-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 4:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 11

ลำดับเรื่อง....


281. ปิดดีลทวงหนี้ค่าข้าวรัสเซีย
282.เร่งวิจัยข้าวรับสภาวะภูมิอากาศโลก
283 เพิ่งตื่นหาต้นทุนผลิตข้าว
284. จีนไฟเขียวข้าว จีเอ็มโอ อีก2-3 ปีเตรียมผลิตขาย
285. บิ๊ก ซีพี.ชี้ อนาคต “ข้าวไทย” ต้องออกจากวังวนปัญหา “จำนำ-ประกัน”

286. นวัตกรรมข้าวไทย : ศักยภาพในอนาคต
287. น้ำมันสกัดจากจมูกข้าวหอมมะลิ
288. ข้าวไร่ หรือข้าวดอย
289. การใช้ประโยชน์จากยูเรียเป็นอาหารสัตว์
290. การใช้โอโซนเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา...ผักและผลไม้

291. การทำฮอร์โมนพืชสมุนไพร (เหล้าดองยา) บำรุงสัตว์
292. ปุ๋ย ไนโตรเจน
293. หลากหลายวิธีกำจัดปลวก
294. วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสถานะแตกต่างกัน
295. การสูญเสียปุ๋ยเคมีไปจากดิน

296. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดกรด เมื่อมีการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียม
297. ผลกระทบจากการใช้ปุ๋ย ต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
298. สภาพที่เหมาะสมบางประการในการเลือกใช้ การให้ปุ๋ยทางใบ
299. ข้อจำกัดในการให้ปุ๋ยทางใบ
300. อัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารเสริม

301. คุณสมบัติของดินและปุ๋ย
302. มาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
303. ฮิวมัสและกรดฮิวมิกจากดิน
304. สารคีเลต
305. เทคนิคทำทุเรียนก่อนฤดู แปลงเดียวติดต่อกัน 4 ปี

---------------------------------------------------------------------------------





281. ปิดดีลทวงหนี้ค่าข้าวรัสเซีย


“พรทิวา” โชว์ผลงาน บินเซ็นสัญญารับชำระหนี้ค่าข้าวรัสเซียพันล้านบาท หลังค้างเติ่งมากว่า 20 ปี คาดได้เงินคืนไม่เกิน 12 ก.ค.นี้ พร้อมสั่งบูมตลาดรัสเซียเต็มที่ ตั้งเป้าขยายตัวไม่ต่ำกว่า 50%

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงการรับเงินชำระหนี้ค่าข้าวจำนวน 36.44 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,093 ล้านบาท จากรัสเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยทางรัสเซียจะโอนเงินจำนวนดังกล่าวให้ไทยภายใน 30 วันทำการ หรือประมาณวันที่ 12 ก.ค.ที่จะถึงนี้ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของกระทรวงพาณิชย์ในการติดตามคืนหนี้ค่าข้าวที่รัสเซียค้างชำระให้กับไทยมากว่า 20 ปี หรือตั้งแต่ปี 2533 ลงได้อย่างงดงาม

ทั้งนี้ ในการชำระหนี้ก้อนดังกล่าว รัสเซียได้แจ้งว่า มีค่าธรรมเนียมในการโอนเงินประมาณ 5% ของยอดหนี้ หรือ 1.822 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณ 54.66 ล้านบาท ซึ่งได้มีการเจรจากับทางรัสเซียว่า ไทยได้มีการปรับลดภาระหนี้ให้กับทางรัสเซียแล้ว โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ย ขอชำระคืนแค่เงินต้น ดังนั้น ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น รัสเซียก็ไม่ควรจะมาคิดกับไทยอีก ซึ่งทางรัสเซียได้ตอบรับและจะรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนเงินที่เกิดขึ้นไว้เอง

“เป็นความสำเร็จของกระทรวงพาณิชย์ที่สามารถติดตามหนี้ค่าข้าวก้อนนี้คืนมาได้ โดยได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ที่ได้เดินทางไปเจรจากับทางรัสเซีย และได้ส่งระดับเจ้าหน้าที่ไปคุยในรายละเอียดมาโดยตลอด ขณะที่ในระดับนโยบาย ก็ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาว่าจะเอายังไงกับหนี้ค่าข้าวก้อนนี้ ซึ่งได้เสนอให้ครม.อนุมัติให้รับชำระคืนแค่เงินต้น ส่วนดอกเบี้ย ก็อย่าไปคิด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย และเมื่อได้รับการอนุมัติ ก็มีการสานต่อจนได้คืนหนี้ค่าข้าวในที่สุด” นางพรทิวากล่าว

นางพรทิวากล่าวว่า จากนี้ไป ไทยจะมีการบูมตลาดรัสเซียอย่างเต็มที่ ในฐานะที่เป็นตลาดใหม่สำหรับการส่งออกของไทย โดยปี 2554 นี้ ตั้งเป้าว่าจะผลักดันการส่งออกไปยังรัสเซียให้ขยายตัวสูงถึง 50% หรือมีมูลค่าเพิ่มจากปีที่แล้วที่ทำได้ประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 1,050 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดว่าน่าจะทำได้ เพราะผ่านมาแค่ 4 เดือนแรก ไทยส่งออกไปรัสเซียแล้วประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับสินค้าไทยที่มีโอกาสในการส่งออก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เพราะผลกระทบจากโลกร้อน ได้ทำให้รัสเซียมีฤดูร้อนที่ยาวนานขึ้น และอากาศร้อนมากขึ้น ทำให้เครื่องปรับอากาศขายดีมาก โดยไทยมีคู่แข่ง คือ มาเลเซียและอินเดีย ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นสินค้าอีกรายการหนึ่ง ที่ไทยมีโอกาสตามการขยายตัวของเศรษฐกิจรัสเซีย นอกจากนี้ ก็มีสินค้าอาหาร เช่น ข้าว ไก่ อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

“ได้ขอให้ทูตพาณิชย์ ปรับแผนการทำตลาดรัสเซียให้เข้มข้นมากขึ้น เพราะเป็นตลาดใหม่ที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญ โดยหากรัสเซียมีการจัดงานแสดงสินค้า ก็ให้นำสินค้าไทยเข้าไปจัดแสดง เพื่อเป็นการแนะนำสินค้าไทยให้ผู้นำเข้ารู้จัก รวมทั้งให้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดคณะผู้แทนการค้าให้มีการพบปะกันมากขึ้น” นางพรทิวากล่าว

หนี้ค่าข้าวรัสเซียก้อนดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงปี 2533 โดยรัสเซียขอซื้อข้าวจากไทยจำนวน 2 แสนตัน เป็นเงินเชื่อ ชำระภายใน 2 ปี หรือเดือนมี.ค.2536 ดอกเบี้ย 4% ต่อปี มูลค่าประมาณ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ส่งมอบข้าวให้ตั้งแต่เดือนม.ค.2534 แต่ปรากฏว่าผ่อนชำระได้เพียง 3.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สหภาพโซเวียตก็ล่มสลาย แต่รัสเซียก็พยายามชำระหนี้ให้ โดยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ในปี 2537 และผ่อนชำระถึงเดือนก.ค.2537 รวมเป็นเงิน 39.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้น รัสเซียประสบปัญหาทางการเงิน จึงหยุดชำระหนี้ ไทยจึงได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้ง ในปี 2546 โดยรัสเซียจะจ่ายเงินต้น 36.44 ล้านเหรียญสหรัฐ และดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี ล่าสุดเมื่อปลายปี 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติแนวทางรับชำระหนี้ข้าวรัสเซียเป็นเงินสดโดยไม่คิดดอกเบี้ย



ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
http://www.asiagoldenrice.com/News-Detail.asp?id=250


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 8:04 am, แก้ไขทั้งหมด 13 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 4:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

282.เร่งวิจัยข้าวรับสภาวะภูมิอากาศโลก


ก.เกษตรฯ จับมือ สวก. และ IRRI แลกเปลี่ยนความคิดควบคู่เร่งวิจัยด้านข้าว มุ่งต่อยอดผลผลิต รับสภาวะภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง

นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาพิเศษ เรื่อง "ก้าวใหม่งานวิจัยข้าว" ว่ากระทรวงเกษตรฯ เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกที่ส่งผลต่อการผลิตข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนในประเทศและคนส่วนใหญ่ในโลก และเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ซึ่งหากการผลิตข้าวของไทยได้รับความเสียหายก็จะมีผลต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกด้วย จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ นักวิชาการ นักวิจัยสถาบันการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและเร่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับข้าวเพื่อหาทางป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ภาคเกษตรกร

นายเฉลิมพรกล่าวต่อว่า การสัมมนาพิเศษในครั้งนี้จะเป็นเวทีให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งนักวิชาการ นักวิจัยและบุคลากรด้านการเกษตรได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เพื่อพัฒนาการวิจัยด้านข้าวและเกิดกระบวนการคิดที่จะนำไปสู่งานวิจัยใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิตรวมถึงคุณภาพข้าวตลอดจนลดความสูญเสียต่างๆ และที่สำคัญเข้าใจถึงภัยของภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงว่าส่งผลกระทบอย่างไรบ้างกับการผลิตข้าว นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนางานวิจัยข้าวอีกด้วย

"ประเทศไทยมีนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องข้าวอยู่เป็นจำนวนมาก แต่หากนักวิจัยไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิชาการของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำวิจัยเรื่องข้าวมานาน ก็จะเป็นโอกาสที่ดีของนักวิจัยที่จะได้ทราบถึงสถานการณ์การวิจัยในปัจจุบัน และทิศทางการวิจัยข้าวในอนาคต" นายเฉลิมพรกล่าวทิ้งท้าย



ที่มา : คม ชัด ลึก
http://www.asiagoldenrice.com/News-Detail.asp?id=249
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 4:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

283 เพิ่งตื่นหาต้นทุนผลิตข้าว


นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปศึกษาต้นทุนการทำนาที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นให้ชัดเจน ทั้งราคาปุ๋ยเคมี น้ำมัน ยาปราบศัตรูพืช เพราะพบว่าขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวกำลังเดือดร้อนจากต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยจะนำรายละเอียดทั้งหมดให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาในวันที่ 7 มี.ค.นี้ ซึ่งรัฐบาลได้ใช้ต้นทุนการผลิตดังกล่าวในการคำนวณราคารับประกันรายได้ให้กับเกษตรกรมานานกว่า 2 ปีแล้ว

อย่างไรก็ตามการให้คำนวณต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวใหม่ก็เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้นทุนในการประกอบอาชีพชาวนาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรลดลง จากส่วนต่างของต้นทุนการผลิตและราคาที่ขายได้หรือราคาประกัน เพราะ กขช.ได้กำหนดกำไรให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสำหรับการทำข้าวนาปี ไว้ที่ 40% และสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังไว้ที่กำไรประมาณ 20% แต่จากต้นทุนที่พุ่งขึ้นนี้เชื่อว่าส่วนต่างของกำไรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่น่าจะถึงอัตราที่กำหนด

นายธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ รองเลขา ธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกฯได้เรียกประชุม กขช.ในวันที่ 7 มี.ค. นี้เพื่อพิจารณาข้อเรียกร้องของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ต้องการให้รัฐบาลปรับราคาประกันรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น โดยข้าวเปลือกเจ้า ที่ความชื้น 15% ต้องการให้รัฐบาลเพิ่มราคาประกันเป็น 14,000 บาท จากเดิมที่กำหนดไว้ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด เพิ่มเป็นตันละ 16,000 บาท จากเดิมตันละ 14,300 บาท เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดต้องรอให้ กขช.เป็นผู้พิจารณาว่าจะตัดสินใจอย่างไร

ทั้งนี้จากการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ในช่วงกลางของฤดูเพาะปลูกข้าวปี 53/54 รอบที่ 2 ในเดือน ก.พ. 54 พบว่า


ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 มีต้นทุนการผลิต 7,505 บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเจ้า มีต้นทุนการผลิต 7,850 บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเหนียว มีต้นทุนการผลิต 7,235 บาทต่อตัน



ซึ่งต้นทุนการผลิตที่สำรวจนี้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่แจ้งว่ามีต้นทุนการผลิตที่ตันละ 9,420-10,520 บาท เนื่องจากการผลิตปีนี้มีการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าวไม่รุนแรงเท่ากับปีก่อน ทำให้ค่าแรง ค่าวัสดุ ได้แก่ ยาปราบศัตรูพืช ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นลดลง ส่วนค่าเช่านาโดยเฉลี่ยฤดูละ 900 บาท

รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า สศก. ได้เสนอให้กขช. พิจารณากำหนดราคาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 53/54 รอบที่ 2 ของข้าวเปลือกเจ้าใหม่ โดยบวกกำไรให้เกษตรกรระหว่าง 30-50% จากปัจจุบันให้ 40% แต่จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรได้กำไร 29% โดยมีข้อเสนอ เช่น ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 รับประกันตันละ 10,000-11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10,500-12,100 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 9,700-11,200 บาท และเสนอให้ปรับปริมาณรับประกันข้าวชนิดต่าง ๆ จากปัจจุบัน โดยคิดคำนวณจากพื้นที่ 40-60 ไร่ เช่น ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ที่ 33-46 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 28-42 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 22-33 ตัน

ทั้งนี้ได้สำรวจข้อมูลของ สศก. พบว่าต้นทุนเกษตรกรเดือน ก.พ. 54 เปลี่ยนแปลงจากต้นทุนเดิมที่ใช้คำนวณกำหนดราคาประกันรายได้เกษตรกรโครงการปี 53/54 (พ.ย. 53) รอบที่ 2 ไม่มากนักโดยข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ลดลงตันละ 52 บาท.



ที่มา : เดลินิวส์
http://www.asiagoldenrice.com/News-Detail.asp?id=237


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/08/2011 8:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 5:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

284. จีนไฟเขียวข้าว จีเอ็มโอ อีก2-3 ปีเตรียมผลิตขาย


เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล – จีนการันตีความปลอดภัยข้าว จีเอ็มโอ 2 สายพันธุ์ ที่คิดค้นขึ้นเอง เตรียมเดินหน้าอนุมัติการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตพืชผลสำหรับเลี้ยงประชากรหลายพันล้านคนในประเทศ

กระทรวงเกษตรของจีนระบุเมื่อวันจันทร์ (30 พ.ย.) ว่า ทางกระทรวงได้ออกประกาศนียบัตรรับรองความปลอดภัยในการผลิตและบริโภคข้าวและข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ ซึ่งจีนใช้เวลาพัฒนาอยู่นานหลายปี ตลอดจนทดลองการผลิต และทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ยังต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติในขั้นตอนต่อไป ก่อนจะนำมาปลูกเพื่อการค้า โดยอาจต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี จึงจะผลิตเป็นสินค้าได้

ด้านบริษัทต่างชาติด้านเกษตร จีเอ็มโอ ต่างยินดีกับข่าวนี้ โดยนายแอนดรูว์ แม็คคอนวิลล์ หัวหน้าฝ่ายกิจการบริษัทในเอเชีย ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในสิงค์โปร์ ของซินเจ็นต้า เอจี (Syngenta AG) บริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติด้านเกษตร จีเอ็มโอ ของสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่า การเริ่มนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้สำหรับพืชผลการเกษตรสำหรับการค้าในจีนถือเป็นข่าวดี

จีนเป็นชาติผู้ผลิตและบริโภคข้าวมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ดังนั้น การหันมาพัฒนาข้าว จีเอ็มโอ ของจีนจึงมีความเป็นไปได้ว่า อาจทำให้รูปแบบการจำหน่ายข้าวในโลกต้องเปลี่ยนไป และอาจทำให้การค้ากับบางประเทศมีความยุ่งยากซับซ้อน เช่นยุโรป ซึ่งมีการจำกัดอาหาร จีเอ็มโอ อย่างเข้มงวด ในขณะที่บริษัทของสหรัฐฯ กลับเร่งให้จีนรีบให้การอนุมัติพืช จีเอ็มโอ

ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จีนได้รับแรงกดดันจากสาธารณชนน้อยกว่าเจ้าหน้าที่ชาติอื่น ๆ กรณีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการผลิตอาหาร ซึ่งบางครั้งเกิดการโต้แย้งกันในสังคม นอกจากนั้น รัฐบาลแดนมังกรยังสนับสนุนการวิจัยในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่ง ที่จะช่วยให้จีนยังคงมีอาหารเลี้ยงประชากรในประเทศอย่างเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งใคร

“ นี่เป็นความสำเร็จด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นอิสระครั้งสำคัญจากการวิจัยของชาติเราในเรื่องเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม และเป็นการวางรากฐานอย่างดีสำหรับการผลิตในเชิงพาณิชย์” กระทรวงเกษตรแดนมังกรระบุ

ปัจจุบัน มีการผลิตพืชตัดแต่งพันธุกรรมประเภทข้าวโพด, ฝ้าย และถั่วเหลือง ในสหรัฐฯ, แคนาดา, อาร์เจนติน่า และชาติอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีประเทศใดปลูกข้าว จีเอ็มโอในปริมาณมากมาก่อนเลย พืช จีเอ็มโอ ซึ่งรวมทั้งที่พัฒนาขึ้นในจีนเหล่านั้น มีการจำหน่ายในท้องตลาดขณะนี้ โดยส่วนใหญ่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมก็เพื่อให้สามารถต้านทานศัตรูพืช และยากำจัดวัชพืช ซึ่งเกษตรกร ที่ต้องการเพิ่มผลผลิตให้ความสนใจอย่างมาก

ความพยายามวิจัยการตัดแต่งพันธุกรรมพืชมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์ใหม่ ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้บริโภค อาทิ การพัฒนาข้าวพันธุ์สีทอง (golden rice) ของสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศในฟิลิปปินส์ โดยมีการตัดแต่งพันธุกรรม เพื่อให้ข้าวสายพันธุ์นี้มีวิตะมิน เอ รวมอยู่ด้วย




ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
http://www.thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=321:-2-3--&catid=36:newschinat-cat&Itemid=65
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 5:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

285. บิ๊ก ซีพี.ชี้ อนาคต“ข้าวไทย” ต้องออกจากวังวนปัญหา “จำนำ-ประกัน”



วันนี้ จดหมายข่าว CP-E-news ได้เสนอแนวคิดเรื่อง อนาคต“ข้าวไทย”ในตลาดโลก ต้องออกจากวังวนปัญหา “จำนำ-ประกัน” พัฒนาสู่เกษตรอุตสาหกรรม ผลักดันให้เกิดปฏิวัติเขียวรอบสอง โดย ดร. สารสิน วีระพล ผู้บริหาร ซีพี. บทความดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

อนาคตข้าวไทย จะเป็นอย่างไร คำถามนี้คงอยู่ในใจของใครหลายคน เพราะข้าวถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีต แต่

วันนี้ทั้งจีน เวียดนาม มีพัฒนาการก้าวไกลสามารถผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 2,000 กิโลกรัม ในขณะที่ประเทศไทยผลผลิตต่อไร่ยังคงอยู่ที่ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น จะมีบางพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทานเท่านั้นที่มีผลผลิตข้าวไร่ละ 800 กิโลกรัม

