-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 28/07/2011 10:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 5

ลำดับเรื่อง....


131. การกลายพันธุ์
132. วว. จับมือเด็นโซ่ พัฒนาน้ำมันจากสาหร่าย
133. ปรัชญาผ้าขี้ริ้ว
134. 'สีคิ้วโมเดล' ผลสำเร็จแปลงต้นแบบมันสำปะหลัง จากเกษตรกรสู่เกษตรกร
135. กรมวิชาการ เร่งเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

136. กวาวเครือขาว...
137. กวาวเครือขาว (อีกตำราหนึ่ง)
138. สรุปประเด็นกวาวเครือ
139. กวาวเครือออกฤทธิ์อย่างไร ?
140. กวาวเครือจัดเป็นสมุนไพรควบคุม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

141. และแล้ว 'กวาวเครือ' ก็เป็นเหยื่อโจรสลัดชีวภาพ
142. “คางคกสายรุ้ง” โผล่ให้เห็นอีกครั้ง หลังหายไปกว่า 80 ปี
143. กรมประมงสุดปลื้ม ! เพาะพันธุ์กั้งตั๊กแตน ส่งออกนอกได้ราคาดี
144. พบ “ปลาหลดงวงช้าง” ชนิดใหม่
145. กรมประมงขยายพันธุ์กั้งตั๊กแตนหางจุดสำเร็จ

146. สยบหอยเชอรี่ด้วยฝักคูน ผลงานนักเรียนบ้านแก่งวิทยา
147. อนุบาลลูกปลาช่อนเชิงพาณิชย์ให้ได้ขนาดได้มาตรฐาน
148. มบส.เจ๋งเลี้ยงหอยมุกน้ำจืด
149. นักวิจัยจุฬาฯค้นพบเชื้อก่อโรคขี้ขาวในกุ้ง
150. วิจัยเตือน ประมงแปซิฟิกอาจล้มครืนภายในปี 2035

151. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาโมง
152. มทร.อีสานฯ เพาะพันธุ์กบลูกผสมทำเงิน เพิ่มน้ำหนัก-ขนาด
153. ปลาตะพากคืนถิ่นที่กำแพงเพชร
154. เช้านี้ อิ่มอร่อยกับ "ปลาส้ม จากปลาทะเล ”
155. เล็งไทยเป็นต้นแบบแห่งเอเชีย ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ผลิตกุ้งก้ามกราม

----------------------------------------------------------------------------





131. การกลายพันธุ์


การกลายพันธุ์ หมายถึง ภาวะที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถคงลักษณะทางพันธุกรรมไว้ ได้ ซึ่งคำว่าลักษณะทางพันธุกรรมนี้มีความหมายไม่เท่ากัน บางคนอาจมองแค่ลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏออกมา (phenotype) บางคนอาจมองลึกไปจนถึงเนื้อหาของจีนที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมนั้น (genotype) หากมีการเปลี่ยนแปลงในระดับ genotype แล้วก็เรียกว่าเกิดการกลายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1. การกลายที่เซลล์ร่างกาย การกลายที่เซลล์ร่างกาย จะเกิดกับยีนในเซลล์ต่างๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ไม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน เช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น

2. การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์ การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์ เกิดกับยีนในเซลล์สืบพันธุ์ทำให้แอลลีลผิดปกติสามารถ ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ การกลายนอกจากจะมีสาเหตุมาจากธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็ยังเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดการกลายต่างๆ เช่น การใช้ สารเคมีปราบศัตรูพืช เป็นต้น



ที่มา : http://www.hunsa.com





ที่มา : ttp://www.ssnm.agr.ku.ac.th



เพิ่มเติม : ความผิดปกติของโครโมโซม

ที่มา : http://nara2.homeip.net
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/53/2/heredity/topic04_03.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 8:07 am, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/07/2011 7:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

132. วว. จับมือเด็นโซ่ พัฒนาน้ำมันจากสาหร่าย


วว. ผนึกเด็นโซ่ เดินหน้างานวิจัย พัฒนาน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก หวังต่อยอดสู่การใช้จริงในอนาคต

นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ นายคัทซุโนริ โอคุระ ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีสำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการวิจัย พัฒนา การผลิตน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก โดยมีเป้าหมายของงานวิจัยที่จะนำไปสู่การใช้งานจริงของน้ำมันจากสาหร่ายในอนาคต

วิกฤตพลังงานจากการขาดแคลนเชื้อเพลิงฟอสซิล ได้นำไปสู่การค้นหาพลังงานทดแทน น้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็กนับเป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่มีศักยภาพสูง ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกกำลังเร่งดำเนินงานวิจัย พัฒนาในด้านนี้อย่างจริงจัง

นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. กล่าวชี้แจงว่า วว. ในฐานะหน่วยงานวิจัยของประเทศที่มีประสบการณ์ด้านสาหร่ายอย่างครบวงจรมากกว่า 25 ปี ตั้งแต่การสำรวจ เก็บรวบรวม จัดตั้งคลังสาหร่ายเพื่อการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด และวิจัย พัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการดำเนินงานวิจัย พัฒนาด้านน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก ทั้งในด้านของสถานที่ บุคลากร และเครื่องมือ โดยมีการดำเนินงานเฉพาะด้านพลังงานจากสาหร่ายมาประมาณ 6 ปีแล้ว วว. มีการสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ โดยการดำเนินงานของ วว. จะอยู่ภายใต้กรอบของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ครอบคลุมการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ รวมทั้งความปลอดภัยทางชีวภาพ

นายคัทซุโนริ โอคุระ ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทได้ดำเนินการวิจัย พัฒนาการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก โดยได้ทำการศึกษาสภาพที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสายพันธุ์ที่ผลิตน้ำมันได้สูง

แต่เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย บริษัทจึงได้ทำการสำรวจประเทศที่มีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย พร้อมทั้งหน่วยงานวิจัยที่มีความพร้อม และได้ตัดสินใจร่วมมือกับ วว. โดยจะมอบสายพันธุ์สาหร่ายที่บริษัทได้ทำการคัดเลือกพร้อมข้อมูล และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงแก่ วว. ผลการวิจัยในประเทศไทยจะนำไปเปรียบเทียบกับผลที่บริษัทได้ทำการศึกษาไว้แล้วในประเทศญี่ปุ่น

บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองคาริยะ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์และเทคโนโลยีชั้นนำของโลกในกลุ่มสินค้าด้านระบบปรับอากาศ ระบบส่งกำลัง ระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสารสนเทศและความปลอดภัย ซึ่งมีลูกค้าเป็นผู้ผลิตยานยนต์ระดับโลก กลุ่มบริษัทเด็นโซ่มีมากกว่า 200 สาขาใน 35 ประเทศทั่วโลก (รวมทั้งในประเทศญี่ปุ่น) และมีพนักงานประมาณ 120,000 คน มีผลประกอบการประจำปีงบประมาณสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 รวมทั้งสิ้น 37.7 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยใช้งบร้อยละ 9.3 ของงบประมาณดังกล่าวในการวิจัยและพัฒนา



http://www.thailandindustry.com/news/view.php?id=14336&section=31
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

133. ปรัชญาผ้าขี้ริ้ว





ผ้าขี้ริ้วยอมสกปรกเพื่อให้สิ่งอื่นสะอาด
เสน่ห์ของคนอยู่ที่ยอมลำบากเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข
พ่อแม่ยอมเหนื่อยเพื่อให้ลูกหลานอยู่สุขสบาย
ความสุขแท้ของคนคือการได้ยืนแอบยิ้ม อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้อื่น



ผ้าขี้ริ้วดูดซับความสกปรกได้ แต่ก็สลัดความสกปรกออกจากตัวได้ตลอดเวลา
เสน่ห์ของคนอยู่ที่รู้ตัวเองว่าสกปรก ถึงเวลาต้องชำระล้างแล้ว
มิใช่อมความสกปรกไว้แล้ว แกล้งบอกว่าตนเองสะอาด



ผ้าขี้ริ้วเป็นผ้าที่สะอาดที่สุด ในขณะที่คนมองว่าสกปรกที่สุด
เหมือนคนที่ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง รู้จักถ่อมตนและอ่อนโยน
ไม่โอหังอวดดีให้เป็นที่รังเกียจหมั่นไส้ของคนอื่น

เขาจะเป็นคนที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะมาจากสกุลใด การศึกษามากหรือน้อยก็ตาม
เป็นผู้ใฝ่รู้แต่ไม่อวดดี เหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทอง


ผ้าขี้ริ้วถึงจะเป็นผ้าไม่มีราคา แต่มีคุณค่ายิ่งใหญ่ได้
เหมือนคนที่พยายามทำตนให้มีคุณค่า ด้วยการทำงานมิใช่ด้วยการประจบ
ทำตนให้มีประโยชน์ ให้มีค่า ไม่ใช่งอมืองอเท้า น้อยเนื้อต่ำใจในวาสนาชะตาชีวิต
ต้องสร้างกำลังใจให้ตนเองอย่ารอคอยจากคนอื่น


ผ้าขี้ริ้วไม่เกี่ยงงอนว่าจะถูกใช้เช็ดถูอะไร
เหมือนคนที่ยอมตัวอาสาทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ปริปากบ่น
รู้จักอาสาคน อาสาทำงาน ต้องตั้งใจทำงานโดยไม่เกี่ยงงอน
ไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆ ก็ตาม คนที่ตกงานเพราะไม่ยอมทำงาน


ผ้าขี้ริ้วยอมให้ถูกใช้งานในที่สกปรกที่สุด
เหมือนคนที่ยอมทำในสิ่งที่คนทั้งหลายรังเกียจ
ที่เขาเห็นว่าเป็นงานชั้นต่ำ แต่ก็ตั้งใจทำให้เป็นของมีค่าขึ้นมาได้ หรือยินดีในการบริการ
เหมือนคนที่อิ่มเอิบเมื่อได้บริการรับใช้คนอื่น รับใช้สังคม
ดีใจเมื่อคนยินดีมาใช้บริการความรู้ ความสามารถของตน
และยินดีที่ได้เสนอตัวเข้าไปบริการมากกว่าเข้าไปบริหาร


ผ้าขี้ริ้วพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลังความสะอาด
เหมือนคนควรพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของคนอื่น
ต้องมีความพอใจที่จะทำงานปิดทองหลังพระ เป็นนายอินหรือนางอิน ผู้ปิดทองหลังพระ
มีความสุขและภูมิใจที่ได้มอบความสำเร็จให้คนอื่น
มีมากที่ผู้น้อยบางคน ทำงานแล้วทำให้ผู้ใหญ่เล็กลง ขณะที่ตัวเองโตขึ้น


ผ้าขี้ริ้วทนทานต่อการขัดถูซักล้างไม่เปราะบาง
เหมือนคนที่มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา
แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็อดทนได้ เพื่อให้สำเร็จ ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
มีจิตใจหนักแน่นไม่เปราะบางหักง่าย คือ ไม่เป็นคนทุกข์ง่ายใจเบา
แต่นิ่งและหนักแน่นคงดุจแผ่นดิน ผ้าขี้ริ้วแม้จะถูกมองว่าเป็นผ้าขี้ริ้ว
แต่ไม่ทำตัวให้ขี้เหร่ เหมือนคนที่รู้ตัวเองว่า กำลังถูกปรามาสสบประมาท

จะต้องตั้งใจเอาชนะอุปสรรคครั้งนั้นให้ได้ ไม่พ่ายแพ้ต่อคำปรามาสของผู้อื่น
รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรและมีกำลังใจในสิ่งนั้น
มองเห็นคุณค่าจากสิ่งที่คนทั้งหลายมองว่าไร้ค่า
เมื่อมีปัญหาให้หัดมองสองด้านเสมอ ผ้าขี้ริ้วมีเสน่ห์เพราะยอมสัมผัสกับสิ่งสกปรก
ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน หากทนความทุกข์ยากลำบาก

ยอมสัมผัสกับงานที่ต่ำต้อยได้ก็จะมีเสน่ห์ และมีความหมาย
ทุกคนจึงควรพากเพียรพยายามสร้างเสน่ห์ให้กับชีวิต อย่างที่ผ้าขี้ริ้วสร้างเสน่ห์ให้กับตนเอง



http://www.cmudd.com/main/index.php/DeeDeeStories/ปรัชญาผ้าขี้ริ้ว.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 10:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

134. 'สีคิ้วโมเดล' ผลสำเร็จแปลงต้นแบบมันสำปะหลัง จากเกษตรกรสู่เกษตรกร

(หนังสือพิมพ์แนวหน้า)


จังหวัดนครราชสีมาถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1.9 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 32 อำเภอ มีสภาพแวดล้อมการผลิตที่หลากหลาย ส่งผลให้ศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่จะสามารถช่วยให้เกษตรกร มีผลผลิตที่สูงขึ้นและลดต้นทุนการผลิตได้ที่ผ่านมาเกษตรประสบกับปัญหาในด้านการผลิตมันสำปะหลังมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นด้านท่อนพันธุ์มันสำปะหลังแมลงศัตรูธรรมชาติที่เข้าทำลายผลผลิตมันสำปะหลัง ส่งผลให้ปริมาณมันสำปะหลังที่ผลิตได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด





กรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานหลักได้หาแนวทางช่วยเหลือเกษตรเพื่อให้ปัญหาต่างๆ หมดไปอย่างเป็นรูปธรรมที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรได้ร่วมมอืกับหลายปฏิบัติงานจนประสบผลสำเร็จ

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาได้จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีแปลงต้นแบบการผลิตมันสำปะหลังขึ้นเพื่อเผยแพร่ความสำเร็จในการจัดทำแปลงต้นแบบการผลิตมันสำปะหลังเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกร โดยใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.สีคิ้วเป็นสถานที่จัดงาน โดยการนำเสนอเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูสู่เกษตรกรที่เรียกว่า "สีคิ้วโมเดล"




"สีคิ้วโมเดล" คือการให้เกษตรกรเข้ามาปฏิบัติงานด้วยตนเองในแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราสีมา แล้วนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้รับถ่ายทอดสู่เกษตรกรข้างเคียง จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ได้เกษตรกรสีคิ้วโมเดล ในปี 2553 และปี 2553 และปี 2554 จำนวน 12 ราย จาก 12 ตำบลใน อ.สีคิ้ว ในกายกระดับผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรจากจำนวน 4 ตัน/ไร่ เป็น 5 ตัน/ไร่

[img]"สีคิ้วโมเดล" คือการให้เกษตรกรเข้ามาปฏิบัติงานด้วยตนเองในแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราสีมา แล้วนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้รับถ่ายทอดสู่เกษตรกรข้างเคียง จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ได้เกษตรกรสีคิ้วโมเดล ในปี 2553 และปี 2553 และปี 2554 จำนวน 12 ราย จาก 12 ตำบลใน อ.สีคิ้ว ในกายกระดับผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรจากจำนวน 4 ตัน/ไร่ เป็น 5 ตัน/ไร่[/img]




จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลสำเร็จที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน เกษตรกรทั้ง 12 ราย จะส่งผ่านความสำเร็จไปยังเพื่อนเกษตรกรที่ประสบปัญหาทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขจากเกษตรกรสู่เกษตรกรโดยมีนักวิชาการเกษตรจากกรมวิชาการเกษตรอยู่เบื้องหลังและเชื่อว่าหากนำเทคโนโลยีการผลิตพืชที่ถูกต้องตรงตามทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรได้ในอนาคต นอกจากนั้น การแก้ไขปัญหาในด้านการเกษตรจะต้องใช้วิธีการแบบผสมผสานเริ่มตั้งแต่การเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดการดินน้ำ ปุ๋ย หรือการแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิธีจึงเป็นการแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป


http://www.thailandtapiocastarch.net/news/tapioca-starch-news-303/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 10:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

135. กรมวิชาการ เร่งเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

หวั่นเวียดนามเบียดขึ้นเบอร์ 1 แทนไทย

(หนังสือพิมพ์แนวหน้า)


การปลูกมันสำปะหลังของไทยในปัจจุบัน นอกจากจะเป็นการปลูกเพื่อบริโภคและส่งออกแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน ทั้งการยกระดับตัวเองและการแข่งขันทางการตลาดในระดับนานาชาติเนื่องจากขณะนี้ประเทศเวียดนามซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งของไทย ปัจจุบันมีการเพิ่มพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้น จากเดิมมีไม่กี่แสนไร่แต่ในปัจจุบันมีมากกว่า 3 ล้านไร่แล้ว และมีผลผลิต 10 ล้านตันต่อปี รวมถึงยังเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังลำดับที่ 2 รองจากไทย ดังนั้นภาพรวมของการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อยังคงความเป็นเบอร์ 1 จึงต้องอาศัยต้นทุนต่ำและผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น

ปัจจุบันเกษตรกรของไทยสามารถปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 3 ตัน/ไร่ ซึ่งหากมีการจัดการที่ดีจะสามารถเพิ่มผลผลิตสูงขึ้นเป็น 5 ตันต่อไร่ โดยสามารถขยายได้สูงสุดถึง 14-15 ตันต่อไร่ หากมีการปลูกที่ดีและมีพันธุ์ที่เหมาะสม

นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่ากรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้ที่สูงขึ้นและสามารถเพิ่มผลผลิตเพื่อส่งออกได้มากขึ้น


http://www.thailandtapiocastarch.net/news/tapioca-starch-news-348/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

136. กวาวเครือขาว...


นพ.วีระพล จันทร์ดียิ่ง รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยทำการทดลองทางคลินิก (clinical trial) เพื่อให้ทราบคุณสมบัติ หรือการออกฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพของสมุนไพรกวาวเครือขาว เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการวิจัยเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ในช่วงที่คนกำลังให้ความสนใจ “กวาวเครือขาว” เนื่องจากมีการค้นพบว่า ใน “กวาวเครือขาว” มีสารเอสโตรเจนจากพืชหลายตัวที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง

กวาวเครือขาว ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสาร miroesterol, deoxymiroesterol, daidzein และ isoflavonoid ช่วยในการขยายเซลล์ผิว บริเวณหน้าอกให้เต่งตึงขึ้น ทำให้ทรวงอกมีการขยายตัว

- เพิ่มความอวบอิ่มให้กับทรวงอก ทำให้ทรวงอกกระชับเต่งตึง ได้รูปทรง มีความสมดุลกับสรีระ
- บำรุงผิวบริเวณทรวงอกให้เนียนใส ไร้ริ้วรอยแลดูเปล่งปลั่ง สำหรับสตรีที่มีทรวงอกใหญ่อยู่แล้ว ก็จะรู้สึกถึงความกระชับได้รูปสวยเหมาะกับสรีระมากขึ้น
สารสำคัญ

สารที่ออกฤทธิ์สำคัญที่พบในหัวกวาวเครือเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง (phytoestrogens) ได้แก่ miroestrol และ deoxymiroestrol ซึ่งมีฤทธิ์แรงแต่มีปริมาณน้อยและมี phytoestrogens ที่มีฤทธิ์อ่อนแต่มีปริมาณมากกว่า จำพวก isoflavones อีกหลายชนิด เช่น daidzein, genistein, daidzin, genistin, puerarin, mirificin, และ kwakhurin


การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า เมื่อนำกวาวเครือขาวมาใช้ในการคุมกำเนิดสัตว์ทดลอง เช่น นกกระทา หนูทดลอง สุนัข และแมว พบว่า สามารถคุมกำเนิดได้ทั้ง 2 เพศ โดยในสัตว์ทดลองเพศผู้พบว่า กวาวเครือขาวปริมาณสูงทำให้หนูขาวเพศผู้ไม่ผสมพันธุ์สำหรับสัตว์เพศเมียทำให้ปากช่องคลอดขยายใหญ่ มดลูกใหญ่ การตกไข่ถูกยับยั้ง


รายงานการวิจัยทางคลินิก
ในปี 2503 มีรายงานการศึกษาประสิทธิผลของ miroestrol ในการชักนำให้เกิด withdrawal bleeding ในหญิงที่มีสภาวะประจำเดือนไม่มาตามปกติ พบว่า ในผู้ป่วยที่ได้รับ miroestrol นั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งใช้ได้ผลคือเกิด withdrawal bleeding และใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลเมื่อเทียบกับเอสโตรเจน แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงพอ ๆ กัน

นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและผลข้างเคียงของการใช้กวาวเครือขาวในสตรีวัยใกล้หมดและหมดระดู เพื่อรักษาอาการ vasomotor (อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน) และอาการร่วมอื่น ๆ พบว่า กวาวเครือขาวลดอาการ vasomotor ได้ค่อนข้างดี แต่ทำให้เกิดข้างเคียงในผู้ป่วยบางราย เช่น เต้านมตึงคัด เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม ขนาดของกวาวเครือขาวที่เหมาะสมยังต้องการประเมินผลทางคลินิกเป็นสำคัญในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นต่อไป


http://www.triobiz.net/wizContent.asp?wizConID=187&txtmMenu_ID=158
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 6:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

137. กวาวเครือขาว (อีกตำราหนึ่ง)


สืบค้นจาก http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05076150850&srcday=2007/08/15&search=no

สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2550

สืบค้นโดย ดร.ชยพร แอคะรัจน์ www.geocities.com/university2u


กวาวเครือ สมุนไพรพึ่งได้ ถ้าอยาก...อึ๋ม



ในขณะนี้สมุนไพรที่โดดเด่น พุ่งแรงนำหน้าสมุนไพรชนิดอื่นๆ และได้รับความสนใจอย่างมากคือ "กวาวเครือขาว" เพราะมีการประชาสัมพันธ์ชูประเด็นที่ว่าช่วยเพิ่มขนาดหน้าอก ดังนั้น ทั้งสาวอกไข่ดาว สาวน้อยสาวใหญ่ และสาวประเภทสอง ต่างให้ความสนใจกันอย่างคึกคัก เกิดการตื่นตัวในการแสวงหากวาวเครือมาใช้ นอกจากนี้ ทั้งนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีสรรพคุณในเรื่องคุมกำเนิด เสริมเต้านม แก้อัลไซเมอร์ และเพื่อความสวยงาม จึงได้มีการนำเอากวาวเครือขาวมาผลิตเป็นยาลูกกลอน หรือบดผงใส่แคปซูลเพื่อรักษาแบบครอบจักรวาล อีกทั้งนำมาผลิตเป็นครีมชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มขนาดทรวงอก ครีมทาหน้าเพื่อลดริ้วรอย และรักษาฝ้า ประกอบกับที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องว่ากวาวเครือขาว เป็นสมุนไพรมหัศจรรย์ ยิ่งทำให้ประชาชนตื่นตัว สนใจและต้องการใช้กันมากขึ้น

ทั้งที่ยังไม่แน่ใจในผลดี และผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่มีผลการวิจัยชี้ชัดถึงผลดีและผลเสียอย่างชัดเจน


กวาวเครือขาว เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pueraria mirifica Airy Shaw and Suvatabundhu เป็นสมุนไพรซึ่งมีลักษณะเป็นไม้เลื้อย มีอายุหลายปี สะสมอาหารไว้ในหัวใต้ดิน พบมากในป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในพื้นที่ 28 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นไป ผลผลิตเกือบทั้งหมดเก็บจากป่าธรรมชาติ ยังไม่มีการปลูกเป็นการค้าในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อการศึกษาทดลอง หรือเพื่อใช้ในวงแคบๆ เท่านั้น

ในทางพฤกษเคมี หัวกวาวเครือมีสารสำคัญที่น่าสนใจหลายตัว ที่จัดอยู่ในกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะทางเพศ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง ในยาแผนปัจจุบันได้มีการนำเอาสารในกลุ่มเอสโตรเจนมาใช้ เป็นส่วนประกอบของยาคุมกำเนิด และใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งการใช้ในลักษณะดังกล่าวมานี้จะปลอดภัยที่สุดก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ก่อนใช้



กวาวเครือ เป็นสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะทางภาคเหนือใช้กันมากในรูปของยาอายุวัฒนะ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ทำให้หน้าอกเต่งตึง ผมดำ ผิวพรรณดี นอนหลับสนิท แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก และความจำดี (หลวงอนุสารสุนทร, 2474)

ในอดีตผู้เฒ่าผู้แก่ หรือคนที่มีปัญหาเรื่องเลือดลมไม่ปกติ จะไปขุดเอาส่วนหัวของ "กวาวเครือขาว" ที่ตำราหมอไทยโบราณว่าไว้ว่าทำให้เลือดลมเดินเป็นปกติ โดยขุดหัวจากป่า นำมาบดแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอน กินหลังอาหาร โดยหวังว่าจะรักษาแค่อาการของเลือดลมเท่านั้น แต่กินไปกินมาผมหงอกที่เคยขาวโพลน หรือเป็นสีดอกเลา และร่วงหล่นตามอายุขัย กลับดกดำขึ้น ผิวหนังและทรวงอกที่เคยเหี่ยวย่นตกสะเก็ด ก็กลับกระชุ่มกระชวยมีน้ำมีนวลขึ้นมาอีก โดยการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังจากกินสมุนไพรตัวนี้เข้าไป ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นกับคนเพียงคนเดียว แต่เกิดเกือบกับทุกคน จนเป็นที่ยอมรับกันว่า "กวาวขาว" เป็นเสมือนอายุวัฒนะ เพราะช่วยให้คนแก่กลับกระชุ่มกระชวย...อีกครั้ง

ในการสัมมนาวิชาการเรื่อง "กวาวเครือ" กับการพัฒนาและคุ้มครองที่ยั่งยืน ที่มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2548 ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยมี พ.ญ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ นำทีม



ที่ประชุมได้สรุปและฟันธงในการใช้กวาวเครือขาวไว้ว่า
"กวาวเครือขาว ต้องใช้กับคนวัยทองหรือหมดประจำเดือนแล้วเท่านั้น ห้ามใช้ในคนหนุ่มสาว และรับประทานแบบยาโบราณ รับประทานเพียงวันละ 1 เม็ด (ขนาดเท่าเม็ดพริกไทย) หรือไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อวัน"

สรรพคุณอันน่าอัศจรรย์ของกวาวเครือขาวมีมากมาย จากการที่ รองศาสตราจารย์ ยุทธนา สมิตะสิริ และคณะ ได้ศึกษาจากตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทร (2474) และได้ทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้

หัวกวาวเครือขาว สามารถออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอ่อนที่สุดในบรรดากวาวเครือ 3 ชนิด ได้แก่ กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง และกวาวเครือดำ

การใช้กวาวเครือขาวในปริมาณน้อย จะออกฤทธิ์ในเชิงกระตุ้น แต่ถ้าใช้ในปริมาณมาก จะออกฤทธิ์ในเชิงยับยั้ง (จากตำรายาหัวกวาวเครือมุ่งใช้ในปริมาณน้อย แต่ให้ใช้นานๆ) ฤทธิ์ของกวาวเครือขาวเป็นฤทธิ์ที่ไม่ถาวร ถ้าหยุดกินฤทธิ์ของกวาวเครือขาวจะหมดไปภายใน 2-3 สัปดาห์ กวาวเครือขาวที่เก็บแต่ละฤดูล้วนออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตเจน แต่ฤทธิ์อาจแรงน้อยต่างกัน รวมทั้งกวาวเครือขาวที่เก็บจากแหล่งต่างๆ ก็ออกฤทธิ์ต่างกันด้วย

จากการสังเกตกวาวเครือขาวในขนาดที่ตำราฯ แนะนำ คือ 1 เม็ดพริกไทย ต่อคน ต่อวัน เมื่อป้อนให้กับหนูทดลองที่ตัดรังไข่ โดยเทียบจากน้ำหนักตัว ปรากฏว่า ไม่แสดงฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งผลที่ได้นี้คล้ายกับฮอร์โมนทดแทนในขนาดที่แพทย์ให้กับหญิงหมดประจำเดือน ซึ่งก็ไม่แสดงฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่นกัน แต่ถ้าเพิ่มขนาดของกวาวเครือขาวหรือขนาดของฮอร์โมนทดแทนกับหนูทดลองที่ตัดรังไข่ จึงปรากฏให้เห็นฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน แสดงให้เห็นว่าการที่คนโบราณให้กินกวาวเครือขาวในขนาดตามตำราฯ ผู้ที่ได้รับกวาวเครือจะได้รับฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนเข้าสู่ร่างกายในขนาดที่ต่ำมากๆ ซึ่งเป็นการบำรุงร่างกายมากกว่าจุดประสงค์อื่น

การเก็บข้อมูลจากผู้ที่กินกวาวเครือขาวในขนาดตามตำราฯ พบว่า ทำให้ดูหนุ่มสาวกว่าวัย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดชื่นไม่เหี่ยวย่น ช่วยบำรุงทรวงอก เส้นผม ช่วยให้รับประทานอาหารได้ นอนหลับดี ช่วยบรรเทาอาการบางอย่างในหญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง หงุดหงิด และอาจควบคุมต่อมลูกหมากไม่ให้โตในชายวัยทองหรือผู้สูงอายุ


