดิน
ในท้องที่ซึ่งดินแน่นง่ายการไถกลบวัชพืช และเศษมันสำปะหลังจะช่วยให้ดินโปร่งร่วนในระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งอาจยังไม่เพียงพอต้องหาวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบดิบ เถ้าแกลบ กากหม้อกรองอ้อย หินฝุ่นจากภูเขาไฟ หินปูนฝุ่น ปูนขาว ยิบซั่ม พูไมซ์ เพอร์ไลท์ และซีโอไลท์ ฯลฯ มาใส่ ซึ่งแต่ละชนิดมีความถูก-แพง และการจัดการไม่เหมือนกัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งในดินที่แน่นง่ายหรือเนื้อดินค่อนข้างเหนียว และมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในดินน้อย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมไปกับวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นมาก จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นจำนวนมากอาจมีความจำเป็นต้องทำให้เจือจางลงโดยการเติมสารอินทรีย์ที่มีความเค็มน้อย เช่น ฟางข้าว แกลบ กากหม้อกรองอ้อย ฯลฯ และควรมีการหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนสลายไป ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใส่รองพื้นบ้างในกรณีของพื้นที่ซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน


การใส่ปุ๋ยรองพื้น
มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูง และมีอายุอยู่ในพื้นที่ปลูกค่อนข้างนาน จึงมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก ซึ่งผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินว่าจะสมดุลและสมบูรณ์เพียงใด มันสำปะหลังมีความสามารถในการสกัดธาตุอาหารจากหินและแร่ ซึ่งใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้ปูนขาว หินปูนบด (หินฝุ่น) โดโลไมท์บด พูไมซ์ ซีโอไลท์ สเมกไตท์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่าครึ่งที่เป้าหมายผลผลิตเท่ากัน เศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้มีธาตุอาหารในลักษณะที่สมดุลขึ้นแต่ต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างมาก ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และไม่สามารถหาเศษซากพืชหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้เพียงพอ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับหินปูนฝุ่นประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถคาดหมายผลผลิตระหว่าง 8-12 ตันต่อไร่ ในเวลา 12 เดือน โดยมีการลงทุนเพิ่มจากที่เกษตรกรเคยทำเพียงเล็กน้อย การคาดหมายผลผลิตที่มากกว่านี้อาจทำได้โดยใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรจะต้องปรับระยะปลูกให้ห่างออก ทำให้ปุ๋ยเจือจางลงหรือละลายช้าลงหรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อาจช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์สมดุลขึ้น และยังสามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน และทำให้หินแร่ในดินและวัสดุปรับปรุงดินที่ใส่ลงไปย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แกต้นมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลายเร็วหรือปุ๋ยเคมีอัตราสูงเป็นปุ๋ยรองพื้น อาจมีผลเสียต่อการงอกของท่อนปลูก และทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป (ขึ้นต้น) จะไม่ค่อยลงหัว


การพรวนดิน
ในดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเหนียว อาจมีความจำเป็นต้องพรวนหลายครั้ง หรืออาจใช้วิธีไถดะ ตากดินไว้ให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการพรวน แต่ในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินทราย อาจไถลึกเพียงครั้งเดียวหลังการหว่านปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ก็สามารถนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้เลย การพรวนดินให้ละเอียดมากเกินไปอาจทำให้ดินแน่นได้โดยง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งผู้ปลูกจะต้องสังเกตและไถพรวนอย่างเหมาะสม


การยกร่อง
อาจมีความจำเป็นเมื่อดินมีความลดเทน้อย หรือพื้นที่ขนาดใหญ่มากและเป็นดินที่มีโอกาสแฉะเมื่อฝนชุกหรือดินระบายน้ำยาก การยกร่องช่วยทำให้ใส่ปุ๋ยรองพื้นได้ง่ายขึ้นโดยใส่ปุ๋ยไว้ก้นร่องและพรวนกลบ ซึ่งจะทำให้ดินมีธาตุอาหารอยู่ในระดับลึก ต้นมันสำปะหลังใช้ปุ๋ยได้ดีแต่วัชพืชจะไม่มีโอกาสใช้ปุ๋ยที่อยู่ลึก จึงอาจช่วยทำให้ไม่ต้องกำจัดวัชพืชที่มีขนาดเล็กหรือมีการแข่งขันกับต้นมันสำปะหลังน้อย การยกร่องยังช่วยให้ง่ายต่อการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกอีกด้วย แต่สำหรับผู้มีความชำนาญก็อาจนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้โดยไม่ต้องยกร่องในพื้นที่ ซึ่งมีการระบายน้ำดี นอกจากนี้การยกร่องยังให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการชะล้างพังทลาย และการไหลบ่าของน้ำ


การนำท่อนพันธุ์ลงปลูก
มันสำปะหลังสามารถปลูกได้หลายวิธี ตั้งแต่ปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยลำต้นที่ตัดเป็นท่อน หรือปลูกโดยใช้ยอดที่มีความยาวประมาณ 1-2 ฟุต แต่ที่นิยมคือการปลูกด้วยลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน เรียกว่า “ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก” ซึ่งอาจใช้วิธีเสียบตั้งตรง หรือเอียงเล็กน้อย ในต่างประเทศมีการปลูกด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะวางท่อนปลูกนอนราบไปกับพื้น ซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพของดิน อุปกรณ์เครื่องมือ และแรงงานที่มีอยู่ และผลผลิตที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเลือดให้เหมาะกับวิธีการจัดการที่ดีที่สุดของตนเอง ผลผลิตสูงสุดจะได้จากการทำงาที่ประณีต และมีขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และภูมิอากาศ การปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยนั้น การปลูกตื้นให้ผลดีกว่าการปลูกลึกเพราะธาตุอาหารดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพที่ดีมักจะได้มาจากการปลูกในช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ ไม่มากจนเกินไปในระยะต้นฤดู เช่น เดือนพฤษภาคม เป็นต้น


การกำจัดวัชพืช
มันสำปะหลังที่มีอายุน้อยยังมีระบบรากไม่แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วจะไม่สามารถแข่งขันกับวัชพืชในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่ ในช่วงนี้จะต้องมีการควบคุมวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้จอบถาก ใช้รถไถเดินตามไถกลบ หรือใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ซึ่งมีทั้งประเภทควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น อาลาคลอร์ ฟลูมิโอซาซิน ประเภทสัมผัสโดยตรง เช่น พาราควอท และประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเสท ซึ่งผู้ปลูกมันสำปะหลังจะต้อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่การใช้สารควบคุมวัชพืชบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดิน และทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมลดลงหรือสูญหายไป หลังจากมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ไปแล้ว วัชพืชขนาดเล็กจะช่วยปกป้องหน้าดินให้มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ทำให้ดินร่วนโปร่งเหมาะต่อการขยายของหัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง จึงควรปล่อยวัชพืชขนาดเล็กให้เจริญเติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของมันสำปะหลัง เพื่อปกป้องดินจากการชะล้างพังทลาย และยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อดินอีกด้วย การปลูกมันโดยวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแนวในระดับลึก และเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันเจริญเติบโตขึ้น คลุมวัชพืชได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้มาก


การให้ปุ๋ยหลังปลูก
ในบางท้องที่ และบางระยะของฤดู การใส่ปุ๋ยรองพื้นจำนวนมากอาจทำให้ท่อนปลูกของมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรืออาจไม่งอกเลยทั้งแปลง ดังนั้นในขณะที่ความชื้นของดินไม่ดีนัก จึงควรใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่น้อย และใส่เพิ่มเติมเมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกรณีที่ยืดอายุเก็บเกี่ยวไปถึง 16 เดือน ควรพิจารณาให้เดือนที่ 10-13 เป็นช่วงต้นฝน และเลือกใส่ปุ๋ยในเวลาที่ดินมีความชื้น เช่น หลังฝนตก 1-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องฝังกลบปุ๋ย เพราะรากของมันสำปะหลังมักขึ้นมาอยู่บนผิวดิน เมื่อดินมีความชื้นผู้ปลูกมันสำปะหลังควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง และในช่วงที่ดินไม่มีความชื้น ซึ่งการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นอาจทำได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หินฝุ่น และปุ๋ยเคมี ซึ่งอาจแยกใส่หรือผสมกันแล้วใส่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาวัสดุต่างๆ


การให้ปุ๋ยทางใบ
เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมน วิตามิน คีเลตที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในใบ และพืชนำไปใช้ได้ทันที และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในพืชทั่วไป และมีคนนำมาใช้ในมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่ไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดินไว้อย่างเหมาะสม แต่มีความจำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังเพื่อชิงเวลา การใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ประณีตหรือสมบูรณ์ดีนัก อาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสกัดทุกธาตุอาหารจากดินตามความต้องการได้ การให้ปุ๋ยทางใบอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งทางราก และส่วนเหนือดินของต้นมันสำปะหลังได้ การใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปุ๋ยจุลธาตุที่มีองค์ประกอบของเหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ ในรูปคีเลต จะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างสมดุลดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนาวจัดหรือแห้งแล้งจัด อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การใช้ปุ๋ยหมักน้ำที่กรองแล้วฉีดพ่นทางใบ ซึ่งจะทำให้มีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักน้ำ ซึ่งจะต้องไม่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่มากเกินไป การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีความจำเป็นในช่วงฤดูหนาวหรือแล้งจัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยทิ้งใบ และเสริมธาตุอาหารที่ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถสกัดและดูดขึ้นจากดินได้ ในสภาพที่ดินมีน้ำน้อยหรือดินมีความเป็นกรด-ด่าง และแฉะ-แห้งไม่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปถ้าสามารถปรับสภาพดินและปุ๋ยในดินให้สมดุลเพียงพอแล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบจะช่วยเสริมให้ต้นมันรับธาตุอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่


การติดตามตรวจสอบการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง
หลังจากการปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ผู้ปลูกควรตรวจสอบความงอก และนำท่อนปลูกที่มีคุณภาพสูงมากไปปลูกเคียงคู่กับท่อนที่ไม่งอกภายใน 10 วัน โดยเสียบเคียงข้างห่างจากต้นเดิมประมาณหนึ่งฝ่ามือโดยไม่จำเป็นจะต้องเอาท่อนเดิมออก ต่อจากนั้นยังควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้มันสำปะหลังเติบโตเร็วหรือช้าเกินไป เช่น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูง 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนาดใบพอเหมาะ และมีสีใบไม่เขียวจัดหรือซีดเกินไป และเมื่อมีอายุได้ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวระหว่าง 2-4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูฝนมันสำปะหลังจะมีความสูงค่อนข้างมากแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวค่อนข้างน้อย แต่ในช่วงหลังฝนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีขนาดหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเข้าฤดูหนาวหรือช่วงแล้งฝนไม่ตก 2-3 เดือน มันสำปะหลังจะหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรตรวจสอบเป็นระยะๆ และขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการปรับปรุงและแก้ไขก่อนที่จะถึงระยะเวลาครึ่งหนึ่งของฤดูปลูก (การปลูก)


การเก็บเกี่ยว
มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตเปอร์เซ็นต์แป้ง และคุณภาพที่ดีเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป แต่การปลูกให้น้ำผ่านช่วงฤดูหนาวอาจทำให้ได้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในด้านคุณภาพของแป้งเมื่อเก็บมันสำปะหลังอายุต่ำว่า 8 เดือน แต่มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุระหว่าง 12 -18 เดือน จะมีการเจริญเติบโตของหัวและมีการสะสมแป้งในระดับสูงสุด และจะมีคุณภาพของเม็ดแป้งดีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง 12 -18 เดือนนั้น ควรจะอยู่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสมไม่ผ่านช่วงแล้งมายาวนาน มันสำปะหลังที่เติบโตเข้าสู่ระยะฝนเริ่มตกจะมีการเจริญเติบโตในรอบใหม่ ซึ่งจะดึงแป้งจากหัวไปใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวต่ำลง และในบางครั้งอาจจะต่ำจากเดิมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผ่านช่วงแล้งมายาวนาน ผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงควรประเมินผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งเป็นระยะๆ ก่อนทำการขุดและตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมเก็บบางส่วนของพื้นที่ไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์ให้มีการหมุนเวียนวงจรอย่างราบรื่น



หากผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง และประณีตพอสมควรแล้วย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังในไร่ของตนขึ้นได้หลายเท่าตัว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับต้นทุน แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเวลาที่มีอยู่ อย่างไรก็ดียังมีข้อจำกัดที่ผู้ปลูกอาจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป การเข้าทำลายของโรคแมลง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความคาดหมายเสมอไป แต่ผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถนำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้มีการสร้างงานใหม่ๆ และนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของบ้านเมืองอีกด้วย



http://web.sut.ac.th/cassava/index.php?name=10cas_technology&file=readknowledge&id=22
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 12:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

438. วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสถานะแตกต่างกัน

1. การใส่ปุ๋ยที่อยู่ในรูปแก๊ส ได้แก่ การใส่แอนไฮดรัสแอมโมเนียมีวิธีการใส่ดังนี้ คือ

1.1 ใส่ลงดินดดยตรงด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษจะต้องใส่ในระยะความลึกไม่ต่ำกว่า 10-15 เซนติเมตร ในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะหากเป็นดินเนื้อหยาบควรใส่ลึกกว่านี้เล็กน้อย


1.2 พ่นฟองแอมโมเนียลงในร่องนำชลประทาน เพื่อให้แอมโมเนียละลายน้ำแล้วกระจายไปกับน้ำสู่ดินอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ควรระมัดระวังการสูญหายของก๊าซแอมโมเนียด้วย




2. การใส่ปุ๋ยชนิดแข็ง มีวิธีการใส่ 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ

2.1 การใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมกับการปลูก ( Basal application ) เรียกปุ๋ยที่ใช้ในวิธีการนี้ว่า ปุ๋ยรองพื้นหรือรองก้นหลุม ( ถ้าปลูกพืชเป็นหลุม ) การใส่ปุ๋ยที่ค่อนข้างละลายง่ายพร้อมกับการหยอดเมล็ดหรือก่อนหยอดเมล็ด ควรใส่ในระยะที่ปุ๋ยอยู่ไม่ห่างจากเมล็ดมากนัก เพื่อให้กล้าอ่อนได้ใช้ประโยชน์โดยเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในระยะแรก ปุ๋ยรองพื้นเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน ( Starter fertilizer )


