-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/11/2011 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง......


1,262. เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี
1,263. เมล็ดพันธุ์ข้าวดีมีเพียงพอ
1,264. ฟาร์มส่วนพระองค์สวาซิแลนด์
1,265. ผลิตภัณฑ์เกษตรไทยตีปีก ลุยตลาดอินโดฯ ได้สบาย

1,266. โรคพืชที่เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร
1,267. เทคนิคการผลิตไม้ผลออกนอกฤดูกาล
1,268. ข้าว มีหลายสายพันธุ์ ได้แก่
1,269. หมอดินเมืองปากน้ำโพ...พลิกผืนนาสร้างชีวิตใหม่
1,270. ดินเค็มภาคอีสาน...ต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

1,271. ระดมจุลินทรีย์ บำบัดพื้นที่เพาะปลูก
1,272. ไทยยูนนาน ร่วมพัฒนาเกษตร
1,273. พริกแพร่...ผลพวงจากงานวิจัยที่ชัยภูมิ
1,274. 'ส้มจีนผลจิ๋ว' ในไทยให้ผลผลิตแล้ว
1,275. ยอดนำเข้าผักสดลดวูบ คุมเข้มผัก-ผลไม้จากจีน

1,276. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา
1,277. เกษตรแบบสายกลาง ชีวิตมั่นคง
1,278. 'ต.ชะอม'แหล่งไม้ขุดล้อมใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
1,279. บราคอนผู้พิชิต ศัตรูมะพร้าว
1,280. ใช้ปูนปรับดินเปรี้ยวจัด เพิ่มข้าวเป็น 600 กก./ไร่

1,281. ท่องเที่ยวเมืองเก่าเกียวโต ลุยถิ่น 'ชาเขียว' ญี่ปุ่น
1,282. 'ไมโครอะเรย์' เทคโนโลยีฟื้นชีพ...'สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรไทย'
1,283. รับรอง 3 พันธุ์ข้าวใหม่ล่าสุด เลือกชาวนาไทยหลังน้ำลด
1,284. ปลูกข้าวแบบวิเคราะห์ดิน
1,285. ชาวนาเงินล้าน

1,286. ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ

-----------------------------------------------------------------------------------------






เขื่อนกระเสียว

เขื่อนกระเสียว อยู่ที่ตำบลด่านช้าง ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยกระเสียว ของกรมชลประทาน เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำสร้างกั้นลำห้วยกระเสียว ยาว 4,250 เมตร สูง 32.50 เมตร ปริมาณน้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 240 ล้านลูกบาศก์เมตร





เขื่อนกระเสียวนับเป็นเขื่อนดินที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวที่ต้องการขึ้นไปชมทิวทัศน์บริเวณสันเขื่อนต้องเดินขึ้นบันไดจากลานจอดรถด้านล่าง เมื่อขึ้นไปถึงจะมองเห็นทิวทัศน์กว้างไกลสุดสายตาถึงเขาพุเตย มีร้านอาหารส้มตำไก่ย่างบริการใกล้ลานจอดรถ













สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เขื่อนกระเสียว โทร. (035) 595-120



http://www.holidaythai.com/Thailand-Attractions-1533.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/11/2011 1:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/11/2011 11:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,263. เมล็ดพันธุ์ข้าวดีมีเพียงพอ





รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สำรวจพื้นที่นาข้าว ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2554 ที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมพบว่าพื้นที่ปลูกข้าวเสียหายประมาณ 9.01 ล้านไร่ นาข้าวเสียหายประมาณ 7.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่ประสบอุทกภัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เตรียมการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่ผู้ประสบอุทกภัยที่เพาะปลูกข้าว เพื่อเป็นการเยียวยาและฟื้นฟูชาวนาให้ปลูกข้าวหลังน้ำลดได้ทันที โดยจะดำเนินการตั้งแต่เดือน พ.ย. 54-ก.ค. 55

ทันทีที่มีการกล่าวถึงประเด็นนี้หลายฝ่ายกังวลกันว่าอาจมีปัญหาได้เพราะแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางซึ่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งนี้ แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็มีความมั่นใจว่าไม่น่ามีปัญหามากนัก เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการจัดทำโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดีโดยให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์หลายพื้นที่ดำเนินโครงการและสามารถผลิตเมล็ดพันธ์ุข้าวดีได้จำนวนที่มากพอแก่ความต้องการ

โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้ให้การสนับสนุนสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา เพื่อช่วยเหลือภาครัฐในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีกระจายไปสู่เกษตรกรทั่วไป ที่มีเพิ่มขึ้น 510,000 ตันต่อปี ส่งผลให้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในภาพรวมทั้งประเทศ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ประกอบกับไทยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก จึงจำเป็นต้องรักษาและพัฒนาคุณภาพข้าวของประเทศเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออกแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ

ทั้งนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีแก่เกษตรกรในสถาบันเกษตรกร ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555 โดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนสหกรณ์ในโครงการดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีมีคุณภาพสู่เกษตรกรต่อไป

โครงการนี้ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการตลาดในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 20,000 ตัน อัตรากิโลกรัมละ 3 บาท ให้แก่สหกรณ์ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 69 สหกรณ์ ในพื้นที่เป้าหมาย 39 จังหวัด ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 54

เมล็ดพันธุ์ข้าวดีที่มีการผลิตโดยรวมมีปริมาณเฉลี่ย 600,000 ตันต่อปี จากหน่วยงานราชการผลิตได้ 100,000 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 17 ของความต้องการ ซึ่งรวมทั้งในพื้นที่ภาคกลางที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยด้วย ศูนย์ข้าวชุมชนผลิตได้ 43,850 ตัน คิดเป็นร้อยละ 7.3 ของความต้องการ ภาคเอกชน 100,000 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 17 ของความต้องการ และสหกรณ์ผลิตได้ 40,000 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 6.6 ของความต้องการ

ก็นับได้ว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีความสำคัญในการเข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้เพียงพอกับความต้องการของสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป

และนับได้ว่าเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2550–2554 ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย รวมทั้งพัฒนาคุณภาพผลผลิต และท้ายที่สุดสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร สร้างรายได้แก่เกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตร ที่สำคัญยามที่ประเทศประสบกับปัญหาอุทกภัยพื้นที่ปลูกข้าวเสียหายเป็นจำนวนมาก โครงการนี้ก็สามารถเข้ามาอุ้มชูและคงไว้ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวดีสำหรับการเพาะปลูกของเกษตรกรในประเทศต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน.



http://www.norsorpor.com/ข่าว/n2664632/เมล็ดพันธุ์ข้าวดีมีเพียงพอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/11/2011 11:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,264. ฟาร์มส่วนพระองค์สวาซิแลนด์





ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งเน้นการพัฒนา โดยให้ราษฎรเป็นศูนย์กลาง และได้รับประโยชน์สูงสุดอันเป็นหนทางที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยพระปรีชาสามารถในศาสตร์หลากหลายแขนง พระองค์ทรงปูพื้นฐานการพัฒนา เน้นการแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ราษฎรโดยพัฒนาโครงการสร้างหลัก อาทิ ดิน น้ำ ป่าไม้ และอาชีพ ส่งผลให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,100 โครงการ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ตลอดจนทฤษฎีการพัฒนาต่าง ๆ ที่พระราชทานไว้ ได้เติบโตขยายผล สร้างประโยชน์สุขและช่วยเหลือราษฎรให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง

ยิ่งกว่านั้นยังเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและเป็นแบบอย่างให้หลายประเทศนำไปประยุกต์ใช้ เช่น การบำบัดน้ำเสียด้วยกังหันน้ำชัยพัฒนา การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก รวมทั้งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ที่ได้เริ่มดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยดำเนินการ โครงการพัฒนาการเพาะเห็ดให้แก่ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ณ กรุงอึมบาบาน

โดยโครงการนี้ เป็นโครงการสนองพระราชดำริของพระราชชนนี Indlovukazi แห่งราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเพาะเห็ดในสวาซิแลนด์ให้เป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้สำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มสตรี ดำเนินงานโดย สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.), มูลนิธิลูกพระดาบส และกระทรวงเกษตร ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ โดยมีการส่งผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยไปสำรวจความเป็นไปได้ในการให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาการเพาะเห็ด และฝึกอบรมหลักสูตรการเพาะเห็ดแบบครบวงจร ภายใต้โครงการลูกพระดาบส ให้แก่เจ้าหน้าที่จากราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ และมอบอุปกรณ์ในการเพาะเห็ด เช่น เครื่องหั่น เครื่องผสมวัสดุเพาะ หม้อนึ่งก้อนเชื้อเห็ด ฯลฯ จำนวน 4 ชุด ให้แก่ฟาร์มส่วนพระองค์ของพระราชชนนี นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญมูลนิธิลูกพระดาบสได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าในการทำฟาร์มเห็ดเชิงพาณิชย์ ณ ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์

และล่าสุดเมื่อวันที่ 3-9 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ เพื่อทอดพระเนตรโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตรระหว่างราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ พร้อมส่งมอบโครงการให้กับประเทศสวาซิแลนด์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเกษตรของสำนักพระราชวังและมูลนิธิพระดาบส ตัวแทน สำนักงาน กปร. เฝ้าฯ รับเสด็จ

นับเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้น้อมนำพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพัฒนาประเทศเพื่อให้ราษฎรได้สามารถเข้าถึงโอกาสและมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพและมีชีวิตที่มีคุณภาพดีขึ้น.


http://www.norsorpor.com/ข่าว/n2664632/เมล็ดพันธุ์ข้าวดีมีเพียงพอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/11/2011 6:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,265. ผลิตภัณฑ์เกษตรไทยตีปีก ลุยตลาดอินโดฯ ได้สบาย


รายงานข่าวจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการเกษตร เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทในการสร้างรายได้หลักให้กับประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะสินค้าการเกษตรประเภทอาหารที่ยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสแรกของปี 2554 มีมูลค่าส่งออกรวมทั้งสิ้น 21,259.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 659,035 ล้านบาท มีการขยายตัวร้อยละ 30.88% และเป็นมูลค่าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์นั้น กลุ่มสินค้าที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ กลุ่มสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร ที่มีการขยายตัวร้อยละ 43.6% ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในกลุ่มประเทศ ASEAN ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีประชากรเกือบ 250 ล้านคน (สถิติประชากรเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554) มากเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของอาเซียนซึ่งมีประมาณ 560 ล้านคน โดยรัฐบาลอินโดนีเซียให้ความสำคัญด้านความมั่นคงทางอาหารเป็นอย่างมาก

และเพื่อให้อินโดนีเซียบรรลุเป้าหมาย Millennium Development Goals (MDGs) ภายใน พ.ศ. 2058 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียได้ระบุว่า การสร้างความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซียจะช่วยขจัดความอดอยากและความยากจน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย MDGs ที่มีผลการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซีย

ที่ผ่านมานั้น ในระดับมหภาคมีการพัฒนาผลิตผลให้สูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในระดับจุลภาคยังมีพื้นที่ที่ขาดแคลนอาหารอยู่ ทั้งนี้ใน พ.ศ.2552 ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าการเกษตรและอาหารไปยังประเทศอินโดนีเซียคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นราว 21,195 ล้านบาท

โดยสินค้าเกษตรและอาหาร 5 อันดับแรก ที่ประเทศไทยส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซียสูงสุด ได้แก่ น้ำตาลและน้ำผึ้ง ข้าวและธัญพืช แป้งและสตาร์ช ผลไม้ และอาหารทั่วไป ตามลำดับ (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสถาบันอาหาร http://fic.nfi.or.th)

ในปี 2553 ตามข้อตกลง AFTA ในการเปิดเสรีการค้า ภายใต้การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เริ่มทยอยมีผลในเรื่องการลดอัตราภาษีศุลกากร และจะเหลือ 0% ใน พ.ศ.2558 นี้ ประกอบกับการขนส่งสินค้าทางเรือจากไทยไปอินโดนีเซีย ใช้เวลาเพียง 5-7 วันแล้วด้วยนั้น ตลาดอินโดนีเซียจึงน่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs

Mr. Hermawan Kartajaya นักการตลาดที่มีชื่อเสียงชาวอินโดนีเซีย ให้ข้อมูลว่า ชาวอินโดนีเซียนิยมซื้อสินค้าอาหาร ทั้งซื้อเพื่อรับประทานเองและซื้อเป็นของฝากให้แก่กัน จนส่งผลให้ชาวอินโดนีเซียมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึงราวร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารหลายชนิด

ทั้งนี้ ราคาของสินค้าจำเป็นต้องแข่งขันได้ เมื่อเทียบกับผู้ผลิตในประเทศ และประเทศผู้นำเข้าอื่น อาทิ เวียดนาม และมาเลเซีย เนื่องจากประชากรโดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 มีรายได้ไม่สูงมากนัก จึงมีความอ่อนไหวในเรื่องของราคาเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ดี สินค้าการเกษตรและอาหารที่มีราคาแพงของไทย อาทิ ทุเรียน ก็มีศักยภาพเข้าไปเจาะตลาดอินโดนีเซียได้เช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีรายได้ค่อนข้างสูง-สูงมากที่แม้จะมีเพียงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ แต่คิดเป็นจำนวนมากถึง 20-30 ล้านคนทีเดียว

ความสำคัญของตลาดอาหารของประเทศอินโดนีเซียนี้เอง ทำให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ได้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาการตลาดเรื่อง Marketing in AEC as one single market ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พร้อมกับได้นำผู้ประกอบการด้านอาหารของไทยร่วมงานครั้งนี้

นอกจากกิจกรรมสัมมนาการตลาดแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีที่มีกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทย 13 ราย และผู้ประกอบการอินโดนีเซีย 30 ราย ซึ่งสินค้าที่ได้รับความสนใจอย่างมากเป็นกลุ่มอาหารและวัตถุดิบประกอบอาหาร อาทิ กะหล่ำปลี ซึ่งเป็นพืชผลล้นตลาดในประเทศไทยในขณะนี้ ราคาตกต่ำเหลือเพียงกิโลกรัมละ 80 สต. - 1 บาทเท่านั้น (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2554) ในขณะที่อินโดนีเซีย ราคากะหล่ำปลีสูงถึงกิโลกรัมละกว่า 100 บาท

นอกจากนี้ พริกและหอมแดง ก็เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากพริกที่อินโดนีเซียมีราคาสูงกว่ากิโลกรัมละ 200 บาท และจากการที่ชาวอินโดนีเซียนิยมบริโภคหอมแดงเจียว โดยใช้เป็นส่วนประกอบหรือเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารแทบทุกชนิดนั้น ส่งผลให้ผลผลิตหอมแดงในอินโดนีเซียราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท และไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ

และจากการสอบถามผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานพบว่า มีผู้ประกอบการอินโดนีเซียติดต่อขอให้เสนอราคาพริกและหอมแดง โดยประมาณการสั่งซื้อเบื้องต้นที่ 344 ตัน/สัปดาห์ แบ่งเป็น พริก 204 ตัน หอมแดง 140 ตัน ซึ่งน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีในการส่งออกสินค้าการเกษตรไทยลุยอินโดนีเซียได้

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยไปอินโดนีเซียจะยังไม่สูงนัก อีกทั้งอินโดนีเซียและหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเช่นเดียวกับไทย รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการส่งออก ทั้งเรื่องของผลผลิตที่ลดลงจากภัยธรรมชาติในประเทศ การกำหนดมาตรฐานราคาสินค้า เพราะขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณผลผลิตของโลก แต่จากปัจจัยต่าง ๆ และแนวโน้มส่งออกแล้ว คาดว่า พระเอกตัวจริงในภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้คงหนีไม่พ้น "สินค้าเกษตรและอาหาร" อย่างแน่นอน



http://www.sme.go.th/Lists/EditorInput/DispF.aspx?List=15dca7fb%2Dbf2e%2D464e%2D97e5%2D440321040570&ID=1390
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/11/2011 7:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,266. โรคพืชที่เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร

Plant Diseases Caused By Nutrientional Disorders


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบถึงลักษณะอาการที่ผิดปกติของพืชเนื่องจากการขาดธาตุอาหาร
2. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาโรคพืชที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร


โรคพืชที่เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช (Essential elements) มีอยู่ 16 ธาตุด้วยกัน คือ คาร์บอน. ไฮโดรเจน. ออกซิเจน. ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม. แคลเซียม. แมกนีเซียม. กำมะถัน. เหล็ก. แมงกานีส. โบรอน. โมลิบดินั่ม. ทองแดง. สังกะสี. และ คลอรีน. ได้มีผู้เสนอหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไว้ดังนี้

1. ถ้าพืชขาดธาตุนั้นพืชจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จนกระทั่งผลิตดอก ออกผล คือจะตายก่อนที่จะครบวงจรชีวิต (life cycle) ของพืช และ/หรือ

2. ธาตุนั้นจะต้องเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในพืช หรือเกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาบอลิซึมโดยตรง เช่น แมกนีเซียม.เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์



ธาตุอาหารบางธาตุ เช่น โซเดียม. ซิสิเนียม. โคบอลท์. ซิลิกอน. เป็นธาตุที่จำเป็นและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด อาจเป็นส่วนที่ทำให้โครงสร้างของพืชแข็งแรง มีความต้านานต่อโรคและแมลงได้ ถึงแม้จะขาดธาตุนั้นแต่พืชทั่วไปยังสามารถเจริญเติบโตได้ จะยังไม่จัดเป็นธาตุจำพวก essential elements แต่จัดไว้เป็นพวก accessory elements ไปก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้เป็นที่แน่นอนว่าจำเป็นต่อพืชจริง ๆ แล้วจึงจะจัดไว้ในพวก essintial elements

สำหรับธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชได้จากอากาศและน้ำ ดังนั้นจึงมีพอเพียงสำหรับพืช ส่วนอีก 13 ธาตุนั้นพืชดูดขึ้นจากดินโดยทางราก และมักจะมีไม่พอเพียงแก่ความต้องการของพืช ธาตุอาหารทั้ง 13 ชนิดนี้ แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ ตามปริมาณที่พืชนำไปใช้กล่าวคือ

1. Macronutrient elements หรือ Major elements ธาตุอาหารพวกนี้ พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก มีอยู่ด้วยกัน 6 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (N). ฟอสฟอรัส (P). โปแตสเซียม (K). แคลเซียม (Ca). แมกนีเซียม (Mg). และ กำมะถัน (S). โดยเฉพาะ 3 ธาตุแรกนั้น พืชต้องการมาก และมีอยู่ในดินค่อนข้างจำกัด เมื่อปลูกพืชในดินนั้นนาน ๆ ธาตุเหล่านี้จะหมดไป ต้องนำมาใส่เพิ่มเติมให้ ดังนั้น จึงมักเรียกธาตุทั้งสามนี้ว่า Fertilizer elements

2. Micronutrient elements หรือ Minor elements หรือ Trace elements เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อย เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ แต่ความสำคัญของธาตุเหล่านี้ที่มีต่อพืช ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากพวก macronutrient elements ธาตุอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ เหล็ก (Fe). แมงกานีส (Mn). ทองแดง (Cu). สังกะสี (Zn). โบรอน (B). โบลิบดินั่ม (Mo). และ คลอรีน (Cl). ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้ยกเว้นธาตุเหล็ก มีอยู่ในดินเป็นปริมาณน้อยมาก แต่เนื่องจากพืชต้องในปริมาณน้อย ปัญหาการขาดธาตุอาหารเหล่านี้จึงไม่ค่อยจะปรากฏ นอกจากนี้ ถ้ามีธาตุอาหารเหล่านี้มากเกินไปอาจจะเกิดเป็นพิษกับพืชขึ้นได้ ดินที่พบว่าขาดธาตุเหล่านี้มักเป็นดินที่ค่อนข้างเก่า (mature soil) หรือดินที่มีการปลูกพืชซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน โดยไม่เคยใช้ปุ๋ยเลย หรือดินที่มีเนื้อหยาบ หรือดินทราบเป็นส่วนใหญ่

ธาตุอาหารของพืชทั้ง 13 ธาตุนี้ อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ภายในพืช (mobile nutrient element) ซึ่งได้แก่ธาตุ N P K และ Mg เมื่อขาดธาตุเหล่านี้พืชจะแสดงอาการที่ใบล่างหรือใบแก่ 2) ธาตุที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ในพืช (immobile nutrient element) ได้แก่ธาตุ Ca Fe Mn Zn Cu Mo B Cl ส่วนธาตุ S เคลื่อนย้ายได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งถ้าขาดธาตุเหล่านี้ พืชจะแสดงอาการที่ใบอ่อนหรือใบยอด


ลักษณะของพืชที่ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ
- แคระแกรน
- สีสันของใบ ดอก ผิดปกติ
- เกิดการแห้งตายของจุดเจริญ
- ผลสุกแก่เร็วหรือช้าผิดปกติและคุณภาพไม่ดี
- รากเจริญผิดปกติ


สาเหตุที่ทำให้พืชเกิดการขาดธาตุอาหาร
- อุณหภูมิของอากาศ
- ระบบรากของพืช
- ลักษณะและโครงสร้างของดิน
- ความเป็นกรด-ด่างของดิน
- พันธุ์พืชและระบบการเจริญเติบโตของพืช


การวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารของพืช
- วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน
- วิเคราะห์ธาตุอาหารในพืช
- ตรวจดูอาการบนพืช


ตัวอย่างโรคพืชที่เกิดจากความไม่สมดุลย์ของธาตุอาหาร
ก. โรคก้นเน่าของมะเขือเทศ (Blossom-end of tomato)
โรคนี้ทำความเสียหายทั่ว ๆ ไปในแหล่งที่มีการปลูกมะเขือเทศ โดยเฉพาะในดินที่เป็นกรดจัดหรือดินทราย มีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดธาตุแคลเซียม


ลักษณะอาการของโรค
โดยเริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดช้ำ ๆ สีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลบริเวณก้นของผลมะเขือเทศในขณะที่ผลยังอ่อนมีสีเขียว หรือในขณะที่ผลแก่มีสีแดงแล้ว ต่อมาแผลจะยุบตัวลงและขยายบริเวณออกไปอย่างรวดเร็ว อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึงหนึ่งนิ้วหรือโตกว่า ลักษณะของแผลอาจจะเหี่ยวแห้งยุบตัวลงและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเซลล์ตายและการเน่าของเนื้อเยื่อนี้เอง จึงมักจะพบเชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายซ้ำเติม (secondary organisms) เช่น Aspergillus, Penicillium, Fusarium, Rhizopus หรือ Alternaria เป็นต้น ในบางครั้งอาจจะพบอาการเน่าเกิดขึ้นภายในของผลมะเขือเทศ โดยที่ผลมะเขือเทศไม่แสดงอาการก้นเน่าให้เห็น



ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค
1. ธาตุอาหารอื่น ๆ ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินพอ และให้น้ำไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย และถ้าในดินมี แอมโมเนียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม หรือโซเดียมมากเกินพอก็จะทำให้การดูดธาตุแคลเซียมไปใช้ลดลง ทำให้พืชเกิดอาการก้นเน่าได้ แต่โรคจะเกิดน้อยลงถ้าให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสพอเพียง

2. การเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจะมีความต้องการธาตุแคลเซียมมากซึ่งอาจจะทำให้พืชดูดธาตุแคลเซียมมาใช้ไม่ทัน จึงทำให้เกิดอาการขาดธาตุได้ เพราะว่าแคลเซียมเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่จากเนื้อเยื่อเก่าไปยังเนื้อเยื่อใหม่ (immobile) และการขาดธาตุแคลเซียมในชั่วระยะหนึ่ง จะมีผลทำให้เนื้อเยื่อของพืชที่กำลังเจริญเติบโตชะงักการเจริญได้อย่างรวดเร็ว

3. พันธุกรรม มะเขือเทศพันธุ์ต่างกันจะมีความรุนแรง และเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคแตกต่างกันโดยเฉพาะมะเขือเทศที่มียีน (gene) ควบคุมการสุกพร้อมกันทั้งผล (uniform ripe) (UU) จะแสดงอาการก้นเน่าอย่างรุนแรง และมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคมากกว่าในมะเขือเทศที่มียีนควบคุมการสุกไม่พร้อมกัน (green-shoulder) (uu) เมื่อได้รับธาตุแคลเซียมไม่เพียงพอ

