-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 61, 62, 63 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/06/2012 7:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


1,660. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ด ทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้ 100%

1,661. ตปท.ใช้ เออีซี ฮุบธุรกิจข้าวไทย
1,662. เลี้ยงปลาหมอนาในบ่อซีเมนต์ เลี้ยงง่าย รายได้ดี !!
1,663. เลี้ยงปลาไหลขังเดี่ยวในล้อยาง โตดี รอดตายสูง
1,664. การเลี้ยงกุ้งฝอย
1,665. รังนกแอ่นแท้ ผลผลิตงานวิจัย มอ. ปัตตานี

1,666. รังนกนางแอ่น ทองคำแห่งท้องทะเล
1,667. โครงการวิจัย บ้านรังนกนางแอ่น ต้นทุนต่ำ
1,668. การควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง
1,669. การทำนาดำ
1,670. ข้าวนาชลประทาน : นาดำ

1,671. การทำนาหว่าน
1,672. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปุ๋ย
1,673. การขาดไนโตรเจน ในนาข้าว (Nitrogen deficiency)
1,674. การขาดฟอสฟอรัส ในนาข้าว (Phosphorus deficiency)
1,675. การขาดโพแทสเซียม ในนาข้าว (Potassium deficiency)

1,676. การขาดแมกนีเซียม ในนาข้าว (Magnesium deficiency)
1,677. การขาดกำมะถัน ในนาข้าว (Sulfur deficiency)
1,678. การขาดซิลิกอน ในนาข้าว (Silicon deficiency)
1,679. กล้วยไม้หน้าลิง
1,680. ไทยพัฒนาข้าวโพดสีม่วง ต้านมะเร็ง-ชะลอแก่ 

1,681. ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง...มหัศจรรย์ธัญพืชที่น่าลิ้มลอง
1,682. บิ๊กบึ้ม ! ชมพู่ยักษ์ที่ไต้หวัน ลูกเท่าป๋องนม
1,683. มหัศจรรย์โลกแห่งสาหร่าย
1,684. สรุปผลงานวิจัย การกำจัดวัชพืชน้ำ



-------------------------------------------------------------------------------------------






1,660. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ด ทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้ 100%





ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ปุ๋ยเคมี เนื่องจากราคาของปุ๋ยเคมีมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้ต้นทุน
ของเกษตรกรที่ยังคงต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
หรือสารอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนการผลิต แต่ยังเป็นผลดีต่อพืช สภาพของดิน
สิ่งแวดล้อมและตัวของเกษตรกรตลอดจนผู้บริโภคด้วย

สุปราณี มั่นหมาย นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กลุ่มวิจัยจุลินทรีย์ดิน สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการ
เกษตร กล่าวว่า ธาตุอาหารไนโตรเจนมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่การเพาะปลูกพืชผลทาง
การเกษตรต้องอาศัยปุ๋ยไนโตรเจน แต่ด้วยแนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
ดังนั้น กลุ่มวิจัยจุลินทรีย์ดินจึงได้ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสำหรับพืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะพืช
เศรษฐกิจ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรต่อไป

จากการวิจัยพบว่า ไรโซเบียมเป็นปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ชนิดแบคทีเรียที่สามารถเข้าไป อยู่ในรากของ
พืชตระกูลถั่ว
และสามารถตรึงไนโตรเจนที่อยู่ในอากาศมาเป็นธาตุอาหารไนโตรเจนให้พืชนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถ
ใช้ไรโซเบียม ทดแทนปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตได้ 100%

ทั้งนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ชนิดผงและชนิดเหลว ซึ่งการนำไปใช้งาน
สำหรับชนิดผงจะต้องคลุกเมล็ดถั่วกับผงไรโซเบียมโดยใช้น้ำมันหรือน้ำเชื่อมเป็นตัวประสานให้ผงปุ๋ยติดกับเมล็ดก่อนจึงจะนำไปปลูกได้
ส่วนชนิดเหลวก็ต้องนำเมล็ดถั่วไปคลุกกับไรโซเบียมแล้วจึงนำไปปลูก และยังมีข้อจำกัดตรงที่เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมดในคราวเดียว

ดังนั้นเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม สำหรับพืชตระกูลถั่ว ทางคณะวิจัยจึงได้พัฒนาไรโซเบียมรูป
แบบเม็ดขึ้นมา โดยเกษตรกรสามารถนำเม็ดปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมไปหยอดพร้อมกับเมล็ดถั่วได้ทันที ซึ่งการทำไรโซเบียมรูปแบบเม็ดจะ
ต้องหาวัสดุมาปั้นเป็นเม็ดสำหรับให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปอาศัยอยู่รวมทั้งสามารถพาเชื้อดังกล่าวให้รอดชีวิตได้นานและนำไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ต่อการตรึงธาตุอาหารไนโตรเจนได้

จากการทดลองหาวัสดุปั้นเม็ด ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ซีเมนต์ขาว ปูนยิปซัม ดินเหนียว ปุ๋ยหมักมูลโค และหินฟอสเฟต พบว่าปูนยิปซัมและ
ดินเหนียวมีความเหมาะสมในการนำมาทำวัสดุปั้นมากที่สุด เนื่องจากเมื่อนำไรโซเบียมไปไว้ในวัสดุปั้นทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถมีชีวิตอยู่
รอดได้ 1 ปี แต่ต้องเก็บรักษาไว้ในที่เย็น ถ้าเป็นอุณหภูมิห้องปกติควรใช้ปูนยิปซัมเป็นวัสดุปั้นจึงจะเหมาะแต่จะมีอายุเก็บได้ประมาณ
6-8 เดือนเท่านั้น

ผลจากการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและแปลงปลูกเป็นระยะเวลาถึง 5 ปี สามารถสรุปว่าประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพไรโซ
เบียมชนิดเม็ดในด้านการเพิ่มผลผลิตพืชตระกูลถั่วไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพชนิดผงและชนิดเหลว นอกจากนี้ ราคาจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพทุกชนิดอยู่ในราคาเดียวกันคือ 20 บาท/ถุง แต่จุดเด่นของปุ๋ยชีวภาพชนิดเม็ด คือ ความสะดวกในการใช้งาน
และอายุการเก็บรักษายาวนานกว่าชนิดอื่น

การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ดของกรมวิชาการเกษตรในครั้งนี้ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรในการลดต้นทุน
การผลิต โดยเฉพาะค่าปุ๋ยไนโตรเจน เพราะปุ๋ยชีวภาพตัวนี้สามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้ยังไม่ได้ผลิตปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ดเพื่อจำหน่าย เนื่องจากยังอยู่ในขั้นวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตในระดับโรงงานอยู่

สำหรับเกษตรหรือผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพเพื่อนำไปทดสอบในแปลงปลูกของตนเองได้ โดยติดต่อไปยังกลุ่ม
งานวิจัยจุลินทรีย์ดิน สำนักพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2579-7522-3 ในวันและเวลาราชการ.



http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/06/2012 8:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,661. ตปท.ใช้ เออีซี ฮุบธุรกิจข้าวไทย

เอกชนเตือนรัฐบาลรับมือด่วน สิงคโปร์ตั้งบริษัทส่งออก



รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การสัมมนาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์รายสินค้าเพื่อเชื่อมโยงตลาดจากภูมิภาคสู่สากล
ใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าว ผลไม้ สิ่งทอ และเคหะสิ่งทอ และกลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ภาคเอกชนได้แสดงความเป็น
ห่วงและต้องการให้ภาครัฐเร่งดูแลแก้ปัญหาการผลิตและปลูกข้าวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากขณะนี้มีหลายประเทศเตรียมตัวใช้ประโยชน์
จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 เข้ามาหาผลประโยชน์ และสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจของคนไทย
เพราะพบว่าปัจจุบันมีหลายประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์เริ่มรุกเข้ามาทำธุรกิจข้าวในไทยแล้ว นอกเหนือจากกลุ่มประเทศตะวันออก
กลาง โดยใช้พื้นที่แถบภาคเหนือปลูกข้าวหอมมะลิและส่งกลับไปขายหรือบริโภคในสิงคโปร์ รวมถึงมีการจัดตั้งบริษัทค้าข้าวระหว่าง
ประเทศขึ้นในไทยเพื่อทำธุรกิจนำข้าวไทยส่งออกไปต่างประเทศด้วย จึงห่วงว่าอนาคตเมื่อเปิดเป็นเออีซีแล้วจะมีต่างชาติเข้า
มาตั้งบริษัท โรงสี ค้าข้าวในไทยมากขึ้น เพราะรัฐบาลไม่ได้สั่งห้าม ทำให้คนไทยที่ทำธุรกิจข้าวเดือดร้อน

น.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การที่ชาวต่างชาติเข้ามาแย่งกิจการข้าวในไทย ทั้งการเป็น
นอมินี (ตัวแทน) โรงสี หรือตั้งบริษัทค้าข้าวมีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และเป็นห่วงว่าหากเกิดการเปิดเออีซีน่าจะมีชาวต่างชาติไหลเข้า
มาทำธุรกิจข้าวอีกมาก กระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวไทย ทั้งการผลิต และการค้าอย่างมหาศาล เพราะรัฐบาลยังมีความไม่แน่นอน
และไม่มีมาตรการสำหรับดูแลอุตสาหกรรมข้าวเพื่อรองรับการเปิดเออีซีเลย

น.ส.กอบสุขกล่าวว่า อยากขอให้ภาครัฐสงวนอาชีพเกี่ยวกับข้าว ทั้งการค้า โรงสี ชาวนา เป็นอาชีพสำหรับคนไทย รวมถึงให้
เร่งกำหนดการนำพันธุ์ข้าวเปลือกไปปลูกตามต่างประเทศ โดยอาศัยข้อกำหนดการทำคอนแทร็ก ฟาร์มมิ่ง เพื่อป้องกันการนำ
พันธุ์ข้าวไทยไปปลูกประเทศอื่น ทำให้ไทยเสียหายและไม่มีจุดขายในการแข่งขันได้ในอนาคต

นางเบญจวรรณ รัตนประยูร ที่ปรึกษาการพาณิชย์ กล่าวว่า จะนำข้อมูลหารือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดี
อาร์ไอ) เพื่อเร่งจัดทำยุทธศาสตร์ส่งเสริมโดยเร็วที่สุด โดยจะมีเรื่องการกำหนดมาตรฐานข้าวแต่ละชนิดอย่างชัดเจน นอกจาก
นี้ ยังมีการนำปัญหาในกลุ่มสินค้าผลไม้ ท่องเที่ยว และสิ่งทอมาปรับการทำยุทธศาสตร์ด้วย

"ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์หากจัดทำเสร็จ จะบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและ
บริการ รวมถึงช่วยกระจายรายได้แก่เกษตรกร ภาคธุรกิจเอกชนตามท้องถิ่น เพราะทั้ง 4 กลุ่มเกี่ยวข้องกับประชาชนและก่อให้เกิด
สร้างงานรายได้มหาศาล" นางเบญจวรรณกล่าว

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า สินค้าส่งออกหลักใน 4 ตัวนี้
ข้าวไทยมีความท้าทายมากที่สุด ทั้งปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่ำ ราคาแพงขึ้นมาก ทำให้การส่งออกข้าวไทยลดลงเรื่อยๆ 4 เดือน
แรกปีนี้ (มกราคม-เมษายน) ส่งออกข้าวลดลงเกือบ 50% และเห็นว่ารัฐบาลควรจะทบทวนและปฏิรูปกฎระเบียบและนโยบาย
รัฐใหม่ โดยลดผลกระทบจากการแทรกแซงตลาดและสร้างทางเลือกทดแทนเชิงนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเรื่องราคา ให้ความ
สำคัญกับการค้าชายแดนและประโยชน์จากการค้าเสรี เออีซี และกำหนดมาตรฐานข้าวไทยให้สามารถตอบสนองความต้องการ
ของตลาดได้

(มติชน 15062555)




http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/06/2012 3:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,662. เลี้ยงปลาหมอนาในบ่อซีเมนต์ เลี้ยงง่าย รายได้ดี !!






สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะนำเรื่องการเลี้ยงปลาหมอนามาให้เพื่อนๆได้ศึกษากันในบล็อกของเรานะค่ะ ปลาหมอนาเป็นปลาน้ำจืดที่เรา
พบเห็นกันในห้วยหนองคลองบึงโดยทั่วไป แต่นับวันจะหาปลาหมอนาได้ยากขึ้นจากแหล่งน้ำทั่วไปในธรรมชาตินะค่ะ เพราะอาจ
เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณปลาหมอนาในลดน้อยลงทุกที และราคาของปลาหมอนานั้นจึงเพิ่มขึ้น จึงมี
คนหันมาเลี้ยงกันในรูปแบบต่างๆ และในปัจจุบันการเลี้ยงปลาหมอนาในบ่อซีเมนต์นั้นเริ่มจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถ
ดูแลง่าย และการทำไม่ยุ่งยาก ปลาหมอนา จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทาน เลี้ยงง่าย ใช้น้ำน้อยสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและ
บ่อขนาดต่าง ๆ รวมทั้งเลี้ยงในกระชัง ในแหล่งน้ำนิ่งและเลี้ยงในบ่อพลาสติกได้ และการเลี้ยงได้ไม่ยากเราจึงจะนำวิธีการเลี้ยง
มาบอกกล่าวกันค่ะ


การเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
ในการเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์นั้นควรจะมีบ่อไว้ 3 บ่อ เป็นบ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1. บ่อสำหรับอนุบาลลูกปลาหมอนา ขนาด 6x7 เมตร
2. บ่อผสมพันธุ์ปลาหมอนา ขนาด 6x7 เมตร
3. บ่อสำหรับเลี้ยงปลาหมอนา ขนาด 6x7 เมตร


การคัดเลือก พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ปลาหมอนา
แม่พันธุ์
1. ควรมีขนาดป้อมสั้น ยาวประมาณ 3 นิ้ว
2. ในการคัดแม่พันธุ์ปลาหมอนา ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร
3. แม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดง
ว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ

พ่อพันธุ์
1. ควรมีลักษณะลำตัวยาว ว่ายน้ำปราดเปรียว มีขนาด 3 นิ้ว
2. ในการคัดพ่อพันธุ์ ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร
3. พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธู์ บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล







ขั้นตอนการผสมพันธุ์
1. ต้องทำการผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม - กรกฏาคม)
2. ในบ่อผสมพันธุ์ใส่น้ำประมาณ 50-60 ซม. และควรหาผักบุ้งใส่ในบ่อด้วย เพื่อที่จะได้เป็นที่กำบังและซ่อนตัวเวลาฟักไข่
3. นำแม่พันธุ์ปลาหมอนา 100 ตัว ต่อ พ่อพันธุ์ปลาหมอนา 50 ตัว ลงในบ่อ (อัตราส่วน ปลาหมอตัวเมีย 1 ตัว ต่อ ตัวผู้ 2 ตัว)
4. ปล่อยทิ้งไว้ให้ผสมพันธุ์กัน 3 สัปดาห์
5. หลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์แล้ว ให้แยกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ออกจากลูกปลาหมอที่ยังเป็น ลูกคอก


การดูแลรักษา
1. ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง
2. ให้อาหารปลาหมอในช่วงเช้า ทุกวัน

การจับเพื่อจำหน่าย
1. หากเพาะพันธุ์เพื่อขายลูกปลา ขนาดลูกปลาประมาณ ปลายปากกา จำหน่าย ตัวล่ะ 1 บาท
2. หากเลี้ยงเพื่อขายตอนโต 5-7 ตัว ต่อ กิโลกรัม กิโลกรัมล่ะ 150 บาท (เช็คราคาตลาด ณ.วันขาย)


แหล่งที่มา : รักบ้านเกิด ดอทคอม
ภาพ : จากบ้านภูนิตาฟาร์ม และบางส่วนจากอินเตอร์เน็ต


http://nanasarakaset.blogspot.com/2012/04/blog-post_16.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/06/2012 4:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,663. เลี้ยงปลาไหลขังเดี่ยวในล้อยาง โตดี รอดตายสูง





สวัสดีค่ะ ผู้เยี่ยมชมบล็อกของเราค่ะ วันนี้จะนำสาระเรื่องการเลี้ยงปลาไหลในล้อยางได้ผลดี มีอัตราในการรอดตายสูงซึ่งจะเป็น
ประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจทำเป็นอาชีพเสริมค่ะ


แม้ว่าราคาซื้อขายปลาไหลตามท้องตลาดค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำจืดชนิดอื่น แต่ทว่ากลับไม่ค่อยมีใครเลี้ยงปลา
ชนิดเป็นอาชีพมากนัก ด้วยว่าหากนำมาเลี้ยงในพื้นที่จำกัด และไม่มีการจัดการบ่อที่ดีพอเปอร์เซ็นต์รอดชีวิตนั้นมีค่อยข้างน้อย


ดังนั้น ปลาไหลที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะหามาจากธรรมชาติเกือบทั้งนั้น มิแปลกที่ราคาค่อนข้าง
สูงกว่าปลาเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ด้วยว่าในคลอง หนอง บึง นับวันมีสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป บางท้องถิ่นกลายเป็นหมู่บ้าน
จัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น การจับปลาไหลมาขังเดี่ยวในล้อยาง โตดี รอดชีวิตสูงนี้ เป็นผลงานของ อ.ประพัฒน์ ปานนิล
ที่ระนอง

อาจารย์เล่าว่า ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ก็ประสบปัญหามาเหมือนกัน เพราะว่ายางในรถจักรยานยนต์มีกลิ่น และสิ่งสกปรกอยู่
เยอะ หากเรานำมาเลี้ยงปลาเลย ก็ทำให้น้ำเน่าเสียได้เร็ว และส่งผลให้ปลาตายหรือไม่ค่อยกินอาหารได้เหมือนกัน


เตรียมอุปกรณ์เลี้ยงปลาต้องคัดเลือก
อาจารย์ประพัฒน์ กล่าวว่า การนำยางในรถจักรยานยนต์เก่าเพื่อมาใช้เลี้ยงปลาไหลนั้น จะต้องคัดเลือกไม่ให้มีรอยขาดกล้างเกินไป
ไม่เช่นนั้นปลาจะมุดหัวหนีออกมาได้ และเมื่อคัดเลือกยางได้แล้ว เราก็เจาะรูเล็กๆรอบล้อด้วย เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำเมื่อ
เวลาเลี้ยง เพร้อมกับใช้มีดตัดส่วนที่เป็นโลหะหรือช่องใส่ลมออกทิ้ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันสนิมเมื่ออยู่ในน้ำนั่นเอง


ก่อนนำล้อยางไปใช้งานเราจะต้องแช่น้ำนานอย่างน้อย 15 วัน เพื่อการจำจัดกลิ่นละลายสิ่งสกปรกและล้างทำความสะอาด ดังน้้น
เมื่อนำไปใช้งานเลี้ยงปลา ที่ไม่ประสบปัญหาอะไรเลย แถมปลายังชอบอยู่อาศัยอีกด้วย เมื่อยางไม่มีรอยขาดและสะอาดแล้ว ก็ให้
เตรียมข้อต่อ พีวีซี 4 ทาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้วครึ่ง ทั้งนี้เพื่อไว้ต่อยางในให้เป็นวงกลมเหมือนเดิม และมีปากท่อไว้สำหรับให้
อาหารด้วย

ก่อนที่จะต่อเชื่อมกัน ต้องนำข้อต่อรูด้านล่างแช่ในน้ำเดือด ประมาณ 3 นาที ทั้งนี้เพื่อให้อ่อนแล้วหนีบด้วยไม้กระดานให้ปลายตีบ
แบน เพื่อป้องกันปลาหนีและเป็นแอ่งอาหาร

รูข้อต่อ พีวีซี ทางด้านบนเราจะต้องเจาะรูขนาด 2-3 หุน จำนวน 2 รู เพื่อระบายอากาศ จากนั้นนำท่อ พีวีซี ขนาด 1 นิ้วครึ่ง ตัด
เป็นท่อนยาว 10 เซนติเมตร นำไปแช่ในน้ำเดือด 3 นาที เพื่อให้อ่อนนุ่ม แล้วหนีบด้วยไม้กระดานให้ปลายตีบแบนแล้วนำไปใส่ในรู
ด้านบนเพื่อป้องกนปลาหนีและเป็นที่ให้อาหาร โดยเปิดออก เมื่อให้เสร็จปิดกลับเหมือนเดิม

จากนั้นนำล้อยางไปแขนหรือวางเป็นแนวนอนในน้ำ โดยให้ระดับน้ำสูงไม่เกินครึ่งของข้อต่อ พีวีซี ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ถังพลาสติก 20
ลิตร ผ่าในแนวนอน จากนั้นก็ใส่น้ำให้เกือบเต็ม นำไม้เนื้อแข็งมาทำเป็นคาน เสร็จแล้วนำล้อยางในจักรยานยนต์ที่สวมอยู่กับท่อ พีวีซี
มาแขวนไว้ให้เต็มพื้นที่

