-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ขออนุญาตถ่ายทำรายการ TV "ศึกษาทัศน์"
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ต้นหอมญี่ปุ่น ...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ต้นหอมญี่ปุ่น ...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/02/2011 7:59 pm    ชื่อกระทู้: ต้นหอมญี่ปุ่น ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นหอมญี่ปุ่น


http://www.lemonfarm.com/lmf/index.php/organic-everyday/114--organic






http://www.greendelifoods.com/allcontent.asp?txtmCategory_ID=10




http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E&imgurl=http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/fruit/picture/00932_0.jpg&imgrefurl=http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php%3Fuser%3Dfruit%26id%3D932&usg=__5MrGiau-phOQHZv6gA4VxzfFbcA=&h=263&w=350&sz=19&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=KZYLas9Dv_VTSM:&tbnh=90&tbnw=120&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2599%2B%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%26start%3D80%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=N7JjTfyyLYeyrAfCpqm-AQ&start=88&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivns#tbnid=KZYLas9Dv_VTSM&start=92
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/02/2011 8:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion)


จัดอยู่ในตระกูล Alliaceae หรือ Amaryllidaceae ลักษณะทั่วไปประกอบด้วย ราก ซึ่งเป็นระบบ fibrous root และ root hair
ลำต้นจริงจะมีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างรากและใบ ใบมีลักษณะเป็นหลอดยาว คล้ายใบหอมขนาดใหญ่ มีจำนวน 6-7 ใบต่อต้น
โดยใบนอกจำนวน 4 ใบ จะเป็นใบแก่ ใบอ่อนจะอยู่ด้านในจำนวน 2-3 ใบ ลำต้นเทียม คือ ส่วนของกาบใบ(scape) ทำหน้าที่สะสม
อาหารเป็นส่วนที่นำมาบริโภคซึ่งจะขยายตตัวตามยาว โดยทั่วไปลำต้นเทียมสูง 25-75 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 ซม. ดอกอาจผสม
ตัวเอง หรือผสมข้ามกับ A. cepa หรือ fistulosm ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยใ้ช้เมล็ด และการแยกกอ

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion)
ดินที่เหมาะสมกับ หอมญี่ปุ่น ควรร่วนซวย หรือร่วน
ปนทราย หน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี และมีอินทรีย์วัตถุสูง ไม่สามารถเจริญได้ดีในดินที่เป็นกรดจัด pH ที่เหมาะสมคือ 0.6-6.8 ในดินที่มี
pH ต่ำ ควรใส่ปูนขาวปรับสภาพดิน ต้นหอมปกติจะไม่ลงหัว แต่ในกรณีที่มีช่วงแสงยาวกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน และมีอุณหภูมิสูงกว่า 20 ‘C
หัวจะเจริญแต่จะมีขนาดเล็กไม่เกิน 10 ซม. และเมื่อผ่านอุณหภูมิต่ำกว่า 13 ‘C และช่วงแสงสั้น พืชจะแทงช่อดอก ส่วนในเขตร้อน
ดอกจะไม่เจริญ สภาพแปลงปลูกควรได้รับแสงอย่างเต็มที่


การใช้ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหาร หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion)
ส่วนที่นำมาบริโภคของ หอมญี่ปุ่น คือลำต้นเทียมที่มีลักษณะกลมยาวสีขาว ประกอบด้วย provitamin A และ C ในสภาพอุณห
ภูมิต่ำ จะประกอบด้วยน้ำตาล และโปรตีนสูง สารระเหยในพืชตระกูลหอมส่วนใหญ่ คือ propyl disulfide และmethyl disulfide
สารกระตุ้นต่อมน้ำตา(lachrymator inducing compound) คือ thiopropanal sulfoxide



การปฏิบัติดูแลรักษา หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion) ระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า
การเตรียมแปลงเพาะกล้า ในฤดูฝนควรอยู่ภายใต้หลังคาพลาสติก สำหรับ ฤดูร้อน/หนาวใช้อุโมงตาข่าย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่
ปุ๋ยรองพื้น ดังนี้


ปุ๋ย 12-24-12 ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.
ปูนขาว ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.
ปุ๋ยคอก(มูลไก่ไม่ควรใช้มูลไก่อัดเม็ด) ปริมาณ 1ก.ก./ตร.ม. คลุกให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม


การบ่มเมล็ด
โดยการแช่เมล็ดในน้ำผสมยากันรา นาน 15 นาที ผึ่งเมล็ดไว้ประมาณ 30 นาที แล้วห่อด้วยผ้าไว้ 1 คืน นำเมล็ดที่บ่มแล้ว หยอด
ในแปลงเพาะกล้า ขีดร่องขวางแปลงลึก 1 ซม. ห่าง 10 ซม. หยอดเมล็ดที่บ่มแล้วห่างกัน 1 ซม. กลบดินบางๆ แล้วคลุมด้วยฟาง ควร
รดน้ำวันละ 1 ครั้ง เมื่อมีอายุได้ 2 เดือน จึงย้ายปลูก หรือสังเกต เส้นผ่านศูนย์์กลาง ของลำต้นเทียมประมาณ 8 มิลลิเมตร (ลำต้น
เท่ากับดินสอ) ควรใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 และยูเรีย เมื่ออายุได้ 25 และ 50 วัน

กล้าสำหรับย้ายปลูกตัดปลายให้สูงกว่ายอด 2 ซม. ตัดรากเหลือ 1 ซม. แช่รากในน้ำผสม ไดเทนเอ็ม 45 นาน 10 นาที ก่อนย้ายปลูก


การเตรียมดิน
ให้ขุดพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อในดิน กำ่จัดวัชพืช หากสภาพดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่


การปลูก
หลังจากเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ก่อนปลูกควรรดน้ำให้แปลงมีความชุ่มชื่น แล้วทำการปลูก โดยขุดร่องลึก 30 ซม. ห่างกัน
80 ซม. เลือกต้นกล้าที่มีขนาดเท่ากันปลูกก่อนในแปลงเดียวกัน กลบดินรดน้ำให้ทั่วแปลง


การใส่ปุ๋ย
หลังปลูก 20 วัน โรย 21-0-0 และ 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/ตร.ม. ลงในร่องปลูก แล้วกลบดิน พูนโคน อายุได้ 40 วัน โรยปุ๋ย
15-15-15 แล้วกลบดินพูนโคนต้นถึงระดับใบล่าง


การเก็บเกี่ยว
หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion) เก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 60-80 วัน หัวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-8 ซม. เลือกหัวที่มี
ทรงกลม ไม่มีรอยแตก หรือรอยแผล ตัดใบออกให้เหลือก้านใบไม่เกิน 3 ซม. ล้างให้สะอาด แ้ล้วพึ่งให้แห้ง

โรค แมลงศัตรู ที่สำคัญของ หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion) ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 0-60 วัน โรคโคนเน่า, โรครากปม,
ระยะปลูก-ปลูกซ่อม 60-70 วัน โรคโคนเน่า, โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ

ระยะพูนโคนครั้งที่ 1 80-90 วัน โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ

ระยะพูนโคนครั้งที่ 2 100-120 วัน โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ

ระยะเก็บเกี่ยว 130-150 วัน โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ




http://www.vegetweb.com/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/02/2011 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นหอมญี่ปุ่น (Branch Onion)


หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion)
จัดอยู่ในตระกูล Alliaceae หรือ Amaryllidaceae ลักษณะทั่วไปประกอบด้วย ราก ซึ่งเป็นระบบ fibrous root และ root hair
ลำต้นจริงจะมีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างรากและใบ ใบมีลักษณะเป็นหลอดยาว คล้ายใบหอมขนาดใหญ่ มีจำนวน 6-7 ใบต่อต้น
โดยใบนอกจำนวน 4 ใบ จะเป็นใบแก่ ใบอ่อนจะอยู่ด้านในจำนวน 2-3 ใบ ลำต้นเทียม คือ ส่วนของกาบใบ(scape) ทำหน้าที่
สะสมอาหารเป็นส่วนที่นำมาบริโภคซึ่งจะขยายตัวตามยาว โดยทั่วไปลำต้นเทียมสูง 25-75 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 ซม.

ดอกอาจผสมตัวเอง หรือผสมข้ามกับ A. cepa หรือ fistulosm ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์

การขยายพันธุ์โดยใ้ช้เมล็ด และการแยกกอ

การใช้ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหาร หอมญี่ปุ่น (Japanese Bunching Onion)
ส่วนที่นำมาบริโภคของ หอมญี่ปุ่น คือลำต้นเทียมที่มีลักษณะกลมยาวสีขาว ประกอบด้วย provitamin A และ C ในสภาพ
อุณหภูมิต่ำ จะประกอบด้วยน้ำตาล และโปรตีนสูง สารระเหยในพืชตระกูลหอมส่วนใหญ่ คือ propyl disulfide และ methyl
disulfide สารกระตุ้นต่อมน้ำตา(lachrymator inducing compound) คือ thiopropanal sulfoxide รสหวาน ป้องกัน
หลอดเลือดหัวใจตีบ ลดคลอเลสเตอรอล ความดันโลหิต มีโพแทสเซียมช่วยในการขับปัสสาวะ ขับกรดยูริค



http://kindeemeepak.com/product_detail.php?id=124
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/02/2011 9:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคราสนิมของหอมญี่ปุ่น





