-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 69, 70, 71, 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/01/2013 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


1,860. แม่โจ้ชี้ ปลูกไม้ผลในกระถาง ดีกว่าลงดิน

1,861. ผลของจิบเบอเรลลิค แอซิด ต่อพัฒนาของเมล็ดและผลองุ่น
1,862. ปลูกผักหวานบ้าน ป้อนโครงการฯเขาหินซ้อน
1,863. แนวทางการปลูกไม้ผล ในพื้นที่ดินเปรี้ยว
1,864. ลำไย : ไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ
1,865. เมพิควอท คลอไรด์ : สารควบคุมความสูงของพืช

1,866. ปลาบึก
1,867. วิทยาการที่ก้าวหน้า จากฟาร์มทันสมัยแห่งหนึ่งของมาเลเซีย
1,868. พันธุ์ยางพารา ผลผลิตเนื้อไม้สูง
1,869. เทคโนโลยี “พอกเมล็ดพันธุ์” ได้เมล็ด กลมโตสวย ปลูกง่าย
1,870. ไทยแยก “เนื้อยาง” จาก “ขี้แป้ง” สำเร็จรายแรกของโลก

1,871. 10 อันดับ ดอกไม้ที่สวยที่สุดในโลก
1,872. ต้นไม้กระป๋อง-ต้นไม้ในถุงเก๋ๆ สวนเล็กกึ่งสำเร็จรูป กำลังมาแรง
1,873. ปลูกพืชกลับหัว สวยงาม ประหยัดน้ำ ลดโลกร้อน
1,874. "ผักกลับหัว" นวัตกรรมใหม่ของการปลูกผัก
1,875. การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุด

1,876. คัดเลือกหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อใช้เป็นแม่พันธุ์
1,877. ปลากระชังในบ่อดิน รายได้ดี คุณภาพแน่น ที่บางปะกง
1,878. เปิดสอน "วิชาทำนา" สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่
1,879. มังคุดผิวมัน มังคุดคุณภาพ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
1,880. น้ำปัสสาวะ คือ ปุ๋ยชั้นดี

1,881. การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักใช้เอง
1,882. งาแดง พันธ์ใหม่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
1,883. วิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยีมหาสารคาม ปลูกสตรอเบอรี่
1,884. ชนะเลิศจัด 'สวนกล้วยไม้' ที่โอกินาวา


------------------------------------------------------------------------------------------------





1,860. แม่โจ้ชี้ ปลูกไม้ผลในกระถาง ดีกว่าลงดิน





สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เจ๋งศึกษาปลูกต้นไม้ผลในกระถาง พบผลผลิตมีคุณภาพดีกว่าปลูกลงดิน แถมสามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตได้ เตรียมต่อยอดนำผลผลิตจากภาคใต้มาศึกษาต่อ


นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า ทางสำนักงานวิจัยฯ ได้มีการทดลองนำไม้ผล ต่างๆ อาทิ มะม่วง ส้มโอ มาทดลองปลูกในกระถาง พบว่าไม้ผลที่นำมาปลูกสามารถให้ผลผลิตดีและสามารถควบคุมคุณภาพได้ง่าย รวมทั้งยังใช้พื้นที่น้อย ตลอดจนสามารถควบคุมผลผลิตให้สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากการปลูกในกระถางสามารถควบคุมสารอาหารของต้นไม้ได้ เช่น ถ้าต้องการปลูกมะม่วงก็สามารถให้ปุ๋ยเพื่อเร่งให้ต้นมะม่วงออกผลผลิตได้ตามที่ต้องการ แต่ทั้งนี้กระถางที่ปลูกต้องมีขนาดกระถางเท่ากับ 1 ปี๊บ เนื่องจากการผสมดินและสารอาหารจะมีทดลองในปิ๊บ ก่อนจะเทส่วนผสมทั้งหมดลงกระถาง และจากการทดลองยังพบว่าไม้ผล 1 กระถาง ยังสามารถทำให้มีหลายสายพันธ์ในต้นเดียวได้ ด้วยการใช้วิธี ทาบกิ่ง ก็จะทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นและหลายสายพันธ์

สำหรับการปลูกไม้ผลในกระถางนั้นมีประโยชน์ นอกจากจะช่วยให้ผู้ปลูก มีผลผลิตรับประทานตลอดทั้งปีแล้วยังสามารถใช้ไม้ผลกระถาง เป็นต้นไม้ประดับตกแต่งบ้านได้ด้วย เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และอยู่ได้ทุกที่ของบ้าน แตกต่างจากการปลูกในบ่อซีเมนต์ และการปลูกลงดิน นอกจากนี้ข้อดีของการปลูกไม้ผลในกระถางยังสามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้ง่าย ทั้งการตัดตกแต่งกิ่ง ควบคุมความสูงของต้น และป้องกันโรคจากพืชได้ง่าย ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศด้วย

ส่วนการต่อยอดการปลูกต้นไม้ในกระถาง ที่ทางสำนักงานวิจัยฯ กำลังศึกษา คือ การนำส้มโอขาวน้ำผึ้ง ที่นิยมปลูก ในจังหวัดนครปฐม และไม่เป็นที่นิยมปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะได้รสชาติเปรี้ยว มาทำการศึกษา และการทดลองปลูกในกระถาง นานกว่า 8 เดือน ก็พบว่า ส้มโอให้ผลผลิตที่มีรดชาติใกล้เคียงกับที่ปลูกในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งในจะมีการศึกษาต่อไป ว่าจะทำอย่างไรให้ผลผลิตต่อต้นมากที่สุดด้วยเนื่องจากผลผลิตที่ได้ต่อต้นมีจำนวนน้อย

นอกจากนี้จะมีการนำเงาะ และมังคุดที่มีการปลูกในภาคใต้ ขึ้นมาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยการปลูกในกระถาง ว่าจะได้ผลอย่างไร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา และหาทุนในการศึกษวิจัย ทั้งนี้เกษตรที่สนใจวิธีการปลูกต้นไม้ในกระถาง ว่ามีขั้นตอนวิธีการอย่างไรบ้าง และเทคนิควิธีการปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิต เพื่อนำมาบริโภค และจำหน่าย สามารถติดต่อสอบถามได้สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ที่ 053 -873938-9 ในวันและเวลาราชการ


http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:51 am, แก้ไขทั้งหมด 29 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2013 4:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,861. ผลของจิบเบอเรลลิค แอซิด ต่อพัฒนาของเมล็ดและผลองุ่น





วิทยานิพนธ์โดย น.ส.รวีวรรณ ยุวรรณศิริ ภาควิชาพืชสวน คณะบัณฑิตวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์

พิจารณาเห็นชอบโดย ผศ.ดร.สุรศักดิ์ นิลนนท์

ผลของจิบเบอเรลลิค แอซิด ที่มีต่อการพัฒนาของเมล้ดและผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ที่ปลูกบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

องุ่น (Vitis vinifera L.) เป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของโลก มีถิ่นกำเนิดแถบเอเซียไมเนอร์ บริเวณรอยต่อระหว่างทะเลดำ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากนั้นองุ่นก็ได้แพร่ขยายไปยังแหล่งอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งพืชในวงศ์นี้มีทั้งหมด 12 สกุล มีทั้งที่เป็นพันธุ์ปลูกและพันธุ์ป่าซึ่งมีฤทธิ์เปรี้ยวฝาดจัด เนื้อน้อย รับประทานไม่ได้ สกุลที่สำคัญที่สุดของพืชวงศ์นี้คือ ไวทิส(Vitis)

องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาจัดอยู่ในกลุ่ม โอลด์ เวิลด์ เกรพ (old world grape) ซึ่งถือเป็นองุ่นพันธุ์ดั้งเดิมปลูกในแถบยุโรป ลักษณะส่วนของเนื้อกับเปลือกติดกัน แตกต่างจากองุ่นที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา ซึ่งจัดเป็นกลุ่ม นิว เวิลด์ เกรพ (new world grape) มีส่วนของเนื้อกับเปลือกไม่ติดกัน องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกามีถิ่นกำเนิดในประเทศสเปน มีลักษณะช่อผลใหญ่ ผลดกแน่น ช่อผลเป็นรูปกรวย น้ำมาก รสดี ผลสุกค่อนข้างช้า ต้นเจริญเติบโตเร็ว

เมื่อปี 2500 ได้มีการนำองุ่นพันธุ์นี้มาปลูกเป็นการค้าในเขต อ.สามพราน จ.นครปฐม องุ่นพันธุ์นี้แต่เดิมซึ่งมีผลทรงกลม ได้เกิดบัด มิวเตชั่น (bud mutation) ขึ้นที่ต้นองุ่นในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้เกิดเป็นองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาที่มีทรงผลยาว และได้กลายเป็นพันธุ์องุ่นที่นิยมปลูกกันเป็นการค้าในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันนี้

แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่บริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่างระยะเวลาการปลูกจนกระทั่งตัดแต่ง 8-12 เดือน ระยะเวลาตั้งแต่ตัดแต่งจนกระทั่งเก็บผลได้ใช้เวลาประมาณ 120-150 วัน

ส่วนองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ที่ปลูกบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทยมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า หลังตัดแต่งจนเก็บผลผลิตได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือน แต่ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูงมากทั้งขนาดและรสชาติ



จิบเบอเรลลิน เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มหนึ่ง ซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช วิธีการเรียกชื่อสารจิบเบอเรลลินจะเรียก จิบเบอเรลลิน เอ แล้วตามด้วยหมายเลขลำดับการค้นพบ ตั้งแต่ 1-79 เช่น จิบเบอเรลลิน เอ 3 (GA) หรือจิบเบอเรลลิค แอซิค หรือ จีเอ ซึ่งผลิตมาใช้ทางด้านการเกษตรมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ รูปสารบริสุทธิ์ รูปผงละลายน้ำ และรูปสารละลายเข้มข้น สาร จีเอ นี้มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์น้อยมากจัดได้ว่าไม่มีพิษ สารนี้มีการเคลื่อนย้ายน้อยมากบนพืช ดังนั้นการใช้สารนี้กับพืชควรใช้เฉพาะที่

สารจิบเบอเรลลิค แอซิด (จีเอ) ถูกใช้เมื่อจุดประสงค์ในด้านการเกษตรเป็นครั้งแรกกับองุ่นพันธุ์ ธอป์มสัน ซีดเลส (Thompson seedless) ซึ่งปลูกเป็นการค้าในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก

ต่อมาก็มีรายงานการใช้สารดังกล่าวนี้กับผลองุ่นอีกมาก เช่น การใช้สาร จีเอ ช่วยในการยืดช่อผล ทำให้ช่อผลโปร่ง ช่วยทำให้องุ่นไม่มีเมล็ดมีช่อผลใหญ่ ติดผลดีขึ้น ทำให้องุ่นมีการขยายขนาดตามความยาวผลเพิ่มขึ้น เพิ่มน้ำตาลในผล ทำให้ปริมาณกรดในผลลดลง และยังทำให้ผลองุ่นสุกเร็วขึ้นด้วย

ผลของการใช้สาร จีเอ ในองุ่นขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารที่ใช้ ช่วงเวลาในการใช้ สภาพภูมิอากาศ และพันธุ์องุ่น ดังนั้น ก่อนการนำเอาสารดังกล่าวไปใช้ในการผลิตองุ่นต้องมี การทดลองศึกษาก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การปรับปรุงพันธุ์องุ่นไวท์มะละกา ซึ่งปกติมีเมล็ดให้ได้ผลองุ่นไม่มีเมล็ด ได้มีการวิจัยหลายครั้ง ดังเช่น ในพื้นที่ภาคกลางได้มีการใช้สาร จีเอ 0.05 ซีซี./น้ำ 1 ลิตร (ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม) พ่นให้กับช่อผลองุ่นหลังดอกบาน 7 วัน ได้ผลองุ่นไม่มีเมล็ดเกิดขึ้นสูงสุด 20.21℅ โดยที่ผลองุ่นไม่มีเมล็ดที่เกิดขึ้นมีขนาดและคุณภาพไม่แตกต่างจากผลองุ่นปกติ

แต่อย่างไรก็ตามก็มีรายงานว่า ในสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำการชักนำให้เกิดผลองุ่นไม่มีเมล็ดโดยการใช้สาร จีเอ ให้ผลดีกว่าในสภาพอุณหภูมิสูง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาถึงผลของสาร จีเอ ที่มีต่อการพัฒนาของเมล็ดและผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาที่ปลูกบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีสภาพอากาศหนาวเย็น ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังต่อไปนี้

1. ผลของสาร จีเอ อัตรา 0.05 ซีซี./น้ำ 1 ลิตร (ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม) ต่อความมีชีวิตของละอองเรณูองุ่นเมื่อพ่นสารขณะดอกบาน พบว่า ละอองเรณูองุ่นที่ได้รับสารไม่สามารถงอกหลอดละอองเรณูได้ ตามปกติมีผลในการทำลายความมีชีวิตของเกสรตัวผู้ และทำให้เกิดผลไม่มีเมล็ด

แต่อย่างไรก็ตามการงอกของละอองเรณูมีความเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และความสมดุลย์ของน้ำตาล ในสภาพที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป (สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส) มีอิทธิพลในการลดความมีชีวิตของละอองเรณูในช่วงขณะดอกบานหรือหลังจากดอกบานไม่นานนัก ถ้าพืชขาดน้ำหรือมีอุณหภูมิสูง การติดผลจะลดลงอย่างชัดเจน ส่วนในสภาพอุณหภูมิต่ำ การงอกของละอองเรณูเกิดขึ้นได้ช้ามาก ซึ่งในสภาพธรรมชาติจะเป็นอุปสรรคต่อการผสมเกสร เนื่องจากความพร้อมของไข่สำหรับการผสมมีช่วงเวลาที่จำกัด

2. การใช้สาร จีเอ อัตรา 0.05 ซีซี./น้ำ 1 ลิตร (ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม) พ่นช่อดอกองุ่นขณะดอกบาน หลังดอกบาน 3 วัน หลังดอกบาน 5 วัน และหลังดอกบาน 7 วัน ช่วยเพิ่มการติดผลของดอกที่ไม่ได้รับการผสมทดแทนจิบเบอเรลลินในธรรมชาติ ทำให้องุ่นเจริญขึ้นโดยไม่ต้องมีเมล็ด น

อกจากนี้ในผลองุ่นที่มีการติดผลแล้วสาร จีเอ ที่พ่นยังมีอิทธิพลทำให้เมล็ดหยุดการพัฒนา ผลองุ่นที่ได้จัดเป็นผลองุ่นไม่มีเมล็ด เนื่องจากส่วนของเมล็ดลีบเล็กมาก


3. ในสภาพท้องที่ที่มีอุณหภูมิต่ำการใช้ จีเอ อัตราดังกล่าวพ่นช่อดอกองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาขณะดอกบาน 3 วัน หลังดอกบาน 5 วัน และหลังดอกบาน 7 วัน จะทำให้เกิดผลองุ่นไม่มีเมล็ด 98-100℅ โดยผลที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มของขนาดผลเล็กกว่าผลองุ่นมีเมล็ดปกติ แต่มีการติดผลสูงขึ้น ทำให้น้ำหนักช่อผลเฉลี่ยสูงขึ้น ผลองุ่นสุกแก่เร็วขึ้น และเปอร์เซ็นต์ผลร่วงสูงขึ้นกว่าการไม่ใช้สาร

เนื่องจากสาร จีเอ ไปทำให้เซลล์บริเวณรอยต่อของผลกับก้านผลซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็ก และมีแรงยึดติดกันไม่แข็งแรง จึงทำให้ผลองุ่นที่เก็บเกี่ยวแล้วมีการหลุดร่วง

จากผลเมื่อได้รับการกระทบกระเทือน และยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะดอกองุ่นบานประมาณ 10-60℅ การใช้สาร จีเอ มีอิทธิพลทำให้เกิดการหลุดร่วงของผล จึงช่วยในการปลิดผลได้


สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพ่นสาร จีเอ ในการทดลองครั้งนี้ คือ การใช้สารจิบเบอเรลลิค แอซิด อัตรา 0.05 ซีซี./น้ำ 1 ลิตร หรือความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม. พ่นช่อผลองุ่นหลังดอกบานเต็มที่ 5 วัน




http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:51 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2013 4:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,862. ปลูกผักหวานบ้าน ป้อนโครงการฯเขาหินซ้อน





พูดถึงผักหวานบ้านแล้วแน่นอนว่าหลายคนนึกถึงโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งปลูกผักหวานบ้านในเชิงการค้าอย่างจริงจัง ในพื้นที่ขนาดใหญ่ป้อนให้กับโกลเด้น เพลส และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ จนทำให้ผักหวานบ้าน เป็นที่รู้จักมากขึ้นและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคจนถึงตอนนี้ ซึ่งความจริงแล้วผักหวานบ้านเป็นผักพื้นบ้านที่บริโภคกันมานานแล้วแต่ไม่โด่งดังเป็นที่รู้จักกว้างขวางนัก ยังคงเป็นเพียงผักพื้นบ้านที่บริโภคกันในกลุ่มชาวบ้านเท่านั้น แต่พอโครงการฯ เขาหินซ้อนมาผลิตและส่งเสริมการบริโภคอย่างจริงจัง ก็ทำให้ตลาดโตและขยายตัวอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว จนโครงการไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วโครงการฯเขาหินซ้อนก็ได้เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรที่นี่ปลูกแล้วรับซื้อคืนในราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม

คณะกรรมการหมู่บ้านปรึกษากันแล้วคิดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้และน่าจะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี จึงตัดสินใจปลูกผักหวานบ้านป้อนให้กับโครงการฯ โดยใช้พื้นที่ว่างในหมู่บ้านประมาณ 20 ไร่ และให้สมาชิกลงทุนร่วมกันโดยการขายหุ้นให้กับเกษตรกรหุ้นละ 100 บาท ซึ่งการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูงทีเดียว พี่ทองหล่อบอกว่าลงทุนไปทั้งหมดหลักล้านแล้ว โดยแปลงผักหวานขนาด 20 ไร่ นี้ลงทุนติดตั้งระบบน้ำสปริงเกลอร์เต็มพื้นที่เพื่อความสะดวกในการดูแล ซึ่งหมดไปกว่า 3 แสนบาท แต่ส่วนที่หนักเห็นจะเป็นค่ากิ่งพันธุ์ ซึ่งซื้อจากโครงการทั้งหมดกว่า 9.8 แสนบาท โดย 1 ไร่จะปลูกผักหวานได้ 7,000 ต้น

การบริหารแปลงผักหวานก็จะให้สมาชิกหรือผู้ถือหุ้นแต่ละคนแบ่งหน้าที่กันไปเป็นต้นว่า ฝ่ายผลิตหรือดูแลแปลงผักหวาน ฝ่ายจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์อย่างพวก ปุ๋ย สารเคมี ฝ่ายเก็บเกี่ยวและบรรจุ ฝ่ายตลาด เป็นต้น ที่ผ่านมาสามารถเก็บยอดผักหวานป้อนให้กับโครงการฯ ได้อาทิตย์ละประมาณ 300-500 กก. พี่ทองหล่อบอกว่าเคยเก็บตัวเลขผลผลิตดูผักหวานจะสามารถเก็บยอดได้ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน โดยช่วงฝนยอดจะงามและเก็บยอดได้เยอะ แต่ช่วงหนาวจะเก็บยอดได้น้อยลง

การเก็บยอดจะเก็บยอดเดือนละ 8 ครั้งหรืออาทิตย์ละ 2 ครั้ง โดย 20 ไร่จะแบ่งเป็น 8 แปลงย่อย การเก็บยอดในแต่ละวันใช้คนค่อนข้างเยอะ ถ้าเก็บยอดวันหนึ่ง 200 กิโลกรัม ต้องใช้คนมากถึง 20 คนเลยทีเดียว โดยจะเริ่มเก็บยอดตั้งแต่ 6 โมงเช้าจนถึง 10 โมงเช้า เพราะทางโครงการฯ จะเข้ามาเอาผักตอน 11 โมงเช้า ค่าจ้างเก็บจ้างวันละ 100 บาท หรือคิดแล้วตกประมาณ 10 บาทต่อกิโลกรัม หลังจากเก็บยอดแล้วจะนำยอดผักหวานมาแช่ในน้ำผสมน้ำแข็งอุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียส โดยจุ่มยอดผักหวานในน้ำแข็งนาน 1 นาที แล้วผึ่งในสะเด็ดน้ำ พี่ทองหล่อบอกว่า การแช่ยอดผักในน้ำแข็งนี้จะทำให้ผักกรอบและเก็บได้นาน จากนั้นนำใส่ลังพลาสติก ลังละ 3.5 กิโลกรัม

สำหรับการดูแลผักหวานนั้นพี่ทองหล่อบอกว่างานหลักก็จะมีถางหญ้ากับใส่ปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยจะใส่เดือนละครั้ง ใช้สูตร 15-15-15 เดือนหนึ่งใช้ประมาณ 20 กระสอบ ส่วนการพ่นสารเคมีก็มีบ้างเหมือนกันแต่ไม่บ่อยเพราะทางโครงการฯ จะมีการตรวจสอบผลผลิตด้วย ส่วนใหญ่จะเจอปัญหา เพลี้ยไฟบ้าง ถ้าช่วงไหนเจอก็ต้องพ่นสีเคมี แต่ปัญหาใหญ่ตอนนี้ก็คือโรคจากเชื้อรา ซึ่งผักหวานจะมีอาการใบเหลืองและร่วง ที่ผ่านมาเคยนำไปตรวจเชื้อที่ ม.เกษตรศาสตร์ พบว่า เกิดจากเชื้อรา ฟูซาเรียม (Fusarium sp) ซึ่งตอนนี้ก็แก้ไขโดยการพ่นสารเคมีควบคู่กับการปรับสภาพดิน นอกจากนี้ยังใช้วิธีกรรมชาติ คือใช้น้ำปูนละลายให้ตกตะกอน แล้วนำน้ำใสที่ได้ 20 ลิตร มาผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นทุกสัปดาห์ ซึ่งก็ทำให้อาการดีขึ้น โรคนี้นับว่าเป็นปัญหาสำหรับการผลิตผักหวานของที่นี่พอสมควร

นอกจากจะมีหุ้นในแปลงผักหวานของหมู่บ้านแล้ว พี่ทองหล่อยังปลูกผักหวานเป็นส่วนตัวอีกประมาณ 2 งาน ซึ่งก็สามารถเก็บขายได้เดือนหนึ่ง 100 กิโลกรัม ส่งขายให้กับร้านอาหารในกรุงเทพฯ ซึ่งมีความต้องการค่อนข้างมาก

นอกจากอาชีพที่พูดถึงแล้วเกษตรกรหลายคนยังมีการทำสวนมะม่วง การเลี้ยงไก่พื้นเมือง ปลาสวยงาม เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย นับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จสามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี


สนใจเข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด 109 ม.3 ตำบลบ้างซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.(038) 520-688 หรือติดต่อ พี่ทองหล่อ บุญปองหา ได้ที่ 109/29 หมู่ 3 ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 21420 โทร.(09) 836-8053



http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2013 4:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,863. แนวทางการปลูกไม้ผล ในพื้นที่ดินเปรี้ยว





ไม้ผลส่วนใหญ่จะทำการปลูกในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมโดยธรรมชาติ เช่น ดินมีลักษณะเป็นดินร่วน การระบายน้ำดีไม่ท่วมขัง ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)ของดินเหมาะสม สภาพภูมิอากาศและการกระจายของฝนพอเหมาะ เป็นต้น แต่พื้นที่ดังกล่าวมีค่อนข้างจำกัด และปัจจุบันความต้องการพื้นที่การเกษตรขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ในระดับสูง ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกไม้ผลในพื้นที่ที่มีศักยภาพการผลิตสูง โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ที่เกิดจากการทับถมกันของตะกอนน้ำกร่อย มีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดที่เกิดจากธาตุกำมะถันในรูปสารประกอบที่เป็นกรดเรียกว่า ดินเปรี้ยว มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ดินเปรี้ยวดังกล่าวมีพื้นที่กว้างขวางครอบคลุมจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางคือ นครนายก พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สระบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี นนทบุรี และกรุงเทพฯ คิดเป็นพื้นที่ดินเปรี้ยวประมาณ 5.5 ล้านไร่ และอยู่ในเขตชลประทานมีระบบควบคุมน้ำได้ทั้งปี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.25 ล้านไร่ ลักษณะของดินเปรี้ยวที่สำคัญที่พบเห็นได้ง่ายคือ ดินมีความเป็นกรดจัด ดินชั้นบนมีสีดำหรือเทาดำถัดลงไปจะพบสีสนิมเหล็กปะปนอยู่ และมีจุดประหรือรอยสีเหลืองอ่อนเหมือนฟางข้าว (Jarosite) ในดินชั้นล่างลึกจากผิวดินประมาณ 25-150 เซนติเมตร