จากการศึกษาประโยชน์ของกวาวเครือขาวในสัตว์พบว่า กวาวเครือขาวช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ ได้แก่ สุกร ไก่ แพะ สุนัข และกบ ช่วยบำรุงเส้นขนสุนัข กระต่าย และแพะ ช่วยเพิ่มผลผลิตของไข่ไก่ ใช้ในการแปลงเพศกบ ช่วยเสริมขนาดเต้าสุนัข แพะ และสุกร ช่วยเพิ่มจำนวนเต้านมสุกรเมื่อให้ตั้งแต่เป็นลูกสุกรและหยุดให้ก่อนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ช่วยลดความก้าวร้าวในปลากัด กระต่าย และสุนัข ช่วยคุมกำเนิดสัตว์และคุมกำเนิดหลังผสมในสุนัข หนู นกพิราบ ยุงรำคาญ ยุงก้นปล่อง แมลงหวี่ แมลงสาบ และปลา ฤทธิ์ของกวาวเครือขาวในสัตว์จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับขนาดและช่วงเวลาในการให้กวาวเครือขาวด้วย

นอกจากนี้ ยังพบว่า การให้กวาวเครือขาวในขนาดสูงๆ กับสัตว์ทดลองพบผลข้างเคียงในทางลบบ้าง เช่น พบการเกิดตุ่มฝี ภูมิคุ้มกันลดลง การแท้ง การระงับการหลั่งน้ำนม แสดงว่าการรับประทานกวาวเครือขาวในขนาดสูงเกินไป หรือขนาดสูงเป็นเวลานาน อาจมีอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้กินกวาวเครือขาวในแบบของการบำรุงสุขภาพ โดยกินในขนาดต่ำๆ และไม่จำเป็นต้องกินทุกวัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับคุณประโยชน์จากกวาวเครือขาวอย่างเต็มที่ (ยุทธนา, 2547)


ศักยภาพด้านการตลาดในประเทศ
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์กวาวเครือ เป็นที่รู้จักกันดีในตลาดภายในประเทศ มีทั้งยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง มีการขอขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณจาก อย. 240 ตำรับ ยังไม่รับจดทะเบียนเป็นอาหารเสริม ในกรณีที่เป็นเครื่องสำอางไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนกับ อย. ปัจจุบันมีภาคเอกชน ประมาณ 30 บริษัท สร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นครีมพอกหน้า ครีมบำรุงผิวหน้า ยาแผนโบราณชนิดเม็ด กวาวเครือขาวแคปซูล กวาวเครือแดงแคปซูล เบรสครีมสำหรับทาเต้านม ในปี 2542 ที่มีการตื่นตัวเรื่องกวาวเครือยอดขายสินค้าที่ผลิตจากกวาวเครือภายในประเทศนั้นคาดว่าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท


ศักยภาพด้านตลาดต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์กวาวเครือหรือผลิตภัณฑ์ที่มีกวาวเครือเป็นส่วนประกอบ เป็นที่รู้จักกันดีในตลาดต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรป มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กวาวเครือปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท ปี 2548 ประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลียได้สั่งซื้อกวาวเครือขาวตากแห้งจากไทย 10 และ 20 ตัน ตามลำดับ คาดว่าในอนาคตมูลค่าการส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จะสูงขึ้น จากผู้บริโภคส่วนใหญ่จะหันมาสนใจในเรื่องความสวยงามกันมากขึ้น


ย้อนกลับมาที่ เรื่องของคนอยากอึ๋ม...เพราะเกิดมาเป็นผู้หญิงจึงต้องให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตา ส่วนไหนเล็ก ส่วนไหนใหญ่ ก็จะพยายามตกแต่งให้เข้าที่เข้าทางจนพอใจ และเป็นที่ต้องตาของคนรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเด่นของร่างกาย คือทรวงอก ที่พยายามเสริมเติมให้สวยงาม ดูดี จึงนำไปสู่การหาวิธีการต่างๆ เพื่อสร้างความพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย

โบราณกล่าวไว้ว่า หน้าอกของผู้หญิงมีอยู่ 7 ประเภท คือ สัตตบงกช งากุญชร กระท้อนห่อ ตอสะแก แลไม่โปร่ง ส่งแต่เศียร และเหรียญฝรั่ง ความหมายดังนี้

สัตตบงกช ................ หน้าอกลักษณะเหมือนดอกบัวตูม
งากุญชร .................. หน้าอกงอนเหมือนงาช้าง
กระท้อนห่อ ............... หน้าอกลักษณะเป็นหัวจีบ
ตอสะแก .................. หน้าอกลักษณะหัวนมบอด
แลไม่โปร่ง ................ หน้าอกคล้ายลูกฟัก ใหญ่กว่าปกติ
ส่งแต่เศียร ................ หัวชูขึ้นมาไม่เต่งตึง มีขนาดเล็ก
เหรียญฝรั่ง ................ แบนราบ

ทั้ง 7 ประเภท มีแต่เฉพาะสัตตบงกชและงากุญชรเท่านั้นที่สมส่วน อีก 5 ประเภท ยังต้องปรับปรุง

ได้มีสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งสำรวจความคิดเห็นในการทำศัลยกรรมหน้าอก พบว่า หญิงไทย ร้อยละ 17.2 คิดที่จะทำศัลยกรรมทรวงอก และที่ผ่านมา การเพิ่มขนาดหน้าอก จะให้แพทย์ผ่าตัดยัดซิลิโคน เกิดของแปลกปลอมในร่างกาย เกิดความเจ็บปวด และเสียเงินราคาแพง กวาวเครือจึงเป็นทางเลือกที่น่าจะพึ่งได้ สำหรับสาวอยากจะเต่งตึงทั้งหลาย โดยเฉพาะสาวประเภทสองที่ไม่อยากเจ็บตัว และไม่ต้องเสียเงินมากมายคงจะเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และน่ายินดีเป็นอย่างสุดๆ ถ้าเรานำกวาวเครือมาใช้โดยไม่ต้องเสี่ยงกับโอกาสที่จะเกิดมะเร็งหรือเป็นหมัน เหมือนที่เกิดกับสัตว์ทดลอง เพราะกวาวเครือมีฤทธิ์ทำให้ต่อมน้ำนมโตขึ้นได้จริงช่วยให้หน้าอกเด้งดึ๋ง เต่งตึง ผิวพรรณสดใส...แต่เมื่อเลิกใช้หน้าอกจะเหี่ยว ยาวขึ้น และทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิมภายใน 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น ก่อนจะใช้กวาวเครือ จึงต้องคิดไตร่ตรองดูให้ดี ว่าใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย เพราะชีวิตน่าจะเป็นสิ่งที่ต้องถนอม ดูแลให้ดีมากกว่าความสวยงาม




http://www.geocities.ws/dr_chayaporn/zc2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

138. สรุปประเด็นกวาวเครือ


ฝ่ายวิชาการ สถาบันการแพทย์แผนไทย
ปัจจุบันนี้ สมุนไพรกวาวเครือกำลังตกเป็นข่าว ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างหน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวิชาการเกี่ยวกับสมุนไพร และการแพทย์แผนไทย ซึ่งได้เห็นความสำคัญของปัญหาและถูกพาดพิงในข่าวของกวาวเครืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสถาบันฯ ได้ประสานงาน รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับกวาวเครือ และได้จัดสัมมนาเพื่อหาข้อสรุป ดังรายละเอียดต่อไปนี้





ประมาณกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541 รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ จากวิทยาลัยสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ได้เข้าพบผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ เกี่ยวกับทางสถาบันได้ส่งผลกวาวที่ได้รับจาก รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ ตรวจและได้ทราบผล ตามเอกสาร ดังกล่าว

หลังจากที่อาจารย์ยุทธนาได้นำข้อมูลที่ทำการศึกษา มานำเสนอเพื่อให้สถาบันสถาบันการแพทย์แผนไทย จัดสนับสนุนในการศึกษาวิจัยต่อไป ซึ่งสถาบันฯ ได้จัดประชุมสัมมนาวิชาการกวาวเครือ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2541 เวลา 08.30-16.30 น. ซึ่งในการจัดสัมมนาวิชาการดังกล่าว ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง และนักวิจัยที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับกวาวเครือ เช่น

รศ.ดร.วิชัย เชิดชีวศาสตร์,
รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ,
ดร.เฉลิมพล เกิดมณี,
รศ.ดร.อรดี สหวัชรินทร์ และ
นักวิชาการ รวม 73 คน

จากการประชุมได้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ การศึกษารวบรวมการวิจัย ซึ่งยังมีข้อถกเถียงถึงสารสำคัญที่มีอยู่ในกวาวเครือ ความเป็นพิษของกวาวเครือ การวิจัยทางคลินิก การตรวจพิษวิทยาเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซึ่งการที่จะนำกวาวเครือมาใช้ต้องระมัดระวัง และจะต้องทำการศึกษาวิจัยเป็นขั้นตอน ไม่ควรนำมาทดลองในคนจนกว่าผลทางพิษวิทยากึ่งเรื้อรังแล้วเสร็จ ซึ่งในการวิจัยต้องมีการวางแผนอย่างดี และเป็นแนวทางที่นักวิจัยจะต้องถือปฏิบัติ และต้องให้ความร่วมมือ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ

ในการจัดสัมมนาวิชาการกวาวเครือ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2541 นั้น ดร.วิชัย เชิดชีวศาสตร์ ได้มาร่วมเสนอผลงานด้วย โดยได้นำเสนอถึงการทดลองใช้กวาวเครือ เพื่อเสริมความงาม บำรุงเส้นผม บำรุงผิวพรรณ เสริมหน้าอก และถ้าใช้กวาวเครือแดงในเพศชาย จะเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ในการทดลองกับคนดังกล่าวยังไม่ได้ตรวจพิษวิทยา และยังไม่ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมในการทำวิจัยในคน ผลการทดลองที่นำเสนอไม่มีการเปรียบเทียบก่อนและหลัง มีการนำเสนอภาพเฉพาะหลังทดลอง ซึ่งมติในที่ประชุม ยังไม่สามารถรับรองได้ เนื่องจาก ดร.วิชัย เชิดชีวศาสตร์ ยังไม่มีผลการตรวจพิษวิทยา และอ้างว่าไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เพราะตนกำลังจดสิทธิบัตร ที่ประชุมจึงมีข้อเสนอ ต้องมีการตรวจพิษวิทยา ให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อความถูกต้อง ปลอดภัยกับผู้บริโภค และในวันที่ 21 ธันวาคม 2541 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ส่งบันทึกขอให้สถาบันฯ ประสานเรื่องตรวจสอบความเป็นพิษวิทยาของกวาวเครือแดง และกวาวเครือดำ ตามเอกสารหมายเลข 2

หลังจากการประชุมสัมมนาวิชาการ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2541 แล้ว สถาบันฯ ได้วางแผนการวิจัยโดยการตรวจพิษวิทยา ของกวาวใหม่อีกครั้ง ทั้ง Hi Dose และ Minimum Dose เพื่อหาว่า Dose ที่ต้องใช้ในการวิจัยทางคลินิกจะมีปริมาณที่ใช้เท่าใดจึงจะต้องปลอดภัย

ด้านวิจัยทางคลินิกมี นพ.วีรพล จันทร์ดียิ่ง, ภก.ปราณี ชวลิตธำรง จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และทีมงานจากโรงพยาบาลรามาธิบดี นำโดย ศ.พญ.อุรุษา เทพพิสัย ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา และเป็นผู้ช่วยเหลือในการตรวจพิษวิทยา และรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับกวาวเครือเพื่อศึกษาเป็นข้อมูลที่จะทำวิจัยต่อไป

สถาบันการแพทย์แผนไทยสำรวจแหล่งกวาวเครือทั้ง 4 ภาค โดยครูฝึกแพทย์แผนไทยพบว่า กวาวเครือพบได้ในทุกภาค ซึ่งข้อมูลกวาวเครือจะต้องทำการศึกษาวิจัยทดลอง แยกสารสำคัญของกวาวเครือในแต่ละภาค ว่ามีสารสำคัญแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ขณะเดียวกันภาคเอกชนโดยบริษัทเอกชนที่ผลิตกวาวเครือ เช่น ร้านขายยาแผนโบราณ โดยบริษัทขาวละออเภสัช ได้เข้าพบผู้อำนวยการสถาบันแพทย์แผนไทย และได้แจ้งข้อมูลการส่งวัตถุดิบกวาวเครือออกต่างประเทศ ว่าประเทศญี่ปุ่น สั่งซื้อกวาวเครือในปริมาณที่สูงมาก จึงขอข้อมูลทางวิชาการของกวาวเครือจากสถาบันฯ โดยสถาบันฯ ได้ชี้แจงกับบริษัทดังกล่าว ถึงประโยชน์ของกวาวเครือตามสรรพคุณ ตามตำราแพทย์แผนไทย และขณะนี้ยังมีการศึกษาวิจัยถึงสารสำคัญในกวาวเครือ พิษของกวาวเครืออยู่ และสนับสนุนความคิดของบริษัทเอกชนให้ร่วมกันพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มากกว่าการส่งออกแบบวัตถุดิบ และสนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนให้ได้

ส่วน บริษัทแนชเชอรัล โปรดักส์ จำกัด ได้ผลิตผลิตภัณฑ์กวาวเครือ สถาบันการแพทย์แผนไทยจึงได้ให้คำแนะนำในการผลิตยาแผนโบราณให้ถูกต้องตามกฏหมาย โดยมีการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ ให้ถูกต้องจึงจะจำหน่ายได้ ทั้งนี้สถาบันฯ จะช่วยประสานเพื่อให้ความสะดวกในการส่งตรวจพิษวิทยาให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งได้ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาตรวจ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 และได้ผลเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541

ต่อมาหลังจากนั้น ทีมวิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับผลิตภัณฑ์กวาวเครือของ ดร.วิชัย เชิดชีวศาสตร์ เพื่อนำเสนอเข้าโครงการศึกษาวิจัย แต่ต้องประสบปัญหาเนื่องจากไม่สามารถเสนอคณะกรรมการจริยธรรม เพราะไม่มีผลพิษวิทยา ไม่สามารถทำวิจัยทางคลินิกได้ จึงได้มาร่วมกับทีมของสถาบันการแพทย์แผนไทย และได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากมูลนิธิการแพทย์แผนไทย ซึ่งขณะนี้ สถาบันการแพทย์แผนไทยได้ส่งตัวอย่างกวาวเครือ เพื่อศึกษาถึงพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรัง ของกวาวเครืออยู่ โดยส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลพิษกึ่งเรื้อรังจะทราบผลประมาณ เดือนมิถุนายน 2542 นี้ เมื่อได้ผลเรียบร้อยแล้ว จึงจะดำเนินตามแผนการวิจัยในคน หรือวิจัยทางคลินิกต่อไป

การที่มีผู้ให้ข่าวกับสื่อมวลชน ในกรณีสรรพคุณของกวาวเครือช่วยเสริมความงามนั้น จะทำได้เฉพาะทำให้สวย และสะอาด แต่ถ้าระบุสรรพคุณเกินความเป็นจริง เช่น หน้าอกโต อวัยวะเพศโต และแข็งมากกว่าเดิม ในเพศชายนั้นเป็นการโฆษณาเกินจริง และเป็นการผิดจริยธรรม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่มีผลการตรวจพิษวิทยา และยังไม่มีผลวิจัยทางคลินิกที่เชื่อถือได้ ในการให้ข้อมูลข่าวสารเช่นนั้น เป็นการสร้างความสับสนให้กับประชาชน และเกิดความเสื่อมเสียกับทางราชการมาก อีกทั้งทางสถาบันฯ ได้รับโทรศัพท์จากผู้มีปัญหาจากการใช้กวาวเครือมาก และเป็นวัยรุ่นอายุประมาณ 19-25 ปี แสดงว่า การใช้กวาวเครือผิดกลุ่มเป้าหมาย และเสี่ยงต่อสตรีวัยเจริญพันธุ์จึงจำเป็นต้องเผยแพร่ข้อเท็จจริงดังกล่าว


http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/herbs/herbal01.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/07/2011 10:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

139. กวาวเครือออกฤทธิ์อย่างไร ?