4. ในสภาพที่ดินเป็นกรดจัดและ/หรือเป็นดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำก็จะทำให้ปริมาณของธาตุแคลเซียมลดลงเนื่องจากถูกชะล้างลึกลงไปในดิน พืชไม่สามารถดูดมาใช้ได้


การควบคุมโรค
1. ปรับระดับ pH ของดินให้มี pH ระดับ 6.5-6.8 ด้วยปูนขาว หรือดินมาร์ลควรปรับดินก่อนการปลูกพืช

2. การใส่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตในอัตราสูง เช่น 5-20-5 จะช่วยลดการเกิดโรค

3. ปรับดินให้มีการถ่ายเทของน้ำและอากาศได้ดี และควรผสมอินทรียวัตถุเพื่อช่วยกันการระเหยของน้ำไม่ให้ดินแห้งเกินไป หรืออาจใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าวคลุมไว้

4. ใช้แคลเซียมคลอไรด์ หรือแคลเซียมไนเตรตละลายในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดทุก 7 วัน หลังจากเริ่มพบมะเขือเทศแสดงอาการ หรือในขณะที่มะเขือเทศกำลังเจริญอย่างรวดเร็วก่อนการผลิดอก



ข. โรคใบแก้วของส้ม (Zinc deficiency of citrus)
โรคใบแก้วของส้มพบได้ทั่วไปในแหล่งปลูก เช่น จันทบุรี ธนบุรี เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ เป็นต้น สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการขาดธาตุสังกะสี ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้าย (immobile) อาการของโรคจึงแสดงที่ใบยอด และใบอ่อนก่อน โดยในระยะแรกในบริเวณส่วนยอดของส้มจะแสดงอาการด่าง (mottle) หรือลักษณะใบจะเรียวและชี้ขึ้น (frenching) ต่อมาถ้าส้มยังได้รับธาตุสังกะสีไม่พอเพียง ก็จะแสดงอาการรุนแรงขึ้น โดยใบจะมีสีเหลืองซีดเกือบทั้งใบ ยกเว้นที่เส้นใบยังคงมีสีเขียวอยู่ใบจะเล็กเรียวส่วนของข้อและกิ่งอ่อนจะหดสั้น และจะแตใบลักษณะเป็นพุ่ม (rosette) ถ้าเกิดในระยะติดผลจะทำให้ได้ผลส้มมีคุณภาพและปริมาณของผลลดลงอย่างมาก และข้อที่ควรสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือ ลักษณะอาการของส้มที่ขาดธาตุสังกะสี จะมีลักษณะคล้ายคลึงมากกับโรคกรีนนิ่ง (greening) ของส้ม



การควบคุมโรค
1. ปรับสภาพของดินที่ใช้ปลูกไม่ให้เป็นกรดและด่างจัด ควรมี pH ประมาณ 6.0-6.5
2. ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีลงในดินเป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสังกะสี
3. ฉีดสารละลายสังกะสี ซัลเฟต สังกะสีออกไซด์ สังกะสีคลอไรด์ อัตรา 4 ปอนด์ ต่อน้ำ 100 แกลลอน ตั้งแต่ส้มเริ่มแสดงอาการด่างที่ใบเมื่อสังเกตพบ หรือหลังจากติดแล้วเป็นประจำทุก ๆ ปี


ค. โรคไส้กลวงของพืชตระกูลกะหล่ำ (Black heart of crucifer)
เกิดจากขาดธาตุโบรอน ทำให้ภายในลำต้นของพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคโคลี่ ฯลฯ เจริญเติบโตไม่เต็มที่ เนื้อเยื่อในใจกลางลำต้นเกิดการแตกหักเปราะง่ายเซลล์พืชสลายและตาย (necrosis) ทำให้เกิดการกลวงขึ้น ถ้าเป็นมากใบจะเหลืองยอดบิดเบี้ยวและแห้งตายไปในที่สุดบางครั้งจะพบมีเชื้อแบคทีเรียพวก Erwinia sp. สาเหตุโรคเน่าและ (soft rot) หรือ Xanthomonas campestris สาเหตุโรคเน่าดำ (black rot) เข้าทำลายซ้ำเติม


การควบคุมโรค
1. ปรับสภาพของดินที่เพาะปลูกให้เป็นกลางด้วยปูนขาวหรือดินมาร์ล
2. เพิ่มปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนในอัตราตั้งแต่ 3-34 ปอนด์ต่อเนื้อที่หนึ่งเอเคอร์ก่อนทำการปลุกพืชทั้งนี้อัตราที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและดินเป็นหลัก
3. อาจใช้น้ำประสานทอง (บอแรกซ์) ฉีดพ่น (spray) หลังจากพืชที่ปลูกเริ่มงอกแล้วก็ได้



ง. โรคลำต้นแตกของคื่นฉ่าย (Cracked stem of celery)
เกิดจากการขาดธาตุโบรอนเช่นกัน โดยลักษณะอาการปรากฏชัดที่บริเวณลำต้นคื่นฉ่ายจะมีลักษณะรอยแตกแยกเป็นสะเก็ดขวางลำต้น เป็นผลให้พืชมีการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุน้อยลง พืชจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ให้ผลผลิตน้อยลง


การควบคุมโรค
สามารถกระทำได้เช่นเดียวกับการขาดธาตุโบรอนของพืชตระกูลกะหล่ำ
นอกจากนี้ยังพบการขาดธาตุต่าง ๆ ของพืชในบ้านเราอีกหลายชนิดเป็นต้นว่าการขาดธาตุไนโตรเจนของข้าวโพด จะเกิดเซลล์แห้งตายจากปลายใบเข้าไปหาด้านโคนเป็นรูปตัววี (V-shaped) ในที่สุดก็แห้งตายไปทั้งต้น หรือการขาดธาตุแมกนีเซียมในพืชเดียวกันนี้ใบจะเหลืองซีดจนเกือบขาวทั่วทั้งใบในขณะที่เส้น vein ยังเขียวสดอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากธาตุอาหารต่าง ๆ มักจะเป็นส่วนประกอบของสารคลอโรฟิลด์ ดังนั้นเมื่อพืชเกิดการขาดขึ้นมักจะแสดงอาการเหลืองซีด (chlorosis) เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นการขาดธาตุฟอสฟอรัสที่มักจะทำให้พืชเกิดการสะสมพวกแอนโทไซยานินมากขึ้นพืชกลายเป็นสีม่วงหรือเขียวเข้มผิดปกติ




http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/PP300/0003html/chapter005.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 9:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,267. เทคนิคการผลิตไม้ผลออกนอกฤดูกาล


หลักการ - มะม่วง - มะนาว - ส้มเขียวหวาน - ส้มโอ - สับปะรด - น้อยหน่า - ลิ้นจี่



“ไม้ผลนอกฤดูกาล” คำๆ นี้ในปัจจุบันเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่นักวิชาการเกษตร เกษตรกรและบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการประสบผลสำเร็จในการทำให้ไม้ผลบางชนิดสามารถออกดอกนอกฤดูได้นั่นเอง จากความสำเร็จดังกล่าวก็ได้สร้างความสนใจให้กับบุคคลในวงการเกษตรกันมาก จนถึงกับได้มีการศึกษาและทดลองกันอย่างกว้างขวางกับไม้ผลชนิดอื่น และก็มีแนวโน้มว่าสามารถที่จะบังคับใช้ไม้ผลบางชนิดออกดอกนอกฤดูได้เช่นเดียวกัน

การบังคับหรือกระตุ้นหรือชักนำเพื่อให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูนั้น หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นได้ว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้บังคับให้ไม้ผลออกดอกนั้นมีการปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว โดยในสมัยก่อนวิธีการเหล่านั้นอาจจะค้นพบโดยบังเอิญหรือไม่ได้ตั้งใจ ยกตัวอย่างเช่น การทรมานต้นไม้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสับกิ่ง สับต้น การตอกตะปูที่ต้น การรมควัน การตอนกิ่ง รัดกิ่ง หรือแม้กระทั่งการที่ต้นไม้ขาดน้ำเป็นต้น และเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป เมื่อรู้ตัวว่าใกล้จะตาย เช่น ถูกทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็มีการแตกดอกออกผลขึ้นมา มนุษย์ก็ได้ก็ได้สังเกตและรู้หลักการอันนี้จึงได้มีการบังคับให้ไม้ผลออกดอกด้วยวิธีการดังกล่าว ปัจจุบันนี้วิทยาการในการบังคับเพื่อให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้ก้าวหน้าไปมาก มีการใช้สารเคมีบางชนิดและเทคโนโลยีใหม่ ๆ บังคับให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้แน่นอนขึ้นและกระทำได้อย่างกว้างขวางกับไม้ผลหลายชนิด

อย่างไรก็ตาม การผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลก็ยังเป็นศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง กล่าวคือ แม้ว่าในขณะนี้เราสามารถผลิตไม้ผลนอกฤดูขึ้นได้ในพืชหลายชนิดและนั่นก็ไม่ใช่ว่าจะกระทำได้อย่างแน่นอนหรือกระทำได้ทั่ว ๆ ไปในทุกสภาพท้องที่แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายชนิดอาทิเช่น พันธุ์ ความสมบูรณ์ของต้น สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนเทคนิคและวิธีปฏิบัติของแต่ละคน ในบางครั้งถึงแม้จะมีปัจจัยเหล่านี้อยู่อย่างครบถ้วนแล้วก็ตามการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลก็อาจไม่ประสบผลสำเร็จเต็มที่เสมอไป

ดังนั้น เนื้อหาหรือข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นเพียงแนวทางอย่างกว้าง ๆ ที่ได้นำเสนอเพื่อเป็นลู่ทางไปสู่การผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลขึ้น หากเกษตรกรหรือชาวสวนนำไปปฏิบัติกันจริง ๆ ก็ควรจะศึกษาให้ลึกซึ้งถึงขั้นตอนและรายละเอียดในการปฏิบัติ ตลอดจนข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ที่จะนำไปปฏิบัติต่อไป



แนวทางในการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล
ไม้ผลเป็นพืชที่ทำให้ออกดอกนอกฤดูกาลได้ยาก หรือแม้ในฤดูเองบางครั้งก็ทำได้ยากเช่นกัน ทั้งนี้เพราะยังไม่สามารถกระทำได้หลายวิธีด้วยกันกล่าวคือ

1. การใช้พันธุ์ทะวาย
พันธุ์ทะวายโดยทั่ว ๆ ไปเกิดจากการกลายพันธุ์ผ่าเหล่าที่แตกต่างไปจากต้นเดิม และต่อมาก็กลายพันธุ์กันอย่างถาวร เมื่อขยายพันธุ์จากต้นที่กลายพันธุ์อย่างถาวรก็ยังคงปรากฏว่ายังคงมีการทะวายอยู่เช่นเดิม ปัจจุบันมีไม้ผลหลายชนิดที่เป็นพันธุ์ทะวายและส่วนใหญ่จะรู้จักกันในมะม่วง เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้ ทะวาย พิมเสนมันทะวาย ทองดำทะวาย มันแห้งทะวาย แก้วทะวาย อกร่องมัน ทะวาย เหล่านี้เป็นต้น ส่วนในไม้ผลชนิดอื่น แม้จะไม่มีการแยกเป็นพันธุ์ทะวายโดยเฉพาะ แต่ก็มีไม้ผลหลายชนิดที่ทยอยกันออกผลเป็นเวลานานหลายเดือน อาทิเช่นขนุน ซึ่งมีการออกผลยาวนานถึง 8 เดือน เช่น พันธุ์แม่น้อยทะวาย นอกจากนี้ยังมีทุเรียนบางสายพันธุ์ที่ปรากฏทะวายหรือออกผลนอกฤดูกาล โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทองซึ่งมีการวางขายเกือบตลอดปี

2. การใช้พันธุ์เบา
พันธุ์เบาก็คือพันธุ์ที่อาจจะมีการออกดอกก่อนหรือออกดอกพร้อมกับพันธุ์กลางหรือพันธุ์หนักก็ได้ แต่ช่วงการสุกแก่ของผลจะเร็วกว่าพันธุ์กลางหรือพันธุ์หนัก การทำให้พันธุ์เบาออกดอกก่อนฤดูนั้นสามารถทำได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำสายพันธุ์เบาไปปลูกในต่างพื้นที่ และออกดอกก่อนการออกดอกในสภาพพื้นที่ปลูกเดิมอีกด้วย เช่น ลำไยพันธุ์อีดอ สามารถนำมาปลูกทางภาคกลางและบางพื้นที่ของภาคตะวันออกได้ และออกดอกให้ผลเร็วกว่าภาคเหนืออีกด้วย

3. การประวิงวงจรก่อนเก็บเกี่ยว
การทำให้ไม้ผลเก็บเกี่ยวล่าช้ากว่าปกตินั้น นอกจากจะใช้สายพันธุ์หนักแล้ว และสามารถประวิงเวลาการออกดอกได้อีกเล็กน้อยตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเร่งให้ไม้ผลออกดอกก่อนกำหนดก็ต้องเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น เพื่อให้มีระยะเวลาพักตัวเร็วขึ้น แต่ถ้าต้องการให้ไม้ผลออกดอกช้ากว่าปกติ ก็ต้องประวิงเวลาการแก่ของใบให้ช้ากว่าปกติ เพื่อให้เกิดการพักตัวช้ากว่าปกติเล็กน้อย การทำให้ใบแก่ช้ากว่าปกติไม้ได้หมายความว่า จะให้ใบแก่เมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติของการดอก ซึ่งมีปัจจัยเรื่องความหนาวเย็นของอากาศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยปกติแล้วการทำให้ใบแก่ช้ากว้าปกติ จะต้องทำให้ใบแก่เต็มที่พร้อมจะออกดอกได้ก่อนที่อากาศหนาวเย็นจะหมดไป ซึ่งอาจช้ากว่าปกติได้ไม่เกิน 20 วัน ฉะนั้นการประวิงเวลาให้ใบแก่ช้าเมื่อหมดฤดูหนาวแล้วจึงทำไม่ได้เพราะอากาศไม่หนาวเย็นพอ ดังนั้นการบังคับให้ไม้ผลออกดอกล่าช้ากว่าปกติจะต้องทำการควบคุมสภาพลำต้นและใบให้อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะออกดอกอย่างเข้มงวด มิเช่นนั้นแล้ว ถ้าพลาดไปก็แสดงว่าในปีนั้นจะไม่มีการออกดอกเลย

4. การใช้วิธีตัดแต่งกิ่ง
มีไม้ผลหลายชนิดเมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วจะตอบสนองต่อการออกดอกได้ดี ไม้ผลในกลุ่มนี้ เช่น น้อยหน่า องุ่น ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน เป็นต้น ในน้อยหน่าโดยธรรมชาติแล้วก่อนการออกดอก น้อยหน่าจะเคลื่อนย้ายธาตุอาหารจะใบมาสะสมที่ลำต้นและกิ่งแล้วจะทิ้งใบ เมื่อมีความชื้นในดินเหมาะสมน้อยหน่าจะแตกกิ่งใหม่พร้อมกับการออกดอก ในองุ่น และฝรั่งก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรมักจะเลือกฤดูในการตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้มีการออกดอก และเก็บผลผลิตได้ในช่วงที่ไม่ตรงกับผลไม้อื่น

5. การตัดแต่งราก
การตัดแต่งรากมีจุดประสงค์เพื่อให้ต้นไม้หยุดการเจริญทางกิ่งและใบ เพื่อให้ต้นไม้เกิดการพักตัวและสะสมอาหารเตรียมไว้ก่อนการออกดอก ฉะนั้น เมื่อรากของต้นไม้ถูกตัดโดยเฉพาะรากฝอย ซึ่งเป็นรากที่หาอาหารและน้ำมีน้อยลงก็จะทำให้เกิดการสะสมอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ต้นไม่ก็สามารถออกดอกได้ ในการตัดแต่งรากนอกจากจะทำให้พืชออกดอกได้แล้ว ยังทำให้เกิดรากใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้นได้ดีขึ้น

6. การรมควัน
การรมควันเป็นวิธีการหนึ่งที่ค้นพบโดยบังเอิญ กล่าวคือ แต่เดิมไม่มีการใช้สารเคมีกันอย่างแพร่หลายเหมือนเช่นปัจจุบันนี้ เกษตรจึงได้หาวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่มาทำลายได้ผล การรมควันก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ชาวสวนได้ทดลองปฏิบัติกัน แม้ว่าควันไฟไม่สามารถฆ่าแมลงได้ทั้งหมดก็ตามแต่อย่างน้อยก็เพียงพอที่จะไล่แมลง ให้บินหนีไปได้ ต่อมาชาวสวนสังเกต และพบว่าไม้ผลบางชนิด โดยเฉพาะมะม่วงที่ถูกควันไฟ สามารถออกดอกได้ดีกว่าต้นทีไม่ถูกควันไฟ และยังพบว่าอีก ต้นที่ถูกควันไฟยังออกดอกได้เร็วกว่าต้นที่ไม่ถูกควันไฟอีกด้วยเมื่อมีการสังเกตนานเข้า ก็ลงความเห็นว่า ควันไฟช่วยให้ได้ผลบางชนิดออกดอกได้ดีและออกดอกก่อนฤดูกาลได้อีกด้วย และได้ปฏิบัติกันมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

7. การกักน้ำ
การกักน้ำก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้เช่นเดียวกัน โดยพบว่า ถ้ามีการกักน้ำก่อนถึงฤดูการออกดอก ซึ่งทำให้ความชื้นในดินน้อยลง ก็จะเป็นผลให้ต้นไม่มีการออกดอกเร็วขึ้น และในทางกลับกัน ถ้าให้น้ำเป็นปริมาณที่มากไปจนถึงฤดูออกดอกก็ทำให้การออกดอกล่าช้าออกไป ด้วยวิธีเดียวกันนี้ได้มีการทดลองในส้มเขียวหวาน เพื่อบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกล่าช้ากว่าปกติเพื่อเป็นการยืดเวลาการเก็บเกี่ยวออกไป ซึ่งปกติแล้วส้มเขียวหวานจะเก็บเกี่ยวผลได้มากในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงธันวาคม แต่ชาวสวนต้องการยืดเวลาเก็บเกี่ยวออกไปจนถึงปลายเดือนมกราคมต่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อกักส้มเขียวหวานเอาไว้รอจำหน่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยใช้วิธีการทดน้ำเข้าไปช่วยตลอดเวลาที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว ซึ่งสามารถบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกช้าปกติได้

8. การทรมานต้นไม้
การทรมานต้นไม้เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาลได้ วิธีการนี้ในครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นการกระทำที่บังเอิญมากกว่าการจงใจ และเมื่อเห็นว่าสามารถบังคับให้ไม้ผลออกดอกฤดูกาลได้ ก็กระทำกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับวิธีการต่าง ๆ ในการทรมานต้นไม้มีดังต่อไปนี้

- การควั่นกิ่ง การควั่นกิ่งเป็นการควั่นเอาเปลือกกรอบกิ่งหรือรอบลำต้น เพื่อให้มีรอยแผล แคบ ๆ ปรากฏอยู่ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เซลล์ท่ออาหารถูกตัดขาด แต่เนื้อเยื่อเจริญและเซลล์ท่อน้ำตรงบริเวณแผลยังคงอยู่อย่างเดิม ดังนั้นอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วก็จะเคลื่อนที่ลงมาคั่งอยู่ในบริเวณเหนือรอยแผลขึ้นไป ซึ่งมีผลทำให้ไม้ผลออกดอกได้
การลอกเปลือกออกเป็นแถบ วิธีการนี้ใช้มีดคม ๆ กรีดเปลือกให้เป็นแถบเล็ก ๆ ยาวพอประมาณตามความยาวของกิ่ง แล้วลอกดึงเอาเปลือกไม้ออกก็จะทำให้เกิดการสะสมอาหารไว้เหนือรอยแผล ซึ่งผลที่ได้ก็เช่นเดียวกันสับการควั่นกิ่ง

- การเฉือนเปลือกเป็นรูปปากฉลาม วิธีการนี้ให้เฉือนกิ่งหรือลำต้นด้วยมีดคม ๆ ให้ลึกเข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณนั้นยาวประมาณ 1-2 นิ้วก็จะเป็นรูปปากฉลาม จากนั้นจึงใช้ก้านไม้ขีดสอดขัดเอาไว้แล้วจึงใช้เชือกพลาสติกพันทับส่วนนี้ให้กระชับและแน่น อาหารก็จะเคลื่อนย้ายไม่สะดวก เป็นผลให้ส่วนปลายของกิ่งเกิดดอกได้

- การสับเปลือก ในสมัยก่อนการสับเปลือกรอบบริเวณลำต้นหรือกิ่งของไม้ผลนิยมทำกับมะม่วงและขนุนที่ไม่ยอมออกดอก โดยใช้มีดโต้หรือขวานสับตามกิ่งหรือลำต้น ก็จะทำให้ไม้ผลออกดอกได้เช่นเดียวกัน

- การใช้ลวดรัดรอบกิ่งหรือรอบต้น วิธีนี้นิยมทำกับไม้ผลที่ยังมีขนาดเล็กอยู่โดยใช้ลวดเส้น เล็ก ๆ รัดรอบต้นหรือรอบกิ่ง เมื่อทำเสร็จควรใช้ปูนแดงหรือสีน้ำมันทาแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผล จากนั้นให้ใช้เชือกพลาสติกหรือเทปพันสายไฟพันหุ้มทับเพื่อป้องกันน้ำเข้าแผล เมื่อกิ่งหรือลำต้นโตขึ้นลวดที่ได้รัดไว้ก็จะรัดเปลือกขาดเช่นเดียวกับการควั่นกิ่ง ทำให้ต้นไม้ผลออกดอกได้เช่นกัน

- การงอกิ่ง การงอกิ่งเป็นการงอหรือตัดกิ่งไม้ผลที่มีขนาดโตหรือกิ่งแก่เพื่อให้เอนมาสู่แนวระดับ และผูกมัดเชือกยึดไว้ให้แน่น ซึ่งสามารถทำให้ไม้ผลออกดอกได้ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ได้มีการทดลองงอกิ่งมะนาวเตี้ยที่มีความยาวประมาณ 1 คืบ ซึ่งต่อกิ่งบนต้นตอส้มโอ พบว่ากิ่งของมะนาวเตี้ยกิ่งนั้นสามารถผลิดอกออกมามากมาย

- การทำให้ใบร่วง วิธีการนี้นิยมกระทำกับส้มเขียวหวาน โดยปล่อยให้ส้มเขียวหวานขาดาน้ำก่อนฤดูออกดอกเล็กน้อย เมื่อส้มเขียวหวานขาดน้ำใบก็จะร่วงหล่นเป็นผลให้อัตราส่วนคาร์โบไฮเดรตและในโตรเจนที่อยู่ในต้นมีปริมาณพอเหมาะที่จะเกิดดอก ส้มเขียวหวานก็จะออกดอกออกมาให้เห็น

9. การเลือกช่วงฤดูกาลปลูก
การเลือกช่วงฤดูกาลปลูกมักจะทำกับไม้ผลที่มีอายุสั้น เช่น กล้วย มะละกอ ซึ่งปกติแล้วการปลูกของเกษตรกรที่อาศัยน้ำฝนส่วนใหญ่จะปลูกต้นฤดูฝนหากเกษตรการที่อยู่ในเขตชลประทานหรือ เกษตรกรที่สามารถหาแหล่งน้ำได้ และปลูกพืชดังกล่าวในช่วงปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้ง เมื่อครบอายุของพืช พืชดังกล่าวก็จะออกดอกติดผลได้เอง ซึ่งจะไม่ตรงกับฤดูที่คนอื่นเขาปลูกกัน

