-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 55, 56, 57 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/01/2012 7:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 56


ลำดับเรื่อง....


1,510. "นมควาย-มอสซาเรลลาชีส" รสชาติต้นตำรับอิตาลี ผลิตที่ฉะเชิงเทรา

1,511. "ชาผักหวานป่าพร้อมดื่ม" เพื่อสุขภาพที่ดี เพิ่มความมีชีวิตชีวาระดับเซลล์
1,512. พัฒนาวัสดุทดแทนไม้ทนความร้อนสูง ใช้งานกลางแจ้งทนทานกว่า 15 ปี
1,513. เภสัช มช. วิจัยครีมชะลอแก่จากน้ำมันรำข้าวนาโน
1,514. ข้อเท็จจริงกรณีมันสำปะหลังเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ
1,515. วิจัยใช้ดินอย่างยั่งยืน

1,516. ป้องกันเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วง
1,517. 'ผักหวานป่านอกฤดู' ยอดแตกดี สีสวย
1,518. โครงการโรงปุ๋ยในแปลงนา ผลิตปุ๋ยให้ดินทดแทนปุ๋ยยูเรีย
1,519. เตือนเกษตรกร...อย่าเปิดกรีดยางต้นเล็ก
1,520. ผลการดำเนินงาน "นิคมปาล์มน้ำมัน"

1,521. ผลิตแตนเบียนช่วยมันสำปะหลัง
1,522. อินโดนีเซียฝึกอบรมด้านข้าวจากไทย
1,523. มันเทศเกาหลีใต้
1,524. EU ตีกรอบสินค้าเกษตรอินทรีย์
1,525. "ยุทธศาสตร์" พัฒนา ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ดันเขตส่งเสริมพิเศษ

1,526. เพาะปลาทูสำเร็จ ครั้งแรกของโลก
1,527. ไฟเขียว เปิดตลาด 9 สินค้าเกษตร
1,528. เตือนสารพิษตกค้างในผัก 4 ชนิด
1,529. สวนส้มโอ"ทองดี" มีเฮ ! ลุ้นญี่ปุ่นเปิดไฟเขียวนำเข้า
1,530. จาก “นักวิทยาศาสตร์นาซ่า” สู่ “ชาวสวน”

1,531. จุฬาฯ คลี่ผลวิจัย “อีเอ็ม” ไม่ช่วยแก้น้ำเสีย
1,532. นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา 3-4 เท่าต่อเดือน
1,533. การติดตั้งอุปกรณ์อัดฮอร์โมนเอทธิลีน แบบเลท-ไอ
1,534. ข้อจำกัดของการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน


--------------------------------------------------------------------------------------------------






1,510. "นมควาย-มอสซาเรลลาชีส" รสชาติต้นตำรับอิตาลี ผลิตที่ฉะเชิงเทรา


"รักใคร...ให้ดื่มนม" แต่หากคนที่คุณรักแพ้นมวัวแล้วล่ะก็ "นมควาย" เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อสุขภาพที่ดีและมีคุณค่าทางอาหารสูงไม่แพ้นมวัว ทั้งยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่น่ารับประทานได้ไม่ต่างกัน ทั้งไอศกรีม โยเกิร์ต และมอสซาเรลลาชีสแบบต้นตำรับอิตาลี

"นมควาย" อาจฟังดูไกลตัวสำหรับคนไทยที่เลี้ยงควายเอาไว้ไถนามาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย แต่ในต่างประเทศนิยมดื่มนมควายกันมานานแล้ว โดยเฉพาะในอิตาลีที่เลี้ยงควายไว้รีดนมอย่างเป็นล่ำเป็นสันกันมานานนับร้อยปี และมอสซาเรลลาชีสก็เป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของชาวอิตาเลี่ยนที่ต้องผลิตจากน้ำนมควายเท่านั้น เพราะน้ำนมดิบในปริมาณเท่ากัน น้ำนมควายสามารถผลิตมอสซาเรลลาชีสได้ปริมาณมากกว่าและมีคุณภาพดีกว่ามอสซาเรลลาชีสที่ผลิตจากนมวัว

ชาริณี ชัยยศลาภ ผู้จัดการ บริษัท มูร่าห์ แดรี่ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการฟาร์มควายนมแห่งแรกในเมืองไทยในนาม "มูร่าห์ฟาร์ม" ที่ตั้งอยู่ใน จ.ฉะเชิงเทรา ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์และสื่อมวลชนว่า น้ำนมควายมีโปรตีนและแคลเซียมสูงกว่าแต่มีคลอเรสเตอรอลต่ำกว่านมวัว นมแพะ และนมแกะ ทั้งยังเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่แพ้นมวัวด้วย เพราะมีโปรตีนและน้ำตาลแลคโตสคนละชนิดกัน ซึ่งในต่างประเทศนิยมบริโภคน้ำนมควายกันมานานแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายในหมู่คนไทย และส่วนใหญ่ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์จากนมควายสำหรับประกอบอาหารอิตาเลี่ยน โดยเฉพาะมอสซาเรลลาชีส

"มูร่าห์ฟาร์มเริ่มเลี้ยงควายนมพันธุ์มูร่าห์จากอินเดียเมื่อปี 2546 และเริ่มผลิตมอสซาเรลลาชีสจากน้ำนมควายในปี 2550 โดยทำแบบลองผิดลองถูกจากการศึกษาดูงานในต่างประเทศประกอบกับข้อมูลในตำราของต่างประเทศ แต่มอสซาเรลลาชีสที่ผลิตได้มีคุณภาพไม่คงที่ และเราก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุใดหรือมีปัญหาในขั้นตอนไหน จึงได้ติดต่อไปยังสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อหาทางปรับปรุงคุณภาพชีสให้ดีขึ้นและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค" ชาริณี กล่าว

หลังจากนั้น สกว. และมูร่าห์ฟาร์มจึงร่วมกันทำวิจัยในโครงการ "การปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัมผัสเนยแข็งมอสซาเรลลาจากน้ำนมกระบือ" เป็นเวลา 6 เดือนโดยมี รศ.ดร.วรรณา ตั้งเจริญชัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นหัวหน้าโครงการ

นักวิจัยศึกษาองค์ประกอบของโปรตีนและปรับกระบวนการผลิตมอสซาเรลลาชีสโดยควบคุมอุณหภูมิในระหว่างการหมักชีสให้อยู่ระหว่าง 40-42 องศาเซลเซียส ควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) ให้ลดลงจาก pH 6.5 จนเหลือ pH 5 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที พบว่าผลิตภัณฑ์มอสซาเรลลาชีสที่ได้มีเนื้อสัมผัสสม่ำเสมอ ไม่แห้งและกระด้าง ชีสพองตัวดีและมีการยืดตัวที่ดี คุณภาพใกล้เคียงกับมอสซาเรลลาชีสต้นตำรับที่นำเข้าจากอีตาลี และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคหลังจากทดสอบทางการตลาด

"มอสซาเรลลาชีสสามารถเก็บในน้ำเกลือได้นาน 2 สัปดาห์ แต่จะให้รสชาติที่ดีที่สุดใน 3 วันแรก ซึ่งจุดเด่นของเราคือทำสดใหม่ทุกวันและมีราคาถูกกว่าผลิตภัณฑ์นำเข้า ปัจจุบันผลิตได้วันละ 40 กิโลกรัม โดยลูกค้าหลักของเราคือการบินไทยและโรงแรมต่างๆ" ชาริณี กล่าว พร้อมกันนี้ยังเปิดเป็นร้านอาหารและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนมควายรวมทั้งน้ำนมควายสดพลาสเจอร์ไรซ์ โดยใช้ชื่อร้านว่า "มูร่าห์เฮ้าส์" ที่หมู่บ้านสัมมากร ย่านรามคำแหง

อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการผลิตมอสซาเรลลาชีสจะมีหางนมเหลือเป็นจำนวนมาก ในหางนมนี้มีปริมาณโปรตีนเวย์สูง ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าผงโปรตีนเวย์เพื่อใช้ในการทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น เช่น โยเกิร์ต ไส้กรอก และเบเกอรี โดยผู้จัดการมูร่าห์ฟาร์มกำลังมองว่าจะร่วมทำวิจัยกับ สกว. เพื่อแปรรูปหางนมเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปเครื่องดื่มโปรตีนเวย์บำรุงร่างกายสำหรับนักกีฬา หรือผลิตภัณฑ์โปรตีนเวย์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเพื่อลดการนำเข้าโปรตีนเวย์จากต่างประเทศ




http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000105751


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2012 5:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/01/2012 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,511. "ชาผักหวานป่าพร้อมดื่ม" เพื่อสุขภาพที่ดี เพิ่มความมีชีวิตชีวาระดับเซลล์


"ผักหวานป่า" ของดีหายากที่ชาวเหนือและชาวอีสานนิยมบริโภค ได้กลายมาเป็น "ชาผักหวานป่าพร้อมดื่ม" เพื่อสุขภาพและช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์ จากการวิจัยและพัฒนาวิธีการขยายพันธุ์และแปรรูปผักหวานป่าโดยนักวิจัย วว. ที่พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ควบคู่กับการส่งเสริมการเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) วิจัยและพัฒนา “ชาผักหวานป่าพร้อมดื่ม” พบว่าช่วยต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาใบหม่อนและชาดอกคำฝอย ทั้งยังมีสารโคเอนไซม์คิวเทนที่เพิ่มพลังงานให้เซลล์ ลดระดับคอเลสเตอรอลและลดความเสี่ยงการเกิดโรคเนื่องจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย

"ผักหวานป่าเป็นผักพื้นบ้านที่นิยมบริโภคกันมากในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีรสชาติหวานอร่อย แต่ผักหวานป่าขยายพันธุ์ยาก นักวิจัยสถานีวิจัยลำตะคองจึงพัฒนาวิธีการขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จโดยวิธีตอนกิ่ง พร้อมทั้งพัฒนาการปลูกเป็นเชิงการค้าในระบบการปลูกพืชผสมผสานโดยมีผักหวานป่าเป็นพืชหลัก ซึ่งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรปลูกเชิงการค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย" นายสายันต์ ตันพานิช ผู้อำนวยการสถานีวิจัยลำตะคอง วว. กล่าว

ขณะเดียวกันนักวิจัยก็ศึกษาพัฒนาวิธีการแปรรูปผักหวานป่า เพื่อป้องกันปัญหาผลผลิตล้นตลาด โดยนำผักหวานป่ามาทำเป็นชาผักหวานป่าชนิดผงสำหรับชงดื่ม ซึ่งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว และล่าสุดสามารถพัฒนาได้เป็นชาผักหวานป่าพร้อมดื่มที่เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคและเหมาะกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน

ผลิตภัณฑ์ชาผักหวานป่าพร้อมดื่มนี้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และมีทองใส ซึ่งแตกต่างจากสีสันของชาโดยทั่วไป มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาใบหม่อนและชาดอกคำฝอย ที่สำคัญคือไม่มีคาเฟอีน ดีต่อสุขภาพและเหมาะกับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

ชาผักหวานป่า 100 กรัม (ต่อน้ำหนักแห้ง) ประกอบด้วยวิตามินชนิดต่างๆ ได้แก่ วิตามินเอ 9,616.99 ไมโครกรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเสื่อม, วิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้าทำให้รู้สึกสดชื่น, วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันเชื้อโรคและลดรอยเหี่ยวย่น, วิตามินบี 3 10.64 มิลลิกรัม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด, วิตามินซี 37.49 มิลลิกรัม เป็นส่วนสำคัญในการสร้างคอลลาเจน ช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใส และวิตามินอี 71.92 มิลลิกรัม ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในไขมัน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

นอกจากนี้ ยังมีโคเอนไซม์คิวเทน 1.49 มิลลิกรัม ซึ่งมีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเนื่องจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม และยังมีสารคอลลาเจน 4.94 กรัม ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น จึงช่วยยับยั้งการหย่อนยานของผิวหนังและลดริ้วรอยแห่งวัยได้

สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์หรือเอกชนที่สนใจนำงานวิจัยชาผักหวานป่าพร้อมดื่มไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ สามารถสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ Call center วว. โทร. 0-2579-3000, โทรสาร 0 2561 4711 , 0 2577 9009 ในวันและเวลาราชการ

ส่วนผู้ที่สนใจปลูกผักหวานป่าเชิงพาณิชย์ สามารถติดต่อเข้ารับการฝึกอบรมหรือเยี่ยมชมแปลงสาธิตได้ที่สถานีวิจัยลำตะคอง เลขที่ 333 หมู่ 12 ถ.มิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทร. 044-390 107, 044-390-150 , 081- 999 4770 โทรสาร 044-390-107 ในวันและเวลาราชการ



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000091628
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/01/2012 7:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,512. พัฒนาวัสดุทดแทนไม้ทนความร้อนสูง ใช้งานกลางแจ้งทนทานกว่า 15 ปี


นักวิจัย มจธ. ร่วมมือเอกชนพัฒนาวัสดุทดแทนไม้ให้ทนทานต่อสภาวะแลดล้อมได้นานขึ้น ทั้งทนความร้อนและแสงยูวี สีไม่ซีดจางง่าย เหมาะสำหรับใช้งานกลางแจ้ง สวยคงทนยาวนานกว่า 15 ปี

น.ส.กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและพัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ศึกษาวิจัยการปรับปรุงเสถียรภาพเชิงอุณหภูมิและแสงยูวีของวัสดุผสมพีวีซีและผงขี้เลื่อยไม้ เพื่อพัฒนาวัสดุทดแทนไม้ให้มีประสิทธิภาพคงทนต่อสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยมี ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