ภ.ญ.ยุวดี สมิทธิวาสน์


กวาวเครือเป็นหนึ่งในจำนวนพืชสมุนไพรหลายชนิด ที่กำลังอยู่ในความสนใจของนักวิจัยและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะนำไปใช้ขยายหน้าอกสตรีให้ใหญ่ขึ้น บทความต่อไปนี้คัดจากหนังสือ "การประชุมวิชาการเภสัชกรรมปี 2542" โดย ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านจำนวนมาก

กวาวเครือมีด้วยกัน 4 ชนิด กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง กวาวเครือดำ กวาวเครือมอ กวาวเครือที่กำลังเป็นที่สนใจ คือ กวาวเครือขาว เป็นไม้เถามีใบประกอบ 3 ใบย่อยและ มีหัวใต้ดินที่ให้ฤทธิ์แบบฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อเอสโตรเจน พืชสกุลนี้พบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่อินเดีย กลุ่มประเทศอินโดจีน มาเลเซีย โอเชีย จีน และญี่ปุ่น มีทั้งสิ้น 17 สายพันธุ์ (species) มีรายงานที่พบในประเทศไทยอย่างน้อย 9 สายพันธุ์ เนื่องจากลักษณะที่จำแนกสายพันธุ์เป็นลักษณะของดอก ช่อดอก และฝัก ซึ่งออกปีละครั้งเดียวน่าจะยังมีความสับสนในเรื่องชื่อ และชนิดที่ถูกต้องของกวาวเครืออยู่


องค์ประกอบทางเคมีของหัวกวาวเครือมีสารสำคัญ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ที่น่าสนใจมากคือ

ไฟโตเอสโตรเจน (PHYTOESTROGEN)
เป็นสารเคมีจากพืชที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เหมือนฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน สารนี้สามารถพบได้ ในถั่วเหลืองด้วยและยิ่งได้รับความสนใจยิ่งขึ้น เนื่องจาก น่าจะเป็นปัจจัยต่อการลดอุบัติการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ และต่อมลูกหมาก รวมถึงอาการเนื่องจากวัยหมดประจำเดือน และโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรคดังกล่าว พบน้อยกว่าในชาวเอเชีย เมื่อเทียบกับชาวยุโรป เพราะชาวเอเชียบริโภคอาหาร ซึ่งผลิตจากถั่วเหลืองมากกว่าชาวยุโรปมาก


ไมโรเอสตรอล (MIROESTROL)
มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนฮอร์โมนเพศหญิง ชื่อเอสตราไดออล (ESTRADIOL) ซึ่งมีฤทธิ์ค่อนข้างแรง มีผู้รวบรวมงานวิจัยของกวาวเครือขาวระหว่างปี 2542-2541 (โดยยุทธนา สมิตะศิริ) สรุปได้ว่า ทั้งในรูปผงแห้งและ สารสกัดหัวกวาวเครือขาวมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ในสัตว์หลายชนิดดังกล่าวดังแสดงในตารางข้างล่างนี้

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา สัตว์ทดลอง
1) คุมกำเนิด.................... สัตว์ทดลอง นกกระทา, หนู, สุนัข
2) ชักนำการทำแท้ง............ ในสัตว์ทดลอง หนู
3) ยับยั้งการให้นม.............. ในสัตว์ทดลองที่กำลังให้นมลูก หนู
4) ผลขยายขนาดเต้านม ....... หนู,แพะ, หมู
5) ผลต่อระบบสืบพันธุ์.......... ในสัตว์ทดลองเพศผู้

- ยับยั้งการสร้างสเปิร์ม
- ลดจำนวนครั้งที่ผสมพันธุ์
หนู, สุนัข

6) ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย
- ปากช่องคลอดขยาย หนู, สุนัข, แพะ, สุกร


พิษของกวาวเครือขาว
ยุทธนา สมิตะศิริ รายงานถึงพิษของกวาวเครือ เมื่อใช้ในปริมาณสูงพบว่า ทำให้สัตว์ทดลองตายได้

ในนกกระทาพบว่า ลดภูมิคุ้มกันทำให้เกิดฝีหนองขึ้นตามตัว กระดูกเปราะและหักง่าย

ในหนูทดลองพบว่า จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง เซลล์ตับเล็กลง ขนาดและน้ำหนักของต่อมหมวกไตเพิ่มขึ้น และมีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

เมื่อให้ MIROESTROL ในคนขนาด 1 หรือ 5 มก.ต่อวัน พบอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน

แม้ว่ากวาวเครือขาวจะมีสารไฟโตเอสโตรเจนหลายชนิด คล้ายกับที่พบในถั่วเหลือง แต่สารเหล่านี้มีฤทธิ์ ESTROGENIC ที่อ่อนมาก สารออกฤทธิ์ที่สำคัญในหัวกวาวเครือขาวน่าจะเป็น "MIROESTROL" ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง ESTRADIOL และมีฤทธิ์ใกล้เคียงกันมาก คือ 0.25-1.3 เท่าของ ESTRADIOL

เพราะฉะนั้นการจะนำกวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์เป็นยา ยังต้องการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมทั้งในด้านเภสัชวิทยา การทดลองในคนและที่สำคัญคือ การศึกษาทางด้านพิษวิทยา โดยเฉพาะพิษระยะยาวของทั้งสาร MIROESTROL, สารสกัดหยาบ และผงแห้งของกวาวเครือขาว เพื่อความเชื่อมั่นในการนำกวาวเครือขาว มาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคอย่างปลอดภัย



ภ.ญ.ยุวดี สมิทธิวาสน์
ขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่
http://www.elib-online.com/doctors/herb_fabaceae2.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/07/2011 10:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 7:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

140. กวาวเครือจัดเป็นสมุนไพรควบคุม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

กวาวเครือจัดเป็นสมุนไพรควบคุม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กวาวเครือ) พ.ศ. 2549 โดยกำหนดให้ผู้ครอบครอง ใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษาหรือขนย้ายกวาวเครือที่มีแหล่งที่มาตามธรรมชาติเกินกว่าจำนวนหรือปริมาณที่ประกาศฯกำหนด ให้แจ้งแก่นายทะเบียน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง และกวาวเครือดำ

- สารที่ออกฤทธิ์สำคัญ ที่พบในหัวกวาวเครือเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ซึ่งเรียกว่า phytoestrogens ได้แก่ miroestrol และ deoxymiroestrol ซึ่งมีฤทธิ์แรงแต่มีปริมาณน้อยและ จำพวก isoflavones อีกหลายชนิด เช่น daidzein, genistein, daidzin, genistin, puerarin, mirificin, และ kwakhurin ที่มีฤทธิ์อ่อนแต่มีปริมาณมากกว่า

- รายงานการวิจัยทางคลินิก ในปี 2503 มีรายงานการศึกษาประสิทธิผลของ miroestrol ใน การชักนำให้เกิด withdrawal bleeding ในหญิงที่มีสภาวะประจำเดือนไม่มาตามปกติ พบว่า ในผู้ป่วยที่ได้รับ miroestrol นั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งใช้ได้ผลคือเกิด withdrawal bleeding และใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลเมื่อเทียบกับเอสโตรเจน แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงพอ ๆ กัน นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและผลข้างเคียงของการใช้กวาวเครือขาวในสตรีวัยใกล้หมดและหมดระดู เพื่อรักษาอาการ vasomotor (อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน) และอาการร่วมอื่น ๆ พบว่า กวาวเครือขาวลดอาการ vasomotor ได้ค่อนข้างดี แต่ทำให้เกิดผลข้างเคียงในผู้ป่วยบางราย เช่น เต้านมตึงคัด เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม ขนาดของกวาวเครือขาวที่เหมาะสมยังต้องการประเมินผลทางคลินิกเป็นสำคัญในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นต่อไป


- ข้อห้ามใช้ ตามตำรายาของหลวงอนุสารสุนทร จะห้ามไม่ให้คนหนุ่มสาวรับประทานกวาวเครือขาว ซึ่งจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบัน ข้อห้ามนี้ถือเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดของคนโบราณ เนื่องจากกวาวเครือขาวมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงที่ค่อนข้างแรง หากคนหนุ่มสาวรับประทานจะรบกวนระบบฮอร์โมนเพศได้

- ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานเกินกว่าขนาดที่แนะนำให้ใช้

- อาการข้างเคียง อาจทำให้เกิดการเจ็บเต้านม หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะ ทำให้มีอาการเต้านมแข็งเป็นก้อน ซึ่งนำไปสู่การเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งเต้านมได้ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้ สำหรับผู้ชายอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งที่อัณฑะได้

- ข้อบ่งใช้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2542 กวาวเครือขาวจัดเป็นตัวยาตัวหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย สำหรับสรรพคุณในการบรรเทาอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือนนั้น ยังต้องทำการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิผลและความปลอดภัยก่อน

- ขนาดที่ใช้ จากผลการศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังของกวาวเครือขาว โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงแนะนำว่า เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ขนาดใช้ของผงกวาวเครือขาวในคนไม่ควรเกิน 1-2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือประมาณวันละ 50-100 มิลลิกรัม ซึ่งปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดขนาดรับประทานของกวาวเครือขาวไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/วัน




กองควบคุมอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

http://www.jsppharma.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=jsppharmacom&thispage=1&No=1292614


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/07/2011 7:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/07/2011 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

141. และแล้ว 'กวาวเครือ' ก็เป็นเหยื่อโจรสลัดชีวภาพ

โดย : ไบโอไทย


ไบโอไทยแถลงบริษัทเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นจดสิทธิบัตรกวาวเครือ ชี้เป็นการกระทำเยี่ยงโจรสลัดชีวภาพ ละเมิดต่อกฎหมายไทย และละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ กระทบอนาคตการวิจัยและพัฒนารวมถึงการส่งออกที่มีมูลค่ามหาศาล แนะให้ยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น และเป็นกรณีตัวอย่างในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพในต้นปีหน้า

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการองค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทยหรือไบโอไทย ( BioThai) ได้เปิดแถลงข่าวในในระหว่างการอภิปรายทางวิชาการที่จัดขึ้นโดยกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชนและ ICTSD/UNCTAD ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ว่า กวาวเครือพืชสมุนไพรของไทยได้ถูกจดสิทธิบัตรแล้วโดยบริษัทโคเซ่บริษัทเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น การจดสิทธิบัตรครั้งนี้ถือว่าเป็นการซ้ำรอยประวัติศาสตร์การจดสิทธิบัตรเปล้าน้อยของไทยของบริษัทซังเกียวเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว พฤติกรรมของบริษัทญี่ปุ่นครั้งนี้ถือว่าเป็นการกระทำเยี่ยงโจรสลัดชีวภาพ ละเมิดต่อกฎหมายไทย และละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เปิดเผยว่าขณะนี้กวาวเครือ (Pueraria mirifica )สมุนไพรสำคัญของไทยซึ่งรู้จักแพร่หลายกันในหมู่หมอพื้นบ้าน และได้รับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงามมานานหลายสิบปีในประเทศไทยนั้น ขณะนี้ได้ถูกบริษัทโคเซ่ (Kose Corporation) บริษัทเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นและของโลก และยาบริษัทชิราโต (Shiratori Pharmaceutical Co., Ltd. ) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองชิบะ (Chiba) ประเทศญี่ปุ่นจดสิทธิบัตรแล้ว

สิทธิบัตรที่บริษัททั้งสองจดสิทธิบัตรเป็นสิทธิบัตรสหรัฐ หมายเลข 6,352,685 ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2545 ทั้งนี้ โดยอ้างคุณสมบัติของสารสกัดจากกวาวเครือที่สามารถรักษาผิวพรรณไม่ให้แก่เร็วรวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ป้องกันการก่อตัวของเมลานีน (melanine formation inhibition) เป็นต้น

สิทธิบัตรในกวาวเครือที่ทั้งสองบริษัทได้จดสิทธิบัตรผูกขาดไว้นั้นครอบคลุมกว้างขวางถึง 20 รายการ เช่น สารสกัดจากกวาวเครือ วิธีการสกัด รวมถึงการนำสารสกัดที่ได้ไปใช้เป็นส่วนประกอบของสารที่มีคุณสมบัติในการดูแลผิวอื่นๆเช่น การป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลต วิตาเอ วิตามินซี และอื่นๆด้วย

นายวิฑูรย์กล่าวว่า การจดสิทธิบัตรของบริษัทญี่ปุ่นทั้งสองเป็นการกระทำเยี่ยงโจรสลัดชีวภาพเนื่องจากกวาวเครือจัดเป็นพันธุ์พืชป่าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ผู้ใดที่นำไปวิจัยหรือใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์จะต้องได้รับการอนุญาตและต้องทำสัญญาแบ่งปันประโยชน์กับคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช สิทธิบัตรดังกล่าวอาจละเมิดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ไทย พ.ศ. 2542 ด้วยเพราะคุณสมบัติในการดูแลผิวพรรณนั้นเป็นความรู้ที่แพร่หลายในหมู่หมอยาพื้นบ้านของไทยมาช้านาน เช่นเดียวกับคุณสมบัติอื่นๆ เช่น เป็นยาบำรุงเลือดลมและกระตุ้นเลือดลมและประจำเดือนให้มาตามปกติ เป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันผมหงอก แก้โรคตาฝ้าฟาง และต้อกระจก รวมทั้งกระตุ้นการเพิ่มขนาดของทรวงอก เป็นต้น การจดสิทธิบัตรในกวาวเครือครั้งนี้ของญี่ปุ่นยังถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งมีประเทศต่างๆทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศได้ให้สัตยาบันเอาไว้

ผู้อำนวยการของไบโอไทยยังกล่าวด้วยว่า การจดสิทธิบัตรกวาวเครือครั้งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก และจะส่งผลกระทบต่อการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรกวาวเครือของไทย รวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศอีกด้วย ผลกระทบในเรื่องนี้ในระยะยาวอาจมีมูลค่าหลายพันล้านบาท เรื่องนี้แม้แต่สมเด็จพระราชินีก็ทรงห่วงใยมาก ได้รับสั่งกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ให้คุ้มครองมรดกภูมิปัญญาและทรัพยากรชีวภาพของประเทศ แต่ก็เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีก

หน่วยงานที่จะต้องรับผิดชอบในกรณีนี้ มี 4 หน่วยงาน คือ

คณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์,
คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ภายใต้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ
สำนักนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

นายวิฑูรย์ ยังกล่าวสรุปว่ามีทางแก้ไขปัญหานี้ได้โดยใช้หลักกฎหมายภายในของไทยเอง การใช้ช่องทางของกฎหมายสิทธิบัตร ดังกรณีที่อินเดียประสบผลสำเร็จมาแล้วในการคัดค้านการจดสิทธิบัตรในขมิ้นชัน การนำปัญหานี้เป็นประเด็นสำคัญในการเจรจา เอฟทีเอ.กับประเทศญี่ปุ่น และการนำเรื่องนี้ขึ้นมาปรึกษาหารือในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพิเศษว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD)ในประเทศไทยในต้นปี 2548



http://www.thaingo.org/board_2/view.php?id=197
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 6:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

142. “คางคกสายรุ้ง” โผล่ให้เห็นอีกครั้ง หลังหายไปกว่า 80 ปี



คางคกสายรุ้งขายาวที่ไม่ได้เห็นมากว่า 80 ปี (บีบีซี.นิวส์)




ภาพวาดคางคกสีรุ้ง หลักฐานเดียวเมื่อเกือบ 100 ปีก่อนที่มีอยู่ (บีบีซี.นิวส์)


ทีมวิจัยมาเลย์ออกสำรวจป่าในเกาะบอร์เนียว พบ “คางคกสายรุ้ง” ที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วและเห็นครั้งสุดท้ายเมื่อกว่า 80 ปีก่อน และมีหลักฐานเป็นเพียงภาพวาดของคณะสำรวจจากยุโรปเมื่อเกือบศตวรรษที่ผ่านมา ชี้สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นด่านหน้าที่เผชิญการสูญพันธุ์ก่อนสิ่งมีชีวิตอื่น

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัค (Universiti Malaysia Sarawak: UNIMAS) พบคางคกสายรุ้งขายาวที่ไม่เห็นมานานกว่า 80 ปี โดยเห็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1924 โดยบีบีซีนิวส์รายงานว่าพวกเขาค้นพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ไม่ได้พบมาเป็นเวลานานนี้ ระหว่างออกสำรวจตอนกลางคืนในป่าภูเขาของเกาะบอร์เนียวที่อยู่ห่างไกล

ก่อนหน้านี้เรามีเพียงภาพวาดของคางคงชนิดนี้ ซึ่งวาดขึ้นจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมโดยคณะสำรวจจากยุโรปในช่วงทศวรรษที่ 1920 และเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ (Conservation International) ได้เริ่มโครงการระดับโลกเพื่อค้นหาสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่สาบสูญ (Global Search for Lost Amphibians) และได้จัดให้คางคกชนิดนี้อยู่ในบัญชี 1 ใน 10 สัตว์จำพวกกบซึ่งเป็นที่ต้องการสูงสุด

การสำรวจครั้งนี้นำทีมโดย ดร.อินทราเนียล ดาส (Dr.Indraneil Das) ซึ่งได้ออกสำรวจเทือกเขาทางตะวันตกของรัฐซาราวัคและเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกของอินโดนีเซีย โดยหลังจากใช้เวลาสำรวจในช่วงกลางคืนนานหลายเดือน หนึ่งในลูกศิษย์ของ ดร.ดาสได้พบคางคงตัวเล็กๆ เกาะบนกิ่งไม้สูงโดยบังเอิญ

“การค้นพบอันน่าตื่นเต้นอย่างคางคงที่สวยงามนี้ และความสำคัญของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่มีต่อระบบนิเวศที่สมบูรณ์นั้น เป็นแรงผลักดันให้เราคงค้นหาสิ่งมีชีวิตที่สาบสูญ พวกมันย้ำเตือนพวกเราว่าธรรมชาติยังถือครองความลับอันล้ำค่า ซึ่งเรายังค้นไม่พบ” ดร.ดาสกล่าว ทั้งนี้ พวกเขามีเพียงภาพวาดของคางคงสายพันธุ์ แอนโซเนีย ลาติดิสกา (Ansonia latidisca) เป็นข้อมูลว่าคางสายพันธุ์นี้หน้าตาเป็นอย่างไร

ด้าน ดร.โรบิน มัวร์ (Dr.Robin Moore) จากองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ ผู้เริ่มโครงการสำรวจสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกระดับโลกนี้ รู้สึกปลาบปลื้มต่อการค้นพบนี้มาก และบอกว่าไม่อยากจะเชื่อเมื่อได้เห็นภาพแรกของกบสปีชีส์นี้ซึ่งสาบสูญไปเกือบ 90 ปีแล้ว

“เป็นเรื่องดีที่ได้รู้ว่าธรรมชาติสามารถสร้างเรื่องแปลกใจให้แก่เราเมื่อเรากำลังจะสิ้นหวัง โดยเฉพาะท่ามกลางวิกฤตสูญพันธุ์ของโลกเราที่กำลังเพิ่มขึ้น และสัตว์สะเทินสะเทินบกก็อยู่ด่านหน้าของเหตุการณ์เลวร้ายนี้ ดังนั้น ผมคาดหวังว่าสปีชีส์จำเพาะนี้จะเป็นธงสัญลักษณ์ในการอนุรักษ์ ซึ่งจุดประกายความภาคภูมิและความหวังโดยชาวมาเลเซียและผู้คนทุกหนทุกแห่ง” ดร.มัวร์กล่าว

สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเผยแพร่ภาพคางคกบอร์เนียวสีรุ้ง เพศเมีย ตัวเต็มวัย หรือที่รู้จักในชื่อว่า “คางคกแซมบาส สตรีม” ที่เมืองเปนรีสเซน รัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว ของมาเลเซีย นักวิทยาศาสตร์เร่งสำรวจบนภูเขาก็ได้พบคางคกชนิดนี้ หลังจากที่นักสำรวจชาวยุโรปพบครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2467 นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นภาพถ่ายของคางคกสีรุ้งขายาวชนิดนี้สู่สายตาชาวโลก.




http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2660.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 6:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

143. กรมประมงสุดปลื้ม ! เพาะพันธุ์กั้งตั๊กแตน ส่งออกนอกได้ราคาดี

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์กั้งตั๊กแตนหางจุดจนประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี 2537 ซึ่งที่ผ่านมาทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี กรมประมง สามารถเพาะและอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนหางจุดให้มีอัตราการรอดตายได้ 2.58 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2551 จนถึงปัจจุบันทางกรมประมงได้มีนโยบายให้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลาสานต่องานวิจัยการเพาะและอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุดเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มอัตราการรอดตายของกั้งตั๊กแตนหางจุดเมื่อปล่อยคืนสู่ท้องทะเลให้สูงขึ้น

โดยกั้งตั๊กแตนหางจุดเป็นกั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ อาศัยตามแถบริมฝั่งทะเลที่เป็นดินโคลนปนทราย โดยในประเทศไทยพบมากแถบปากแม่น้ำและแนวชายฝั่งใน สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล และตราด กั้งตั๊กแตนหางจุดส่วนใหญ่ที่ถูกจับขึ้นมาจะส่งออกไปจำหน่ายในประเทศจีน โดยตัวขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม จะมีราคากิโลกรัมละ 700-750 บาท ปัจจุบันกั้งทุกชนิดที่จับได้จากท้องทะเลไทย เช่น กั้งกระดาน กั้งตั๊กแตนหางจุด ฯลฯ มีปริมาณมากถึงปีละ 700-800 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท


แนวหน้า :
http://www.naewna.com/news.asp?ID=267651
http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2576.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

144. พบ “ปลาหลดงวงช้าง” ชนิดใหม่




พบ “ปลาหลดงวงช้าง” ชนิดใหม่ของโลกในแม่น้ำโขง ห่วงปลา 10 ชนิด ในป่าพรุถูกคุกคาม

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่โรงแรมมารวย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดการประชุมวิชาการ เนื่องในปีสากลแห่งป่าไม้และวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีภาพ โดยนายชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาน้ำจืด สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เปิดเผยว่า

จากการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของของสายพันธุ์ปลาที่พบในประเทศไทยมีมากถึง 500 ชนิด เป็นจากปลาที่อาศัยในแหล่งต้นน้ำมากถึง 300 สายพันธุ์ ทางสหภาพสากลว่า ด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ไอยูซีเอ็น) สำรวจพบว่า 80 ชนิด อยู่ในบัญชีเรดส์ลิส หรือสถานภาพน่าเป็นห่วง และในจำนวนนี้ 34 ชนิด เป็นปลาที่อาศัยในระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ป่าเขาของไทย

“สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ปลาที่อาศัยในป่าพรุของไทย ซึ่งมีราว 60 ชนิด นั้น พบว่าอย่างน้อย 10 ชนิด อยู่ในภาวะคุกคามอย่างมาก อาทิ ปลาก้างพระร่วง ปลากัดช้าง ปลากริมแรด ปลากะแม๊ะ ปลาปักเป้าท้องตาข่าย เป็นต้น

เนื่องจากป่าพรุเปลี่ยนแปลงสภาพและระบบนิเวศน์ และยังพบว่ามีการจับปลาจากป่าพรุออกไปขายปีละหลายแสนตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีข่าวดีว่า จากการสำรวจปลาในแม่น้ำโขงพบปลาหลดชนิดใหม่ของโลกในสกุล Macrognathus ซึ่งตั้งชื่อว่า “ปลาหลดงวงช้าง” เพราะมีลักษณะของจมูก และจงอยปากยาวเหมือนงวงช้าง มีดวงเป็นลายจุดตามลำตัว 4 จุด และมีความยาวลำตัว 20 ซม. หลังจากที่ก่อนหน้านี้ก็เพิ่งพบ “ปลาอีด” ซึ่งเป็นปลาชนิดใหม่ของโลกในเขตท้องนา และเขตพื้นที่ชุ่มน้ำของบึงโขงหลง หนองกุดทิง จ.หนองคาย มาแล้ว



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=140805

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2459.0/prev_next,next.html#new


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2011 6:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

145. กรมประมงขยายพันธุ์กั้งตั๊กแตนหางจุดสำเร็จ





กั้งตั๊กแตนหางจุดเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องจากเป็นกั้งที่มีรสชาติอร่อย ปัจจุบันกั้งตั๊กแตนหางจุดที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นการจับจากธรรมชาติทั้งสิ้น ส่งผลให้ปริมาณในธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง กรมประมงได้ทำการศึกษาวิธีการอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุดให้มีอัตราการรอดตายสูงขึ้น เพื่อจะได้นำไปขยายผลสู่การเพาะพันธุ์และการอนุบาลเพื่อปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจในท้องทะเลไทยไม่ให้หมดไปจากแหล่งอาศัยในธรรมชาติได้สำเร็จ


ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์กั้งตั๊กแตนหางจุดจนประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี 2537 ซึ่งที่ผ่านมาทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี กรมประมงสามารถเพาะและอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนหางจุดให้มีอัตราการรอดตายได้ 2.58 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2551 จนถึงปัจจุบันได้ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลา สานต่องานวิจัยการเพาะและอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุด เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มอัตราการรอดตายเมื่อปล่อยคืนสู่ท้องทะเลให้สูงขึ้น


“กั้งตั๊กแตนหางจุดเป็นกั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ อาศัยตามแถบริมฝั่งทะเลที่เป็นดินโคลนปนทราย โดยในประเทศไทยพบมากแถบปากแม่น้ำและแนวชายฝั่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล และตราด ซึ่งส่วนใหญ่ที่ถูกจับขึ้นมาแล้วส่งออกไปจำหน่ายในประเทศจีน โดยขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม จะมีราคากิโลกรัมละ 700-750 บาท ปัจจุบันกั้งทุกชนิดที่จับได้จากท้องทะเลไทย เช่น กั้งกระดาน กั้งตั๊กแตนหางจุด ฯลฯ มีปริมาณมากถึงปีละ 700-800 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท” อธิบดีกรมประมงกล่าว

ด้าน นายวีระ เจริญพักตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในส่วนของศูนย์วิจัยฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเทคนิคการเพาะพันธุ์ การอนุบาลตลอดจน การพัฒนาสูตรอาหาร โดยการวิจัยจะใช้แม่พันธุ์ที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 300-350 กรัม มีไข่ประมาณ 90,000-120,000 ฟอง สามารถเพาะพันธุ์กั้งตั๊กแตนหางจุดได้ที่ความยาวเฉลี่ยประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีอัตราการรอดตายมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์


สำหรับการทดลองได้แบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกได้ให้อาหารลูกกั้งตั๊กแตนด้วยอาร์ทีเมีย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นญาติห่า ๆ กับกุ้งหรือปู และชุดที่สองได้ให้อาหารลูกกั้งตั๊กแตนด้วยอาร์ทีเมีย ที่เสริมด้วยสาหร่ายเกลียวทอง และให้วันละครั้ง ลูกกั้งตั๊กแตนหางจุดระยะนี้จะมีรูปร่างเหมือนพ่อแม่และอาศัยอยู่ตามพื้นบ่อ มีนิสัยดุร้ายชอบกินกันเอง หากต้องการเลี้ยงต่อจะต้องใช้วิธีการเลี้ยงแบบเชิงเดี่ยว


และในอนาคตอันใกล้นี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลา จะขยายงานวิจัยด้านการอนุบาลไปยังบ่อดินแทนถังไฟเบอร์ เพื่อให้ได้ลูกกั้งตั๊กแตนหางจุด ในจำนวนที่มากพอสำหรับนำไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการประมง นอกจากนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลายังมีแผนที่จะนำกั้งตั๊กแตนหางจุดที่จับได้จากธรรมชาติขนาด 10 ตัวต่อกิโลกรัม มาเลี้ยงต่อในตะกร้าพลาสติก ตะกร้าละ 1 ตัว เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ คือ 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงให้กับชาวประมงต่อไป.





kasettuathai@dailynews.co.th
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=136920

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2415.0/prev_next,next.html#new


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2011 6:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 8:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

146. สยบหอยเชอรี่ด้วยฝักคูน ผลงานนักเรียนบ้านแก่งวิทยา


เคาะประตูแคมปัสวันนี้ ขอแนะนำ น.ส. พรธิรา หอมชื่น นักเรียนชั้น ม.4 ร.ร.บ้านแก่งวิทยา ต.บ้านแก่ง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และกลุ่มเพื่อน น.ส.ปาริฉัตร ปักษี และ น.ส.เสาวลักษณ์ แผลงฤทธ์ ที่คิคค้นโครงงานการกำจัดหอยเชอรี่ด้วยสารชีวภาพฝักคูน

