-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 1:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....

1,412. “ถั่วหรั่ง” พืชพื้นเมืองพันธุ์ใหม่ 85 วันเก็บได้ ผลผลิตสูง-ตลาดดี
1,413. ยืดอายุกล้วยไม้ด้วยก๊าซอาร์กอน งานวิจัยวิธีเก็บรักษาหลังตัดดอก
1,414. ฤทธิ์ต้านมะเร็งของโป๊ยกั๊ก
1,415. “กระบองเพชรสว่าน” สวยแปลก

1,416. “โคเคน” พืชต้องห้าม
1,417. ลีลาวดี...ไม่ใช่ชื่อพระราชทาน
1,418. "ปุ๋ย" ทำไมถึงต้อง...ละลายช้า
1,419. ทำอย่างไรให้ดอกไม้ปักเจกันอยู่ได้นาน
1,420. จำแนกผักตามฤดูกาล

1,421. ดินกับการเจริญเติบโตของพืช
1,422. ความสมดุลย์ของธาตุอาหารพืชในดิน
1,423. การดูดกินธาตุอาหารของพืช
1,424. การสูญเสียธาตุอาหารไปจากดิน

1,425. การเป็นพิษเนื่องจากพืชได้รับธาตุบางชนิดมากเกินไป
1,426. หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ย
1,427. ปลูกข้าวลอยน้ำ แนวคิดปรับตัวของเกษตรกรในช่วงน้ำท่วม
1,428. สารพิษ "คู่" สังคมไทย
1,429. ปั้นเกษตรกรต้นแบบ ลดใช้สารเคมี
1,430. ชี้เกษตรกรทั่ว ปท. มีภัยสารเคมีปีละ 4 แสน

1,431. พันธุ์ข้าวปลอมปน วิบากกรรมของชาวนาไทย เสียทั้งเงินและเวลา
1,432. รณรงค์ใช้รางจืด ขับสารพิษยาฆ่าแมลง
1,433. แมลงศัตรูข้าวในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของต้นข้าว
1,434. อาการที่ต้นข้าวถูกทำลาย
1,435. สุนทร สีหะเนิน ผู้สร้างตำนาน "ข้าวขาวดอกมะลิ 105"

1,436. กระเจี๊ยบแดง


--------------------------------------------------------------------------------------------------






1,412. “ถั่วหรั่ง” พืชพื้นเมืองพันธุ์ใหม่ 85 วันเก็บได้ ผลผลิตสูง-ตลาดดี











คมชัดลึก :เพื่อ เป็นทางเลือกให้เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านการลดต้นทุน คุณภาพ ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ล่าสุด
กรมวิชาการเกษตรโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 8 จังหวัดสงขลา ภายใต้การนำของ ไพโรจน์ สุวรรณจินดา
ผอ.สำนัก ได้นำเสนอ “ถั่วหรั่ง” หรือ “ถั่วปันหยี” ที่มีคุณสมบัติโตเร็ว ทนแล้ง ให้ผลผลิตสูง แถมระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ที่
สำคัญตลาดต้องการมาก

ผอ.ไพโรจน์ เล่าว่า ถั่วหรั่งหรือ “ถั่วปันหยี”
เป็นพืชพื้นเมืองที่นิยมปลูกกันมากในภาคใต้เนื่องจากปลูกง่าย ทนแล้ง เติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดม
สมบูรณ์ต่ำ เช่น ดินทรายจัด ดินร่วนปนทราย ที่ไม่มีน้ำขัง ปัจจุบันกรมมีถั่วหรั่งพันธุ์ดี คือพันธุ์สงขลา 1 มีอายุเก็บเกี่ยวปาน
กลาง 120-130 วัน ให้ผลผลิตสูง 400-700 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นอยู่กับสภาพดินและระบบการจัดการแปลง

“ปีนี้กรมได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วหรั่งสงขลา 1 ป้อนให้แก่เกษตรกร จำนวน 5 ตัน แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่มีแนว
โน้มเพิ่มสูงขึ้น เพราะตลาดถั่วหรั่งกำลังขยายตัวมากทั้งในพื้นที่ภาคใต้และส่งออกไปยังประเทศ มาเลเซีย” ผอ.ไพโรจน์ แจง

พร้อมระบุว่า การปลูกถั่วหรั่งของเกษตรกรในช่วงที่ผ่านมายังมีจุดอ่อน เนื่องจากต้องเสียเวลารอเก็บเกี่ยวผลผลิตถึง 4 เดือน
และหากปลูกพันธุ์พื้นเมืองต้องรอเก็บเกี่ยวนานถึง 150-180 วันแล้ว เกษตรกรยังมีความเสี่ยงกับสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิ
อากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน และต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องโรค แมลงศัตรูพืชและวัชพืชด้วย

“ศูนย์จึงได้ศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้พันธุ์ถั่วหรั่งที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นลง ขณะนี้ได้ปรับปรุงพันธุ์ใหม่อยู่ระหว่างปลูกทดสอบ
ในแปลงเกษตรกรขั้นสุดท้าย คาดจะประสบความสำเร็จในปี 2553 นี้ ซึ่ง สวพ.8 จะเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์
พืช พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกร”

ด้าน นายจิระ สุวรรณประเสริฐ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา หัวหน้าทีมปรับ
ปรุงพันธุ์ถั่วหรั่งอายุเก็บเกี่ยวสั้นพันธุ์ใหม่ กล่าวเสริมว่า เบื้องต้นได้นำพันธุกรรมถั่วหรั่ง 500 สายพันธุ์ จากสถาบันวิจัยการ
เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (IITA) ประเทศไนจีเรีย มาศึกษาวิจัย โดยปลูกขยายเมล็ดเป็นเวลา 4 ฤดูผลิต จากนั้นได้คัด
สายพันธุ์ที่มีศักยภาพปลูกทดสอบทั้งในแปลงของศูนย์ และในไร่เกษตรกร จ.ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
เปรียบเทียบกับพันธุ์สงขลา 1 เป็นเวลา 2 ปี พบว่าถั่วหรั่งพันธุ์ TVsu86 และ TVsu89 ให้ผลผลิตสูงเท่าเทียมกับ
พันธุ์สงขลา 1 ทั้งยังมีรสชาติ และลักษณะฝักคล้ายคลึงกับพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกอยู่เดิม แต่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ราว 85 วัน

จากการประเมินศักยภาพพบว่า ถั่วหรั่งพันธุ์ TVsu89 สามารถให้ผลผลิตสูงกว่า หรือ 400-450 กิโลกรัม/ไร่ แต่เนื่อง
จากสายพันธุ์นี้มีทรงพุ่มขนาดเล็กกว่า การปลูกควรปรับเปลี่ยนมาใช้ระยะปลูกที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ด้วยระยะ 50 X 25
เซนติเมตร จำนวน 1 ต้น/หลุม ขณะนี้อยู่ระหว่างปลูกทดสอบในไร่เกษตรกรเพิ่มเติมขั้นสุดท้าย 12 แปลง ซึ่งคาดว่า
พันธุ์ดังกล่าว จะมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นและกรมจะพิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำได้

“ถั่วหรั่งอายุเก็บเกี่ยวสั้นจะช่วยให้เกษตรกรเก็บผลผลิตได้เร็ว ไม่ต้องรอนาน ปลูกปีละ 3-4 รอบ ทั้งช่วยลดเวลาเสี่ยงต่อ
ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ลดอัตราเสี่ยงเรื่องโรค แมลงศัตรูพืช และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันราคาถั่วหรั่งฝัก
สดหน้าฟาร์มอยู่ที่ กก.ละ 25 บาท หลังหักต้นทุนการผลิต 3,000 บาท/ไร่แล้ว จะทำให้มีรายได้เหลือ ราว 6,000 บาท/
ไร่/รอบการผลิต”

สนใจถั่วสายพันธุ์ใหม่ สอบถามได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา จังหวัดสงขลา โทร.0-7420-5797-80



http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:25 am, แก้ไขทั้งหมด 13 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 1:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,413. ยืดอายุกล้วยไม้ด้วยก๊าซอาร์กอน งานวิจัยวิธีเก็บรักษาหลังตัดดอก





คมชัดลึก :แม้ ปัจจุบันประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้สกุลหวายรายใหญ่ของโลก แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการส่งออกคือการเก็บรักษา คุณภาพหลังการตัดดอกให้สด และอยู่ได้นานและมีอายุการใช้งานนานที่สุด โดยทั่วไปการเก็บรักษากล้วยไม้จะเก็บรักษาในสภาพดัดแปลงบรรยากาศในบรรจุ ภัณฑ์ เรียก Modified Atmosphere Packaging (MAP) ซึ่งเป็นการบรรจุกล้วยไม้ภายใต้บรรยากาศที่มีอัตราส่วนของก๊าซชนิดต่างๆ แตกต่างไปจากบรรยากาศปกติ

โดยการเติมก๊าซที่เหมาะสมเข้าไป ที่นิยมคือเพิ่มก๊าซไนโตรเจนให้สูง ปริมาณก๊าซออกซิเจนต่ำกว่าบรรยากาศปกติ ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการหายใจของดอกกล้วยไม้ลดลง กระบวนการเมแทบอลิซึ่มภายในดอกกล้วยไม้เกิดช้าลง ลดการสังเคราะห์และการทำงานของเอทิลีน และใช้อุณหภูมิที่ต่ำเพื่อช่วยลดความเสียหาย ป้องกันรักษากล้วยไม้ให้มีคุณภาพดี

ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้มีนักศึกษา กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย วัชรกรณ์ ร่วมพันธ์ ชานิณี แตงขำ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีอาจารย์วรินธร ยิ้มย่อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ศึกษาและทดลองใช้ก๊าซอาร์กอนเพื่อยืดอายุเก็บรักษากล้วยไม้ ซึ่งจากผลการทดลองก็เป็นที่น่าสนใจ สำหรับวงการส่งออกกล้วยไม้ที่ต้องพัฒนาให้เติบโตต่อไปในอนาคต

เจ้าของผลงานเล่าว่า เริ่มจากทดลองเก็บรักษากล้วยไม้ภายใต้สภาพดัดแปลงบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ถุงพลาสติกชนิด PP ร่วมกับการเติมก๊าซอาร์กอนที่ 20, 40 และ 60 วินาที เปรียบเทียบกับการเก็บรักษาโดยใช้ถุงพลาสติกชนิด PP ที่ไม่ได้เติมก๊าซอาร์กอน จากนั้นนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 13 องสาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 90-95 เปอร์เซ็นต์ แล้วพบว่าการเก็บรักษาทั้งสองวิธี(แบบเติมก๊าซอาร์กอนและไม่เติม) สามารถเก็บรักษาได้ที่ 20 วัน แต่มีผลการทดลองที่น่าสนใจคือ การเติมก๊าซอาร์กอนในภาชนะบรรจุเป็นเวลา 40 และ 60 วินาที สามารถลดอายุการปักแจกันของดอกกล้วยไม้ หลังจากการเก็บรักษาเป็นเวลา 20 วัน

ผู้ทดลองยังได้อธิบายอีกว่า ที่ผลออกมาอย่างนี้เพราะก๊าซอาร์กอนมีผลต่อการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือ การเติมก๊าซอาร์กอนเป็นเวลา 20 และ 40 วินาที จะลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนการเติมก๊าซอาร์กอนที่เวลา 60 วินาที จะเพิ่มการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

นอกจากนั้นยังพบว่าก๊าซอาร์กอนยังมีผลต่อการผลิตเอทิลีน ซึ่งชุดบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้เติมก๊าซอาร์กอนจะมีอัตราการผลิตเอทิลีนสูงกว่า ชุดที่เติมก๊าซอาร์กอนตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา สำหรับก๊าซเอทิลีนนั้นตามธรรมชาติพืชจะมีการปลดปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมาเมื่อ เข้าสู่ระยะสุกแก่ ถ้าเป็นผลไม้ก็สุก ดอกกล้วยไม้ก็มีการปล่อยเอทิลีนเช่นกัน ยิ่งอัตราปล่อยเอทิลีนมากเท่าไรก็ทำให้การบานของดอกเร็วขึ้นเท่านั้น

นับว่าเป็นการค้นพบที่เป็นประโยชน์เลยทีเดียวสำหรับแนวทางการพัฒนา คุณภาพการส่งออกกล้วยไม้ของประเทศไทยเพื่อจะก้าวไปเป็นอันดับหนึ่งของโลก

สำหรับผู้ใดที่สนใจอยากทราบรายละเอียดสามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่โทร.08-1851-3382 ในวันและเวลาราชการ



http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 1:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,414. ฤทธิ์ต้านมะเร็งของโป๊ยกั๊ก


ศึกษาผลต้านมะเร็งของสารสกัด 50% เอทานอลจากโป๊ยกั๊กในหนูขาว โดยแบ่งหนูเป็น4 กลุ่ม หนูทุกตัวจะถูกเหนี่ยวนำให้เป็นมะเร็งที่ตับด้วยการฉีด N -nitrosodiethylamine ขนาด 200 มก./กก. เข้าทางช่องท้องหนูในสัปดาห์ที่ 4 และให้ Phenobarbital ขนาด 0.05% ในน้ำดื่ม ช่วง 6-20 สัปดาห์ของการทดลอง กลุ่มที่ 1, 2 และ 3 จะป้อนสารสกัด ขนาด 10 มก./กก. ในช่วงสัปดาห์ที่ 0-20, 0-4 และ 6-20 ของการทดลองตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับสารสกัด พบว่าน้ำหนักตับของหนูในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดโป๊ยกั๊กในช่วงสัปดาห์ที่ 0-20 และสัปดาห์ที่ 6-20 จะลดลง ส่วนน้ำหนักตัวของหนูในทุกกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจะเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม หนูในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดโป๊ยกั๊กช่วงสัปดาห์ที่ 0-20 และสัปดาห์ที่ 6-20 จะมีการเกิดและเพิ่มจำนวนของเนื้องอกลดลง แต่ไม่มีผลในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดช่วงสัปดาห์ที่ 0-4 นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับสารสกัดโป๊ยกั๊กช่วงสัปดาห์ที่ 0-20 จะมีขนาดและปริมาตรของก้อนเนื้อลดลงด้วย ขณะที่อีก 2 กลุ่มไม่มีผล

หนูในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดโป๊ยกั๊กในช่วงสัปดาห์ที่ 0-20 และสัปดาห์ที่ 6-20 จะมีการเกิด lipid peroxidation ในตับและเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดช่วงสัปดาห์ที่ 0-4 จะทำให้ lipid peroxidation ในตับเพิ่มขึ้น สำหรับผลต่อเอนไซม์พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดทุกกลุ่มจะมีระดับของเอนไซม์ superoxide dismutase ในตับและเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ระดับเอนไซม์ catalase ในตับของทุกกลุ่มที่ได้รับสารสกัด และระดับของ catalase ในเม็ดเลือดแดงของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดโป๊ยกั๊กช่วงสัปดาห์ที่ 0-4 และสัปดาห์ที่ 6-20 จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับสารสกัดทุกกลุ่ม จะมีผลลดระดับของ glutathione-S-transferase แต่จะเพิ่ม glutathione ในตับและเม็ดลือดแดง สรุปได้ว่าโป๊ยกั๊กมีผลต้านมะเร็งได้ โดยลดการเกิดเนื้องอก ลด oxidative stress และเพิ่มระดับของเอนไซม์ phase II ซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการต้านอนุมูลอิสระ

Chem Biol Interact 2007;169:207-14

http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 1:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,415. “กระบองเพชรสว่าน” สวยแปลก





กระบองเพชรชนิดนี้ เพิ่งจะพบมีต้นวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ไม่มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ ลักษณะต้นสวยงามแปลกตามาก เนื่องจากต้นจะบิดเป็นเกลียวคล้ายเกลียวสว่าน ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ผู้ขายอธิบายว่า เป็นกระบองเพชรสายพันธุ์เดียวกันกับกระบองเพชรชนิดที่มีต้นสูงใหญ่และคนทั่วไปรู้จักดีนั่นเอง แต่ชนิดนี้เป็นกระบองเพชรกลายพันธุ์มาจากต้นกระบอง– เพชรดังกล่าว มีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์เดิมอย่างชัดเจน คือ ลำต้นจะบิดเป็นเกลียวคล้ายเกลียวสว่านตามภาพเสนอประกอบคอลัมน์ ไม่มีชื่อไทย เป็น ไม้นำเข้า “นายเกษตร” จึงขอเรียกเองว่าต้น “กระบองเพชรสว่าน” ตามลักษณะของต้น พร้อมแนะนำในคอลัมน์ทันที

กระบองเพชรสว่าน หากเป็นกระบองเพชรกลายพันธุ์มาจากต้นกระบองเพชรชนิดที่คนรู้จักดีตามที่ผู้ขายระบุ น่าจะมีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ CEREUS HEXAGONUS (LINN.) MILL อยู่ในวงศ์ CACTACEAE มีลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร ลำต้นกลมอวบน้ำ มีรอยหยักเป็นร่องลึกและมีสันสูง บิดเป็นเกลียว เหมือนเกลียวสว่าน โดยส่วนที่เป็นสันสูงจะมีหนามแหลม แข็ง ออกเป็นกระจุก กระจุกละ 5-7 หนาม เว้นระยะห่างกันประมาณ 1.5-2 นิ้วฟุต เรียงตลอด แนวสันของต้น ต้นเป็นสีเขียว

นอกจาก ต้นจะดูเหมือนเกลียวสว่านตามที่กล่าวแล้ว เวลาบิดเป็นเกลียวยังดูเหมือน เทียนวันเกิด ที่ใช้ปักบนเค้กแล้วจุดเป่าฉลองวันเกิดอีกด้วย ทำให้เวลาต้นโตและสูงใหญ่ จะดูสวยงามน่าชมยิ่ง

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ 1-3 ดอก บริเวณปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมักจะบานตอนกลางคืน ดอกออกเมื่อต้นสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยต้น

ปัจจุบันต้น “กระบองเพชรสว่าน” ที่ “นายเกษตร” เรียกชื่อเอง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 23 แผง “คุณเดียว” ราคาสอบถามกันเอง เป็นไม้เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เป็นไม้ชอบแดดไม่ชอบน้ำท่วมขังอย่างเด็ดขาด ทนแล้งได้ดี เนื่องจากเป็นไม้อวบน้ำ

เหมาะ จะปลูกประดับทั้งลงดินกลางแจ้งและลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับในบริเวณบ้านหลายๆต้น หรือหลายๆกระถาง เวลาต้นโตและสูงใหญ่ไล่เลี่ยกัน จะทำให้ดูลดหลั่นสร้างสีสันให้ดูงดงามมากครับ.

“นายเกษตร”

ไทยรัฐออนไลน์
http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:27 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 2:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,416. “โคเคน” พืชต้องห้าม




ผู้อ่านไทยรัฐ ที่เป็นแฟนขาประจำคอลัมน์ “เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ” อยากทราบว่าต้น “โคเคน” มีสรรพคุณทางสมุนไพรหรือไม่ และมีต้นวางขายที่ไหน ซึ่งความจริงแล้ว “นายเกษตร” เคยแนะนำไปแล้วในฉบับวันเสาร์ที่ 19 มิ.ย.ปี 42 โดยในตอนนั้นมีผู้นำเอาต้น “โคเคน” ออกวางขายด้วย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกพอสมควร แต่เนื่องจาก “โคเคน” เป็นพืชต้องห้ามมีปลูกและมีไว้ในครอบครองผิดกฎหมาย จึงทำให้ “โคเคน” ไม่มีวางขายอีก

โคเคน มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปอเมริกาใต้ นิยมลักลอบปลูกกันอย่างแพร่หลายในแถบเทือกเขาแอนดิส ประเทศเปรู โบลิเวีย และ ประเทศโคลอมเบีย เพื่อเก็บใบไป สกัดเป็นสารเสพติด มีทั้งชนิดเป็นผงและเป็นน้ำ มีรสขม ไม่มีกลิ่น ลักลอบส่งขายทั่วโลก จัดเป็นสารเสพติดชนิดร้ายแรง มีการปราบปรามและจับกุมเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ชนเผ่าอินเดียนเก่าแก่ ในประเทศโคลอมเบียเป็นแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ปลูกต้น “โคเคน” ได้อย่างถูกกฎหมาย แต่จำกัดพื้นที่เพียงเล็กน้อย เนื่องจากชนเผ่าอินเดียนปลูกต้น “โคเคน” มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เพื่อเก็บเอาใบสดเคี้ยวกิน เป็นยาระงับความเหนื่อยล้าและความหิว ทนต่อสภาพชีวิตที่ต้องตรากตรำอยู่ในสภาพป่ากันดาร บางครั้งชนเผ่าอินเดียนดังกล่าวจะเอาใบสดไปคั่วไฟอ่อนๆ บนกระทะพอกรอบไม่ต้องใส่น้ำมัน กินกับสลัดผักรวมด้วย แต่ห้ามสกัดเป็นสารเสพติดอย่างเด็ดขาด

อย่างไรก็ตาม ในวงการแพทย์เคยนำสารสกัดจากต้น “โคเคน” ใช้เป็นยาชาเฉพาะจุดได้ผลดีระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว ในประเทศไทยจัดให้สารสกัด “โคเคน” เป็นสารเสพติดให้โทษร้าย แรงตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ปี พ.ศ. 2522 และห้ามมีต้นไว้ในครอบครองด้วย

โคเคน หรือ ERYTHROXYLUM COCA LAMK. ชื่อพ้อง ERYTHROXYLUM TRUXILLENSE RUSBY อยู่ในวงศ์ ERYTHROXYLACEAE มีชื่อเรียกอีกคือ “โคค่า” เป็นไม้พุ่มสูง 0.5-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างบาง สีเขียวสด

ดอกสีขาวแกมเขียว หรือ แกมเหลือง ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นกระจุกตามซอกใบ 4-8 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 3 อัน “ผล” รูปรี สีแดงสด มีเมล็ดเดียว ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปัจจุบันทราบว่ามีปลูกเฉพาะใช้ในงานวิจัยไม่กี่แห่งเท่านั้นครับ.

“นายเกษตร”

ไทยรัฐออนไลน์
http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:28 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/12/2011 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,417. ลีลาวดี...ไม่ใช่ชื่อพระราชทาน





ดอกลีลาวดี หรือชื่อเดิมก็คือ ดอกลั่นทม ซึ่งคนไทยสมัยก่อนมักเข้าใจว่า เป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน แต่มักนิยมปลูกตามวัด หรือป่าช้า รวมถึงที่สาธารณะ เพราะเหตุที่มักเข้าใจกันว่ามีชื่อใกล้ไปทางคำว่า ระทม หากปลูกจะทำให้มีแต่ความระทม ความทุกข์ ความเศร้าหมอง แต่ถ้าศึกษาด้านภาษาจริงๆ แล้ว คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจากคำว่า "ลั่น" กับคำว่า "ทม" ซึ่งคำว่า "ลั่น" นั้นมีความหมายว่า ละทิ้ง เลิก คำว่า "ทม" มาจากคำว่า ระทม ความระทม ความเศร้าหมอง เมื่อนำมารวมกันจึงมีความหมายถึง ละทิ้งความระทม ละทิ้งความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือการมีแต่ความสุขสดใส นั่นเอง


ปัจจุบันมีการเปลี่ยนเรียกชื่อ "ลั่นทม" ใหม่ว่า "ลีลาวดี" ซึ่งชื่อใหม่นี้มีความเป็นมาอย่างไรและเพื่อผลประโยชน์อันใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ที่ผ่านมามีกลุ่มบุคคลแอบอ้างโดยอ้างว่าชื่อใหม่ของ "ลั่นทม" หรือ "ลีลาวดี" นั้น เป็นชื่อที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องจากไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้มงคล แต่กลับเรียกว่า "ลั่นทม" การแอบอ้างชื่อใหม่ของต้น "ลั่นทม" ในลักษณะเช่นนี้ สร้างความสับสนให้กับสังคมเป็นอย่างมาก เพราะคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจคลาดเคลื่อนและเชื่อว่าเป็นชื่อพระราชทานจริง แม้แต่สื่อมวลชนบางคนยังเชื่อเช่นนั้นเหมือนกัน การที่แอบอ้างว่าชื่อ "ลีลาวดี" เป็นชื่อพระราชทานนี้เอง ทำให้ธุรกิจการเพาะพันธุ์ต้น "ลีลาวดี" คึกคักเป็นอย่างมาก

เพราะ "ลีลาวดี" เป็นต้นไม้ที่มีความสวยงาม สามารถมาดัดแปลงให้เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ ที่มีดอกหลากหลายสีได้ บางต้นมีดอกถึง 3 สีในต้นเดียวกัน จึงทำให้ทุกวันนี้ คนไทยหันมานิยมปลูกเลี้ยงต้น "ลีลาวดี" บริเวณบ้านกันมากขึ้น ทั้งที่ในอดีตมีความเชื่อว่า ต้น "ลั่นทม" ปลูกในบ้านจะทำให้คนในบ้านมีแต่ความทุกข์ระทม เพื่อให้เป็นที่เข้าใจอย่างทั่วถึงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีการชี้แจงว่า "ลีลาวดี" ไม่ใช่ชื่อพระราชทานแต่อย่างใด โดยกองบำรุงรักษาอุทยาน สวนจิตรลดา ได้ยืนยันว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไม่ได้พระราชทานนาม "ลีลาวดี" และทรงทักท้วงเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้วในหลายโอกาส ฉะนั้นต่อไปนี้ ได้โปรดเข้าใจให้ถูกต้องว่า ชื่อใหม่ของ "ลั่นทม" ที่เปลี่ยนมาเป็น "ลีลาวดี" นั้นมีคนอื่นตั้งชื่อกันเอง ไม่ใช่ชื่อพระราชทานตามที่เข้าใจกันแต่อย่างใด...



http://www.panmai.com/Tip/Tip13/Tip13.shtml


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/12/2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,418. "ปุ๋ย" ทำไมถึงต้อง...ละลายช้า


ปุ๋ยละลายช้าคืออะไร
ปุ๋ยละลายช้า คือ ปุ๋ยเคมีที่บรรจุอยู่ในสารเคลือบโพลิเมอร์ชนิดพิเศษ สารเคลือบชนิดนี้ออกแบบมาให้ปุ๋ยที่บรรจุอยู่ภายในค่อยๆ ละลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นเวลานาน พอเหมาะกับความต้องการของพืช ทำให้พืชได้อาหารอย่างเพียงพอและต่อเนื่องตลอดช่วงอายุของพืช ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงใส่เพียงครั้งเดียวก็สามารถอยู่ได้นาน จึงแตกต่างจากปุ๋ยธรรมดาทั่วไปที่ละลายน้ำอย่างรวดเร็ว และสลายธาตุอาหารออกมาอย่างสูง ใน 2–3 วันแรก แล้วปริมาณปุ๋ยจะลดอย่างรวดเร็วและหมดไปในเวลาอันสั้น


ปุ๋ยละลายช้าทำงานอย่างไร
การทำงานของปุ๋ยละลายช้าจะเริ่มขึ้นทันทีที่สัมผัสกับความชื้นในดินหรือเครื่องปลูกที่เปียกชื้น เม็ดปุ๋ยจะเริ่มดูดซึมน้ำผ่านพื้นผิวของสารเคลือบซึ่งเป็นรูเล็กมากเข้าไปละลายธาตุอาหารภายใน ธาตุอาหารภายในซึ่งมีความเข้มข้นสูงจะค่อยๆ ซึมผ่านเปลือกของโพลิเมอร์ที่เคลือบไว้ออกมาทีละน้อย คล้ายขบวนการออสโมซึส (OSMOSIS) ธาตุอาหารนี้จะค่อยๆ แพร่กระจายไปยังบริเวณรากพืชในปริมาณที่สม่ำเสมอทุกวัน สังเกตได้จากเม็ดปุ๋ยจะเริ่มใสขึ้น จนเมื่อปุ๋ยภายในเม็ดหมด จะเห็นเม็ดปุ๋ยใสที่มีแต่น้ำอยู่ข้างใน หรือเม็ดปุ๋ยนั้นจะแฟบหรือเหี่ยวแห้งไป ส่วนของเปลือกโพลิเมอร์นั้นจะค่อยๆ สลายตัวไปเองตามธรรมชาติ ดังนั้นปุ๋ยละลายช้าจึงต่างจากปุ๋ยทั่วไปที่ ปุ๋ยทั่วไปจะละลายน้ำทันทีที่สัมผัสน้ำ ธาตุอาหารจะหมดไปในระยะเวลาอันสั้น ส่วนปุ๋ยละลายช้าจะเก็บธาตุอาหารไว้ภายในเม็ดได้นานเป็นเดือนๆ


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยธาตุอาหาร
อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยละลายช้าจะถูกควบคุมโดยอุณหภูมิของดินแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าอุณหภูมิในดินสูง อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารจะเร็วขึ้นพอเหมาะกับอัตราการเจริญเติบโตของพืชที่เพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าอุณหภูมิต่ำลง พืชเจริญเติบโตช้า ปุ๋ยละลายช้าก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารน้อยลงพอเหมาะต่อความต้องการของพืชเช่นกัน อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยละลายช้าไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ซึ่งปกติแล้วอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยธรรมดาทั่วไปจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ คือ
- ความเป็นกรดด่างของดิน (pH)
- ระดับความชื้นในดิน
- ชนิดของดิน
- จุลินทรีย์ในดิน