ดินเปรี้ยวเป็นดินที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการปลูกพืช เนื่องจากปัญหาที่สำคัญคือ

1. ดินเปรี้ยวมีกรดสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในดินถูกจำกัด และเปลี่ยนแปลงไปในรูปที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือใช้ประโยชน์ได้น้อย

2. ดินเปรี้ยว จะมีธาตุบางอย่างเช่น เหล็ก อะลูมินั่ม ละลายออกมาถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืชได้ ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี

3. ดินเปรี้ยวเป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารพืชประเภทไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม อยู่เป็นปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช

4. เนื้อดินเปรี้ยวเป็นดินเหนียว อัดตัวกันแน่น ทำให้น้ำซึมและการระบายถ่ายเทของอากาศเป็นไปได้ยาก ดินแข็งมากเมื่อแห้งและเป็นโคลนเหนียวมากเมื่อเปียก ทำให้การเตรียมดินลำบาก

5. ดินเปรี้ยวทำให้จุลินทรีย์ประเภทที่สร้างอาหารให้แก่พืชไม่สามารถทำงานได้

การจัดการดินกรดจัด

การจัดการดินกรดจัดสามารถทำได้หลายวิธีตามความจำเป็นและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ภาวะสังคม หรือตามลักษณะการใช้ประโยชน์ดินกรดจัดและชนิดของพืชที่ปลูก โดยมีหลักการที่สำคัญ เพื่อลดความเป็นกรดและปริมาณของสารเป็นพิษในดิน ป้องกันการเกิดกรดจัดเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการเพิ่มธาตุอาหารพืชที่จำเป็นในดินในรูปของปุ๋ยให้แก่พืชด้วย วิธีการต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การล้างดิน เป็นการล้างกรดและสารเป็นพิษอื่น ๆ ออกไปจากดิน ซึ่งสามารถใช้ได้ผลดีพอสมควรในบริเวณที่มีน้ำอย่างเพียงพอ ชาวสวนส้มในบริเวณดินกรดจัดในภาคกลางของประเทศไทย ได้ทำการยกร่องเพื่อปลูกส้มโดยการใช้รถแทรกเตอร์ไถหน้าดิน แล้วกวาดเอาหน้าดินไปรวมไว้ในแถวกลางของเนิน แล้วขุดร่องเอาดินล่างมากันไว้ข้าง ๆเนิน แล้วจึงทำการปลูกส้มกลางเนิน เมื่อให้น้ำแก่ส้มเหล่านี้โดยใช้เรือ น้ำจะล้างเอากรดและสารพิษต่าง ๆ ลงไปในคลอง เมื่อน้ำในคลองใส แสดงว่ามีความเป็นกรดอยู่มากชาวสวนจะระบายน้ำทิ้ง แล้วรับน้ำจากคลองชลประทาน ซึ่งเป็นน้ำปกติ (pH=7)เข้ามาใหม่ โดยวิธีนี้ชาวสวนสามารถปลูกส้มได้รับผลสำเร็จโดยไม่จำเป็นต้องใช้ปูนแต่อย่างใด โดยจะยกเป็นร่องลึกได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความลึกของ pyrite (FeS2) เป็นสารประกอบทำให้เกิดกรดแฝงที่แลกเปลี่ยนได้ภายในดิน กรดส่วนนี้เองคือตัวการที่ทำให้ดิน “กรดจัด” ถ้า pyrite อยู่ลึกสามารถขุดร่องได้สูง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดียิ่งขึ้น แต่ถ้าได้มีการใส่ปูนและใส่ปุ๋ยร่วมด้วยแล้ว ก็สามารถจะได้ที่ดินนั้นปลูกผลไม้หรือผักได้ดียิ่งขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ในขณะนี้ได้มีผุ้ประกอบธุรกิจที่ดินได้นำพื้นที่ดินเปรี้ยวในบริเวณดังกล่าวมาปรับปรุงพื้นที่ใหม่ จัดสวนเกษตรบ้างหรือจัดสร้างสนามกอล์ฟบ้าง มีหลายรายที่ดำเนินการโดยไม่ได้ศึกษาพื้นที่และคุณสมบัติของดินเปรี้ยว หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยการขุดดินเพื่อจัดทำทะเลสาบน้ำจืด บางครั้งลึกมากกว่า 10 เมตร (ซึ่งมีสารประกอบพวก pyrite ปริมาณมากขึ้นตามระดับความลึก ลักษณะเป็นกรดแฝงเมื่อมีปฏิกิริยาเพิ่มอ๊อกซิเจน จะเกิดเป็นดินกรดจัดมาก) และนำดินดังกล่าวไปถมในพื้นที่สวนอื่นเพื่อจะปลูกพืชจัดทำสวนเกษตร ปรากฎว่าพืชดังกล่าวไม่สามารถเจริญเติบโตได้ นอกจากนั้นแล้ว เมื่อให้น้ำแก่ต้นพืชหรือฝนตกน้ำจะชะล้างดินกรดเหล่านี้ลงไปในทะเลสาบที่สร้างขึ้นมา ทำให้น้ำมีคุณสมบัติเปรี้ยวจัดพืชและสัตว์น้ำไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ บางครั้งน้ำในทะเลสาบล้มท่วมไร่ นา สวน ทำความเสียหายเป็นที่เดือดร้อนต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก

2. การควบคุมระดับน้ำใต้ดิน วิธีนี้เหมาะสำหรับการใช้ประโยชน์ดินกรดจัดที่เกิดใหม่หรือที่มีแร่ไพไรท์อยู่ใกล้กับผิวดิน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้แร่ไพไรท์ถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดในดินชนิดนี้ เมื่อมีการระบาดน้ำออกไปจะเกิดปฏิกิริยาการเป็นกรดอย่างรุนแรง การควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะจะทำให้เกิดสภาพการขาดอ๊อกซิเจน และทำให้สารประกอบต่าง ๆ ของเหล็กรวมทั้งกรดที่เกิดขึ้นบางส่วนถูกลดอ๊อกซิเจน (reduced) กลับไปสู่สภาพเดิมที่ไม่เป็นพิษต่อพืชได้ ในประเทศมาเลเซียได้มีการปรับปรุงพื้นดินกรดจัดที่ใช้ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งเริ่มปลูกในปี 1951 เนื่องจากพบว่าเมื่อปลูกไปได้ประมาณ 3-5 ปี จะแสดงการขาดธาตุอาหารชะงักการเจริญเติบโต เหี่ยว ใบซีด และแห้งก่อนกำหนด โดยทำการขุดคลองระบายน้ำเพิ่มขึ้น และคลองระบายน้ำที่มีอยู่เดิมก็มีการขุดลอกให้ลึกขึ้น ทั้งนี้เพื่อล้างสารประกอบซัลเฟตต่าง ๆ ออกไปในปี 1961 ร่วมกับใส่ปูนเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน แต่ปรากฎผลในทางตรงกันข้ามกับที่คาดไว้กล่าวคือ ก่อนที่จะมีการปรับปรุงสวนปาล์มให้ผลผลิตเฉลี่ย 15.17 ตันต่อเฮกตาร์ แต่เมื่อปรับปรุงด้วยการระบายน้ำ ปรากฎว่าผลผลิตลดลงจนถึง 6.03 ตันต่อเฮกตาร์ในปี 1965 จากการวิเคราะห์ดินอย่างละเอียดจึงพบว่ามี pyrite ซึ่งยังไม่ถูกเติมออกซิเจน (oxidize) อยู่เป็นปริมาณมากในดินบริเวณดังกล่าว แนวการปรับปรุงจึงเปลี่ยนใหม่เป็นการปิดกั้นทางระบายน้ำ เพื่อควบคุมและยกระดับน้ำใต้ดินในปี 1966 เพื่อป้องกันการ oxidation ซึ่งเป็นผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทันทีเป็น 9 ตันต่อเฮกตาร์ในปีถัดมา และเป็น 18 ตันต่อเฮกตาร์ภายในระยะเวลา 3 ปีหลังจากปรับปรุงและรักษาผลผลิตอยู่ในระดับนี้ต่อไปอีกประมาณ 4 ปี ในการรักษาระดับน้ำนี้มีการระบายน้ำทิ้งเป็นบางครั้ง เพื่อกำจัดสารพิษต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ การระบายน้ำครั้งนี้จะทำเมื่อจำเป็นประมาณ 1-2 ครั้ง ในระหว่างฤดูฝนเมื่อมีน้ำมากพอ โดยพยายามรักษาระดับน้ำหรืให้มีน้ำอยู่ในคลองระบายน้ำตลอดทั้งปี การทดลองเปรียบเทียบการระบายน้ำในสวนมะพร้าวในดินกรดจัดในประเทศมาเลเซียก็ให้ผลผลิตในทำนองเดียวกันนี้คือ แปลงที่ควบคุมระดับน้ำให้เหมาะสมจะให้ผลผลิตมะพร้าวสูงในระยะยาว เมื่อเทียบกับแปลงที่มีการระบายน้ำและระบายน้ำอย่างอิสระ

ในพื้นที่บริเวณภาคกลางตอนใต้ของประเทศไทย ได้เปลี่ยนพื้นที่นาดินกรดจัดยกร่องปลูกส้มเขียวหวานมีระบบชลประทานตลอดปี ต้องมีการควบคุมน้ำในท้องร่องให้คงที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งและมีการระบายน้ำออกจากแปลง เมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำในท้องร่องมีลักษณะใส แล้วนำน้ำชลประทานเข้าแปลง จนกระทั่งต้นส้มเขียวหวานเจริญเติบโตพอสมควรพร้อมที่จะออกดอกติดผล ชาวสวนต้องการให้ส้มเขียวหวานออกดอกติดผลพร้อม ๆ กันโดยวิธีกักน้ำกล่าวคือ ระบายน้ำออกจากท้องร่องจนแห้งประมาณ 15-30 วัน พื้นดินบนท้องร่องจะแห้งมากจนแตกระแหง อากาศจะเข้าแทนที่โอกาสที่สารประกอบที่ทำให้เกิดกรดแฝง (ไพไรท์) มีปฏิกิริยาเติมอ๊อกซิเจน (oxidize) จะทำให้ดินเปรี้ยวจัดขึ้นจะเห็นว่าในสวนส้มบางรายที่มีการกักน้ำนานเกินไปเพื่อต้องการให้ส้มออกดอกติดผลมากส้มจะติดผลดกตามความต้องการ แต่ปรากฎว่าต้นส้มบางต้นไม่สามารถอยู่ได้ถึงผลส้มแก่ จะแสดงอาการเหี่ยวเฉาที่เรียกว่า “ส้มเพลีย” ซึ่งเกิดจากพืชไม่สามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเพียงพอ หรืออาจจะเกิดจากดินกรดเพิ่มขึ้น ธาตุบางอย่าง เช่น อลูมินั่ม เหล็ก ละลายออกมากเกินไปจนเป็นพิษกับต้นพืชได้ จะเห็นว่าสวนส้มในบริเวณนี้มักจะมีอายุการให้ผลผลิตสั้น แต่มีชาวสวนบางรายจะไม่ใช้วิธีกักน้ำ แต่ใช้วิธีห่างน้ำกล่าวคือ เมื่อต้องการจะให้ออกดอกจะลดปริมาณน้ำในท้องร่องลงเล็กน้อย และงดการให้น้ำประมาณ 7-15 วัน จึงทำการขึ้นน้ำในท้องร่องและให้น้ำปกติ ส้มจะออกดอกติดผลไม่ดกมากนัก แต่สามารถทำให้ออกดอกติดผลได้ปีละหลายครั้ง การปฏิบัติเช่นนี้ส้มจะมีอายุการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

3. การใส่ปูนร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีในบริเวณพื้นที่ดินกรดจัดภาคกลาง ดินบริเวณนี้เป็นดินกรดจัดที่มีอายุประมาณ 5,000-7,000 ปี แร่ไพไรท์ซึ่งอยู่ใกล้กับผิวดินจะถูกเติมอ๊อกซิเจน (oxidize) ให้เปลี่ยนไปเป็นกรดและสารประกอบอื่น ๆ จนเกือบหมด จากการสำรวจของ Van Breeman ปรากฎว่าพบไพไรท์น้อยมากในระดับที่ลึกไม่เกิน 1 เมตรจากผิวดิน ดังนั้นจึงยากแก่การถูก oxidize ต่อไป การใส่ปูนจึงเป็นการแก้ปฏิกิริยาของกรด และสารประกอบอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์เป็นกรดที่ยังเหลือตกค้างอยู่ในบริเวณดินบนเท่านั้น ปูนที่ใส่จึงมีผลตกค้างอยู่เป็นระยะเวลานาน จากการศึกษาวิจัยการปรับปรุงดินเปรี้ยวทำได้โดยการใส่วัสดุประเภทสารประกอบจำพวกปูนเช่น ปูนขาว

ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปูนขาวอัตราต่าง ๆ ต่อผลผลิตและคุณภาพของส้มเขียวหวานเริ่มตกผลที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี


ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือเปลือกหอยเผา ลงในดินเปรี้ยว สารประกอจำพวกปูนเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยลดความเป็นกรดในดิน ลดปริมาณธาตุที่เป็นพิษต่อพืช เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักและเพิ่มธาตุอาหารรองให้แก่พืช และทำให้ดินเปรี้ยวมีลักษณะซุยขึ้น ช่วยให้จุลินทรีย์ในดินทำงานดีขึ้นทำให้ดินมีสภาพเหมาะสมกับการเพาะปลูก หลังจากการปรับปรุงดินแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ พืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ผลผลิตที่ได้เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาวิจัยการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปูนขาวต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของส้มเขียวหวานที่เริ่มตกผลอายุประมาณ 3 ปีครึ่ง ที่อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ปรากฎว่าใช้ปูนขาวอัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับดินปลูกส้มเขียวหวานในบริเวณนี้และปุ๋ยเคมีที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงคือให้ปุ๋ยอัตรา 500-300-600 กรัมต่อต้นปี (N – P2O5 – K2O) ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 54.4 กิโลกรัมต่อต้น

การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวเพื่อปลูกไม้ผลนั้นจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะการปรับปรุงดินเปรี้ยว เพื่อปลูกพืชอื่นนอกจากทำนาแล้วจะต้องใช้งบประมาณพัฒนาเป็นจำนวนมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ กล่าวคือ การปรับปรุงพื้นที่นาให้เป็นสวน จำเป็นต้องมีการสร้างคันล้อมกั้นน้ำขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน การยกร่องสวนในบริเวณดินเปรี้ยวควรจะพิถีพิถันในการสงวนหน้าดินเอาไว้ให้อยู่กลางร่องให้มากที่สุด โดยพยายามเอาดินชั้นล่างไว้ตรงข้างร่องให้มากที่สุด เนื่องจากดินล่างจะเป็นดินที่มีความเป็นกรดอย่างรุนแรง ดินชั้นล่างลักษณะมีจุดประสีเหลืองถึงสีเหลืองฟางข้าว และยิ่งมีมากเท่าใดจะเป็นตัวบอกความเป็นกรดที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ขนาดของร่องสวนกว้างประมาณ 6-6.7 เมตร คูน้ำกว้าง 1.3-2 เมตร ลึก 0.75-1.0 เมตร ในกรณีดินเป็นกรดอย่างรุนแรงมาก ๆ เช่น มี pH ต่ำกว่า 4.0 ควรมีการใส่ปูนในอัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วทั้งผิวดินบนร่องสวนแล้วพรวนให้เข้ากับดินให้ดีที่สุด เมื่อฝนตก หรือรดน้ำจะทำให้ปูนขาวฆ่าฤทธิ์ความเป็นกรดของดินได้ และสิ่งที่สำคัญและจำเป็นจะต้องใช้สำหรับดินเหนียวจัดนี้ ได้แก่ อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักผสมกับดินบนร่องสวนหรือบริเวณหลุมปลูกจะช่วยทำให้ดินชุ่มชื้นไม่แน่นทึบและระบายน้ำได้ดีด้วย ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักยังช่วยป้องกันมิให้ปุ๋ยฟอสเฟตจากปุ๋ยเคมีถูกตรึงในดิน แต่จะช่วยให้ปุ๋ยเคมีอยู่ในดินได้นานเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้น

เรื่อง ประเทือง ลักษณะวิมล
กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร


http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:53 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2013 4:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,864. ลำไย : ไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ





ลำไย ไม้ผลเศรษฐกิจที่กำลังเป็นที่สนใจและมีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างมากมายในเกือบจะทุกภาคของประเทศ นับตั้งแต่วงการเกษตรบ้านเราได้ค้นพบเทคโนโลยีการทำให้ลำไยออกดอกติดผลนอกฤดูได้ ซึ่งทำให้ปัญหาการออกดอกของลำไยแทบจะหมดปัญหาไปเลย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของลำไย
นิสัยการออกดอกของลำไยนั้นจะมีการออกดอกไม่สม่ำเสมอทุกปีหรือมีการออกดอกเว้นปี นักวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไม้ผลได้พยายามศึกษาถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกเพื่อที่จะนำมาใช้ในการควบคุมการออกดอกลำไยให้ได้ผล ซึ่งแม้จะยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง เนื่องจากการออกดอกของลำไยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ แต่ก็มีคำตอบในระดับหนึ่งที่สามารถทำให้การออกดอกติดผลของลำไยประสบความสำเร็จได้

1. พันธุ์ ลำไยแต่ละพันธุ์มีความยากง่ายของการออกดอกที่แตกต่างกัน พันธุ์ที่ออกดอกง่ายที่สุด ก็คือ อีดอ ตามด้วยสีชมพู ส่วนพันธุ์ที่ออกดอกยากได้แก่ แห้วและเบี้ยงเขียว

2. สภาพภูมิอากาศ อิทธิพลของสภาพอากาศมีผลสูงมากต่อการออกดอกของลำไย ดังจะเห็นได้จากปริมาณผลผลิตที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปีอันเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ สำหรับสภาพภูมิอากาศที่มีบทบาทอย่างชัดเจนต่อการออกดอกของลำไย มีหลายลักษณะ ดังนี้

2.1 อุณหภูมิ ลำไยจะออกดอกได้ดีหลังจากผ่านช่วงระยะเวลาของความหนาวเย็นที่เพียงพอ พันธุ์ที่ออกดอกง่ายส่วนใหญ่ต้องการช่วงความหนาวเย็นสั้นและไม่ต้องต่ำมาก เช่น ลำไยอีดอ แต่หากอุณหภูมิไม่ต่ำมากก็สามารถทดแทนกันได้ด้วยเวลาที่ยาวนานขึ้น การออกดอกของลำไยนั้นอุณหภูมิต่ำเป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอก ไม่ใช่สภาพแล้งหรือการกักน้ำ

2.2 ปริมาณน้ำฝน ลำไยจะออกดอกเมื่ออยู่ในสภาพแล้งหลังจากฝ่านฤดูฝนไปแล้ว ช่วงที่ตายอดมีการเปลี่ยนแปลงจากตาใบไปเป็นตาดอกหากมีฝนตกลงมาในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ตายอดที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงก็จะมีแนวโน้มของการเกิดเป็นยอดอ่อนของใบได้มาก

2.3 ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งจะลดต่ำลงสัมพันธ์กับการลดลงของปริมาณน้ำฝนในช่วงก่อนการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำที่รกซึ่งพืชจะดูดขึ้นไปใช้ลดน้อยลง การใช้คาร์โบไฮเดรตจึงลดลง การสะสมอาหารจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

3. ความชื้นในดิน ในช่วงก่อนออกดอกนั้นความชื้นในดินจะต้องลดต่ำลงถึงระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการกักน้ำเพื่อให้ปริมาณน้ำที่จะเคลื่อนขึ้นไปยังส่วนใบลดน้อยลง ซึ่งจะทำให้การดูดไนโตรเจนขึ้นไปยังต้นน้อยลงด้วย การใช้อาหารก็จะลดลงส่งผลให้ปริมาณอาหารสะสม ซึ่งก็คือคาร์โบไฮเดรตสูงขึ้น ทำให้มีโอกาสในการออกดอกสูงขึ้น


การชักนำการออกดอก
การชักนำให้ลำไยออกดอกนอกจากการคัดเลือกพันธุ์และสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญก็คือความสมบูรณ์ของต้น ซึ่งพบว่าการพ่นปุ๋ยทางใบ 0-52-34 และปุ๋ยสูตร 7-13-34+12.5 Zn ในช่วงก่อนออกดอกจะทำให้ลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกดีขึ้น และช่อดอกมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ต้องมีการจัดการอื่น ๆร่วมด้วย เช่นการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการผลิยอดใหม่เร็วขึ้นและค่อนข้างพร้อมกัน การชักนำให้เกิดช่วงแล้งหรือการกักน้ำ การกำจัดวัชพืชใต้พุ่มต้นเพื่อให้ผิวดินสัมผัสกับลมและแดดโดยตรง

ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาวเย็น ความสมบูรณ์ของต้น และสภาพของความเครียดน้ำต่อการออกดอก

อุณหภูมิต่ำจะมีบทบาทสำคัญต่อการออกดอกของลำไย แต่ถ้าปีใดอุณหภูมิไม่ต่ำพอ ความสมบูรณ์ของต้นและสภาพความเครียดน้ำจะมีบทบาทสำคัญร่วมกัน แต่หากปีใดอุณหภูมิต่ำมากและยาวนาน อิทธิพลของความหนาวเย็นนี้จะสามารถข่มอีกสองลักษณะทั้งหมด ซึ่งคาดว่าอุณหภูมินี้น่าจะอยู่ระหว่าง 12-15 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น หากอุณหภูมิไม่ต่ำเพียงพอ(สูงกว่า 15 องศา) ถ้าต้นลำไยได้รับน้ำมากเกินไปอาจทำให้ตายอดเจริญเป็นใบอ่อนขึ้นมาแทนที่หรือเป็นช่อดอกที่มีใบปนมา แต่ถ้าอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 10 องศาแล้ว การให้น้ำแม้มีปริมาณสูงมากก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด


ช่วงเวลาการออกดอก
ลำไยใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่นานถึง 6-7 เดือน ทำให้ต้นลำไยสูญเสียอาหารสะสมเป็นปริมาณมาก หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบำรุงให้ต้นลำไยมีความสมบูรณ์ผลิใบใหม่ได้ เพราะการผลิใบใหม่จะทำให้ต้นลำไยมีแหล่งสร้างอาหารเพื่อชดเชยหรือทดแทนส่วนต่าง ๆ ที่สูญเสียไปกับผลผลิต อีกทั้งการผลิใบใหม่จะทำให้เกิดตายอดขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นที่เกิดของช่อดอกใหม่ต่อไป

นอกจากนี้ยังพบว่าในต้นลำไยที่มีอายุน้อยจะผลิใบ 2-3 ครั้งก่อนออกดอก แต่ในต้นที่มีอายุมาก ส่วนมากจะผลิใบเพียงครั้งเดียวแล้วจึงออกดอก ดังนั้นจำนวนครั้งของการผลิใบใหม่จึงไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดของการออกดอก แต่ปัจจัยที่สำคัญคือ ช่วงเวลาของการผลิใบใหม่ ซึ่งลำไยจะออกดอกได้ดีในช่วงเวลาที่ใบใหม่เหล่านี้อยู่ในสภาพใบแก่ และพบว่าหากมีการผลิใบใหม่ใกล้กับระยะออกดอก ใบใหม่นั้นยังอยู่ในสภาพใบอ่อนจะออกดอกได้น้อยและช้ากว่าต้นที่มีใบอยู่ในสภาพใบแก่ ไม่ว่าต้นลำไยนั้นจะได้รับความหนาวเย็น หรือสารโพแทสเซียมคลอเรตก็ตาม