2.2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ( Top dressing ) คือ การใส่ปุ๋ยขณะที่มีการปลูกพืชอยู่ในพื้นที่แล้วเป็นการใส่ปุ๋ยเสริมปุ๋ยรองพื้นจากที่เคยใส่ก่อนปลูกเพื่อให้พืชได้รับปุ๋ยนั้นๆอย่างเพียงพอ วิธีการนี้เหมาะสำหรับปุ๋ยไนโตรเจนและควรมีการพิจารณาจำนวนครั้งที่ใส่ตามความเหมาะสม การใส่ปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยแต่งหน้ามี 4 วิธี ที่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของพืชที่ปลูกดังนี้


- โรยเป็นแถวแคบ ( Banding ) เป็นวิธีที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว โดยโรยปุ๋ยเป็นแถบข้างๆ แถวพืช ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ หากเป็นการใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ดจะต้องระวังไม่ให้แนวปุ๋ยอยู่ใกล้มล็ดพืชเกินไป เพราะความเค็มของปุ๋ยจะทำลายการงอกของเมล็ด เช่น การปลูกถั่วด้วยเครื่องปลูก ควรบังคับปุ๋ยให้อยู่สองข้างแถวเมล็ด ห่างจากแถวเมล็ดข้างละ 5 เซนติเมตร และลึกกว่าระดับเมล็ด 5 เซนติเมตร


- โรยเป็นแถวกว้าง ( Strip placement ) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่ขยายแถบปุ๋ยให้กว้างในระหว่างแถวพืช ซึ่งจะช่วยให้ดินบริเวณที่รับปุ๋ยได้มากขึ้น แต่เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของธาตุอาหารที่สูงขึ้นกว่าการหว่านทั่วแปลงแต่ไม่เข้มข้นสูงเหมือนแนวที่ได้รับการโรยเป็นแถบแคบจึงช่วยการกระจายของปุ๋ย และลดการตรึงปุ๋ยของดินได้


- การหว่านทั่วทั้งแปลง ( Broadcasting ) เพื่อให้ปุ๋ยมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ เป็นการปฏิบัติก่อนการปลูกเมื่อหว่านเสร็จแล้วอาจพรวนกลบก็ได้ หรือการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าในนาข้าว


- ใส่เป็นจุด ( Loalized placement ) หมายถึง การใส่ปุ๋ยที่ขุดหรือรูที่เจาะไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น วิธีนี้ใช้ได้ผลดีเฉพาะไม้ยืนต้น ที่มีการกกระจายของรากพืชหลายระดับแลหลายทิศทาง เช่น การใส่ปุ๋ยไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตแล้ว
การใส่ปุ๋ยลงไปในตำแหน่งที่เหมาะสมกับระบบรากพืช จะมีขอบเขตที่ไม่แพร่กระจายบนผิวดิน จะช่วยให้การเจริญเติบโตในระยะแรกที่ดีขึ้นและเป็นการจำกัดการเจริญเติบโตของวัชพืชดวย และเหมาะสำหรับปุ๋ยที่เคลื่อนย้ายได้น้อย เช่น ปุ๋ยฟอสเฟตที่โรยปุ๋ยเป็นแถวลึกกว่าเมล็ด 2 นิ้วให้ผลดีกว่าการโรยเป็นแถวข้างเมล็ด โดยห่างจากเมล็ดนิ้วครึ่งและลึกลงไป 2 นิ้ว



2.3 การใส่ปุ๋ยในลักษณะที่เป็นของเหลว


1. การใส่ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำ เป็นการใส่ปุ๋ยในอ่างเก็บน้ำแล้วสูบระบบการทำฝนเทียมหรือการพ่นฝอย ( Sprinkling system ) พืชที่ได้รับปุ๋ยทั้งทางใบและทางราก วิธีนี้เหมาะกับดินเนื้อหยาบ แต่ควรพิจารณาคุณสมบัติของปุ๋ยบงชนิดที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา และทำให้เกิดการตกตะกอนในถังน้ำ ตะกอนเหล่านั้นอาจจะอุดตันในระบบพ่นฝอย วิธีการใส่ปุ๋ยแบบนี้ เรียกว่า Fertigation ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ย หรือในการให้ปุ๋ยร่วมกับระบบชลประทาน ได้แก่ การใส่ปุ๋ยโดยการละลายปุ๋ยในน้ำชลประทานที่จะให้กับพืชในระดับใต้ผิวดิน หรือเหนือผิวดิน เช่น ในระบบน้ำหยด ซึ่งวิธีการนี้พืชจะได้รับน้ำชลประทานและปุ๋ยเคมีไปพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน วิธีการใช้ปุ๋ยวิธีนี้จัดได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดแรงงาน และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่ำกว่าการให้ระบบพ่นฝอย


2. การฉีดพ่นทางใบ ( Foliar sprays ) เป็นการใส่แบบฉีดพ่นให้กับพืชโดยทางใบ โดยการฉีดปุ๋นที่ละลายน้ำได้ง่ายให้เป็นละอองน้ำจับที่ใบหรือส่วนของต้นพืชเหนือดินเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติมจากที่เราจะดึงดูดขึ้นมาได้จากดิน อย่างไรก็ตาม การให้ปุ๋ยทางใบหรือส่วนของต้นเหนือดิน ถึงแม้ธาตุอาหารที่ฉีดให้จะสามารถเข้าสู่พืชได้เร็ว แต่ปริมาณธาตุอาหารที่ดูดซึมเข้าสู่พืชมักจะน้อย ดังนั้นการให้ปุ๋ยโดยวิธีการนี้เหมาะสำหรับการให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช และพืชที่มีระบบรากถูกทำลาย



หลักการพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบให้มีประสิทธิภาพ มีดังต่อไปนี้
1. พืชที่มีจำนวนของใบมากและมีแผ่นใบใหญ่ ก็จะมีพื้นที่ผิว ( Surface area ) ที่จะรับละอองปุ๋ยได้มาก และมีการดูดซึมธาตุอาหารได้สูงกว่าพืชที่มีใบเล็ก เนื่องจากใบมีช่องว่างซึ่งมีโอกาสให้ธาตุอาหารต่างๆ เคลื่อนเข้าไปสู่พืชได้ จึงมีการพัฒนาปุ๋ย ให้สามารถดูดไปใช้ได้โดยผ่านเข้าทางปากใบ ซึ่งโดยเฉลี่ยพืชมีปากใบ 100-300 ต่อตารางมิลลิเมตร ผิวใบด้านล่างมีจำนวนปากใบมากกว่าผิวด้านบน การมี่พืชมีปากใบเป็นจำนวนมากย่อมทำให้ธาตุอาหารพืชมีโอกาสเข้าสู่ใบได้มาก แต่อย่างไรก็ตามนอกจากปากใบแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ควบคุมการดูดธาตุอาหารเข้าสู่ใบพืช เช่น ชั้นคิวติเคิล ผนังเซลซูโลส และพลาสมาเมนเบรน ทั้งนี้สารละลายจะต้องผ่านชั้นเหล่านี้ให้ได้ก่อนจึงจะเข้าสู่เซลล์พืชได้


2. ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ ถ้าใช้เกินอัตราพอดีจะทำให้อัตราการดูดซึมได้ช้า และเป็นอันตรายต่อพืชอีกด้วย เช่น การใช้ปุ๋ยยูเรียควรมีความเข้มข้นของไบยูเร็ต ( Biuret ) ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 หากสูงกว่านี้จะทำให้ใบไหม้ และถ้าใส่ลงในดินก็ไม่ควรมีไบยูเร็ตสูงกว่าร้อยละหนึ่งจึงจะปลอดภัยแก่การใช้ ไบยูเร็ตเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตในขั้นตอนที่ใช้ความร้อน ถ้าการควบคุมอุณภูมิไม่เหมาะสมในขั้นนี้ ยูเรีย 2 โมเลกุลรวมตัวกันได้ไบยูเร็ต 1 โมเลกุลและแอมโมเนีย1 โมเลกุล นอกจากนี้พืชแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อความเข้มข้นของสารละลายปุ่ยแตกต่างดังแสดงในตารางที่ 8-1 แม้พืชพันธุ์เดียวกันแต่ในใบอ่อนและอวบน้ำ จะไม่อาจทนต่อสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงได้เท่ากับใบแก่หรือใบที่หนาและแข็ง ทั้งนี้เนื่องจากใบอ่อนดูดยูเรียตลอดจนอนุมูลอื่นๆ เช่น P, Mg, K , Zn และ Mn ได้รวดเร็วกว่าใบแก่แม้จะใช้ความเข้มข้นเดียวกัน ขนาดของหยดหรือละอองที่พ่นจับผิวใบก็ให้ผลแตกต่างกัน กล่าวคือ ละอองของสารละลายที่ใหญ่จะก่อให้เกิดใบไหม้ได้ง่ายกว่าละอองเล็ก


ตารางที่ 8-1 แสดงอัตราของปุ๋ยยูเรียที่พืชทนได้ ( น้ำหนักของยูเรียเป็น กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร )
พืช อัคราที่ทนได้ พืช อัตราที่ทนได้ พืช อัตราที่ทนได้ พืชต่างชนิดกัน ระยะเวลาการดูดซึมในพืชต่างชนิดกันได้เร็วช้า มากน้อยแตกต่างกัน


3. ปุ๋ยชนิดต่าง พืชจะใช้เวลาต่างดูดซึมได้เร็วต่างกัน อาทิ เช่น ไนโตรเจนในรูปของยูเรีย จะถูกดูดซึมเข้าไปได้เร็วกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม


4. พืชที่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ เมื่อได้รับปุ๋ย พืชก็จะดูดปุ๋ยได้ดีและเร็วกว่าพืชที่ไม่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ


5. การเคลื่อนที่ ( Mobility ) ของธาตุอาหารต่างๆ จะแตกต่างกันตามชนิดของธาตุอาหารและรูปของธาตุอาหารนั้นๆ



http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.1.2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 3:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

439. ปลูกพริกซูเปอร์ฮอท 5 ไร่ ฟันปีละ 4 แสน


เกษตรกร ต.หัวเรือ อ.เมืองอุบลราชธานี แห่ปลูกพริกขี้หนูพันธุ์เผ็ดที่สุดในโลก
"ซูเปอร์ฮอท" หลังพบว่ามีคุณสมบัติพิเศษทนโรค-แมลง และให้ผลผลิตสูง เก็บได้นาน หลังจากปลูกมา 5 ปี พบว่ามีรายได้สูงกว่าพริกขี้หนูพันธุ์พื้นเมืองถึงเท่าตัว ระบุใช้พื้นที่ปลูก 5 ไร่ โกยเงินเข้ากระเป๋าปีละ 4 แสนบาท

นางคำดี อ่อนดี เกษตรกรผู้ปลูกพริกขี้หนูพันธุ์ซูเปอร์ฮอทรายหนึ่ง ที่ ต.หัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา ได้ลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์ดังกล่าว มาปลูกในพื้นที่จำนวน 5 ไร่ หลังจากที่ได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายของบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด อีกทั้งต้องการความแปลกใหม่ของพันธุ์พริกขี้หนูที่ดี มีความทนทานต่อโรคและแมลงสูง และให้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด

หลังจากลงมือปลูกพริกเข้าสู่เดือนที่ 5-6 ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตพริกขี้หนูพันธุ์ซูเปอร์ฮอทได้ และให้ผลผลิตประมาณ 3-4 ตันต่อไร่ ด้านราคาถือว่าดีกว่าพริกพันธุ์พื้นเมือง เพราะคุณสมบัติตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อโดยตรงที่สวน อย่างช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาสามารถขายได้ราคา กก.ละ 20 บาท ในขณะที่พริกพันธุ์พื้นเมืองราคาเพียงกก.ละ 12 บาท ช่วยให้มีรายได้ทั้งฤดูกาลประมาณ 4 แสนบาท

"สิ่งที่ทำให้ฉันพอใจที่สุดก็ตรงที่พริกขี้หนูพันธุ์ซูเปอร์ฮอท สามารถเก็บผลผลิตได้กว่า 20 ครั้งต่อฤดูกาล แถมเผ็ดมาก ต้นแข็งแรง ผลสวย ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และขายง่าย ส่วนการดูแลรักษาก็ไม่ยาก บางครั้งก็ต้องอาศัยปุ๋ยและสารเคมีช่วย เมื่อรวมค่าใช้จ่ายแล้วไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อฤดูกาล" นางคำดี กล่าว

นางคำดี กล่าวอีกว่า จากการสอบถามเพื่อนเกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่ ต.หัวเรือ ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้จักพริกขี้หนูพันธุ์ซูเปอร์ฮอทมากขึ้น และหลายรายได้แบ่งพื้นที่ที่เคยปลูกพริกพันธุ์พื้นเมือง หันมาปลูกสายพันธุ์ดังกล่าวแล้ว

ทางด้าน นายสนอง มณีวรรณ์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด กล่าวว่า เมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์ซูเปอร์ฮอทจำนวน 50 กรัม สามารถเพาะปลูกได้กว่า 1 ไร่ นอกจากนี้ ทางบริษัทยังส่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายลงพื้นที่ให้คำแนะนำ และติดตามผลการปลูกของเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความมั่นใจรวมทั้งช่วยเหลือ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในอนาคตทางบริษัท มีนโยบายที่จะขยายพื้นที่ปลูกไปยังจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ


http://biothai.net/news/4429
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 3:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

440. เคล็ด (ไม่) ลับ กับการปลูกพริกให้ทันช่วงราคาสูง

พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ



พริก (Capsicum annuum) ที่ปลูกในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ เป็นพริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์ซุปเปอร์ฮอท ช่อระย้า จินดา ม่วงแดง หัวเรือ ปลูกในสภาพไร่และสภาพนา พื้นที่ปลูก 24,000 ไร่ ผลผลิตพริกสดทั้งพริกเขียวและพริกแดงออกสู่ตลาดปีละมากกว่า 31,900 ตัน คิดเป็นมูลค่า 684 ล้านบาท