กรรมวิธีเลือกฝักคูนสีน้ำตาล นำมาตำให้ละเอียดผสมน้ำ แอลกอฮอล์ และน้ำส้มควันไม้หมักทิ้งไว้ 15 วัน จากนั้นนำมากรอง จะได้สารสกัดจากฝักคูน เพื่อนำไปกำจัดหอยเชอรี่ในนา

โดยนำไปผสมน้ำในอัตราส่วนน้ำสกัดจากฝักคูน 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน นำไปฉีดพ่นในนาข้าว ซึ่งสารสกัดดังกล่าวจะเข้าไปเคลือบต้นข้าว เมื่อหอยโผล่จากน้ำขึ้นมากินต้นข้าว หอยจะได้รับสารสกัดและท้องเสียตาย สังเกตเปลือกหอยจะลอยขึ้นมา ส่วนไข่หอยเชอรี่ที่ติดอยู่บนกอข้าวก็จะฝ่อไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้

ผลิตภัณฑ์นี้มี 2 รูปแบบให้เลือก คือ แบบน้ำ และแบบผงอัดก้อนใช้ลอยบนผิวน้ำ ในอนาคตจะต่อยอดนำโครงการนี้เสนอท้องถิ่น พร้อมถ่ายทอดวิธีการให้ชาวบ้าน เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเข้าถึงบริเวณที่หอยเชอรี่ระบาดได้ง่ายกว่าสารเคมี และราคาถูกกว่า 7 เท่า

สำหรับผู้สนใจผลิตภัณฑ์สารชีวภาพกำจัดหอยเชอรี่ของบริษัทชาวนาไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ.นิมิตร วงศ์มณี โทร. 08-1020-1099 และน.ส.พรธิรา หอมชื่น 08-0682-1772



http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdOekF6TURVMU5BPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOUzB3TXc9PQ

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2402.msg4324.html#msg4324


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2011 6:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 8:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

147. อนุบาลลูกปลาช่อนเชิงพาณิชย์ให้ได้ขนาดได้มาตรฐาน





ปลาช่อน ถือเป็นปลาพื้นเมืองของไทยอาศัยอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นปลามีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลมและยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อยู่ในที่ชื้นๆ ได้เป็นเวลานาน และสามารถเคลื่อนไหวไปมาบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ


นางสมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ปลาช่อนเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ยังพบปัญหาและอุปสรรคเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรม น้ำมีมลพิษมากขึ้น แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ในธรรมชาติถูกทำลาย ส่งผลให้ปริมาณปลาช่อนในแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลง ประกอบกับมีการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางกรมประมงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาช่อนโดยสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด สามารถวิจัยและทดลองอนุบาลลูกปลาช่อนจนเป็นผลสำเร็จและนำไปปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง


ทางด้าน นายสมหวัง พิมลบุตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมประมงประสบปัญหาการอนุบาลลูกปลาช่อน คือ ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างน้อยและมีขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง แต่เนื่องจากปลาช่อนเป็นปลาท้องถิ่นไทย กรมประมงจึงไม่นิ่งนอนใจพยายามศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ โดย นางณพัชร สงวนงาม และคณะวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสิงห์บุรี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและทดลองอนุบาลลูกปลาช่อน โดยการเลือกขนาดถังอนุบาลและอัตราการปล่อยที่ต่างกันต่อการอนุบาลจนประสบผลสำเร็จ ลูกปลาช่อนส่วนใหญ่ที่ได้จะมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงเชิงพาณิชย์และเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง เนื่องจากเป็นขนาดที่มีอัตรารอดตายสูง และมีการเจริญเติบโตที่ดี


ในการทดลองอนุบาล คณะผู้วิจัยได้ใช้ถังอนุบาลไฟเบอร์กลาสกลมต่างกัน 3 ขนาด คือ 0.5, 1.0 และ 3.0 ตารางเมตร และอัตราปล่อยต่างกัน 5 ระดับ คือ 100, 600, 1,200, 1,800 และ 2,400 ตัวต่อตารางเมตร โดยอนุบาลลูกปลาช่อนรุ่นเดียวกันที่ความลึกของน้ำ 20 เซนติเมตร ในระบบน้ำไหลผ่าน ลูกปลาที่นำมาทดลองมีความยาวเฉลี่ย 28.0 มิลลิเมตร น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.19 กรัม ให้อาหารเม็ดลอยน้ำโปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ แบบให้กินจนอิ่มวันละ 3 ครั้ง โดยดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสิงห์บุรีในระหว่างเดือน กรกฎาคมถึงตุลาคม 2549 ที่ผ่านมา


ผลจากการศึกษาพบว่าขนาดถังอนุบาลที่ต่างกันจะมีผลต่อการเติบโตของลูกปลาที่ต่างกัน โดยถังอนุบาลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ลูกปลาสามารถเติบโตได้เร็วมากกว่า และการอนุบาลลูกปลาช่อนที่ระดับอัตราปล่อยที่มากขึ้นจะมีผลให้การเติบโตของลูกปลาช่อนมีค่าน้อยกว่าระดับอัตราปล่อยที่น้อยลง


จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนพบว่า ลูกปลาช่อนที่อนุบาลในถังขนาด 3.0 ตารางเมตร ที่อัตราปล่อย 2,400 ตัวต่อตารางเมตร ใช้ระยะเวลาอนุบาลเพียง 20 วัน ได้ลูกปลาที่มีความยาวเฉลี่ย 6.7 เซนติเมตร อัตรารอดตายร้อยละ 85 และมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเฉลี่ย 0.39 บาทต่อตัว มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 1,300 บาทต่อถัง และมีผลตอบแทนสูงสุดร้อยละ 54.47 ของเงินลงทุน


เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทนพบว่ามีความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติมากที่สุด ซึ่งผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงปลาช่อนเชิงพาณิชย์สามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินกิจการของตนเองได้


นับเป็นอีกหนึ่งผลงานด้านการศึกษาวิจัยของกรมประมงที่สามารถเอื้อต่อความต้องการของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญปลาช่อนในปัจจุบันยังคงเป็นปลาน้ำจืดที่มีตลาดรองรับอย่างแน่นอน และมีความต้องการอย่างต่อเนื่องด้วยเป็นปลาที่ให้คุณค่าต่อร่างกายของผู้บริโภคสูง


เกษตรกรผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสิงห์บุรี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง โทร. 0-3653-9481, 0-3655-1126 ในวันและเวลาราชการ.




http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=673&contentID=125818

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2233.msg4132.html#msg4132


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2011 5:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 8:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

148. มบส.เจ๋งเลี้ยงหอยมุกน้ำจืด


ผศ.ดร.สาธิต โกวิทวที หัวหน้าสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ซึ่งได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นของ มบส. เนื่องในงานวันคล้ายวันพิราลัยสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และครบรอบ 115 ปี มบส. เปิดเผยถึงผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “การเพาะเลี้ยงหอยมุกน้ำจืด” ว่า

ขณะนี้สามารถผลิตและเพาะเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดสายพันธุ์ของไทยในอาหารสังเคราะห์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก

โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้ฟาร์มต้นแบบสำหรับการผลิตหอยมุกน้ำจืดอย่างครบวงจร และเป็นช่องทางการผลิตที่ตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอัญมณี เฟอร์นิเจอร์ ส่วนประกอบในฟันปลอม กระดูกเทียมสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด และอุตสาหกรรมเครื่องสำอางบำรุงผิว เป็นต้น จากเดิมที่ประเทศไทยมีหอยมุกน้ำจืดตามธรรมชาติเพียงร้อยละ 5 จึงต้องนำเข้าจากประเทศจีนเพื่อนำมาแปรรูปเป็นสินค้าและส่งออกขายต่างประเทศ

“ขณะนี้สามารถทำการเพาะเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดพันธุ์หอยกาบใหญ่ และหอยขาว โดยนำตัวอ่อนระยะโกคีเดียมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก และในปี 2554 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ มบส. ได้ร่วมมือกับ สถานีวิจัยประมงน้ำจืด คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และองค์กรเครือข่าย ทำการวิจัยการเพาะเลี้ยงหอยมุกในระดับอุตสาหกรรม พร้อมไปกับการขอทุนวิจัยและจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดที่ ม.เกษตรวิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อจัดอบรมการเพาะเลี้ยงให้แก่เกษตรกรต่อไป” ผศ.ดร.สาธิต กล่าว.




http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=42&contentID=116441

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,1952.0/prev_next,next.html#new


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2011 5:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 8:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

149. นักวิจัยจุฬาฯค้นพบเชื้อก่อโรคขี้ขาวในกุ้ง






การระบาดของโรคขี้ขาวในกุ้งทะเลเลี้ยง ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2553 โดยเฉพาะในกุ้งขาว แวนนาไม ซึ่งเป็นกุ้งที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดในปัจจุบัน ส่งผลกระทบอย่างมากทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะกุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตช้า ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ ต้องจับกุ้งขายก่อนกำหนด และมีอัตราการรอดต่ำ รวมทั้งอาจทำให้ผู้แปรรูปกุ้งเสียโอกาสทางการตลาดต่อประเทศคู่แข่งในอนาคต ได้ เนื่องจากไม่มีกุ้งขนาดใหญ่ส่งขายต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่า โรคดังกล่าวจะคงอยู่กับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไทยไปตลอด เนื่องจากตัวเชื้อสามารถเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

รศ.นสพ.ดร.จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งศึกษาวิจัยเรื่อง “โรคขี้ขาวในกุ้งทะเลเลี้ยง” ค้นพบว่า

โรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัวกลุ่มกรีการีนที่อยู่ในกลุ่มไฟลัมเอพิ คอมเพล็กซ่า (Phylum Apicomplexa) ส่วนใหญ่โปรโตซัวเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในสัตว์ พวกแมลงและหอยอย่างพึ่งพาอาศัยกัน เมื่อกุ้งกินพาหะของเชื้อ เช่น หอย เพรียง ลูกกุ้ง เคย และหนอนชนิดต่าง ๆ เข้าไปก็จะติดเชื้อ

ระยะฟักตัวของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่กุ้งจะแสดงอาการให้เห็นขี้ขาวเมื่ออายุ 40 วันขึ้นไป จึงคาดว่าน่าจะมีระยะฟักตัวมากกว่า 30 วัน

เมื่อกุ้งได้รับเชื้อกรีการีนเข้าไปในทางเดินอาหาร เชื้อจะพัฒนาเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ลำไส้ถูกอุดตันด้วยพยาธิ ในระยะแรกกุ้งจะแสดงอาการโดยการกินอาหารลดลงเพียง เล็กน้อย บางครั้งผู้เลี้ยงจึงไม่สังเกตเห็น แต่เมื่อลำไส้อุดตันแล้ว กุ้งจะกินอาหารลดลงอย่างชัดเจน และมีขี้กุ้งสีขาวลอยอยู่บนผิวน้ำมากขึ้น

นอกจากนี้ กุ้งยังมีอาการตับและตับอ่อนอักเสบ ทำให้การสร้างน้ำย่อย การขับถ่ายของเสีย และการสะสมอาหารลดลง ส่งผลให้กุ้งเจริญเติบโตช้า มีอัตราการรอดต่ำ เปลือกบางกว่าปกติและมีสีซีดจนถึงสีฟ้าอ่อน เนื้อเยื่อใต้เปลือกเกิดการอักเสบและตายทำให้เกิดอาการเปลือกหลวมกรอบแกรบ อีกทั้งมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบทำให้กล้ามเนื้อเหี่ยว มีสีขาวขุ่น และการเคลื่อนไหวช้า กว่าปกติ

ทั้งนี้สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เชื้อ ดังกล่าวเจริญเติบโตได้ดีคือ อุณหภูมิและความเค็มของน้ำทะเลที่สูง การเลี้ยงกุ้งที่หนาแน่นเกินไปและไม่มีระบบการจัดการบ่อที่ดี ทำให้มีพาหะของเชื้อที่พื้นบ่อเป็นจำนวนมาก

สำหรับแนวทางการแก้ไขและป้องกันโรคดังกล่าว รศ.นสพ.ดร.จิรศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของการควบคุมโรค ผู้เลี้ยงต้องควบคุมแหล่งที่มาของเชื้อ คือ ต้องมีการตรวจพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กุ้งที่นำเข้า หรือมีใบรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือว่าปลอดเชื้อกรีการีน

ควบคุมคุณภาพอาหาร พาหะต่าง ๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้ง หากยังไม่พบโรคในฟาร์มก็ควรใช้น้ำระบบปิดกลับมาใช้ใหม่ และควรปรับสภาพบ่อให้สะอาด เช่น ปูพลาสติก ทั้งบ่อ เพื่อลดพาหะของเชื้อที่อยู่ในหน้าดิน

ส่วนการป้องกันโรค ควรใช้ลูกกุ้งที่ปลอดเชื้อกรีการีน กำจัดพาหะของเชื้อที่ พื้นบ่อ รวมทั้งหมั่นตรวจสุขภาพและทางเดินอาหารของกุ้ง เพื่อไม่ให้พยาธิกรีการีน เข้าไปเติบโต และตรวจคุณภาพของอาหารอย่างสม่ำเสมอ

หากพบกุ้งป่วยควรรีบตรวจหาสาเหตุและแก้ไข ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม ควรแยกใช้เฉพาะบ่อ เวลาจับกุ้งขายก็ควรใช้อวนที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ด้านการรักษากุ้งที่เป็นโรคนี้ เนื่องจากเชื้อสามารถติดต่อ และก่อให้เกิดโรคในกุ้งทุกระยะ จึงต้องพิจารณาถึงชนิดและขนาดของยาหรือ

สารเคมีที่จะใช้ในกุ้งแต่ละระยะ หากใช้สารเคมีต้องไม่กระทบต่อสุขภาพของกุ้ง และต้องไม่มีสารตกค้างต้องห้ามเมื่อนำไปแปรรูป

ตั้งแต่มีการระบาดของโรคนี้ในไทย นักวิชาการและผู้เลี้ยงกุ้งได้ใช้วิธีการ ต่าง ๆ ในการรักษา ทั้งการใช้กระเทียม กล้วยน้ำว้าดิบ เปลือกมังคุด สับปะรด จุลินทรีย์โปรไบโอติค หรือกรดอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ผสมอาหารให้กุ้งกิน เปลี่ยนอาหาร ใช้ยาต้าน เชื้อแบคทีเรีย ฯลฯ ซึ่งวิธีส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ ต้องจับกุ้งขายก่อนกำหนด และปริมาณกุ้งก็ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความรุนแรงของโรคที่อยู่ในระยะที่แตกต่างกันและยังไม่ มีการพิสูจน์แน่ชัดถึงสาเหตุของโรค

การค้นพบว่าโรคขี้ขาวเกิดจากเชื้อโปรโตซัวกลุ่มกรีการีนในครั้งนี้ จึงเป็นแนวทางสำคัญให้ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงและช่วยให้การค้นหาวิธีการป้องกันและ แก้ไขการระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น.