ปล่อยปลาไหลลงเลี้ยงในวงล้อ ล้อละ 1 ตัว โดยใช้ปลาเป็ดบดหรือสับเป็นชิ้นเล็กๆเป็นอาหาร วันละ 1 ครั้ง ในตอนเย็น จนปลาไหล
ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ





ปลาไหลเลี้ยงในล้อยางมีอัตรารอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์






อัตราการเจริญเติบโตของปลาไหลที่เลี้ยงในล้อยางในรถจักรยานยนต์เก่า โดยใช้ปลาไหล 3 ขนาด คือ 1.9 กรัม จำนวน 6 ตัว
ปลาไหลขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 9.6 กรัม จำนวน 5 จีง และปลาไหลขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 100 กรัม จำนวน 5 ตัว เป็นเวลา 90 วัน
พบว่า ปลาไหลขนาด 1.9 กรัม มีน้ำหนักเฉลี่ย 9.26 กรัม ปลาไหลขนาด 9.60 กรัม มีน้ำหนักเฉลี่ย 19.96 กรัม และปลาไหล
ขนาด 100 กรัมมีน้ำหนักเฉลี่ย 201.50 กรัม สำหรับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อนั้นเมื่อเลี้ยงครบ 90 วัน คือ 4.14:1, 4.82:1
และ 2.7:1 ตามลำดับ

ปลาไหลที่นำมาเลี้ยงนั้นนำมาจาก แหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะว่ายังไม่ได้ศึกษาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ จึงจำเป็นต้องหามา
จากธรรมชาติ ช่วงแรกๆค่อนข้างตื่น แต่เมื่อเลย 20 วันไปแล้ว จะเชื่องมาก โดยเฉพาะเวลาให้อาหารก็โผล่หัวขึ่นมากินอาหาร
เองและในระหว่างเลี้ยงจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อยมาก เพราะว่าปลาไหลมีคุณสมบัติพิเศษคือ ด้านทานโรคได้เก่ง อย่างไรก็ตาม
ในการนำมาเลี้ยงในล้อยางและอยู่ในถัง 200 ลิตร เราจะเปลี่ยนถ่ายน้ำออกทิ้งสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง โดยแต่ละครั้งถ่ายออก
ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อต้องการให้ปลาไหลมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั่นเอง


เมื่อเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ ปลาไหลที่อยู่ในล้อก็จะดิ้นไปมา ทำให้ขี้ปลาออกมาจากรูเล็กๆ รอบล้อ ที่เจาะไว้ เพราะฉะนั้นการเลี้ยง
ปลาไหลด้วยวิธีนี้่คุณภาพเนื้อดี เนื่องจากทั้งอาหารและน้ำ มีการดูแลเป็นพิเศษ การเลี้ยงปลาไหลในล้อยางในรถจักรยานยนต์และ
ให้อาหารเป็ดกินทุกวัน ประสบผลสำเร็จดีมาก เนื่องจากปลาไหลโตดีและอัตราการรอด 100 เปอร์เซ็นต์ ในการเลี้ยงปลาไหล
แบบนี้ สามารถนำไปใช้ได้จริง ทั้งในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินการในเชิงพาณิชย์...


เทคนิค และ ขั้นตอนการทำงาน
1. นำยางในรถจักรยานยนต์มาคัดเลือก เอาเส้นที่ไม่ฉีกขาด แช่น้ำลดกลิ่นยาง และทำความสะอาด

2. ตัดส่วนที่เป็นโลหะออก เพื่อป้องกันการเกิดสนิม

3. ท่อ พีวีซี ด้านล่าง แช่ในน้ำร้อน 3 นาที ให้อ่อนนุ่มและหนีบให้แบนกันปลาไหลหนีและนำยางในรถจักรยานยนต์มาสวม
กับข้อต่อ พีวีซี สองด้าน

4. นำมาแขวนในแนวตั้งหรือวางแนวนอนในภาชนะที่ต้องการเลี้ยง เช่น ถังพลาสติก 200 ลิตร บ่อคอนกรีต บ่อผ้าใบ
หรือภาชนะอื่นๆ

5. เติมน้ำในภาชนะ โดยให้ระดับน้ำสูงครึ่งท่อ พีวีซี

6. ปล่อยปลาไหลลงเลี้ยง 1 ตัว ต่อ 1 ล้อ

7. ปิดช่องให้อาหาร โดยไม้หรือฝาครอบ พีวีซี

8. ให้อาหารวันล่ะ 1 ครั้ง ตอนเย็น โดยใช้ปลาเป็ดสับหรือบดเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ปลาสามารถกินได้

9.เปลี่ยนถ่ายน้ำ 5-7 วัน ต่อครั้ง หรือสังเกตคุณสมบัติของน้ำประกอบ

10. ตรวจสอบประจำวัน วงล้อใดมีอาหารเหลือในวันนั้น ไม่ต้องให้ และถ้าหากปลาไหลยังไม่เกิน 5-7 วัน ตรวจสอบดูว่าปลาไหล
ตายหรือเปล่า





ข้อเสนอแนะ
- ควรล้างทำความสะอาดยางให้สะอาดให้มากที่สุด เพราะอาจติดคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อปลาไหลได้

- ถ้าหากไม่ใช้ยางในรถจักรยานยนต์ สามารถหาวัสดุอื่นแทนได้ เล่น พีวีซี พลาสติก เป็นต้น

- ควรฆ่าเชื้อโรคด้วยการแช่ยาเหลือง 2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 5 ลิตร นาน 30 นาที หรือฟอร์มาลีน 25 ppm ก่อนปล่อยเลี้ยง เพราะปลา
ไหลอาจติดโรคมา และแพร่เชื่อไปยังตัวอื่นได้

- ถ้าไม่มีปลาเป็ดสามารถให้อาหารกุ้งและอาหารปลาดุกแทนได้
- สิ่งประดิษฐ์เหมาะแก่การขุนปลาไหลมาก เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตดีมาก โดยเริ่มจากปลาไหลขนาด 50-100 กรัม เพราะ
ว่ากินอาหารดี ใช้พลังงานน้อย จึงโตดี

แหล่งที่มา : นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต



http://nanasarakaset.blogspot.com/2012/03/blog-post_25.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/06/2012 4:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,664. การเลี้ยงกุ้งฝอย





กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปในภูมิภาคของประเทศไทย เป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป เช่น กุ้งเต้น ทอดมันกุ้ง
กุ้งฝอยทอด กุ้งฝอยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้ง โปรตีนและแคลเซียม ปัจจุบันนี้กุ้งฝอยเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเสื่อม
โทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งใช้กุ้งฝอยเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาบู่ ปลาช่อน ปลากราย
และปลาสวยงาม ทำให้เกิดความไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้น ขณะนี้ราคากุ้งฝอยในท้องตลาดตั้งแต่กิโล
กรัมละ 300-400 บาท มีเกษตรกรบางรายนำมาเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย ผลปรากฏว่า อัตราการรอดต่ำ เลี้ยงอย่างหนาแน่นไม่ได้
และอาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืด ชอบซ่อนตัวอยู่ตามใต้ก้อนหินหรือเกาะตามพรรณไม้ ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ น้ำขุ่น ลึก
ไม่เกิน 1 เมตร มีอินทรียวัตถุทับถมกัน กุ้งฝอยเพศเมียจะเริ่มมีไข่และผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 60 วันขึ้นไป จะสร้างไข่เก็บไว้ใน
ถุงเก็บไข่ กุ้งเพศผู้จะพยายามติดตามกุ้งเพศเมียตลอดเวลา หลังจากกุ้งเพศเมียลอกคราบภายใน 3-6 ชั่วโมง ขณะที่เปลือก
ของกุ้งเพศเมียยังอ่อนอยู่จะมีการผสมพันธุ์กัน โดยกุ้งเพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อที่อยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อที่อยู่บริเวณโคนขาช่วงที่ 5
ปล่อยน้ำเชื้อในถุงเก็บน้ำเชื้อเพศเมียเพื่อผสมกับไข่ ไข่ที่ผสมแล้วจะเคลื่อนไปอยู่ในส่วนล่างของท้องบริเวณขาว่ายน้ำ กุ้ง
เพศเมียจะพัดโบกขาว่ายน้ำตลอดเวลา เพื่อให้ไข่ได้รับออกซิเจน แม่กุ้งฝอยขนาดยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร จะมีไข่
ประมาณ 200-250 ฟอง หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 3 วัน ไข่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและสีเหลือง ต่อมาอีก 7-9 วัน จะมองเห็น
ตาของตัวอ่อนอย่างชัดเจน หลังจากนั้นไข่ในท้องแม่กุ้งฝอย จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและฟักออกมาเป็นตัวเมื่ออายุ 21-25 วัน






วิธีการเพาะกุ้งฝอย
วิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย สามารถเพาะเลี้ยงได้ 2 วิธี คือ การนำพ่อแม่พันธุ์กุ้ง ประมาณ 50 ตัว ปล่อยลงในบ่อเลี้ยงที่มี
กระชังภายในบ่อ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยผสมพันธุ์กันเอง วิธีนี้ใช้เวลา 2-3 เดือน แต่จะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 20-30%
เนื่องจากกุ้งมีขนาดที่ต่างกัน กุ้งจะกินกันเอง เพราะมีทั้งกุ้งฝอยขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกัน อีกวิธีหนึ่งคือ การคัดแม่พันธุ์ที่
มีไข่แล้วมาขยายพันธุ์ มีอัตราการรอดชีวิต 80% มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงขอแนะนำเกษตรกรใช้วิธีนี้ เนื่องจากจะได้กุ้งฝอยที่มี
ขนาดเดียวกัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ การลงทุนต่ำ สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี


วิธีเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์
การเพาะเลี้ยง
เริ่มต้นจากการรวบรวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนประมาณ 80-100 ตัว นำมาพักไว้ในกระชังอย่างน้อย 1 คืน คัด
เลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ มองเห็นตาของลูกกุ้งในท้อง เพาะฟักในตะแกรงที่แขวนไว้ในกระชังผ้า ขนาด 1x1x1 เมตร ใน
บ่อซีเมนต์หรือบ่อดิน ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33% ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
ประมาณ 3-4 วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว แยกแม่กุ้งออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดการ
เพาะเลี้ยง นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ปริมาณ 50,000 ตัว ในบ่อขนาด 1x1x1 เมตร สัปดาห์แรก ให้ไข่
แดงต้มสุกเป็นอาหาร สัปดาห์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็กเป็นอาหาร จากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นอาหารที่มีโปรตีน
40% ให้อาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ระยะนี้ต้องระมัดระวังตาข่ายไม่ให้อุดตัน ควรใช้แปรงขนาดเล็กขนอ่อนทำความ
สะอาดบ่อยครั้ง ใช้เวลาอนุบาลเป็นเวลา 1 เดือน จึงนำไปเลี้ยงในกระชังหรือบ่อซีเมนต์ได้


.......

......




การเตรียมบ่อ
ทำความสะอาดบ่อด้วยปูนขาว ตากทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ กั้นคอกล้อมบ่อด้วยอวนพลาสติคสีฟ้าเพื่อป้องกันศัตรู เติมน้ำในบ่อโดย
ผ่านการกรองด้วยผ้าตาถี่ เพื่อป้องกันไข่ปลาและลูกปลาขนาดเล็กๆ เล็ดลอดลงในบ่อกุ้ง เติมน้ำสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร
ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ อัตรา 60-120 กิโลกรัม ต่อไร่ ทิ้งไว้ 3-4 วัน รอจนน้ำเริ่มสีเขียว จึงเติมน้ำจนได้ระดับ 1 เมตร จากนั้นจึงนำลูก
กุ้งที่อนุบาลมาแล้วประมาณ 1 เดือน ปล่อยลงในบ่อ อัตรา 30,000-50,000 ตัว เลี้ยงประมาณ 2 เดือน ก็สามารถจับขายได้
มีอัตรารอด 80% ที่สำคัญการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรช่วยการหายใจด้วยระบบการเติมออกซิเจนด้วย


วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อพลาสติก
วิธีการทำ
1. เตรียมบ่อลึก 70 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร
2. ปูก้นบ่อด้วยพลาสติกสีดำ นำดินมาเทถมให้ทั่วก้นบ่อบนพลาสติกประมาณ 7-8 ซม.
3. เติมน้ำลงไปให้เต็มบ่อพอดี ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
4. นำสาหร่าย ผักตบชะวา หญ้าขน นำมาทิ้งไว้ให้เป็นฟ่อนๆ ประมาณ 4-5 ฟ่อน
5. แล้วปล่อยกุ้งลงไปประมาณ 5 ขีด ช่วงปล่อยกุ้งลงไปไม่ต้องให้อาหารประมาณ 7 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพในบ่อ


อาหารกุ้งฝอย
1. ต้มไข่ให้สุก เอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
2. รำอ่อน 3 ขีด ผสมให้เข้ากัน ปั้นเท่ากำปั้น โยนลงไปในบ่อประมาณ 3 ก้อน

หลังจากให้อาหารประมาณ 1 เดือน กุ้งจะวางไข่ ให้สังเกตตอนกลางคืนโดยการนำไฟฉายมาส่องดุว่ากุ้งจะวางไข่หรือไม่

เทคนิคการเร่งกุ้งให้วางไข่ ให้นำสายยางน้ำประปามาเปิดลงในบ่อ โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที เพราะกุ้งชอบ
เล่นน้ำไหล แล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่) ประมาณ 1-2 เดือน กุ้งก็จะโตเต็มที่ ใช้เวลาทั้งหมด
ประมาณ 4 เดือน จะได้กุ้งประมาณ 20-30 กก. ราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท


สูตรวิธีการช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ และให้กุ้งโตเร็ว
1. EM 2 ช้อนแกง
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
3. น้ำ 1 ลิตร

นำส่วนผสมมาหมักรวมกัน ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม 1 อาทิตย์ อัตราส่วนในการใช้ อีเอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใส่บัวรดน้ำราดให้ทั่วบ่อ
จะใช้หลังจากที่เติมน้ำลงไปก่อนปล่อยกุ้ง จะช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ กุ้งโตเร็ว



ขอขอบคุณ :ข้อมูลดีๆจาก มติชนออนไลท์ และ กรมวิชาการเกษตร
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต



http://nanasarakaset.blogspot.com/2012/05/blog-post_16.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/06/2012 12:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,665. รังนกแอ่นแท้ ผลผลิตงานวิจัย มอ. ปัตตานี

เขียนโดย ประชาสัมพันธ์คณะ







รองศาสตราจารย์ ดร. เจริญ นาคสรรค์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เปิดเผยว่า นักวิชาการของคณะ ได้วิจัยสร้างบ้านรังนกนางแอ่นต้นทุนต่ำ บริเวณดาดฟ้า อาคาร 51 ตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 จน
ถึงปัจจุบันมีนกนางแอ่นเข้ามาทำรังและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังให้ความรู้ทางด้านชีววิทยา และ
เทคโนโลยีการออกแบบการสร้างบ้านรังนกต้นแบบ ที่มีต้นทุนต่ำ ข้อมูลและข้อเท็จจริงดังกล่าว จะเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่ถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ และสามารถเผยแพร่ความรู้ในเชิงวิชาการต่อไป














ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชคชัย เหลืองธุวปราณีต ซึ่ง เป็นหัวหน้าโครงการดังกล่าว กล่าวว่า ผลงานวิจัยในช่วงเวลา 1 ปี 6 เดือน
แรก ของโครงการวิจัยสร้างบ้านรังนกนางแอ่นต้นทุน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้รังนกแอ่นแท้ ในอัตราความหนาแน่น 0.5 รัง/
ตารางเมตร มีประชากรนกที่มาอาศัยภายในบ้าน ในช่วง 6 เดือนแรก 1คู่ (2 ตัว) และเพิ่มขึ้นเป็น 47 คู่ (94 ตัว) หลังจากนั้น 1
ปี รวมประชากรนกที่มาอาศัยและเกิดใหม่ภายในบ้าน 1.88 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว













รังนกนางแอ่นแท้ของมอ.ปัตตานี มีลักษณะเป็นรังสีขาว แทรกด้วยสีดำ ซึ่งเกิดจากขนนกที่มันนำมาแซม นอกจากนี้ ยังมีมูลนก และ
เศษของเปลือกไข่กระจายอยู่ทั่วไป น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 9.86 ± 2.34 กรัม/รัง รังนกมีคุณภาพดี สามารถนำไปจำหน่ายได้
ในราคารังดิบประมาณ 40,000 – 60,000 บาท/กิโลกรัม







คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เลขที่ 181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073-331303 โทรสาร 073-335130 E-mail : sci&tech@bunga.pn.psu.ac.th


http://www.sat.psu.ac.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/06/2012 12:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,666. รังนกนางแอ่น ทองคำแห่งท้องทะเล


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา



สวัสดีค่ะท่านผู้ฟังที่เคารพ ปัจจุบันประชาชนจำนวนมากหันมาให้ความสนใจดูแลสุขภาพร่างกายมากขึ้น โดยการรับประทาน
อาหารเสริมหรืออาหารบำรุงสุภาพ ในบรรดาอาหารบำรุงสุขภาพนั้น รังนกหรือเครื่องดื่มรังนกจัดเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ที่นิยมกันแพร่หลายและมีราคาแพงมาก โดยเฉพาะในเทศกาลสำคัญหรือวันสำคัญต่างๆ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชนิดนี้มักถูกซื้อ
หาและนำมาจัดหรือตกแต่งให้เป็นของขวัญชิ้นสำคัญสำหรับคนใกล้ชิดหรือญาติผู้ใหญ่ที่รักและเคารพหรือบุคคลสำคัญที่เคา
รพนับถือ ท่านทราบหรือไม่ค่ะว่า รังนกที่เรารู้จักเหล่านี้คืออะไร มีที่มาจากไหน ทำไมรังนกจึงมีราคาแพง และมีวิธีง่ายๆ ใน
การตรวจดูรังนกแท้หรือปลอมอย่างไร


“รังนก” ถูกให้ฉายาว่า “คาร์เวียแห่งโลกตะวันออก” เนื่องจาก จัดเป็นหนึ่งในบรรดาอาหารที่ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าทางโภชนา
การสูงและมีรสชาติดี และเนื่องจาก รังนกนั้นเป็นผลผลิตทางธรรมชาติที่มีเฉพาะบางแหล่งเท่านั้น รวมทั้งความยากลำบากในการเข้า
ไปเก็บรังนกและกรรมวิธีการทำความสะอาดรังนก ทำให้รังนกนั้นมีราคาแพงมาก ดังนั้นในบางครั้งจึงให้ฉายารังนกอีกอย่างหนึ่งว่า
“ทองคำขาวแห่งท้องทะเล” นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า รังนกนั้นมีสรรพคุณทางยา ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ ละลายเสมหะ
บำรุงปอด บำรุงเลือด และบำรุงพลังทางเพศ


รังนกเป็นผลผลิตจากน้ำลายของนกนางแอ่นทะเลหรือนกแอ่นกินรัง (edible-nest swiflet) ที่สำรอกออกมาเพื่อสร้าง
เป็นรังสำหรับรองรับไข่ นกนางแอ่นทะเลนี้เป็นคนละชนิดกับนกนางแอ่นบกหรือนกนางแอ่นบ้าน (barn swallow) ที่พบเกาะ
อยู่ตามสายไฟ ซึ่งเป็นนกที่ย้ายถิ่นหนีอากาศหนาวมาจากประเทศจีนและสร้างรังด้วยเศษหญ้าและโคลน นกนางแอ่นทะเลเป็น
นกที่มีขนาดเล็ก มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร หนักประมาณ 15 – 18 กรัม พบอาศัยตามถ้ำในเกาะต่างๆ ริมชาย
ฝั่งทะเล มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แอโรดรามัส ฟูซิฟากัส (Aerodramus fuciphagus) แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ
คือ นกนางแอ่นขาวและนกนางแอ่นดำ โดยทั่วไป นกชนิดนี้สามารถบินโดยไม่หยุดพักได้นานถึง 40 ชั่วโมง โดยมีความเร็วเฉลี่ย
สูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาหารของนก คือแมลงที่บินอยู่ทั่วไปในอากาศและตามผิวน้ำ รังของนกมีรูปร่างคล้ายชามโคม มีสี
ขาว สีเหลืองอ่อนและสีแดงขึ้นอยู่กับแหล่งที่อยู่อาศัยของนก สำหรับในประเทศไทยนั้น พบนกนางแอ่นทะเลทั้งสิ้นสามชนิด คือ
นกแอ่นกินรัง นกแอ่นกินรังตะโพกขาว และนกแอ่นหางสี่เหลี่ยมหรือนกแอ่นรังดำ นกนางแอ่นสองชนิดแรกนั้น จะให้รังนกสีขาว
ส่วนชนิดหลัง จะให้รังสีดำ