จากรายงานของบุญส่ง เอกพงษ์ และคณะ พริกที่ให้ผลผลิตสามารถซื้อขายได้ในเดือนพฤศจิกายน จะหยุดให้ผลผลิตในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี ทั้งพริกเขียวและพริกแดงสด ช่วงพริกเขียวได้ราคาดีเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ราคากิโลกรัมละ 20-25 บาท ส่วนพริกแดงได้ราคาดีในเดือนธันวาคม - กลางมกราคม กิโลกรัมละ 40-50 บาท โดยเฉพาะในปี 2550 ราคาสูงถึง 60-85 บาท/กก. แน่นอนว่าเกษตรกรทุกคนมีความฝันอยากจะขายได้ เพราะตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน ราคาจะลดลงเรื่อยๆ จนถึง 8 บาท และ 15 บาทต่อกิโลกรัม ของพริกเขียวและพริกแดงตามลำดับ เกษตรกรจะหยุดขายเพื่อเก็บพริกสุกแดงเต็มที่ตากแห้ง จำหน่ายในรูปพริกแห้งแทน ดังนั้นจะจัดการอย่างไรจึงจะผลิตพริกออก
จำหน่ายได้ทันราคาสูงตามต้องการ

1. ต้องมีที่ดอนน้ำไม่ท่วม ดินดี มีความเป็นกรด-ด่าง 6.0-6.8 มีอินทรีย์วัตถุ 1.5 % ฟอสฟอรัส 10-20 พีพีเอ็ม., โปตัสเซียม 60 พีพีเอ็ม., แคลเซียม 100-200 พีเอ็ม., แมกนีเซียม 12-36 พีเอ็ม. มีความร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ไม่มีไส้เดือนฝอยรากปม

2. เริ่มเพาะต้นกล้าพริกตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม - กลางเดือนสิงหาคม เพื่อจะปลูกในเดือนกันยายน ในช่วงดังกล่าวฝนตกชุกที่สุดจะทำให้ต้นกล้าเน่า เพราะน้ำขังหรือดินแน่น เกษตรกรจะมีทางเลือก 2 ทาง

1. เพาะต้นกล้าในกะบะพลาสติก (ถาดหลุม) ถาดละ 104 หลุม ราคาใบละ 18 บาท โดยเตรียมวัสดุเพาะใส่ถาดหลุมประกอบด้วยดินผสม ได้แก่ ดิน : แกลบดำ : ปุ๋ยคอก = 4:1:1 นำดินผสมมารวมกับส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง + เชื้อไตรโคเดอร์มาสด + รำอ่อน อัตรา (100 กก. + 1 กก. + 5 กก.) อัตราดินผสม : ส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง = 4 : 1


เมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะต้องเป็นพันธุ์ดี ไม่มีโรคและแมลง ก่อนเพาะ 1 วัน ต้องนำไปแช่น้ำอุ่น 55 OC (น้ำเย็น 1 ส่วน + น้ำเดือด 1 ส่วน) นาน 20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อแอนแทรคโนส(กุ้งแห้ง) ที่สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้


เมล็ดที่ลอยน้ำแสดงว่าลีบให้เก็บทิ้ง หลังจากนั้นนำไปแช่ในสารละลายสปอร์เชื้อไตรโคเดอร์มาสด (เชื้อสด 4 ถุง + น้ำ 100 ลิตร) แช่เมล็ด 1 คืน จึงเพาะในกะบะหลุมละ 1 เมล็ด กลบดิน เก็บถาดในที่ร่มรำไร หรือมีตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง


หลังจากงอกได้ 15 วัน พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร (พ่นทุก 7-10 วัน) จะทำให้ต้นโตเร็วขึ้นไม่ควรใช้ยูเรีย เพราะต้นกล้าจะอวบเกินไป เมื่อต้นกล้าอายุ 1 เดือนนำมาปลูกได้


2. เพาะต้นกล้าในแปลงที่อยู่ในที่ดอน ใช้ตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง
วิธีการเตรียมเมล็ดทำเหมือนเพาะในกะบะทุกอย่าง

ส่วนวัสดุเพาะใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสด ผสมปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 2-3 กก./10 ตารางเมตร ร่วมกับหว่านปูนขาว 0.5-1 กก./10 ตารางเมตรคลุกเคล้าให้เข้ากัน จึงหว่านเมล็ด กลบดินใช้ไม้ตีให้เมล็ดจมดินทุกเมล็ด อย่าให้เมล็ดอยู่เหนือดิน เมื่ออายุ 1 เดือน ถอนไปปลูกได้


3. การปลูกพริก ไม่ควรปลูกเกิน 15 กันยายน หลังเตรียมดินดีแล้ว พร้อมปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวโดโลไมท์อัตรา 20-25 กก./ไร่


ก่อนปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 150-200 กก./ไร่ (ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆละ 250 กรัม + รำ 5 กก.) เกษตรกรนิยมปลูก
แบบปักดำ กดรากลงในดินจะทำให้โคนต้นช้ำง่าย ต้นกล้าจึงต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน ถ้าต้องการให้ต้นกล้าดูดอาหาร แตกกิ่งได้เร็วขึ้นควรปลูกแบบหลุม และยกร่องเพื่อป้องกันน้ำขัง ในหลุมรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้ง(ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆละ 250 กรัม + รำ 5 กก.) อัตราหลุมละ 100 กรัม ก่อนปลูกแช่รากพริกด้วยเชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัมละลายในน้ำ 100 ลิตร แช่นาน 30 นาที จนกว่าจะปลูกเสร็จ (ถ้าปลูกไม่เสร็จให้ละลายเชื้อใหม่อย่าแช่รากทิ้งไว้) การปลูกแบบหลุมเมื่อรากฟื้นตัวจะดูดอาหารได้ทันที และป้องกันโรครากเน่าและโคนเน่าด้วย ซึ่งในฤดูฝนเสี่ยงต่อโรคในดินหลายชนิด ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่ากำจัดด้วยสารเคมี


4. การดูแลรักษาพริกหลังปลูก 15 วัน พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนออกดอก) พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงผลอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนถึงเก็บเกี่ยว) พ่นแคลเซียมไนเตรท อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในช่วงติดผลเล็กเพื่อแก้ปัญหาเกิดผลนิ่ม ปลายผลเหี่ยวเนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมและป้องกันไม่ให้เชื้อ Colletotrichum spp. สาเหตุโรคกุ้งแห้งเข้าทำลายซ้ำ พ่นสปอร์เชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัม + น้ำ 200 ลิตรร่วมกับน้ำหมักชีวภาพทุก 1 เดือน ถ้ามีไร โรค แมลงศัตรูทำลายให้ใช้สารเคมีตามความเหมาะสมหรือพ่นสลับกับน้ำหมักสมุนไพร


5. การให้ปุ๋ย ระยะ 1 เดือนแรก ก็ให้ทางดินร่วมกับทางใบเป็นหลัก โดยการให้ทางดินก็ให้สูตร 46-0-0 สลับกับ 15-0-0 หรือ 15-15-15 ในเดือนแรก ในอัตรา 5 กก.ต่อไร่/ครั้ง แต่ไม่เกิน 10 กก.ต่อไร่/ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ส่วนทางใบใช้สูตร 20-20-20 สลับ 30-20-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ในอัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ระยะเดือนที่ 2-3 ระยะนี้พริกมีอายุ 30-90 วัน ซื่งมีการติดผลของพริกในชุดแรก ธาตุอาหารทางดินและทางใบยังจำเป็นเหมือนเดิม ทางดินใช้สูตร 15-15-15 สลับ 13-13-21 ส่วนทางใบใช้สูตร 15-0-0 เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียมในช่วงติดผลเล็ก ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร


ระยะเดือนที่ 4-6 ระยะนี้พริกมีอายุ 120-180 วัน ซื่งมีการเก็บผลผลิตของพริกในชุดแรกเก็บได้มาก ธาตุอาหารทางดินและทางใบยังจำเป็นเหมือนเดิม ทางดินใช้สูตร 15-15-15 สลับ 13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยหมักแห้งผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาสด อัตรา 1:25 ส่วนทางใบใช้สูตร 20-20-20 สลับ 10-20-30 ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ปุ๋ยทุกครั้งหลังเก็บผลผลิตจำหน่าย




การทำปุ๋ยหมักแห้ง
1. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 3 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ

2. ปุ๋ยคอก 400 กก. + แกลบดิบเก่า 100 กก. + รำอ่อน 30 กก. + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ

3. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากถั่วเหลือง 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ (10 ลิตรต่อปุ๋ยหมัก 100 กก.)

4. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากตะกอนอ้อย 2 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ (10 ลิตรต่อปุ๋ยหมัก 100 กก.)


วิธีทำ
ผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลในน้ำ ใส่บัวรดบนส่วนผสมที่มีปุ๋ยคอก แกลบ รำ โดยวนจากข้างนอกเข้าข้างใน อย่าให้แฉะถ้าแฉะมาก ความร้อนจะสูงและเป็นก้อนและอย่าแห้งเกินไป (กำปุ๋ยหมักถ้าเป็นก้อนความชื้นพอดี ถ้าแผ่กระจายจะแห้งเกินไป) หลังทำแล้ว 8 ชั่วโมง ความร้อนในกองปุ๋ยจะสูงมากให้กลับปุ๋ยในกองทุกวัน ประมาณ 7-10 วัน ความร้อนในกองจะปกติเก็บใส่ถุงไว้ใช้ต่อไป หรือถ้ามีถุงปุ๋ยให้กรอกใส่ถุงเลยเพื่อความสะดวกในการกลับกระสอบปุ๋ยหมักและการขนย้าย




กรมวิชาการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0-2561-2825, 0-2940-6864
โทรสาร : 0-2579-4406

http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n12/v_6-july/korkui.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 3:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

441. อินโดฯ เรียกร้องให้ประชาชน "ปลูกพริก" หลังราคาพุ่งสูงถึง 360 บ./กิโล


หลังจากประสบกับปัญหาราคาพริกที่สูงขึ้นถึง 5 เท่าในช่วงปีที่ผ่านมา

ประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน แห่งอินโนีเซีย กล่าวว่า ประชาชนควร "ริเริ่ม"ปลูกพริก ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปรุงอาหารของชาวอินโดนีเซีย ขณะที่นางมารี เอลก้า ปังเกสตู รมว.การค้า กล่าวว่า เธอได้ปลูกพริกไว้ในกระถางดอกไม้ที่บ้านของเธอแล้วกว่า 200 ต้น และได้กล่าวอย่างสั้นๆเมื่อวันพฤหัสฯที่ผ่านมาว่า กระทรวงเกษตรฯได้เริ่มให้ความรู้ในการปลูกพริกแก่ประชาชนทั่วไป และสนับสนุนให้ประชาชนผู้บริโภคปลูกพริกไว้ในบริเวณบ้านของตนเอง

ราคาพริกเริ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา หลังเกิดภาวะขาดแคลนอย่างหนัก โดยราคาพริกคละชนิดได้พุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 100,000 รูเปียห์ หรือประมาณ 360 บาท ขณะที่พ่อค้าอาหารรายหนึ่งในเขตชวาตะวันออกกล่าวว่า ตนจำใจต้องลดจำนวนพริกในอาหารลง "เราใช้พริกแดง แต่เพราะว่าราคามันแพง เราไม่มีปัญญาซื้อ จึงเปลี่ยนมาใช้พริกสีเขียวแทน"




http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294650165&grpid=&catid=06&subcatid=0600

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=25a40a33750f1be0&clk=wttpcts
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 3:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

442. capsicum คือ พริกชนิดใด




พืชในกลุ่มพริก (Capsicum) ที่พบในประเทศไทย มีดังนี้

Capsicum annuum var. annuum = พริกหยวก (ภาคใต้ = ดีปลีเมือง) (ภาษาอังกฤษ=Chili, Red pepper, Sweet pepper)


Capsicum annuum var. acuminatum = พริกชี้ฟ้า (ภาคเหนือ = พริกเดือยไก่, พริกหนุ่ม, พริกหลวง) (กรุงเทพฯ = พริกมัน, พริกเหลือง) (เชียงใหม่ = พริกแล้ง) (ภาษาอังกฤษ = Chili spur pepper)



Capsicum annuum var. cerasiforme = พริกตุ้ม (ภาคกลาง = พริกปุ่ม) (กรุงเทพฯ = พริกม่วง) (ภาษาอังกฤษ = Cherry pepper)


Capsicum annuum var. grossum = พริกยักษ์ (ลำปาง = พริกมะยม) (ภาษาอังกฤษ = Paprika, Sweet pepper)


Capsicum chinensis = พริกน้อย


Capsicum frutescens var. frutescens = พริกขี้หนู (ปัตตานี = ดีปลี) (ภาคใต้ = ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก) (ภาคเหนือ = พริกแด้, พริกแต้, พริกแต้หนู, พริกนก) (ภาคอีสาน = หมักเพ็ด)


Capsicum frutescens var. baccatum = พริกน้ำเมี่ยง (เชียงใหม่ = พริกมะต่อม) (ภาษาอังกฤษ = Cherry capsicum)


Capsicum frutescens var. fasciculatum = พริกซ่อม (ภาคเหนือ = พริกก้นชี้, พริกก้นปิ้น) (ภาษาอังกฤษ = Cluster pepper)




นักชีวเคมีได้วิเคราะห์พบ ว่า รสเผ็ดของพริกเกิดจากสาร capsicin ที่แฝงอยู่ในบริเวณรก (placenta) ของผล แต่ไม่อยู่ในเนื้อและเปลือกพริก การวิเคราะห์โครงสร้างเคมีของ capsicin ทำให้รู้ว่ามันมีชื่อ 8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide ซึ่งมีสูตร C18 H23 NO3 มีน้ำหนักโมเลกุล 305.46 มีจุดหลอมเหลว 65 องศาเซลเซียส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ได้ดี

นอกจากนี้มันยังมีสมบัติทนความร้อน ความเย็นได้ดีด้วย ดังนั้น การต้มหรือการแช่แข็งจะไม่ทำให้พริกเผ็ดน้อยลงหรือมากขึ้นแต่อย่างใด และถ้าต้องการจะแก้รสเผ็ด ผู้สันทัดกรณีแนะนำว่า น้ำหรือเบียร์ก็พอช่วยได้บ้าง แต่ถ้าจะให้ดีให้กินอาหารที่มีไขมัน หรือเครื่องดื่มที่มี ethonol มาก ก็จะช่วยได้ดีขึ้น และถ้าพริกมีรสขม นั่นก็เพราะคนกินได้เคี้ยวเมล็ดพริกครับ


การอ้างอิง
[1] ::CHONMEEDEE.COM::ชลมีดี ดอท คอม(เว็บ)
www.chonmeedee.com



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=697873ff03557840&clk=wttpcts
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 3:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

443. หน่วยวัดความเผ็ดมัน คือ อะไร ?