"โดยปกติวัสดุทดแทนไม้ที่ทำจากพีวีซีและผงขี้เลื่อยไม่สาสามารถทนต่อความร้อนได้ในระหว่างกระบวนการผลิต จึงต้องมีการเติมสารเพิ่มเสถียภาพทางความร้อนเข้าไปเพื่อให้ทนความร้อนได้สูงขึ้น ซึ่งในการวิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อหาสารเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อนที่เหมาะสมกับวัสดุทดแทนไม้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนการใช้สารเคมีที่มีส่วนผสมของโลหะหนักที่ใช้กันอยู่เดิม" น.ส.กัลทิมา กล่าว

นักวิจัยศึกษาการเติมสารเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อนให้วัสดุทดแทนไม้โดยเลือกใช้สารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3 ชนิด ได้แก่ แคลเซียมสเตียเรท สังกะสีสเตรียเรท และซีโอไลท์ เปรียบเทียบกับสารเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อนสูตรของบริษัท วี.พี. วู๊ด จำกัด ซึ่งร่วมสนับสนุนการวิจัยนี้ด้วย และสารตะกั่วสเตียเรท ซึ่งเป็นสารเพิ่มสเถียรภาพทางความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีส่วนผสมของโลหะหนัก

พบว่าการเติมสารสผมแคลเซียมสเตียเรทและสังกะสีสเตียเรทช่วยเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อนให้กับวัสดุทดแทนไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเมื่อเร่งด้วยสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง 180 องศาเซลเซียส ทำให้วัสดุทดแทนไม้ที่ได้สามารถทนต่อความร้อนได้ดีทั้งในกระบวนการผลิตและการใช้งานกลางแจ้งเป็นเวลานานกว่า 15 ปี อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

นอกจากนั้นนักวิจัยยังได้ศึกษาการเติมสารเพิ่มเสถียรภาพทางแสงยูวี และทดสอบโดยใช้เครื่องเร่งสภาวะด้วยแสงยูวี พบว่าการเติมสารเพิ่มเสถียรภาพทางแสงยูวีช่วยให้วัสดุทดแทนไม้มีสีซีดจางลงและมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีน้อยกว่าการไม่เติมสารเพิ่มเสถียรภาพทางแสงยูวี และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบในสภาวะจริงตามธรรมชาติ เพื่อนำผลการทดลองทั้งสองแบบมาหาความสัมพันธ์กันและทำนายอายุการใช้งานของวัสดุทดแทนไม้

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากโครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุระหว่างพลาสติกและเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตเป็นวัสดุทดแทนไม้ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ร่วมมือกันระหว่าง มจธ. และบริษัท วี.พี. วู๊ด จำกัด ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการขึ้นรูป การรับแรงกระแทก และการประกอบติดตั้งชิ้นงานตามหลักทางวิศวกรรมเพื่อให้สามารถใช้งานวัสดุทดแทนไม้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ไม้ระแนง สะพาน ศาลากลางแจ้ง และพื้น เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้ผลิตจำหน่ายสู่เชิงพาณิชย์แล้วทั้งในและต่างประเทศ โดยลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับความสามารถในการรับแรงจากการใช้งานจริง และความทนต่อสภาวะแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่มาโจทย์ของการวิจัยในครั้งนี้

นักวิจัยกล่าวต่อว่า วัสดุทดแทนไม้มีราคาถูกกว่าไม้จริง แต่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันและมีอายุการใช้งานนานกว่ามาก ทั้งยังสามารถขึ้นรูปได้หลากหลายมากกว่า ขณะที่ไม้จริงจะมีข้อจำกัดเยอะในการขึ้นรูปหรือดัดให้โค้งงอ นอกจากนั้นวัสดุทดแทนไม้ยังสามารถทนความร้อนและทนไฟได้ดีกว่าไม้จริงด้วย


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000070411
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/01/2012 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,513. เภสัช มช. วิจัยครีมชะลอแก่จากน้ำมันรำข้าวนาโน


สาวน้อยสาวใหญ่ยอมควักกระเป๋าจ่ายให้กับครีมชะลอแก่ราคาแพงจากเมืองนอก แต่นักศึกษา ป.เอก จาก มช. พบของดีในรำข้าวไทยใช้เป็นสารต้านริ้วรอยได้ผลดี พัฒนา 5 ปี ได้สูตรครีมน้ำมันรำข้าวนาโน พร้อมยื่นจดสิทธิบัตรและรอถ่ายทอดสู่เอกชน หวังเพิ่มมูลค่ารำข้าวไทยได้กว่า 3,000 เท่า แต่ได้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวถูกกว่านำเข้า 4 เท่า

น.ส.รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) พัฒนาเวชสำอางนาโนจากสารสำคัญที่สกัดจากของเหลือในการผลิตน้ำมันรำข้าว โดยมี ศ.ดร.อรัญญา มโนสร้อย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และหัวหน้าโครงการวิจัย และมี ศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย และ ศ.ดร.มาซาฮิโกะ อาเบะ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียว (Tokyo University of Science: TUS) ร่วมทีมวิจัย

"ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย ในกระบวนการสีข้าวจะเหลือรำข้าว ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปผลิตเป็นน้ำมันรำข้าวหรือเป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์ แต่ในรำข้าวและของเหลือจากการผลิตน้ำมันรำข้าวยังมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามหลายชนิดหลงเหลืออยู่ในปริมาณมาก ได้แก่ แกมมาออไรซานอล กรดไฟติก และกรดเฟอรูลิก ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ จึงสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อชะลอความแก่ได้" ศ.ดร.อรัญญา กล่าว

นักวิจัยทดลองสกัดสารสำคัญกึ่งบริสุทธิ์จากกากรำข้าวและของเหลือในการผลิตน้ำมันรำข้าว แล้วนำมาทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวทำลายคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ทำให้เกิดจุดต่างบนใบหน้าได้ดีเทียบเท่าวิตามินซีและกรดโคจิก

"สารสำคัญจากน้ำมันรำข้าวมีความคงตัวต่ำ จึงต้องกักเก็บไว้ในถุงนีโอโซมขนาดนาโนเพื่อให้มีความคงตัวอยู่นานขึ้นและสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้วิธีซูเปอร์คริติคอลคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งไม่ต้องใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ จึงไม่เพิ่มสารพิษให้สิ่งแวดล้อม ส่วนนีโอโซมก็เป็นสารที่ผลิตได้จากไขมันสัตว์คล้ายไลโปโซม แต่มีการผสมสารลดแรงตึงผิวเข้าไปด้วย" ศ.ดร.อรัญญา อธิบายต่อสื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ในงานประชุมวิชาการ คปก. เมื่อวันที่ 1-3 เม.ย. ที่ผ่านมา

เมื่อได้สารสกัดจากของเหลือในการผลิตน้ำมันรำข้าวในรูปอนุภาคนาโนแล้ว นักวิจัยจึงพัฒนาเป็นสูตรเวชสำอางในรูปแบบครีมและเจล พบว่าถุงนาโนนีโอโซมที่บรรจุสารสำคัญจากรำข้าวเข้ากันได้ดีเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อครีมและเจลโดยไม่แยกชั้น และมีความคงตัวอยู่ได้นานกว่า 6 เดือน ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส

นอกจากนั้นยังพบว่าผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ได้ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองหลังจากทดสอบกับผิวหนังของกระต่าย และสามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังของหนูได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดชนิดเดียวกันแต่ไม่ได้บรรจุในถุงนาโน

เมื่อทดสอบผลิตภัณฑ์กับอาสาสมัครจำนวน 30 คน พบว่าสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้น และความเนียนให้แก่ผิวของอาสาสมัครอย่างมีนัยสำคัญภายใน 28 วัน และยังพบว่าผลิตภัณฑ์สามารถซึมผ่านได้ลึกถึงเซลล์ผิวชั้นใน และทำให้เซลล์ผิวชั้นในมีสุขภาพดีขึ้นได้ใน 24 วัน จากการศึกษาวิจัยที่สถาบันวิจัยของบริษัท พีแอนด์จี ในเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 6 เดือน

ทั้งนี้ ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติแล้ว 2 เรื่อง และกำลังอยู่ระห่างการดำเนินการตีพิมพ์อีก 3 เรื่อง ซึ่งทีมวิจัยใช้เวลาคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี และอยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร และคาดว่าหลังจากนั้นจะถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เอกชนที่สนใจเพื่อผลิตในเชิงพาณิชย์ ซึ่งนักวิจัยได้ศึกษาความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าสามารถเพิ่มมูลค่าให้รำข้าวได้มากถึง 3,000 เท่า โดยที่ผลิตภัณฑ์มีราคาต่ำกว่าประมาณ 4 เท่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์นำเข้าที่มีสารสกัดประเภทเดียวกัน

"แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อสุขภาพและความงามมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น และยินดีจ่ายให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพช่วยชะลอความชราได้" ศ.ดร.อรัญญา กล่าว



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000046513
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/02/2012 7:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,514. ข้อเท็จจริงกรณีมันสำปะหลังเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ


เมื่อเร็วๆ นี้ นายมานิต อนรรฑมาศ นายอำเภอตากฟ้า ได้เชิญพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ หน่วยราชการในพื้นที่ ผู้ประกอบการลานมันสำปะหลัง และเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จาก ต.หนองหลวง อ.ท่าตะโก และ ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า เพื่อร่วมหารือปัญหามันสำปะหลังเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ลานมันไม่รับซื้อ เกษตรกรขายหัวมันสำปะหลังไม่ได้ราคา ต้องขอให้หน่วยงานราชการเร่งช่วยเหลือ

สาเหตุที่ผู้ประกอบการลานมันไม่ต้องการรับซื้อหัวมันสำปะหลังในเขตพื้นที่ปลูกดังกล่าว เนื่องจากมันสำปะหลังมีเนื้อแป้งสีเหลืองฉ่ำน้ำ เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ เยื่อใยสูง โดยมาตรฐานการรับซื้อหัวมันสำปะหลังของลานมันที่ตั้งไว้ต้องมีแป้งไม่ต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทราบถึงปัญหา นายอำเภอตากฟ้า และพาณิชย์จังหวัด ได้ขอความร่วมมือให้ลานมันช่วยซื้อหัวมันสำปะหลังของเกษตรกรที่มีแป้งไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้ขายหัวมันสำปะหลังได้ ด้วยราคาตันละ 900 บาท และราคาเพิ่มขึ้นลดลงตามเปอร์เซ็นต์แป้ง

นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้มอบหมายให้คณะนักวิชาการเกษตรของศูนย์ฯ เข้าตรวจสอบสภาพพื้นที่และพันธุ์มันสำปะหลังที่เกษตรกรเรียกว่า ระยอง 90 ในพื้นที่ ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า พบว่า มีเปอร์เซ็นต์แป้งของหัวมันสำปะหลังที่ทำการสุ่มวัดสูงสุด 26 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุด 19.85 เปอร์เซ็นต์ โดยพันธุ์มันสำปะหลังที่เกษตรกรปลูก มีเนื้อแป้งสีเหลือง ไส้กลวง ฉ่ำน้ำ หัวใหญ่ ผลผลิตดี ทนแล้ง ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง เก็บต้นไว้ทำพันธุ์ได้ดี ลักษณะดินที่ปลูกเป็นดินทราย และ ดินร่วนปนทราย ผลการตรวจสอบพันธุ์มันสำปะหลังโดยคณะนักวิชาการเกษตรจากศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง พบว่า พันธุ์มันสำปะหลังที่เกษตรกรปลูกไม่ใช่พันธุ์ระยอง 90 แต่เป็นพันธุ์ที่นักวิชาการเกษตรได้เคยนำมาทำการทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกร ซึ่งมีลักษณะทางเกษตรบางอย่างไม่ดี จึงไม่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร แต่เกษตรกรชอบเนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง หัวใหญ่ ทนแล้ง เก็บต้นไว้ทำพันธุ์ได้ดี จึงปลูกเก็บไว้ทำพันธุ์กันต่อมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปี โดยลักษณะของพันธุ์ที่เกษตรกรเรียกว่าระยอง 90 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ระยอง 9 แต่เนื้อแป้งมีสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของโรงแป้ง ประกอบกับการปฏิบัติดูแลรักษาในการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากดินที่ปลูกมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กก./ไร่ เท่านั้น ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินแต่อย่างไร

นายดาวรุ่ง คงเทียน นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางในการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพแป้งของมันสำปะหลัง โดยแนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ระยอง 9 ที่มีลักษณะของพันธุ์ใกล้เคียงกับพันธุ์เดิมที่เกษตรกรปลูก แต่มีเนื้อแป้งสีขาว ให้แป้ง 24 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูฝน และให้แป้ง 28-31 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูแล้ง ผลผลิตประมาณ 4.9 ตัน/ไร่ ดินที่ปลูกเป็นดินทราย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงแนะนำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 อัตรา 100 กก./ไร่ และเพื่อให้การผลิตมันสำปะหลังมีความยั่งยืน เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตันไร่ หรือร่วมกับการไถกลบซากต้นใบมันสำปะหลังสด 3 ตัน/ไร่ หรือร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กก./ไร่




ผู้ดูแลระบบ:SIWILAI ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

http://nsfcrc-news.blogspot.com/2009/03/blog-post.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 5:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,515. วิจัยใช้ดินอย่างยั่งยืน





นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัย พัฒนา และการจัดการทรัพยากรดิน เนื่องจากทั้งสองหน่วยงานตระหนักดีว่า ทรัพยากรดินเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญของภาคเกษตรกรรม จึงจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน นำมาซึ่งรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกร และประเทศชาติ

ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดินมีการศึกษา วิจัยและคิดค้นวิธีการปรับปรุงบำรุงดินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเพาะปลูกในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมสารเร่ง พด. ที่ต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร ดังนั้น การร่วมมือกับ วว. ครั้งนี้ จะมุ่งเน้นการต่อยอดนวัตกรรม พด.ให้มีประสิทธิภาพเห็นผลชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรมากขึ้น รวมถึงร่วมกันวิจัย พัฒนาการจัดการทรัพยากรดินและน้ำทุกรูปแบบ สำหรับถ่ายทอดให้เกษตรกรนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

นายอนุชา เล็กสกุลดิลก รองผู้ว่าการบริหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า นักวิจัยของ วว. มีความเชี่ยวชาญในการคิดค้นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินเช่นเดียวกับนักวิจัยของกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อทั้งสองหน่วยงานมีความร่วมมือกัน จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถต่อ ยอดองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูทรัพยากรดินและน้ำได้ดียิ่งขึ้น.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/10174
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 5:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,516. ป้องกันเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วง





นายเฉลิมศักดิ์ ประสิทธิ์สุวรรณ เกษตรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ช่วงนี้ เป็นฤดูกาลของการแทงช่อดอกของมะม่วง ซึ่งมีแมลงศัตรูมะม่วงมาทำลายช่อดอก ผลอ่อน หรือ ผลแก่ เช่น หนอนผีเสื้อกัดกินผล หนอนผีเสื้อเจาะผล แมลงวันทอง เพลี้ยไฟ ที่สำคัญคือ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง เกษตรกรต้องเฝ้าระวังเพลี้ยจักจั่นเข้าทำลายช่อดอกมะม่วงเพลี้ยจักจั่นมะม่วง เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ตัวสีเทาแกมดำ ด้านหัวโต ส่วนลำตัวไปทางปลายปีกเรียวแหลม ไข่ 100-200 ฟอง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและช่อดอก ขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร 4 มิลลิเมตร และ 3.5 มิลลิเมตร การเข้าทำลาย ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของเพลี้ยจักจั่น ดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกแล้วขับถ่ายเป็นน้ำหวาน จับบนใบหรือช่อดอก มีลักษณะเหนียวเยิ้ม ซึ่งต่อมาจะเป็นโรคราดำที่ช่อดอก ในต้นที่มีเพลี้ยจักจั่นอยู่มากจะได้ยินเสียงเพลี้ยจักจั่นมะม่วงกระโดดดังกรอกแกรก ขณะเดินเข้าไปใกล้ทรงพุ่มมะม่วง การทำลายมักจะทำให้ช่อดอกร่วงและผลร่วงได้ ทำให้มะม่วงติดผลน้อย หรืออาจไม่ติดผลเลยก็ได้


การป้องกันกำจัด
1. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ ช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากเชื้อราได้บ้าง การฉีดน้ำแรงพอช่วยให้ตัวอ่อนเพลี้ยกระเด็นออกมาจากช่อดอก เพื่อชะล้างมูลน้ำหวานที่เกิดจากเพลี้ยจักจั่น เพื่อป้องกันการเกิดราดำไม่ควรฉีดน้ำแรงในช่วงติดผลอ่อน อาจทำให้ผลร่วงได้

2. ใช้ควันไล่ให้เพลี้ยจักจั่นหนีไป โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วงให้มีควันมาก ๆ ส่วนการกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดนั้น ให้ทำก่อนที่จะระบาดมาก หรือทำในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน จะสามารถกำจัดได้ง่าย ถ้าปล่อยไว้จนเป็นตัวแก่จะมีปีกบินหนีไปยังต้นอื่น เมื่อคนเดินเข้าไปใกล้ หรือเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งจะทำให้การกำจัดไม่ค่อยได้ผล

3. ช่วงที่ดอกมะม่วงยังไม่บานให้ใช้กาวเหนียวสำหรับดักแมลงทาขวดน้ำพลาสติกหรือแผ่นพลาสติกสีเหลือง หรือลูกเหม็นใส่ถุงตาข่าย แขวนไว้บริเวณใต้พุ่มมะม่วงหลาย ๆ จุดเพื่อดักและไล่เพลี้ยจักจั่น แต่ถ้าช่วงดอกบานไม่ควรใช้ลูกเหม็นเพราะกลิ่นลูกเหม็นทำให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ตัวต่อ แตน ไม่กล้าเข้ามาผสม

4. แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ ผีเสื้อตัวเบียน แมลงวันตาโต แตนเบียน สำหรับตัวห้ำได้แก่ มวนตาโต กิ้งก่า และตุ๊กแก

5. ใช้สารเคมี ได้แก่ เซฟวิน 85% อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง และเมื่อเริ่มแทงช่อดอก 1 ครั้ง ถ้าระบาดรุนแรงควรเปลี่ยนสารเคมีพ่นด้วยสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ คือ เพอร์มาทริน เช่น แอมบุช 10% อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาราเต้ 2.5% อัตรา 7 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

6. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวให้โปร่งเพื่อลดแหล่งหลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่น.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/10175
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 5:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,517. 'ผักหวานป่านอกฤดู' ยอดแตกดี สีสวย





อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เป็นถิ่น “ผักหวานป่า” ที่นับว่าเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่และเป็นที่รู้จักของผู้นิยมบริโภคผักหวานป่าเป็นอย่างดี ซึ่งผักหวานป่านั้นในช่วงฤดูหนาวจะให้ผลผลิตลดลงจากช่วงปกติค่อนข้างมาก ดังนั้น เกษตรกรหลายรายจึงคิดหาหนทางในการทำผักหวานนอกฤดู เพื่อให้ผลผลิตออกต่อเนื่องไม่ขาด จะได้ไม่ต้องสูญเสียรายได้ไปอย่างน่าเสียดาย

คุณจารุพัชร์ กันภัย เจ้าของแปลงผักหวานป่าที่ประสบความสำเร็จจากการทำผักหวานป่านอกฤดู เล่าว่า ปกติในช่วงหน้าหนาวประมาณในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี ผักหวานป่าจะออกน้อยมากหรือแทบไม่ออกเลย โดยเฉพาะแปลงของตนเองมักจะได้ผลผลิตน้อยมากและสียอดไม่สวย พ่อค้า แม่ค้าไม่ค่อยชอบ ดังนั้น ตนจึงคิดหาหนทางในการแก้ปัญหานี้ ด้วยการทำผักหวานป่านอกฤดู และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ทองสุข อ่อนละมัย หมอดินอาสาประจำจังหวัดสระบุรี ในการใช้ผลิตภัณฑ์แร่ภูเขาไฟ ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์และจุลินทรีย์น้ำนม ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คือผักหวานป่ามียอดให้เก็บทุก ๆ วัน จนแทบไม่ได้หยุดเลย และยอดก็มีสีสวยผิดกับเมื่อก่อน

ช่วงแรกที่หมอดินอาสามาแนะนำให้ใช้วิธีดังกล่าวก็ยังไม่เชื่อ จึงลองนำมาใช้ในแปลงที่ปลูกนอกฤดู ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ผลิตภัณฑ์แร่ภูเขาไฟ 20 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม แล้วนำไปโรยรอบรัศมีทรงพุ่ม นอกจากนี้ยังเสริมผลิตภัณฑ์แร่ภูเขาไฟชนิดน้ำ ซึ่งนำมาผสมกับจุลินทรีย์น้ำนมที่หมอดินอาสาหมักเองแล้วนำมาให้ใช้ ในอัตราส่วน 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 7 วัน ผลปรากฏว่าไม่นาน ก็เห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน คือ ผลผลิตเริ่มเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ ผักหวานป่าแตกยอดจำนวนมาก ทำให้ต้องเก็บยอดทุก ๆ วัน ได้วันละ 10 กก. (เก็บคนเดียว) แต่ถ้าเป็นเมื่อก่อนสัปดาห์หนึ่งจะได้เก็บแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น และปริมาณที่ได้ก็ครั้งละ 3-4 กก. ที่สำคัญสีของยอดก็ยังสวย ยอดกรอบ และคงความสดอยู่ได้นานกว่าปกติตรงตามความต้องการของตลาด ราคาจำหน่ายผักหวานป่าส่งยอดได้กิโลกรัมละ 110 บาท แต่ถ้าส่งแบบกำก็จะได้กิโลกรัมละ 90 บาท

สำหรับ วิธีการทำผักหวานป่านอกฤดู คุณจารุพัชร์ แนะนำเทคนิคว่า ควรตัดแต่งกิ่งผักหวานป่าทั้งต้นเพื่อกระตุ้นโดยการรูดใบแก่บนต้นออกเกือบหมดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ให้เหลือใบติดกิ่งอยู่บ้างเล็กน้อย พร้อมหักกิ่งแขนงออกครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง ถ้าหักกิ่งยาวเกินไป ยอดอ่อนที่แตกออกมาจะไม่สวย ผอม และออกน้อย หลังจากที่ตัดแต่งกิ่งเสร็จจะต้องให้น้ำบ่อยอย่างน้อย 3-5 วันต่อครั้ง ซึ่งก่อนหน้าจะตัดแต่งกิ่งถ้ามีการให้ปุ๋ยคอกจะดีมาก ๆ ผักหวานป่าจะแตกยอดอ่อนออกมาให้เก็บขายได้ โดยจะมียอดให้เก็บทุก ๆ 7 วัน นอกจากนี้ ต้นผักหวานป่าที่เก็บเกี่ยวนอกฤดูหมดแล้ว ควรพักต้นเลยและบำรุงด้วยปุ๋ยคอกและให้น้ำ เพื่อจะผลิตผักหวานป่านอกฤดูในรอบต่อไปได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลังจากทดลองทำผักหวานป่านอกฤดู โดยใช้ ผลิตภัณฑ์แร่ภูเขาไฟ และ จุลินทรีย์น้ำนม ที่หมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดินแนะนำเห็นผลชัดเจนและเป็นที่พอใจ คุณจารุพัชร์ จึงได้ขยายผลไปใช้ในส่วนของผักหวานป่าในแปลงอื่น ๆ ทั้งหมดโดยใช้เป็นประจำทุกวัน ส่งผลให้ทุกวันนี้แปลงผักหวานป่าของคุณจารุพัชร์ สามารถเก็บผลผลิตขายได้ทุกวันไม่เว้นช่วงหน้าหนาว เรียกว่ามีรายได้ทุกวันตลอดปี ...นับเป็นแนวทางในการสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงได้ดีทีเดียว หากเกษตรกรท่านใดสนใจอยากเข้าไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สามารถติดต่อได้ที่บ้านเลขที่ 11 หมู่ 4 ต.หนองบัว อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/10017
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 5:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,518. โครงการโรงปุ๋ยในแปลงนา ผลิตปุ๋ยให้ดินทดแทนปุ๋ยยูเรีย





นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ในสภาวะที่น้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพงและนับวันจะหมดไปนั้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมี ซึ่งมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต กรมพัฒนาที่ดินได้ทำโครงการโรงปุ๋ยในแปลงนาขึ้น โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่วและพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทืองโสนแอฟริกัน ที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมากักเก็บไว้ในดินผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจนได้เป็นอย่างดีโดยการปลูกพืชปุ๋ยสดเป็นระยะเวลาประมาณ 45 วันแล้วทำการไถกลบ จะสามารถสร้างปุ๋ยให้กับดินเทียบเท่ากับปุ๋ยยูเรียเฉลี่ย 30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทำการเพาะปลูกในรอบถัดไปจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ไม่ต่ำกว่า 25% นอกจากนี้ ถ้าเกษตรกรรายใดเก็บเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดไปจำหน่ายก็สามารถสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญการใช้ปุ๋ยพืชสดจะช่วยให้เกษตรกรลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีลงได้ เป็นการประหยัดงบประมาณในการซื้อปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศได้ปีละหลายล้านบาท พร้อมทั้งยังได้ปรับปรุงบำรุงดิน คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ทำการเกษตรให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเมื่อดินดีผลผลิตทางการเกษตรก็จะดีตามไปด้วย.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/10019
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,519. เตือนเกษตรกร...อย่าเปิดกรีดยางต้นเล็ก





ภาวะราคายางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นแรงดึงให้ชาวสวนยางเร่งเปิดกรีดยางเร็วกว่ากำหนด เพื่อหวังกอบโกยรายได้และกำไรจากการผลิตยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแหล่งปลูกยางใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ถึงแม้จะมีการแจ้งเตือนถึงผลเสียในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นตามมา เกษตรกรยังมีการเปิดกรีดยางต้นเล็กค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ขอย้ำเตือนอีกครั้งหนึ่งว่า “อย่าด่วนใจร้อน”...โปรดอย่าทำลายอาชีพที่ตนเองสร้างขึ้นมากับมือ คำพังเพยที่ว่า...“ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” ยังใช้ได้ไม่เชย...ขอบอก

นางพิศมัย จันทุมา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากรายงานการสำรวจการเปิดกรีดยางในเขตปลูกยางใหม่ สวนยางในโครงการยางล้านไร่ พบว่า เกษตรกรกว่า 70% เร่งเปิดกรีดยางต้นเล็กหรือต้นไม่ได้ขนาดตามมาตรฐานของสถาบันวิจัยยางที่กำหนดให้เปิดกรีดเมื่อมีขนาดเส้นรอบลำต้น 50 เซนติเมตร โดยชาวสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเปิดกรีดต้นยางที่ อายุ 5 ปีครึ่ง ขนาดเส้นรอบลำต้น เฉลี่ย 34 เซนติเมตร ประมาณ 28% นอกจากนั้นยังพบการ เปิดกรีดยางที่อายุ 6 ปีครึ่ง ขนาดเส้นรอบลำต้น 38 เซนติเมตร มากกว่า 63% ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด

ขณะที่สวนยางในเขต ภาคเหนือ มีการเปิดกรีดที่อายุ 5 ปีครึ่ง ขนาดเส้นรอบลำต้น 34 เซนติเมตร ประมาณ 15% ทั้งยังมีการเปิดกรีดยางที่อายุ 6 ปีครึ่ง ขนาดเส้นรอบลำต้น 38 เซนติเมตร ประมาณ 31% ของพื้นที่ และยังพบว่า สวนยางปลูกใหม่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้กว่า 50 % มีการเปิดกรีดยางต้นเล็กด้วย ทั้งนี้ ราคายางพาราที่ขยับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกษตรกรเร่งเปิดกรีดก่อนกำหนด

การเปิดกรีดยางต้นไม่ได้ขนาดจะกระทบต่อการผลิตยางทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจะทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตน้ำยางน้อยลง 25-60% หรือเหลือเพียง 1.8-2.1 กิโลกรัม/ไร่/วัน หากกรีดหนึ่งในสามของลำต้นและกรีดสามวันหยุดวัน จะยิ่งทำให้ผลผลิตลดลงถึง 40-60% นอกจากนี้การเปิดกรีดยางต้นเล็กยังทำให้ผลผลิตตลอดวงจรชีวิตของยางลดลง 25-59% ขณะเดียวกันยังทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตของต้นยางต่ำลงและผลผลิตไม้ยางเมื่อโค่นลดลง 28-60% ทำให้ขายไม้ยางไม่ได้ราคาถ้ายางแผ่นดิบราคากิโลกรัมละ 100 บาท หากเปิดกรีดยางต้นเล็กจะทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ถึง 11,000 บาท/ไร่/ปี ทั้งยังสูญเสียรายได้จากการขายไม้ยาง ประมาณ 60,000 บาท/ไร่ และทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ตลอดวงจรชีวิตยางประมาณ 300,000-400,000 บาท/ไร่ เนื่องจากอายุการกรีดยางจะสั้นลงเหลือประมาณ 11 ปีเท่านั้นอย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรเปิดกรีดยางเมื่อต้นได้ขนาดตาม มาตรฐานเปิดกรีด คือมีขนาดเส้นรอบลำต้น 50 เซนติเมตรที่ความสูง 1.50 เมตรวัดจากพื้นดิน โดยมีจำนวนต้นยางที่มีขนาดลำต้น 50 เซนติเมตร ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของต้นยางทั้งสวน ซึ่งการเปิดกรีดต้นยางได้ขนาดมาตรฐานจะทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตยางเต็มที่ โดยได้ผลผลิตน้ำยางเฉลี่ย 3 กิโลกรัม/ไร่/วัน ทั้งยังได้ผลผลิตตลอดวงจรชีวิตยางครบถ้วน และมีอายุการกรีดยาวนานถึง 20-22 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลและจัดการสวนยาง เมื่อโค่นยังขายยางได้ราคาดีอีกด้วย

“ผลผลิตน้ำยางจากต้นที่เปิดกรีดตามมาตรฐาน ขนาดเส้นรอบลำต้น 50 เซนติเมตร ถึงแม้เปิดกรีดช้า 1 ปี จะได้ผลผลิตสะสมพอ ๆกับการเปิดกรีดต้นยางเล็กที่เปิดกรีดก่อน 1 ปี ดังนั้น ผลผลิตของการกรีดยาง 2 ปีจากต้นยางเล็ก จะได้ผลผลิตพอกับการกรีดต้นยางขนาด 50 เซนติเมตร ที่กรีดเพียง 1 ปี เกษตรกรจึงไม่ควรด่วนใจร้อนเปิดกรีดยางเร็วกว่าเกณฑ์ที่กำหนด” นางพิศมัย กล่าวหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ “การเปิดกรีดยาง” หรือต้องการเรียนรู้เทคนิคการกรีดยาง สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-1576, 0-2579-2183 หรือศูนย์วิจัยยางทุกแห่งทั่วประเทศ.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/10173
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,520. ผลการดำเนินงาน "นิคมปาล์มน้ำมัน"




นายสุรเดช เตียวตระกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า โครงการนิคมการเกษตรปาล์มน้ำมัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 ไปจนถึงปี 2558 โดยมีกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ร่วมบูรณาการด้วย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยเกษตรกรสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้เต็มพื้นที่และสามารถปลูกพืชอื่นเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ช่วยให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีการจัดการด้านตลาดชัดเจนขึ้น คือมีลานเทรวบรวมผลผลิตซึ่งบริหารงานโดยคณะกรรมการสหกรณ์ปาล์มน้ำมันจังหวัดนครศรีธรรมราช

สำหรับการดำเนินงานโครงการนิคมการเกษตรปาล์มน้ำมัน ได้คัดเลือกพื้นที่ครอบคลุม 5 หมู่บ้าน ในตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 8,455 ไร่ ซึ่งมีกิจกรรมหลายด้านประกอบด้วย การพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ปรับปรุงพื้นที่ดินกรด ขุดลอกคลองต่าง ๆ การเพิ่มศักยภาพการผลิต ได้แก่ จัดทำศูนย์เรียนรู้ในเขตนิคมการเกษตรปาล์มน้ำมัน สนับสนุนต้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี และพืชระยะสั้นเพื่อปลูกเสริมเพิ่มรายได้ การเพิ่มศักยภาพการแปรรูปและการตลาด เช่น ศูนย์รวบรวมปาล์มน้ำมัน มีรถบรรทุกผลผลิต การฝึกอบรมและให้ความรู้ ซึ่งจะมีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับพืชปาล์มน้ำมัน รวมถึงการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ พร้อมทั้งสนับสนุนสินเชื่อให้แก่สมาชิกสหกรณ์ และสินเชื่อกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเลี้ยงแพะและสัตว์ปีก เพื่อเป็นรายได้เสริมเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/9901
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,521. ผลิตแตนเบียนช่วยมันสำปะหลัง





นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ระยะเวลา 3 ปี (2555-2557)

โดยทั้งสามฝ่ายมีแผนบูรณาการสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ พัฒนาบุคลากร พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารวิชาการ ระบบสารสนเทศและเครือข่าย รวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและนักวิจัยในการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มเกษตรกร เกษตรกรเครือข่าย ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูป และบุคคลทั่วไป ขณะเดียวกันยังร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือ วิเคราะห์และแก้ปัญหาด้านการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรทั่วประเทศด้วย

นอกจากนั้น ทั้งสามหน่วยงานยังมีแผนร่วมมือแก้ปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรจากการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง โดยศูนย์ผลิตแตนเบียนของสถาบันพัฒนามันสำปะหลังฯ (ห้วยบง) จังหวัดนครราชสีมา จะผลิตแตนเบียน สนับสนุนร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อนำไปกระจายสู่เกษตรกรอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ที่มีการระบาด กรณีที่เกษตรกรต้องการแตนเบียนอย่างเร่งด่วน มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังฯจะดำเนินการกระจายให้โดยเร็ว

พร้อมกันนี้ทางกรมวิชาการเกษตรและสถาบันพัฒนามันสำปะหลังฯ (ห้วยบง) ยังได้มีแผนร่วมมือกันเร่งฝึกอบรมองค์ความรู้จากผลงานวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ทั้งเรื่องพันธุ์มันสำปะหลัง การเกษตรกรรม การปลูก การจัดการดูแลรักษา โรคและแมลงศัตรูพืช ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและเพิ่มประสิทธิภาพหลังการเก็บเกี่ยวให้กับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้นำไปถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และเกษตรกรเครือข่ายใช้ในการพัฒนาระบบการผลิตมันสำปะหลังในแปลงของตนเองต่อไป เบื้องต้นได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้เกษตรกรจากเดิม 3.6 ตัน/ไร่ เป็น 5 ตัน/ไร่ ซึ่งคาดว่าผลผลิตผลมันสำปะหลังที่เคยสูญเสียไป 25% จะได้กลับคืนมา

สำหรับแผนการผลิตแตนเบียน ของทั้งสามหน่วยงาน เพื่อใช้ควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้ง ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรมีแผนผลิตแตนเบียนพันธุ์หลัก เป้าหมาย 100,000 คู่ ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นพันธุ์ขยายได้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันศูนย์ต้นแบบของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 34 แห่ง ยังสามารถผลิตแตนเบียนได้เพิ่มอีก โดยมีกำลังการผลิตรวม 3-5 ล้านคู่ ขณะที่สถาบันพัฒนามันสำปะหลังฯ (ห้วยบง) มีกำลังการผลิตแตนเบียนได้อีกกว่า 100,000 คู่/เดือน นอกจากนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรยังได้มีการผลิตแตนเบียน จำนวน 10 ล้านคู่ และแมลงช้างปีกใส 17 ล้านตัว พร้อมส่งเสริมให้ชาวไร่มันปะหลังนำไปปล่อยในแปลงซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้

เป็นที่คาดหวังกันว่าในความร่วมมือครั้งนี้ของระหว่างหน่วยงาน จะสามารถช่วยพัฒนาระบบการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งยังช่วยลดความสูญเสียและเพิ่มปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังโดยรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้มีวัตถุดิบเพียงพอป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปพร้อมหนุนภาคการส่งออก และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสินค้ามันสำปะหลังไทยในตลาดโลกได้.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/9597
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,522. อินโดนีเซียฝึกอบรมด้านข้าวจากไทย





นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับนายซุสโวโน อาร์สยาฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร สาธารณรัฐอินโดนีเซียที่เข้าพบว่า ทางอินโดนีเซียได้เจรจาขอรับการสนับสนุนการฝึกอบรมด้านข้าวจากกระทรวงเกษตรฯไทย ซึ่งฝ่ายไทยยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนการฝึกอบรมด้านข้าวแก่อินโดนีเซีย ที่จะส่งเกษตรกรจำนวน 20 คนเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ประมาณเดือนมีนาคม 2555 ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศจะมีการหารือในรายละเอียดกันต่อไป ซึ่งคาดว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวของทั้งสองประเทศ ที่จะส่งผลไปถึงการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันในอนาคตด้วย

“ที่ผ่านมาไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาก และมีการทำความตกลงร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเกษตร ทั้งภายใต้กรอบทวิภาคีและพหุภาคี เช่น ความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจด้านการเกษตร ไทย-อินโดนีเซีย ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน เป็นต้น โดยล่าสุดทั้งสองประเทศยังได้ประชุมหารือภายใต้กรอบความร่วมมือด้านการเกษตร ที่เน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อให้การทำการเกษตรมีความยั่งยืน และก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในระยะยาว จากปัจจัยความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่มีผลกระทบต่อภาคการเกษตรอีกด้วย” นายธีระ กล่าว.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/9392
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,523. มันเทศเกาหลีใต้





มันเทศเกาหลีใต้ที่วางขายในเกาหลีใต้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ เนื้อสีเหลืองและเนื้อสีเหลืองส้มโดยบรรจุขายเป็นกล่องหรือถุงละ 1 กิโลกรัม ขายถึงผู้บริโภคในราคากิโลกรัมละ 8,600 วอน ซึ่งเมื่อคิดเป็นเงินไทยแล้วเป็นเงิน 230 บาทโดยประมาณ

นอกจากนั้นยังมีมันเทศที่ผลิตในรูปของเกษตรอินทรีย์แบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์คือ พันธุ์เกาหลีใต้ เบอร์ 1 มีลักษณะเด่นตรงที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นคือเก็บเกี่ยวมาบริโภคได้หลังจากที่ปลูกลงดินไปเพียง 90 วันหรือ 3 เดือนเท่านั้น ผิวเปลือกมีสีชมพูอมแดง เนื้อมีสีเหลืองส้ม เนื้อละเอียดเนียนไม่มีเสี้ยน รสชาติหวานอร่อยในขณะที่อีกสายพันธุ์หนึ่ง คือ

พันธุ์เกาหลีใต้ เบอร์ 2 มีลักษณะคล้ายกับมันหวานญี่ปุ่น คือผิวเปลือกมีสีแดงเข้ม เนื้อมีสีเหลืองแต่เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าคือจะต้องปลูกอย่างน้อย 4 เดือน เนื้อมีความนุ่มไม่แข็งและมีรสชาติหวานมาก เมื่อบริโภคแล้วเนื้อมีส่วนคล้ายกับเกาลัด

สังเกตว่ามันเทศเกาหลีใต้ที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ นอกจากจะมีรสชาติไม่หวานเท่าที่ควรแล้วข้อควรระวังเป็นพิเศษคือปัญหาของการทำลายของ “ด้วงงวงมันเทศ” หรือ “เสี้ยนดิน” ซึ่งจะทำให้รสชาติของมันเทศมีรสขมและมีกลิ่นเหม็น ลักษณะของหัวมันเทศที่บรรจุในถุงและในกล่องที่เกาหลีใต้นอกจากจะมีขนาดหัวใกล้เคียงกันแล้ว หัวมันเทศจะมีดินเกาะติดอยู่โดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดซึ่งจะเป็นข้อดีที่จะช่วยยืดอายุของหัวมันเทศให้ยาวนานขึ้น

