-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นศ.สจล.ฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นศ.สจล.ฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นศ.สจล.ฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 06/05/2011 4:59 pm    ชื่อกระทู้: 6-04-54 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ห่อผลฝรั่งแป้นสีทอง.....



1. ครบทีม เอ้า...พวกเรา รุมกันเลย เอ้ย ลุยกันเลย




2. ขั้นตอนแรกของการห่อผลฝรั่งแป้นสีทอง ต้องฉีดน้ำสมุนไพร ทำความสะอาดผลก่อน ระหว่างนั้นก็แกะเอา
กลีบเลี้ยงที่อยู่บริเวณก้นผลออกด้วย เพราะส่วนนั้นคือแหล่งสะสมของแมลงศัตรูพืชจำพวก เพลี้ย มด เป็นต้น




3. ขั้นตอนที่ 2 ห่อด้วยถุงพลาสติก ถุงพลาสติกต้องเจาะรูเพื่อระบายน้ำและอากาศด้วย การห่อถุงพลาสติก
เพื่อป้องกันแมลงศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวร้ายอย่าง"แมลงวันทอง"



4. โบ๊ท.ขออาบน้ำผลด้วยคนครับ




5. ขั้นตอนที่ 3 ห่อทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อป้องกันแสงแดด ทำให้ผิวฝรั่งสวยเสมอกัน ขายได้ราคาดี




6. ผลสำเร็จจากการห่อก็จะมีหน้าตาประมาณนี้แหละค่ะ การห่อจะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นอยู่กับความถนัดและ
ประสบการณ์ของคนห่อเอง





7. ต้นนี้ผลงานของมือใหม่หัดห่อค่ะ




8. ขวดนี้คือน้ำสมุนไพรป้องกันและกำจัดแมลง สูตรของเราทำเองค่ะ ประหยัดต้นทุนได้อีกเยอะ


เสริม :
- ไม้ผลขณะอยู่บนต้นอย่าง ฝรั่ง. ชมพู่. กระท้อน. พุทรา. มะเฟือง. ถ้าไม่ห่อผลละก็ อย่าหวังว่าจะได้กินแลย เพราะนอกจากแมลง
วันทองแล้ว คุณภาพเนื้อจะไม่ดี (แข็ง กระด้าง) แล้ว ขนาดผลก็จะๆไม่โตด้วย

- ห่อผลฝรั่ง ครั้งแรกเมื่อขนาดผลประมาณเท่ามะนาว ห่อครั้งที่ 2 เมื่อผลโตได้ราว 50% และห่อครั้งที่ 3 เมื่อก่อนเก็บประมาณ 7 วัน
ทุกครั้งที่ห่อต้องทำความสะอาดผิว แล้วฉีดพ่นสารสมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อราแมลง และหนอนทุกครั้ง ทำแบบนี้ได้ รับรองคุณภาพทั้ง
ผิวและเนื้อจะดีมากๆ

- การห่อแบบประณีต ต้องห่อแบบ 3 ชั้น โดยห่อชั้นในด้วย "ผ้ายืด" ก่อน แล้วห่อซ้อนด้วยถุงพลาสติก จากนั้นจึงห่อด้วยกระดาษ แล้วก็
ต้องทำซ้ำ 3 รอบ เหมือนห่อปกติด้วย นั่นแหละสุดยอดฝรั่งชาววัง..........

- บำรุงฝรั่งทางใบด้วย "ยูเรก้า 4:1:2" กับให้ทางรากด้วย 3:1:2 จะให้ได้ไซส์ผลขนาด 1.5-1.8 กก. ขนาดผลใหญ่มากแต่คุณภาพ
เนื้อไม่ดี เนื้อหยาบ เปลือกแข็ง เพราะฉนั้นจึงควรบำรุงทางใบด้วย "ยูเรก้า 3:1:2" ตามปกติ แล้วก็ไม่ต้องให้ทางรากด้วย แบบนี้ดีเท่ากับ
ประหยัด.......................................(ลุงคิม)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 07/05/2011 8:30 pm    ชื่อกระทู้: 7-05-54 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว (เร่งหวานมะม่วง) ....



1. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว สูตรเร่งหวานด้วย 0-21-74 + Ca.B + ธาตุรอง-ธาตุเสริม หรือจะเติมกลูโคส
เข้าไปด้วยเพื่อเป็นน้ำตาลทางด่วนก็ได้ค่ะ ผสมกันใส่ถังฉีด ได้ที่ทีมที่ 1 พร้อม




2. ประเภทเดี่ยวก็มีนะครับ ส่งเข้าแข่งขันโดย อัลกออิดะห์ ต้น.....สู้ ๆ




3. ทีมนี้ก็พร้อมแล้วค่ะ สบายอยู่แล้ว




4. เอ้าเปลี่ยนทีม ว่าแต่ทีมนี้มันดูแปลก ๆ นะเนี่ย



5. น้องอ๋อมแอ๋ม ส่งเข้าแข่งขันโดย กลุ่มแม่บ้านบ้านโคกสง่า อ๋อมแอ๋มก็ไม่ยอม
หรอกค่ะ สู้ตายอยู่แล้ว เอ้า หวาน ๆ เข้านะจ๊ะน้องมะม่วง หวานให้ได้ครึ่งหนึ่งของ
คนฉีดก็พอ เดี๋ยวหวานเลี่ยนเกินนะจ๊ะ




6. น้องบ๋อมแบ๋ม ส่งเข้าแข่งขันโดย ดอยตะหลุ่มตุ่โป๊ะ (มาไกลนะเนี่ย)
ใครล่ะจะสู้บ๋อมแบ๋มได้ ถอนตัวซะยังทันนะคะ



7. น้องกันดั้ม ส่งเข้าแข่งขันโดย สมาคมควายไทย (ฟังจากชื่อผู้ส่งเข้าแข่งขันแล้วกินขาดเลยทีเดียว
ผู้เข้าแข่งขันคงถึกน่าดู) หน็อยแน่ะ เริ่มจากจัดการโฆษกก่อนเลยดีมั้ย

ผลสุดท้ายของการแข่งขันก็กินกันไม่ลง เพราะเราทุกคนเป็นเพื่อนกันถึงจะมาจากต่างที่ต่างแดนก็เถอะ
แต่ตอนนี้เรามีหัวใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยการหล่อหลอมจากไร่กล้อมแกล้ม และลุงคิมที่รัก จะชนะ
อะไรตอนนี้ก็คงไม่สำคัญ เท่ากับการขอชนะใจคุณลุงคิมนะคะ Very Happy



เสริม :
มะม่วงชุดนี้ กะว่าจะเก็บในอีก 20 วันข้างหน้า เพราะจากสุ่มเก็บผลบางส่วนมาดูเห็นว่าแก่จัดแล้ว แต่เนื่องจากช่วง 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา
มีฝนตกตลอด เกรงคุณภาพจะไม่ดีพอ เพราะต้นได้รับ N. จากฝนมาก จึงจำเป็นต้องให้ปุ๋ยสูตร "เร่งหวาน" สัก 2 รอบ ห่างกันรอบละ
5-7 วัน แล้วเก็บเกี่ยวหลังให้รอบสุดท้าย 5-7 วัน

รุ่นปีก่อนๆที่ผ่านมา ผลไม้ทุกตัวที่ไร่กล้อมแกล้มไม่มีการให้ปุ๋ยทางบใบสูตร "เร่งหวาน" แม้แต่ครั้งเดียว แต่ก็อร่อย หวาน รสจัดจ้าน
ได้ นั่นเป็นผลจากการบำรุงด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีฝนเข้ามาเป็นตัวแปรนั่นเอง

ปกติการให้ปุ๋ยสูตร "เร่งหวาน" ทางใบนั้น จะต้องงดให้น้ำทางรากอย่างเด็ดขาด แต่เนื่องจากช่วงนี้เป็นหน้าฝน เพื่อเป็นการประกันความ
แน่นอนในการให้ปุ๋ยสูตร "เร่งหาน" จำเป็นต้องมีแผน 2 รองรับ นั่นคือ ระหว่าง 5-7 วัน หลังจากให้ทางใบไปแล้วมีฝนตกลงมา จะต้อง
ให้ทางใบซ้ำทันทีในวันนั้นหลังใบแห้ง หรืออย่างช้าก็วันรุ่งขึ้น แล้วเว้นไปอีก 5-7 วัน จึงให้รอบต่อไป

สภาพอากาศ (ฝน) แบบนี้ ไม่แน่ว่าจะต้องบำรุงด้วยสูตร "เร่งหวาน" 2 รอบ ก็พอ อาจจะต้องบำรุง 3-4 รอบก็ได้ ต้องดูฝนเป็นตัวแปร

กรณีปุ๋ย "เร่งหวาน" ทางราก ซึ่งปกติควรให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 นั้น คราวนี้ไม่ให้ เพราะสภาพโครงสร้างดิน (ทราย-เหนียว
จัด) มี P. & K. มากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว กอร์ปกับประวัติที่ผลไม้ทุกตัวก็หวานจัดได้ทั้งๆที่ไม่ได้ให้ปุ๋ย "เร่งหวาน" ทั้งทางใบ-ทางราก กับ
ตัวอย่างที่ "คุณมงคล" เอาเขียวใหญ่ที่เร่งหวานทั้งทางใบและทางรากไปชิม แล้วบอกว่าหวานจัดจนแสบคอ ก็พอจะเป้นเหตุผลยืนยัน
ได้...................................(ลุงคิม)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/05/2011 10:00 pm    ชื่อกระทู้: [size=24][b]ลดรายจ่าย เพิ่มรายได ขยายโอกาศ ของมันสำปะหลัง[/b ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มันสำปะหลัง


ดิน
สิ่งสำคัญที่ผู้ปลูกพืชควรรู้และเข้าใจ ในพื้นที่ที่ตนมีอยู่ มีสภาพดินเป็นแบบไหน เหมาะสมกับพืชชนิดใด หรือคิดอีกแบบ เราต้องการ
ปลูกพืชอะไร ก็หาเลือกซื้อพื้นที่ ที่มีความเหมาะสม จะเป็นการดีต่อผลิตผล ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ จะเพิ่มสูงขึ้น

ในมันสำปะหลัง ดินที่มีความเหมาะสมเป็นดินที่มีความร่วนซุย เพราะมันสำปะหลังเป็นพืชลงหัว เช่น ดินทรายร่วน ดินทรายเหนียว
ดินร่วนเหนียว

แต่ในสถานการปัจจุบัน เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังแบบทิ้งขว้าง ไร้การดูแล จึงเกิดปัญหา ดินเสื่อมโทรม ดินเป็นทรายจัด ดินแน่น
ไม่มีอินทรียวัตถุ เกิดชั้นดินดาน ส่งผลให้ต้นมันสำปะหลังอ่อนแอ โรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ผลผลิตลดลงอย่างมาก

หากจะแก้ปัญหาคงต้องเริ่มที่ตัวเกษตรกรเอง ปรับความคิดใหม่ เตรียมตัวพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง สร้างนิสัยความประณีต ในการ
ทำการเกษตรทุกขั้นตอน อย่างละเอียดรอบคอบ

เริ่มกันตั้งแต่ดิน ดินที่เปิดป่าใหม่มักไม่พบปัญหากวนใจให้ต้องแก้ไขมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินยังมีอยู่มาก
ในกรณีที่พื้นที่มีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้รับการปรับปรุงบำรุงดินเลย ปัญหาที่พบก็สาหัสอยู่ไม่น้อย แต่สามารถแก้ไขได้ไม่
อยากอย่างที่คิด โดยปัญหาแรกที่ควรมองนั้นคือ ชั้นดินดาน เป็นปัญหาที่ใหญ่พอสมควรและต้องแก้โดยด่วนหากมีการตรวจพบ

สาเหตุของชั้นดินดาน เกิดจากการกดทับของวัตถุที่มีน้ำหนักมากบนพื้นดิน ยิ่งน้ำหนักมากเท่าไหร่ ใช้เวลานานเท่าไหร่ ความแข็ง
ความหนา ก็จะมากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรกลการเกษตรไม่ว่าจะเป็น รถไถ รถเกี่ยว รถบรรทุกเป็นต้น
ส่งผลให้ระบบรากของมันสำปะหลังมีประสิทธิภาพลดต่ำลง รากไม่สามารถชอนไชทะลุชั้นดินดานได้ หาอาหารได้น้อย หัวมันมีขนาดเล็ก
จำนวนน้อยหัว คุณภาพแป้งต่ำ ได้น้ำหนักน้อย ต้นเหลืองโทรมและตายในที่สุด หากมีฝนตกปริมาณมาก น้ำซึมผ่านชั้นดินดานได้ช้า
จะเกิดน้ำขังรากหรือหัวมันที่ถูกแช่น้ำ ทำให้เน่า และตายในที่สุดเช่นกัน

การแก้ไข เมื่อพบชั้นดินดาน ใช้รถไถระเบิดดินดาน ตามความลึกที่ตรวจพบ ซึ่งต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้น แต่แลกมาซึ่ง ผลตอบแทนที่มีค่า
มาก เกษตรกรหลายราย ยอมที่จะเผชิญกับดินดาน เพราะกลัวการสูญเสียต้นทุนที่สูงขึ้น และหรือ ไม่มีความสนใจในพื้นที่ทำกินของตน
ไม่รู้ว่าเกิดชั้นดินดานขึ้น สันนิษฐานไปต่างๆนาๆ ที่พืชเน่าเสียล้มตาย ผลผลิตต่ำ เกิดจากขาดปุ๋ยนั้นปุ๋ยนี้ เพราะเป็นโรค โดนศัตรูพืชเข้า
ทำลาย หรือโทษแม้กระทั่ง เทวดาฟ้าดิน

หลังจากไถระเบิดดินดานแล้ว ไถดะด้วยผาล 3 กลับหน้าดิน ตากดินไว้ 15 วัน เมื่อตากแดดครบวัน ใช้ยิปซัมโรยให้ทั่วพื้นที่ ใน
ยิปซัมมี แคลเซียม ที่เป็นประโยชน์ในด้านคุณภาพของผลผลิต และจับตัวกับอนุภาคของดิน ขั้นกลางระหว่างดินกับดินไว้ ดินจึงมี
ความร่วนซุย แล้วโรยตามด้วย ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช มูลวัว มูลไก่ หรือขี้มันสำปะหลัง โดยสิ่งเหล่านี้เป็นอินทรียวัตถุ ทำให้ดินร่วน
ซุย เติมสารอาหารให้แก่ดิน โดยที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป

แต่การที่พืชจะนำไปใช้ได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลาย ให้เป็นโมเลกุลเดี่ยว ด้วย จุลินทรีย์ในดิน ในแต่ละพื้นที่ จะมีจุลินทรีย์
ประจำถิ่นอยู่แล้ว ซึ่งมีความแข็งแรงตายยาก แต่บางครั้งจุลินทรีย์ในท้องถิ่น มีปริมาณน้อยเกินไป การย่อยสลายเป็นไปได้ช้า ควรเพิ่ม
จุลินทรีย์ให้มากขึ้น โดยนำจุลินทรีย์ มาเลี้ยง เช่นจุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์ใช้สารรสหวานเป็นแหล่งพลังงาน สารรสหวานที่มีราคาถูก
หาได้ง่ายที่สุด คือ กากน้ำตาล นำจุลินทรีย์ที่เลี้ยงไปเติมให้ดิน และหรือ เติมกากน้ำตาล บนพื้นที่เพราะปลูก เพื่อให้แหล่งพลังงานกับ
จุลินทรีย์ท้องถิ่น จะมีการเพิ่มจำนวนเองตามธรรมชาติ และอาจจะมีการใช้ปุ๋ยเคมีรองพื้นร่วมด้วย แล้วทำการไถย่อยดินพร้อมกับกลับอินทรีย์
วัตถุที่เติมลงไปด้วย

หากยังไม่มีความมั่นใจเพียงพอในสภาพดิน หลังจากระเบิดดินดานแล้ว หว่านพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการตรึง ไนโตรเจน ให้
ทั่วพื้นที่ เช่น ถั่วพล้า ปอเทือง ถั่วเขียว ขอแนะนำใช้ถั่วเขียว หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก โตไว แต่คงต้องมีการดูแลให้น้ำบ้าง เมื่อออก
ดอกแล้วให้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ในช่วงออกดอก พืชจะมีปริมาณสารอาหารสูงสุด แล้วดำเนินการต่อ ดังที่กล่าวข้างต้น

เมื่อไถย่อยดินปรับหน้าดินเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป ทำการยกร่อง ให้สูงงประมาณ 1 ฟุต ระยะแถวห่างกัน 1.2 เมตร ระยะห่าง
ระหว่างต้น 80 ซม. ระยะนี้นับว่าเป็นยะที่มีความเหมาะสมที่สุดในการปลูกมันสำปะหลัง ให้ผลผลิตสูง สามารถใช้รถไถเดินตามทำรุ่น
หญ้าระหว่างแถวได้

สำหรับในเรื่องของระยะการปลูกมันสำปะหลัง เกษตรกร มักปลูกในระยะชิด เน้นที่ปริมาณ แต่ไร้ซึ่งคุณภาพ เมื่อเทียบกับการปลูกในระยะ
ที่เหมาะสม รากสามารถยืดได้ยาวและกว้างหัว มันจึงยาวและใหญ่ ต่างจากระยะชิด ที่หัวสั้นเนื่องจากเมื่อรากมันสำปะหลังมาชนกัน รากจะ
หยุดการยืดยาว รากมีพื้นที่หาน้ำและอาหารน้อย การสะสมแป้งในหัวน้อยตามไปด้วย ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ ปริมาณแป้ง น้ำหนักสดต่ำ



น้ำ
เกษตรบางราย มักคิดว่ามันสำปะหลังเป็นพืชไร่ไม่ต้องการน้ำ ปล่อยให้ได้น้ำตามธรรมชาติ ถ้าให้น้ำไปจะทำให้หัวเน่า

พืชทุกชนิดบนโลก ต้องการน้ำ แตกต่างกันที่ ปริมาณ จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ชนิดพืช และในพืชแต่ละชนิด ก็มีระยะการเจริญเติบโตที่แตก
ต่างกันไป แต่ละระยะก็มีความต้องการน้ำที่แตกต่างกันไปด้วย มันสำปะหลัง ก็เช่นเดียวกัน แต่กว่าจะคิดถึงเรื่องนี้ ต้องคิดก่อนว่า จะหาน้ำมา
จากไหน ในบางพื้นที่ไม่มีน้ำ ย้อมเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่

การแก้ไขเรื่องนี้ มีให้เลือกไม่มาก ขุดบ่อบาดาล แล้วทำบ่อน้ำไว้กลางแปลง ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้น แต่แลกกับความคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มา
เมื่อมีน้ำแล้ว การกำหนดการให้น้ำก็ไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งมีทางเลือกให้ว่าจะให้น้ำแบบไหน โดยมันสำปะหลังส่วนมากมีการให้น้ำอยู่ 2
แบบ คือ สปริงเกอร์ และระบบน้ำหยด ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบการให้น้ำมันสำปะหลัง คือ ปริมาณน้ำ ดิน ภูมิประเทศ


เมื่อระบบการให้น้ำเรียบร้อยแล้ว ต้องทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของมันสำปะหลัง แบ่งระยะการเจริญเติมโตของมันสำปะหลังเป็น 4 ระยะ
1.ระยะท่อนพันธ์งอก
2.ระยะพัฒนาทรงพุ่ม
3.ระยะลงหัว
4.และระยะก่อนเก็บเกี่ยว

ความต้องการน้ำของมันสำปะหลัง ในช่วงเริ่มปลูก จนถึงระยะพัฒนาทรงพุ่ม ต้องการมาก เพื่อนำมาใช้ใน การพัฒนา ต้นและใบ ในช่วงนี้ของ
มันสำปะหลังจึงไม่ควรขาดน้ำ เพราะจะทำให้มันสำปะหลัง ชะงักการเจริญเติมโต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการ สังเคราะห์แสง การสร้างอาหาร
สร้างแป้ง ลดต่ำลง แป้งก็จะถูกส่งไปเก็บไว้ยังหัวน้องลง สงต่อถึงผลผลิตที่ลดต่ำลงด้วย

ดังนั้น ควรมีการให้น้ำอย่างเต็มที่ตามความต้องการของมันสำปะหลัง ซึงสามารถหาข้อมูลได้จากงานวิจัยต่างๆ แต่จะมีเกษตรกี่รายที่มีความคิด
ที่จะศึกษาหาความรู้ทางด้านวิชาการ ทั้งๆที่พืชที่ปลูกเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ให้ จนถึงปัจจุบันนี้มีงานวิจัยเรื่องมันสำปะหลังมากมาย แต่งานวิจัยเหล่า
นั้นไม่ถูกสนับสนุน ให้มีการเผยแพร่ เกษตรกรจึงไม่ได้รับข้องมูลใหม่ๆ ดั้งนั้นตัวเกษตรกรเองที่ต้องเป็นคนก้าวเข้าหา

เมื่อถึงระยะลงหัวต้องลดปริมาณน้ำลง เพื่อป้องกันหัวมันเน่า และเกิดอาการบ้าใบ ที่ทำให้ปริมาณหัวน้อย หัวเล็ก คุณภาพแป้งที่ลดต่ำลง แต่
เกษตรกรบางรายไม่ไห้น้ำเลย จนทำให้มันสำปะหลังเกิดอาการขาดน้ำ ใบเหลือและร่วง การสะสมแป้งก็ถูชะงักลง ผลผลิตที่ได้ต่ำลง เมื่อ
ถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวควรงดน้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำในหัว เป็นการเปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้น ในระหว่างการงดน้ำ หากในระยะนี้มันสำปะหลังได้รับน้ำ
สม่ำเสมอ มันสำปะหลังจะมีการสร้างต้นสร้างใบ โดยใช้สารอาหารที่เก็บสะสมอยู่ในหัวมาใช้ ทำให้แป้งที่สะสมอยู่ในหัว ถูกดึงมาใช้ ปริมาณ
แป้ง น้ำหนัก ขนาดหัวลดลง



แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล
พืชไร่มีความทนทางต่อความแห้งแล้งสูง ต้องการแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน มันสำประหลังก็เช่นกัน จึงต้องปลูกในที่โล่งแจ้ง

อุณหภูมิที่เหมาะสมกับมันสำปะหลัง คือ อบอุ่นถึงร้อน ประเทศไทยอยู่ในเขตอบอุ่นชื้น จึงเหมาะสมที่จะปลูกมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ในทุกฤดูกาล
แต่ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความเหมาะสมที่สุด ประมาณเดือน พฤษภาคม และจะไปเก็บผลผลิตในช่วง มีนาคม-เมษายน พอดี ซึ่งเป็นช่วงที่มัน
สำปะหลังมีราคาสูง

แต่ควรมีการเตรียมดินก่อนฝน เพราะดินเปียก มีน้ำขัง การเตรียมดินเป็นไปได้ยาก



สารอาหาร
พืชทุกชนิดล้วนต้องการอาหาร ที่เรารู้และเข้าใจกันดีจะอยู่ในรูปของปุ๋ย ในดินมีสารอาหารสำหรับพืชอยู่แล้ว แต่นั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ
เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น คุณภาพดีขึ้น การให้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับระยะต่างๆของพืช สำหรับมันสำปะหลังก็เช่นกัน ในช่วง 2 เดือน แรกของการเจริญ
เติบโต เป็นช่วงของกาพัฒนา ราก ลำต้น ใบ ควรให้ปุ๋ยตัวหน้าสูง ตัวกลางตัวท้ายต่ำ แต่ควรมีครบทั้ง สาม ตัว(N-P-K)

ใส่ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยประมาณ เพิ่มลด ตามสภาพทางกายภาพของพืช เข้าเดือนที่ 3 เป็นระยะลงหัว ในช่วงนี้ ควรให้ตัวท้ายสูง
และ Zn ที่ใช้ในการสร้างแป้ง Mg สร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้ใบเขียวดกดำ กระบวนการสร้างอาหาร(แป้ง)มากขึ้น การสะสมแป้งที่หัวย่อมมาก
ขึ้นตามไปด้วย Ca.B. สร้างคุณภาพให้กับผลผลิต เนื้อในหัว สีขาวนวล เนื้อแป้งมีคุณภาพ


สายพันธ์
การเลือกใช้ท่อนพันธุ์ ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรค จากพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของโรค อายุท่อนพันธุ์ควรอยู่ในช่วง 8-12 เดือน ตาถี่
จำนวนตามาก ตามีความสมบูรณ์ เท่าๆกัน โดยหลังจากตัดต้นมันแล้ว นำต้นมันที่จะใช้เป็นท่อนพันธุ์ มัดรวมกันตั้งขึ้นให้ตาหงายขึ้น ตั้งไว้ในที่ร่ม
สามารถเก็บไว้ได้เป็นเดือน แต่ไม่ควรเกิน 15 วัน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลง และก่อนลงปลูก ควรแช่สารเพื่อกำจัดเชื่อโรค
ที่ติดมากับท่อนพันธุ์ และเร่งราก แช่ประมาณ 5 นาที แล้วนำไปผึ่งลมในที่ร่มจนแห่ง แล้วจึงนำไปปลูก

พันธุ์มันสำปะหลังแบ่งเป็น 2 ชนิด
1. ชนิดหวาน ได้แก้พันธุ์ มันห้านาที ระยอง 2 สามารถนำมารับประทานได้ทันที เนื่องจากมีกรดไฮโดรไซยานิกต่ำ

2. ชนิดขม ตัวอย่างเช่น ระยอง 1, ระยอง 3, ระยอง 5, ระยอง 7, ระยอง 9, ระยอง 11, ระยอง 60, ระยอง 72, ระยอง 90,
เกษตรสาสตร์ 50, ห้วยบง 60, ห้วยบง 80, เป็นต้น มีกรดไฮโดรไซยานิกสูง รับประทานไม่ได้ ถ้านำไปตากแห้งหรือต้ม จะลดกรดไฮโดร
ไซยานิกอยู่ในระดับที่สัตว์สามารถรับประทานได้

มันสำปะหลังมีอยู่หลายสายพันธุ์ มีการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ การเลือกสายพันธุ์ที่ดีย่อมสงผลถึงอนาคตที่ดี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสายพันธุ์ คือดิน ตัวอย่างเช่น

พันธุ์ที่เหมาะกับดินร่วนเหนียว ระยอง 5, ระยอง 72, ระยอง 7
ดินทรายร่วน ระยอง 7 ระยอง 9 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ห้วงบง 60



โรค

โรคใบไหม้
มีสาเหตุจากบักเตรี ความเสียหาย 30% เมื่อใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคมาปลูก และถ้าอุณหภูมิค่อนข้างสูง ความชื้นอาจทำความเสียหายถึง
80 % การแพร่ระบาดที่สำคัญคือ ติดไปกับท่อนพันธุ์ โดยฝนหรือดิน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร


ลักษณะอาการ
เริ่มแรกแสดงอาการใบจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ ใบเหี่ยว ยางไหล จนถึงอาการยอดเหี่ยว และแห้งตายลงมา นอกจากนี้ยังทำให้ระบบท่อน้ำ
อาหารของลำต้นและรากเน่า


การป้องกันกำจัด
ใช้พันธุ์ต้านทาน หรือพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคปานกลาง เช่นระยอง 90 ระยอง 9
ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ท่อนพันธุ์
ส่วนโคนลำต้นหรือโคนกิ่งมันสำปะหลัง

ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรงให้ปลูกพืชหมุนเวียน อายุสั้น เพื่อลดประชากรเชื้อโรคในดิน

การใช้สารเคมีเป็นทางเลือกสุดท้าย ควรใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบเป็นพวกทองแดง



โรคแอนแทรคโนส
มีสาเหตุจากเชื้อรา สภาพที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ในพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่นระยอง 72, ระยอง 11, ความเสียหาย 80 %
ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลง ทำให้มีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่ น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า
ผลผลิตจะเสียหาย 30 – 40 %


ลักษณะอาการ
ใบจะมีขอบใบไหม้สีน้ำตาลขยายตัวเข้าสู่กลางใบ มักปรากฏกับใบที่อยู่ล่าง ในตัวแผลบนใบจะมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำขยายตัวไปตามขอบของ
แผลอาการไหม้ ส่วนก้านใบ อาการจะปรากฏในส่วนโคนก้านใบ จะเป็นแผลสีน้ำตาลขยายตัวไปตามก้านใบ ทำให้ก้านใบมีลักษณะลู่
ลงมาจากยอด หรือตัวใบจะหักงอจากก้านใบ เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งได้ ส่วนลำต้นและยอด แผลที่ลำต้นจะเป็นแผลที่ดำตรงบริเวณข้อ
ต่อกับก้านใบและมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม แผลจะขยายตัวไปสู่ส่วนยอดทำให้ยอดเหี่ยวแห้งลงมา