10. การใส่ปุ๋ยเคมี
การใส่ปุ๋ยเคมีก็มีผลทำให้ไม้ผลออกดอกได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงและปุ๋ยคอก ปุ๋ยชนิดดังกล่าวถ้าให้กับไม้ผลที่มีอายุน้อยจะทำให้ออกดอกช้าลง เพราะปุ๋ยจะไปเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านและใบส่วนไม้ผลที่ให้ผลแล้ว การให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงจะทำให้ได้จำนวนดอกลดลง ดังนั้นในระยะที่ต้องการให้เกิดดอก ชาวสวนจะใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนน้อยลง และเพิ่มธาตุฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้ไปกระตุ้นการออกดอก ในประเทศไทยขณะนี้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ การใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท เพื่อเร่งให้มะม่วงออกดอก โดยใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นมะม่วง ทำให้มะม่วงออกดอกก่อนฤดูได้ประมาณ 15-21 วัน สำหรับพืชพวกส้มหรือมะนาว อาจใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อทำให้ใบร่วงและเกิดการแตกกิ่งใหม่ออกมาพร้อมกับการออกดอก

11. การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต
การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตกับไม้ผลนั้น นับว่าเป็นวิธีใหม่สำหรับเกษตรกรไทย ส่วนในต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว อย่างไรก็ตามงานทดลองทางด้านการบังคับให้ไม้ผลออกดอกนอกฤดูกาล ยังไม่ไม่ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง และผลการทดลองที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ยังเป็นการทดลองกับไม้ผลเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น

12. การใช้อุณหภูมิต่ำ
อุณหภูมิก็มีผลต่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลเช่นกัน กล่าวคือ อุณหภูมิต่ำจะมีผลทำให้การสังเคราะห์แสงลดน้อยลง ซึ่งจะมีผลไปถึงการออกดอกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในไม้ผลหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ ถ้าปีใดที่อากาศเย็น (อุณหภูมิต่ำ) ในปีนั้นไม้ผลดังกล่าวจะออกดอกได้มากกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะความหนาวเย็น ไปกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนหรือสารอื่น ๆ ที่ช่วยในการออกดอกนั่นเอง


ผลกระทบจากการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล
การผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลนั้น มีจุดประสงค์หลักเพื่อต้องการขายผลผลิตในราคาที่สูงกว่าปกติและมีผลผลิตออกมาจำหน่ายตลอดทั้งปี แต่ถ้าจะมองในแง่ของผลกระทบจากการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลแล้ว ย่อมจะเห็นได้ว่ามีเรื่องที่เสี่ยงอยู่หลายประการเช่นกัน
1. การผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล เป็นการเปลี่ยนวงจรชีวิตของพืช ทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่งก้านและใบ ตลอดจนถึงการออกดอก ติดผล ซึ่งอาจจะเร่งให้เจริญเติบโตเร็วกว่าปกติหรือช้ากว่าปกติก็ได้

2. อาจเกิดความสับสนในเรื่องการตลาด ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในทวีปยุโรป จะมีหน่วยงานที่รับซื้อผลไม้ ผักเมืองร้อนและผลผลิตนอกฤดูของยุโรปอยู่ ดังนั้นเมื่อเรามีการผลิตผักหรือไม้ผลนอกฤดูขึ้นก็ย่อมมีผลกระทบต่อตลาดเหล่านั้นด้วย

3. เป็นปัญหาต่อการวางแผนพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพราะไม่ทราบว่า ผลไม้ที่ผลิตได้มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ตลอดจนฤดูกาลผลผลิตผลไม้แต่ละชนิดที่จะออกสู่ตลาดเพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป

4. การผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล ถ้าจะทำการผลิตเพื่อการส่งออก ควรจะต้องรู้ถึงช่วงฤดูการผลิตไม้ผลของต่างประเทศด้วย ทั้งนี้เพราะ ถ้าหากเราสามารถผลิตไม้ผลนอกฤดูในประเทศได้เป็นปริมาณที่มากพอที่จะส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศแต่กลับไปตรงกับฤดูการผลิตไม้ผลของประเทศนั้น ๆ เข้า แทนที่จะได้ราคาดีกลับจะต้องประสบกับปัญหาการขาดทุนเรื่องนี้ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน

5. การผลิตไม้ผลนอกฤดูในปัจจุบันนี้ ส่วนมากใช้สารเคมี และสารเคมีที่ใช้อยู่นั้นก็มีราคาที่ค่อนข้างสูง และเป็นที่แน่นอนว่าต้องมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้นหากมีการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาลกันมากขึ้น ปริมาณการใช้สารเคมีก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และจะต้องมีการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ฉะนั้นผลที่ตามมาก็คือ ต้องเสียเงินเพื่อซื้อสารเคมีมากขึ้นทำให้ประเทศต้องขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นไปอีก
ต่อไปนี้เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อบังคับให้ไม้ผลบางชนิดออกดอกฤดูกาล ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการทดลองที่ได้จากนักวิชาการเกษตร และตัวเกษตรกรเอง




มะม่วง
มะม่วง เป็นผลไม้ที่คนไทยให้ความนิยมชมชอบมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดีประกอบกับเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้วิทยาการในการผลิตมะม่วงได้ก้าวหน้าไปมากมีการใช้เทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผลตลอดจนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และโดยเฉพาะในเรื่องของการออกดอกของมะม่วงนั้นในขณะนี้ เราสามารถบังคับใช้มะม่วงออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่ยุคใหม่ของการเกษตร วิธีการในการชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูนั้นได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการเกษตรหลายท่าน จนเป็นผลทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเราสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลกันได้มากขึ้น และเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การค้นคว้า ทดลองของนักวิชาการเกษตรดังกล่าวคงจะก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นที่สามารถกำหนดปัจจัยในการบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกติดผลได้มากจนถึงกับสามารถกำหนดระยะเวลาของการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและแน่นอน และก้าวหน้าต่อไปในมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ

ปัจจัยที่มีผลต่อการชัดนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบสำเร็จมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอก ติดผล หรืออาจจะมีการออกดอก ติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโดง กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น. ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา 1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช่มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่านออกมาแล้ว 2 ชุดและใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่าใบพวง

3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการบังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออดดอกนอกฤดูกาล
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้ายสารเคมี

ก. การสุมไฟ การสุมไฟหรือการรมควันให้กับต้นมะม่วงเป็นวิธีการกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าฤดูกาลปกติ โดยให้ควันไฟผ่านเข้าไปในพุ่มต้นมะม่วงเพื่อให้มะม่วงแตกตาดอกออกมา แต่วิธีการนี้มีข้อเสียอยู่บ้างกล่าวคือต้องใช้แรงงานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นข้อควรคำนึงก็คือการเลือกต้นมะม่วงสำหรับสุมไฟต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้นมะม่วงที่สุมไฟแล้วจะออกดอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นต้นที่มีกิ่งและใบแก่เต็มที่ ถ้าหากใบยังอ่อนอยู่หรือกิ่งยอดยังแก่ไม่พอ ก็ไม่สามารถยังคับให้ออกดอกด้วยวิธีนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงควรเลือกต้นมะม่วงที่มีใบสีเขียวแก่ ผิวด้านหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเปราะง่าย (เมื่อขยำด้วยมือ) สภาพของต้นและตายอดต้องอยู่ระยะพักตัว

วัสดุที่ใช้สุมไฟที่ดีได้แก่ใบไม้แห้ง หญ้าดิบ แกลบ กิ่งไม้และเศษวัสดุอื่น ๆ ในการก่อกองไฟควรให้กองไฟอยู่เหนือลมเพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ง่าย และอาจใช้แผงกั้นที่ทำจากทางมะพร้าวหรือไม้ไผ่มากั้นไว้เพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้นและจะต้องให้กองไฟอยู่ห่างจากโคนต้นในระยะที่ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วง ส่วนระยะเวลาของการรมควันจะสั้นหรือเร็วจะขึ้นอยู่กับสภาพของต้นและกิ่งมะม่วง กล่าวคือถ้ากิ่งมะม่วงเป็นกิ่งที่มีอายุมากและผ่านการพักตัวมาแล้ว ระยะเวลาของการรมควันจะสั้นเข้า แต่ถ้าเป็นกิ่งที่มีอายุน้อย ระยะเวลาของการรมควันก็จะมากขึ้น นอกจากนี้แล้วในการสุมไฟต้นมะม่วงให้ทำทั้งกลางวันและกลางค้นเป็นเวลาหลาย ๆ วันติดต่อกันจนกระทั่งตาดอกเริ่มปรากฏให้เห็น แต่ถ้าตาดอกไม่เกิดหลังจากที่ได้สุมไฟไปแล้วประมาณ 9-15 วัน ก็ให้เลิกสุมไฟแล้วเริ่มไฟ หลังจากหยุดรมควันไปได้ 20-30 วัน และเมื่อตาเริ่มผลิออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตาที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นตาดอกหรือตาใบ ต้องรอจนกระทั่งตาขยายตัวขึ้น ถ้าตาที่ปรากฏเป็นตาดอกก็จะมีรูปร่างเป็นจงอย ส่วนตาที่เจริญเป็นกิ่งหรือเป็นใบ จะมีรูปร่างเป็นทรงยาวและตั้งตรงอย่างไรก็ตามการบังคับให้มะม่วงออกดอกด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการยุ่งยากและมีวิธีอื่นที่สะดวกกว่าและได้ผลที่แน่นอนกว่า

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงอออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมาซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่

1. สารโปแตสเซียมไนเตรท ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปแตสเซียม ไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งการออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม้ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติ รวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1.1 ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่าแต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรทเพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่น ๆ ที่เป็นพิษกับพืชซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้

1.2 ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กิโลกรัม) ผสมน้ำ 20 ลิตรก็จะได้โปแตสเซียมไนเตรทเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น

1.3 ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามือ ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่าหลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการแดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว.

1.4 การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วันถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมากเนื่องจากโปแตสเซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก

2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. (N.A.A) ฮอร์โมนเอ็นเอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์ แพลนนิโมนศ์ฟิกซ์แพนเตอร์ เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือเมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน ได้มากขึ้น และเอทธิลีนนี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้วให้การทำการฉีดพ่นใบมะม่วงที่แก่เต็มที่ (ซึ่งเป็นใบที่แตกจากใบอ่อนครั้งสุดท้าย) ก่อนถึงฤดูกาลออกดอกของมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 กรัม

3. สารพาโคลบิวทราโซล เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์ มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผลซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจนน้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป้ฯระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินมีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมากก็คือการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลงและมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทนจากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มากขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซลก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินได้ดี

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจาการใช้สาร เป็นต้น สารพาดคลบิวทราโซลก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้นควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ

1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสุงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือมะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่า ๆ กัน

2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณมากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไป หรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก

3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้

4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซลให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล

5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดุดเอาสารพาโคลบิวทราโซลเข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป

6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี

7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงทีมีอายุน้อยและขนาดทรงพุ่มเล็กกว่า

ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซง และศาลายา เป็นต้น แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็นต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสาร โปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5 % ( ใช้โปแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5 % จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้นภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณ วันที่ 25-30 ธันวาคม ) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนดวันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

วันที่ (โดยประมาณ) ขั้นตอนการปฏิบัติ
*** 4-19 พฤษภาคม กระตุ้นการออกดอกด้วยสารพาโคบิวทราโซล = 75-90 วัน

*** 2 สิงหาคม มะม่วงเริ่มแตกตาดอกเร่งการออกดอกด้วยสาร โปแตสเซียมไนเตรท 2.5 %หรือไทโอยูเรีย 0.5% = 14 วัน

*** 16 สิงหาคม มะม่วงแทงช่อดอก = 21 วัน

*** 6 กันยายน ดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ 100-200 วัน (ขึ้นอยู่กับพันธุ์มะม่วง)

*** 26-30 ธันวาคม เก็บผลผลิต

หมายเหตุ : วันที่ปฏิบัติอาจเปลี่ยนไปได้ตามสภาพพื้นที่และความสมบูรณ์ของต้น




มะนาว
มะนาว เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน นอกจากใช้ในการปรุงแตงรสชาติของอาหารแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือเป็นส่วนผสมของตัวยาสุมนไพรหลายชนิดและใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้ด้วย การปลูกมะนาวในสมัยก่อนนั้นมักจะปลูกกันแบบสวนหลังบ้านเพื่อไว้ใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือน และถ้าผลผลิตเหลือจากการบริโภคจึงนำมาซื้อขายกัน ในปัจจุบันนี้ความต้องการใช้มะนาวมีมากขึ้นตามลำดับพร้อม ๆ กับการเพิ่มปริมาณของพลเมืองและการขยายตัวทางอุตสาหกรรมที่ใช้มะนาวเป็นองค์ประกอบในการผลิต มะนาวจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญและเข้ามามีบทบาททางการค้ามากขึ้น สามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกได้ดีพอสมควร ดังนั้นเกษตรกรทั่วไปจึงได้ให้ความสนใจและปลูกกันเป็นการค้ากันอย่างกว้างขวางในหลายท้องที่ของประเทศ พันธุ์มะนาวที่เกษตรกรใช้ปลูกนั้นส่วนมากจะเป็นมะนาวพื้นเมือง ซึ่งแม้จะออกดอกติดผลได้ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตในช่วงฤดูฝนเท่านั้น เมื่อถึงฤดูแล้งการให้ผลก็จะลดน้อยลง เป็นผลให้ราคามะนาวที่ซื้อขายกันในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น คือ ตกผลละ 1.50-3 บาท ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่แพงมากเมื่อเทียบกับมะนาวในฤดูปกติ ซึ่งตกผลละ 10-30 สตางค์เท่านั้น และเนื่องจากราคามะนาวในหน้าแล้งแพงมากนี้เองจึงทำให้เกษตรกรสนใจที่จะทำให้มะนาวออกผลในช่วงนี้กันมาก

อย่างไรก็ตามการที่ทำให้มะนาวมีผลในช่วงหน้าแล้งนั้นย่อมมีปัญหาหลายประการด้วยกันโดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแต่ละแหล่งปลูกและสภาพความสมบูรณ์ของต้น และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าระยะการออกดอกตามฤดูกาลของมะนาวนั้นกินเวลาประมาณ 3 เดือน แต่เนื่องจากสภาพธรรมชาติของแต่ละแหล่งปลูกต่างกันประกอบกับสภาพการปฏิบัติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นช่วงเวลาการออกดอกของมะนาวจะกินเวลานานถึง 4-6 เดือน คือตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฏาคม แต่การออกดอกส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 3 เดือนแรก คือจากเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และผลมะนาวจะใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนเก็บขายได้ประมาณ 5 1/2 - 6 เดือน ฉะนั้นมะนาวจากแหล่งปลูกต่าง ๆ จะออกสู่ตลาดพร้อมกันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนและมีประปรายที่จะออกสู่ตลาดได้ถึงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ดังนั้น ถ้าต้องการให้มะนาวมีผลที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ต้องบังคับให้มะนาวออกดอกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำให้มะนาวออกดอกในช่วงนี้ทั้งนี้เพราะมีปัญหาหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่มะนาวอยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลหรือเพิ่มจะเก็บผลหมด ดังนั้นการสะสมธาตุอาหารในต้นเพื่อการออกดอกและติดผลยังมีไม่พอ และอีกประการหนึ่งก็คือในช่วงดังกล่าวจะมีฝนตกชุก การที่จะทำให้ใบมะนาวแก่เร็วขึ้นและร่วงหล่นไป เพื่อกระตุ้นให้มะนาวแตกกิ่งใหม่และออกดอกจึงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่สามารถทำให้ดินแห้งได้และโดยธรรมชาติแล้วมะนาวไม่ค่อยออกดอกในช่วงนี้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับสภาพโดยทั่ว ๆ ไปของมะนาว ทั้งนี้เพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการผลิตมะนาวในหน้าแล้ง ซึ่งพอที่จะชี้ให้เห็นถึงแนวทางของการปฏิบัติได้ ดังนี้

1. การผลิตมะนาวเพื่อขายในช่วงหน้าแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์กับอีกช่วงหนึ่งคือการผลิตมะนาวเพื่อขายในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้สูงสำหรับแหล่งปลูกที่มีการระบายน้ำดี

2. การผลิตมะนาวเพื่อขายในช่วงที่มีราคาแพง (เดือนมีนาคม-เมษายน) ซึ่งโอกาสที่จะบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลครั้งละมาก ๆ นั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยากทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

วิธีการบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูกาล
มะนาวเป็นพืชที่ไวต่อการขาดน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ชัดในช่วงที่มะนาวมีใบแก่จัด ถ้าปล่อยให้ขาดน้ำ ใบจะร่วงหล่นเร็วมากและจะแสดงอาการคล้ายจะตาย แต่ถ้าให้น้ำและปุ๋ยไปบ้าง มะนาวจะแตกใบใหม่และออกดอกตามมา และเมื่อใดที่ได้รับน้ำและปุ๋ยอย่างเพียงพอมะนาวจะแตกกิ่งใหม่ได้มาก ใบจะเขียวสดอยู่ได้นานและไม่ค่อยมีการออกดอกติดผล จากพฤติกรรมดังกล่าวจึงได้มีผู้คิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อบังคับให้มะนาวออกดอกได้คราวละมาก ๆ เช่น

1. ใช้วิธีตัดแต่งกิ่งหรือปลายกิ่งออกประมาณ 1-2 นิ้วทั้งต้นแล้วจึงมีการใส่ปุ๋ยเพื่อกระตุ้นให้เกิดการออกดอกขึ้น
2. ใช้วิธีการรมควันเพื่อให้ใบร่วงแล้วแตกใบใหม่พร้อมกับให้ดอกตามมาภายหลัง
3. ใช้ลวดเล็ก ๆ รัดโคนกิ่งใหญ่เพื่อให้มะนาวมีการสะสมอาหารเตรียมพร้อมที่จะออกดอก
4. งดการให้น้ำเพื่อทำให้ใบเหี่ยว แล้วกลับมารดน้ำและใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก
5. ปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกประมาณ 3-4 วัน แล้วจึงระบายน้ำออก
6. ใช้น้ำอุ่นค่อนข้างร้อนฉีดให้ใบร่วง
7. ใช้ปุ๋ยยูเรีย 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักละลายน้ำฉีดให้ใบไหม้และร่วง แล้วจึงใส่ปุ๋ยเร่งเพื่อให้มีการเกิดดอก

วิธีการตามที่ได้กล่าวมานี้ บางวิธีอาจทำให้มะนาวทรุดโทรมและตายได้หรือให้ผลผลิตแล้วตายไปเลย และบางวิธีก็ไม่เหมาะกับการปฏิบัติรักษาต่อมะนาวที่ปลูกไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นวิธีการที่ทำให้มะนาวออกดอกในหน้าแล้งโดยที่ไม่ทำให้มะนาวทรุดโทรมจนเกินไป ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1
งดการใช้น้ำชั่วระยะหนึ่งเพื่อปล่อยให้ใบเหี่ยว เมื่อใบเหี่ยวก็ให้น้ำเล็กน้อยสักหนึ่งวัน และเมื่อเห็นว่าต้นมะนาวมีการฟื้นตัวดีแล้วค่อยให้น้ำมาก ๆ ติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน จนดินชื้น แล้วจึงใส่ปุ๋ยเร่งดอกที่มีตัวกลางสูงเช่น ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-27-27 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรืออาจใส่กระดูกป่นลงไปด้วยก็ได้ นอกจากนี้อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยขี้หมูประมาณ 60 กิโลกรัม กระดูกป่น 6 กิโลกรัมและโปแตสเซียมซัลเฟต 3 กิโลกรัม ผสมเข้าด้วยกันแล้วใส่รอบโคนต้น จะได้ผลดีเช่นเดียวกัน

วิธีที่ 2
งดการให้น้ำประมาณ 7-15 วัน แล้วจึงทำการตัดแต่งกิ่งออกประมาณ 1-2 นิ้ว ให้ทั่วทั้งต้น การตัดแต่งกิ่งนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มะนาวแตกกิ่งวิธีนี้จะใช้เพื่อเพิ่มปริมาณการออกดอกติดผลในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม กับต้นมะนาวที่ติดผลในช่วงนี้ไม่ดกนัก

วิธีที่ 3
พ่นใบด้วยปุ๋ยยูเรียความเข้มข้น 5% (ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46% 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร) การฉีดพ่นควรฉีดไปที่ทรงพุ่มของมะนาวให้โชกทั่วทั้งต้น ประมาณ 4-5 วัน ต่อมาใบมะนาวจะเริ่มร่วงโดยเฉพาะใบแก่ส่วนใบอ่อนจะไม่ร่วง ลักษณะของใบมะนาวที่ร่วงนั้นคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกหลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 โรยใส่ต้นมะนาวต้นละ 1-2 กิโลกรัม ประมาณ 15-20 วันหลังจากที่ได้ฉีดพ่นปุ๋ยยูเรียไปแล้วมะนาวจะเริ่มออกดอก ในช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-14-14 อัตราต้นละ 200-300 กรัม โดยทิ้งห่างกันประมาณ 1 เดือน สัก 3-4 ครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผลมะนาว ในช่วงที่มะนาวเริ่มออกดอกจนถึงติดผลนี้จะต้องระวังอย่าให้มะนาวขาดน้ำเพราะจะทำให้ผลร่วงหรือการเจริญเติบโตของผลไม่ดีเท่าที่ควร มะนาวที่บังคับให้ออกดอกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ถ้ามีการปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าวมาแล้วเพื่อเข้าหน้าแล้งราวเดือนเมษายน ผลมะนาวจะแก่จัดและสามารถเก็บผลไปจำหน่ายได้

วิธีที่ 4
เป็นวิธีที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง วิธีนี้ไม่ทำให้ต้นมะนาวโทรมเร็วเหมือนกับวิธีแรก ๆ มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
1. ประมาณเดือนกันยายน ใส่ปุ๋ยเกรด 1:3:3 เช่นปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น และเก็บสะสมอาหารไว้บำรุงดอกต่อไป

2. ต้นเดือนตุลาคม งดให้น้ำเพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร

3. ปลายเดือนตุลาคม ให้น้ำอย่างเต็มที่หลังจากงดให้น้ำมาเป็นเวลา 15-20 วัน

4. ต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากที่ได้ให้น้ำไปแล้วประมาณ 7 วัน มะนาวจะเริ่มออกดอก ช่วงนี้ควรมีการพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลงในช่วงที่กำลังมีดอกอ่อน

5. ปลายเดือนพฤศจิกายน ดอกเริ่มบานและมีการติดผล ควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะนาวในช่วงที่กำลังติดผลเล็ก ๆ

6. ต้นเดือนธันวาคม ใส่ปุ๋ยเคมีเกรด 1:1:1 เช่นปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงให้ผลมีความสมบูรณ์ในขณะที่ผลมะนาวมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด

7. ประมาณเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปจะสามารถเก็บผลมะนาวออกจำหน่ายได้ ซึ่งตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี

8. หลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคมควรทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์และพร้อมสำหรับการผลิตมะนาวหน้าแล้งในปีต่อไป

วิธีที่ 5
เป็นวิธีที่ชาวสวนแถบจังหวัดเพชรบุรีนิยมปฏิบัติกัน ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนไม่ควรให้น้ำต้นมะนาว เพราะเป็นช่วงฤดูฝน และการทำให้ใบมะนาวร่วงในช่วงนี้จึงทำได้ยากเพราะยังมีฝนตกอยู่

2. ชาวสวนใช้วิธีทรมานเล็กน้อย โดยใช้กรรไกรตัดปลายกิ่งต้นมะนาวประมาณ 1-2 นิ้วออกทั่วทั้งต้น เสร็จแล้วจึงกระตุ้นด้วยปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-27-27 ในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม ปุ๋ยดังกล่าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูงจึงสามารถเร่งการออกดอกของมะนาวได้

3. ถ้าหากฝนไม่ตกก็ให้ใช้ปุ๋ยเม็ดละลายน้ำรดแทนทิ้งไว้ 14-21 วัน มะนาวจะเริ่มผลิใบและดอกออกมา หลังจากนั้นจึงใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมะนาวโดยใช้สูตร 20-14-14 หรือ 20-11-11 ในอัตราต้นละ 200-300 กรัม รวม 3-4 ครั้งโดยห่างกันครั้งละ 1 เดือนเพื่อเร่งให้ผลมะนาวโต