วิธีการปลูกมันเทศในแปลงคลุมพลาสติก เริ่มต้นไถดินด้วยผาล 3 จำนวน 1 รอบ, ตากดินให้แห้ง 1 อาทิตย์, ไถพรวน 1 รอบ, ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 ตันต่อไร่และปูนขาว ใช้โรตาลี่ปั่นให้ดินละเอียดทำการยกร่องแปลงเป็นสามเหลี่ยมด้วยผาลคู่กว้าง 1 เมตร สูง 50-70 เซนติเมตร หลังจากนั้นวางระบบน้ำแบบน้ำหยด และคลุมแปลงด้วยพลาสติกคลุมแปลง เจาะรูพลาสติกห่างกัน 30 เซนติเมตร ปลูกมันเทศหลุมละ 2 ยอดต่อหลุม

ข้อดีของการปลูกมันเทศในแปลงคลุมพลาสติก ทำให้มันเทศลงหัวได้ดีในช่วงฤดูฝนทำให้ปลูกมันเทศได้ตลอดปี ควบคุมความชื้นในแปลงได้ ลดปัญหาเกี่ยวกับพืช ง่ายต่อการให้น้ำให้ปุ๋ย และลดปัญหาการกระแทกของน้ำฝนหรือน้ำที่ให้แบบสปริงเกอร์ ที่ทำให้แปลงต่ำลง ซึ่งมีผลอย่างมากในเรื่องของการลงหัวและคุณภาพของผลผลิต.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ



http://www.dailynews.co.th/agriculture/9394
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,524. EU ตีกรอบสินค้าเกษตรอินทรีย์

ออกกฎหมายใหม่คุมหน่วยงานรับรอง/เตือนผู้ส่งออกไทยระวังผลกระทบ


นายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ ผอ.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (อียู) รายงานว่า อียูได้ออกกฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการกำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์จากประเทศที่สาม ต้องผ่านการรับรองความเท่าเทียมกันภายใต้การขึ้นบัญชีรายชื่อหน่วยงานรับรองของรัฐ (Control Authority: CA) และหน่วยงานรับรองของเอกชน (Control Body: CB) ของ อียู โดยหลังเดือนธันวาคม 2553 เป็นต้นไป อียูจะลดบทบาทช่องทางการขอขึ้นทะเบียนรายชื่อประเทศที่สามที่สามารถส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปจำหน่ายยังอียูกับประเทศสมาชิกลง และจะยกเลิกอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยไปยังอียูในอนาคต

ปัจจุบันมีประเทศที่ได้อยู่ในบัญชีประเทศที่สาม 7 ประเทศ ที่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปอียูได้ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย คอสตาริกา อินเดีย อิสราเอล นิวซีแลนด์ และสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีตูนีเซียที่จะก้าวขึ้นมาอยู่ในบัญชีอันดับที่ 8 สำหรับในกลุ่มประเทศเอเชียคาดว่า ญี่ปุ่นจะได้รับการพิจารณาจากอียู ในเร็วๆนี้

"ส่วนการยื่นขอขึ้นบัญชีรายชื่อประเทศที่สามของไทย ขณะนี้อียูกำลังอยู่ในช่วงพิจารณาข้อมูลที่ไทยยื่นเสนอซึ่งคาดว่าต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เนื่องจากมีประเทศที่สามอื่นๆ ยื่นคำร้องก่อนประเทศไทยประมาณ 10 ประเทศ"

นายศักดิ์ชัย กล่าวอีกว่า สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศฯแนะนำว่า ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย ยังคงสามารถใช้ช่องทางเดิมในการขอรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก โดยใช้หน่วยรับรองของเอกชนของอียูหรือของต่างชาติให้เป็นหน่วยรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ของตนได้ แต่อนาคตผู้ประกอบการไทยต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบว่า หน่วยรับรองเอกชนนั้นได้รับการยอมรับให้ขึ้นบัญชีของอียูหรือไม่ ขณะเดียวกันหน่วยรับรองเอกชนจะต้องระบุชื่อผู้ส่งออก/ผู้ผลิต รวมถึงสินค้าที่ผลิตได้ของไทยอยู่ในบัญชีของตนด้วย


http://www.naewna.com/news.asp?ID=299256
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,525. "ยุทธศาสตร์" พัฒนา ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ดันเขตส่งเสริมพิเศษ


นายศุภชัย บานพับทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า มะพร้าวน้ำหอมเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทยชนิดหนึ่ง ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 115,700 ไร่ ผลผลิตประมาณ 407,000 ตัน โดยส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าปีละไม่น้อยกว่า 412 ล้านบาท แต่เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งและแมลงศัตรูมะพร้าวระบาดในพื้นที่แหล่งผลิตมะพร้าวน้ำหอมที่สำคัญ อีกทั้งเกษตรกรยังขาดการดูแลรักษาสวนมะพร้าวน้ำหอมที่ถูกต้อง จึงทำให้ขณะนี้ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและการส่งออกต่างประเทศ

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้ไทย ได้เห็นชอบในหลักการร่างยุทธศาสตร์มะพร้าวน้ำหอม ปี 2555-2559 งบประมาณ 118 ล้านบาท โดยมี จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอมในสวนเดิม 115,700 ไร่ และจัดทำเขตส่งเสริมการผลิตมะพร้าวน้ำหอมใน 5 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา นครปฐม และสมุทรสงคราม พื้นที่ 70,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างเหมาะสมต่อการปลูกทำให้ได้ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพดีเป็นพิเศษ

2.พัฒนาการแปรรูปและอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปและอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอมตามมาตรฐานสากล 3.พัฒนาการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และ 4.พัฒนาการบริหารจัดการมะพร้าวน้ำหอมในทุกด้าน ตลอดจนพัฒนาบุคลากร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะอนุกรรมการจะเร่งเสนอร่างยุทธศาสตร์ต่อคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ ซึ่งมี รมว.เกษตรฯ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาต่อไป


http://www.naewna.com/news.asp?ID=299252
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,526. เพาะปลาทูสำเร็จ ครั้งแรกของโลก


ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากความต้องการปลาทูจำนวนมหาศาล ทำให้ชาวประมงมีการพัฒนาเครื่องมือการทำประมงปลาทูให้มีประสิทธิภาพในการจับที่สูงขึ้น จนเกินกำลังการผลิตของธรรมชาติ ส่งผลให้แนวโน้มของประชากรปลาทูในปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง

ดังนั้นที่ผ่านมา กรมประมงจึงได้ใช้มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้วยการห้ามจับปลาทูในฤดูวางไข่ รวมทั้งพยายามศึกษาวิจัยการเพาะขยายพันธุ์ปลาทู เพื่อทดแทนการจับจากธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง

ด้าน น.ส.วารินทร์ ธนาสมหวัง ผ.อ.สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาครริเริ่มการศึกษาวิจัยเพาะเลี้ยงปลาทู แต่เนื่องจากปลาทูเป็นปลาที่มีความอ่อนแอ ใจเสาะ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำขึ้นจากทะเลมาเพาะเลี้ยงทันที ต้องค่อยๆ ดำเนินการศึกษาและพัฒนาเทคนิคทีละขั้นตอน

ขณะที่ น.ส.พรรณติยา ใจอ่อน นักวิชาการประมงปฏิบัติการ และ นายวรดร สุขสวัสดิ์ เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาชายฝั่งสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ได้ทำการเพาะเลี้ยงปลาทูพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงที่ได้มาจากทะเลในกระชังที่ขึงไว้ในบ่อดินนาน 6 เดือน จนปลาเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์ จึงย้ายปลาขึ้นมาเลี้ยงในถังเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในโรงเพาะฟัก โดยให้อาหารสูตรเฉพาะของศูนย์ฯและเลี้ยงในระบบกรองน้ำแบบชีวภาพ ด้วยเครื่องโปรตีนสกิมเมอร์ เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่เหมาะสมปราศจากเมือกโปรตีนที่ตกค้าง มีการควบคุมความเค็มที่ระดับ 27-30 ส่วนในพัน และควบคุมอุณหภูมิให้มีค่าคงที่อยู่ระหว่าง 29 - 32 ?C ซึ่งจากความพยายามมานานกว่า 2 ปี ก็ได้เกิดผลสำเร็จขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2554 โดยปลาทูได้วางไข่และสามารถอนุบาลในระบบปิดได้สำเร็จ

"นับเป็นความสำเร็จ ในความพยายามเพาะพันธุ์ปลาทูจากพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงในระบบปิดครั้งแรกของโลก หลังจากที่นักวิจัยศูนย์ฯ สมุทรสาครได้ใช้ระยะเวลากว่า 2 ปี ทั้งนี้ กรมประมงมีความคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้ให้ต่อยอดเพื่อขยายผลไปสู่การเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ต่อไป" น.ส.พรรณติยา กล่าว



http://www.naewna.com/news.asp?ID=296122
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,527. ไฟเขียว เปิดตลาด 9 สินค้าเกษตร

"กาแฟ-พริกไทย-กระเทียม-ชา" ตามข้อผูกพันการค้าระหว่าง ปท.



นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้าเกษตร รวม 9 ชนิด ในช่วงปี 2555-2557 ตามข้อผูกพัน WTO โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เมล็ดกาแฟ ตลาดตามข้อผูกพัน WTO โควตา 5.25 ตัน ภาษี 30% ภาษีนอกโควตา 90%
2. กาแฟสำเร็จรูป ตามข้อผูกพัน WTO ปริมาณในโควตา 134 ตัน ภาษี 40% ภาษีนอกโควตา 49%
3. พริกไทย ตามข้อผูกพัน WTO ปริมาณในโควตา 45 ตัน ภาษี 27% ภาษีนอกโควตา 51%
4. ลำไยแห้ง ตามข้อผูกพัน WTO ในโควตา 8 ตัน ภาษี 30% ภาษีนอกโควตา 53%
5. ชา ตามข้อผูกพัน WTO ปริมาณในโควตา 625 ตัน ภาษี 30% ภาษีนอกโควตา 90%

6. กระเทียม ตามข้อผูกพัน WTO โดยปริมาณในโควตา จำนวน 65 ตัน ภาษี 27% ภาษีนอกโควตา 57%
7. หอมหัวใหญ่ การเปิดตลาดไม่เป็นไปตามข้อผูกพัน WTO เนื่องจากมีความต้องการสูง โดยปริมาณในโควตา ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 600 ตัน ภาษี 27% ภาษีนอกโควตา 142%
8. เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ การเปิดตลาดไม่เป็นไปตามข้อผูกพัน WTO เนื่องจากมีความต้องการใช้สูง โดยปริมาณในโควตายังคงเดิม คือ 3.15 ตัน แต่ภาษีปรับเป็น 0% ภาษีนอกโควตา 218% และ

9. มันฝรั่ง การเปิดตลาดไม่เป็นไปตามข้อผูกพัน WTO โดยหัวพันธุ์มันฝรั่ง ปริมาณในโควตาไม่จำกัดจำนวน ภาษี 0% ภาษีนอกโควตา 125% และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป 36,000 ตัน ภาษี 27% ภาษีนอกโควตา 125%

โดยการบริหารการนำเข้าจะแตกต่างกันออกไป อาทิ กระเทียม อนุญาตให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว เป็นต้น และได้ยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ แจ้งมติการเปิดตลาดสินค้าเกษตรทั้ง 9 ชนิด ให้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินการต่อไป รวมถึงให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาการเปิดตลาดสินค้าหอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง ตามปริมาณในโควตา และอัตราภาษีในโควตา ในช่วงปี 2555-2557 ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อผูกพัน และเมื่อเห็นชอบแล้ว ให้แจ้งมติดังกล่าวไปยังกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เช่นเดียวกัน



http://www.naewna.com/news.asp?ID=293237
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,528. เตือนสารพิษตกค้างในผัก 4 ชนิด

คะน้า-กวางตุ้ง-มะเขือเปราะ-ถั่วฝักยาว/มกอช.เตือนซื้อจากแหล่งผลิตมาตรฐาน



นายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ ผ.อ.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช.ได้ติดตามประเมินความเสี่ยงสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ตามโครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าผักและผลไม้ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมาตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผักและผลไม้ จำนวน 164 ตัวอย่าง พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน 33 ตัวอย่าง คิดเป็น 20 % ของตัวอย่างทั้งหมด ในจำนวนนี้ เป็นตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภคแบบเรื้อรังหรือแบบเฉียบพลันหรือทั้ง 2 แบบรวมกัน 15 ตัวอย่าง คิดเป็น 9% โดยมีผักและผลไม้ที่พบความเสี่ยงสูง 4 ชนิด ได้แก่ ผักคะน้า 5 ตัวอย่าง มะเขือเปราะ 4 ตัวอย่าง ผักวางตุ้ง 3 ตัวอย่าง และถั่วฝักยาว 3 ตัวอย่าง

ขณะเดียวกันยังพบด้วยว่า มีชนิดสารพิษตกค้างที่เกินมาตรฐาน 11 ชนิด ได้แก่ สาร chlopyrifos, malathion, monocrotophos, profenofos, omethoate, prothiofos, cypermethrin, dimethoate, lambda-cyhalothrin, dicrotophos และสาร EPN โดยมี 2 ชนิดที่มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภคเกินค่าปลอดภัย คือ สาร dicrotophos และ EPN ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ เป็นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในรายการสารเคมีซึ่งกรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวัง(watch list) เบื้องต้น มกอช.ได้รายงานผลประเมินความเสี่ยงให้กรมวิชาการเกษตรทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจติดตามผักและผลไม้ที่มีความเสี่ยงสูง และใช้วางแผนการตรวจติดตามและควบคุมสารเคมีทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว ที่มีความเสี่ยงสูงต่อผู้บริโภค