การป้องกันกำจัด
• ใช้พันธุ์ต้านทาน
• การใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรค
• ปลูกพืชหมุนเวียน
• ไถกลบเศษซากมันสำปะหลังลึก ๆ ช่วยลดประชากรเชื้อโรคในดินได้



โรครากหรือหัวเน่า
พบในแหล่งที่ดินระบายน้ำไม่ดี หรือสภาพดินดานและฝนตกชุกเกินไป โรคหัวเน่าเละ เกิดจากเชื้อรา ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่าง ๆ มีสีเหลือง
และเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น

โรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและ
เส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้น
มาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็ก

โรคหัวเน่าดำเกิดจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื่องจากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบ
ไม่อาศัยเพศของเชื้อรา

โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา มักพบอาการในต้นกล้า ลักษณะต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาว
ปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน


การป้องกันกำจัด
• การเตรียมแปลงปลูก ควรไถระเบิดดินดานให้มีการระบายน้ำที่ดี
• การไถตากดินเป็นเวลานาน ๆ จะช่วยลดประชากรของเชื้อราในดินได้
• กำจัดเศษซากมันสำปะหลังเก่า ๆ จากแปลงเพาะปลูกให้หมด
• คัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์และปราศจากโรค
• ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 6 – 12 เดือน



ไรแดง
มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร
ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสี อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ลักษณะการทำลาย ไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่างและขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำ
เลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอดและขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบ ใบเหลืองขีด ม้วนงอ และร่วง

ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน


การป้องกันกำจัด
• ด้วงเต่าและด้วงปีกสั้นเป็นศัตรูธรรมชาติ
• หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนานการตกของฝนสามารถลดการระบาดได้
• หมั่นตรวจแปลงหากพบระบาดรุนแรงในระยะเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัด



แมลงหวี่ขาว
เป็นแมลงขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปีกบางใส 2 คู่คลุมเลยส่วนท้อง มีฝุ่นผงแป้งปกคลุมบนแผ่นปีก ตัวอ่อนรูปร่างคล้าย
โล่ห์ เกาะนิ่งใต้ใบ เมื่อโตเต็มที่จะหยุดกินอาหาร และมีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจน คือ ตาแดง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนใต้ใบพืช และถ่ายมูลหวานลงมาบนใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้เกิดเป็นรา
ดำขึ้นตามใบที่อยู่ด้านล่าง พืชสังเคราะห์แสงได้น้อย ใบม้วนซีด และร่วง

ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน


การป้องกันกำจัด
• หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนาน
• เก็บส่วนของพืชที่ถูกทำลาย เผาทำลายนอกแปลงปลูก
• หากพบการระบาดรุนแรงในระยะมันสำปะหลังเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัด



เพลี้ยแป้ง
พบระบาดในประเทศไทย มี 4 ชนิด
เพลี้ยแป้งตัวลาย
เพลี้ยแป้งสีเขียว
เพลี้ยแป้งสีชมพู
เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์
โดยพบเพลี้ยแป้งมีการระบาดมากที่สุด


แนวทางในการจัดการกำจัดเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งจะมีไขแป้งปกคลุมตัว ไข่อยู่ภายในถุงไข่ ไขแป้งนับเป็นเกราะกำบังอย่างดีให้เพลี้ยแป้ง สารเคมีที่พ่น อยากที่จะเข้า
ถึงตัวและไข่ของเพลี้ยแป้ง มันสำปะหลังที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลาย ข้อจะถี่ แตกใบเป็นพุ่มหนาเป้นกระจุก


แนวทางการป้องกันกำจัดเพี้ยแป้ง 5 แนวทาง
1. เขตกรรม เป็นแนวทางสร้างความแข็งแรง ต้านทานต่อแมลงศัตรูได้ดีขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับหัวข้อที่กล่าวข้างต้นทั้งสิ่น

2. การจัดการที่อยู่อาศัย เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ของแมลงตัวห่ำตัวเบียน ได้แก่ การให้น้ำ
ปลูกพืชหมุนเวียน การสร้างแนวพืชป้องกัน

3. การควบคุมด้วยชีววิธี เป็นการใช้สิ่งมีชีวิต ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้ระดับความเสียหาย ได้แก่ การใช้แมลง
ช้างปีกใส แตนเบียน และด้วงเต่า

4. การควบคุมด้วยสารสะกัดชีวภาพและวิธีกล เป็การนำสารที่สกัดได้จากพืช ที่มีฤทธิ์ ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

5. การควมคุมด้วยสารเคมี เป็นวิธีสุดท้ายในการแนะนำให้ใช้ เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ตามซากมัน
สำปะหลัง และวัชพืชที่ไถกลบอยู่ไต้ดิน และเพลี้ยแป้งที่มาจากไร่มันสำปะหลังใกล้เคียง เนื่องจากการใช้สารเคมีจะมำให้ ระบบ
นิเวศเกษตรสูญเสียความสมดุลไป โดยทำลายทั้งเพลี้ยแป้งและศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้งด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้ ควรใช้เมื่อมี
การระบาดอย่างรุนแรง เพื่อไม่ให้เพลี้ยแป้งแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น



การให้น้ำเพื่อป้งกันเพลี้ยแป้ง
การให้น้ำมันสำปะหลังนอกจากเป็นการเพิ่มผลผลิต ยังเป็การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการการเจริญเติบโตแมลงศัตรูตาม
ธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง และสภาพที่ไม่เหมาะสมในการดำรงชีพของเพลี้ยแป้ง



การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือน เป็นต้นไป ยิ่งนานผลผลิตก็ยิ่งมากขึ้น แต่โดยทั่วไปนิยมเก็บในช่วงอายุ
8-12 เดือน

การเก็บเกี่ยวมีสองแบบ
- ใช้แรงงานคน ตัดต้นมันให้เหลือตอประมาณ 30 ซม.แล้วขุดงัดหัวขึ้นมา แล้วตัดหัวออกจากเหง้า ส่งโรงงานรสภาพต่อไป

- ใช้เครื่องทุนแรง รถแทรกเตอร์ กลับหน้าดิน หัวมันก็จะถูกพลิกขึ้นเหนือดิน แล้วใช้แรงงานคน ตัดหัวออกจากเหง้า หลัง
จากตัดหัวออกจากเหง้าแล้วควรรีบนำส่ง โรงงาน ภายใน 3 วัน หากเก็บไว้นาน จะทำให้หัวเน่า น้ำหนักลด แล้วโรงงานก็จะนำ
ไปแปรรูปต่อไป เป็นมันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง



ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาศ ขอองมันสำปะหลัง
จากที่กล่าวมาข้างต้นส่วนมาก เป็นการเพิ่มรายจ่าย เนื่องจากการปลูกมันสำปะหลังในปัจจุบัน ปลูกแบบทิ้งขว้าง การปฏิบัติต่อ
มันสำปะหลังมีน้อย กิจกรรมที่เพิ่มขึ้น ย่อมสงผลให้รายจ่ายต้องเพิ่มขึ้น


การเตรียมดิน
เกษตรกรส่วนใหญ่ เพียงแค่ไถ และอาจมีการใช้ปุ๋ยรองพื้น ซึ่งในการเตรียมดิน มีการเติมอินทรีย์สาร รายจ่ายต้องเพิ่มขึ้น
เป็นธรรมดา แต่สามารถลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้น้อยลงได้จาก ลดปุ๋ยเคมีรองพื้น เพื่อเพิ่มอินทรีย์สาร


การให้น้ำ
เกษตรกรไม่มีการให้น้ำมันสำปะหลัง ปล่อยให้เป็นเรื่องของฝนฟ้าอากาศ เมื่อจะมีการให้น้ำไม่ว่าจะในรูปแบบไหน รายจ่ายก็
เพิ่มขึ้นเสมอ แต่จะลดรายจ่ายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะมันสำปะหลังมีความแข็งแรง ทนทานต่อการถูกคุมคาม
จากโรคและแมลง และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการการดำรงชีวิตของแมลงในธรรมชาติ ที่เป็นตัวห้ำตัวเบียน


พันธุ์
สามารถลดรายจ่ายจากที่ต้องซื้อท่อนพันธุ์ เป็นการใช้ท่อนพันธุ์จากรุ่นที่แล้ว แต่ต้องมีการปฏิบัติดูแลมันสำปะหลังเป็น
อย่างดี ไม่ให้มีการระบาดของโรคในพื้นที่ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องมีกาซื้อ หรือมีการแบ่งพื้นที่บางส่วน สำหรับ
ปลูกมันสำปะหลังเป็นท่อนพันธุ์ แต่การแบ่งพื้นที่อาจจะไม่เพียงพอที่จะใช้ปลูกในรุ่นต่อไป ต้องมีการซื้อเพิ่ม แต่ย่อม
ดีกว่าที่จะต้องซื้อทั้งหมด หากมีการใช้ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค มันที่ปลูกมีโรคติดมาด้วย ทำให้ล้มตายเสียหายเสียหาย สูญ
เสียทั้งปริมาณและคุณภาพ รายได้ลดต่ำลงตามมาด้วย


การใส่ปุ๋ย
พืชทุกชนิดมีความต้องการปุ๋ยไม่เท่ากัน ควรให้ปุ๋ยเพียงแค่ความต้องการของพืช ต้นทุนปุ๋ยเคมีต่ำลง ใส่มากต้นทุนก็สูงขึ้น
แต่ผลผลิตเท่าเดิม ปุ๋ยส่วนที่เหลือที่พืชไม่ได้ใช้ ถูกตรึงไว้ในดิน นานๆเข้า เกิดการสะสม ทำให้ดินเสีย ต้องเพิ่มต้นทุน
ในการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ร่ายได้ต่ำลงเพราะผลผลิตและคุณภาพที่ต่ำลง การลดการใช้ปุ๋ยเคมี แล้วนำส่วนที่ลดมาเพิ่ม
ในส่วนของอินทรีย์ แลมีการใช้ร่วมกัน จะส่งผลดีในระยะยาว


ทั้ง การเตรียมดิน การให้น้ำ พันธุ์ การใส่ปุ๋ย มีแนวโน้มการเพิ่มรายจ่ายมากกว่าเดิม แต่แลกมาด้วยผลิตผลที่ดี
มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นการลงทุนที่ยืนยาว มั่นคง เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตต่อหน่วย มีค่าเพิ่มมาก
ขึ้นมาก ได้กำไรมากขึ้น


มันสำปะหลังมีผลผลิตที่ได้คือ หัว ใช้ทำมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง
ลำต้น ปลูกมันสำปะหลังเพื่อขายท่อนพันธุ์

ยอดและใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์ อบแห้ง แล้วอัดเป็นเม็ด

การแปรรูปมันสำปะหลังเป็นอาหาร ถ้าเป็นชนิดหวาน ทำเป็นของหวาน เช่นมันเชื่อม สำหรับมันชนิดขม นำมาประกอบ
อาหาร ต้องแปรรูปให้อยู่ในรูปของแป้งมันสำปะหลัง นำมาประกอบอาหาร แต่ในประเทศไทยไม่นิยมใช้มันสำปะหลังในการ
ประกอบอาหาร


ในแถบ แอฟริกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และในอีกหลายประเทศ นิยมบริโภคมันสำปะหลังเป็นอาหารหลัก ซึ่งไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการของประชากรในประเทศนอกจากนี้มันสำปะหลังยังสามารถแปรรูปได้เป็น ผงชูรส ยาสีฟัน กระดาษ กาว และ
ใช้ในการผลิต เอทานอล ย่อมเป็นโอกาสที่ดี

หากเกษตรกร สามารถปลูกมันสำปะหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกรดเอ ตากความต้องการของโรงงาน คุณภาพดีระดับ
ส่งออกได้ ทั้งมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง

นี่ถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรทุกคนสามารถ หยิบยื่น แต่อยู่ที่ว่ามีความพร้อมแค่ไหน หากเป็นเกษตรรายย่อยที่มีผลผลิต
ดีระดับส่งออก แต่ไม่สารถส่งออกได้ เนื่องจากไม่มีความพร้อมในหลายๆด้าน แต่ถ้าเกษตรกรรายย่อย มีการรวมตัวกันจน
กลายเป็นกลุ่มใหญ่ มีผลผลิตที่มากพอ คุณภาพดีระดับส่งออก ก็คงไม่ใช่เรื่องอยากที่จะ !!Go Inter!!


ดุสิต นาถมทอง(ทิว)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/05/2011 3:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/05/2011 12:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้อย


หากกล่าวถึงพืช เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย หลายๆคนคงจะต้องคิดถึง อ้อย เพราะอ้อยนั้นเป็นพืช
เศรษฐกิจของไทย รองจาก ข้าว และมันสำปะหลังเท่านั้น


อ้อย (Sugarcane) เป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ ข้าว อ้อยมีความสำคัญต่อมนุษย์มากในแง่ของ
การใช้เป็นอาหาร อ้อยนับเป็นพืชที่สำคัญของโลก อันดับที่สี่ รองจาก ข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาในแง่
ของผลผลิตคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื้อที่ต่อปี อ้อยจะมาเป็นอันดับแรก เพราะอ้อยสามารถใช้ปัจจัยที่สำคัญ
สำหรับการเจริญเติบโต ( ดิน น้ำ แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล สารอาหาร สายพันธุ์ และ โรค ) ได้อย่างทีประสิทธิภาพมาก
กว่านั่นเอง นอกจากนี้ อ้อยยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้วก็สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง อ้อยชอบ
อากาศแบบร้อน และชุ่มชื้น ดังนั้น ประเทศที่ปลูกอ้อย จึงมีประมาณ 70 ประเทศซึ่งอยู่ในแถบร้อนและชุ่มชื้นในระหว่างเส้น
รุ้งที่ 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยนั่นเอง

ความสำเร็จของการทำไร่อ้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือตัวกสิกรเองเพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับ
ตัวกสิกรทั้งสิ้นนับตั้งแต่การตัดสินใจเลือกทำเล พันธุ์ และการปฏิบัติอื่นๆ ในที่นี้ที่สำคัญที่สุดคือ ทำเล ถ้าทำเลไม่เหมาะก็
อาจประสบกับการขาดทุน หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร "ทำเล" อาจรวมถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของ
บริเวณนั้นด้วย ซึ่งจะได้กล่าวโดย ลำดับ

1. สภาพพื้นที่ ต้องเป็นที่น้ำไม่ท่วมตลอดทุกฤดูกาล น้ำท่วมระยะสั้นอาจทำให้การเจริญเติบโตลดลง เป็นผลให้ผลผลิตลดลง
ด้วย ถ้าน้ำท่วมเป็นเวลานานอ้อยอาจตาย นอกจากนี้ต้องไม่เป็นที่ลาดชันเกินไป เพราะนอกจากจะไม่สะดวกต่อการใช้เครื่อง
มือแล้วยังทำให้ดินพังทลายเมื่อมีฝนตกมากอีกด้วย

2. การคมนาคมสะดวก มีถนนหนทางที่ใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล และถนนนั้นจะต้องสามารถรับน้ำหนักรถบรรทุก
อ้อยได้ด้วย มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขนส่งอ้อย

3. ไม่ห่างไกลจากโรงงาน ไร่ที่อยู่ใกล้โรงงานมากกว่าย่อมได้เปรียบ ทั้งในด้านการขนส่งและติดต่อ ไร่อ้อยควรจะอยู่ห่าง
จากโรงงานไม่เกิน 30 กิโลเมตร

4. มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินควรเป็นบริเวณที่ไม่มีปัญหาจากนักเลงอันธพาล หรือโจรผู้ร้าย เป็นต้น

นอกจากปัจจัยสี่อย่างที่ว่ามาแล้วจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ อีก ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าการเลือกทำเลทำไร่อ้อยเป็นไปอย่าง
เหมาะสม ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่

1. สภาพของดิน ต้องมีเนื้อดินลึกอย่างน้อย 80 เซนติเมตร เพราะอ้อยเป็นพืชอายุยืนและหยั่งรากลึก นอกจากนี้ต้อง
เป็นดินที่มีการระบายน้ำดีอีกด้วย

2. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างดี จึงจะทำให้การปลูกอ้อยได้ผลดี ดินที่มีความ
อุดมสมบูรณ์สูงมากๆ เช่นป่าเปิดใหม่แม้ว่าจะได้น้ำหนักมาก แต่ก็มักประสบปัญหาเรื่องอ้อยมีความหวานต่ำ

3. น้ำ พืชทุกชนิดบนโลกนั้นต้องการน้ำ อ้อยก็เช่นเดียวกัน อ้อยเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก โดยเฉพาะในระยะที่อ้อย
กำลังเจริญเติบโต ถ้าที่ใดมีฝนตกน้อย หรือฝนกระจายไม่ดีจะต้องมีน้ำชลประ-ทานช่วย นอกจากนี้ต้องมีระยะที่ขาดฝน
และอากาศหนาวเพื่อให้อ้อยแก่และสุก

ปัจจัยอื่นๆ นอกจากที่กล่าวแล้วก็คือ แสงแดดและอุณหภูมิ อ้อยเป็นพืชต้องการแสงแดดจัดตลอดเวลาตั้งแต่ปลูกจนถึง
เก็บเกี่ยว ดังนั้นบริเวณที่ได้รับแสงแดดน้อย จึงไม่เหมาะแก่การปลูกอ้อยสำหรับอุณหภูมินั้นเกี่ยวข้องกับคุณภาพหรือ
ความหวานของอ้อย ในระยะที่ขาดฝนหรือขาดน้ำ ควรจะเป็นระยะที่อุณหภูมิต่ำหรืออากาศหนาวด้วย และสภาพอากาศหนาว
ควรจะมีเวลานานพอ ซึ่งจะทำให้อ้อยมีความหวานมากขึ้น


ประโยชน์ที่ได้จากอ้อย
- ใช้เป็นอาหารของมนุษย์

- ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบ ยอด และลำต้นที่ยังอ่อนอยู่สามารถใช้เป็นอาหารของสัตว์ได้โดยตรง เช่น วัว ควาย เป็นต้น
แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้วิธีการหมักก่อนให้สัตว์กิน

- ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในอนาคต ใบอ้อยแห้งอาจเป็นแหล่งผลิตพลังงานและ เชื้อเพลิงที่สำคัญ เนื่องจาก ใบอ้อยแห้งให้
พลังงานที่สูงมากครับ ว่ากันว่า คุณค่าที่ได้จากพลังงานที่ได้จากใบอ้อยแห้ง ที่ให้ผลผลิตไร่ละ 16 ตัน นั้นพียงพอ
สำหรับให้รถแทรกเตอร์นั้นทำงานได้นานถึง 80 ชม.เลยทีเดียว

- ใช้เป็นวัตถุคลุมดิน หรือบำรุงดิน ใบอ้อยแห้งเมื่อใช้คลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชได้ด้วย ในขณะเดียว
กันก็จะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่างๆ อันเป็นผลดีแก่อ้อย นอกจากนี้รากและเหง้าที่อยู่ในดินเมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยได้
อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันใบอ้อยแห้งถูกเผาทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย



แหล่งปลูกพืชในประเทศไทย
การปลูกอ้อยมีอยู่ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ทั้งนี้ เพราะสภาพอากาศภาคใต้ไม่เหมาะแก่การปลูกอ้อย นั่นก็เพราะภาคใต้ของ
เรามีฝนตกชุก และมีอากาศร้อนตลอดปี ซึ่งสภาพดังกล่าวทำให้อ้อยไม่หวาน นอกจากนี้อาจจะเป็นเพราะว่าภาคใต้มี
พืชอื่นที่ให้ผลดีกว่า เช่น ยางพารา และกาแฟ เป็นต้น


การเตรียมดินสำหรับการปลูกอ้อย
ปัญหาผลผลิตตกต่ำของไทยคือ การเตรียม
ดินไม่ถูกหลัก ใต้ชั้นไถพรวน ถูกอัดแน่นเป็นเวลานาน ทำให้รากอ้อยไม่สามารถหยั่งลึกลงไปได้ ดินไม่สามารถ อุ้มน้ำได้
มาก เมื่อฝนทิ้งช่วงนานอ้อยจะแห้งตาย ฉะนั้นในการเตรียมดินปลูกอ้อยทุกครั้งควรมีการระเบิดดินดาน และการไถกลบ
เศษซากอ้อยที่เหลืออยู่สามารถ ช่วยอนุรักษ์อินทรียวัตถุในดินได้เป็นอย่างดี

เราอาจจะเพิ่มแกลบดิบลงไปด้วยก็ได้ เพราะว่าแกลบดิบนั้นเป็นอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายได้ยากมาก อีกทั้งยังสามารถอุ้ม
น้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะแกลบมีช่องว่างสำหรับรับน้ำได้ เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะซึมลงดิน แล้วเข้าไปอยู่กับแกลบ
ได้นานนับเดือน ( เราอาจทำแกลบดิบให้เป็นแกลบดิบซุปเปอร์ได้ โดยการเพิ่ม กระดูก ยิปซั่ม มูลสัตว์ น้ำหมักชีวภาพ
ระเบิดเถิดเทิง และ จุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้าไป )

หลังจากไถกลบเศษซากอ้อยลงดินแล้ว ควรมีการปรับหน้าดิน ให้เรียบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 0.3
เปอร์เซนต์) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและระบายน้ำออกจากแปลงกรณีฝนตกหนัก และป้องกันน้ำขังอ้อยเป็นหย่อมๆ
เมื่อปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็นแปลง ที่มีชั้นดินดาน ควรมีการใช้ไถระเบิดดินดาน ไถลึกประมาณ 80 เซนติเมตร โดย
ไถเป็นตาหมากรุก หลังจากนั้น จึงใช้ไถจาน (3 ผาน หรือ 4 ผาน ตามกำลังของแทรกเตอร์) และพรวนตามปกติ แล้ว
จึงยกร่องปลูกหรือ ถ้าจะปลูกโดยใช้เครื่องปลูกก็ไม่ต้องยกร่อง



ข้อควรระวังในการเตรียมดิน !!!!
1. ควรไถเตรียมดิน ขณะดินมีความชื้นพอเหมาะไม่แห้ง หรือเปียกเกินไป

2. ควรเตรียมดินโดยใช้ไถจานสลับกับไถหัวหมู เพื่อไม่ให้ความลึก ของรอยไถอยู่ในระดับเดิมตลอด และการใช้ไถจาน
ตลอด จะทำให้เกิด ชั้นดินดานได้ง่าย

3. ไม่ควรไถพรวนดินจนดินละเอียดเป็นฝุ่น เพราะดินละเอียด เพราะการพรวนดินให้ละเอียดเมื่อฝนตกดินจะแน่นทึบ ระบาย
น้ำยาก จะทำให้อ้อยเน่า หรือไม่เจริญเติบโตเพราะขาดอากาศในดิน แต่ถ้าหยาบเกินไปดินเป็นก้อนใหญ่มากจะมีปัญหา
ด้านการกลบท่อนพันธุ์



ฤดูปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูปลูกได้เป็น 2 ประเภท

1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน (20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกอ้อย ทั้งประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือน เมษายน ถึง มิถุนายน

2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้ เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี และดินเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อย
ประเภทนี้จะปลูกประมาณ กลางเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม



การเตรียมท่อนพันธุ์
ท่อนพันธุ์ที่ดีจำเป็นสำหรับการงอกที่ดีและการเจริญเติบโตที่ดีด้วย ท่อนพันธุ์ที่ดีต้องมีตาที่สามารถงอกและเจริญเติบโต
ได้อย่างน้อยท่อนละหนึ่งตา โดยทั่วไปชาวไร่ใช้ท่อนพันธุ์ที่มี 2 ตาปลูก แต่ถ้าใช้ท่อนที่มี 3 ตาจะให้ผลดีกว่าทั้งในด้าน
ความงอก และการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในระยะแรก ชาวไร่โดยทั่วไปมักจะขาดความระมัดระวังเรื่องท่อนพันธุ์ ทำ
ให้ความงอกต่ำ จึงต้องมีการชดเชยโดยใช้ท่อนพันธุ์เกินความจำเป็นทำให้ต้องเสียค่าใช้เพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุการณ์เตรียม
ท่อนพันธุ์ที่ดีกระทำได้ดังนี้

1. ตัดท่อนพันธุ์ให้มี 3 ตา ตัดกึ่งกลางปล้อง
2. ระวังอย่าให้ตาถูกกระทบกระเทือน มิฉะนั้นอาจไม่งอก
3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยยาฆ่าเชื้อราทันที ภายหลังตัดเป็นท่อน
4. ถ้าสงสัยว่าจะมีโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสต้องแช่น้ำร้อน 50 – 52 องศาเซลเซียส
5. ถ้าต้องขนส่งพันธุ์อ้อย ควรขนส่งทั้งโดยไม่ลอกกาบ
6. ไม่ควรลอกกาบท่อนพันธุ์ เพราะจะทำให้ตาอ้อยขาดเครื่องป้องกัน ซึ่งอาจทำให้มีความงอกน้อย
7. ถ้าต้องเก็บท่อนพันธุ์ที่ได้สับเป็นท่อนแล้วไว้หลายวัน ควรกองไว้ในร่ม คลุมด้วยหญ้าแห้ง ฟาง หรือใบอ้อยแห้งรดน้ำให้ชุ่ม
นอกจากปลูกด้วยท่อนพันธุ์แล้ว อาจใช้ชิ้นตา (bud chip) ซึ่งเป็นส่วนของข้อที่มีตาและปุ่มรากปลูกโดยตรงในไร่ หรือชำให้
งอกแล้วย้ายปลูกก็ได้



วิธีการปลูก
1. ปลูกด้วยแรงคน คือ หลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยว
หรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติ
เมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน

2. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คน
ป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคน
ขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถ
ปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย



การใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น
ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดู
ตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยก็ดี การใส่ปุ๋ยเคมีควรมีตัวหน้า
สูงๆ แต่ก็ควรมีตัวกลางและตัวท้ายด้วย อ้อยกินธาตุอาหารหลักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราควรที่จะลดการซื้อ
ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารหลักลง และเสริมด้วยธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มความหวาน
ให้แก่ต้นอ้อยด้วย



การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง
การเก็บเกี่ยวอ้อยส่วนใหญ่ใช้คนตัด โดยทั่วไปเก็บเกี่ยวโดยไม่เผานอกจากจำเป็นเช่นมีโรคหรือแมลงระบาดหรือต้องการ
ให้ทำงานได้เร็วขึ้น เพราะอ้อยเผาเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าอ้อยที่ไม่เผา การตัดเริ่มด้วยการใช้มีด ริดใบออก ตัดลำต้นชิดดิน
แล้วตัดยอดอ่อนทิ้งไป นำอ้อยที่ได้มัดรวมกันมัดละ 8-15 ลำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของอ้อยที่จะบรรทุก
ได้สะดวก วางมัดอ้อยเป็นแถวๆ เพื่อสะดวกในการบรรทุก หลังจากนั้นจึงใช้รถบรรทุก 10 ล้อเข้าไปบรรทุกในไร่เพื่อ
ส่งเข้าโรงงานต่อไปโดยเฉลี่ยคนงานคนหนึ่งตัดอ้อยได้วันละ (8 ชั่วโมง) 1 ตัน

ในกรณีที่เก็บเกี่ยวด้วยรถตัดอ้อย ส่วนมากจะมีการเผาก่อน แล้วใช้รถเข้าไปตัดยอดและลำต้นติดพื้นดิน จากนั้นต้น
อ้อยก็จะถูกตัดออกเป็นท่อนท่อนละประมาณ 30 เซนติเมตร ท่อนอ้อยจะถูกส่งไปตามสายพานซึ่งมีกะพ้อ ผ่านพัดลม
ซึ่งจะแยกสิ่งสกปรกออกก่อนที่จะถูกพ่นลงในรถบรรทุกซึ่งวิ่งเคียงคู่กัน เมื่อบรรทุกเต็มคันรถก็จะมีคันใหม่มาแทน
เรื่อยไป รถตัดอ้อยตัดได้วันละประมาณ 30 ไร่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของอ้อยและสภาพไร่ ข้อเสียของเครื่องตัดอ้อย
ชนิดนี้ก็คือต้องเผาอ้อยก่อนตัดทำให้อ้อยเสื่อมคุณภาพ