รังนกที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทยอยู่ในภาคใต้ ตามเกาะแก่งต่างๆ ที่มีโพรงถ้ำ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงจังหวัดสตูล เช่น
บริเวณอุทยานชุมชนเกาะไข่ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และบริเวณเกาะสี่ เกาะห้า ซึ่งเป็นหมู่เกาะหินปูนอยู่ในทะเลสาบสงขลา
เป็นต้น รังนกที่เก็บได้มีลักษณะที่ขาวสะอาดและมีขนาดใหญ่ การเก็บรังนกนั้น ผู้เก็บจะใช้พะองไม้ไผ่เป็นอุปกรณ์สำหรับไต่
ขึ้นไปเก็บรังนกตามผนังและเพดานถ้ำ แล้วใช้เครื่องมือเก็บรังนก ซึ่งส่วนปลายมีลักษณะเป็นมีดทำด้วยโลหะ ส่วนโคนมีเทียน
ไขสำหรับจุดเพื่อให้แสงสว่างสำหรับส่องหารังนกในถ้ำ ในแต่ละปีจะมีการเก็บรังนก 3 ครั้ง ครั้งแรกอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-
มีนาคม จากนั้นจะทิ้งช่วงประมาณ 1 เดือน เพื่อให้นกทำรังเป็นครั้งที่ 2 แล้วจึงเก็บ และเว้นช่วงไปอีกประมาณ 3 เดือน เพื่อให้
แม่นกวางไข่และลูกนกฟักออกมาเป็นตัวจนแข็งแรงพอจะบินออกไปหาอาหารได้ จึงเก็บรังนกเป็นครั้งที่ 3 การเก็บรังนกแต่ละ
ครั้งจะใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน รังนกที่เก็บได้นั้นจะมีการคัดแยกระหว่างรังที่มีขนาดใหญ่และสวย และรังเล็ก รวมทั้งแยกรัง
สีขาว รังสีแดง (เป็นรังนกที่เก็บได้จากการทำรังครั้งที่สองและครั้งที่สาม) และรังสีดำ (รังของนกนางแอ่นสีดำ) ปัจจุบันผู้ที่มีสิทธิ์
เก็บรังนกได้ ต้องได้รับสัมปทานเท่านั้น ผู้รับสัมปทานรังนกจะต้องไม่รบกวนนกมากเกินไป ต้องดูแลรักษาและอนุรักษ์สภาพแวด
ล้อมบริเวณที่นกอาศัยอยู่อย่างดี


จากการที่รังนกเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีคุณค่า หายาก และมีราคาแพงมาก กอรปกับปัจจุบันรังนกนางแอ่นจากธรรมชาติ
เริ่มมีปริมาณน้อยลง ดังนั้นจึงมีธุรกิจการสร้างบ้านให้นกนางแอ่นเพื่อเก็บรังนก เช่น ทางภาคใต้ที่อำเภอปากพนัง จ.นครศรีธรรม
ราช มีการสร้างบ้าน หรืออาคารเพื่อให้นกนางแอ่นเข้ามาอาศัย และเก็บรังนกขายเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีมาก รังนกจากบ้านหรือ
อาคารมีลักษณะขาวสะอาด แต่ขนาดเล็กกว่ารังนกถ้ำ แต่ในการซื้อขาย ตลาดนิยมรังนกถ้ำมากกว่ารังนกบ้าน จึงขายได้ราคาถูก
กว่ารังนกถ้ำ ราคาขายของรังนกแห้งจะมีมูลค่าสูง 35,000-60,000บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีผู้ฉวยโอกาสผลิตรัง
นกปลอมขึ้น และจำหน่ายสู่ตลาดในราคาที่ต่ำกว่ารังนกแท้ รังนกปลอมเหล่านี้อาจทำขึ้นจาก “ยางคารายา” ซึ่งเป็นยางจากไม้ยืน
ต้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย หรืออาจทำมาจากผลของ “ต้นพุงทะลาย” ซึ่งเป็นไม้พุ่มยืนต้น ทั้งสองชนิดเมื่อมาต้มแล้วจะ
มีลักษณะคล้ายรังนกมาก โดยมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่สามารถดูดน้ำ ทำให้พองตัวเป็นวุ้นคล้ายรังนก อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการเลือกซื้อรังนกได้แนะนำการเลือกซื้อรังนกว่า ให้สังเกตุดูเนื้อของรังนกให้ดีโดยใช้แว่นขยายที่ใช้ส่องพระดู ก็อาจพอจำแนก
ความแตกต่างระหว่างรังนกแท้กับรังนกปลอมได้ โดยรังนกแท้ที่ทำจากน้ำลายของนกนั้นจะมีเศษขนละเอียดของขนนกปะปนอยู่ใน
เนื้อรังนก เนื่องจากนกต้องใช้เวลาขลุกอยู่กับการสร้างรังนานดังนั้น ถึงแม้ว่าขั้นตอนการแปรรูปรังนกผู้ผลิตสินค้าจะพยายามทำความ
สะอาดมากเท่าใด ก็ไม่สามารถกำจัดขนละเอียดเหล่านี้ได้


รังนกเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย เป็นสินค้าส่งออกตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสร้างรายได้
นับเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาทต่อปี ดังนั้นชุมชนที่อาศัยอยู่บนเกาะหรือจังหวัดที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่นทะเลเหล่านี้จึง
ควรร่วมมือกันโดยช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศให้ดีและเหมาะสมเพื่อเป็นแหล่งให้นกนางแอ่นเข้ามาพักพิงอาศัย โดย
เฉพาะผู้ที่ได้รับสัมปทานการเก็บรังนกควรปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาจำนวนประชากรของนกให้ขยายพันธุ์และ
เพิ่มจำนวนมากขึ้นต่อไป


บรรณานุกรม
เกษม จันทร์คำ (2550) รังนกนางแอ่น: อำนาจ ความขัดแย้ง และความมั่นคง สำนักพิมพ์มหาสารคาม, 304 หน้า
ไขปริศนานกนางแอ่น เข้าได้ถึงจาก http://www.abirdnest.com/index.php?mo=3&art=134588
นกนางแอ่น เข้าได้ถึงจาก http://www.culture.nstru.ac.th/~culturedb/culture.php



http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=4842
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/06/2012 12:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,667. โครงการวิจัย บ้านรังนกนางแอ่น ต้นทุนต่ำ

ประชากรนกบ้านรังนกคณะวิทย์เทคโน เพิ่มเกือบร้อยตัวหลังเริ่มโครงการหนึ่งปีครึ่ง



โครงการวิจัยบ้านรังนกนางแอ่นต้นทุนต่ำ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี มีนกนางแอ่นเข้าทำรังเกือบ 100 ตัว
หลังเริ่มวิจัยเพียงปีครึ่ง และสามารถเก็บรังนกขายได้แล้วนอกเหนือจากได้องค์ความรู้ใหม่ด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีการออกแบบ
สร้างบ้านรังนก

รองศาสตราจารย์ ดร. เจริญ นาคสรรค์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เปิดเผยว่า นักวิชาการของคณะ ได้วิจัยสร้างบ้านรังนกนางแอ่นต้นทุนต่ำ บริเวณดาดฟ้า อาคาร 51 ตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 จน
ถึงปัจจุบันมีนกนางแอ่นเข้ามาทำรังและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังให้ความรู้ทางด้านชีววิทยา และ
เทคโนโลยีการออกแบบการสร้างบ้านรังนกต้นแบบ ที่มีต้นทุนต่ำ ข้อมูลและข้อเท็จจริงดังกล่าว จะเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่ถูกต้องตาม
หลักวิชาการ และสามารถเผยแพร่ความรู้ในเชิงวิชาการต่อไป

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชคชัย เหลืองธุวปราณีต ซึ่ง เป็นหัวหน้าโครงการดังกล่าว กล่าวว่า ผลงานวิจัยในช่วงเวลา 1 ปี 6
เดือนแรก ของโครงการวิจัยสร้างบ้านรังนกนางแอ่นต้นทุน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้รังนกแอ่นแท้ ในอัตราความหนาแน่น
0.5 รัง/ตารางเมตร มีประชากรนกที่มาอาศัยภายในบ้าน ในช่วง 6 เดือนแรก 1คู่ (2 ตัว) และเพิ่มขึ้นเป็น 47 คู่ (94 ตัว) หลัง
จากนั้น 1 ปี รวมประชากรนกที่มาอาศัยและเกิดใหม่ภายในบ้าน 1.88 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการเพิ่มขึ้นของประชา
กรอย่างรวดเร็วรังนกนางแอ่นแท้ของมอ.ปัตตานี มีลักษณะเป็นรังสีขาว แทรกด้วยสีดำ ซึ่งเกิดจากขนนกที่มันนำมาแซม นอกจากนี้
ยังมีมูลนก และเศษของเปลือกไข่กระจายอยู่ทั่วไป น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 9.86 ± 2.34 กรัม/รัง รังนกมีคุณภาพดี
สามารถนำไปจำหน่ายได้ ในราคารังดิบประมาณ 40,000 – 60,000 บาท/กิโลกรัม

อาจารย์ณัฐพงษ์ บวรเรืองโรจน์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย และผู้ออกแบบบ้านรังนก กล่าวว่า บ้านรังนกต้นแบบนี้ ยังสามารถลดต้นทุนการ
สร้างได้อีก โดยเฉพาะโครงสร้างของอาคาร และการเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้าง โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน
ซึ่งประกอบด้วย ห้องรังนก ร่องน้ำ และคานไม้กระดานสำหรับเป็นที่พักอาศัย



http://bidtohome.com/webindex/page.php?clink=idsearch2011www.psu.ac.th/node/4136
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 28/06/2012 5:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,668. การควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง

การจำแนกชนิดวัชพืช
พันธุ์ข้าว
วิธีการเตรียมดินและการปลูก
อัตราเมล็ดพันธุ์
การกำหนดช่วงเวลาปลูก
วิธีการ การควบคุมวัชพืชร่วมกับอัตราเมล็ดพันธุ์


เป็นเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว จากการทำนาดำ เป็นนาหว่านแห้ง
กันมากขึ้น จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2541) พบว่าพื้นที่การทำนาหว่านข้าวแห้ง ปี 2540/41 ประมาณ 8.17 ล้าน
ไร่ การที่เกษตรกรหันมาทำนาหว่านข้าวแห้งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีการปลูกข้าวที่ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่าย เพราะการ
ปลูกข้าวแบบนาหว่านข้าวแห้ง เป็นการปลูกข้าวแบบหว่านเมล็ดโดยตรง เมล็ดข้าวจะงอกพร้อมกัน เมื่อได้รับน้ำฝนหรือมีความชื้นสภาพแวด
ล้อมเหมาะสม แต่ปัญหาสำคัญที่ตามมา คือ ปัญหาจากวัชพืชในนาข้าว หากไม่มีการควบคุมและกำจัดวัชพืชแล้ว จะเกิดการสูญเสีย และมี
ผลทำให้ผลผลิตของข้าวในการทำนาหว่านข้าวแห้งลดลง ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์


การควบคุมและกำจัดวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง ที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ส่วนใหญ่เป็นวิธีดั้งเดิม เช่น การเตรียมดินปลูกที่ดีและการใช้แรงงาน
ถอนกำจัดวัชพืช แต่การถอนวัชพืชด้วยมือในนาหว่านข้าวแห้ง จะกระทำได้ยาก สิ้นเปลืองแรงงาน มีค่าใช้จ่ายสูง และทำลายต้นข้าว
ขณะปฏิบัติงาน นอกจากนี้ประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชค่อนข้างต่ำอีกด้วย การจัดการวัชพืชแบบผสมผสาน (Integrated Weed
Management) เป็นการควบคุมและกำจัดวัชพืชที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง มีการนำวิธีการหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน องค์ประกอบของการ
จัดการวัชพืช เช่น การจำแนกชนิดวัชพืช วิธีการเขตกรรม การใช้อัตราปลูกที่เหมาะสม การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม การปลูกพืชร่วม
ระบบและการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ประโยชน์จากมวลชีวภาพมาใช้ร่วมกัน หรืออาจจะประสานกับการปฏิบัติด้านอื่นๆ ด้วย เพื่อให้
ได้ผลที่สมบูรณ์โดยประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่จะตามมาอีกด้วย


...
ปัญหาวัชพืชระบาดรุนแรงในนาหว่านข้าวแห้ง


การวิจัยทางด้านวิทยาการวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการนำแนวทางการ
จัดการวัชพืชมาใช้โดยมีการนำวิธีการลดปัญหาที่เกิดจากวัชพืชมากกว่าหนึ่งวิธีมาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีวิธีการควบ
คุมและกำจัดวัชพืช ที่ทำให้เกิดสภาวะที่ขจัดหรือลดอัตราการเจริญเติบโตของวัชพืช โดยให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ลดต้นทุน
และค่าใช้จ่าย ตลอดจนผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด และประการสุดท้ายเป็นแนวทางการผลิตข้าวหอมมะลิแบบอิน
ทรีย์ วิธีการต่างๆ มีดังต่อไปนี้



การจำแนกชนิดวัชพืช
การเปลี่ยนวิธีการทำนาจากนาดำเป็นนาหว่านข้าวแห้ง ทำให้ระบบนิเวศการปลูกข้าวเปลี่ยนแปลงไป เริ่มตั้งแต่ช่วงระยะการปลูก การ
เปลี่ยนพันธุ์ข้าว การเตรียมดินและการจัดการอื่นๆ ทำให้ชนิด และปริมาณวัชพืชมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากการสำรวจประชากร
วัชพืช ในสภาพการทำนาหว่านข้าวแห้ง พบว่าในระยะแรกๆ ของการเจริญเติบโตทางลำต้นหรือประมาณ 30 วันของข้าวหลังจากข้าว
งอก ชนิดวัชพืชเด่นที่พบ เช่น หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colon (L.) Link), เซ่งใบมน (Melochia corchorifolia L.)
และกกต่างๆ เช่น กกทราย (Cyperus iria L.), เป็นต้น แต่ในระยะ 60 วันหลังข้าวงอก หรือต้นข้าวมีการเจริญเติบโตในช่วงเริ่ม
แตกกอ จะพบหญ้านกสีชมพู ในระยะเก็บเกี่ยวจะพบหญ้าแดง (Ischaemum rugosum Salisb.) และหญ้าไทร (Leersia
hexandra SW.) มีจำนวนมากกว่าชนิดอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงชนิดและจำนวนของวัชพืช ตั้งแต่ต้นฤดูปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว แตกต่าง
กันไป โดยที่ในระยะแรกของการปลูก จะพบวัชพืชพวกวงศ์หญ้า และวัชพืชใบกว้างเกิดขึ้นมากกว่าประเภทอื่นๆ แต่ในระยะเก็บเกี่ยว
จะพบว่าปริมาณวัชพืชพวกกกมีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความชื้น และระดับน้ำในนา ตลอดจนการเจริญ
เติบโตของต้นข้าวทั้งความสูงและพื้นที่ใบ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณวัชพืชด้วยเช่นกัน


....
หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link)........ เซ่งใบมน (Melochia corchorifolia L.)


พันธุ์ข้าว
พันธุ์ข้าวที่มีรูปทรงต้นและลักษณะบางประการ มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชได้ค่อนข้างสูง เช่น ลักษณะทรงต้นสูง ใบ
แผ่กว้างจะช่วยปกคลุมพื้นที่ปิดกั้นบดบังแสงมิให้แสงส่องผ่านลงสู่ต้นล่าง ทำให้ปริมาณและความเข้มของแสงที่ผิวดินต่ำลง ทำ
ให้การงอกของเมล็ดวัชพืชบางชนิดลดลง และชะลอการเจริญเติบโตของต้นกล้าวัชพืชลงได้ ในสภาพนาหว่านข้าวแห้งได้มีการศึก
ษาวิจัยพันธุ์ข้าวที่มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืช
ของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นบางพันธุ์ในนาหว่านข้าวแห้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการทดลองพบว่าในสภาพที่ปล่อยให้มีการแข่งขัน
กับวัชพืช ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105, และ กข23
จะพบจำนวนต้น และ น้ำหนักแห้งวัชพืชเหลืออยู่ค่อนข้างต่ำ

จากผลการทดลองดังกล่าวนี้ แสดงว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีลักษณะทรงต้นสูง ใบยาวและแผ่กว้างทำให้วัชพืชไม่สามารถ
เจริญเติบโตได้เต็มที่ หรือลดจำนวนลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จะให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ เมื่อมีการแข่งขันกับ
วัชพืชในสภาพการทำนาน้ำฝน


พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105


อย่างไรก็ตามข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อปล่อยให้มีการแข่งขันกับวัชพืชจะพบปริมาณวัชพืชเกิดขึ้นน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีการกำจัดวัชพืชจะโดยวิธีใดก็ตามทำให้ข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น จากข้อดีดังกล่าวนับว่าเป็นความ
ได้เปรียบของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการทำนาแบบนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตอาศัยน้ำฝนที่มีปัญหาเนื่องจากวัช
พืชระบาดรุนแรง


วิธีการเตรียมดินและการปลูก
การเตรียมแปลงปลูกที่ดี จะช่วยลดปัญหาจากวัชพืชได้ แต่ในสภาพการทำนาหว่านข้าวแห้ง ในพื้นที่อาศัยน้ำฝน เมื่อปริมาณและการ
กระจายตัวของฝนเหมาะสม ทำให้เมล็ดข้าวที่อยู่ในดินงอกขึ้นมาขณะเดียวกันเมล็ดวัชพืชที่อยู่ในระดับผิวดินก็จะงอกขึ้นมาพร้อมกับ
ต้นข้าวและการแข่งขันในปัจจัยการเจริญเติบโตกับต้นข้าวจึงเริ่มขึ้น อีกกรณีหนึ่งการไถเป็นการกำจัดวัชพืชที่เกิดขึ้นมา หรือทำลายเมล็ด
วัชพืชในระดับที่จะงอกได้ ในเวลาเดียวกันจะเป็นการพลิกให้เมล็ดวัชพืชที่อยู่ลึกในดินขึ้นมาสู่ผิวดิน และสามารถงอกขึ้นมาอีก


การปลูกข้าวแบบนาหว่านมีการปฏิบัติที่หลากหลาย เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านหลังขี้ไถ
ทั้ง 3 รูปแบบเป็นการปลูกข้าวที่มีข้อแตกต่างตรงวิธีการเตรียมดิน และการปลูก โดยการเตรียมดินมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดวัชพืช
ดั้งเดิมที่ขึ้นอยู่ในนา ก่อนที่จะหว่านข้าว ซึ่งวิธีการเตรียมดินของเกษตรกรในปัจจุบัน ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานสัตว์เป็นส่วน
ใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ เช่น รถไถเดินตาม หรือรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ และการเตรียมดินจะพิถีพิถันมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้น
อยู่กับเครื่องมือ ค่าใช้จ่าย และความพร้อมของเกษตรกรเอง โดยมีวิธีการปลูกร่วมกับการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ในการทำนาหว่านข้าว
แห้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าวิธีการเตรียมดินและปลูกตามแบบต่างๆ ทั้ง 3 แบบ ซึ่งเป็นวิธีของเกษตรกรและใช้เมล็ดพันธุ์
ข้าวอัตราตั้งแต่ต่ำสุดที่ 8 กิโลกรัม ถึงสูงสุดที่ 24 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ได้รับไม่แตกต่างกันทุกวิธี
การปลูก และทุกอัตราเมล็ดพันธุ์ โดยเฉลี่ยประมาณ 265 กิโลกรัมต่อไร่


อัตราเมล็ดพันธุ์
ตามปกติในการทำนาหว่านข้าวแห้ง มีคำแนะนำให้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-2 ถังต่อไร่ หรือประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้
เมล็ดพันธุ์อัตราดังกล่าว จะทำให้มีประชากรของต้นข้าวที่เหมาะสม สำหรับในเรื่องอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวเกษตรกรจะให้ความสนใจมาก
บางพื้นที่ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียจากการทำลายของสัตว์ศัตรูข้าว เช่น นก หนู เป็นต้น และ
เพิ่มการ แข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชในแปลงนา การใช้อัตราที่เหมาะสมประมาณ 16 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้ประชากรต้นข้าวที่เกิด
ขึ้นมาสามารถที่จะแข่งขันกับวัชพืชได้ มีการวิจัยและนำเอาวิธีการดังกล่าวมาผสมผสานร่วมกัน โดยที่เมื่อทำการเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์
ให้สูงขึ้นจะมีผลทำให้ชนิด และจำนวนวัชพืชที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกข้าวลดลง ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของเมล็ดพันธุ์ การทำนาหว่านข้าว
แห้งด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 18-24 กิโลกรัมต่อไร่ จะช่วยลดปัญหาวัชพืชให้ลดลง อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ใน
การแนะนำ ให้เกษตรกรปลูกข้าวแบบการทำนาหว่านข้าวแห้ง ตามสภาพความเหมาะสมของพื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกร โดยการ
จัดการวิธีการเตรียมดินและวิธีการปลูกแต่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม โดยลดต้นทุนการผลิตข้าวในด้านแรงงานและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อ
ลดปัญหาวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งได้ในระดับหนึ่ง โดยลดต้นทุนการผลิตข้าวที่จะต้องใช้แรงงานเตรียมดิน และอัตราเมล็ดพันธุ์ได้
อย่างเหมาะสม