แม้แผนยุทธศาสตร์ข้าว 5 ปี (พ.ศ.2554-2558) จะเน้นการส่งออกข้าวคุณภาพดี เพื่อเพิ่มมูลค่าแทนการเพิ่มปริมาณส่งออก และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อไทยจะได้เป็นศูนย์กลางการค้าข้าว แต่ดูเหมือนว่าโจทย์ของประเทศไทยวันนี้เนื้อหาสาระยังไม่ต่างจากที่ผ่านมา


ในมุมของ ซี.พี.เห็นว่า ข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญ เป็นพระเอกของประเทศไทยมานานนับ 100 ปี ในปัจจุบันนำเงินเข้าประเทศแต่ละปีมากกว่าแสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ดีทุกวันนี้เราพูดกันแค่ว่า ราคาข้าวจะเป็นเท่าไร รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณลักษณะไหน จะประกันราคา หรือจำนำดี แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องอื่นที่สำคัญมาก เช่น การพัฒนาการผลิตข้าวของหลายประเทศที่วันนี้ไม่จำเป็นต้องตามหลังประเทศไทยอีกต่อไปแล้ว หรือพม่าที่ดูเหมือนว่ากำลังพัฒนาผงาดขึ้นมามีบทบาทเรื่องการผลิตข้าวอีกครั้งหนึ่ง

เนื่องจากพม่ามีที่ดินอยู่มากกว่า 4 แสนไร่ที่พร้อมให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ช่วยฟื้นฟูการปลูกข้าวในประเทศของเขาทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศของพม่าเฟื่องฟูขึ้น ซึ่งถ้าหากพม่าจับมือกับเวียดนาม หรือจีน ปลูกข้าว พม่าจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทย เพราะในอดีตพม่าเคยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสูงกว่าประเทศไทย


ดังนั้น รัฐบาลต้องปรับอุตสาหกรรมข้าวให้มีการทำงานในลักษณะบูรณาการ เพื่อรักษาฐานความเป็นผู้นำธุรกิจข้าวในตลาดโลกไว้ให้ได้

เพราะขณะนี้เราต้องยอมรับว่าชาวนา จำนวนมากไม่สามารถพึ่งแปลงข้าวเพื่อความอยู่รอดได้ หลายครอบครัวต้องไปแสวงหาอาชีพเสริม ซึ่งต่อมากลายเป็นรายได้หลักของครอบครัว พื้นที่นาจำนวนไม่ใช่น้อยจึงถูกทิ้งร้าง และถูกนำไปพัฒนาเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยกลุ่มนายทุนและนักการเมือง


สรุปง่ายๆ ขณะนี้ ผู้ปลูกข้าวตกอยู่ในฐานะลำบาก ถูกล้อมกรอบด้วยปัจจัยที่ไม่เป็นมิตร ดังนั้น ชาวนาไทยไม่ว่ากี่ปี ก็ไม่ได้ร่ำรวยขึ้นแต่ยังคงมีความเป็นอยู่เหมือนเดิม วันนี้รัฐบาลจึงต้องแก้ปัญหาแบบบูรณาการ มีการวางแผนพัฒนาข้าวไทยอย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่การค้า ความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา


ที่สำคัญต้องมียุทธศาสตร์ชัดเจนว่า 10 ปีข้างหน้าบทบาทข้าวไทยในการพัฒนาประเทศจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร(food security)จะดูแลอย่างไร เพราะหากไม่คำนึงถึงเรื่องนี้อนาคตประเทศไทยจะไม่สามารถส่งออกข้าวได้

วันนี้ถ้าเราหันไปดูชาวนาญี่ปุ่นจะเห็นชัดเจนว่า ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมข้าวเป็นอย่างมาก ทั้ง ๆที่พื้นที่ที่ปลูกมีอยู่ค่อนข้างจำกัด แต่เมื่อเขามองว่าข้าวเป็นส่วนประกอบสำคัญของชนชาติ ข้าวในสายตาของคนญี่ปุ่นจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงประเทศ คนญี่ปุ่นนอกจากจะกินข้าวอย่างระมัดระวังแล้วยังรักษาวัฒนธรรมในการเห็นคุณค่าของข้าวเอาไว้ด้วย ในขณะที่การปลูกข้าวในญี่ปุ่นยากเย็นกว่าของประเทศไทยเยอะ แต่คนญี่ปุ่นถือว่านี่คือชีวิตจิตใจของพวกเขา


ดังจะเห็นได้จากการยอมจ่ายเงินเพื่อบริโภคข้าวญี่ปุ่นของคนญี่ปุ่น แม้ว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็น 10 เท่าแต่ คนญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะกินข้าวญี่ปุ่น

ถ้าประเทศไทยทำอย่างนั้นได้ สร้างความตระหนักในเรื่องการทำนาว่าเป็นอาชีพที่คนไทยต้องรักษาไว้ ก็จะเป็นโอกาสที่ได้ช่วยเหลือฐานะของผู้ผลิตข้าว ช่วยชาวนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การบูรณาการเรื่องข้าว รัฐต้องไม่คิดถึงเรื่องการส่งออกอย่างเดียว ไม่มองการประกันราคาข้าวหรือกลไกด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องคิดถึงบริบทในกระบวนการผลิตข้าวทั้งหมด ซึ่งรวมถึงคุณภาพชีวิตของชาวนา คนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวไปพร้อมๆ กันด้วย

การจะเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้ปริมาณมาก คุณภาพดีขึ้น ในเบื้องต้นต้องยอมรับก่อนว่า ข้าวเป็นพืชที่ชอบน้ำ ดังนั้นพื้นที่ภาคกลางจึงเหมาะสมกับการทำนาข้าวมากที่สุด เพราะมีระบบชลประทานที่สามารถทำนาได้ปีละหลายครั้ง ส่งผลให้โปรดักติวิตี้สูงกว่าการทำนาในภาคอื่น

ส่วนภาคอีสานที่มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อในการปลูกข้าวหอมมะลิ เราต้องพยายามรักษาความได้เปรียบและพัฒนาจุดเด่นตรงนี้ให้ดีขึ้น เพื่อให้คนปลูกข้าวหอมมะลิ มีกำลังใจอยากปลูกข้าวหอมมะลิต่อไป


"เราบอกว่าข้าวของไทยดีที่สุด แต่ทำไมชาวนาไทยยังยากจนที่สุด"


ในเรื่องนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซี.พี. เคยยกตัวอย่างให้ฟังเสมอว่า เกาหลีใต้ ดิน ฟ้า อากาศสู้เมืองไทยไม่ได้เลย แต่เกาหลีใต้ ใช้เวลา 27 ปี เกษตรกรของเขาไปเที่ยวทั่วโลกได้ ทำไมเมืองไทยอุดมสมบูรณ์แบบนี้ ชาวนาไทยยังจนอยู่

นายธนินท์บอกไว้ว่า ถ้าเราไม่ปลูก ก็จ้างคนไปปลูกได้ หรือนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เอาเครื่องจักรมาช่วย ก็สามารถพัฒนาที่นาผืนใหญ่เป็นพันเป็นหมื่นไร่ให้มีผลผลิตที่สูงได้ โดยใช้คนเพียงหนึ่งคน แต่เวลานี้รัฐบาลพูดแต่การแก้ไขปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีประกันและจำนำ ส่วนเรื่องการวิจัยพันธ์ข้าวต่างๆ มีการพูดถึงน้อยลงๆ ทุกวัน

อีกประเด็นที่สำคัญในเรื่องของข้าวไทย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ประเทศไทยก็ยังคงขายสินค้าเดิมๆคือ เมล็ดข้าว นำข้าวเปลือกมาสี ทำความสะอาด แล้วส่งออก แต่ไม่แปรรูปข้าวให้มีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้คุณภาพข้าวดีขึ้น แทนที่จะขายในแบบเดิมๆ

เหมือนไก่ของไทย สมัยก่อน เอามาชำแหละตัดออกเป็นชิ้นๆ แล้วส่งขาย ได้กำไร 7-10 เปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้เราเอาไก่เป็นชิ้น มาผสมส่วนผสมอื่นเข้าไปเป็นอาหารสำเร็จรูป แล้วแช่แข็ง เมื่อส่งออกไปขายก็ได้ในราคาที่สูงขึ้น

หรือแม้แต่มันสำประหลังสมัยก่อนไทยส่งไปเป็นอาหารสัตว์ในยุโรป แต่ตอนหลังพัฒนานำไปทำกระดาษ มันสำประหลังวันนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงสินค้าเพื่อการบริโภคของสัตว์แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถนำไปทำพลังงานทดแทนได้ ซึ่งข้าวก็น่าจะพัฒนาต่อยอดได้ เพราะถ้าประเทศไทยไม่พัฒนาเรื่องการผลิตข้าวต่อไปประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ หรือ พม่า ก็จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย เพราะทุกประเทศสามารถปลูกข้าวส่งออกไปขายได้เช่นกัน

ในภาวะที่ประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าในอีก 30-40 ปีข้างหน้าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1 หมื่นล้านคน การบริโภคข้าวย่อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ตรงนี้ถือเป็นโอกาสที่ประเทศไทยต้องตระหนักว่าแม้จะมีโอกาสที่ดีแต่การแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ก็สูงเช่นกัน เพราะมีคู่แข่งในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจะรักษาฐานการส่งออกข้าวและสามารถตอบสนองอุปสงค์โลกที่เพิ่มขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบของปะเทศไทยได้อย่างไร

รัฐจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการวิจัย และมองหาตลาดใหม่ๆ ไปพร้อมๆ กัน ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยพันธ์ข้าว แล้วกำหนดทิศทางให้ชัดเจนว่าจะพัฒนาไปทางไหนบ้าง จะมีวิธีการเพิ่มคุณภาพของข้าวได้อย่างไร เช่น นำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ เหมือนกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ทำเรื่อง Golden rice เพิ่มวิตามินเข้าไปข้าว ทำให้ข้าวมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น หรือแม้แต่การพิจารณาเทคโนโลยีใหม่ การตัดแต่งยีนส์ที่ช่วยแก้ปัญหาภาวะแล้งก็ดีหรือการลดการใช้ยาปราบศรัตรูพืช หรือแม้แต่การใช้ปุ๋ยเคมี

จริงๆ แล้วเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว เกษตรกรรมของไทยเคยได้รับอานิสงฆ์จากการปฏิวัติเขียว ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจนสามารถส่งอาหารออกไปขายในต่างประเทศได้

วันนี้มีไบโอเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก เราจะไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับงานวิจัยใหม่ๆ เหล่านี้เลยหรือ ? จะไม่นำงานวิจัยเหล่านี้มาช่วยเพิ่มผลผลิต นำเอาเทคโนโลยีใหม่ มาทำให้เกิดปฏิวัติเขียวครั้งที่สองในประเทศไทยหรือ ?

อยากยกตัวอย่างชาวนาในเทกซัส ที่ทำการเกษตรจนร่ำรวย วันดีคืนดีได้มีโอกาสไปเที่ยวบราซิล พอไปเห็นที่ดินของบราซิลที่กว้างใหญ่ไพศาล และเหมาะกับการพัฒนาการเกษตรเหมือนเทกซัส ก็เห็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ชั่วข้ามคืนชาวนาเทกซัสก็นำวิชาความรู้ที่มีมาบุกเบิกที่ดินในบราซิลซึ่งมีจำนวนมหาศาลสร้างรายได้เข้าประเทศ

วันนี้ถ้าหากเราพัฒนาชาวนาไทยให้เขามีโอกาสบินไปเที่ยวพม่าบ้าง แล้วเห็นสภาพที่ดิน ชาวนาไทยอาจจะเห็นโอกาสแล้วนำความรู้ วิธีการจัดการไปใช้พัฒนาที่ดินพม่าก็เป็นได้ ฉะนั้นหลักสำคัญจึงอยู่ที่รัฐบาลต้องมีทัศนะวิสัย ไม่เอา blinders มาครอบไว้เหมือนม้าแข่ง เพราะจะทำให้ไม่เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงการผลิตข้าวอย่างจริงจัง เปิดเซ็กเตอร์นี้ให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมพัฒนาข้าวไทยอย่างบูรณาการ จัดการทุกอย่างโดยใช้ระบบที่เป็นปัจจุบัน ได้มาตรฐานสากล พัฒนาเรื่องการวิจัยพันธ์ข้าว นำเทคโนโลยีระดับโลกและการจัดการที่ทันสมัยมาใช้ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ การพัฒนาระบบชลประทาน เพราะข้าวถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญมาก การดำเนินงานจึงต้องทำในลักษณะคล้ายๆกับการจัดนิคมอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาข้าวไทยสู่เกษตรอุตสาหกรรม ทั้งเรื่องของเมล็ดพันธ์ การแปรรูป การหาตลาดใหม่ ๆ

รัฐต้องนำสิ่งที่ข้าวไทยได้เปรียบตลอดมาทั้งเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมบทบาทข้าวไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้นในตลาดโลก เพื่อก้าวสู่มิชชั่นใน 2 เรื่อง คือ food security และการก้าวไปสู่ยุทธศาสตร์การเป็นครัวของโลก

วันนี้ประเทศไทยเป็นผู้นำเรื่องการค้าข้าวแต่ในทางปฏิบัติเราไม่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ แต่กลับปล่อยให้ประเทศอื่นก้าวขึ้นมา อย่างเช่นเวียดนามเงื่อนไขทางธรรมชาติไม่ได้ดีกว่าไทย แต่บางปีเวียดนามส่งออกข้าวได้จำนวนมาก เพราะว่านโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการส่งออกเต็มที่

ข้าวเป็นอาหารเลี้ยงดูคน ดังนั้น คนปลูกข้าวจึงเป็นผู้มีพระคุณที่ต้องได้รับการดูแล อนาคตของข้าวไทยจึงจะพัฒนาไปได้

อยากเน้นว่าการจัดการข้าวแบบบูรณาการ รัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเรื่องข้าวทั้งหมด ทั้งเรื่องเมล็ดพันธ์ ดินฟ้าอากาศ กระบวนการผลิต เพราะตรงนี้ถือเป็นหัวใจของการทำนาที่ชาวนาต้องรู้ เพื่อที่จะสามารถผลิตข้าวได้อย่างมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาดภายนอก โดยเฉพาะการพัฒนาตลาดของจีน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจีนมีการเปลี่ยนแปลงที่สูง ทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจีนก็เป็นตลาดใหญ่ของข้าวไทยในเรื่องข้าวคุณภาพดี


ข้าวจึงจะเป็น success story และประเทศไทยจะสามารถรักษาฐานความเป็นผู้นำข้าวในตลาดโลกไว้ได้



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313402574&grpid=&catid=05&subcatid=0500




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/08/2011 5:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

286. นวัตกรรมข้าวไทย : ศักยภาพในอนาคต


ปรีดา ยังสุขสถาพร
preeda@nia.or.th
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ


ข้าวเป็นอาหารประจำวันของคนกว่าครึ่งโลก กว่า 200 ประเทศทั่วโลก นับเฉพาะประเทศจีนกับอินเดียแล้วก็มีผู้บริโภคข้าวรวมกันเกือบ 3,000 กว่าล้านคน ประเทศที่ปลูกข้าวมีประมาณ 113 ประเทศในทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา เพราะเป็นทวีปที่มีแต่น้ำแข็ง

เอเชียเป็นทวีปที่ปลูกข้าวได้มากที่สุดในโลกถึงร้อยละ 90 โดยจีนและอินเดีย เป็น 2 ประเทศที่ถือเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในโลกสามารถผลิตข้าวได้ มากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณข้าวทั้งหมดที่ปลูกในโลกแต่ละปี ทว่าส่วนใหญ่จะใช้บริโภคภายในประเทศ ส่วนประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกก็คือประเทศไทย

ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาเป็นระยะเวลาหลายปีติดต่อกัน ข้าวจึงไม่ใช่เพียงอาหารหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศ โดยในปัจจุบันประเทศไทยส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท แบ่งเป็นข้าวสารร้อยละ 93 และผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ แป้งข้าวเจ้า ผลิตภัณฑ์ข้าวสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 7

เมื่อพูดถึงข้าวไทยในบริบทของตลาดโลกคงหนี้ ไม่พ้นข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ข้าวจึงเป็นสินค้าหลักของประเทศไทยในการส่งออกมาอย่างยาวนาน เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุมเหมาะแก่การปลูกข้าว ข้าวไทยนั้นจึงมีภาพพจน์และการยอมรับในตลาดโลกในฐานะผู้นำทางด้านปริมาณและ คุณภาพ

ถึงประเทศไทยจะส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่กลับไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกเลย ในปัจจุบันยังมีคู่แข่งขันในตลาดโลกที่สำคัญ คือ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ปากีสถาน และจีน เป็นต้น ที่มีการพัฒนาพันธุ์และวิธีการเพาะปลูกทำให้มีผลผลิตต่อไร่สูง และยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวในรูปแบบต่างๆ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดและมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกข้าวของไทยได้รับผลกระทบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้าวที่ส่งออกเกือบทั้งหมดอยู่ในรูปของ ข้าวสารซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำที่สุดในห่วงโซ่มูลค่า ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่ประเทศไทยจะต้องใช้ข้าวในปริมาณเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนกับเครื่องบิน หรือน้ำมันในปริมาณเท่าเดิม นอกจากนั้น ราคาข้าวในตลาดโลกยังมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีผู้ ผลิตข้าวป้อนสู่ตลาดโลกเพิ่มขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวนาไทยจะจัดกลุ่มอยู่ในกลุ่มยากจน เมื่อเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไม่เข้มแข็ง การที่ประเทศไทยจะเติบโตอย่างยั่งยืนคงเป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน

ในขณะที่คุณค่าของ "ข้าว" นั้น มีมากมายเนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อ ร่างกาย ซึ่งสมควรจะดึงจุดเด่นข้อนี้มีสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสูงสุดให้กับข้าวไทย พร้อมกับการคืนความอุดมสมบูณ์ให้กับท้องนาและความมั่งคั่งให้กับชาวนาไทย

การสร้างความแตกต่างให้กับข้าวไทย จึงมีความจำเป็นมากสำหรับประเทศไทยตั้งแต่การพัฒนาระบบการเพาะปลูก เช่น การปลูกข้าวอินทรีย์ การเพิ่มผลผลิต และการแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย

การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นอุตสาหกรรมข้าวหลากหลายรูปแบบต้องดำเนิน การศึกษาในทุกทาง ตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่การสร้างรากฐานการผลิตข้าวด้วยพันธุ์ที่หลากหลาย จนถึงการพัฒนากระบวนการแปรรูปข้าว ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากข้าว ผลิตภัณฑ์หมักดอง และผลพลอยได้จากข้าว ดังที่เห็นในปัจจุบัน เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวหุงสุกเร็ว ข้าวสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว ข้าวแช่เยือกแข็ง ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ขนมจีน ข้าวเกรียบ ข้าวอบกรอบ น้ำมันรำข้าว เชื้อเพลิงจากแกลบ เป็นต้น



จากการศึกษาของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) พบว่า แนวทางการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมข้าวไทย สามารถพัฒนาได้ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้

1. นวัตกรรมในระบบการเพาะปลูกข้าว โดยการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีผลผลิตและมีสารอาหารเพิ่มขึ้น เช่น Golden Rice เป็นข้าวที่มีสารเบต้า-แคโรทีนสูง รวมถึงการนำระบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้ในการปลูกข้าว และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการปลูกข้าว