การเจริญเติบโตของผล
การเจริญเติบโตของผลลำไย สำหรับพันธุ์อีดอใช้เวลาประมาณ 21 สัปดาห์ หลังติดผล จึงจะโตเต็มที่ การเจริญเติบโตของผลลำไย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ใช้เวลาตั้งแต่สัปดาห์ที่ติดผลจนถึงสัปดาห์ที่ 10 หลังติดผล จะมีการเติบโตอย่างช้า ๆ เป็นการเจริญเติบโตของเปลือกและเมล็ด ส่วนเนื้อผลเริ่มเกิดเมื่อผลอายุประมาณ 6 สัปดาห์ และมีการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ จนถึงสัปดาห์ที่ 14 ในขณะที่เมล็ดเติบโตอย่างช้า ๆ ตั้งแต่ติดผลถึงสัปดาห์ที่ 8

ระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่หลังสัปดาห์ที่ 10-21 หลังติดผล ระยะนี้ผลลำไยจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเนื้อผล จะเจริญอย่างรวดเร็วตั้งแต่สัปดาห์ที่ 14 จึงถึงสัปดาห์ที่ 21 การเจริญของเนื้อจะคงที่ ส่วนเมล็ดจะเจริญรวดเร็วในสัปดาห์ที่ 8-14 หลังจากนั้นขนาดของเมล็ดจะโตเกือบเต็มที่

ระยะที่ 3 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 21 หลังติดผล เป็นต้นไป เป็นระยะที่มีการเติบโตของผลช้าลง เนื่องจากส่วนเนื้อและเมล็ดมีการเจริญเกือบคงที่


จากข้อมูลทั้งหมดคงพอจะเป็นแนวทางในการบังคับให้ลำไยของท่านสามารถติดดอกออกผลในช่วงนอกฤดูที่ราคาสูงได้ และขอให้ทุกท่านจงโชคดีและประสบความสำเร็จกับการผลิตลำไยนอกฤดู



http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:53 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2013 4:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,865. เมพิควอท คลอไรด์ : สารควบคุมความสูงของพืช





นันทกา แสงจันทร์ เรียบเรียง

“สารกลุ่มนี้จะไปยังยั้งการสร้างหรือการทำงานของจิบเบอเรลลิน (ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการยืดตัวและการแบ่งเซลล์) จึงแสดงผลในลักษณะตรงข้ามกับผลของ จีเอคือ ควบคุมความสูงและขนาดทรงพุ่มของพืช”

เมพิควอท คลอไรด์ (mepiquat chloride) เป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Retardant) ซึ่งคุณสมบัติหลักของสารชะลอการเจริญเติบโต คือ ชะลอการแบ่งเซลล์และการยืดตัวของเซลล์บริเวณใต้ปลายยอดของกิ่งพืช ทำให้พืชได้รับสารมีความสูงน้อยกว่าปกติ นั่นคือสารกลุ่มนี้จะไปยับยั้งการสร้างหรือการทำงานของจิบเบอเรลลิน (ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการยืดตัวและการแบ่งเซลล์) จึงแสดงผลในลักษณะตรงข้ามกับผลของ จีเอ คือ ควบคุมความสูงและขนาดทรงพุ่ม่ของพืช เช่น ในไม้ดอกไม้ประดับควบคุมความสูงให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะแก่การปลูกในกระถางหรือลดความสูงของต้นทำให้ปล้องสั้นลงในพืชไร่

นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการติดผลและคุณภาพผล เพิ่มการออกดอก สารชะลอการเจริญเติบโตมีหลายชนิด เช่น คลอมีควอท (Cholormequat), ดามิโนไซด์ (daminozide), แอนไซมิโดล (ancymidol), เมพิควอทคลอไรด์ (mepiquat chloride) และพาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol)

เมพิควอท คลอไรด์ ที่มีชื่อสารออกฤทธิ์ว่า 1,1-dimethyl-piperidinium chloride ซึ่งในประเทศไทยที่จำหน่ายตามท้องตลาดมีมาจากหลายๆประเทศ เช่น อินเดีย อังกฤษ แต่เมพิควอทคลอไรด์ที่รู้จักกันทั่วไป คือ ในชื่อการค้าว่าพิกซ์ (Pix) ซึ่งเป็นของประเทศเยอรมัน บริษัทผู้ผลิตคือบริษัท BASF Wyandotte Corp. และมีบริษัทสหายเกษตรเคมีภัณฑ์เป็นบริษัทผู้แทนจำหน่าย ผลิตออกมาในรูปสารละลายเข้มข้น(W.S.C) โดยมีสารออกฤทธิ์ 1,1-dimethylpiperidinium Chloride 5℅

คุณสมบัติของเมพิควอท คลอไรด์ คือ ใช้ลดความสูงของธัญพืชเพื่อป้องกันการหักล้มเช่นในถั่วต่างๆ และเพิ่มผลผลิต เร่งการแก่ ทำให้คุณภาพด้านการปั่นและการทอของเส้นใยฝ้ายสุงขึ้น สีของปุยฝ้ายขาวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการแตกกิ่งเพิ่มความเขียวเข้ม ของใบอีกด้วย


ตัวอย่างการทดลองการใช้เมพิควอทคลอไรด์กับพืชชนิดต่างๆ ดังนี้

ถั่วเขียว
เพิ่มจำนวนฝัก
การทดลองใช้เมพิควอท คลอไรด์ ความเข้มข้นต่างๆกัน พ่นทางใบให้กับถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง 1 พบว่าการใช้สารความเข้มข้น 150 มิลลิกรัม/ลิตร พ่นเมื่อต้นมีอายุ 5 สัปดาห์ มีแนวโน้มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และจำนวนฝักมากขึ้น


ถั่วเหลือง
เพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง สามารถใช้สารเคมีช่วยเพิ่มผลผลิตได้เช่น บีเอพี (BAP), 2, 4,-ดี (2,4-D) ดามิโนไซด์ (daminozide) เอ็นเอเอ (NAA), เมพิควอทคลอไรด์ (mepiquat chloride), ไตรอะคอนทาโนล (triacontanol), โฟลซิสทีน (folcisteine) แต่ข้อมูลในเรื่องของการใช้สารเหล่านี้ เช่น ความเข้มข้น ช่วงเวลาให้สารสภาพแวดล้อมและพันธุ์ ยังไม่มีรายละเอียดมากพอที่จะแนะนำให้ใช้ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง จึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่งก่อนใช้ในเชิงพาณิชย์


ฝ้าย
ลดความสูงของต้น
การใช้เมพิควอท คลอไรด์ความเข้มข้นสูง (460 กรัม/ลิตร) โดยพ่นในปริมาณต่ำ 160-1,280 มิลลิลิตร/ไร่ จะทำให้ต้นฝ้ายเตี้ยลง กิ่งก้านสั้นป้องกันการร่วงของดอกและผล และเร่งการแก่ของสมอฝ้าย ทำให้เหมาะต่อการปลูกระยะชิดมากขึ้น

(ที่มา : ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยพีรเดช ทองอำไพ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)



การใช้ประโยชน์จากพิกซ์ (Pix) โดยใช้เทคนิคการพ่นพิกซ์ในอัตราต่ำแต่พ่นหลายๆ ครั้ง (Low-rate multiple;LRM) กับฝ้าย

ในปี 1987 ได้มีการดัดแปลงการใช้พิกซ์ โดยการรับรองขององค์การเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของอเมริกา (EPA) ในการทำให้ฝ่าย มีลำต้นเตี้ยลง ได้ทดลองปลูกฝ้ายที่หุบเขาริโอแกรนด์ ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำและทางตะวันออกเฉียงใต้ โดยการใช้เทคนิคการพ่นในอัตราต่ำโดยพ่นหลายๆ ครั้ง


การทดลองเริ่มใช้พิกซ์ในระยะดอกอ่อน เมื่อต้นฝ้ายออกดอกครั้งแรกมีดอกอ่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-6 มิลลเมตร (1/8-1/4 นิ้ว) ประมาณ 50℅ ของต้น โดยพ่นในช่วงห่างกัน 7-14 วัน ในช่วงดอกแรกบาน โดยใช้พิกซ์ อัตราความเข้มข้นที่ใช้ คือ 0.5-1.0 ลิตร/เฮกแตร์ (75-153 ซีซี/ไร่) พ่น 1 ครั้ง หรือจะใช้พิกซ์อัตรา 0.5 ลิตร/เฮกแตร์ (76 ซีซี./ไร่) แต่พ่น 2 ครั้ง วัดความสูงของต้นเมื่อเก็บเกี่ยวนับจำนวนสมอและผลผลิตของใยฝ้ายที่เพิ่มขึ้น

หลังจากใช้พิกซ์ด้วยเทคนิค แอลอาร์เอ็ม แล้ว ทำให้จำนวนสมอเพิ่มขึ้น โดยการพ่นในช่วงดอกอ่อนจะมีจำนวนสมอเพิ่มมากกว่าการพ่นในช่วงดอกแรกบาน นอกจากนี้ยังทำให้ผลผลิตฝ้ายสูงขึ้นด้วย ในการควบคุมความสูงของความสูงของต้นควรใช้พิกซ์ในอัตรา 0.5-1.0 ลิตร/เฮกแตร์ หรือ 80-160 ซีซี./ไร่ จะช่วยลดความสูงของต้นได้


หมายเหตุ
จากงานวิจัยเรื่องการใช้พิกซ์กับฝ้ายนี้เป็นงานทดลองของต่างประเทศ ซึ่งอัตราความเข้มข้นของพิกซ์ ที่ใช้อาจไม่เหมาะสมกับการปลูกฝ้ายในประเทศไทย การทดลองนี้จึงเป็นการนำเอาแนวคิดรวมๆ มาให้ทุกท่านทราบว่าประสิทธิภาพของเมพิควอท คลอไรด์ สามารถนำมาใช้ลดความสูงและเพิ่มผลผลิตฝ้ายได้อย่างดี


การใช้พิกซ์ ในฝ้ายที่มีการใช้ในประเทศไทย
มีการใช้พิกซ์กับฝ้ายเพื่อลดความสูงของต้นฝ้าย อัตราที่ใช้ คือ ใช้พิกซ์ ความเข้มข้น 10 ซีซี./น้ำ 1 ปี๊บ พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน โดยเริ่มพ่นครั้งแรกเมื่อเห็นดอกฝ้ายดอกแรกบานซึ่งนิยมใช้กันมากในแถบ อ.วังน้ำเย็น จ.ปราจีนบุรี และที่ จ.กาญจนบุรี การใช้พิกซ์ให้ได้ประสิทธิภาพดีควรใช้ในสภาพความชื้นสูงและควรพ่นในอัตราต่ำ แต่พ่นหลายๆ ครั้ง



หัวหอมและกระเทียม
ผลของพิกซ์ (Pix) ที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพการเก็บรักษาหัวหอม
เพิ่มผลผลิต
ใช้หัวหอมพันธุ์วาเลนเซีย (Valencia), (Sweet Spanish), ยาโลยา-3 (Yaloya-3) (y-3) และยาโลยา-12 (Yaloya-12), (y-12) โดยพันธุ์วาเลนซียใช้ต้นกล้าที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดและการย้ายกล้า อัตราความเข้มข้นของพิกซ์ที่ใช้ 3 อัตรา คือ 1.0, 1.5 และ 2.0 ลิตร/เฮกแตร์ (160, 240 และ 320 ซีซี./ไร่) ที่ปลูกพ่นในระยะที่หัวหอมมีใบ 5 ใบ (5-leaf stage) ระบบปลูก 1.3 x 1 เมตร และพันธุ์ Y-3, Y-12 ใช้ต้นกล้าที่แยกจากกอ (sets) อัตราที่ใช้ คือ 1.0, 2.0 และ 3.0 ลิตร/เฮกแตร์ (160, 320 และ 480 ซีซี./ไร่) พ่นในระยะเดียวกันระยะปลูก 1.3 x 2 เมตร ใช้เครื่องพ่นสารเคมีด้วยมือ (hand sprayer) ขนาด 1 ลิตร/ 1 นาที ปริมาตร 6 ลิตร

เมื่อใช้พิกซ์แล้วผลผลิตของหัวหอมเพิ่มขึ้น อัตราความเข้มข้นที่เหมาะสมของพิกซ์คือ 1.0-2.0 ลิตร/เฮกแตร์ ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมสำหรับการค้าและไม่มีผลตกค้างใดๆ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4,000-5,000 กก./เฮกแตร์ (640-800 กก./ไร่) ซึ่งขึ้นกับลักษณะพันธุ์และอัตราความเข้มข้นของพิกซ์



คุณภาพการเก็บรักษา
หัวหอมถูกทำให้แห้งภายใน 3 วันที่อุณหภูมิ 30°c ความชื้นสัมพัทธ์ 65-70℅ และเก็บไว้ในห้องที่มีอากาศหมุนเวียน 425 คิวบิคเมตร/ตัน-ชั่วโมง แล้วนำมาเก็บรักษาอีก 14 วัน ที่อุณหภูมิ 25 °c ความชื้นสัมพัทธ์ 65-70℅และห้องที่มีอากาศหมุนเวียน 175 คิวบิคเมตร/ตัน-ชั่วโมง และเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 7 เดือนที่อุณหภูมิ 8 องศา c ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80℅ ในตู้เย็น นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเคมีภายหลังการเก็บรักษา 7 เดือนแล้ว โดยนำมาวัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ ปริมาณกรดน้ำตาล กรดแอสคอร์บิก ความเข้มข้นของกรดไพรูวิก โปรตีนและไนโตรเจน อัตราการหายใจ เป็นต้น

ผลการทดลองพบว่า พิกซ์ไม่มีผลต่อคุณภาพการเก็บรักษาและการงอกของหัวหอม


ประสบการณ์การใช้พิกซ์ในหัวหอมและกระเทียม
การใช้พิกซ์ในหัวหอมและกระเทียมเพื่อเพิ่มผลผลิตในหัวหอมและกระเทียมอัตรา 50 กรัม/ลิตร ประสบความสำเร็จมาเป็นเวลาประมาณ 6 ปี ในหลายๆ ประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

อย่างเช่นในประเทศแถบละตินอเมริกา ญี่ปุ่น สเปน ไต้หวัน ตุรกี โรมาเนีย โคลัมเบีย และบราซิล ได้มีการทดลองใช้พิกซ์เพื่อเพิ่มผลผลิตในหัวหอมในอัตราความเข้มข้น 1-2 ลิตร/เฮกแตร์ (160-320 ซีซี./ไร่) พ่นในช่วงที่มีใบ 4-8 ใบ ปริมาณน้ำที่ใช้ 250-600 ลิตร/เฮกแตร์ ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น 8-25℅ ทั้งการปลูกโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงหรือการย้ายกล้าลงแปลง (ซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างผลผลิตของการปลูกหัวหอม โดยการใช้เมล็ดปลูกในแปลงหรือการย้ายกล้าลงแปลง)


ในประเทศชิลี คิวบา โรมาเนีย และสเปน ได้ทดลองใช้พิกซ์เพื่อเพิ่มผลผลิตในกระเทียม สามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 13-41℅ ระยะที่เหมาะสมในการพ่นสาร คือ ช่วงที่มีใบ 4-6 ใบ ส่วนในหัวหอมได้มีการใช้พิกซ์ ในอัตรา 1.2 ลิตร/เฮกแตร์ (160-320 ซีซี./ไร่) ปริมาณน้ำที่ใช้ 300-500 ลิตร/เฮกแตร์ (48-80 ลิตร/ไร่) ก็ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน


นอกจากนี้ยังมีรายงานในประเทศบราซิลว่า พิกซ์สามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันในหัวหอมและกระเทียมได้อีกด้วย

การใช้พิกซ์ในหัวหอมและกระเทียม ควรใช้พิกซ์ร่วมกับปุ๋ยทางใบ เพื่อเป็นการให้ธาตุอาหารไปในตัวและลดต้นทุนการผลิตไปได้มาก เช่น ใช้พิกซ์ร่วมกับธาตุอาหารเสริมเฟตริลอน คอมบิ-1 (Fetrilon-Combi 1) หรือเฟตริลอน-คอมไบ-2 (Fertilon Combine 2)อัตรา 160 กรัม/ไร่ (ความเข้มข้นสูงสุด 0.2℅) หรือปุ๋ยทางใบไนโตรฟอสกา 10-4-7-0.2 (Nitrophoska 10-4-7-0.2)

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้คือ การพ่นในช่วงที่มีใบ 4-8 ใบ อัตราความเข้มข้นของพิกซ์ 1-2 ลิตร/เฮกแตร์ (160-320 ซีซี./ไร่) จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 8-40℅ นอกจากนี้พิกซ์ยังมีผลทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชมีสีเขียวเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์แสง ซึ่งทำให้มีผลในการเพิ่มขนาดและน้ำหนักของหัวด้วย


การใช้พิกซ์ในหัวหอมและกระเทียม ที่มีการใช้ในประเทศไทย
การใช้พิกซ์ในหัวหอมแดง หัวหอมใหญ่ และกระเทียม เพื่อทำให้ตรงส่วนคอของต้นหอมและกระเทียมแข็งขึ้นเพิ่มความเขียวและคลอโรฟิลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น หลังจากที่บำรุงต้นให้ปุยจนเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ประมาณ 30-40 วันหลังปลูก หรือช่วงที่มีใบ 3 ใบ อัตราการใช้พิกซ์ คือ 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่นพร้อมกับปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ โดยพ่นทุก 10 วัน 3 ครั้ง เกษตรกรที่ฝาง จ.เชียงใหม่ มีการใช้สารชนิดนี้กันมาก เพราะได้ผลดี


ไม้ดอกหัว
น่าจะเพิ่มผลผลิต เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวได้ดี
ปัจจุบันการผลิตไม้หัวเป็นธุรกิจกันมากขึ้น เช่น ปทุมมา กระเจียว เป็นต้น เนื่องจากมีปริมาณการส่งออกไม้หัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ หัวที่ได้มีคุณภาพไม่ดี เมพิควอท คลอไรด์ สามารถใช้กับไม้หัว เช่น หอม กระเทียม เพื่อเพิ่มผลผลิตเพิ่มขนาดและน้ำหนักของหัวได้ ดังนั้น เมพิควอท คลอไรด์ จึงน่าจะนำมาใช้ไม้ดอกหัวเพื่อเพิ่มผลผลิตเพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวทั้งปริมาณและคุณภาพได้ดีเช่นกัน แต่อัตราความเข้มข้นและระยะเวลาที่พ่นสารนั้น ยังไม่มีการทดลองหรืองานวิจัยรายงานว่าควรใช้ในอัตราใด พ่นในช่วงใดเกษตรกรจึงควรทดลองศึกษาด้วยตนเองก่อน โดยพิจารณาจากอัตราการใช้พิกซ์ในหัวหอมและกระเทียมเป็นเกณฑ์


ทุเรียน
ออกดอกนอกฤดู
การใช้เมพิควอท คลอไรด์ ในทุเรียนเพื่อให้ออกดอกนอกฤดูนั้นยังไม่มีรายงานการวิจัยอย่างเป็นทางการ แต่ในเขตภาคใต้สวนทุเรียนบางสวนได้มีการใช้พิกซ์กับทุเรียนหมอนทอง เพื่อผลิตทุเรียนนอกฤดู โดยมีการใช้พิกซ์ในอัตราความเข้มข้นที่ใช้ คือ 100 ซีซี./น้ำ 1 ปี๊บ พ่นประมาณ 7 วัน/ครั้ง

การใช้พิกซ์มีข้อดีคือไม่ทำให้ต้นทุเรียนที่ผลิตนอกฤดูโทรมเร็ว แต่ข้อเสีย คือ สิ้นเปลืองแรงงานในการพ่นสารมาก เพราะต้องพ่นบ่อยครั้ง ต่างจากการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ซึ่งพ่นสารเพียงครั้งเดียวก็ได้ผล (ฝนหยุดเป็นระยะเวลาหนึ่ง) แต่ข้อเสียคือ ทำให้ต้นโทรมเร็ว

เทคนิคการใช้พิกซ์เพื่อให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดูนี้ ยังไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้ใช้จึงต้องศึกษาทดลองด้วยตนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ในแต่ละพันธุ์และแต่ละพื้นที่


เมพิควอท คลอไรด์ มีชื่อการค้าที่ขายอยู่ตามท้องตลาดหลายๆ ชื่อและมีความเข้มข้นแตกต่างกันไป บางชนิดมีการแนะนำให้ใช้ในไม้ผล เพื่อการหยุดแตกใบอ่อนในช่วงติดผลหรือช่วงที่ผลกำลังเจริญเติบโต เช่น ในทุเรียน เพราะถ้าปล่อยให้ทุเรียนแตกยอดใหม่จะทำให้ผลร่วง นอกจากนี้พิกซ์ยังช่วยให้ใบเขียวเข้ม เพิ่มคลอโรฟิล ทำให้ต้นสมบูรณ์ขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพดีขึ้น



http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2013 5:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,866. ปลาบึก



ปลาบึก (Mekong Giant Catfish) Pangasianodon gigas Chevey


ปลาบึกเป็นปลาอยู่ในครอบครัวเดียวกันกับปลาสวาย เทโพ และเทพา ลักษณะลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ความยาวจากหัวถึงปลายหาง 3.3 เท่าของความกว้างลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ จะงอยปากป้านใหญ่ ตามีขนาดเล็ก และอยู่ในระดับต่ำกว่ามุมปากเล็กน้อย ลูกปลาบึกที่มีอายุน้อยจะมีฟันขากรรไกรและเพดานปาก แต่ฟันจะเสื่อมหายไปเมื่อปลาเจริญเต็มวัย ปลาบึกมีหนวด 2 คู่ เมื่ออายุน้อยความยาวของหนวดยาวประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางของตา แต่ในปลาเจริญเต็มวัยพบว่าหนวดที่ขากรรไกรมีขนาดเล็กและสั้นมาก ยาวไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางตา หนวดที่ขากรรไกรล่างมีสีขาวและขนาดสั้นกว่าหนวดที่ขากรรไกรบน หากไม่สังเกตให้ดีจะมองไม่เห็น สีลำตัวบริเวณด้านหลังสีเทาปนน้ำตาลแดง ด้านข้างสีเทาปนน้ำเงิน ส่วนบริเวณท้องมีสีขาว ครีบต่างๆ ของปลาบึกมีลักษณะคล้ายครีบปลาสวาย แต่ต่างกันที่ก้านครีบแข็งของครีบหลังและครีบอกของปลาบึกที่โตเต็มวัยไม่มีหนามแหลมหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ในลูกปลาบึกปรากฎว่าก้านครีบแข็งของครีบหลังและครีบอกมีหนามแหลมเป็นซี่ฟันเลื่อยเช่นเดียวกับปลาสวาย

ปลาบึกเป็นปลาที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวโตเต็มที่มีความยาวถึง 3 เมตร น้ำหนักมากกว่า 250 กก. พบอาศัยเฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น บางครั้งอาจจะพบในแม่น้ำที่เป็นสาขาใหญ่ๆ ของแม่น้ำโขงได้บ้าง เช่น บริเวณปากแม่น้ำมูล ระยะของแม่น้ำโขงที่จะพบปลาบึกได้ มีความยาวหลายพันกิโลเมตร ตั้งแต่ประเทศจีนถึงเวียตนามในระยะฤดูน้ำหลาก ปลาบึกจะเดินทางลงไปทางแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งมักจะจับได้มากบริเวณประเทศเขมร และจังหวัดอุบลราชธานี ในตอนปลายฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝน ปลาจะเริ่มขึ้นไปทางแม่น้ำโขงตอนเหนือเพื่อที่จะทำการผสมพันธุ์วางไข่ ในขณะที่ปลาบึกเดินทางไปทางตอนล่างของแม่น้ำโขงบริเวณประเทศเขมร เนื้อปลามักจะมันมาก ไม่นิยมรับประทานเป็นอาหาร แต่เมื่อปลาบึกเดินทางขึ้นไปทางเหนือบริเวณหลวงพระบางหรือท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ปลาบึกจะเสียน้ำมัน เนื้อปลาบึกระยะนี้อร่อยมาก ชาวประมงในเขตท้องที่อำเภอเชียงของและอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้ทำการรวบรวมปลาบึกเป็นประจำทุกปีนับเป็นระยะเวลาประมาณ 50 กว่าปีมาแล้ว ปลาบึกที่จับได้ในแหล่งน้ำดังกล่าวมีรสดี ซื้อขายกันในราคาแพงมาก กก.ละประมาณ 200-300 บาท

ลูกปลาบึกสามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลาที่ไม่มีชีวิต และอาหารเม็ด เป็นต้น แต่ปลาบึกที่โตเต็มวัยยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่ากินอะไรเป็นอาหาร แต่จากการที่ฟันเสื่อมหายไป เมื่อปลาเจริญวัย ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าปลาบึกอาจจะกินอาหารประเภทพืชเท่านั้น ปัจจุบันที่เข้าใจว่าปลาบึกกินอาหารประเภทสาหร่ายที่เกาะตามก้อนหินหรือตามพื้นที่ท้องน้ำเป็นอาหาร


การเพาะพันธุ์
สถานีประมงน้ำจืดหลายแห่ง รวมทั้งบ่อเลี้ยงปลาในภาคของเอกชน ได้นำลูกปลาบึกที่กองประมงน้ำจืด (เสน่ห์ ผลประสิทธิ์) เพาะขึ้นได้จากการจับพ่อแม่ปลาจากธรรมชาติ โดยใช้ฉีดฮอร์โมนเร่งให้วางไข่แล้วทำการผสมเทียม นับว่าเป็นผลสำเร็จครั้งแรกของโลก ได้ทราบว่าลูกปลาบึกที่เลี้ยงไว้ในบ่อ เจริญเติบโตดีมาก โดยใช้อาหารผสมจำพวกรำ ปลายข้าวและปลาป่น สูตรอาหารของปลากินพืช สำหรับการเพาะปลาชนิดนี้โดยใช้พ่อแม่ปลาที่เลี้ยงไว้ในบ่อ คาดว่าจะประสบความสำเร็จในไม่ช้านี้


การเลี้ยง
ปลาบึกเป็นปลาที่เหมาะสมต่อการนำไปเลี้ยงในภูมิภาคนี้ ด้วยวิธีกั้นคอกในหนองบึง หรืออ่างเก็บน้ำ เพราะการสร้างคอกเลี้ยงจะทุ่นค่าใช้จ่ายในการสร้างบ่อเป็นอันมาก และขนาดของคอกจะสร้างให้มีขนาดเนื้อที่เท่าไรก็ได้ สำหรับอาหารที่จะใช้เลี้ยงปลาบึกประกอบด้วยพืชผักต่างๆ ก็มีอย่างอุดมสมบูรณ์ ในแหล่งน้ำดังกล่าวในภูมิภาคนี้ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ในอนาคตคาดว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้อย่างแน่นอน


http://www.thaikasetsart.com/%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%b6%e0%b8%81/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2013 10:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,867. วิทยาการที่ก้าวหน้า จากฟาร์มที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของมาเลเซีย



ภายในฟาร์มที่ีมีพลาสติดคลุมพื้นดินทั้งหมด



แคนตาลูปปลูกในถุง วางบนหิน และพื้นคลุมพลาสติค



แคนตาลูบที่ปลูกในถุงใบเล็กๆ วางบนกระถางดิน



ไม้ใหญ่จะใช้ถุงใหญ่



สตอเบอรี่ ปลูกในถุงดิน ยกจากพื้นถึง 3 ระดับ



ห้อยลงมาแบบนี้



ไม้ดอกชนิดหนึ่งที่ต่อท่อสายยางจากขวดลงกระบะ



มะเขือเทศลูกดกน่าดู ตัดใบโคนต้นให้รับแสงเต็มที่



มะเขือเทศที่ปลูกจากถุงดิน



ออกลูกกันเป็นพวง



พวงเดียวนะ ..ดูใบด้วยว่าใหญ่ขนาดไหน



แคนตาลูปพันธ์สีเหลือง ปลูกในกระถาง



( ขอนำภาพจากเว็บไซต์ของฟาร์มที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในมาเลเซียมาให้ดูกัน) สังเกตุให้ดีจะไม่มีการปลูกพืชลงบนดินตรงนั้น ดินปลูกจะเตรียมมาจากที่อื่นที่มีการควบคุมอาหารของพืชในแต่ละชนิดดินในกระถางจึงมีธาตุอาหารพอเพียงในการปลูกตลอดอายุของต้นไม้ที่จะให้ผลผลิต ปัญหาวัชพืช ปัญหาจากแมลงต่างๆ จึงแทบไม่มี วิธีการนี้น่าจะต่างกับที่บ้านเรากำลังหันมาปลูกพืชปลอดสารพิษในมุ้ง เพราะให้พืชผักดูดสารอาหารจากรางพีวีซี หรือโฟมที่เจาะรู ซึ่งไม่แน่ใจว่าสารอาหารนั้นเป็นพิษต่อร่างกายหรือไม่ เพราะไม่ต่างกับปุ๋ยน้ำ หรือพวกฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต แต่ที่คาเมรอนยังใช้ดินที่ผสมปุ๋ย อาจเป็นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ ที่ผ่านการฆ่าเชื้อและแมลงที่อยู่ในดิน วิธีการยังเป็นรูปแบบเดิม เพียงแต่เพื่มประสิทธิภาพของดินปลูก แต่บ้านเราเท่าที่ทราบส่วนใหญ่ให้ต้นไม้ดูดปุ๋ยน้ำโดยตรง ซึ่งปุ๋ยน้ำนี้มีอาจควบคุมปริมาณสารอาหารไว้ดีแล้ว แต่ขบวนการที่ผักดูดสารโดยตรงนี้ มั่นใจได้อย่างไรว่า สารเคมีต่างๆที่ผสมลงในน้ำปุ๋ยนั้น ได้้แปรสภาพจนหมดแล้ว และไม่เป็นปัญหากับสุขภาพในภายหลัง...

บนเขาคาเมรอน หากนั่งรถมาตอนกลางคืนจะเห็นแต่ละฟาร์มเปิดไฟสว่าง คล้ายฟาร์มไก่ จนสว่างเป็นช่วงๆบนเขาแต่ละลูก ไกด์บอกว่าเป็นการควบคุมอุณภูมิ และเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้หลายคนคงไม่มีใครทราบมาก่อน ไก์ด์บอกว่าอากาศที่นี่หนาว หากไม่ควบคุมเรื่องอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะทำให้การเจริญเติบโตชะงักงัน นอกจากนี้ก็ยังทำให้ต้นไม้เติบโตได้เร็วกว่าปกติด้วย สรุปง่ายๆว่าทั้งหมดนี้มีการค้นคว้าวิจัยมาเป็นอย่างดี .. ก็ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาครับ ศูนย์วิจัยพืชเมืองหนาวของอังกฤษที่ตั้งมานานเกือบร้อยปี บนคาเมรอน ส่งผลให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประเทศ ก็ขอเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากการเดินทางมาเล่าสู่กันฟัง จะได้เห็นว่า เพื่อนบ้านเราที่อยู่ติดกันนี้ไปถึงไหนกันแล้ว

หากเที่ยวกันแบบอิสระก็อาจได้เห็นภาพแบบนี้บ้างฟาร์มเกษตรที่คาเมรอน ตามที่เคยบอกไว้แต่แรกว่ากระทำในรูปบริษัท เล็กบ้างใหญ่บ้าง จึงมีทุนรอนที่จะทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะเห็นว่าไม่มีจุดไหนเลยที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ไม่วาจะเป็นฉีดยาฆ่าแมลง หรือโรยปุ๋ยที่โคนต้นไม้ เพราะภาพที่เห็นมีการควบคุมทุกจุด แม้แต่ดินที่ปลูกในถุงหรือกระถาง ก็มีการคำนวนระยะเวลา ควบคุมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายไว้หมดแล้ว คล้ายกับ บริษัท CP ที่ควบคุมระยะเวลาเลี้ยงไก่ ต้นทุนอาหารไก่ วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ไว้หมด ครบ 45 วันก็โตเต็มที่และได้เวลาเชือด หากเลี้ยงเกินเวลามากกว่านี้ก็กินทุนไปเรื่อยๆ กำไรก็จะน้อยลง ถามว่าทำไมต้อง 45 วัน ก็เพราะเค้าคำนวนค่าใช้จ่ายไว้ไหมดแล้วว่าเหมาะสมที่สุด

ฟาร์มพิชผักในมาเลเซียก็คงใช้หลักบริหารจัดการในทำนองเดียวกัน รู้ต้นทุนที่แน่นอน และควบคุมได้ มีตลาดที่แน่นอน และที่สำคัญสินค้ามีคุณภาพปลอดสารพิษ ตลาดสินค้าเหล่านี้จึงเป็นตลาดระดับบน ราคาอาจสูงกว่าตลาดล่างแน่นอนแต่สำคัญมีคู่แข่งน้อยมาก จึงไม่มีปีญหาเรื่องราคาตกต่ำ เหมือนกับประเทศไทยที่ประสบอยู่ในสินค้าการเกษตรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นข้าว อ้อย มันสัมปะหลัง สัปปะรด ซึ่งเป็นปัญหาให้กับรัฐบาลทุกสมัย และเป็นแหล่งให้เกิดการทุจริตกันมากมาย แต่หากบ้านเรามีการพัฒนาไปในรูปของเอกชนการเกษตร ปัญหาก็อาจเบาบางลง แต่ที่เห็นในบ้านเราขณะนี้ ธุรกิจด้านการเกษตรที่ได้มาตรฐานมีน้อยมาก เราให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมมากเกินไปจนภาคการเกษตรไม่เติบโตเท่าที่ควร ในที่สุดจิตวิญญานของความเป็นไทย ที่พูกพันธ์ภาคการเกษตรมานานต้องล่มสลาย



Source: http://www.autopot.com.my/Projects.htm
http://www.photoontour9.com/outbound/malay/malay03/farm.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2013 8:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,868. พันธุ์ยางพารา ผลผลิตเนื้อไม้สูง


ได้แก่พันธุ์ ฉะเชิงเทรา 50, AVPOS 2037, BPM 1
ฉะเชิงเทรา 50 (RRIT 402)
- การเจริญเติบโตของลำต้น เจริญเติบโตดีมาก ต้นยางอายุ 6 ปี มีขนาดเส้น รอบวงลำต้น 51.6 เซนติเมตร
- การแตกกิ่งและทรงพุ่ม ทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่ ลักษณะการแตกกิ่งสมดุล การแตกกิ่งอยู่ในระดับสูง และรูปทรงลำต้นตรง

- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว
- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้นตรง

- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว
- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.11 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.76 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่

- ต้านทานโรคใบเร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราปานกลางต้านทานโรคราแป้งปานกลางและต้านทานดีต่อโรคใบจุดนูน
- การเจริญเติบโตดีมาก ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ปี มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 50.3, 78.5 และ 87.3 เซนติเมตร ตามลำดับ

- การแตกกิ่งและทรงพุ่มในช่วงยางอายุน้อยมีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากแตกกิ่งสมดุล พุ่มใบทึบ ทิ้งกิ่งเล็กค่อนข้างเร็วเมื่ออายุมาก
- เหลือกิ่งขนาดใหญ่ 1-2 กิ่งในระดับสูงทำให้ทรงพุ่มโปร่งรูปทรงลำต้นตรง ลักษณะกลม

- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว
- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6,15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 03.10, 0.31 และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.22, 23.07 และ 28.90 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้งและต้านทานดีต่อโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู
- ต้านทานลมดี

- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง BPM 1
- การเจริญโตดีมาก ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ปี มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 50.1,78.1 และ 86.9 เซนติเมตรตามลำดับ

- ในช่วงอายุน้อยแตกกิ่งต่ำมีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากการแตกกิ่งสมดุลทรงพุ่มรูปกรวย มีขนาดปานกลาง ทรงพุ่มโปร่งอยู่ในระดับสูง
- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว

- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.10, 0.31 และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.12, 22.91 และ 28.73 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- ต้านทานดีต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้ง โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู
- ต้านทานลมดี

- ปลูกได้พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง



http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=105:2011-05-09-10-12-52&catid=3:2011-04-07-04-07-25&Itemid=20
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/02/2013 1:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,869. เทคโนโลยี “พอกเมล็ดพันธุ์” ได้เมล็ด กลมโตสวย ปลูกง่าย



เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศที่ผ่านการพอก


เมล็ดพันธุ์ยาสูบหรือไม้ดอกเมืองหนาวหลายๆ ชนิดนั้นมีขนาดเล็กจิ๋ว ซึ่งเป็นอุปสรรค์อย่างหนึ่งในการเพาะปลูก แม้เกษตรกรจะมีเทคนิคนำไปผสมเถ้าแกลบหรือผสมในบัวรดน้ำแล้วราดไปบนแปลงเกษตร แต่เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นก็ยังมีโอกาสสูงที่จะเกาะและโตเบียดกันจนไม่แข็งแรง เทคโนโลยีการพอกเมล็ดพันธุ์เป็นอีกทางออกที่ช่วยให้การเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็กทำได้สะดวกขึ้น





ดร.บุญมี ศิริ จากภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) บอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า เทคโนโลยีการพอกเมล็ดพันธุ์นั้น ช่วยให้เมล็ดพันธุ์มีขนาดเมล็ดสม่ำเสมอและได้ขนาดที่ต้องการ เหมาะแก่เมล็ดพันธุ์ขนาดเล็กมากๆ (ใกล้เคียงเศษผง) เช่น เมล็ดพันธุ์ยาสูบ เมล็ดพันธุ์เมืองหนาว เป็นต้น โดยจะพอกด้วยดิน ปูนหรือแคลเซียม แล้วผสมสารบางอย่างที่มีคุณสมบัติเหมือนกาว ทำให้เมล็ดพันธุ์มีขนาดใหญ่ขึ้น





ในการพอกเมล็ดยังเพิ่มสารอาหารหรือปุ๋ยเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีกว่าเดิม และยังเคลือบสารป้องกันโรคและแมลงได้ดีกว่าการเคลือบเมล็ดพันธุ์โดยตรง เนื่องจากจากเมล็ดพันธุ์มีโปรตีนเคลือบทำให้สารเคลือบเกาะผิวได้ยากกว่าเมล็ดพันธุ์ที่พอกให้ขนาดโตขึ้น และยังเพิ่มมูลค่าให้แก่เมล็ดพันธุ์ที่มีรูปร่างไม่สวยงามและเกษตรกรปฏิเสธการรับซื้อ แม้ว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นจะให้ลักษณะพันธุ์ได้ครบถ้วนไม่ต่างจากเมล็ดพันธุ์ที่มีรูปร่างสวยงามก็ตาม

ดร.บุญมีตัวอย่างประโยชน์ของการพอกเมล็ดพันธุ์ว่า ในกรณีของเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่เล็กมากๆ นั้น เกษตรกรจะปลูกโดยผสมกับขี้เถ้าแกลบ ก่อนหว่านลงแปลง หรือผสมในบัวรดน้ำแล้วราดไปบนแปลง ซึ่งมีโอกาสที่เมล็ดพันธุ์จะยังคงเกาะกัน และงอกขึ้นมาเบียดกัน แย่งสารอาหารกันและไม่แข็งแรง จึงถูกโรคทำลายได้ง่าย แต่เมื่อพอกให้เมล็ดโตขึ้นแลว้สามารถนำไปเพาะในถาดเพาะก่อนนำไปปลูกได้ โดยเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่พอกเมล็ดแล้วจะมีราคาที่กิโลกรัมละ 180,000 บาท แต่ราคาของเมล็ดที่ไม่พอกอยู่ที่กิโลกรัมละ 50,000 บาท






ดร.บุญมีตัวอย่างประโยชน์ของการพอกเมล็ดพันธุ์ว่า ในกรณีของเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่เล็กมากๆ นั้น เกษตรกรจะปลูกโดยผสมกับขี้เถ้าแกลบ ก่อนหว่านลงแปลง หรือผสมในบัวรดน้ำแล้วราดไปบนแปลง ซึ่งมีโอกาสที่เมล็ดพันธุ์จะยังคงเกาะกัน และงอกขึ้นมาเบียดกัน แย่งสารอาหารกันและไม่แข็งแรง จึงถูกโรคทำลายได้ง่าย แต่เมื่อพอกให้เมล็ดโตขึ้นแลว้สามารถนำไปเพาะในถาดเพาะก่อนนำไปปลูกได้ โดยเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่พอกเมล็ดแล้วจะมีราคาที่กิโลกรัมละ 180,000 บาท แต่ราคาของเมล็ดที่ไม่พอกอยู่ที่กิโลกรัมละ 50,000 บาท

สำหรับเมืองไทยเทคโนโลยีการพอกเมล็ดยังเป็นเรื่องใหม่ และนอกจาก มข.แล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เป็นอีกสถาบันที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการพอกเมล็ด ซึ่ง ดร.บุญมีกล่าวว่า การพอกเมล็ดพันธุ์ให้ขึ้นรูปตามต้องการไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีการพอกเมล็ดพันธุ์มากขึ้น

นอกจากการพอกเมล็ดพันธุ์แล้ว ดร.บุญมียังพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ ทั้งพัฒนาสารเคลือบเพื่อป้องกันโรคและแมลง และเครื่องเคลือบ โดยปกติเกษตรกรจะนำเมล็ดพันธุ์ลงไปคลุกกับสารเคมีป้องกันโรคและแมลง แต่วิธีดังกล่าวทำให้สารเคลือบติดไม่สม่ำเสมอ และเกษตรกรต้องสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง ขณะเดียวกันเครื่องเคลือบจากต่างประเทศยังมีราคาแพงตั้งแต่ 1.5 ล้านบาท ทำให้เกษตรกรรายเล็กไม่มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยี

จากข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีเคลือบเมล็ดพันธุ์ ดร.บุญมีจึงได้รับทุนวิจัยจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ และทำสำเร็จแล้ว โดยเขาได้พัฒนาเครื่องเคลือบที่มีราคาถูกกว่าต่างประเทศ 5 เท่า แต่ให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน และพัฒนาสารเคลือบซึ่งเป็นตัวอย่างที่จะเชื่อมสารเคมีให้ติดเมล็ดพันธุ์อย่างสม่ำเสมอและได้จดสิทธิบัตรแล้ว

ทั้งนี้ ดร.บุญมีได้จัดเทคโนโลยีการพอกเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ ภายในงานการประชุมคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระหว่างวันที่ 4-5 ก.พ.56 และมีตัวแทนทั้งจากภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 200 คน



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000014378
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/02/2013 2:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,870. ไทยแยก “เนื้อยาง” จาก “ขี้แป้ง” สำเร็จรายแรกของโลก


ปกติ “ขี้แป้ง” จากอุตสาหกรรมน้ำยางข้นจะเป็นของเสียที่ทั้งเจ้าของโรงงานและเกษตรกรไม่สามารถนำไปประโยชน์ได้สูงสุด บ้างเอาไปถมที่ บ้างเอาไปทำปุ๋ย ทั้งๆ ที่รู้ว่ายังมี “เนื้อยาง” ที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ปะปนไปด้วย ล่าสุดนักวิจัยไทยได้พัฒนากระบวนการที่สามารถดึงเอาวัตถุดิบมีราคาดังกล่าวออกมาได้เป็นรายแรกของโลก และยังได้สารอนินทรีย์ที่นำไปทำปุ๋ยได้เต็มศักยภาพ ซึ่งพัฒนาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกส์ก็ได้

ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ หนึ่งในทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการยาง หน่วยวิจัยโพลิเมอร์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) เผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์และผู้สื่อข่าวว่า ทีมวิจัยได้พัฒนากระบวนการในโรงงานผลิตน้ำยางข้นของอุตสาหกรรมยางพารา ที่สามารถแยก “เนื้อยาง” ออกมาจาก “ขี้แป้ง” ซึ่งกากตะกอนน้ำยางธรรมชาติของโรงงาน

ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้พัฒนาสารที่มีชื่อเฉพาะว่า GRASS 3 ที่สามารถลดมลพิษซึ่งเกิดจากตะกอนของเสียในโรงงานผลิตน้ำยางข้นหรือขี้แป้งได้เป็นครั้งแรกในโลก และสารดังกล่าวยังช่วยแยกเอาเนื้อยางออกจากขี้แป้งได้ 20-30% และแยกเอาสารอนินทรีย์ออกมาได้อีก 60-70% โดยต้นทุนของการนำกลับเนื้อยางนั้นคิดเป็นราคากิโลกรัมละ 5 บาท ส่วนสารอนินทรีย์มีต้นทุนกิโลกรัมละ 1 บาท

เนื้อยางที่ได้นั้นมีคุณภาพดีและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ส่วนสารอนินทรีย์นั้นก็มีความบริสุทธิ์สูงและพบว่ามีฟอสฟอรัส โพแทสเซียและไนโตรเจน ซึ่งชัดเจนว่าสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ หรืออาจนำไปปรับปรุงต่อเพื่อผลิตเป็นเซรามิกส์ได้ โดยเฉพาะวัสดุทนไฟ เช่น อิฐ ครูซิเบิล และแผ่นบุผนังเตาเผา เป็นต้น

ผลงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยางพาราไทย และได้รับรางวัลโครงการดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2554 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรับมนตรี

สำหรับโครงการนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อคววามยั่งยืนของอุตสาหกรรมยางพาราไทยนี้ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตน้ำยางข้นถึง 66% ของตลาดโลก และมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ครบวงจร อาทิ เทคโนโลยีการรักษาน้ำยางสดแทนการใช้แอมโมเนียที่มีกลิ่นฉุน สารเพิ่มประสิทธิภาพในการจับตัวน้ำยางสกิมหรือหางน้ำยางสารจับตัวน้ำยางเครื่องปั่นน้ำยางประสิทธิภาพสูง เป็นต้น




http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000088828

http://board.postjung.com/540748.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/02/2013 1:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,871. 10 อันดับ ดอกไม้ที่สวยที่สุดในโลก




อันดับ 10 .... ดอกกุหลาบ
ดอกกุหลาบเป็นหนึ่งในที่สุดโรแมนติกและมหัศจรรย์หอมของดอกไม้ ของดอกกุหลาบให้แพร่หลายในประเพณีและความหมายทางวัฒนธรรมจากสีเหลืองเพิ่มขึ้น
ของมิตรภาพเพื่อแดงเข้มเพิ่มขึ้นของความรักที่แท้จริง



อันดับที่ 9 ดอกผกากรองหรือLantana
ดอกไม้เหล่านี้ละเอียดอ่อนที่มีกลีบดอกสีชมพูและสีเหลืองของพวกเขาจะแม่เหล็กผีเสื้อ พุ่มไม้ที่สามารถเติบโตได้มีขนาดใหญ่มากและสีของการเปลี่ยนแปลงกลีบเป็นพืชอายุ ระวัง Lantana ถือว่าเป็นวัชพืชโดยมากมายที่ค่อนข้างยากที่จะกำจัด




อันดับที่ 8 ดอกระฆัง หรือ Blue Bells
ในฤดูใบไม้ผลิป่ายุโรปจำนวนมากถูกปกคลุมด้วยพรมหนาแน่นของดอกไม้นี้เหล่านี้เป็นที่เรียกทั่วไปว่า "ไม้ดอกไม้ชนิดหนึ่ง" มันเป็นความคิดที่พวกเขาตั้งชื่อโดยกวีโรแมนติกของศตวรรษที่ 19, ผู้ที่รู้สึกว่าเหงาสัญลักษณ์และเสียใจ