หลังจากถามตอบรอบโลกได้เสนอเรื่อง ฮาบาเนโรพริกที่เผ็ดที่สุดในโลกไปแล้ว ก็มีแฟนคอลัมน์ถามไถ่กันเข้ามาต่อไปอีกว่าจะทราบได้อย่างไรว่าพริกชนิดไหนเผ็ดขนาดไหน มีเกณฑ์วัดความเผ็ดหรือไม่ และก็เช่นเคยที่ทีมงานจะนำคำตอบมาทำความกระจ่างให้แก่แฟนคอลัมน์

เกณฑ์วัดความเผ็ดร้อนสากลที่ใช้วัดระดับความเผ็ดของพริกหรือผักผลไม้ที่มีสารแคปไซซินซึ่งให้ความเผ็ดร้อนนี้เรียกว่า สโกวิลล์ (Scoville) เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อของผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับนี้ ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ ลินคอร์น สโกวิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน โดยเขาได้คิดค้นระดับวัดความเผ็ดนี้ขึ้นในปี 1912 ขณะทำงานอยู่ที่บริษัทผลิตยาพาร์ก เดวิส เพื่อวัดความฉุนหรือความเผ็ดร้อนของพริกต่างชนิดกัน

วิธีการทดสอบความเผ็ดแบบดั้งเดิมของสโกวิลล์นั้น เขาใช้สารละลายของพริกสกัดเจือจางลงในน้ำละลายน้ำตาลจนกระทั่งไม่รับรู้ถึงความร้อนอีก และการเจือจางนี้เองจะให้ระดับความเผ็ดร้อนเป็นแบบสโกวิลล์ โดยพริกหรือพริกไทยที่ไม่มีสารแคปไซซินเลยก็จะมีค่าสโกวิลล์เป็น 0 หมายความว่าไม่สามารถรับรู้ถึงความเผ็ดร้อนได้เมื่อทำการเจือจาง ในทางตรงกันข้าม พริกที่เผ็ดที่สุดอย่างฮาบาเนโรจะมีค่าสโกวิลล์สูงถึง 300,000 หรือมากกว่า เป็นการชี้ชัดว่าสารสกัดของพริกชนิดนี้ต้องเจือจางถึง 300,000 ครั้งกว่าที่แคปไซซินจะหมดไป

ทว่า การทดสอบความแบบเผ็ดด้วยวิธีดั้งเดิมนี้ก็มีจุดอ่อนอย่างมากคือ ระดับความเผ็ดที่วัดได้จะไม่แน่นอน เนื่องจากการทดสอบต้องขึ้นอยู่กับคนที่เป็นผู้ทดสอบ ต่างคนต่างเวลาก็ทำให้ระดับที่วัดคลาดเคลื่อนได้

แต่ในปัจจุบัน มีการพัฒนาวิธีการวัดระดับความเผ็ดของพริกให้ทันสมัยและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น โดยใช้โครมาโทกราฟฟีเหลวคุณภาพสูงหรือเอชพีแอลซีในการวัดระดับความเผ็ดแทน วิธีนี้อาจเรียกว่ายิลเลตต์ เมธอดก็ได้ ซึ่งวิธีการนี้จะระบุและวัดสารเคมีที่ผลิตความร้อน แล้วจึงนำมาหาค่าที่ได้คำนวณด ้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ แต่ผลที่ได้จะออกมาเป็นหน่วยความเผ็ดแบบเอเอสทีเอ ซึ่งเมื่อคูณด้วย 15 ก็จะได้หน่วยสโกวิลล์ออกมา แต่ผลการคูณเป็นเพียงค่าประมาณเท่านั้น และผู้เชี่ยวชาญก็ยืนยันว่าผลลัพธ์อาจน้อยกว่าวิธีการของสโกวิลล์ 20-40%

สำหรับความเผ็ดที่วัดได้จากพริกขี้หนูสวนบ้านเรานั้นจะอยู่ที่ 50,000 - 100,000 สโกวิลล์ ขณะที่สารแคปไซซินบริสุทธิ์นั้นมีค่าประมาณ 15,000,000-16,000,000 สโกวิลล์ ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสต์บุ๊คว่าเผ็ดที่สุดในโลกซึ่งก็คือพริกฮาบาเนโรจากเรด ซาบีนานั้นวัดค่าได้ถึง 350,000 - 577,000 สโกวิลล์เลยทีเดียว




โดย ผู้จัดการออนไลน์

http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=5363

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=03bcf1110d8d5218&clk=wttpcts
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 3:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

444. ในเมืองไทยปลูก "ฮอป" ที่ไหน ?



ในวงการผู้นิยม ดื่มเบียร์ทุกๆ ยี่ห้อ ทั้งเพื่อพักผ่อนหย่อนใจและสังสรรค์กันในหมู่ญาติมิตร และเพื่อนฝูง อาจจะมีผู้เคยสงสัยว่ากลิ่นและรสขมๆ ของเบียร์นั้นมาจาก การผสมสารอะไร บางท่านอาจจะเคยทราบมาก่อนว่ามีการผสมฮอพลงไปในเบียร์ ฮอพ ที่กล่าวถึงนี้คือสารอะไรกันแน่

ฮอพ (hop) เป็นชื่อพืชจำพวกไม้เลื้อยอายุหลายปี ชนิดหนึ่งในวงศ์ Cannabaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกกัญชาที่เป็นยาเสพย์ติดและพืชเส้นใย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Humulus lupulus ฮอพเป็นพืชพื้นเมืองในแถบทวีปยุโรปตอนเหนือ ทุกวันนี้ยังคงมีขึ้นอยู่มากมายในป่าธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นต้นที่หลุดออกไปจากบริเวณที่ปลูก ฮอพค่อยๆ เข้ามาแทนที่พืชอื่นๆ อีกหลายชนิดในการปรุงแต่งรสชาติของเบียร์ ในราวศตวรรษที่ 16 มีการนำเอาไปปลูกในสหราชอาณาจักรจากประเทศเยอรมนี ปัจจุบันมีปลูกในบริเวณที่สภาพเหมาะสมในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสภาคเหนือ และประเทศที่ลุ่มต่ำและประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ไปทางทิศตะวันออกผ่านยุโรปตอนกลางไปจนถึงประเทศรัสเซีย

ต้นฮอพเป็นไม้เลื้อยที่มีอายุยืนนานหลายปี มีความสูงถึง 6 เมตร มักเลื้อยพาดพันไปตามค้างที่เกาะในแนวตามเข็มนาฬิกา ลำต้นมีลักษณะเป็นมุมเหลี่ยมและมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวที่แยกออกเป็นแฉกตื้นๆหรือเป็นพูๆ ดูคล้ายนิ้วมือ และมีหูใบ (stipule) รูปแหลมตรงโคนก้านใบ ต้นตัวผู้เมื่อโตเต็มที่ออกดอกเป็นช่อเล็กยาว 4–5 มิลลิเมตร ที่ตรงซอกใบและปลายกิ่ง ต้นตัวเมียออกดอกเป็นช่อขนาดเล็กกว่า ในระยะแรกมีลักษณะเป็นกระจุกฟูเล็กๆ เรียกว่า burr ต่อมาจึงเติบโตขึ้นเป็นอวัยวะที่มีกลีบเรียงซ้อนๆ กัน ซึ่งเป็นใบเลี้ยงและใบเลี้ยงย่อย สีเขียว ดูคล้ายลูกโคน (cone) ของต้นสน มีขนาดยาว 4 เซนติเมตร เรียกว่า strobilus (ดังภาพ) พันธุ์ของฮอพหลายพันธุ์ที่ผลิต ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการผลิตเป็นการค้า มี รูปร่างโดยทั่วไปไม่แตกต่างกันมากนัก

การปลูกต้นฮอพต้องมีการดูแลที่พิถีพิถันมาก ต้องจัดทำค้างด้วย เสาหินและลวดให้ต้นเลื้อยไต่ไปได้ มีการตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งเอาเหง้าที่แผ่กระจายมากเกินไปออกไปจากใต้โคนต้น และให้ปุ๋ยธรรมชาติจำพวก ปุ๋ยคอก การเก็บช่อดอกที่เรียกว่า strobilus นั้น แต่เดิมใช้เก็บด้วยมือทำให้ต้องการแรงงานเพิ่มเติมมากกว่าปกติ ปัจจุบันใช้เครื่องจักรเก็บเป็นส่วนใหญ่ทำให้ต้นได้รับความเสียหายไปบ้าง สำหรับการขยายพันธุ์นิยมใช้การปักชำส่วนของโคนต้น แต่ปลูกเฉพาะต้นตัวเมียเท่านั้น เพราะใช้ได้เฉพาะช่อดอกตัวเมีย หลายบริเวณมีการตัดฟันต้นฮอพป่าให้หมดไป เพื่อป้องกันการผสมเกสรและไม่ให้เกิดการติดเมล็ดขึ้นบนช่อดอกตัวเมีย

เนื่องจากการปลูกต้นฮอพขึ้นมาเกือบทั้งหมด เพื่อเอาช่อดอกของ ต้นตัวเมีย ซึ่งมีสารลูพูลิน (lupulin) ให้รสขมในเบียร์ และยังทำหน้าที่ช่วยรักษาสภาพ (preservative) ควบคุมการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ในสหราชอาณาจักรช่อดอกต้องอบให้แห้งในเตาเผาที่เรียกว่า kiln แล้วรมด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนที่จะส่งออกสู่ตลาด นอกจากนี้ยอดอ่อนของ ต้นฮอพป่าและฮอพปลูก เมื่อเอามาอบไอน้ำหรือนึ่งแล้วใช้เป็นผักสดได้


... มีที่ ไร่บุญรอดบริวเวอรี่ 2 ดอยวาวี จ.เชียงราย .....



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=02faad5fb2b4b2bf&clk=wttpcts
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 4:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

445. ประโยชน์ของข้างบาร์เล่ย์


มอลท์ ผลิตภัณฑ์จากข้าวบาร์เลย์
มอลท์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาเมล็ดธัญพืชไปเพาะให้งอก ภายใต้สภาพที่ควบคุมในช่วงระยะหนึ่งเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแป้งที่สะสมภายในเมล็ดธัญพืชนั้นเป็นน้ำตาล โดยอาศัยน้ำย่อยที่สร้างขึ้นภายในเมล็ด จากนั้นจึงนำไปอบให้แห้ง (kilning) โดยส่วนที่เป็นเศษรากฝอย (dried rootlets) ถูกแยกออกไปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากขบวนการดังกล่าว เรียกว่า “มอลท์”


เมล็ดธัญพืชที่สามารถนำไปทำมอลท์ ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวฟ่างและข้าวไรย์ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือมอลท์ที่ได้จากข้าวบาร์เลย์

โดยปกติเมื่อนำเมล็ดข้าวบาร์เลย์ไปผ่านขบวนการทำมอลท์ (malting proces))เพื่อให้ได้มอลท์ออกมานั้นน้ำหนักของมอลท์ที่ได้จะน้อยกว่าน้ำหนักเมล็ดข้าวบาร์เลย์ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบประมาณ 1 ใน 4 การที่น้ำหนักแห้งลดลง เนื่องจากในระหว่างขบวนการทำมอลท์สารบางชนิดอาจถูกละลายออกไปกับน้ำ ฝุ่นละอองบางส่วนที่ติดอยู่กับเมล็ดก็ถูกชะล้างออกไป ชิ้นส่วนบางส่วนของต้นอ่อนก็ถูกแยกออกไป นอกจากนี้ในขณะที่เมล็ดกำลังงอกมีการหายใจซึ่งทำให้สารประกอบทางเคมีบางส่วนถูกนำไปใช้ในการสร้างพลังงานเพื่อการงอกของเมล็ดและสารประกอบทางเคมีบางชนิดที่เกิดขึ้นก็ถูกปลดปล่อยออกไปด้วย จึงทำให้น้ำหนักแห้งของเมล็ดลดลง



มอลท์นำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย ได้แก่
1. อุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ มอลท์ที่ผลิตได้ทั้งหมดส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการผลิตเบียร์ ซึ่งในการผลิตเบียร์นั้นมอลท์จะถูกนำไปต้มอุ่นกับน้ำในถังทองแดงขนาดใหญ่ แล้วกรองเอากากมอลท์ออก จากนั้นนำไปเติมดอกฮอพ ( hop ) นำไปต้มและกรองโปรตีนที่ไม่ละลายออก แล้วนำของเหลวที่ได้ไปหมักด้วยเชื้อยีสต์ ( yeast ) เมื่อหมักบ่มได้ที่แล้วนำไปกรองและบรรจุขวดเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป

2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ประเภทกลั่น ประมาณ 10 % ของมอลท์ที่ผลิตได้ทั้งหมดถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์และผลิตวิสกี้

3. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร มอลท์สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ได้ เช่น อาหารเสริม อาหารเด็กอ่อน บดเป็นแป้งเมื่อผสมกับแป้งข้าวสาลีสำหรับใช้ทำอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์เป็นส่วนผสมของกาแฟ น้ำนมเข้มข้นและอื่น ๆ นอกจากนี้กากมอลท์ที่ได้จากอุตสาหกรรมผลิตเบียร์และแอลกอฮอล์

4. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ มอลท์ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการแพทย์สิ่งทอและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่น ผสมในอาหารเชื้อโรค เป็นต้น




ข้าวบาร์เลย์กับพืชอาหารสัตว์
นอกเหนือจากการทำมอลท์หรือการมอลท์ทำเป็นอาหารสัตว์แล้วข้าวบาร์เลย์ยังเป็นอาหารสัตว์ได้ในรูปของเมล็ด หญ้าแห้ง หญ้าหมักและผลพลอยได้อื่นจากข้าวบาร์เลย์

1. เมล็ดข้าวบาร์เลย์ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ แต่มีโปรตีนและไขมันเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเมล็ดข้าวบาร์เลย์ประกอบด้วยแต่ธาตุอาหาร วิตามินและสารอาหารที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้าวบาร์เลย์ชนิดโปรตีนสูง ดังนั้นเมล็ดข้าวบาร์เลย์จึงเหมาะแก่การใช้เป็นอาหารสัตว์ทั่วไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมล็ดข้าวบาร์เลย์จะมีคุณหารสูงแต่เมล็ดข้าวบาร์เลย์ทั้งเมล็ดก็ให้พลังงานต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับข้าว ข้าวโพดและข้าวฟ่าง ดังนั้นเมล็ดข้าวบาร์เลย์จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงลูกสัตว์ขุน