http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=102824

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,1323.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

150. วิจัยเตือน ประมงแปซิฟิกอาจล้มครืนภายในปี 2035

ผลการศึกษาระบุ อุตสาหกรรมประมงแปซิฟิกอาจล่มสลายภายในปี 2035 หากไม่มีการจัดการที่ดีขึ้น


เอเอฟพี - ผลการศึกษาล่าสุดเผยว่า อุตสาหกรรมประมงใน มหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาจประสบภาวะล่มสลายภายในปี 2035 เนื่องจากการจับสัตว์น้ำมากเกิน, การเพิ่มจำนวนประชากร และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ผลการศึกษาดังกล่าวซึ่งเผยแพร่โดยสำนักเลขาธิการประชาคมแปซิฟิก (SPC) ระบุว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมประมงซึ่งมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีมีการจัดการอย่างไม่เหมาะสม และขาดความร่วมมือระหว่าง 22 ประเทศหมู่เกาะในภูมิภาค

รายงานเตือนว่า ขณะนี้ปลาทูนาบางสายพันธุ์เริ่มตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเนื่องจากถูกจับมากเกินไป ซึ่งปัญหานี้อาจแพร่ขยายไปสู่สัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เนื่องจากเรือประมงต่างต้องการเข้าถึงแหล่งปลาชุม ขณะที่ปริมาณสัตว์น้ำลดลงเรื่อยๆ

“เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งที่ว่าทรัพยากรเหล่านี้จะไม่มีวันหมดไป” รายงานระบุ

การศึกษาเผยว่า การทำประมงตามแนวปะการังจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด ซึ่งไม่เพียงกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำ แต่รวมถึงแนวปะการังซึ่งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนประเทศหมู่ เกาะแถบนี้ด้วย

งานวิจัยยังทำนายว่า จำนวนประชากรในประเทศหมู่เกาะจะเพิ่มขึ้น 15 ล้านคน หรือราวร้อยละ 50 ภายในปี 2035 ซึ่งจะทำให้ความต้องการบริโภคสัตว์น้ำมีมากขึ้น และเป็นอันตรายต่ออุตสาหกรรมประมงในระยะยาว

“แม้ระบบจัดการและพัฒนาด้านประมงจะก้าวหน้าไปพอสมควรแล้ว แต่อุตสาหกรรมประมงก็อาจล่มสลายลงในอีก 25 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้โอกาสในการพัฒนาสูญเสียไป หากไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม”

รายงานระบุว่า ปัญหาดังกล่าวอาจหลีกเลี่ยงได้ด้วยการจับสัตว์น้ำอย่างมีหลักเกณฑ์ และสร้างความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพยากรทางทะเลจะถูกเก็บเกี่ยวอย่างยั่งยืน และรัฐบาลนานาประเทศต้องมีความจริงใจ เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆอาจไม่เป็นนิยมในระยะสั้น

“เราจะต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และใช้ความพยายามอย่างสูงเพื่ออนาคต” รายงานกล่าว

“ความมั่งคั่งเกิดจากการบริหารที่ดี ไม่เช่นนั้นทุกอย่างก็จะสูญสลายไป”



http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,1368.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

151. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาโมง







"ปลาโมง” หรือ “ปลาเผาะ”เป็นปลาที่พบมากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นปลาที่นิยมนำมาบริโภคกันมาก เนื่องจากลักษณะปลามีก้างน้อยและไขมันต่ำ จุดเด่นที่สำคัญของปลาโมงคือมีเนื้อสีขาวรสชาติดี ทำให้ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเนื้อปลาแบบแช่เย็นและแช่แข็ง ซึ่งชาวยุโรปนิยมนำไปทำสเต๊กปลา จึงเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่จะพัฒนาการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปปลาโมงให้ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง แช่เย็นเป็นตลาดอาหารที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งแช่เย็น ที่ใช้วัตถุดิบจากเนื้อปลา ซึ่งเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี จากข้อได้เปรียบดังกล่าวทำให้กรมประมงได้ทำการศึกษาวิจัยและทดลองแปรรูปปลา โมง

เพื่อช่วยส่งเสริมอาชีพและเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงให้มีการเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ปลาโมงเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจส่ง ออกตัวใหม่ของไทยในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันผลผลิตปลาโมงตามธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงประมาณปีละ 327 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 19,601,010 บาท

คณะผู้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาโมง นำโดยนางสาวอรวรรณ คงพันธุ์ นางสาววัชรี คงรัตน์ นางสาวรัศมีพร จิระเดชประไพ และนายสรเมษ ชโลวัฒนะ จากกองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง ได้ให้รายละเอียดว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาโมงเป็นอาหารพร้อมบริโภค 2 ประเภทคือ ประเภทแช่เย็น ได้แก่ แฮมปลาโมงรมควันด้วยชานอ้อยและไม้บีช บรรจุในถุงพลาสติกในสภาวะสุญญากาศ และประเภทแช่เยือกแข็ง ได้แก่ เบอร์เกอร์ปลาโมงแบบใส่ชิ้นเนื้อปลาอบและใส่ชิ้นเนื้อปลารมควันบรรจุ โดยวางบนถาดโพลีสไตรีนใส่ในถุงไนลอน โพลีเอทธิลีน และข้าวพร้อมฉู่ฉี่ปลาโมงแบบใส่ชิ้นเนื้อปลานึ่ง และเนื้อปลาทอดบรรจุในกล่องกระดาษที่เคลือบด้านในด้วยพลาสติกโพลีเอทธิลีน

โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้ผ่านการ ทดสอบ และได้รับการยอมรับในระดับดี และได้มีการนำเสนอในเวทีการประกวดของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยผลปรากฏว่าได้รับรางวัลดีเด่น

ประเทศไทยมีโอกาสอย่างมากในการที่จะผลักดันปลาเผาะ ให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกของไทยอีกตัวหนึ่งเนื่องจากเป็นปลา ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีพื้นที่ในหลายจังหวัดของไทยที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาเผาะ ทั้งในกระชังและบ่อดิน ราคาของปลาเผาะที่ส่งออกจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท และหากส่งออกต่างประเทศ จะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ ประมาณ 400 บาท.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=99310

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,1324.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

152. มทร.อีสานฯ เพาะพันธุ์กบลูกผสมทำเงิน เพิ่มน้ำหนัก-ขนาด


มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ได้ทำการวิจัยการเพาะพันธุ์กบลูกผสมระหว่างกบนาผสมกับกบจาน ได้กบที่ค่อนข้างใหญ่ ผิวสวย เจริญเติบโตเร็ว ให้น้ำหนักมาก ขายได้ราคาดี เกษตรกรและองค์กร ต่าง ๆ นำไปส่งเสริมขยายผลสู่โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงสร้างเป็นแหล่ง โปรตีนและสร้างรายได้เข้าสู่ครัวเรือน

ผศ.ณรงค์ ผลวงศ์ รองอธิการบดี มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า คณะประมง นำโดย ผศ.ทองยุ่น ทองคลองไทร ได้จัดโครงการงานวิจัยการเพาะกบลูกผสม การปรับปรุงพันธุ์กบและการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและคุณค่าทางโภชนาการของกบ ในส่วนที่บริโภคได้ประสบความสำเร็จ โดยงานวิจัยได้ขยายผลไปสู่โครงการต่าง ๆ ในการพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายที่ผ่านการฝึกอบรมและได้นำไปปฏิบัติขยายผลไปสู่ หมู่บ้านตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยสายใยรักแห่งครอบครัว เลี้ยงง่าย โตเร็ว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ๆ ตลาด ท้องถิ่นต้องการสูง

ด้าน ผศ.ทองยุ่น ทองคลองไทร จากคณะประมง มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ กล่าวว่า พันธุ์กบที่นิยมเลี้ยงมี 3 พันธุ์ ได้แก่ กบนา กบจาน และ กบลูกผสม สำหรับ “กบนา” เป็นกบขนาดกลาง น้ำหนักเฉลี่ยประมาณตัวละ 200-250 กรัม ผิวหนังมีสีดำ สีดำปนน้ำตาล มีจุดแต้มสีดำเข้มทั่วตัวหรือเป็นแถบดำคาดเป็นตอน ๆ ที่ส่วนหลัง ท้องลาย คางลาย ด้าน “กบจาน กบเนื้อ หรือกบนาอีสาน” เป็น กบขนาดใหญ่ ตัวโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 300-350 กรัม ผิวหนังมีสีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม บางตัวมีลาย บางตัวไม่มีลายจุดน้ำตาลเข้มที่หลัง ท้องมีสีขาว คางขาว หรือท้องขาวคางลาย มีตุ่มหนามแผงมะเฟืองบนหลัง 14 แถว

ผศ.ทองยุ่น กล่าวว่า สำหรับ “กบลูกผสม” เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างกบนาผสมกับกบจาน เป็นกบที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ผิวสวย เจริญเติบโตเร็ว ให้น้ำหนักมากเมื่ออายุ 3 เดือน มีขนาดตัวเฉลี่ย 10.80 เซน ติเมตร ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย 21.59 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 182.35 กรัม ตัวผู้เกิดกล่องเสียงมองเห็นชัดเจนเมื่ออายุ 4 เดือน ขนาดตัวยาวเฉลี่ย 13-14 เซนติเมตร ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย 27-28 เซนติเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ย 190-200 กรัม หรือประมาณ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม ตัวเมียเมื่ออายุ 4 เดือน ความยาวเฉลี่ย 14-15 เซนติเมตร ขนาดยาวเหยียด เฉลี่ย 27-28 เซนติเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ย 280-300 กรัม หรือประมาณ 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม นิสัยเชื่อง ไม่ตกใจง่าย กระโดดไม่สูง กินอาหารไม่เปลือง มีอัตราการแลกเนื้อต่ำ ใช้เวลาเลี้ยง สั้นกว่ากบพ่อแม่พันธุ์แท้ มีความ แข็งแรงทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี กบ 3 เดือน มีอัตราการ รอดตายเฉลี่ย 90.85% และ อายุ 8 เดือน ใช้เพาะพันธุ์ได้ผลดี

ผศ.ทองยุ่น กล่าวอีกว่า เรามารู้เกี่ยวกับเรื่องกบกันคือ กบเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้อง หายใจได้หลายทาง ทั้งทางเหงือก ทางปอด และทางผิวหนัง เป็นสัตว์เลือดเย็นคืออุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่ได้เหมือนคนและสัตว์เลือดอุ่น มีระบบหมุนเวียนโลหิตแบบ วงจรปิดคือ เลือดไหลเวียนไปตามเส้นเลือด ไม่มีฟันล่างจึงไม่มีการเคี้ยวอาหาร กินอาหารด้วยการกลืนผ่านหลอดคอลงสู่กระเพาะอาหาร มีอวัยวะผลิตน้ำย่อยอาหารหลายต่อม เช่น ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ต่อมในกระเพาะ ต่อมในลำไส้เล็ก มีระบบสืบพันธุ์แบบแยกเพศ ผสมนอกตัวภายในน้ำ วางไข่แบบจมเกาะติด ไข่ผสมน้ำเชื้อเกิดการปฏิสนธิและฟักเป็นตัว ระยะแรกมีหางคล้ายปลา หายใจด้วยเหงือก อยู่ในน้ำตลอดเรียกว่า “ลูกอ๊อด” อายุ 18-21 วัน นับจากวันฟักออกจากไข่ จะเริ่มเกิดขาหลังอายุ 21-28 วัน จะเริ่มเกิดขาหน้า อายุ 28-35 วัน หางจะหดสั้นเข้าเรื่อย ๆ จนไม่มีหางกลายเป็นกลเล็กสมบูรณ์ เรียกว่า “กบ” อยู่ทั้งบนบกและใน น้ำหายใจทางปอดและผิวหนัง เคลื่อนที่ด้วยการกระโดด

ขณะที่ ผศ.ไพรัตน์ เลื่อนไธสงผู้ช่วยอธิการบดี มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำหรับบ่อเลี้ยงกบนิยมกันแพร่หลายทั่วไป ได้แก่ เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน และเลี้ยงในกระชัง ด้านการให้อาหารกบ ได้แก่

1. อาหารสำเร็จรูป ส่วนใหญ่เป็นอาหารอัดเม็ดชนิดลอยน้ำ จากบริษัทต่าง ๆ

2. อาหารผสม เป็นอาหารที่ผสมขึ้นเอง โดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่นเพื่อช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต โดยใช้สูตรอาหารผสมของทองยุ่น 2553 มทร. อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

3. อาหารเสริม เช่น อาหารเสริมเร่งไข่ อาหารเสริมเร่งโต อาหารเสริมเร่งไข่จะใช้ไข่ไก่ 2-4 ฟอง นมสดรสจืด 1 ถุง (250 ซีซี) และวิตามินอี 1-2 แคปซูล ผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้ง ไว้ประมาณ 10 นาที จึงนำไปให้พ่อ-แม่กบกิน ควรให้กินอย่างน้อย 7-14 วันช่วงหมดฤดูหนาวใหม่ ๆ เพื่อเร่งให้กบมีความอุดมสมบูรณ์และพร้อมที่จะเพาะพันธุ์หรือการให้ปลาซิว ปลาแก้ว เสริมเป็นบางครั้ง

4. อาหารสมทบ เช่น ใช้ไฟฟ้าล่อแมลง ช่วงกลางคืนให้กบกิน

5. อาหารทดแทน การใช้อาหารปลาดุกแทนอาหารกบใช้ปลาป่นแทนอาหารผง ใช้ไข่แดงต้มสุกหรือเนื้อปลาบดผสมรำอ่อนปั้นเป็นก้อนแทนอาหารผง

6.อาหารธรรมชาติ เช่น ไรแดง หนอนแดง ส่วน “โรคกบ” ที่พบบ่อย เช่น โรคขาแดง โรคท้องบวม โรคบาดแผลบนตัวกบ โรคตาอักเสบ ตามัว โรคนิ้วกุดและโรคผอมแห้ง ผู้ที่สนใจติดต่อสอบถาม โทร. 08-7945-7417 หรือ 0-4381-2923.