หอมญี่ปุ่น เป็นพืชในสกุลหอมกระเทียมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium fistulosum L. ชื่อสามัญ Japanese Bunching onion,
Bunching onion, Welsh onion จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน ญี่ปุ่น ไซบีเรีย และเกาหลี ปัจจุบันรู้จักแพร่หลายทั่ว
โลก หอมญี่ปุ่นเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นจริงมีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างรากและใบ ใบลักษณะเป็นหลอดกลวงปลายแหลม
คล้ายใบหอมหัวใหญ่ แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีลำต้นเทียมคือส่วนของกาบใบ ลักษณะกลมยาวสีขาวขยายตัวตามยาว ทำหน้าที่สะสม
อาหาร เป็นส่วนที่นำมาใช้บริโภค ทำแกงจืด ผัดกับ เนื้อต่าง ๆ ตุ๋นแบบจับฉ่ายหรือทำสลัด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีสภาพ
อากาศค่อนข้างเย็น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการแยกกอ





จากการสำรวจโรคที่เกิดกับพืชที่บ้านม่อนยะใหม่ ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูหนาว พบการ
ระบาดของโรคราสนิมซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพผลผลิตหอมญี่ปุ่น ลักษณะอาการที่พบ เริ่มแรกใบเกิดเป็นแผลขีด
เล็กๆมีลักษณะนูนกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย ขยายไปตามความยาวของใบ และแผลเหล่านี้จะกระจายทั่วใบบางครั้งอาจเต็มทั้งใบ
เมื่อแผลเปิดแตกออกสปอร์ของราจะฟุ้งกระจายออกมาข้างนอกมีลักษณะเป็นขุยหรือผงฝุ่นสีเหลืองส้มคล้ายสีสนิม (ภาพที่ 1)
ใบที่เป็นโรครุนแรงจะเหลืองและแห้งตายในที่สุด ทำให้ต้นโทรมขาดความสมบูรณ์

สาเหตุ เกิดจากรา Puccinia allii Rud.




ภาพที่ 1 อาการของโรคราสนิมบนใบหอมญี่ปุ่น
การแพร่ระบาด สปอร์แพร่กระจายได้ดีโดยการพัดพาของลม โรคระบาดได้ดีในช่วงที่หมอกหรือน้ำค้างจัด ใบพืชเปียกชื้นเป็นเวลา
นาน อุณหภูมิเวลากลางวันอยู่ระหว่าง 10-20 องศาเซลเซียส

การป้องกันกำจัด

1. เก็บเศษใบและต้นพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลายหรือให้หมดจากบริเวณแปลงปลูกเพื่อกำจัดแหล่งแพร่เชื้อราสาเหตุโรค
2. ปลูกพืชหมุนเวียนหรือพืชอื่นที่ไม่ใช่พืชสกุลหอมกระเทียม
3. เมื่อโรคเริ่มระบาดให้ใช้สารเคมีฆ่าเชื้อราฉีดพ่น
4. ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อฟื้นฟูสภาพของดินให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีเป็นการช่วยป้องกัน
โรคทางอ้อม

Puccinia allii Rud.
ชื่อพ้อง Puccinia porri Wint.
Uromyces ambiguous (DC.) Lev.
Uromyces durus Diet.
จัดอยู่ใน Class Basidiomycetes Order Uredinales