ข้อเสียของการเผาอ้อย!!!!
- สูญเสียน้ำหนักและคุณภาพความหวาน

- ถูกตัดราคา ตามประกาศของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้ตัดราคาอ้อยไฟไหม้ ตันละ 20 บาท

- มีสิ่งสกปรกปนเปื้อนมาก อ้อยที่เผาจะมีน้ำตาลเยิ้มออกมาที่ลำอ้อย เมื่อตัดอ้อยแล้ววางสัมผัสกับพื้นดินก็จะมีเศษหิน
ดินทราย ปนเข้ามา

- ทำให้สูญเสียอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน การเผาอ้อยทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง 5-10 % ต่อปี และทำให้โครง
สร้างของดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อย เช่น ดินแน่นทึบ หน้าดินแห้ง เกิดการแตกระแหง โดยเฉพาะดินเหนียว

- เสียค่าใช้จ่ายดูแลและรักษาอ้อยเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีเศษซากอ้อยคลุมดินทำให้มีต้นทุนการซื้อสารเคมีกำจัดวัชพืชมากขึ้น

- ทำให้ตออ้อยถูกทำลาย การเผาจะทำ
ให้ตออ้อยถูกทำลาย อ้อยงอกช้ากว่าปกติหรือไม่งอกเลย

- ทำลายแมลงที่มีประโยชน์ ทำให้แมลงที่ช่วยควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูถูกทำลาย ทำให้เกิดการระบาดของแมลง
ศัตรูอ้อย

- เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสุขภาพของคนตัดอ้อย



ลดรายจ่าย
- ลดการใช้ธาตุอาหารหลักในปริมาณมาก แล้วเพิ่มการใส่ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมแทน เพื่อเป็นการลดต้นทุน
ในการใช้ปุ๋ย เราอาจจะใส่ปุ๋ยที่มีตัวท้ายสูงหน่อย และใส่ Ca เพื่อให้ลำต้นของอ้อยนั้นมีความแข็งแรง

- มีการนำแกลบดิบมาผสมกับดินก่อนปลูกอ้อย เพราะแกลบดิบนั้นมีการสะสมน้ำได้นานมาก ทำให้น้ำในดินอยู่ได้นาน
ยิ่งขึ้น แกลบดิบเป็นสารอินทรีย์วัตถุที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานที่สุด อาจอยู่ถึงสิบปีเลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการ
ลงทุนเพื่อลดต้นทุนนั่นเอง

- หาพื้นที่ๆใกล้กับโรงงานผลิตน้ำตาล เพื่อลดต้นทุนทางด้านน้ำมันในการขนส่ง

- ลดการใช้สารเคมีที่นำมากำจัดศัตรูพืช เนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพงและเกษตรกรเองก็ต้องใช้ในปริมาณมาก
เราอาจจะมีการทำสารสกัดสมุนไพรเพื่อใช้ในการขับไล่แมลงศัตรูพืชเอง โดยเราอาจจะผสมสารเคมีเข้าไปเป็นส่วนน้อย
เท่านั้น และอีกอย่างโดยส่วนตัวผมเองแล้ ผมคิดว่า สารสกัดสมุนไพร มีแต่เจ๊า กับได้ครับ ไม่เหมือนสารเคมี
ที่บางทีใช้ไม่ได้ผลแต่ก็ยังเป็นสารตกค้างกับพืชอีกด้วย



เพิ่มรายได้
- มีการแบ่งต้นพันธุ์มาขายส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งก็ส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป

- อาจมีการปลูกพืชตระกูลถั่วแซมเช่นถั่วเขียว ในขณะที่อ้อยยังเป็นต้นเล็กอยู่ เพราะเราอาจนำผลผลิตจากถั่วเขียวไป
ขายและไถกลบต้นถั่วเขียวเพื่อให้เป็นปุ๋ยแก่อ้อยต่อไป



ขยายโอกาส
เนื่องจากอ้อยโรงงานนั้นเรื่องของการขยายโอกาสอาจมีน้อยเนื่องจากต้องนำอ้อยที่ผลิตได้ส่งเข้าที่โรงงานผลิตน้ำตาลอีกที
ผมคิดว่าเราอาจจะร่วมกันจับกลุ่มเกษตรกรและยื่นของบประมาณกับทาง อบต. เพื่อที่จะทำโรงงานผลิตโต๊ะ เก้าอี้ด้วย
ชานอ้อย โดยเราอาจจะมีการต่อรองพูดคุยเพื่อขอชานอ้อยที่เหลือจากโรงงานน้ำตาลเพื่อมาเข้าโรงงานผลิตสินค้าของ
เราอีกที ซึ่งเราอาจจะเสนอให้ทำเป็นสินค้า OTOP ของตำบลก็ได้

หรือเราอาจจะจับกลุ่มเกษตรกรเพื่อที่จะต่อรองราคาในการซื้อกากน้ำตาลในราคาถูกจากโรงงาน และนำมาใช้กันใน
ตำบล อาจจะนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ หรืออาจจะนำมาผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในดิน เพื่อ
เป็นการปรับสภาพของดินในไร่อ้อยหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วก็ได้



ทิ้งท้าย
หลังจากวันที่ลุงคิมสั่งงานนี้ให้กับผม ทำให้ผมต้องศึกษาเรื่องราวของอ้อยอีกมากมายเพราะว่าโดยส่วนตัวผมเองนั้นไม่มีความ
รู้เรื่องอ้อยมาก่อนเลย อาจเนื่องมาจากการที่บ้านของผมเองนั้นอยู่ที่จังหวัดตราด ซึ่งไม่มีการปลูกอ้อยเลย แต่อย่างไรก็ดี
มันก็ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยมากมายในหัวหลังจากที่เริ่มอ่าน และหาความรู้ จนในวันนี้ ลุงคิดได้พูดขึ้นมาขณะที่ผมกำลัง
อ่านข้อมูลของอ้อยอย่างใจจดใจจ่อ ว่า “ยิ่งเราอ่าน ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าไหร่ กลับยิ่งทำให้เราไม่รู้ยิ่งขึ้น”
ตอนที่ผมได้ยินคำนี้นั้นมันมีความรู้สึกเหมือนกับว่าโดนใจจังเลย ผมคิดว่ายิ่งเราอ่าน เราเรียนรู้มากเท่าไหร่ กลับยิ่งมี
ปัญหาที่ไม่รู้เพิ่มขึ้นในหัวให้เราต้องหาต้องเรียนรู้มากขึ้นไปอีก เหมือนจิ๊กซอร์ที่ถูกต่อไปเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น



นายทิวา ดอกพวง (กันดั้ม) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/05/2011 3:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/05/2011 6:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำหม้อปุ๋ย (ตราสิงห์ยกขาหลัง) ประจำโซน.....


1. ขั้นตอนสำคัญของการทำหม้อปุ๋ยขั้นตอนหนึ่งก็คือ การตัดขวด ซึ่งการตัดขวดต้องใช้ความร้อนในการตัด
โดยการนำเหล็กที่ถูกดัดให้เข้ากับขนาดขวดดังในภาพ มาเผาไฟให้ร้อน จากนั้นนำมาทาบขวดบริเวณที่ต้องการ
ดังภาพ อันนี้ต้องใช้ความประณีตอย่างสูง ค่อย ๆ ทาบไปเวลาพอประมาณ แล้วจุ่มน้ำ ขวดก็จะหลุดออกจากกัน
โดยง่าย (ถ้าไม่ระวังอาจโดนเหล็กลวก หรือแก้วบาดได้)

การตัดขวดที่ถูกต้อง ต้องให้เหลือบ่าขวดเอาไว้สำหรับการยึดกับท่อ ลุงคิมบอกว่า "ถ้ามีบ่านี้แล้วล่ะก็ ต่อ
ให้เอาช้างมาลากยังไม่หลุดเลย ..... ฮ่าๆๆๆ"





2. การนำท่อเก่ากลับมาดัดแปลงใช้ใหม่ เป็นการประหยัดต้นทุนได้ในระดับหนึ่ง ที่เห็นอยู่นี้เป็นการทำความ
สะอาดท่อ โดยการเอาเศษ พีวีซี.ที่ติดอยู่ในท่อที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ออก ที่เรียกว่า "บงท่อ" มีวิธีการดังนี้

1. ทากาวบริเวณเศษท่อนั้น
2. จุดไฟ ไฟจะลุกสักพักรอให้ไฟดับก่อน เศษท่อจะอ่อน
3. ใช้ไขควงแงะเศษท่อออก เป็นอันเสร็จงาน






3. อ๋อมแอ๋มตัดขวดได้สำเร็จแล้วค่า เก่งที่สุดเลย



4. หลังจากตัดขวดแล้วก็นำมาต่อเข้ากับท่อ พีวีซี. โดยนำท่อ พีวีซี.มาลนไฟก่อน
เพื่อให้ท่ออ่อน พออ่อนได้ที่ก็จัดการต่อได้เลย และควรรีดให้ท่อติดกับขวดให้
สนิทป้องกันการรั่วซึม และหลุดง่าย




5. ทดสอบเทเลโข่งโดยไกด์สาวฝึกหัด เพื่อเตรียมตัวรับเเขกจาก จ.สิงห์บุรี ในวันที่ 12/5/11
อะโหล ๆ ..... เห็นหมาคาบกะโป๋มาทางนี้บ่
อะโหล ๆ ..... หมาแลกคุ หมาแลกไข่ เด๊อ พี่น้อง....




6. อ่ะ .... เอาคบเพลิงโอลิมปิกไปวิ่งรอบไร่ซะบ๋อมแบ๋มจะได้ผอม ๆ ซักที



7. ทิวลี่.กำลังตัดท่อ พีวีซี. เพื่อนำกลับมา Reuse




8. หม้อปุ๋ยสำเร็จเเล้ว ผลงานที่น่าภาคภูมิใจของเราเอง แต่กว่าจะสำเร็จได้ก็ใช้เวลานานเหมือนกันนะเนี่ย
แต่ครั้งต่อไปคงดีขึ้น เพราะการฝึกปรือย่อมทำให้เกิดความชำนาญ สู้ต่อไป เหล่าจอมยุทธ์


เสริม (1):
หม้อปุ๋ยภูมิปัญญากะเหรี่ยงตัวนี้ ระบบการทำงานเหมือน "เวนจูรี่" ภูมิปัญญาต่างประเทศเดี๊ยะๆ ......

แบบเก่า ราคาต้นทุน อันละ 750 บาท (วาวล์ทองเหลือง 650 บาท + อุปกรณ์ พีวีซี. 100 บาท) ...... แบบใหม่
อันละ 100 บาท (ไม่ต้องใช้วาวล์ทองเหลือง)

กว่าจะมาถึงอันละ 100 บาทได้ ต้องผ่านการ "พัฒนา/ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง" มาแล้ว 5-6 แบบ นี่แหละที่เรียก
ว่า "บ้าจริง" แต่ไม่ใช่ "บ้าจริงๆ" นะ

ก็มีนะ ที่คนระดับ WEBMASTER บอกว่า "สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ" ก็ขอชี้แจงว่า การสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่
สักชิ้น มีคำว่า "สิ้นเปลื้อง" ด้วยหรือ หากทุกคนคิดแบบนี้ โลกนี้จะมีสิ่งประดิษบ์ชิ้นใหม่ๆเกิดขึ้นได้อย่างไร.....
ทำไม คนระดับ WEBMASTER จึงไม่คิด "ต่อยอด" ให้มันดีเหนือชั้นขึ้นไปอีก....โธมัส อัลวา เอดิสัน ลอง
ผิดกับการประดิษฐ์หลอดไฟฟ้ามานับ 1,000 ครั้ง จนใครๆหาว่าแกบ้า แต่แกไม่ท้อ (บ้าก็บ้าวะ) กระทั่งได้หลอดไฟ
ฟ้าอย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไง แล้วคนที่เคยว่าเอดินสันบ้านั่นแหละที่เอาแนวคิดของเอดิสัน.ไปต่อยอด โดยไม่
กระดากใจ....(บ้านลุงคิมว่า "กลืนน้ำลายตัวเอง" ว่ะ....) .... ว้ามั้ย

หม้อปุ๋ยตัวนี้ถือเป็น "สิ่งประดิฐษ์" ชิ้นใหม่ของโลกโดยแท้ เพราะไม่เคยมีใครทำมาก่อน จดทะเบียนลิขสิทธิ์โลกได้
เลย................


เสริม (2) :
หม้อปุ๋ยตราสิงห์ตัวนี้สำหรับให้ทางใบ (ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารสกัดสมุนไพร) เพราะปริมาณความจุเพียง 750 ซีซี.เท่านั้น
หากต้องการให้ปริมาณมากกว่านี้ต้องทำซ้ำด้วยการเติมหม้อที่ 2 หรือ 3 ตามต้องการ

นวตกรรมใหม่ที่ต้องคิดค้นต่อไป คือ "หม้อปุ๋ยสำหรับให้ทางราก" กล่าวคือ สมมุติว่า ใน 1 โซนมีไม้ผล 20 ต้น ต้องการ
ให้ปุ๋ยทางรากต้นละ 1 กก. นั่นคือ ต้องใช้ปุ๋ยทางราก 20 กก. ..... ปุ๋ย 20 กก.ต้องละลายในน้ำอย่างน้อย 30 ล.หรือ
มากกว่า หากน้ำน้อยกว่านี้ปุ๋ยจะอิ่มตัว (ไม่ละลาย) และถ้าปุ๋ยไม่ละลายก็ไม่สามารถส่งไปพร้อมกับน้ำในท่อ
ถึงสปริงเกอร์ได้

ปัญหาใหญ่ในการประดิษฐ์หม้อปุ๋ยขนาดจุ 30 ล. คือ จะเอาถังอะไรมาทำเท่านั้นส่วนระบบการส่งน้ำละลายปุ๋ยจากถัง
ไปตามท่อถึงหัวสปริงเกอร์นั้น สามารถใช้ระบบเวนจูรี่เหมือนหม้อปุ๋ยทางใบได้

ประสบการณ์ตรง :
เคยทำหม้อปุ๋ยขนาดจุ 30 ล. ให้ทางรากมาแล้วครั้งหนึ่ง ระบบการทำงานแบบเวนจูรี่ ทุกอย่าง O.K. แต่เนื่องจากหม้อ
ปุ๋ยแข็งแรงไม่พอ รับแรงอัดน้ำจากปั๊มไม่ไหวถึงกับระเบิดใช้งานไม่ได้ งานนั้นจึงถูกระงับโครงการไปก่อน.....(ลุงคิม)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/05/2011 9:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/05/2011 4:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใส่ฮอร์โมนเข้าระบบสปริงเกล ด้วยท่อเวนจูรี



http://www.organictotto.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539101026&Ntype=38
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 10/05/2011 9:15 pm    ชื่อกระทู้: 10-05-54 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วางสปริงเกอร์ ระบบกะเหรี่ยง.....

(ยาวตัด.......สั้นต่อ......ไม่พอซื้อ......ไม่ดี รื้อทำใหม่)






1. บ๋อมแบ๋ม ทำการตัดท่อ เพื่อต่อกับหัวสปริงเกอร์ ติดโคนต้น มะม่วง และต้น
ฝรั่งเพื่อให้น้ำและให้ปุ๋ยทางดิน

การตัดต้องตัดท่อให้มีขนาดเท่ากัน ต้องทำการวัดก่อนที่จะตัด เพราะถ้าตัดไม่เท่า
กัน จะทำให้ความสูงของท่อไม่เท่ากัน เพราะถ้าท่อขนาดไม่เท่ากัน จะทำให้ปริมาณ
น้ำที่ต้นฝรั่งจะได้รับไม่เท่ากัน

ยกตัวอย่าง ถ้าเราตัดท่อหนึ่งสูงอีกท่อหนึ่งต่ำ จะทำให้ท่อที่อยู่ต่ำรับปริมาณน้ำ
มากกว่า

การต่อท่อระบบนี้จะทำให้พืชได้รับปริมาณน้ำที่เท่ากัน เราสามารถปรับความเบา
และความแรงของน้ำได้




2. อ๋อมแอ๋มกำลังทากาว เพื่อต่อท่อเข้ากับหัวสปริงเกอร์




3. ทิว กำลังทำการต่อท่อสามทาง




4. โบ๊ท ต่อท่อ 4 หุนเกลียวนอกเข้ากับสปริงเกอร์




5. ภาพที่ทุกคนกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำงานอย่างขมักเขม้น แต่ทิวนี่สิ กำลังมองหา
อะไรเหรอ ?




6. ทิว กับบ๋อมแบ๋ม ต่อท่อที่ สวนมะม่วง เป็นครั้งแรกที่พวกเราต่อท่อกัน ท่อที่ออก
มาเลยไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่นัก





7. ต้น ทากาวเพื่อต่อเข้ากับสปริงเกอร์ ใต้โคนต้นมะม่วง สงสัยต้นจะเหม็นกาว เลย
ทำหน้าอย่างนั้น




8. บ๋อมแบ๋มใช้เลื่อยตัดท่อ เพื่อต่อ ข้อต่อตรง เข้ากับข้องอ




9. สงสัยทิวต้องใช้กำลังมากทำหน้าซะ....การต่อท่อเมื่อทากาวเสร็จ ต้องใช้แรง
ดึงท่อให้ต่อกัน เพราะจะทำให้กาวอาจจะหลุดได้ ถ้าติกไม่แน่นพอ





10. บ๋อมแบ๋มทำการ ตัด ข้อต่อ ข้องอ โดยให้ต้นจับให้เราต้องทำงานกันเป็นทีม
ผลงานจึงจะออกมาดูดี





11. บ๋อมแบ๋ม ทากาวเพื่อต่อท่อแบ่งโซน ออกเป็นสองโซนเพราะจะได้ปริมาณน้ำ
ที่มากกว่าทำเป็นโซนเดียว เราจะต่อเหมือนเครื่องหมายบวก




12. ภาพนี้ก็เป็นภาพที่พวกเราต่อท่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นผลงานการต่อท่อชิ้น
โบว์แดง ที่พวกเราเพิ่งจะเคยทำเป็นครั้งแรก ใช้เวลาต่อเพียงครึ่งวันก็เสร็จ

ลองคิด ดูสิค่ะลงทุนครั้งเดียวแต่สามารถใช้ได้นานหลายปี แถมเรายังสามารถต่อ
เองก็ได้ ใช้เวลาเพียงไม่นาน อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญ ถ้าคนที่ทำเป็น
อาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

เราไม่ต้องเสียเวลาลากสายยาง ที่ต้องใช้เวลาเป็นวันกับการรดน้ำเพียงแค่เรา เปิด
สปริงเกอร์ ใช้เวลาแค่สิบนาที เวลาที่เหลือเราก็เอาไปทำงานอย่างอื่นได้

10 นาที ปั๊มไฟฟ้า สปริงเกอร์ กับ 3 ชม.ปั๊มไฟฟ้า ลากสายยาง ต่อ 1 ครั้ง การ
ทำงาน.....อย่างไหนประหยัดกว่ากันคะ.....




13. โบ๊ท ถึงกับนอนต่อเลย เพราะกลัวว่าสปริงเกอร์ที่ต่อจะไม่ตรง การต่อเราต้อง
ต่อให้ตรงตามท่อ ไม่ปล่อยให้ท่อเอียง เพราะมองดูแล้วจะไม่สวยงาม และการไหล
ของน้ำ ถ้าท่อเอียงน้ำจะไหลลำบาก และเวลาให้ปุ๋ย ป๋ยจะไม่โดนโคนต้น แต่จะ
โดนหญ้าที่เกิดรอบๆต้นแทน

การต่อครั้งนี้เป็นการต่อที่ต้นฝรั่ง เป็นการต่อครั้งที่สองของพวกเรา





14. อ๋อมแอ๋มเป็นคนใช้เลื่อยตัดท่อ ต้นทากาว แล้วทิวก็เป็นคนต่อ




15. กันดั้ม กับอ๋อมแอ๋ม ต่อท่อที่ปลายโซนต้นฝรั่ง โดยใช้ข้อต่อสามทาง





16. อ๋อมแอ๋ม ตัดท่อส่วนที่เหลือ ที่ไม่ได้ใช้งานออก





17. โบ๊ท กันดั้ม ต้น รวมมือ รวมพลังกันต่อท่อ โดยกันดั้มจับ ต้นทากาวและโบ๊ท
ต่อ และตอกที่ท่อเพื่อให้แน่น





18. โบ๊ทต่อข้อต่อสามทาง และข้อต่อตรง




19. บ๋อมแบ๋ม ตอกท่ออยู่ที่ปลายท่อ เพราะจะได้ต่อง่าย และท่อที่ต่อจะได้แน่น





20. ทุกคนรวมพลังกันต่อท่อ เพื่องานที่ออกมาจะได้ เสร็จเร็ว และงานที่ออกมา
จะดูเรียบร้อยเพราะเรารวมพลังกัน....สู้ สู้




21. อ้าวเร็ว ช่วยกันคนละไม้คนละมืองานจะได้เสร็จ เราต้องมีความสามัคคีกัน




22. ขั้นตอนนี้ก็เป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว โบ๊ทเลื่อย เพื่อจะต่อข้องอ เป็นอันเสร็จ
เรียบร้อย




23. อ๋อมแอ๋มสู้ตายค่ะ ไม่ว่าจะเหนื่อย หรือร้อน แค่ไหน




24. ต่อเสร็จแล้วก็จะทำการเปิดน้ำดู แต่บังเอิญว่าลืมทากาว ภาพที่เห็นเลยออก
มาเป็นแบบนี้ ต้องทำการซ่อมแซมด่วน





25. นี่เป็นผลงานการต่อท่อคร้งที่สองของพวกเรา เยี่ยมเลย สวยงามจริงๆ ครั้งนี้
เราเกิดความชำนาญขึ้นนิดหน่อย เลยใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมง




26. เป็นงัยค่ะ ผลงานของพวกเรา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากสถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดูแล้วคุ้มค่าจริงๆ

อ๋อมแอ๋ม.ขอเปียกสักหน่อยเพราะว่า......ร้อน




27. และนี่ก็คือ ผลงานชิ้นที่สองของพวกเรา รวมพลัง สามัคคีกัน งานที่ทำก็จะ
ออกมาดีเอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 11/05/2011 11:14 pm    ชื่อกระทู้: 11-05-54 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สำนักงานเขตหนองจอก กทม. ปรึกษาหารือเรื่อง แนวทางส่งเสริมการเกษตร



1. อ๋อมแอ๋มสาธิตวิธีการทำ Ca.B เป็นครั้งที่ 2 ให้กับสำนักงานเขตหนองจอกชม ขั้นตอนนี้กำลังปั่นน้ำ
และปรับค่า pH ให้ได้เท่ากับ 6.0 อยู่ค่ะ




2. นอกจากแขกที่มาจากสำนักงานเขตหนองจอกแล้วก็มีมาตามข่าวทางวิทยุด้วยนั่นก็คือ สองท่านที่เห็นนั่ง
อยู่ด้านข้างของอ๋อมแอ๋มนี่แหละค่ะ ซึ่งทุกท่านก็ให้ความสนใจกับสิ่งที่อ๋อมแอ๋มนำเสนออย่างเต็มที่ และที่
เห็นนี้ก็ใส่โบรอน.ลงไปเรียบร้อยแล้วค่ะ




3. เสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับ Ca.B ซุปเปอร์ ใส่สีเหลืองเพื่อเพิ่มความขลังลงไป




4. ส่วนผสมทุกอย่างเป็น Food grade อ๋อมแอ๋มก็เลยจัดการชิมให้ดูเป็นตัวอย่าง แค่พอแตะลิ้น
ไม่ได้กระดกไม่เป็นอันตรายหรอกค่ะ รสชาดก็เฝื่อนอมเปรี้ยว แปลก ๆ ดี หาตัวอย่างเปรียบเทียบไม่ได้
ต้องลองเองถึงจะรู้ค่ะ




5. น้ำเปล่ามีค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 0 ทำให้อยากทราบว่าแล้วปุ๋ยที่เราปรุงล่ะจะมีความถ่วงจำเพาะสัก
เท่าไหร่ เพียงพอหรือเปล่า ว่าแล้วก็จัดการวัดให้เห็นกันจะจะเลย ซึ่งความถ่วงจำเพาะที่ได้ก็คือ 10
โอ้โห...มากขนาดนี้เชียว




6. ทุกคนกำลังดูความถ่วงจำเพาะที่ได้นั่นก็คือ เท่ากับ 10 แสดงว่าปุ๋ยน้ำที่เราปรุงไปอุดมไปด้วยสาร
อาหารที่พืชต้องการอย่างเต็มเปี่ยม ใส่อะไรลงไปก็ได้อันนั้นแหละค่ะ




7. คณะจากสำนักงานเขตหนองจอกกล่าวขอบคุณ คุณลุงคิมที่ให้ความอนุเคราะห์ให้ความรู้และคำปรึกษา
ซึ่งทางคณะก็จะได้นำไปประยุกต์เพื่อส่งเสริมต่อไป




8. คณะจากสำนักงานเขตหนองจอกถ่ายรูปร่วมกับลุงคิมเพื่อเป็นที่ระลึก เสียดายที่เรามัวเเต่เก็บของเลย
พลาดโอกาสเข้ากล้องไปได้



เสริม :
จากการพูดคุยกันวันนั้นทราบว่า คณะเขตหนองจอก กทม.ที่มาเป็น จนท.เขต ไม่ใช่ จนท.เกษตรเขตหนองจอกโดยตรง
แต่ด้วยภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ต่อประชาน กอร์ปกับ สนง.เขต ได้รับงบประมาณจากหน่วยราชการใด ลุงคิมจำ
ไม่ได้ มาประมาณ 5 ล้าน จึงเกิดแนวความคิดที่จะจับงานเกษตร มาเป็นโครงการหนึ่งในอีกหลายโครงการที่จะเป็นโครง
การส่งเสริม

จาการที่ จนท.ได้ลงพื้นที่เกษตรในเขตหนองจอก เพื่อหาข้อมูลเบื้องต้น ก็ได้ทราบว่า มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยรู้จักรายการ
สีสันชีวิตไทยวิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม ถึงขนาดเป็นแฟนฟังประจำ กับเกษตรกรส่วนหนึ่งเคยสัมผัสกับลุงคิม
โดยตรงมาก่อนแล้ว จากงานสีสันสัญจร คราวตระเวนไปให้ความรู้ด้านการเกษตรถึงพื้นที่ ณ ที่ต่างๆทั่วประเทศมาบ้างแล้ว

เกษตรกรหลายคนได้เสนอแนะการทำเกษตรแบบ "อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม" โดยใช้แนวทางของ
ไร่กล้อมแกล้มเป็นหลัก

ที่ไร่กล้อมแกล้มได้เสนอแนะแนวทางเกษตรแบบ "เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง" (farmer center) หมายความว่า เกษตรกร
ปลูกพืชอะไรอยู่ ก็ส่งเสริมตัวนั้นอย่างบูรณาการ ครบวงจร ครบทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ บนพื้นฐาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

เกษตรกรเขตหนองจอกและเขตใกล้เคียง ส่วนใหญ่ทำ "นาข้าว" จึงน่าที่จะเน้นหรือให้ความสำคัญระดับต้นๆ ส่งเสริมการ
ทำนาข้าว ภายใต้หลักปรัชญาเกษตรพอเพียง แล้วแปลงหลักปรัชญาเป็นการปฏิบัติ ดังนี้....