โอภาส มั่นคง

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentID=96290

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,1212.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

153. ปลาตะพากคืนถิ่นที่กำแพงเพชร











กรมประมงได้พยายามเพาะขยายพันธุ์ปลาตะพากมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี เนื่องจากปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ยาก สาเหตุเนื่องจากเป็นปลาตื่นตกใจง่าย จึงมีความบอบช้ำได้ง่าย และเกิดความเครียด ทำให้มีผลต่อการเพาะพันธุ์ สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง จึงได้นำเทคโนโลยีในเรื่องการจัดการพ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะสมมาใช้ผสมพันธุ์ จนสามารถเพาะพันธุ์ปลาตะพากได้สำเร็จในเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมาโดยได้ทำการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาตะพากจากแม่น้ำปิง นำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ระบบน้ำหมุนเวียน และในกระชัง เพื่อให้ปลาปรับตัว โดยให้อาหารที่มีโปรตีนสูงเสริมด้วยวิตามิน

นายวรัญยู ขุนเจริญ หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร ได้เปิดเผยต่อคณะสื่อมวลชนในโครงการสื่อมวลชนสัญจร ฟื้นฟูคลังปลาลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อชุมชน ที่เดินทางเข้าเยี่ยมชมงานในสถานีเมื่อวันก่อนว่า เริ่มต้นทางสถานีได้ทำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาตะพากที่มีน้ำเชื้อดีและ ไข่แก่มาเพาะพันธุ์ด้วยการฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ ซูปรีแฟก 10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม+ยาเสริมฤทธิ์ โมทีเลียม 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม

ฉีดทั้งปลาเพศผู้และปลาเพศเมีย เพื่อเร่งการวางไข่และเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อ แล้วปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์รัดกันเองในบ่อซีเมนต์ ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา อัตราการปล่อยเพศผู้ 2 ตัว ต่อปลาเพศเมีย 1 ตัว หลังจากนั้นประมาณ 6-8 ชั่วโมง แม่ปลา มีการวางไข่ ไข่ฟักออกเป็นตัวใช้เวลา ประมาณ 14 ชั่วโมง 30 นาที ที่อุณหภูมิน้ำ 29-31 องศาเซลเซียส จากนั้นเมื่อลูกปลาอายุประมาณ 2 วัน จึงนำไปอนุบาลต่อในตู้กระจกหรือบ่อดิน สำหรับการอนุบาลในตู้กระจก ในช่วง 7 วัน ให้โรติเฟอร์อย่างเดียว วันที่ 8-15 ให้โรติเฟอร์และไรแดงขนาดเล็ก วันที่ 16-30 ให้ไรแดงและอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กลอยน้ำโปรตีนไม่น้อยกว่า 42 เปอร์เซ็นต์ จะได้ลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร อัตรารอดประมาณ 40% ส่วน ในบ่อดินมีอัตรารอดประมาณ 10-20%

แนวทางในการพัฒนาปลาตะพาก หัวหน้าสถานีประ มงน้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร เปิด เผยว่า จะทำการ เพาะพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยนำลูกปลาตะพากปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อทดแทนปลาตะพากที่ปัจจุบันมี จำนวนลดน้อยลงมาก และเป็นการเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำธรรมชาติให้มากขึ้น อีกทั้งจากผลการเพาะพันธุ์พบว่าปลาตะพากสามารถเพาะพันธุ์ได้ 2 ครั้งในรอบปี โดยครั้งแรกในเดือนมีนาคม-มิถุนายน และครั้งที่สองในเดือนตุลาคม-ธันวาคม ขณะเดียวกันจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากปลาตะพากเป็นปลาที่ประชาชนนิยมบริโภค ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 1-2 ปี เพื่อผลิต ลูกปลาให้ได้จำนวนมาก และทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องการเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยอาศัย ข้อมูลจากการเจริญเติบโต ต้นทุนการผลิต และราคา จำหน่ายเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสถานีฯ กำลังทำการเก็บข้อมูลอยู่ แต่จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน พบว่าปลาตะพากที่เลี้ยงในกระชัง ขนาด 3x3x1.5 เมตร ปล่อยปลาขนาด 50 กรัม จำนวน 1,000 ตัว ต่อกระชังเลี้ยง 4 เดือน จะได้น้ำหนักประมาณ 150 กรัม

ในตลาดทั่วไปมีการจำหน่ายปลาตะพาก ขนาด 1-2 กิโลกรัม ที่ราคากิโลกรัมละ 60 บาท ซึ่งเป็นปลาที่จับมา จากแหล่งน้ำธรรมชาติ หากนำมาเลี้ยงในบ่อดินก็จะทำเงินให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญจะไม่เป็นการรบกวนปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติเช่นที่ผ่านมาและปัจจุบัน นี้ นอกจากนี้ ปลาตะพาก ยังสามารถจำหน่ายเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย.



kasettuathai@dailynews.co.th

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=90597

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,1064.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

154. เช้านี้ อิ่มอร่อยกับ "ปลาส้ม จากปลาทะเล ”


ของดีจากท้องทะเล! นักวิจัย มก. ผลิตปลาส้มจากปลาทะเล เนื้อแน่น กลิ่นเฉพาะตัวปลาทะเลแท้ 100% อุดมด้วยโปรตีนสูง เพิ่มทางเลือกใหม่แก่ผู้บริโภค

ปลาส้มเป็นอาหารหมักจากเนื้อปลา ซึ่งเป็นกระบวนการถนอมอาหารจากสัตว์น้ำจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยทั่วไปปลาส้มจะผลิตจากปลาน้ำจืด นักวิจัยได้นำปลาทะเลมาผลิตปลาส้มที่มีรสชาติ กลิ่นดี เนื้อสัมผัสแน่นและยืดหยุ่น ใกล้เคียงกับปลาส้มทางการค้าที่ผลิตจากปลาน้ำจืด

ปลาส้มจัดเป็นอาหารพื้นเมืองของไทยที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เนื่องจากเนื้อปลามีโปรตีนค่อนข้างสูง 10-12% การทำปลาส้มโดยทั่วไปมักนำเนื้อปลามาแล่เป็นชิ้น หรือปลาทั้งตัวมาหมักกับเกลือ ข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าสุก กระเทียม คุณลักษณะปลาส้มที่ดีต้องมีรสเปรี้ยว เนื้อสัมผัสแน่น และมีสีขาวถึงสีชมพูอ่อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของปลาที่นำมาเป็นวัตถุดิบ ส่วนประกอบอื่นๆ รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมก่อนการหมัก เช่น ผู้ผลิตบางรายอาจใช้ปลาทั้งตัวที่ผ่านการขอดเกล็ดและกำจัดเครื่องในออกแล้ว หรือบางรายอาจใช้เนื้อปลาแล่เป็นชิ้น การล้างและการแช่เนื้อปลาก่อนการหมัก เป็นต้น

ดร.ศิริพร เรียบร้อย อาจารย์ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดเผยว่า โดยทั่วไปปลาส้มจะทำจากปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ ปลาช่อน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาทะเลก็สามารถนำมาทำปลาส้มได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้ปลาทะเลจะมีปัญหากลิ่นคาวและมักไม่ประสบความสำเร็จในการหมัก

"จากการศึกษาทดลองนำปลาทราย แดงแล่ชิ้น ซึ่งเป็นปลาทะเลมาผลิตปลาส้ม พบว่าปลาส้มจากปลาทรายแดงมีรสชาติดี กลิ่นรสดี เนื้อสัมผัสแน่นและยืดหยุ่น และได้รับการยอมรับว่าใกล้เคียงกับปลาส้มทางการค้าที่ผลิตจากปลาน้ำจืด นอกจากนี้ การนำปลาทะเลมาผลิตเป็นปลาส้มอาจลดปัญหาเกี่ยวกับพยาธิที่มักพบในปลาน้ำจืด ได้อีกทางหนึ่ง จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ชอบรับประทานอาหารหมักอีกด้วย"

การหมักปลาส้มเป็นการหมักที่อาศัยการเจริญของจุลินทรีย์กลุ่มแล็กติก แอซิดแบคทีเรีย ในระหว่างการหมักจุลินทรีย์เหล่านี้จะสร้างกรดแล็กติกได้จากคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวสุกและกระเทียม ทำให้ความเป็นกรดของปลาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีค่าความเป็นกรด หรือค่าพีเอชเท่ากับ หรือน้อยกว่า 4.6 กรดเหล่านี้มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย และจุลินทรีย์ก่อโรคและทำให้ปลาส้มมีรสเปรี้ยว การเติมเกลือและบรรจุปลาส้มในสภาวะที่มีอากาศเพียงเล็กน้อยหรือไร้อากาศ ทำให้แล็กติกแอซิดแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ

นอกจากนี้ การลดลงของค่าพีเอชยังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนจากกล้ามเนื้อปลา เช่น การจับตัวกันของโปรตีนกล้ามเนื้อ ความสามารถในการอุ้มน้ำ เป็นต้น ทำให้เนื้อปลามีความแน่นเนื้อเพิ่มขึ้น คงรูปได้มากขึ้น การหมักปลายังมีผลทำให้เกิดการย่อยของอาหารต่างๆ เช่น โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต โดยกิจกรรมของเอนไซม์จากจุลินทรีย์และเนื้อปลา ทำให้สารอาหารมีขนาดโมเลกุลเล็กลง ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย รวมทั้งการเกิดเนื้อสัมผัส กลิ่น รสเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดใจของผู้บริโภค

ปลาส้มมักนิยมรับประทานแบบปรุงสุก เช่น การทอด การนึ่ง เป็นต้น ปัจจุบันปลาส้มอาจจัดเป็นกับข้าวรับประทานร่วมกับอาหารมื้อหลักหรืออาหารว่าง อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารหมักจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย เช่น การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ซึ่งอาจจะมาจากกระบวนการหมักที่ควบคุมความสะอาดและสภาวะที่ไม่ถูกต้อง การเก็บรักษาระหว่างรอจำหน่าย หากเกิดปนเปื้อนของจุลินทรีย์ดังกล่าวอาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ใช้สำหรับ การหมักอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมคุณภาพและความสม่ำเสมอของปลาส้มที่ผ่านการหมักแล้ว ทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยและมั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหารหมักเพิ่มขึ้น

** ผู้สนใจจะผลิตปลาส้มจากปลาทะเลสามารถติดต่อได้ที่ ดร.ศิริพร เรียบร้อย ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-2579-5514 ต่อ 1309 หรือ 1312 หรือ โทร.08-4858-0879 ได้ในวันและเวลาราชการ




http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000121771

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,1011.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

155. เล็งไทยเป็นต้นแบบแห่งเอเชีย ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ผลิตกุ้งก้ามกราม


กรมประมงประสบ ความสำเร็จในการศึกษา วิจัยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้เพื่อการเพาะเลี้ยง หนึ่งในผลงานภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างไทย - อิสราเอล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตั้งเป้า พัฒนาสู่การเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ และขยายความรู้สู่ภูมิภาคเอเชีย

ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า โครงการวิจัย “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้เพื่อการเพาะเลี้ยง”เป็น โครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและอิสราเอล โดยการสนับสนุนจากกองทุน U.S. Agency For International Deverlopment (USAID) ภายใต้โครงการ U.S. Israel Cooperative Development Research Program (CDR) โดยโครงการดังกล่าวจะทำการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตกุ้งก้าม กรามเพศผู้เพื่อการเพาะเลี้ยง ซึ่งพัฒนางานวิจัยในรูปแบบโครงการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในทวีปเอเชีย ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 3 ปี

จากการรายงานผลการวิจัยในส่วนของประเทศไทยล่าสุดพบว่า การเลี้ยงกุ้งแบบเพศผู้ล้วนให้การเจริญเติบโต ผลผลิต และอัตราการรอดตายสูงกว่าการเลี้ยงแบบเพศรวม ทำให้กรมฯ มองเห็นโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพการผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อขยายผลการเพาะเลี้ยง เชิงพาณิชย์สู่เกษตรกรในอนาคต

ดร. สุภัทรา อุไรวรรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กล่าวสรุปถึงผลการศึกษาวิจัยของกรมประมงว่า ในระยะแรกได้เริ่มดำเนินการทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามกราม 4 แบบ คือ

1. แบบรวมเพศ
2. แบบเพศผู้ล้วน
3. แบบเพศผู้ล้วนและคัดขนาดโตเกิน 50 กรัมออกทุกๆ เดือน และ
4. แบบเพศผู้ล้วนซึ่งมีการคัดขนาดโตเกิน 50 กรัม ออกทุกๆ เดือน และดึงก้ามที่มีขนาดใหญ่ของตัวที่เหลือออก

โดยนำไปทดลองเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาด 1,200 ตารางเมตร ที่ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำ อุตรดิตถ์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองปรากฎว่า การเลี้ยงกุ้งแบบเฉพาะเพศผู้จะได้กุ้งที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่าการ เลี้ยงแบบรวมเพศ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกุ้งที่เลี้ยงเพศผู้แบบคัดตัวโตออก และไม่คัดตัวโตออก พบว่าในชุดการทดลองที่คัดตัวโตออก จะได้กุ้งที่มีน้ำหนักมากกว่าแบบที่ไม่คัดตัวโตออก

จากนั้นจึงทำการทดลองเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการรอดตายของกุ้ง ก้ามกรามที่เลี้ยงแบบรวมเพศ และเฉพาะเพศผู้ล้วนในฟาร์มของเกษตรกรที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นระยะเวลาอีก 4 เดือน

ผลปรากฏว่า การเลี้ยงแบบเพศผู้ล้วนให้การเจริญเติบโต ผลผลิต และการรอดตายดีกว่าการเลี้ยงแบบรวมเพศ จึงทำให้เกิดการต่อยอดการผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ล้วนโดยวิธีแปลงเพศ หรือ Andrectomy ด้วยการผลิตกุ้งเพศผู้ที่มีไข่ หรือ Neo-female โดยกำจัดต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนเพศผู้ออกจากลูกกุ้งเพศผู้ เพื่อเปลี่ยนเพศให้เป็นกุ้งตัวเมียและสามารถวางไข่ได้ แล้วนำมาผสมกับกุ้งเพศผู้ปกติ ทำการตรวจลูกกุ้งที่ได้หากเป็นเพศผู้ทั้งหมด แม่กุ้งคือกุ้ง Neo-female ต่อจากนั้น นำกุ้ง Neo-female ผลิตลูกกุ้งเพศผู้ล้วนและนำลูกกุ้งที่ได้ไปกำจัดต่อมไร้ท่อ เพื่อให้ได้กุ้ง Neo-female เป็นจำนวนมาก และผลิตลูกกุ้งเพศผู้ทั้งหมดเพื่อนำไปเลี้ยงต่อไป

ดร.จิราวรรณ กล่าวในตอนท้ายว่า ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นผลดีต่อวงการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เนื่องจากจะได้วิธีการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตกุ้งก้ามกราม อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดมากขึ้น และยังเป็นการพัฒนาบุคลากรนักวิชาการด้านการประมงของประเทศไทยและประเทศใน ภูมิภาคให้มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านเทคโนโลยีชีวภาพมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญเกษตรกรในประเทศไทยจะสามารถเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ได้ผลผลิตที่สูง ขึ้น โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากนักวิชาการที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ จากการทำงานวิจัยในครั้งนี้อีกด้วย




http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9530000113996&Keyword=%bb%c3%d0%c1%a7

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,927.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 5 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©