การกำหนดช่วงเวลาปลูก
พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105, กข15 และกข6 เป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง เหมาะสำหรับการปลูกในฤดูนาปี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกษตรกรจะเริ่มไถเตรียมดินและหว่านข้าวตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป การที่เกษตรกรหว่านข้าวเร็วจะทำให้ต้นข้าวอยู่ในนาเป็น
เวลานาน และจะประสบกับปัญหาจากสภาพความแห้งแล้งเนื่องจากฝนทิ้งช่วง มีวัชพืชขึ้นแข่งขันมาก และแมลงสัตว์ศัตรูข้าวรบกวน
การกำหนดช่วงระยะปลูกที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาจากวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งได้ มีคำแนะนำให้หว่านข้าวประมาณเดือนมิถุนายน
จนถึงกลางเดือนสิงหาคมแทนที่จะปลูกในเดือนเมษายน จากการทดสอบศึกษาช่วงเวลาปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข6
โดยเริ่มปลูกตั้งแต่ปลาย เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนกรกฎาคม พบว่า การกำหนดระยะเวลาปลูกเร็วหรือช้าจะมีผลกระทบต่อการให้ผล
ผลิตของข้าวทั้ง 2 พันธุ์ โดยที่การปลูกประมาณกลางเดือนกรกฎาคมจะให้ผลผลิตสูงสุด และมีปัญหาวัชพืชต่ำ การปลูกข้าวทั้ง 2 พันธุ์
นี้เร็วแต่ต้นปี จะทำให้ข้าวประสบกับสภาวะแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วง และเกิดปัญหาจากวัชพืชรุนแรงติดตามมา


วิธีการ การควบคุมวัชพืชร่วมกับอัตราเมล็ดพันธุ์
พันธุ์ข้าวที่แนะนำ และส่งเสริมให้ปลูกในนาหว่านข้าวแห้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองเช่นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105,
เหลืองประทิว 123, ขาวตาแห้ง 17, กข15 และ กข6 เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะทรงต้นสูง ใบยาวใหญ่แผ่ โน้มปก
คลุม เป็นลักษณะที่มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชได้ดี การใช้พันธุ์พืชปลูกที่สามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ดี จัดเป็นวิธีการหนึ่ง
ของการจัดการวัชพืช มีการศึกษาพันธุ์ข้าว 2 พันธุ์ที่มีลักษณะรูปทรงต้นแตกต่างกัน คือ พันธุ์กข23 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่ง
มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชต่างกัน พบว่าใช้พันธุ์ข้าว กข23 การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 32 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด ส่วน
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมล็ดพันธุ์ที่อัตรา 16 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ผลผลิตสูงสุด การเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ 8 ถึง 40 กิโลกรัม
ต่อไร่ ในสภาพที่ไม่มีการกำจัดวัชพืช จะทำให้น้ำหนักแห้งของวัชพืชลดลงตามอัตราการเพิ่มขึ้นของเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากอัตราเมล็ดพันธุ์
ดังกล่าวเป็นอัตราที่ทำให้มีประชากรต้นข้าว และความหนาแน่นของต้นข้าวแข่งขันกับวัชพืชได้อย่างเหมาะสม ในทำนองเดียวกันการ
กำจัดวัชพืชโดยการถอนด้วยมือ 2 ครั้ง ที่ระยะ15 และ30 วันหลังข้าวงอก จะทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ
เปรียบเทียบกับไม่มีการควบคุมวัชพืช



เกษตรกรกำจัดวัชพืชโดยใช้มือถอน


แนวทางการควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งเพื่อผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังมีแนวทางในการจัดการ
อีกหลายด้านที่จะช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น การจัดการปุ๋ย การจัดการเรื่องน้ำ การจัดการเขตกรรม การใช้ประโยชน์จากมวลชีว
ภาพ การปลูกพืชหมุนเวียนหรือระบบการปลูกพืช และการควบคุมวัชพืชโดยชีววิธี เป็นต้น วิธีการต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีการนำมาวิจัย
ผสมผสานร่วมกัน เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการลดปัญหาวัชพืช ในนาหว่านข้าวแห้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแนะนำถ่ายทอด
สู่เกษตรกรต่อไป

กล่าวโดยสรุปการจัดการวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งสำหรับการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เป็นการนำวิธีการควบคุมและกำจัดวัชพืช
หลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน โดยที่แต่ละวิธีการจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งมีผลทำให้ชนิดและจำนวนวัชพืชที่จะเป็นตัวแก่งแย่งปัจจัย
การเจริญเติบโตของข้าว เช่น ธาตุอาหาร, น้ำ ความชื้น และแสงแดดนั้นลดลง หรือเหลือน้อยที่สุด การจัดการวัชพืชเป็นการนำวิธี
การควบคุมและกำจัดวัชพืชทั้งทางตรงและทางอ้อมมาใช้ผสมผสานกัน โดยคำนึงถึงปัจจัยต้นทุนในการผลิตข้าวของเกษตรกรให้ต่ำ
ที่สุด และมีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและในสภาพแวดล้อมมากที่สุด จึงจะได้ชื่อว่าข้าวหอมมะลิอินทรีย์อย่างแท้จริง



การควบคุมระดับน้ำในแปลงนา จะช่วยลดปัญหาวัชพืช



http://www.brrd.in.th/rkb/weed/index.php-file=content.php&id=46.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/06/2012 3:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 28/06/2012 5:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,669. การทำนาดำ


เป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า)ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วถอนต้นกล้าไปปักดำในกระทงนา
ที่เตรียมไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิต การทำนาดำนิยมในพื้นที่ที่มีแรงงานเพียงพอ





การทำนาดำ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การเตรียมดิน
การเตรียมดินสำหรับการทำนา ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่ ตลอดจนแบบวิธีการทำนา และ
เครื่องมือการเตรียมดินที่แตกต่างกัน


การเตรียมดินแยกได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ
1. การไถดะ และไถแปร
- การไถดะคือ การไถพลิกหน้าดินครั้งแรกเพื่อกำจัดวัชพืช และตากดินให้แห้ง
- การไถแปร คือการไถครั้งที่สองโดยไถขวางแนวไถดะ เพื่อย่อยดินและคลุกเคล้าฟาง วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดิน

การไถ ไถด้วยแรงงานสัตว์ เช่น วัว ควาย รถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์

2. การคราดหรือใช้ลูกทุบ คือการกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้น
ตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดินที่เหมาะสมในการคราด การใช้ลูกทุบหรือเครื่องไถพรวน
จอบหมุน(Rotary)


ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
1. ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้
ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์)
และกรดอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งถ้าสารเหล่านี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อรากข้าวได้

2. ควรมีการหมักฟาง หญ้ารวมทั้งอินทรียวัตถุเพื่อให้สลายตัวสมบูรณ์ ประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการไถเตรียมดิน เพื่อให้ ดินปรับ
ตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าว

3. ดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (pH ต่ำกว่า4.0) ควรขังน้ำไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อ
ให้ปฏิกิริยาต่างๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี
หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น


การตกกล้า
การเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็ง
แรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอทั้งแปลง มีกาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

- การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ ปราศจากสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์)
ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง

- การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะเช่นตะกร้าไม้ไผ่สาน กระสอบป่านหรือ ถุงผ้า ไปแช่ในน้ำสะอาด
นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่ม
มาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอก
ขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้


เมล็ดข้าวหลังจากแช่และหุ้มแล้วพร้อมที่จะนำไปหว่าน
ในการหุ้มเมล็ดพันธุ์นั้น ควรวางเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และขนาดของกองเมล็ดพันธุ์ต้องไม่โตากเกินไป หรือ
บรรจุถุงขนาดใหญ่เกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสูงในกองหรือถุงข้าว เพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปเมล็ดพันธุ์ข้าวจะตาย ถ้าอุณหภูมิ
พอเหมาะข้าวจะงอกเร็ว และสม่ำเสมอกันตลอดทั้งกอง

- การตกกล้า การตกกล้ามีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ เช่นการตกกล้าบนดินเปียก (ทำเทือก) การตกกล้า
บนดินแห้ง และการตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว

การตกกล้าในสภาพเปียก หรือการตกกล้าเทือก เป็นวิธีที่ชาวนาคุ้นเคยกันดี การตกกล้าแบบนี้จะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ การดูแล
รักษาไม่ยุ่งยากและความสูญเสียจากการทำลายของศัตรูข้าวมีน้อย มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

- การเตรียมดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับแปลงปักดำ แต่เพิ่มความพิถีพิถันมากขั้น ในการเก็บกำจัดวัชพืช และปรับระดับเทือกให้ราบเรียบ
สม่ำเสมอ

- การเพาะเมล็ดพันธุ์ ปฏิบัติตามขั้นตอนของการเตรียมเมล็ดพันธุ์ การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50-60 กรัม
ต่อตารางเมตร หรือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้กล้าสำหรับปักดำได้ประมาณ 15-20 ไร่

- การหว่านเมล็ดพันธุ์ ปล่อยน้ำแปลงกล้าให้แห้ง ทำเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ นำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะงอกดีแล้วมาหว่านให้กระจายสม่ำ
เสมอตลอดแปลง ควรหว่านเมล็ดพันธุ์ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงซึ่งมีความร้อนแรงมาก อาจทำให้เมล็ด
ข้าวตายได้

- การให้น้ำ ถ้าตกกล้าไม่มากนัก หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วหนึ่งวัน สาดน้ำรดให้กระจายทั่วแปลง ประมาณ 3-5 วัน กล้าจะสูงพอที่
ไขน้ำเข้าท่วมแปลงได้ แต่ถ้าตกกล้ามาก ไม่สามารถที่จะสาดน้ำรดได้ ให้ปล่อยน้ำหล่อเลี้ยงระหว่างแปลงย่อย ประมาณ 3-5 วัน เมื่อ
ต้นกล้าสูงจึงไขน้ำเข้าท่วมแปลง และค่อยเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของต้นกล้าจนน้ำท่วมผิวดินตลอด ให้หล่อเลี้ยงไว้ในระดับ
ลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร จนกว่าจะถอนกล้าไปปักดำ

- การใส่ปุ๋ยเคมี ถ้าดินแปลงกล้ามีความอุดมสมบูรณ์สูง กล้างามดีก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เพราะจะงามเกินไป ใบจะยาว ต้นอ่อน ทำให้ถอน
แล้วต้นขาดง่ายและตั้งตัวได้ช้าเมื่อนำไปปักดำ แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ให้ใส่ปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมฟอสเฟต (16-20-0) อัตรา
ประมาณ 25-40 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่หลังหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วประมาณ 7 วัน หรือเมื่อสามารถไขน้ำเข้าท่วมแปลงได้แล้ว (ดูราย
ละเอียดในเรื่องการใส่ปุ๋ยแปลงกล้า)

- การดูแลรักษา ใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าวตามความจำเป็น


การตกกล้าในสภาพดินแห้ง การตกกล้าโดยวิธีนี้ ควรกระทำเมื่อฝนไม่ตกตามปกติ และไม่มีน้ำเพียงพอที่จะทำเทือกเพื่อตกกล้าได้
แต่มีน้ำพอที่จะใช้รดแปลงกล้าได้ มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

- การเตรียมดิน เลือกแปลงที่ดอนน้ำไม่ท่วม มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่จะนำมารดแปลง ทำการไถดะตากดินให้แห้ง แล้วไถแปร
คราดดินให้แตกละเอียด เก็บวัชพืชออก ปรับระดับดินให้ราบเรียบ

- การตกกล้า ทำได้ 4 แบบคือ
1. การหว่านข้าวแห้ง หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงโดยตรง โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการตก
กล้าเทือก คือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วคราดกลบเมล็ดพันธุ์ให้จมดินพอประมาณ อย่าให้จมมาก เพราะจะทำให้เมล็ดงอก
ช้าและโคนกล้าอยู่ลึกทำให้ถอนยาก

2. การหว่านข้าวงอก เพาะเมล็ดให้งอกขนาดตุ่มตา (วิธีการเพาะเช่นเดียวกับการตกกล้าเทือก) อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการหว่าน
ข้าวแห้ง ควรหว่านตอนบ่ายหรือเย็น หว่านแล้วคราดกลบและรดน้ำให้ชุ่มทันทีหลังการหว่าน

3. การตกกล้าแบบกระทุ้งหยอดข้าวแห้ง หรือวิธีการซิมกล้า เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพนาดอนอาศัยน้ำฝน โดยการไถพรวนดิน
ให้ดินร่วน เพื่อกำจัดวัชพืชและสะดวกต่อการงอกของเมล็ด จากนั้นใช้ไม้กระทุ้งหยอดเมล็ดลงหลุม แล้วใช้ดินหรือขี้เถ้าแกลบกลบ
เมล็ดเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหรือแมลง มาคุ้ยเขี่ย หลังจากนั้นจึงถอนกล้าจากแปลงกล้านี้ไปปักดำในแปลงปักดำ ซึ่งคิดเป็นอัตรา
เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปักดำต่อพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่

4. การตกกล้าสำหรับใช้กับเครื่องปักดำ
การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว เนื่องจากเครื่องปักดำข้าวมีหลากหลายยี่ห้อ และมีกรรมวิธีรายละเอียดแตกต่างกัน การตกกล้าเพื่อ
ใช้กับเครื่องเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีคำแนะนำมาพร้อมเครื่อง


การปักดำ
.....


การตกกล้าในสภาพดินแห้ง
การตกกล้าโดยวิธีนี้ ควรกระทำเมื่อฝนไม่ตกตามปกติ และไม่มีน้ำเพียงพอที่จะทำเทือกเพื่อตกกล้าได้ แต่มีน้ำพอที่จะใช้รดแปลง
กล้าได้ มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

- การเตรียมดิน เลือกแปลงที่ดอนน้ำไม่ท่วม มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่จะนำมารดแปลง ทำการไถดะตากดินให้แห้ง แล้ว
ไถแปร คราดดินให้แตกละเอียด เก็บวัชพืชออก ปรับระดับดินให้ราบเรียบ

- การตกกล้า ทำได้ 4 แบบคือ
1. การหว่านข้าวแห้ง หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงโดยตรง โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการ
ตกกล้าเทือก คือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วคราดกลบเมล็ดพันธุ์ให้จมดินพอประมาณ อย่าให้จมมาก เพราะจะทำให้เมล็ด
งอกช้าและโคนกล้าอยู่ลึกทำให้ถอนยาก

2. การหว่านข้าวงอก เพาะเมล็ดให้งอกขนาดตุ่มตา (วิธีการเพาะเช่นเดียวกับการตกกล้าเทือก) อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการหว่าน
ข้าวแห้ง ควรหว่านตอนบ่ายหรือเย็น หว่านแล้วคราดกลบและรดน้ำให้ชุ่มทันทีหลังการหว่าน

3. การตกกล้าแบบกระทุ้งหยอดข้าวแห้ง หรือวิธีการซิมกล้า เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพนาดอนอาศัยน้ำฝน โดยการไถพรวน
ดินให้ดินร่วน เพื่อกำจัดวัชพืชและสะดวกต่อการงอกของเมล็ด จากนั้นใช้ไม้กระทุ้งหยอดเมล็ดลงหลุม แล้วใช้ดินหรือขี้เถ้าแกลบ
กลบเมล็ดเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหรือแมลง มาคุ้ยเขี่ย หลังจากนั้นจึงถอนกล้าจากแปลงกล้านี้ไปปักดำในแปลงปักดำ ซึ่งคิดเป็น
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปักดำต่อพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่

4. การตกกล้าสำหรับใช้กับเครื่องปักดำ


การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว เนื่องจากเครื่องปักดำข้าวมีหลากหลายยี่ห้อ และมีกรรมวิธีรายละเอียดแตกต่างกัน การตกกล้าเพื่อ
ใช้กับเครื่องเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีคำแนะนำมาพร้อมเครื่อง


การปักดำ
การปักดำควรทำเป็นแถวเป็นแนวซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพ่นยากำจัดโรคแมลง และยังทำให้ข้าวแต่ละกอ
มีโอกาสได้รับอาหารและแสงแดดอย่างสม่ำเสมอกัน สำหรับระยะปักดำนั้นขึ้นกับชนิดและพันธุ์ข้าว ดังนี้

- พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปรัง เช่นพันธุ์ สุพรรณบุรี1 ชัยนาท1 พิษณุโลก2 สันป่าตอง 1 ควรใช้ระยะปักดำระหว่าง
แถวและระหว่างกอ 20x20 เซนติเมตร หรือ 20x25 เซนติเมตร

- พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปี เช่น เหลืองประทิว123 ขาวดอกมะลิ105 กข15 กข6 ปทุมธานี60 ควรใช้ระยะปักดำ 25x25
เซนติเมตร

- ปักดำจับละ 3-5 ต้น ปักดำลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร จะทำให้ข้าวแตกกอใหม่ได้เต็มที่


การปักดำลึกจะทำให้ข้าวตั้งตัวได้ช้าและแตกกอได้น้อย
ไม่ควรตัดใบกล้าเพราะการตัดใบกล้าจะทำให้เกิดแผลที่ใบ จะทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย ควรตัดใบกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่น ใช้กล้าอายุมาก
มีใบยาว ต้นสูง หรือมีลมแรง เมื่อปักดำแล้วจะทำให้ต้นข้าวล้ม

อายุกล้า การใช้กล้าอายุที่เหมาะสม จะทำให้ข้าวตั้งตัวเร็ว แตกกอได้มาก และให้ผลผลิตสูง อายุกล้าที่เหมาะสมสำหรับปักดำ ขึ้นอยู่
กับชนิดและพันธุ์ข้าวดังนี้

- พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปรัง เช่นพันธุ์ สุพรรณบุรี1 ชัยนาท1 พิษณุโลก2 ควรใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน

- พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปี เช่น เหลืองประทิว123 ขาวดอกมะลิ105 กข15 กข6 ปทุมธานี60 ควรใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 25-30 วัน


ระดับน้ำในการปักดำ ควรมีระดับน้ำในนาน้อยที่สุด เพียงแค่คลุมผิวดิน เพื่อป้องกันวัชพืชและประคองต้นข้าวไว้ไม่ให้ล้ม การควบคุมระดับ
น้ำหลังปักดำก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะระดับน้ำลึกจะทำให้ต้นข้าวแตกกอน้อย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตต่ำ ควรควบคุมให้อยู่ในระดับลึก
ประมาณ 1 ฝ่ามือ (10 เซนติเมตร)

- การดูแลรักษา
- การใส่ปุ๋ย
- การกำจัดวัชพืช
- การกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว



http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 1:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,670. ข้าวนาชลประทาน : นาดำ



2.1 นาดำ
2.1.1 ดินร่วนทรายหรือดินทราย
2.1.1.1 การใส่ปุ๋ยเคมี


• การใส่ปุ๋ยแปลงกล้าข้าว
ในแปลงกล้าข้าว ควรใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกในอัตรา 500 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ร่วมกับปุ๋ย 16-16-8 อัตรา 10 กรัม ต่อพื้นที่ 1
ตารางเมตร หว่านรองพื้นก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ 1 วัน หรืออาจแยกหว่านปุ๋ย 16-16-8 ที่ 10–15 วันหลังหว่านเมล็ดก็ได้ แต่ใน
ช่วง 7 วันก่อนถอนกล้าไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน

• การใส่ปุ๋ยแปลงปักดำ
- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ (หรือใส่
ปุ๋ยหลังจากปักดำไม่เกิน 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว) หากไม่มีปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น
16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้โดยใส่อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์
(0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25-35 กิโลกรัมต่อไร่ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ (หรือใส่
ปุ๋ยหลังจากปักดำ 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว) หากไม่มีปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0,
18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้โดยใส่อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)
อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 20 กิโล
กรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าว ออกดอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 40 กิโลกรัม
ต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก





ควรใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำข้าว

2.1.1.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่
หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบวัสดุอินทรีย์
ไปด้วย


.....
ควรไถกลบฟางภายหลังการเก็บเกี่ยว .........................ไม่ควรเผาฟาง


2.1.2 ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว
2.1.2.1 การใส่ปุ๋ยเคมี

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 อัตรา 25
กิโลกรัมต่อไร่ ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ (หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำไม่เกิน 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว)

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 อัตรา 30-
35 กิโลกรัมต่อไร่ ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ (หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำไม่เกิน 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว)

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 20 กิโล
กรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 40 กิโล
กรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

2.1.2.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว

ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ หรือ
ใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบวัสดุอินทรีย์ไปด้วย



http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=11.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 1:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,671. การทำนาหว่าน

1. นาหว่านข้าวแห้ง
2. นาหว่านข้าวงอก

- การทำนาหว่านน้ำตม
- การเตรียมเมล็ดพันธุ์
- อัตราเมล็ดพันธุ์
- การหว่าน
- การดูแลรักษา


การทำนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยการหว่านเมล็ดลงไปในนาที่เตรียมพื้นที่ไว้แล้วโดยตรง เป็นวิธีการที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน
เนื่องจากประหยัดแรงงานและเวลา




การทำนาหว่าน แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1. นาหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวเพื่อคอยฝน และมีชื่อเรียกปลีกย่อยไปตามวิธีปฏิบัติ คือ

- การหว่านสำรวย เป็นการหว่านเมล็ดข้าวแห้งในสภาพดินแห้ง เนื่องจากฝนยังไม่ตก โดยหลังจากการไถแปรครั้งสุดท้ายแล้ว
หว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องคราดกลบ เมล็ดจะตกลงไปอยู่ในระหว่างก้อนดิน เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมา ในบาง
พื้นที่หลังจากการหว่านข้าวแห้งแล้วมีการคราดกลบหรือไถกลบ

- การหว่านหลังขี้ไถ เป็นการหว่านในสภาพที่มีฝนตกลงมา และน้ำเริ่มจะขังในกระทงนา เมื่อไถแปรแล้วก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
ตามหลัง แล้วคราดกลบทันที



.....
การหว่านสำรวย........................................................... การหว่านหลังขี้ไถ


2. นาหว่านข้าวงอก หว่านน้ำตม โดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา (มีรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร)
ไปหว่านลงในกระทงนา ซึ่งมีการเตรียมดินจนเป็นเทือก แยกเป็น

- การหว่านหนีน้ำ ทำในนาน้ำฝน เนื่องจากการหว่านข้าวแห้งหรือทำการตกกล้าไม่ทัน เมื่อฝนมามาก หลังจากเตรียมดินเป็นเทือก
ดีแล้ว ก็หว่านข้าวที่เพาะจนงอก ลงไปในกระทงนาที่มีน้ำขังอยู่มากจึงเรียกว่า นาหว่านน้ำตม

- นาชลประทาน หรือนาในเขตที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ การทำนาในสภาพนี้มักจะให้ผลผลิตสูง หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้ว
ระบายน้ำออกหรือให้เหลือน้ำขังบนผืนนาน้อยที่สุด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่งอกขนาด “ตุ่มตา” หวานลงไป แล้วคอยดูแลควบคุม
การให้น้ำ มักจะเรียกการทำนาแบบนี้ว่า “การทำนาน้ำตมแผนใหม่”





การทำนาหว่านน้ำตม
การทำนาหว่านน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียมดิน
ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว
เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ด
วัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบ จะช่วยทำลายวัชพืชได้
หากทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5 วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขังน้ำไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบชวา ขาเขียด แห้วทรงกระเทียม ผักปอดและกกเล็ก เป็นต้น
งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำ
ลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงไป
ในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่
เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบาย
น้ำออกเพื่อปรับเทือก

การปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวกการงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะเมล็ดข้าว
ฃมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถขึ้นได้
แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่าย และข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปรับ
พื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหว่านน้ำตมอีกด้วย การปรับพื้นที่ทำ
เทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร
ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่งให้กว้าง การแบ่งอาจ
ใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระ
หว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อยได้อีกด้วย


การเตรียมเมล็ดพันธุ์
- ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่าง
เมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์

- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำ เพื่อ
ความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง

- คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง

อัตราเมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ ถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดิน
ปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง แต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบาย
น้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่
ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม

การหว่าน
ควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่าน
ในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่
หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึง
ระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น


......
การหว่าน .................................................................. การกระจายของเมล็ดข้าวหลังหว่าน



สภาพการงอกและเจริญเติบโตหลังหว่าน


การดูแลรักษา
การทำนาหว่านน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง

1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ 70-80 วัน
เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้น
ข้าวแข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมด
ฝน หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น

2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับ
น้ำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติ
เมตร เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร
เป็นเหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย





3. การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ จำนวนที่พอเหมาะ จึงจะให้ผลคุ้มค่า

4. การควบคุมวัชพืช วัชพืชเป็นปัญหาใหญ่ในการทำนาหว่าน้ำตม การปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบสม่ำเสมอและการควบคุม
ระดับน้ำจะช่วยลดประชากรวัชพืชได้ส่วนหนึ่ง ถ้ายังมีวัชพืชในปริมาณสูงจำเป็นต้องใช้สารเคมี

5. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว ปฏิบัติเหมือนการทำนาดำ



http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=2.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 1:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,672. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปุ๋ย


ปุ๋ย คือ สารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดย
วิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช


ชนิดของปุ๋ย
ปุ๋ยมีอยู่มากมายหลายชนิด เพื่อเข้าใจง่าย ในที่นี้จะขอแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึง ปุ๋ยเชิงเดียว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ และหมาย
ความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์หรือยิบซั่ม

2. ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่น แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ย
อินทรีย์มีหลายชนิดที่ควรทราบมีดังนี้

2.1 ปุ๋ยหมัก ได้แก่ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักเศษวัสดุ เช่น หญ้า ใบไม้ ฟางข้าว กากอ้อย แกลบ ขุยมะพร้าว เปลือกสับปะรด ซัง
ข้าวโพด จนกระทั่งเน่าเปื่อย ผุพัง กลายเป็นสารอินทรีย์ที่มีความคงทน ไม่มีกลิ่น และมีสีน้ำตาลปนดำ

2.2 ปุ๋ยคอก ได้แก่ ปุ๋ยที่ได้จากมูลและสิ่งขับถ่ายของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน

2.3 ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ปุ๋ยที่ได้จากการปลูกพืชและไถกลบพืชที่ยังเขียวอยู่ เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพร้า ปอเทือง โสน

3. ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึงการที่ใช้จุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางเคมีชีวะ และการย่อยสลายอินทรียวัตถุ
ตลอดจนการปลดปล่อยธาตุอาหารจากพืชจากอินทรียวัตถุ หรือจากอนินทรียวัตถุ เช่น เชื้อไรโซเบียม หรือสาหร่ายสีเขียวแกม
น้ำเงิน จะสามารถเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้กับดินและพืช




http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=5.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 2:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,673. การขาดไนโตรเจน ในนาข้าว (Nitrogen deficiency)


ในพืชทั่วไป ไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน (Amino acids) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids)
นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) และคลอโรฟิลล์ ไนโตรเจนช่วยในการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มขนาดใบ เพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง
เพิ่มจำนวนเมล็ดดีต่อรวง และเพิ่มปริมาณโปรตีนในเมล็ด


ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ
ชนิด สูตร ปริมาณธาตุอาหาร หมายเหตุ



ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่พบว่าขาดในนาข้าวทั่วไป โดยเฉพาะในนาดินทรายที่มีระดับอินทรียวัตถุต่ำเช่นที่พบทั่วไปในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยข้าวที่ขาดไนโตรเจนจะเริ่มที่ใบล่าง โดยสีของใบจะเป็นสีเขียวอ่อน แล้วกลายเป็นสีเหลือง ปลายใบ
เหลือง ถ้าขาดรุนแรงใบแก่จะตายเหลือเพียงใบอ่อน ใบแคบ สั้นและตั้งตรง มีสีเขียวปนเหลือง การขาดไนโตรเจนมักเกิด
ในระยะข้าวแตกกอและระยะกำเนิดช่อดอก ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวมีความต้องการไนโตรเจนสูง การขาดไนโตรเจนส่งผลให้
การแตกกอลดลง ต้นข้าวแคระแกรน แตกกอน้อย มีเมล็ดดีต่อรวงลดลงทำให้ผลผลิตข้าวลดลง อาการขาดไนโตรเจนจะคล้าย
กับอาการขาดกำมะถัน แต่การขาดกำมะถันจะไม่พบบ่อยนักและมักแสดงอาการที่ใบอ่อนก่อนจะลามไปทั้งต้น การขาดไนโตรเจน
เล็กน้อยยังคล้ายกับการขาดธาตุเหล็ก ต่างกันที่การขาดธาตุเหล็กจะเกิดกับใบอ่อนที่กำลังจะพ้นกาบใบออกมา

สาเหตุของการขาดไนโตรเจนในข้าวเกิดจากดินนามีระดับไนโตรเจนต่ำ การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดินขาดน้ำ
การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีการและเวลาที่ไม่เหมาะสม การสูญเสียไนโตรเจนไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งการที่ดินมีการสูญเสียไนโตรเจน
จากขบวนการต่างๆ (Volatilization, Denitrification, การถูกชะล้างสู่ดินชั้นล่าง) สูง

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดไนโตรเจนในข้าวสามารถทำได้โดย
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ข้าว เป็นวิธีการที่
รวดเร็วที่สุด โดยข้าวจะตอบสนองต่อปุ๋ยที่ใส่โดยมีใบเขียวขึ้น มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นหลังจากใส่ปุ๋ย 2–3 วัน อย่างไรก็ตาม
การตอบสนองนี้จะขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว ชนิดดิน สภาพภูมิอากาศ ชนิดปุ๋ยและปริมาณที่ใช้ รวมทั้งเวลาและวิธีการที่ใส่

การใช้วัสดุอินทรีย์ เช่นปุ๋ยพืชสด มูลสัตว์ ฟางข้าว เป็นต้น ในการเพิ่มระดับอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่ม
ปริมาณไนโตรเจนในดินในระยะยาว
ปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนโดยใส่วัสดุที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Ex-
change Capapcity - CEC) สูง เช่น Zeolite (CEC 200-300 cmol/ดิน 1 กก.), Vermiculite (CEC 100-200
cmol/ดิน 1 กก.)



อาการขาดธาตุไนโตรเจนในข้าว :


แปลงที่ไม่ได้ใส่ไนโตรเจน ซึ่งข้าวมีสีเขียวอ่อน



ลักษณะใบข้าวที่ขาดไนโตรเจน ซึ่งใบจะเล็กกว่าและสีอ่อนกว่าใบข้าวที่ได้รับไนโตรเจนพอเพียง (ภาพบน)



http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=28.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 2:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,674. การขาดฟอสฟอรัส ในนาข้าว (Phosphorus deficiency)


ฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Adenosine triphosphate (ATP) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) กรดนิว
คลีอิก (Nucleic acids) และฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ฟอสฟอรัสจะช่วยในการแตกกอ การพัฒนาของราก การออก
ดอกและการสุกแก่ของข้าว ปุ๋ยฟอสเฟตจะจำเป็นมากสำหรับข้าวที่ระบบรากยังไม่พัฒนาเต็มที่ เช่นหลังการปักดำใหม่ๆ ดังนั้น
จึงควรใส่ปุ๋ยฟอสเฟตเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนการปักดำหรือในวันปักดำ

ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัสจะแคระแกรน การแตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ตั้งตรงและมีสีเขียวเข้ม ลำต้นผอมเรียว ข้าวจะชะงักการ
เจริญเติบโต จำนวนใบ จำนวนรวงและจำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง ใบอ่อนสมบูรณ์ดีแต่ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายในที่สุด
ถ้าพันธุ์ข้าวที่ปลูกสามารถผลิต Anthocyanin ได้ใบอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ในดินที่เป็นกรดการขาดฟอสฟอรัสมัก
จะเกิดร่วมกับเหล็กเป็นพิษ

สาเหตุของการขาดฟอสฟอรัสเกิดจากการมีระดับฟอสฟอรัสในดินนาต่ำหรือถูกตรึงโดยดินจนพืชนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ (จะเกิด
ในดินที่เป็นกรดจัด) การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช วิธีการปลูกแบบนาหว่านมีโอกาสทำให้ข้าวขาดฟอสฟอรัสมาก
กว่าปลูกแบบปักดำเพราะต้นข้าวจะหนาแน่นกว่าและมีรากตื้นกว่าข้าวที่ปลูกแบบปักดำ

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดฟอสฟอรัสสามารถทำได้โดย การไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณ
ฟอสฟอรัสในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับฟอสฟอรัสในดินในระยะยาว ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ
ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต


อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสในข้าว


ข้าวที่ไม่ได้ใส่ฟอสเฟต (ขวามือ) จะแตกกอน้อยกว่าข้าวปกติ


.....
ต้นข้าวแคระแกรน ต้นเล็กเรียวและตั้งตรงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ



http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=29.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 2:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,675. การขาดโพแทสเซียม ในนาข้าว (Potassium deficiency)


โพแทสเซียม (K) มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายสารอาหารหรือผลผลิตจากการสังเคราะห์แสง ในพืช โพแทสเซียมจะช่วย
ทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง เพิ่มพื้นที่ใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ ชะลอการร่วงของใบ ช่วยเพิ่มจำนวนเมล็ดและจำนวนเมล็ดดีต่อ
รวง เพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ไม่ช่วยในการแตกกอ

ข้าวที่ขาดโพแทสเซียมต้นจะแคระแกรน การแตกกอลดลง ใบสั้น เหี่ยวแห้ง ใบโน้มลง (Droopy) และมีสีเขียวเข้ม ใบล่างจะ
มีปลายใบสีน้ำตาลเหลือง มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบโดยเริ่มจากปลายใบและขอบใบแล้วค่อยๆ ลุกลามสู่โคนใบในที่สุด ต่อมา
ใบจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาล ถ้าการขาดรุนแรงมากขึ้นบางครั้งจะมีจุดประสีน้ำตาลบนใบที่เป็นสีเขียวเข้มโดยเริ่มที่ปลาย
ใบก่อนจะขยายสู่ส่วนอื่นๆ ของใบ รวงข้าวจะผอมยาว อาจมีจุดด่าง ขนาดและน้ำหนักของเมล็ดลดลง การหักล้มสูง มักจะ
เกิดในระยะหลังของการเจริญเติบโต อาการขาดโพแทสเซียมนี้อาจสังเกตเห็นได้ยากในข้าวทั่วไป

สาเหตุของการขาดโพแทสเซียมเกิดจากการปลูกข้าวในดินทรายหรือดินที่มีปริมาณดินเหนียวต่ำ มีธาตุโพแทสเซียมในดินต่ำหรือ
ไม่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ หรือดินที่มีการชะล้างสูง นอกจากนี้อาจพบอาการขาดโพแทสเซียมในดินอินทรีย์ เช่น ดินพีท (Peat)
ดินมัก (Muck)

ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยโพแทสเซียมสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ
ชนิด สูตร ปริมาณธาตุอาหาร หมายเหตุ


การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดโพแทสเซียมสามารถทำได้โดย
ควรไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้
ว่าปริมาณโพแทสเซียมในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับโพแทสเซียมในดินในระยะยาว

ใส่ปุ๋ยโพแทซ ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

อาการขาดธาตุโพแทสเซียมในข้าว



....
.......................................... ขอบใบเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาล ........................


........................
โพแทสเซียมเป็นตัวจำกัดการเจริญของข้าวแม้ว่าจะมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสพอเพียง


.......
...........................................จุดสีน้ำตาลบนใบที่เขียวเข้ม .........................




http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=30.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/06/2012 5:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 3:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,676. การขาดแมกนีเซียม ในนาข้าว (Magnesium deficiency)


แมกนีเซียม (Mg) ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด เป็นองค์ประกอบหนึ่งของคลอโรฟิลล์จึงมีส่วนในการสังเคราะห์แสง
และการสังเคราะห์โปรตีนด้วย แมกนีเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย อาการขาดจึงมักเกิดกับใบแก่ก่อน ต้นข้าวที่ขาดแมกนี
เซียมจะมีอาการคล้ายการขาดโพแทสเซียม คือจะมีสีซีด พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะเป็นสีเขียวซีด โดยจะเกิดกับใบแก่ก่อนและเมื่อ
ขาดมากขึ้นจะลามมาถึงใบอ่อน ในกรณีที่ขาดรุนแรงใบแก่ของข้าวจะกลายเป็นสีเหลือง ข้าวมีการแตกกอ จำนวนใบและขนาด
ใบปกติ แต่ใบจะบิดไปมาและโน้มลง (Droopy) ข้าวจะมีจำนวนและน้ำหนักเมล็ดลดลง คุณภาพเมล็ดไม่ดี การขาดแมกนีเซียม
มักพบในดินที่เป็นกรดและมี CEC ต่ำ และดินทรายที่มีอัตราการซึมน้ำและการชะล้างสูง

ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยแมกนีเซียมสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ
ชนิด สูตร ปริมาณธาตุอาหาร หมายเหตุ


สาเหตุของการขาดแมกนีเซียมเกิดจากดินมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว การจัดการ
เพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดแมกนีเซียมสามารถทำได้โดยใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอ
เพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต


อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในข้าว



ใบมีสีเหลืองในพื้นที่ระหว่างเส้นใบ เกิดกับใบแก่ก่อน



ใบธงอาจมีสีเหลืองด้วยเช่นกัน



การขาดแมกนีเซียมอาจเกิดได้ เมื่อใส่โพแทซในดินที่มีปริมาณแมกนีเซียมต่ำ




http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=31.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 3:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,677. การขาดกำมะถัน ในนาข้าว (Sulfur deficiency)


กำมะถัน (S) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนและโคเอนไซม์ ที่ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์โปรตีน
กำมะถันไม่ค่อยเคลื่อนย้ายในพืชทำให้อาการขาดเกิดกับใบอ่อนก่อน ต้นข้าวที่ขาดกำมะถันจะมีอาการคล้ายกับการขาดไนโตร
เจน ต่างกันตรงที่การขาดไนโตรเจนจะเกิดที่ใบแก่ก่อน แต่การขาดกำมะถันจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนแล้วตามด้วยใบแก่ โดยเริ่มแรก
ที่กาบใบจะมีสีเหลืองแล้วลุกลามสู่ใบ อาจพบต้นข้าวมีสีเหลืองทั้งต้นในระยะแตกกอ ความสูงและการแตกกอลดลง ต้นข้าว
และใบข้าวเล็กลง นอกจากนี้การขาดกำมะถันยังทำให้การเจริญเติบโตและการพัฒนาของข้าวช้าลง รวงข้าวจะน้อยและสั้น
จำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง จำนวนท้องไข่ของเมล็ดเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าข้าวที่ขาดกำมะถันจะแสดงอาการใกล้เคียงกับ
การขาดไนโตรเจนมาก จนบางครั้งไม่สามารถบอกความแตกต่างได้ชัดเจน การวินิจฉัยที่แม่นยำอาจต้องใช้ผลจากการวิเคราะห์
ตัวอย่างดินและพืช มาประกอบด้วย

การขาดกำมะถันมีสาเหตุมาจากหลายประการ ที่สำคัญคือดินมีปริมาณกำมะถันไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตการใช้ปุ๋ยเคมีที่
ไม่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ เช่น ยูเรีย, 0-46-0 เป็นต้น รวมทั้งการเผาฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยว การขาดกำมะถันมักพบในดิน
ที่มีการผุพังอยู่กับที่ (Weathering) สูง โดยแร่ที่อยู่ในรูปออกไซด์จะดูดยึดซัลเฟตไว้ หรือพบในดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ
เนื้อดินเป็นทรายจัด หรือพื้นที่ที่มีการเผาฟางข้าวเป็นประจำ

ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยกำมะถันสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ
ชนิด สูตร ปริมาณธาตุอาหาร หมายเหตุ


อาการขาดธาตุกำมะถันในข้าว


......
......................ใบอ่อนของต้นข้าวมีสีเหลืองซีด ความสูงและการแตกกอลดลง ................