2. นวัตกรรมข้าวไทยในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ข้าวที่ผ่านกระบวนการเพิ่มคุณค่าสารอาหาร (nutrient-enriched rice) และแป้งข้าวเจ้าที่เหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก (resistant starch) เป็นต้น

3. นวัตกรรมข้าวไทยในอุตสาหกรรมยาหรืออาหารเสริม เช่น การสกัดสารสำคัญออริซานอล (oryzanol) ไฟโตสเตอรอล (phytosterol) จากข้าว และการใช้ประโยชน์จากข้าวแดงได้จากการหมักข้าวด้วย red yeast (Monascus purpureus)

4. นวัตกรรมข้าวไทยกับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง การนำสารสกัดจากข้าวไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น การนำกรดโคจิก (kojic acid) ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของผิวหนัง และโปรตีนข้าว (hydrolyzed rice brand protein) เมื่อถูกนำผสมกับโปรตีนถั่วเหลืองจะมีคุณสมบัติในการลดรอยขอบตาดำ เป็นต้น

5. นวัตกรรมข้าวไทยกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การนำแกลบซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวไปใช้ในอุตสาหกรรมยางรถจักรยาน เพื่อให้มีลักษณะเบาและมีความยืดหยุ่นดี การนำแกลบไปเป็นส่วนผสมในการทำพื้นผิวถนน ตลอดจนการนำแกลบหรือฟางข้าวไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลาย ได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายของการส่งออกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ตลอดยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ และมีความตื่นตัวในการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกอุตสาหกรรม

ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยและคนไทยซึ่งมีวัตถุดิบที่มีคุณค่าอยู่ในมือ อันจะสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านข้าว เราจึงควรให้ความสำคัญ กับการพัฒนาจากสิ่งที่เรามีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวของผู้ประกอบการและวงการเกษตรกรรมไทยเอง




http://www.innookcard.com/webboard/index.php?topic=635.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 5:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

287. น้ำมันสกัดจากจมูกข้าวหอมมะลิ



น้ำมันสกัดจากจมูกข้าวหอมมะลิที่สะอาดบริสุทธิ์ ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน ลดริ้วรอย เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหน้าได้เป็นอย่างดี น้ำมันสกัดเพียว บริสุทธิ์ 100% ผิวจึงได้รับคุณค่าอย่างเต็มเปี่ยม

น้ำมันจมูกข้าว อุดมด้วยวิตามิน E จากธรรมชาติ และสารแกมมา ออริซานอล บำรุงและปรับสภาพผิวหน้าให้ขาวใสเนียนนุ่มชุ่มชื้น ชะลอการเกิดริ้วรอย ลดอาการผิวแห้งลอก ลดอักเสบ อ่อนโยนใช้ได้แม้กับผิวบอบบางรอบดวงตา เพิ่มคุณค่าในการต้านอนุมูลอิสระ ปรับผิวขาวกระจ่างใสยิ่งขึ้น ไร้สารเคมีใด ๆ เป็นสารสกัดจากพืช 100% (100% Botanical Extract)

น้ำมันจมูกข้าวบริสุทธิ์ สกัดด้วยกรรมวิธีแห่งภูมิปัญญาไทย ผสมผสานกับเทคโนโลยีอันทันสมัยได้มาตรฐาน โดยไม่ผ่านความร้อน ไม่ใช้สารเคมี จึงคงคุณค่าสารสำคัญจากจมูกข้าวได้ครบถ้วน ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตัวนี้ทำส่งประเทศญี่ปุ่น เอาไปติดแบรนด์ขายขวดเป็นพันเชียวค่ะ

น้ำมันจมูกข้าว เป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการสกัดเอาสารสำคัญที่มีประโยชน์นานาชนิด ซึ่งมีอยู่ในจมูกข้าว (Rice Germ) อุดมด้วยสารสำคัญทางธรรมชาติ และมีคุณค่าสูงต่อเซลล์ผิวหลายชนิด เช่น

• กลุ่มสารฟอสโฟไลฟิด (Phospholipids) เช่น เลซิติน (Lecithin) เซฟฟาลิน (Cephalin) ไลโซเลซิติน (Lysolecithin) มีความสำคัญในการนำไปสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวจากสารที่เป็นพิษและอนุมูลอิสระต่างๆ และช่วยลดความเครียดให้ผิวได้อีกด้วย

• กลุ่มเซราไมด์ (Ceramide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชั้นใต้ผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น การเสริมเซราไมด์ให้ผิวอย่างเพียงพอ จะช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง ปราศจากริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้เซราไมด์ยังมีคุณสมบัติเป็นไวท์เทนเนอร์ (Whitener) ซึ่งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำบนผิวพรรณได้ดี และยังเป็นมอยเจอไรเซอร์ (Moisturizer) ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวอีกด้วย

• กลุ่มโทคอล (Tocols) วิตามินอีธรรมชาติ ในรูปของโทโคเฟอรอล (Tocopherol) และโทโคไทรอีนอล (Tocotrienol) มีประโยชน์ต่อผิวมากในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ และยังช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของการเกิดจุดด่างดำ ความเสื่อมชรา และริ้วรอยต่าง ๆ

• กลุ่มกรดไขมันไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 6 และกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 3 ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น โดยมีอยู่ประมาณ 33%

• กลุ่มวิตามิน B - Complex ซึ่งช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึมของผิวดีขึ้น

• กลุ่มแกมม่า - ออริซานอล มีฤทธิ์ในการลดระดับอนุมูลอิสระไม่ให้เกิดปฏิกิริยาต่อผิว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และยังป้องกันแสงยูวีได้ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นและต้านการอักเสบ สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก และมีการวิจัยพบว่า สารแกมม่า ออริซานอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เสถียรที่สุดเมื่อเทียบกับ วิตามิน C และ E

ใช้ทาบำรุงผิวหน้า รอบดวงตา ริมฝีปาก คืนความชุ่มชื่นนุ่มนวลและยืดหยุ่นแก่ผิวด้วยสูตรพิเศษจากจมูกข้าวหอมมะลิ นวดเบา ๆ จนซึมเข้าสู่ผิว ไม่จำเป็นต้องใช้มาก แค่ 1 หยด แตะซ้ำๆ และนวดเบา ๆ ในบริเวณผิวที่ต้องการ ผิวจะนุ่มสุขภาพดี ช่วยลบรอยเหี่ยวย่น ผิวแตกแห้ง หรือบรรเทาผิวที่แห้งเป็นขุยหลังการผลัดเซลล์ผิวได้ดี

ส่วนประกอบหลัก : น้ำมันบริสุทธิ์จากจมูกข้าว 100%
ปราศจากสารกันเสียและสารเคมีทุกชนิด ธรรมชาติแท้ 100%

วิธีใช้ : เพียง 1 หยดทาและนวดเบาๆ ทั่วใบหน้า 1 หยดนวดเบา ๆ รอบดวงตา และริมฝีปาก หลังทำความสะอาดผิวหน้า เช้าและก่อนนอน




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ oh@2-beauty.com

http://www.2-beauty.com
http://www.true-beautyshop.com


http://www.tammahakin.com/cat/TEL/TEL0005857.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/08/2011 8:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 5:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

288. ข้าวไร่ หรือข้าวดอย


เที่ยวภูชี้ฟ้า ดอยฝาตั้ง ระหว่างทางไปเวียงแก่นผมไปเจอข้าวไร่ที่นับวันยิ่งหาดูได้ยากไปทุกที ปกติการปลูกข้าวในนาที่ลุ่มจะใช้การดำหรือหว่าน แต่ตามภูเขาไม่มีน้ำเขาต้องพึ่งน้ำฝนอย่างเดียวเท่านั้น ต้องกะเวลาก่อนในตกและฝั่งเมล็ดข้าวลงไปแล้วกลบ แล้วก็รอวันที่ข้าวโตออกมาเป็นรวงแบบที่เห็นในรูปด้านบนครับ

เส้นทางดอยผาตั้งมีภูเขาสูงขัน วิวสวยงามเมื่อปลูกข้าวไร่จะเห็นเขาเป็นสีทองเต็มไปหมด แต่ไม่เยอะมากเท่าทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ (ไม่ใช่ดอยแม่อุคอ) แต่ก็ได้บรรยากาศของการมาเที่ยวดอยและได้ความรู้กลับบ้านด้วยว่าข้าวไร่หน้าตาเป็นอย่างไน Mr.Hotsia 2553

ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ "ความรู้เรื่องข้าว" โดย ดร. ประพาส วีระแพทย์ สาขาคัดพันธุ์ต้านทานศัตรูข้าว กองการข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกก็เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขามักจะไม่มีระดับ คือ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูกแล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ 25 x 25 เซนติเมตร ระหว่างแถวและระหว่างหลุมภายในแถว

ปกติจะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีหลังจากที่ได้เจาะหลุม โดยหยอด 5-8 เมล็ดต่อหลุม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วก็ใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน ก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน

การปลูกข้าวไร่ ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย และมีปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก



http://www.hotsia.com/chiangrai/rice-doi/index.shtml
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/08/2011 9:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

289. การใช้ประโยชน์จากยูเรียเป็นอาหารสัตว์



ในปัจจุบันราคาวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารโปรตีนทั้งที่มาจากพืช และชนิดที่มาจากสัตว์ เช่น พวกกากถั่วต่างๆ และปลาป่น ฯลฯ มีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เป็นอันมาก เนื่องจากอาหารโปรตีนชนิดต่างๆเหล่านี้เป็น ส่วนประกอบสำคัญในสูตรอาหารข้น หรืออาหารผสม ซึ่งใช้เป็นอาหารหลักของสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น สุกรเป็ดไก่ ฯลฯ สำหรับสัตว์กระเพาะรวม หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ ฯลฯ

การให้อาหารข้นเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารหยาบ และเพิ่มผลผลิตของสัตว์เท่านั้น แนวทางที่นำวัสดุอาหารที่ให้โปรตีนสูงๆมาทดแทน อาหารโปรตีนจากธรรมชาต ิซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ การใช้ไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีนแท้ (Non-Protein Nitrogen หรือ NPN.) มาใช้ผสมในอาหาร-สัตว์นั้น เป็นไปได้มากในสัตว์เคี้ยวเอื้องเท่านั้น

เนื่องจากสัตว์ประเภทนี้มีความสามารถ ใช้ประโยชน์จากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำ และจากสารประกอบไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน แล้วสามารถเปลี่ยนให้เป็นโปรตีน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวสัตว์เองได้ โดยขบวนการของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในกระเพาะส่วนหน้า ซึ่งสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถทำได้

เนื่องจากความแตกต่างกันทางระบบย่อยอาหารของสัตว์ทั้ง 2 ชนิด แหล่งของไนโตรเจนที่ใช้ได้แก่ ยูเรีย ไบยูเรต ไดแอมโมเนียม ฟอสเฟต ฯลฯ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ ปุ๋ยยูเรีย หรือที่รู้จักกันในหมู่เกษตรกรผู้ใช้คือ ปุ๋ยเย็น หรือปุ๋ยน้ำตาลยูเรีย จะมีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ ขนาดเล็กมีสีขาวขุ่น หาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพง และสะดวกในการใช้ยูเรียเป็นสาร ประกอบมีไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 46% ในการวิเคราะห์หาโปรตีนทั่วไป นิยมวัดปริมาณไนโตรเจนเป็นหลักแล้ว คูณด้วย ปริมาณโปรตีนเฉลี่ย 16% (6.25) ดังนั้น ยูเรียจะมีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเท่ากับ 287.5 เปอร์เซ็นต์



การนำปุ๋ยยูเรียมาใช้ประโยชน์
ปุ๋ยยูเรียสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ 2 ประการ คือ นำผสมลงในอาหารข้นโดยตรง หรือใช้ปุ๋ยยูเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว ทั้งนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้ จุดประสงค์ของการนำยูเรียมาใช้ผสมในอาหารสัตว์ เพื่อทดแทนอาหารโปรตีนจากธรรมชาติ และลดต้นทุนค่าอาหาร โดยจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางโภชนะเป็นสำคัญ วิธีนี้นับการใช้ปุ๋ยยูเรียผสมน้ำราดผสมกับฟางข้าวหมักทิ้งไว้ 21 วัน โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 6 เปอร์เซนต์ ก็จะทำให้ฟางข้าวหลังการหมักแล้ว มีคุณค่าทางอาหารสูงขึ้น สะดวกสำหรับผู้ใช้ และสัตว์เลี้ยงจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยยูเรียโดยตรงจากการสลายตัวในกระเพาะหมัก หรือในส่วนของลำไส้เล็ก

เมื่อพิจารณาในแง่เศรษฐกิจแล้ว ราคายูเรียจะถูกกว่า และ ให้ปริมาณของโปรตีนมากกว่าการใช้ปลาป่นและกากถั่วต่างๆ ซึ่งการใช้ปุ๋ยยูเรีย เป็นแหล่งโปรตีนผสมในอาหารข้น จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยจุลินทรีย์นั้นต้องมีแหล่งคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ง่ายๆ (แป้ง) เพียงพอ เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว มันเส้น รำละเอียด ฯลฯ มีแร่ธาต ุและวิตามิน ผสมอยู่ด้วย

การให้สัตว์เคี้ยวเอื้องกินยูเรียโดยตรง หรือผสมกับน้ำให้กินในปริมาณมากๆ สัตว์อาจจะตายได้ เนื่องจากยูเรียสามารถสลายตัวให้แอมโมเนียในกระเพาะรูเมน ถ้าสัตว์ได้รับยูเรียในระดับสูง หรือในสภาพที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดแอมโมเนียในกระเพาะ เกินกว่าที่จุลินทรีย์จะนำไปสร้างโปรตีนได้ทัน ร่างกายจึงต้องมีการกำจัดออก โดยเปลี่ยนเป็นยูเรียที่ตับ และขับออกทางปัสสาวะ ถ้าระดับของแอมโมเนีย สูงเกินกว่าร่างกายจะกำจัดได้ทัน ก็จะเกิดเป็นพิษสัตว์อาจถึงตาย ถ้าช่วยไม่ทัน ดังนั้น ก่อนนำยูเรียไปใช้ผสมในสูตรอาหาร จึงควรศึกษาให้ดีเสียก่อน



ปริมาณที่ใช้ผสมในอาหาร
การใช้ยูเรียในสูตรอาหารข้น สำหรับเคี้ยวเอื้องแต่ละประเภทจะต่างกันไป ฉลอง(2532) รายงานว่า ยูเรีย 1 กิโลกรัม ผสมกับเมล็ดข้าวโพด 6 กิโลกรัม จะให้คุณค่าเท่ากับกากถั่วเหลือง 7 กิโลกรัม ถึงแม้การใช้ยูเรียร่วมกับเมล็ดข้าวโพด ราคาถูกกว่าการใช้กากถั่วเหลืองล้วนๆ ก็ตาม การใช้ยูเรียในสูตรอาหารสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูงๆ เช่น ในโคนมก็มีข้อจำกัด คือ ในสูตรอาหารข้นสำหรับโคนม ที่ให้ผลผลิตต่ำกว่า 20 กก./วัน จะใช้ได้ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซ็นต์ ของสูตรอาหารข้น และสำหรับโคนมที่ให้ผลผลิตนมสูงกว่า 20 กก./วัน จะใช้ได้ไม่เกิน 0.75 เปอร์เซนต์ ของสูตรอาหารข้น หรือ ไม่ควรใช้ในสูตร อาหารข้นเลย (Mudd,1977) ในสูตรอาหารข้นสำหรับโคเนื้อใช้ได้สูงถึง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารข้น (Corse,1981) และโค-กระบือที่มีน้ำหนักมากกว่า 350 กิโลกรัม ควรได้รับยูเรียไม่เกิน 136 กรัม/ตัว/วัน โค-กระบือมีน้ำหนักระว่าง 230-350 กก. ควรได้รับยูเรียไม่เกิน 90 กรัม/ตัว/วัน และโค-กระบือมีน้ำหนักระหว่าง 130-230 กก. ควรได้รับยูเรีย ไม่เกิน 45 กรัม/ตัว/วัน (สมิต,2532)

การใช้ยูเรียในสูตรอาหารข้น นอกจากจะต้องมีแหล่งคาร์โบไฮเดรทอย่างเพียงพอแล้ว ควรผสมกำมะถันลงในสูตรอาหารด้วย เพื่อให้จุลินทรีย์ในกระเพาะสามารถผลิตกรดอะมิโนที่จำเป็น ชนิดที่มีกำมะถัน เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยได้ กำมะถันที่ใช้ประมาณ 0.10.2 เปอร์เซนต์ หรืออัตราส่วนของยูเรียต่อกำมะถัน คือ N:S = 10:1 นอกจากจะใช้ยูเรียผสมในสูตรอาหารข้นแล้ว ยังสามารถใช้ยูเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ หรือคุณค่าทางอาหารของอาหาร หยาบที่มีคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว ฯลฯ ให้ดีขึ้นโดยใช้ยูเรีย 6 เปอร์เซ็นต์ ผสมน้ำหมักกับฟางข้าวใช้เวลา 21 วัน แล้วนำออกใช้เลี้ยงโค-กระบือ

ฟางหมักยูเรียจะให้คุณค่าทางอาหาร และการย่อยได้สูงกว่าฟางข้าวธรรมดา (สถานนีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่, 2525) ซึ่งสมคิด และคณะ(1984) รายงานการใช้ฟางข้าวหมักยูเรีย แล้วนำมาเลี้ยงโคนมสาวเปรียบเทียบกับการเลี้ยงด้วยฟางข้าวธรรมดาหญ้าแห้งและหญ้าสด ปรากฎว่า การเลี้ยงด้วยฟางหมักยูเรีย จะมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักใกล้เคียงกับการใช้หญ้าแห้งและหญ้าสด และสูงกว่าโคที่เลี้ยงด้วยฟางข้าวธรรมดา

นอกจากนั้นสมคิด และคณะ (1984) ยังรายงาน ไว้ด้วยว่าการใช้ฟางข้าวหมักยูเรียเป็นอาหารหยาบ เลี้ยงโคกำลังรีดนมโค สามารถให้ผลผลิตน้ำนมได้ไม่แตกต่างกับโคที่กินหญ้าสด นอกจากนั้นอาจใช้ยูเรีย 1.52 กิโลกรัม ผสมกับกากน้ำตาล 7.5 กิโลกรัม ผสมน้ำราดบนฟางข้าวให้โคกระบือ กินได้ทันที (จีระชัย และบุญล้อม,2529,และจินดา และคณะ,2527) วิธีนี้ถ้าใช้เลี้ยงโค-กระบือเป็นเวลานานๆควรต้อง เสริมวิตามิน เอ. ดี. และ อี. ด้วย