**** ลดรายจ่าย หมายถึง มาตรการในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น
- ลดค่าปุ๋ยเคมี โดยยึดหลักการให้ปุ๋ยนาข้าว ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกระยะ ถูกวิธี
- ลดค่าปุ๋ยอินทรีย์ โดยการแปลงฟางให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด
- ลดค่าสารเคมี โดยการใช้สารสกัดสมุนไพร และระบบ ไอพีเอ็ม.
- ลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการใช้แรงงานสัตว์ แรงงานคน หรืออาศัยหลักธรรมชาติ
- ลดค่าเมล็ดพันธุ์ โดยการผลิตเมล็ดพันธุ์เอง และใช้เมล็ดพันธุ์อย่างถูกต้อง และใช้ในอัตราที่เหมาะสม
- ลดค่าใช้จ่ายเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ โดยการเปลี่ยนหรือใช้ร่วมกับเทคโนโลยีธรรมชาติ
- ลดค่าจ้างแรงงานโดยการทำเอง หรือลงแขก


**** เพิ่มรายได้ หมายถึง ใช้เทคโนโลยีการผลิตอย่างเหมาะสม เช่น
- บำรุงนาข้าวให้ได้คุณภาพและสายพันธุ์ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของตลาด
- ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมต่อการผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุดด้วยต้นทุนต่ำสุด รวมทั้งตัดรายการต้นทุนที่สูญเปล่า
- ขจัดและป้องกันปัญหาที่ทำให้ข้าวถูกตัดราคา (พันธุ์ ความชื้น สิ่งเจือปน ข้าวหัก ฯลฯ)
- นำของเหลือจากการผลิต (แกลบ ฟาง รำ ข้าวปลาย) มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ทำปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
- แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือปลูกผักบนคันนา
- ปลูกพืชอายุสั้น (แคนตาลูป แตงโม ถั่ว ฯลฯ) สลับรุ่นนาข้าว เพื่อสร้างรายได้ บำรุงดิน และตัดวงจรชีวิตศัตรูข้าว


**** ขยายโอกาส หมายถึง มาตรการต่างๆที่ทำให้เกิด "ธุรกิจเกษตร" ในอันที่จะพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้า เช่น
- รวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ เทคโนโลยี ประสบการณ์
- รวมกลุ่มผลิต ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารสมุนไพร/อื่นๆ ใช้เอง แทนการซื้อแบบสำเร็จรูป
- รวมกลุ่มจัดซื้อผลิตภัณท์เพื่อการเกษตร (นาข้าว) แบบซื้อตรงจากบริษัทขายส่ง
- รวมกลุ่มขายผลผลิตเพื่อให้เกิดพลังในการต่อรองราคากับคนรับซื้อ
- รวมกลุ่มแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ข้าวกล้องโอท็อป ข้าวถุงขายผ่านร้านค้าสหกรณ์ ขายส่งห้างหรือส่งออกแบบประกันออร์เดอร์
- รวมกลุ่มใช้งบ อบต.จัดซื้อ รถดำนา, รถหยอดเมล็ดข้าว, รถเก็บฟาง, เป็นเครื่องจักรกลกลาง ให้สมาชิกเช่าใช้งาน
- รวมกลุ่มเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายในเขต หรือทั่วประเทศ
- รวมกลุ่มสร้างโรงสี
- รวมกลุ่มตั้งสหกรณ์ หรือร้านค้าขายตรงผู้บริโภค
- รวมกลุ่มจัดกิจกรรมเพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์
- รวมกลุ่มสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษรตร ชม-ชิม-ซื้อ หรือโฮมสเตย์
- รวมกลุ่มหรือจัดตั้งแกนนำ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าหรือยังช่วยตัวเองไม่ได้



ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ หรือส่วนย่อย ของสังคมชาวนาที่แท้จริงเท่านั้น อันที่จริง ประเทศไทยเรามีโครงการ
ส่งเสริมการเกษตรดีๆต่อเกษตรกรทุกสาขาอาชีพมากมาย แต่โครงการเหล่านั้นไปไม่ถึงเกษตรกร การปฏิบัติไม่ครบวงจรหรือ
ไม่สมบูรณ์แบบ รวมทั้งขาดความต่อเนื่อง เท่านั้น

แผนการใดๆ จะสามารถปฏิบัติและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงได้ ต้องอยู่บนพื้นฐาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"
เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ส่งเสริมจะมีความตั้งใจจริงสักเพียงใด แต่ถ้าผู้รับการส่งเสริมไม่เอาด้วย ไม่พัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ตัวเองเลย งานส่งเสริมนั้นก็ไร้ผล............................. (ลุงคิม)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/05/2011 5:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ออกแบบแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10 .....



12. แบบแปลน เกษตรทฤษฎีใหม่ เนื้อที่ 15 ไร่
แบ่งเนื้อที่เป็น 30 30 10


โชน A คือ นา – ไร่ 3 ไร่
ปลูกข้าว เมื่อถึงเวลา เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ปลูก ถั่วเขียว สลับกับการปลูกข้าว เพราะถั่วเขียว ช่วยตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช
และยังรักษา ความอุดมสมบูรณ์ของดิน



โซน B คือ ไม้ผสมผสาน 3 ไร่
1. ปลูกทุเรียน
2. ปลูกมะม่วง มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ พันธุ์ เขียวเสวย พันธุ์ขาวนิยม
3. ปลูกฝรั่ง
4. ปลูกส้มโอ
5. ปลูกกล้วย สลับ กับไม้ผลที่ปลูก กล้วยที่ปลูกจะมี กล้วยน้ำหว้า กล้วย หอม


โซน C คือ บ่อน้ำ 1.5 ไร่
ภายในบ่อ จะเลี้ยงปลา ปลาที่เลี้ยง จะมี ปลานิล เพราะสามรถกำจักวัชพืชรอบสระน้ำได้
และยังสามารถ นำไปขายได้
โซน D บ้านพัก 1.5 ไร่
ทำบ้านพักและบริเวณรอบบ้าน สามารถปลูก พืชสวนประดับรอบบ้านได้ เพื่อความสวยงาม
จะมี โป๊ยเซียน กุหลาบ ดอกแก้ว คุณนายตื่นสาย


โซน E ไม้ผลระยะชิด 2 ไร่
ปลูกลำไย ทรงพุ่มเตี้ย มะม่วง พันธุ์แก้วลืมคอน


โซน F ผักสวนครัว 1 ไร่
ผักที่ปลูก จะมี กระเพรา ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง โหรพา พริก มะนาว
โซน G เลี้ยงสัตว์ 2 ไร่

เลี้ยง วัว เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/05/2011 1:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/05/2011 5:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ออกแบบแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10 .....



13.เกษตรทฤษฏีใหม่ บนพื้นที่ 15 ไร่
A พืชไร่หมุนเวียน 2 ไร่
B ไม้ผล 3 ไร่ (ปลูกพืชที่ต้องการแสงน้อยแซมใต้ต้น เช่น พริกกระเหรี่ยง ข่า)
C ไม้ผลระยะชิด 2 ไร่
D สวนสมุนไพร 2 ไร่ 2 งาน
E บ่อน้ำ 1 ไร่
F ไม้ใช้สอบ 3 ไร่ เช่น ยางพาราฉะเชิงเทรา 60 สะเดา
G ลานอเนกประสงค์ + Camp 1 ไร่
H บ้านพัก 2 งาน
I รั้วกินได้ เช่น ชะอม สลับกับ ปลูกมะพร้าว 10 เมตร/ต้น

จัดทำโดย
นายกรวิชญ์ ล้อไพฑูรย์ (โบ๊ท)
นักศึกษาฝึกงานไร่กล้อมแกล้มรุ่นที่ 9
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาพืชไร่
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/05/2011 7:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/05/2011 5:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ออกแบบแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10 .....



14. เนื้อที่ 15 ไร่

A. สระน้ำ เลี้ยงปลากินพืช กระชังขอบบ่อเลี้ยงกบ ขอบบ่อปลูกมะละกอ เน้นผลดิบ ตลิ่งปลูกหญ้าแฝก ทำหลังคามุงแฝก 1.5 ไร่
B. ทีพัก สิ่งอำนวยความสะดวก เก็บของเครื่องมือเครื่องใช้ 3 งาน
C. ปลูมันสำปะหลังเป็นพืชหลัก 5 ไร่

D. ทำนาข้าวปลูก 2.5 ไร่
E. ปลูกกล้วยน้ำหว้า ผลผลิตเน้น ผลกล้วย เสริม ใบ 2 งาน
F. ไผ่ลวก ผลผลิตเน้น ไม้ เสริม หน่อ 2 งาน

G. มะม่วง กินดิบ ระยะชิด 2 ไร่
H. แคนตาลูป 2 งาน
I. ผักสวนครัวกินใบ หอมแบ่ง ผักชี คะน้า 2 งาน

J. เห็ดนางฟ้า โรงเรือน 2 หลัง บ่มและเปิดดอกสลับกันไป ให้น้ำแบบตั้งเวลา 1 งาน


เนื้อที่ ที่เหลือ เป็นถนน และอื่นๆ

ดุสิต นาถมทอง (ทิว)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/05/2011 8:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/05/2011 5:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ออกแบบแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10 .....



15.
เกษตรทฤษฎีใหม่ บนพื้นที่ 15 ไร่


โซน A พื้นที่ 1 ไร่ เป็นบ่อน้ำ เนื่องจากไม่มีระบบชลประทานที่เพียงพอที่จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุน
ดังนั้น แหล่งน้ำต้นทุน คือ น้ำบาดาล เหตุผลที่ขุดบ่อไว้ด้วย คือ น้ำบาดาลจะมีสนิมติดขึ้นมา
จะต้องสูบขึ้นมาแล้วนำมาพักไว้ในบ่อ เพื่อให้เกิดการตกตะกอนของสนิม ก็ต้องพักไว้ในบ่อ จึงจะ
สามารถนำไปใช้ได้



โซน B จะเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกพืชไร่ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ
โซน B 1 พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์
โซน B 2 พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกข้าวโพดหวานในฤดูฝน และปลูกถั่วสลับกับฟักทองและแตงไทย ในฤดูแล้ง

โซน B 3 จะแบ่งออกเป็น 2 โซน คือ
โซน B 3.1 พื้นที่ 3 ไร่ โดย 2 ไร่ จะปลูกข้าวเหนียวพันธุ์เหนียวอุบล 2 เพราะนิยมบริโภคข้าเหนียว
มากกว่าข้าวจ้าวพื้นที่อีก 1 ไร่ จะปลูกข้าวจ้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไว้บริโภคในครัวเรือน
โซน B 3.2 พื้นที่ 2 งาน จะปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวในปีต่อไป



โซน C จะเป็นพื้นที่ปลูกสำหรับพืชสวน จะแบ่งเป็น 3 โซน คือ
โซน C 1 พื้นที่ 2 ไร่ จะปลูกมะละกอ พริก มะนาว มะเขือ มะเขือเทศ
โซน C 2 พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น คะน้า ผักชี ผักบุ้ง ผักกาดขาว คื่นช่าย เป็นต้น
โซน C 3 พื้นที่ 2 ไร่ จะปลูกไม้ผลระยะชิด คือ มะม่วงเขียวเสวย เขียวใหญ่ แม่ลูกดก



โซน D จะเป็นโซนบ้านเรือนและโรงเรือน แบ่งออกเป็น 4 โซน คือ
โซน D 1 พื้นที่ 2 งาน จะเป็นที่อยู่อาศัย
โซน D 2 พื้นที่ 2 งาน จะเป็นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์(วัว)
โซน D 3 พื้นที่ 2 งาน จะเป็นโซนเลี้ยงไก่ และเลี้ยงห่าน
โซน D 4 พื้นที่ 1 งาน จะเป็นโรงเก็บอุปกรณ์การเกษตร และพื้นที่เก็บฟางข้าว เพื่อเป็นอาหารสัตว์
ในตอนฤดูแล้ง


โซน E พื้นที่ 1 งาน จะเป็นพื้นที่สำหรับไม้ประดับ ไม้ดอก


โซน F พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน ปลูกหญ้าสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไว้เป็นส่วนผสม
สำหรับอาหารสัตว์


[size=18]นาย ธีระวัฒน์ สุขรี
สาขาพืชไร่ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/05/2011 6:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/05/2011 5:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ออกแบบแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10



16. พื้นที่ จำนวน 15 ไร่นี้เป็นพื้นที่ในจังหวัดตราด ซึ่งมีฝนชุกตกตลอดปี มีอากาศแบบ ร้อนชื้น

พื้นที่ A จำนวน 1 ไร่ จะทำการขุดสระน้ำ โดยมีการขุดน้ำบาดาลเสริมด้วยกันการขาดน้ำในช่วงหน้าแล้ง
และมีการเลี้ยงปลาในบ่อ และเลี้ยงไก่ไว้ริมขอบสระ มีการสร้างศาลากลางน้ำไว้เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

พื้นที่ B จำนวน 1.5 ไร่ สร้างบ้านเรือนที่พักอาศัย และคอกเลี้ยงวัว ด้วยส่วนหนึ่ง (กินหญ้าในไร่)

พื้นที่ C จำนวน 2 งาน ทำโรงเพาะเห็ดฟางขายจำนวน 2 โรงด้วยกัน

พื้นที่ D จำนวน 2 งาน ไว้สำหรับปลูกพืชผักสวนครัว และ ปลูกสมุนไพร ไว้กินเองและจำหน่าย

พื้นที่ E เป็นส่วนพื้นที่ของทางเดิน และอื่นๆที่เหลือ ซึ่งทำเป็นซุ้มทางเดินโดยนำต้นข่อยมาเป็นพืชปกคลุม และทำจุดพักนั่งเล่น

พื้นที่ F1 จำนวน 4 ไร่ ปลูกไม้ยางพารา เพื่อเอาเนื้อ และความร่มรื่นของไร่

พื้นที่ F2 จำนวน 3 ไร่ ปลูกงา

พื้นที่ G จำนวน 4 ไร่ ปลูกข้าว โดยที่คันนามีการปลูกข่า แซม

พื้นที่ H รั้วกินได้ (กระถิน, แค)

กันดั้มครับ :")


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/05/2011 12:15 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/05/2011 5:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ออกแบบแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10 .....






17. เกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำรัส โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้....

30 ส่วนแรก สำหรับปลูกพืชไร่
30 ส่วนที่สอง สำหรับปลูกพืชสวน
30 ส่วนที่สาม สำหรับแหล่งน้ำ และ
10 ส่วนที่สี่ สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์

แต่อัตราส่วนก็สามารถปรับเปลี่ยน และประยุกต์ตามสถานการณ์ ความต้องการ และความสะดวกของเกษตรกรได้

การทำการเกษตรให้ได้ผลดี เกษตรกรต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเกษตร และพืชที่จะปลูกเป็นอย่างดีก่อน
เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของพืชนั้นๆ เพื่อที่จะดูแลให้ได้ผลผลิตที่ดีตามมา การที่ขาดความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือรู้แบบผิดๆ
แล้วไปทำก็จะส่งผลเสียมากยิ่งกว่าผลดี

ในส่วนนี้เป็นการออกแบบแปลงเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฏีใหม่ ซึ่งเกิดจากจินตนาการและความ
รู้ความเข้าใจของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ปี 1 ที่พึ่งได้เข้ามาสัมผัสกับการเกษตรอย่างเต็มตัว
เมื่อไม่นานมานี้ แต่มีความสนใจใคร่รู้ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรให้แตกฉาน ทำให้มีแรงจูงใจในการ
เรียนรู้ ซึ่งอาจเพียงพอที่จะนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบแปลงเกษตรในครั้งนี้ แต่หากมีความผิดพลาด
หรือเข้าใจผิดในเรื่องใดก็ตามที่จะได้กล่าวไป ขอความอนุเคราะห์จากผู้รู้ได้ให้ความรู้ที่ถูกต้องด้วย


ความใฝ่ฝันของผู้เขียนอยากเป็นเกษตรอำเภอ ผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการทำการเกษตรที่ถูกต้องและให้ผลดีที่สุด กับเกษตรกร
ภายในพื้นที่ และผู้ที่สนใจ ถ้าหากมีพื้นที่จำนวน 15 ไร่ จึงอยากที่จะสร้างให้เป็นแปลงเกษตรแบบพอเพียงอย่างเต็ม
รูปแบบ นอกจากนั้นยังต้องการเปิดเป็นโฮมสเตย์ สำหรับนักท่องเที่ยว
ผู้ที่อยากสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบเกษตร
พอเพียงนี้ด้วย อีกทั้งยังอยากที่จะส่งเสริมให้เกิดการมีงานทำภายในท้องถิ่น เพื่อที่สมาชิกภายในชุมชนจะได้ไม่ต้องไปหา
งานทำที่อื่น ปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อแก้ปัญหาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

พื้นที่จำนวน 15 ไร่ ถูกแบ่งออกเป็นสัดส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรทรัพยากร และเลือกพื้นที่ปลูกพืชให้เหมาะสม ดังนี้


A. คือ บ่อพักน้ำบนเนื้อที่ 1.5 ไร่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ภายในไร่ ข้างๆ บ่อ จะเป็นบ่อบาดาลขุดไว้ เพื่อเป็นแหล่งน้ำ
สำรองในหน้าแล้งหรือยามขาดแคลน รอบๆ สระทำพื้นที่เป็นคูยกสูงประมาณ 50 ซม.

จากพื้นที่รอบ ๆ ถมดินให้มีพื้นที่พอประมาณสำหรับสร้างเป็นที่พักริมสระได้ โดยรอบ ๆ สระน้ำจะมีบ้านทั้งหมด 6 หลัง
เป็นบ้านหลังใหญ่สำหรับสมาชิกในครอบครัว 1 หลัง อีก 4 หลังเป็นบ้านขนาดกะทัดรัดสำหรับเป็นที่พักของอาคัน
ตุกะผู้มาเยือน ส่วนอีกหลังหนึ่งจะเปิดเป็นบ้านห้องครัว สำหรับให้สมาชิกและอาคันตุกะใช้ประกอบอาหารและรับ
ประทานอาหารด้วย โดยบ้านทั้งหมดจะปลูกบนพื้นที่รอบ ๆ สระน้ำ และมีส่วนของระเบียงที่ยื่นลงไปในบ่อน้ำด้วย
เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือให้อาหารปลา

ในบ่อน้ำจะมีการเลี้ยงปลาหลากหลายชนิด เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน เป็นต้น



B. คือ พื้นที่สำหรับปลูกข้าว 4 ไร่ 2 งาน เป็นพืชหลัก โดยปลูกข้าว 2 ฤดู คือข้าวนาปี และนาปรัง เว้นช่วงสำหรับหมัก
ฟางข้าวและปลูกพืชตระกูลถั่วเสริมอินทรีย์วัตถุในดิน เพื่อต้องการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ลดการทำลายดินให้น้อยที่สุด

การปลูกข้าวให้เป็นมาตรฐานข้าวปลูก เพื่อขายให้กับสมาชิกในชุมชนในราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป สำหรับบริโภค
ภายในครัวเรือน และเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าวขาย


C-1. คือ พื้นที่สำหรับปลูกมะม่วง เน้นให้มีความหลากหลายของสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยม เกรด A จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง
ออกนอกฤดู และเพิ่มมูลค่าโดยผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมะม่วงเป็นหลักขาย จำนวน 3 ไร่


C-2. คือพื้นที่สำหรับปลูกมะนาว เน้นควบคุมให้ผลผลิตออกในฤดูที่มะนาวแพง
จำนวน 1.5 ไร่

D. คือ พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย ต้อนรับแขก และใช้ประโยชน์จิปาถะ จำนวน 1.5 ไร่


E. จำนวน 1.5 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 โซน โซนที่ 1 คือ พื้นที่สำหรับทำโรงเรือนเพาะเห็ด เช่น เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดฟาง
เห็ดนางรม เป็นต้น (ปรับเปลี่ยนตามทิศทางการตลาด)

โซนที่ 2 ปลูกพืชผักสวนครัว เน้นปลูกตามความต้องการของตลาด แบ่งปลูกพืชเศรษฐกิจ 2 งาน คือ มะรุม เป็นต้น

โซนที่ 3 ทำโรงเรือนเเปรรูปผลิตภัณฑ์เน้นให้ได้มาตรฐานโรงงาน


F. คือ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ 1 ไร่ ไม่เน้นเลี้ยงเพื่อการค้าหรือฆ่า แต่เพื่อให้ธรรมชาติเกื้อกูลกัน โดยแบ่งโซนเลี้ยง
วัวนม 2 งาน เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง 2 งาน ปล่อยเป็ดไล่ทุ่งตามอิสระลงนาข้าวหรือภายในพื้นที่ที่กำหนด ให้เป็ดไล่ทุ่งหากิน
อิสระในนาข้าวเป็นการกำจัดวัชพืชในนาข้าวไปในตัวและข้าวก็ได้สารอาหารจากมูลเป็ดอีกด้วย นมจากวัวนมและไข่เป็ด นำ
ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขาย

G. จำนวน 2 งาน คือพื้นที่สำหรับโรงเรือนทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพต่าง ๆ ยุ้งเก็บข้าวเปลือก เเละโรงเรือนเก็บ
อุปกรณ์การเกษตร

H. คือ บ้านหลังกะทัดรัด ออกแบบในดีไซด์แปลกใหม่ เป็นที่พักสำหรับเหล่าอาคันตุกะ

I. คือ บ้านพักสำหรับสมาชิกภายในครอบครัว

J. คือ โรงเรือนสำหรับขายผลิตภัณฑ์ภายในไร่

K. คือ ที่จอดรถสำหรับเจ้าของบ้าน และอาคันตุกะผู้มาเยือน

รอบๆ ไร่ปลูกต้นจามจุรีเป็นแนวรั้วเพื่อเป็นร่มเงา และความสวยงาม เมื่อต้นไม้โตขึ้นก็สามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ได้

แต่อย่างไรก็ตามที่กล่าวไปนี้เป็นแต่เพียงความคิดและจินตนาการ ซึ่งการจะลงมือทำจริงๆ นั้น จะต้องมีรายละเอียดปลีก
ย่อยอีกมากมายมาเป็นองค์ประกอบ อีกทั้งปัญหาก็จะเริ่มค้นพบเมื่อมีการเริ่มลงมือทำด้วย ต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน
ถี่ถ้วน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วย


นางสาวจิราพร วิทาโน
นักศึกษาหลักสูตรพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/05/2011 6:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 12/05/2011 9:38 pm    ชื่อกระทู้: 12-05-54 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

งานทดสอบความพร้อมของ นศ.ฝึกงาน....


การบ้าน งานเข้า :
1. สังเกตุคำถามแต่ละคำถาม เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานด้านวิชาการเกี่ยวกับการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าว
2. ตรวจสอบท่าทีว่า มีความมุ่งมั่นสนใจที่จะทำปุ๋ยใช้เองหรือไม่ ทำเองใช้เองคนเดียว หรือทำเป็นกลุ่ม
3. ตรวจสอบทัศนคติ หรือแนวคิด หรือความเข้าใจต่อการเกษตรแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสม ว่าเป็นอย่างไร ?
4. ด้วยเวลาเรียนรู้เพียง 2-3 ชม.ของวันนี้เพียงวันเดียวไม่สามารถรู้กระจ่างแจ้งทุกแง่มุมได้ มีท่าทีว่าจะย้อนกลับมาเรียนรู้ซ้ำอีกหรือไม่ ?
5. ถ้าเขาคนนั้น คือ พ่อแม่-พี่น้อง เรา จะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ?


.......................................................................... ฯลฯ .....................................................................






1. กลุ่มคณะดูงาน จากจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 50 คน ได้มาเยี่ยมชมไร่กล้อมแกล้ม
ในวันที่ 12 พฤษภาคม ที่เพิ่งผ่านมาครับ




2. กลุ่มเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี กำลังฟังการบรรยาย เรื่องระบบสปริงเกอร์ ในไร่กล้อมแกล้ม โดยมีสาวสวย 2 คน
เป็นวิทยากรครับ




3. บรรยากาศการเที่ยวชมสวนเกษตร โดยต้นไม้ที่เห็นเป็นไม้ตะกูดัด อายุประมาณ 1 ปี ครับ




4. แปลงที่เห็นเป็นแปลงถั่วฝักยาว ลดต้นทุนการทำที่ค้างถั่วฝักยาว โดย 1 ไร่ มีต้นทุนอยู่ 35 บาทครับ ได้ยินบาง
คนเสนอแนวคิดใหม่ว่า ใช้เชือกปอกล้วยก็ได้ เอากาบกล้วยมาตากแดดพอหมาดๆ แล้วก็ฉีกเป็นเส้นเล็กๆ แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว




5. วัสดุอุปกรณ์ก็หาได้ง่าย และสามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยเชือกที่ใช้ทำ ม้วนละ 10 บาทครับ




6. ลุงคิม กำลังอธิบายเรื่อง การเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกร ให้ลดใช้สารเคมี แต่หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน




7. กลุ่มเกษตรกรกำลังฟังการอธิบายครับ




8. ลุงกำลังอธิบายเรื่อง การปลูกกล้วยแล้วมีผลดีอย่างไรครับ โดยที่ไร่กล้อมแกล้มจะเป็นการปลูกกล้วยเอาราก
เพราะที่รากของกล้วยจะมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช ดังนั้นจึงปลูกกล้วยสลับกับพืชชนิดอื่น..... ธรรมชาติของกล้วย
โตแล้วตัด โตแล้วตัด 10 ปีก็ไม่ตาย ตอนที่ยังไม่ตายก็จะมีรากออกมาเรื่อยๆ แต่ถ้าปล่อยให้โตจนออกเครือ นั่นแหละ
ต้นกล้วยถึงจะตาย แต่ถ้าอยากฆ่าต้นกล้วย ง่ายนิดเดียว ตัดต้นให้เหลือแต่ตอ เอาด้ามจอบกระแทกที่ใจกลางให้แตก
เอาน้ำมันพืชหยอดซักช้อนสองช้อน ใจกลางแทงขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ก็ตายไปเอง




9. ตรงนี้จะเป็นโซนแก้วมังกรครับ ในขณะนี้แก้วมังกรบางต้นได้ออกดอกแล้วและเราได้ทำการให้น้ำระบบสปริงเกอร์
ให้กลุ่มเกษตรกรดูครับ




10. กำลังเดินไปดูระบบสปริงเกอร์ที่โซนท้ายไร่ครับ




11. แอ๋มกำลังทำการบรรยายและแนะนำเกี่ยวกับไร่กล้อมแกล้มครับ....พี่อารมย์ เกษตรตำบลเขาสามสิบหาบ บอกว่า
ที่นี่นะ เดิมเป็นที่นาล้วนๆ ให้คนทำนาคิดค่าเช่าไร่ละ 1 ถัง ยังไม่มีคนเช่าเลย เพราะดินแบบนี้มันปลูกอะไรไม่ขึ้น แต่วัน
นี้ คนที่นี่งง ลุงคิมปลูกได้ไง




12. ลุงคิมให้ความรู้กลุ่มเกษตรกร เรื่องการทำนาข้าวแบบลดต้นทุนการผลิต ตามแนว อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตาม
ความเหมาะสมของนาข้าว ต.ห้วยชัน จ.สิงห์บุรี

ลุงคิมเล่าว่า เคยไปบรรยายเรื่องการเกษตรที่บางระจัน สิงห์บุรี ชาวนาที่นั่นใช้ข้าวปลูกไร่ละ 6 ถัง บอกว่าหว่าน
เผื่อหอยเชอรี่....ลุงคิมเลยย้อนถามว่า หอยเชอรี่ที่บางระจัน มันกัดกินต้นข้าวต้นเว้นต้นเหรอ มันไม่ได้กัดกิน
เป็นหน้ากระดานไปเลยหรอกเหรอ....เท่านั้นแหละ ชาวนาบางระจันถึงบางอ้อเลย




13. ระยะการใส่ปุ๋ยในระยะต่างๆ สำหรับนาข้าว (ระยะที่ว่านี้ไม่มีตัวเลขหรือสูตรสำเร็จ สิ่งที่จะบอกได้ คือ ต้นข้าว
เท่านั้นครับ)

เรื่องนาข้าวนี่ลุงคิมมีประสบการณ์ตรงเยอะมาก นึกว่าจะมีแต่ไม้ผลซะอีก....เรื่องนาข้าว ลุงคิมเล่าให้ฟังว่า นาชาว
บ้าน แปลงข้างๆไร่กล้อมแกล้ม ทำนา 30 ไร่ นาเช่า ใส่ปุ๋ย 50 กระสอบ ได้ข้าว 70 ถัง เจ้าของเป็นผู้หญิง อายุ
ซัก 40 ตกเย็นแกก็จะมานั่งกอดเข่ามองนาข้าวลุงคิม วันแล้ววันเล่า ทุกวันก็ได้แต่มอง แต่ไม่เคยถามลุงคิม
เลยว่าทำยังไง ที่ไม่ถามเพราะกลัวเสียเหลี่ยม กลัวเสียศักดิ์ศรี


กับนาอีกแปลงนึง อยู่ท้ายไร่กล้อมแกล้มนี่แหละ เจ้าของเป็นสมาชิก อบต. กำลังเผาฟาง ลุงคิมเลยถามว่า
"เผาฟางทำไม ?" สมาขิก อบต.ตอบว่า "เวลาไถ จะได้ไม่พันผาน" ลุงคิมก็ถามอีก "แล้วนาแปลงข้างๆ
เขาไม่เผาฟาง แล้วเขาทำยังไง ?" สมาชิก อบต.คนนั้นตอบหน้าตาเฉย "ไม่รู้ซิครับ" .... แง่คิดเรื่องนี้
ก็คือ ขนาดผู้นำชุมชนยังคิดอะไรไม่เป็น แบบนี้แล้วชาวบ้านตาดำๆ จะทำยังไง


อีกแปลงนึง อยู่หลังห้องน้ำไร่กล้อมแกล้มนี่แหละ ลุงคิมเล่าให้ฟังว่า เจ้าของเป็นคนหนุ่ม อายุซัก 30-40 ปี
ตอนนั้นไร่กล้อมแกล้มสร้างห้องน้ำใหม่ๆ ห้องน้ำไร่กล้อมแกล้มมีบ่อน้ำล้นด้วย ห้องน้ำสร้างใหม่ระบบซึมลง
ดินยังไม่ดี น้ำเลยเต็มบ่อน้ำล้น ตกกลางคืนลุงคิมสั่งให้เอาไดโว่สูบออกใส่นาแปลงข้างหลังนั่นแหละ เจ้า
ของนาไม่รู้ก็ทำนาไปตามปกติอย่างที่เคยทำ พอต้นข้าวเริ่มโต เจ้าของนาคุย "นากู ไม่ต้องชีวภาพ ข้าวก็เขียว...."