4. ในช่วงนี้ถ้าอากาศแห้งแล้ง ควรพรวนดินและใช้เศษหญ้าคลุมโคนมะนาวพร้อมกับรดน้ำ 10-14 วันต่อครั้ง จากนั้นดอกมะนาวจะค่อย ๆ เจริญเติบโตกลายเป็นผล จนสามารถเก็บจำหน่ายผลได้ในช่วงฤดูแล้งซึ่งตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี

วิธีที่ 6
ใช้สารพาโคลบิวทราโซล ซึ่งเป็นวิธีใหม่ล่าสุดเท่าที่มีการทดลองอยู่ในขณะนี้ และมีแนวโน้มว่ามะนาวตอบสนองต่อการใช้สารนี้ได้ดี ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเพื่อให้มะนาวเก็บเกี่ยวได้ในช่วงหน้าแล้ง โดยใช้สารพาโคลบิวทราโซลนั้นสามารถกระทำได้ดังนี้

1. ในเดือนกรกฎาคม ภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลมะนาวหมาดแล้ว ใช้บำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์ โดยทั้งนี้เพื่อจะให้มะนาวแตกใบอ่อน 1 ชุดก่อนการออกดอก

2. ต้นเดือนสิงหาคม ทำการตัดแต่งกิ่งมะนาวให้โปร่ง เพื่อให้ดินแห้ง ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้น สภาพที่ดินเป็นดินเหนียวควรควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-24 แต่ถ้าเป็นดินทรายให้ใช้ปุ๋ยสูตร 9-24-24 ในอัตรา 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของทรงพุ่มโดยหว่านรอบชายพุ่มเพื่อช่วยเร่งการเกิดดอกได้ดีขึ้น

3. ต้นเดือนกันยายน ให้รดสารพาโคลบิวทราโซลในอัตราเนื้อสาร 1 กรัม (เช่น คัลทาร์ 10 ซีซี.) ที่โคนต้นมะนาวในระยะใบเพสลาด แต่ก่อนทำการรดสารนั้นควรให้น้ำกับต้นมะนาว เพื่อให้ดินชุ่ม ซึ่งจะช่วยให้รากดูดซึมสารเข้าไปภายในต้นได้ดีขึ้น

4. ประมาณเดือนสิงหาคมต้นเดือนตุลาคม จะมีดอกมะนาวทะวายทยอยกันออกมาและจะต้องคอยปลิดดอกหรือผลเหล่านั้นทิ้ง เพื่อให้ต้นมะนาวมีอาหารสะสมมากพอสำหรับการเกิดดอกในปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายนได้มาก การปลิดดอกทิ้งอาจทำได้โดยใช้สารเคมีบางชนิด เช่น เอ็น.เอ.เอ. (N.A.A.) อัตรา 15-30 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ดอกและผลร่วง โดยที่ไม่มีอันตรายต่อใบแต่อย่างใด

5. ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกกำลังบานและมีการผสมเกสรเพื่อเจริญไปเป็นผล ช่วงนี้ต้องคอยดูแลกันเป็นพิเศษ และเมื่อผลมะนาวมีอายุได้ 1-2 เดือน ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคาถึงมกราคม เป็นระยะที่อากาศแห้งแล้งพร้อมกับมะนาวมีการพักตัวและผลัดใบเก่าทิ้ง ผลมะนาวมีโอกาสร่วงได้มากจึงต้องคอยระยังอย่าให้มะนาวขาดน้ำ และถ้าอากาศแห้งมากอาจพรมน้ำได้ด้วยก็ได้

6. หลังจากผลมะนาวมีอายุได้ 1-2 เดือนไปแล้ว จะเป็นช่วงที่ผลมะนาวมีการขยายขนาดของผลมาก จึงควรให้ปุ๋ยสูตร 15-5-20+2 (MgO) หรือสูตร 16-11-14+2 (MgO) ลงไปด้วย ถ้ามะนาวต้นไหนติดผลดกอาจเพิ่มปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือ สูตร 30-20-10 โดยฉีดพ่นทางใบเพื่อช่วยขนาดของผล

7. ประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มะนาวก็จะเก็บผลได้ (สำหรับมะนาวที่มีอายุการเจริญเติบโตของผลนานกว่านี้ ควรเลื่อนเวลาการบังคับการออกดอกให้เร็วขึ้นไปอีก)

8. ในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน หลังจากเก็บผลหมดแล้ว ควรทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีเช่นสูตร 15-15-15 เป็นประจำทุกปี ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งกิ่งมะนาวเริ่มแตกใบอ่อนซึ่งตรงกับช่วงฤดูฝนพอดี ซึ่งเป็นการเพียงพอที่จะให้มะนาวเก็บสะสมธาตุอาหารโดยเฉพาะพวกแห้งจนถึงระดับที่จะออกดอกได้ดีในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน แต่ถ้ากิ่งมะนาวแตกใบอ่อนล่าออกไปจนถึงปลายฤดูฝน อาจทำให้มะนาวออกดอกได้ไม่มากเพราะมีระยะเวลาที่จะสะสมอาหารพวกแห้งได้น้อย และถ้าหากต้นมะนาวไม่แตกใบอ่อนออกมา เราอาจใช้วีตัดปลายกิ่งหรือตัดแต่งกิ่งให้โปร่งและให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงพร้อมทั้งให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและในปริมาณที่เพียงพอ หรืออาจพิจารณาใช้สารที่กระตุ้นการพักตัวเช่น ไทโอยูเรีย 0.5% ฉีดพ่นให้ทั่วต้นในระยะที่ใบแก่จัดซึ่งจะทำให้มะนาวแตกใบอ่อนออกมาได้ ซึ่งเป็นการเตรียมตัวเพื่อจะบังคับให้มะนาวออกดอกและเก็บผลในหน้าแล้งต่อไปได้




ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคของบุคคลทั่วไปเนื่องจากมีรสชาติดีและราคาไม่แพงจนเกินไป ส้มเขียวหวานนอกจากจะใช้บริโภคภายในประเทศอย่างแพร่หลายแล้ว ยังมีการส่งส้มเขียวหวานไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีก เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซียซึ่งปีหนึ่ง ๆ มีมูลค่าหลายสิบล้านบาท และจากการที่ส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภคประกอบกับมีการส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศจึงทำให้มีพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นพอถึงช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม จึงมักมีปัญหาในเรื่องผลผลิตล้นตลาดอยู่เสมอ ๆ ประกอบกับมีผลไม้ชนิดอื่นเริ่มทยอยอกสู่ตลาดมากขึ้น จึงทำให้ราคาของส้มเขียวหวานลดต่ำลงมา เมื่อเป็นเช่นนี้เกษตรกรที่ปลูกส้มเขียวหวานก็พยายามที่จะหาวิธีการที่จะผลิตส้มเขียวหวานนอกฤดูกาลขึ้นเพื่อให้ผลผลิตมีขายตลาดปีและจำหน่ายได้ในราคาสูง

วิธีการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดูกาล
ปกติแล้วส้มเขียวหวานที่ปลูกกันโดยทั่วไปนั้น จะออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และผลแก่สามารถได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ระยะเวลานับจากออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 9 เดือน แต่ถ้าจะนับจากเริ่มมีการกักน้ำจนเก็บผลผลิตก็ตกประมาณ 10 เดือนเต็ม หากคำนึ่งถึงความเป็นไปได้ของการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกนอกฤดูจะเห็นได้ว่าส้มเขียวหวานที่ปลูกแบบยกร่องสามารถทำให้ออกดอกตามเวลาที่ต้องการได้ เนื่องจากสามารถควบคุมระดับน้ำได้ง่ายนั่นเอง แต่ถ้าเป็นส้มที่ปลูกในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เช่น จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมักจะมีปัญหาในเรื่องการให้น้ำเป็นประจำก็ต้องปล่อยให้มีการออกดอกติดผลตามฤดูปกติ และนับว่าธรรมชาติได้เป็นใจที่ให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือออกดอกช้ากว่าส้มที่ปลูกในภาคกลาง คือ จะเริ่มมีการออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และจะเก็บผลได้ในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ส้มในภาคกลางกำลังจะหมดไปจากตลาดพอดี มีผลทำให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือจำหน่ายได้ในราคาที่ดีพอสมควร

การบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดูนั้นจะนิยมทำกับสวนที่ปลูกแบบยกร่องเพราะสามารถทำได้ง่ายกล่าวคือ ถ้าต้องการจะให้ผลส้มแก่ในช่วงไหนก็ต้องนับย้อนหลังไปประมาณ 10 เดือน แล้วเริ่มทำการงดให้น้ำ (การงดน้ำนี้จะเป็นกระตุ้นให้ต้นส้มมีการสะสมสารประกอบประเภทแป้งและน้ำตาลภายในต้นให้สูงขึ้นจนทำให้อัตราส่วนระหว่างแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเดิมซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะเป็นปัจจัยทำให้ส้มเขียวหวานสามารถออกดอกได้) ในขณะที่ทำการงดน้ำนั้นจะต้องสังเกตว่าส้มเขียวหวานไม่มีใบอ่อน หากมีใบอ่อนจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งใบเพื่อให้มีใบแก่ตลอดทั้งต้น ปุ๋ยที่ใช้เร่งใบได้แก่ปุ๋ยสูตร 1:3:3 เช่น สูตร 8-24-24 และเมื่อใบแก่แล้วจึงค่อยทำการงดน้ำต่อไป สำหรับเหตุผลที่ไม่ทำการงดน้ำในช่วงที่ส้มยังมีใบอ่อนก็คือจะทำให้ต้นโทรมมากและระบบรากก็จะเสียไป ทั้งนี้เพราะรากจะต้องดูดน้ำและธาตุอาหารอย่างมากเพื่อเลี้ยงใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต

วิธีการงดน้ำที่ชาวสวนกระทำกันทั่วไป ๆ ไปนั้น โดยการสูบน้ำออกจากร่องสวนให้หมด ต่อมาอีกประมาณ 15-20 วัน จะเห็นส้มแสดงอาการขาดน้ำโดยใบจะเริ่มห่อเข้าหากัน ต่อจากนั้นควรให้น้ำอย่างเต็มที่ โดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงจนถึงโคนต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร แล้วจึงลดระดับน้ำลงอยู่ในระดับปกติเหมือนกับระดับก่อนที่จะทำการงดน้ำ แต่ถ้าเป็นส้มเขียวหวานที่มีใบแก่แต่ยังไม่มีการใส่ปุ๋ยเร่งใบมาก่อน พอถึงช่วยนี้ควรให้น้ำอย่างเต็มที่โดยการรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นประมาณ 7 วันจะเริ่มมีการแทงตาดอกออกมาให้เห็น เมื่อมีดอกออกมาแล้วก็ให้น้ำตามปกติประมาณ 30 วันต่อมาดอกจะบานและมีการติดผลในช่วงนี้ควรมีการฉีดยาป้องกันกำจัดแมลงศัตรูด้วย และเมื่อผลโตได้ขนาดเท่าหัวแม่มือให้ใส่ปุ๋ยเกรด 1:1:1 เช่นปุ๋ยสูตร 15-15-16 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงผลให้มีการเจริญอย่างเต็มที่ จนเมื่อส้มเขียวหวานมีอายุผลได้ประมาณ 5 เดือนควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังสูง เช่น สูตร 13-13-21 เพื่อทำให้คุณภาพของส้มดีขึ้น และเป็นการเพิ่มความหวานให้กับผลส้มด้วย และก่อนเก็บเกี่ยวผลประมาณ 10 วันควรหยุดการให้น้ำเพื่อให้ผลส้มมีรสชาติเข้มข้น เนื้อจะไม่ฉ่ำน้ำและสามารถเก็บรักษาผลส้มไว้ได้นานกว่าแบบที่ไม่งดน้ำในช่วงนี้ จะเห็นได้ว่าการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกักน้ำนี้ เป็นการกระทำที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและมีผลดีคือสามารถกำหนดวันที่จะจำหน่ายผลผลิตได้แน่นอน และผลผลิตที่ได้จะออกมาพร้อมกันและมีปริมาณมากในครั้งหนึ่ง ๆ ซึ่งทำให้สะดวกในการขายผลผลิต แต่อย่างไรก็ตามการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกัดน้ำนี้ย่อมจะมีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือจะทำให้ต้นส้มโทรมเร็วกว่าการปล่อยให้ออกดอกติดผลตามฤดูปกติ แต่เมื่อคำนึงถึงรายได้และราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ ย่อมคุ้มค่ากับการที่ท่านจะยอมเสี่ยงมิใช่หรือ




ส้มโอ
ส้มโอ เป็นผลไม้ในตระกูลส้มที่ทุกคนรู้จักดีและนิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวาง จัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพในด้านการส่งออกไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ส้มโอมีการปลูกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่แหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการปลูกส้มโอกันมาช้านานแล้วปัจจุบันส้มโอเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากประชาชนนิยมบริโภคกันมากขึ้นประกอบกับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เก็บไว้ได้นาน และเป็นผลไม้ที่ตรงกับรสนิยมของชาวต่างประเทศ มีการส่งส้มโอไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ นำเงินเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนหลายล้านบาท

ส้มโอที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปนี้ปกติจะเริ่มอกดอกในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์และผลแก่สามารถเก็บผลได้ในเดือนกันยายนถึงตุลาคม ถ้านับเวลาตั้งแต่วันออกดอกจนถึงเก็บผลได้ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน การเก็บเกี่ยวส้มในฤดูปกตินี้เรียนกันว่า ส้มปี และอาจมีส้มที่ออกนอกฤดูอีกบางส่วน ซึ่งเรียกว่า ส้มทะวาย

ส้มทะวายนี้เกิดได้ทั้งตามธรรมชาติและเกิดจากการบังคับ ส้มทะวายที่เกิดตามธรรมชาตินั้นมักจะเกิดตามแหล่งปลูกในที่ดอน เช่น แถบภาคกลางตอนบนขึ้นไปในแหล่งดังกล่าวนี้หลังจากฝนตกในช่วงต้นฤดูไปแล้ว ฝนมักจะเกิดการทิ้งช่วง การที่ฝนทิ้งช่วงนี้จะทำให้ส้มโอที่ปลูกอยู่เกิดการขาดน้ำ และหากมีการขาดน้ำในช่วงระยะหนึ่ง เช่นประมาณ 15-30 วัน ถ้ามีฝนตกลงมาอีกครั้งหนึ่งก็จะไปกระตุ้นให้ส้มโอเกิดการแทงดอกนอกฤดูทันที

ส่วนส้มทะวายที่เกิดจากการบังคับนั้น มักจะนิยมทำกับส้มโอพันธุ์ขาวพวงทั้งนี้เพราะพันธุ์ที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ โดยมีตลาดรับซื้อแถวประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์เพื่อนำไปใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ซึ่งตรงกับเดือนกันยายนของทุกปี ดังนั้นชาวสวนส้มโอจึงต้องการบังคับให้ส้มโอพันธุ์ขาวพวงออกดอกก่อนฤดูปกติ เพื่อให้ส้มโอแก่ทันก่อนตัดไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์หรือก่อนเทศกาลไหว้พระจันทร์เล็กน้อย

สำหรับวิธีการบังคับให้ส้มโอออกดอกนอกฤดูกาลนี้ใช้หลักการเดียวกันกับการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกนอกฤดูกาล กล่าวคือใช้วิธีงดน้ำหรือกักน้ำเป็นหลักสมมุติถ้าต้องการให้ส้มโอเก็บผลผลิตได้ในช่วงปลายเดือนกันยายน ต้องบังคับการใช้น้ำตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมของปีก่อน เมื่อส้มโอแสดงอาการขาดน้ำโดยใบเริ่มเหี่ยวเฉา (ประมาณ 20 วันหลังจากงดให้น้ำ) ก็ให้น้ำอย่างเต็มที่ ประมาณต้นเดือนมกราคมส้มโอจะเริ่มแตกใบอ่อนพร้อมทั้งออกดอก ช่วงนี้ควรมีการดูรักษากันเป็นพิเศษ จนเมื่อติดผลไปแล้วค่อยดูแลรักษาตามปกติเหมือนกับส้มที่ติดผลในฤดูปกติ จนครบ 8 เดือน ส้มโอก็แก่พอที่จะเก็บผลได้ซึ่งตรงกับช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนพอดี




สับปะรด
สับปะรด เป็นพืชใบเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถปลูกได้ในพื้นที่แทบทุกแห่งของประเทศไทย แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญอยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้ทะเล เช่น แถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และจังหวัดทางภาคใต้เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร ซึ่งนิยมปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา สับปะรดที่ปลูกกันทั่วไปนั้นมักจะออกผลทยอยกันตลอดปี และในปีหนึ่ง ๆ จะมีช่วงที่สับปะรดออกดอกและให้ผลมากอยู่ 2 ช่วงคือช่วงแรกสับปะรดจะออกดอกประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์และจะเก็บผลได้เดือนเมษายนถึงมิถุนายนและช่วงที่สองจะออกดอกประมาณเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมและจะเก็บผลได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม หากมีการปล่อยให้สับปะรดออกดอกตามธรรมชาติแล้วจะพบว่าการติดผลและเก็บผลจะไม่พร้อมกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยากมากในการเก็บเกี่ยวและการเลี้ยงหน่อในรุ่นต่อไป นอกจากนี้การออกดอกของสับปะรดตามธรรมชาติจะทำให้มีผลผลิตออกมาปริมาณมากในช่วงเดียวกัน ซึ่งทำให้สับปะรดที่ออกมาในช่วงดังกล่าวมีราคาที่ต่ำมาก ดังนั้นหากมีการบังคับให้สับปะรดออกดอกและให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกติ ทำให้สับปะรดมีราคาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของสวนสับปะรดต้องการหรือปรารถนาให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามในการบังคับให้สับปะรดออกดอก และให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกตินั้นย่อมจะต้องมีปัจจัยต่าง ๆ คอยควบคุมอยู่ ปัจจัยที่นับว่าสำคัญมาก ได้แก่สภาพความสมบูรณ์ของต้นสับปะรด มีขนาดเล็กเกินไปการบังคับจะทำไม้ได้ผลเนื่องจากต้นสับปะรดยังไม่มีความพร้อมหรือความสมบูรณ์พอหรือถ้าออกดอกได้จะทำให้ผลมีขนาดเล็ก สำหรับสับปะรดที่พร้อมจะทำการบังคับนั้นต้องเป็นสับปะรดที่มีความสมบูรณ์ โดคนต้นจะต้องอวบใหญ่ มีน้ำหนักของต้นประมาณ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไปหรือมีใบมากกว่า 45 ใบ หรือมีอายุได้ 7-8 เดือน ต้องทำหลังจากการใส่ปุ๋ยทางดินอย่างน้อย 3 เดือน และสามารถคำนวณระยะเก็บเกี่ยวได้ โดยนับตั้งแต่บังคับให้ออกดอกไปประมาณ 160 วัน

ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอกและวิธีการใช้
1. ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยมใช้กันมากเพราะหาง่ายและราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วยกัน 3 วิธีคือ

วิธีที่ 1
ป่นถ่านแก๊สให้เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรด จากนั้นจึงหยอดน้ำตามลงไปประมาณ 50 ซี.ซี. (ประมาณ ¼ กระป๋องนม) หรืออาจจะดัดแปลงโดยป่นถ่านแก๊สป่นประมาณ 0.5-1.0 กรัมต่อต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1-2 กิโลกรัม) วิธีนี้มักจะทำให้ช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวกและประสิทธิภาพการใช้ถ่ายแก๊สจะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1 นี้ มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเวลาและแรงงานมากเพราะต้องมีคนใส่ถ่ายแก๊สคนหนึ่ง และหยอดน้ำตามอีกคนหนึ่ง

วิธีที่ 2
ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซี.ซี. (1 กระป๋องนม หยอดได้ 4 ต้น) วิธีนี้เหมาะมากถ้าทำในช่วงฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็วแต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างคือ สิ้นเปลืองถ่านแก๊สมาก

วิธีที่ 3
ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปในกรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย ลงไปยังยอดสับปะรด วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติกันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวกในการปฏิบัติ

หลังจากหยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็นดอกสีแดง ๆ โผล่ขึ้นมาจากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5 เดือน จะสามารถตัดสับปะรดแก่ไปขายหรือนำไปบริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน ดังนั้นถ้านำไปขายก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ

การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูกบางรายลงความเห็นว่า การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงานหรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้การเกิดหน่อของสับปะรดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อเลยและที่เห็นได้ชัดเจนก็คือขนาดของผลเล็กลง ทำให้หนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ลดลงด้วย นอกจากนี้แล้วสับปะรดที่ใช้ถ่ายแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่นานคือเพียง 3-5 วันเท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรดจะไส้แตก เนื้อจะน่า รสชาติจะเปลี่ยนไป และหากมีการใช้ถ่านแก๊สมากเกินไปจะทำให้ยอดสับปะรดเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตและลงความเห็นของเกษตรกรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้คงจะหมดไป ถ้าหากนักวิชาการเกษตรหันมาให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

2. เอทธิฟอน
เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทธิลีนออกมาโดยตรง เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรดจะแตกตัวปล่อยเอทธิลีนออกมาเอทธิลีนจะเป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมี 2 ชนิด คือ

2.1. ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถุงพลาสติกขนาด 1 แกลลอนโดยใช้อัตรา 17-30 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซีซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)

2.2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีชื่อการค้าว่า อีเทรล ใช้ในอัตรา 60-120 ซี.ซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซี.ซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น) ปริมาณการใช้เอทธิฟอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดของต้นสับปะรดด้วยกล่าวคือ ถ้าหยอดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมหรือต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ในปริมาณมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืนช่วงที่มีอากาศร้อนอบด้าวให้ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

3. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ.
หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลนโนฟอกซ์ใช้ในอัตรา 50 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และปุ๋ยยูเรีย 4-5 กิโลกรัม หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา 60 ซี.ซีต่อต้น สามารถบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกัน

ข้อควรคำนึงในการบังคับให้สับปะรดออกดอกนอกฤดูกาล
1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำในตอนเข้าหรือตอนเย็น หรือในเวลากลางคืน ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น

2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่ง ๆ นั้นควรผสมสารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัวยาบางชนิดเสื่อมคุณภาพ

3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากหยอดสาร จะต้องหยอดสารใหม่

4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้งแรกไปแล้ว 7 วัน ทั้งนี้เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น

5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือไส้เน่าก็ให้ใช้ยา อาลีเอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซีซี. ต่อต้นซึ่งสามารถรักษาโรคนี้ได้ดี

6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 50 กรัม ราดหรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และกระทำทุก ๆ 30-45 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผล ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์ อัตรา 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่ผลสับปะรดจะแก่หรือสุกประมาณ 15 วัน ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยวผลสับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดที่เก็บเกี่ยวล่าช้านี้ให้ดียิ่งขึ้น




น้อยหน่า
น้อยหน่า จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ดีพอควร ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่าง สีสัน และรสชาติ ตรงกับรสนิยมของผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ แหล่งปลูกน้อยหน่าในประเทศที่สำคัญอยู่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยเฉพาะอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมานั้นจัดได้ว่าเป็นแหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุด ส่วนในภาคอื่น ๆ มีการปลูกน้อยหน่ากันบ้าง แต่เป็นการปลูกเพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือนเสียมากกว่า
การปลูกน้อยหน่าในปัจจุบันนี้ได้รับการพัฒนาไปมาก ทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ใหม่ ๆ จนทำให้น้อยหน่าที่ปลูกในระยะหลังนี้มีผลโต เนื้อมาก เมล็ดน้อย รสชาติหวานอร่อย และที่สำคัญก็คือสามารถบังคับให้น้อยหน่าออกดอกนอกฤดูกาลได้ด้วย ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกก่อนฤดูปกติ
วิธีนี้เหมาะกับสวนที่มีระบบการให้น้ำดีและมีน้ำใช้ตลอดปี หากมีน้ำไม่เพียงพอหรือระบบการให้น้ำไม่ดี การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกก่อนฤดูจะกระทำไม้ได้ผล วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถกำหนดช่วงการแก่และเก็บผลได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้ผลแก่ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้อยหน่าออกมาขายในตลาดน้อยและมีราคาสูงเราสามารถกระทำได้โดยปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เดือนสิงหาคม บำรุงให้ต้นน้อยหน่าสมบูรณ์โดยใส่ปุ๋ยเกรด 1 : 3 : 3 เช่น สูตร 8-24-24 พร้อมกับให้น้ำ ต่อจากนั้นก็ปล่อยให้พักตัวประมาณ 1 เดือน

