-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปุ๋ยไนโตรเจน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปุ๋ยไนโตรเจน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปุ๋ยไนโตรเจน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/11/2010 7:55 am    ชื่อกระทู้: ปุ๋ยไนโตรเจน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช

ไนโตรเจนเป็นธาตุปุ๋ยที่จำเป็นสำหรับพืชสำหรับใช้สร้างความเจริญขึ้นในทุกส่วนที่กำลังเติบโต หากขาดไนโตรเจน พืชจะเหลืองซีดโดยเริ่มจากใบล่างขึ้นไปด้านบน การเจริญลดลงจนถึงไม่เติบโต ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป จะเขียวเข้ม อวบอ้วน อ่อนแอ ถูกศัตรูพืชเข้าทำลายได้ง่าย ไนโตรเจนที่เป็นก๊าชในอากาศนั้นพืชดูดใช้ไม่ได้ ยกเว้นสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน บักเตรีอิสระ อะโซโตแบ็คเต้อร์ และบักเตรีในปมรากพืชตระกูลถั่วคือ ไรโซเบี้ยน จากนั้นกากไนโตรเจนจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้สลายตัวไปเป็นแอมโมเนีย และแปรรูปจนเป็นไนเตรท พืชทั่วไปใช้ได้


การเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่า การเผาไหม้ ทั้งในและนอกเครื่องยนต์ ไนโตรเจนรวมกับออกซิเจน กลายเป็นออกไซด์ของไนโตรเจน พอรวมกับน้ำหรือความชื้นกลายรูปไปจนในที่สุดเป็นไนเตรท พืชดูดไปใช้ได้ พืชยังใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียมได้ดีมาก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงประมาณ 1% ต้องใช้เป็นปริมาณมาก จึงใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อบำรุงดินส่วนเนื้อปุ๋ยเพื่อผลิตพืชใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ยูเรีย (46-0-0) แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แคลเซียมไนเตรท (15-0-0) หรือใช้ปุ๋ยผสม เช่น 15-15-15. 16-11-14 ซึ่งเลขตัวหน้า คือ เปอร์เซ็นต์ของปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยเคมีในไทยเป็นปุ๋ยละลายเร็วทันทีเมื่อเปียกน้ำ หากฝนตกมากจนน้ำไหลไปที่อื่น น้ำก็พาปุ๋ยไนโตรเจนไปด้วย ป้องกันปัญหานี้โดยใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วน พรมน้ำพอชื้น คลุกกับภูไมท์ซัลเฟต 2 ส่วน ปุ๋ยนี้จะกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า ลดการสูญเสียปุ๋ยไนโตรเจนจากการชะล้างเมื่อฝนตก จนน้ำไหลไปที่ต่ำยังคงมีการชะล้างปุ๋ยบ้างแต่น้อยกว่า ปุ๋ยคงเหลือมากกว่า ค่อย ๆ ละลายออกมาช้า ๆ เป็นประโยชน์มากกว่า พืชมีผลผลิตมากกว่า.



ที่มา : อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ, ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.kroobannok.com/2109
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/11/2010 7:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ของไนโตรเจน

สารประกอบไนโตรเจนที่พบในเนื้อเยื่อของพืชมีทั้งที่เพิ่งดูดเข้าไปและยังไม่เปลี่ยนแปลงกับอินทรียสารซึ่งมีการสังเคราะห์ขึ้นใหม่จากไนเตรท แอมโมเนียและยูเรียที่พืชดูดได้ อินทรียสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอาจแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม คือ

1. โปรตีน (proteins)
ประกอบด้วยกรดอะมิโน (amino acids) ชนิดต่าง ๆ ต่อเรียงกันอย่างมีแบบแผน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 หน่วย โดยกรดอะมิโนเหล่านั้นเชื่อมกันด้วยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) โปรตีนมีหน้าที่สำคัญมากในเซลล์โดยเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของ
(ก) ไซโทพลาซึม
(ข) เยื่อเป็นทั้งโครงสร้างและพาหะในการเคลื่อนย้ายสารผ่านเยื่อ
(ค) เอนไซม์ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาชีวเคมีจึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมอย่างกว้างขวาง