ก็นาแปลงเดียวอีกนี่แหละ วันหนึ่งเจ้าของนาพูดว่า "เฮ้ย เฮ้ย วันนี้ลุงผู้พันไม่มา เราเผาฟางกันเถอะ..."
ชาวบ้านที่เขาอยู่ตรงนั้นด้วยก็ตอบว่า "นามึง มึงจะเผาหรือไม่เผาก็เรื่องของมึง แล้วลุงผู้พันมาเกี่ยวอะไร
ด้วยล่ะ...."


อีกซักแปลงเถอะนะ ใกล้ๆไร่กล้อมแกล้มนี่แหละ ลุงคิมเล่าว่า เจ้าของขายข้าวได้ กลับมาแวะร้านค้า
หน้าวัด สั่งเบียร์สิงห์ยกขาหลังมากิน บอกว่า "จน เครียด กินเหล้า...จน เครียด กินเหล้า..." ประมาณนี้
ซักพักใหญ่ๆ เจ้าของนาคนนั้นเข้าบ้าน แล้วทะเลาะกับเมีย ไม่รู้ว่าเกิดอะไรกับครอบครัวผัวเมีนยคู่นั้น เห็น
เมียออกมานอกบ้านแล้วตะโกนด่าผัวลั่น "อั้ยชิบหาย ขายข้าวได้แสนนึง เอาเงินมาให้กูแค่ 40 บาท...."





14. สถานี BIOI ทิวกำลังอธิบาย ให้ข้อมูล ส่วนผสม ขั้นตอนการทำ วิธีการใช้ให้ผลที่ดีที่สุดครับ




15. สถานี น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง โดยโบ๊ท อธิบายให้กลุ่มเกษตรกรฟัง โดยมีตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอน
ที่ 3 ให้ดูด้วยครับ




16. สถานีจุลินทรีย์หน่อกล้วย ต้นกำลังอธิบายเรื่องจุลินทรีย์ในรากพืชชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนำมาทำแบบเดียวกันได้
และตัวอย่างเป็นจุลินทรีย์หน่อกล้วยขนาด 18 ลิตร ครับ




17. สถานีสาธิตการทำแคลเซียมโบรอน แอ๋มกำลังสาธิตการทำ แคลเซียมโบรอน ขนาด 18 ลิตร ถ้าหาก
คุณซื้อตามร้านทั่วไป ราคาจะอยู่ที่ลิตรละ 200-350 บาท แต่ถ้าคุณทำเอง ต้นทุนจะอยู่ที่ลิตรละ 20 บาทครับ




18. สถานีฮอร์โมนไข่ สูตร TAIPE โดยบ๋อมกำลังอธิบายขั้นตอนต่างๆในการทำ และที่เห็น คือ ชั้นตอนที่ 2
และขั้นตอนที่ 3 ..... พร้อมใช้ครับ




19. ทิว อธิบายเพิ่มเติม และให้ความรู้ครับ




20. ลุงคิมได้มานั่งให้ความรู้เพิ่มเติมครับ




21. สถานีต่างๆกำลังให้ความรู้แบบชนิดที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลยครับ




22. ก่อนจะกลับก็ได้ถ่ายภาพรวมลุงคิม นักศึกษา พร้อมด้วยกลุ่มเกษตรกรศึกษาดูงาน จังหวัดสิงห์บุรี ครับ


เสริม :
การบรรยายวันนี้สรุปเป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้.....

- กลุ่มเกษตรกรของประเทศไทย กลุ่มใหญ่ที่สุด คือ "ชาวนาข้าว" ถ้าชาวนาข้าวอยู่รอด ลืมตาอ้าปากได้ ไม่มีหนี้สิน
นั่นแหละประเทศไทยรอด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า "....ข้าวคือสัญญลักษณ์ของ
ประเทศไทย..." เพราะฉนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันส่งเสริมชาวนาข้าวให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้ได้

- ต้นทุนนาข้าว 30% เป็นค่าปุ๋ย 30% เป็นค่าสารเคมี 20% เป็นค่าแรง สรุปแล้ว นาข้าวต้องใช้ต้นทุนถึง 80% ฉนี้
แล้ว หากชาวนาไม่คิดลดต้นทุนส่วนที่เป็น "ต้นทุนที่สูญเปล่า" ก็อย่าหวังเลยว่าจะได้กำไร นอกจากไม่ได้กำไรแล้ว เผลอๆ
ยังขาดทุนด้วยซ้ำ

- จริงไหม ชาวนาบางคน โฉนดอยู่กับ ธ.ก.ส. เป็นหนี้สหกรณ์ แถมเป็นหนี้ร้านขายปุ๋ยขายยาอีก พอจะทำนาทีต้องจ้าง
ทุกอย่าง จ้างไถ จ้างตีเทือก จ้างหว่านข้าว จ้างหว่านปุ๋ย จ้างฉีดยาคุมหญ้า ยาหอยเชอรี่ ยารา ยาหนอน ยาแมลง สุด
ท้ายจ้างเกี่ยว เรียกว่า "จ้างทุกอย่าง" ว่างั้นเถอะ แบบนี้แล้วจะได้อะไร ขายข้าวได้กำไรต้องเอาไปจ่ายค่าจ้างหมด
ค่าส่งดอก ธ.ก.ส. ส่งดอกสหกรณ์ ไม่ต้องพูดถึง ผลัดได้ผลัดไปก่อน พอถึงหน้านาปีใหม่ก็กู้อีก เป็นหนี้ซ้ำซาก ดอก
ท่วมต้น ต้นเกินดอก วันๆคอยแต่ฟังข่าวราชการ พักหนี้ จำนำข้าว เงินช่วยเหลือ....คนจน คือ คนไม่มีเงิน ไม่มีทรัพย์
แล้วคนที่มีหนี้ ก็คือไม่มีเงิน ไม่มีทรัพย์เหมือนกัน แบบนี้เรียกว่าอะไร....โบราณว่า ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน
แล้ววันนี้ ชาวนาเราบางคน หนักไม่เอา เบาไม้สู้ กลัวร้อน กลัวเหนื่อย เลยจ้างทุกอย่าง คิดซิ ถ้าหนักก็ไม่เอา
เบาก็ไม่สู้ กลัวเหนื่อย กลัวร้อน กลัวหนาว แล้วเมื่อไหร่จะปลดเปลื้องหนี้สินได้ เมื่อไหร่จะรวย ลูกหลาจะทำยังไง

- ลุงคิมทำนากับมือตัวเอง (ที่จริงทำด้วยปาก เพราะใช้วิธีสั่งคนงาน) ไม่ต้องไถ ไม่ว่าโรตารี่โรตาแหระอะไรทั้งนั้น ย่ำด้วย
อีขลุบเลย ย่ำเสร็จคนงานบอกว่า ดีกว่าไถอีกแน่ะ ดำแล้วบำรุงตามระยะ....ระยะกล้าให้ไบโออิ....ระยะแตกกอให้ระเบิด
เถิดเทิง....ระยะตั้งท้องให้ไทเป....ระยะน้ำนมให้ไบโออิ สลับกับยูเรก้า แถมแคลเซียม โบรอน 1 รอบ....ปุ๋ยทุกตัวทำเอง
ไม่ต้องซื้อ ประหยัดต้นทุนได้สุดๆ

- พูดถึงปุ๋ยเคมีในนาข้าวที่ลุงคิมทำ....ตอนทำเทือกใส่ 10 กก. ตอนแตกกอใส่อีก 10 กก. รวมใส่ 2 รอบ 20 กก. ได้ข้าว
127 ถัง....คนขายปุ๋ยเคมีบอกว่า ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มผลผลิต ถ้าใส่มากก็จะได้มาก ลุงคิมใส่ 20 กก.ได้ 120 ถัง แล้วชาวนาใส่
50 กก. มากกว่า 2 เท่า ทำไมจึงไม่ได้ข้าว 200 ถังล่ะ ไม่ใช่เท่านี้ ชาวนาบางคนใส่ปุ๋ย 2 กระสอบ 100 กก. แต่ได้ข้าวแค่
70-90 ถัง........คิดยังไงน่ะ

- คนเรากินข้าว 1 จาน มีเรี่ยวมีแรงตามอัตตะภาพร่างกาย ถามว่า ถ้ากินข้าว 10 จานแล้วมีเรี่ยวมีแรงเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าไหม ?
ฉันใด ต้นข้าวก็เหมือนกัน เขาต้องการกินปุ๋ยธาตุหลัก เอ็น.พี.เค. แค่ 10-20 กก.เท่านั้น ที่เหลือเขาต้องการกินธาตุรอง. ธาตุ
เสริม. ฮอร์โมน. และอื่นๆ

- ว่างๆ น่าจะทำบัญชีข้างฝานะ ทำนา เขียนรายการต้นทุนทุกอย่างที่ต้องจ่ายเป็นเงิน ว่ากันตั้งแต่ก้าวแรกที่ลงนา ถึงก้าวสุดท้าย
กลับจากโรงสีเข้าบ้าน แล้วรวมซิว่าจ่ายไปเท่าไหร่....จดรายจ่ายไว้ที่ฝาบ้านนั่นแหละ ให้ทุกคนในบ้านได้อ่าน ไว้เตือนสติ เมีย
อ่านบอกผัว ผัวอ่านบอกเมีย ลูกหลานช่วยกันอ่าน อ่านแล้วช่วยกันคิด "ต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน" แล้วหาทางลดต้นทุนลง ตัวไหน
ลดได้บ้าง ตัวไหนเป็นต้นที่สูญเปล่าบ้าง....ค่าปุ๋ยลดได้ไหม....ค่าสารเคมีลดได้ไหม....ค่าจ้างแรงงานลดได้ไหม....

- เคยได้ยินไหม ขายข้าวได้แสนนึง เหลือเงินเข้าบ้านแค่ 40 บาท ทะเลาะกันบ้านแทบแตก

- รัฐบาลประกาศประกันราคาข้าว 11,500 แต่พอเอาขายโรงสีได้แค่ 7,500 แบบนี้ใครจะช่วยได้ ถ้าไม่ช่วยตัวเอง ลดต้นทุน
ที่ไม่จำเป็นลง ซื้อให้น้อย ทำเองให้มาก จะดีกว่าไหม ? ..... ข้ออ้างของโรงสี เช่น ข้าวลีบเยอะ. ข้าวปนมาก. ความชื้นสูง.
ข้าวหักเยอะ ข้าวนกมาก สิ่งเจือปนสูง ข้ออ้างพวกนี้ชาวนาเจอประจำ แล้วทำไมชาวนาจึงไม่คิดหาทางแก้ไข

- ที่จริงนาข้าวน่ะ ต้นทุนจริงๆแค่ 3,000 เท่านั้นก็ได้ข้าว 100 ถังแล้ว อั้ยนายกชาวนาไทยบอก ว่าต้นทุน 6,000-7,000 เอามา
จากไหน ทำแล้วได้ข้าวแค่ 70 ถัง ..... เรื่องแบบนี้ วันนี้ไม่คิด ไม่ได้แล้ว หนี้สินที่คาราคาซังอยู่ วันนี้โฉนดอยู่ที่ไหน จะทำยังไง
เคราะห์หามยามร้ายตายปุบตายปับ ลูกหลานจะทำยังไง พูดความจริงอย่างนี้ รับไม่ได้ ฟังไม่ได้ หาว่าด่า ก็ช่วยไม่ได้

- ที่จริง ทุกตำบลในประเทศไทย มีอย่างน้อย 1 แปลง บางตำบลมีมากกว่า 1 แปลงด้วยซ้ำ ที่ทำนาข้าวได้ 100 ถังขึ้น ต้นทุน
แค่ 3,000 ไม่เกิน 3,500 ก็ให้สงสัยเหมือนกันว่า ทำไมคนทำนาในตำบลเดียวกันนั้นถึงไม่สนใจ ไม่ไปดู แล้วคิดหาวิธีทำตาม
อย่างบ้าง ....เคยเห็นกับตา แปลงติดกันแค่ถนนคั่น เป็นพี่น้องคลานตามกันมาด้วย คนน้องทำได้ 130 ถัง ลงทุน 3,000 กว่าๆ
คนพี่ทำได้ 80 ถัง ลงทุน 5,000 กว่า คนพี่ยังไม่ยอมทำตามคนน้องเลย เพราะกลัวเสียศักดิ์ศรี กลัวเสียเหลี่ยม....ถ้าขืนมิจฉา
ทิฐิแบบนี้ รังแต่จะเจ็บตัวเองเปล่าๆ ไม่มีใครเขาเจ็บด้วยหรอก ว่ามั้ย

- ปุ๋ยที่วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะนี้ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะแต่ข้าวเท่านั้น ทุกตัวทุกสูตรทำเอง ทำที่นี่ ด้วยฝีมือของ นศ.แท้ๆ
ที่มหาลัยไม่ได้สอน ที่บ้านก็ไม่ได้สอน แต่วันนี้เขาทำเป็น ทำได้ เพราะเขาฝึกทำ หัดทำที่นี่ ทำกันคนละ 2-3 รอบ กรณีของพวก
คุณที่ทำนาข้าวเป็นอาชีพ คิดซิว่า ถ้าทำเป็น ทำใช้เอง จะช่วยลดต้นทุนได้ซักแค่ไหน เมื่อต้นทุนลดทั้งๆที่ขายราคาเดิมก็เท่ากับ
ได้กำไรเพิ่มขึ้นแล้ว ใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่แค่ลดต้นทุนเท่านั้น แต่ผลผลิตทั้งคุณภาพ ทั้งปริมาณ ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย

- ในโลกนี้มีใครบ้างที่ เอาสูตรปุ๋ย สูตรฮอร์โมน ที่ตัวเองทำขายมาบอกคนอื่นที่ไม่เคยรู้จัก ไม่ได้ถามแม้แต่ชื่อ จะมีก็แต่ลุงคิมนี่
แหละ ขนาดนี้ยังมีคนด่าลุงคิมเลยคุณ ก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่า เขาต้องการอะไรกันแน่

- คิดดีๆ คิดให้ไกล คิดให้กว้าง ถ้าคุณทำปุ๋ย ทำฮอร์โมนเป็น จะทำใช้หรือทำขายก็ว่ากันไป คุณทำเป็นแล้วมันจะอยู่กับคุณไป
ตลอดชีวิตไหม ถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ไหม ถ้าจะเปรียบ ลุงคิมว่านี่มันมีค่ายิ่งกว่าเพชร ยิ่งกว่าทอง อีกนะ มาถึงที่นี่แล้วทำไม
ไม่คว้าเอาไป อย่าอ้างว่าไม่มีความรู้ อย่าอ้างว่ายุ่งยาก อย่าอ้างว่าไม่มีเวลา ไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ อ้างแบบนี้คุณก็
จะไม่เป็นตลอดชีวิต

- เรื่องแบบนี้ถึงจะไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว จะยากหรือง่ายอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่เอาซะอย่าง มันก็ทำไม่ได้ ทำไม่
เป็น อยู่อย่างนั้น แล้วก็จะทำไม่เป็นตลอดชีวิตอย่างที่ว่า ตรงกันข้าม ถ้าใจสู้ เอาวะ ตำรวจไม่จับ ลองทำ หัดทำ ทำแล้วทำอีก
ทำหลายๆครั้ง เดี๋ยวก็ชำนาญเอง....ว่ามั้ย

- วันนี้คุณมาเรียนรู้ตามที่คุณว่า คุณมีเวลาแค่ 3-4 ชม. ปุ๋ยที่คุณเห็นนี้เป็นปุ๋ยสำเร็จรูปพร้อมใช้แล้ว คุณไม่เห็นวิธีทำ คุณไม่เห็น
รูปร่างหน้าตาส่วนผสม คุณไม่เห็นอุปกรณ์เครื่องมืออะไรทั้งนั้น แบบนี้แล้วคุณจะทำเองได้ยังไง คุณน่าจะมีเวลามากกว่านี้ หรือ
คิดว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญต่ออาชีพของตัวเองก็แล้วไป

- เอาละนะ ลุงคิมจะปรามาสพวกคุณทุกคนไว้ก่อน คุณมาเรียนรู้วิธีทำปุ๋ย ทำฮอร์โมน ทำสารสมุนไพร ทำจุลินทรีย์ ทำอะไร
ต่อมิอะไรจากที่นี่แล้ว กลับไปบ้านใครทำได้ช่วยส่งข้าวด้วย ลุงคิมจะไปกราบ

- ที่กล้าท้าไปกราบคุณถึงที่บ้านก็เพราะ การทำของพวกนี้ทำคนเดียวหรือแค่ 2 คนไม่ได้หรอก ต้นทุนมันสูงมากๆ ถ้าจะทำให้ได้จริงๆ
ต้องรวมกลุ่มกันเท่านั้น แล้วเกษตรกรเรารวมกลุ่มกันได้ซะเมื่อไหร่ล่ะ รวมกลุ่มได้เหมือนกันแต่รวมกลุ่มกันสร้างหนี้ ค้ำประกัน
เงินกู้ มึงค้ำกู กูค้ำมึง ถ้าไม่ค้ำให้โกรธกันยันลูกบวช เพราะฉนั้น งานนี้ต้องรวมกลุ่มกัน เริ่มตั้งแต่รวมกลุ่มช่วยกันดู ช่วยกันสังเกตุ
ช่วยกันจำ กลับไปเมื่อจะทำเองก็รวมกลุ่มกันอีก ซัก 10 คน 20-30 คนก็ได้

- รวมกลุ่มกัน 10 คน ทำครั้งละ 200 ล. ทำแล้วแบ่งกันคนละ 20 ล. ก็น่าจะพอใช้แล้วสำหรับนาข้าว 1 รอบ

- ปัญหายุ่งยากอย่างมากๆ ในการทำเองก็คือ การหาวัสดุส่วนผสมให้ครบทุกตัว เพราะส่วนผสมส่วนใหญ่ไม่มีขายตามท้องตลาด
ทั่วๆไป ต้องสั่งซื้อจากบริษัทใหญ่เท่านั้น สั่งซื้อครั้งละมากๆ เพราะบริษัทใหญ่เขาไม่ขายปลีก เขาขายส่งอย่างเดียว อันนี้เราก็ซื้อ
ครั้งละมากๆ ซื้อมาแล้วก็แบ่งกัน

- ทำไมไม่ใช้งบ อบต.ล่ะ ลงทุนทำขึ้นมาแล้วขายให้สมาชิกในตำบล เอากำไรซัก 5-10% ขายคนที่ไม่ใช่สมาชิก เอากำไร 10-
20% นอกจากได้เงินที่ลงทุนคืนมาแล้วยังมีกำไรอีกด้วย

- เอาละ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา ขอเชิญทัศนาได้ตามใจชอบ อย่าลืมนะ ลุงคิมปรามาสคุณไว้ กลับไปแล้วใครทำได้ ส่งข้าวด้วย
ลุงคิมจะไปกราบ เพราะฉนั้น วันนี้ขอให้เก็บรายละเอียดไปมากๆ เอาไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อะไรไม่รู้ ถาม ไม่เข้าใจ ถาม.......


(ลุงคิม)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/05/2011 5:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยูเรก้า-ไบโออิ-ไทเป-แคลเซียม โบรอน-ระเบิดเถิดเทิง..วิธีใช้-อัตราใช้
.................. สลับ/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ................




หลักการและเหตุผล :

***** การเกษตรทุกสาขาเป็นเรื่องของธรรมชาติ ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ ไม่มีนุษย์ตนใดในโลกนี้เอาชนะธรรมชาติได้
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ NASA ก็ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ หากมนุษย์ตนใดยิ่งคิดเอาชนะธรรมชาติจะยิ่งเจ็บ มนุษย์ผู้ฉลาดย่อม
ไม่เอาชนะธรรมชาติแต่จะแสวงประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

***** ในธรรมชาติมีทั้ง "ปัจจัยเสริม และ ปัจจัยต้าน" ส่งผลให้การปฏิบัติใดๆ ต่อธรรมชาติ บังเกิดความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลว ได้ทุกเมื่อ

***** สิ่งที่สัตว์รับเข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้ในการพัฒนาและดำรงชีวิตเรียกว่า "อาหาร" แต่สิ่งที่ต้นไม้ต้นพืชรับเข้าสู่ต้น (สรีระ/ร่าง
กาย) เพื่อใช้ในการพัฒนาและดำรงชีวิตกลับเรียกว่า "ปุ๋ย" ทั้งๆที่ วัตถุประสงค์หรือประโยชน์ คือ ตัวเดียวกัน

***** ปุ๋ยที่ต้นพืชต้องการ ประกอบด้วย ธาตุ 14 ตัว, ก๊าซ 2 ตัว, ฮอร์โมน 2-10 ตัว, วิตามิน 1-10 ตัว และอื่นๆ 1-100 ตัว ใน
จำนวนทั้งสิ้นทั้งปวงนี้จะประกอบส่วน เรียกว่า "สูตร" ทั้งนี้ "จำนวน-ชนิด/มาก-น้อย" (เรโช) ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะพัฒนาการของพืช
เป็นหลักในการพิจารณาความเหมาะสม

***** ปุ๋ยหรือธาตุอาหารทุกตัวมีความสำคัญต่อพืชเท่าๆกัน เพียงแต่ในแต่ละระยะพัฒนาการพืชมีความจำเป็นต้องใช้ต้วไหนมากกว่า
ตัวไหนเท่านั้น การที่ธาตุอาหารครบทุกตัว จึงเรียกว่า "ปุ๋ยเต็มสูตร" เปรียบเสมือนอาหารคนที่เรียกว่า "ครบ 5 หมู่" นั่นเอง

***** ปุ๋ยสูตรต่างๆ (ยูเรก้า, ไบโออิ, ไทเป, แคลเซียม โบรอน และปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง) ทุกสูตร มีธาตุอาหารตัวใด
คำตอบก็คือ มีธาตุอาหารตัวที่ใส่ลงไปนั่นเอง กับทั้งมีมากหรือน้อย ก็อยู่ที่ใส่ลงไปเช่นกัน

***** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สามารถใช้คำว่า "ปุ๋ย" ได้โดยไม่ผิดหลักวิชาการ เพราะมีปริมาณปุ๋ยหรือชนิดธาตุอาหารมาก
เท่าที่ใส่เติมลงไป หรือมากเท่าที่หลักวิชาการกำหนด

***** หลักการทำการเกษตรแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" นั้น ไม่ใช่หลักการตายตัวที่สามารถใช้กับพืชทุก
ชนิดได้ เพราะในพืชบางชนิดต้องปรับ/เปลี่ยนหลักการเป็น "เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสม"

***** ส่วนผสมที่ใช้ คือ ผลิตภัณท์เพื่อการเกษตรหรือปุ๋ย ซึ่งแต่ละตัวผลิตโดยบริษัทและมีจำหน่ายในท้องตลาดอยู่แล้ว
แต่มีข้อน่าสังเกตุ คือ

- บางบริษัทผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเพียงตัวเดียว แล้วก็แนะนำเฉพาะที่จำหน่ายเพียงตัวเดียวนั้นเท่านั้น โดยก่อนใช้ก็ให้นำมาละลายน้ำ
แล้วให้แก่พืชได้เลย หลังจากให้แก่พืชแล้วพืชก็เจริญเติบโตดี

- บางบริษัทผลิตและจำหน่ายปุ๋ยหลายตัวแต่ "แยกจำหน่าย" เมื่อจะใช้ก็ให้นำแต่ละตัวมาผสมกัน ถ้าหลายตัวที่แนะนำนั้นมีไม่ครบ
ก็ให้ใช้เฉพาะตัวที่มีก่อน ต่อเมื่อได้ตัวที่ขาดไปมาแล้วจึงให้ตามภายหลังได้ หลังจากให้แก่พืชแล้วพืชก็เจริญเติบโตดี

- บางบริษัทผลิตและจำหน่ายปุ๋ยแบบ "พร้อมใช้" โดยผสมปุ๋ยทุกตัวให้เรียบร้อย ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้ได้ทันที หลังจากให้แก่พืช
แล้วพืชก็เจริญเติบโตดี

จากข้อสังเกตุทั้ง 3 รูปแบบดังกล่าว ไร่กล้อมแกล้มจึงยึดแบบ "พร้อมใช้" มาเป็นแนวทางปฏิบัติ

***** เทคนิคการผสมปุ๋ยทางใบ ถือหลัก ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (ตรวจสอบการเข้ากันได้ของปุ๋ยเคมีแต่ละตัวที่ สี กลิ่น กาก ฝ้า ฟอง พีเอช.
อีซี. ถพ.) มาตรฐานโรงงาน (อุปกร์ณ์ เครื่องมือ อุณหภูมิ เวลา) และมีหลักวิชาการรองรับ (เรโช คุณสมบัติทางเคมี ประสิทธิภาพ
ต่อพืช)

***** ตรวจสอบค่า ถพ. (มวลสาร หรือความเข้มข้นของเนื้อปุ๋ย) และคุณสมบัติอื่นๆ ด้วยวิธีเปรียบเทียบกับปุ๋ยทางใบจากบริษัทที่มีมาตร
ฐานความน่าเชื่อถือสูง ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด แล้วเปรียบเทียบกับปุ๋ยที่ทำ

***** การเกษตร สาขาพืช : ต้นพืชพูดไม่ได้เหมือนเป็นใบ้ คนที่อยู่กับต้นพืชแล้วพูดกับต้นพืชจึงเปรียบเสมือน "คนใบ้ กับ คนบ้า"
แต่คนจะสามารถพูดหรือสื่อสารกับต้นพืชรู้เรื่องได้เพราะเข้าใจภาษาของต้นพืช ภาษาพืชเป็นภาษาธรรมชาติ นั่นคือ "พูดด้วยใบ-บอก
ด้วยราก" เป็นคำแรก และบอกซ้ำด้วยส่วนอื่นๆ ของต้น ตั้งแต่ปลายรากถึงปลายยอดนั่นเอง


***** พืชทุกชนิด (ทั้งโลก) ต้องการปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโต คือ "ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-
สายพันธุ์-โรค" เหมือนกันทั้งหมด กรณี "สารอาหาร หรือ ปุ๋ย" เป็นเพียงปัจจัยย่อยตัวหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ แม้ปัจจัยสารอาหารหรือปุ๋ยดี
เพียงใด แต่ปัจจัยอื่นๆ ไม่ถูกต้อง/ไม่เหมาะสม พืชก็ไม่สามารถนำสารอาหารหรือปุ๋ยนั้นไปใช้อย่างเกิดประโยชน์ตามต้องการได้ ส่งผล
ให้ต้นพืชไม่เจริญเติบโตนั่นเอง

***** บำรุงเต็มที แต่จะเอาผลผลิตเต็มที่ ย่อมไม่ได้ หรือบำรุงเต็มที่แต่ผิด ย่อมไม่ได้ผลผลิตเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องใช้วิธี พืชเป็นศูนย์
กลาง นั่นคือ ปลูกพืช ตามใจพืช มิไช่ตามใจคน





อะไร คืออะไร ?