2. เดือนกันยายน ทำการตัดแต่งกิ่งทันที โดยกิ่งที่ทำการตัดแต่งนั้นควรเป็นกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 1/2 - 2 เมตร ขนาดของกิ่งถ้าเล็กกว่า 1/2 ซม. ควรตัดออกให้หมดแต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า1/2 ซม. ให้ตัดเหลือปลายกิ่งไว้ประมาณ 15 ซม. หากปลายกิ่งใดมีสีเขียวอยู่ก็ให้ตัดออกให้หมด เหลือเพียงกิ่งสีน้ำตาลไว้เท่านั้นและหากมีกิ่งกระโดงหรือกิ่งแขนงที่แตกใกล้ระดับพื้นดินต้องตัดออกให้หมดเช่นกัน

3. ปลายเดือนกันยายน หลังจากทีได้ตัดแต่งกิ่งไปแล้วประมาณ 20 วัน ต้นน้อยหน่าเริ่มแตกใบอ่อนและออกดอกมาให้เห็น ช่วงนี้ควรมีการให้น้ำตามปกติ

4. เดือนตุลาคม ประมาณ 31-45 วันต่อมาดอกจะบาน ส่วนการให้น้ำก็ปฏิบัติเช่นเดิม

5. เดือนพฤศจิกายน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลมีขนาดเท่าหัวแม่มือ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโตเต็มที่

6. เดือนธันวาคม เมื่อผลมีขนาดโตเท่าไข่ไก่ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 เพื่อให้ผลมีคุณภาพดีขึ้น

7. เดือนกุมภาพันธ์ ผลแก่สามารถเก็บไปจำหน่ายได้ ซึ่งตรงกับช่วงที่น้อยหน่ามีราคาแพงพอดี

หากไม่ใช้วิธีตัดแต่งกิ่งอาจใช้สารเคมีแทนก็ได้โดยใช้สารเคมีพวกพาราควอท (ชื่อการค้าว่า กรัมม๊อกโซน, น๊อกโซน, แพลนโซน) ให้ใช้ในอัตราความเข้มข้น 0.05-0.1 เปอร์เซ็นต์ (ของเนื้อสาร) ในปริมาณ 41-82 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้ใบร่วงหมดภายในเวลา 7-10 แต่การฉีดสารเคมีนี้ต้องระวังไม่ฉีดในขณะที่ต้นน้อยหน่าแตกกิ่งหรือใบอ่อน เพราะจะทำให้กิ่งหรือใบไหม้ได้

การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกในฤดูปกติและหลังฤดูปกติอีกบางส่วน
การปฏิบัติเหมือนกับที่ทำในฤดูปกติ คือจะตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และเลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีผลติด ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 5 ม.ม. และจะติดผลประมาณเดือนเมษายน ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคมจะทำการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยทำการตัดปลายกิ่งออกเฉพาะช่วงที่มีสีเขียวและให้เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว หลังจากนั้นให้รูดใบของกิ่งที่ตัดออกให้หมด กิ่งพวกนี้จะแตกใบใหม่พร้อมกับมีดอกออกมาอีก 1 รุ่น ซึ่งนุร่นที่ 2 นี้จะเก็บผลขายได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีผลไม้อื่นออกมามากนักเลยทำให้ขายได้ราคาสูง

การทำให้น้อยหน่าออกดอกหลังฤดูปกติอีกครั้งหนึ่งนั้น ควรมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปด้วย โดยเฉพาะปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ปกติใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1/2 - 1 ปี๊บ ควรเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 อีกต้นละ 2 กก. จะช่วยให้ผลน้อยหน่ามีขนาดใหญ่และคุณภาพของผลดียิ่งขึ้น




ลิ้นจี่
ในบรรดาผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริโภคและให้ความสนใจในขณะนี้ ลิ้นจี่เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะมีลักษณะของผล มีรสและกลิ่นที่ชวนให้รับประทาน และที่สำคัญก็คือมีราคาค่อนข้างแพง โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมนั้น เป็นช่วงที่ลิ้นจี่มีราคาแพงมาก เนื่องจาก ลิ้นจี่ออกสู่ตลาดน้อยและเป็นช่วงต้นฤดูนั่นเอง และหากลิ้นจี่พันธุ์ใดที่ผลแก่ในเดือนเมษายนและมีคุณภาพดี จะมีการนับผลขายเลยทีเดียว จากสถิติการผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลของพันธุ์ฮงฮวยต่อหนึ่งกิโลกรัม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-2527 มีดังนี้

ปี พ.ศ. ......... ราคาปกติ (บาท) ........... ราคานอกฤดูกาล (บาท)
2524 .............. 25 ............................... 150
2525 .............. 30 ............................... 150-200
2526 .............. 35 ............................... 150-200
2527 .............. 35 ............................... 100-150

จากสถิติดังกล่าว เป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่พยายามผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลกันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลย่อมมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องและควบคุมอยู่ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นได้แก่

1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการออกดอก หากมองอย่างผิวเผินแล้วจะเห็นได้ว่า การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลนั้นจะต้องอาศัยลักษณะความสูงของพื้นที่และสภาพอุณหภูมิต่ำเป็นประการสำคัญ จากการศึกษาถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของลิ้นจี่ปรากฏว่า การออกดอกของลิ้นจี่จะต้องอาศัยสภาพพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ เช่นสภาพพื้นที่บนเขาหรือพื้นที่ที่มีความสูงเกิน 800 เมตรขึ้นไป และจะต้องอาศัยช่วงอากาศหนาวเย็นในระยะก่อนออกดอกในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120-200 ชั่วโมง

2. สภาพความสมบูรณ์ของต้นลิ้นจี่ เป็นที่น่าสังเกตว่าสวนลิ้นจี่ที่ปลูกบนพื้นที่สูงที่มีการผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลนั้น ลิ้นจี่จะไม่มีการออกดอกติดผลทุกต้นแม้จะมีสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันก็ตาม ทั้งนี้เกิดจากลิ้นจี่มีความสมบูรณ์ของต้นไม่เท่ากันและมีการเจริญเติบโตที่ไม่ได้จังหวะพอดีกับการแตกตาดอก และเป็นที่ทราบกันดีว่าการเจริญเติบโตของต้นลิ้นจี่นั้น สามารถดูได้จากใบลิ้นจี่ที่แตกออกมา ซึ่งปกติแล้วลิ้นจี่จะแตกใบอ่อนปีละ 3 ครั้ง คือ ในฤดูฝน 2 ครั้งและในฤดูแล้งอีก 1 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 60 วัน และจากสภาพที่ลิ้นจี่มีการแตกใบอ่อนไม่พร้อมกัน และเจริญเติบโตไม่เท่ากัน กล่าวคือ ในบางต้นมีใบแก่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันอีกต้นหนึ่งกำลังแตกใบอ่อนอยู่ ดังนั้น เมื่อมีการออกดอกและติดผล จึงไม่พร้อมกันหรือในบางต้นอาจะไม่มีการออกดอกหรือติดผลเลยก็ได้

3. พันธุ์ พันธุ์ลิ้นจี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการออกดอก ทั้งนี้เพราะลิ้นจี่พันธุ์ต่างกัน มีความต้องการความหนาวเย็นของอากาศเพื่อการออกดอกที่ไม่เท่ากัน กล่าวคือ

3.1. พันธุ์ลิ้นจี่ที่ต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานกว่า 100 ชั่วโมงก่อนการออกดอกได้แก่ พันธุ์ค่อม, กิมจี้, โอเฮี๊ยะ, ไทยใหญ่ และไทยธรรมดา เป็นต้น

3.2. พันธุ์ลิ้นจี่ที่มีความต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานประมาณ 120-140 ชั่วโมงการออกดอกเช่น พันธุ์สาแหรกทอง และพันธุ์กะโหลกต่าง ๆ

3.3. พันธุ์ลิ้นจี่ที่ต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานประมาณ 150-170 ชั่วโมงก่อนการออกดอกได้แก่พันธุ์โฮงฮวย, ฮ่องกง, กิมเจง, จูบีจี้, เขียวหวาน, กระโถน, สำเภาแก้ว เป็นต้น

3.4. พันธุ์ลิ้นจี่ที่ต้องการความหนาวเย็นของอากาศนานประมาณ 200 ชั่วโมงก่อนการออกดอกได้แก่ พันธุ์กวางเจา และพันธุ์จักรพรรดิ

4. อัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจน (C/N ratio) การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลนั้น สิ่งที่นำมาพิจารณาคืออัตราส่วนระหว่างคาร์โปไฮเดรตและไนโตรเจน ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่า ถ้าอัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนมีปริมาณที่เท่า ๆ กันเช่น 2:2 ลิ้นจี่จะแตกตาใบขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนแตกต่างกันเช่น 3:1 ลิ้นจี่จะแตกตาดอก จากหลักการดังกล่าวนี้ หากมีการลดอาหารจำพวกไนโตรเจน โดยงดให้น้ำหรือไม่ปล่อยน้ำเข้าสู่ระบบรากของลิ้นจี่ ลิ้นจี่จะแตกตาดอกได้ง่ายและเร็วกว่าปกติด้วย ลิ้นจี่ที่ออกผลนอกฤดูกาลจะฟอร์มตาดอกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็นเหมาะต่อการสะสมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต และในขณะเดียวกันหากสถานที่ปลูกมีความลาดเทมาก น้ำไม่ขังเวลาฝนตกจะเป็นการลดอาหารพวกไนโตรเจนไปในตัว จึงทำให้ลิ้นจี่มีฮอร์โมนที่สร้างตาดอกขึ้น ดังนั้นพอถึงเดือนกรกฎาคมลิ้นจี่จึงตั้งช่อดอกและจะติดผลในช่วงเดือนสิงหาคม ผลจะใหญ่และแก่ตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงมกราคม ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลปีใหม่พอดี ดังนั้นลิ้นจี่ที่ออกผลในช่วงนี้จึงขายได้ในราคาสูงกว่าปกติมาก

อย่างไรก็ตาม การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลย่อมจะมีปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น มักมีแมลงเข้ามากินหรือทำลายผลลิ้นจี่เสมอ นอกจากนี้ก็มีศัตรูอื่น ๆ เข้าทำลายอีกเช่น ค้างคาวหรือนก ซึ่งเข้ามากัดกินผล และโดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีปัจจัยต่อการออกดอกของลิ้นจี่นั้นนับได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก ทั้งนี้เพราะการปลูกลิ้นจี่หรือพืชอื่น ๆ ย่อมจะต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมเป็นหลัก เช่น ดิน ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความแปรปรวนไปได้ง่าย ดังนั้น ถ้าหากปัจจัยเหล่านี้มีความแปรปรวนไปมาก ๆ ทำให้การผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาลไม่ประสบผลสำเร็จได้ ฉะนั้นก่อนที่จะมีการผลิตลิ้นจี่นอกฤดูกาล เกษตรกรควรได้ศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐาน พร้อมทั้งอาจจะประยุกต์วิธีการและขั้นตอนบางอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่จะปฏิบัติต่อไป




http://www.freeforum101.com/worker/viewtopic.php?p=61&sid=b204eb085aa6beff145e78908614542b&mforum=worker
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 11:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,268. ข้าว มีหลายสายพันธุ์ ได้แก่

- พันธุ์ข้าวเจ้า คือ พันธุ์เฉี้ยงพัทลุง, พันธุ์เหลืองประทิว 123, พันธุ์ชัยนาท 1, พันธุ์ กข 29 (ชัยนาท 80), พันธุ์เล็บนกปัตตานี, พันธุ์สังข์หยดพัทลุง.
- พันธุ์ข้าวไร่ คือ พันธุ์ดอกพะยอม, พันธุ์กู้เมืองหลวง.



ข้าวเจ้า พันธุ์เฉี้ยงพัทลุง




ที่มา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เอส ไรซ์

เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคม ต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ใบสีเขียว ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 470 กิโลกรัม
ต่อไร่ เมล็ดเรียวยาว เปลือกสีฟาง รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงยาว

มีลักษณะเด่น คือ
- ผลผลิตค่อนข้างสูง ปรับตัวได้ทั้งสภาพนาที่ดอนและนาที่ลุ่ม
- อายุเบา
- คุณภาพหุงต้มดี ภายหลังเก็บเกี่ยวสามารถสีบริโภคได้ทันที

-------------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวเจ้า พันธุ์เหลืองประทิว 123





เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง ที่ส่งเสริมให้ปลูกแบบข้าวนาสวนในภาคกลาง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีแล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่าง ๆ จนได้สายพันธุ์ 126-8-123 ซึ่งต้านทานโรคที่สำคัญ คือ โรคจู๋ และโรคขอบใบแห้ง สามารถขึ้นได้ดีในดินเปรี้ยว เมล็ดข้าวมีคุณภาพดีมาก คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ .2508 ให้ชื่อว่าพันธุ์ เหลืองประทิว 123 มีลำต้นและใบสีเขียว ต้นสูง ใบกว้างและยาว คอรวงยาว เมล็ดมีรูปร่างเรียว ข้าวเปลือกสีเหลือง

---------------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวเจ้า พันธุ์ชัยนาท 1




เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 113 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาว และตั้งตรง คอรวงสั้น

รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็ง เมล็ดข้าวเปลือกเรียวยาว สีฟาง บางเมล็ดก้นจุด ฤดูฝนมีอายุประมาณ 119 วัน

ให้ผลผลิตเฉลี่ย 725 กิโลกรัมต่อไร่ ฤดูแล้งอายุประมาณ 121-130 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 754 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะพักตัวของเมล็ด
8 สัปดาห์

มีลักษณะเด่น คือ
- มีความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ
- ให้ผลผลิตสูง
- เมล็ดยาวกว่า กข 23 และมีท้องไข่น้อย
- ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนดี

------------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวเจ้า พันธุ์ กข 29 ( ชัยนาท 80 )




ที่มา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เอส ไรซ์

เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 103 วัน ในฤดูนาปี และ 99 วันในฤดูนาปรัง เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย สูงเฉลี่ย 104 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว 7.34 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง ( 26.6-29.4%) ระยะพักตัวของเมล็ด 4-6 สัปดาห์

มีลักษณะเด่น คือ
- อายุสั้น มีอายุวันเก็บเกี่ยว 99 วัน ในฤดูนาปรัง และ 103 วันในฤดูนาปี เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
- ผลผลิตสูง เฉลี่ย 876 กิโลกรัมต่อไร่
- ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง
- คุณภาพการสีดีมาก สามารถสีเป็นข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์
- มีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 15.7 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ในข้าวสาร 6.7 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม

------------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวเจ้า พันธุ์เล็บนกปัตตานี




เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตร มีความไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์

มีลักษณะเด่น คือ
- คุณภาพการสี และหุงต้ม ดี
- แปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณภาพดี มีความหนานุ่ม

--------------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวเจ้า พันธุ์สังข์หยดพัทลุง




ที่มา โอเคเนชั่นดอทเน็ต

ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวนาสวนที่มีความไวต่อแสง เมล็ดพันธุ์ห่อหุ้มด้วยเยื่อสีแดง เมล็ดเรียวเล็กนิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือ เชื่อว่ามีประโยชน์ ต่อสุขภาพมากกว่าข้าวโดยทั่วๆไป ในเมล็ดเดียวกัน เมื่อข้าวหุงสุกมีความนุ่มมาก และยังคงนุ่มอยู่ เมื่อเย็นตัวลง ข้าวสังข์หยดนอกจากมีความนุ่มอร่อยแล้ว ยังให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวอื่นๆ เนื่องจากข้าวสังข์หยดกล้อง มีโปรตีนสูง วิตามินสูง โดยเฉพาะ ไนอาซีน มีมากถึง 3.97 มิลิกรัม

----------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวไร่ พันธุ์ดอกพะยอม




ที่มา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เอส ไรซ์

เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ข้าวเจ้าพื้นเมือง สูงประมาณ 150 เซนติเมตร มีความไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน อายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกต้นเดือน มิถุนายน เกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ถ้าปลูกปลายเดือนสิงหาคม เกี่ยวปลายเดือนมกราคม (อายุประมาณ 145 – 150 วัน) ลำต้นเขียว ใบยาว ค่อนข้างแคบ ชูรวงดี เมล็ดเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟางก้นจุด ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 2 สัปดาห์

มีลักษณะเด่น คือ
- คอรวงยาว เหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ
- ปลูกเป็นพืชแซมยางได้ดี
- ต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาล

-------------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวไร่ พันธุ์กู้เมืองหลวง




ที่มา กรมการข้าว

เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ที่ปลูกเป็นข้าวไร่บางท้องที่ในภาคใต้ ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์ เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ข้าวเจ้าพื้นเมือง สูงประมาณ 155 เซนติเมตร มีความไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกต้นมิถุนายน เก็บเกี่ยวกลางพฤศจิกายน ถ้าปลูกปลายสิงหาคม เก็บเกี่ยวกลางมกราคม (อายุประมาณ 135–165 วัน) ลำต้นสีเขียวเข้ม ใบกว้างและโน้ม เมล็ดยาวเรียว ข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์

มีลักษณะเด่น คือ
- ทนแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวไร่ในภาคใต้และปลูกเป็นพืชแซมยาง
- การชูรวงดี คอรวงยาว เหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ
- ต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล
- ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

---------------------------------------------------------------------------------------------------

http://chm-thai.onep.go.th/chm/data_province/suratthani/many_plant_species.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,269. หมอดินเมืองปากน้ำโพ...พลิกผืนนาสร้างชีวิตใหม่


ปัจจุบันมี เกษตรกรจำนวนมาก ที่หันมาใส่ใจเรื่องการทำเกษตรแบบพึ่งพาสารอินทรีย์มากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่ผลักดันให้เปลี่ยนวิถีการผลิตมาสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ ก็เนื่องจากปัจจัยการผลิตจำพวกปุ๋ยเคมี สารเคมีทางการเกษตรปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการใช้สารเคมีมายาวนานนอกจากจะทำให้ดินเสื่อมโทรม เพาะปลูกได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรแล้ว สุขภาพของผู้ใช้เองก็มีปัญหา ที่สำคัญปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นโดยเลือกบริโภคสินค้าที่ปลอดภัยจากสารพิษมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปลอดสารพิษสูงขึ้นตามไปด้วย

นายปรุง ขำสุ่ม เป็นเกษตรกรท่านหนึ่งที่ผ่านวิถีการทำนาโดยเน้นใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มผลผลิต แต่ได้ผลในทางตรงข้ามคือผลผลิตไม่เพิ่มแถมยังมีต้นทุนสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งเขามีพื้นที่ปลูกข้าวถึง 9 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเพียง 300 ถัง จากนั้นจึงหันมาปลูกพืชผักเสริมแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งได้แนวคิดการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากการฟังรายการเกษตรทางวิทยุที่แนะนำให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยไว้ใช้เอง เมื่อทดลองทำใช้ในนาข้าวก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของดินที่ดีขึ้น สุดท้ายจึงปรับผืนนามาทำไร่นาสวนผสมและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี

หลังจากนั้นเป็นต้นมา นายปรุง เริ่มมาใส่ใจเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ของตนเองมากขึ้น โดยได้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการพัฒนาที่ดินของกรมพัฒนาที่ดินและได้นำความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมอดินอาสาประจำตำบล ซึ่งเขาเป็นคนมีความมุ่งมั่นและขยันหมั่นเพียรในการหาความรู้มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ตลอดจนยึดวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่เกษตรของเขาจึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรในพื้นที่และละแวกใกล้เคียงเข้ามาศึกษาหาความรู้ในศาสตร์การพัฒนาที่ดินที่ถูกต้อง

นายปรุง เล่าว่า พื้นที่ 9 ไร่ของศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งนี้ ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มทำนาข้าวจำนวน 4 ไร่ โดยทำคันล้อมรอบแปลงมีทางระบายน้ำเข้าออกแปลง ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง ใช้ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ปรับปรุงดินด้วยการหมักและไถกลบตอซังทุกฤดูกาล หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทำการปลูกปอเทืองและไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ใช้น้ำหมักชีวภาพ จากสารเร่งซูเปอร์ พด.2 โดยใช้วัตถุดิบจากเศษปลา และจากหน่อกล้วย ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 94 ถังต่อไร่ สำหรับสวนผสมผสาน จำนวน 5 ไร่ ปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง น้อยหน่า ไผ่ตงหวาน แก้วมังกร ขนุน กล้วยน้ำว้า มะพร้าวน้ำหอม และเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาทับทิม

สำหรับกิจกรรมด้านการพัฒนาที่ดินที่ดำเนินการภายในศูนย์เรียนรู้ฯ ได้แก่ การปลูกและขยายพันธุ์หญ้าแฝกในร่องสวน รวมทั้งการปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อ การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสดในแปลงนา และปลูกพืชแซมเพื่อที่จะเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกขยายในการปลูกข้าวรอบถัดไป ผลิตสารขับไล่แมลงโดยใช้สารเร่ง พด.7 กับวัตถุดิบสมุนไพรท้องถิ่น ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซูเปอร์ พด.2 โดยใช้วัตถุดิบจากเศษปลา และหน่อกล้วย ผลิตปุ๋ยหมักด้วยสารเร่งซูเปอร์ พด.1 จากเปลือกและตอซังถั่ว รวมทั้งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชสมุนไพรท้องถิ่น เช่น สบู่ต้น หางไหลแดง บอระเพ็ด ข่า ตะไคร้ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้น กิจกรรมการหมักและไถกลบตอซังฟางข้าวในนาข้าวทุกฤดูกาลปลูก

ทุกกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินที่ทำขึ้นภายในศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก เช่น ในนาข้าว สามารถลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงกว่าครึ่งหนึ่ง ที่สำคัญยังช่วยเพิ่มรายได้ได้ดีขึ้น

...นี่คือตัวอย่างหนึ่งของเกษตรกรที่พลิกชีวิตจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกข้าวโดยเน้นใช้สารเคมีทางการเกษตร มาเป็นวิถีการทำเกษตรผสมผสานและพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ จนประสบความสำเร็จมีความสุขกับชีวิตแบบพอเพียง หากท่านใดสนใจแนวทางการดำเนินชีวิตของนายปรุง ขำสุ่ม หมอดินอาสาประจำตำบลจันเสน ติดต่อได้ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บ้านสันติสุข หมู่ 11 ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ โทร.08-9682-3205.