2 .หญ้าสดและหญ้าแห้ง ข้าวบาร์เลย์สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ทั้งในรูปตัดให้สัตว์กินสด หรือให้แทะเล็มในแปลงปลูก เป็นลักษณะหญ้าสดและนำมาทำให้แห้งเป็นหญ้าแห้งเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ใช้ยามที่ต้องการได้ในกรณีให้สัตว์แทะเล็มต้นข้าวบาร์เลย์ในแปลงปลูกนั้นจะต้องมีการใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ต้นข้าวบาร์เลย์สามารถเจริญเติบโตขึ้นมาได้ทันกับการแทะเล็ม อย่างไรก็ตามควรต้องระวังอิทธิพลของไนโตรเจนในรูปของไนเตรทที่อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ด้วย สำหรับในกรณีที่เป็นหญ้าแห้ง ระยะเวลาการตัดต้นข้าวบาร์เลย์เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะมีผลกระทบต่อคุณภาพของหญ้าแห้ง ระยะเวลาการตัดต้นข้าวบาร์เลย์เพื่อนำไปทำหญ้าแห้งจะตัดเมื่อข้าวบาร์เลย์มีการพัฒนาของช่อดอกและเป็นน้ำนมหรือเริ่มเป็นแป้งอ่อน เป็นระยะที่ต้นข้าวบาร์เลย์มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด ต้นข้าวบาร์เลย์ที่ตัดได้จะต้องทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว แล้วเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวังให้เมล็ดและช่อข้าวบาร์เลย์หล่นและสูญเสียน้อยที่สุด การทำหญ้าที่ตัดแห้งอาจทำได้โดยการตากแดดทิ้งไว้ในแปลง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณภาพของหญ้าแห้งเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ

3. หญ้าหมัก หญ้าหมักที่ทำจากต้นข้าวบาร์เลย์นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวัวควาย ข้าวบาร์เลย์ที่นำมาทำหญ้าหมักที่มีคุณภาพดีจะต้องเป็นข้าวบาร์เลย์ที่มีต้นไม่สูงมาก หญ้าหมักที่ดีจะให้คุณภาพเหมือนกับหญ้าสด และสามารถเก็บไว้ได้นานพอสมควร

4. ตอซังข้าวบาร์เลย์สามารถใช้ได้ดีสำหรับกับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย เนื่องจากตอซังข้าวบาร์เลย์มีโปรตีนต่ำความสามารถในการย่อยสลายได้ของสัตว์ต่ำและให้พลังงานต่ำ ตอซังข้าวบาร์เลย์จึงเหมาะที่จะใช้ผสมในอาหารสัตว์ชนิดอื่น เพื่อลดอาการท้องอืดของสัตว์ นอกจากนี้การนำตอซังข้าวบาร์เลย์มาเป็นอาหารสัตว์ยังอาจเพิ่มคุณค่าทางอาหารได้โดยการผสมยูเรีย ซึ่งอาจทำได้โดยการผสมน้ำราดลงไปบนกองของตอซังหรือฉีดพ่นลงไป



http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19515.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 4:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

446. วิธีกำจัดปลวก แบบง่ายๆไม่เสียตังค์เยอะ


1. การใช้สารสมุนไพร
2. การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
3. การใช้ เชื้อรากินปลวก


อันที่ 1 เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มีจำหน่าย และอันที่ 2 เป็นชีวภัณฑ์ ที่มีขั้นตอนในการใช้ ที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้จริง ๆ และต้องให้ตัวไส้เดือนฝอยถูกตัวปลวกจึงจะมีผลต่อการกำจัด

การใช้เชื้อรากินปลวก (เชื้อราเขียว หรือ Metarrhizium) โดยเอาเชื้อราเขียว ที่เพาะเลี้ยงบนเมล็ดข้าวนึ่ง มาถ่ายใส่ถุงกระดาษ (ถุงกระดาษสีน้ำตาลหรืออาจจะใช้กระบอกไม้ไผ่แห้งก็ได้) แล้วนำไปฝังดินไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณบ้าน โดยขุดหลุมให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินที่ขุดขึ้นมาอย่างหลวม ๆ (ไม่กดดินจนแน่น) ตัวปลวกที่อยู่ในดินจะออกมากินถุงกระดาษและราเขียวที่อยู่ในถุง ทำให้เชื้อราเขียวติดไปกับตัวปลวกเข้าสู่ภายในรังปลวกและสามารถเข้าทำลายตัว ปลวกให้ตายหมดทั้งรัง การใช้ราเขียวนี้ เราจะต้องหยุดสารเคมีและยาฆ่าเชื้อราต่างๆ ที่จะทำลายเชื้อรา ในการใช้ในระยะแรก ๆ ยังจะไม่ค่อยเห็นผล หรือเห็นผลไม่เป็นที่พอใจ เนื่องจากยาและสาร เคมีที่สะสมอยู่ในพื้นดิน ซึ่งจะต้องใช้เวลาเมื่อราเขียวเจริญภายในรังปลวกแล้ว คราวนี้เราก็สบายแล้วไม่ต้องคอยกังวลกับปลวกที่จะมารบกวนอีกต่อไป (การใช้ราเขียว ควรจะทำซ้ำ 2-3 ครั้ง ระยะเวลาห่างกันประมาณ 2-3 สัปดาห์/ครั้ง)


ใครกำลังที่มีปัญหาเกี่ยวกับ ปลวก มาสร้างความเสียหายให้กับบ้าน วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีป้องกันมาฝากกัน...

ปลวก เป็นสัตว์เล็ก ๆ ที่ทำความเสียหายให้บ้านอย่างมาก อาหารของปลวกคือ ไม้ ดังนั้นบ้านที่โครงหลังคาเป็นไม้ ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ปลวกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ปลวกไม้แห้ง เป็นปลวกที่เข้าสู่ตัวบ้านโดยบินเข้ามา หรือที่เรียกว่า “แมลงเม่า”
2. ปลวกใต้ดิน เป็นปลวกที่ทำให้บ้านเสียหายมากที่สุด จะเข้ามาโดยทำเป็นท่อลำเลียงมาจากใต้พื้นดิน


วิธีป้องกัน คือ
1. ใช้น้ำยาทาไม้เพื่อป้องกันปลวกไม้แห้ง
2. ใช้น้ำยาราดลงไปในดิน เพื่อป้องกันปลวกใต้ดิน

กรณีที่ปลวกกัดกินพื้นไม้ปาร์เก้จนแตกออกมา วิธีแก้ปัญหาคือต้องรื้อพื้นปาร์เกต์ เฉพาะบริเวณที่ปูดและแตกออกอย่างระมัดระวัง พร้อมทำความสะอาดและกำจัดปลวกพื้นเดิม (จุดที่รื้อ) และแผ่นปาร์เกต์ที่ลอกออกมาให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็ปูด้วยปาร์เกต์ของเดิม (หากยังใช้ของเดิมได้) หรือหากต้องใช้ของใหม่ก็ควรปรับความหนาและแต่งผิวให้เรียบเท่าของเดิมก่อน จึงจะปูทั้งนี้ ให้ใช้กาวสำหรับปูพื้นเป็นตัวประสาน เมื่อยึดติดแน่นดีแล้วก็มาตกแต่งด้วยวัสดุทาผิวพื้นต่อไป

วิธีการป้องกันปลวก ต้องเริ่มตั้งแต่ก่อสร้างบ้าน บริษัทรับเหมาก่อสร้างจะเป็นผู้ดำเนินการให้ แต่สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยมานาน นอกจากการตรวจสอบสภาพบ้านอย่างสม่ำเสมอแล้ว ควรรักษาความสะอาดรอบ ๆ บ้าน เช่น กองเศษไม้ รากไม้ และสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ ตลอดจนวัสดุสิ่งของที่นำเข้ามาในบ้าน เพราะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปลวกได้



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=300925a17bcff2dd&clk=wttpcts


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/09/2011 10:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/09/2011 10:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

447. มาพับแขนสูท ปลูกข้าวบนตึกกันดีกว่า



ต่อไปนี้ พื้นที่ปลูกข้าว ไม่ได้จำกัดอยู่บนทุ่งหญ้าหรือไร่นา เพราะญี่ปุ่นไอเดียเก๋ ทำนาบนตึกไว้เก็บเกี่ยวได้ทั้งปี

คณะผู้เข้าชมและ พนักงานบริษัทพาโซนากรุ๊ป โตเกียวของญี่ปุ่นร่วมกันปลูกข้าวภายในแปลงนาที่อยู่ในตึก สำหรับการแต่งกายของชาวนาจำเป็นกลุ่มนี้ ดูค่อนข้างจะแปลกตาไปเสียหน่อย เพราะพวกเขาสวมชุดสูทคู่กับรองเท้าบูท

ห้องที่ถูกเนรมิตให้เป็นนา ข้าวแห่งนี้ ใช้หลอดไฟที่มีแรงดันของโซเดียมระดับสูงขนาด 1000 วัตต์ เพื่อให้แสงสว่างสำหรับการสังเคราะห์แสง ซีอีโอและประธานของบริษัท นายยาสุยูกิ นัมบุเชื่อว่าหากทำนาโดยวิธีดังกล่าว จะสามารถผลิตข้าวได้ตลอดปี ซึ่งข้าวที่ได้จากนาแห่งนี้ จะถูกนำไปเสิร์ฟในโรงอาหารของบริษัท โดยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ มีมากถึง 50 กิโลกรัม

นอกจากจะเป็นพื้นที่ ผลิตอาหารให้กับคนในออฟฟิสแล้ว สถานที่แห่งนี้ยังกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่มีผู้สนใจมาเยี่ยมชมทุกวัน ด้วยสภาพแวดล้อมกลางเมืองโตเกียว ที่เต็มไปด้วยมลภาวะทางเสียงและการจราจรที่ติดขัด แต่เมื่อเข้ามาในตึกนี้แล้ว ก็จะพบกับความรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างที่คุณคาดไม่ถึง




คลิกไปดูภาพ....
http://archive.voicetv.co.th/content/22674

http://archive.voicetv.co.th/content/22674
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 05/09/2011 5:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

448. "วังขนาย" ทาบจัดรูปที่ดิน พัฒนาพื้นที่เกษตร-เพิ่มผลผลิตอ้อย นำร่องแสนไร่


สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางเนื้อหอม กลุ่มวังขนายยักษ์ใหญ่วงการอ้อย-น้ำตาลทาบทามให้เข้าไปจัดรูปที่ดินในพื้นที่เกษตรกรเครือข่ายนับแสนไร่ในเขตภาคกลาง หวังมีระบบน้ำต้นทุนสนับสนุนผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น หลังเข้าไปพัฒนาแหล่งน้ำ 3 ประสานในพื้นที่โรงงานน้ำตาลทั้งขอนแก่นและลพบุรี


นายจรัญ ภูขาว ผู้อำนวยการสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชล ประทาน เปิดเผยว่า นายอารีย์ ชุนฟุ้ง ประธานกลุ่มน้ำตาลวังขนาย แสดงความสนใจเรื่องการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยหารือกับสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง เพื่อศึกษาลู่ทางการ จัดรูปที่ดินของเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เป็นเครือข่ายลูกไร่ผลิตอ้อยป้อนโรงงานน้ำตาลจำนวนนับแสนไร่ในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง

"โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำต้นทุนที่สามารถเข้าถึงแปลงเกษตรได้ทุกแปลง ซึ่งนอกจากช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยได้มากขึ้นแล้ว ยังลดต้นทุนการผลิตไปในตัว"

นายจรัญกล่าวว่า กลุ่มวังขนายสนใจการจัดรูปที่ดินฯเพราะเข้าใจถึงข้อดี แต่บริษัทยังไม่ทราบรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจัดรูปที่ดินฯ ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 3 ปี เนื่องจากสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางไม่สามารถทำได้โดยลำพัง หากต้อง

อาศัยหน่วยงานอื่นอย่างกรมที่ดิน สำรวจรังวัดที่ดิน การออกโฉนดแปลงที่ดินใหม่หลังการจัดรูปที่ดินฯแล้ว

"ที่สำคัญเราก็ต้องศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่โครงการในเรื่องแหล่งน้ำต้นทุนที่จะเข้าสู่แปลงย่อยของเกษตรกรว่ามีมากน้อยแค่ไหน" นายจรัญกล่าว

กลุ่มวังขนายเป็นบริษัทผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของประเทศไทย มีโรงงาน 4 แห่ง ที่สุพรรณบุรี ลพบุรี นครราชสีมา และมหาสารคาม และโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก 2 แห่งในลาว มีกำลังการหีบอ้อย 100,000 ตันอ้อย/วัน

นอกจากใช้เทคโนโลยีกำหนดพิกัดด้วยดาวเทียม (จีพีเอส) และระบบภูมิสารสนเทศ (จีไอเอส) ในการจัดการการปลูกอ้อย เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ได้ผลผลิตเต็มที่และยังเป็นระบบหลักประกันการส่งอ้อยป้อนโรงงาน กลุ่มวังขนาย ยังเข้าไปพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ปลูกอ้อยใน อ.แก้งสนามนาง รอยต่อ 3 จังหวัดได้แก่ ชัยภูมิ ขอนแก่น และนครราชสีมา ร่วมกับส่วนราชการและเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ รวมทั้งอ้อยและพัฒนาแหล่งน้ำใน 6 ตำบล อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ที่ตั้งโรงงานน้ำตาลทีเอ็นในเครือวังขนายด้วย


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1310286592&grpid=&catid=no&subcatid=0000


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/09/2011 8:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/09/2011 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

449. น้ำมันข้าวหอมมะลิธรรมชาติบริสุทธิ์ พิเศษ
(EXTRA VIRGIN THAI HOMMALI RICE OIL)