......
..... ใบอ่อนของข้าวมีสีออกเหลืองเพราะมีคลอโรฟิลล์ต่ำ ปลายใบมีสีออกขาว ........




http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=32.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/05/2013 6:02 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/06/2012 3:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,678. การขาดซิลิกอน ในนาข้าว (Silicon deficiency)



ซิลิกอน (Si) เป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์สำหรับข้าว แต่หน้าที่ของธาตุนี้ในพืชยังไม่ทราบแน่ชัด ซิลิกอน จำเป็นในการพัฒนาใบ
รากและลำต้นที่แข็งแรง ซิลิกอนที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ช่วยให้พืชต้านทานโรค แมลงและปลวกดีขึ้น ข้าวที่ได้รับซิลิกอน
พอเพียงจะมีใบและลำต้นตั้ง ทำให้การสังเคราะห์แสงดีขึ้น


ข้าวที่ขาดซิลิกอนจะมีใบไม่กระด้างและโน้มลง (Droopy) ทำให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงลดลง ข้าวจะอ่อนแอต่อการ
ทำลายโรคและแมลง การขาดที่รุนแรงจะเกิดจุดสีน้ำตาลบนใบข้าว จำนวนรวงต่อตารางเมตรและจำนวนเมล็ดดีต่อรวงลดลง ข้าว
จะหักล้มมาก การขาดซิลิกอนมีสาเหตุจากการที่ดินมีปริมาณซิลิกอนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต วัตถุต้นกำเนิดดินมีปริมาณซิลิกอน
ต่ำ รวมทั้งการขนฟางออกจากแปลงนาเป็นระยะเวลาหลายปีติดต่อกันก็ทำให้ดินขาดซิลิกอนได้เช่นกัน การขาดซิลิกอนมักพบใน
ดินนาที่เสื่อมโทรมดินที่มีปริมาณซิลิกอนต่ำ และดินนาน้ำฝนที่มีการชะล้างสูง เช่นดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยซิลิกอนสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ
ชนิด สูตร ปริมาณธาตุอาหาร หมายเหตุ



การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดซิลิกอนสามารถทำได้โดย

- การไถกลบฟางลงในแปลงนาเป็นประจำจะช่วยเพิ่มปริมาณซิลิกอนในดินเพราะในฟางข้าวมีปริมาณซิลิกอนค่อนข้างสูง คือ
ร้อยละ 5–6

- หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูงเกินไปแม้ว่าการใส่ไนโตรเจนมากจะทำให้พืชดูดใช้ไนโตรเจนและซิลิกอนมากขึ้น
แต่ความเข้มข้นของของซิลิกอนในพืชจะลดลง เนื่องจากพืชผลิตน้ำหนักแห้งมากกว่าเดิม

ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดซิลิกอนให้ใส่ปุ๋ยที่มีซิลิกอนเป็นส่วนประกอบให้แก่ข้าว โดยใส่แคลเซียมซิลิเกตในอัตรา 20–30
กิโลกรัมต่อไร่ หรือโพแทสเซียมซิลิเกตในอัตรา 6–10 กิโลกรัมต่อไร่



อาการขาดธาตุซิลิกอนในข้าว


ในต้นที่ขาดซิลิกอน (ซ้ายมือ) ใบข้าวจะโน้มลงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ (ภาพล่าง)




จุดสีน้ำตาลบนใบข้าวเป็นอาการหนึ่งของข้าวที่ขาดซิลิกอน




http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=33.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/07/2012 12:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,679. กล้วยไม้หน้าลิง






สำนักข่าวต่างประเทศเผยภาพกล้วยไม้พันธ์ Monkey Orchid หรือกล้วยไม้หน้าลิง ถือเป็นกล้วยไม้พันธุ์
หายากที่ไม่ได้พบเห็นกันง่าย ๆ ถิ่นกำเนิดของกล้วยไม้ชนิดนี้อยู่ในป่าดงดิบซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลกว่า
2,000 เมตร บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเอควาดอร์และเปรู

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Monkey Orchid ก็คือ Dracula simia โดยดอกของมันจะมีกลิ่นหอมเหมือน
ส้มสุก กล้วยไม้พันธ์นี้เพิ่งถูกค้นพบในปี 1978 แต่เราสามารถพบกล้วยไม้สกุลเดียวกันอีกกว่า 120
ชนิดในเอควาดอร์ ถ้าอยู่ในสภาพอากาศที่เหมาะสมคือหนาวและไม่ค่อยมีแดด Monkey Orchid จะ
ออกดอกได้ตลอดปี












http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=promotion&month=28-06-2012&group=12&gblog=130
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/07/2012 10:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,680. ไทยพัฒนาข้าวโพดสีม่วง ต้านมะเร็ง-ชะลอแก่ 








สำเร็จ! ไทยพัฒนาข้าวโพดสีม่วงต้านมะเร็ง-ชะลอแก่ (กรมประชาสัมพันธ์)


ศูนย์ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและปลูกข้าวโพดเหนียวพันธุ์แฟนซี
สีม่วง 111 และพันธุ์สีขาวม่วง 212 พบคุณสมบัติเยี่ยมด้านการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง เตรียมเก็บ
เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้รุ่นแรก เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรที่สนใจ

ทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง ประสบความสำเร็จ ในการปลูกข้าวโพดเหนียว พันธุ์แฟนซีสีม่วง 111
และพันธุ์แฟนซี สีขาวม่วง 212 จากการพัฒนาสายพันธุ์มาจาก ข้าวโพดสีม่วงผสมกับข้าวโพดเหนียว ทำให้ได้ข้าวโพดเหนียว
สีม่วง ที่มีฝักใหญ่ รสชาตินุ่มลิ้น หวานและเหนียว

โดย สีม่วงเข้มในเมล็ดนั้น เป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรค
มะเร็งชนิดเนื้องอก เสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุด
ตันในหลอดเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและชะลอความแก่

นอกจากนี้ ข้าวโพดพันธุ์ดังกล่าว ยังให้ผลผลิตสูงถึง 2,500-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 60-
70 วัน โดยขณะนี้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง จะทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้รุ่นแรก เพื่อนำ
ไปทำการขยายพันธุ์เพิ่ม ให้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น ก่อนนำไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ ทั้งในจังหวัดตรังและจังหวัด
ใกล้เคียง เพื่อเผยแพร่การปลูกข้าวโพดพันธุ์ดังกล่าว สร้างรายได้เสริม โดยเฉพาะตลาดคนรักสุขภาพให้การตอบรับอย่างมาก
ซึ่งหลังทดลองจำหน่ายฝักสดแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม ภายในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง ปรา
กฏว่าปริมาณสินค้า มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ข้าวโพดแฟนซีสีม่วง กำลังได้ความสนใจจากเกษตรกร ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง จะส่ง
เสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกในไม่ช้านี้ ซึ่ง เชื่อว่าข้าวโพดเหนียวสีม่วงนี้ จะเป็นที่นิยมรับประทานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรสชาติ
ดี คุณค่าทางอาหารสูง และเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ




http://www.google.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/07/2012 11:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,681. ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง...มหัศจรรย์ธัญพืชที่น่าลิ้มลอง

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์


เมื่อเร็วๆ นี้ กรมอนามัย ได้เปิดเผยผลสำรวจสุขภาพคนไทย ใน ปี 2553 พบว่า หญิงไทย-ชายไทย มีรอบเอวเกินมาตรฐาน
ซึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ออกกำลังกายน้อย ส่งผลทำให้คนไทยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงอยากให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพโดยการ
ออกกำลังกายกันให้มากขึ้น ควบคู่กับการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง มหัศจรรย์ธัญพืชที่มีสาร
แอนโทไซยานิน (สีม่วง) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้มากมาย



ข้าวโพดพันธุ์นี้ มีเปลือกหุ้มฝักสีเขียวปนม่วง ไหมข้าวโพดมีสีม่วงแดง




ต้นข้าวโพดพันธุ์นี้ จะมีช่อดอกเป็นสีม่วง




ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง มีระบบรากและลำต้นแข็งแรง




คุณพาโชค พงษ์พานิช กับทีมนักวิจัย คุณไพศาล หิรัญมาศสุวรรณ คุณสุชน พลราษฎร์




รู้จักข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง นวัตกรรมใหม่ฝีมือคนไทย
สำหรับธัญพืชเพื่อสุขภาพชนิดนี้ มีชื่อทางการค้าว่า ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซี สีม่วง 111 เป็นนวัตกรรมใหม่จากมันสมอง
ของนักวิจัยชาวไทย คือ คุณไพศาล หิรัญมาศสุวรรณ ผู้จัดการงานปรับปรุงพันธุ์พืช (ข้าวโพดฝักสด) ของ บริษัท แปซิฟิคเมล็ด
พันธุ์ จำกัด ผู้นำตลาดเมล็ดพันธุ์พืชไร่ ในเครือ ADVANTA ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Hyderabad ประเทศอินเดีย


คุณไพศาล ได้ขอพันธุ์ข้าวโพดสีม่วงจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อมาใช้เป็นเชื้อพันธุกรรม ร่วมกับสายพันธุ์
ข้าวโพดข้าวเหนียวที่บริษัทกำลังศึกษาวิจัยอยู่ก่อนแล้ว คุณไพศาล สกัดสายพันธุ์แท้จากคู่ผสมของเชื้อพันธุกรรมทั้งสอง จน
ได้สายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง และคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมออกมาได้ 2 พันธุ์ คือพันธุ์ข้าวโพดข้าว
เหนียวแฟนซี สีม่วง 111 และ พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีขาวม่วง 212 รวมใช้ระยะเวลาปรับปรุงข้าวโพดพันธุ์ใหม่ไม่ต่ำ
กว่า 6-7 ปี ทีเดียว


ก่อนหน้านี้ บริษัท แปซิฟิคฯ ได้นำเมล็ดพันธุ์ทั้ง 2 ชนิด ไปทดสอบ ทั้งในสถานีวิจัยและในแปลงของเกษตรกรหลายแห่งในพื้นที่
อำเภอบ้านหมอ จังหวดสระบุรี, อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ ไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี ผลการทด
สอบเป็นที่ถูกอกถูกใจเกษตรกรอย่างมาก เพราะได้ผลผลิตสูง คุณภาพฝักสดดีเยี่ยม แถมปรับตัวได้ดีในสภาพแปลงเกษตรกร


เผยเคล็ดลับการปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี
การเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิตสูง เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ด จะทำ
ให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วย จึงแนะนำให้เกษตรกรไถดะและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน จึงค่อยไถแปรเพื่อ
ย่อยดินให้แตกละเอียดเหมาะกับการงอกของเมล็ดพร้อมหว่านปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตัน ต่อไร่ ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุง
โครงสร้างของดินให้ดีขึ้น สามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น และเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดอีกทางหนึ่ง


การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง สามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่าง
ต้น 20-25 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ด ประมาณ 2-3 กิโลกรัม
ต่อไร่


หรือปลูกแบบแถวคู่ มีการยกร่องสูง ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็น 2 แถว ข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะ
ระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร 1 ต้น ต่อหลุม จะมีจำนวนต้น ประมาณ 7,000-8,500 ต้น ต่อไร่ และใช้เมล็ดประมาณ 2-3
กิโลกรัม ต่อไร่


ส่วนปุ๋ย แนะนำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ย 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่พร้อม
ปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน หากปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบางๆ ก่อนหยอดเมล็ด แต่ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัส
กับเมล็ดโดยตรง เพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้


ปุ๋ยแต่งหน้า ครั้งที่ 1 บริษัทแนะนำให้เลือกใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) ใส่ อัตรา 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ
20-25 วัน หลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยเพื่อกำจัดวัชพืชไปในตัว เมื่อข้าว
โพดมีอายุ 40-45 วัน หลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่
โรยข้างต้น ในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดมีวัชพืชขึ้นมาก จะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลง ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก โดยใช้อลาคลอร์
ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูก ก่อนที่วัชพืชจะงอก ขณะฉีดพ่น ดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วงที่ฝนตกชุก เสี่ยง
ต่อการเกิดโรคราน้ำค้างได้ง่าย ควรฉีดสารเคมีป้องกันโรคราน้ำค้าง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง


ระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดข้าวเหนียวขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่
ก็จะน้อยลง จะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือ ระยะออกดอก การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การ
ผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงส่วนปลาย หรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดย
ปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้น คือ
ช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก

โดยปกติข้าวโพดข้าวเหนียวจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 60-70 วัน หลังปลูก แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ
ระยะ 18-20 วัน หลังข้าวโพดออกไหม 50% (ข้าวโพด 100 ต้น มีไหม 50 ต้น) แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บ
เกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก


คุณทวี รุ่งเรือง เกษตรกรตำบลหนองบัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดมานานกว่า
10 ปี สนใจปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เพราะเป็นเรื่องใหม่ ท้าทายในการปลูก เมื่อ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ ได้นำเมล็ด
พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซี สีม่วง 111 มาให้ทดลองปลูก ก็ได้ผลผลิตที่ดี เมื่อคุณทวีเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายที่ตลาด
สด จังหวัดสระบุรี ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแม่ค้า สามารถขายผลผลิตฝักสดได้ถึงกิโลกรัมละ 20 บาท และมีลูกค้ามา
ถามซื้ออีกหลายราย เนื่องจากเห็นเป็นของแปลก และรสชาติหวานหอม เหนียวนุ่ม ฝักใหญ่ ไม่เหมือนข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์อื่นๆ
ที่เคยกิน แถมสีสันโดดเด่นไม่เหมือนใคร ยิ่งรู้ว่า ข้าวโพดสีม่วงเข้มนี้มีสารต้านมะเร็งได้ด้วย ลูกค้าก็ยิ่งสนใจมากขึ้น ทำให้คุณ
ทวี พึงพอใจกับการปลูกข้าวโพดสายพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก


คุณจันทรา จันทร์เทียน ชื่อเล่นว่า พี่ติ๋ว อายุ 44 ปี เกษตรกรในพื้นที่ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เล่าให้ฟังว่า เพิ่ง
ทดลองปลูกข้าวโพดสีม่วงเป็นครั้งแรก เนื้อที่ 1 ไร่ สาเหตุที่สนใจปลูก เพราะเป็นข้าวโพดพันธุ์ใหม่ การเตรียมแปลงปลูกของพี่ติ๋ว
เริ่มจากไถแปรให้ดินป่น ใส่ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด และปลูกโดยใช้เครื่องหยอดเมล็ดจาน 9 ให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยรดให้ดินเปียกชุ่ม
พร้อมใส่ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ในปริมาณครึ่งลูก ต่อพื้นที่ 1 ไร่ พี่ติ๋วยังไม่ทันเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขาย ปรากฎว่ามีพ่อค้าแม่ค้ามาสั่ง
จองขอซื้อผลผลิตล่วงหน้ากัน คนละ 100-200 กิโลกรัม ที่สำคัญขอซื้อแบบไม่เกี่ยงราคาด้วย ถูกใจพี่ติ๋วอย่างมาก ทำให้ตัดสิน
ใจขยายพื้นที่ปลูกรอบใหม่เพิ่มขึ้น เป็น 5 ไร่ ทันที

ด้านน้องสาวพี่ติ๋ว ชื่อ คุณนงนุช ใจเที่ยง ที่ยึดอาชีพขายข้าวโพดต้ม เล่าให้ฟังว่า ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เริ่มมีแม่ค้าหลาย
รายนำข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงออกมาวางขาย ในราคาฝักละ 10 บาท หากเป็นฝักเล็ก ก็จะขาย 3 ฝัก 20 บาท ลูกค้าชอบสีสัน
แปลกตา ขนาดพอเหมาะ ที่สำคัญ มีสรรพคุณต้านทานโรคมะเร็ง ทำให้ลูกค้าจำนวนมากสนใจอยากซื้อข้าวโพดพันธุ์ใหม่นี้



ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง...มหัศจรรย์อาหารเพื่อสุขภาพ
ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีม่วง 111 มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและเหนียวนุ่มหนุบหนับ เคี้ยวเพลิน ไม่ติดฟัน ที่
สำคัญเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวโพด ที่เป็นสีม่วงดำเข้ม ถือว่ามีคุณค่า
ทางอาหารสูงมาก เพราะมีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanins) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า


วารสารทางการแพทย์ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ยกย่องคุณประโยชน์ของแอนโทไซยานินว่า ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็ง
โดยเฉพาะมะเร็งชนิดเนื้องอก ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น ส่งเสริมการ
ทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพิ่มความสามารถในการมอง
เห็น ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ชะลอความแก่โดยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ดังนั้น
หากใครสามารถรับประทานข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงได้เป็นประจำ จะได้รับประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ปราศจากโรคภัยต่างๆ


คุณพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เล่าให้ฟังว่า บริษัทได้นำข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงไป
ทดสอบตลาดตั้งแต่ปีที่แล้ว ปรากฏว่า ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรและผู้บริโภคในวงกว้าง เกษตรกรสามารถขายฝักสดได้ใน
ราคา 2 เท่า ของราคาตลาด ขณะนี้พ่อค้าคนกลางพยายามจูงใจให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดพันธุ์นี้ โดยประกันราคารับซื้อข้าวโพด
ข้าวเหนียวสีม่วง ในราคากิโลกรัมละ 7 บาท ผลผลิตที่รับซื้อจากเกษตรกรจะส่งไปขายที่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และห้างสรรพ
สินค้าต่างๆ เช่น ห้างเดอะมอลล์ สยามพารากอน ฯลฯ


ขณะนี้ เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ สนใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงหลายพันไร่แล้ว การปลูก
ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง มีต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ อยู่ที่ไร่ละ1,300 บาท ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าไถ ค่าปุ๋ย ค่าแรงเก็บเกี่ยว
ฯลฯ อีกประมาณ 2,000 บาท พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้1,500 กิโลกรัม หากขายฝักสดในราคากิโลกรัมละ 7
บาท ลงทุน 1 ไร่ จะมีรายได้เฉลี่ย 10,000 บาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่าย 3,500 บาท จะเหลือผลกำไรประมาณไร่ละ 6,500 บาท
ถือว่ามีตัวเลขรายได้ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว


ที่ผ่านมา บริษัทได้ทดลองนำข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ไปต้มขายในห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ที่กรุงเทพฯ ปรากฏว่า สามารถขาย
ข้าวโพด 300 ฝัก ขายหมดเกลี้ยงเลย ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที ถึงแม้จะขายในราคาฝักละ 15 บาท แต่ผู้บริโภคก็ยอมจ่าย
เพราะถือว่าได้บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้บริโภคจำนวนมากที่มีโอกาสชิมลิ้มรสข้าวโพดสีม่วงเป็นครั้งแรก มัก
จะติดใจ ย้อนกลับมาซื้อซ้ำอีกหลายครั้ง


คุณพาโชค แนะนำเคล็ดลับสำคัญที่จะเพิ่มรสชาติการบริโภคข้าวโพดข้าวเหนียวให้อร่อยว่า เริ่มจากเตรียมหม้อนึ่ง และใส่น้ำ/ต้ม
น้ำ ให้เดือด นำฝักข้าวโพดสีม่วง (อายุเก็บเกี่ยว 67-70 วัน จะมีรสชาติดีที่สุด) ปอกเปลือกหุ้มฝักออก โดยให้เหลือเปลือกหุ้ม
ฝักติดกับฝัก ประมาณ 2-3 ชั้น เพื่อรักษาสารแอนโทไซยานินให้คงอยู่ ในเมล็ด และทำให้เมล็ดมีความเต่งตึงน่ารับประทาน ใส่
ฝักข้าวโพดวางเรียงลงในหม้อนึ่ง ที่น้ำเดือดแล้ว ปิดฝา ใช้เวลาในการนึ่ง ประมาณ 25-30 นาที สารแอนโทไซยานิน (สีม่วง)
ละลายได้ดีในความเย็น ดังนั้น ควรปล่อยให้ฝักข้าวโพดสีม่วงที่ต้มเย็นลงในระดับอุ่นๆ ก่อนรับประทาน จะทำให้สีม่วงไม่ติดมือ
รสชาติและรวมทั้งคุณค่าทางอาหารยังคงเดิม


หากผู้อ่านท่านใดสนใจ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ติดต่อได้ที่ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด
เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 พหลโยธิน ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120 โทรศัพท์ (036) 266-316-9,
(036) 267-877-8 โทรสาร (036) 266-508 ตั้งแต่ เวลา 08.00-17.30 น. ทุกวัน ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์






http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316436933&grpid=&catid=51&subcatid=5100[youtube][/youtube]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/07/2012 11:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,682. บิ๊กบึ้ม ! ชมพู่ยักษ์ที่ไต้หวัน ลูกเท่าป๋องนม


บันทึกไว้เป็นเกียรติ /ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ




การปลูกชมพู่ยักษ์ไต้หวันในประเทศไทย
“ชมพู่” จัดเป็นไม้ผลเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียตอนใต้ และได้มีการแพร่กระจายสายพันธุ์มาปลูกมากในหลายประเทศ
ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่มีชื่อเสียงในการปลูกชมพู่และมีชมพู่สายพันธุ์ดีๆ ก็คือ ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย
เป็นต้น ที่ผ่านมาชมพู่ที่มีชื่อเสียงในบ้านเรา อาทิ “พันธุ์ทับทิมจันท์” ได้มีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีการ
นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย

หรือแม้แต่ “พันธุ์เพชรปฐม” ได้สายพันธุ์มาจากหมู่เกาะมลายู ประเทศมาเลเซีย ชมพู่ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Water
Apple” และยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น ที่อินโดนีเซียเรียกว่า jambu air, ที่มาเลเซียเรียกว่า Rose apple,
ที่ฟิลิปปินส์เรียกว่า “wax apple” และที่ไต้หวันเรียกว่า “bell fruit” เป็นต้น


สำหรับประเทศไทยพันธุ์ชมพู่ที่มีการปลูกในอดีตมาถึงปัจจุบันแทบจะไม่มีใครปลูกกันแล้วหรือรู้จักกันน้อยมาก เช่น “ชมพู่ม่าเหมี่ยว”
เป็นชมพู่ที่มีขนาดลำต้นใหญ่ ใบกว้างหนาเป็นมัน ดอกออกบริเวณกิ่งและมีสีแดงสด เมื่อผลแก่จะมีสีแดงเข้มและมีกลิ่นหอม
เหมือนดอกกุหลาบ ลักษณะของเนื้อนุ่มและฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวและมีเมล็ดใหญ่ เป็นที่สังเกตว่าในขณะนี้เริ่มมีเกษตรกร
ไทยหลายรายได้ให้ความสนใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกชมพู่ม่าเหมี่ยวกันมากขึ้น ดูได้จากร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ได้มีการนำต้นชมพู่
เพาะเมล็ดมาจำหน่ายในราคาต้นละ 40-50 บาท


ในหนังสือ คู่มือการทำสวนชมพู่อย่างมืออาชีพ เรียบเรียงโดย คุณสุพจน์ ตั้งจตุพร (สำนักพิมพ์นาคา) ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
เกี่ยวกับชมพู่ม่าเหมี่ยวไว้ว่า เป็นชมพู่ที่มีต้นสูงใหญ่ ความสูงประมาณ 8-10 เมตร ปลูกด้วยเมล็ด จะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี จะ
เริ่มออกดอกติดผลและมีการออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน


ในวงการนักขยายพันธุ์ชมพู่บอกว่า การเสียบยอดชมพู่พันธุ์ดีบนต้นตอชมพู่ม่าเหมี่ยวจะได้ต้นชมพู่ที่แข็งแรงและมีอายุยืน
“ชมพู่สาแหรก” จัดเป็นชมพู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชมพู่ม่าเหมี่ยว ต่างกันตรงที่ผลของชมพู่สาแหรกมีสีแดงอมชมพู และมีริ้ว
จากขั้วมาที่ก้นผล เนื้อมีสีขาวนุ่ม รสชาติหวานหอม ลำต้นและใบคล้ายกับชมพู่ม่าเหมี่ยว แต่กิ่งแขนงจะตั้งฉากกับลำต้น

และ “ชมพู่น้ำดอกไม้” จัดเป็นชมพู่สายพันธุ์โบราณของไทย หารับประทานได้ยากมาก ลักษณะของผลถ้าไม่บอกจะไม่รู้เลยว่าเ
ป็นชมพู่ ลักษณะผลจะออกกลม มีสีขาวอมเหลือง อาจจะมีสีชมพูปนบ้าง จัดเป็นชมพู่ที่มีเนื้อบางกว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นแต่มีรส
ชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอมคล้ายกับกลิ่นดอกกุหลาบและเมล็ดใหญ่ ลักษณะต้นของชมพู่น้ำดอกไม้จัดเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มขนาด
กลาง ใบเล็กเรียวยาวมีสีเขียวเป็นมัน ดอกมีสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอม จัดเป็นชมพู่แปลกและหายากในปัจจุบัน























สายพันธุ์ชมพู่ที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย
ในอดีตที่ผ่านมา ชมพู่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย คือ “พันธุ์เพชรสายรุ้ง” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงและมีการปลูกมากใน
เขตจังหวัดเพชรบุรี ชมพู่พันธุ์นี้มีชื่อเสียงมายาวนาน คาดว่ามีการนำพันธุ์มาปลูกที่จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2375 ปัจจุบัน
ยังมีปลูกอยู่บ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม ลักษณะเด่นของชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งคือ ขนาดของผลใหญ่ ทรงผลรูประฆังคว่ำ เมื่อผลแก่จะ
มีสีขาวอมชมพู รสชาติหวานกรอบ และภายในผลจะมีเมล็ด 1-3 เมล็ด


“พันธุ์ทูลเกล้า” จัดเป็นพันธุ์การค้าที่ได้รับความนิยมและครองตลาดมายาวนานสายพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าประวัติความ
เป็นมาของชมพู่สายพันธุ์นี้เป็นอย่างไรบ้าง ก็ว่าเป็นชมพู่ที่เกิดการกลายพันธุ์ที่อำเภอสามพรานหรือมีคนนำเข้ามาจากประเทศ
อินโดนีเซีย ลักษณะเด่นของชมพู่พันธุ์ทูลเกล้าก็คือ ออกดอกและติดผลง่าย ออกทะวายตลอดทั้งปีและไม่เลือกพื้นที่ปลูก มีการ
ขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ลักษณะของผลจะเป็นทรงยาว เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมเหลือง
เป็นชมพู่ที่มีความหวานไม่มากนัก ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกน้อยลง


“พันธุ์ทับทิมจันท์” หลังจากที่ อาจารย์ประเทือง อายุเจริญ นำพันธุ์ชมพู่พันธุ์ “ซิต้า” มาจากประเทศอินโดนีเซีย นำมาปลูกเป็นครั้ง
แรกที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อต้นชมพู่พันธุ์ซิต้าที่นำมาปลูกเริ่มให้ผลผลิตพบว่า เป็นชมพู่ที่ผลสีแดงเข้มและมีผลขนาดใหญ่ เนื้อแน่น มี
น้ำหนักผลเฉลี่ย 120-130 กรัม เนื้อแน่นและรสชาติหวานมาก ไม่มีเมล็ด มีคุณสมบัติที่ดีกว่าชมพู่พันธุ์การค้าอื่นๆหลายสาย
พันธุ์ อาจารย์ประเทือง อายุเจริญ จึงได้ตั้งชื่อว่า “พันธุ์ทับทิมจันท์” เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดจันทบุรี และใน ปี พ.ศ. 2541 อาจารย์
ประเทืองฯ ได้เริ่มขยายพันธุ์กิ่งชมพู่ทับทิมจันท์ออกจำหน่ายได้รับความนิยม มีการนำไปปลูกกันทั่วประเทศ


ช่วงที่ผลผลิตชมพู่ทับทิมจันท์ออกสู่ตลาดใหม่ๆ จะมีราคาแพงมาก ราคาถึงผู้บริโภคสูงกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท จากที่ได้กล่าวมา
แล้ว เมื่อมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากทำให้ราคาตกลง นอกจากสายพันธุ์ชมพู่ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีสายพันธุ์ชมพู่อีกหลายสาย
พันธุ์ที่เกษตรกรนำพันธุ์มาปลูก อาทิ พันธุ์เพชรสามพราน พันธุ์เพชรน้ำผึ้ง พันธุ์เพชรจินดา ฯลฯ แต่ไม่มีการขยายพื้นที่ปลูกกัน
มากนักและเป็นที่รู้จักน้อยกว่าพันธุ์ทูลเกล้าและพันธุ์ทับทิมจันท์


สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรที่คิดจะปลูกชมพู่ในเชิงพาณิชย์จะต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพของผลผลิต การปลูกชมพู่ในพื้นที่มากๆ อาจ
ดูแลไม่ทั่วถึง การให้ปุ๋ยและการจัดการสวนชมพู่เป็นเรื่องสำคัญมาก ฝนเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรที่ปลูกชมพู่ โดยเฉพาะใน
ช่วงกำลังติดผล จะพบปัญหาผลแตก ชมพู่เป็นไม้ผลที่ต้องการแรงงานในการห่อผลเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เกษตรกรที่คิดจะปลูก
ชมพู่ควรจะยึดหลัก “ทำน้อย ได้มาก” คือปลูกและสามารถจัดการสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาถึงปัจจุบันดูเหมือนว่าในวง
การผู้ปลูกชมพู่จะเงียบเหงาลง จนกระทั่งได้เริ่มมีการนำเอาสายพันธุ์ชมพู่ยักษ์จากประเทศไต้หวันออกมาเผยแพร่และขายกิ่งพันธุ์
ในราคาสูงมาก แต่ยังไม่เคยเห็นผลผลิตว่าปลูกในประเทศไทยแล้วให้ผลผลิตเป็นอย่างไร


ทำความรู้จักกับชมพู่ยักษ์ไต้หวัน ที่ให้ผลผลิตแล้ว
เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2553 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการเกษตรที่ไต้หวันร่วมกับคณะ ธ.ก.ส. ดูงานการเกษตรหลายอย่างที่โดด
เด่นที่สุด ก็คือการปลูกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่ไต้หวัน ได้ชื่อว่าผลิตเพื่อการส่งออกมากที่สุดในโลก


ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการดูงานในครั้งนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยวชมตลาดขายพันธุ์ไม้ผลที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน ซึ่งมีไม้ผล
หลากหลายชนิด จะต้องยอมรับกันว่าสายพันธุ์มะม่วงไต้หวันที่มีการนำพันธุ์มาปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาหาซื้อพันธุ์จากที่นี่
อาทิ มะม่วงพันธุ์หยู่เหวิน เบอร์ 6, พันธุ์งาช้างแดง, พันธุ์หงจู ฯลฯ


ผู้เขียนได้ซื้อชมพู่มาต้นหนึ่งราคาต้นละ 500 เหรียญไต้หวัน ซึ่งเมื่อคิดเป็นเงินไทยประมาณ 500 บาท (ราคาแลกเปลี่ยนเงินตรา
เงินไต้หวันกับเงินไทยใกล้เคียงกัน) รายละเอียดที่ติดมากับชมพู่ต้นนั้นเป็นภาษาจีนและเมื่อแปลเป็นภาษาไทยชื่อว่า “ชมพู่น้ำหอม
ที่ใหญ่เท่ากับฝ่ามือ”


ผู้เขียนได้นำกิ่งพันธุ์ชมพู่ไต้หวันมาเลี้ยงให้ต้นเจริญเติบโตและได้นำยอดมาเสียบบนต้นชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ที่แผนกฟาร์ม ชมรม
เผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้ปลูกไว้เพื่อบริโภค 2 ต้น และมีอายุต้นประมาณ 5 ปี ได้เสียบยอดชมพู่ไต้หวันบน
ต้นชมพู่ทับทิมจันท์เพียงต้นเดียว เลี้ยงยอดชมพู่ไต้หวันที่แตกออกมาเป็นเวลาประมาณ 2 ปี และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555
เป็นต้นมา ทางผู้เขียนเห็นว่าต้นชมพู่ไต้หวันแตกทรงพุ่มใหญ่ เห็นว่าควรใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อบังคับให้ต้นชมพู่ออกดอก
ติดผลนอกฤดู


ในการบังคับให้ต้นชมพู่ออกนอกฤดูนั้น ผลปรากฏว่า ต้นชมพู่ได้ออกดอกมาเพียง 1-2 ช่อ เท่านั้น ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นมากได้
พยายามบำรุงรักษาเป็นอย่างดีเพื่อดูว่าผลชมพู่จะมีขนาดผลใหญ่จริงหรือไม่ ในขณะที่ต้นชมพู่เลี้ยงผลอยู่เพียง 1-2 ช่อนั้น
พอเข้าเดือนมีนาคม 2555 ผลปรากฏว่าต้นชมพู่ไต้หวันที่เสียบไว้ทยอยออกดอกทั้งต้น ถึงทุกวันนี้เดือนพฤษภาคม 2555 ก็
ยังมีดอกออกมา อาจจะเป็นเพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาได้มีการฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนสะสมมาโดยตลอด

หลังจากที่ห่อผลชมพู่ไต้หวันไปได้ประมาณ 25-30 วัน (โดยเริ่มห่อในระยะที่ผลชมพู่ถอดหมวกหรือผลใหญ่ขนาดนิ้วโป้ง) พบว่า
ผลชมพู่ไต้หวันที่เก็บเกี่ยวมานั้นมีขนาดของผลใหญ่กว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นๆ ที่ผู้เขียนพบมาโดยมีคุณสมบัติของผลดังนี้

“ผลมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักผลประมาณ 200 กรัม หรือ 5 ผล ต่อกิโลกรัม ผิวผลมีสีขาวอมชมพูหรือสีชมพูอมแดง ลักษณะของ
ผลเป็นรูประฆังคว่ำใหญ่ มีความกว้างของผลเฉลี่ย 7 เซนติเมตร และความยาวของผลเฉลี่ย 9-10 เซนติเมตร เนื้อหนามากและเป็น
ชมพู่ไร้เมล็ด รสชาติหวานกรอบ มีความหวานประมาณ 11-12 บริกซ์ ถ้าผลผลิตแก่และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งจะมีความหวานสูง
กว่านี้ จัดเป็นชมพู่สายพันธุ์หนึ่งที่ออกดอกและติดผลดกมาก”

ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จึงได้ตั้งชื่อชมพู่ไต้หวันสายพันธุ์นี้ว่า “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน” ผู้เขียนมีความเชื่อที่ว่าชมพู่ยักษ์
ไต้หวันนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการปลูกชมพู่ในประเทศไทยเพราะมีความโดดเด่นในเรื่องขนาดผลและความอร่อยไม่แพ้ชมพู่
พันธุ์การค้าสายพันธุ์อื่น





การปลูกและการบำรุงรักษาชมพู่ยักษ์ไต้หวัน
ก่อนอื่นมีคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับเกษตรกรที่จะปลูกชมพู่ยักษ์ไต้หวันในเชิงพาณิชย์ว่า ควรจะเริ่มต้นปลูกในพื้นที่เพียง 1-3 ไร่
ก็พอแล้ว เนื่องจากชมพู่ยักษ์ไต้หวันมีการจัดการและบำรุงรักษาไม่แตกต่างจากชมพู่ทับทิมจันท์ การจัดการที่สำคัญคือ การห่อผล
ระยะปลูกที่แนะนำคือ ระยะระหว่างต้น 5 เมตร และระยะระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 50 ต้น เกษตรกรจะเลือกใช้กิ่งปัก
ชำปลูกก็ได้ เนื่องจากต้นจะเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตเมื่ออายุต้นเพียงปีเศษเท่านั้น


จากการสอบถามจากเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญในการปลูกชมพู่ได้บอกถึงเคล็ดลับในการผลิตชมพู่ยักษ์ไต้หวันให้มีคุณภาพดี
และรสชาติหวานกรอบ ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต 15 วัน ควรจะใส่ปุ๋ยเพิ่มความหวาน สูตร 14-14-21 อัตราต้นละ 500 กรัม
ต่อต้น (ต้นชมพู่อายุ 2-3 ปี) แต่ถ้าต้นชมพู่ยักษ์ไต้หวันมีอายุต้น 5 ปีขึ้นไป ให้ใส่ต้นละ 1 กิโลกรัม ด้วยชมพู่จัดเป็นไม้ผลที่มี
อายุการเก็บเกี่ยวสั้น คือหลังจากดอกโรยและถอดหมวกมีขนาดผลเท่าหัวนิ้วโป้งจะใช้เวลาเลี้ยงผลเพียง 25-30 วัน จะเก็บเกี่ยว
ผลผลิตได้


ดังนั้น ในช่วงเลี้ยงผลก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 15 วัน ควรจะฉีดพ่น นูแทค ซุปเปอร์-เค อัตรา 75-100 กรัม ต่อน้ำ
20 ลิตร นูแทค ซุปเปอร์-เค จัดเป็นปุ๋ยพ่นทางใบชนิดผลแบบสเปรย์-ดรายด์ ที่มีโพแทสเซียมสูงและช่วยเพิ่มความหวานให้แก่ชมพู่



ล้อมกรอบ
หนังสือ “การปลูกชมพู่ยักษ์ไต้หวันในประเทศไทย” พิมพ์ 4 สี แจกฟรีพร้อมกับ หนังสือ “ไม้ผลแปลกและหายาก เล่ม 1-4” รวม
ทั้งหมด 5 เล่ม จำนวน 420 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์มูลค่ารวม 200 บาท (พร้อมระบุชื่อหนังสือ) ส่ง
มาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร.
(056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340191755&grpid=03&catid=51&subcatid=5100
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 05/07/2012 6:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,683. มหัศจรรย์โลกแห่งสาหร่าย


หากพูดถึงสาหร่าย ภาพที่ปรากฏขึ้นมาในความคิดของคนส่วนใหญ่ คงเป็นพืชสีเขียวที่ลอยอยู่ในทะเล หรือขนมขบเคี้ยวแผ่นบาง
สีเขียวเข้มที่คนทุกวัยนิยมรับประทาน ความจริงแล้วสาหร่ายมีความมหัศจรรย์มากทีเดียว สาหร่ายไม่ได้มีแต่สีเขียว และไม่ได้มี
ประโยชน์เพียงแค่เป็นของทานเล่นเท่านั้น

คุณลลิดา สุระรัตน์ชัย นักวิชาการงานสาหร่ายประยุกต์ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และคุณณัฐภาส ผู้พัฒน์ นักวิจัยฝ่าย
จุลชีววิทยาประยุกต์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะ
เลี้ยงและประโยชน์ของสาหร่ายแก่ผู้เข้าชม ซึ่งก่อนจะถึงกระบวนการเพาะเลี้ยงนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อน


สาหร่ายคืออะไร
สาหร่าย คือพืชชั้นต่ำซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ปรากฏขึ้นบนโลกมากกว่า 3,000 ล้านปี มีขนาดตั้งแต่เล็กมากไปจนถึง
ขนาดใหญ่ แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม



สาหร่ายสีเขียว (Green Algae) ... สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue – green Algae)





สาหร่ายสีน้ำตาล (Brown Algae) .... สาหร่ายสีแดง (Red Algae)


สาหร่ายมีกี่ชนิด
ชนิดของสาหร่ายแบ่งได้ทั้งจากสีและขนาดของสาหร่าย หากจะแบ่งตามสีสันของสาหร่าย จะแบ่งได้ 4 ชนิด คือ

1. สาหร่ายสีเขียว (Green Algae) ส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนพืช มีสารสีที่ใช้สังเคราะห์แสงเป็นสีเขียว

2. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue – green Algae) มีโครงสร้างของเซลล์คล้ายแบคทีเรียมีสารสังเคราะห์แสงเป็นสีเขียว
พบได้ในแหล่งน้ำทุกที่ทั่วโลก ตั้งแต่ขั้วโลกที่เป็นน้ำแข็ง จนถึงน้ำพุร้อน ในดิน หรือแม้กระทั่งทะเลทราย

3. สาหร่ายสีน้ำตาล (Brown Algae) เป็นสาหร่ายหลายเซลล์ลักษณะเป็นเส้นสายต่อกันออกเป็นกิ่งก้าน มีสารสีเป็นสีน้ำตาล

4. สาหร่ายสีแดง (Red Algae) เป็นสาหร่ายหลายเซลล์ มีสารสีเป็นสีแดง พบได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม


ส่วนการแบ่งชนิดของสาหร่ายตามขนาดนั้น สาหร่ายสีเขียวกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จัดอยู่ในสาหร่ายขนาดเล็ก ที่เรียกว่า
จุลสาหร่าย (Microalgae) ส่วนสาหร่ายสีน้ำตาลกับสาหร่ายสีแดง จัดอยู่ใน มหสาหร่าย (Macroalgae) หรือสาหร่าย
ขนาดใหญ่

สาหร่ายที่เป็นตัวเอกของฐานการเรียนรู้นี้คือ สาหร่ายเกลียวทองหรือสาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina) ซึ่งเป็นสาหร่ายชนิดสีเขียว
แกมน้ำเงิน

โดยผู้เข้าชมงานจะได้เห็นตั้งแต่กระบวนการเพาะเลี้ยง ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเซลล์ของสาหร่ายชนิดนี้


กล้องจุลทรรศน์สองเครื่องและบ่อจำลองการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของทั้งเด็กและผู้ปกครองได้ดีทีเดียว
เด็กๆ ดูตื่นเต้นกับการส่องกล้องดูเซลล์ของสาหร่ายสไปรูลิน่า ที่มีรูปร่างเป็นเกลียวเหมือนสปริง และตื่นตากับบ่อจำลองขนาดย่อม
ที่ใช้เลี้ยงสาหร่ายชนิดเดียวกัน ในบ่อจำลองมีกังหันเล็กๆ หมุนพัดกวนน้ำสีเขียวที่หมุนวนอยู่ตลอดเวลา

การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า เริ่มต้นจากการนำกล้าเชื้อสาหร่ายมาเพาะเลี้ยงในบ่อน้ำกร่อย มีกังหันช่วยกวนน้ำเพื่อป้องกันการ
ตกตะกอนและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ โดยผู้เพาะเลี้ยงจะใส่สารอาหารลงไปในน้ำและเปิดรับแสงแดดสำหรับให้สาหร่ายได้สังเคราะห์
แสง ใช้เวลาเพาะเลี้ยงนาน 10 – 15 วัน จึงทำการเก็บเกี่ยว โดยใช้ผ้าละเอียดกรองสาหร่ายก่อนจะนำมาอบแห้งด้วยตู้อบความ
ร้อน แล้วนำไปบดละเอียดให้เป็นผง เพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์สาหร่ายต่อไป

การเพาะเลี้ยงสาหร่ายมีอยู่ทั่วโลกเนื่องจากสาหร่ายเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและราคาดี คุณณัฐภาสกล่าวว่าผงสาหร่ายสไปรูลิน่า
มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 8,000 บาทเลยทีเดียว ในประเทศไทยเองก็มีการเพาะเลี้ยงหลายแห่ง เพื่อนำสาหร่ายชนิดนี้มาทำเป็น
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม




สาหร่ายนอสตอกกับการทดลองปรับสภาพดินจากแหล่งต่างๆ

นอสตอก (Nostoc spp.) สาหร่ายชนิดสีเขียวแกมน้ำเงินที่มีคุณประโยชน์ต่อดิน เพราะมีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ
ทำให้ดินมีแร่ธาตุมากขึ้น โดยมุมหนึ่งของฐานที่ 2 นี้ได้นำดินจากหลายแหล่งมาทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของดินปกติ
กับดินที่เติมปุ๋ยชีวภาพลงไปบนหน้าดินซึ่งก็คือ สาหร่ายนอสตอก นั่นเอง ผลที่ออกมาคือ ดินที่มีสาหร่ายนอสตอกปกคลุมอยู่นั้นมีคุณ
ภาพของเนื้อดินที่ดีกว่า


ตองก้า (พาทัวร์ทะเล)


ข้อมูลอ้างอิง
เอกสารประกอบการชมงาน ‘เกษตรสยาม ล้ำสมัย’
หนังสือชุด ‘สาหร่ายน่ารู้’ เรื่อง ‘สาหร่าย...มากคุณค่า...โอชารส’ ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


http://www.tkpark.or.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 05/07/2012 8:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,684. สรุปผลงานวิจัย การกำจัดวัชพืชน้ำ



การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุพรางแสงชนิดต่างๆ ได้แก่ พลาสติกสีดำ พลาสติกกระสอบสานสีดำ พลาสติกกรอง
แสงชนิดลดแสง 80 เปอร์เซ็นต์ (ซาแลน) ในการพรางแสงวัชพืชใต้น้ำ 4 ชนิด ได้แก่ ดีปลีน้ำ (Potamogeton malaiames
Miq.) สาหร่ายหางกระรอก (Hydrilla verticillata (Lin.f.) Royle) สาหร่ายเส้นด้าย (Najas graminea Del.) และสัน
ตะวาใบพาย (Ottelia alismoides (L.) Pers) วัดผลการทดลองด้วยการวัดการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำ โดยวัดความยาว
ราก ความยาวต้น น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง โดยทำการทดลองที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง อ. สองพี่น้อง จ.
สุพรรณบุรี และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากำแพงแสน อ. ท่ามะกา จ. กาญจนบุรี ระยะเวลาทำการทดลอง ตุลาคม
2551-กันยายน 2553 จากผลการทดลองพบว่า

1. วัชพืชใต้น้ำชนิดต่างกัน จะมีผลในการควบคุมต่างกัน เมื่อคลุมคลองส่งน้ำที่มีการแพร่ระบาดของสันตะวาใบพายด้วยพลาสติกกระ
สอบสานสีดำใน 7 วัน จะให้ผลในการควบคุมดีที่สุด โดยสันตะวาใบพายตายอย่างสิ้นเชิง รองลงมา คือ
- พลาสติกหนาสีดำ และพลาสติกกรองแสงชนิดลดแสง 80 เปอร์เซ็นต์ และ 14 วัน หลังการทดลอง สันตะวาใบพายตายโดยสิ้นเชิง

- เมื่อคลุมด้วยพลาสติกทั้ง 3 ชนิด ดีปลีน้ำตายโดยสิ้นเชิง
- เมื่อคลุมด้วยพลาสติกกรองแสงชนิดลดแสง 80 เปอร์เซ็นต์ 28 วัน หลังการทดลอง สาหร่ายเส้นด้ายและสาหร่ายหางกระรอก
ตายโดยสิ้นเชิงที่ 28 วัน เมื่อคลุมด้วยพลาสติกทั้ง 3 ชนิด

2. วัสดุพรางแสงแตกต่างกันจะให้ผลในการควบคุมระยะเวลาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของวัชพืช โดยพลาสติกสีดำ พลาสติก
กระสอบสานสีดำ พลาสติกกรองแสงชนิดลดแสง 80 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลในการควบคุมที่มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน


------------------------------------------------------------------------------------------------




การประเมินผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำภายหลังการควบคุมวัชพืชน้ำโดยวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืชและการใช้วัสดุพรางแสง
ดำเนินการศึกษาทั้งในสภาพบ่อทดลองและในคลองชลประทาน จากการศึกษาพบว่า

การศึกษาผลตกค้างของสารกำจัดวัชพืชใต้น้ำ สาหร่ายหางกระรอก, ดีปลีน้ำ, สาหร่ายเส้นด้าย, สันตะวาใบพาย ได้แก่
- ไดยูรอน อัตราความเข้มข้น 500 กรัม/น้ำ 100 ลิตร,
- ไดยูรอน+เฮกซาวิโนน (เวลปาร์ K) อัตราความเข้มข้น 500 กรัม/น้ำ 100 ลิตร,
- 2,4-ดี อัตราความเข้มข้น 500 กรัม/น้ำ 100 ลิตร,
- สารกำจัดวัชพืชผสมระหว่าง 2,4-ดี+เวลปาร์ K อัตราความเข้มข้น 250 กรัม + 250 กรัม/น้ำ 100 ลิตร,
- เมทซัลฟูรอน – เมทธิล อัตราความเข้มข้น 7 กรัม/น้ำ 100 ลิตร และ
- อาทราซีน อัตราความเข้มข้น 500 กรัม/น้ำ 100 ลิตร ในบ่อทดลอง พบว่า อัตราการงอกและการเจริญเติบโตของรากและลำต้น
ของผักกาดภายหลังการทดลองฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช 3 วันถึง 90 วัน ให้ผลใกล้เคียงกันและไม่แตกต่างจากชุดควบคุมสำหรับ
การทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชใต้น้ำในคลองส่งน้ำ พบว่าอัตราการงอกและการเจริญเติบโตของรากและ
ลำต้นของผักกาดภายหลังการแดพ่นสารกำจัดวัชพืช 7 วันถึง 69 วัน ให้ผลใกล้เคียงกันและไม่แตกต่างจากชุดควบคุม ส่วนผล
ตกค้างของสารกำจัดวัชพืชในน้ำละดินต่อพืชปลูก ได้แก่ ถั่วเขียวและข้าวโพด

การศึกษาผลตกค้างของสารกำจัดวัชพืชในน้ำและดิน หลังการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชริมน้ำ (ธูปฤาษี หรือ
กกช้าง) ได้แก่
- ไกลโฟเสท อัตราความเข้มข้น 2 ลิตร/ 100 ลิตร,
- สารกำจัดวัชพืชผสมระหว่างไกลโฟเสท + อาทราซีน อัตราความเข้ม
ข้น 1.5 ลิตร + 500 กรัม และ
- สารกำจัดวัชพืชผสมระหว่างอิมาซาเพอร์ + กลูโฟซิเนท อัตราความเข้มข้น 1 ลิตร + 1 ลิตร/ 100 ลิตร

ในคลองระบายน้ำ พบว่า อัตราการงอกและการเจริญเติบโตของรากและลำต้นของผักกาดภายหลังการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช 7
วันถึง 45 วัน ให้ผลใกล้เคียงกันและไม่แตกต่างจากชุดควบคุม ส่วนผลตกค้างของสารกำจัดวัชพืชในน้ำและดินต่อวัชพืชปลูก
ได้แก่ ถั่วเขียวและข้าวโพด พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของรากและต้นของถั่วเขียวและข้าวโพด


-----------------------------------------------------------------------------------------------




จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแบบแห้งที่ผลิตจากน้ำหมักชีวภาพเป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียที่มีการสะสมของ
ตะกอนอินทรีย์โดยช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (DO)และลดปริมาณ BOD, ตะกอนอินทรีย์ และแร่ธาตุบางชนิดที่
ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในน้ำ ซึ่งจะใช้ควบคู่กับพืชลอยน้ำเพื่อให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น

จากการศึกษาพบว่า จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแบบแห้งที่ผลิตจากน้ำหมักชีวภาพจากหน่วยงานวัชพืช กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้าน
วิทยาศาสตร์ มีความเหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียในสภาวะน้ำนิ่งและน้ำไหล และมีการลดลงของตะกอนอินทรีย์ 3.40%
เมื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำเสียในบ่อบำบัด 1 กรมชลประทาน ปากเกร็ด ในอัตราส่วน 10 กรัมต่อปริมาณน้ำเสีย
6 ลิตร ปริมาณ DO จะเพิ่มขึ้นในวันที่ 3 น้ำไม่มีกลิ่นเหม็นในวันที่ 5 และปริมาณ BOD ลดลง ประมาณ 50% หากไม่การเพิ่ม
ของน้ำเสีย


---------------------------------------------------------------------------------------------





ผลการศึกษาเมล็ดตกค้างในดินและการเจริญเติบโตใหม่ (regrowth) หรือการงอกใหม่ของวัชพืชใต้น้ำในคลองส่งน้ำภาย
หลังการควบคุมกำจัดโดยวิธีการใช้สารเคมี 5 ชนิดคือเมทซัลฟูรอนเมทธิล (เคลลี่) อัตร 7 กรัม/ไร่ 2,4-ดี อัตราที่ใช้ 500กรัม/ไร่
อาทราซีน อัตรา 500 กรัม/ไร่ ไดยูรอน (คาร์แมกซ์) อัตรา 500 กรัม/ไร่ สารผสมเฮกซาซิโนน+ไดยูรอน (เวลปาร์K) อัตรา
250+250 กรัม/ไร่ สารผสมเฮกซาซิโนน+ไดยูรอน+2,4-ดี อัตรา250+125+125 กรัม/ไร่ ในห้องปฏิบัติการและ
เรือนทดรองกลุ่มงานวัชพืช สำนักวิจัยและพัฒนา พบว่าสามารถควบคุมวัชพืชใต้น้ำในบ่อทดลอง ที่ระยะเวลา 90 วันหลังฉีด เนื่อง
จากไม่พบวัชพืชน้ำ regrowth แต่สารเคมีดังกล่าวไม่มีผลต่อการงอกของเมล็ดตกค้างในดิน

ผลการศึกษาเมล็ดตกค้างในดินและการเจริญเติบโตใหม่ (regrowth) หรือการงอกใหม่ของวัชพืชใต้น้ำในคลองส่งน้ำภาย
หลังการควบคุมกำจัดโดยวิธีพรางแสง โดยใช้ซาแลน 50% ซาแลน 80% พลาสติกสาน พลาสติกสะท้อนแสง พลาสติกหนา
แผงหญ้าคา จอกหูหนู และผักตบชวา พบว่าการควบคุมสาหร่ายหางกระรอกด้วยวัสดุพรายแสงดังกล่าว ทุกแปลงมีการ regrowth
สูงสุดคือ 35.07 กรัม น้ำหนักสด/กระถาง ที่ระยะเวลา 2 เดือนหลังเลิกพรางแสง

ผลการศึกษาเมล็ดตกค้างในดินและการเจริญเติบโตใหม่ (regrowth) หรือการงอกใหม่ของวัชพืชใต้น้ำในคลองส่งน้ำภาย
หลังการควบคุมกำจัดโดยวิธีการช้สารเคมี โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี พบว่าสารเคมี 5 ชนิดที่ใช้ไม่มีผล
ต่อการงอกของเมล็ดตกค้างแต่มีผลต่อการ regrowth โดยเริ่มพบ regrowth ที่ระยะเวลา 70 วัน หลังฉีด และที่ระยะเวลา 124
วันหลังฉีดทุกแปลงมีการเจริญงอกใหม่ไม่แตกต่างจากแปลงควบคุม คือ 233.33-520.00 กรัมน้ำหนักสด/ตร.ม. ผลการศึกษา
เมล็ดตกค้างในดินและการเจริญเติบโตใหม่ (regrowth) หรือการงอกใหม่ของธูปฤาษีในคลองระบายภายหลังการควบคุมกำจัด
โดยวิธีการใช้สารเคมี โดครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี พบว่าสารเคมี 3 ชนิดคือ ไกลโฟเสทอัตรา 2 ลิตร/ไร่
ไกลโฟเสท:อาทราซีน อัตรา 1.5 ลิตร/ไร่ : 500 กรัม/ไร่ อิมาซาเพอร์ : กลูโฟซิเนท อัตรา1:1 ลิตร/ไร่ พบการ


--------------------------------------------------------------------------------------------------


การศึกษาปัญหาการระบาดของสาหร่ายชั้นต่ำและการรักษาคุณภาพน้ำทางชีวภาพ อย่างเหมาะสมในในอ่างเก็บน้ำลําคันฉู
จังหวัดชัยภูมิ ได้ดําเนินการศึกษาในช่วงเดือนมีนาคม 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เก็บตัวอย่างทุกเดือน จํานวน 9 สถานี ทํา
การศึกษาความหลากหลายชนิด ปริมาณและการแพร่กระจายของสาหร่ายชั้นต่ำ รวมทั้งเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำทางกายภาพและทาง
เคมีในช่วงเวลาที่ทําการศึกษาด้วย

พบสาหร่ายชั้นต่ำทั้งหมด 111 ชนิด 74 สกุล สาหร่ายสีเขียวเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายของชนิดมากที่สุด รองลงมาคือ
ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ยูกลีนอยด์ คริโสไฟต์ ไดโนแฟละเจลเลต และ แซนโธไฟต์ ตามลําดับ โดยพบความ
หลากหลายของชนิดสูงสุดในเดือนมีนาคม (70 ชนิด) และต่ำสุดในเดือนกรกฏาคม (35 ชนิด) มีปริมาณเฉลี่ย 719,422.32
หน่วยต่อลิตร พบต่ำสุดในเดือนสิงหาคม (ฤดูฝน) และสูงสุดในเดือนมกราคม (ฤดูหนาว) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นกลุ่มที่
พบมีปริมาณสูงสุด ชนิดที่พบเด่น คือ Microcystis aeruginosa และ Chroococcus minutus ไดอะตอมเป็น
กลุ่มที่พบมีปริมาณรองลงมา ชนิดที่พบเด่น คือ Aulacoseira granulata

คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลําคันฉูโดยทั่วไปมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี จัดอยู่ในประเภทที่ 3 ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
สามารถนําน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้อง ผ่านการฆ่าเชื้อตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ
น้ำทั่วไปก่อน รวมทั้งใช้เพื่อการเกษตร แต่ที่ควรติดตามตรวจสอบ คือ ปริมาณสารอาหารในน้ำซึ่งพบมีค่าสูงโดยเฉพาะในช่วง ฤดู
ฝนถึงช่วงต้นฤดูหนาวและเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้สาหร่ายชั้นต่ำมีการเจริญเติบโตมากเกินไปในช่วงฤดูกาลนี้ด้วย เมื่อพิจารณาจาก
ปริมาณสารอาหารและคลอโรฟิลล์ เอ ซึ่งเป็นดัชนีมวลชีวภาพของสาหร่ายชั้นต่ำจัดว่าอ่างเก็บน้ำลําคันฉูเป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดม
สมบูรณ์สูง (eutrophic reservoir)


--------------------------------------------------------------------------------------------------



การศึกษาชนิด ปริมาณ การแพร่กระจาย และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำกับการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำในอ่างเก็บน้ำลําคันฉู
ตั้งแต่เดือนมี.ค. 2551 ถึง เดือนก.พ. 2552 เก็บตัวอย่าง 12 จุด ซึ่งกระจายทั่วพื้นที่ ทุกๆ 2 เดือน จากผลการศึกษาพบวัชพืช
น้ำทั้งหมด 10 ชนิด (specie) 8 วงศ์ (family) กลุ่มเด่นคือวัชพืชใต้น้ำ (submerged plants) โดยชนิดเด่นที่พบได้
แก่ ดีปลีน้ำ (Potamogeton malaianus Miq.) สันตะวาใบพาย (Ottelia alismoides (L.) Pers.) และสาหร่ายหางกระ
รอก (Hydrilla verticillata (L.f.) Royle) ปริมาณของดีปลีน้ำ สันตะวาใบพาย และ สาหร่ายหางกระรอก คิดเป็นผลผลิตมวล
ชีวภาพ (biomass) ของน้ำหนักสด 195.73, 43.84 และ 133.96 กรัม/ตร.ม. ตามลําดับ น้ำหนักแห้ง 16.30, 2.79 และ 12.39
กรัม/ตร.ม. ตามลําดับในรอบปี โดยในเดือน ก.ย. 2551 สาหร่ายหางกระรอกมีน้ำหนักสูงสุด คือ 400.0 กรัมน้ำหนักสด/ตร.ม.
และ 41.92 กรัมน้ำหนักแห้ง/ตร.ม. และพบว่าเดือน ม.ค.2552 ดีปลีน้ำมีน้ำหนักสูงสุด คือ 399.61 กรัมน้ำหนักสด/ตร.ม. และ
31.56 กรัมน้ำหนักแห้ง/ตร.ม. สําหรับดีปลีน้ำและสาหร่ายหางกระรอกพบแพร่กระจายบริเวณ หน้าเขื่อนและบริเวณใกล้กระชัง
ปลาเป็นส่วนใหญ่ โดยเจริญเติบโตที่ระดับความลึก 0.2-2.9 เมตร

นอกจากนี้ยังพบว่าดีปลีน้ำและสาหร่ายหางกระรอกการเจริญเติบโตและครอบคลุมพื้นที่สูงสุด คือ 50.0 และ 41.7 % ตามลําดับ
ในเดือน ก.พ. 2552 สําหรับพืชวงศ์สาหร่ายไฟได้แก่ Nitella spp. จัดเป็นชนิด เด่นและมีความหนาแน่นมากในช่วงเดือน มี.ค.-
พ.ค. 2551 และในเดือน มี.ค. 2551 สันตะวาใบพายและ Nitella spp. มีการเจริญเติบโตและคลอบคลุมพื้นที่สูงสุดคือ 50.0-
66.7 % ตามลําดับ

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำกับการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำ พบว่า การเจริญเติบโตของดีปลีน้ำมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอุณห
ภูมิน้ำ มวลชีวภาพของสันตะวาใบพายมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความขุ่น ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2-N) และออร์โธ-ฟอสเฟต
(PO4-P) ส่วนความยาวต้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเป็นกรด-ด่างและความนําไฟฟ้า ส่วนมวลชีวภาพของสาหร่ายหางกระรอก
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับไนเตรต-ไนโตรเจน (NO3-N) สําหรับสาหร่ายเส้นด้ายพบว่าน้ำหนักสดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับโพแทส
เซียม นอกจากนี้ยังพบว่ามวลชีวภาพของ Nitella spp. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอุณหภูมิและความนําไฟฟ้า แต่มีความสัมพันธ์เชิง
ลบกับความขุ่นและไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2-N)

เนื่องจากมีการทําการเกษตรบริเวณรอบอ่างฯ ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ทําให้แหล่งน้ำมีธาตุอาหารสูง เนื่องจากมีการชะล้างของปุ๋ย
อาหารสัตว์และสารเคมี ไหลลงสู่แหล่งน้ำ รวมทั้งธาตุอาหารจากการเลี้ยงปลาในกระชัง ส่งผลให้วัชพืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
มวลชีวภาพของวัชพืชน้ำในรอบปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเข้าสู่ภาวะวิกฤตหากไม่มีการจัดการที่ดี ดังนั้นแนวทางการจัดการเบื้องต้นควร
แก้ปัญหาจากสาเหตุที่ก่อให้เกิดการสะสมธาตุอาหารในแหล่งน้ำ


----------------------------------------------------------------------------------------------------




http://kromchol.rid.go.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 61, 62, 63 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 62 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©