"การทวนสอบตัวอย่างผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเกินเกณฑ์มาตรฐาน ยืนยันกับมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย(มกษ.9002 และ 9003) และมาตรฐานโคเด็กซ์(Codex) ซึ่งมีความเชื่อถือได้ ส่วนการประเมินความเสี่ยงต่อผู้บริโภคทั้งแบบเรื้อรังและแบบเฉียบพลันใช้วิธีที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ" นายศักดิ์ชัย กล่าวและว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อพืชผักและผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน โดยเลือกสินค้าจากแหล่งผลิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP หรือซื้อสินค้าที่มีตราเครื่องหมาย Q หรือผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นช่องทางลดความเสี่ยงเรื่องสารพิษตกค้างปนปื้อนได้


http://www.naewna.com/news.asp?ID=293103
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,529. สวนส้มโอ"ทองดี" มีเฮ ! ลุ้นญี่ปุ่นเปิดไฟเขียวนำเข้า

เกษตรฯคาดต้นปี '55 เริ่มเปิดตลาดได้


น.ส.สุพัตรา ธนเสนีย์วัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรายงานจาก นายฉันทานนท์ วรรณเขจร อัครราชทูต ที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงาน ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว ถึงผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองพืช เพื่ออนุญาตการนำเข้าส้มโอพันธุ์ทองดีของไทย โดยกระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (Public Comment) ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 และจะสิ้นสุดการรับฟังความคิดเห็นวันที่ 29 ธันวาคม 2554 รวมถึงจัดประชุมอภิปรายแสดง ความคิดเห็น (Public Hearing) ในวันที่ 14 ธันวาคม 2554 ไปเรียบร้อยแล้ว โดยบรรยากาศ การประชุมอภิปรายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งหากไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่นก็จะได้ออกประกาศ อนุญาตให้ประเทศไทย ส่งออกส้มโอพันธุ์ทองดี มายังตลาดญี่ปุ่นได้ภายในช่วงต้นปี 2555

"ถือเป็นข่าวที่น่ายินดี และส่งผลดี ต่อสถานการณ์การส่งออก ส้มโอพันธุ์ทองดี ของไทย หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ใช้ความพยายาม ในการเจรจาขอเปิดตลาดและผลักดันให้ส้มโอพันธุ์ทองดีของไทยให้สามารถส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นได้อยู่หลายปี" นางสาวสุพัตรา กล่าว

นางสาวสุพัตรากล่าวเพิ่มเติมว่า ส้มโอ พันธุ์ทองดีน่าจะเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากมีรสชาติดีตามรสนิยม ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น เก็บรักษาง่ายและมีอายุยาว แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีต้องเข้าใจและเตรียมความพร้อม คือ ต้องผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน เนื่องจากตลาดญี่ปุ่นให้ความสำคัญ พร้อมทั้งเข้าใจวิธีและขั้นตอนในการส่งออกตามระเบียบของญี่ปุ่น ซึ่งสามารถสอบถามได้จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใกล้บ้านหรือสวน ของท่าน

ขณะเดียวกัน ส้มโอพันธุ์ทองดีจะเป็นผลไม้สดชนิดที่ 9 ต่อจาก มะม่วง มังคุด ทุเรียน กล้วย สับปะรด มะพร้าวอ่อน สละ และมะขามหวาน ที่ประเทศไทยสามารถส่งออกมายังประเทศญี่ปุ่นได้แล้ว ซึ่งก็จะเป็นผลไม้ อีกหนึ่งชนิดที่คาดว่าจะนำเงินตราเข้าสู่ประเทศไทยได้เป็นอันมากและช่วยทำให้เกษตรกร ผู้ปลูกสามารถขายส้มโอได้ในราคาดีขึ้นส่งผล ถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป


http://www.naewna.com/news.asp?ID=292634
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 9:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,530. จาก “นักวิทยาศาสตร์นาซ่า” สู่ “ชาวสวน”

ชีวิตแสนสุขของดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ


ในวัยเด็ก หลายท่านคงเคยมีความฝัน วาดหวังอยากทำอาชีพที่ตนชื่นชอบ และเราเชื่อเหลือเกิน ว่า วิศวกร คงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หลายคน (โดยเฉพาะหนุ่มๆ) ใฝ่ฝันถึง…

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้เป็นวิศวกรในองค์กรใหญ่ระดับโลกอย่าง “องค์การนาซ่า” (NASA) ด้วยแล้ว มันช่างดูเก๋ ดูเท่ห์ จนหลายคนคิดว่าได้เท่านี้ก็ถือว่ามีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว

ทว่าการได้เป็นวิศวกรในองค์กรระดับโลก กลับไม่ใช่จุดสูงสุดในชีวิตของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ เพราะหนุ่มใหญ่คนนี้ บอกกับเราว่าการได้มาเป็นชาวไร่ ชาวสวน ทำให้ทุกวันนี้เขามีความสุขและอิ่มเอมใจ มากยิ่งกว่าเมื่อครั้งเป็นวิศวกรใน





ดร.วรภัทร์ ย้อนความให้ฟังว่า หลังทำงานกับองค์การนาซ่าได้ 6 ปี เขาโบกมือลาจากองค์กรระดับโลก กลับเมืองไทยมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6 ปี จากนั้นจึงเข้าสู่แวดวงธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ให้คำปรึกษา และสอนหลักบริหารองค์กรแนวพุทธให้กับบริษัทชั้นนำต่างๆ กระทั่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากได้เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เขาจึงเริ่มพลิกผันชีวิต ย่างก้าวเข้าสู่วิถีพอเพียง ตามแนวทางพ่อหลวง

“ความพอเพียงของผมอย่างแรกคือ หน้าที่ต้องเต็มที่ก่อน หน้าที่ของผมก็คือ เป็นสามี เป็นพ่อ และลูกเขย หน้าที่ตรงนี้ต้องให้พร้อม เราต้องดูแลครอบครัวเราให้เต็มที่ ที่เหลือก็คือ ทำตนเป็นตัวอย่าง นั่นคือผมทำตามที่ในหลวงทรงสอนไว้ โดยการไปทดลองซื้อที่ดินไว้ 4 ไร่ ที่ปากช่อง แล้วลองทำเป็นเกษตรวิถีพอเพียง เลี้ยงแพะ เลี้ยงไก่ ปลูกต้นไม้ สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง

พอทำด้วยตัวเองมา 4 ปี จะรู้เลยว่า ในหลวงท่านทรงมีพระปรีชาสามารถมาก เพราะคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เมื่อลงมือทำถึงจะรู้จริง หากเอาแต่พูดไม่ทางเข้าใจคำว่าพอเพียงเด็ดขาด ซึ่งจนถึงวันนี้ผมลองผิดลองถูก จนได้ความรู้มาพอสมควร ถ้าใครอยากจะเรียนรู้เรื่องพวกนี้ เราก็เต็มใจสอนให้

การที่ผมเปลี่ยนมาทำไร่ทำสวน เพราะความเชื่อ ผมเปลี่ยนศาสนาจากคริสต์มาเป็นพุทธ เพราะเห็นว่าในหลวงท่านทรงพระปรีชามาก ท่านฉลาดกว่าเรา เรียนสูงกว่าเรา ท่านยังสนใจด้านศาสนาพุทธเลย ฉะนั้นเราน่าจะลองดำเนินรอยตามพระองค์ท่านดูสักตั้ง ผมก็เลยลองมาศึกษาศาสนาพุทธดู พอมาศึกษา ผมก็รู้สึกว่า โอ้โห! มันสุดยอด

ต่อมาเราก็มานั่งดูว่า ในหลวงท่านเป็นวิศวกร เราก็เป็นวิศวกร ในหลวงปลูกต้นไม้ ทรงเป็นวิศวกร แต่หันมาปลูกต้นไม้ แล้วทำไมเราจะไม่ปลูกล่ะ เพราะที่ผ่านมาพระองค์ท่านสอนแต่ละเรื่องมันสุดยอดทั้งนั้น ดังนั้นเรื่องนี้มันก็ต้องดีแน่”

หันมาทำสวน เพราะชีวิตต้องบริหารความเสี่ยง

อดีตวิศวกรองค์การนาซ่าเล่าต่อว่า การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หันมาปลูกต้นไม้ ทำไร่ ทำสวนของเขาถือเป็นการบริหารความเสี่ยงให้ชีวิตตัวเอง

“ชีวิตมันต้องมีการบริหารความเสี่ยง เครื่องยนต์ของเครื่องบินยังมีตั้ง 2 ชุด ธนาคารยังต้องมีเงินสำรอง รถยนต์ยังต้องมียางอะไหล่ แล้วเรามีอะไรล่ะ

ฉะนั้นผมว่าการไปทำไร่ทำสวนที่ต่างจังหวัดมันเป็นการบริหารความเสี่ยงในชีวิตของผมได้ เพราะเราไม่รู้ว่าวันข้างหน้ากรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร

ผมคิดว่าหลายคนก็มีความคิดอยากไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายเหมือนกัน แต่ส่วนหนึ่งที่ยังติดอยู่ในเมืองใหญ่ อาจเพราะหนึ่ง-ไม่ออกไปดูโลกกว้าง สอง-กลัว ไม่กล้าไป ก็ไม่เป็นไร

ผมแนะนำจากตัวเองแล้วกันว่า สมมุติถ้าเป็นผมยังอยู่ในออฟฟิศในตอนนี้ ผมก็ต้องเริ่มต้นแล้ว อาจจะปลูกต้นไม้ตามระเบียง เริ่มปลูกโน่นปลูกนี่ และหาทางหนีออกจากรุงเทพฯ ให้ได้ ทำไมชีวิตต้องมาจมอยู่กับเมืองใหญ่ เมืองซึ่งไม่ได้มีความพร้อมในการให้มนุษย์อยู่ได้เลย ต้นไม้ก็น้อย การระบายน้ำก็ไม่ดี อากาศก็ไม่ได้เรื่อง อาหารต่างๆ ผมว่ามันเป็นพิษเยอะ แล้วมาอยู่ทำอะไรล่ะ หมดเวลาบนรถยนต์วันละ 2-3 ชั่วโมง มันเหนื่อยมั้ย”

ความสุขเรียบง่าย ในวิถีชาวสวน

ปัจจุบัน ดร.วรภัทร์ ยังคงรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่างๆ อยู่บ้าง รวมถึงมีผลงานพ็อกเก็ตบุ๊ค (pocket book) ออกจำหน่าย และแม้ว่าจะยังต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อดูแลภรรยา และลูกๆ แต่ทุกสุดสัปดาห์ ครอบครัวภู่เจริญก็จะพร้อมใจกันเดินทางไปใช้ชีวิตตามวิถีชาวสวนอยู่เสมอ

“ทุกวันนี้ผมเขียนหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คบ้าง รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทต่างๆ ด้วย แต่ถ้าว่างก็จะไปอยู่ที่ไร่เสมอ ตอนนี้ผมยังต้องเดินทางไปๆ มาๆ กรุงเทพฯ กับสระบุรี เพราะอย่างที่ผมบอกว่า หน้าที่ต้องมาก่อน

ดังนั้นหน้าที่ของผมคือ ดูแลลูกและภรรยา ซึ่งตอนนี้พวกเขายังอยู่กรุงเทพฯ เราก็ต้องมาดูแล พอวันหยุด หรือทุกเสาร์-อาทิตย์ ก็จะพากันไปอยู่ที่ไร่ ค่อยๆ เริ่มไปอย่างนี้ และคิดว่าต่อไปก็คงจะเริ่มไปอยู่ที่ไร่มากขึ้นเรื่อยๆ

ความสุขที่ได้จาก 4 ปีที่ทำเศรษฐกิจพอเพียงมา ผมรู้สึกว่าร่างกายแข็งแรง ได้เจอกับอากาศสดใส หน้าไม่เหี่ยวย่นเร็ว รวมถึงมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรม เพราะเราได้เข้าวัดที่ต่างจัดหวัดบ่อยๆ และได้ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินด้วยการปลูกต้นไม้ รวมถึงเรายังได้บริหารความเสี่ยงให้ตัวเองด้วย เพราะผมคิดว่าภัยพิบัติธรรมชาติมันจะรุนแรงขึ้นทุกที เพราะมนุษย์ยังไม่หยุดพฤติกรรมทำร้ายธรรมชาติ


ดังนั้นผมว่าเราควรจะต้องมาคิดกันใหม่แล้วล่ะ โดยส่วนตัวผมว่าตัดสินใจช้าไปด้วยซ้ำ น่าจะหันมาทำไร่ ทำสวนทำเร็วกว่านี้ ตอนนี้อายุ 52 แล้วทำอะไรได้น้อยลง ถ้าทำตั้งแต่ 22 ป่านนี้รุ่งไปแล้ว” ด็อกเตอร์หนุ่ม เล่าอย่างอารมณ์ดี

ชวนหลบลี้เมืองใหญ่ ใช้ชีวิตพอเพียง ตามแนวทางพ่อหลวง

เมื่อตัวเองหันเหไปทำไร่ ทำสวน แล้วพบความสุข วิศวกรหัวใจพอเพียงผู้นี้ จึงไม่ลืมที่จะชักชวน ชาวกรุงฯ หนุ่มสาวออฟฟิศ (office) ลองหันกลับไปหาความเรียบง่าย ตามวิถีพอเพียงในต่างจังหวัดบ้าง