บทนำ ตำนานข้าว
จากหลักฐานโบราณคดีขุดค้นในถ้ำจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าข้าวเป็นพืชที่อยู่คู่แผ่นดินไทยเมื่อประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนไว้ในคำนำหนังสือเรื่อง ข้าวปลา หมาเก้าหางอย่างน่าสนใจ และมีการปลูกข้าวก่อนประเทศจีน และประเทศอินเดีย ราว 3,000 ปีอีกด้วย และจากการพบข้าวสารดำในเจดีย์โบราณ ยุดสมัยพุทธศาสนารุ่งเรื่อง และหลัดฐานรอยแกลบข้าวอยู่ในอิฐสมัยทาราวดี และสมัยต่อๆ มา โดยการนำไปตรวจกาค่าคาร์บอน 14 จึงปรากฏชันว่าข้าวอยู่กับคนไทยแต่โบราณกาล ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เหมาะสมในการปลูกข้าว ทำให้ประชาชนชาวไทย ร้อยละ 70 มีอาชีพในการปลูกข้าว นั้นคือ ทำให้คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักตลอดมา และมีความเชื่อว่า ข้าวเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ มีจิตวิญญาณ จึงทำให้เกิดความเชื่อในอำนาจของแม่โพสพ แม่โพสพถือว่าเป็นธิดาแห่งข้าว หรือเจ้าแม่แห่งข้าว มีรูปร่างเป็นหญิงสาวนั่งพับเพียบพะแนงเชิงอย่างไทย ไว้ผมประบ่า มีครอบหน้า หรือจอนหู ห่มผ้าสไบเฉียง จากซ้ายไปขวา เมื่อข้าวกำรวงข้าวแนบไว้ที่หน้าอก ชาวนาไทยเชื่อว่าแม่โพสพ เป็นผู้คอยดูแลต้นข้าวให้งอกงาม ไพบูลย์เป็นต้นมา ดังนั้น เมื่อเริ่มทำนาจนกระทั่งถึงเวลาเก็บเกี่ยวจนกระทั่งจนเอาไปใส่ยุ้งฉาง ชาวนาจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้บูชาแม่โพสพทุกระยะ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการทำนามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังจะเห็นได้จากพระราชพิธีพืชมงคลจรดพนังคันแรกนาขวัญ ประเพณีแห่นางแมวพิธีขอฝน พิธีทำขวัญข้าว ทำขวัญวัวควาย พิธีปิดและเปิดยุ้งข้าว และประเพณีบุญคูนลานของจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ปรากฏช่วงเดือนมกราคม ของทุกปี

จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในภาคอิสานที่ปลูกข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เนื้อที่ประมาณ 600,000 ไร่ ไว้ขาย มีผลประผลิตประมาณ 270,000 ต้น และปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ กข 6 ประมาณ 300,000 ไร่ ไว้บริโภค ด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่เห็นความสำคัญ ทำให้ข้าวหอมมะลิ ได้รับการพัฒนาการผลิต ไปสู่ข้าวปลอดสารพิษ และข้าวอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง กอร์ปกับภูมิประเทศของจังหวัดอำนาจเจริญ อันเป็นที่ราบสูงและดินแห่งลุ่มแม่น้ำโขงที่อุดมสมบูรณ์ตลอดจนภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าวส่งผลให้เมล็ดข้ามมีความเหนียวนุ่ม หอม หวาน จนทำให้เป็นข้าวที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ขึ้นทุกปี นั่นคือข้าวหอมมะลิอำนาจเจริญ เป็นข้าวคุณภาพดีที่สุดของประเทศ ที่นายปริญญา ปานทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญได้ให้ คำขวัญว่าเมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี ที่ภาคภูมิใจของคนอำนาจเจริญ


มหัศจรรย์คุณค่าแห่งข้าว
มีน้อยคนนักที่รู้จักคุณค่าของข้าวที่ไม่มีมากไปกว่าการนำมารับประทานเป็นอาหารหลัก ท่านทั้งหลายทราบไหมว่า เมื่อนำเมล็ดข้าวเปลือก (Rice paddy) ไปสู่กระบวนการสีข้าว ส่วนนอกสุดของข้าวเปลือกหรือแกลบ (Rice Husk) จะถูกกะเทาะออกไป ทำให้ได้ข้าวกล้อง (Brown Rice) ที่มีผิวสีน้ำตาลเป็นที่ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวสาร (Endsopern หรือ White Rice) ด้วยกระบวนการขัดขาวเปลี่ยนข้าวกล้องให้เป็นข้าวขาวนั้นเอง จึงทำให้ได้รำข้าว (Rice Bran) และจมูกข้าว ((Rice Gern) ที่จะนำมาบีบอัด (Cold press process) เพื่อให้ได้น้ำมันที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุและคุณค่าทางโภชนาการสำหรับมนุษยชาติต่อไป


ขบวนการผลิต
บริษัทฯ มีวิธีการผลิตที่ง่าย สะอาด ทันสมัย และไม่สูญเสียสารอาหารและวิตามิน ซึ่งจะไม่เหมือนกรรมวิธีการผลิตแบบโรงงานสกัดน้ำมันพืชทั่วไปที่ใช้สารเฮกเซน (Hexane) เป็นตัวทำละลายน้ำมันที่ปนเกาะบนติดกับรำข้าวออกมา และใช้ความร้อนนับ 100 C เพื่อระเหยสารดังกล่าวทิ้งออกไป ที่เหลือ และนำน้ำมันนี้ไปล้างฟอกสีและกำจัดกลิ่นหืนด้วยสารเคมีและจึงนำไปกรอง น้ำมันที่ได้จึงมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายเหลือเพียงเล็กน้อย เพราะได้ถูกทำลายไประหว่างกระบวนการผลิต ดังนั้น น้ำมันที่ได้จากกระบวนการผลิตแบบนี้จึงเหมาะที่จะนำไปผัด ทอดอาหารทั่วไป จึงไม่เหมาะที่นำมาใช้ประกอบอาหารและใช้รับประทานโดยตรง ด้วยกรรมวิธีการผลิตของบริษัท ฯ ที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนนี้จึงมีขั้นตอนการผลิตง่ายๆ ดังนี้ คือ นำรำข้าวหอมมะลิสดจากการสีข้าวไม่เกิน 12 ชั่วโมง ซึ่งเป็นโรงสีข้าวที่บริษัทได้คัดเลือกไว้เพื่อผลิตโดยเฉพาะแล้วนำมาบีบอัดด้วยเครื่องอัดแบบเกลียว (Screw press) เพียงครั้งเดียว รำที่ถูกอัดด้วยแรงมากๆ นี้ จะทำให้น้ำมันที่อยู่ในรำไหลเยิ้มออกมาทีละหยด และเพื่อให้ใสสะอาด ปราศจากฝุ่นละออง จึงนำกรองด้วยกระดาษกรอง ความละเอียดสูงจนได้น้ำมันที่มีสีใสสะอาดตา แล้วรวบรวมไปเก็บไว้ในถังสแตนเลส เพื่อรอบรรจุขวดจำหน่ายต่อไป จุดเด่นที่สำคัญของน้ำมันข้าวนี้ บริษัทฯ จะไม่จือสี ไม่แต่งกลิ่น ไม่ใส่สารกันบูดและไม่นำน้ำมันอื่นมาผสมให้ได้ปริมาณมากเพิ่มขึ้นเป็นอันขาด เพราะบริษัทฯ มีนโยบายที่จะผลิตน้ำมัน ที่บริสุทธิ์ สำหรับผู้รักษาสุขภาพได้บริโภคสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ของข้าวหอมมะลิชั้นเลิศของจังหวัดอำนาจเจริญ อย่างเต็มที่ นี่คือความหมายของคำว่า Exter Virgin Thai Hommali Rice Oil ภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน อันภูมิภาค และนี่คือน้ำมันวิเศษ จากแม่โพสพที่ได้มอบให้แผ่นดินไทย


วิธีใช้
น้ำมันข้าวนี้บรรจุขนาด 200 มิลลิลิตร (มล.) ใช้สำหรับประกอบอาหาร เช่น ทำน้ำสลัดผักหรือรับประทานโดยตรง ก่อนอาหารวันละ 3 มล. ติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะหมดขวด ข้อควรระวังห้ามถูกความร้อน แสงแดด และไม่ควรเก็บในตู้เย็น สำหรับกรณีผู้ป่วย ควรรับประทาน วันละ 2 ครั้งละ 3 มล.ก่อนอาหารเช้า และเย็น

คุณค่าสารอาหารในน้ำมันข้าวและจมูกข้าว ในน้ำมันนี้จะมีสารอาหาร และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารกลุ่มไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) กลุ่มพอลีฟินอร (Polyphenols) และวิตามินอี ทั้งชนิด โทโคเฟอรอล (Tocopherols) และ โทโคไตรอินอล (Tocotrienol) สารเหล่านี้เป็นไขมันที่เป็นสาเหตุโรคเรื้อรัง และโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอุดตันโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีสารสำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารแกมม่าโอไรซานอร ( Oryzanols) มีสูตรโมลิกุล C 40 H 58 O 4 มวลโมเลกุล 602.9 มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำมัน ไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นสารที่พบในข้าวเท่านั้น และมีมากกว่าสารอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxdant) หลักและมีฤทธิ์ลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ ทั้งในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ และยังมีสารสำคัญอื่น ๆ อีก คือสารกลุ่มไขมันที่ทีประโยชน์ต่อสุขภาพ คือ มีกรดไขมันไม่อิ่นตัว ถึงร้อยละ 75 และมีกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ คือ กรดลิโลเลอิก (Linoleic acid) มีถึงร้อยละ 30.84 ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับจากสารอาหารโดยตรง ซึ่งช่วยบำรุงเซลล์ผิว บำรุงเซลล์ ระบบอวัยวะสืบพันธ์ให้ทำงานปกติ บำรุงเชลล์ระบบประสาท สมอง และความจำเป็นได้ดี นอกจากนี้ ในน้ำมันรำข้าวยังมีแคลเซียม โปรแตสเซียม เหล็ก โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบีรวม และสารอาหารอื่น



สรรพคุณที่มหัศจรรย์
1. สารธรรมชาติในน้ำมันข้าว และจมูกข้าวมีหลายชนิด ได้แก่ แกรมม่า –โอไรซานอลสูงในกลุ่มไพโตสเตอรอล (Psytosterols) กลุ่มพอลิฟินอล (Polyphenols) และวิตามินอีทั้งชนิด โทโคเฟอรอล (Tocopherols) และโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol) สารเหล่านี้ เป็นไขมันที่มีคุณค่าต่อสุขภาพจากการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxdant) ในร่างกายได้ จึงช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ( Oxidative stress) อันเป็นสาเหตุโรคร้ายเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ นอกจากนั้น แกมม่า-โอไรซานอล ยังคงระดับหรือเพิ่มโคลสเตอรอล ชนิดดี (HDL) ในร่างกายอีกด้วย และยังช่วยให้ตับ ไตหัวใจ สมอง ตับอ่อน ตลอดจนอวัยวะอื่น ๆ มีเลือดไปห่อเลี้ยงมากขึ้น และที่เสื่อมสภาพก็จะกลับฟื้นคืนมาอีก

2. สารแกรมม่าโอโรซานอล (Oryzanols) ซึ่งมีอยู่ในเฉพาะในน้ำมันรำข้าว และมีฤทธิ์ในการลดโคลสเตอรอล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน การลดโคลสเตอรอล ซึ่งช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดได้ เช่นโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย โรคหลอดเลือดตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น


3. รักษาความสมดลของระบบประสาท และบำรุงสมอง วิตามินบี คอมเพลกซ์ ในน้ำมันข้าว และจมูกข้าว มีคุณสมบัติ ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น และช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์

4. ปรับสมดุลของระบบฮอร์โมนในวัยทอง คุณค่าของแกมม่า-โอไรซานอล จะช่วยปรับสมดุลของระบบฮอร์โมนสตรีและบุรุษวัยทองและช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ (Hot FlashesX ) ได้

5. บำรุงผิวพรรณ น้ำมันข้าวมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงผิวพรรณหลายชนิด เช่น วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยให้ความชุ่มชื้นยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง ลบเลือนริ้วรอย ต้านทานรังสี UV ช่วยป้องกันการเกิดกระ ฝ้า จุดด่างดำ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส

6. อุดมคุณค่าสารอาหารนานาชนิดที่ช่วยบำรุงร่างกาย น้ำมันข้าวและจมูกข้าวอุดมด้วยสารอาหารนานาชนิด เช่น กรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคกระดูกพรุน ช่วยบำรุงประสาทและความจำ ช่วยบำรุงเซลล์ให้แข็งแรงและต้านการเลื่อมของเซลล์ ช่วยให้ความเป็นสาวยาวนานขึ้น ช่วยสร้างเม็ดโลหิต ช่วยให้นอนหลับลึก ช่วยขับสารพิษอกจากร่างกาย (Detox) แก้ท้องผูกและใช้ให้ระบบสืบพันธุ์ดีขึ้น


สารอาหารที่สำคัญน้ำมันข้าว
จากการรายงานผลทดลองจองบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด (WWW.Centrallabthai.com) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 พบว่า น้ำมันข้าวตรา New Zrice มีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังต่อไปนี้
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Oleic acid และ Linolric acid) ร้อยละ 75.43
2.สารแกมม่า โอไรซานอล (Gramma Orzanol) ร้อยละ 1.38
3. โปรแตสเซียม จำนวน 1,583.3 mg/kg
4. แคลเซียม จำนวน 1,447.5 mg/kg
5. เหล็ก จำนวน 382.96 mg/kg
6. โปรตีน จำนวน 0.06g/100g
7. วิตามิน E จำนวน 0.44 mg/110g
8. วิตามิน B1 จำนวน 0.013 mg/110g
9. วิตามิน B6 จำนวน 4.00 mg/110g

นอกจากนี้ยังพบว่า มีวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายจำนวนมากอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ ให้ครบ 5 หมู่ ตลอกจนมีอารมณ์ที่แจ่มใส เบิกบาน แล้ววันนี้คุณยิ้มหรือยัง



เอกสารอ้างอิง
1. อรุณศรี ปรีเปรมและคระ 2548, รำข้าวที่มีคุณภาพ: ต่อสุขภาพ,วารสารศูนย์วิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม –กันยายน 2552 (http:www/home.kku.th/uac)
2. ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ข้าวและประโยชน์จากเมล็ดข้าว ,พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์และคณะ วันที่ค้นข้อมูล: 2 กรกฎาคม 2551. ((http:www/ubn.ricethailand.go.th/document/poonsak/brown/brown.htm)