ยูเรก้า.
- ที่มาของปุ๋ยสูตรนี้ มาจากหลักการ การผสมปุ๋ยสำหรับผักไฮโดรโปรนิคส์ เพียงแต่ปรับอัตราส่วนผสมให้เข้มข้นขึ้น กับเสริมหรือเพิ่ม
บางตัวที่จำเป็นลงไปเท่านั้น
- เป็นปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางใบเพียวๆ
- เป็นปุ๋ยทางใบชนิดน้ำ มีประสิทธิภาพในการบำรุงผล แบบ "ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ" ตั้งแต่ผสมติดเป็นผลกระทั่งถึง
เก็บเกี่ยว
- ส่วนผสมหลักที่มีประสิทธิภาพในการขยายขนาด ได้แก่ 21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโน โปรตีน.
- ส่วนผสมทุกตัวเป็นสารอาหารพืชประเภทให้ทางใบโดยตรง

ไบโออิ.
- ที่มาของปุ๋ยทางใบสูตรนี้ เป็นผลงานคิดค้นของ สวพ.พลิ้ว จันทบุรี ซึ่งได้แนะนำให้สวนผลไม้ผลทางภาคตะวันออกใช้ทั่วไป จาก
นั้นทางไร่กล้อมแกล้มได้นำมาต่อยอด โดยการใส่ส่วนผสมบางตัวแบบ "ลด/เพิ่ม/เสริม/เติม/บวก" ลงไป จนกระทั่งเป็นอย่างที่เห็นนี้
- เป็นปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางใบเพียวๆ
- เป็นปุ๋ยทางใบชนิดน้ำ มีประสิทธิภาพในการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ แข็งแรง มีภูมิต้านโรคและแมลง และสร้างความพร้อมต่อการออก
ดอกติดผล
- ส่วนผสมหลักที่มีประสิทธิภาพในการขยายขนาด ได้แก่ แม็กเนเซียม, สังกะสี, แคลเซียม และ อะมิโน โปรตีน.
- ส่วนผสมทุกตัวเป็นสารอาหารพืชประเภทให้ทางใบโดยตรง

ไทเป.
- ที่มาของปุ๋ยสูตรนี้ เกิดมาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของเกษตรกรไต้หวัน ซึ่งทำและใช้กันมานานและก็ยังใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนี้ สูตร
ของเกษตรกรไต้หวันจริงๆนั้นเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ แต่ไร่กล้อมแกล้มได้พัฒนาโดยใส่ "สารสังเคราะห์ หรือ ปุ๋ยเคมีลงไป" เพื่อให้
ประสิทธิภาพแน่นอนยิ่งขึ้น
- เป็นปุ๋ย อินทรีย์ + เคมี ประเภทให้ทางใบ
- เป็นปุ๋ยทางใบชนิดน้ำ มีประสิทธิภาพในการเปิดตาดอก
- ส่วนผสมหลักที่มีประสิทธิภาพในการเปิดตาดอก ได้แก่ นม, น้ำมะพร้าว,สาหร่ายทะเล, 13-0-46, 0-52-34 และ อะมิโน โปรตีน.
- ส่วนผสมทุกตัวเป็นสารอาหารพืชประเภทให้ทางใบโดยตรง


แคลเซียม โบรอน
- เป็นปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางใบเพียวๆ
- เป็นปุ๋ยทางใบชนิดน้ำ มีประสิทธิภาพในการสร้างคุณภาพผลผลิต ป้องกันผลแตกผลร่วง
- ส่วนผสมหลักที่มีประสิทธิภาพ แคลเซียม ไนเตรท, โบรอน, ธาตุรอง/ธาตุเสริมและ อะมิโน โปรตีน.
- ส่วนผสมทุกตัวเป็นสารอาหารพืชประเภทให้ทางใบโดยตรง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง.
- เป็นปุ๋ย อินทรีย์ + เคมี ประเภทให้ทางรากหรือทางดิน
- มีประสิทธิภาพบำรุงดิน จุลินทรีย์ และต้นพืช
- ส่วนผสมที่เป็นอินทรีย์ ได้แก่ ปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, น้ำมะพร้าว, ฮิวมิก แอซิด, ส่วนผสมที่เป็นเคมี ได้แก่ ธาตุหลัก,
ธาตุรอง, ธาตุเสริม, ฮอร์โมน และ อะมิโน โปรตีน.
- ส่วนผสมทุกตัวเป็นสารอาหารพืชประเภทให้ทางรากโดยตรง





พืชเป้าหมาย :


ไม้ผล :
1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ : ไบโออิ + 25-5-5 หรือ 46-0-0 เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7

2. สะสมตาดอก
ทางใบ : ไบโออิ + 0-42-56 เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24

3. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ : ธาตุรอง/ธาตุเสริม
ทางราก : -

4. เปิดตาดอก
ทางใบ : ไทเป.เดี่ยวๆ หรือสลับด้วย 13-0-46 หรือ ไธโอยูเรีย หรือ 13-0-46+ไธโอยูเรีย อย่างใดอย่างหนึ่งตามชนิดไม้ผล
ทางราก : 8-24-24

5. บำรุงดอก
ทางใบ : 15-45-15 + เอ็นเอเอ.
ทางราก : 8-24-24

6. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ : ยูเรก้า เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14

7. บำรุงผลกลาง
ทางใบ : ยูเรก้า เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน - ไบโออิ
ทางราก : 21-7-14

8. บำรุงผลแก่
ทางใบ : 0-21-74 เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : 13-13-21 หรือ 8-24-24

9. บำรุง "ดอก + ผล" หลายรุ่น
ทางใบ : ยูเรก้า + ไบโออิ + เทเป เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24



ผักผล (พุ่ม/ต้น) :
(มะเขือฯ - พริกฯ - ข้าวโพดฯ - กระเจี๊ยบ)
ทางใบ : ยูเรก้า + ไบโออิ + เทเป เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24


ผักผล (เถา) :
(แตงฯ - มะระฯ - ฟักฯ -มะเขือเทศ - ถั่วฯ - บวบฯ - น้ำเต้า)
ทางใบ : ยูเรก้า + ไบโออิ + เทเป เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24


ผักใบ (ต้น) :
(ผักกาด - คะน้า - ผักชี - ผักบุ้ง)
ทางใบ : ยูเรก้า + นมสด เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7


ผักใบ (ยอด) :
(ตำลึง - กะเฉด - มะระฯ - ฟักฯ - ชะอม - ผักหวานฯ)
ทางใบ : ยูเรก้า + จิ๊บเบอเรลลิน เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7


พืชไร่ :
(ถั่วฯ - ข้าวโพด - ทานตะวัน - ข้าวฟ่าง)
ทางใบ : ยูเรก้า + ไบโออิ + เทเป เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง (เพิ่มส่วนผสม "เลือด") + 8-24-24


พืชหัว :
(สำปะหลัง - เผือก - มันเทศ - มันแกว - ขิง - ข่า - ขมิ้น - กระชาย - ไชเท้า - แคร็อท - หอม - กระเทียม)
ทางใบ : ไบโออิ + 5-10-40 เสริมด้วย สังกะสี คีเลต
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 5-10-40


นาข้าว :
- ทำเทือก................... ระเบิดเถิดเทิง + 16-8-8
- ระยะกล้า.................. ไบโออิ เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
- ระยะแตกกอ............... ระเบิดเถิดเทิง + 16-8-8
- ระยะตั้งท้อง ออกรวง......ไทเป
- ระยะน้ำนม................. ยูเรก้า สลับ ไบโออิ เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน


ไม้ดอก :
ทางใบ : ยูเรก้า + ไบโออิ + ไทเป เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24


เห็ด :
ฉีดพ่น : ยูเรก้า


ยางพารา :
ทางใบ : ยูเรก้า สลับด้วย ไบโออิ
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14


ปาล์มน้ำมัน :
ทางใบ : ไบโออิ เสริมด้วย แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24


อ้อย :
ทางใบ : ไบโออิ
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24


สับปะรด :
ทางใบ : ไบโออิ + 5-10-40
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 0-0-50


ไม้ใช้สอย :
ทางใบ : -
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 30-10-10


สมุนไพร :
ทางใบ : นมสด
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง (เฉพาะส่วนผสมที่เป็นอินทรีย์)


หมายเหตุ :
"เสริมด้วย" หมายถึง ให้เป็นครั้งคราว 1-2 รอบ ของช่วงนั้น
"สลับด้วย" หมายถึง แยกให้คนละครั้ง





ปัจจัยแห่งความสำเร็จ :

- สารอาหารประเภทให้ทางรากจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต่อเมื่อมีอินทรีย์วัตถุ (ปุ๋ยอินทรีย์) และจุลินทรีย์ในดินอย่างเพียงพอ

- สารอาหารประเภทให้ทางใบจะให้ประสิทธิภาพสูง ต่อเมื่อสภาพต้นมีความสมบูรณ์สูงเป็นปัจจัยรองรับ

- ความสมบูรณ์ของต้นเริ่มจากดิน เพราะฉนั้นจึงต้องบำรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อพืชอยู่เสมอ

- บำรุงต้นให้มีความ "สมบูรณ์สะสม" ต่อเนื่องสม่ำเสมอ รุ่นต่อรุ่น ปีต่อปี หลายๆรุ่น หลายๆปี

- สารอินทรีย์ที่เกิดจากกระบวนการหมักในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงเป็นสารอินทรีย์พร้อมใช้แล้วสำหรับพืช ในขณะที่
การใส่อินทรีย์วัตถุลงไปในดินแต่อินทรีย์วัตถุเหล่านั้นยังไม่ผ่านกระบวนการย่อยสลายจึงยังไม่เกิดสารอินทรีย์

แนวทางแก้ไข คือ ใช้ "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" ผสมคลุกกับอินทรีย์วัตถุโดยตรง ซึ่งนอกจาก "จุลินทรีย์และแหล่ง
พลังงานสำหรับจุลินทรีย์" ในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงจะช่วยเสริมกระบวนการหมักอินทรีย์วัตถุแล้ว ยังเป็นสารอินทรีย์ให้
พืชนำไปใช้ก่อนได้อีกด้วย

- ดินดีต้องมีอินทรีย์วัตถุ โดยพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวควรมีอินทรีย์วัตถุ 25-50% ไม้ยืนต้นมีอินทรีย์วัตถุ 5-10%

- สารอาหารทางใบที่เป็นพื้นฐานความสมบูรณ์ต่อการออกดอก คือ สังกะสี. และโบรอน. (รศ.ดร.สุมิตร ภูวโรดม/สจล.)

- ในไม้ผลพันธุ์หนัก (ออกดอกยาก) ควรใช้ "ไทเป" เพื่อสะสมตาดอก หรือเพิ่มปริมาณสารอาหารกลุ่ม ซี. แล้วเปิดตาดอก
ด้วย "สูตรเปิดตาดอกเฉพาะ" เช่น 13-0-46 เดี่ยวๆ หรือ ไธโอยูเรีย.เดี่ยวๆ หรือ 13-0-46 + ไธโอยูเรีย อย่างใดอย่าง
หนึ่งแล้วแต่ชนิดไม้ผล โดยใช้สลับครั้งกับ "ไทเป" ก็ได้

- ปัจจัยพื้นฐาน (ดิน/น้ำ/แสงแดด-อุณหภูมิ-ฤดูกาล/สารอาหาร/สายพันธุ์/โรค) ต้องมีความเหาะสมกับชนิดพืช
และระยะพัฒนาการ

- ระยะเวลาในการให้ (ถี่/ห่าง) ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของช่วงพัฒนาการของพืชแต่ละระยะและแต่ละชนิด เช่น

พืชสวนครัว ตั้งแต่เริ่มงอกถึงเก็บเกี่ยวใช้ระยะเวลา ต่างกัน เช่น ถั่วงอก 3 วัน, ผักบุ้งจีน 18 วัน, ผักกาด 45 วัน, มะเขือ/พริก
ออกดอกติดผลตลอดอายุขัย

กรณีไม้ผล ช่วงบำรุงผล (ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ) ตั้งแต่เกสรผสมติดถึงเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลาต่างกัน เช่น แก้วมังกร 45 วัน,
มะม่วง 3 เดือน, มะนาว 6 เดือน, ส้มโอ 8 เดือน, ส้มเขียวหวาน 12 เดือน, กาแฟ 13 เดือน เป็นต้น

ช่วงระยะเวลาพัฒาการที่ต่างกันเช่นนี้ ต้องจัดแบ่งเป็น 2-4 ช่วงเท่าๆกัน แล้วให้สารอาหารทางใบช่วงละ 1 ครั้ง นอกจากนี้สภาวะ
แวดล้อม (แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล) ก็มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องที่ทำให้อัตราการให้สำหรับแต่ละช่วงเพียงพอหรือไม่อีกด้วย

- ปริมาณปุ๋ยธาตุหลักทางรากต้องมีความเหมาะสมกับสภาพต้น เช่น มีผลดกมากต้องให้มาก มีผลดกน้อยต้องให้น้อย,
ปริมาณผลิตรุ่นที่แล้วดกมาก ขึ้นรุ่นใหม่ต้องใส่ให้มากขึ้น, หรือ ชนิดพืชย่อมมีความต้องการปริมาณ มาก/น้อย ต่าง
กัน เช่น ผักกาด/ผักคะน้า เปรียบเทียบกับ มะเขือ/พริก เปรียบเทียบกับ ทุเรียน/มะม่วง เป็นต้น

- การเพิมปริมาณปุ๋ย (ทางใบ-ทางราก) ทำโดย ลดอัตราการใช้/ครั้ง แล้วเพิ่มความถี่หรือช่วงการให้ถี่ขึ้น นี่คือ
"ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง" เช่น เคยให้ทางใบ 20 ซีซี./น้ำ20 ล./10 วัน ปรับเป็น 10 ซีซี./น้ำ 20 ล./5 วัน หรือเคย
ให้ทางราก 1 กก./ต้น/30 วัน ปรับเป็น 500 กรัม/ต้น/15 วัน ทั้งนี้ด้วยระยะเวลารวม (10 วันทางใบ หรือ 30 วัน
ทางราก) ต้นพืชเคยได้รับสารอาหารเท่าใดก็จะยังคงได้รับเท่าเดิม เพียงแต่จำนวนครั้งที่ได้รับเพิ่มขึ้นเท่านั้น

(หมายเหตุ : เปรียบเทียบแปลงมะม่วง อายุต้น 5 ปี ให้ผลผลิตแล้ว จากการให้ปุ๋ยทางราก รวม 3 กก./ต้น/3 เดือน ..
... แปลงที่ 1 ให้ปุ๋ยทางราก 500 กรัม/ต้น/15 วัน รวม 6 ครั้ง....แปลงที่ 2 ให้ปุ๋ยทางราก 1 กก./ต้น/เดือน รวม
3 ครั้ง.....แปลงที่ 3 ให้ปุ๋ยทางราก 3 กก./ต้น/เดือน รวม 1 ครั้ง....พบว่า แปลงที่ 1 มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด
และสูงกว่าแปลงที่ 3 ถึง 3 เท่า .....(ดร.สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์/มข.)

- แม้ไม่มีงานวิจัยระดับตัวเลขยืนยันแน่นอน จากการสังเกตุพัฒนาการของผลผลิตที่ได้รับแล้วพอจะประมาณได้ว่า พืชใช้
ปริมาณสารอาหารจากดิน 8 ใน 10 ส่วน แล้วใช้สารอาหารทางใบเพียง 2 ใน 10 ส่วนเท่านั้น แต่สารอาหารทางใบสามารถ
เร่งการพัฒนาของผลผลิตได้เร็วกว่าและแน่นอนกว่าสารอาหารทางราก 8 ใน 10 ส่วน....สรุป สารอาหารทางใบ การตอบ
สนองจากพืชเร็วกว่า สารอาหารทางราก

- จากการสังเกตุผลไม้และพืชผักทุกชนิดที่ไร่กล้อมแกล้ม พบว่า พืชผลทุกอย่างมีรสชาดดีมาก โดยเฉพาะไม้ผลที่ช่วงผล
แก่จัดแล้วไม่มีฝน (งดน้ำ) เมื่อผลสุกจะมีรสหวานดีมาก ทั้งๆที่ไม่ได้ให้ปุ๋ยสูตร "เร่งหวาน หรือ ปรับปรุงคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว"
ทั้งทางใบและทางรากแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการให้ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" เป็นประจำทุกระยะพัฒนาการของพืชนั่นเอง

- ผลจากการให้สูตร "ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ" ทั้งทางใบและทางราก พบว่า ผลไม้ทุกอย่างมีขนาดใหญ่กว่ามาตร
ฐานสายพันธุ์ 25-50% อย่างชัดเจน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/05/2020 3:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/05/2011 1:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

C - N RATIO คืออะไร ? .... สำคัญไฉน ? ....


สรุปคำตอบแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน :

c คือ สารอาหารกลุ่มสร้างดอก ประกอบด้วย P-K-Ca-Mg-S-Fe-Cu-Mn-Mo-B-Si-Na-Ci-Co
N คือ สารอาหารกลุ่มสร้างใบ ประกอบด้วย N

C - N RATIO หมายถึง อัตราส่วนระหว่าง C กับ N ที่มาอยู่ในต้นไม้ผล ก่อนการออกดอก

*** ถ้า C มากกว่า N เปิดตาดอกจะออกเป็นดอก
*** ถ้า C น้อยกว่า N เปิดตาดอกจะออกเป็นใบ
*** ถ้า C เท่ากับ N เปิดตาดอกจะออกเป็นใบแซมดอก หรือใบ





การปฏิบัติ :


3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซี
ซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 1-2 เดือน โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรง
พุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นปีผลิตที่ผ่านมา
กล่าวคือ ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีผลิตที่
ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15
วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-3 เดือน ใน
ห้วง 2-3 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบ 2 ห่างจากรอบ
แรก 20-30 วัน
- การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมีความสำคัญมาก ช่วงนี้จำเป็นต้องให้สารอาหารกลุ่ม ซี. ทั้งทางใบและทางราก
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อม
กันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่
ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังได้สะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกเสียก่อน จากนั้นจึง
ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง


4.ตรวจสอบสภาพอากาศ
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.(งดน้ำ)และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสอง
ขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้มเหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย....ถ้า
รู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช.และเปิดตาดอกไว้ก่อน
ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้กระท้อนออกล่า
ฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช. และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิอากาศจะอำนวยก็ได้


5.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100
ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชก
จนตกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น.
(อาหารกลุ่มสร้างใบ) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก

- เริ่มปฏิบัติหลังจากแน่ใจว่าต้นได้สะสมอาหารหรือมีลักษณะอั้นตาดอกเต็มที่แล้ว โดยสังเกตได้จากใบแก่

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่
มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช. ได้ผลสมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่า
ในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง ความพร้อมของต้น (อั้นตาดอก) ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้
จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน
ตาดอกโชว์นูนเห็นชัด

- เมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการ
อั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้
ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน

- นมสด ซี/เอ็น เรโช = 39:1 (สวพ-5/ชัยนาท)

- คำว่า "สะสมตาดอก" เป็นภาษาชาวบ้าน แต่ภาษาทางวิชาการ คือ "สะสมแป้งและน้ำตาล" ดังนั้น การให้กลูโคส
(น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) จึงเท่ากับเสริมปริมาณน้ำตาลในต้นให้มีมากขึ้นนั่นเอง

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ
ทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำหรือไม่รดน้ำแล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยทำร่องระบาย
น้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลด
ได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช
โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหง และมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
พอดี

- มาตรการเสริมด้วยการ “รมควัน” ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที 3-5 รอบห่างกันรอบละ
2-3 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช สำเร็จเร็วขึ้น




6.เปิดตาดอก
ฯลฯ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/05/2011 5:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียนรู้ “ซีเอ็น เรโช” (คาร์บอน : ไนโตรเจน , C : N ratio) เพื่อกำหนดการออกดอกติดผลของพืช

มีสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหลาย ๆ ท่านมีข้อสงสัยและสอบถามมากับทางผู้เขียนในเรื่องของการเปิดตาดอก การเร่งตาใบ
ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามเหล่านั้นในเรื่องของ “ซีเอ็น เรโช” ซึ่งหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจว่า ซีเอ็น เรโช คืออะไร

วันนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายให้กับสมาชิกรวมถึงเกษตรกรที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของชมรมฯ ให้มีความเข้าใจในเรื่อง “ซีเอ็น เรโช”
อย่างง่าย และนำไปปฏิบัติกับสวนของตัวเอง นำไปบังคับดอกและใบ รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ง่ายในการบังคับให้ติดดอกออก
ผล หรืออาจจะรวมไปถึงการบังคับผลผลิตออกนอกฤดูโดยไม่ต้องใช้สารที่หยุดกระบวนการไนโตรเจนเพื่อประโยชน์ในเรื่องของต้น
ทุนการผลิต และสภาพต้นของพืชที่ตนเองปลูกครับ

ความหมายของ ซีเอ็น เรโช C = ซี ย่อมาจากคาร์บอน (Carbon), N = เอ็น ย่อมาจากไนโตรเจน (Nitrogen) และ ratio = เรโช หมาย
ถึง สัดส่วน รวมแล้ว คือ สัดส่วนของคาร์บอน ต่อ ไนโตรเจน ถ้าตัวเลขอยู่ใกล้กัน เรียกว่า ซีเอ็น เรโช แคบ ถ้าตัวเลขอยู่ห่างกันหรืออยู่
ต่างกันมากกว่า เรียกว่า ซีเอ็น เรโช กว้าง เช่น 15:1 คือ คาร์บอน 15 ส่วน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน

ซี. หรือคาร์บอนได้มาจากค่าวิเคราะห์คาร์โบฮัยเดรทในพืช ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้ง ทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มี
อยู่ในต้นพืชแล้ว

เอ็น. หรือไนโตรเจน ได้มาจากการวิเคราะห์หาไนโตรเจนรวมในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นมาจากดินหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม

ผลที่พืชจะได้รับและแสดงออก ซีเอ็น เรโช แคบ คือ เมื่อตัวเลขของคาร์บอน และ ไนโตรเจน อยู่ห่างกันไม่มาก ซึ่งสามารถทำให้เกิดสภาพ
เช่นนี้ได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนโดยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี หรือฉีดพ่นทางใบที่มีปุ๋ยไนโตรเจนละลายอยู่ ปกติพืชจะได้รับ
ไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปุ๋ยอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของไนโตรเจน, แอมโมเนีย, ยูเรีย หรือที่ละลายน้ำอยู่ในรูปอื่นๆ ก็ตาม
แล้วทำให้ค่าไนโตรเจนเพิ่มขึ้นทันที ในขณะที่คาร์บอน หรือ คาร์โบฮัยเดรท ในต้นพืชเท่าเดิม หรืออาจถูกใช้ไปบ้างเพื่อเป็นพลังงานในการ
ดึงปุ๋ยเข้าสู่รากพืชมีผลให้ค่า ซีเอ็น เรโช แคบ อย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวมีผลทำให้พืชเกิดการเจริญทางใบ คือ แตกยอดและใบอ่อน
ง่าย ทำให้ดอกออกยาก ทำให้คุณภาพผลผลิตใกล้แก่ต่ำลง ถ้าพืชยังไม่เริ่มขบวนการแก่ก็จะทำให้แก่ช้าออกไปซึ่งการแก่ช้าอาจจะเป็น
ผลดีสำหรับพืชผลไม้ที่รอราคา แต่เป็นผลเสียสำหรับพืชที่ต้องการขนาดของผล หากแก่ช้าผลก็ใหญ่เกินกว่าขนาดที่ตลาดต้องการ ซึ่งหาก
ซีเอ็น เรโช แคบ อย่างต่อเนื่องแม้แต่ใบก็ยังแก่ช้าออกไปด้วย

ซีเอ็น เรโช กว้าง คือ เมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันกว่า ซึ่งการทำให้เกิดสภาพเช่นนี้กับพืชที่มีใบรุ่นใหม่สมบูรณ์และมาก
พอแล้ว โดยการหยุดให้ปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิดทั้งทางดินและทางใบ พืชก็ยังจะสังเคราะห์แสงสะสมอาหารมากขึ้นตามลำดับ โดยสร้าง
เด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบฮัยเดรทอื่น
สะสมอยู่ในกิ่ง, ก้าน, ลำต้น, รากหรือหัว ในธรรมชาติเมื่อฝนหยุดตก งดการให้น้ำ น้ำในดินจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนละลายไนโตรเจนออก
มาได้น้อย และในที่สุดแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด ซีเอ็น เรโช จึง
กว้างขึ้นเป็นลำดับ ใบพืชจึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้นพืช ผลของการมีอาหารสะสมมาก
ซีเอ็น เรโช กว้าง ทำให้พืชออกดอกได้ง่าย ผลอ่อนร่วงน้อย โตเร็ว ผลแก่มีคุณภาพดี เมื่อผลแก่แล้วก็สุกได้ง่าย (จากเอกสารแจกสมาชิก
ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

จากที่กล่าวข้างต้น สมาชิกของชมรมฯ หลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มเข้าใจความหมายของ “ซีเอ็น เรโช” กันบ้างแล้วนะครับ ซึ่งผู้เขียนได้
เขียนเรื่องการบังคับมะนาวให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งบทความดังกล่าวที่เขียน ๆ
ไว้ก็อิงจาก “ซีเอ็น เรโช” นี่แหละครับ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะมะนาวนะครับ แต่รวมถึงพืชทุกชนิดที่ต้องการให้ออกดอก การ
บังคับดอกโดยไม่ให้พืชอดน้ำ บังคับกันที่ระบบ “ซีเอ็น เรโช” จะทำให้พืชที่เราปลูกไม่โทรมเมื่อมีดอกออกผลดกมาก การให้น้ำอย่างสม่ำ
เสมอจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตดี ดอกและผลที่ออกมาไม่หลุดร่วงง่ายเพราะปริมาณไนโตรเจนที่มากับน้ำฝนและไนโตรเจนในดินที่
ตกค้างเมื่อทำละลายกับน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก

หากสมาชิกหรือเกษตรกรท่านใดมีปัญหาสงสัยในเรื่องของ “ซีเอ็น เรโช” และการบังคับการแตกใบ แตกดอกของพืชผักไม้ผลทุกชนิดก็
สามารถสอบถามมาที่ผู้เขียนโดยตรงได้ที่โทร. 08-1646-0212 ยินดีให้คำแนะนำสำหรับสมาชิกหรือเกษตรกรทุกท่านครับ


เขียนและรายงานโดย นายสามารถ บุญจรัส (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
email : thaigreenagro@gmail.com
www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=6922 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/05/2011 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ซี/เอ็น เรโช....นอกกรอบ–นอกฤดู

นับจนถึงวันนี้เกือบจะเต็มเดือนแล้วครับ ที่ถูกเพรสซิ่งจากดีเปรสชั่นไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูก จนโงหัวแทบไม่ขึ้น ลำไยของผมซดไนโตรเจน
จากฝนซะจนพุงกาง เลยทะลึ่งแตกใบออกมาเขียวไปทั้งสวน แปลงที่กะจะทำนอกฤดูต้องกลับมาเริ่มสะสมอาหารกันใหม่อีกรอบ

‘สภาพดินฟ้าอากาศ’ นับเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเกษตรกร นอกเหนือไปจากความเสี่ยงทางการตลาดจากราคาผล
ผลิตที่ขึ้นลงไม่แน่นอน

พูดถึงการบังคับให้ไม้ผลออกนอกฤดู เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้วิธีทรมานต้นไม้ อาทิ การควั่นกิ่งเพื่อตัดท่อลำเลียงน้ำและอาหาร การรัดกิ่ง.
การรมควัน. การงดน้ำ. การสับราก. ไปจนถึงการใช้สารเคมีราด-รดเพื่อทำลายราก. หรือฉีดพ่นทำให้ใบร่วง. ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ต้น
ไม้รู้สึกว่ากำลังจะตาย ต้องรีบออกดอกเตรียมสร้างผลเพื่อขยายพันธุ์