เป็นราสนิมชนิด autoecious rust คือสามารถเจริญครบวงจรหรือสร้างสปอร์ทุกชนิดได้บนพืชอาศัยเพียงชนิดเดียว แต่ในประเทศ
ไทยขณะนี้พบสปอร์เพียงในระยะ uredial stage และ telial stage เท่านั้น โดยพบ uredial stage ในช่วงต้นฤดูปลูกเป็น
ตุ่มแผลเกิดใต้ชั้น epidermis ของพืชสีเหลืองส้มซึ่งเป็นสีของ urediniospore และ telial stage ช่วงปลายฤดูตรงที่เดียวกับ
ที่เกิด urediniospore แต่จะมีสีเหลืองทองจนถึงสีน้ำตาล urediniospore 1 เซลล์ (ภาพที่2) เกิดบนก้านไม่มีสีผนังบาง รูป
ร่างกลมหรือค่อนข้างกลมเป็นส่วนใหญ่ บางสปอร์มีรูปร่างแบบรูปไข่ (broadly ellipsoid) ขนาด 21.25-25 x 20.00-23.75
ไมครอน ขนาดเฉลี่ย 23.31 x 21.88 ไมครอน พบ oil content อยู่ภายในสปอร์ สีเหลืองอ่อน จนถึงสีน้ำตาลอมเหลือง
ผนังสปอร์ใสไม่มีสีหนาเท่ากันทั้งสปอร์ ผิวหนังเป็นหนามแบบ echinulate teliospore สีเหลืองทองจนถึงน้ำตาลเข้ม 2
เซลล์ (ภาพที่3) เซลล์ด้านบนกว้างกว่าเซลล์ด้านล่าง เกิดอยู่บนก้านสปอร์สั้นๆ

จากการศึกษาพืชอาศัยพบว่า P. allii สามารถเข้าทำลายพืชสกุลหอมกระเทียมได้หลายชนิด แต่ในประเทศไทยมีรายงานการเข้า
ทำลาย กุยช่าย กระเทียม และหอมญี่ปุ่น



http://researchers.in.th/blog/tarntip/732
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/02/2011 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อยอด ต้นหอมญี่ปุ่น....


สืบเนื่องจากปีนี้อายุมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 ปี....สัจจะธรรม

อาหารการกินวันนี้พยายาม กินผักเป็นยา กินปลาเป็นอาหาร ในเมื่อธรรมชาติ คือ ความหลากหลาย เพราะฉนั้นผักที่กินก็ควร
หลายหลากด้วย จึงสั่งเด็กแม่ครัวไว้ เจอผักอะไรแปลกใหม่ ซื้อมาเลย ลุงคิมกินได้ทุกผัก แล้วก็ทุกรูปแบบด้วย

วันนี้ได้กิน "ต้นหอมญี่ปุ่น ผัดน้ำมันหอย" แค่ชื่อก็น่าสนแล้ว เพราะหลายปีโขถึงจะได้กินซะที กะว่าวันนี้อร่อยเปรมปรีแน่.....
สุดท้ายก็ต้องผิดหวัง

ต้นหอมญี่ปุ่น ทั้งส่วนที่เป็นใบ ส่วนที่เป็นลำต้น เหนียว เสี้ยนมาก กินไปแคะฟันไป แคะออกมาแล้วกินใหม่ (ไม่ต้องเคี้ยวมากไง)....
วันก่อนโน้นทีนึงแล้ว กินกุยซ่าย ทั้งใบ ทั้งก้านดอก ทั้งเหนียว ทั้งเสี้ยน โมโห อารมย์เสีย เลยยกให้คนใช้เอาไปกินซะเลย


เจ้าข้าเอ๊ย....อยากให้ผักกินใบ นุ่มทั้งต้น เนื้อไม่มีเสี้ยน ให้บำรุงถึงๆ "แคลเซียม โบรอน" หน่อยเน้อ บ่อยๆดี ธาตุอาหารตัว
นี้เกินไม่เป็นไร อย่างดีก็แค่เปลืองเท่านั้น.....กลัวแพงก็ทำเองซี่

แม้แต่ผักกินผลก็บำรุงเหมือนกัน เนื้อจะหนา นุ่ม....เคยเห็นมะเขือเปราะ ที่กัดออกมาแล้วเห็นไส้ในกับเมล็ดดำไหม นั่นแหละ
อาการอ่อนแคลเซียม โบรอน.ละ ชัดเจนที่สุดต้องมะเขือยาว ถ้าถึงแคลเซียม โบรอน. เนื้อในจะดีมากๆเลย

ส่วนปุ๋ย ถ้าได้เน้นทางดินด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 4 : 1 : 2 เดือนละครั้ง ร่วมกับทางใบด้วย "ยูเรก้า หรือ อเมริกาโน่
(อย่างใดอย่างหนึ่ง) + นมสด" เข้าไปด้วย ซักอาทิตย์ละครั้งเท่านั้นแหละ.....เอาสะเต๊กมาแลกก็ไม่ยอม แล้วใครจะมาแลก .... วะ



ลุงคิม (กินไม่อร่อย อารมย์บ่จอย) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©