ที่ตั้งโรงงาน
บริษัท ลาว –ไทย อะโกร อินดัสตรี จำกัด
117 หมู่ 1 ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลห้วยไร่
อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
Wed site : www.newzrice.com
E-mail : newzice@yahoo.co.th

Tel/Fax 08-6460-4396, 08-6861-1112



สำหรับบำรุงร่างกาย รับประทานวันละ 3 มล.
สำหรับผู้ป่วยรับประทานวันละ 2 ครั้ง ๆละ 3 มล.
(ก่อนอาหารเช้า –เย็น)

อโรคยา ปรมา ลาภา
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ


http://amnatcharoen.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538840941&Ntype=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/09/2011 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

450. ทำไมข้าวหอมมะลิจึงไม่มีการปลูกในจังหวัดฉะเชิงเทรา



ทำไมข้าวหอมมะลิจึงไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลายในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดของข้าวชนิดนี้

จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งเพาะปลูกดั้งเดิมข้าวหอมมะลิไทย อยู่ที่บางคล้า ในช่วงปี 2510 เป็นต้นมา โดยได้นำเอาเมล็ดพันธุ์มาจาก อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มาทำการทดลองศึกษาวิจัยเพื่อทำการขยายพันธุ์ต่อไป แต่คุณภาพผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร จึงมีการปลูกกันน้อยไม่ได้กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ พันธุ์ที่ให้ผลดีและเหมาะสมกับจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพันธุ์พื้นเมือง คือ พันธุ์ข้าวหอมจังหวัด ข้าวหอมมะลิที่ผลิตได้จึงจัดรวมอยู่ในข้าวหอมจังหวัดด้วย ทางภาครัฐและเอกชนจับมือกันค้นคว้า คัดเลือก และปรับปรุง พันธุ์ข้าวเพื่อการส่งออก จนได้ข้าวหอมมะลิไทย มาทดลองปลูก บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ผลยอดเยี่ยม เป็นที่น่าพอใจ โดยในปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นแหล่งผลิต ข้าวหอมมะลิไทย ที่มีคุณภาพ ดีที่สุดแห่งหนึ่ง




http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/08/2016 5:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/09/2011 7:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

451. ใครจะเป็นผู้รักษาเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย


สมพร อิศวิลานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ fecospi@ku.ac.th กรุงเทพธุรกิจ



เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์และทางโทรทัศน์ ว่า สหรัฐอเมริกาโดยศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนา ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาข้าวหอมพันธุ์ LA2125 ซึ่งมีคุณสมบัติทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย และได้ตั้งชื่อการค้า ว่า Jazzman นับว่าเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตข้าวในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นข่าวร้ายสำหรับประเทศไทยและชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ที่มีการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นสำคัญ เพราะผลผลิตข้าวพันธุ์ Jazzman ที่สูงถึง 1.2 ตันต่อไร่ ย่อมจะทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในสหรัฐอเมริกาต่ำกว่า และจะส่งผลต่อราคาขายที่ต่ำกว่าด้วยเช่นกัน แน่นอนผู้บริโภคส่วนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาจะหันไปบริโภคข้าว Jazzman แทนการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย

ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวคุณภาพดีมีกลิ่นหอมแห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้เพราะ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (หรือต่อไปนี้จะเรียก ข้าวหอมมะลิ) เป็นข้าวที่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างชื่นชมในคุณสมบัติจำเพาะ ได้แก่ การมีกลิ่นหอมและมีเนื้อแป้งที่มีค่าอมิโรสต่ำ ทำให้ข้าวชนิดนี้มีทั้งความหอมและความนุ่มเมื่อหุงสุกแล้ว แตกต่างไปจากข้าวเจ้าชนิดอื่นๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่าราคาข้าวหอมมะลิในตลาดส่งออก จึงมีราคาสูงกว่าข้าวขาวทั่วไปเกือบหนึ่งเท่าตัว

ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีพื้นที่เพาะปลูกในภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ ในปีการผลิต 2550 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิประมาณ 19 ล้านไร่ และมีผลผลิตโดยรวมประมาณ 6.5 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเนื้อที่และผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคอีสานถึงร้อยละ 80 ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดพะเยาและเชียงราย และภาคกลางตอนบน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ และพิษณุโลก มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิอยู่บ้าง

ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในภาคกลางแม้จะมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่า แต่จะมีคุณภาพในเรื่องของความหอมและความนุ่มต่างจากข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน จึงเรียกข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่ภาคกลางว่าข้าวหอมจังหวัดเพื่อให้แตกต่างจากข้าวหอมมะลิจากภาคอีสาน แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเท่ากับข้าวหอมมะลิที่ปลูกในภาคอีสาน เพราะถือว่าเป็นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เหมือนกัน แม้จะมีคุณภาพด้อยกว่าก็ตาม

นอกจากนี้ ความสำเร็จของการพัฒนาข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่ปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ให้มีคุณสมบัติของค่าอมิโรสต่ำเช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ และมีขนาดและลักษณะของเมล็ดเมื่อสีเป็นข้าวสารแล้วคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิมาก จนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า และต้องตรวจแยกคุณสมบัติโดยกระบวนการตรวจสอบดีเอ็นเอ (DNA) ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่กล่าวถึงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าข้าวปทุมธานี 1

ความสำเร็จของการสร้างข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ นับได้ว่าเป็นความสามารถของนักวิชาการเกษตรของไทย เพราะเท่ากับว่าเป็นการปรับปรุงคุณภาพของข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ชลประทาน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างและปลูกได้หลายครั้งต่อปี แหล่งผลิตข้าวในเขตชลประทานถือว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ ทำให้คุณภาพของข้าวสารส่งออกของไทยในเขตชลประทานได้พัฒนาสูงขึ้น จากการปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงโดยทั่วไป และช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ชลประทานได้รับราคาข้าวสูงขึ้นจากการปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงอื่นๆ

แต่หากพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับข้าวหอมมะลิและชาวนาในภาคอีสาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแล้ว จะพบว่าการขยายตัวของการปลูกข้าวปทุมธานี 1 อย่างแพร่หลายของเกษตรกรในภาคกลาง และการขยายตัวของการปลูกข้าวหอมจังหวัดในภาคกลางด้วยเช่นกัน ได้สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรในภาคอีสาน เพราะได้มีการนำข้าวปทุมธานี 1 และข้าวหอมจังหวัดไปปนกับข้าวหอมมะลิในตลาดข้าวสารทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก

แม้ว่าในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้จัดทำมาตรฐานข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่การดูแลในภาคปฏิบัติยังขาดความเข้มแข็ง นอกจากนี้ กฎระเบียบที่ออกยังไปสร้างต้นทุนให้เกิดกับข้าวหอมมะลิ อาทิเช่น การส่งออกข้าวหอมมะลิผู้ส่งออกจะต้องได้รับการตรวจดีเอ็นเอ เพื่อรัฐจะได้ออกใบรับรองในคุณภาพของสินค้าให้ซึ่งมีค่าตรวจตัวอย่างละไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท แต่ผู้ส่งออกข้าวปทุมธานี 1 ไม่ต้องขอใบรับรองในคุณภาพ เป็นต้น

อีกทั้งได้มีความพยายามที่จะยกระดับราคารับจำนำของข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน ซึ่งจะทำให้มีการขยายตัวของอุปทานข้าวหอมมะลิในถิ่นเพาะปลูกรองเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวหอมมะลิในถิ่นที่มีการเพาะปลูกหลักตามมา

การขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรที่ขยายตัวไปในภาคอีสานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเดิมการเก็บเกี่ยวข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะใช้คนเก็บเกี่ยวและพึ่งฟ่อนข้าวไว้ 2-3 วัน แล้วจึงนำไปนวดซึ่งจะทำให้ข้าวมีความชื้นต่ำ แต่ภาวะที่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังเข้าสู่ยุคของการขาดแคลนแรงงาน จึงได้จ้างรถเกี่ยวจากภาคกลางไปเก็บเกี่ยว รถเกี่ยวจะเร่งรีบในการเก็บเกี่ยวไม่ว่าข้าวจะสุกได้ที่หรือไม่ และในกระบวนการของรถเกี่ยวข้าวเมื่อเกี่ยวแล้ว จะแยกเป็นเมล็ดข้าวเปลือกออกมาในทันที ทำให้ข้าวมีความชื้นสูง และหากเกษตรกรและโรงสีไม่ได้ดูแลรักษาลดความชื้นให้ดี ก็จะส่งผลต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิตามมา และอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิด้อยลงได้แก่พันธุ์ข้าวอื่นๆ ที่ติดมากับรถเกี่ยวข้าว ซึ่งจะมีการแพร่กระจายทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิแท้จางหายไป

นอกจากนี้ การเปิดตลาดการค้าข้าวของไทย ซึ่งจะเปิดเสรีตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียนในเดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่า ข้าวขาวดอกมะลิในประเทศเขมร ลาว และเวียดนาม ก็อาจจะส่งผ่านมายังประเทศไทย แต่ข้าวขาวดอกมะลิที่มีการปลูกในประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าว แม้จะมีคุณสมบัติไม่เท่าเทียมกับข้าวขาวดอกมะลิที่ปลูกในทุ่งพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แต่อย่างน้อยก็มีคุณสมบัติของข้าวขาวดอกมะลิอยู่ส่วนหนึ่ง ราคาข้าวขาวดอกมะลิที่ต่ำกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมจะส่งผลต่อข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน นี่ยังไม่นับรวมถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการมีข้าวพันธุ์ Jazzman ที่จะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นตลาดนำเข้าข้าวหอมมะลิที่สำคัญของไทย

ข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้นั้น เปรียบไปก็เสมือนเป็นสมบัติอันล้ำค่าของเกษตรกรในภาคอีสานและของตลาดส่งออกไทย แต่ความเป็นพลวัตที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตข้าวในประเทศ และรวมถึงการเกิดขึ้นของข้าว Jazzman กำลังจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเอกลักษณ์และคุณสมบัติเด่นของข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อันเป็นดินแดนของความแห้งแล้ง และมีโอกาสในการเพาะปลูกพืชได้จำกัด ซึ่งขณะนี้ ยังไม่พบว่าภาครัฐและภาคธุรกิจการค้าของไทย จะมีมาตรการเพื่อการปกป้อง หรือเพื่อการรักษาเอกลักษณ์อันมีค่าของข้าวหอมมะลิ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรในทุ่งกุลาร้องไห้ไว้แต่อย่างใด


http://www.oknation.net/blog/sorat/2009/10/14/entry-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/09/2011 8:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/09/2011 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

452. ข้าวและเกษตรกรไทย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี



กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว โดยมีเป้าหมายให้คนไทยทุกภาคส่วนมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค รวมทั้งเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันที่นำไปสู่ความยั่งยืนของข้าวไทยทั้งระบบ

ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สวทช. เล่าว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ทุนทางธรรมชาติและทุนทางสังคมในการผลิตข้าว ในอนาคตเราต้องปฏิรูปการผลิตข้าวไทยไปใช้ทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ลดลง การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้งและอุทกภัย นอกจากนี้ คู่แข่งและคู่ค้าข้าวของประเทศไทยต่างเพิ่มการลงทุนการวิจัยและพัฒนา

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เกี่ยวกับดีเอ็นเอ สวทช.ได้ใช้ความรู้ดังกล่าวในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวตั้งแต่ปี 2532ภายใต้โครงการความร่วมมือของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และในปี 2542 ได้เข้าร่วม“โครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ” ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านข้าวเชิงลึกของประเทศไทย มีบทบาทสำคัญส่งผลให้การพัฒนาข้าวไทยเป็นไปอย่างก้าวกระโดด มีองค์ความรู้สะสมมากพอที่จะพัฒนา ผลิตภัณฑ์/บริการได้ทันสถานการณ์ ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกรณีของการพัฒนาข้าวหอมดอกมะลิให้ทนน้ำท่วม ที่ผ่านการทดสอบ การยอมรับของเกษตรกรในหลายจังหวัดมาเป็นระยะเวลา กว่า3ปี ข้าวหอมดอกมะลิทนน้ำท่วมดังกล่าวได้ใช้ชื่อว่า“ข้าวหอมชลสิทธิ์”ซึ่งนอกจากทนน้ำท่วมฉับพลันแล้วยังไม่ไวแสง ปลูกได้ในพื้นที่ภาคกลางที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ในปี 2553มีการปลูกพันธุ์หอมชลสิทธิ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในพื้นที่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และได้เกิดภาวะน้ำท่วมทำให้แปลงข้าวพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลา 12วัน ถึงแม้ว่าข้าวหอมชลสิทธิ์ที่จมอยู่ใต้น้ำไม่ตาย แต่เนื่องจากข้าวอยู่ในระยะตั้งท้องและเริ่มออกดอกพอดี ไม่สามารถผสมเกสรใต้น้ำ จึงทำ ให้เกิดการสูญเสียผลผลิตเมล็ดบางส่วน ในขณะที่พันธุ์หอมปทุมตายทั้งหมด เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ นอกจากที่ อ.ผักไห่แล้ว มีเกษตรกรที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์เช่นกัน แปลงดังกล่าวได้รับผลกระทบจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลา 7วัน ภายหลังน้ำลดข้าวหอมชลสิทธิ์ฟื้นตัวได้ดีภายใน 3วัน ขณะที่พันธุ์ กข 31ที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ฟื้นตัว นอกจากการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สวทช.ยังได้ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวเศรษฐกิจให้ทนต่อศัตรูพืช เช่น ข้าว กข 6ต้านทานโรคไหม้ ที่ได้เผยแพร่ให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน เชียงราย และลำปาง และได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553

นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ความรู้ด้านดีเอ็นเอถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการค้าการปลอมปนของข้าวหอมดอกมะลิ นำไปสู่วิธีมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ยอมรับ ทำให้ประเทศไทยแก้ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิ รวมถึงการสร้างมาตรฐานคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยทำให้ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้เพิ่มขึ้น

สวทช. ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหารในระดับครัวเรือนด้วยการให้ความรู้ผ่านการฝึกอบรมให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีไว้ใช้เองในชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมในหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาข้าวไม่พอกินตลอดทั้งปี เช่น ในพื้นที่ของจังหวัดน่าน สกลนคร และเชียงราย เป็นต้น ผลของการดำเนินงานนำไปสู่การ “มีข้าวพอกิน”และ เกิดอาชีพ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว”จำหน่ายในชุมชน เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

ที่กล่าวมา เป็นเพียงตัวอย่างที่เป็นผลของความพยายามในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนของข้าวไทย อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องสร้างมวลวิกฤติทั้งด้านผลงานวิจัยและนักวิจัยเพื่อให้มีองค์ความรู้ด้านข้าวที่ครบวงจรเพียงพอที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กองทุนวิจัยข้าวไทยจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับข้าวไทย.