“สุขภาพของผู้คนทำงานออฟฟิศทั้งหลาย ผมว่าน่ากลัวนะ เอาชีวิตมาอยู่กับสารเคมี วันๆ ทานอะไรเข้าไปมีสารเคมีมากแค่ไหนก็ไม่รู้ ขึ้นรถเมล์เดินทางเสี่ยงตายกันทุกวัน เวลาที่ควรจะเอาไปดูแลลูกก็หมดไปกับเรื่องงาน ประสบความสำเร็จในออฟฟิศ แต่ล้มเหลวในครอบครัว ประสบความสำเร็จในการหาเงิน แต่ล้มเหลวในการดูแลร่างกาย ประสบความสำเร็จทางโลก แต่ล้มเหลวทางธรรม เข้ามาในเมืองใหญ่ทำงานงกๆ ถูกเจ้านายโขกสับทั้งวัน สุดท้ายตอนแก่เงินเก็บก็เอาไปเข้าโรงพยาบาลหมด ถามว่ามาใช้ชีวิตแบบนี้เพื่ออะไร เหงาไปวันๆ ถึงเวลามีเงินเก็บก็ไปเที่ยวต่างจังหวัด เล่นเฟซบุ๊ก (Facebook) ถ่ายรูปกลับมา แค่นั้นเองหรือ

ฉะนั้นถือโอกาสเริ่มต้นปีใหม่ ลองเปลี่ยนมุมตัวเองเสียบ้าง เป็นหนุ่มสาวออฟฟิศมานานแล้ว ผมว่ามันเป็นชีวิตเชิงเดี่ยวเกินไป คนเราน่าจะทำอะไรที่มันหลายๆ อย่าง บริหารความเสี่ยงให้ตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น น่าจะไปลองใช้วิถีชีวิตชนบทบ้าง ลองไปเลี้ยงไก่ เลี้ยงแพะ ไปลองทำเศรษฐกิจพอเพียง ผมว่าเราอาจจะถูกสังคมเมืองดึงหลงเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ พอวันนึงมีภัยพิบัตธรรมชาติมา เราก็เตรียมตัวไม่ทัน

ดังนั้นผมว่าเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มันต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ไม่ถึงกับต้องไปซื้อที่ดินต่างจังหวัดหรอก เพราะมันอาจจะมีราคาแพง เราอาจจะใช้วิธีกลับไปหาพ่อหาแม่ตัวเอง ทำกินบนที่ดินที่มีอยู่เดิมนั่นแหละ หรือถ้าไม่มีใครอยู่ต่างจังหวัด ก็อาจจะหัดไปอยู่วัดป่า ถือศีลแปด ไปเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวัดต่างจังหวัด ไปปฏิบัติธรรมบ้าง ลองปรับลองเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ให้เหมาะกับตัวเอง แต่ถ้าจะให้ดี ก็ย้ำว่าควรจะเริ่มต้นปรับเปลี่ยนได้แล้ว” ดร. วรภัทร์ ฝากข้อคิดทิ้งท้าย

เรื่องโดย Lady Manager


http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000010241
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2012 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,531. จุฬาฯ คลี่ผลวิจัย “อีเอ็ม” ไม่ช่วยแก้น้ำเสีย








คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยผลทดสอบประสิทธิภาพ “อีเอ็ม” ในการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำท่วมขัง พบคุณภาพน้ำไม่ดีขึ้น ซ้ำร้ายปริมาณออกซิเจนกลับลดลง อีกทั้งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่ผลจากจุลินทรีย์แต่เป็นสารที่เกิดจากการหมักเชื้อ แนะใช้ “ปูนขาว” ได้ผลดีและถูกกว่า หรือเก็บขยะและเติมอากาศจะให้ผลดีกว่า

จากข้อถกเถียงว่าการนำเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็ม (EM: Effective Microorganism) มาใช้บำบัดน้ำเสียนั้นได้ผลจริงหรือไม่ ทางคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อทดสอบว่าอีเอ็มสามารถบำบัดน้ำเสียจากน้ำท่วมที่ผ่านมาได้หรือไม่ โดยมุ่งตอบคำถามว่าอีเอ็มนั้นช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำเสียได้หรือไม่ โดยเก็บตัวอย่างน้ำเสียที่ท่วมขังบริเวณ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 6-16 ธ.ค.54 มาใส่โหลทดสอบ

น้ำเสียจากน้ำท่วมขังดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นชุดทดลอง 3 ชุด คือ ชุดควบคุม ที่ไม่ได้เติมอีเอ็มลงน้ำเสีย ชุดอีเอ็ม ที่เติมอีเอ็มซึ่งเลี้ยงด้วยกากน้ำตาลนาน 2 วันลงไปในน้ำเสีย และชุดอีเอ็มกรอง ซึ่งเติมน้ำอีเอ็มที่ขยายด้วยกากน้ำตาลแต่กรองตัวเชื้อทิ้งไป เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์หรือสารเคมีต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ กรดแลคคิก เป็นต้น ที่เชื้อสร้างขึ้นนั้นเป็นตัวการที่ทำให้น้ำเสียใสขึ้นหรือไม่

จากนั้นตรวจวิเคราะห์ค่าดัชนีคุณภาพน้ำ 5 ค่า ได้แก่ 1.ค่าบีโอดี (BOD) ที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ย่อยสารอินทรีย์ในน้ำ หากมีค่าสูงแสดงว่าน้ำสกปรกมาก 2.ค่าซีโอดี (COD) บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในปฏิกิริยาเคมีเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ยิ่งค่าสูงน้ำยิ่งสกปรก 3.ค่าดีโอ (DO) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ยิ่งมีค่าสูงน้ำยิ่งมีคุณภาพดี 4.ค่าไนโตรเจนอินทรีย์ในน้ำ ยิ่งสูงยิ่งไม่ดี และค่าทีเอสเอส (TSS) หรือปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำ ยิ่งมีค่าสูงยิ่งไม่ดี

น้ำเสียที่นำมาทดสอบประสิทธิภาพอีเอ็มนี้มีค่าบีโอดีประมาณ 13.33 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีความเน่าเสียต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินที่มีค่าบีโอดีได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อเริ่มทดลองพบว่าชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็มมีค่าบีโอดีสูงขึ้นใกล้เคียงน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมคือประมาณ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อผ่านไป 2 วันพบว่าชุดควบคุมยังคงมีค่าบีโอดีต่ำกว่าชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็ม และเมื่อทิ้งไว้ 7 วัน พบว่าชุดควบคุมมีค่าซีโอดีต่ำกว่าของชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็ม ส่วนค่าดีโอนั้นพบว่าเมื่อทิ้งไว้หลังการทดลองชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็มมีค่าต่ำกว่าชุดควบคุม ส่วนค่าไนโตรเจนอินทรีย์และค่าทีเอสเอสนั้นไม่พบความแตกต่างระหว่างชุดทดลอง

ทางทีมวิจัยจึงสรุปว่าการเติมอีเอ็มหรือผลิตภัณฑ์จากอีเอ็มลงในน้ำเสียจากน้ำท่วมนั้นไม่ได้ส่งผลให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับน้ำเสียในชุดควบคุม ในทางตรงกันข้ามการเติมอีเอ็มลงในน้ำกลับส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง และปฏิกิริยาใดๆ ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นผลจากผลิตภัณฑ์ของอีเอ็ม ที่ได้ระหว่างการเลี้ยงขยายเชื้อด้วยกากน้ำตาล จึงเป็นผลให้เมื่อนำน้ำอีเอ็มที่ขยายแล้วไปใช้ ต้องเติมน้ำอีเอ็มขยายลงไปเรื่อยๆ

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า ที่ผ่านมามีงานวิจัยเกี่ยวกับอีเอ็มน้อยมาก และแทบไมมีงานวิจัยที่ปราศจากการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอีเอ็ม งานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นงานวิจัยแรกๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอีเอ็มอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเขากังขาว่าภายในอีเอ็มหรือลูกอีเอ็มบอลนั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใดอยู่บ้างแน่ๆ ทั้งนี้ผู้สนับสนุนอีเอ็มมักอ้างว่ามีแบคทีเรียสีม่วงซึ่งสังเคราะห์แสงได้ แต่จริงๆ แล้วเป็นการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารให้ตัวเอง แต่ไม่ได้ผลิตออกซิเจนเหมือนต้นไม้หรือสาหร่ายแต่อย่างใด

ทางด้าน รศ.ดร.สุเทพ ธรียวัน หัวหน้าทีมวิจัย และหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา จุฬาฯ กล่าวว่า อีเอ็มนี้ช่วยกำจัดกลิ่นได้อย่างไม่ต้องสงสัยแต่ไม่ได้หมายความว่าความสกปรกของน้ำจะลดลงด้วย ทั้งนี้ แบคทีเรียสีม่วงมีคุณสมบัติเปลี่ยนสารเคมีก๊าซไข่เน่าไปเป็นสารรูปอื่นที่ไม่มีกลิ่น และทีมวิจัยไม่ได้ใช้ก้อนอีเอ็มบอลทดสอบเพราะทราบแน่ชัดว่ามีสารอินทรีย์ที่สร้างปัญหาให้เกิดน้ำเน่าอย่างแน่นอน และเลือกใช้น้ำอีเอ็มยอดนิยมที่มีขายตามท้องตลาด และการเติบกากน้ำตาลย่อมทำให้ความสกปรกเพิ่มขึ้น

รศ.ดร.สุเทพ ยังกล่าวด้วยว่า จริงๆ แล้วชาวบ้านไม่ได้สนใจเท่าไรต่อค่าน้ำเสียทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นตัวเลข แต่ปัญหาที่ชาวบ้านสนใจคือน้ำใสไม่มีกลิ่น ซึ่งมีทางเลือกอื่นที่ได้ผลและถูกกว่า นั่นคือการใช้ปูนขาว โดย ผศ.ดร.เจษฎาได้ทดลองใช้ดูในบริเวณน้ำท่วมที่ดอนเมือง และพบว่าได้ผลในการช่วยลดกลิ่นได้ดี พร้อมกันนี้ทีมวิจัยได้แนะว่าทางที่ดีควรช่วยกันเก็บขยะ ลดการทิ้งสารอินทรีย์ลงในน้ำและช่วยกันเติมอากาศก็จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียได้

ส่วน ผศ.ดร.เจษฎาเสริมอีกว่า อีเอ็มนี้ใช้ได้ผลดีในการทำปุ๋ยหมักทางการเกษตร ซึ่งควรจะจำกัดวงอยู่ในกรอบนั้นต่อไป สิ่งที่เขากลัวคือกลัวว่าศรัทธาต่ออีเอ็มจะไปไกลเกินกว่านั้นเหมือน “น้ำป้าเชง” หรืออาจเลยเถิดไปถึงขั้นอ้างว่ารักษาสิว เสริมความแข็งให้แก่คอนกรีต หรือข้ออ้างอื่นๆ ทางที่ดีควรช่วยกันลดทิ้งขยะลงน้ำเป็นดีที่สุด

สำหรับทีมวิจัยประกอบด้วย ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์, รศ.ดร.สุเทพ ธนียวัน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา, รศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา, รศ.ดร.ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ หัวหน้าวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล, ศ.ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ ภาควิชาชีวเคมี, ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา, ดร.อนุสรณ์ ปานสุข ภาควิชาชีววิทยา และ ดร.สราวุธ ศณีทองอุทัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014573
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/02/2012 5:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,532. นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา 3-4 เท่าต่อเดือน






นับเป็นเวลาที่เนิ่นนาน ที่มนุษย์พยายามค้นหาวิธีในการที่จะเพิ่มผลผลิตน้ำยางพาราให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ในที่สุดก็พบว่าในทุกครั้งที่มีการกรีดยางหรือทำให้เปลือกยางได้รับบาดแผลจนน้ำยางไหลออกมา ต้นยางก็จะสร้างฮอร์โมนพืชที่มีชื่อว่า "เอทธิลีน" ขึ้นในบริเวณเปลือกยางโดยเอทธิลีนจะมีผลต่อการไหลของน้ำยาง ในปัจจุบันจึงมีการผลิตแก๊สเอทธิลีน ซึ่งถือเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช มาเป็นตัวการเร่งหรือกระตุ้นให้ได้น้ำยางมากขึ้นกว่าเดิม 3-10 เท่าต่อวัน หรือ 2.5-4 เท่าต่อเดือน

หากจะย้อนเวลาเพื่อดูความพยายามของผู้คนในการจะเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ก็พอจะมีบันทึก ไว้บ้าง ดังนี้

พ.ศ. 2455 Camerun พบว่าส่วนผสมของมูลโคและดินเหนียว ทาใต้รอยกรีด จะช่วยเร่งน้ำยางได้

พ.ศ. 2494 Tixier พบว่าจุนสี หรือ CuSo4 ที่ฝังในรูที่เจาะไว้ที่โคนยาง 2 รู ทำให้ผลผลิตยางเพิ่มเป็นเวลา 3 เดือน และ G.W. Chapman พบว่า 2,4-D ผสมน้ำมันปาล์มทาใต้รอยกรีดที่ขูดเปลือก ทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงส่วนผสมใหม่ ได้เป็นสารเคมีเร่งน้ำยางสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ Stimulex และผลิตออกขายเป็นระยะเวลานาน

พ.ศ. 2504 พบว่า เอทธิลีนออกไซด์ ทำให้น้ำยางไหลมากขึ้น

พ.ศ. 2507 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ผลิตสารที่ให้เอทธิลีนขึ้นมา ชื่อว่า อีเทฟอน (Ethephon) ซึ่งสามารถเร่งน้ำยางได้