อันดับที่ 7 ดอกโลหิตแห่งหัวใจ หรือดอกหทัยหยาดทิพย์ หรือ Bleeding Heart
เหตุที่เขาได้ชื่อว่า bleeding heart ก็เพราะว่า เมื่อดอกเขาผลิใหม่ ๆ ยังตูม ๆอยู่ที่ปลายแหลมของหัวใจด้านล่าง จะมีติ่งรูปร่างคล้ายหยดน้ำ มีสีแดง ๆ ดูเหมือนหยดเลือด แต่เมื่อดอกเริ่มบาน ตัวหยดจะเปิดออกให้เห็นใส้สีขาว ๆ อยู่ข้างใน คราวนี้จะเห็นหยดน้ำไหลออกมาจากหัวใจแทน คนเยอรมันเห็นตรงนี้เหมือนหยดน้ำตา เลยเรียกดอกนี้ว่า Traenendes herz ดอกหัวใจเจ้าน้ำตา ลองดูจากรูป รูปข้างบน หรือรูปข้างล่างก็ได้ ก็จะเห็นตามที่ว่านี้




อันดับที่ 6 ดอกซูซานตาดำ หรือ Black Eyed Susan
ซูซานตาดำ, wildflower ร่าเริงอยู่ตลอดกาลที่ทำหน้าที่เป็นแบบเลื่อนกลับที่สวยงามในสวนใด ๆความคมชัดของสีทองสดใสกลีบดอกสีเหลืองและสีดำตรงกลางจะทำให้ง่ายต่อการใด ๆจุดหนึ่งและทราบว่าเป็น



อันดับที่ 5 คาลล่า ลิลลี่ หรือ Calla Lily
คาลล่า ลิลลี่ (Calla Lily) เป็นพันธุ์ไม้หัว ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ มีต้นกำเนิดในแอฟริกาใต้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ค่ะ คือพันธุ์ไม้ยืนต้น ที่ปลูกเพื่อเป็นไม้ตัดดอก (Cut Flower) และพันธุ์ไม้ล้มลุก ซึ่งจะมีการพักหัวในฤดูหนาว นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง (Pot Flower) ถึงแม้คาลล่า ลิลลี่จะเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่าสำหรับเกษตรกร ที่ต้องการปลูกเพื่อเป็นไม้ตัดดอก เนื่องจากลงทุนปลูกครั้งเดียว แต่สามารถตัดดอกขายได้ต่อเนื่องนานถึง 4-5 ปีโดยไม่ต้องขุดหัวขั้นมาปลูกใหม่ แต่คาลล่า ลิลลี่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องอุณหภูมิในการปลูก เหมาะสำหรับเกษตรกรที่อยู่บนที่สูงหรือบนดอย ที่มีอุณหภูมิที่ 18-24 องศาเซลเซียส




อันดับที่ 4 ดอกไฮเดรนเยีย
ไฮเดรนเยีย (Hydrangea) เป็นไม้พุ่งสูง 1-3 เมตร จัดเป็นพืชหลายฤดูชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดเป็นไม้ยืนต้น หรือไม้เลื้อยแต่ส่วนใหญ่มักเป็นไม้พุ่มเตี้ยใบเกิดแบบตรงข้ามแผ่นใบมีขนาดกว้างใหญ่ขอบใบจักช่อดอกเกิดส่วนปลายกิ่งหรือยอด ลำต้นดอกประกอบด้วยใบประดับที่มีสีสวยงามแล้วแต่พันธุ์ ไฮเดรนเยียอาจผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้แต่ถ้าเป็นชนิดที่อยู่ในเขตอบอุ่นจะผลัดใบพักตัวในฤดูหนาวดอกของไฮเดรนเยียเกิดที่ปลายยอดกิ่งหรือยอดลำต้น เป็นช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นหรือช่อแยกแขนง (corymbsorpanicles) ช่อดอกประกอบด้วยดอกสองแบบคือ กลุ่มดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็ก ที่อยู่บริเวณใจกลางช่อดอกใหญ่ ส่วนกลุ่มดอกที่มีขนาดดอกย่อยใหญ่สะดุดตานั้นความจริงเป็นดอกที่เกิดจากกลีบดอกประดับดูสะดุดตา เกิดเป็นวงรอบขอบนอกของช่อดอกใหญ่ไฮเดรนเยียบางชนิดมีช่อดอกซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ทั้งช่อเลยก็มี ดอกไฮเดรนเยียส่วนใหญ่จะมีสีขาวเป็นหลัก แต่บางชนิด เช่น H. macrophylla อาจเป็นสีน้ำเงิน แดง ชมพูหรือม่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก หากเครื่องปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5 สีดอกจะออกเป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นด่างจะให้ดอกสีม่วงหรือชมพูถ้าปลูกในเครื่องปลูกที่สภาพเป็นกลางดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด ทั้งนี้เพราะไฮเดรนเยียเป็นหนึ่งในบรรดาพืชไม่กี่ชนิดที่สะสมธาตุอะลูมินัม ธาตุนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องปลูก ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ธาตุนี้จะทำปฏิกิริยากับสารละลายในกลีบดอกทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้นได้ ปกติไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน pH 6.0-6.5 จะเติบโตได้ดี




อันดับที่ 3 ดอกปักษาสวรรค์
ปักษาสวรรค์มีใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน คล้ายใบกล้วย ปลายใบแหลม โคนมนถึงสอบ ขอบเรียบกว้าง 10-15 ซม. ยาว 30-60 ซม. ก้านใบยาว 30-60 ซม. บริเวณช่วงต่อกับแผ่นใบกลมมน โคนก้านใบแผ่แบนเป็นกาบโอบรอบต้นจะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุ 3-6 ปี ดอกมีรูปทรงคล้ายนกที่กำลังกางปีก อาจจะออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อประมาณ 3-7 ดอก ออกจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกกลม มีกาบรองดอกรูปเรือรองรับดอกย่อย แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงรูปหอกแคบยาว 3 กลีบ และกลีบดอกรูปหัวลูกศร 2 กลีบ ส่วนปลายกลีบห่อติดกัน มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายใน ตอนปลายสุดของหัวลูกศรมียอดเกสรเพศเมียสีน้ำตาลยื่นออกมา เมื่อดอกบานเต็มที่มีความยาว 8-12 ซม. ทยอยบานจากโคนช่อไปปลายช่อ ผลมีรูปรี จะแห้งและแตก ภายในมีเมล็ด 3 เมล็ด รูปกลม มีเปลือกหนาสีดำ





อันดับที่ 2 ดอกพุทธรักษา
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์





อันดับที่ 1 ดอกซากุระ
ซากุระ (ภาษาญี่ปุ่น : 桜 หรือ 櫻) เป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของซากุระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากุระจึงเป็นสัญลักษณ์ของเลือดทหารและซามูไรของญี่ปุ่น

มีดอกซากุระในเกาหลี, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, จีน หรือที่อื่นๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ซากุระของญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นของมัน และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี

ดอกซากุระของญี่ปุ่นนี้ ในภาษาอังกฤษมีคำเรียกทั่วไปว่า “cherry blooms” หรือ “cherry blossom” หรือไม่ก็ “Japanese Flowering Cherry” จะบานในช่วงปลายมีนา-ต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป

ดอกซากุระ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น เชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า ซะกุยะ (หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเจ้าหญิง โคโนฮะนะซะคุยาฮิเม มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเจ้าหญิงองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าเจ้าหญิงดอกไม้บาน และเนื่องจากซากุระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากุระนั่นเอง เจ้าหญิงองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์ มาบนต้นซากุระ ดังนั้น ดอกซากุระจึงถือเป็นตัวแทนของดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลประกาศให้ดอกเก็กฮวย (ดอกเบญจมาส) เป็นดอกไม้ประจำชาติ


http://board.postjung.com/540748.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/02/2013 11:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,872. ต้นไม้กระป๋อง-ต้นไม้ในถุงเก๋ๆ สวนเล็กกึ่งสำเร็จรูป กำลังมาแรง





โลกทุกวันนี้ อาหารกระป๋องยังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ และสินค้าอาหารบรรจุกระป๋องก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อนอีกต่อไป เดี๋ยวนี้มีทั้งเครื่องดื่มกระป๋อง เบียร์กระป๋อง ขนมหวานเมืองเพชร อัดกระป๋อง ข้าวกระป๋อง ส่งไปขายให้คนไทยที่อยู่ต่างประเทศเกือบทั่วโลกแต่ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เห็นเรื่องราวในทีวีแว้บหนึ่ง พิธีกรสาวกำลังสัมภาษณ์เด็กหนุ่มคนหนึ่ง บอกว่า “ต้นไม้ กระป๋อง-ดอกไม้กระป๋อง” กำลังขายดิบขายดี จนทำให้เจ้าของที่เคยคิดทำสนุกๆ แค่เป็นงานอดิเรก ต้องหันมาจับเป็นอาชีพอย่างจริงจัง กำลังไปได้สวยเลยทีเดียว

พอเริ่มสนใจแต่ยังจับใจความไม่ได้ รายการช่วงนั้น ก็จบเสียก่อน ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เพราะเรื่องราวของเด็กหนุ่มคนนี้ น่าสนใจ ถือว่าเป็นความสำเร็จด้วย “คลิกนอกกรอบ” แต่คิดว่าเรื่องราวดีๆ อย่างนี้ “นิตยสารเส้นทางเศรษฐี” ไม่น่าพลาด น่าจะเคยรายงานมาแล้ว พอมาสอบถามน้องๆ ทีมงาน ก็ได้รับคำตอบแบบไม่ต้องคิดว่า เคยลงเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมมานี้เอง

ครับ ปรากฏว่า เคยลงใน “คอลัมน์ไอเดียแปลก” ในเส้นทางเศรษฐีแล้วจริงๆ








หลังจากนั้น “คุณอ๋า” ก็จะนำไปบรรจุลงกระป๋องโดยส่งไปให้โรงงานผลิตกระป๋องเครื่องดื่มทั่วไป พร้อมทั้งจัดทำเมล็ดของต้นไม้ ใส่ถุงเล็กๆ บรรจุกระป๋องไว้ หากซื้อไปปลูกในสำนักงาน ห้องนอน ริมหน้าต่างคอนโดมิเนียม เขาจะมีฉลากแนะนำวิธีการปลูกอย่างถูกขั้นตอน ให้เรียบร้อย ทำได้ง่ายๆ ไม่ว่ามือร้อน มือเย็นปลูกได้ทั้งนั้น

ตอนนี้ กิจการของคุณอ๋าเจริญรุดหน้าถึงขั้นตั้งเป็นบริษัทในนาม บริษัท อัลฟ่า ทรีออน จำกัด ใครสนใจรายละเอียดมากกว่านี้ หรืออยากจะติดต่อสอบถามเพื่อจะนำไปขาย ลองไปหาอ่านในนิตยสารเส้นทางเศรษฐีฉบับเดือนพฤษภาคม ได้

“คุณอ๋า” ยอมรับว่าได้ไอเดียเก๋ๆ นี้จากอินเตอร์เน็ต เพราะต่างประเทศเขาทำขายกันและกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมาก แต่ต้องชื่นชมว่า นี่แหละ “เสือปืนไว” อย่างแท้จริง เห็นช่องเห็นโอกาสไม่มัวรีรอ เมื่อเห็นแล้วลงมือทำทันที ไม่มีโอ้เอ้ลังเลใจ ซึ่งเป็นสัญชาตญาณนักธุรกิจ





แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ เขาเป็นคนมีวิสัยทัศน์ “มองเห็น” ในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น เหมือนที่มีคำคมบอกว่า “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคมเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”

ในต่างประเทศมีอีกธุรกิจ หนึ่งคล้ายๆ กัน ที่กำลังมาแรง คล้ายๆ กับ ต้นไม้กระป๋อง แต่คราวนี้ “ปลูกต้นไม้ในถุง” หรือ “Garden-in-a-Bag” ก็เหมือนที่ปลูกในกระป๋อง คือ เมล็ดพันธุ์ ส่วนใหญ่เมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้จะอยู่ในประเภท ออร์แกนิก หรือ เกษตรอินทรีย์ ถุงที่ใช้ปลูกเป็นถุงสีน้ำตาล เข้าใจว่าอาจจะให้กลมกลืนกับต้นไม้ ข้างๆ ถุงจะติดสติ๊กเกอร์ดอกไม้สวยๆ พร้อมพิมพ์ข้อความที่มีความหมายดีๆ ที่ใครๆ อ่านแล้วมีความสุข

ต้นไม้ ในถุงเหมาะสำหรับมอบเป็นของขวัญ วันปีใหม่ วันเกิด หรือในวาระอื่นๆ ตามแต่วาระ ตามแต่โอกาส ข้อความเก๋ๆ ก็จะเปลี่ยนไปตามวาระโอกาสนั้นด้วย เช่น สุขสันต์วันเกิด ขอให้อายุมั่นขวัญยืน สุขภาพแข็งแรง ขอแสดงความดีใจที่เรียนจบ ขอให้มีความสุขมากๆ หรือ ด้วยรัก และอื่นๆ ที่คิดว่าเก๋ไก๋





ทั้ง “ต้นไม้กระป๋อง” และ “ต้นไม้ถุง” เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนในสังคมเมืองที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม ที่ไม่มีพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่หรือทำสวนใหญ่ๆ หรือไม่มีเวลาดูแล ลำพังแค่ตื่นขึ้นมารีบไปทำงานกลับมาถึงที่พักก็เหนื่อยแล้ว แต่รักจะปลูกต้นไม้ เชื่อว่า ต้นไม้กระป๋อง ต้นไม้ถุง จะแบ่งเบาภาระ และตอบสนองความต้องการได้

ที่สำคัญ หากทุกๆ คนช่วยกันปลูก ก็น่าจะมีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้บ้าง อาจจะไม่มากนัก แต่ถ้าทุกๆ คนมีคนละ 10 กระป๋อง หรือ 10 ถุง คน 1 ล้านคน ก็มีต้นไม้ 10 ล้านกระป๋อง หรือ 10 ล้านถุง เลยทีเดียว

ส่วนใครสนใจจะไปลองทำเป็นธุรกิจ นอกจากจะมีความสุขแล้วอาจจะมีรายได้ดีกว่ารายได้งานประจำที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ก็ได้





หมายเหตุ : ข้อมูลต้นไม้ในถุง จากหนังสือ ธุรกิจจิ๋วแต่แจ๋ว โดย กฤษฎา กฤษณะเศรณี
อ้างอิงจาก เส้นทางเศรษฐี
ธุรกิจ SMEs ที่น่าสนใจอื่นๆ..


http://www.thaismefranchise.com/?p=7600
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/02/2013 3:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,873. ปลูกพืชกลับหัว สวยงาม ประหยัดน้ำ ลดโลกร้อน


ปลูกพืชแบบกลับหัว ช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืช แมลงรบกวน ประหยัดน้ำ ตกแต่งสวนในบ้านได้สวยงาม แถมยังลดโลกร้อนด้วยอีกต่างหาก





เป็นไอเดียที่เก๋และเริ่ดมมั่กๆ เลยค่ะ สำหรับการปลูกพืชแบบกลับหัว ซึ่งนอกจากจะให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ลดปัญหาเรื่องวัชพืช โรค แมลงรบกวน ประยัดน้ำ แล้วยังนำมาตกแต่งสวนในบ้าน หรือตามที่ต่างๆ ได้สวยงามอีกต่างหาก งั้นเรามาดูกันว่าจะมีวิธีปลูกกันดีกว่า อ่านแล้ว ใครจะเอาไปทำที่บ้านบ้าง เราก็ไม่ห้ามนะคะ

วิธีการปลูกพืชกลับหัว
เริ่มจากการนำวัสดุปลูก เช่น ขุยมะพร้าวหรือดิน (หากต้องการปลูกพืชที่มีขนาดใหญ่เช่น มะเขือเทศควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีน้ำหนักเบา เช่น ขุยมะพร้าว) ใส่ลงในกระถางให้เต็ม แล้วนำแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยมมาปิดด้านบนของกระถาง ใช้นิ้วหนีบกระเบื้องไว้กับกระถางเพื่อป้องกันวัสดุปลูกร่วงหล่นแล้วคว่ำกระถางเพื่อให้ก้นกระถางหันขึ้นด้านบน นำต้นกล้าพืชลงปลูกในรูก้นกระถาง รดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ (ในกรณีที่ปลูกในขุยมะพร้าวควรรดด้วยสารละลายปุ๋ย) รอจนต้นโตสูงอย่างน้อย 1 ฟุตแล้วจึงพลิกกระถางเพื่อให้ต้นพืชกลับหัว เจาะรูที่ขอบกระถางสำหรับร้อยลวดแล้วจึงนำไปแขวน นอกจากนี้ด้านบนของกระถางยังสามารถปลูกผักขนาดเล็กชนิดอื่น เช่น สลัดได้อีกด้วย




การปลูกผักกลับหัว
1. การเจริญเติบโตของพืช ตามปกติแล้วส่วนยอดของต้นพืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วง ในขณะที่ส่วนรากจะชอนไชลงดินตามแรงโน้มถ่วง การเจริญเติบโตในลักษณะเช่นนี้ทำให้ใบของพืชสามารถได้รับแสงอย่างเต็มที่และรากก็สามารถดูดซึมน้ำและแร่ธาตุต่างๆจากดินเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสงและหล่อเลี้ยงต้นพืช

2. พืชลำเลียงน้ำจากดินขึ้นไปเลี้ยงส่วนยอด คือ ในกระบวนการลำเลียงน้ำและสารอาหารจากดินขึ้นสู่ส่วนยอดนั้นพืชต้องอาศัยการคายน้ำออกจากใบซึ่งจะก่อให้เกิดแรงดึงน้ำจากด้านล่างเข้ามาแทนที่น้ำส่วนหายที่ไปในท่อลำเลียงน้ำ ที่เรียกว่า ไซเลม (Xylem) กระบวนการเช่นนี้ทำให้น้ำและธาตุอาหารซึ่งถูกดูดซึมโดยรากสามารถเคลื่อนที่จากดินผ่านทางไซเลมขึ้นไปเลี้ยงส่วนยอดได้ อย่างไรก็ตามหากเกิดความไม่สมดุลกันระหว่างการคายน้ำและปริมาณน้ำในดิน เช่น หากสภาพอากาศร้อนจัดทำให้มีการระเหยของน้ำมาก แต่ปริมาณน้ำในดินมีน้อย ก็อาจทำให้เกิดช่องว่างในไซเลม ส่งผลให้การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารหยุดชะงักได้

3. ข้อดีในการปลูกพืชกลับหัว การปลูกพืชกลับหัวช่วยทำให้น้ำและธาตุอาหารไหลไปเลี้ยงส่วนยอดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าปกติและสามารถบรรเทาปัญหาการหยุดชะงักของการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอันมีสาเหตุมาจากการเกิดช่องว่างในไซเลมได้ เพราะในสภาพที่ต้นพืชกลับหัวแรงโน้มถ่วงจะสามารถช่วยผลักน้ำให้ไหลลงไปเลี้ยงส่วนยอด นอกจากนี้การปลูกพืชแบบกลับหัวยังช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชและการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ดีอีกด้วย

4. ปลูกผักกลับหัวดีกว่าปลูกแบบปกติ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นการปลูกผักกลับหัวได้รับความนิยมอยู่พอสมควร บริษัทบางแห่งถึงกับมีการทำชุดการปลูกมะเขือเทศแบบกลับหัวออกวางจำหน่าย ชาวสวนหลายคนที่ทดลองปลูกผักกลับหัวระบุว่าการปลูกพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ กะเพรา ในสภาพกลับหัวให้ผลผลิตดีกว่าการปลูกในแนวปกติ อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายคนยังตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกพืชในลักษณะกลับหัวเนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดๆยืนยันว่าการปลูกพืชในลักษณะนี้จะทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีกว่าปกติ




การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของพืช
1. กลไกในการรับรู้แรงโน้มถ่วง ทิศทางของแรงโน้มถ่วงมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของพืชเซลล์บางชนิดในต้นพืชสามารถรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วงได้ เนื่องจากมีอวัยวะที่เรียกว่า สตาโทลิท (statolith) ซึ่งเป็นพลาสติดชนิดหนึ่งที่มีการเก็บสะสมแป้งไว้ สตาโทลิทที่อยู่ภายในเซลล์จะมีการทิ้งตัวลงด้านล่างของเซลล์ตามแรงโน้มถ่วง และสามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพืชเพื่อตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงได้

2. ต้นพืชตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง โดยธรรมชาติแล้วลำต้นของพืชจะมีการเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วง ในกรณีที่ต้นพืชมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการเจริญเติบโต เช่น ต้นมีการหักล้มลงไปราบกับพื้น สตาโทลิท ที่อยุ่ในเซลล์เอนโดเดอมิส (endodermis) ของลำต้นจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งการวางตัวในเซลล์ และจะชักนำให้เเกิดการเปลี่ยนแปลงการกระจายตัวของฮอร์โมนออกซิน (Auxin) ในลำต้น โดยทำให้ด้านล่างของลำต้นมีการสะสมของออกซินมากกว่าปกติ เซลล์ด้านล่างจึงมีการยืดตัวมากกว่าเซลล์ด้านบน ลำต้นจึงเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามแรงโน้มถ่วงได้อีกครั้ง

3. รากพืชตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง รากพืชมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วงเนื่องจากกลุ่มเซลล์ที่บริเวณหมวกรากมีการสะสม สตาโทลิท ซึ่งทำหน้าที่ในการรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วง โดย สตาโทลิท ภายในเซลล์จะตกลงตามทิศทางของแรงโน้มถ่วงและส่งสัญญาณควบคุมการกระจายตัวของฮอร์โมนออกซินภายในรากเพื่อให้รากมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วง ด้วยเหตุนี้เองรากพืชที่งอกใหม่ออกจากเมล็ดจึงงอกลงดินเสมอ

4. พืชในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการทดลองปลูกต้นมอสในอวกาศซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง โดยได้ตั้งสมมุติฐานว่าต้นมอสน่าจะมีการเจริญเติบโตแบบสุ่ม แต่ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าต้นมอสมีการเจริญเติบโตในลักษณะเกลียวก้นหอย นอกจากนี้ยังพบว่าอวัยวะต่างๆภายในเซลล์รวมถึงสตาโทลิท มีการจับกลุ่มกันในรูปแบบเฉพาะ ผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่ากลไกการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงในพืชนั้นอาจมีความซับซ้อนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้เคยคาดการณ์

ใครสนใจการปลูกพืชกลับหัว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ ดร. สิริวัฒน์ สาครวาสี สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290 โทร. 0-5387-3380, 08-6195-7423 ในวันและเวลาราชการจ้า

ขอบคุณภาพและข้อมมูลจาก :
•http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/raen/index.php/newspeaper2012/387-invert
•http://xn--12c4bgh3cc1b8a1dn5i.blogspot.com/2012/04/blog-post_13.html


http://volunteerconnex.com/2012/sky-plant
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/02/2013 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,874. "ผักกลับหัว" นวัตกรรมใหม่ของการปลูกผัก





“การปลูกพืชกลับหัว” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรและผู้ที่สนใจปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือน ซึ่งวิธีดังกล่าวพบว่าพืชมีการเจริญเติบโตได้ดี และยังนำพืชที่ปลูกแบบกลับหัวมาตกแต่งจัดสวนภายในบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดความแปลกแก่ผู้พบเห็น ในต่างประเทศทำเป็นชุดผลิตภัณฑ์การปลูกผักกลับหัวแบบสำเร็จรูปออกมาขาย บรรจุกล่องสวยงาม เพียงผู้ซื้อนำชุดทดลองปลูกที่มีอยู่ในกล่องมารดน้ำดูแลตามคำแนะนำ ก็จะได้ผักกลับหัวปลูกไว้ที่บ้านหรือประดับตามสวน

ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ อธิบายวิธีการปลูกพืชกลับหัวว่า เริ่มจากการนำวัสดุปลูก เช่น ขุยมะพร้าวหรือดิน หรือหากต้องการปลูกพืชที่มีขนาดใหญ่ เช่น มะเขือเทศ ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีน้ำหนักเบา เช่น ขุยมะพร้าว ใส่วัสดุปลูกลงในกระถางให้เต็ม แล้วนำแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยมมาปิดด้านบนของกระถาง ใช้นิ้วหนีบกระเบื้องไว้กับกระถางเพื่อป้องกันวัสดุปลูกร่วงหล่นแล้วคว่ำกระถางเพื่อให้ก้นกระถางหันขึ้น นำต้นกล้าพืชที่เพาะไว้ เช่น มะเขือเทศ, กะเพรา, โหระพา, พริก ฯลฯ ลงปลูกในรูก้นกระถาง รดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ

ในกรณีที่ปลูกในขุยมะพร้าวควรรดด้วยสารละลายปุ๋ย รอจนต้นโตสูงอย่างน้อย 1 ฟุตแล้วจึงพลิกกระถางเพื่อให้ต้นพืชกลับหัว เจาะรูที่ขอบกระถางสำหรับร้อยลวดแล้วจึงนำไปแขวนที่โรงเรือนหรือชายคาบ้าน โดยให้โดนแสงแดด นอกจากนี้ด้านบนของกระถางยังสามารถปลูกผักขนาดเล็กชนิดอื่น เช่น ผักสลัดต่าง ๆ

ข้อดีในการปลูกพืชกลับหัว การปลูกพืชกลับหัวช่วยทำให้น้ำและธาตุอาหารไหลไปเลี้ยงส่วนยอดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าปกติและสามารถบรรเทาปัญหาการหยุดชะงักของการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอันมีสาเหตุมาจากการเกิดช่องว่างในไซเลมได้ เพราะในสภาพที่ต้นพืชกลับหัวแรงโน้มถ่วงจะสามารถช่วยผลักน้ำให้ไหลลงไปเลี้ยงส่วนยอด นอกจากนี้การปลูกพืชแบบกลับหัวยังช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชและการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ดีอีกด้วย รวมถึงในพื้นที่ปลูกที่จำกัด

สำหรับบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม การปลูกผักกลับหัวนำไปแขวนด้านบน ส่วนพื้นที่ด้านล่างยังใช้ประโยชน์ได้อีก นอกจากจะช่วยประหยัดพื้นที่ปลูกแล้ว ยังสามารถมีผักต่าง ๆ เก็บไว้ทานด้วยฝีมือตัวเอง กระถางผักกลับหัวยังเป็นผักประดับบ้านหรือสวนได้สวยและแปลกที่ได้พบเห็นอีกด้วย.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/23078


http://www.gotoknow.org/posts/488546
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/03/2013 10:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,875. การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุด





มังคุด (Mangosteen) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia Mangostana เป็นผลไม้ (fruit) ส่วนที่ใช้รับประทานคือเนื้อในผล เป็นส่วนของแอริล (aril) มังคุดมีรูปร่งกลมเป็นผลแบบเบอรี่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4-7.5 เซนติเมตร เปลือกหนา 6-10 มิลลิเมตร เนื้อสีขาวขุ่น ลักษณะผลอ่อนเปลือกนอกจะมีสีเขียวปนเหลือง มียางสีเหลือง ภายในผลจะแบ่งเป็น 4-8 ช่อง มังคุดเป็นผลไม้เขตร้อน (tropical fruit)


มาตรฐานสินค้าเกษตรของมังคุด
ที่มา http://www.acfs.go.th/index.php


การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุด
ผลมังคุด แม้มีเปลือกหนาค่อนข้างแข็งแรง เกิดบาดแผลได้ยากแต่เมื่อถูกระทบกระเทือน เช่น ตกจากที่สูง มีแรงกระแทกจากการกดทับ หรือการขนส่ง จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนของเปลือกที่อยู่ถัดเข้าไป ทำให้เปือกแข็ง ปอกเปลือกได้ยาก และเนื้อในอาจเสียไปด้วย ดังนั้น การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวทุกขั้นตอน ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ต้องระวังไม่ให้เกิดบาดแผล หรือกระทบกระแทกชอกช้ำ มังคุดที่แก่จัด หลังการเก็บเกี่ยว จะถูกบรรจุใส่ภาชนะ แล้วลำเลียงไปยังแหล่งคัดบรรจุ

• การคัดเลือก (sorting) เพื่อคัดเอาผลเสียและผิดปกติ ไม่ได้ขนาด มีตำหนิ ออกให้หมด เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรีย และ รา จากผลเสียไปยังผลปกติ ซึ่งจุลินทรีย์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นหาก เกิดแผลเปิด หรือรอยช้ำบนผลมังคุด
• การล้างทำความสะอาด
• การกำจัดแมลงในผลมังคุด หลังการเก็บเกี่ยวมังคุดอาจมีแมลงหรือไข่แมลงวันทอง อยู่ภายในผล การกำจัดแมลงหรือไข่แมลงวันทอง ทำได้โดยนำผลมังคุด มาแช่ในน้ำร้อนที่ 40-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที อาจผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticides) เช่น ไธอะเบนดาโซล หรือเบโนมิลในน้ำแช่ หรืออาจใช้ การฉายรังสี (food irradiation) ปริมาณรังสี ที่อนุญาติให้ใช้เพื่อ ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง และชะลอการสุก ของมังคุดไม่เกิน 1 กิโลเกรย์
• การลดอุณหภูมิ (pre-cooling) โดยแช่ในน้ำเย็นไหลผ่าน (hydro cooling) เพื่อลดปริมาณความร้อนภายในผลการหายใจ โดยมังคุด 1 ตัน จะปลดปล่อยพลังงานความร้อนออกมากถึง 16500-33300 BTU/วัน การลดอุณหภูมิของมังคุด ด้วยน้ำเย็นจะทำจน อุณหภูมิภายในผล มีอุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส จากนั้นนำไป สะเด็ดน้ำด้วยพัดลม
• ตรวจสอบคุณภาพอีกครั้ง บรรจุผลตั้งในกล่องกระดาษ แล้วปิดฝากล่อง
• เก็บรักษาในห้องเย็น (cold storage) อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 85-90 เปอร์เซ็นต์เพื่อรอการขนส่ง มังคุดมีอายุการเก็บรักษา 2-4 สัปดาห์


การเกิดการสะท้านหนาวของมังคุด
การแช่เย็นมังคุดที่อุณภูมิ 10-13 องศาเซลซียส หรือต่ำกว่านี้ทำให้เกิดอาการสะท้านหนาว (chilling injury) ทำให้การสุกผิดปกติ เกิดกลิ่นผิดปกติ สีผิวผบเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลและเป็นสาเหตุของการเสื่อมเสียด้วยจุลินทรีย์ (microbial spoilage) ได้ง่าย


ฐิติมา คงรัตน์อาภรณ์ ฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตร กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ การฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลงบนผิวมังคุด


http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1673/mangosteen-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/03/2013 10:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,876. คัดเลือกหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อใช้เป็นแม่พันธุ์





นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ปัญหาในการปลูกหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกรในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเรื่องของพันธุ์ เนื่องจากพบว่าเกษตรกรที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งมักจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเองและเมื่อปลูกไปนาน ๆ หรือมีการเก็บเมล็ดพันธุ์หลาย ๆ รุ่น จะเกิดปัญหาการกลายพันธุ์ทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่ไม่แข็งแรง ผลผลิตลดลงไปเรื่อย ๆ

จากปัญหาดังกล่าว กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งให้คัดเลือกโดยการสังเกต จากต้นหน่อไม้ฝรั่งที่มีคุณลักษณะที่ดี เช่น ต้นพันธุ์แข็งแรงสมบูรณ์ หน่อใหญ่ และให้ผลผลิตสูง เพื่อนำมาใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์หน่อไม้ฝรั่ง ตามกระบวนงานการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งจะได้ต้นพันธุ์ดีจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นก่อนที่จะนำไปปลูกในแปลงเกษตรกรต่อไป

ทั้งนี้ การพัฒนาแม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดีดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาและเกิดผลดีต่อเกษตรกร ได้แก่ ลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ราคาแพงจากต่างประเทศ ได้ต้นแม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ปลอดโรค ขยายพันธุ์ได้ในปริมาณที่มากให้ผลผลิตสูง สร้างกำไรให้แก่เกษตรกรมากขึ้น

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการผลิตต้นแม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี ซึ่งคาดว่าจะสามารถกระจายให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูกได้ รุ่นแรก จำนวน 50,000 ต้น ในช่วง 6 เดือน นับจากนี้




http://www.thaifinbiz.com/sme_newsdetail.php?smes_tag=2&smes_id=5662
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/03/2013 10:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,877. ปลากระชังในบ่อดิน รายได้ดี คุณภาพแน่น ที่บางปะกง





อาชีพเพาะเลี้ยงปลาเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เกษตรกรให้ความสนใจ และหันมายึดเป็นอาชีพหลักและทำเป็นอาชีพเสริมกันเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่อาชีพเพาะเลี้ยงปลาจะพบกันมากบริเวณริมแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการเลี้ยง สถานที่เพาะเลี้ยง รูปแบบการเลี้ยง ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยง

การเลี้ยงปลากระชังในบ่อดิน เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่เกษตรกรให้ความสนใจ เพราะเป็นวิธีที่ใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงน้อย สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงก็ไม่มาก สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมที่มีผลตอบแทนคุ้มค่าได้เป็นอย่างดี

คุณรำพึง เถือนถ้ำแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 5 ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่มีความสนใจในอาชีพประมง และหันมายึดเป็นอาชีพตั้งแต่อายุ 20 ปี

เดิมทีคุณรำพึงทำนาปลูกข้าว แต่ด้วยปัญหาของข้าว ทั้งเรื่องของราคา พื้นที่เพาะปลูก ปริมาณผลผลิตไม่เป็นไปตามที่ต้องการและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกๆ ปี ทำให้ขาดทุน เขาจึงตัดสินใจเลิกอาชีพทำนาและหันมายึดอาชีพประมง เพาะเลี้ยงปลาแทน


จากชาวนา เป็นชาวประมง
ไม่ประสบความสำเร็จกับอาชีพชาวนา คุณรำพึงก็หันมาประกอบอาชีพประมง โดยเริ่มทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งในบ่อดินก่อน เลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งก็ต้องพบกับปัญหาของตลาดและราคาที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องลดปริมาณการผลิตลงในบางส่วน ทำให้บ่อกุ้งที่เคยใช้เลี้ยงว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์ คุณรำพึงจึงใช้ประโยชน์จากบ่อกุ้ง โดยการปรับปรุงใช้ทำเป็นบ่อเลี้ยงปลานิลไปพร้อมกับเพาะเลี้ยงกุ้ง





“เราเลี้ยงแบบกึ่งอาศัยธรรมชาติ ปล่อยในบ่อดิน ให้อาหารเม็ด เช้า-เย็น ให้ปลาได้กินพืช กินแร่ธาตุในดิน ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ผลตอบแทนในช่วงแรกๆ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับกุ้งและการทำนา แต่พอช่วงหลังๆ เริ่มสังเกตได้ว่าปลาที่เลี้ยงนั้นเริ่มโตช้าและใช้เวลาเลี้ยงในแต่ละรอบนานมากขึ้น ทำให้ต้องปรับวิธีการเลี้ยงใหม่ จากเดิมที่เลี้ยงในบ่อดิน เราก็พัฒนามาเป็นการเลี้ยงในกระชังแทน ซึ่งวิธีการนี้เราสามารถควบคุมอาหารและควบคุมการเจริญเติบโตของปลาได้ ดีกว่าการเลี้ยงในบ่อดินปกติ”


พัฒนา ปรับวิธีการเลี้ยง
คุณรำพึง พัฒนารูปแบบการเลี้ยงจากบ่อดินมาเป็นการเลี้ยงในกระชังที่มีลักษณะเป็นอวน ใช้ตาข่ายตาเล็ก (สีฟ้า) และตาข่ายที่มีความกว้างของรูที่เหมาะสมกับขนาดของตัวปลา เย็บติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้าง ประมาณ 7 เมตร ยาว 5 เมตร และนำไปยึดกับหลักไม้ทั้ง 4 มุม ภายในบ่อ โดยให้ปากกระชังอยู่เหนือระดับน้ำประมาณ 30 เซนติเมตร

“ก่อนนำไปเลี้ยงในกระชัง จะอนุบาลลูกปลาในบ่อดินก่อน 6 เดือน ในช่วง 2 เดือนแรก จะให้อาหารกบผสมกับรำ พอเดือนที่ 3 ก็จะเปลี่ยนมาให้อาหารปลากินพืชทั่วไปจนถึงเดือนที่ 6 หลังจากปลาได้ขนาดประมาณ 4-5 ตัว ต่อกิโลกรัม เราก็จะจับมาเลี้ยงต่อในกระชังที่เตรียมไว้อีกประมาณ 3 เดือน ในช่วงนี้เราจะให้อาหารโปรตีนสูง โดยทุกระยะการเลี้ยงจะให้อาหาร เช้า-เย็น

ในบ่อเพาะเลี้ยง นอกจากจะมีกระชังปลานิลแล้ว เรายังปล่อยปลานิลภายในบ่อเพื่อใช้เป็นตัวเก็บอาหารที่หลุดออกมาจากกระชัง หรืออาหารที่เหลือจากการให้อีกด้วย





1 กระชัง จะปล่อยปลาลงไปประมาณ 1,200 ตัว ภายในบ่อก็แล้วแต่ความเหมาะสม ดูว่าสามารถเก็บอาหารที่หลุดออกไปหมดหรือเปล่า แต่ถ้าเทียบแล้วในกระชังจะโตกว่านอกกระชัง

หลังจากที่จับปลาจำหน่ายไปแล้ว เราจะทำความสะอาดบ่อเลี้ยง โดยสูบน้ำออก เอาดินโคลนออก และโรยด้วยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ตากไว้จนกว่าดินแห้งพอประมาณ จากนั้นเราก็จะสูบน้ำเข้ามาใหม่ ทำให้ไม่ค่อยพบโรคอะไรที่ร้ายแรงถึงกับขาดทุน” คุณรำพึง กล่าว

วิธีการเลี้ยงแบบนี้ สามารถควบคุมอาหาร ระยะเวลาและการเจริญเติบโตของปลาได้เป็นอย่างดี ทำให้ในแต่ละปี คุณรำพึงสามารถจับปลาขายได้ถึง 2 รอบด้วยกัน

ปัจจุบัน คุณรำพึงมีบ่อเพาะเลี้ยง 4-5 บ่อ แต่ละบ่อมีกระชังประมาณ 4-5 กระชัง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 10 ไร่ สามารถจับปลาขายได้ถึง 4-5 กระชัง ต่อรอบการเลี้ยง

“อาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง ถือว่าเป็นอาชีพที่สามารถอยู่ได้ ตอนนี้มีความพอใจกับอาชีพนี้ในระดับหนึ่ง แต่ในอนาคตต้นทุนการผลิตเริ่มสูงขึ้น เราก็อยากให้ราคาปลาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน” คุณรำพึงกล่าวทิ้งท้าย

ปลานิล (อังกฤษ : Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี สามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา และทะเลสาบทังกันยิกา

รูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกต่างกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร

นิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่า ปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วน ใน 1,000 ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือน ต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกัน ปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไป พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ





ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่นๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกัน แม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป

หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็กๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง


ที่มา : matichon.co.th


http://www.thaifinbiz.com/sme_newsdetail.php?smes_tag=2&smes_id=737
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/03/2013 11:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,878. เปิดสอน "วิชาทำนา" สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่





ทั้งที่เปิดโครงการมาได้เพียง 2 ปีเท่านั้น แต่ “โครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน” กลับสร้างกระแสตอบรับของผู้คนทุกวงการกันอย่างกว้างขวาง ใช่เพียงชาวนาและผู้คนในภาคเกษตรเท่านั้น

ไม่รอช้าสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯร่วมกับชมรมเกษตรสรรพสิ่งและบริษัท เกษตรสรรพสิ่ง จำกัด เตรียมเปิดอบรมต่อเนื่องหลักสูตรวิชาทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน ระหว่าง วันที่ 8-10 มีนาคม ขึ้นอีกครั้ง ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับกระแสตื่นตัวดังกล่าว โดยคราวนี้เน้นชูประเด็น “การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าผลผลิตข้าวแก่เกษตรกร ภูมิปัญญาไทยนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน” ภายใต้องค์ความรู้ “เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่หาเรียนยากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยให้ชาวนาไทยสามารถตั้งตัวได้ทันที ปลดหนี้ปลดสินที่พะรุงพะรังจากการทำเกษตรแนวทางเดิม ๆ ในอดีต

นายอดิศร พวงชมภู ที่ปรึกษาหอการค้าไทยในฐานะประธานโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท กล่าวว่า ปัจจุบันได้เกิดกระแสตื่นตัวในการเข้ามาเรียนรู้หลักสูตรการ “ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน” อย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ชาวนาและเกษตรกรทั่วไปจะให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนเท่านั้น ยังพบว่ามีบุคคลหลากหลายวงการ ทั้งนักธุรกิจ นิสิต นักศึกษา สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ฯลฯ ส่งผลให้หลักสูตรเรียนรู้การทำนาภายใต้โครงการ “ทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท” ได้รับการกล่าวขวัญถึงในทุกวงการ เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในสังคมไทย

นายอดิศร กล่าวถึงสาเหตุที่โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จด้วยว่า เป็นเพราะโครงการดังกล่าวมีแปลงนาต้นแบบให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้ศึกษาและปฏิบัติในภาคสนามจริงกระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีการฝึกอบรมชาวนาตัวจริง 85 คนทั่วประเทศมาเรียนการทำนาแบบครบวงจรเป็นระยะเวลา 5 เดือนเต็มให้มีผู้จบหลักสูตรนี้ออกไปเป็นผู้รู้จริงในเรื่องการทำนาประยุกต์ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้กระจายออกไปเพราะผู้คนที่เข้าไปดูงานได้สัมผัสของจริง

ทั้งนี้ โครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน ไม่ใช่เป็นเพียงโครงการที่พลิกมิติใหม่ให้กับ “เกษตรกรรุ่นเก่า” และ “เกษตรกรรุ่นใหม่” ในการหันเหมาประกอบอาชีพ “ชาวนา” มากขึ้นเท่านั้น โครง การดังกล่าวยังเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยก้าวสู่ครัวของโลก

ในอนาคตได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ไว้อีกด้วย เนื่องจากโครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ข้าวมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ที่สำคัญโครงการ “ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เป็นโครงการที่พิสูจน์แล้วว่าให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่าการทำนาปกติ

สำหรับหลักสูตร “ตั้งตัว ทันที ด้วยโครงการ ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท” จะมีการอบรม 3 วัน 2 คืน เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ให้เข้าใจแนวคิด วิธีคิด และลงมือสอนปฏิบัติ สร้างแพลงก์ตอน สร้างแหน สร้างสาหร่าย เรียกไส้เดือนฝอย เพื่อให้เกิดความเข้าใจครบถ้วนที่สุด มีหลายหน่วยงานขอให้ลดเวลาลง ด้วยเหตุผลของการประหยัดค่าใช้จ่าย เน้นให้ได้ความรู้ครบถ้วนสำหรับคนที่มาอบรมอย่างตั้งใจ มีผู้ผ่านการอบรมไปหลายพันคน เริ่มอบรมตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 4 ทุ่มทุกวัน

“ข้อแตกต่างระหว่างการทำนาภายใต้หลักสูตรโครงการ ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท คนทำนาหว่านทั่วไปจะใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 50 บาท ก็จะเกิดต้นทุนประมาณ 1,500 บาท ถ้าคนทำนาดำก็จะใช้ 5 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นเงินประมาณ 250 บาท แต่นา 1 ไร่ 1 แสน สอนทำนาแบบปาเป้า ซึ่งทำนา 1 ไร่ จะใช้พันธุ์ข้าวเพียง 200 กรัม เท่ากับว่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัมจะสามารถทำนาได้ถึง 5 ไร่ นั่นแสดงว่า ขณะที่ทำนาหว่าน 1 ไร่ ใช้เงินค่าเมล็ดพันธุ์ 1,500 บาท แต่ทำนาแบบที่โครงการฯ เราทำอยู่นั้นนา 1 ไร่ ใช้เงินค่าเมล็ดพันธุ์เพียง 10 บาท นี่คือตัวอย่างหนึ่งในหลายร้อยตัวอย่างที่จะได้รู้จากหลักสูตร” นายอดิศร กล่าว

สำหรับผู้สนใจที่จะเข้าอบรมหลักสูตรดังกล่าวสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้-4 มีนาคม 2556 นี้ โดยรับเพียง 150 คนเท่านั้น สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 08-1975-1596 หรือ 0-2529-2212-13, 0-2529-1972, 0-2529-2213 ต่อ 103 หรือที่เว็บไซต์ www.wisdomking.or.th


ที่มา : เดลินิวส์



http://www.thaifinbiz.com/sme_newsdetail.php?smes_tag=2&smes_id=5646
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/03/2013 12:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,879. มังคุดผิวมัน มังคุดคุณภาพ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

มังคุด ผลไม้ยอดนิยมของคนไทยและคนต่างชาติ แต่กับชาวสวนแล้ว มักจะมีปัญหาด้านราคาอยู่เสมอ เป็นอย่างนี้มาตลอด จนเรียกว่า "เป็นตำนาน" โดยเฉพาะชาวสวนภาคตะวันออกที่ต้องวุ่นวายกับราคามังคุดที่ตกต่ำเกือบทุกปี ตัวอย่างเมื่อ ปี 2553 ราคามังคุดตกต่ำมาก ชาวสวนหลายรายถึงกับโค่นต้นมังคุดทิ้งไป แล้วปลูกพืชใหม่ทดแทน จะด้วยความคับแค้นหรือน้อยใจคงจะปะปนกันไป ข้ออ้างที่พวกเขาได้รับฟังจากผู้รับซื้อ ก็คือ มังคุดคุณภาพต่ำ ผิวลาย เนื้อแก้ว ยางไหล หู (กลีบเลี้ยง) ไม่สวย สรุปว่า มังคุดของชาวสวนด้อยคุณภาพ ส่งออกก็ไม่ได้ ขายภายในประเทศราคาก็ไม่ดี

ผู้เขียนและทีมงานนักส่งเสริมการเกษตรกลายเป็นหนังหน้าไฟ ที่ต้องคอยประคอง และช่วยแก้ไขปัญหานี้มาตลอด แต่ก็ไม่อาจสู้กลไกผู้ค้าที่มีลูกเล่น และ/หรืออาจมีมุขทางการเมืองปะปนอยู่บ้างก็เหนือคาดเดา นักส่งเสริมทุกคนก็อดทน และเต็มที่ในการช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หาหนทางส่งเสริมและพัฒนาชาวสวนมังคุดมาโดยตลอด การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตมังคุดแผนใหม่ ให้ชาวสวน เป็นกลไกหลักของนักส่งเสริม ในที่สุดได้สร้างชาวสวนต้นแบบ ที่ประยุกต์ใช้หลักวิชาการ ร่วมกับประสบการณ์ สามารถผลิตมังคุดคุณภาพ "มังคุดผิวมัน" เป็นที่ยอมรับของผู้ส่งออก และตลาดในประเทศ แก้ปัญหาด้านราคา กำหนดราคาขายได้เอง และยังได้ก่อตั้งกลุ่มผู้ผลิตมังคุดคุณภาพของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีระบบการบริหารจัดการผลิต การตลาด และทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันอย่างเข้มแข็ง ผู้เขียนเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาวสวนมังคุด และผู้เกี่ยวข้อง จึงได้นำเทคนิคและประสบการณ์ของ คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ มาถ่ายทอดไว้ ณ โอกาสนี้



มังคุดผิวมัน :
มาตรฐานคุณภาพ และราคา :
ในอดีต การค้าขายมังคุดไม่มีการจัดชั้นคุณภาพ (เกรด) เป็นไปตามสภาพสังคมทั่วไป คือ "ซื้อมา ขายไป ไม่ซับซ้อน" คนซื้อก็เลือกเอาผลมังคุดที่ตัวเองเห็นว่าดี เน้นผลสุกสีม่วงเข้ม (ดำ) แล้วมักจะบีบๆ คลำๆ ที่ผลมังคุด เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้มังคุดที่สุกและรสชาติหวานฉ่ำ ส่วนผลมังคุดที่เปลือกเป็นสีชมพู สีแดง หรือมีจุดประสีแดงอมชมพู ที่เราเรียกว่า "ระยะสายเลือด" คนซื้อส่วนใหญ่จะไม่สนใจ เพราะคิดว่าเป็นมังคุดอ่อน และยังไม่สุก ซึ่งเป็นความไม่รู้และไม่เข้าใจธรรมชาติของมังคุด ของคนซื้อเกือบทุกคน แต่เมื่อความต้องการของผู้บริโภคและการค้าขายขยายขอบเขตกว้างขึ้น และส่งขายต่างประเทศ จำเป็นต้องเก็บเกี่ยวมังคุดที่ผิวเปลือกเริ่มมีจุดประสีชมพู-สีแดง เผื่อเวลาในการทยอยสุกของผลมังคุด ในช่วงการขนส่งมังคุดไปยังตลาดปลายทาง และช่วงเวลาการวางขายที่ร้านค้า จึงต้องเน้นการรักษาคุณภาพ เพราะเป็นตัวกำหนดราคาซื้อขาย