เพิ่มเติมข้อมูลได้ที่ bronze@hotmail.com

ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=118535

ที่มา: เดลินิวส์

http://thairecent.com/Agriculturist/2011/794756/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,270. ดินเค็มภาคอีสาน...ต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่อง





ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะนี้แม้ว่าจะยังไม่ประสบปัญหาอุทกภัยเหมือนเช่นพื้นที่ภาคกลาง แต่ปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ปัญหาดินเค็ม ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรในภาคนี้ เนื่องจากปัญหาดินเค็มมีการขยายพื้นที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรบางแห่งถูกทิ้งร้างเกิดความแห้งแล้งและมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการแปรสภาพเป็นทะเลทรายได้ในอนาคตถ้าไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างถูกหลัก

นายอนุสรณ์ จันทนโรจน์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินมีภารกิจในการปรับปรุงฟื้นฟูดินที่มีปัญหาทั่วประเทศ เพื่อพลิกฟื้นผืนดินปัญหาให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้จำนวนไม่น้อย แต่อย่างไรก็ดี ยังมีพื้นที่ดินปัญหาอีกมากที่รอการพัฒนา โดยเฉพาะปัญหาดินเค็มที่พบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกระจายอยู่เกือบทุกจังหวัด คิดเป็นพื้นที่รวม 17.81 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 17 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งปัญหาดินเค็มส่วนใหญ่จะพบในที่ลุ่มซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ดินเค็มมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอ็ด สกลนคร มหาสารคาม และขอนแก่น ซึ่งในส่วนของจังหวัดขอนแก่นแม้จะมีพื้นที่ดินเค็มน้อยกว่า แต่มีระดับความรุนแรงของดินเค็มมากกว่าพื้นที่อื่น ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องมีมาตรการแก้ไขปัญหาดินเค็มอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม โดยใช้เป็นพืชเบิกนำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มและปรับระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ชี มูล โดยดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน มีเป้าหมาย 87,436 ไร่ การดำเนินงานจะเน้นปรับปรุงและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินตามศักยภาพของดิน โดยใช้วิธีการทางด้านวิศวกรรม สำหรับปรับรูปแปลงนาเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ และใช้วิธีทางด้านพืชโดยในพื้นที่เค็มจัดจะส่งเสริมปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม คือกระถินออสเตรเลีย และปลูกหญ้าดิ๊กซี่ซึ่งเป็นหญ้าชอบเกลือ ส่วนพื้นที่ที่มีระดับความเค็มปานกลางถึงเค็มน้อย จะให้ปลูกโสนแอฟริกัน ถั่วพร้า เป็นปุ๋ยพืชสด พร้อมกันนี้ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา เพื่อสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

ส่วนการศึกษาผลของการปลูกต้นไม้บนคันนานั้น กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการปลูกกระถินออสเตรเลียและสะเดาบนคันนา ในพื้นที่ให้น้ำเป็นที่ลุ่มดินเค็มซึ่งเคยเป็นนาข้าว แต่ต่อมาปลูกข้าวไม่ได้ผลผลิตเพราะดินและน้ำใต้ดินเค็มมาก ผลปรากฏว่ากระถินออสเตรเลีย อายุ 4 ปี ที่ปลูกไว้สามารถควบคุมระดับน้ำใต้ดินเค็มให้อยู่ลึก 1.13 เมตรจากผิวดิน ขณะที่สะเดามีระดับน้ำใต้ดินลึกเพียง 0.69 เมตร ซึ่งเท่ากับพื้นที่ที่ไม่ได้ปลูกต้นไม้ สาเหตุเพราะกระถินออสเตรเลียมีความสามารถทนเค็มได้มาก ไม่มีการพักตัวในช่วงแล้ง แตกกิ่งก้านได้มาก และมีการใช้น้ำมากถึง 230 มิลลิเมตร/ไร่/ปี

ผลการศึกษาดังกล่าวจึงสอดคล้องกับนโยบายของกรมพัฒนาที่ดินที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัสบนพื้นที่รับน้ำ และปลูกกระถินออสเตรเลียบนคันนาบนพื้นที่ให้น้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ไม่ให้เกลือแพร่ขึ้นมาสู่ผิวดิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรอย่างมากจากการศึกษาวิจัยและทดลองหาวิธีฟื้นฟูดินเค็มในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมาอย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้สามารถพลิกฟื้นดินปัญหาให้กลับมาเป็นดินดีที่สามารถเพาะปลูกข้าวคุณภาพ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นตามลำดับ ทางกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ดินเค็มบ้านหัวหนอง ต.หัวหนอง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเกษตรกร เยาวชนและผู้สนใจ สามารถเข้าไปศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้ เป็นการช่วยกันแก้ไขและฟื้นฟูทรัพยากรดินที่มีปัญหาให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=177224

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/971856/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,271. ระดมจุลินทรีย์ บำบัดพื้นที่เพาะปลูก







กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประเมินความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม ณ เดือนตุลาคม 2554 พบว่ามีพื้นที่เกษตรเสียหายแล้วประมาณ 8,800,000-8,900,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเสียหาย 7,400,000 ไร่ พืชไร่ 1,000,000 ไร่ ส่วนที่เหลือจะเป็นพืชสวนและปศุสัตว์ อีกราว 400,000 ไร่ โดยผลผลิตข้าวเสียหายมากที่สุดถึง 3,000,000 ตัน

ที่สำคัญผลจากความเสียหายของพื้นที่การเกษตรต่อผลผลิตทางการเกษตรแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือน้ำเน่าเสียในพื้นที่การเกษตรที่เป็นผลมาจากซากพืชและซากสัตว์ที่ล้มตายจากการจมน้ำและเกิดการเน่าเสีย ขณะเดียวกันพื้นที่เหล่านี้แม้น้ำโดยมวลรวมจะไหลลงสู่ทะเลไปแล้วก็ตาม แต่ก็จะยังมีน้ำอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพของความเน่าเสียที่ยังคงอยู่ที่เรียกกันว่าน้ำเน่าทุ่ง

การที่น้ำ “เน่าเสีย” หรือด้อยคุณภาพลง เนื่องมาจากเกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เช่น สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย ในเขตชุมชน เมือง หรือเศษซากพืช บริเวณพื้นที่เกษตร เช่น นาข้าว สวน ที่จมอยู่ใต้น้ำ โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งขณะที่เกิดการย่อยสลายนั้นจะเกิดการใช้ออกซิเจนในน้ำ ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง ซึ่งเรียกว่าน้ำเริ่มเสีย หลังจากนั้นสารอินทรีย์ก็จะถูกย่อยสลายต่อโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศต่อไป ผลของการย่อยสลายครั้งนี้ จะเกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าก๊าซไข่เน่า แอมโมเนีย หรืออาจเกิดกรดอินทรีย์ ซึ่งจะมีกลิ่นแบบเหม็นเปรี้ยว

ที่ผ่านมาจุลินทรีย์ จะถูกนำมาใช้หลากหลายทั้งทางด้านการเกษตร การประมงและสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อกรณีนั้น ๆ คือมีอาหารที่เหมาะสมสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนั้น จะสามารถเจริญเติบโตได้ และสร้างสมดุลของกลุ่มจุลินทรีย์ใหม่ขึ้นทำให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่น้ำท่วมขังโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรจึงน่าเหมาะสมอย่างยิ่งแก่การนำจุลินทรีย์เข้ามาบำบัด และล่าสุดได้มีหน่วยงานที่พอจะมีศักยภาพในการให้การช่วยเหลือสังคมได้ยื่นมือเข้ามาร่วมแก้ไข ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ นายธวัช วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ด้านกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อมว่า ทาง กฟผ.ได้ร่วมกับกระทรวงพลังงาน จัดทำโครงการธนาคารจุลินทรีย์ขึ้นจำนวน 100 สถานี ใน 5 จังหวัดที่เกิดอุทกภัยและมีน้ำท่วมขัง โดย กฟผ.จะทำการผลิตน้ำจุลินทรีย์เดือนละ 1 ล้านลิตร ในช่วง 3 เดือนต่อจากนี้ซึ่งจะได้จำนวน 3 ล้านลิตร และจะส่งมอบให้แก่จังหวัดต่าง ๆ ที่ถูกน้ำท่วมและมีการท่วมขัง โดยจะส่งมอบให้จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อนในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เนื่องจาก 3 จังหวัดนี้สภาพน้ำเริ่มลดลงและมีพื้นที่น้ำท่วมขังที่กำลังเกิดการเน่าเสียและเป็นพื้นที่ที่เพาะปลูกพืชอาหารเป็นส่วนใหญ่

สำหรับโครงการนี้ทาง กฟผ.ได้เริ่มต้นดำเนินการไปบ้างแล้วในบางส่วนของพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เช่น บางกรวย บางพลัด ซึ่งมีน้ำท่วมขัง และเริ่มส่งกลิ่นเหม็น เป็นการบำบัดชั่วคราวก่อนเพื่อลดกลิ่นเหม็นให้กับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ และหลังจากน้ำลดแล้ว ก็จะนำจุลินทรีย์ตัวเดียวกันนี้เข้าไปบำบัดเพิ่มเติมเพื่อลดกลิ่นควบคู่กับการทำความสะอาดพื้นที่ต่อไป

ที่สำคัญการใช้น้ำจุลินทรีย์กับพื้นที่การเกษตรภายหลังน้ำลด พื้นที่เหล่านั้นน่าจะมีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นด้วยมีอินทรีย์สารธรรมชาติตกค้างอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อหน้าดินในการเจริญเติบโตของพืชได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากนี้พื้นที่การเกษตรเหล่านั้นผลผลิตอาจจะออกมาดีกว่าการใช้สารเคมีมาเป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโตของต้นพืชก็เป็นได้ เพราะที่ผ่านมามีหลายพื้นที่เกษตรกรได้นำเอาจุลินทรีย์ตัวเดียวกันนี้ไปใช้ผลปรากฏว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าพึงพอใจทีเดียว ที่สำคัญได้เกิดสัตว์ผิวดินที่เป็นมิตรต่อต้นพืชเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ภายหลังน้ำลดทาง กฟผ.ยังมีโครงการร่วมกับกระทรวงพลังงานแบบต่อเนื่อง โดยการนำนักศึกษาอาชีวะจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และพนักงานจิตอาสาของ กฟผ. ลงพื้นที่เพื่อช่วยดูแล ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือน และเครื่องจักรกลทางการเกษตรของเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายอีกด้วย.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=176605

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/970598/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/11/2011 12:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,272. ไทยยูนนาน ร่วมพัฒนาเกษตร


นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง การหารือร่วมกับ นายหลี่ เสี่ยวผิง นายกเทศมนตรีเมืองพูเอ่อ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นด้านการเกษตร รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น

โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งเน้นในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการสร้างเสริมศักยภาพเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตและจัดการสินค้าเกษตร ตามความต้องการของตลาด รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลและเทคโนโลยีตามความต้องการของเกษตรกร นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังได้มีการพัฒนาระบบสหกรณ์ โดยการสนับสนุนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาสังคม โดยมีการพัฒนาระบบสหกรณ์อย่างเป็นกระบวนการ เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

กระทรวงเกษตรฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตร ทั้งในด้านพืช สัตว์ ประมง กับเมืองพูเอ่อ ซึ่งเป็นเมืองที่มีชาเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรที่สำคัญ ซึ่งไทยและมณฑลยูนนานมีกรอบความร่วมมือด้านวิชาการ ได้แก่ คณะทำงานเพื่อความร่วมมือไทย-ยูนนาน โดยการกำกับดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ หากเมืองพูเอ่อประสงค์จะทำความร่วมมือด้านการเกษตร สามารถเสนอความร่วมมือภายใต้กรอบดังกล่าวได้ หรือหากจะแลกเปลี่ยนความร่วมมือในระดับท้องถิ่นสามารถติดต่อกับสำนักการเกษตรต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างประเทศของกระทรวงเกษตรฯ ได้

ด้านนายหลี่ เสี่ยวผิง นายกเทศมนตรีเมืองพูเอ่อ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ในการมาเยือนไทยครั้งนี้ นอกจากเพื่อมาทำสัญญาเกี่ยวกับใบชาซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเมืองพูเอ่อและจังหวัดพิษณุโลกแล้ว ยังจะมาศึกษากระบวนการผลิตกาแฟในภาคใต้ของประเทศไทย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตร เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านการเกษตร โดยเฉพาะสินค้าส่งออกผักและผลไม้ต่าง ๆ ที่มีรสชาติหอมหวาน จึงได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน พร้อมกันนี้ ยังได้แสดงความห่วงใยต่อประเทศไทยที่ได้ประสบปัญหาอุทกภัย และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยขอให้ประเทศไทยผ่านพ้นภาวะวิกฤติอุทกภัยโดยเร็ว.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=176410

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/970184/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,273. พริกแพร่...ผลพวงจากงานวิจัยที่ชัยภูมิ






ขึ้นชื่อว่า “พริก” ไม่มีใครไม่รู้จัก ไม่มีบ้านไหนไม่เคยเรียกหา... พริกทุกเม็ดมีรสเผ็ด จะเผ็ดมากเผ็ดน้อย ขึ้นอยู่กับสาร “แคปไซซิน” ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีไม่เท่ากัน พริกที่กำลังดังที่แพร่ขณะนี้เป็นพริกสายพันธุ์ “หยกสยาม” และ “หยกสวรรค์” ทั้งสองชนิดสวยเหมือนกันด้านรูปลักษณ์ แต่ชนิดแรกเผ็ดกว่า...ส่วนชนิดหลังคนนิยมนำมาทำ “น้ำพริกหนุ่ม” เพราะไม่ค่อยเผ็ด เนื้อหนาตำน้ำพริกแล้วได้เนื้อเยอะ

ที่ จังหวัดแพร่ มีการปลูกพริกมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวด แต่ คุณอุดม เขียวสลับ เกษตรกรที่กำลังจะเป็นผู้นำพริกปลอดภัยที่อำเภอหนองม่วงไข่ เปิดเผยว่าบรรพบุรุษก็เคยปลูกพริกไว้รับประทานเองมาก่อน ตนเองก็เคยลองปลูกเช่นกันแต่ไม่ค่อยสำเร็จ เพราะพริกเอาใจยาก โรคเยอะ พอต้นขึ้นมักเหี่ยวตาย หรือพอจะเก็บเกี่ยวผลได้ก็มีอันเสียหายเพราะเกิด “ผลด่าง” คนเมืองแพร่จึงไม่ค่อยนิยมปลูก

อาจารย์วีระ ภาคอุทัย จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัย “การปลูกพริกปลอดภัย” จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ทำวิจัยที่ชัยภูมิเป็นเวลา 4 ปี จนเขียนตำราเรื่องพริกได้หลายเล่ม และถอดรหัสการปลูกพริกปลอดภัยไว้ด้วย ซึ่งอาจารย์วีระกล่าวว่า มีโอกาสมาจังหวัดแพร่และได้เห็นสภาพพื้นที่ดินซึ่งได้เปรียบสามารถปลูกพริกได้ดี จึงเลือกจังหวัดแพร่เป็นที่ทดสอบตำรา โดยเริ่มทำเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้สภาพพื้นที่ดินเป็น “ชายตลิ่ง” น้ำท่วมบ่อยแต่ไม่ท่วมมาก ท่วมแล้วก็ลด จึงได้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มมาด้วยทุกครั้ง เมื่อตรวจสอบดินโดยเฉลี่ยพบว่ามีสารอินทรีย์ในดินมาก สามารถปลูกพริกได้ดี โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยมากมาย

จังหวัดแพร่เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดมานานแล้ว อาจารย์วีระเห็นเป็นจังหวะเหมาะในการโน้มน้าวให้เกษตรกรเกิดทางเลือกในการทำเกษตรที่ดีกว่าการปลูกข้าวโพด โดย คุณงามตา เขียวสลับ และเกษตรกรที่หนองม่วงไข่อีกหลายครอบครัวยืนยันว่า เคยไปอบรมกับอาจารย์วีระจึงเห็นโอกาสเอาภูมิปัญญาเดิมผสมผสานความรู้ใหม่ นำพื้นที่ดินของตนเองมาทดลองปลูกพริก โดยใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมา พลิกผืนดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดครั้งหลังสุดเมื่อต้นปีมาปลูกพริกแทน และได้รับคำยืนยันว่าทุก ๆ 1 ไร่ที่ปลูกพริก สามารถเก็บพริกได้กว่า 2 แสนบาท

งามตา กล่าวว่า ปีนี้พริกราคาดี ประมาณกิโลกรัมละ 40 บาท โดยที่เก็บขายตอนนี้เป็นรุ่น “พริกเขียว” หากเก็บไม่ทันพริกเริ่มแก่ มีสีแดงขึ้นประปรายก็ขายเป็น “พริกก้ามปู” ซึ่งจะมีราคาต่อกิโลกรัมสูงขึ้นไปอีกประมาณ 30 บาท ช่วงสุดท้ายก็ขายเป็น “พริกแดง” ส่วนที่สวยไม่มีที่ติเป็นพริกเกรดหนึ่งจะได้ราคาแพง พริกที่เหลือจะถูกเก็บหมดโดยเหมาขายราคาก็กลับมาเป็นถูกที่สุด

อุดม กล่าวเสริมว่า ได้ทดลองปลูกพืชมาหลายชนิด เช่น ถั่วเหลืองราคาดีแต่หญ้าขึ้นเร็ว ยาฆ่าหญ้าก็ทำร้ายต้นถั่วเหลืองด้วยเหมือนกัน แต่ปลูกพริกใช้วิธีปูพลาสติก เจาะรู ปลูกตามทฤษฎีอาจารย์วีระ 1 เมตรปลูก 2 แถวได้จำนวนต้นน้อยกว่าปลูก 3 แถว ได้ผลผลิตพริกมากเท่ากัน แต่ต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ และค่าแรงน้อยกว่า กำไรจึงมากกว่า และเหนื่อยน้อยกว่า ทั้งนี้การใช้ปุ๋ยด้วยความรู้จะมีการทดสอบง่าย ๆ โดยใช้เครื่องทดสอบ (test kit) เสียบลงไปในดิน ก็จะทราบทันทีว่าต้องเพิ่มปุ๋ยหรือไม่ เป็นการให้ตามความจำเป็น ส่วนเรื่องโรคพริกบางโรค เช่น ผลด่าง ตอนนี้ทราบแล้วว่าเป็นโรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร พอเริ่มเป็น เพียงใส่ปุ๋ยพริกก็แข็งแรง มีภูมิต้านทานได้เอง ความปลอดภัยก็ย้อนกลับไปที่ผู้บริโภค

“พริกคุณภาพดี ทั้งสวยและปลอดภัย มีปริมาณมากพอ ตลาดก็เข้ามาหาเอง ที่อำเภอหนองม่วงไข่แต่ละครอบ ครัวปลูกพริกกันคนละ 4 ไร่ ทั้งหมู่บ้าน ต่อวันก็ได้ปริมาณหลายตัน คุ้มค่าพอให้พ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงที่ ความสำเร็จจึงเกิดจากปัจจัยหลายประการรวมกัน คุณภาพดินเมื่อเริ่มต้น ความพอประมาณของน้ำ การจัดการบนฐานความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโรคและการตลาด มั่นใจว่าเกษตรกรรุ่นลูกหลานจะทำได้ดีขึ้น ข้อสำคัญคือ บทบาทของพ่อแม่ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดี เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้จนถึงจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค” เกษตรกรอำเภอหนองม่วงไข่กล่าว

อุดม กล่าวว่า ผมเลือกปลูกพริกปีละครั้งเดียว ใช้ระยะเวลา 6-7 เดือน หลังเก็บพริกก็จะปลูกข้าวโพดทิ้งไว้ เพื่อเป็นการพักดิน พักโรค และพักคน เรียนรู้เพื่อรอจังหวะปลูกพริกรอบใหม่เมื่อทุกอย่างเป็นใจ ตอกย้ำประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน…

สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป หากสนใจคู่มือและรายละเอียดติดต่อได้ที่ wannaporn@trf.or.th ฝ่ายเกษตร สกว.






ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=176211

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/969792/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,274. 'ส้มจีนผลจิ๋ว' ในไทยให้ผลผลิตแล้ว






คนจีนมีความเชื่อว่า “ส้ม” เป็น ผลไม้สิริมงคลที่สาธารณประชาชนจีนในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีคนจีนมักจะมอบของขวัญกันด้วยต้นส้มประดับเพื่อนำไปวางไว้หน้าบ้าน, บริษัท, ธนาคาร ฯลฯ เชื่อว่าจะพบกับความเจริญรุ่งเรืองตลอดปี ธุรกิจในการผลิตส้มกระถางจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจีนโดยเฉพาะในเขตพื้นที่จีนตอนใต้ สำหรับเมืองไทยคนไทยเชื้อสายจีนก็มีความเชื่อว่า “ส้ม” เป็นผลไม้สิริมงคลเช่นกัน ในการไหว้เจ้ามักจะมีส้มเป็นผลไม้หลัก ปัจจุบันนี้มีส้มจากจีนอยู่สายพันธุ์หนึ่งที่คนไทยกำลังนิยมบริโภคแต่ผลผลิตจะต้องสั่งนำเข้าจากจีน เป็นส้มที่มีขนาดผลเล็กมีทรงผลแป้นคล้ายกับมะนาว น้ำหนักผลเฉลี่ย 16-25 ผลต่อกิโลกรัม คนไทยมักจะเรียกส้มชนิดนี้ว่า “ส้มจีนพันธุ์จิ๋ว” หรือ “ส้มจีนผลจิ๋ว” (SHA TANG MANDARIN) ที่จีนจะปลูกส้มสายพันธุ์นี้เป็นทั้งไม้ประดับและขายเพื่อบริโภคเป็นผลสด เหตุผลหลักที่ทำให้ส้มจีนผลจิ๋วเป็นที่ถูกใจของคนไทยเพราะเป็นส้มเปลือกล่อน รสชาติหวานจัด (หลายคนที่รับประทานแล้วบอกว่าหวานกว่าส้มบางมดด้วยซ้ำไป) ชานนิ่มและไม่มีเมล็ด สามารถแกะทานได้ง่าย

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2544 คุณอภินันท์ จันทร์สวย ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ต.มหาสวัสดิ์ ได้ส้มจีนผลจิ๋วจากจีนและเมื่อนำมาบริโภคพบว่ามีอยู่ผลหนึ่งมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด (ปกติแล้วส้มจีนผลจิ๋วจะไม่มีเมล็ด) คุณอภินันท์จึงได้นำเมล็ดส้มนั้นไปเพาะผลปรากฏว่าส้ม 2 เมล็ดได้งอกขึ้นเป็นต้น เมื่อขนาดลำต้นส้มมีขนาดเท่ากับดินสอ คุณอภินันท์ได้ตัดกิ่งส้มเพาะเมล็ดดังกล่าวและนำไปเสียบยอดกับต้นตอส้มทรอยเยอร์เพื่อจะได้เห็นผลผลิตได้เร็วขึ้น ผลปรากฏว่าต้นส้มจีนผลจิ๋วต้นหนึ่งออกดอกแล้วติดผล และมีลักษณะผลใกล้เคียงกับที่ปลูกในเมืองจีนที่สำคัญรสชาติหวานจัดเหมือนกัน

ต่อมาทาง ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ต้นพันธุ์ส้มจีนผลจิ๋วมาปลูกที่แผนกฟาร์ม จ.พิจิตร พบว่า สามารถออกดอกและติดผลได้ดี ส่วนการปลูกและดูแลรักษาส้มจีนผลจิ๋วก็เหมือนกับการปลูกส้มสายพันธุ์อื่น ๆ คือชอบสภาพดินที่โปร่งและร่วนซุย แต่ถ้าจะปลูกในสภาพดินทรายควรจะเสริมด้วยอินทรียวัตถุ นอกจากจะปลูกลงดินปลูกในเชิงพาณิชย์แล้ว ส้มจีนผลจิ๋วยังสามารถปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับได้เป็นอย่างดีสามารถเจริญเติบโตออกดอกและติดผลได้ในกระถาง แต่กระถางที่จะใช้ปลูกควรจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 15 นิ้ว และในกระถางวัสดุปลูกจะต้องมีการระบายน้ำที่ดีมีการรองก้นกระถางด้วยเศษอิฐ, เศษกระถาง หรือ โฟม โดยปกติแล้วส้มจีนผลจิ๋วจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุ 2 ปีขึ้นไป อายุการเก็บเกี่ยวของส้มสายพันธุ์นี้หลังจากดอกบานนับไปอีก 8 เดือน ก็สามารถเก็บผลส้มทานได้.


ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ




ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=174396

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/966196/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,275. ยอดนำเข้าผักสดลดวูบ คุมเข้มผัก-ผลไม้จากจีน


นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตผักและผลไม้ของไทยเป็นวงกว้างทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยและสินค้ามีราคาแพงขึ้น ขณะเดียวกันผักสดหลายชนิดเริ่มขาดแคลนจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย อย่างไรก็ตาม กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชทุกแห่ง ตรวจสอบและควบคุมการนำเข้าสินค้าผักผลไม้สดอย่างเข้มงวดและรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูพืชกักกันเล็ดลอดเข้ามาแพร่ระบาดภายในประเทศ ทั้งยังช่วยปกป้องผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าที่คุณภาพและมีความปลอดภัยด้วย

ด่านตรวจพืชเชียงของ จังหวัดเชียง ราย เป็นด่านที่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีนค่อนข้างมากภายหลังไทย-จีนได้เปิดเส้นทางสาย R3a เพื่อใช้ลำเลียงขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกระหว่างทั้ง 2 ประเทศ แต่หลังจากเกิดวิกฤติปัญหาน้ำท่วม ปริมาณการนำเข้าสินค้าผักสดจากจีนลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากปกติที่มีการนำเข้าวันละกว่า 1,000 ชิปเมนต์ หรือประมาณ 300 ตัน/วัน ลดเหลือวันละ 20-30 ตันเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผักกินใบ อาทิ บรอกโคลี กะหล่ำดอก ถั่วหวาน และถั่วลันเตา ทั้งนี้ เนื่องจากเส้นทางขนส่งสินค้าไปยังตลาดไทซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้าถูกน้ำท่วมตัดขาด ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความไม่มั่นใจ หากนำเข้ามาแล้วไม่มีแหล่งรองรับและกระจายสินค้า ถ้าเก็บไว้นานสินค้าอาจเน่าเสียได้.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=173165

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/963827/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,276. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา



รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงความร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด ในการจัดทำโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังการทำนาในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ทดแทนการทำนาปรัง นำร่องในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งสอดรับกับโครงการระบบการปลูกข้าวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทำการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 เปรียบเทียบกับข้าวนาปรัง ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

สำหรับผลการศึกษา การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 พบว่า มีผลตอบแทนในการลงทุนสูงกว่าการปลูกข้าวนาปรัง ประมาณร้อยละ 10 ของการลงทุน และจากการวิเคราะห์ทัศนคติและความคิดเห็นของเกษตรกร พบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 จะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าการปลูกข้าวนาปรัง แต่การปลูกข้าวนาปรัง รัฐบาลให้ความช่วยเหลือด้านประกันรายได้มีการชดเชยส่วนต่างราคาประมาณไร่ละ 1,500 บาท ซึ่งจะดีกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 ทั้งนี้ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 และข้าวนาปรังในปีนี้ เกษตรกรประสบปัญหาผลผลิตเสียหายอย่างมากและขายผลผลิตได้ในราคาต่ำ เนื่องจากเกษตรกรพึ่งพาแหล่งน้ำธรรมชาติ จากลำน้ำเสียวและห้วยแล้ง แต่ปริมาณน้ำในลำน้ำเสียวและห้วยแล้งมีปริมาณไม่เพียงพอ เพราะนอกจากจะใช้ในการเพาะปลูกแล้วยังต้องใช้ผลิตน้ำประปา เพื่อใช้ในเขตเทศบาลตำบลเกษตรวิสัยอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การวางแนวทางในการจัดทำยุทธศาสตร์และมาตรการพืชหลังนาในโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยเฉพาะพืชหลังนาที่ใช้ทดแทนการทำนาปรัง ภาครัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 ในพื้นที่นาปรังเพิ่มมากขึ้น โดยควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม จะทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพดี นอกจากนี้ ควรแนะนำและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรตากผลผลิตให้แห้งก่อนนำไปขาย เพื่อให้ผลผลิตมีความชื้นตามที่ตลาดต้องการ จะทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้น และที่สำคัญ คือ ต้องมีน้ำในการเพาะปลูกเพียงพอกับความต้องการของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝัก.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=172437

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/962428/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 12:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,277. เกษตรแบบสายกลาง ชีวิตมั่นคง





แม้จะจบแค่ ป.4 มีอาชีพเพียงการเกษตร ทำนา ทำสวนยาง พารา ปลูกพืชผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดขายตามตลาดในชุมชน แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งลูกทุกคนให้ได้เล่าเรียนหนังสือจนจบปริญญา ทำให้เกษตรกรวัย 72 ปี อย่างสมพงษ์ พรผล เกษตรกรตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา หมั่นศึกษาหาความรู้ด้านการเกษตร พร้อมยึดหลักธรรมการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทำให้วันนี้ สมพงษ์ พรผล เกษตรกรวัย 72 ปี ได้กลายเป็นเกษตรกรคนเก่งที่เป็นแบบอย่างของคนในชุมชน ด้านการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นผู้นำทางปัญญาที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้หลักการพึ่งพาตนเอง จนวันนี้นอกจากความฝันของสมพงษ์ จะเป็นจริง คือ ลูกทั้ง 5 คนได้เรียนจบปริญญา สมพงษ์มีฐานะมั่นคง ครอบครัวอบอุ่น และเป็นผู้ที่ได้รับการพิจารณา เป็นผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้ง 2 ประเภทประชาชนทั่วไป จากการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้ง 2 ของมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย กองทัพไทย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ร่วมกันจัดขึ้น

สมพงษ์ พรผล เคยบวชเรียนมาตั้งแตเด็ก จนกระทั่งไดรับการบรรพชาเปนพระเมื่อลาสิกขา และแต่งงาน จึงนำหลักธรรมมาปรับใชในการดําเนินชีวิตและครอบครัว โดยยึดหลักทางสายกลางตลอดมา ตลอดจนประพฤติปฏิบัติตนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หนุ่มจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชีวิตและครอบครัวอยู่แบบพึ่งพาตนเองเป็นที่ตั้ง เป็นครอบครัวที่อบอุ่น และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวอื่น ๆ ในชุมชน

ใช้หลักในการทำงานขยันหมั่นเพียร อดทน มีรายได้พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัว มีการทำบัญชีครัวเรือน คำนึงถึงความพอประมาณในการบริโภค ส่วนที่เกินพอก็เอื้อเฟื้อแบ่งปันให้กับสังคม และผู้ที่ยังขาดแคลนในด้านต่าง ๆ หรือด้อยโอกาส จึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้นำทางปัญญาที่สร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้และค้นหาทางออกเพื่อให้พึ่งพาตนเอง จนสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน นับว่าการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทำให้จากเกษตรกรธรรมดาทั่วไป กลายเป็นเกษตรกรคนเก่งที่ใคร ๆ นับหน้าถือตา และได้ยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมในที่สุด

สำหรับรางวัลประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้ง 2 นี้มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย กองทัพไทย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวด เพื่อเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้ภาคประชาชน ภาคเกษตร ภาครัฐ และภาคธุรกิจ ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต สามารถเป็นตัวอย่างในการพัฒนาตนเอง ชุมชน องค์กรภาครัฐ และธุรกิจได้

พร้อมกันนี้ผู้ที่ชนะเลิศ จะได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาส ต่อไป.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=172436

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/962429/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 1:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,278. 'ต.ชะอม'แหล่งไม้ขุดล้อมใหญ่ที่สุดของประเทศไทย





ท่านต้องการจะเนรมิตสวนของท่าน หรือจัดภูมิทัศน์ให้ต้นไม้โตได้ภายในวันเดียว ไม้ขุดล้อมจะเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องคอยเวลาปลูก ท่านสามารถเลือกพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขนาดลำต้น เท่าท่อนแขนที่มีอายุราว ๆ 1 ปี ไปจนถึงไม้ขนาดลำต้นหลายคนโอบอายุหลายสิบปี ปัจจุบัน “ไม้ขุดล้อม” ยังเป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งในประเทศเองหรือการส่งออกไปยังต่างประเทศ แต่หลายท่านจะทราบหรือไม่ว่าแหล่งที่ปลูกไม้ขุดล้อมแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ “ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี” ด้วยตัวเลขของพื้นที่ปลูกต้นไม้เพื่อการขุดล้อมที่มีมากกว่า 5,000 ไร่ มีแผงพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่มากกว่า 150 แผง ในเขตพื้นที่ ต.ชะอม ที่มีรถยนต์และรถบรรทุกจากทั่วประเทศวิ่งเข้าไปรับซื้อไม้ขุดล้อมขนาดน้อยใหญ่ ในแต่ละวันนับร้อยคัน

กำนันสมชาติ พึ่งทรัพย์ กำนัน ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โทร. 08-1291-3906 ได้เล่าประวัติความเป็นมาการประกอบอาชีพของ ชาวบ้าน ต.ชะอมว่าแต่เดิมชาวบ้าน ต.ชะอมประกอบอาชีพทำไร่ ปลูกมันสำปะหลัง, ข้าวโพด, พืชล้มลุกทั่วไป และทำสวน แต่รายได้ไม่ค่อยจะดีมากนัก มีหนี้สินกันอยู่มาก ต่อมามี บริษัท ไลม่อนแลนด์ จำกัด ร่วมกับ คุณมีชัย วีระไวทยะได้เข้ามาแนะนำเกี่ยวกับการทำไม้ขุดล้อม และเริ่มต้นได้ให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและส่งเจ้าหน้าที่มาสอนชาวบ้านถึงขั้นตอนการปลูก, การดูแลรักษาและวิธีการขุดล้อมต้นไม้ ในครั้งนั้นตัวกำนันสมชาติเริ่มทดลองปลูกต้นไม้เพื่อขุดล้อมในพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ พร้อมชาวบ้านอีก 6 คน ที่ร่วมทดลองปลูกในครั้งนั้น จากนั้นอีก 1 ปี ต้นไม้ที่ปลูกไว้เริ่มขุดล้อมจำหน่ายเมื่อชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เฝ้าดูว่าปลูกไม้ขุดล้อมแล้วมีคนมารับซื้อและขายได้จริง มีรายได้ดีกว่าการปลูกพืชชนิดเดิม ๆ จึงหันมาทำไม้ขุดล้อมขายให้แก่ทางบริษัทกันมากขึ้น ปัจจุบันไม้ขุดล้อมมีปริมาณมากขึ้นและเป็นที่รู้จักของพ่อค้าขายต้นไม้ ทำให้มีการซื้อขายกัน ขยายตลาดออกไป ในขณะนี้ทุกครัวเรือนใน ต.ชะอม มีอาชีพทำไม้ขุดล้อมกันหมด สร้างอาชีพและมีรายได้ ปัญหาการว่างงานหมดไป ในการซื้อหรือตีราคาก่อนขุดล้อมนั้นก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย มีตั้งแต่หลักพันบาทไปถึงราคาหลักหมื่นบาท การขุดล้อมไม้ขนาดใหญ่จะนิยมไปขุดล้อมกันในช่วงฤดูแล้ง ต้นไม้จะผลัดใบ, ดินจะแน่น มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายมาก ส่วนฤดูฝน ก็พอที่จะขุดได้บ้าง แต่จะมีความยากลำบากในการขนย้ายและตุ้มดินแตก

การขายไม้ขุดล้อมมักไม่ได้ตีราคาในเรื่องของความสูง แต่จะตีราคาตรงขนาดของลำต้น ดังนั้นคนปลูกไม้ขุดล้อมจึงไม่ได้เน้นความสูงของต้นไม้ แต่จะเน้นให้โคนลำต้นใหญ่.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=171994

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/961546/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 1:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,279. บราคอนผู้พิชิต ศัตรูมะพร้าว







จากสถานการณ์พบหนอนหัวดำสร้างความเสียหายให้กับแหล่งปลูกมะพร้าวของไทยกระจายในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ปัตตานี สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ชลบุรีและจังหวัดระยอง ซึ่งนอกจากหนอนหัวดำจะระบาดทำลายมะพร้าวและต้นตาลแล้ว ยังมีพืชอาหารอีกหลายชนิด ได้แก่ หมาก กล้วย และปาล์มประดับด้วย

นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร ได้เข้าไปดำเนินการทำลายแมลงดำหนาม และแมลงหนอนหัวดำในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง โดยใช้ทั้งกลวิธี โดยการตัดใบส่วนที่พบการระบาดของศัตรูพืชแล้ว และการใช้ชีววิธี โดยใช้แตนเบียนเข้าทำลาย

“วิธีการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว เบื้องต้นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวต้องหมั่นสังเกตต้นมะพร้าวในแปลงปลูกของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากตรวจพบหนอนหัวดำต้องตัดเก็บและเผาใบที่ถูกทำลายทิ้ง และทำลายโดยชีววิธี ซึ่งมีศัตรูธรรมชาติหลายชนิด เช่น แตนเบียนไข่ แตนเบียนหนอน และแตนเบียนดักแด้ รวมทั้งเชื้อราด้วย ที่จะกัดกินหนอนหัวดำมะพร้าว” นายอนันต์กล่าว

ทางด้านนายอุดมเดช คนสมบูรณ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แนะนำวิธีการกำจัดศัตรูร้ายมะพร้าวด้วยการเลี้ยงแตนเบียนหนอนและบราคอนว่า มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมหนอนหัวดำ และสามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และต้นทุนต่ำ เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการเลี้ยงหนอนผีเสื้อข้าวสารในกล่องพลาสติกใส หรือกะละมัง ปิดฝาด้วยผ้ามุ้ง โดยใช้รำและปลายข้าวเป็นอาหารให้หนอนผีเสื้อข้าวสารกิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 40 วัน ก็จะได้หนอนผีเสื้อข้าวสาร จากนั้นคัดเลือกหนอนผีเสื้อข้าวสารที่มีขนาดใหญ่ ใส่ในกล่องพลาสติกใส หรือขวดพลาสติกใส หรือถุงพลาสติกใส ที่เจาะรูระบายอากาศ ประมาณ 20-50 ตัวต่อกล่อง (ขึ้นอยู่กับขนาดของกล่องพลาสติกที่ใช้) และให้ใส่สำลีชุบน้ำผึ้งผสมน้ำ (1 ต่อ 1) แปะติดไว้ข้างในกล่องเลี้ยง เพื่อเป็นอาหารให้ตัวเต็มวัยแตนบราคอนที่จะเกิดขึ้นมาในกล่องได้กิน ใส่พ่อพันธ์ุแม่พันธุ์แตนเบียนหนอนบราคอนลงไปในกล่องแล้ววางกล่องเลี้ยงไว้ในอุณหภูมิห้อง ที่ร่มไม่ถูกแดด ไม่ถูกฝน และไม่มีมด ประมาณ 10 วัน ก็จะได้แตนเบียนหนอน

“หนอนผีเสื้อข้าวสาร 1 ตัว จะได้แตนเบียน 15 ตัว ทิ้งไว้ 1-2 วัน เพื่อให้บราคอนมีโอกาสผสมพันธุ์กัน ก่อนนำไปปล่อย โดยเปิดฝากล่องในสวนมะพร้าวที่มีหนอนหัวดำระบาดในช่วงเช้าหรือเย็น และปล่อยบราคอนทุก 7-10 วัน ประมาณ 3-6 ครั้ง บราคอนตัวเมียจะบินขึ้นไปไข่ในหนอนหัวดำบนยอดมะพร้าว ทำให้หนอนหัวดำตาย และบราคอนจะใช้หนอนหัวดำเป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อนที่ขยายปริมาณเพิ่มขึ้น บนยอดมะพร้าว อีก 10 เท่าทุก 10 วัน” เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าว.




ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=169228

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/956638/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 1:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,280. ใช้ปูนปรับดินเปรี้ยวจัด เพิ่มข้าวเป็น 600 กก./ไร่


นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดี กรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินได้รณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงแก้ไขปัญหาของดินเปรี้ยวจัด โดยการสนับสนุนวัสดุปูนมาร์ล หินปูนฝุ่น พร้อมกับให้เจ้าหน้าที่เข้าไปให้คำแนะนำอัตราการใช้และวิธีการใส่ปูนที่ถูกต้อง เพื่อให้ปูนที่ใส่ลงไปเกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปีที่ผ่านมา กรมพัฒนาที่ดินได้แจกจ่ายปูนปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จำนวน 58,000 ตัน สามารถปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดได้ประมาณ 58,000 ไร่ แต่ยังมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2555 กรมฯ มีเป้าหมายในการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพิ่มเติมอีก 63,500 ไร่ กระจายในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้

“จากการศึกษาวิจัยของนักวิชาการ พบว่าพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว สามารถปลูกข้าวได้เจริญงอกงาม และให้ผลผลิตสูงขึ้นจากไร่ละ 300 กิโลกรัม เป็น 500-600 กิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไร่ละ 4,500 บาท โดยลงทุนเพิ่มขึ้นเพียงไร่ละประมาณ 300 บาทต่อปีเท่านั้น สำหรับค่าปูนพร้อมค่าหว่านและไถคลุกเคล้ากับดินในปีแรก เพราะการใส่ปูน 1 ครั้ง สามารถปรับสภาพดินในแปลงนาได้นาน 5 ปี เกษตรกรที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือหมอดินอาสาใกล้บ้านท่าน” อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว.




ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=169008

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/956184/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 1:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,281. ท่องเที่ยวเมืองเก่าเกียวโต ลุยถิ่น 'ชาเขียว' ญี่ปุ่น






ปัจุบันเราต่างคุ้นเคยชื่อเสียงเรียงนาม “ชาเขียว” ที่มีมากมายหลากหลายยี่ห้อ รู้กันว่าเป็นเครื่องดื่มสุขภาพยอดนิยมชนิดหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่น มีให้ดื่มหลากหลายรูปแบบ ทั้งชนิดบรรจุขวดแช่เย็น หรือเป็นผงบรรจุซองไว้ดื่มแบบร้อน นอกจากเป็นเครื่องดื่มแล้วยังมีการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ชาเขียว มาแปรรูปใช้เป็นส่วนผสมทำขนมเค้ก หรือช็อกโกแลต ฯลฯ ให้มีเห็นอีกหลากหลายชนิด ถือว่าเป็นโอกาสดีที่ ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ ได้มีโอกาสรับเชิญไปยังเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยมี บริษัททิปโก้เอฟแอนด์บี จำกัด และ บริษัท ซันโทรี่ เบฟเวอร์เรจ แอนด์ฟู้ด เป็นคนนำคณะสื่อมวลชนจากประเทศไทย ไปย่ำถิ่นเมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น (อยู่ฝั่งด้านทิศตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น) เพื่อตามรอยเส้นทางสาย “ชา” ว่าเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นอย่างไร?

ในสมัยคามาคุระ มีนักบวชชื่อ “เอไซ” นำเมล็ดชาจากจีนมาปลูกที่ญี่ปุ่น และได้เขียนบันทึกชื่อ “คิสสะ โอโจ คิ” (บันทึกเกี่ยวกับการปลูกชา) พร้อมทั้งบรรยายถึงสรรพคุณของชา นอกจากนี้ยังมีนักบวชเมียวเอะโชนิง จากวัดโคซัง นำเมล็ดชาที่ได้รับ มาจากนักบวชเอไซ ไปเผยแพร่ปลูกตามเมืองต่าง ๆ การปลูกชาจึงได้เริ่มกระจายไปในญี่ปุ่น เมื่อการปลูกเริ่มแพร่หลายแล้วส่งผลทำให้ การดื่มชาขยายวงกว้าง สุดท้ายขยับกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มชาสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ด้วยอุปนิสัยที่เป็นคนช่างคิดดัดแปลง ทำให้ชาวญี่ปุ่นปรับปรุงทั้งกรรมวิธีปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและแปรรูป ทำให้ผลผลิตชาที่ได้มานั้นสามารถแตกแขนงไปอีกหลากหลายรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น ชาเขียว, ชาแดง, ชาขาว หรือชาอู่หลง ฯลฯ มีการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็ว การปรับปรุงพันธุ์ จนกลายเป็น ชาญี่ปุ่น มีการลงทะเบียนไว้มากถึง 90 ชนิด ที่ขึ้นชื่อลือชา อาทิ พันธุ์ยาบุคิตะ, ซามิโดริ, โกะโค, อาสะฮิ ฯลฯ

คณะสื่อมวลชนไทยได้ไปเยี่ยมชมการปลูก เห็น “ต้นชา” เป็นแนวยาวตามเนินเขา แม้ลักษณะไม่ค่อยแตกต่างจากบ้านเราสักเท่าไรนัก แต่มีสิ่งหนึ่งที่สะดุดตาคงหนีไม่พ้นบริเวณไร่ชามี “เสาพัดลม” ตั้งเด่นเรียงรายอยู่เป็นระยะ จุดประสงค์มีไว้เพื่อไว้เปิดพัดละอองหมอกในยามเช้า ป้องกันไม่ให้น้ำค้างมาเกาะบนยอดอ่อนใบชา ในช่วงที่จะต้องรีบเก็บผลผลิตยามเช้าตรู่ ปัจจุบันทั่วโลก มีการผลิตชาประมาณ 3 ล้านตันโดยกว่าร้อยละ 70 เป็นชาแดง, ร้อยละ 20 เป็นชาเขียว และส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 5 เป็นชาอู่หลง หรือถูกแปรรูปไปเป็นชาอื่น ๆ

ในส่วนของความหมายทำไมต้องเรียก ชาเขียว คือ ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก เมื่อผ่านกรรมวิธีแปรรูปตามขั้นตอนแล้วชงน้ำร้อนชาจะออกสีเขียว (ชาแดง จะผ่านกระบวนการหมัก, ชาอู่หลง ผ่านกระบวนการกึ่งหมัก) ทั้งนี้ชาเขียว ยังแยกได้อีกหลายชนิด อาทิ เซนชะ บังชะ เกียะคุโระ และมัทชะ ฯลฯ เซนชะ เป็นชาที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน วิธีการผลิตก็คือ เมื่อใบอ่อนของต้นชางอกออกมา 4–5 ใบก็จะเก็บใบชา และนำใบชาไปอบไอน้ำให้เร็วที่สุด ส่วน บังชะ เป็นชาที่คัดเลือกมาจากเซนชะที่ใบใหญ่และเรียบ หรือใบชาที่เก็บหลังจากที่เก็บใบชาสำหรับทำเซนชะแล้ว นำมานวดเล็กน้อย มีรสชาติอ่อน

สำหรับ เกียะคุโระ และ มัทชะ ผลิตจากยอดใบชาอ่อนที่ปลูกแบบพรางแสง นำใบชาที่เก็บได้มาอบไอน้ำ แล้วนวดและอบให้แห้งก็จะได้เกียะคุโระ เมื่อชงค่อย ๆ ด้วยน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิไม่สูงนักก็จะได้ลิ้มรสน้ำชาที่ไม่ค่อยมีรสฝาดแต่มีความหอมหวานที่เป็นเอกลักษณ์ ถือเป็นชาชั้นเลิศ (เกรดดีราคาแพงสุด) พื้นที่ที่มีการผลิตมากได้แก่ หมู่บ้านโฮชิโนะ จ.ฟุคุโอกะ, อ.โจโย จ.เกียวโต และเมืองโอคาเบะ จ.ชิสุโอกะ ส่วนการนำยอดใบชาอ่อนที่เก็บได้มาอบแห้งเลยโดยไม่นวด และนำมาบดเป็นผงสีเขียวก็จะได้ มัทชะ

การเดินทางไปเยือนอาทิตย์อุทัยครั้งนี้ ทุกคนต่างเต็มอิ่มด้วยข้อมูลต้นตำรับ ชาเขียว รูปแบบของญี่ปุ่นต้องยอมรับว่าสมราคาสำหรับประเทศที่มีความพากเพียรอุตสาหะ จนพัฒนาสายพันธุ์ต้นชารวมไปถึงการแปรรูปจนทำให้ชาเขียวกลายเป็นเครื่องดื่มที่รู้จักไปทั่วโลก.