การทำฟางปรุงแต่ง



ขบวนการใช้ประโยชน์ของโปรตีน จากอาหารในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
การย่อยสลายของอาหารโปรตีนแท้ และไนโตรเจนที่มาจากโปรตีนไม่แท้ ในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะเกิดขึ้น เมื่อสัตว์กินอาหารเข้าไปถึงกระเพาะหมัก ซึ่งที่นั่นจะมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่จำนวนมาก และหลายชนิดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของ อาหารที่เป็นโปรตีนแท้ จะถูกย่อยสลายให้เป็นแอมโมเนีย โดยจุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก ส่วนอีก 40 เปอร์เซ็นต์ จะไหลผ่านไปยังกระเพาะจริง และลำไส้ สำหรับสารประกอบที่ไม่ใช่โปรตีนแท้ (ยูเรีย) จะถูกย่อยสลายเป็นแอมโมเนียทั้งหมด แอมโมเนียที่ได้จากโปรตีนแท้ และแอมโมเนียจากสารประกอบไม่ใช่โปรตีนทั้งหมดส่วนหนึ่ง จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกับพลังงาน โดยจุลินทรีย์ เพื่อการเจริญเติบโตของตัวมันเอง กลายเป็นจุลินทรีย์โปรตีนแอมโมเนีย บางส่วนจะผ่านเข้ามาในระบบการย่อยอาหารใหม่ทางน้ำลาย และผนัง ของกระเพาะรูเมน ซึ่งการหมุนเวียนของแอมโมเนียระบบนี้ จะสามารถช่วยให้สัตว์เคี้ยวเอื้องได้รับไนโตรเจนเพิ่มขึ้น

ในช่วงระยะที่สัตว์อดอาหาร หรือได้รับอาหารมีไนโตรเจนต่ำ โดยการใช้ประโยชน์จากแอมโมเนียส่วนนี้ สำหรับบางส่วนที่เหลือ จะถูกส่งไปที่ตับเปลี่ยนเป็น ยูเรีย และขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จุลินทรีย์โปรตีน และโปรตีนที่เหลือจะผ่านมายังกระเพาะจริง และลำไส้เล็ก ซึ่งจะถูกย่อยสลายและถูกดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการดำรงชีพการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตสำหรับตัวสัตว์ต่อไป ส่วนที่ไม่สามารถสลาย และดูดซึมได้ก็จะถูกขับออกมาจากร่างกายทางอุจจาระดู จากภาพประกอบด้านล่าง



ข้อเสนอแนะ ในการใช้ยูเรียผสมในอาหารสัตว์
1. ใช้อาหารผสมยูเรียเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีกระเพาะรูเมน เจริญเติบโตแล้วเท่านั้น อย่าใช้ยูเรียกับลูกสัตว์หรือสัตว์ กระเพาะเดี่ยว

2. ใช้ยูเรียในสูตรอาหารข้น ที่มีโปรตีนหยาบต่ำกว่า 13 -14 เปอร์เซ็นต์

3. ในสูตรอาหารจะต้องมีคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยง่ายอยู่สูง เช่น มันเส้น ข้าวโพด รำละเอียด ปลายข้าว ฯลฯ

4. ยูเรียไม่มีพลังงานแร่ธาตุ และวิตามินการใช้ยูเรียเป็นแหล่งไนโตรเจน แทนโปรตีนธรรมชาติ จึงควรเสริมโภชนะ เหล่านี้ลงไปด้วย

5. การใช้ยูเรียผสมในอาหารข้นไม่ควรเกิน 3 เปอร์เซนต์ ของอาหารข้น หรือ 1 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณวัตถุแห้งที่สัตว์กินได้ หรือเกิน 30 กรัมต่อน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม

6. ยูเรียจะมีรสชาดเฝื่อน สัตว์ไม่ชอบกิน ควรผสมกากน้ำตาล เพื่อเพิ่มรสชาด

7. ควรใช้ยูเรียผสมลงในอาหารวันละน้อย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่ต้องการ เพื่อสัตว์จะได้มีเวลาปรับตัว

8. การผสมยูเรียลงในอาหารข้น ต้องผสมให้เข้ากันดีอย่าให้เป็นก้อน และไม่ควรใช้ยูเรียละลายน้ำให้สัตว์ดื่มโดยตรง เพราะสัตว์จะกินเข้าไปครั้งละมากๆ และอาจเป็นอันตรายได้



การเป็นพิษจากยูเรีย และการรักษา
ยูเรียเองไม่เป็นพิษต่อสัตว์ การเป็นพิษจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อยูเรียสลายตัวได้แอมโมเนีย ซึ่งตัวแอมโมเนียนี้เองจะเป็นพิษ กับเนื้อเยื่อ เมื่อสัตว์กินอาหารมีโปรตีนสูงๆ หรือสารประกอบที่ไม่ใช่โปรตีนแท้มากเกินไป เช่น ยูเรียจะมีผลให้ในกระเพาะ รูเมน ผลิตแอมโมเนียมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเกินกว่า 2 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ สัตว์จะแสดง อาการเป็นพิษ และถ้าแอมโมเนียในเลือดสูงถึงระดับ 3 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ สัตว์จะเป็นอันตรายถึงตายได้ อาการที่เห็นทั่วไปคือ หลังจากกินยูเรียเข้าไปประมาณ 20 นาที จะแสดงอาการน้ำลายฟูมปากหายใจลึก หรือหายใจลำบากมีอาการทาง ประสาทกล้ามเนื้อ ชักกระตุก อย่างรุนแรง ท้องอืด สัตว์จะล้มลงนอน และตายในที่สุด (Fraser,1963,Dinningetal.,1984) วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดพิษได้ โดยการใช้น้ำส้มสายชู และน้ำเย็นอัตรา 1:1 กรอกใส่ปากให้เร็วที่สุด (Pieter และdeKock,1962; Clarke and Clarke, 1963 และ Church, 1979)



สรุป
การใช้ปุ๋ยยูเรียทดแทนอาหารโปรตีนจากธรรมชาติในอาหารข้น สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องนั้น จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร และสามารถทำให้การผลิตสัตว์ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้โปรตีนจากธรรมชาติ ซึ่งมีราคาแพงกว่า ถ้าผู้ใช้จะได้ทำ ความเข้าใจถึงวิธีการใช้ยูเรียอย่างถูกต้อง กับขนาด และชนิด ของสัตว์ ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากยูเรียได้อย่างมีประสิทธิ ภาพยิ่งขึ้น สำหรับการใช้ยูเรียเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ของอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว จะสามารถทำให้อาหารหยาบนั้น มีคุณภาพสูงพอ ๆ กับหญ้า โดยจะมีการย่อยได้ของวัตถุแห้ง และปริมาณการกินได้ของสัตว์เพิ่มขึ้น



http://www.dld.go.th/nutrition/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/ArtileC.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

290. การใช้โอโซนเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา...ผักและผลไม้


เทคโนโลยีการ Utilizer ของน้ำหรือการใช้สารทำความสะอาดผักและผลไม้ อาทิเช่น คลอรีน ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดที่นิยมใช้ทำความสะอาดผักและผลไม้สด โดยมีข้อกำหนดการใช้ที่ความเข้มข้นที่ 1 ถึง 2 log แต่ที่ความเข้มข้นนี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคน ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาโอโซนในการใช้เป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดยได้ศึกษาข้อมูลจากการใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งได้มีการจัดการประชุมหลายครั้งโดยได้รับการสนับสนุนจาก Electric Power Research Institute ( EPRI ) รวมถึง Conference ในการใช้โอโซนในกระบวนการผลิตผักและผลไม้สดด้วย

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาการบริโภคผักและผลไม้ ในสหรัฐอเมริกามีปริมาณเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้เจ็บป่วยเพิ่มขึ้นจากจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในอาหารจากสารเคมี และน้ำเสีย

ปัจจุบัน จำนวนของ produce associated ของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในอาหาร การเจ็บป่วยของคนจากจุลินทรีย์ดังกล่าวไม่สามารถควบคุมได้และมีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเสื่อมเสียของผักและผลไม้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งส่วนใหญ่เกิดจากจุลินทรีย์กล่าวคือเรื่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยว จนถึงการบริโภคโดยมีการเสื่อมเสียมากถึง 30%

การใช้คลอรีนในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อนั้นเป็นสิ่งที่สะดวกและสามารถปฏิบัติได้ง่ายในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งยังมีคุณสมบัติในการควบคุมและลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคที่พบในผักและผลไม้ได้ เพื่อเพิ่มคุณภาพของผักและผลไม้ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ายังไม่สามารถจะชี้ชัดได้ถึงปริมาณคลอรีนที่ใช้เพื่อยับยั้งแบคทีเรียในผักและผลไม้ได้

องค์กรสภาพแวดล้อมและสุขภาพ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของสารทำความสะอาดและปริมาณการตกค้าง เช่น Trihalomental และปริมาณสารตกค้างอื่นๆ ในน้ำเสียที่ปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยมีความสัมพันธ์กันกับความเป็นไปได้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในอนาคต ในการใช้คลอรีนเป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ คลอรีนเป็นสารเคมีกลุ่มที่มีการนำมาใช้เป็นยาฆ่าและควบคุมแมลงศัตรูพืชในกระบวนการผลิตผักและผลไม้โดยเทคโนโลยีในการผลิต Current ไม่สามารถที่จะกำจัดยาฆ่าแมลงศัตรูพืช (คลอรีน) ที่ตกค้างที่ผิวของผักและผลไม้ได้ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพผู้บริโภค และมีความเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นหลายประเทศจึงให้ความสนใจกับสารทำความสะอาด และสารฆ่าเชื้อ และสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร

จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโอโซน สามารถใช้แทนคลอรีนได้ และในปี 1997 โอโซนได้รับการยอมรับจาก GRAS ว่ามีความปลอดภัยในการใช้และไม่มีสารเคมีตกค้างโดย EPRI ยอมให้มีการใช้โอโซนในอุตสาหกรรมได้ โดยภาคอุตสากรรมได้ให้ความสนใจถึงวิธีการและรายละเอียดของการใช้โอโซนในการเป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ


ทำไมต้องเป็นโอโซน
โอโซน เป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรงและดีกว่าคลอรีนถึง 1.5 เท่า ทั้งยังสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคจากอาหารได้ดีกว่าคลอรีนด้วย โดยโอโซนสามารถทำลายจุลินทรีย์ เช่น Ecoli, Listeria และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ และยังไม่มีสารตกค้าง โอโซนมีพลังโมเลกุลสูง มีครึ่งชีวิตในน้ำที่อุณหภูมิห้องที่ 20 นาที และสามารถแตกตัวเป็นออกซิเจนอย่างง่ายและไม่มีการตกค้างในการใช้กับผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้โอโซนยังถูกใช้ในการปรับสภาพน้ำที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ สำหรับกระบวนการผลิตผักและผลไม้ โดยใช้สำหรับการล้างทำความสะอาดผักและผลไม้ น้ำที่ใช้ในการทำความสะอาดนี้เป็นน้ำที่ผ่านกระบวนการ Combination ด้วยโอโซนและผ่านกระบวนการกรอง ซึ่งเป็นน้ำที่ปราศจากแบคทีเรีย สี และสารปนเปื้อนอื่นๆ นอกจากนี้น้ำที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้งเพื่อลดการใช้น้ำได้ ระบบการใช้โอโซนนั้นไม่เหมือนกับการใช้คลอรีน กล่าวคือ น้ำที่ใช้แล้วจะถูก discharged ด้วยโอโซน ซึ่งทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้าง และไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมและระบบน้ำใต้ดิน โอโซนสามารถกำจัดยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ตกค้างได้ เช่น สารตกค้างที่เกิดจากคลอรีน เป็นต้น โอโซนบริสุทธิ์ ( Gaseous Ozone ) เป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่ดีและเป็นสาร fumingation นอกจากนี้โอโซนสามารถใช้เป็นสารทำความสะอาดในสถานที่เก็บอาหารได้ หรือใช้เป็นสารทำความสะอาดในระหว่างการขนส่งเพื่อป้องกันแบคทีเรีย รา ยีสต์ที่ผิวของอาหาร และใช้ในการควบคุมแมลงที่ผิวของอาหารด้วย โอโซนสามารถกำจัดรสชาติที่ไม่พึงประสงค์อันเกิดจากแบคทีเรียได้ และสามารถกำจัดแก๊สเอทีลีนเพื่อยืดอายุการสุกของผลไม้ได้

ดังนั้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโอโซนได้รับการยอมรับว่าเป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงในการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารและมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ได้มีการใช้โอโซนในการปรับปรุงน้ำใช้และน้ำใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร ในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้โอโซนในกระบวนการผลิตน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท และใช้ในกระบวนการผลิตอาหารหลายชนิด จากการศึกษาพบว่าโอโซนมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีการนำมาใช้เป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในอาหาร การศึกษาในปี 1840 พบว่าโมเลกุลของโอโซนประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจน 3 อะตอม


คุณสมบัติของโอโซน
มีความสามารถละลายน้ำได้ดีกว่าแก๊ส โดยการละลายจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง
โอโซนมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โดยจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับผนังเซลล์ของจุลินทรีย์


โอโซนสามารถสลายตัวได้เองและไม่มีสารพิษตกค้าง
โอโซนเป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรงกว่าคลอรีนและมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อโรคอื่นๆ ที่ดีกว่าคลอรีนและสารทำความสะอาดอื่นๆ

โอโซนเกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลต จากแสงแดด และถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ในทางการค้าจากแสง UV ที่ความถี่ 185 nm หรือ Corona discharge โดยทั่วไปจะพบ Corona discharge ที่ความเข้มข้นของอากาศ 1-3% w/w และที่ความเข้มข้นของออกซิเจน 2-12% w/w


การใช้โอโซนในการยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้
โอโซนสามารถใช้ในการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่เก็บรักษาในห้องเย็นได้ โดยสามารถป้องกันการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรียในอากาศ ที่ผิวของผลิตภัณฑ์ได้ ที่ความเข้มข้นของโอโซนต่ำๆ และยังสามารถทำลายจุลินทรีย์ที่ผิวของอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ได้

ในปี 1933 มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้โอโซนในการเก็บรักษาผักและผลไม้หลายชนิด เช่น แอปเปิ้ล มันฝรั่ง มะเขือเทศ สตอเบอรี่ บร็อคเคอรี่ แพร Canberries ส้ม พีช องุ่น ข้าวโพด และถั่วเหลือง

ในปี 1995 Barth etal ได้ศึกษาการใช้โอโซนในการเก็บรักษา Blackberries โดยเริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการเก็บรักษาโดยทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของโอโซน 0.3 ppm ผลพบว่า สามารถยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น 20 % โดยไม่ทำให้เกิดตำหนิและไม่ทำให้สีของผลเปลี่ยนแปลงจากการเก็บรักษานาน 12 วัน ก

ารเก็บรักษาผักและผลไม้โดยใช้โอโซนนี้เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการยืดอายุการเก็บรักษาสเตอเบอรี่ เพราะสตอเบอรี่นั้นเสื่อมเสียได้ง่ายในสภาวะที่เปียก แต่ถ้าเก็บรักษาสตอเบอรี่ ลาสเบอรี่ Current และองุ่น โดยใช้โอโซน สามารถเพิ่มอายุการเก็บรักษาขึ้นเป็น 2 เท่า ที่มีความเข้มข้นของโอโซน 2-3 ppm และมีการปล่อย โอโซนไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน

ในปี 1968 Noton etal พบว่าการใช้อุณหภูมิต่ำๆ ประกอบการใช้โอโซนสามารถควบคุมการเจริญของเชื้อราได้ดี ในปี 1953 Kuprianoff พบว่าสามารถยืดอายุการเก็บรักษาแอ็ปเปิ้ลได้นานขึ้นหลายสัปดาห์โดยการใช้โอโซน 2-3 cm3 / m3 โดยปล่อยโอโซนประมาณ 1-2 ชั่วโมง/วัน แต่ถ้าใช้โอโซนที่ปริมาณ 10 cm 3 / m 3 มีผลทำให้แอปเปิ้ลเกิดการเสื่อมเสีย Baranovskaya et . al (1979) พบว่าสามารถยืดอายุการเก็บรักษามันฝรั่งได้นานขึ้นถึง 6 เดือน โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของมันฝรั่ง โดยทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 6-14 องศาเซลเซียส ที่ความชื้น 93-97 % และที่ปริมาณความเข้มข้นของโอโซน 3 ppm แต่สิ่งที่สำคัญ คือ โอโซนสามารถใช้ในห้องเย็นที่ใช้เก็บรักษาผักและผลไม้เพื่อป้องกันการสุก โดยโอโซนจะไปลดการผลิตแก๊สเอทิลีนที่ผักและผลไม้ผลิตขึ้น และมีผลทำให้การสุกของผักและผลไม้ช้าลงได้




ที่มา : วารสารสถาบันอาหาร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร
35 เทคโนธานี คลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10120
โทร.: (662) 577-9000, 577-9155-56
โทรสาร : (662) 577-9128, 577-9009

http://www.tistr-foodprocess.net/download/article/ozone_th.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2011 12:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 9:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

291. การทำฮอร์โมนพืชสมุนไพร (เหล้าดองยา) บำรุงสัตว์


เป็นการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์กับสัตว์ สมุนไพรส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านรู้จักกันดี จากแนวคิดที่ว่าสามารถนำมาใช้กับคนได้ก็สามารถนำมาใช้กับสัตว์ได้ พืชสมุนไพรบางชนิดอาจหายากแต่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาสมุนไพร แต่สมุนไพรบางชนิด สามารถใช้ตัวสมุนไพรอย่างอื่นแทนได้ มีการทดลองใช้กับสัตว์และเห็นว่าเกิดประโยชน์จริงจึงนำมาเผยแพร่ให้เกษตรกรได้ทดลองทำ ดังนี้


วัสดุที่ใช้
–สมุนไพร ชะเอม ,โสมตังกุย , อบเชย, กระชายดำ ซึ่งถ้าไม่มีทั้ง 4 อย่างให้ใช้ ขิง , กระเทียม, มะแขว่น, ปูเลย ตะไคร้ก็ได้ ให้รวมๆกันแล้วได้ 1 กิโลกรัม
- เบียร์หรือเหล้าสาโท 2 ขวด อย่างใดอย่างหนึ่ง
- เหล้า 40 ดีกรี 2 ขวด
- น้ำตาลทรายแดง ½ กิโลกรัม



วิธีทำ
- เตรียมขวดโหล มีฝาปิด ทำความสะอาด ล้างน้ำทิ้งไว้ให้แห้ง
- นำสมุนไพร จำนวน 1 กิโลกรัมดังกล่าวใส่ลงไปก่อน เอาหล้าขาว หรือเบียร์ 2 ขวดเทให้ท่วมวัสดุ จากนั้นปิดฝาทิ้งไว้ 12 ชั่วโมงหรือ 1 คืน เสร็จแล้วจากนั้น นำน้ำตาลทรายแดงใส่ลงไป ½ กิโลกรัม พร้อมทั้งเหล้า 40 ดีกรี 2 ขวด ทิ้งไว้ 8-10 วัน รินใส่ขวดเก็บไว้


วิธีการใช้
ใช้ในอัตราส่วน 1 ช้อน : น้ำ 10 ลิตร ใส่ในน้ำเป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ทุกชนิด ผ่อนคลายความเครียดในสัตว์ ฮอร์โมนที่ได้ชนิดเข้มข้นใช้พ่นสัตว์ ทำลายเห็บ ผื่น ขี้เรื้อน หายได้ และนอกจากนั้นยังสามารถนำไปผสมกับจุลินทรีย์อื่นๆ ให้สัตว์กินได้ด้วย




แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณสิงห์ บัณฑิตธูสกุล อายุ : 52 ปี
ที่อยู่ : 127 หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
http://www.rusadeer.com/deerinformation.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2011 12:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 10:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

292. ปุ๋ย ไนโตรเจน


ปุ๋ยไนโตรเจน เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุไนโตรเจนในรูปของสารประกอบชนิดต่างๆ แอมโมเนีย (NH3) สารตัวนี้เป็นแก๊ส สังเคราะห์ขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่าง N2 กับ H2 N2 เป็นวัตถุดิบที่ได้จากอากาศ ส่วน H2 มักผลิตจากแก๊สธรรมชาติ น้ำมัน หรือถ่านหิน การใช้เป็นปุ๋ยสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแอมโมเนียเหลว (แก๊ส NH3 ที่นำมาอัดให้ความดันสูงจนเป็นของเหลว) หรือใช้ในรูปแอมโมเนียน้ำ (แก๊ส NH3 นำมาละลายน้ำ) เนื่องจากความยุ่งยากในการใช้และการขนส่ง เกษตรกรไทยยังไม่นิยมใช้ปุ๋ยชนิดนี้


ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้มาก และมากที่สุดในธรรมดาธาตุอาหารที่จำเป็นต้องใช้ เพราะไนโตรเจนมีบทบาทหน้าที่ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในพืชอย่างมาก ในแต่ละปีเราต้องสั่งซื้อปุ๋ยที่เรียกว่าปุ๋ยไนโตรเจนเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เสียเงินเสียทองมากและเสียดุลย์การค้า ความจริงแล้วปุ๋ยไนโตรเจนเราสามารถหามาได้จากแหล่งต่าง ๆ รอบตัวเรา แต่บางกรณีก็ยาก บางกรณีก็ไม่ยากเท่าไร โดยธรรมชาติแล้วไนโตรเจนนั้นอยู่ในอากาศรอบตัวเรา (ชั้นบรรยากาศโลก) อยู่แล้ว และอยู่ในเปอร์เซ็นต์สูงเสียด้วย คือ ในอากาศมีธาตุไนโตรเจน 78% ซึ่งสูงกว่าออกซิเจนเสียอีก แล้วทีนี้ทำไมต้องซื้อมาใส่ลงในดินให้พืช ความจริงก็คือ ที่มันเป็นไนโตรเจนในอากาศนั้น มันอยู่ในรูปของก๊าซ ซึ่งในรูปนี้พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้ ต้องหาทางเอามาใช้ แต่ธรรมชาติก็ช่วยนิดหน่อย คือ ไนโตรเจนที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น เวลาฝนตกฟ้าร้องมันจะรวมกันตกลงมาเป็นรูปที่พืชเอาไปใช้เลย ดังจะเห็นได้จากกรณีที่สังเกตได้ว่า เวลาฝนตกลงมาครั้งใดครั้งหนึ่ง พืชจะงดงามทันที และงามกว่าช่วงหน้าแล้งที่ลดน้ำทุกวันด้วยซ้ำไป

แหล่งใหญ่ที่สุดของธาตุไนโตรเจนที่พืชสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ก็คงต้องมาจากดินและหินนั้นเอง เรามีการผลิตปุ๋ยวิทยาศาสตร์มานมนาน โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ในท้องตลาดที่เวลาไปซื้อปุ๋ยนั้นจะเห็นที่ข้างกระสอบเขียนเป็นสูตรต่างๆมากมาย ทั้งๆ ที่เป็นปุ๋ยไนโตรเจนเหมือนกัน เรามาทำความรู้จักกับปุ๋ยไนโตรเจนชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการเกษตรกันสักหน่อย


ปุ๋ยไนโตรเจนตัวแรกที่เราใส่กันมาก ๆ ก็คือปุ๋ย 46-0-0 ซึ่งสูตรดังกล่าวนี้ก็คือ ใน 100 กิโลกรัมจะมีธาตุไนโตรเจน 46 กิโลกรัม หรือ 46% เราเรียกปุ๋ยชนิดนี้ว่า ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยชนิดนี้มีการละลายน้ำดี จึงสูญเสียได้ง่ายเวลามีน้ำมาก ในดินใส่แล้วจะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น โดยปกติเราใช้ปุ๋ยยูเรียเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้ผลเร็วเพราะพืชดูดใช้ได้เลย

- ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท คือสูตร 35-0-0 เป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจน 35% เป็นปุ๋ยไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้หมด พืชดูดใช้ได้เร็ว

- ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต คือสูตร 21-0-0 มีไนโตรเจน 21% ละลายน้ำดีเป็นผลึกสีขาว การใส่ปุ๋ยชนิดนี้ยังได้ธาตุอาหารรอง คือ กำมะถันด้วย



นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยไนโตรเจนในรูปอื่น ๆ อีกมากมายเช่น แอมโมเนียมคลอไรด์. โซเดียมไนเตรท. แอมโมเนียมฟอสเฟต. แคลเซี่ยมไนเตรท. ซึ่งปุ๋ยเหล่านี้จัดเป็นประเภทปุ๋ยเดี่ยว แต่ในท้องตลาดยังมีปุ๋ยผสมซึ่งมีเขียนเป็นเลข 3 กลุ่มที่ข้างกระสอบ ก่อนซื้อต้องดูรายละเอียดให้ดี ทั้งเปอร์เซ็นต์และราคา ปุ๋ยโนโตรเจนพืชต้องการใช้จริงๆ เราก็จำเป็นต้องใส่ แต่ถ้าหากไม่อยากซื้อก็อาจใส่ปุ๋ยคอก เพราะในปุ๋ยคอกก็มีไนโตรเจนเหมือนกัน


แอมโมเนีย (NH3) สารตัวนี้เป็นแก๊ส สังเคราะห์ขึ้นจาก ปฏิกริยาระหว่าง N2 กับ H2 N2 เป็นวัตถุดิบที่ได้จากอากาศ ส่วน H2 มักผลิตจากแก๊สธรรมชาติ น้ำมัน หรือถ่านหิน การใช้เป็นปุ๋ยสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแอมโมเนียเหลว (แก๊ส NH3 ที่นำมาอัดให้ความดันสูงจนเป็นของเหลว) หรือใช้ในรูปแอมโมเนียน้ำ (แก๊ส NH3 นำมาละลายน้ำ) เนื่องจากความยุ่งยากในการใช้และการขนส่ง เกษตรกรไทยยังไม่นิยมใช้ปุ๋ยชนิดนี้



ประโยชน์ของปุ๋ยไนโตรเจน คือ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้น

แม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนมีหลายชนิด เช่น
- แอมโมเนียมซัลเฟต หรือ 21-0-0 เป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจน 21%
- ยูเรีย หรือ 46-0-0 มีไนโตรเจน 46%
- แอมโมเนียมคลอไรด ์ หรือ 26- 0-0 มีไนโตรเจน 26%




การเปรียบเทียบว่าปุ๋ยสูตรใดราคาถูกหรือแพงกว่า มีวิธีคำนวณดังนี้
ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของไนโตรเจน = (ราคาต่อกระสอบ x 2)/ % ไนโตรเจน เช่น ปุ๋ย 21-0-0 ราคากระสอบละ 300 บาท
ปุ๋ย 46-0-0 ราคากระสอบละ 400 บาท ดังนั้น ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ย 21-0-0 = (300 x 2)/21 = 28.75 ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ย 46-0-0 = (400 x 2)/46 = 17.39


เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าปุ๋ยยูเรียราคาถูกกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต แต่ในบางกรณีบางพืชต้องการกำมะถันจึงต้องใช้ 21-0-0 ใส่ร่วมด้วย เพราะปุ๋ยสูตรนี้จะมีกำมะถันอยู่ 24%


ลักษณะของปุ๋ยยูเรียมี ชนิดเม็ดใส และชนิดเม็ดโฟม ในการใส่ปุ๋ยให้แก่พืชเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เช่น

- พืชผัก อ้อยระยะแรก ใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7
- ไม้ผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ข้าวใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 และ 16-16-8 เป็นต้น



การตรึงไนโตรเจนในอากาศโดยใช้ไฟฟ้า
การเปลี่ยนไนโตรเจนในอากาศเป็นสารประกอบนินทรีย์โดยกระบวนการ Electric arc process คิดค้นขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อ Cavendish โดยเลียน แบบการเปลี่ยนแก๊สไนโตรเจนในอากาศเป็น NO 3 - ในธรรมชาติที่เกิดขึ้นขณะเกิดฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า

N 2 + O 2 = 2NO
2NO + O 2 = 2NO 2
3NO 2 + H 2 O = 2HNO 3 + NO

HNO 3 ที่ได้จากระบวนการนี้ นำไปทำปฏิกิริยาต่อไปกับด่าง เพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปเกลือ nitrate เช่น

2HNO 3 + Na 2 CO 3 = 2NaNO 3 + H 2 O + CO 2
2HNO 3 + CaCO 3 = Ca(NO 3) 2 + H 2 O + CO 2


กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพต่ำ เพียง 2% ของ N 2 เท่านั้นที่เกิดปฏิกิริยา ต้นทุนในการผลิตขึ้นอยู่กับราคาพลังงานไฟฟ้า บริษัทที่ผลิต เช่น Norsk และ ทั้งสองใช้ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ



การผลิตปุ๋ยยูเรีย
Urea เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ได้จาก metabolism ของโปรตีน สัตว์ และคนขับถ่ายออกมากับปัสสาวะ เดิมนักเคมีเชื่อว่าไม่สามารถเตรียมได้จากปฏิกิริยาของสารอนินทรีย์ แต่ในปี พ.ศ. 2828 Friedrich Wohler ค้นพบวิธีสังเคราะห์จาก ammonium cyanate (NH 4 OCN) โดยเพียงแต่นำสารตัวนี้มาต้ม ปฏิกิริยาเกิดขึ้นดังสมการ

NH 4 OCN = NH 2 CONH 2

ในปี 1920 ได้มีการผลิต urea ในอุตสาหกรรม ขึ้นในเยอรมันและอเมริกา โดยอาศัยปฏิกิริยา acid hydrolysis ของ CaCN 2 ปฏิกิริยาเกิดขึ้นดังสมการ

CaCN 2 + CO 2 + H 2 O = N 2 CN 2 + CaCO 3

H 2 CN 2 + H 2 O = NH 2 CONH 2

urea ที่ผลิตได้จากกระบวนการนี้มีความบริสุทธิ์ประมาณ 44% N (urea บริสุทธิ์ = 46.6 %) และมี dicyanodiamide (NH 2 C(NH)NHCN) เป็น by product ปนอยู่ด้วยประมาณ 1% สารตัวนี้เป็นพิษต่อพืช urea ที่ผลิตจากกระบวนการนี้จึงใช้เฉพาะเป็น feedstock ของอุตสาหกรรมพลาสติก ไม่สามารถใช้เป็นปุ๋ยได้

การสังเคราะห์ urea ในอุตสาหกรรม ปัจจุบันอาศัยปฏิกิริยาระหว่าง NH 3 กับ CO 2 ปฏิกิริยาเกิดขึ้นดังสมการ

2NH 3 + CO 2 = NH 2 - CO - ONH 4
H = -67,000 BTU

NH 2 -C-ONH 4 = NH 2 -CO-NH 2 + H 2 O
H = +18,000 BTU

สาร NH 2 -CO-ONH 4 เรียกว่า ammonium carbamate ส่วน NH 2 -CO-NH 2 เรียกว่า carbamide


ปฏิกิริยาทั้งสองเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้ ดังนั้น ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตจึงขึ้นกับ อุณหภูมิ ความดัน และความเข้มข้นของสารแต่ละตัวในปฏิกิริยา โดยทั่วไปมักใช้อุณหภูมิในช่วง 180-200 องศา C ความดัน 140-250 atm



การผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4) มีไนโตรเจน 21% และกำมะถัน 24% จึงเป็นปุ๋ยที่ให้ทั้งธาตุหลักและธาตุรอง เหมาะกับดินที่ขาดทั้งไนโตรเจนและกำมะถัน หรือพืชที่ต้องการกำมะถันมาก ปุ๋ยนี้มีผลตกค้างในดินเป็นกรด

ปุ๋ย (NH 4) 2 SO 4 ได้จาก 3 แหล่ง ดังนี้

1. Synthetic ammonium sulfate
ได้จากการนำ HN 3 มาทำปฏิกิริยากับ H 2 SO 4 กระบวนการทำปฏิกิริยามี 2 แบบ คือ

• Spray reaetor
• Solution reactor

2. Byproduct ammonium sulfate ในถ่านหินมักมี N อยู่ประมาณ 1-2% ดังนั้นเมื่อนำไปกลั่น (coking) จะมี byproduct คือ (NH 4) 2 SO 4 ออกมาประมาณ 2-3 kg/ ตัน

3. Coproduct ammonium sulfate หมายถึง NH 4 SO 4 ที่เกิดขึ้นในการผลิตสารชนิดอื่น เช่น
3.1 Caprolactam coproduct ในการผลิต caprolactam 1 ตัน จะมี (NH 4)SO 4 เกิดขึ้นประมาณ 2.6-4.1 ตัน
3.2 TiO 2 coproduct นอกจากนี้ (NH 4) 2 SO 4 ยังได้จากอุตสาหกรรมผลิต TiO 2


แอมโมเนียคลอไรด์ (ammonium chloride : NH4Cl สูตร 25-0-0) ปุ๋ยตัวนี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดเป็นผลพลอยได้จากการผลิต Soda ash (Na2CO3) และผงชูรส ปุ๋ยนี้มีไนโตรเจนประมาณ 25% พืชโดยทั่วไปต้องการคลอไรด์เพียงเล็กน้อย การใช้ปุ๋ยตัวนี้ติดต่อกันอาจทำให้ดินมีความเค็มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เหมาะกับพืชที่ต้องการคลอไรด์สูง เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปุ๋ยนี้มีผลตกค้างในดินเป็นกรด



http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem51/chem51_14/10l4l2.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2011 3:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 10:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

293. หลากหลายวิธีกำจัดปลวก



1. กำจัดปลวกนำน้ำมันโซล่าราดลงไปบนพื้นที่ที่ปลวกขึ้น แล้วปล่อยทิ้งไว้สัก 10-15 นาที หลังจากนั้น ให้นำน้ำมันโซล่าราดซ้ำไปอีกรอบ ง่ายๆเท่านี้เองก็เป็นการกําจัดปลวกให้หมดไป หลังจากที่เราทำการราดน้ำมันโซล่านี้ไปแล้วนั้น อย่าพึ่งนำสิ่งของวางไว้พื้นที่นั้น ให้ทำการเปิดหน้าต่างทิ้งไว้จนกว่ากลิ่นของน้ำมันโซล่าจะหมดไปเสียก่อน ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นวิธีกำจัดปลวกที่ไม่ยากเลยใช่มั้ยค่ะ



2. แฝกไม่ได้แค่จะปลูกเพื่อการปกป้องการชะล้างของหน้าดินแล้ว รากของหญ้าแฝก ยังเอามาทดแทนชิ้นส่วนจากไม้ ที่ได้น้ำมัน ที่สกัดได้จากต้นหญ้าแฝก สามารถใช้ กำจัดปลวก ได้ พิจารณาได้จากบริเวณที่ปลูกแฝกจะไม่เห็นปลวกอยู่ในบริเวณเลย ฉะนั้นในการใช้ กำจัดปลวก จึงไม่น่ามีพิษภัยต่อร่างกายของท่าน การทำการปฏิกิริยาของการ กำจัดปลวก ต่อร่างกาย ไม่ตกค้างนานอย่างกับสารเคมีทั่วไป




3. หาปลายผ้าที่ไม่ใช้แล้วมาตัดเป็นชิ้นๆ ความยาวพอประมาณ ชุบกับน้ำมันก๊าซพอเปียกหรือจาระบีใช้แล้วนำมาพันรอบชั้นตู้ หรืออาจใช้ปูนขาวใส่ที่รองรองที่ขาโต๊ะก็ได้ และถ้าพบ ปลวก บริเวณมาตามรอยแตกของคอนกรีต ให้ใช้น้ำมันก๊าดเทเข้าไปในร่อง เราก็สามารถจะใช้ กำจัดปลวก ได้แบบสบายๆ ใช้แป้งผุ่นเพื่อทาปกป้องหมัดของแมวมาโรยตามพื้นห้องหรือบริเวณที่ ปลวกขึ้นบ้าน เวลาเมื่อ ปลวก เดินมาโดนก็จะเกิดการระคายและเสียชีวิตในระยะเร็ว หรืออาจปาดมะนาวเป็นแผ่นเล็กๆ มาไปจัดในพื้นที่ที่ ปลวกขึ้นบ้าน หรือเตรียมการ กำจัดปลวก ก็ได้เช่นเดียวกัน ในเรื่องที่เจอรังปลวก ให้ใช้น้ำดื่มที่แช่หน่อไม้แห้งราดไปที่รัง ปลวกจะอพยพไปอยู่ที่อื่นทันที แต่ถ้าว่าอยาก กำจัดปลวก ให้สิ้นซาก ให้ใช้กรบูรและใบกระท่อมอย่างละ 1 ส่วน นำไปแช่น้ำตั้งไฟให้ไฟแรง หลังจากนั้นเอาไปราดที่รัง จะสามารถ กำจัดปลวก ได้และพวกมันคงเข็ดมาสร้างรังอีกที




4. ด้วยสารสกัดจากสมุนไพรไทย อาทิเช่น หางไหล ตระไคร้ หอม ข่า ขมิ้นชัน หัวแห้วหมู พริก งา และใบสาบเสือ ฯลฯ สารสกัดจากสมุนไพรเหล่าพวกนี้ เป็นพืชที่ช่วยในการกำจัดปลวกไม่สามารถสร้างกลไก ในการย่อยสลาย สารสําคัญจากพืชพวกนี้ได้ มีผลในการ control ปริมาณปลวก โดยกลไกที่แตกต่างกันตั้งแต่ การหยุดการเติบโตของตัวอ่อน การวางไข่ การกินอาหาร ตลอดถึงการยับยั้ง



http://www.fishcollmag.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 11:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

294. วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสถานะแตกต่างกัน



มีหลายวิธีการดังนี้ คือ
1. การใส่ปุ๋ยที่อยู่ในรูปแก๊ส ได้แก่ การใส่แอนไฮดรัสแอมโมเนียมีวิธีการใส่ดังนี้ คือ
1.1 ใส่ลงดินดดยตรงด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษจะต้องใส่ในระยะความลึกไม่ต่ำกว่า 10-15 เซนติเมตร ในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะหากเป็นดินเนื้อหยาบควรใส่ลึกกว่านี้เล็กน้อย

1.2 พ่นฟองแอมโมเนียลงในร่องนำชลประทาน เพื่อให้แอมโมเนียละลายน้ำแล้วกระจายไปกับน้ำสู่ดินอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ควรระมัดระวังการสูญหายของก๊าซแอมโมเนียด้วย