ความเข้มข้นของธาตุอาหารในดิน
ยกตัวอย่างเช่น อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยละลายช้าในดินที่มีอุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ถ้าอุณหภูมิในดินประมาณ 30 องศาเซลเซียส จะทำให้การปลดปล่อยเร็วขึ้น ระยะเวลาการปลดปล่อยธาตุอาหารจะสั้นลง ทำให้ปุ๋ยละลายช้าปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เป็นระยะเวลาประมาณ 2-2.5 เดือน


ข้อดีของปุ๋ยละลายช้า
- ไม่เป็นอันตรายต่อพืช ไม่ทำให้เกิดอาการรากไหม้และใบไหม้ จึงสามารถใส่ชิดบริเวณรากพืชได้
- ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างสม่ำเสมอ และสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของพืช คือ เมื่ออุณหภูมิสูงพืชจะเติบโตเร็ว ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารให้เร็วขึ้นด้วย
- ไม่เกิดการชะล้างธาตุอาหาร (เนื้อปุ๋ย) เนื่องจากน้ำที่ใช้รด หรือ น้ำฝน
- ใส่เพียงครั้งเดียว ต้นไม้จะได้รับธาตุอาหารได้ยาวนานถึง 3 - 6 เดือน ทำให้
ประหยัดแรงงานและเวลา

ฃขนาดของเม็ดสม่ำเสมอ ไม่แตกเป็นผง เหมาะที่จะใช้กับเครื่องหว่านปุ๋ย


ข้อเสียของปุ๋ยละลายช้า
- มีราคาแพงเมื่อเทียบกับปุ๋ยธรรมดาทั่วไป
- มีสูตรปุ๋ยให้เลือกใช้ไม่มากนัก


วิธีใช้ปุ๋ยละลายช้า
รองก้นหลุม (dibbling)
วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุด เหมาะสำหรับไม้กระถาง, ไม้ผล และพืชยืนต้นทุกชนิดที่ปลูกใหม่ โดยการเจาะหรือขุดหลุม โรยปุ๋ยตามความต้องการใช้ดินกลบปุ๋ยเพียงเล็กน้อยวางต้นไม้ลงในหลุมกลบดิน แล้วรดน้ำตามปกติ
โรยหน้าดิน (top-dressing) ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเพิ่มเติมเมื่อการให้ปุ๋ยครั้งก่อนหมดลง โดยการโรยเม็ดปุ๋ยลงบนผิวดินบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ระวังเวลารดน้ำอย่าใช้น้ำฉีดแรง เพราะจะทำให้เม็ดปุ๋ยกระเด็นออกไป อาจคัดแปลงวิธีการใส่ปุ๋ยโดยการเจาะรูเล็ก 2 – 3 รูรอบโคนต้น ใส่ปุ๋ยตามความต้องการแล้วกลบดินวิธีการนี้ได้ผลดีกว่า แต่สิ้นเปลืองเวลา

ผสมกับดินปลูก (mixing)
วิธีการนี้เหมาะสำหรับเมื่อต้องการปลูกพืชจำนวนมาก โดยผสมปุ๋ยไปกับดินผสมให้ทั่วแล้วปลูกตามปกติ ข้อควรระวัง คือ การผสมระมัดระวังอย่าให้เม็ดปุ๋ยแตกและเมื่อผสมเสร็จแล้วควรใช้ดินผสมภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์

การหว่าน (broadcasting)
เหมาะสำหรับสนามหญ้าสนามกีฬาและสวนสาธารณะต่างๆ โดยการหว่านให้ทั่วตามอัตราที่กำหนด สำหรับสนามหญ้าที่ตัดสั้นมาก เช่น บนกรีนของสนามกอล์ฟ ต้องใช้วิธีเจาะเป็นรูเล็กๆ แล้วใส่ปุ๋ยลงไปในรูนั้น


อัตราการใช้ปุ๋ยละลายช้า
ไม้กระถาง ถ้าเป็นไม้ปลูกใหม่จะใช้วิธีรองก้นหลุมหรือผสมกับดินปลูกก็ได้ ถ้าเป็นไม้ที่ปลูกแล้วหรือใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมเมื่อการให้ปุ๋ยครั้งก่อนหมดลง ให้โรยปุ๋ยรอบ ๆ ขอบกระถาง โดยใช้อัตราปุ๋ยดังนี้

- กระถางขนาด 6 นิ้ว ใช้ประมาณ 5 กรัม / กระถาง (1 ช้อนชา)
- กระถางขนาด 8 นิ้ว ใช้ประมาณ 10 กรัม / กระถาง (2 ช้อนชา)
- กระถางขนาด 10 นิ้ว ใช้ประมาณ 15 กรัม / กระถาง (3 ช้อนชา)
- กระถางขนาด 12 นิ้ว ใช้ประมาณ 20 กรัม / กระถาง (4 ช้อนชา)

พืชในแปลงเพาะชำ ใช้ในอัตรา 2.5–3 กิโลกรัม / ดิน 1 ลูกบาศก์เมตร โดยคลุก
ปุ๋ยลงไปในดินปลูกให้ทั่ว สำหรับแปลงไม้ตัดดอก ไม้พุ่มเตี้ยๆ ไม้ใบ ใช้ในอัตรา 4–6 กิโลกรัมต่อ 100 ตรม. (40-60 กรัมต่อ 1 ตรม) โดยหว่านให้ทั่วแปลง สำหรับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ใช้อัตราปุ๋ยดังนี้

- กล้าไม้ที่ปลูกใหม่ ใช้ในอัตรา 20–40 กรัม/ต้น รองก้นหลุมปลูก
- ไม้ที่ตั้งตัวได้แล้วขนาดเล็ก ใช้ในอัตรา 50 กรัม/ต้น โรยหน้าดิน
- ไม้ที่ตั้งตัวได้แล้วขนาดกลาง ใช้ในอัตรา 100 กรัม/ต้น โรยหน้าดิน
- ไม้ที่ตั้งตัวได้แล้วขนาดใหญ่ ใช้ในอัตรา 140–200 กรัม/ต้น โรยหน้าดิน

อัตราการใช้ข้างต้นเป็นเพียงแนวทางในการใช้ปุ๋ยละลายช้าเท่านั้น ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากบริษัทผู้ขายอีกครั้งก่อนใช้


ตัวอย่างสูตรปุ๋ยละลายช้าที่มีจำหน่าย
- ยี่ห้อออสโมโค้ท ออสโมโค้ท-พลัส 16-8-12+2 Mgo+อาหารเสริม (6 เดือน) , ออสโมโค้ท 14-14-14 (3 เดือน)
- ยี่ห้อนูตริพราย สูตรที่มีจำหน่าย 24-8-16 , 17-17-17 , 39-0-0 , 12-0-34 , 10-46-00 , 16-8-27 , 18-6-12+ME (มีธาตุอาหารรอง Fe, Mn, Mo, Cu, B, Mgo)


http://www.panmai.com/Tip/Tip08/Tip08.shtml


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/12/2011 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,419. ทำอย่างไรให้ดอกไม้ปักเจกันอยู่ได้นาน


การที่ดอกไม้ในแจกันหรือดอกไม้ประดับสวยงามในลักษณะต่างๆ อยู่ได้นานคงทน ย่อมเป็นที่อันพึงปรารถนาของเจ้าของ ดังนั้นการตัดดอกไม้เพื่อนำไปประดับแจกันหรือใช้ประดับสวยงามในรูปแบบต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีวิธีการและเทคนิคประกอบดังต่อไปนี้

เวลาที่เหมาะสมในการตัดดอกไม้
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดดอกก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงก่อนตัดดอกไม้จากต้น ดอกไม้ทุกชนิดเมื่ออยู่กับต้นจะได้รับน้ำและสารอาหารจากต้นตลอดเวลา ดอกไม้ที่ตัดขณะที่ต้นได้รับน้ำไม่เพียงพอ ก้านดอกจะดูดอากาศเข้าไปแทนที่น้ำในก้านดอกทางรอยตัด จะทำให้มีน้ำอยู่ในก้านดอกน้อยทำให้เกิดฟองอากาศภายใน เมื่อนำก้านไปแช่น้ำก้านดอกจะดูดซึมน้ำได้ยาก จึงควรรดน้ำให้ต้นไม้อิ่มน้ำก่อนจึงตัดดอก

การตัดดอกควรตัดตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งก้านยังอวบน้ำอยู่ จะทำให้ดอกไม้อยู่ได้นานกว่าการตัดดอกตอนเที่ยงหรือบ่าย เนื่องจากในช่วงอากาศร้อนจัดจะทำให้ก้านสูญเสียน้ำมากทำให้เหี่ยวง่าย

ดอกไม้ที่มียาง เมื่อตัดดอกแล้วควรจุ่มโคนก้านดอกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 85°C–90°C ประมาณ 2–3 วินาที เพื่อให้ยางหลุดออก เนื่องจากยางจะอุดตันบริเวณรอยตัดทำให้ก้านไม่สามารถดูดน้ำได้

ระยะบานของดอกที่เหมาะสมในการตัดของดอกไม้แต่ละชนิดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงเช่นกัน

ดอกกุหลาบ ตัดได้เมื่อกลีบเลี้ยงบานออกตั้งฉากกับตัวดอกที่ยังตูกอยู่ หรือตัดเมื่อกลีบดอกกลีบแรกหรือกลีบที่สองเริ่มแย้มกลีบ ถ้าตัดเมื่อดอกยังอ่อนเกินไปจะทำให้ดอกเหี่ยวง่ายและไม่บานต่อ แต่ถ้าตัดในขณะที่ดอกบานมากเกินไปก็จะทำให้ดอกโรยเร็ว ดอกกุหลาบสีเหลืองจะมีระยะการบานสั้นกว่าสีอื่นจึงควรตัดเมื่อดอกยังตูมอยู่

ดอกเบญจมาศ ควรตัดเมื่อดอกที่สีเขียวใจกลางดอกจางหายไปแล้ว ถ้าเป็นดอกเป็นช่อควรให้ดอกที่อยู่ตรงกลางช่อบานเต็มที่ก่อน

ดอกคาร์เนชั่น ควรตัดเมื่อกลีบดอกบานทำมุมฉากกับกลีบรองดอกและใจกลางดอกคลี่ออก

แกลดิโอลัส ควรตัดเมื่อดอกล่างดอกแรกหรือสองดอกเริ่มมีสีเห็นชัดเจน


วิธีการตัดดอกไม้
ใช้มีดหรือกรรไกรที่และสะอาด ตัดก้านดอกให้เป็นมุมเฉียงและให้ได้รอยตัดเรียบไม่ช้ำ การตัดเฉียงๆ เพื่อให้ได้เนื้อที่ในการดูดน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะดอกไม้ที่มีก้านเป็นไม้เนื้อแข็งเพราะดอกไม้ประเภทนี้จะดูดน้ำได้เฉพาะทางรอยตัดเท่านั้น
ควรริดใบด้านล่างของก้านออกบ้างเพื่อไม่ให้เน่าอยู่ในน้ำทำให้เกิดกลิ่น และมีแบคทีเรียเจริญในน้ำอุดต้นก้านดอกทำให้ดูดน้ำไม่ได้ ดอกไม้จะเหี่ยวเร็ว
การตัดดอกทุกครั้งควรใช้ภาชนะพลาสติกที่สะอาดทุกครั้งใส่น้ำพอให้ท่วมก้านประมาณ 1–2 นิ้ว เป็นอย่างน้อย ให้น้ำอุณหภูมิ 38°C-43°C จะช่วยเร่งให้ก้านดอกดูดน้ำได้เร็วขึ้น เพื่อชดเชยกับน้ำที่เคยได้รับจากต้นแม่ทำให้ได้รับน้ำไม่ขาดตอน


สูตรสารเคมีอย่างง่ายในการช่วยให้ดอกไม้หลังตัดอยู่ได้ทนนาน
สูตรที่ 1 ผสมน้ำกับเครื่องดื่มเซเว่นอัพในอัตราส่วนที่เท่ากัน เติมน้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์ 1 ช้อนชา
สูตรที่ 2 ใช้น้ำสะอาดประมาณ 1 ลิตรต่อน้ำมะนาว 2 ช้อนชา น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำยาฟอกสี ½ ช้อนชา


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของดอกไม้ปักแจกันวางแจกันไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ให้อยู่ห่างเตาไฟ ดอกไม้ที่ตัดดอกแล้ว ไม่สามารถทนต่อแสงอาทิตย์โดยตรงได้ แต่แสงจากหลอดไฟจะช่วยยืดอายุดอกไม้ได้ ทำให้ใบสดมีสีเขียวนานกว่าปกติ ควรตั้งแจกันบริเวณที่มีความชื้นสูง ถ้าอยู่ในที่ที่อากาศแห้งควรฉีดพ่นละอองน้ำให้ดอกไม้วันละ 1–2 ครั้ง ไม่ควรวางแจกันในที่ที่มีลมโกรก และใกล้แหล่งผลิตก๊าซเอธิลีน เช่น ผลไม้สุก เตาแก๊ส การเผาไหม้ของน้ำมันและควันบุหรี่



เอกสารอ้างอิง
- คู่มือแต่งสวนสวยด้วยไม้ดอก, บริษัทสารสาร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
- ต้นไม้ใบหญ้า, นายผล คนสวน, บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด
- คู่มือการปลูกไม้ตัดดอก, สุปราณี วนิชชานนท์, สำนักพิมพ์เพื่อนเกษตร กรุงเทพมหานคร
- ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย, พีรเดช ทองอำไพ, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



http://www.panmai.com/Tip/Tip04/Tip04.shtml


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/12/2011 9:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,420. จำแนกผักตามฤดูกาล


การจำแนกประเภทของผัก ออกเป็นประเภทต่างๆนั้น มีเกณฑ์อยู่หลายอย่าง ที่สามารถใช้ในการจำแนก ประเภทของผักได้ แต่ที่นิยมกันหลักๆแล้ว ใช้เกณฑ์จำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์, จำแนกส่วนที่ใช้ในการบริโภค และจำแนกตามฤดูปลูกที่เหมาะสม รายละเอียดของ เกณฑ์การจำแนกดังกล่าว

1. การจำแนกผักตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การจำแนกประเภทนี้ เป็นที่นิยมใช้ในแวดวงการศึกษา การวิจัยต่างๆ และค่อนข้างจะเป็นเกณฑ์การจำแนกที่เป็นสากล โดยอาศัยความเกี่ยวข้องใกล้เคียงกันของผัก มีการเจริญเติบโต ในสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศคล้าย คลึงกัน นอกจากนี้ผักประเภทเดียวกัน มักมีระบบการเจริญเติบโต ทางราก ลำต้น และใบ ระบบการสืบพันธุ์ ได้แก่ ดอก ผล และเมล็ด ที่คล้ายคลึงกัน และส่วนมาก นิยมจำแนกผัก ตามลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์นี้ ถึงแค่ระดับตระกูล(Family) ยกตัวอย่าง เช่น


ตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำดาว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว บรอคคอลี ตระกูลแตง ได้แก่ แตงกวา แตงเทศ แตงโม ตำลึง บวบเหลี่ยม บวบหอม น้ำเต้า ฟักทอง มะระ ตระกูลถั่ว ได้แก่ กระถิน แค ชะอม ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มันแกว โสน ตระกูลมะเขือ ได้แก่ พริก พริกยักษ์ พริกหวาน มะเขือ มะเขือเทศ มะแว้ง ตระะกูลมะเขือ ได้แก่ กระเทียม หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ ตระกูล อื่นๆ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน คื่นฉ่าย เครื่องเทศ ผักกาดหอม ผักชี ผักบุ้งจีน สมุนไพร


2. การจำแนกผักตามส่วนที่ใช้บริโภค
ส่วนของผักที่ใช้บริโภค ได้แก่ ใบ ลำต้น ราก ดอก ผล และเมล็ด การผลิตผัก เพื่อต้องการ ส่วนของใบ และลำต้น จึงจำเป็นต้องเพิ่ม ปริมาณปุ๋ยที่ธาตุไนโตรเจน ส่วนการผลิตผัก เพื่อบริโภคส่วนของดอก ผล เมล็ด และระบบราก ที่แข็งแรงต้องเพิ่มปริมาณ ปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส ส่วนความแข็งแรง และรสชาติหวานของผล ได้รับจากปุ๋ยที่ให้ธาตุโปแตสเซียมเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ การปลูกผัก ที่ต้องการส่วนต่างๆ ในการบริโภค ยังเกี่ยวกับ การเขตกรรม เช่น ผักที่บริโภคส่วนของระบบราก จะไม่เพาะกล้าเพื่อทำการย้ายปลูก ส่วนที่ใช้บริโภคของผักจำแนกได้ดังนี้

ราก
- รากแก้ว ได้แก่ แครอท เทอร์นิพ ผักกาดหัว
- รากแขนง ได้แก่ มันเทศ ลำต้น
- ลำต้นเหนือดิน ได้แก่ กะหล่ำปม หน่อไม้ฝรั่ง
- ลำต้นใต้ดิน ได้แก่ ขิง ข่า เผือก มันฝรั่ง มันมือเสือ หน่อไม้ ใบ
- ตระกูลหอม ได้แก่ กระเทียม กระเทียมต้น หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่
- กลุ่มใบกว้าง ได้แก่ กะหล่ำปลี คะน้า ปวยเหร็ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอม ดอก
- ตาดอกอ่อน ได้แก่ กะหล่ำดอก บรอคอลี
- ดอกแก ได้แก่ แค โสน ผล
- ผลอ่อน ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดฝักอ่อน แตงกวา ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา บวบเหลี่ยม มะเขือ มะระ
- ผลแก่ ได้แก่ ตระกูลแตง เช่น แตงเทศ แตงโม ฟักทอง ตระมะเขือ ได้แก่ พริก มะเขือเทศ


3. จำแนกตามฤดูปลูกที่เหมาะสม
การใช้เกณฑ์ฤดูปลูกที่เหมาะสมในการจำแนกผักนั้น จะขึ้นอยู่กับฤดูกาล อันมีผลเกี่ยวเนื่องจากลักษณะทางสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆ สำหรับประเทศประเทศไทยนั้น อยู่ในเขนร้อนชื้น


ตลอดปี มี 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูฝน เดือน มิถุนายน-กันยายน
ฤดูหนาว เดือน ตุลาคม-มกราคม
ฤดูร้อน เดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม


โดยทั่วไปพืชผัก สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ในปัจจุบัน มีการปรับปรุงพันธุ์ผัก ให้สามารถปลูกในแต่ละฤดู ได้อย่างเหมาะสม สามารถจำแนกผักที่เจริญเติบโต ได้อย่างปกติในสภาพอุณหภูมิ ต่างๆ ดังนี้


ผักฤดูหนาว สามารถเจริญเติบโต ได้ดีระหว่างอุณหภูมิ 18-28 องศาเซลเซียส ผักกลุ่มนี้ สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูง ในฤดูหนาว

หากต้องการปลูกในฤดูร้อน และฝนควร ควรเลือกปลูกพันธุ์ที่ทนร้อน และฝน หรือพันธุ์เบา สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูงเช่นกัน หากเลือกใช้พันธุ์ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้ผลผลิตต่ำ หรือเสียหาย ได้แก่ กระหล่ำดอก กะหล่ำปลี กระเทียม แครอท บรอคอลี ผักกาดเขียาปลี ผักกาดหัว ผักกาดหอม มันฝรั่ง และหอมหัวใหญ่

ผักฤดูร้อน สามารถเจริญเติบโต ได้ดีในสภาพอุณหภูมิระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส การปลูกในประเทศไทย สามารถเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงตลอดปี ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดหวาน ผักตระกูลแตงทุกชนิด ผักตระกูลมะเขือทั้งหมด ยกเว้น พริกยักษ์ พริกหวาน สำหรับผักตระกูลถั่ว ยกเว้น ถั่วลันเตา ผักฤดูฝน สามารถเจริญเติบโต ได้ดีในสภาพอุณหภูมิระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส และทนฝน ได้แก่ ผักตระกูลแตงทั้งหมด ยกเว้น แตงเทศ ผักตระกูลมะเขือ และถั่วฝักยาว ผักกลุ่นี้เจริญเติบโตได้ผลดีในทุกฤดู




http://www.vegetweb.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:30 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2011 5:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,421. ดินกับการเจริญเติบโตของพืช


พืชแต่ละชนิดเจริญเติมโตในดินแตกต่างกัน ดินที่เหมาะในการปลูกพืชมากที่สุดจะมีลักษณะร่วนซุย มีส่วนผสมของอากาศ น้ำ เศษหิน กรวด ทราย และซากพืชซากสัตว์ในปริมาณพอเหมาะ ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังนี้เป็นอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งดินที่มีลักษณะดังกล่าว คือ ดินร่วน

ดินเหนียว
เป็นดินที่มีตะกอนละเอียด อุ้มน้ำได้ดีและมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชอยู่ด้วย

ดินทราย มีตะกอนขนาดใหญ่กว่า อุ้มน้ำได้ไม่ดีและมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชน้อย

ดินร่วน
มีส่วนผสมของดินเหนียว ทราย และฮิวมัส อุ้มน้ำได้ดี และมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืช

ในการปลูกพืชจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละประเภท นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชชนิดนั้นๆ สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเติมปุ๋ย การไถพรวนดิน การเติมส่วนประกอบของดินให้มีสัดส่วนเหมาะสมและการปลูกพืชหมุนเวียน


ธาตุต่างๆ ในโลกนี้มากกว่า 100 ชนิด ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชมีเพียง 16 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซี่ยม แคลเซี่ยม ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) แมกนีเซี่ยม เหล็กแมงกานีส โบรอน ทองแดง สังกะสี โมลิบดินั่ม และคลอรีน


สามธาตุแรกได้จากน้ำและอากาศ นอกจากนั้นพืชได้จากดิน ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัสและโปรแตสเซี่ยม เป็นธาตุที่ต้องการมากดินไม่สามารถให้พืชได้ไม่เพียงพอต้องให้อาหารเหล่านี้ในรูปปุ๋ย จึงเรียกธาตุเหล่านี้ว่าธาตุอาหารหลัก ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) แมกนีเซี่ยม และแคลเซียม เป็นธาตุอาหารที่ต้องการรองลงมาจึงเรียกว่าธาตุอาหารรอง ส่วนอีก 7 ธาตุที่เหลือ คือ แมกนีเซี่ยม เหล็กแมงกานีส โบรอน ทองแดง สังกะสี โมลิบดินั่ม และคลอรีน เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่พืชก็ขาดไม่ได้ จึงเรียกว่า ธาตุอาหารเสริม เมื่อพืชขาดธาตุอาหารจะแสดงอาการผิดปรกติ ซึ่งโดยมากมักจะแสดงออกทางใบ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดหากมีความรู้และประสบการณ์ ดังนั้น หากเราสามารถบอกได้โดยดูลักษณะที่ผิดปรกติที่ใบพืชเราก็สามารถที่จะใส่ปุ๋ยซึ่งมีธาตุอาหารที่ขาดนั้นลงไปได้ทันเวลาทำให้ผลผลิตเพิ่ม ขึ้นและก็เป็นการปรับปรุงดินได้อีกทางหนึ่งด้วย


ดินกับการเจริญเติบโตของพืช
การเกิดดิน : สมบัติของดิน : ส่วนประกอบของดิน : ชั้นของดิน
ประเภทของดิน : การใช้ประโยชน์ของดิน


http://std.kku.ac.th/4850500228/sdata7.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2011 5:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,422. ความสมดุลย์ของธาตุอาหารพืชในดิน


ในการปลูกพืชที่จะให้ได้ผลผลิตสูงนั้น ดินที่ปลูกพืชจะต้อง มีธาตุอาหารพืชชนิดต่างๆในปริมาณที่สมดุลย์พอเหมาะแก่กันและกัน หากเกิดความไม่สมดุลย์ขึ้น โดยมีปริมาณธาตุใดธาตุหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป ก็จะทำให้พืชที่ปลูกในดินนั้น ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร เช่น ถ้าดินมีโปแตสเซี่ยมอยู่มากเกินไป ก็จะทำให้พืชที่ปลูกบนดินนั้น ดูดกินธาตุแคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมได้น้อยกว่าปกติ ทำให้การเจริญเติบโตของพืชที่ต้องการแมกนีเซี่ยมสูง เช้น ไม้ผล เกิดการกระทบกระเทือน เพราะขาดแคลนแมกนีเซี่ยม ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีการเพิ่มธาตุแคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมให้แก่ดินมากเกินไป ก็จะทำให้ดินดูดธาตุโปแตสเซี่ยมไปใช้ได้น้อยกว่าปกติเช่นเดียวกัน

โดยทั่วไปปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหารพืชในดินแห่งหนี่งๆมักจะไม่แน่นอนคงที่ตลอดไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกาลเวลา และสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งเคยใช้ปลูกข้าวสาลีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ในขณะที่ยังไม่มีการชลประทาน ปรากฏว่าดินนั้นไม่เคยขาดไนโตรเจนและไม่มีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนแต่เมื่อมีการชลประทานเข้ามาถึงและมีการเปลี่ยนชนิดของพืชที่ปลูก

จากข้าวสาลีมาเป็นชูก้า บีท (sugar beet) ซึ่งเป็นพืชที่ต้องใช้ไนโตรเจนมากกว่าข้าวสาลีปรากฏว่าต่อมาไม่นานนัก ที่ดินนั้นเกิดการขาดแคลนไนโตรเจน
อย่างรุนแรงและการที่จะปลูกพืชให้ได้ผลดีในที่นั้น จะต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูงมาก แต่ต่อมาอีกไม่นาน ผลผลิตก็ตกต่ำลงอีกเนื่องจากดินเกิดการขาดแคลนฟอสฟอรัสขึ้นมาอีก ทั้งนี้เนื่องจาก การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อแก้สภาวะการขาดแคลนไนโตรเจนแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้เพิ่มปุ๋ยฟอสฟอรัส เพื่อรักษาสมดุลย์ของธาตุทั้งสอง จึงทำให้พืชแสดงอาการขาดฟอสฟอรัสได้ การแก้ไขในเวลาต่อมา จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสไปพร้อมๆกัน แทนที่จะใส่เพียงชนิดเดียวอย่างแต่ก่อน

ในดินบางแห่งที่เคยใส่แต่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสติดต่ดกันเป็นเวลานานๆ ภายหลังอาจประสบปัญหาดินเกิดการขาดแคลนโปแตสเซึ่ยมได้ง่าย เนื่องจากในดินที่ปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานานๆนั้น โดยทั่วๆไปมักจะขาดแคลนธาตุอาหารพืชมากกว่า 1 อย่างเสมอ การใส่ปุ๋ยเพื่อให้ธาตุอาหารแต่เพียงชนิดเดียวโดยไม่มีธาตุอื่นๆ ที่ดินขาดแคลนด้วย มักจะไม่ช่วยในการเพิ่มผลผลิตของพืชหรือเพิ่มเพียงเล็กน้อย ซึ่งต่างกันการใส่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารครบทุกชนิดที่ดินขาดแคลน จะทำให้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นได้มาก

ตัวอย่างเช่น ในดินนาทั่วๆไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และมีการขาดแคลนไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโปแตสเซึ่ยมเสมอ เมื่อได้มีการทดลองใส่ปุ๋ยชนิดต่างๆในนาข้าวหลายๆ แห่งในภาคนี้เมื่อปี พ.ศ.2502 ก็ปรากฏว่า

ผลการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 25 %
ผลการใส่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 31 %
ผลการใส่ปุ๋ยโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15 %

แต่เมื่อมีการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตและซูเปอร์ฟอสเฟตร่วมกัน โดยใส่ปุ๋ยแต่ละชนิดในอัตราเท่าๆกัน กับเมื่อใส่ปุ๋ยเดี่ยว ปรากฏว่าผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 69 %

และเมื่อใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ซูเปอร์ฟอสเฟต และโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ในอัตราเท่าเดิมรวมกันเป็นปุ๋ยผสม ซึ่งมีธาตุอาหารทั้ง 3 อย่างครบ ปรากฏว่า ข้าวให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงถึง 102 % ซึ่งเป็นผลผลิตที่สูงกว่าที่ได้รับจากการใส่ปุ๋ยแต่ละชนิดแยกกันเสียอีก

ปรากฏการณ์ที่ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยต่างๆร่วมกันแล้วทำให้ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นมากกว่าผลผลิตรวมจากการใส่ปุ๋ยทีละชนิด เราเรียกว่า ธาตุอาหารต่างๆที่นำมาใช้ร่วมกันนั้น เกิดมีผลสัมพันธ์ในทางเพิ่ม (positive interaction) ซึ่งกันและกัน แต่ในทางตรงข้าม ถ้าใส่ธาตุอาหารร่วมกันแล้ว ปรากฏว่า ผลผลิตที่ได้น้อยกว่าผลผลิตรวมจากการใส่ปุ๋ยทีละอย่าง เราเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า ธาตุอาหารเกิดผลสัมพันธ์ในทางลบ (negative interaction)



http://e-learning.snru.ac.th/els/Sirichard/Balance.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2011 6:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,423. การดูดกินธาตุอาหารของพืช