พ.ศ. 2508 บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ได้ผลิตสารอีเทฟอน เพื่อเชิงการค้าโดยใช้ชื่อว่า อีเทรล (Ethrel)

พ.ศ. 2511 Bonner ได้ทดลองใช้พลาสติกหุ้มเหนือรอยกรีด โดยภายในบรรจุด้วยแก๊สเอทธิลีน พบว่า ทำให้มีผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงได้ข้อสรุปว่า สารที่เป็นฮอร์โมนและสามารถปลดปล่อยแก๊สเอทธิลีนได้ สามารถเร่งหรือเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้


ในปัจจุบันจึงมีสารเคมีเร่งน้ำยางที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืชอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นของเหลวที่มีชื่อว่า อีเทฟอน ซึ่งผลิตจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น อีเทรล, อีเทค, โปรเทรล, ซีฟา และอีเทรลลาเท็กซ์ และชนิดเป็นแก๊ส คือ เอทธิลีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิด ล้วนสลายตัวให้ เอทธิลีน แก่ต้นยางเหมือนกัน และถึงแม้จะสลายตัวให้ เอทธิลีนเหมือนกัน แต่พบว่า การใช้ อีเทฟอน จะทำให้ต้นยางเป็นโรคหน้าตายอย่างมากมาย เนื่องจากผู้ใช้มักไม่ใช่เจ้าของสวนยางเอง, ใช้ไม่ถูกต้องตามคำแนะนำและใช้ระบบกรีดไม่เหมาะสมกับการใช้สารเร่ง) ตรงกันข้ามกับการใช้แก๊สเอทธิลีนที่ไม่ส่งผลดังกล่าว(แต่ต้องใช้ตามอัตราที่กำหนดเช่นกัน)



เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการอัดแก๊สหรือฮอร์โมนเอทธิลีนเข้าไปในเปลือกต้นยางพาราเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ก่อกำเนิดมาจาก ดร.สิวากุมาราน อดีตผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาของสถาบันวิจัยยางมาเลเซีย ผู้ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยเฉพาะจากต้นยางพาราที่ปลูกมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งมีการกรีดยางไปแล้วทั้ง 2 หน้า และเปลือกงอกใหม่ยังบางหรือหนาไม่ถึง 1 ซม. หากกรีดซ้ำหน้าเดิมก็จะได้น้ำยางน้อย จึงได้คิดค้นเทคโนโลยีการใช้อุปกรณ์ณ์เพื่อให้สามารถอัดฮอร์โมนเอทธิลีนเข้าไปในเปลือกยางพาราได้ ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่า เทคโนโลยีริมโฟลว์ (กระเปาะพลาสติก) โดยทำการกรีดยางหน้าสูงด้วยรอยกรีดสั้นเพียง 4 นิ้ว ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางมากอย่างน่าอัศจรรย์ เทคโนโลยีนี้ได้เริ่มทดลองใช้ในประเทศมาเลเซียเมื่อ ประมาณ 12 ปีกว่ามาแล้ว และถูกนำมาเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยโดยศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี นับเป็นเวลา 8 ปี นอกจากนี้ ในปัจจุบันเราจะพบเห็นระบบอุปกรณ์การให้ฮอร์โมนแก่ต้นยางอีกแบบหนึ่ง(กระเปาะเหล็ก)หรือแบบเลท-ไอ (LET-I) ซึ่งเป็นการดัดแปลงระบบริมโฟลว์ของมาเลเซียจนกลายมาเป็นแบบของไทยโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดไอ ที รับเบอร์ (อ.เบตง จ.ยะลา)




http://www.live-rubber.com/index.php/rubber-news-events/27-from-rubber-plantation/227-innovation-increasing-rubber-yield
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/02/2012 7:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,533. การติดตั้งอุปกรณ์อัดฮอร์โมนเอทธิลีน แบบเลท-ไอ




การติดตั้งอุปกรณ์อัดฮอร์โมนเอทธิลีนแบบเลท-ไอเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา จะใช้ฝาครอบเหล็ก เป็นตัวเก็บฮอร์โมนและส่งผ่านฮอร์โมนโดยติดอุปกรณ์ดังกล่าวกับผิวเปลือกต้นยางที่ขูดเปลือกด้วยขอบของฝาครอบเองประมาณ 8-9 ครั้ง ตำแหน่งที่ติดฝาครอบอาจเป็นด้านซ้ายต่ำกว่ารอยกรีดเล็กน้อย หลังจากอัดฮอร์โมนแล้วไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงจึงทำการกรีดยางด้วยรอยกรีดสั้นเพียง 4 นิ้ว โดยกรีดแบบกรีดลงด้านล่าง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้งแบบเลท-ไอ
ฝาครอบพลาสเหล็ก, บล็อกตอก, ฆ้อนตอก, กระป๋องฮอร์โมน, บันได หรือมีดกรีดยางต่อด้ามยาว ๆ (ถ้าไม่ใช่บันได)





วิธีการติดตั้งอุปกรณ์อัดฮอร์โมนเอทธิลีนแบบเลท-ไอ (กรณีเป็นยางหน้าสูง)
ประกอบอุปกรณ์ถุงฮอร์โมนเข้ากับฝาครอบเหล็กให้เรียบร้อย เมื่อพิจารณาแล้วว่าต้นยางต้นไหนสมควรอัดฮอร์โมนได้ ก็ให้ทำรอยบากด้วยมีดกรีดยาง 2 รอย ห่างกันประมาณ 10 ซม. หรือ 4 นิ้ว

ทำรอยเปิดกรีดให้ลึกถึงขั้นน้ำยางซึม ๆ ในบริเวณส่วนบน(กรีดลงล่าง) กำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งอุปกรณ์อัดฮอร์โมน ด้านซ้ายมือของรอยกรีด (จะไม่เกะกะกับการกรีดยาง) อยู่ต่ำกว่ารอยกรีดเล็กน้อย แล้วใช้ขอบฝาครอบเหล็กขูดผิวเปลือกต้นยางสัก 8-9 ครั้ง เพื่อให้ฮอร์โมนแพร่ผ่านเปลือกยางได้ง่ายขึ้น

ใส่ฝาครอบลงในบล็อกตอก แล้วใช้ฆ้อนตอกให้ฝาครอบติดกับกับต้นยางในบริเวณที่กำหนดให้ลึกประมาณ 3 มิลลิเมตร (จะมีขีดหรือรอยเป็นตัวบอก) เมื่อทำเสร็จทุกต้น ทำการอัดฮอร์โมนต้นละ 40 ซีซี

เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้วไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก็ให้ทำการเปิดกรีดในตอนเย็น หากว่าใช้ถ้วยรับน้ำยางเล็ก (ขนาด 1.3 ลิตร) ก็ควรเก็บน้ำยางก่อนเที่ยงคืนก่อนสัก 1 ครั้งเพื่อป้องกันการล้น หากต้องการเก็บน้ำยางในตอนเช้าทีเดียว ก็ควรใช้อุปกรณ์รับน้ำยางแบบถังสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถรับน้ำยางได้ประมาณ 3 ลิตร

ในเรื่องของการกรีด ส่วนมากจะกรีดลงซึ่งสามารถบังคับมีดได้ง่ายกว่า และสิ้นเปลืองเปลืกยางน้อยกว่าการกรีดขึ้น (จะกรีดขึ้นก็ได้เช่นกัน) ส่วนระบบกรีดจะเป็นแบบ 1 วันเว้น 2 วัน เช่น ถ้าเริ่มอัดฮอร์โมนในตอนเย็นวันที่ 1 ก็ควรกรีดในตอนเย็น วันที่ 2 แล้วเก็บน้ำยางในเช้าวันที่ 3 และหยุดกรีด วันที่ 3 และ วันที่ 4 ก็หยุดกรีด ไปเริ่มกรีดใหม่ในตอนเย็นวันที่ 5 เป็นต้น

การอัดฮอร์โมนแบบเลท-ไอ จะทำทุก ๆ 6 วันครั้ง ไม่ว่าหลังจากอัดฮอร์โมนแล้วจะได้กรีดหรือไม่ก็ตาม (หรืออาจ 10 วันครั้งก็ได้เช่นกัน) ค่าฮอร์โมนต่อการอัด 1 ครั้ง ประมาณ 50 สตางค์ต่อต้น

หลังจากติดตั้งไปได้ ทุก ๆ ประมาณ 2-3 เดือน รอยรั่วระหว่างฝาครอบเหล็กกับเปลือกยางก็จะเกิดขึ้น (เนื่องจากเปลือกต้นยางขยายตัว) ให้แก้ไขโดยใช้บล็อกตอกสวมครอบลงบนฝาครอบแล้วตะแคงให้ฝาครอบหลุด แล้วนำไปตอกในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น ต่ำลงมาเล็กน้อยต่อไป อุปกรณ์ฝาครอบเหล็กสามารถใช้ได้นานถึง 4 ปี และสามารถถอดไปใช้ยังสวนแปลงอื่นได้ด้วยเช่นกัน



http://www.live-rubber.com/index.php/rubber-news-events/27-from-rubber-plantation/232-let-i-method-for-increase-rubber-yield


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/02/2012 8:04 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/02/2012 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,534. ข้อจำกัดของการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน





แม้ว่าการใช้แก๊สหรือฮอร์โมนเอทธิลีนจะสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้มากอย่างน่าอัศจรรย์ แต่การใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนก็มีข้อจำกัดหรือข้อด้อยด้วยเช่นกัน เช่น เหมาะสำหรับสวนยางที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป(หากเป็นพันธุ์ RRIM 600 สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป และต้องเป็นต้นยางที่มีขนาดลำต้นใหญ่หรือมีเส้นรอบลำต้นตั้งแต่ 60 ซม.ขึ้นไปและสภาพสวนยางต้องสมบูรณ์ (ต้นเล็กน้ำยางไม่เพิ่มขึ้น)

ประการต่อมา สวนยางพาราที่จะใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน จะต้องอยู่ในเขตที่มีความชื้นสูงเพียงพอ คือภาคใต้หรือภาคตะวันออก หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณที่ติดต่อกับเขตป่าดิบชื้นของเขมร ส่วนในเขตแห้งแล้ง ไม่เหมาะสมที่จะใช้ฮอร์โมนนี้




ประการต่อมา ก็ควรเลือกแบบที่ติดตั้งได้ง่าย และพึ่งตนเองให้มากที่สุด อุปกรณ์ที่ติดควรมีอายุนานพอสมควร และในกรณีที่มีการรั่วของฮอร์โมน เราก็ควรทำการซ่อมแซมเองได้(ในสภาพความเป็นจริง หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ให้ฮอร์โมนเอทธิลีนไปแล้ว ประมาณ 2-4 เดือน จะพบว่ามีการรั่วของฮอร์โมนมากพอสมควรซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องทำการซ่อมแซมตามรูปแบบของแต่ละอุปกรณ์ให้ฮอร์โมน

ประการต่อมา การกรีดยางต้องกรีด 1 วันและหยุด 2 วัน หากกรีดบ่อยกว่านี้เช่น วันเว้นวัน ซึ่งถือว่าเป็นการกรีดที่หักโหมมากเกินไปสำหรับต้นยางที่อัดฮอร์โมน ก็อาจส่งผลให้น้ำยางที่ได้มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งที่ต่ำมาก และในระยะต่อมาก็อาจส่งผลให้ต้นยางมีอาการเปลือกแห้งได้เช่นกัน

ประการต่อมา หากไม่แน่ใจว่าจะปลอดฝนตลอดทั้งคืนหรือไม่ ก็ให้เก็บน้ำยาง 1 ครั้ง ก่อนเที่ยงคืนหรือก่อนฝนจะตก เก็บรักษาน้ำยางไว้ด้วยสารละลายแอมโมเนีย

ประการต่อมา เนื่องจากได้ปริมาณน้ำยางเยอะมาก จึงต้องตกลงอัตราการแบ่งผลประโยชน์กับคนงานกรีดให้เหมาะสมและเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น อาจจะแบ่งแบบ 50:50 และแต่ละฝ่ายต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืชและค่าปุ๋ยบำรุงเท่า ๆ กัน หรืออาจจะแบ่งแบบ 70:30 โดยเจ้าของสวนยางต้องแบ่งเงินร้อยละ 20 มาเป็นค่าการจัดการสวนยางเองทั้งหมด

ประการต่อมา การกรีดยางที่อัดฮอร์โมนเอทธิลีน จะทำให้ต้นยางพาราเสียน้ำไปกับน้ำยางมากถึงร้อยละ 23 (โดยประมาณ) ดังนั้น หากตัดไม้ขายในทันทีทันใด น้ำหนักไม้ก็จะน้อยกว่าต้นยางปกติ (ซึ่งหากเว้นระยะไว้สัก 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงโค่นขายไม้ ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้แบบง่าย ๆ)

นอกจากนี้ ก็อาจมีปัญหาอื่น ๆ บ้าง เช่น หากเป็นพื้นที่ที่มีขโมยชุกชุม และสวนยางอยู่ไกลตาเกินกว่าจะดูแลได้ ก็ไม่ควรใช้ฮอร์โมน หรือหากว่ามีสวนยางแปลงเดียว หากมีเวลาว่าง 2 วัน แล้วเป็นปัญหา ก็ไม่ควรใช้ฮอร์โมน เช่นกัน


http://www.live-rubber.com/index.php/rubber-news-events/27-from-rubber-plantation/229-limitation-of-ethylene-for-increaseing-rubber-yield
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 55, 56, 57 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 56 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©