2. การใส่ปุ๋ยชนิดแข็ง มีวิธีการใส่ 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ
2.1 การใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมกับการปลูก ( Basal application ) เรียกปุ๋ยที่ใช้ในวิธีการนี้ว่า ปุ๋ยรองพื้นหรือรองก้นหลุม ( ถ้าปลูกพืชเป็นหลุม ) การใส่ปุ๋ยที่ค่อนข้างละลายง่ายพร้อมกับการหยอดเมล็ดหรือก่อนหยอดเมล็ด ควรใส่ในระยะที่ปุ๋ยอยู่ไม่ห่างจากเมล็ดมากนัก เพื่อให้กล้าอ่อนได้ใช้ประโยชน์โดยเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในระยะแรก ปุ๋ยรองพื้นเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน ( Starter fertilizer )

2.2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ( Top dressing ) คือ การใส่ปุ๋ยขณะที่มีการปลูกพืชอยู่ในพื้นที่แล้วเป็นการใส่ปุ๋ยเสริมปุ๋ยรองพื้นจากที่เคยใส่ก่อนปลูกเพื่อให้พืชได้รับปุ๋ยนั้นๆอย่างเพียงพอ วิธีการนี้เหมาะสำหรับปุ๋ยไนโตรเจนและควรมีการพิจารณาจำนวนครั้งที่ใส่ตามความเหมาะสม การใส่ปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยแต่งหน้ามี 4 วิธี ที่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของพืชที่ปลูกดังนี้


- โรยเป็นแถวแคบ ( Banding ) เป็นวิธีที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว โดยโรยปุ๋ยเป็นแถบข้างๆ แถวพืช ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ หากเป็นการใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ดจะต้องระวังไม่ให้แนวปุ๋ยอยู่ใกล้มล็ดพืชเกินไป เพราะความเค็มของปุ๋ยจะทำลายการงอกของเมล็ด เช่น การปลูกถั่วด้วยเครื่องปลูก ควรบังคับปุ๋ยให้อยู่สองข้างแถวเมล็ด ห่างจากแถวเมล็ดข้างละ 5 เซนติเมตร และลึกกว่าระดับเมล็ด 5 เซนติเมตร


- โรยเป็นแถวกว้าง ( Strip placement ) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่ขยายแถบปุ๋ยให้กว้างในระหว่างแถวพืช ซึ่งจะช่วยให้ดินบริเวณที่รับปุ๋ยได้มากขึ้น แต่เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของธาตุอาหารที่สูงขึ้นกว่าการหว่านทั่วแปลงแต่ไม่เข้มข้นสูงเหมือนแนวที่ได้รับการโรยเป็นแถบแคบจึงช่วยการกระจายของปุ๋ย และลดการตรึงปุ๋ยของดินได้


- การหว่านทั่วทั้งแปลง ( Broadcasting ) เพื่อให้ปุ๋ยมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ เป็นการปฏิบัติก่อนการปลูกเมื่อหว่านเสร็จแล้วอาจพรวนกลบก็ได้ หรือการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าในนาข้าว


- ใส่เป็นจุด ( Loalized placement ) หมายถึง การใส่ปุ๋ยที่ขุดหรือรูที่เจาะไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น วิธีนี้ใช้ได้ผลดีเฉพาะไม้ยืนต้น ที่มีการกกระจายของรากพืชหลายระดับแลหลายทิศทาง เช่น การใส่ปุ๋ยไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตแล้ว
การใส่ปุ๋ยลงไปในตำแหน่งที่เหมาะสมกับระบบรากพืช จะมีขอบเขตที่ไม่แพร่กระจายบนผิวดิน จะช่วยให้การเจริญเติบโตในระยะแรกที่ดีขึ้นและเป็นการจำกัดการเจริญเติบโตของวัชพืชดวย และเหมาะสำหรับปุ๋ยที่เคลื่อนย้ายได้น้อย เช่น ปุ๋ยฟอสเฟตที่โรยปุ๋ยเป็นแถวลึกกว่าเมล็ด 2 นิ้วให้ผลดีกว่าการโรยเป็นแถวข้างเมล็ด โดยห่างจากเมล็ดนิ้วครึ่งและลึกลงไป 2 นิ้ว

2.3 การใส่ปุ๋ยในลักษณะที่เป็นของเหลว
1. การใส่ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำ เป็นการใส่ปุ๋ยในอ่างเก็บน้ำแล้วสูบระบบการทำฝนเทียมหรือการพ่นฝอย ( Sprinkling system ) พืชที่ได้รับปุ๋ยทั้งทางใบและทางราก วิธีนี้เหมาะกับดินเนื้อหยาบ แต่ควรพิจารณาคุณสมบัติของปุ๋ยบงชนิดที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา และทำให้เกิดการตกตะกอนในถังน้ำ ตะกอนเหล่านั้นอาจจะอุดตันในระบบพ่นฝอย วิธีการใส่ปุ๋ยแบบนี้ เรียกว่า Fertigation ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ย หรือในการให้ปุ๋ยร่วมกับระบบชลประทาน ได้แก่ การใส่ปุ๋ยโดยการละลายปุ๋ยในน้ำชลประทานที่จะให้กับพืชในระดับใต้ผิวดิน หรือเหนือผิวดิน เช่น ในระบบน้ำหยด ซึ่งวิธีการนี้พืชจะได้รับน้ำชลประทานและปุ๋ยเคมีไปพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน วิธีการใช้ปุ๋ยวิธีนี้จัดได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดแรงงาน และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่ำกว่าการให้ระบบพ่นฝอย


2. การฉีดพ่นทางใบ ( Foliar sprays ) เป็นการใส่แบบฉีดพ่นให้กับพืชโดยทางใบ โดยการฉีดปุ๋นที่ละลายน้ำได้ง่ายให้เป็นละอองน้ำจับที่ใบหรือส่วนของต้นพืชเหนือดินเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติมจากที่เราจะดึงดูดขึ้นมาได้จากดิน อย่างไรก็ตาม การให้ปุ๋ยทางใบหรือส่วนของต้นเหนือดิน ถึงแม้ธาตุอาหารที่ฉีดให้จะสามารถเข้าสู่พืชได้เร็ว แต่ปริมาณธาตุอาหารที่ดูดซึมเข้าสู่พืชมักจะน้อย ดังนั้นการให้ปุ๋ยโดยวิธีการนี้เหมาะสำหรับการให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช และพืชที่มีระบบรากถูกทำลาย



หลักการพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบให้มีประสิทธิภาพ มีดังต่อไปนี้
1. พืชที่มีจำนวนของใบมากและมีแผ่นใบใหญ่ ก็จะมีพื้นที่ผิว ( Surface area ) ที่จะรับละอองปุ๋ยได้มาก และมีการดูดซึมธาตุอาหารได้สูงกว่าพืชที่มีใบเล็ก เนื่องจากใบมีช่องว่างซึ่งมีโอกาสให้ธาตุอาหารต่างๆ เคลื่อนเข้าไปสู่พืชได้ จึงมีการพัฒนาปุ๋ย ให้สามารถดูดไปใช้ได้โดยผ่านเข้าทางปากใบ ซึ่งโดยเฉลี่ยพืชมีปากใบ 100-300 ต่อตารางมิลลิเมตร ผิวใบด้านล่างมีจำนวนปากใบมากกว่าผิวด้านบน การมี่พืชมีปากใบเป็นจำนวนมากย่อมทำให้ธาตุอาหารพืชมีโอกาสเข้าสู่ใบได้มาก แต่อย่างไรก็ตามนอกจากปากใบแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ควบคุมการดูดธาตุอาหารเข้าสู่ใบพืช เช่น ชั้นคิวติเคิล ผนังเซลซูโลส และพลาสมาเมนเบรน ทั้งนี้สารละลายจะต้องผ่านชั้นเหล่านี้ให้ได้ก่อนจึงจะเข้าสู่เซลล์พืชได้


2. ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ ถ้าใช้เกินอัตราพอดีจะทำให้อัตราการดูดซึมได้ช้า และเป็นอันตรายต่อพืชอีกด้วย เช่น การใช้ปุ๋ยยูเรียควรมีความเข้มข้นของไบยูเร็ต ( Biuret ) ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 หากสูงกว่านี้จะทำให้ใบไหม้ และถ้าใส่ลงในดินก็ไม่ควรมีไบยูเร็ตสูงกว่าร้อยละหนึ่งจึงจะปลอดภัยแก่การใช้ ไบยูเร็ตเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตในขั้นตอนที่ใช้ความร้อน ถ้าการควบคุมอุณภูมิไม่เหมาะสมในขั้นนี้ ยูเรีย 2 โมเลกุลรวมตัวกันได้ไบยูเร็ต 1 โมเลกุลและแอมโมเนีย1 โมเลกุล นอกจากนี้พืชแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อความเข้มข้นของสารละลายปุ่ยแตกต่างดังแสดงในตารางที่ 8-1 แม้พืชพันธุ์เดียวกันแต่ในใบอ่อนและอวบน้ำ จะไม่อาจทนต่อสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงได้เท่ากับใบแก่หรือใบที่หนาและแข็ง ทั้งนี้เนื่องจากใบอ่อนดูดยูเรียตลอดจนอนุมูลอื่นๆ เช่น P, Mg, K , Zn และ Mn ได้รวดเร็วกว่าใบแก่แม้จะใช้ความเข้มข้นเดียวกัน ขนาดของหยดหรือละอองที่พ่นจับผิวใบก็ให้ผลแตกต่างกัน กล่าวคือ ละอองของสารละลายที่ใหญ่จะก่อให้เกิดใบไหม้ได้ง่ายกว่าละอองเล็ก

ตารางที่ 8-1 แสดงอัตราของปุ๋ยยูเรียที่พืชทนได้ ( น้ำหนักของยูเรียเป็น กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร )

พืช อัตราที่ทนได้ พืช อัตราที่ทนได้ พืช อัตราที่ทนได้
พืชต่างชนิดกัน ระยะเวลาการดูดซึมในพืชต่างชนิดกันได้เร็วช้า มากน้อยแตกต่างกัน

3. ปุ๋ยชนิดต่าง พืชจะใช้เวลาต่างดูดซึมได้เร็วต่างกัน อาทิ เช่น ไนโตรเจนในรูปของยูเรีย จะถูกดูดซึมเข้าไปได้เร็วกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม


4. พืชที่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ เมื่อได้รับปุ๋ย พืชก็จะดูดปุ๋ยได้ดีและเร็วกว่าพืชที่ไม่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ


5. การเคลื่อนที่ ( Mobility ) ของธาตุอาหารต่างๆ จะแตกต่างกันตามชนิดของธาตุอาหารและรูปของธาตุอาหารนั้นๆ




http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.1.2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 11:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

295. การสูญเสียปุ๋ยเคมีไปจากดิน

ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนรูปของปุ๋ยเคมีเมื่อเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในดิน และเกิดการสูญเสียได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้ คือ

1. การสูญเสียธาตุอาหารโดยการชะล้าง น้ำไหลบ่าและกษัยการในดินเนื้อหยาบ ดินที่มีไฮดรัสออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัมสูง ดินมีความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกต่ำ จะมีการสูญเสียธาตุอาหารเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในฤดูฝน ธาตุไนโตรเจนจะสูญเสียในรูปไนเตรตมาก เมื่อฝนตกหนักและน้ำไหลบ่าบนผิวดิน จะมีการสูญเสียปุ๋ยไนเตรตที่ละลายน้ำกับบางส่วนที่ดูดซับกับผิวของคลอลอยด์ในดิน ไนเตรตเหล่านี้จะถูกชะล้างลงไปสะสมในแหล่งน้ำ ธาตุอาหารพืชที่มีการสูญเสียโดยการชะล้างรองลงมาได้แก่ โพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสสูญเสียโดยการชะล้างน้อยที่สุด

สำหรับดินที่มีการชะล้างสูงๆ จะมีวิธีการลดการสูญเสียไนโตรเจนและโพแทสเซียมโดยการชะล้างได้ โดยมีการแบ่งการใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้าเป็น 2 ครั้ง เพื่อที่จะให้พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ทันที และเหมาะสมต่อระยะการเจริญเติบโตของพืชและพืชสามารถดูดไปในอัตราที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยทั้งหมดก่อนปลูก หรือการใช้ปุ๋ยที่มีขนาดเม็ดโตขึ้น ปุ๋ยละลายช้าหรือปุ๋ยที่มีการควบคุมความเป็นประโยชน์ ก็เป็นการช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยโดยกสนชะล้างได้

การสูญเสียของไอออนประจุลบไปกับการชะล้างจะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ดินได้รับ และสมบัติในกานดูดซับไอออนประจุลบของดินนั้น เช่น ดินที่มีออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัมสูง ถ้ามีระดับความเป็นกรดเป็นด่าง = 6 หรือต่ำกว่า จะดูดซับไนเตรตได้เพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างไอออนประจุลบด้วยกันแล้ว ซัลเฟตจะดูดซับกับดินได้เหนียวแน่นกว่าไนเตรต ดินที่เป็นกรดจะมีความสามารถดูดซับไอออนประจุลบได้มากขึ้น ขณะเดียวกันความเป็นกรดของดินจะช่วยชะลอกระบวนการทางชีวภาพ เช่น ไนตริฟิเคชัน (Nitrification) จึงมีการสูญเสียไนเตรตน้อยลง



2. การสูญเสียไนโตรเจนในรูปก๊าซ การสูญเสียไนโตรเจนในรูปก๊าซจากดิน เกิดขึ้นโดยสองกระบวนการ คือ


1.1 ดีไนตริฟิเคชัน (Denitrification) เป็นการสูญเสียไนโตรเจนในสภาพที่ใช้ปุ๋ยในรูปไนเตรตในดินที่ขาดออกซิเจน ส่วรยูเรียและปุ๋ยแอมโมเนียมนั้น เมื่อถูกเปลี่ยนรูปในดินเป็นไนเตรต และดินนั้นอยู่ในสภาพที่มีน้ำขังหรือมีการขาดแคลนออกซิเจนในภายหลัง ก็จะสูญเสียโดยกระบวนการนี้เช่นกัน การพรวนดิน และระบายน้ำในดิน ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอจะลดการสูญหายของปุ๋ยในลักษณะนี้ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยในนาข้าวน้ำขังควรเลือกใช้ปุ๋ยเชิงเดี่ยวหรือปุ๋ยเชิงประกอบ ที่มีไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมหรือยูเรีย จะลดการสูญเสียจากกระบวนการนี้ได้


1.2 การระเหยของแอมโมเนียมจากปุ๋ย ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใส่ปุ๋ยยูเรียในดินที่เป็นกรดจนถึงเป็นด่าง และปุ๋ยแอมโมเนียมในดินที่เป็นกลางถึงเป็นด่าง เมื่อหว่านปุ่ยทั้งสองประเภทนี้บนผิวดิน ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยโดยการพรวนกลบใต้ผิวดินประมาณ 5 เซนติเมตร จะลดการสูญหายไปได้มาก ลักษณะดินที่ส่งเสริมให้เกิดการสูญเสียแอมโมเนีย จากปุ๋ยแอมโมเนียมและยูเรียมากขึ้น ได้แก่ ดินมีความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกต่ำ ดินเนื้อหยาบ ดินเป็นด่าง และดินที่มีความชื้นในดินต่ำ


1.3 การตรึงฟอสฟอรัสในดิน การสูญเสียฟอสฟอรัสโดยการถูกตรึงเกี่ยวข้องกับอัตราปุ๋ยที่ใช้ ดังนั้นควรใส่ในปริมาณที่เพียงพอแก่พืช เช่น ใส่ในอัตราที่สูงในดินที่ตรึงฟอสฟอรัสมาก และใช้ในอัตราที่ต่ำลงในดินที่ตรึงปุ๋ยนี้ได้น้อย ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำ ฟอสเฟตจะถูกตรึงโดยไอออนบวกที่ละลายได้ของ Al+3 และ Fe+3 และเมื่อระดับความเป็นกรดเป็นด่าง สูงขึ้นจาก 6 จนถึง 8 จะถูกตรึงโดย Ca+2 , Mg+2 และ CaCO3





http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.5.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 11:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

296. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดกรด เมื่อมีการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียม



1. ดินที่มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างได้ดี หรือที่เรียกว่า Buffering capacity สูง เช่น ดินเหนียวหรือดินที่มีอินทรียวัตถุสูงนั้น แม้จะใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมต่อเนื่องหลายๆ ปีก็ไม่ค่อยกระทบกระเทือนต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน


2. ปัจจัยด้านพืช ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่างด่างส่วนเกิน ( Excess base ) กับไนเตรตไนโตรเจนที่พืชดุดเข้าไป ด่างส่วนเกินคำนวณได้จากสูตร
ด่างส่วนเกิน = ( Ca+Mg+K+Na ) - ( Cl+S+P ) มิลลิกรัมสมมูล / 100 กรัม
หากอัตราส่วนดังกล่าวมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าพืชดูดไนเตรตไปมากกว่าเบส ดังนั้นเบสที่เหลือในดินก็ทำหน้าที่สะเทินกรดที่เกิดที่เกิดจากไนตริฟิเคชัน สำหรับเมล็ดข้าวโพดมีค่าของอัตราส่วนดังกล่าวเพียง 0.05 แสดงว่าการเก็บเกี่ยวเฉพาะฝักข้าวโพดแล้วทิ้งซังไว้ในแปลงจะช่วยชะลอการลดความเป้นกรดเป็นด่างของดิน อันเกิดจากใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมหรือยูเรียอย่างต่อเนื่องได้ดี


3. การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมในอัตราพอเหมาะและแบ่งใส่ในระยะที่ถูกต้อง เพื่อให้พืชใช้ปุ๋ยนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ตกค้างในดินและเปลี่ยนเป็นไนเตรตมากนัก นอกจากนี้ การใช้สารที่ลดการเกิดกระบวนการไนตริฟิเคชัน จะมีผลทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงน้อยลง


http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.9.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2011 12:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 11:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

297. ผลกระทบจากการใช้ปุ๋ย ต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน


ผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ดินที่เคยเป็นกลางก็จะกลายเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งจะเกิดจากการใช้ปุ๋ยดังต่อไปนี้


1. การใช้ปุ๋ยโพแทส ปุ่ยโพแทสเซียมคลอไรด์หรือโพแทสเซียมซัลเฟต จะไม่ทำให้ความเป้นกรดเป้นด่างของดินเปลี่ยนอย่างถาวร อาจเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยหลังการใส่ปุ่ยแต่จะกลับคืนสู่สภาพเดิมไม่นานนัก


2. การใช้ปุ๋ยฟอสเฟต ในกรณีที่มีปุ๋ยโมโนแคลเซียมฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ เช่น ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต เมื่อปุ๋ยดังกล่าวได้รับความชื้นจากดินโมโนแคลเซียมฟอสเฟตจะถูกไฮโดรไลส์ได้กรดออร์โธฟอสฟอริกกับแคลเซียมโมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต กรดข้นที่เยิ้มออกมานี้มีความเป็นกรดด่าง 1.5 ซึ่งหากเมล็ดพอยู่ใกล้กับเม็ดปุ๋ยเกินไปย่อมเป็นอันตราย อย่างไรก็ตามกรดฟอสฟอริกจะทำปฏิกิริยากับเหล็ก อะลูมินัม และแมงกานีสที่มีอยู่ในดินทำให้ฤทธิ์กรดหายไป ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตจึงมีสมมูลกรดและสมมูลด่างเท่ากับศูนย์ หรือไม่ทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลง


ปุ๋ยแอมโมเนียมและยูเรีย เมื่อใช้ในดินไร่มีผลตกค้างเป็นกรดเนื่องจากกระบวนการไนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดไฮโดรเจนไอออนเกิดขึ้นจำนวนหนึ่ง เพียงส่วนหนึ่งในจำนวนนี้เท่านั้นที่จะก่อให้เกิดกรด พืชและจุลินทรีย์ดินดูดไปใช้ในขณะที่เป็นแอมโมเนียม บางส่วนจะสูญหายไปในรูปก๊าซแอมโมเนียมไอออนบางส่วนถูกตรึงอยู่ในดิน



http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.8.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 11:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

298. สภาพที่เหมาะสมบางประการในการเลือกใช้ การให้ปุ๋ยทางใบ


มีดังนี้ คือ

1. เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และจะเป็นการช้าเกินไปถ้าจะให้แต่ปุ๋ยทางดินเท่านั้น เช่นเมื่อระบบรากถูกทำลายหรือเพิ่งเริ่มย้ายปลูก


2. เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารเสริม และมีปัญหาเกี่ยวกับสมบัติของดินบางประการ เช่น ดินอาจเป็นดินด่างที่มีสมบัติตรึงเหล็กได้สูง การใช้ปุ๋ยเหล็กทางดินอาจไม่มีผลเหมือนการใช้ปุ๋ยทางใบ เป็นต้น


3. เป็นธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย


4. เมื่อจำเป็นต้องมีการฉีดยาป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบอาจใช้ผสมไปกับสารเคมีควบคุมศัตรูพืชพร้อมๆกันก็ได้


5. เมื่อต้องการเสริมธาตุอาหารพืชนอกเหนือจากที่พืชได้รับจากทางรากเท่านั้น


6. จะตอบสนองกับพืชที่มีพื้นที่ผิวใบทั้งหมดสูง คือใบใหญ่และจำนวนมากเพราะจะรับละอองปุ๋ยได้มาก


7. เพื่อเพิ่มคุณภาพการติดดอกและคุณภาพของผล


8. ควรเลือกใช้ในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัดและมีความชื้นสัมพัทธ์สูงเพื่อให้สารละลายคงรูปอยู่ ไม่แห้งติดใบ ซึ่งเป็นการยากต่อการดูดซึมเข้ารูใบ



http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.3.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 11:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

299. ข้อจำกัดในการให้ปุ๋ยทางใบ

1. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ


2. พืชหลายชนิดไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมี และสัณฐานลักษณะของพืชมีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบและการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย


3. หากใช้อัตราสูงเกินไปอาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยจุลธาตุจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายได้

4. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด หรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก


5. ปุ๋ยเคมีชนิดน้ำ อาจมีก๊าซเกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ควรเปิดด้วยความระมัดระวัง


6. โดยปกติปุ๋ยที่มักใช้อยู่ในรูปของอนินทรีย์สาร ซึ่งมาฤทธิ์ในการกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่วๆไป


7. ปุ๋ยที่มีราคาแพง จึงควรฉีดพ่นให้สัมผัสใบมากที่สุด



http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.4.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 12:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

300. อัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารเสริม


ปุ๋ยเคมีที่ใช้ธาตุอาหารเสริมจะอยู่ในรูปของเกลือและคีเลต โดยจะมีปริมาณของธาตุ
อาหารเสริมที่อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้ และมีอัตราการใช้เป็นปุ๋ยทางใบ




ธาตุอาหารเสริม ........... ในรูปของ .........................อัตราการใช้

(B)..................เกลือโบเรตหรือกรดบอริก ..........150 กรัมต่อน้ำ 32 ล.
(Cu)................เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์............10 กรัมต่อน้ำ 40 ล.

(Fe)...............เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์...............0.1-0.4 %
(K)...................โพแทสเซียมไนเตรต.................0.1-0.4 %

(Mg)..............เกลือซัลเฟตหรือไนเตรต ...........3-4% ทุก 15-20 วัน
(Mn).............10-50 กรัม/น้ำ 100 ลิตร...........10-50 กรัม/น้ำ 100 ล.


(Mo).............10-50 กรัม / น้ำ 100 ลิตร...........2% ของสารพ่น 2-4 ครั้ง
(N)...............เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์..............กรัม/น้ำ 2 ลิตร

(P2O5)........เกลือโซเดียมหรือแอมโมเนียม.........10-50 กรัม/น้ำ 100 ล.
(Zn)..............เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์..............ไม่เกิน 0.5-1.0%





http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.2.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2011 8:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 12:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

301. คุณสมบัติของดินและปุ๋ย


1. ความหมายและความสำคัญของดิน
1.1 ความหมายของดิน
ดิน (Soil) หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นจากการสลายตัว หรือการผุพังของหินและแร่ธาตุ ผสมคลุกเคล้ากับสารที่ได้จากการเน่าเปื่อยของอินทรียวัตถุ เรียงตัวกันเป็นชั้น ๆ เมื่อมีอากาศและน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตเป็นประโยชน์ต่อคนและสัตว์หรือพืชด้วยกัน
1.2 ความแตกต่างระหว่างดินชั้นบนกับดินชั้นล่าง


ดินชั้นบนหรือดินบน ดินชั้นล่างหรือดินล่าง
1. สีคล้ำ มีอินทรียวัตถุมาก
2. เนื้อดิน โปร่ง เบา ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี
3. มีน้ำและอากาศอยู่มาก
4. มีอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์อยู่มาก

1. มีสีจาง มีอินทรียวัตถุน้อย
2. เนื้อดินแน่น การระบายถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี
3. มีน้ำและอากาศอยู่น้อย
4. มีอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์อยู่น้อย


1.3 ความสำคัญของดิน มี 2 ประการคือ

(1) ดินมีความสำคัญต่อมนุษย์ โดยมนุษย์เราได้ปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่อาหารที่อยู่อาศัย เครื่อง นุ่งห่ม และยารักษาโรค จากดินไม่โดยทางตรงก็โดยทางอ้อม จึงเป็นสิ่งที่จะส่งผลต่อความมั่งคั่งมั่นคงให้แก่คนในชาติ

(2) ดินมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ส่วนมากแล้วต้องอาศัยดิน โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกพืชนั้นดินมีความสำคัญมาก กล่าวคือ
- ดินเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และอากาศพืช
- ดินเป็นที่ยึดเกาะของรากพืช
- ดินเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

2. ชนิดของดิน
ดินในประเทศไทยเรานั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิดคือ

(1) ดินทราย (Sand) เป็นดินที่มีเนื้อดินหยาบมาก มีการระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุและแร่ธาตุอาหารพืชอยู่น้อย พืชที่เหมาะกับดินชนิดนี้เป็นพืชที่ทนแล้ง มีรากยาว เช่น มะพร้าว อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง เป็นต้น

(2) ดินร่วน (Loam) เป็นดินที่มีเนื้อดินไม่ละเอียดหรือหยาบมากเกินไป มีการอุ้มน้ำและการระบายน้ำดี พอเหมาะกับความต้องการของพืชทั่วไป จึงเหมาะที่จะปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด

(3) ดินเหนียว (Clay) เป็นดินที่มีเนื้อดินละเอียด เมื่อแห้งจะแข็ง แต่เมื่อเปียกจะเหนียวลื่น อุ้มน้ำได้ดี แต่ระบายน้ำได้ยาก มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง พืชที่มีหน่อ หัว ราก หรือฝักใต้ดินจะไม่นิยมปลูกในดินชนิดนี้ เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตน้อย การเก็บเกี่ยวลำบาก


3. คุณสมบัติของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยทั่วไปแล้ว ในการที่จะปลูกพืชให้มีความเจริญเติบโตได้ดีนั้น ถ้าเราจะพิจารณาจากดินแล้ว ดินนั้นน่าจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
(1) อนินทรียวัตถุ คือ ส่วนที่เป็นของแข็งที่ได้จากสิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ หิน แร่ ธาตุต่างๆ ที่ผ่านการย่อยสลาย ผุกร่อน ปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อเจริญเติบโตของพืช ควรมีอยู่ประมาณ 45 ส่วนในร้อยส่วน

(2) อินทรียวัตถุ คือ ส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังสลายตัว ของซากพืชซากสัตว์และจุลินทรีย์ จะทำให้ดินร่วมซุย มีการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศได้ดี ดินที่ดีควรมีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่ประมาณร้อยละ 5

(3) น้ำ เป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน จะช่วยละลายอาหารพืช ถ้าน้ำในดินมีมาก ดินนั้นก็จะมีอากาศอยู่น้อย ดินที่ดีควรมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 25

(4) อากาศ เป็นส่วนประกอบที่มีความสัมพันธ์กับน้ำ อากาศในดินจะช่วยให้จุลินทรีย์ในดินเจริญเติบโต อากาศในดินประมาณร้อยละ 25 เป็นปริมาณที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช



4. การเตรียมดินปลูกพืช
4.1 การเตรียมดินปลูกพืชในภาชนะ
ปัจจุบันนี้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อยลง จึงนิยมใช้ภาชนะต่างๆ เช่น กระถางถุงพลาสติค
ยางรถยนต์ ฯลฯ นำมาปลูกพืช ดินที่ใช้ในการปลูกพืชในภาชนะหรือใช้เพาะเมล็ดพืช น่าจะมีส่วนผสมของสิ่งต่างๆ ดังนี้

ดินเหนียวย่อยละเอียดตากแห้ง 1 ส่วน
ดินทราย 1 ส่วน
ปุ๋ยคอกเก่า หรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน
ขุยมะพร้าวหรือเถ้าแกลบหรือใบไม้ผุ 1 ส่วน
(อาจใช้ดินร่วน 2 ส่วนแทนดินเหนียวกับดินทรายก็ได้)
นำส่วนผสมดังกล่าวมาคลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำมาให้ในการปลูกพืชในภาชนะหรือใช้เพาะเมล็ดพืชใน ภาชนะต่างๆ ได้


4.2 การเตรียมดินปลูกพืชในแปลง
มีลำดับขั้นตอนดังนี้
(1) แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร เว้นระยะ เป็นระยะทางเดิน ระหว่างแปลงให้กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร คนกว้าง คนยาวของแปลงนี้
อาจกว้างหรือยาวกว่านี้ได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในการ
ปฏิบัติงาน

(2) ถากหรือถางหญ้า วัชพืชออกให้หมด

(3) ขุดดินในแปลง ยกแปลงให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ตากดินไว้ประมาณ 7 วัน

(4) ย่อยดิน เก็บเศษวัชพืชออกให้หมด โดยเฉพาะพืชที่มีหัวหรือรากที่จะงอกใหม่ได้ เช่น แห้วหมู หน้าคา ฯลฯ

(5) ใส่ปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว เปลือกถั่ว ประมาณ แปลงละ 3 - 4 บุ้งกี๋ คลุกเคล้าให้ทั่ว

(6) เกลี่ยดินในแปลงให้เรียบ แปลงที่เตรียมเสร็จเรียบร้อยนี้ จะสูงกว่าระดับดินเดิมหรือทางเดินเล็กน้อย

ในกรณีที่มีพื้นที่ในการปลูกพืชเป็นจำนวนมาก ในขั้นแรกอาจใช้แรงงานจากสัตว์ เช่น วัว ควาย หรือรถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์ ไถดินตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงไถพรวนดินเพื่อย่อยดิน คราดเก็บเศษวันพืชออก แล้วจึงใส่ปุ๋ย ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ตามความจำเป็น ในการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักนี้อาจใส่พร้อมหรือหลังการปลุกพืชก็ได้




Home - About Us - webbaord- guestbook - chatroom
© 2005 Srisukwittaya school by mr.Boonlue chanpo
http://school.obec.go.th/boonlue/ag4.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2011 9:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

302. มาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

รับรองโดยกรมพัฒนาที่ดิน


สินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นองค์ประกอบการผลิตในระดับไร่นา เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดิน ป้องกันโรค โดยกรมพัฒนาที่ดิน
ได้กำหนดมาตรฐานสินค้าดังกล่าวเพื่อการออกใบอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองสินค้าตามระเบียบกรมพัฒนาที่ดินในการรับรองมาตรฐานสินค้าฉบับนี้ จำนวน 11 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้


2.1 สารเร่งประเภทจุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยหมัก เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสูงในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) ปริมาณแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลส ไม่ต่ำกว่า 1.0 x 105 เซลล์ต่อกรัม ที่อุณหภูมิ ประมาณ 30 และ 45 องศาเซลเซียส
2) ปริมาณราย่อยสลายเซลลูโลส ไม่ต่ำกว่า 1.0x105 เซลล์ต่อกรัม ที่อุณหภูมิ ประมาณ 30 และ 45 องศาเซลเซียส
3) ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลสทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 1.0 x 1010 เซลล์ต่อการผลิตปุ๋ยหมัก 1 ตัน
4) ปริมาณความชื้นของผลิตภัณฑ์สารเร่ง ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์
5) ทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์จากฟางข้าวเป็นเวลา 30 วัน ประเมินได้จากค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ไม่เกิน 20:1
6) ปราศจากสารพิษและธาตุโลหะหนัก
• Arsenic (As) ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Cadmium (Cd) ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Chromium (Cr) ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Copper (Cu) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Lead (Pb) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Mercury (Hg) ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

7) ปลอดภัยจากจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคมนุษย์ สัตว์ และพืช




2.2 สารเร่งประเภทจุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ในรูปของเหลวเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) ปริมาณยีสต์ไม่ต่ำกว่า 1.0x107 เซลล์ต่อกรัม
2) ปริมาณแบคทีเรียผลิตกรดอินทรีย์ไม่ต่ำกว่า 1.0x107 เซลล์ต่อกรัม
3) ปริมาณแบคทีเรียย่อยสลายโปรตีนไม่ต่ำกว่า 1.0x107 เซลล์ต่อกรัม
4) ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1.0x1010 เซลล์ ต่อการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 50 ลิตร
5) ปริมาณความชื้นผลิตภัณฑ์สารเร่ง ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
6) ปราศจากสารพิษและธาตุโลหะหนัก
• Arsenic (As) ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Cadmium (Cd) ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Chromium (Cr) ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Copper (Cu) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Lead (Pb) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Mercury (Hg) ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
7) ปลอดภัยจากจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคมนุษย์ สัตว์ และพืช



2.3 สารเร่งประเภทจุลินทรีย์สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช สารเร่งประเภทจุลินทรีย์สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช เป็นเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.)
มีความสามารถควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากและโคนเน่าได้ดี มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) ปริมาณ Trichoderma sp. ทั้งหมด 1.0 x1010 เซลล์ ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
2) ปริมาณความชื้นของผลิตภัณฑ์สารเร่ง ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3) ปราศจากสารพิษและธาตุโลหะหนัก
• Arsenic (As) ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Cadmium (Cd) ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Chromium (Cr) ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Copper (Cu) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Lead (Pb) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Mercury (Hg) ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
4) ปลอดภัยจากจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคมนุษย์ สัตว์ และพืช




2.4 ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์หลายชนิดในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และได้สารอินทรียวัตถุที่มีความคงทน ไม่มีกลิ่น มีสีน้ำตาลปนดำ มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ระหว่าง 25-50 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
2) อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ไม่เกิน 20:1
3) ค่าการนำไฟฟ้าไม่เกิน 3.5 เดซิซีเมนต่อเมตร
4) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-8.5
5) ปริมาณธาตุอาหารหลัก
• ไนโตรเจน ไม่ต่ำกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
• ฟอสฟอรัส ไม่ต่ำกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
• โพแทสเซียม ไม่ต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
6) ปริมาณความชื้นของปุ๋ยหมักไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
7) การผ่านตะแกรงร่อนขนาด 12.5x12.5 มิลลิเมตร ได้หมด
Cool ปริมาณหิน กรวด ทราย เศษพลาสติก หรืออื่นๆไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
9) ไม่มีวัสดุเศษแก้ว วัสดุคมและโลหะอื่นๆ
10) ปลอดภัยจากสารพิษและธาตุโลหะหนัก
• Arsenic (As) ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Cadmium (Cd) ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Chromium (Cr) ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Copper (Cu) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Lead (Pb) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
• Mercury (Hg) ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
11) ปลอดภัยจากจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคมนุษย์ สัตว์ และพืช
12) ต้องผ่านการตรวจสอบการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งจะทำการทดสอบโดยปลูกข้าวโพดหวานในดินทรายที่ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นเวลา 15 วัน แล้วดูการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพดที่ปลูกโดยใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 6 ตันต่อไร่ และที่ใส่ปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 1:1 (น้ำหนักดิน : ปุ๋ยหมักที่ความชื้นประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งปลูกเป็นระยะเวลา 15 วัน เท่ากัน



2.5 ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวที่ประกอบด้วยกรดอินทรีย์ และฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด โดยได้จากกระบวนการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ในรูปของเหลว มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่เกิน 4.0
2) ค่าการนำไฟฟ้าไม่เกิน 20 เดซิซีเมนต่อเมตร
3) ปริมาณฮอร์โมน
• ออกซิน ไม่ต่ำกว่า 0.10 มิลลิกรัมต่อลิตร
• จิบเบอร์เรลลิน ไม่ต่ำกว่า 5.00 มิลลิกรัมต่อลิตร
• ไซโตไคนิน ไม่ต่ำกว่า 1.00 มิลลิกรัมต่อลิตร
4) ปริมาณสารสกัดอินทรีย์ ไม่ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
5) ปลอดภัยจากสารพิษและธาตุโลหะหนัก
• Arsenic (As) ไม่เกิน 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Cadmium (Cd) ไม่เกิน 0.03 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Chromium (Cr) ไม่เกิน 0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Copper (Cu) ไม่เกิน 1.00 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Lead (Pb) ไม่เกิน 0.20 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Mercury (Hg) ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Zine (Zn) ไม่เกิน 5.00 มิลลิกรัมต่อลิตร
6) ผลวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคมนุษย์ สัตว์ และพืช




2.6 ยิปซัม (gypsum) เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินชนิดหนึ่ง องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมซัลเฟต ทางการเกษตรใช้ในการปรับปรุงดินเค็ม เพื่อแก้ไขปัญหาความเค็มของดิน และปรับปรุงดินกรด เพื่อลดความเป็นพิษของอะลูมินัมในดินกรด มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) เป็นยิปซัมที่เกิดจากธรรมชาติ (ระบุแหล่ง)
2) มีแคลเซียมซัลเฟต (CaSO4.2H2O) ไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3) มีค่าความชื้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
4) ขนาดอนุภาคมีค่าความละเอียดสามารถร่อนผ่านตะแกรงขนาด 2.38 มิลลิเมตร ไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก และในจำนวนนี้ต้องผ่านตะแกรงร่อนขนาด 0.25 มิลลิเมตร ไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
5) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่ต่ำกว่า 7.0 (1:1 ในน้ำ)
6) มีโลหะหนัก และสารกัมมันตภาพรังสี ในปริมาณต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดว่าเป็นพิษ
6.1) Arsenic (As) ไม่เกิน 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
6.2) Cadmium (Cd) ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
6.3) Cromium (Cr) ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
6.4) Copper (Cu) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
6.5) Lead (Pb) ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
6.6) Zinc (Zn) ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
7) สำหรับยิปซัมที่ไม่ใช่มาจากแหล่งธรรมชาติต้องผ่านการตรวจสอบการเจริญเติบโตของพืชและมีปริมาณโลหะหนักในพืชต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดว่าเป็นพิษ
7.1) Arsenic (As) ไม่เกิน 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
7.2) Cadmium (Cd) ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
7.3) Cromium (Cr) ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
7.4) Copper (Cu) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
7.5) Lead (Pb) ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
7.6) Zinc (Zn) ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม




2.7 ปูนมาร์ล (marl) หรือดินมาร์ล เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินชนิดหนึ่ง องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) และดินเหนียว (clay) ในอัตราส่วน 35:65 หรือ 65:35 มีสีขาว หรือขาวขุ่นปนน้ำตาล ใช้ปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) มีค่าความสามารถในการทำให้เป็นกลาง (CCE) ไม่ต่ำกว่า 80 มีค่า CaO (Calcium Oxide) ไม่ต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
2) ขนาดอนุภาค มีค่าความละเอียดคละกันสามารถร่อนผ่านตระแกรงขนาด 2.38 มิลลิเมตร ไม่ต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก และในจำนวนนั้นต้องผ่านตระแกรงร่อนขนาด 0.177 มิลลิเมตร ในช่วง 30 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3) มีความชื้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
4) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่ต่ำกว่า 8.0 (1 : 1 ในน้ำ)




2.8 หินปูนบด หรือหินปูนฝุ่น (limestone) เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินชนิดหนึ่ง ได้จากหินชั้นหรือหินตะกอนที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นส่วนใหญ่ ใช้ในการปรับปรุงดินเปรี้ยว หินปูนบดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงควรมีสีเทา เทานวล เทาขาว และขาวนวล มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) มีค่าความสามารถในการทำให้เป็นกลาง (CCE) ไม่ต่ำกว่า 85 มี CaO (Calcium Oxide) ไม่ต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
2) ขนาดอนุภาค มีความละเอียดคละกันสามารถผ่านตระแกรงร่อนขนาด
2.0 มิลลิเมตร ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก และในจำนวนนั้นต้องผ่านตระแกรงร่อนขนาด 0.177 มิลลิเมตร ไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3) มีความชื้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
4) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่ต่ำกว่า 8.0 (1:1 ในน้ำ)



2.9 โดโลไมท์ (dolomite) เป็นสารปรับปรุงบำรงุดินชนิดหนึ่ง ได้จากแร่ที่เกิดจากตะกอนของแคลเซียมและแมกนีเซียมทับถมกัน [CaMg(CO3)2] มีสีต่าง ๆ กัน เช่น เทา ชมพู ขาว มีส่วนประกอบทางเคมีเป็น CaCO3 และ MgCO3 ใช้ปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อแก้ความเป็นกรดของดินและยังให้ธาตุอาหารแคลเซียมและแมกนีเซียมแก่พืชอีกด้วย มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) มีค่าความสามารถในการทำให้เป็นกลาง (CCE) ไม่ต่ำกว่า 90 มีค่า CaO (Calcium Oxide) ไม่ต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ และมีค่า MgO (Magnesium Oxide) ไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
2) ขนาดอนุภาค มีความละเอียดสามารถผ่านตระแกรงร่อนขนาด 0.177 มิลลิเมตร ทั้งหมด และต้องผ่านตระแกรงร่อนขนาด 0.149 มิลลิเมตร ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3) มีความชื้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
4) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่ต่ำกว่า 8.0 (1 : 1 ในน้ำ)




2.10 ปูนขาว (Calcium hydroxide Ca(OH)2) เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินชนิดหนึ่ง เกิดจากการใช้ปูนที่เกิดในรูปของออกไซด์ ซึ่งเป็นปูนเผามาให้ได้รับความชื้น โดยกองไว้ให้ดูดความชื้นในอากาศ หรือพรมน้ำให้ชุ่ม ทำให้ก้อนแข็งนั้นยุ่ยแตกออกเป็นผงโดยไม่ต้องบด ปูนนี้จะกัดผิวหนังเมื่อชื้น เช่นเดียวกับปูนเผา มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) มีค่าความสามารถในการทำให้เป็นกลาง (CCE) ไม่ต่ำกว่า 100 มี CaO (Calcium Oxide) ไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
2) ขนาดอนุภาค มีความละเอียดสามารถผ่านตระแกรงร่อนขนาด 0.177 มิลลิเมตร ทั้งหมด และต้องผ่านตระแกรงร่อนขนาด 0.149 มิลลิเมตร ไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3) มีความชื้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
4) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่ต่ำกว่า 10.0 (1:1 ในน้ำ)




2.11 สารสกัดอินทรีย์ (Organic Substance)
เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินชนิดหนึ่ง ซึ่งสกัดได้จากสารอินทรีย์ธรรมชาติต่างๆ หรือดิน โดยใช้ด่าง ประกอบด้วยอินทรียวัตถุในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ช่วยในการปรับปรุงสภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช มาตรฐานที่กำหนด คือ
1) เป็นสารอินทรีย์เหลว มีสีดำ ไม่ละลายในกรดเจือจาง ประกอบด้วยฮิวมิก แอซิด (Humic acids) หรือฟูลวิก แอซิด (Fulvic acids) เป็นส่วนสำคัญ
2) มีความเข้มข้นของกรดฮิวมิก ไม่น้อยกว่า 6 เปอร์เซ็นต์
3) มีปริมาณธาตุอาหารพืชหรือสารอื่นแตกต่างจากปริมาณที่ระบุหรือแจ้ง ได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์
4) ปลอดภัยจากสารพิษและโลหะหนัก
• Arsenic (As) ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Cadmium (Cd) ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Chromium (Cr) ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Copper (Cu) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Lead (Pb) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อลิตร
• Mercury (Hg) ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อลิตร
5) เป็นของเหลวที่ไม่ตกตะกอน
6) มีหนังสือรับรองคุณภาพเป็นทางการจากหน่วยงานราชการหรือองค์กรที่ราชการรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ



http://www.ldd.go.th/link_q/standard/4.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

303. ฮิวมัสและกรดฮิวมิกจากดิน


แต่เดิมการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์นั้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก หรือใส่ซากพืช สารเหล่านี้จะสลายตัวไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็ได้สารที่มีลักษณะละเอียดและมีสีเข้มคลุกเคล้าอยู่กับดิน เรียกสารนี้ว่าอินทรียวัตถุในดินหรือฮิวมัส (คำนี้มาจากภาษาละติน แปลว่า ดิน)

เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่า ฮิวมัสมีบทบาทสำคัญในการบำรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยให้สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินดีขึ้น หากดินมีฮิวมัสมากพอ

จากความสนใจต่อบทบาทของฮิวมัสในการบำรุงดินนี้เอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องการทราบต่อไปว่า
1. ฮิวมัสประกอบด้วยสารอะไรบ้าง กี่ชนิด และแต่ละชนิดมีมากน้อยเพียงใด
2. สารที่ประกอบเป็นฮิวมัสเหล่านั้นมีบทบาทต่อสมบัติของดินอย่างเดียว หรือมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรงด้วย
3. ถ้าสารประกอบในฮิวมัสมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรงแล้ว สารนั้นมีบทบาทอย่างไรในกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืช

คำถามทั้งสามข้อนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์มีสมมุติฐานว่า ฮิวมัสคงมิใช่เป็นเพียงแหล่งธาตุอาหาร ช่วยให้ธาตุอาหารในดินเป็นประโยชน์มากขึ้น ปรับปรุงดินทางเคมีและฟิสิกส์เท่านั้น สารบางอย่างในฮิวมัสน่าจะมีบทบาทต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชเป็นแน่ งานวิจัยในระยะหลังจึงมุ่งไปสู่ประเด็นนี้อย่างจริงจัง

อินทรียสารในดินแบ่งอย่างง่าย ๆ ได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. เป็นชิ้นของพืชหรือสัตว์ที่ยังไม่สลาย หรือสลายแล้วบางส่วน เช่น เศษใบพืช หรือเปลือกไม้ แยกออกได้โดยนำดินมาร่อนผ่านตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร
2. เป็นอินทรียสารที่สลายตัวดีแล้ว มีสีเข้ม ลักษณะละเอียด คลุกเคล้าอยู่กับอนินทรียสารของดินส่วนนี้ คือ ฮิวมัส หรือสารฮิวมิก ( Humic Substance)

ถ้าต้องการแยกฮิวมัสหรือสารฮิวมิกอกจากดิน ก็ทำได้โดยใส่ด่าง เช่น สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปในดิน สารฮิวมิกส่วนหนึ่งไม่ละลายในด่าง เรียกว่า ฮิวมิน ( Humin) อีกส่วนหนึ่งละลายในด่าง เมื่อปล่อยให้ของแข็งตกตะกอนแล้วรินของเหลวออกมา ของเหลวที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้มเกือบจะเป็นสีดำ

ถ้านำของเหลวนี้ไปปรับ pH ด้วยกรดให้ได้ 1-2 สารสีดำซึ่งเคยละลายอยู่นั้น ส่วนหนึ่งจะตกตะกอน แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ตกตะกอน
1. ส่วนที่ตกตะกอน คือ กรดฮิวมิก ( Humic Acid)
2. ส่วนที่ไม่ตกตะกอน คือ กรดฟูลวิก ( Fulvic Acid) ซึ่งละลายอยู่ต่อไป

ดังนั้น จึงให้คำนิยามของกรดฮิวมิกได้ว่า หมายถึงสารฮิวมิกที่ละลายในด่างแล้วตกตะกอนเมื่อทำให้สารละลายนั้นมี pH 1-2

สำหรับฮิวมัสหรือสารฮิวมิก ประกอบด้วย ฮิวมิน กรดฮิวมิก และกรดฟูลวิก ในดินด่าง เช่น ดินลพบุรีมีลักษณะเด่น คือ เป็นดินเหนียวสีเข้ม ทั้งนี้เนื่องจากด่างในดินได้ละลายกรดฮิวมิก และกรดฟูลวิกออกมาเคลือบอนุภาคดิน จึงทำให้สีของดินเข้มขึ้น

หากนำสมบัติของกรดฮิวมิก กรดฟูลวิก และฮิวมิน อันเป็นองค์ประกอบของฮิวมัสมาเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กรดฮิวมิกกับกรดฟูลวิกมีความแตกต่างกันมากพอสมควร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับบทบาทของกรดฮิวมิกต่อพืช และทำให้สารนี้ได้รับความสนใจมาก


http://www.thaigreenagro.com/WebBoard/Answer.aspx?qid=212
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

304. สารคีเลต

ในหมู่ผู้ปลูกผักไฮโดรฯ ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับเหล็กคีเลตกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นส่วนผสมในแม่ปุ๋ยที่ใช้กันในระบบปลูก แต่หลายคนยังไม่ทราบความหมายของคำว่าคีเลต และอาจยังไม่ทราบว่ายังมีอาหารเสริมในรูปคีเลตอีกหลายตัว ที่เราใช้ในระบบไฮโดรฯ และทำไมต้องอยู่ในรูปของคีเลตด้วย

สารคีเลต คือสารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมกับจุลธาตุอาหารที่มีประจุบวกได้แก่ เหล็ก, สังกะสี, ทองแดง, แมงกานีส เป็นต้น ปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า chelation จะได้คีเลต โดยสารคีเลตจะล้อมแคตไอออนของธาตุที่เป็นโลหะไว้ ไม่เปิดโอกาสให้ประจุลบจากที่อื่น(ดินที่มีปัญหากรด) เข้าทำปฏิกิริยาได้ ทำให้จุลธาตุคีเลตนี้ ไม่เกิดการตกตะกอนเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะ จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้น

คีเลตที่เกิดขื้นส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านรากนำธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ และต้องมีโครงสร้างภายในที่ประกอบด้วยโลหะต่างๆที่กล่าวมาแล้วไม่ตกตะกอนในตัวคีเลตเอง และที่สำคัญธาตุโลหะต้องไม่เกาะตัวกันแน่นเกินไป เพราะเมื่อคีเลตถูกพืชดูดซึมเข้าไปแล้ว ธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นควรจะแตกตัวให้พืชดูดซึมไปใช้งานได้จึงจะเรียกว่า เป็นคีเลตที่ดี

ดังนั้น ปุ๋ยคีเลต จึงหมายถึง ปุ๋ยอาหารเสริมหรือปุ๋ยจุลธาตุ

สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1.สารอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก และ กรดอะมิโน
2.สารคีเลตสังเคราะห์ มีสมบัติในการจับธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส ตัวอย่าง เช่น EDTA ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด

การดูดธาตุอาหารเสริมในรูปคีเลตมักใช้ทางใบ เนื่องจากโมเลกุลของคีเลตซึ่งเป็นวงแหวนเมื่อจับธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส หรือสังกะสี ธาตุใดธาตุหนึ่งไว้ภายในโครงสร้างนั้น คีเลตจะปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อฉีดพ่นไปที่ผิวใบ จะแทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในใบพืช บางส่วนจะเคลื่อนย้ายลงไปสู่รากได้อีกด้วย หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยคีเลตให้สูงขึ้น ควรผสมสารจับใบในอัตราที่พอเหมาะกับปุ๋ยคีเลต



http://hydrowork.net/main/?p=28
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/08/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

305. เทคนิคทำทุเรียนก่อนฤดูแปลงเดียวติดต่อกัน 4 ปี


ของสวน คุณสิทธิพงศ์

1. โค่นทุเรียนเก่าทิ้งและลงปลูกใหม่ ทุเรียนชะนีอายุ 41 ปีนี้ มีขนาดใหญ่เกินไปและสูงมาก มักจะมีปัญหาการพ่นสาร เคมีไม่ทั่วถึงและสิ้นเปลือง การขึ้นโยงกิ่ง การตัดแต่งก็ลำบาก รวมถึงการเก็บเกี่ยวด้วย แรงงานหาได้ยาก ผลผลิตที่ให้มีแต่ปริมาณเท่าเดิมหรือลดลง ไม่คุ้มค่าในการดูแล คาดว่าเมื่อตัด ต้นทิ้งแล้วจะนำกล้าทุเรียนพันธุ์กระดุมประมาณ 300 ต้น ลงปลูกแทน ส่วนตอจะไม่มีการใช้รถขุดออกเด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายต่อระบบน้ำที่วางไว้ ข้อสำคัญในการปลูกทุเรียนใหม่ จะไม่มีการขุดดินลงไปเพียงแต่พรวนแล้วเอากล้าตั้งบนดิน จากนั้นจึงนำเอาดินพรวนได้มากลบโคนให้เป็นทรงกระทะคว่ำ ปลูกสูงเอาไว้เพราะถ้าปลูกต่ำน้ำขังจะมีปัญหาโรค เช่น ไฟทอปธอร่า


2. วางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์และแบบวง ภายในแปลงทุเรียนเก่านั้น วางระบบน้ำเป็นสปริงเกลอร์หัวแบบลุงดำน้ำหนด ขนาด 6 หุน ต้นใหญ่วาง 2 หัวต่อต้น ต้นเล็กวาง 1 หัว ส่วนแปลงที่ทำกก่อนฤดูจะใช้ ระบบน้ำแบบวง เทคนิคด้านการให้น้ำนั้นก็จะต้องคอยตรวจสอบอุณหภูมิสภาพแวดล้อมและ สภาพต้นอยู่เสมอ เช่น ช่วงหลังการเก็บเกี่ยวก็อาจให้น้ำในปริมาณน้อย เพราะเข้าช่วงฝน แต่กับทุเรียนก่อนฤดูที่เก็บเกี่ยว ช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ช่วงนี้จะต้องให้น้ำมากขึ้นเช่น วันละ 30-40 นาที ในระยะ 3 วันเว้น 1 วัน หรือ 2 วัน เว้น 1 วัน


3. การดูแลทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว การดูแลทุเรียนในฤดูหลังการเก็บเกี่ยว ก็จะเริ่มจากการทำคววมสะอาด ดายหญ้า บริเวณโคนต้น จากนั้นจึงตีหลุมเป็นวงตามแนวทรงพุ่ม รัศมีประมาณเมตรเศษๆ ใส่ปุ๋ย สูตรตราเสมอหรือสูตรตัวหน้าสูง ปกติแล้วทุเรียนจะมีความสมบูรณ์ ควรจะให้มีการรัดใบ อ่อน (แตกใบอ่อน) ต่อปีประมาณ 3 ครั้ง ก่อนชุดแรกจะมีการรัดใบครั้งแรก หลังจากเก็บ เกี่ยว (เดือนพฤษภาคม) 40-50 วัน หลังจากนั้นอีกเป็นเวลาประมาณ สองเดือนกว่าๆ ถึง สามเดือน ก็จะรัดใบได้อีกครั้ง ต้องใช้อาหารเสริมหรือฮอร์โมนไซโตไคนิน หรือ จิบเบอเรลลิน ช่วย


4. ช่วงออกดอกต้องระวังโรคแมลงและการแตกใบอ่อน หลังจากช่วงดูแลหลังการเก็บเกี่ยวจนเข้าช่วงปลายฝน ในเดือนตุลาคมจะเริ่มให้ ปุ๋ยสูตรบำรุงดอก (ปุ๋ยหว่าน) จากนั้นจึงเตรียมกัดน้ำจะเริ่มพร้อมกับลมหนาวที่เข้ามา ในช่วงออกดอกเป็นช่วงที่อากาศเริ่มหนาวพอดี เป็นช่วงการระบาดของโรคแมลง โดยเฉพาะไรแดง นี้ต้องใช้สารเคมีป้องกันไว้ก่อน และคอยพ่นสารเคมีควบคุมไปเป็นระยะทุก ๆ 7-10 วัน ป้องกันไรแดงทำลายใบ


5. สารประกอบแคลเซียม โบรอน มีความจำเป็นมาก เพื่อความสมบูรณ์ของดอกและเกสรตัวผู้ ในการงอกหลอด ปฏิสนธิ


6. ปุ๋ยพร้อมน้ำเริ่มให้ในระยะติดผลและเสริมด้วยสูตรเสมอ ในระยะที่เริ่มติดผลจะเริ่มให้ปุ๋ยพร้อมน้ำกับระบบน้ำ


7. วิธีทำทุเรียนก่อนฤดู จะเริ่มในช่วงปลายเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม ภายหลังจากทำความสะอาดรอบ ทรงพุ่ม เทคนิคการกระตุ้นการออกดอกนั้น จะใช้ฮอร์โมนไซโตไคนิน พ่นตามท้องกิ่ง ประมาณ 60-80 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร


8. ทุเรียนทำสารไม่ใช่ว่าเก็บผลแล้วค่อยมาฟื้นฟู ความสมบูรณ์ของทุเรียนมาจากระบบรากความสมบูรณ ์ การให้ปุ๋ยคอก และใช้ ฮิวมิกแอซิด ช่วยเร่งรากให้ฟื้นเร็ว ระหว่างที่เริ่มออกดอกก็จะเริ่มให้อิวมิกแอซิดฟื้นฟูอยู่ ตลอด




http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=185&PHPSESSID=9fe14f24ea1ed53e84cb386ddacb3e50
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 11 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©