การจัดเกรดคุณภาพมังคุดจึงเป็นเครื่องมือทางการค้า ราคาที่แตกต่างระหว่างเกรดคุณภาพ ช่วยจูงใจทั้งชาวสวนและผู้ค้า ส่วนผู้บริโภคจะได้รับมังคุดคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด คุ้มกับราคาซื้อขาย ที่สูงขึ้นมาอีกนิด สรุปว่า เป็นความยุติธรรมในการเฉลี่ยผลประโยชน์ร่วมกัน สร้างความพึงพอใจให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ขอไปที่ขั้นตอน และวิธีการผลิตมังคุดคุณภาพ หรือมังคุดผิวมัน ซึ่งชาวสวนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยยอมรับ และไม่มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีผลงานวิจัยยืนยันว่าได้ผลจริง การปฏิบัติก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน และได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชาวสวนบ่อยครั้ง ขณะที่คุณภาพมังคุดส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านมาตรฐาน นั่นสะท้อนผลของการไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติของชาวสวน มังคุดส่วนใหญ่จึงยังคงมีผิวลาย ขายไม่ได้ราคา

สำหรับลักษณะของมังคุดผิวมันได้กำหนดไว้ ดังนี้ เป็นผลมังคุดที่มีผิวเปลือกสะอาด เป็นมัน อาจมีร่องรอยหรือตำหนิได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิวเปลือก เนื้อในคุณภาพดี-สีขาวสะอาด ไม่มียางไหล ไม่เป็นเนื้อแก้ว และเนื้อไม่ติดเปลือก

ส่วนมังคุดผิวลาย หมายถึง ผลมังคุดที่เปลือกนอกอาจมีร่องรอยการทำลายของโรค/แมลงศัตรู หรือจากเหตุอื่นๆ ทำให้มีตำหนิได้ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิวเปลือก เนื้อในมีคุณภาพเหมือนกับมังคุดผิวมัน

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่า ผู้บริโภคที่มีสตางค์ และลูกค้าต่างประเทศ เขาต้องการมังคุดคุณภาพ ผู้ซื้อจะดูจากลักษณะภายนอก ที่ดูดีไว้ก่อน มันเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพภายใน หากย้อนไปที่ภาษิตไทยบทหนึ่งที่ว่า "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" ก็คงจะถึงบางอ้อว่า การทำมังคุดผิวมัน เป็นกลยุทธ์หนึ่งทางการค้า ที่ต้องเริ่มต้นจากชาวสวน ต้องประณีตในการปฏิบัติในแปลง ให้ได้ผลมังคุดคุณภาพดี และต้องทำความสะอาดผล/คัดเกรด แยกผลผลิตมังคุดตามคุณภาพ ตามการสั่งซื้อของผู้ค้า ซึ่งเป็นวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ชัดเจน ราคารับซื้อจากผู้ค้าจะสูงขึ้นอย่างมาก ตรงนี้ครับ เป็นที่มาของการผลิตมังคุดผิวมัน ช่องทางแก้ปัญหาด้านราคาที่ยั่งยืน



มังคุดผิวมัน :
ขั้นตอน และวิธีการผลิต :
คุณสมชาย ได้อธิบายถึงวิธีการผลิตมังคุดผิวมันไว้ว่า มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องฟื้นฟูต้นมังคุดให้สมบูรณ์ ปกติฤดูการเก็บเกี่ยวมังคุดจะเริ่มราวๆ กลางเดือนเมษายน ไปหมดที่กลางเดือนมิถุนายน ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลมังคุดแล้ว จะต้องตัดแต่งกิ่งมังคุด กำจัดวัชพืช ให้น้ำและใส่ปุ๋ย ให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม โดยเริ่มจากการปฏิบัติ ดังนี้

1.1 ตัดแต่งกิ่งมังคุด ตัดตรงส่วนปลายกิ่ง และขอบทรงพุ่ม ที่ปลายกิ่งทับซ้อนและสะกัน กิ่งแห้ง กิ่งหัก กิ่งที่เสียหายจากการทำลายของโรค-แมลงศัตรู และกิ่งที่แตกเกะกะภายในทรงพุ่มทำให้แน่นทึบ ทั้งนี้ เพื่อให้โปร่ง แสงแดดส่องผ่านเข้าในทรงพุ่มได้ทั่วถึง ส่วนต้นที่สูงเกินไปจะตัดส่วนยอดทิ้งบางส่วน

1.2 กำจัดวัชพืช จะการใช้เครื่องมือตัดแทนการใช้สารกำจัดวัชพืช แล้วนำเศษวัชพืชทั้งหมดไปคลุมบริเวณโคนต้นมังคุด เพื่อช่วยป้องกันและเก็บความชื้นในดิน และเมื่อสลายตัวแล้วจะเป็นปุ๋ยให้ต้นมังคุด การปฏิบัติตรงนี้เป็นการเร่งให้มังคุดแตกใบอ่อนได้เร็วยิ่งขึ้น

1.3 ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น หลังจากการตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืชแล้ว ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมังคุดทันที เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นให้สมบูรณ์ โดยใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในอัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น หรือ 2-3 กิโลกรัม ต่อต้น พิจารณาจากขนาดของต้นมังคุดว่าเล็กหรือใหญ่ หว่านปุ๋ยบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว เสริมด้วยการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ทุกๆ 10-15 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง โดยการผสมและปล่อยไปพร้อมๆ กับการให้น้ำตามระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกลอร์)

1.4 บังคับให้แตกใบอ่อน พอถึงต้นเดือนสิงหาคม เร่งหรือบังคับให้ต้นมังคุดแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยการฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย อัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม เพื่อต้นมังคุดจะแตกใบอ่อนพร้อมกัน ประมาณปลายเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนกันยายน เมื่อมังคุดแตกใบอ่อนแล้ว จะต้องดูแลใบอ่อนให้ดี โดยการฉีดปุ๋ยชีวภาพเพื่อเสริมธาตุอาหารทางใบ ให้น้ำสม่ำเสมอ พร้อมฉีดพ่นสารสกัดจากพืชสมุนไพร สูตรไล่แมลง ทุก 10-15 วัน

ระยะนี้ ใบอ่อนจะมีการพัฒนาเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ จึงต้องสำรวจแมลงศัตรูทุก 7 วัน เพื่อตรวจดูเพลี้ยไฟและหนอนกินใบอ่อน หากพบหนอนกินใบอ่อนระบาดมาก ประมาณ 20% ของจำนวนยอดทั้งหมดในต้น จะพ่นสารเคมีพวกไซเปอร์เมทริน 35% อัตรา 50 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร และหากพบเพลี้ยไฟ มากกว่า 1 ตัว ต่อยอด จะฉีดพ่นสารเคมีอิมิดาโคลพริด 10% อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง เพื่อกำจัดให้ทันการณ์ ช่วงนี้เป็นระยะการพัฒนาของใบอ่อน และตายอดมังคุด ไปเป็นใบแก่ที่พร้อมจะออกดอก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 9-12 สัปดาห์ คือตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม-กันยายน-ตุลาคม ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูหนาวนั่นเอง

2. การเตรียมต้นมังคุดก่อนการออกดอก หลังการตัดแต่งกิ่ง มังคุดจะแตกใบอ่อนภายใน 10-15 วัน และเริ่มพัฒนาเป็นใบแก่ ดังนั้น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม ช่วงนี้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ เน้น ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ใส่สูตร 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านใต้ทรงพุ่ม และให้น้ำทุก 10-15 วัน พอถึงเดือนตุลาคมหยุดให้น้ำ ปล่อยให้มังคุดเครียด หยุดให้น้ำติดต่อกันนานสัก 3 สัปดาห์ สังเกตดูที่ปล้องสุดท้ายของปลายกิ่งมังคุด ที่แสดงอาการเหี่ยวอย่างชัดเจน ใบคู่สุดท้ายมีอาการใบตก (เหี่ยว) จึงเริ่มให้น้ำต่อไป โดยครั้งแรกให้น้ำตามปริมาณปกติที่เคยให้ ส่วนครั้งที่สองจะให้น้ำในปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของครั้งแรก แล้วก็ให้แบบโชยๆ อย่างต่อเนื่อง จนประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนมังคุดจะเริ่มออกดอก จึงให้น้ำในปริมาณที่ให้แบปกติ ร่วมกับการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ เทคนิคการปฏิบัติแบบนี้ทำให้มังคุดออกดอกในระดับ 50-60% ของยอดทั้งหมด จนถึงระยะผลอ่อน ซึ่งเป็นปริมาณผลมังคุดที่พอดี ผลมังคุดจะโตสม่ำเสมอ เนื้อมาก รสชาติหวาน และผลได้ขนาดมาตรฐานของผู้ซื้อ

3. การปฏิบัติระยะมังคุดออกดอกถึงติดผลอ่อน ต้นมังคุดที่สมบูรณ์ดี จะเริ่มออกดอกประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจากระยะออกดอกถึงผลอ่อน เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการผลิตมังคุดผิวมัน เพราะช่วงนี้มักจะมีเพลี้ยไฟเข้าทำลายผลอ่อน ทำให้ผลมังคุดมีผิวลาย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องเข้าแปลงสำรวจและควบคุมให้ได้

3.1 สำรวจและควบคุมเพลี้ยไฟ โดยเคาะดอกมังคุดลงบนแผ่นกระดาษสีขาว หากพบว่า มีเพลี้ยไฟมากกว่า 1 ตัว ต่อดอกหรือผลอ่อน ให้ฉีดพ่นสารอิมิดาโคลพริด 10% อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นสัก 4-5 ครั้ง จนถึงระยะดอกบานประมาณ 4 สัปดาห์ ช่วงนี้ยังต้องให้น้ำตามปกติ เพื่อผลมังคุดจะไม่ขาดน้ำ เนื้อจะแน่นและน้ำหนักจะดีมาก

3.2 ใส่ปุ๋ยบำรุงผลมังคุด ใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น และฉีดเพาเวอร์แพลนต์ อัตรา 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร เพื่อเป็นอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงผลมังคุดให้มีการสะสมความหวาน ช่วยให้ผลโต กลีบเลี้ยงมีสีเขียว และให้น้ำอย่างต่อเนื่อง

3.3 การปฏิบัติด้านการใช้สารเคมี หยุดการใช้สารเคมีทุกอย่าง ก่อนการเก็บเกี่ยวผลมังคุด อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ผลมังคุดปลอดสารตกค้าง และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

4. การเก็บเกี่ยวและคัดคุณภาพผลผลิตมังคุด การเก็บเกี่ยวผลผลิตมังคุด จะเริ่มเก็บในระยะที่ผิวเปลือกเป็นระยะสายเลือด คือมีจุดประสีชมพู สีแดง หรือผิวเป็นสีชมพู โดยสอยด้วยตะกร้อผ้า เพื่อป้องกันผลมังคุดตกลงพื้นดิน ผลมังคุดที่เก็บลงมา จะถูกคัดคุณภาพตั้งแต่ที่สวน โดยแยกมังคุด ผลแตก ผลร้าว มังคุดตกดินออกต่างหาก ส่วนผลที่ดีนำใส่ตะกร้าพลาสติก แล้วขนย้ายไปที่โรงคัดคุณภาพ เพื่อคัดเกรด และทำความสะอาดผิวเปลือก โดยขูดยางตามผิวเปลือกออกให้สะอาด มีการแบ่งเกรดมังคุดเป็น 4 เกรด คือ

1. ผิวมันใหญ่ น้ำหนัก 90 กรัม ขึ้นไป
2. ผิวมันเล็ก ขนาดน้ำหนัก 70-89 กรัม
3. ผิวมันจิ๋ว ขนาดน้ำหนัก 60-69 กรัม และ
4. มังคุดตกเกรด มีผิวลาย ผลดำ และผลเล็กสุด

จากการปฏิบัติด้วยหลักวิชาการภายใต้ ระบบ จีเอพี และปรับใช้กับประสบการณ์ ทำให้ได้มังคุดผิวมัน ถึง 80% ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ ส่งผลต่อราคารับซื้อของผู้ค้าที่ให้ราคาสูง ไม่มีปัญหาด้านตลาดในประเทศและการส่งออก


มังคุดคุณภาพดี :
มีตลาดรองรับ :
จากความสำเร็จในการผลิตมังคุดผิวมัน ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด มีผู้ส่งออกติดต่อขอซื้อผลผลิตคุณภาพทั้งหมด ส่งขายประเทศจีน และบางส่วนได้มีผู้ค้าจากกรุงเทพฯ มารับไป ขณะที่ คุณสมชาย ได้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตมังคุด ไปออกร้านจำหน่ายตามงานต่างๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตมังคุดคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูล และมีโอกาสได้ซื้อผลผลิตคุณภาพไปรับประทาน นอกจากนี้ ยังจัดผลผลิตส่วนหนึ่งส่งห้างสรรพสินค้าใหญ่หลายแห่ง สำหรับการขายส่งมังคุดผิวมันทุกเกรด ราคาเฉลี่ยที่สวน ปี 2555 อยู่ที่ 25 บาท ต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาขายของชาวสวนทั่วไป ราคาระหว่าง 8-12 บาท ต่อกิโลกรัม เมื่อหักต้นทุนแล้ว คุณสมชายมีกำไรจากการผลิตมังคุดผิวมันเป็นเงิน 14,267 บาท ต่อไร่ นับว่าเป็นชาวสวนมังคุดที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งที่เป็นแบบอย่างที่ดี

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสายตรง ที่ คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ โทร. (081) 377-9536 หรือ (038) 657-178



คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ
สำหรับข้อมูลส่วนตัวของ คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ นั้น เขาเป็นชาวระยองโดยกำเนิด เกิดที่ ตำบลชากโดน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ปัจจุบัน อายุ 51 ปี เป็นนักต่อสู้ด้านอาชีพทำสวนมาตลอด เป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นมาก ได้รับเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ในปี 2549 ล่าสุดคณะกรรมการจากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จังหวัดระยอง ได้คัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น ระดับเขต สาขาอาชีพการทำสวน ปี 2555 เข้าแข่งขันระดับประเทศต่อไป


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05038010356&srcday=2013-03-01&search=no
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/03/2013 3:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,880. น้ำปัสสาวะ คือ ปุ๋ยชั้นดี


ผมได้อ่านจากหนังสือเกษตรกรรมธรรมชาติ เขียนโดย คร.อานัฐ ตันโช ผมทำความเข้าใจ แล้วสรุปเขียนมาอีกทีเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าปัสสาวะคนปรกติไม่มีเชื้อโรคสามารถดื่มได้ พุทธเจ้าท่านสอนมานานแล้วว่าเป็นยานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเริ่มเข้าใจสิ่งต่างๆที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ เช่น สิ่งเล็กๆๆ, นอนตระแคงขวา, น้ำปัสสาวะ อีกไม่นานน่าจะมีเรื่อง เดินจงกรม (ผมคิดว่าดีที่สุดของการออกกำลังกาย), เรื่องผีเปรตว่ามีจริง, นรกสวรรค์มีจริง, การฝึกจิตทำได้จริง น้ำปัสสาวะมีธาตุอาหารมากมายที่มีประโยชน์ต่อพืช โดยเฉพาะ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส

คนเราจะถ่ายปัสสาวะวันละ 1-1.5 ลิตรต่อวัน ตารางองค์ประกอบของน้ำปัสสาวะของผู้ใหญ่ 1 คนต่อวัน

ยูเรีย (ไนโตรเจน) 6-180 กรัม
ครีเอไทน์ (ไนโตรเจน) 0.3-0.8 กรัม

แอมโมเนีย (ไนโตรเจน) 0.4-1.0 กรัม
กรดยูลิค (ไนโตรเจน) 0.008-0.2 กรัม

โซเดียม 2.0-4.0 กรัม
โปแตสเซียม 1.5-2.0 กรัม

แคลเซียม 0.1- 0.3 กรัม
แมกนีเซียม 0.1-0.2 กรัม

คลอไรด์ 4.0-8.0 กรัม
ฟอสเฟต (ฟอสฟอรัส) 0.7-1.6 กรัม

อนินทรีย์ ซัลเฟต (ซัลเฟอร์) 0.6-1.8 กรัม
อินทรีย์ ซัลเฟต (ซัลเฟอร์) 0.006-0.2 กรัม

ธาตุอาหารเหล่านี้สามารถนำไปปลูกพืชผักโดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย


สรุปว่า น้ำปัสสาวะที่มนุษย์ขับถ่ายและทิ้งในแต่ละวันสามารถตอบสนองต่อความต้องการปุ๋ยในการปลูกพืชของโลกทั้งหมดโดยธรรมชาติ
- สัตว์กินเนื้อทั้งหลาย ปัสสาวะ เป็นกรดอ่อนๆเลย
- สัตว์กินพืช ทั้งหลาย ปัสสาวะเป็นด่างเลย

- ปัสสาวะของคนเวลาถ่ายใหม่ๆมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆก่อน แต่พอทิ้งสักพักจะกลายเป็นด่างเพราะแบคทีเรีย ซึ่งเป็นข้อดี เพราะยูเรียกลายเป็นแอมโมเนียจะอยู่ในรูปพร้อมใช้ได้กับพืช แต่ข้อเสียมีกลิ่นฉึ่งๆ

โดยปรกติสัตว์ถ่ายลงดิน,ลงน้ำ,บนใบไม้กิ่งไม้แห้ง เป็นการเจือจางก่อนที่พืชจะนำไปใช้ ถ้ารดต้นไม้สดๆพืชอาจตายได้เพราะความเข้มข้นสูง นึกภาพควายเวลายืนปัสสาวะ (นานมากยังไม่มีใครจับเวลาแล้วเหม็นมากแสดงว่ามีไนโตรเจนสูง) ลงบนฟางในนาข้าวคงให้ปุ๋ยยูเรียแก่ดินเพื่อต้นข้าวต่อไปนอกจากมูลของมันปัสสาวะจะเป็นสารประกอบไนโตรเจน เป็น ยูเรีย, ครีเอไทน์, แอมโมเนีย และกรดยูริค ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในดินเข้ามากินแล้วเปลี่ยนสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบที่พืชต้องการใช้เป็นอาหารได้


แต่ข้อเสียมีกลิ่นฉึ่งๆ โดยปรกติสัตว์ถ่ายลงดิน,ลงน้ำ,บนใบไม้กิ่งไม้แห้ง เป็นการ เจือจางก่อนที่พืชจะนำไปใช้ ถ้ารดต้นไม้สดๆพืชอาจตายได้ เพราะความเข้มข้นสูงนึกภาพควายเวลายืนปัสสาวะ (นานมากยังไม่มีใครจับเวลาแล้วเหม็นมากแสดงว่ามีไนโตรเจนสูง) ลงบนฟางในนาข้าวคงให้ปุ๋ยยูเรียแก่ดินเพื่อต้นข้าวต่อไปนอกจากมูลของมัน ปัสสาวะจะเป็นสารประกอบไนโตรเจน เป็น ยูเรีย, ครีเอไทน์, แอมโมเนีย และกรดยูริค ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในดินเข้ามากินแล้วเปลี่ยนสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบที่พืชต้องการใช้เป็นอาหารได้เราเรียกว่า “วงจรไนโตรเจน” (NITROGEN CYCLE)

จุลินทรีย์ในดินมีมากแต่ที่พบมี แบคทีเรีย 2 ตัว คือ
-ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobacter)
-ไนโตรโซโมนาส (Nitrosomonas)

ปรกติ ปัสสาวะ จะมีไนโตรเจน ในรูป ยูเรีย แล้วเปลี่ยนเป็น แอมโมเนีย (NH3) อย่างรวดเร็วในสภาพดินที่มีอากาศเกิดกระบวนการณ์ออกซิไดซ์ เรียกว่า “NITRIFICATION” คือ

ยูเรียและแอมโมเนีย----------->ไนไตรท์ (NO2) โดย ไนโตรโซโมนาส
ไนไตรท์ (NO2)-------------> สารประกอบไนเตรท (NO3) โดย ไนโตรแบคเตอร

ซึ่งสารประกอบอนินทรีย์ไนเตรทจะเป็นอาหารของพืชจะถูกสังเคราะห์โดยขบวนการสังเคราะห์แสงเป็นสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น กรดอะมิโน และโปรตีน ของพืชต่อไป

เมื่อพืชถูกกินจากสัตว์ก็นำกรดอะนิโมไปสร้างโปรตีนของสัตว์ ต่อไปส่วนที่ไม่ได้ใช้จะถูกขับถ่ายออกมา

แต่การที่แบคทีเรียนำยูเรียและแอมโมเนีย มาเป็นอาหารเพื่อเพิ่มจำนวนนั้นต้องอาศัยธาตุคาร์บอนด้วย เพื่อสร้างผนังเซลล์และเอนไซม์

ถ้าคาร์บอนไม่พอจะทำให้ยูเรียและแอมโมเนียเหลือ ซึ่งสัดส่วน คือ คาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือ C :N = 25 : 1 แต่ในปัสสาวะมี คาร์บอนต่อไนโตรเจน หรือ C : N = 0.8 : 1 แหล่งคาร์บอนที่สำคัญ คือ ใบไม้แห้ง ,กิ่งไม้

นี่คือการรังสรรค์จากธรรมชาติเพื่อย่อยใบไม้กิ่งไม้ให้เข้าระบบธรรมชาติที่มิให้ศูนย์เปล่าทุกอย่างมีค่าทั้งหมด การนำปัสสาวะมาใช้ประโยชน์เราเติมคาร์บอนไปด้วยให้ได้ 25 : 1 อาจใช้ใบไม้แห้ง, ขี่เลื่อย, เศษกระดาษและน้ำตาล

น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอนมาก ใช้อัตรส่วน น้ำตาลทราย 1/3 ถ้วยต่อน้ำปัสสาวะ 1-1.5 ลิตร หมักในที่มีอากาศก็จะได้ไนเตรทที่เป็นประโยชน์กับพืช


วิธีการใช้น้ำปัสสาวะมาเป็นปุ๋ย
1. เจือจางด้วยน้ำใช้รดพืช
นำน้ำปัสสาวะ 1 ส่วน ต่อน้ำ 8 ส่วนแล้วรดลงบนดิน รอบๆพุ่มไม้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
ถ้าหากจะรดปัสสาวะ 100% เลยผิวดินควรมีเศษไม้ใบไม้หนาอย่างน้อย 3 นิ้ว

2. ผสมกับน้ำทิ้งในครัวเรือน
น้ำทิ้งจากครัวเรือน น้ำอาบจากสบู่แชมพู, น้ำล้างจาน, น้ำซักผ้า จะมีคาร์บอนสูงส่งไปตามท่อที่มีการเติมอากาศไปยังแปลงผัก จุลินทรีย์ในดินจะเปลี่ยนน้ำปัสสาวะ>>
ไปเป็นอาหารพืชได้

3. หมักน้ำปัสสาวะ
น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอนมาก. ในปริมาณน้อยๆ ใช้น้ำปัสสาวะ 1 ลิตรผสมน้ำตาล 1/3 ถ้วย ใส่ในท่อหรือภาชนะทรงสูงประมาณ 10 นิ้ว แล้วเติมถ่าน, ขี้เลื่อย เศษกระดาษ หรือทรายหยาบ หมัก เมื่อนำไปใช้เจือจางด้วยน้ำ ไปรดต้นไม้