ลองมองในมุมกลับ ถ้าเราบำรุงให้ต้นไม้สมบูรณ์มากๆ ล่ะ ให้ต้นไม้รู้สึกอัดอั้น จนทนไม่ไหวต้องผลิดอกออกมา ไม้ผลบางชนิดถ้าบำรุงดินดี
ต้นสมบูรณ์ จะให้ผลตลอดปี เช่น ส้ม ทุเรียน จะมีผลเล็กๆ ผลโต ผลแก่ คละกันในต้นเดียว เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาล

ผมกำลังลองทำลำไยนอกฤดูแบบธรรมชาติอยู่ครับ ใช้การบำรุงต้นให้สมบูรณ์แทนการราดสารโปแตสเซียมคลอเรต แต่เจอฝนชุดนี้ไป
ทำเอาจุกเลยทีเดียว ไม่ทันได้กระตุ้นตาดอกเจอฝนเข้าไปกลายเป็นใบหมด ไม่เป็นไรเดี๋ยวเอาใหม่ เสียแค่เวลาเท่านั้น โดยทั่วไป
ไม้ผลจะออกดอกได้จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคแมลงรบกวน ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอต่อเนื่อง มีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอน
(หรือคาร์โบไฮเดรต) ต่อไนโตรเจนที่ห่างมากๆ ที่เรียกว่า ซี-เอ็น เรโช (C/N Ratio) และมีสภาพอากาศที่เหมาะสม


ลำไยเป็นไม้ผลที่ผลิดอกเมื่อช่อแก่ อาศัยหลักการนี้ ที่ผ่านมาผมเน้น สะสมธาตุอาหารในกลุ่มที่สร้างตาดอกมากกว่าตาใบ
ลดไนโตรเจนลงให้มากที่สุด เพื่อถ่าง ซี-เอ็น เรโชให้กว้างมากขึ้น แต่ปัญหา คือ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะฝนและ
ความชื้นที่ทำให้ ปริมาณ N หรือไนโตรเจนเพิ่มขึ้น จนเท่ากันหรือมากกว่า C หรือคาร์บอน เมื่อ C/N Ratio แคบลง เปอร์เซ็นการออก
ดอกก็ลดลงด้วย


นอกจากความสมบูรณ์ของต้นจากการสะสมอาหารมาอย่างเต็มที่แล้ว ลำไยต้องกระทบหนาวครับ ถึงจะออกดอก นี่เป็นเหตุผลว่า
ทำไมการทำลำไยนอกฤดูจึงต้องราดสาร ในช่วงฤดูฝนอย่างนี้ ต้นไม้เกือบทุกชนิดจะเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ เป็นไปตาม
ธรรมชาติ ในลำไย การราดสารจะเป็นการทำลายราก (เหมือนโดนน้ำร้อนลวกหรือน้ำกรดสาด) ความสามารถในการดูดซึมอาหารและ
น้ำก็ลดลง ซึ่งจะส่งผลในการควบคุมการเจริญเติบโตของต้นลำไย จนติดดอกได้ในที่สุด ไม่จำเป็นต้องผ่านหนาว

ส่วนตัวแล้วเห็นว่า การทรมานต้นไม้อาจจะมีผลดีในวันนี้ แต่ในระยะยาวไม่น่าจะดีนัก เหมือนอาการดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณยา เปลี่ยน
ชนิดยาที่แรงขึ้น แม้อาการจะทุเลา แต่สุขภาพก็ทรุดโทรมลงเช่นกัน

ลองมาดูกันครับว่า การบังคับด้วยการบำรุงแทนการทรมาน ผลลัพภ์จะเป็นอย่างไร สำหรับผมแล้วไม่มีอะไรเสียหาย ถ้าลองแล้วไม่สำเร็จ
ไม่ติดดอก ไม่ออกผล ผมก็ยังจะได้ต้นลำไยที่ผ่านการบำรุงจนสมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอกตามธรรมชาติในหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง
แม้จะเป็นลำไยในฤดู แต่ถ้าทำคุณภาพได้ ลูกใหญ่ ไซซ์จัมโบ้ เกรด AA ก็อยู่ได้สบายๆ เป็นอีกโจทย์นึงที่ต้องแก้ให้ตกต่อไป

ปัญหาของชาวสวนลำไยทุกวันนี้อยู่ที่ ‘การทำคุณภาพ’ ครับ เรื่องการทำนอกฤดู จะให้ออกช่วงไหน เวลาใด ออกมาก ออกน้อย ทำได้
กำหนดได้ ไม่เป็นปัญหา แต่ออกมาแล้วทำอย่างไรให้ได้ขนาดที่ต้องการ นี่ต่างหากที่เป็นปัญหา ทำนอกฤดูแล้วยังขาดทุน ก็มาจากเหตุ
นี้เป็นสำคัญ

ที่ลองทำเพราะอยากรู้และอยากแสดงให้เห็นว่า เกษตรธรรมชาติจะสามารถบังคับให้ต้นไม้ออกดอกผลนอกฤดู รวมไปถึงช่วยทำคุณภาพ
ให้กับผลผลิต ได้หรือไม่ … อย่างไร

‘วิทยาศาสตร์’ แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่สามารถสร้างคุณภาพไปพร้อมๆ กับการลดต้นทุนการผลิตได้ แต่กับ ‘ธรรมชาติ’ จะตอบโจทย์นี้ได้
หรือไม่ ยังเป็นเรื่องให้ต้องค้นคว้า เสาะหา และพิสูจน์กันต่อไป



Baansuan in the mist เกือบเดือนเต็มๆ จะกดใบอ่อนก็ไม่ได้เพราะฝนโปรยตลอด เลยเขียวอย่างที่เห็น แตกกันให้เขียวพรึบ
ยิ่งกว่ารบพิเศษยึดกรุงซะอีก


ปล.๑
ผมไม่ปฏิเสธวิทยาศาสตร์ครับในบางกรณี คนเราขึ้นทางด่วนเพื่อย่นระยะเวลา ลำไยของผมก็น่าจะเหมือนกัน ต้นไม้ต้องสังเคราะห์แสง
เพื่อปรุงอาหาร แต่ในภาวะที่มีแดดน้อยอย่างนี้ ผมต้องย่นเวลาในการสะสมอาหารด้วยการเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้เร็วที่สุด ต้น
ไม้ก็เหมือนคนที่ต้องเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จึงจะได้ประโยชน์จากสารอาหารได้เต็มที่ วิธีที่ง่ายและเร็วที่นิยมทำกัน คือ พ่นน้ำตาลให้
พืชโดยตรง ผมใช้ ‘กลูโคส’ ครับ เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาไรด์ (Monosaccharides) พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที


ปล.๒
อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นครับ เดิมผมเคยใช้ปุ๋ยเคมีทางดิน เสียค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ๑๕ บาท/ต้น/ครั้ง ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย
อินทรีย์ชีวภาพ ค่าใช้จ่ายลดลงเหลือ ๘ บาท/ต้น/ครั้ง

ในส่วนปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมน และยาฆ่าแมลงต่างๆ ตามท้องตลาดโดยเฉลี่ยราคาจะตกอยู่ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ บาท/ลิตร ที่สวนบาง
ตัวเราหมักใช้เอง บางตัวจ้างเค้าหมักให้ หลักๆ ที่ใช้อยู่ก็มี ปุ๋ยปลาหมัก ฮอร์โมนผลไม้สุก น้ำหมักสมุนไพร ทั้งหมดนี้ต้นทุนเฉลี่ย
๑๕-๒๐ บาท/ลิตร

สวนผมอยู่ได้เพราะต้นทุนที่ต่ำนี่ล่ะครับ

baansuan.wordpress.com/2007/05/23/นอกกรอบ-นอกฤดู/ -


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/05/2011 6:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฮอร์โมนไข่เร่งดอก

ชมรม มสธ.ระยอง
สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


มีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ไข่ไก่สดทั้งเปลือก (ไข่เป็ดไข่นกกระทาหรือไข่หอยเชอรี่ก็ได้) 5 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม
3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
4. ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยวก็ได้ 1 ขวด/กล่อง
(ถ้าใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตด้วยเปลือกสับปะรด 200 ซีซี. ก็ได้)

วิธีทำ
นำไข่ไก่ทั้งฟองปั่นให้ละเอียด ด้วยเครื่องปั่น ถ้าไม่มีเครื่องปั่นให้ตอกไข่ขาวไข่แดงออกจากเปลือกใส่ภาชนะแล้ว ใช้ไม้หรือ
เครื่องมือตีไข่ขาวไข่แดงให้เข้ากัน เปลือกไข่ใส่ครกตำให้ละเอียดตักใส่ลงไปในภาชนะไข่ขาวปนไข่แดงแล้วเพื่อต้องการธาตุ
Ca จากเปลือกไข่แล้วนำกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงมาผสม นำลูกแป้งข้าวหมากมาบี้โปรยลงไป แล้วใช้ยาคูลท์ หรือน้ำ
เปรี้ยวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือกระเพาะหมูก็ได้ ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่าแลกโตบาซิลลัล (Lactobacillus sp.) ผสมใส่ลงไป
แล้วคนคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ถังพลาสติกให้มีช่วงว่างอากาศประมาณ 10% ของภาชนะ เพื่อ
ให้จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบได้ด้วย ประมาณ 7 วัน ทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีอย่าให้ถูกแสงแดดจึงนำไปใช้ได้


ข้อควรระวังในการใช้มี 2 ข้อสำคัญๆ คือ
1. อัตราการใช้ 2-3 ช้อนกาแฟ (5-10 ซีซี.)/น้ำ 20 ลิตร (1 บีบ) ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง

2. เริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ใบอ่อนออกมารุ่นที่ 3 เป็นใบ “เพสลาด” จนกระทั้งพืชออกดอก ประมาณ 50-80 % จึงหยุดพ่นด้วย
ฮอร์โมนไข่ทันที (ถ้าพ่นต่อไปดอกจะร่วงล่น เนื่องจากสูตรนี้มีความเข้มข้นและมีความเค็มสูง) หลังจากนั้นพ่นด้วยน้ำหมัก
ชีวภาพสูตรฮอร์โมนผลไม้ต่อ ประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง

ราดฮอร์โมนไข่ โดยใช้ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นหรือราดให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก ๆ 5-7 วัน

การฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่เป็นการเพิ่มคาร์โบไฮเดรต หรือธาตุคาร์บอน(C)ให้กับต้นไม้ทำให้ค่าของ ซีเอ็น เรโช (C/N Ratio)
กว้างหรือสูงขึ้นมีผลทำให้ไปกระตุ้นตาดอกสามารถเปิดตาดอกได้ ไม่เป็นการทรมานต้นไม้อีกด้วย แต่ต้องจำไว้เสมอว่า การ
ทำให้ต้นไม้ออกดอกหรือออกดอกนอกฤดูต้องเน้นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ที่สุดและพืชมีใบอ่อนรุ่นที่สามที่มีใบ “เพสลาด” จึงทำ
การฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ จากนั้นไม่เกิน 30 วันพืชจะแตกดอกเต็มต้น (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่)


stou-rayong.thai-forum.net/forum-f13/topic-t285.htm -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/05/2011 8:33 pm    ชื่อกระทู้: มุมมองนักศึกษาต่อภาคเกษตรกรรมไทย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มุมมองนักศึกษาต่อภาคเกษตรกรรมไทย


ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม เป็นประเทศที่สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของพืชมากที่สุดของโลก
เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งเรื่องดิน น้ำ แสงแดด สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ฤดูกาล ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ
มากของพืช ถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งขาดหายไป หรือได้รับไม่สมบูรณ์ จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ผลผลิตที่ได้คุณภาพ
ก็ถือว่าอยู่ในเกรดต่ำ ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกประเทศกำลังประสบพบเจออยู่ ทำให้ประเทศ
เหล่านั้น มีการเข้ามาในประเทศไทย เข้ามาเพื่อลงทุนในภาคเกษตรกรรม การผลิตตัวยาทางการแพทย์ และตัวยาสมุนไพร

การเข้ามาของชาวต่างชาติแบบนี้ ก็นับว่าเป็นข้อดีอยู่บ้าง คือ ชาวต่างชาติจะนำเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ๆเข้ามาด้วย
ข้อนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะเทคโนโลยีจะช่วยประหยัดเรื่องต้นทุน ค่าแรงงาน ระยะเวลาในการทำงาน

แต่ก็นับเป็นข้อเสียที่ร้ายแรงสำหรับประเทศเหมือนกัน เพราะชาวต่างชาติจะเข้ามาติดต่อซื้อที่ดินเพื่อปลูกพืช ผลผลิตที่ได้
ก็ส่งไปขายที่ประเทศของตน การกระทำที่ว่านี้กล่าวได้ว่าเป็นการขายชาติก็ว่าได้ เราควรจะเป็นผู้ผลิต ไม่ใช่เป็นผู้ซื้อ สิ่งที่ทำ
คือ คนเห็นแก่ตัว เราต้องเห็นแก่ประเทศชาติ เราควรจะรักและหวงแหน แผ่นดินถิ่นเกิด เราควรภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษของ
เรารักษาเอกราชของชาติไว้ได้จนปัจจุบันนี้

ภาคเกษตรกรรมไทย เป็นระบบที่ไม่ได้มีการวางแผนมาตั้งแต่ต้น เป็นระบบที่ผมคิดว่าเป็นความ ล้มเหลวของภาคเกษตรกรรม
ที่ไม่มีหลักการในการทำงานที่แน่นอนและเด่นชัด เรียกได้ว่าเป็นระบบ ที่ไม่ได้มาตรฐานในการดำเนินงาน มันจึงก่อให้เกิด
ปัญหาตามมาไม่รู้จบอย่างทุกวันนี้ เช่น สหภาพยุโรป หรือ อียู ระงับการนำเข้าพืชผัก เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ และอื่นๆทั้งหมดรวม
ประมาณ 15 ชนิด เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป รวมมูลค่าความเสียหายในครั้งนี้ มากกว่า 300 ล้านบาท ความเสียหาย
ยังไม่จบอยู่แค่นี้ เพราะผักที่ส่งไปจะส่งไปตามร้านอาหารไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศ
ขาดวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารไทย เกิดความเดือดร้อนมาก ทำให้สหภาพยุโรปต้องนำเข้าวัตถุดิบ จากประเทศอื่นที่ เป็นคู่แข่ง
ของไทย คือ เวียดนาม ประเทศไทยจึงสูญเสียตลาดที่ใหญ่และสำคัญไป เป็นเวลานานหลายเดือน หรือกล่าวได้ว่าไทยสูญ
เสียตลาดที่สำคัญไปแล้ว สาเหตุเนื่องจาก สหภาพยุโรป ตรวจพบสารเคมีที่เป็นอันตรายเกินค่ามาตรฐานมากกว่า 10 เท่า
เป็นอันตรายต่อคนอย่างมาก

สารเคมีที่ว่านี้ ตัวอย่างเช่น สารฆ่าแมลงศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช เป็นต้น ที่เกษตรกรไทยใส่เข้าไปอย่างมาก จนสาร
เหล่านี้เข้าไปสะสมอยู่ในพืชมากเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ จนก่อให้เกิดภาพลักษณ์ ที่ไม่ดีต่อประเทศคู่ค้า ส่งผลต่อ
ความน่าเชื่อถือของประเทศ ที่ผมว่ามีการหยุดการนำเข้า 6 เดือนนั้น ทางสหภาพยุโรปจะทำการตรวจสอบพืชผักที่จะนำเข้า
และขั้นตอนการตรวจสอบ มีหลายขั้นตอน ที่สลับสับซ้อน ซึ่งเราก็ต้องยอมรับหลักการนั้น นี่แหละที่เขาว่า เรื่องง่ายก็ทำเป็น
เรื่องยุ่งยาก เฮ้อ…..!

ต้นตอของปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่สหภาพยุโรปที่ระงับการนำเข้า แต่อยู่ที่เกษตรกรไทยที่ไม่รู้จักการ ทำเกษตรอย่างถ่องแท้ ประณีต
และใส่สารเคมีอย่างตามพอใจ มีเท่าไหร่ใส่ไปอย่างไม่อั้น คงจะเป็นเพราะเกษตรกรไทยยึดติดกับหลักการเดิมๆที่เคยทำกันมา
บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้น คือ เกษตรกรไทยไม่ยอมรับหลักวิชาการ ไม่ยอมรับแนวคิดใหม่ กลัวคนนั้น คนนี้เก่ง
กว่า ถือเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ชอบความสบาย แต่อยากรวย ถ้าทำแบบนี้ทั้งปีทั้งชาติก็ไม่รวย

เกษตรกรไทยทำแบบนี้ทำให้เกิดผลเสีย ตามมาอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ทั้งที่ประเทศไทยเคยทำเกษตรกรรมยุคแรกเริ่มเป็นระยะ
เวลาไม่น้อยกว่า 4000 ปีมาแล้ว ไม่น่าเชื่อเลยว่า ประเทศไทยจะเป็นอย่างทุกวันนี้ ?

ปัญหาทุกปัญหาก็ต้องมีทางแก้ไข อยู่ที่ว่ามาตรการในการแก้ไข จะแก้ไขไปในทิศทางไหน ถูกกับปัญหาที่เกิดหรือไม่ ถ้ามีมาตร
การที่ดี แต่แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ปัญหานี้ก็จะเป็นแผลเรื้อรังไม่มีวันหาย

หนทางแก้ปัญหาที่ว่านี้ ผมขอออกความคิดเห็นว่า ปัญหาอยู่ที่เกษตรกร เราต้องเริ่มต้นที่เกษตรกร คือ เราต้องรวบรวมเกษตรกร
สมมติว่าได้สัก 10 คน ที่จะปลูกพืชผักแล้วนำส่งออก นำเกษตรกรมาให้ความรู้การทำเกษตรแบบปลอดสารเคมี โดยต้องตั้ง
เกรดไว้เพื่อทำการส่งออก และให้เกษตรกรทำให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ โดยเกษตรกรทั้ง 10 คน มาปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ตรงกัน
เปลี่ยนแนวคิด มุมมอง หรืออาจจะกล่าวว่า ล้างสมองก็ว่าได้ เพราะปัญหาที่ใหญ่ที่แก้ไม่ได้สักที คือการปรับเปลี่ยนแนวคิดของ
เกษตรกรไทย แผนที่จะทำต้องมีหลักการที่ชัดเจน มีการบริหารที่ ครบวงจรการผลิต คือ ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่ใช้
สมุนไพรแทน ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช แต่ใช้การถอนหรือใช้ฟางคุมโคนต้นแทน เป็นต้น


ภาคเกษตรกรรม เป็นรายได้หลักของประเทศไทย พืชบางชนิด อย่างเช่น ข้าว ถึงแม้ประเทศไทยจะผลิตข้าวเป็นอันดับ 6 ของ
โลก แต่ควรภูมิใจเถอะว่า ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับที่ 1 ของโลก รายได้ที่ได้จากภาคเกษตรกรรม เป็นรายได้ที่เข้าประเทศ
มาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ หากไม่มีการจัดการ หรือการวางแผนที่ดี ประเทศไทยก็จะล้มเหลวในการทำเกษตรกรรมไปตลอด
อยู่ที่เกษตรกรไทยแล้วละครับ ว่าจะช่วยพัฒนาการเกษตรของไทยให้เจริญทัดเทียมอาณาอารยประเทศ ที่เขาทำ ยิ่งทำยิ่ง
เจริญขึ้นไปทุกทีๆ



นายธีระวัฒน์ สุขรี สาขาพืชไร่
ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 17/05/2011 11:05 pm    ชื่อกระทู้: 17-05-54 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1. เห็นภูมิทัศน์ภาพนี้แล้ว อยากมีบ้านซักหลัง แล้วทำทางเข้าบ้านสไตล์นี้ คงดีนะ

เคยวาดฝัน (เน้นย้ำ....ฝัน) ไว้ว่า ที่ไร่กล้อมแกล้มปลูกกระท่อมขนาด 2 คนนอน
ซัก 5 หลัง แทรกในดงไม้บนเนิน หรือไม่ก็ปลูกแทรกในดง ระหว่างแถวไม้ผล หรือ
ไม่ก็ทำเรือนแพ ขนาด 10 คนนอน ขึ้นมาอีกหลัง ต่อจากแพศาลาในน้ำ แล้วมี
สะพานแขวนถึงกัน .................................. (ลุงคิม ถาม ดีไหมลูก)





2. สังเกตุ 1 คนหายไปไหน ไปเป็นตากล้องยังไงล่ะ แล้วคนนั้นเป็นใคร ทำไมไม่
ใช่อั้ย 2 สาวด้วยล่ะ .............. (ลุงคิม ไม่ได้จับผิด แต่เป็นความผิดซึ่งหน้า)




3. เพิ่งนึกขึ้นมาได้ เฮ่ออออ.... บ่อยครั้งที่ส่งกล้องให้สองลูกสาว มันยิ้มร่า รับกล้องไปแล้วส่งให้คนอื่นต่อ ....
อ้ออออ คนที่รับกล้องต่อ จะได้เป็นตากล้องถ่ายรูปมันยังไงล่ะ......(ลุงคิม หัวดีแต่ขี้ลืม)




4. THE RIVER BRIGDE อันนี้ไม่ใช่ของจริงนะ เป็นของที่สร้างขึ้นมาใหม่ แทน
อันเก่าที่ถูกอเมริกาทิ้งบอมบ์.....ของจริงอยู่ห่างไปทางท้ายน้ำราว 200-300 ม.
วันนี้เห็นแต่ตอหม้อ ปริ่มน้ำอยู่เท่านั้น

ต้องขอบคุณสงครามไหม แค่สะพานข้ามแม่น้ำธรรมดาๆ สะพานหนึ่งเท่านั้น ทำให้มี
คนทั้งโลกมาดู ปีละกว่า 5,000,000 คน ถ้าคนที่มาจ่ายเงินคนละ 10 บาท ก็เท่า
กับ 50 ล้านบาทแล้ว งั้นมีสงครามอีกดีมั้ย ?....(ลุงคิม กำลังทำสงครามกับลาดกระบัง)




5. แม่น้ำแคว - แม่น้ำนครชัยศรี - แม่น้ำแม่กลอง - แม่น้ำบางปะกง คือชื่อของแม่น้ำสายนี้ ผ่านไหนชื่อนั้น
เพราะฉนั้น อย่าเถียงกันว่า แม่น้ำสายนี้ชื่ออะไร

ช่วงที่เป็นแม่น้ำแคว มีปลายี่สกขนาดใหญ่ม่าก นน.ถึง 120 กก. แต่เดี๋ยวนี้แค่ตัวละ 10 กก.ก็หากินไม่ได้แล้ว

ช่วงที่เป็นแม่น้ำบางปะกง มีปลากะเบนน้ำจืดขนาด 120 กก. เมื่อเร็วๆนี้รายการสารคดีดิสคัพเวอรี่ จับได้ บอกว่า
ใหญ่ที่สุดในโลก บันทึกแล้วปล่อยไป ..... ถ้าเป็นพี่ไทยรึ ฮึ่ม กะเบนใหญ่ที่สุดในโลก ลงหม้อใหญ่ที่สุดในโลก
ไปแล้ว ว่ามั้ย

แม่น้ำทุกสาย (เหนือ จรด ใต้ - ตะวันออก จรด ตะวันตก) ของประเทศไทยเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ น้ำในแม่น้ำ
ใช้เพื่อบริโภค อุปโภค เพียง 10% ที่เหลือ 90% ใช้เป็นน้ำดีไล่น้ำเสียในเขตเมือง กับไหลลงทะเล ต่าง
จากแม่น้ำฮัน (ผ่านกลางกรุงโซล) ใช้เป็นน้ำดีไล่น้ำเสียเพียง 10% ที่เหลือ 90% เขาเอามาใช้ประโยชน์ ทำให้
สงสัย สังสัย นักวิชาการ นักบริหาร เมืองไทยเยอะแยะ แทบเดินชนกันตาย ไม่เคยเห็น ไม่เคยคิดเลยรึไง แม้แต่
คนไปเรียนที่เกาหลี หรือเรียนที่ประเทศอื่น เขาไปเรียนอะไรกันน่ะ.................. (ลุงคิม เห็นกับตา)




6. เทพีกล้อมแกล้ม ....มิชิโกะ แบมบิ (ซ้าย) กับ โนริตะ แอมมิ (ขวา) วันนี้ยังหา
หนุ่มดวงตกมาเป็นแฟนไม่ได้เลย.................(ลุงคิม โจ๊ะโจ๊ะซัง คิมิ)




7. แอบได้ยินมันพูดกันว่า "จะเกาะกลุ่มกันตั้งแต่ยังเรียนอยู่ กระทั่งจบไปแล้ว.." เพราะลุงสอนว่า "รวยด้วยกัน
จะรวยทั้งคู่ ถ้ากะรวยกว่าเพื่อ จะจนกว่าเพิ่อน - สังคมโลกทุกวันนี้เป็น UNITY"..... (ลุงคิม 100 ปีก็จะคอยดู)




8. นี่ก็พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ เพราะ 2 เดือนที่ไร่กล้อมแกล้ม เห็นมัน "ถีบ" กันอยู่
ประจำ ลูกชายถีบลูกสาว ลูกสาวถีบลูกชาย ......... (ลุงคิม พยัคฆ์ร้ายไทยดุ)




9. อนุสาวรีย์ปริศนา.... ทิ้งไว้ให้อั้ยลูกทั้ง 6 คน เข้ามาบรรยายว่าเป็นอนุสาวรีย์ ของใคร เกี่ยวข้องกับสะพานนี้
อย่างไร ............................................... (ลุงคิม ไม่ส่งคำตอบ ตัดคะแนน !)