โดยปกติรากพืชสามารถดูดกินธาตุอาหารที่ละลายออกมาอยู่ใน soil solution ในดินแล้ว แต่ธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีประจุไฟฟ้าบวก(cation) เช่น แคลเซี่ยม โปแตสเซี่ยม ซึ่งเกาะอยู่ตามผิวของอนุภาคดิน(adsorbed cation)ในบริเวณที่รากพืชผ่านไปสัมผัสเข้านั้น รากพืชก็สามารถดูดกินธาตุเหล่านั้นได้โดยตรง โดยไม่ต้องรอให้อยู่ในสภาพสารละลายก็ได้

การที่รากพืชสามารถดูดธาตุอาหารได้ ปกติจะต้องอาศัยแกสออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงานโดยระบบการหายใจของพืช ดังนั้น หากในดินมีอากาศไม่เพียงพอ เช่นในดินที่แน่นทึบหรือมีน้ำขัง รากพืชจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการดูดกินธาตุอาหารได้ตามปกติ นอกจากพืชบางชนิด เช่น ข้าว ซึ่งตามธรรมชาติจะมีเซลล์พิเศษอยู่ตามลำต้น ซึ่งสามารถดูดเอาอากาศจากข้างบนส่งลงไปช่วยในการหายใจของรากที่จมอยู่ใต้น้ำได้


การที่พืชจะได้รับธาตุอาหารจากดินนั้น มีขบวนการที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ขบวนการ คือ
1) ขบวนการแลกเปลี่ยนไอออน (Ion exchange)
ขบวนการนี้เกิดจากสารเปคติน(pectin)ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ของรากพืชนั้น มีความสามารถในการดูดจับไอออนต่างๆไว้ได้ทั้ง anion และ cation ดังนั้น เมื่อรากของพืชชอนไชผ่านไปใน soil solution ที่มี anion และ cation ละลายอยู่มาก ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนไอออนกันขึ้น โดย anion จาก soil solution จะเข้ามาแทนที่ anion ที่ถูกดูดจับไว้ที่รากพืช และการแทนที่ระหว่าง cation ก็จะเกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน ซึ่งทำให้รากพืชสามารถได้รับธาตุอาหารชนิดต่างๆได้

2) ขบวนการแลกเปลี่ยนสัมผัส (Contact exchange)
ขบวนการนี้มีลักษณะคล้ายกับขบวนการแลกเปลี่ยนไอออน แต่ต่างกันตรงที่ ขบวนการนี้เป็นขบวนการแลกเปลี่ยนไอออนกันระหว่างรากพืชและอนุภาคของดินที่สัมผัสอยู่กับรากของพืชโดยตรง ดังนั้น ไอออนต่างๆที่ถูกไล่ที่ออกมาจากรากพืช ก็จะเข้ามาเกาะยึดอยู่กับอนุภาคดินโดยตรง


เมื่อมีไอออนมาเกาะยึดอยู่กับรากพืชโดยขบวนการใดขบวนการหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว เรายังไม่ถือว่ารากดูดกินธาตุอาหารอย่างสมบูรณ์ เพราะไอออนดังกล่าวยังไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ต่อเมื่อไอออนเหล่านั้นผ่านเมมเบรนของเซลล์(cell membrane) เข้าไปแล้ว จึงจะถือว่าราพืชดูดกินธาตุอาหารอย่างแท้จริง
กลไกที่ anion หรือ cation ผ่านเมมเบรนเข้าสู่เซลล์ มี 2 อย่างด้วยกัน คือ

1) Passive transport เป็นกลไกที่ไม่ต้องอาศัยพลังงานจากขบวนการ metabolism แต่จะใช้พลังงานทางฟิสิกส์ คือ ถ้าศักย์เคมีไฟฟ้า(electrochemical potential)ของไอออนภายนอกเซลล์สูงกว่าภายในเซลล์ ไอออนจากภายนอกก็จะเคลื่อนผ่านเมมเบรนเข้าสู่เซลล์ได้เลย

2) Active transport เป็นกลไกที่ต้องใช้พลังงานจากขบวนการ metabolism เพื่อช่วยให้ไอออนจากภายนอกซึมผ่านเมมเบรนเข้าไปในเซลล์ของราก




http://e-learning.snru.ac.th/els/Sirichard/uptake.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2011 6:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,424. การสูญเสียธาตุอาหารไปจากดิน



ธาตุอาหารต่างๆในดิน มีโอกาสที่จะสูญหายไปจากดินโดยขบวนการที่สำคัญๆ 4 ขบวนการ คือ

1) สูญเสียไปกับผลผลิตของพืช (crop removal) ทั้งนี้เพราะในผลผลิตของพืช เช่น เมล็ด ผล ต้น หรือใบของพืชที่ถูกขนย้ายออกไปนอกพื้นที่เพาะปลูกนั้น จะมีธาตุอาหารพืชติดออกไปในรูปของสารประกอบต่างมากมาย

2) สูญเสียไปกับน้ำที่ไหลจากผิวดินลงสู่เบื้องล่าง (deep percolation)
การสูญเสียแบบนี้จะเกิดขึ้นได้มากในดินเนื้อหยาบที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ ซึ่งธาตุอาหารที่ถูกชะล้างลงไปนี้ จะอยู่ลึกเกินกว่าที่รากพืชจะดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้

3) สูญเสียโดยการชะล้างพังทลายของดิน (soil erosion)
เกิดจากการที่น้ำหรือลมเป็นตัวการในการชะล้างพัดพาให้ธาตุอาหารเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

4) สูญเสียโดยการระเหิด (volatilization)
เป็นการแปรสภาพของธาตุอาหารพืชในดินไปอยู่ในรูปแกสแล้วสูญเสียไปจากดิน เช่น แอมโมเนียมเปลี่ยนเป็นแกสแอมโมเนีย เป็นต้น




http://e-learning.snru.ac.th/els/Sirichard/loss.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2011 6:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,425. การเป็นพิษเนื่องจากพืชได้รับธาตุบางชนิดมากเกินไป



ถึงแม้ว่าพืชทุกชนิดจะมีความต้องการใช้ธาตุอาหารต่างๆอย่างครบถ้วนและอยู่ในปริมาณที่เพียงพอก็ตาม แต่การเพิ่มธาตุใดธาตุหนึ่งจนมีปริมาณมากเกินขอบเขต ก็อาจทำให้เกิดผลเสีย หรือเกิดเป็นพิษต่อพืชได้ เช่น

การใส่ปูนให้แก่ดินมากเกินไป ก็อาจทำให้ดินนั้น เกิดการขาดแคลนจุลธาตุได้ง่าย

การเพิ่มธาตุไนโตรเจนและโปแตสเซี่ยม ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเกลือที่ละลายน้ำง่าย (soluble salt) เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต และโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ให้แก่ดินมากเกินไป และใส่ใกล้กับเมล็ดหรือต้นกล้าอ่อน ก็อาจเกิดอันตรายกับพืชได้ง่าย

ธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยหลายธาตุ เช่น โบรอน ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบดินั่ม และสังกะสี หากใส่ให้แก่ดินมากเกินขนาด ก็จะเกิดเป็นพิษต่อพืชที่ปลูกโดยตรง เช่น ดินทรายที่ปลูกกล่ำดอกแห่งหนึ่ง อาจต้องการใส่บอแรกซ์เพียงอัตรา 800 กรัมต่อไร่ เพื่อให้ธาตุโบรอนแก่พืช ถ้าใส่ บอแรกซ์มากเกินไปเพียง 1,600 กรัมต่อไร่ ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อกล่ำดอกถึงตายได้

พืชแต่ละชนิดในดินแต่ละแห่ง ย่อมมีขอบเขตจำกัดในการที่จะได้รับธาตุอาหารแต่ละชนิดต่างกัน วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบปริมาณที่พอเหมาะเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากความเป็นพิษของธาตุอาหารต่างๆ ทำได้โดยการศึกษาทดลองสำหรับพืชชนิดต่างๆในดินแต่ละแห่ง



http://e-learning.snru.ac.th/els/Sirichard/Toxicity.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2011 6:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,426. หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ย


(๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้นหมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง

สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึงตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P(,2) O(,5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K(,2)O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน

(๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับ ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่wbr>wbr ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

(๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการจะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ

๓.๑ การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ

๓.๒ การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้

๓.๓ การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที


การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีหรือไม่อย่างไร
ปุ๋ยเคมีใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด เมื่อพิจารณาด้านการนำมาใช้ปรับปรุงดินเลวให้เป็นดินดีนั้น ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่างก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียว ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้
๒. อยู่ในดินได้นาน และค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ
๓. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
๒. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช
๓. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ
๒. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก
๓. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์

ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดิน กล่าวคือไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
๒. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน
๓. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ (ทำให้ขาดทุนได้)



ที่มา http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=36976&name=content3&area=3
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0acd30efb70db5eb


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/01/2012 12:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,427. ปลูกข้าวลอยน้ำ แนวคิดปรับตัวของเกษตรกรในช่วงน้ำท่วม




ถึงเวลาที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ความแปรปรวนของดินฟ้า อากาศ รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ แน่นอนเกษตรกรย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะไม่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เมื่อไม่มีที่เพาะปลูก สิ่งที่ตามมา คือรายได้ในการดำรงชีพก็ขาดหายไปด้วย

สิ่งที่ทำได้คือการที่เกษตรต้องปรับตัว และหาวิธีการเพื่อให้สามารถเพาะปลูกได้ และการปลูกข้าวลอยน้ำ เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ดำรงชีวิตอยู่กับน้ำ และสามารถทำการเกษตรและมีรายได้เลี้ยงชีพได้ แนวคิดในการปลูกข้าวลอยน้ำ เกิดขึ้นมาจาก นายสุพรรณ เมธสาร เกษตรกร แห่งบ้านสามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี

นายสุพรรณ เป็นเกษตรกรตัวอย่างอีกคนหนึ่ง เพราะเขาเป็นเกษตรกรที่ไม่หยุดนิ่งในการที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ส่งผลให้เขามีความรู้หลายด้าน ปัจจุบัน ยังเป็นวิทยากร อบรมแก่ผู้ที่สนใจเรื่องการปลูกไผ่ การขยายพันธุ์ รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่าย

ดังนั้น นายสุพรรณ จึงเป็นที่เชื่อถือของเหล่าเกษตรกรในอีกหลายด้าน และด้วยความที่เป็นเกษตรกรนักคิดนี่เอง ทำให้ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา นายสุพรรณมีแนวคิดที่จะนำข้าวไปปลูกบนน้ำ เนื่องจากเห็นว่า ในแม่น้ำลำคลองมักจะมีผักตบชวา ซึ่งผักตบชวาในแม่น้ำนั้นมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะในแม่น้ำมีธาตุอาหาร แพลงตอน ตลอดจนจุลินทรีย์ต่างๆที่เป็นอาหารของพืช จึงทดลองปลูกข้าวในน้ำ ผลผลิตที่ได้เป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว

นายสุพรรณ เล่าว่า ทดลองปลูกข้าวลอยน้ำ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลผลิตจริง และประหยัดต้นทุน วิธีการปลูกข้าวแบบลอยน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนเรื่องการเตรียมดิน น้ำมันเชื้อเพลิงและตัดปัญหาการดูแลเรื่องน้ำไปเลย จากการคำนวณพบว่า หากทำแพปลูกข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ ผลผลิตที่ได้รับ เฉลี่ย 70 ถัง /ไร่ ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จากการเผาและลดการใช้สารเคมีต่าง ๆ ทำให้ลดต้นทุนได้มากวัสดุอุปกรณ์ยังสามารถนำมาใช้ครั้งต่อไปได้

ทั้งนี้ นายสุพรรณยังได้เตรียมการขยายผล เรื่องการปลูกข้าวลอยน้ำ โดยจะใช้ผักตบชวาเป็นฐานซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการทดลองว่าจะได้ผลอย่างไร สำหรับ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการปลูกข้าวลอยน้ำ ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ฝากล่องโฟมเก่า ( กล่องโฟมใส่ผลไม้) กระถางพลาสติกสำหรับปลูก ดินเลนสำหรับปลูก เมล็ดพันธุ์ข้าว ลำไม้ไผ่สำหรับทำแพ เชือกฟาง

โดยวิธีการปลูกข้าวลอยน้ำ 1.นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปเพาะในแปลงเพาะ เหมือนกับการเตรียมกล้าพันธุ์สำหรับดำนาทั่วไป 2.นำลำไม้ไผ่มาทำเป็นกรอบ 4 เหลี่ยม เพื่อทำเป็นแพ ในพื้นที่ๆจะปลูกข้าวลอยน้ำ 3.นำฝากล่องผลไม้( ฝากล่องโฟม ) มาเจาะรูให้มีขนาดเท่ากระถางพลาสติก แต่ให้อุ้มตัวกระถางไว้ได้ 4.นำกระถางปลูกใส่ดินเลนให้เต็ม 5.เมื่อต้นกล้ามีอายุ 10 - 15 วันจึงแยกกล้ามาปลูกในกระถางที่เตรียมไว้ ประมาณ 4-5 กอต่อกระถาง 6.นำกระถางเพาะกล้าใส่ในฝากล่องโฟม แล้วจึงนำไปลอยน้ำ ในกรอบไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ 7.ใช้เชือกผูกกล่องโฟมกับแพไม้ไผ่ เพื่อป้องกันการพัดพาของน้ำ ไม่ให้ไหลไปที่อื่น

ด้านการดูแลและการใส่ปุ๋ย นายสุพรรณเน้นให้เกษตรกรที่ ทำแบบเกษตรอินทรีย์และอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบำรุงข้าว ช่วงที่ข้าวมีอายุ 30และ 55 วัน หลังการปลูก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1 กำมือ/กระถาง / ครั้ง หากมีแมลงศัตรูพืช ก็ใช้น้ำหมักสมุนไพรฉีดพ่น วิธีนี้เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาดูแลเรื่องน้ำเลย เพราะข้าวจะได้รับน้ำตลอดในช่วง ระยะเวลาการปลูก



ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9540000153936


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/01/2012 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,428. สารพิษ "คู่" สังคมไทย


ลุงบุญสม มาดขาว ชาวไร่ยโสธร ปลูกไร่อ้อย แปลงผัก ทั้งกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาวและแตงกวา มานานกว่า 20 ปี ทุกครั้งที่เตรียมเพาะปลูกพืชเหล่านี้ จะซื้อยาฆ่าแมลงคาร์โบฟูราน.และเมโทมิล.ติดมือมาด้วย