ที่มา : นสพ.เดลินิวส์ หน้า

http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=09&id=8437
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/09/2011 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

453. เผยผลวิเคราะห์ข้าว Jazzman เป็นการผสมระหว่างข้าวจีน


วางแนวทางป้องผลกระทบตลาดข้าวหอม เร่งพัฒนามาตรฐานการผลิตครบวงจร ควบคู่ทุ่มวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวด้วยเทคโนฯ ชีวภาพ พร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูลป้องกันความสับสนของผู้นำเข้าและผู้บริโภค


แนวทางป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากการพัฒนาพันธุ์ข้าว Jazzman ของประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า จากการที่ศูนย์ค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่และจดทะเบียนโดยใช้ชื่อว่า Jazzman ซึ่งคล้ายคลึงกับชื่อภาษาอังกฤษของข้าวหอมมะลิของประเทศไทย คือ Jusmine อันอาจสร้างความสับสนให้กับประเทศผู้ซื้อข้าวหอมมะลิและผู้บริโภคข้าวนั้น

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงศึกษาติดตามเรื่องนี้อย่างละเอียดเร่งด่วนร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการค้าต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพราะถึงแม้ว่าผลการตรวจสอบประวัติการปรับปรุงพันธุ์ พบว่า ข้าว Jazzman ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวจีนสายพันธุ์ก็ตาม แต่เพื่อปกป้องผลประโยชน์อันอาจเกิดขึ้นกับชาวนาไทยและการค้าข้าวของไทยในตลาดโลก จึงได้วางแนวทางป้องกันแก้ไขผลกระทบ ได้แก่

การพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิไทยให้ครบวงจร ครอบคลุมทุกขั้นตอนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภคและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อลดประเด็นการปลอมปนและการกล่าวอ้างว่าข้าวพันธุ์ Jazzman หรืออื่นๆ เป็นข้าวหอมมะลิไทย 100% นอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และการปรับปรุงพันธุ์แบบปกติ เพื่อเสริมความทนทานโรค แมลง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และมีคุณค่าทางโภชนาการพิเศษ

นอกจากนั้น รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนการวิจัยข้าวหอมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งด้านงบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากร เนื่องจากเราไม่สามารถจะหยุดยั้งการวิจัยของประเทศอื่นที่ใช้เทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าเราได้

จากอดีตที่ผ่านมาที่ข้าวหอมยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในตลาดโลกเพราะพันธุกรรมที่ดี ไม่มีใครเหมือน แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ประเทศคู่แข่งพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพทัดเทียมได้ ในขณะที่การพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมของไทยกลับไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากขาดเครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญในการวิจัยทั้งในห้องปฏิบัติการและในสภาพไร่นา

ทั้งนี้ ส่วนของด้านการตลาด อาจต้องจัดกลุ่มข้าวหอมเพิ่มเติมอีกนอกเหนือจากพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 เพราะยังมีพันธุ์ข้าวหอมที่พัฒนามาจากพันธุ์ดังกล่าวซึ่งมีพื้นฐานพันธุกรรมใกล้เคียงกันมาก คุณภาพเมล็ดเหมือนกัน จึงน่าจะจัดเข้าในกลุ่มข้าวหอมเดิมเพื่อเพิ่มความหลากหลายหรือขยายฐานพันธุกรรม ลดความเสี่ยงจากการทำลายของโรคแมลงและสภาพแวดล้อมแปรปรวนได้ รวมถึงควรทำให้มีการยอมรับข้าวหอมที่ปลูกนอกเขตข้าวหอมมะลิ หรือพัฒนาสินค้าข้าวหอมจังหวัดให้มีคุณภาพเป็นสินค้าบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) เช่น อาจเป็นข้าวหอมมะลินครสวรรค์ ข้าวหอมมะลิสระแก้ว ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

"ข้าวหอมมะลิไทยยังคงมีลักษณะและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพและความหอม อีกทั้งยังคงเป็นสินค้าข้าวชนิด Highest Premium ที่ผู้บริโภคนิยมทั่วโลก การแนะนำข้าวพันธุ์ใหม่ Jazzman หรืออื่นๆ ที่อาจมีความใกล้เคียงจึงต้องใช้ระยะเวลาและรายละเอียดอีกมาก

ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานอื่นๆ จึงจะเร่งร่วมมือกันใช้กลยุทธ์การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลผู้บริโภคทราบถึงข้อดีเด่นของข้าวหอมมะลิไทย ทั้งในด้านคุณภาพและความหอม รวมไปถึงการให้ความรู้ เพื่อป้องกันความสับสนของผู้บริโภคในตลาดโลกต่อไป”

ด้านนายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดข้อเท็จจริงข้าวพันธุ์ Jazzman ว่า ข้าว Jazzman เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ข้าวหอมจากจีน มีคุณสมบัติเคมีทางกายภาพและคุณภาพการหุงต้มคล้ายกับข้าวหอมไทยที่นำเข้า แต่เมล็ดของข้าว Jazzman มีความยาวเฉลี่ย 6.8 มิลลิเมตร จะสั้นกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีความยาวเฉลี่ย 7.3 มิลลิเมตร กลิ่นของข้าวมีกลิ่นหอมแต่ไม่ใช่กลิ่นข้าวหอมมะลิไทย จะคล้ายกันเพียงลักษณะคุณภาพข้าวสุกของ Jazzman จะมีความนุ่ม เลื่อมมัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะมีความกระด้างกว่าเล็กน้อย โดยคุณภาพข้าวสุกของข้าว Jazzman จะใกล้เคียงกับข้าวปทุมธานี 1

นอกจากนี้ Jazzman จะได้รับการแนะนำให้ปลูกภายในประเทศเท่านั้น เนื่องจากโลโก้ "Grown in the USA” เป็นลิขสิทธิ์ของ USA Federation for packaging and advertising และคาดว่าจะลดการนำเข้าข้าวหอมจากไทยได้ ซึ่งในแต่ละปีสหรัฐฯ นำเข้าข้าวหอมเป็นปริมาณ 400,000 ตัน ในจำนวนนี้ 350,000 ตัน เป็นข้าวหอมจากประเทศไทย ซึ่งกรมการข้าวจะนำรายละเอียดและผลการวิเคราะห์ต่างๆ ส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป



http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=1629&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/09/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

454. จีนยกนิ้วหอมมะลิไทย การันตีคุณภาพ-รสชาติดีที่สุด

หนังสือพิมพ์แนวหน้า



นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้สั่งการให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศให้ติดตามความเคลื่อนไหวด้านสินค้าเกษตรไทยที่ส่งเข้าไปขายในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สินค้าข้าวหอมมะลิที่ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน จนทำให้เกิดการปลอมปนดังที่เป็นข่าว ใน 2-3 เดือนที่ผ่านมา ล่าสุดได้รับรายงานจากฝ่ายการเกษตรประจำกงสุลใหญ่ ณ นครกวงโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า หนังสือพิมพ์ guide to delicacy ได้รายงานถึงการประกวดข้าวหอมมะลิ ภายหลังที่ได้ซื้อข้าวหอมมะลิ 5 ยี่ห้อที่ขึ้นชื่อที่สุดในกวงโจว จากห้างสรรพสินค้า ประกอบด้วย ข้าวหอมมะลิยี่ห้อช้างทอง เบญจรงค์ โกโก้ มหารงค์หอม และยี่ห้ออ.ต.ก.แล้วทำการประกวดแบบไม่เปิดเผยยี่ห้อ โดยวิธีการสังเกตเมล็ดข้าวด้วยแสงธรรมชาติ สี ความเงางาม และดมกลิ่น รวมถึงการรับประทานจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านการทำอาหาร ด้านการตกแต่งอาหารและด้านอาหารของประเทศจีน ซึ่งจากการพิสูจน์ พบว่า ข้าวหอมมะลิไทยยี่ห้อ อ.ต.ก. มีคุณภาพดีที่สุด รองลงมาคือ ข้าวหอมมะลิยี่ห้อ Koko มหารงค์หอม ช้างทอง และเบญจรงค์ ตามลำดับ

นายนิวัติ กล่าวต่อไปว่า นาย Xu Xian ZU ประธานบริษัท Xin Yi Trading จำกัด ซึ่งเป็นเอเยนต์จำหน่ายและทำการส่งเสริมข้าวหอมมะลิไทยของ อ.ต.ก. ในประเทศจีน ได้ยืนยันว่าข้าวหอมยี่ห้อดังกล่าวได้ถูกส่งตรงมาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรับประกันคุณภาพของข้าวหอมมะลิ ที่แท้จริงและบริสุทธิ์ได้ โดยราคาข้าวหอมมะลิไทย อ.ต.ก. ในถุงบรรจุขนาดใหญ่มีราคาประมาณ 14-16 หยวนต่อกิโลกรัม และถุงบรรจุแบบของชำร่วย ราคาประมาณ 26 หยวนต่อกิโลกรัม

ทั้งนี้ บทวิจารณ์ยังได้ระบุว่า ข้าวหอมมะลิไทยแท้จะสามารถรู้สึกถึงรสหวาน โดยความ หวานและกลิ่นหอมจะยังคงอยู่แม้จะกลืนข้าวไปแล้วก็ตาม ซึ่งข้าวหอมมะลิไทยแท้ที่นำเข้าจะมีความชื้นต่ำ ทำให้ระยะเวลาการรักษาคุณภาพยาวนานถึง 2 ปี โดยข้าวหอมมะลิไทยจะมี สีขาวบริสุทธิ์และใส โดยปัจจุบันผู้บริโภคในประเทศจีนที่นิยมทานข้าวหอมมะลิไทยส่วนใหญ่ อยู่ในเขตกวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และบางพื้นที่ของเจ้อเจียงและ เจียงซู

ข้าวหอมมะลิไทยที่มีจำหน่ายในประเทศ จีน แบ่งเป็น Repack หรือผู้นำเข้าสั่งซื้อข้าวหอมมะลิไทยกระสอบใหญ่และนำไปบรรจุใหม่ในถุงขนาด 2.5 กิโลกรัม และ 5 กิโลกรัม เพื่อวางจำหน่าย และ Original pack หรือการจำหน่ายในถุงดั้งเดิมที่ผลิตในประเทศไทย ขนาด 2.5 กิโลกรัม และ 5 กิโลกรัม และวางจำหน่ายในประเทศจีนโดยตรง ซึ่งเมืองเสิ่นเจิ้นและเซี่ยเหมินได้รับมอบอำนาจให้ Repack ข้าวหอมมะลิไทยในประเทศจีนได้ โดยการแบ่งแยกข้าวหอมมะลิไทยตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทย จะต้องมีข้าวหอมมะลิ 105 และ RD 15 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 92 จึงจะเรียกว่าข้าวหอมมะลิได้


http://www.ryt9.com/s/nnd/1229945
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/09/2011 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

455. สศก.เผยโคเนื้อลูกผสมพันธุ์กำแพงแสนราคาพุ่ง



สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยผลการติดตามการดำเนินงานโครงการคัดเลือกพ่อพันธุ์กำแพงแสนเพื่อใช้ผลิตน้ำเชื้อ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ในพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ พบเกษตรกรพึงพอใจโคลูกผสมพันธุ์กำแพงแสนที่เลี้ยงง่าย โตไว ขายได้ราคาดี

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการคัดเลือกพ่อพันธุ์กำแพงแสนเพื่อใช้ผลิตน้ำเชื้อ เป็นหนึ่งในโครงการปรับโครงสร้างสินค้าโคเนื้อ โดยใช้เงินกองทุน FTA เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำเชื้อลูกผสมปรับปรุงสายพันธ์โคเนื้อให้มีคุณภาพดีขึ้น สามารถรองรับตลาดเนื้อคุณภาพที่กำลังขยายตัวได้ โคเนื้อลูกผสมพันธุ์กำแพงแสน ได้รับการพัฒนาโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งโคพันธุ์กำแพงแสนที่ให้ลักษณะโครงร่างใหญ่ อัตรการแลกเนื้อดี เลี้ยงง่าย โตไว คุณภาพดีเนื้อดี ขั้นตอนการปรับปรุงสายพันธุ์โคเนื้อกำแพงแสนดำเนินการโดยทำการคัดเลือกแม่โคพันธุ์ไทยพื้นเมืองผสมพันธุ์บราห์มันที่มีลักษณะเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด นำมาผสมกับน้ำเชื้อโคเนื้อชาโลเล่ศ์พันธุ์แท้ เพื่อให้ได้โคเนื้อลูกผสมพันธุ์กำแพงแสนที่สามารถสามารถทดแทนเนื้อโคนำเข้าจากต่างประเทศได้

นอกจากนี้จากการสอบถามเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่มีความสนใจเลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนเพราะเป็นสายพันธุ์โคเนื้อลูกผสมที่เลี้ยงง่าย โตไว ขายได้ราคาดี โดยพบว่าลูกโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนที่เกษตรกรขายได้ราคาสูงกว่าโคเนื้อพันธุ์อื่นๆ (ไทยพื้นเมือง บราห์มัน ฮินดูบราซิล) กว่าเท่าตัวโดยลูกโคเนื้อพันธุ์อื่นๆ ที่อายุ 1 ปี ขายได้ประมาณ 6,000 — 8,000 บาท/ตัว แต่ลูกโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนสามารถขายได้ตั้งแต่ 10,000 — 15,000 บาท/ตัว และเป็นที่ต้องการของพ่อค้าท้องถิ่น รวมถึงผู้เลี้ยงโคขุน ทำให้เกษตรกรมีความสนใจในการเลี้ยงโคพันธุ์กำแพงแสนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคทราบอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งจัดหลักสูตร การอบรมการเลี้ยง ปรับปรุงสายพันธ์ การผสมเทียมและการป้องกันโรค เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตโคเนื้อลูกผสมกำแพงแสนได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรต่อไป



--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
http://www.ryt9.com/s/oae/1229541
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 16, 17, 18 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 17 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©