เกรียงไกร บัวศรี : รายงาน





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=169011

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/956181/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/11/2011 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,282. 'ไมโครอะเรย์' เทคโนโลยีฟื้นชีพ...'สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรไทย'





เทคโนโลยีไมโครอะเรย์ (MicroarrayTechnology) คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันระหว่างประเทศ เนื่องจาก “ไมโครอะเรย์” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างในเวลาเดียวกัน แทนที่จะศึกษาทีละตัวอย่างซึ่งสามารถช่วยลดเวลาในการศึกษาให้เร็วขึ้นและได้ข้อมูลที่มากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาดีเอ็นเอของยีน ซึ่งเป็นเทคนิคที่สําคัญในการพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ จึงได้รับการคัดเลือกจากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เป็น “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2554”

ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า งานวิจัยดังกล่าวได้ร่วมมือกับห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร (Microarray Laboratory) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ Biotechพัฒนาศักยภาพการผลิตไมโครอะเรย์ในประเทศไทย เพื่อให้มีราคาถูกลง ซึ่งสามารถตอบโจทย์วิจัยที่สนองนโยบายของชาติ และประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ภาคอุตสาหกรรมใช้งานได้จริง โดยผลงานล่าสุดคือการนำเทคโนโลยีด้านดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ มาใช้ในการวิจัยปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

“งานวิจัยที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นในการนำเทคโนโลยีไมโครอะเรย์มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยและพัฒนาในด้านต่าง ๆ ซึ่งผลงานที่ทำล่าสุดคือ การนำเทคโนโลยีด้านดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ มาใช้ในการวิจัยปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย หลังจากอุตสาหกรรมการผลิตกุ้งกุลาดำประสบปัญหาโรคระบาดในกุ้ง มีความไม่สมบูรณ์พันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้ง และกุ้งมีขนาดแคระแกร็น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการผลิตและส่งออกกุ้งกุลาดำไปยังต่างประเทศ”

ทั้งนี้ แผ่นไมโครอะเรย์ที่ผลิตขึ้น ผู้วิจัยสามารถนำยีนที่ต้องการวิจัยนับพันยีนมา spot ลงบน glass slide ได้พร้อม ๆ กัน ซึ่งเรียกว่า DNA chip แล้วนำแผ่น DNA chip ไปใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนในกุ้งกุลาดำ เช่น นำแผ่น DNA chip ไปเปรียบเทียบกุ้งที่เจริญพันธุ์กับกุ้งที่ไม่เจริญพันธุ์ เพื่อดูว่ามียีนอะไรที่แสดงออกต่างกัน เมื่อทราบยีนเหล่านั้นแล้ว จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาจากต้นตอได้ เช่น การให้อาหารกระตุ้นยีน หรือจัดสภาวะเลี้ยงให้ถูกต้อง เป็นต้น โดยผ่านห้องปฏิบัติการแบบครบวงจรที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ดร.นิศรา กล่าวถึงการต่อยอดงานวิจัยจากเทคโนโลยีไมโครอะเรย์ ว่าได้มีการนำ DNA chip พัฒนาเป็นชุดตรวจกลุ่มแบคทีเรียในอาหาร เช่น แหนมเพื่อหาเชื้อก่อโรคในอาหารและช่วยในการพัฒนา starter culture สำหรับการหมักหรือการนำ DNA chip ไปค้นหากลุ่มแบคทีเรียในลำไส้กุ้ง เพื่อหากลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและการต้านทานโรคของกุ้ง (probiotics for shrimp) ซึ่งการพัฒนาครั้งนี้ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว

“เทคโนโลยีไมโครอะเรย์สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะการมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการเกษตร เนื่องจากอุตสาหกรรมเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับเศรษฐกิจของประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การนำแอนติบอดีอะเรย์ไปใช้เป็นชุดตรวจก่อโรคในอาหารและในเมล็ดพันธุ์จะสามารถลดค่าใช้จ่าย ระยะเวลาและแรงงานในการตรวจ และเพิ่มความเชื่อมั่นกับสินค้าส่งออกที่มาจากประเทศไทยในตลาดโลกได้อีกด้วย ส่วนในการนำดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ของกุ้งกุลาดำนั้นจะสามารถเพิ่มองค์ความรู้ทางชีววิทยาในกุ้งกุลาดำได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เราสามารถฟื้นฟูและปรับปรุงอุตสาหกรรมการเลี้ยงและส่งออกกุ้งกุลาดำได้อย่างยั่งยืนด้วย”

งานในวงการวิทยาศาสตร์หลายชิ้นสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้เป็นอย่างมาก แต่การขับเคลื่อนกระบวนการวิจัยต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นการที่ตนมีโอกาสได้สร้างผลประโยชน์จากงานวิจัยกลับไปสู่ประชาชน จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ คือการถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการต่อ ยอดความรู้ให้กับเยาวชนในสังคมให้รู้ถึงผลประโยชน์อันสูงสุดของวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ พร้อมกันนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับอุตสาหกรรมเกษตรไทยที่เกี่ยวเนื่องในการผลิตและการส่งออกในอนาคต.





ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentId=169009

ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/956182/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/11/2011 6:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,283. รับรอง 3 พันธุ์ข้าวใหม่ล่าสุด เลือกชาวนาไทยหลังน้ำลด

โดย...ดลมนัส กาเจ

แม้ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลบางจังหวัดยังมีระดับน้ำท่วมขังอยู่อีกจำนวนมาก คนยังหวาดผวากลัวว่าน้ำเหนือจากเขื่อนต่างๆ จะปล่อยลงมา ซึ่งอาจซ้ำเติมให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างอีก แต่อีกมุมหนึ่งของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่อาศัยตามลุ่มน้ำยม น่าน และปิง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น จ.กำแพงเพชร พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก รวมถึงนครสวรรค์ บางพื้นที่กลับต้องการให้เขื่อนปล่อยน้ำลงมา เนื่องจากถึงเวลาที่จะต้องทำนาปรังกันแล้ว แต่ยังขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก

ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เอง ก็ได้เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้แก่เกษตรกรที่จะเพาะปลูกข้าวทั้งนาปรังและนาปีหลังน้ำลดช่วงเดือนพฤศจิกายน 2554-กรกฎาคม 2555 จำนวนทั้งสิ้น 72,100 ตัน ซึ่ง นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้สำรวจพื้นที่พบว่า พื้นที่นาข้าวได้รับผลประทบ 9.01 ล้านไร่ คาดว่าจะมีพื้นที่ทำนาข้าวเสียหาย 7.21 ล้านไร่ แต่จะช่วยเฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวและมีพื้นที่ปลูกข้าวได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และจะช่วยรายละไม่เกิน 10 ไร่ ในปริมาณไร่ละ 10 กก. เท่านั้น และแบ่งเป็น 2 ระยะคือหลังน้ำลด จำนวน 33,166 ตัน และฤดูนาปีอีก 38,934 ตัน ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวรวม 69.82 ล้านไร่ แบ่งเป็นปลูกข้าวนาปี 57.42 ล้านไร่ และข้าวนาปรัง 12.40 ล้านไร่

ซึ่งสอดคล้องกับช่วงนี้ ที่หลังจากน้ำท่วมแล้วเกษตรกรอาจมีความคิดที่จะทดลองปลูกสายพันธุ์ใหม่ๆ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ นายชัยฤทธิ์ ดารงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าว บอกว่า คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าวได้พิจารณารับรองพันธุ์ข้าวใหม่จำนวน 3 พันธุ์ด้วยกันคือ ประเภทข้าวเหนียว พันธุ์เหนียวดาช่อไม้ไผ่ 49 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 363 กก./ไร่ ความสูงประมาณ 135 ซม. มีลักษณะเด่น เมื่อนึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ทางภาคใต้นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่าง และใช้ในงานบุญประเพณี ทำให้ราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวทั่วไป เหมาะสำหรับปลูกในบริเวณพื้นที่นาดอนและสภาพไร่ในภาคใต้ แต่อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ไม่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่นาลุ่ม

อีกสายพันธุ์เป็นข้าวเจ้าลูกผสม พันธุ์ กขผ 1 ปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว มีอายุเก็บเกี่ยว 115 วัน (โดยวิธีปักดา 20 x 20 ซม.) ทรงกอตั้ง ต้นสูง 116 ซม. ต้นแข็งมาก ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,006 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 (666 กก./ไร่) และสุพรรณบุรี 1 (817 กก./ไร่) ต้านทานต่อโรคไหม้ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก นอกจากนี้ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว แต่อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง พื้นที่แนะนำให้ปลูก ได้แก่ พื้นที่นาชลประทานในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง

สุดท้ายเป็นข้าวเจ้าลูกผสม พันธุ์ซีพี 304 ปรับปรุงพันธุ์โดยเอกชนคือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (ซีพีเอส) เป็นข้าวเจ้าลูกผสมไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 103-104 ความสูง 102-104 ซม. ต้นค่อนข้างแข็ง ทรงกอตั้ง ลักษณะเด่นคือให้ผลผลิตเฉลี่ย 938 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ชัยนาท 1 และพิษณุโลก 2 คิดเป็นร้อยละ 15, 25 และ 29 ตามลำดับ ปลูกโดยวิธีปักดา (ระยะปักดา 30x14 ซม.) ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ พื้นที่แนะนำ ได้แก่ พื้นที่นาชลประทานที่เกษตรกรมีความพร้อมและดินอุดมสมบูรณ์ แต่ควรระวัง เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมาก

นายวิรัตน์ ฤกษ์ศิริ เจ้าหน้าที่วิจัยข้าวลูกผสม ซีพีเอส กล่าวว่า พันธุ์ข้าว ซีพี 304 มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง และมีการแตกกอดี จึงแนะนำให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ในการหว่านเพียง 10 กก./ไร่ ขณะที่การหว่านพันธุ์ข้าวทั่วไปใช้ประมาณ 30-40 กก./ไร่ ผลการเปรียบเทียบรายได้กับพันธุ์ข้าวทั่วไปของเกษตรกรใน อ.บางเลน จำนวน 150 ราย พบว่า เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 90% เพราะเป็นผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเกินกว่า 1,000 กก./ไร่ และสูงสุดที่ได้มา 1,500 กก./ไร่

ด้านนายวรรณะ ชัยชนะ เกษตรกรชาวคลองนกกระทุง อ.บางเลน จ.นครปฐม กล่าวว่า ได้ทดลองปลูกข้าวพันธุ์ซีพี 304 ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 เป็นช่วงอากาศหนาว โดยวิธีการหว่าน พบว่า ข้าวลูกผสมพันธุ์ซีพี 304 มีการแตกกอดีมาก พอได้เวลาเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตสูงถึง 1,580 กก./ไร่ ขณะที่ข้าวพันธุ์อื่นที่เก็บเกี่ยวในช่วงเดียวกันได้ผลผลิตราวๆ 1,200 กก./ไร่เท่านั้น รอบสองปลูกเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2554 ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 1,100 กก./ไร่ ขณะที่ข้าวพันธุ์อื่นในพื้นที่ใกล้เคียงได้ผลผลิตเฉลี่ย 900 กก./ไร่เท่านั้น สาเหตุหนึ่งที่ข้าวพันธุ์ซีพี 304 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า น้ำหนักดีกว่า เพราะสามารถทนทานต่ออากาศหนาวได้ดี นอกจากนี้ยังมีเมล็ดลีบน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวทั่วไป ทำให้ได้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น

ข้าวพันธุ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ที่ว่านี้ น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรอาจจะเลือกปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ที่เหมาะแต่ละพื้นที่ หลังจากประสบน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา



http://www.komchadluek.net/detail/20111121/115565/รับรอง3พันธุ์ข้าวใหม่ล่าสุด.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/11/2011 7:05 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/11/2011 7:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,284. ปลูกข้าวแบบวิเคราะห์ดิน


นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2554 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทราได้ส่งทีมวิจัยของสำนักงานลงไปร่วมแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ เริ่มต้นที่สหกรณ์การเกษตรเมืองฉะเชิงเทรา จำกัด เป็นแห่งแรก เพื่อค้นหาปัญหาและสิ่งที่สมาชิกต้องการความช่วยเหลือ โดยเน้นให้สมาชิกสหกรณ์มีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ประเมินผลและร่วมรับประโยชน์ร่วมกัน

โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเป็นผู้สนับสนุน และพบว่า สมาชิกมีความต้องการลดต้นทุนการปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าว จึงได้จัดทำ ’โครงการวัดดิน ตัดปุ๋ย” ขึ้น มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 19 ราย โดยให้สมาชิกเก็บตัวอย่างดินหลังการเก็บเกี่ยวแล้วส่งไปวิเคราะห์ที่สถานีพัฒนาที่ดินหรือสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต เพื่อวิเคราะห์ดินว่าควรใช้ปุ๋ยสูตรใดจึงจะเหมาะสมในการปลูกข้าว จากนั้นสหกรณ์จะสั่งซื้อปุ๋ยสูตรตามความต้องการของดิน จากการดำเนินการที่ผ่านมาสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยและเพิ่มผลผลิตข้าวได้ประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะนี้มีสมาชิกสหกรณ์สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น

ทางด้านนายจำรัส สุนทรโชติ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองฉะเชิงเทรา จำกัด เปิดเผยว่า ตนมีพื้นที่ทำนา 53 ไร่ เดิมใช้ปุ๋ยเคมีหนึ่งกระสอบต่อไร่ กระสอบละ 750 บาท เป็นเงิน 39,750 บาท ได้ผลผลิตข้าว 800 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตข้าวทั้งหมด 42.4 ตัน ราคาตันละ 8,900 บาท รวมเงินที่ได้รับ 377,360 บาท ภายหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าปุ๋ยสั่งตัดต่อไร่ 519 บาท เป็นเงิน 27,507 บาท ได้ผลผลิตข้าว 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตข้าวทั้งหมด 53 ตัน ราคาตันละ 8,900 บาท รวมเงินที่ได้รับ 471,700 บาท สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยลงได้ 12,243 บาท ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 10.60 ตัน มีรายได้เพิ่มขึ้น 94,340 บาท.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=177783
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/11/2011 12:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,285. ชาวนาเงินล้าน






http://news.dmc.tv


ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน


จากคำพูดที่ว่า “ทำนาแล้วจน” เคยได้ยินคำนี้ไหม

“ทำนาแล้วไม่จนก็มีค่ะ ทำนาแล้วดีกว่าทำงานกินเงินเดือนเสียอีก” คำพูดจากปากของ ชัยพร พรหมพันธุ์ เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา และที่ชัยพร พรหมพันธุ์ กล้าการันตีแบบนี้ก็เพราะว่าชาวนาอย่าง ชัยพร พรหมพันธุ์ ทำกำไรเหนาะ ๆ หักต้นทุนเรียบร้อยแล้ว เมื่อฤดูกาลผลิตที่แล้ว 2,000,000 บาทเศษ และฤดูที่เพิ่งผ่านพ้นไป 1,000,000 บาทเศษ ๆ และตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีเงินเหลือใช้มากพอ จนสามารถกำหนดเงินเดือนให้ตัวเองและภรรยาในอัตราเดียวกับผู้บริหารเสื้อคอปกขาวในเมือง มีโบนัสจากผลประกอบการไม่เคยขาด โดยเฉลี่ยก็มีรายได้ตกคนละประมาณ 60,000 – 70,000 บาท แถมยังแอบรู้มาว่า ปีก่อนนี้ซื้อทองเส้นเท่าหัวแม่โป้งมาใส่ พร้อม ๆ กับถอยรถกระบะมาขับเล่น ๆ อีกต่างหาก


ซึ่งนอกจากเงินเดือนและโบนัสสูงแล้ว ชัยพร พรหมพันธุ์
ยังซื้อที่ดินขยายการผลิตออกไป 30 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 20 ปี ด้วยเงินสด ไม่เคยขาดทุนจากการทำนาต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2533 ไม่เคยมีหนี้สิน มีหลักประกันสุขภาพชั้นดี จากการส่งประกันชีวิตประกันสุขภาพระดับ A เดือนละร่วมแสน ส่งลูก 3 คน เรียนจบปริญญาโทโดยขนหน้าแข็งไม่ร่วง...

วันว่างยังพาลูก ๆ ออกไปหาของกินอร่อย ๆ นอกบ้าน ชาวนาคนนี้เขาทำได้อย่างไรหรือ....และทำไมชีวิตจึงมีเงินเก็บมากมายขนาดนี้ เรามาเรียนรู้วิถีชีวิตของ นายชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน


นายชัยพร พรหมพันธุ์
ชาวนาวัย 48 อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 1 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบางปลาม้า สมรสกับคุณวิมล พรหมพันธุ์ บุตรมี 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน รักอาชีพการทำนาเป็นชีวิตจิตใจ ความมั่งคั่งมั่นคงทั้งปวง ได้มาจากการทำนาโดยสุจริต ไม่เอาเปรียบดินไม่เอาเปรียบน้ำ คิดซื่อ ขยันขันแข็ง และมีสองมือหยาบกร้านจากการทำงานหนักเช่นชาวนาทั่ว ๆ ไป โดยชาวนาโดยส่วนใหญ่คู่กับตำนานยิ่งทำยิ่งจน ทำนาจนเสียนา แต่สำหรับเขา ทำนาบนที่ดินมรดกพ่อ 20 กว่าไร่ กับอีกส่วนหนึ่งเขาเช่าเพิ่มเติม ทำไปทำมาก็ซื้อที่นาเช่ามาเป็นของตัวเอง ปาเข้าไป 100 กว่าไร่ แถมซื้อที่นามาโดยไม่เคยกู้แบงก์ ไม่เคยเป็นลูกค้าขี้ข้าใคร

"ผมล้มมาเยอะเหมือนกัน" สำเนียงเหน่อ ๆ ของลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้านแห่ง ตำบลบางใหญ่ ผู้เพียรพยายามหาหนทางตั้งตัว เคยทำแม้แต่นากุ้งและสวนผลไม้คละชนิด แต่สู้น้ำไม่ไหว ต้องกลับมาเป็นชาวนาตามรอยพ่อ

"ทำนาเคมีมา 20 กว่าไร่ ครั้งแรกปี 2525 ได้ข้าว 13 เกวียน จำได้แม่นเลย ขายได้เกวียนละ 2,000 บาท ขาดทุนยับ พอดูหนทาง เลยไปสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คิดว่าจะได้เบิกเงินค่าเรียนลูก เพราะมองอนาคตแล้วว่าไม่มีปัญญาส่งลูกแน่ ปี 2531 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาละวาดหนัก แถวบ้านเราโดนกันหมด ก็พอดี อาจารย์เดชา ศิริภัทร ทำเรื่องนาอินทรีย์และใช้สมุนไพร มาขอทำแปลงทดลองปลูกสมุนไพร พ่อก็แบ่งนาให้ 5 ไร่ ด้วยความเกรงใจ

อาจารย์ก็เริ่มทดลองใช้สะเดาสู้กับเพลี้ย เครื่องไม้เครื่องมือเยอะ ผมก็ไปช่วยอาจารย์ฉีด ก็ฉีดไปยังงั้น เราไม่ได้ศรัทธาอะไร แต่ปรากฏว่าแปลงนาที่สารเคมีเสียหายหมด ส่วนแปลงนาที่ฉีดสะเดากลับไม่เป็นอะไร ผมก็เริ่มจะเชื่อแล้ว แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เลยเอามาทำในนาของผมเอง ซึ่งปีนั้นชาวนาโดนเพลี้ยกันเยอะมาก หน่วยปราบศัตรูพืชจังหวัด เขาเลยเอายาที่ผสมสารเคมีมาแจก ผมก็ลองเอามาใช้ โดยแบ่งว่าแปลงนานี้ฉีดสารเคมี แปลงนานี้ฉีดสะเดา ซึ่งผลก็ปรากฏออกมาว่า แปลงนาที่ฉีดสะเดาปลอดภัยดี เก็บเกี่ยวข้าวก็ดี แต่แปลงที่ฉีดสารเคมีตายหมด

ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อสนิทใจ แล้วมาลองทำเองดู ผมก็หักกิ่งก้านสะเดามาใส่ครกตำเอง ภรรยาก็บ่นว่าทำไปทำไมเสียเวลา แต่ผมรั้น คือยังไงก็ขอลองหน่อย ก็เอาไปฉีดแล้วข้าวก็ได้เกี่ยว ผลผลิตก็ออกมาดีเกินคาด ทีนี้ชาวบ้านก็แห่มาขอสูตรเอาไปทำบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยมีใครประสบผลสำเร็จ เพราะเขาใช้สมุนไพรคู่กับยาเคมี บางคนใช้เคมีจนเอาไม่อยู่แล้วถึงหันมาใช้สะเดา พอมันไม่ได้ผลทันตาเห็น ก็กลับไปใช้สารเคมีกันเหมือนเดิม” เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา กล่าว

การคิดต้นทุนของเขา ลงทุนเต็มที่ตกไร่ละ 2,000 บาท ในขณะที่ขายได้เกวียนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท ซึ่งหลังจากเขาทำนาอินทรีย์ได้เพียง 3 ปี มีเงินเหลือมากกว่า 6 ปี ที่มัวจมอยู่กับปุ๋ยและยา

อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ก็ใช่ว่าชัยพรจะหวงวิชาความรู้ เขายังได้ให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหา และสนใจในวิถีเกษตรอินทรีย์ ที่โทรมถามาขอคำปรึกษาตามสายแทบจะทุกวัน


"ใครว่าทำนาแล้วจน...ไม่จริงหรอก"
ชัยพรยืนยันหนักแน่นซ้ำอีก สำคัญตรงที่ต้องทำนาแบบใช้สมอง ไม่ใช่ทำนาแบบเป็นผู้จัดการนาสถานเดียว

"ถ้าเป็นผู้จัดการนาล่ะจนแน่ มีมือถือเครื่องเดียวโทรสั่งตามกระแส มีนาอย่างเดียว ที่เหลือจ้างเขา เริ่มทำไร่นึงก็ต้องมีพันกว่า ตั้งแต่ทำเทือก ทำดิน ไปยันหว่าน เฉพาะได้แค่ต้นนะ ยังไม่รู้เลยว่าจะได้เกี่ยวไหม จากนั้นต้องฉีดยาคุมหญ้า ใส่ปุ๋ยอีกหลายพัน ของเราต้นทุนไม่กี่สตางค์ อาศัยว่าต้องละเอียดอ่อน ต้องรักษาธรรมชาติ แล้วก็ต้องเป็นลูกจ้างตัวเอง ไม่ใช่ผู้จัดการ พอไปพูดกับเขา เขาก็บอกนาเขาน้อย แล้วก็เช่าเขา ทำอินทรีย์ไม่ได้หรอก ผมก็บอกว่าเมื่อก่อนผมก็เช่า ทำไมยังทำได้ ทำจนมีเงินซื้อนา เขาไม่คิดย้อนกลับไงว่าสมัยปู่ย่าตายายทำนา มันมียาที่ไหนล่ะ คนโบราณยังได้เกี่ยว ของเรายังดี มีสะเดาให้ฉีด สมัยโบราณมีที่ไหนล่ะ ไอ้บางคนเห็นข้าวเราเขียว ก็บอกว่าคงแอบใส่ปุ๋ยกลางคืนละมั้ง แหม๋! กลางวันยังไม่มีเวลาเลย จะมาใส่ปุ๋ยกลางคืน มาฉีดให้งูมันเอาตายเรอะ" ชัยพร กล่าว

ทุกครั้งที่ขายข้าวได้ เขาจะนึกถึงบุคคลที่นำเอาวิธีเกษตรอินทรีย์มาให้เขาได้รู้จักและปรับใช้ในที่นาของเขา จนมีเงินเหลือเก็บ ...

"ถ้าผมไม่ได้เจออาจารย์เดชาก็คงไม่ได้เกิดหรอก คงไม่ได้ส่งลูกเรียนปริญญาโทไป 2 คน อีกคนก็ว่าจะเรียนปีหน้า ลูกมาทีเอาเงินค่าเทอมทีละ 40,000 – 50,000 บาท ก็ยังเฉย ๆ เรามีให้"

ขณะที่ อาจารย์เดชา ศริรภัทร แห่งมูลนิธิขวัญข้าว ผู้เพียรพยายามเผยแพร่วิถีการทำนาอินทรีย์ยืนยันว่า ไม่ได้ช่วยอะไรชัยพรมากกว่านั้น ความสำเร็จทั้งปวงเกิดจากตัวชัยพรเอง แต่สำหรับชาวนา ป.4 ถือเป็นบุญคุณใหญ่หลวงที่ทำให้เขาก้าวมาได้ถึงวันนี้ ลูก 3 คน ของชาวนา ป.4 คนโตกำลังเรียนปริญญาโท สาขาปรับปรุงพันธุ์พืช ที่มหาวิทยาลัยเกษตร กำแพงแสน คนกลางเรียนปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ส่วนลูกสาวคนเล็กเพิ่งจบปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตอนนี้ทำงานธนาคาร ทุก ๆ เย็นวันศุกร์ที่ลูก ๆ กลับบ้าน ครอบครัวชาวนาเล็ก ๆ ก็จะคึกคักมีชีวิตชีวา ขับรถออกไปหาของอร่อยกินกัน ในขณะที่ชาวนาต้นทุนสูงนาติดกันไม่เคยคิดฝันว่าจะมีโอกาสเช่นครอบครัวของชัยพร



ดีสารคดีชุดนี้ ที่ให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีิวิตที่ดีมากๆๆ ของเราชาวนาค่ะ



http://www.baanmaha.com/community/thread41757.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:57 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/11/2011 12:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,286. ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ





ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป นักการเกษตรกรบางท่านกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการปลูก มีแนวโน้มช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น (ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน)


http://www.ข้าวหอมมะลิ.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 46 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©