"คาร์โบฟูราน" เป็นยาเม็ดสีม่วงหยดใส่หลุมผักแตงกวา กะหล่ำปลี หรือหว่านในไร่อ้อย ป้องกันแมลงและตัวหนอนเจาะต้นกล้า

ส่วนเมโทมิลเอาไปผสมน้ำแล้วพ่นฆ่าแมลง ตัวหนอน

ตลอดช่วงที่ใช้ยาฆ่าแมลงมาเป็นเวลา 10 ปี ลุงบุญสมรู้สึกมึนงง ปวดหัว ตาลาย และเป็นไข้บ่อย ไปหมอก็ไม่หาย ขณะที่ภรรยา ป่วยกระเสาะกระแสะตลอดและมารู้อีกทีว่าเป็นเนื้องอกในมดลูก

ลุงบุญสมตัดใจเลิกใช้สารเคมี หันมาทำไร่ด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ กำจัดแมลงด้วยวิธีธรรมชาติ หลังจากนั้น อาการเจ็บป่วยหายไปร่างกายแข็งแรงขึ้น

ทุกวันนี้ลุงบุญสมเป็นแกนนำชักชวนให้เพื่อนเกษตรกรหยุดใช้สารเคมีในการเพาะปลูกพืชพร้อมกับชี้ให้เห็นว่ามันเป็นอันตรายทั้งตัวเกษตรกรเองและผู้บริโภค

กรณีลุงบุญสม เป็นหนึ่งในเหยื่อ "สารพิษ" กำจัดศัตรูพืชที่มีขายเกลื่อนทั่วเมืองไทย ซึ่งรัฐบาลในอดีตที่ผ่านมาพากันอนุมัติให้พ่อค้านำเข้ามาขายและการันตีให้เกษตรกรใช้กันอย่างแพร่หลาย

รัฐบาลมองแค่มุมเดียวว่า การแนะนำให้เกษตรกรใช้สารพิษเหล่านี้ หวังเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดความเสียหายเนื่องจากแมลงตัวหนอนทำลายพืชไร่

แต่ในมุมที่เป็นผลลบ อันได้แก่พิษที่ซึมเข้าสู่ร่างกายเกษตรกร ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากพิษตกค้างสะสมในดินน้ำ และพิษที่ปนเปื้อนในพืชผลเกษตร รัฐบาลกลับไม่เคยให้ความสำคัญหรือเหลียวแลเอาใจใส่ใดๆ เลย

เฉพาะคาร์โบฟูรานนั้นนำเข้ามาขายนานแล้ว เกษตรกรถือเป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ว่าจะมีพิษอันตรายร้ายแรง เหมือนเช่น "ลุงบุญสม"

ผู้เชี่ยวชาญด้านสารพิษวิทยา วิจัยค้นคว้าถึงผลกระทบของ "คาร์โบฟูราน" รวมถึงสารอื่นๆ ที่ใช้ในวงการเกษตรกันมากๆ คือ เมโทมิล อีพีเอ็นและไดโครโตฟอส พบว่า มีพิษร้ายแรงมากและเรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกหยุดนำเข้าสารชนิดนี้พร้อมกับให้เกษตรกรเลิกนำไปใช้ในแปลงข้าวผักผลไม้

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีทางเกษตร ประกอบด้วยนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ร่วมกันศึกษาพบผลกระทบของสารเคมีทั้ง 4 ชนิดที่มีต่อชนิดและปริมาณแมลง หรือที่เรียกว่ากันความหลากหลายทางชีวภาพในแปลงคะน้า เป็นผักที่เกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลงอย่างเข้มข้น

ในธรรมชาติของแปลงคะน้า จะเห็นตัวหนอนแตนเบียนชอนไชกินของเหลวจากตัวหนอนกระทู้ผักหรือหนอนใยผัก รวมทั้งตัวห้ำซึ่งเป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ที่คอยควบคุมแมลงศัตรูของผักคะน้า

อันเป็นปรากฏการณ์ระบบนิเวศที่สมดุล

แต่ถ้าใช้สารเคมีทั้ง 4 ชนิด คาร์โบฟูราน เมโทมิล อีพีเอ็น และไดโครโตฟอส เพื่อฆ่าแมลงศัตรู จำนวนแมลงที่เป็นศัตรูคะน้าลดลง แต่จำนวนตัวห้ำและตัวเบียนลดลงด้วย

หมายถึงว่า จำนวนแมลงศัตรูคะน้าและตัวห้ำตัวเบียนไม่สมดุลกัน เมื่อมีแมลงศัตรูเข้ามาในแปลงมากขึ้นก็จะไม่มีตัวห้ำและตัวเบียนคอยควบคุม

ผลที่ตามมาแมลงศัตรูจะเกิดการระบาดหนักและทำลายผักคะน้าจนเกิดความเสียหายอย่างมากเนื่องจากจำนวนตัวห้ำและตัวเบียนในรุ่นลูกรุ่นหลาน มีจำนวนน้อยลง และความสามารถในการแพร่พันธุ์มีน้อยกว่าแมลงศัตรูผักคะน้า

คาร์โบฟูราน ยังมีผลกระทบต่อสัตว์ป่าโดยตรง เพราะลักษณะเป็นเม็ดเหมือนเมล็ดพืช บรรดานกจะเก็บกิน

คาร์โบฟูรานหนึ่งเม็ดสามารถฆ่านกได้ เมื่อนกตาย สัตว์อื่นๆ ที่มากินซากนกจะได้รับพิษต่อ

นั่นเป็นผลกระทบทางระบบนิเวศ ทำให้วงจรธรรมชาติสะดุดเพราะสารพิษ

ในทางการแพทย์ ตรวจพบว่าเกษตรกรสัมผัสสารพิษคาร์โบฟูราน มีอาการวิงเวียน เหงื่อแตก อาเจียน ปวดหัว แสบตา กล้ามเนื้อเกร็ง เซลล์ตับแบ่งตัวผิดปกติ กระตุ้นให้เกิดเนื้องอก กลายพันธุ์ อสุจิตาย ทำลายเอนไซม์เยื่อหุ้มสมอง

ในการวิจัยที่ อ.ไชยปราการ และ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่ปลูกพืชผักผลไม้กันมากพบคาร์โบฟูรานตกค้างสูงสุดระหว่าง 0.018-0.269 ไมโครกรัมต่อลิตร

ที่สหรัฐอเมริกา ในปี 2548 พบว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทำให้เกิดมะเร็งโรคปอด และความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3 เท่า เมื่อเกษตรกรสัมผัสคาร์โบฟูรานมากกว่า 109 ครั้ง ต่อมาในปี 2552 สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา ประกาศเลิกขึ้นทะเบียนและห้ามใช้คาร์โบฟูรานในพืชทุกชนิด เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปห้ามนำเข้าพืชผักจากประเทศที่ใช้สารพิษดังกล่าว

ขณะที่รัฐบาลไทยเปิดทางนำเข้าสารเคมีเหล่านี้อย่างเสรี มิหนำซ้ำหน่วยงานของรัฐบาลบางแห่งยังแนะนำให้ใช้สารพิษทั้งที่คนแนะนำรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นอันตรายทั้งชีวิตผู้คน สิ่งแวดล้อม

คนพวกนี้ใจดำอำมหิตจริงๆ



http://www.food-resources.org/news/16/09/11/12982


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/01/2012 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,429. ปั้นเกษตรกรต้นแบบ ลดใช้สารเคมี


สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ "ยาฆ่าแมลง" แทบทุกชนิดนั้นเป็นพิษต่อสุขภาพร่างกาย แต่ยังพบว่าในหลายๆ ประเทศที่อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่มาก ทั้งเพื่อการกำจัดศัตรูพืชและเร่งผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรบางรายมีการนำสารเหล่านี้ไปใช้ในปริมาณที่เกินความจำเป็น และขาดความระมัดระวังเป็นเหตุให้เกิดการตกค้างของสารเคมีในผลผลิตทางการเกษตรอย่างผัก และผลไม้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคและต่อตัวเกษตรกรเอง

"รายงานทางสถิติพบว่าประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีฯ ในปี 2552 ปริมาณเฉลี่ย 118,152 ตัน คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยเกือบสองหมื่นล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับการนำเข้าในปี 2545 ปริมาณเฉลี่ยเพียง 39,634 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่างกันถึง 78,518 ตัน" ข้อมูลนี้ยืนยันให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น

ที่ผ่านมายังคงพบว่ามีประชาชนที่เจ็บป่วยเพราะได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวของเกษตรกรผู้ผลิตที่มักจะใกล้ชิดและสัมผัสกับสารเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็อาจได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่ตกค้างในพืช ผัก ผลไม้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ปรากฏความผิดปกติให้เห็นเด่นชัดนัก แต่อันตรายที่มีจะเกิดขึ้นช้าๆ และหากมีการสะสมของสารตกค้างในร่างกายปริมาณที่มากขึ้นจะยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้นตามไปด้วย

ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุขกล่าวว่า ทุกวันนี้ยังคงพบว่ามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมาก โดยสารเคมีที่ชาวสวนใช้กันมาก ได้แก่ กลุ่มสารออร์กาโนฟอสเฟต ใช้ในการกำจัดแมลง ส่วนชาวไร่ใช้สารกลุ่มพาราควอต กำจัดวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมี เช่น ขณะที่ฉีดพ่นไม่ได้ใช้เครื่องป้องกันเช่นแว่นตาป้องกันละอองสารเคมี บ้างก็ไม่ได้ใส่ถุงมือ และไม่ใช้ที่ปิดจมูก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงที่สารเคมีจะเข้าสู่ร่างกาย

ดร.พรรณสิริกล่าวอีกว่า หน่วยงานหลักที่คอยดูแลปกป้องสุขภาพของประชาชนอย่าง กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น และมีการดำเนินงานรณรงค์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้เกษตรกรรวมถึงผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายและความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง ในปี 2554 นี้ ได้ดำเนินโครงการ "เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส" โดยตัวโครงการจะมุ่งรณรงค์ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกร ให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตร พร้อมตั้งเป้าให้บริการตรวจเลือดเกษตรกร 840,000 คนทั่วประเทศ และเตรียมผลักดันให้การตรวจเลือดหาสารตกค้างในเลือดเกษตรกรบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย

ทางด้านความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคนั้น น.พ.สถาพร วงษ์เจริญ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า พันธหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ต้องดูแลก็คือ กระจายองค์ความรู้ให้เกษตรกรและผู้บริโภคให้มีความตระหนักและเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่สะสมอยู่ในผัก ผลไม้ ว่ามีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

"ที่สำคัญยังมีนวัตกรรมที่จะเข้าไปช่วยในการตรวจสอบเฝ้าระวังหาปริมาณการปนเปื้อนหรือการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างชุดทดสอบคัดกรองและตรวจหาชนิดสารกำจัดแมลง 4 กลุ่ม ได้แก่ ออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต ออร์กาโนคลอรีน และไพเรทรอยด์ ในผัก ผลไม้และธัญพืช โดยเป็นชุดทดสอบที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ มีราคาถูก ใช้งานง่าย ตรวจได้ด้วยตนเอง ให้ผลรวดเร็วภายใน 30 นาที และมีความถูกต้องแม่นยำโดยจะมีเจ้าหน้าที่และพนักงานจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ เป็นผู้แนะนำการใช้เครื่องมือนี้ ให้แก่ อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของแต่ละจังหวัด เพื่อจะได้นำไปใช้ในการลงพื้นที่ตรวจสอบเฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับประชาชนและเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตน" น.พ.สถาพร กล่าว

ด้าน ลุงเสส ใจดี เกษตรกรต้นแบบฟาร์มตัวอย่างที่มีระบบผลิต GAP (Good Agricultural Practice) ที่เป็นระบบรับรอง "คุณภาพและความปลอดภัย" ของผลผลิต ผู้บริโภค ผู้ผลิต และสิ่งแวดล้อมจากสารพิษที่ใช้ในขั้นตอนการผลิต จากโครงการความปลอดภัยด้านอาหาร (food safety) ด้านพืช ชนิดพืชทุเรียน ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้พอมองเห็นภาพของความพยายามที่เกิดขึ้นในโครงการฯ ลุงเสส เล่าว่า ตนมีอาชีพปลูกทุเรียนอยู่ที่ ต.กองดิน อ.แกลง จ.ระยอง ในพื้นที่จำนวน 57 ไร่ แต่ก่อนก็มีการนำสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาใช้โดยตลอด ผลกำไรที่ได้จึงไม่ค่อยเหลือเพราะต้องเอาไปลงทุนไปกับค่าสารเคมี แถมสุขภาพร่างกายก็รู้สึกไม่ค่อยจะดีเพราะได้รับสารเคมีเป็นจำนวนมาก ตอนที่หน่วยงานของสาธารณสุขเข้ามาตรวจสุขภาพก็มักจะพบสารเคมีในร่างกาย และที่เกษตรอำเภอกับเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เข้ามาตรวจสอบสารตกค้างในทุเรียนและคุณภาพดิน ก็พบว่าทั้งในผลผลิตและในดินมีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วย

ลุงเสสเล่าต่อว่าทั้งเกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด และเจ้าหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เสนอแนวทางและให้ความรู้ในการทำเกษตรให้ปลอดสารเคมีเพื่อที่จะได้เข้ามาตรฐาน GAP โดยลดการใช้สารเคมีลงเรื่อยๆ แล้วหันมาใช้จุลินทรีย์ชีวภาพแทน เพื่อให้แน่ใจก็ส่งตัวอย่างผลผลิตให้กับ อสม. หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารตกค้างอีกที ปัจจุบันคุณภาพดินของที่นี่ดีขึ้นร่วนซุยเหมาะแก่การเพาะปลูกมากกว่าแต่ก่อน ยิ่งก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1-2 เดือน จะไม่มีการใช้สารเคมีเลย เพราะเป็นช่วงที่มีสารเคมีตกค้างอยู่ในผลผลิตมาก ผู้บริโภคที่ซื้อไปรับประทานก็จะไม่ปลอดภัย ตอนนี้สุขภาพร่างกายก็ดีขึ้นเยอะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาตรวจก็ไม่ปรากฏว่ามีสารเคมีในเลือดและในร่างกายเหมือนเมื่อก่อน

อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นและอาจจะยังคงอยู่รอบๆ ตัวเราตลอดเวลา ขั้นตอนและวิธีการจัดการตั้งแต่การเพาะปลูกจนออกมาเป็นผลผลิต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบความปลอดภัยต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค



http://www.ryt9.com/s/bmnd/1119269


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/01/2012 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,430. ชี้เกษตรกรทั่ว ปท. มีภัยสารเคมีปีละ 4 แสน