ตอบลุงคิมค่ะ

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นของเอกชน ที่มีจิตศรัทธาสร้างขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยว และอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรื่องราวในอดีตผ่าน
วัตถุโบราณต่าง ๆ เหล่านี้ โดยจะเก็บค่าเข้าชมในราคา 20 บาท สำหรับชาวไทย 40 บาท สำหรับชาวต่างชาติ (ถ้า
ใครหน้าตาต่างด้าวหน่อยก็อย่าลืมแสดงบัตรด้วยนะคะ) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนแรก.....จะเป็นส่วนของประวัติศาสตร์ไทย มีการจัดแสดงศาสตราวุธซึ่งอดีตเคยเป็นอาวุธคู่กายของวีรชนคนกล้า ใช้ปกป้อง
บ้านเมืองจากอริราชศัตรู ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นต้นมา ที่สำคัญเห็นจะเป็นสงครามทัพของสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชกับพระมหาอุปราช (อาวุธที่จัดแสดงไม่แน่ใจว่าเป็นของจริงหรือไม่ แต่เท่าที่รู้การเก็บรักษายังไม่ดีพอ) นอกจากนี้
แล้วก็ยังมีประวัติของพระมหากษัตริย์ไทย ราชวงศ์จักรีทั้ง 9 พระองค์ (มีการวาดรูปรัชกาลที่ 10 ไว้รอแล้ว แต่ยังไม่
มีประวัติ) รวมไปถึงประวัติของนายกไทยทั้งหมดที่เคยมีมา (คนสุดท้ายในรูปคืออดีตนายกทักษิณ)

ส่วนที่สอง.....จะเป็นเรื่องราวสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ศึกระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ที่ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐาน
ทัพสร้างสะพานที่ จ.กาญจนบุรี โดยใช้แรงงานเชลย อันได้แก่ ชาวออสเตรเลีย แคนาดา เป็นต้น (คนเขียน
ลืมค่ะ) โดยมีการจัดแสดงวัตถุโบราณที่เคยใช้จริงในสมัยนั้น ได้แก่ รถม้า อุปกรณ์ของทันตแพทย์ เสื้อเกราะกันกระสุน
เสื้อผ้าเครื่องใช้สอยอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งของบางชิ้นก็ได้รับการบริจาคมาจากผู้ใจบุญที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมา เพื่อให้อนุชน
ได้ศึกษา

นอกจากจะมีของเก่าจัดแสดงแล้ว ยังมีการสร้างรูปปั้นจำลองเหตุการณ์ตอนทหารอเมริกันทิ้งระเบิดลงค่ายญี่ปุ่น บริเวณ
สร้างสะพาน ทำให้มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก (สะพานข้ามแม่น้ำแควที่เห็นปัจจุบันไม่ใช่ของเดิมจากในภาพ แต่สร้างขึ้น
ใหม่ภายหลัง อันเก่าห่างออกไปทางท้ายน้ำประมาณ 300 เมตร)

นอกจากจะมีวัตถุโบราณสมัยสงครามจัดแสดงแล้ว ก็ยังมีพระธาตุแควใหญ่ให้กราบไหว้ มีระฆังใหญ่ให้ตีบูชาพระธาตุ อาคาร
ใกล้ ๆ กันนั้นยังมีเซียมซีให้เสี่ยงทาย อ๋อมแอ๋มกับบ๋อมแบ๋ม ก็เลยลองเสี่ยงดู ของบ๋อมแบ๋มไม่ค่อยดีให้บริจาคบูชาพระพรหม
20 บาท ของอ๋อมแอ๋มดีทุกอย่างให้บริจาคบูชาพระพรหม 200 บาท อ๋อมแอ๋มเห็นแล้วตกใจเลยบริจาคไป 20 บาท
เท่านั้น การบริจาคก็ไม่ยุ่งยาก มีพระพุทธรูปพระพรหมท่านให้บูชาข้าง ๆ ที่เสี่ยงเซียมซีนั่นแหละค่ะ เป็นการอำนวยความ
สะดวกอย่างดีที่สุด

ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวแถวสะพานแม่น้ำแคว อย่าลืมแวะไปดูพิพิธภัณฑ์สงครามนะคะ มีอะไร ๆ ให้ดูอีกเยอะ แต่ถ้าจะเสี่ยง
เซียมซีก็อย่าลืมเตรียมเงินไว้บริจาคด้วยนะคะ (ด้วยความปรารถนาดี)


เก่งนี่ เก็บรายละเอียดได้ดี นี่ขนาดแค่จำนะ ไม่ได้จดบันทึก ยังบรรยายเรื่องได้จนมองเห็นภาพเลย สุดยอดลูกสาวลุงคิม
ขาดไปอย่าง ทำไมไม่ใส่ชื่อคนบันทึก แบบนี้ไม่ใช่ลูกลุงคิม แล้วลูกใคร (หว่า)..........(ลุงคิม)






10. ตู้นี้เก็บรวบรวมศาสตราวุธของเหล่าวีรชนคนกล้าสมัยสงครามต่าง ๆ ของสยามประเทศเอาไว้ ตังแต่สมัยอยุธยา
มาจนถึงธนบุรี


สงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านไปนานแล้ว พ.ศ.นั้นญี่ปุ่นสร้างอาวุธ เรือดำน้ำ เครื่องบินได้แล้ว แต่ไทยยัง
ขี่เกวียนอยู่เลย แล้วก็ไม่สนใจที่จะสร้างคนให้สร้างสิ่งเหล่านี้บ้างเลย

สงครามแม่น้ำแคว มีคนไทยกลุ่มหนึ่ง ตั้งกลุ่มขึ้นมาชื่อว่า "พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ" คนไทยกลุ่มนี้มักแอบเกาะรถไฟ
ญึ่ปุ่นที่วิ่งช้าๆ ผ่านภูเขาแล้วใช้เท้าถีบลังสัมภาระบนขบวนรถลง สร้างความสูญเสียแก่กองทัพญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
มิใยว่า ทหารญี่ปุ่นจะจัดกำลังทหารถือปืนคุมมากับขบวนรถสินค้า ทหารที่คุมมาก็ไม่พ้นฝีมือพยัคฆ์ร้ายด้วยอาวุธ
แบบไทยๆของไทยถีบได้ ถูกสังหารไม่ใช่น้อย

เชยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารอังกฤษ ออสเตรเลีย เชลยศึกพวกนี้อดอยากมากๆ ก็ได้พยัคฆ์ร้ายไทยถีบนี่แหละ
คอยลักลอบให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะเรื่องอาหาร กระทั่งสงครามโลกสงบ ทหารออสเตรเลีย อังกฤษ ต่างก็
ซาบซึ้งในบุญคุญ กลายเป็นพลังในการเจรจา ทำให้ประเทศไทยรอดจากการเป็นผู้แพ้สงครามไปได้...(ลุงคิม)




11. + 12. สพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่มาตรฐานโลกที่มีรถไฟข้ามจำนวนครั้ง/วัน มากที่สุดในโลก สถิตินี้
กินเนสส์บุ๊คไม่กล้าบันทึก....แค่ชั่วโมงเดียวมีรถไฟข้ามกว่า 20 เที่ยวแน่ะ.........(ลุงคิม กล้าบันทึก)

12.




13.+ 14. รถไฟโดยสารสาย กรุงเทพฯ - น้ำตก ต้นทางที่ชุมทางบางกอกน้อย ปลายทางที่น้ำตกไทรโยค
วิ่งวันละ 1 เที่ยว (ไป) กับ 1 เที่ยว (กลับ) แม้จะขาดทุน แต่ รฟท.ก็ยังให้วิ่งเพื่องานอนุรักษ์......(ลุงคิม)

14.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/05/2011 3:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แม่น้ำฮัน ใจกลางกรุงโซล เกาหลี....




















http://www.google.co.th







เพียงเสี้ยวตัวอย่างแม่น้ำฮัน ช่วงที่ผ่านใจกลางกรุงโซล....

- กรุงโซล มีประชากร (10 ล้าน) มากกว่า กรุงเทพฯ (6 ล้าน)
- ในแม่น้ำไม่มีเรือนแพ (คนในเรือนแพในแม่น้ำ ขับถ่าย ทิ้งของเสียที่ไหน...)
- ข้อเสียอื่นๆ ฯลฯ อีกเท่าไหร่.....


ราวปี 1967 ลุงคิมอยู่ที่เกาหลี (ไปรบ....ภารกิจ : เมียเช่า-เข้าบาร์-ค้าตลาดมืด) บ้านเมืองเกาหลีสมัยนั้น
เหมือนบ้านแตกสาแหรกขาด เพราะเพิ่งหมดสงครามใหม่ๆ ผู้คนอดหยาก ไม่มีอะไรจะกิน แผ่นดินก็เพาะปลูกไม่ได้เพราะเป็น
เมืองหนาว ใน 1 ปี ปลูกพืชได้แค่ 4 เดือน อีก 8 เดือนหิมะลง

หลังหมดฤดูหิมะตก ทหารไทยกับทหารเกาหลีไปฝึกกระโดดร่ม (กวงซู่) ร่วมกัน โดยการกระโดดลงในแม่น้ำ ซึ่งตัวแม่น้ำจริงๆ
กว้างจากตลิ่งถึงตลิ่งเท่าแม่น้ำเจ้าพระยา แต่มีน้ำแค่กลางร่องน้ำเล็กๆ กว้างซัก 5-10 ม.เท่านั้น ที่เหลือเป็นพื้นทรายล้วนๆ ความ
กว้างความยาวขนาดใช้เป็นสนามฝึกกระโดดร่มจากเครื่องบินได้ แล้วเรียกว่า "แม่น้ำ" ได้ยังไง ...... นั่นคือ สภาพที่แท้จริง
ของแม่น้ำฮันเมื่อ ค.ศ.นั้น

ค.ศ.ไหนล่ะ (จำไม่ได้) ที่เกาหลีเป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่นจัดแข่งขันฟุตบอลโลก ในพิธีเปิด เกาหลีใช้เรือสำเภาขนาดใหญ่ แล่นเป็น
กองเรือมหึมาหลายสิบลำ ราวกับกองทัพเรือ แห่ถ้วยรางวัลล่องมาตามลำน้ำฮัน

แม่น้ำฮัน....แม่น้ำฮัน....แม่น้ำฮัน เกาหลีเอาน้ำมาจากไหน เกาหลีทำน้ำเต็มสองฝั่งได้ยังไง...

ภายหลังรู้มาว่า เกาหลีปิดปากน้ำแม่น้ำฮัน ไม่ให้น้ำทั้งสายไหลลงทะเล กักน้ำไว้เป็นปี กระทั่งน้ำเต็มปริ่มสองตลิ่งได้นั่นเอง....ได้น้ำ
มาแล้ว ได้ภูมิทัศน์อีกมากมาย ทั้งเป็นแหล่งอยู่อาศัยของประชาชน เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นที่เชิดหน้าชูตาต่อชาวโลก

เมื่อน้ำในแม่น้ำฮันถูกปิดไม่ให้ไหลลงทะเล แล้วเกาหลีเอาน้ำดีที่ไหนไล่น้ำเสียจากชุมชนเมือง คำตอบก็คือ เมื่อครั้งที่ในแม่น้ำยัง
ไม่มีน้ำนั้น ชุมชนเมืองก็ไม่ได้ทิ้งน้ำเสียลงแม่น้ำ เพราะเขามีระบบกำจัดน้ำเสียประจำชุมชนนั่นเอง ถึงวันนี้ แม้ในแม่น้ำมีน้ำเต็ม
แล้วก็ไม่มีการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำอยู่ดี

ค.ศ.นั้น เกาหลีล้าหลังไทยอยู่ 50 ปี ถึง ค.ศ.นี้ ไทยกลับล้าหลังเกาหลี 50 ปี...จากเกาหลี ให้แลต่อที่สิงค์โปร์, ไต้หวัน ล้วนแต่
เคยตามหลังไทยทั้งนั้น แต่วันนี้นำหน้าไทยไปถึงไหนแล้ว...........................เพราะอะไร ? (ถาม)





บริษัทในเกาหลี ตอบสนองสังคม ด้วยวิธีแบบใหม่

รายงานโดยกลุ่มข่าวกรุงโซล (ต้นฉบับเป็นภาษาเกาหลี)

จนถึงปี 2533 ประเทศเกาหลียังรับความช่วยเหลือจากองค์กรช่วยเหลือนานาชาติ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนจากสงครามเกาหลี
แต่ว่า จากความเจริญและฐานะดีขึ้นของประเทศ จากการเรียงลำดับฐานเศรษฐกิจของโลกได้ที่ 11 ผู้คนมากมายต่างมีคำเสนอว่า
เวลานี้เป็นเวลาที่ทางประเทศเกาหลีควรสนองตอบต่อสังคมนานาชาติแล้ว ดังนั้น มีบริษัทมากมายเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือสังคม
ช่วยเหลือคนยากจน การช่วยเหลือคลอบคลุมไปทั่วเกาหลี ภายในแล้ว ยังขยายออกไปทั่วทุกมุมโลกด้วย :

http://magazine.godsdirectcontact.net/thai/177/ow_90.htm






พวกเธอใช่ไหม ที่จะต้องเป็น "ผู้บริหารน้ำดี" รุ่นใหม่ ไล่ "ผู้บริหารน้ำเน่า"
ยุคปัจจุบัน จะเป็นได้ไหมลูกกกกก.....


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/08/2016 6:09 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 21/05/2011 9:29 pm    ชื่อกระทู้: 21-05-54 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1. ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะ present งาน ให้อาจารย์วิชัย และลุง ป้า ฟังว่ามาฝึกงานที่ไร่กล้อมแกล้มได้รับ
ความรู้อะไรกลับไปบ้าง และในแต่ละวันพวกเราทำอะไรกันบ้าง

งานรับผิดชอบเฉพาะบุคคล ได้แก่ :

อ๋อมแอ๋ม PRESENT เรื่อง แคลเซียม โบรอน
บ๋อมแบ๋ม PRESENT เรื่อง ฮอร์โมนไข่
โบ๊ต PRESENT เรื่อง น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง
ทิว PRESENT เรื่อง ไบโออิ
ต้น PRESENT เรื่อง จุลินทรีย์หน่อกล้วย
กันดั้ม PRESENT เรื่อง ยูเรก้า

งานที่ทุกคนช่วยกัน PRESENT ได้แก่ : เรื่องสปริงเกอร์, แปลงทดลองข้าวโพดหวาน-ถั่วฝักยาว, การขยาย
พันธุ์ไม้, การเตรียมต้นลองกอง, การเตรียมต้นฝรั่ง, การห่อผลฝรั่ง-มะม่วง-กระท้อน, การป้องกันแมลง
วันทอง, ต้อนรับกลุ่มเกษตรกรที่มาดูงาน, ร่วมรายการ ทีวี.ศึกษาทัศน์ ร.ร.วังไกลกังวล, งานมวลชนร่วมกับ
หน่วยทหารที่ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ และอื่นๆ


เสริม :
- ตามที่บอกแล้วในกระทู้ "ส่วนลึกของใจ" ที่ว่า ภารกิจครั้งนี้ ลุงคิมทำงานด้วยความสบายใจเป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีเวลา เพราะรุ่นนี้เวลาถึง 2 เดือน ในขณะที่รุ่นก่อนๆ (ทุกรุ่น) มีเวลาเพียง 20 วัน หรือ 200 ชม.เท่านั้น





2. อาจารย์วิชัย ติ-ชม การ present งานของพวกเรา แต่อาจารย์ก็ให้พวกเราผ่านการ present เพราะ
อาจารย์บอกว่าปี 1 ประสบการณ์ การ present ไม่มี




3. อ.วิชัย ลิ้มกาญจนพงษ์ ตำแหน่งอาจารย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กทม.





เสริม :

สรุปข้อเสนอแนะจาก อ.วิชัยฯ :

- ภาพประกอบใน POWER POINT ไม่ควรเป็นภาพแบบเปลี่ยนภาพโดยอัตโนมัติ เพราะอาจจะบรรยาย
รายละเอียดไม่ทันตามภาพ ควรเปลี่ยนภาพทีละภาพด้วยผู้ PRESENT จะดีกว่า

- อักษรบรรยายภาพไม่ควรมากเกิน 7 บันทัด เพราะถ้าตัวอักษรมากๆ จะทำให้ผู้ดูภาพเกิดอาการเบื่อ

- บุคคลิคท่าทางของผู้ PRESENT ควรจับสายตาที่ผู้ฟังตลอดเวลา

- น้ำเสียงของผู้ PRESENT ควรเสียงดังฟังชัด เร้าใจ อย่าประหม่า





สรุปข้อเสนอแนะจากลุงคิม :

- การใช้ชื่อผลิตภัณท์ (ปุ๋ย/ฮอร์โมน/จุลินทรีย์/สารสมุนไพร) ที่ตั้งขึ้นโดยไร่กล้อมแกล้มเอง เป็น
เสมือนชื่อทางการค้าหรือยี่ห้อ เช่น ไบโออิ, ยูเรก้า, ไทเป, โอไฮโอ, ระเบิดเถิดเทิง, สหประชาชาติ.
เพราะฉนั้นผู้ PRESENT ควรบอกที่มาของชื่อเหล่านี้ด้วย

- ในการทำปุ๋ยแต่ละสูตร ควรบอกรายละเอียดหรือประสิทธิภาพของส่วนผสมแต่ละตัวด้วยว่ามีผลต่อพืชอย่างไร
บ้าง โดยการอ้างถึงงานวิจัย หรือข้อมูลทางวิชาการเป็นหลัก

- วิธีทำปุ๋ยแต่ละสูตรของไร่กล้อมแกล้ม ยึดหลักการ "แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน-มาตรฐานโรงงาน-มีหลัก
วิชาการรองรับ" เวลา PRESENT ควรอธิบายด้วยว่า หลักการเหล่านี้แต่ละข้อหมายความว่าอย่างไร ?
รวมทั้งความหมายของนิยาม "อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม" ว่าเป็นอย่างไร ?

- ข้อมูลทางวิชาการของบางเรื่อง แม้ลุงคิมจะไม่ได้บอกด้วยวาจา ก็ขอบอกว่า รายละเอียดข้อมูลทางวิชา
การและประสบการณ์ตรงต่างๆ แทบทุกเรื่อง มีแจ้งไว้แล้วที่ "เมนูหลัก" ของเว้บเรานี่แหละ ขอให้ทุกคนเข้า
ไปอ่าน ทำความเข้าใจแล้วนำมาใช้ประกอบใน POWER POINT นี้ได้เลย

- ก่อนการ PRESENT จริงต่อที่ประชุมใหญ่ ต่อหน้าอาจารย์หลายๆท่าน พวกเธอยังมีเวลาและโอกาสใน
การ "ปรับ/เพิ่ม/เติม/เสริม" เนื้อหาได้อีก ข้อมูลใดที่ไม่เข้าใจหรือไม่รู้ แล้วลุงคิมไม่ได้สอน หรือไม่มีใน
เว้บ ก็ให้โทร.ถามได้ทุกเวลา


- ขอชมว่า เทคนิคการทำ POWER POINT ครั้งนี้ดีมากๆ ทั้งสาระเนื้อหา ความเหมาะสม ลำดับก่อน-หลัง
และอีกหลายๆอย่างดีมากๆ แบบนี้เขาเรียกว่า "มืออาชีพ" แล้ว ไม่ใช่แค่ นศ.ปี 1 หรอกนะ......ข้อมูลเนื้อหา
ไม่คลาดเคลื่อนเลย แสดงว่าการจดบันทึกดี อันนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจ แต่รายละเอียดอาจจะน้อยไป
หน่อย อันนี้ต้องแก้ไขด้วยเวลา นั่นคือ พวกเธอต้องมีประสบการณ์ตรง สัมผัสด้วยมือมากกว่านี้ กว่าจะจบปี 4
หรือไปฝึกงานอีกซัก 2-3-4 ที่ เดี๋ยวก็มีประสบการณ์เอง ถึงเวลานั้น ลุงคิมว่า เขียนหนังสือเป็นเล่มๆก็ไม่จบนะ

- เนื้อหาบางเรื่องหรือบางตอนที่พวกเธอนำมา PRESENT ลุงคิมจำได้ว่า เคยพูดเรื่องนี้ในวงข้าว หรือตอน
เดิมคุยกันธรรมดาๆ ไม่ได้นั่งสอนกันอย่างเป็นกิจลักษณะ แต่พวกเธอก็ยังจำได้แล้วเอามาเรียงร้อยต่อกัน
จนเป็นข้อความที่สมบูรณ์แบบได้ อันนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของพวกเธออย่างชัดเจนที่สุด

- การถ่ายทอดรูปแบบการจัดสวนของไร่กล้อมแกล้ม เช่น ระยะชิดปกติ, ระยะชิดพิเศษ, แม้แต่มะม่วงคอนโด,
โซนตามใจนายอำเภอ, โตเลี้ยงตายตัด. ยังไม่ชัดเจน ด้วยความที่ไร่กล้อมแกล้มแปลกไปจากสวนทั่วๆไป
คนที่ชมการ PRESENT จะมองภาพไม่ออกหรือไม่เข้าใจ เพราะไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน รายละเอียด
เรื่องนี้ต้องใช้ "ภาพประกอบคำอธิบาย" มากๆเท่านั้น

- พยายามใช้ภาพถ่ายมากๆ เพราะภาพ 1 ภาพแทนคำพูด 1,000 คำ บ่อยครั้งที่ภาพเป็นตัวดึงดูดความ
สนใจของผู้ชม พอผู้ชมเห็นภาพแล้วถาม อันนี้เราก็ตอบไปตามรายละเอียดในภาพนั้น วิธีนี้ช่วยผู้บรรยาย
ให้รอดจาก "ตกม้าตาย" เพราะนึกอะไรไม่ออกมานักต่อนักแล้ว

- รู้ไหมว่า พวกเธอ นศ.ฝึกงานรุ่นนี้สร้างแรงกดดันให้กับลุงคิมเป็นอย่างมาก เหตุผลก็คือ

กดดันที่ 1..... นศ.ฝึกงานรุ่นหน้า เน้นย้ำ รุ่นหน้า ถ้ามีนะ ลุงคิมจะต้องปรับปรุง พัฒนา รูปแบบการฝึกสอน
ให้ดีเหนือขึ้นไปอีก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย อย่างไรก็ตาม คงต้องปรึกษาและก็ประสานอย่างใกล้ชิดกับ
อ.วิชัย.เข้าไว้นั่นแหละ

กดดันที่ 2..... อ.วิชัย เคยเล่าให้ฟังว่า นศ.ฝึกงานบางรุ่นไม่มี POWER POINT ในการ PRESENT หรือ
บางรุ่นอาจจะมี แต่รูปร่างหน้าตาใน POWER POINT ไม่ค่อยสวย เลยแนะนำให้ไปขอยืม นศ.ฝึกงานอยู่
รุ่นหนึ่ง ซึ่งเขามี POWER POINT แล้วก็มีรายละเอียดดีมาก มาใช้ประกอบการ PRESENT ประเด็นก็คือ
POWER POINT ของ นศ.ฝึกงานที่ อ.วิชัยแนะนำนั้น จะดีแค่ไหน ลุงคิมไม่รู้เพราะไม่เห็น แต่ที่แน่ๆ ลุง
คิมรู้ว่า ลุงคิมได้สอนเรื่องอะไรไปบ้าง เรื่องที่สอนนั่นแหละ คือ รายละเอียดใน POWER POINT นั้น ใน
เมื่อ นศ.ฝึกงานรุ่นนี้ เป็นรุ่นมีหัวข้อการสอน ชิ้นงานในการฝึกมากที่สุด เพราะมีเวลามาก นั่นก็คือ POWER
POINT ของ นศ.ฝึกงานรุ่นนี้น่าจะ เน้นย้ำ....น่าจะ ดีกว่าหรือเหนือกว่าของรุ่นที่ อ.วิชัย แนะนำ ที่สำคัญ
ก็คือ POWER POINT ของรุ่นนี้ ลุงคิมได้เห็นกับตา แล้วก็ยอมรับว่า ดีมาก สวยมาก รายละเอียดเยอะ
มาก.....ที่ว่าเป็นแรงกดดัน ก็คือ นศ.ฝึกงานรุ่นหน้า เน้นย้ำ...ถ้ามี POWER POINT ของเขาจะต้อง
เหนือกว่าของรุ่นนี้ แล้วลุงคิมจะทำยังไง

- งาน PRESENT นี้สำคัญมาก คิดดู พวกเธอฝึกงาน ทั้งเหนื่อย-ทั้งร้อน-โดนดุ-ถูกด่า แทบเป็นแทบตาย แต่ถึงคราว
PRESENT แล้ว PRESENT ไม่ดี ผู้ที่ฟังหรือดูเธอ PRESENT เขาไม่ได้มาฝึกงานกับเธอด้วย เขาไม่รู้หรอกว่าพวกเธอ
ฝึกงานอะไรกันบ้าง ลงท้ายเขาก็จะคิดว่า พวกเธอไม่ได้ฝึกงานอะไรกันเลย ประมาณนี้ เพราะฉนั้น พวกเธอต้อง
วางแผนแล้วก็ดำเนินการ PRESENT ให้ดีที่สุด มีรายละเอียดให้มากที่สุด

- อย่าลืมนะ "วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงบันดาลใจ + แรงจูงใจ = ความสำเร็จ" เรื่อง
เกษตร COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ ...... เริ่มก่อนสำเร็จก่อน.... และ ความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ

- ท้ายนี้ขอบอกว่า ทั้งหมดทั้งสิ้นที่พวกเธอได้ไปจากไร่กล้อมแกล้มนี้ เป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ เสี้ยวหนึ่งของ
บทเรียนด้านการเกษตรเท่านั้น ในความเป็นจริงนั้น บทเรียนด้านการเกษตรมีนับร้อยนับพันบท ที่พวกเธอต้อง
เรียนให้จบให้ได้ และทั้งหมดทั้งสิ้นที่พวกเธอได้ไปจากไร่กล้อมแกล้มนี้ เป็นเพียง 1 เดียวของประสบการณ์
ตรงเท่านั้น นั่นหมายความว่า พวกเธอควรต้องไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้ถึงประสบการณ์ตรงจากสวนอื่น หรือแหล่ง
เรียนรู้อื่นๆ อีกหลายๆแหล่ง จากนั้นจึงเลือกเฉพะข้อดีที่เหมาะสมกับตัวเองมาเป็นสูตรของตัวเอง.....กลับไปแล้ว
บอก สจล.ทุกคนนะว่า ไร่กล้อมแกล้มยินดีต้อนรับ มาฝึกงานที่นี่ น้ำหนักไม่ขึ้น ตัดคะแนน.......O.K. นะลูก






4. อาหารมื้อใหญ่ ที่สะพานแม่น้ำแคว งานนี้คุณลุงคิมจ่าย เพราะคุณลุงคิมบอกว่า
งานนี้ ถ้าพวกเรา present งานแล้วอาจารย์วิชัยพอใจให้ผ่าน คุณลุงจะจ่าย แต่
ถ้าไม่ผ่านพวกเราจ่ายเองเป็นกฏ ที่ทำให้พวกเราต้องเตรียมงานกัน 3-4 วันเพื่อให้
ผลงานออกมาดีที่สุด

เสริม :
ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่มมื้อนั้นไม่แพงเลย เบ็ดเสร็จแค่ 3,200 เอง เฉลี่ยหัวละไม่
ถึง 200 ด้วยซ้ำ.....งานนี้เอาจริงเข้า ลุงคิมไม่ได้จ่ายหรอก บรรดาลุงๆ ป้าๆ เค้า
เฉลี่ยกันจ่าย บอกว่าลุงคิมจ่ายมามากแล้ว คราวนี้ขอจ่ายบ้าง.....สรุป งบนั้นยังอยู่
เพราะยังไม่ได้ใช้ หาโอกาสมาใช้งบนี้อีกนะลูก....................(ลุงคิม)





5. งานนี้ เรา present ผ่านคุณลุงเลยเลี้ยง เป็นการส่งท้ายที่เราฝึกงานที่ไร่กล้อมแกล้มเสร็จแล้ว แต่
พวกเราจะไม่ลืมคุณลุงคิม ถ้ามีเวลาว่างจากการเรียนเราจะกลับไปที่ไร่กล้อมแกล้มอีก

เสริม :
จะมาที่ไร่กล้อมแกล้มอีกเมื่อไหร่ บอกล่วงหน้าด้วยนะ จะได้ไม่อยู่ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ....
จะไปคอยที่หาดเจ้าสำราญ ชะอำ (โว้ย) ........................... (ลุงคิม)





6.คุณลุง-คุณป้า ชมรมสีสันชีวิตไทย ได้แก่ คุณลุงเดชา (ลูกสาวเรียนคณะประมง สจล), คุณลุงนันท์สุรัตน์
ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี, คุณลุงวินัย-คุณป้าแก่น สามพราน นครปฐม (ลูกสาวเรียน ม.ธรรมศาสตร์), คุณลุง
ชาตรี-คุณป้าสาว สวนผึ้ง ราชบุรี (ลูกชายเรียน ม.เกษตร ลูกสาวเรียน ม.ศิลปากร), ร่วมรับประทานอาหารกัน
ตอนกลับ "คุณป้าพนิดา" อาสาขับรถมาส่งพวกเราถึงลาดกระบังเลย.............ดีใจจัง ขอบคุณค่ะ/ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/05/2011 10:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1. FREE OPEN AIR HOME STAY KLOMKLAEM STYLE ที่นี่ ทุกคืนมีเสียงดนตรีไต้น้ำคอยกล่อม
ตุ๊กตุ๊ก ตึ้กตึ้ก ครื้ดดด ครื้ดดด หลับแล้วยุงไม่กัด ...... เจ้าค่ะ




2. ข้าวโพดหวาน ATS-5 โดย ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ....พันธะผูกพัน หมากที่ลุงคิมวางไว้หรือเปล่า (สงสัย....สงสัย)
กลับไปต้องกลับมา ถึงฝึกงานจบไปแล้วจะต้องย้อนมาที่ไร่กล้อมแกล้ม (มาให้ลุง ด่ะ .... ซะดีๆ) อีกครั้ง หลายๆครั้ง
ต้องมาดูแลต่อ จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ..... ลุงให้ข้าวโพด เอาไปขาย เอาไปกิน เอาไปแจก เอาไปเลย แต่
อาจารย์วิชัย ให้คะแนน ..... ข้าวโพดก็อยากกิน คะแนนก็อยากได้ เอ้ ! เอาไงดีล่ะ




3. ลุงมีลูกสาว 2 คน คนหนึ่งเป็นแบบ อีกคนเป็นตากล้อง ในภาพเลยเห็นแค่คนเดียว.....ลุงบอกว่า 100 คน
ที่มองไม่เห็น หรือจะสวยเท่า 1 คนที่มองเห็น ใช่ไหมเคอะ.....





4. "นายต้น" ผช.อ.วิชัยฯ กำลังโหลดข้อมูลจากเครื่องคอมอาจารย์ ลงเครื่องคอมลุง ..... ลุงบอกว่า จะเอาไปลง
ในเน็ต เว้บลุงคิม ด็อท คอม. เนื้อหาขนาดหนังสือทั้งเล่ม กะให้อ่านกันตาแฉะไปเลย จะคอยอ่านเค่อะ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/05/2011 4:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 5

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©