4. นำน้ำปัสสาวะเทใส่ถังหมักปุ๋ยที่ใช้พวกเศษไม้กิ่งผลต่างๆ จะช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านี้ให้เป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น การใช้น้ำปัสสาวะให้ปลอดภัยต้องได้จากคนไม่เป็นโรค ถ้าให้ดีเก็บไว้นาน 6 เดือนก่อนนำไปใช้รดลงดิน จุลินทรีย์ในดินจะทำลายเชื้อโรค



ข้อมูลการทดลองใช้ต่างๆจากต่างประเทศ :
* การวิจัยจากสถาบันวิจัยต่างๆ ในหลายประเทศยืนยันว่าปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยปลูกพืชเป็นอาหารคนได้
* ในสวีเดน การประปานำมาปลูกธัญพืช
* เม็กซิโก รวบรวมจากหลายสถานที่ใส่เก็บไว้หลายสัปดาห์ นำไปปลูกข้าวโพด, ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต ได้ผลดี
* องค์การนาซ่า ปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิค ได้ผลดีเยี่ยม
* มหาวิทยาลัยสวีเดนรายงานว่า น้ำปัสสาวะผู้ใหญ่ 1 คน สามารถเป็นปุ๋ยเพียงพอต่อการปลูกพืชผักเลี้ยงตัวเองได้ 50-100% เลยทีเดียว

ที่มา: http://board.palungjit.com
ผู้เขียน อมเรศ


http://www.karnkaset.com/index.php?p=1&s=1&m=7&i=52
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2013 2:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,881. การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักใช้เอง


เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการปลูกผัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการปลูกผักปลอดสารพิษ เมล็ดพันธุ์ทั่วไปที่ซื้อจากท้องตลาดนั้น จะเป็นพันธุ์ซึ่งมีการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อปุ๋ยและสารเคมีโดยเฉพาะ หากนำมาปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีจะทำให้ได้ผลผลิตไม่เป็นที่น่าพอใจนัก เกษตรกรหรือผู้ปลูกผักจึงควรหันมาเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังทำให้ได้พันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองได้ และนำไปสู่ความยั่งยืนของผู้ปลูกได้





- เลือกต้นพันธุ์ที่แข้งแรงสมบูรณ์โตเร็ว ต้านทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตดี รสชาติดี



ขั้นตอนการเก็บเมล็ดพันธุ์ :


1. การคัดเลือกต้นพืช
- ทำเครื่องหมายไว้ที่ต้น เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการเก็บเกี่ยว
- เก็บเกี่ยวเมื่ออายุพืชแก่พอดี ไม่ทิ้งไว้ในแปลงนานเกินไป

2. การเก็บกี่ยว พืชแต่ละชนิดมีวิธีการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน มีข้อแนะนำในการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ผักบางชนิด ดังนี้


ถั่วต่างๆ
1. เก็บฝักที่แห้ง มีสีน้ำตาล เก็บในตอนเช้า
2. ใส่กระสอบตากแดด
3. ใช้ไม้ทุบพอเปลือกแตกในตอนบ่าย
4. ฝัดเอาเศษเปลือกออก
5. เลือกเอาเมล็ดที่สมบูรณ์
6. ล้างเอาเมล็ดที่จมอยู่ด้านล่าง






มะเขือเทศ
1. เลือกเก็บผลที่มีสีแดงเข้ม
2. ใส่ถังพลาสติกบ่มไว้ในร่ม 3 - 5 วัน
3. ผ่าผลตามขวาง
4. ตักเมล็ดออกใส่ภาชนะพลาสติก
5. หมักไว้ 1 คืน
6. ตากแดด 2 - 3 แดด
7. นำไปตากแดด 2 - 3 แดด

มะเขือ
1. เก็บผลสุกสีน้ำตาล
2. บ่มมะเขือไว้ในร่ม 3 วัน เพื่อให้สุก
3. หั่นส่วนปลายออก ทุบให้เมล็ดแตก
4. หมักไว้ 1 คืน
5. ล้างเอาเมล็ดที่จมอยู่ด้านล่าง นำไปตากแดด 2 - 3 แดด

ตระกูลกะหล่ำ
1. เลือกต้นที่ฝักสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำ
2. ตัดทั้งต้น มัดรวมกัน 2 - 3 ต้นต่อมัด
3. แขวนตากแดด 7 - 10 วันควรมีพลาสติกปูด้านล่างกันเมล็ดร่วง
4. ใช้ไม้ทุบเบาๆ แกะเอาเมล็ด





พริก
1. เก็บผลที่แก่สีแดงจัดเก็บทั้งขั้ว
2. บ่มไว้ในร่ม 3 - 5 วัน
3. ผ่าเปลือกตามยาว ดึงเอาไส้พริกออก
4. แกะเอาเฉพาะเมล็ดในไปตากแดด 3 - 4 แดด

แตงกวา
1. เก็บผลที่มีขนาดใหญ่และมีสีเหลือง
2. ผ่าผลตามยาว ใช้ช้อนตักเมล็ด
3. หมักเมล็ดไว้ 1 คืน
4. ล้างเมล็ดให้สะอาด นำไปตากแดด 2 - 3 แดด

กระเจี๊ยบเขียว
1. เลือกฝักที่มีสีน้ำตาล จวนปริแตก
2. ใส่ถุงตาข่ายตากแดด ฝักจะปริแตก
3. แกะเอาเมล็ดที่สมบูรณ์

ฟักแฟง น้ำเต้า ฟักทอง
1. เก็บผลที่มีขนาดใหญ่ ผลแก่จัด
2. ผ่าเอาเมล็ดออกจากเนื้อ
3. ล้างให้สะอาด
4. ผึ่งลมให้แห้ง


3. การตากเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์พืชเป็นสิ่งที่มีชีวิต มีการหายใจทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เมล็ดที่มีความชื้นมากก็จะหายใจมาก ทำให้เมล็ดเปียกชื้น มีราขึ้น อ่อนแอต่อโรคและแมลง การทำให้เมล็ดแห้งก่อนการเก็บรักษา จึงมีความจำเป็น แต่ก็ไม่ควรแห้งเกินไป ซึ่งวิธีการตากเมล็ดพันธุ์สามารถทำได้ ดังนี้
3.1. ปูกระดาษหรือแผ่นพลาสติก ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องตลอดทั้งวัน
3.2. เขี่ยเมล็ดที่เปียกชื้นให้กระจาย
3.3. ควรเขี่ยเมล็ดพันธุ์กลับไปมา วันละ 3 - 5 ครั้ง
3.4. ในตอนเย็น ควรเก็บเข้าที่ร่มเพื่อป้องกันการเปียกชื้นจากน้ำค้าง


4. การป้องกันเมล็ดจากการทำลายของแมลง
ในระหว่างการเก็บเมล็ดพันธุ์เกษตรกรหรือผู้ปลูกผัก มักพบว่า แมลงทำลายเมล็ดโดยเฉพาะด้วงเจาะเมล็ด ซึ่งมีวิธีการป้องกันได้ ดังนี้

ปูนขาว
1. ใช้ปูนขาว 50 กรัม หรือ 15 ช้อนชา
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
3. คลุกเคล้าปูนขาวและเมล็ดพันธุ์ให้เข้ากัน

ขี้เถ้าแห้งจากไม้
1. ใช้ขี้เถ้าที่เพิ่งออกจากเตา ปล่อยทิ้งให้เย็น 0.5 กิโลกรัม
2. บรรจุขี้เถ้าในภาชนะ เช่น ขวด
3. ใส่เมล็ดพันธุ์พืช 1 กิโลกรัม
4. คลุกเคล้าเมล็ดกับขี้เถ้าให้เข้ากัน
5. โรยขี้เถ้าปิดทับอีกที แล้วปิดฝาขวด

น้ำมันพืช
1. ใช้น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
2. เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
3. คลุกเคล้าจนเมล็ดใส


5. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เพื่อใช้ปลูกในช่วงฤดูต่อไปนั้น เป็นการเก็บในช่วงสั้นๆ ซึ่งทำได้ดังนี้

เก็บในขวด
1. บรรจุเมล็ดพันธุ์ในซองกระดาษ แล้วปิดซองให้เรียบร้อย2. เขียนชื่อพืช วันที่เก็บ สถานที่เก็บ และลักษณะประจำพันธุ์
3. ใส่วัสดุดูดความชื้น เช่น ข้าวคั่ว ขี้เถ้า หรือถ่านในขวดประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของขวด
4. นำลงเก็บในขวดแล้วปิดฝา
5. นำขวดไปเก็บในร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดและความชื้น

เก็บในตู้เย็น
1. ภาชนะที่ใช้เก็บต้องปิดสนิท เช่น กระป๋อง ถุงซิปพลาสติก
2. ใส่เมล็ดพันธุ์ที่แห้งลงภาชนะปิดให้สนิท
3. เขียนชื่อพืช วันที่เก็บ สถานที่เก็บ ลักษณะประจำพันธุ์

เก็บในถุงผ้าหรือถุงตาข่าย
1. บรรจุเมล็ดที่แห้งในถุงผ้าหรือถุงตาข่าย
2. เขียนชื่อพืช วันที่เก็บ สถานที่เก็บ และลักษณะประจำพันธุ์
3. นำไปแขวนในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก หรือแขวนในห้องครัวให้ควันไฟช่วยไล่แมลง
4. ถ้าอากาศชื้นมาก เช่นในฤดูฝนควรนำออกมาผึ่งแดดบ้าง





6. การทดสอบประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์พืช
เกษตรกรหรือผู้ปลูกผักสามารถทดสอบเพื่อดูว่าเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้นั้นยังมี ชีวิตอยู่หรือไม่ สามารถงอกและเติบโตเป็นต้นพืชหรือไม่ มีวิธีการทดสอบง่ายๆ ดังนี้

1. การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำ
- นำภาชนะเช่นถัง หรือกาละมังไปใส่น้ำ
- เมล็ดที่เสียจะลอยขึ้น เมล็ดที่ดีจะจมอยู่ด้านล่าง

2. การทดสอบเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด
การทดสอบความงอกของเมล็ดที่มีขนาดเล็ก เช่น งา หรือ พืชตระกูลกระหล่ำ
1. วางกระดาษทิชชูหรือสำลีบนจาน
2. พรมน้ำให้ชุ่ม
3. สุ่มหยิบเมล็ดพืชวางเป็นแถว
4. นำกระดาษทิชชูหรือสำลีวางทับด้านบนอีกครั้ง

3. การทดสอบความงอกของเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ เช่น ถั่ว บวบ ข้าวโพด
1. นำทรายหรือดินเพาะใส่ภาชนะ เช่น ตะกร้า กาละมัง กะบะ
2. รดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม
3. สุ่มหยิบเมล็ดพันธุ์ใส่ลงไป หากผลปรากฎว่ามีเมล็ดลอยมากแสดงว่าเมล็ดที่เราเก็บไว้นั้น มีการตายมาก มีเปอร์เซนต์ความงอกต่ำ
4. พรมน้ำอีกรอบ
5. เก็บไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก
6. หมั่นพรมน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา แต่ระวังอย่าให้แฉะเกินไป
7. 3-5 วัน เมล็ดที่มีชีวิตจะงอกออกมา


http://www.korsorlampang.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=115
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2013 2:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,882. งาแดง พันธ์ใหม่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง



"งา"เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริม ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกงาปีละประมาณ 4.2 แสนไร่ มีทั้ง งาขาว งาแดง และ งาดำ ได้ผลผลิตรวมประมาณ 5 หมื่นตัน โดยเฉพาะงาแดงมีการปลูกค่อนข้างมาก เนื่องจากมีความทนทานต่อความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศดีกว่างาชนิดอื่น ทั้งยังให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงเป็นลักษณะพันธุ์ที่เกษตรกรต้องการใช้มาก ปัจจุบันนักวิจัย กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์ ’งาแดงพันธุ์ใหม่” ประสบผลสำเร็จอีกหนึ่งพันธุ์ มี ความโดดเด่น ทางด้าน การให้ผลผลิต ที่สำคัญยัง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง (antioxidants) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่จะนำไปปลูกเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

เมล็ดงามีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีน ประมาณ 21-27% ทั้งยังมีน้ำมันที่มีคุณภาพดีและมีธาตุอาหารเกือบครบถ้วน อาทิ ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมงกานีส และแมกนีเซียม นอกจากนี้ยังมี สารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำงาไปใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและใช้ในการป้องกันและรักษาโรค โดยมีรายงานวิจัยระบุว่า การบริโภคเมล็ดและน้ำมันงาจะช่วยชะลอความแก่ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยลดอัตราการเต้นและบีบตัวของหัวใจ ทั้งยังช่วยลดปฏิกิริยาทางเคมีที่จะชักนำให้เกิดโรคมะเร็งและลดการเสื่อมสภาพของสมองด้วย

งาแดงเป็นงาที่ถูกนำไปใช้ในอุตสาห กรรมน้ำมันค่อนข้างมาก โดยผ่านกระบวนการเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออกทำเป็นงาขัด เพื่อให้เมล็ดเป็นสีขาวทดแทนงาขาวที่มีผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งถือเป็นพืชที่มีศักยภาพด้านการตลาด ปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35-40 บาท เพิ่มจากปี 2554 ที่มีราคากิโลกรัมละ 20 บาท

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ได้ปรับปรุงพันธุ์งาแดงพันธุ์ใหม่สำเร็จเพิ่มอีกหนึ่งพันธุ์ คือ พันธุ์ A30-15 ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช พิจารณาประกาศเป็น พันธุ์แนะนำ ของกรมวิชาการเกษตร ชื่อ ’งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2” (Ubon Ratchathani 84-2) เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา

งาแดงพันธุ์ใหม่นี้ได้จากการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของ สายพันธุ์ 30-15 ซึ่งรับมาจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือเอฟเอโอ (FAO) เมื่อปี 2528 โดยศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีได้ปลูกคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ช่วงระหว่างปี 2532-2534 จากนั้นทำการปลูกเปรียบเทียบเบื้องต้น 1 แปลง แล้วปลูกเปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 3 แปลง ปลูกเปรียบเทียบในท้องถิ่น 23 แปลง และปลูกทดสอบในไร่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พิษณุโลก และสุโขทัย ศรีสะเกษ ลพบุรี เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ รวม 13 แปลงด้วย

งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 มีลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 134 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ประมาณ 6% และให้ผลผลิตในเขตปลูกงาจังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ เฉลี่ย 142 กิโลกรัมต่อไร่

นอกจากนั้นยังมีปริมาณ สารต้านอนุมูลอิสระ จำนวน 10,451 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ประมาณ 15% ซึ่งงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 สามารถใช้ปลูกได้ทั่วไปในสภาพการผลิตงาในประเทศไทย โดยเฉพาะแหล่งปลูกงา ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี จะให้ผลผลิตสูง

ที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำแปลงสาธิตงาแดงสายพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี พร้อมจัดฝึกอบรมการปลูกงาที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการแปรรูปงาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 128 ราย พบว่า เกษตรกรทั้งหมดให้การยอมรับในงาสายพันธุ์นี้ เนื่องจากให้ผลผลิตสูง มีจำนวนฝักต่อต้นมาก ลำต้นแข็งแรง มีข้อถี่ แตกกิ่งต่ำ และแตกกิ่งมาก ลักษณะการติดฝักต่ำ เมล็ดโต มีสีเมล็ดแดงสม่ำเสมอ และไม่ค่อยมีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีมีเมล็ดพันธุ์งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 เป็นเมล็ด พันธุ์คัด 100 กิโลกรัม และผลิตเมล็ด พันธุ์หลัก 500 กิโลกรัม สามารถผลิตเป็นเมล็ด พันธุ์ขยาย ได้ประมาณ 5,000 กิโลกรัม เตรียมพร้อมรองรับความต้องการของเกษตรกรที่สนใจได้

อย่างไรก็ตาม หากสนใจเกี่ยวกับงาแดงพันธุ์ใหม่ “พันธุ์อุบลราชธานี 84-2” สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0-4520-2187-8.


http://www.korsorlampang.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=115
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2013 3:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,883. วิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยีมหาสารคาม ปลูกสตรอเบอรี่









ปลูกในรางไม้ไผ่....


วันนี้ ( 15 ม.ค.) ที่แปลงสตรอเบอรี่จำนวนกว่า 3,000 ต้นในพื้นที่ที่เกือบ 1 ไร่ของนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ซึ่งนักศึกษารวมกลุ่มกันปลูกไร่สตรอเบอรี่ ถึงแม้ว่าสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยแหมือนภาคเหนือ ประกอบกับจังหวัดมหาสารคามซึ่งไม่มีภูเขา และประสบกับปัญหาภัยแล้งซึ่งมีแม่น้ำชีที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเกษตรกร ซึ่งนักศึกษาเองก็ไม่ย้อท้อ โดยการนำวิชาความรู้ที่ตนเองไปศึกษามาจากประเทศอิสราเอล ที่ทางวิทาลัยเทคโนโลยีส่งไปแล้วกลับมาต่อยอดผลงานนำผสมผสานระหว่างเกษตรทำตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึงได้นำเมล็ดพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์ พระราชทาน 80 มาจาก มาจากจังหวัดเชียงใหม่


ซึ่งนักศึกษาได้เพาะต้นกล้าในถุงที่ใส่ปุ๋ยใช้แล้วเมื่อต้นเริ่มเติบ จึงนำมาใสภาชนะที่ใช้ปลูก นำอิฐ วางเรียงแนวนอนทางตรงเพื่อเป็นที่รองก้นตะกร้าและกั้น การปลูกสตรอเบอรี่แบบใส่ในตะกร้า เป็นวิธีการใหม่ๆเนื่องจาก ตะกร้าจะระบายน้ำได้ดี ง่ายต่อการขนย้ายและการกำจัดวัชพืช ส่วนอีกแบบปลูกในรางไม้ไผ่ การปลูกในรางไม้ไผ่จะช่วยลดต้นทุน ระบายน้ำได้ดีและง่ายต่อการวางระบบการไห้น้ำ และการรดน้ำโดยใช้ระบบน้ำหยด การการเก็บผลผลิต ต้องเก็บในตอนเช้าตรู่ถึงตอนสายที่มีแดดไม่แรงและอุณหภูมิสูงเกินไปโดยเก็บผลที่มีสีแดงเกิดขึ้น 60% -80% เพื่อให้ได้รสชาติหวานและมีกลิ่นหอมโดยใช้เล็บหัวแม่มือและนิ้วชี้เด็ดออกจากขั้วใส่ลงภาชนะที่สะอาดและป้องกันการเสียหายได้ เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ถูกแสงนานเกิน 10-15 นาที เนื่องจากสตรอเบอรี่มีอัตราการหายใจสูง เมื่อแสงแดดจะทำให้เน่าเร็ว


นายอภิรัตน์ ศรีนวลจัมปา นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดมหาสารคาม เล่าว่า ตนกับเพื่อนได้รวมกลุ่มกัน 7 คน ลงทุนเป็นจำนวนเงิน 40,000 หมื่นบาท โดยใช้ความรู้ที่ได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทอิสราแอล โดยใช้แนวทางพระราชดำมามาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จำทำให้ตนเองประสบผลสำเร็จสร้างรายได้ในระหว่างเรียน ซึ่งในการปลูกสตรอเบอรี่จะไห้ประสบผลสำเร็จได้นั้น เราต้องมีการจัดการที่ดีตั้งแต่การเตรียมดิน โดยมีวัสดุ คือ แกลบดำ ปุ๋ยคอก ดิน แกลบดิบ การให้น้ำ เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่มีรากตื้นอยู่ใกล้ผิวดิน จึงจำเป็นต้องระวังเรื่องการให้น้ำเป็นพิเศษในช่วงสองสัปดาห์ แรกหลังจากย้ายปลูกก่อนต้นตั้งตัว คือ เมื่อปลูกสตรอเบอรี่เสร็จแล้วควรให้น้ำทันทีทางระบบน้ำหยดทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 5-10 นาทีการตัดแต่งใบสตรอเบอรี่ในการตัดแต่งใบของสตรอเบอรี่วัตถุประสงค์เพื่อลดการเกิดโรค โดยมีการตัดแต่งเมื่อสตรอเบอรี่ย้ายปลูกได้ 15-20 วัน โดยการใช้นิ้วมือลิใบสตรอเบอรี่ออก ในส่วนใบที่แข็งหรือใบแก่จะถูกเด็ดออก ก็จะเหลือใบของสตรอเบอรี่ 2-3 ใบ เพื่อสตรอเบอรี่จะได้มีการแตกหน่อและใบใหม่


อาจารย์วีรินทร์ ฮันทะแขก อาจารย์ประจำสาขาพืชศาสตร์ วิทยาลัยแกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดมหาสารคาม เล่าว่า อันที่จริงแล้วทางวิทยาลัยเกษตรไม่เคยมีการปลูกสตรอเบอรี่มาก่อน แต่โดยการเรียนการสอนของเราก็คือ ให้นักศึกษาใช้โครงการเกษตรเป็นพื้นฐานของการเรียน อันดับแรก ใช้ข้าวโพดเป็นพืชตัวอย่างในการเรียนรู้ก่อน ทั้งเรื่องของการเตรียมแปลง เรื่องปุ๋ย ดิน โรค แมลง ตัวนักศึกษาเองได้ไปอยู่ประเทศอิสราเอลเป็นเวลา 10 เดือน เพื่อศึกษาการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก แต่มีคำถามกลับมาว่า จะปลูกข้าวโพดเพียงอย่างเดียวหรือ เลยตั้งโจทย์ให้นักศึกษาคิดตามว่า ถ้าอาจารย์เป็นชาวนา อาจารย์จะให้นักศึกษาปลูกพืช 15 อย่าง นั่นคือ ปลูกพืช 15 โครงการ ทางนักศึกษาเองได้แย้งถึงปัญหาของการจะทำให้สำเร็จนั้นยากเกินไป ได้ชี้แจงให้เห็นเรื่องผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น และนำเสนอให้อาจารย์พิจารณา ให้ลดโครงการลงอีก และสามารถผลิตได้จริง มีกำไร สุดท้ายจึงเหลือเพียง 5 โครงการ คือ สตรอเบอรี่ เพราะอาจารย์เคยนำเมล็ดพันธ์สตรอเบอรี่มาปลูกได้ 10 ต้น จึงให้ข้อมูลและเบอร์ติดต่อกับนักศึกษา หลังจากนั้นตัวนักศึกษาได้ใช้ความรู้ที่เรียนจากการปลูกข้าวโพด และไปศึกษาเรียนรู้มาจากประเทศอิสราเอล



http://www.dailynews.co.th/thailand/178252


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/03/2013 5:42 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2013 4:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,884. ชนะเลิศจัด 'สวนกล้วยไม้' ที่โอกินาวา





นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตรได้เข้าร่วมประกวดจัดสวนประเภทสวนขนาดใหญ่ ภายในงานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Orchid Conference หรือ APOC) ครั้งที่ 11 ที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า สวนของสถาบันวิจัยพืชสวนซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “มรดกของธรรมชาติ” (Treasures of Nature) ชนะเลิศการประกวดสวนขนาดใหญ่ จากที่เข้าร่วมประกวดทั้งหมด 9 ประเทศ อาทิ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และพม่า เป็นต้น

สวนกล้วยไม้ที่ชนะเลิศการประกวดครั้งนี้ สถาบัน วิจัยพืชสวนเน้นใช้กล้วยไม้ลูกผสมสกุลแวนด้าและสกุลมอคคาร่า ที่มีสีสันสวยงามมาประดับตกแต่งอย่างลงตัวบนพื้นที่ขนาด 4.5 x 6 ตารางเมตร ขณะที่ประเทศคู่แข่งส่วนใหญ่เลือกใช้กล้วยไม้สกุลฟาแลนนอบซิส และคัทลียาเป็นหลัก การที่สวนกล้วยไม้ของไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นอีกก้าวหนึ่งและเป็นโอกาสดีที่จะทำให้กล้วยไม้ไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางช่วยผลักดันสินค้ากล้วยไม้ไทยสู่ตลาดโลกเพิ่มมากขึ้นในอนาคต.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/188239
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 69, 70, 71, 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 70 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©