ไทยโพสต์ * ชี้เกษตรกรไทยทั่วประเทศป่วยด้วยโรคร้ายทั้งมะเร็ง เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ จากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงปีละ 4 แสน จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาด่วน

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี (Bio Thai) เปิดเผยถึงสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรไทยทั่วประเทศและการควบคุมสารกำจัดศัตรูพืชว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมากที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้สารเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาทิ โรคมะเร็ง เบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อ ซึ่งจากฐานข้อมูลผู้ป่วยจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติพบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจากสารเคมีดังกล่าวประมาณ 8,546 ราย และมีการประมาณการว่าในความเป็นจริงตัวเลขผู้ป่วยจากสารเคมีอาจสูง 2-4 แสนรายต่อปี

ทั้งนี้ สอดคล้องกับผลสำรวจเกษตรกร 6 จังหวัด จำนวน 606 ราย ในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมี พบว่าเกษตรกรทั้งหมด 100% เคยมีอาการเนื่องมาจากได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดย 15% ใช้สารเคมีระดับพิษร้ายแรงมาก 39% ระดับร้ายแรง และ 14% ใช้สารเคมีที่เคยถูกห้ามนำเข้า ผลิต ส่งออก

"ปัจจุบันเกษตรกรใช้ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก เพราะได้ผลผลิตเร็ว ปริ มาณมาก การขายสารเคมีก็มีการจูงใจถึงผลดีต่างๆ ทำให้เกษตรกรไม่ปรับเปลี่ยนการผลิต พิษภัยจึงตกอยู่กับผู้บริโภค สอดคล้องกับอัตราการป่วยของคนไทยในปัจจุบันที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งแซงหน้าโรคอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอาหารสูงถึง 60%


นายวิฑูรย์กล่าวว่า รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาโดยส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยและสารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย โดยอาจให้หน่วยงานหลักผลิตจำหน่ายให้เกษตรกรแทนการใช้สารเคมี เพราะขณะนี้ไทยสูญเงินจากการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปีละ 137,594,393 กก. คิดเป็นมูลค่าประมาณ 16,815,769,077 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ 6 แห่งที่ไม่ต้องเสียภาษี.



http://www.ryt9.com/s/tpd/1118965


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/01/2012 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,431. พันธุ์ข้าวปลอมปน วิบากกรรมของชาวนาไทย เสียทั้งเงินและเวลา


ข้าวนับเป็นอาหารหลักในการดำเนินชีวิตการกินอยู่ รวมถึงเป็นส่วนผสมของอาหารชนิดอื่น อีกมากมาย ของคนไทยและคนทั่วโลก

อีกทั้งรวมถึงเป็นอาชีพหลักของคนไทย นับมาครั้นสมัยก่อน ของบรรพบุรุษไทย การปลูกข้าวต้องอาศัยระยะเวลา รวมถึงขั้นตอนการปลูก เคล็ดลับ ความสามารถระยะเวลาการบำรุงรักษา การพ่นยาฆ่าแมลง รวมไปถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการขายข้าว

ปัญหาของชาวนาในช่วงปัจจุบัน ล้วนมีอุปสรรคปัญหาอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของแมลงศัตรูพืชของข้าวหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคปั่วต้นหอม พร้อมทั้งสถานการณ์ภัยแล้ง ที่ส่งผลกระทบต่อการทำนาข้าวของเกษตรกรชาวนาไทย นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเหตุแรกเริ่มของการทำนาข้าว คือ การนำพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้คุณภาพมาทำการเพาะปลูกจนชาวนาต้องเสียเวลาเกือบ 3 เดือน ถึงรู้ว่าเป็น พันธุ์ข้าวปลอม ไม้ได้คุณภาพ จนต้องศูนย์ทั้งเงินลงทุน และ ระยะเวลาการเพาะปลูก

นายสุทัศน์ บุญผ่อง อายุ 48 ปี ชาวนาบ้านเนินยุ้ง ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร เกษตรกรชาวนาที่ต้องหมดความหวังจากการที่เฝ้ารอเมล็ดเงินจากเมล็ดข้าวที่ได้ทำการเพาะปลูกจากน้ำพักน้ำแรง ขงตนเอง แคนภายในครอบครัวที่ต่างเฝ้ารอเงินที่จะต้องได้รับผลตอบแทน จกต้นข้าวในพื้นนาที่ให้ผลผลิตที่น่าจะดี แต่แล้วผลการตอบแทนกลับพบว่าเป็นพันธุ์ข้าวปลอมที่ให้ผลผลิตไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น

นายสุทัศน์ เล่าว่า ตนเองเพิ่งเริ่มทำนาเป็นครั้งแรกของชีวิต จากเดิมที่มีอาชีพรับจ้างจึงได้เช่าที่นาของญาติเพื่อลงทุนปลูกข้าวจำนวน 27 ไร่ หมดเงินลงทุนที่ไปกู้ยืมเขามาไปเกือบ 100,000 บาท แต่ เมื่อข้าวเริ่มออกรวงกลับกลายเป็นข้าวอีกพันธุ์ที่มีอายุสั้น 90 วัน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการประกันราคาข้าวได้ เนื่องจากข้าวมีอายุไม่ถึง 90 วันตามที่รัฐบาลกำหนด และอยากฝากถึงพ่อค้าที่ไม่ควรมาหลอกลวงชาวนาเช่นนี้ ผมเองไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในชาวนาอีกหลายรายที่ต้องประสบปัญหาเช่นนี้

"ชาวนาสมัยนี้ทำนาข้าว เปรียบเสมือนการเล่นการพนัน กับธรรมชาติและแมลงศัตรูพืช หากปีไหนน้ำอุดมสมบูรณ์ แมลงไม่กวน ก็เหมือนการแทงพนันถูก หากครั้งไหน จอปัญหาครบทุกอย่าง ก็ต้องเสียจากการลงทุน" นายสุทัสน์ เล่าอย่าท้อใจ

หลังจาก นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย นางวิไล ปาละวิสุทธิ์ นักวิชาการชำนาญการ เจ้าหน้าที่ตาม พรบ.พันธ์ข้าว หรือที่รู้จักกันในนาม "สารวัตรพันธ์ข้าว" ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้าน ต.รังนก ว่า มีชาวบ้านซื้อพันธ์ข้าวปทุมธานีซีอีโอ ซึ่งเป็นข้าวพันธ์หนักต้านทานโรคได้ดีอายุเกิน 105 วัน บรรจุถุงขนาด 50 กิโลกรัม จากร้านค้าในตลาดเทศบาลตำบลสามง่าม ซึ่งเมื่อนำไปหว่านในแปลงนา ผ่านไป 3 เดือน ปรากฏว่า ข้าวที่งอกออกมากลายเป็นข้าวพันธ์เบา อายุไม่ถึง 90 วัน ซึ่งเป็นพันธ์ข้าวที่รัฐบาลไม่รับประกันราคา และให้ผลผลิตที่เมล็ดลับ ทำให้ชาวนาขาดทุนจำนวนมาก เนื่องจากได้ลงทุนค่าไถนา ค่าพันธ์ข้าว ค่าปุ๋ย ค่ายา ไปแล้ว จำนวนมาก

นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า หลังจากที่ทราบว่ามีการระบาดของพันธ์ข้าวปลอม ซึ่งจังหวัดก็ต้องมีหน้าที่ในการ กำจัด พันธ์ข้าวปลอม ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดให้หมดไป ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดก็มีการเชิญผู้ประกอบการทั้งในจังหวัด พิจิตร และจังหวัดใกล้เคียง มาพูดคุยกัน และขอร้องการกระทำเช่นนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังมีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งคงต้องมีการสืบสวนสอบสวนว่าพันธ์ข้าวดังกล่าวนี้ผลิตมาจากที่ใด เนื่องจากไม่มีการระบุสถานที่ผลิตไว้ที่ถุงบรรจุข้าว

ด้านนาง วิไล ปาละวิสุทธิ์ นักวิชาการชำนาญการ ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพิษณุโลก กล่าวว่า ใน ขณะนี้ปัญหาพันธ์ข้าวปลอมปน ระบาดมาก ซึ่งหากเกษตรกร ซื้อพันธุ์ข้าวไปปลูก ก็จะใช้เวลานานถึง 3 เดือน จึงจะรู้ว่าเป็นพันธ์ข้าวปลอม ทำให้เสียงเงิน ในการลงทุน และเสียโอกาส ในการปลุกข้าวไปถึง 1 ฤดูกาล ซึ่งในขณะนี้พันธุ์ข้าวปลอม พบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรง นับตั้งแต่มีการเก็บตัวอย่าง ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา และระบาดอย่างรุนแรงในเขต จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และอีกหลายจังหวัด

แม้ชาวนาไทยยังต้องทำนา เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของครอบครัว เนื่องจากเป็นอาชีพหลักของคนไทย ก็แม้ว่ายังต้องคงเจอปัญหาและอุปสรรคต่างต่างนานา ซึ่งผลจากการเจอพันธุ์ข้าวปลอม ชาวนาก็จำเป็นต้องยึดอาชีพนี้ต่อไป เพื่อเป็นอาหารของคนในชาติและทั่วโลกต่อไป

อุทัย กลัดแก้ว


http://www.ryt9.com/s/nnd/1112356


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/01/2012 9:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,432. รณรงค์ใช้รางจืด ขับสารพิษยาฆ่าแมลง


โรงแรมมิราเคิล * นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) บรรยายพิเศษเรื่อง "การขับเคลื่อนโครงการเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส" ในการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แก่ผู้บริหาร สธ.ทั่วประเทศ จำนวน 320 คน

นางพรรณสิริกล่าวว่า เกษตรกรเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และได้รับการสะสมสารเคมีตกค้างมากที่สุด เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 14 ล้านคน สธ.จึงได้บูรณาการ 4 กรม ได้แก่ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสุขภาพจิต และกรมพัฒนา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมจัดทำโครง การ "เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส" ขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม พรรษา 84 พรรษา

ในโครงการนี้จะมีการนำสมุนไพรรางจืดมาใช้ในการดูแลรักษาเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งมีพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยมีผลต่อระบบประสาท ทำให้คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย มึนงง ชักหมดสติ อาจเสียชีวิตได้ โดยชงรางจืดดื่มวันละ 6 กรัม ประมาณ 4-5 แก้วต่อวัน เพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย เพราะมีการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการหลายสถาบันเกี่ยวกับสมุนไพรรางจืดพบว่า สามารถรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตได้ผลดี และจากสารพิษของแมงดาทะเล ซึ่งพบว่าสามารถช่วยถอนพิษผู้ป่วยระยะวิกฤติระดับ 4 จำนวน 2 ราย ในขณะที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและรูม่านตาไม่ตอบสนองให้กลับฟื้นเป็นปกติได้หลังได้รับสารสกัดสมุนไพรรางจืดในรูปของน้ำจากใบรางจืด เป็นเวลา 40 นาที ตามตำรายาไทย นำใบสดรางจืดที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป 10-12 ใบ โขลกให้แหลกผสมน้ำเปล่าหรือน้ำซาวข้าวคั้นน้ำดื่ม

หรือทำเป็นชาใบรางจืดโดยนำมาหั่นฝอยตากแดดให้แห้งชงน้ำร้อนดื่มแทนน้ำวันละ 4-5 แก้ว สามารถใช้แก้ไข้ ถอน พิษยาฆ่าแมลง และยังช่วยจับสารพิษในตับหรือล้างพิษในตับด้วย.


http://www.ryt9.com/s/tpd/1042004


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/01/2012 7:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,433. แมลงศัตรูข้าวในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของต้นข้าว

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว..................................ศัตรูข้าวที่พบเห็น

1. ต้นกล้า: ............................แมลงวันเจาะยอดข้าว เพลี้ยไฟ หนอนกินใบ หนอนกอ เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

2. แตกกอ: ............................เพลี้ยไฟ หนอนกินใบ หนอนกอ เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ศัตรูข้าวชนิดรอง: .....................เพลี้ยอ่อน หนอนปลวก เพลี้ยแป้ง ตั๊กแตน



ระยะสืบพันธุ์
3. ย่างปล้อง:......................... หนอนกินใบ หนอนกอ เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

4. สร้างรวงอ่อนถึงแทงช่อดอก: ..... หนอนกอ เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

5. ออกรวง: ..........................เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

6. ดอกบาน: .........................เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยไฟ


ศัตรูข้าวชนิดรอง: .................... หนอนผีเสื้อ



ระยะสร้างเมล็ด
7. เมล็ดน้ำนม: ........................เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มวน
8. ระยะเมล็ดเริ่มแข็งตัว:...............
9. ระยะสุกแก่ : .......................

ศัตรูข้าวชนิดรอง: ......................ไรทำลายช่อดอก




http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/Technology%20Changes_Rice/09.%20insect%20mang.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/01/2012 7:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,434. อาการที่ต้นข้าวถูกทำลาย


ต้นข้าวขึ้นเป็นหย่อม ๆ ไม่สม่ำเสมอ ..........จิ้งหรีด แมลงวันหนอนเจาะยอดข้าว

ใบถูกทำลาย : ใบไหม้และใบอ่อนบิดเป็นเกลียว ......แมลงวันเจาะยอดข้าว เพลี้ยไฟ

ใบถูกทำลาย :ใบแห้งและยืนต้นตาย ..........เพลี้ยกระโดด

ใบถูกทำลาย : ใบถูกกัดกิน ...................หนอนกินใบ

ยอดเหี่ยว .......................................หนอนกอ แมลงวันหนอนเจาะยอดกล้าข้าว

รอยไหม้เป็นวงที่ต้นข้าว (ฮอพเพอร์ เบิร์น)..... เพลี้ยกระโดด

ทุนโกร - ต้นข้าวแคระแกรน ....................เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว

รวงลีบ ข้าวหัวหงอก ..............................หนอนกอ

เมล็ดถูกทำลาย มวนข้าว ........................เพลี้ยไฟ



http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/Technology%20Changes_Rice/09.%20insect%20mang.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/01/2012 11:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,435. สุนทร สีหะเนิน ผู้สร้างตำนาน "ข้าวขาวดอกมะลิ 105"



"ข้าวหอมมะลิ" เป็นชื่อ ที่คนทั่วไปเรียกขานจนติดปาก แต่ชื่อที่เป็นทางการคือ "ข้าวขาวดอกมะลิ 105" เป็นข้าวสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของข้าว เป็นข้าวคุณภาพสูง หลังการหุงต้มจะมีกลี่นหอม ข้าวคงรูป เหนียวนุ่ม น่ารับประทาน ข้าวหอมมะลิเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีการส่งออกไปยัง 120 ประเทศทั่วโลก เฉพาะข้าวหอมมะลมีปริมาณส่งออกกว่าล้านตันต่อปี นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้าน และมีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ชื่อ "ข้าวขาวดอกมะลิ 105" นั้นคุณสุนทร สีหะเนิน เป็นผู้สร้างตำนานชื่อนี้ เรามาดูเรื่องราวมีความเป็นมาอย่างไร


มีประวัติการค้นพบข้าวหอมมะลิครังแรกในปี 2488 ที่นาเกษตรของนายจรูญ ตันฑวุฒ อยู่ในท้องที่ตำบลแหลมประดู่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ต่อมาได้นำไปปลูกที่ต.ท่าทองหลาง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ปรากฎว่าได้ผลผลิตดีและเป็นที่นิยม ณ ที่ต.ท่าทองหลางแห่งนี้คือต้นกำเหนิดของ"ข้าวขาวดอกมะลิ 105" อันลือชื่อและนำไปสู่ความยิ่งใหญ่ของความเป็นข้าวที่ทุกคนในโลกต้องการ ตำนานเริ่มมาจากอดีตข้าราชการคนหนึ่งชื่อ "สุนทร สีหะเนิน" พนักงานข้าวของอ.บางคล้าในขณะนั้น

คุณสุนทร สีหะเนิน ปัจจุบัน(2552) อายุ 87 ปี เกิดในครอบครัวชาวนา อ.กันตัง จ.ตรัง เรียนจบชั้น ม.6 ในตัวจังหวัด จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนแม่โจ้ หรือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน สมัยนั้นโรงเรียนแม่โจ้เป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าเรียนเป็นรุ่นที่ 7 ในพ.ศ.2483 รุ่นเดียวกับ ศ.ระพี สาคริก

สำเร็จการศึกษาในปี 2485 จึงกลับไปอยู่ที่บ้าน จ.ตรัง เพราะอยู่ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ระหว่างนั้นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งจดหมายให้มาเข้าเรียน เพราะได้รับโควตาจากโรงเรียนแม่โจ้ เพราะเรียนดี แต่สมัยนั้นบ้านยากจน จึงไม่มีเงินที่จะส่งให้เรียนได้

ต่อมาในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน กรมเกษตรส่งจดหมายแจ้งว่า กำลังรับสมัครผู้ที่จบจากโรงเรียนแม่โจ้เพื่อบรรจุเป็นพนักงานส่งเสริมการเกษตร จึงสมัครสอบเข้าเป็นพนักงานข้าว กรมเกษตร

วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2486 กรมเกษตรบรรจุให้เป็นพนักงานข้าว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้เงินเดือน 34 บาท แต่เพราะเป็นคนปักษ์ใต้ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวของภาคกลาง จึงขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม ไปได้หนังสือเล่มหนึ่งเขียนโดย ม.ล.ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา หัวหน้าสถานีทดลองรังสิต ชื่อ "มารยาแม่โพสพ" เป็นหนังสือเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ แต่เน้นในเขตภาคกลาง จนมีความรู้พอทำงานได้

ข้าวหอมมะลิในสมัยนั้นเป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมาก แต่มีปลูกเป็นจำนวนน้อย เฉพาะในพื้นที่ ต.ท่าทองหลาง คุณสุนทรได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับ "ขุนทิพย์" กำนันตำบลท่าทองหลาง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวหอมมะลิที่สุดในยุคนั้น ขุนทิพย์ให้ความรู้ว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวพื้นบ้านของ ต.ท่าทองหลาง เป็นที่นิยมของคหบดีที่มีชื่อเสียงจากเมืองหลวง หากมา อ.บางคล้า จะต้องมาซื้อข้าวหอมมะลิท่าทองหลาง ด้วยเป็นข้าวนาปีปลูกได้ครั้งเดียวต่อปี และเป็นข้าวเบา ต้องปลูกในที่นาดอนที่เป็นดินร่วนปนทรายเท่านั้น ซึ่งใน อ.บางคล้า มีเพียง ต.ท่าทองหลาง เท่านั้นที่เหมาะสมสำหรับปลูก จึงเป็นเหตุให้แม้จะได้รับความนิยมและราคาสูง แต่ไม่สามารถปลูกได้อย่างแพร่หลายออกไป หลายครั้งที่มีผู้พยายามนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิท่าทองหลางออกไปปลูกนอกพื้นที่ แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ

ต่อมาในสมัยสงครามเย็น อเมริกผู้นำโลกเสรีที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ต้องการใช้ไทยเป็นเกราะกำบังในการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย จึงมีโครงการให้ความช่วยเหลือในด้านการทหารและเศรษฐกิจ เมื่อพ.ศ.2493 โครงการด้านเศรษฐกิจนั้น มองว่า เศรษฐกิจไทยเดินได้ด้วยชาวนาซึ่งปลูกข้าวเป็นหลัก จึงเข้ามาช่วยชาวนาไทยด้วยการพัฒนา และคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดให้เพาะปลูก จึงตั้งโครงการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อปลูกคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์และประเมินผลผลิต ดำเนินโครงการในช่วงปี 2493-2510

สหรัฐส่งผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์พืชมาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ฝึกอบรมนักวิชาการไทย จำนวน 30 คน จาก 36 จังหวัด โดยคุณสุนทรเป็นหนึ่งที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนั้น หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมรับมอบหมายให้วางแผนเก็บพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดตามทฤษฎีที่เรียนมา ในเขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ได้ทั้งหมดจำนวน 25 สายพันธุ์ โดยไม่มีข้าวหอมมะลิอยู่ในจำนวนนั้นด้วย

แต่ระหว่างที่เฝ้าติดตามดูการเจริญเติบโตของข้าวทั้ง 25 สายพันธุ์ คุณสุนทรต้องเดินผ่านพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทุกวัน สังเกตว่าข้าวหอมมะลิปลูกหลังพันธุ์อื่นแต่เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าจนเก็บเกี่ยวได้ก่อน ประกอบกับเห็นว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงของ อ.บางคล้า จึงเสนอเรื่องไปยังกรมเกษตร เพื่อเพิ่มข้าวหอมมะลิเป็นสายพันธุ์ที่ 26 ในการทดลอง

เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจึงเข้าไปคัดรวงข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุด จำนวน 200 รวง เป็นตัวอย่างส่งไปให้กรมเกษตรพร้อมกับ 25 สายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ก่อนหน้า โดยตัวอย่างข้าวหอมมะลิดังกล่าวถูกนำไปทดลองปลูกที่สถานีทดลองโคกสำโรง จ.ลพบุรี โดยใช้ข้าวนางมณ เป็นข้าวหอมเช่นกัน แต่เป็นพันธุ์พื้นเมืองของรังสิต เป็นต้นแบบในการเทียบเคียง

การทดลองปลูกจะนำเมล็ดข้าวของแต่ละรวงมาปลูกเรียงกันเป็นแถวในกระบะทีละเม็ด จนครบทั้ง 200 รวง และทำรหัสหมายเลขประจำรวงตั้งแต่รวงที่ 1,2,3,...,200 มีการบำรุงอย่างดี จนถึงช่วงปลายปี 2494 ต้นข้าวโตจนให้ผลผลิตแล้ว ผลการทดลองปรากฏว่าจำนวน 199 รวงของข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตที่ต่ำกว่าข้าวนางมณ มีเพียงรวงเดียวเท่านั้นที่ให้ผลผลิตที่สูงกว่า คือ รวงที่ 105 มีรหัสหมายเลขเป็น 4-2-105 (เลข 4 หมายถึง ท้องที่เก็บรวบรวมคือ อ.บางคล้า เลข 2 หมายถึงหมายเลขประจำพันธุ์คือพันธุ์ข้าวพันธุ์ที่ 2 และเลข 105 คือรวงที่ 105)

ในปี 2496 ได้นำข้าวรหัสสายพันธุ์ 4-2-105 ไปทดลองปลูกทั้งภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าได้ผลผลิตสูง เมล็ดข้าวนุ่มมีกลิ่นหอม สามารถปรับตัวในสภาพพื้นที่ต่างๆได้ดี และในปี 2501 หลังจากทดลองปลูกติดต่อกันมา 6 ปี จึงพบว่า ข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ 4-2-105 เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นดินร่วนปนทราย ลักษณะเป็นนาน้ำฝน สิ่งที่พิเศษคือ เป็นสายพันธุ์ที่ทนแล้งมากที่สุด เหมาะจะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สุด คณะกรรมการคัดเลือกสายพันธุ์ได้มีมติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมออกขยายพันธุ์ได้ ตั้งชื่อพันธุ์ข้าวว่า "ขาวดอกมะลิ 105" เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

แม้ผลการทดลองพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เหมาะที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานมากที่สุด แต่เนื่องจากช่วงนั้นชาวอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก จึงมิใช่เรื่องง่ายที่ส่งเสริมให้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิให้เป็นที่แพร่หลายได้มาก ม.จ.จักรพันธุ์เพ็ญศริจักรพันธุ์ อธิบดีกรมการข้าวสมัยนั้นได้มีนโยบายและมีเป้าหมายที่ต้องการขยายการเพาะปลูกข้าวขาวดอกมะลิในภาคอีสานให้มากที่สุด ผู้เกี่ยวข้อง(รวมถึงคุณสุนทร สีหะเนินต้นตำรับสายพันธุ์) จึงต้องหากลยุทธ์ในการเผยแพร่ พบว่าจังหวัดในอีสานตอนใต้ 3 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ คนท้องถิ่นมีพื้นเพเป็นคนเขมร ไม่นิยมกินข้าวเหนียว กินข้าวเจ้ามากกว่า การส่งเสริมการปลูกข้าวขาวดอกมะลิจึงเริ่มกันที่สามจังหวัดนี้ ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จดีมาก โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ได้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิที่มีคุณภาพสูง ต่อมาได้สำรวจพบว่าทุ่งกุลาร้องให้ซึ่งมีเนื้อที่เป็นล้านไร่มีอาณาบริเวณติดต่อ 5 จังหวัด เป็นที่ที่มีดินรกร้างว่างเปล่า ทางราชการจึงเลือกให้เป็นแหล่งส่งเสริมปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากออสเตรเลียในการปรับปรุงคุณภาพดิน(ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นดินเค็ม) ใช้เวลาอีกหลายปีจนสามารถขยายการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ (หรือที่ช่วงหลังจะเรียกกันแต่ข้าวหอมมะลิ) ได้ทั่วทุ่งกุลาร้องให้ จนกลายเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุด และในที่สุดภาคอีสานนั้นข้าวหอมมะลิได้รับความนิยมปลูกมากกว่าข้าวเหนียว รวมถึงมีความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศในระยะต่อมา

นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวในระยะต่อมา ยังใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผสมข้ามพันธุ์ และฉายรังสีแกมมา แล้วคัดเลือกจนได้เป็นพันธุ์ข้าวที่ดีหลายพันธุ์ รวมทั้งข้าวเจ้าพันธุ์ "กข 15" และข้าวเหนียวพันธุ์ "กข 6" ซึ่งมีเกษตรกรปลูกปีละนับล้านไร่เช่นกัน

นายสุนทร สีหะเนิน ได้ปฏิบัติราชการด้วยความก้าวหน้ามาโดยตลอด โดยตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเหนือ ได้ลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ พำนักอยู่บ้านเลขที่ 52/123-124 ซอยเกษตรศาสตร์ 7 ถนนพหลโยธิน ซอย 45 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครฯ ปัจจุบัน (2552) แม้วัยจะล่วงเลย 87 ปีแล้ว ก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงและยังคงได้ร่วมกิจกรรม เป็นวิทยากร และทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมาย


รางวัลและเกียรติประวัติที่ได้รับ
- พ.ศ.2536 โล่เชิดชูเกียรติ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

- พ.ศ.2543 โล่เชิดชูเกียรติ จากกรมปรับปรุงพันธุ์ข้าวและขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย เป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่ชาวนาไทยและประเทศชาติ

ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สวทช.ประกาศให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติในรอบ 100 ปี

- พ.ศ.2550 โล่ประกาศเกียรติคุณ จากกรมการข้าว ฐานะผู้มีผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาข้าวไทย

- พ.ศ.2552 ปริญญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

โล่เกียรติคุณผู้ทรงคุณค่าต่อวงการเกษตรไทย ของกระทรวงพานิชย์




http://www.icoopthai.com/index.php/cooperative-head-personal/81-rice-jasmin105


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/01/2012 12:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,436. กระเจี๊ยบแดง





ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น ๆ กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง),ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลง-เครง (ตาก),ส้มปู (เงี้ยว,แม่ฮ่องสอน), ส้มเก็ง(เหนือ),ส้มพอเหมาะ (เหนือ), ส้มพอดี (อีสาน) Jamaica sorrel,Sorrel, Roselle, Rosella, Kharkade or karkade,Vinuela, Cabitutu
ส่วนที่ใช้ กลีบรองดอก (calyx) หรือที่เรียกว่า ดอกกระเจี๊ยบ

การปลูก
กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสงที่สามารถปลูกได้ทั่วไป ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง และไม่ชอบน้ำขัง ใช้วิธีปลูกในแปลงปลูก โดยหยอดเมล็ดตามแถวที่ไถไว้ หยอดหลุมละประมาณ 4-5 เมล็ด ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่อกระเจี๊ยบแดงเป็นต้นอ่อนอาจถอนทิ้งหลุมละ 2-3 ต้น เพื่อให้ไม่แน่นมากนัก ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังจากนั้นจะปล่อยตามธรรมชาติ

นอกจากนี้อาจปลูกในพื้นที่แปลงข้าวโพด เมื่อปลูกข้าวโพดแล้วประมาณ 1 เดือน โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบแดงผสมลงไปกับปุ๋ยข้าวโพด แล้วนำใส่เครื่องหยอดพ่วงกับรถไพเดินตาม หยอดตามช่องว่างระหว่างแถวข้าวโพด ต้นกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตระหว่างแถวข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดแล้วกระเจี๊ยบแดงอยู่ในช่วงออกดอกพอดี

พันธุ์ที่ใช้
พันธุ์ซูดานหรือพันธุ์เกษตร เนื้อหนามีสีแดงเข้มจนถึงม่วงลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างหนา เนื้อบาง มีสีแดงสด ลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างบาง


การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง ซึ่งการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบแดงสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1. เก็บเกี่ยวเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดง ใช้กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกกระเจี๊ยบที่แก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
2. เก็บเกี่ยวทั้งต้นกระเจี๊ยบ เกษตรใช้เคียวเกี่ยวกิ่งที่มีดอกกระเจี๊ยบบริเวณโคนกิ่ง



http://www.livetogether.org/page/9


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 52 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©