2. กรดอะมิโน
มีไนโตรเจนอยู่ที่หมู่อะมิโน (amino group) กรดอะมิโนเป็นหน่วยในโครงสร้าง (building blocks) ของโปรตีน โดยต่อเรียงกันอย่างมีแบบแผน นอกเหนือจากกรดอะมิโนที่เป็นโครงสร้างของโปรตีนแล้ว ยังมีอีกมากที่อยู่อย่างอิสระในเซลล์ สัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละอย่าง กรดอะมิโนอิสระกับกรดอะมิโนในโครงสร้างของสารต่าง ๆ เป็นลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด

3. ฮอร์โมนพืช
ฮอร์โมนที่พืชสังเคราะห์ขึ้นเองและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ คือ ออกซิน (auxins) กับไซโทไคนิน (cytokinins) กรดอินโดลแอซิติก (indole-3-acetic acid, IAA) เป็นออกซินที่พืชสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนชื่อทริปโตเฟน (tryptophane) บทบาทที่สำคัญของ IAA ต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เร่งการขยายขนาดเซลล์ ควบคุมการแตกราก ยับยั้งการเจริญของตาข้าง ป้องกันการร่วงของใบ กิ่งและผล ไซโทไคนินเป็นฮอร์โมนพืชที่ส่งเสริมการแบ่งเซลล์ การขยายขนาดเซลล์ ส่งเสริมการสร้างและการเจริญของตา ช่วยในการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการสร้างโปรตีน ชลอความเสื่อมตามอายุ (senescence) ซึ่งองค์ประกอบทางเคมี คือ 6-(4-hydroxy-3-methyl-trans-2-butenylamido) Purine สำหรับไซโทไคนินที่พบในพืชต่าง ๆ ล้วนเป็นอนุพันธ์ของ isopentenyl adenine

สูตรโครงสร้างของ auxins

สูตรโครงสร้างของ cytokinins

4. กรดนิวคลิอิก (nucleic acids)
มีอยู่ 2 ชนิด คือ ribo nucleic acid (RNA) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน และ deoxyribo nucleic acids (DNA) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลทางพันธุกรรม

สูตรโครงสร้างของ DNA และ RNA

5. สารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ เช่น อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (adenosine triphosphate, ATP) โคเอนไซม์ (Co-enzymes) เช่น NAD (nicotinamide adenine dinucleotide) และ NADP (nicotinamide adenine dinucleotide phosphate)

6. สารประกอบไนโตรเจนที่พืชสะสมไว้ (reserves) หรือทำหน้าที่ป้องกัน (protective compounds) เช่น แอลคาลอยด์ (alkaloids) ตัวอย่างของแอลคาลอยด์ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ นิโคติน (nicotine) จากใบยาสูบ และมอร์ฟีน (morphine) จากฝิ่น

สูตรโครงสร้างของ nicotine
สูตรโครงสร้างของ morphine

http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/indexnitro.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/11/2010 8:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นปุ๋ยไนเตรตในดิน


ไนโตรเจนในรูปของแก๊สมีอยู่ในบรรยากาศมากถึง 78 % และเป็นธาตุที่มีอยู่ในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์และโปรตีน สิ่งมีชีวิตจะใช้ไนโตรเจนในรูปของโปรตีน พืชบางชนิดจะนำไนโตรเจนมาใช้โดยอาศัย แบคทีเรียเช่น ไรโซเบียม (Rhizobium) ที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากตระกูลถั่วซึ่งมีความสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศและในดินแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนได้แก่ ไนเตรต (Nitrate) (NO3) และเกลือแอมโมเนีย (Ammonium Salt) (NH3) ที่มีสมบัติละลายน้ำได้

พืชจะดูดซึมสารประกอบไนโตรเจน แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นโปรตีนไนโตรเจนเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชปัจจุบันมนุษย์ได้นำธาตุไนโตรเจนมาทำเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี เป็นส่วนมาก ซึ่งทำให้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นแต่กลับส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=484c98f26e5a2253
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/11/2010 8:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยไนโตรเจนมาจากไหน


ธาตุอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต้องใช้สำหรับพืชนั้นมี 16 ธาตุ แต่ละธาตุมีประโยชน์และทำหน้าที่สำคัญในพืชแตกต่างกัน บางชนิดใช้เยอะ บางชนิดใช้น้อย แต่จะใช้เยอะหรือใช้น้อยนั้น พืชขาดไม่ได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้ไม่เจริญเติบโต ผลผลิตต่ำ ธาตุอาหารที่ใช้เยอะ ๆ เรียกว่าธาตุอาหารหลัก ส่วนธาตุอาหารที่ใช้น้อย ๆ เรียกว่าธาตุอาหารรอง ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้มาก และมากที่สุดในธรรมดาธาตุอาหารที่จำเป็นต้องใช้ เพราะไนโตรเจนมีบทบาทหน้าที่ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในพืชอย่างมาก ในแต่ละปีเราต้องสั่งซื้อปุ๋ยที่เรียกว่าปุ๋ยไนโตรเจนเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เสียเงินเสียทองมากและเสียดุลย์การค้า

ความจริงแล้วปุ๋ยไนโตรเจนเราสามารถหามาได้จากแหล่งต่าง ๆ รอบตัวเรา แต่บางกรณีก็ยากบางกรณีก็ไม่ยากเท่าไร โดยธรรมชาติแล้วไนโตรเจนนั้นอยู่ในอากาศรอบตัวเรา(ชั้นบรรยากาศโลก) อยู่แล้วและอยู่ในเปอร์เซ็นต์สูงเสียด้วย คือในอากาศมีธาตุไนโตรเจน 78% ซึ่งสูงกว่าออกซิเจนเสียอีก แล้วทีนี้ทำไมต้องซื้อมาใส่ลงในดินให้พืช ความจริงก็คือที่มันเป็นไนโตรเจนในอากาศนั้นมันอยู่ในรูปของก๊าซซึ่งในรูปนี้พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้ ต้องหาทางเอามาใช้ แต่ธรรมชาติก็ช่วยนิดหน่อย คือไนโตรเจนที่ลอยอยู่ในอากาศนั้นเวลาฝนตกฟ้าร้องมันจะรวมกันตกลงมาเป็นรูปที่พืชเอาไปใช้เลยดังจะเห็นได้จากกรณีที่สังเกตุได้ว่า เวลาฝนตกลงมาครั้งใดครั้งหนึ่ง พืชจะงดงามทันที และงามกว่าช่วงหน้าแล้งที่ลดน้ำทุกวันด้วยซ้ำไป

แหล่งใหญ่ที่สุดของธาตุไนโตรเจนที่พืชสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ก็คงต้องมาจากดินและหินนั้นเอง เรามีการผลิตปุ๋ยวิทยาศาสตร์มานมนาน โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นในท้องตลาดที่เวลาไปซื้อปุ๋ยนั้นจะเห็นที่ข้างกระสอบเขียนเป็นสูตรต่างๆมากมาย ทั้งๆ ที่เป็นปุ๋ยไนโตรเจนเหมือนกัน เรามาทำความรู้จักกับปุ๋ยไนโตรเจนชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการเกษตรกันสักหน่อย

ปุ๋ยไนโตรเจนตัวแรกที่เราใส่กันมาก ๆ ก็คือปุ๋ย 46-0-0 ซึ่งสูตรดังกล่าวนี้ก็คือใน 100 กิโลกรัมจะมีธาตุไนโตรเจน 46 กิโลกรัม หรือ 46% เราเรียกปุ๋ยชนิดนี้ว่าปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยชนิดนี้มีการละลายน้ำดี จึงสูญเสียได้ง่ายเวลามีน้ำมาก ๆ ในดิน ใส่แล้วจะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น โดยปกติเราใช้ปุ๋ยยูเรียเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้ผลเร็วเพราะพืชดูดใช้ได้เลย

ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท คือสูตร 35-0-0 เป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจน 35% เป็นปุ๋ยไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้หมด พืชดูดใช้ได้เร็ว

ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต คือสูตร 21-0-0 มีไนโตรเจน 21% ละลายน้ำดีเป็นผลึกสีขาว การใส่ปุ๋ยชนิดนี้ยังได้ธาตุอาหารรอง คือ กำมะถัน.ด้วย

นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยไนโตรเจนในรูปอื่น ๆ อีกมากมายเช่น แอมโมเนียมคลอไรด์ โซเดียมไนเตรท แอมโมเนียมฟอสเฟต แคลเซี่ยมไนเตรท ซึ่งปุ๋ยเหล่านี้จัดเป็นประเภทปุ๋ยเดี่ยว แต่ในท้องตลาดยังมีปุ๋ยผสมซึ่งมีเขียนเป็นเลข 3 กลุ่มทีข้างกระสอบ ก่อนซื้อต้องดูรายละเอียดให้ดีทั้งเปอร์เซ็นต์และราคา ปุ๋ยโนโตรเจนพืชต้องการใช้จริง ๆ เราก็จำเป็นต้องใส่แต่ถ้าหากไม่อยากซื้อก็อาจใส่ปุ๋ยคอก เพราะในปุ๋ยคอกก็มีไนโตรเจนเหมือนกัน



ผู้รับผิดชอบ ::: ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ E-Mail ::: agagi003@chiangmai.ac.th
http://www.kasetcity.com/data/articledetails.asp?GID=149
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/11/2010 8:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ใบแก่ของอ้อยจะแสดงอาการขาดธาตุไนโตรเจน ใบแก่นั้นจะมีการแห้งตายแล้วจะมี
การแห้งตายไปทั้งต้น ใบอ่อนนั้นจะเป็นสีเหลืองอมเขียว และลำอ้อยก็จะเรียวเล็กลง
เมื่อมีการขาดไนโตรเจนอย่างต่อเนื่อง



ช่วงที่มีการขาดธาตุไนโตรเจน ข้อปล้องของอ้อยจะมีการหดสั้นลง




ในสภาพที่ขาดไนโตรเจน กาบใบที่ยังไม่แก่เต็มที่มีการลอกออกมาจากลำต้น ข้อจะ
เป็นสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง




ความสำคัญ
โดยทั่วไปธาตุไนโตรเจนจะเป็นธาตุอาหารพืชตัวแรกที่จำกัดผลผลิตของพืช ทั้งนี้เนื่องจากพืชต้องการธาตุไนโตรเจนปริมาณมาก แต่ไนโตรเจนมีการเปลี่ยนรูปอยู่ตลอดเวลา การทำการเกษตรในเขตร้อนทั่วไปในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณไนโตรเจนในธรรมชาติที่ได้จากอินทรียวัตถุนั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช การขัดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชนั้นต้องคำนึงถึงอัตรา ชนิด เวลาใส่ และวิธีการใส่ เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพสูงที่สุด

รูปของไนโตรเจนที่นิยมในเขตร้อน คือยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟต ซึ่งปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน

1.ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เมื่อหว่านลงในไปในดินจะไม่สูญเสียไนโตรเจนง่ายเหมือนปุ๋ยยูเรีย โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่มีการระเหิด (การสูญเสียจากดินในรูปของก๊าซ, volatilization) ของแอมโมเนียมสูงหรือในดินที่ขาดกำมะถัน

2. ปุ๋ยยูเรียดีกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต คือมีเนื้อธาตุไนโตรเจนสูงจึงควรใส่ในอัตราที่น้อยกว่า

3. ผลตกค้างของปุ๋ยไนโตรเจนในดินหลังฤดูเก็บเกี่ยว ไม่ว่าจะปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต คือก่อให้เกิดความเป็นกรดในดิน แต่ผลตกค้างของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตก่อให้เกิดความเป็นกรดสูงกว่าปุ๋ยยูเรียสองเท่า

ปุ๋ยไนเตรทใช้น้อยเนื่องจากประสิทธิภาพต่ำในเขตร้อน ปุ๋ยอินทรีย์ไนโตรเจนดีที่สุด แต่ต้องใช้ในปริมาณสูง จึงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรก ๆ ของการเจริญเติบโตของอ้อยจะดูดธาตุไนโตรเจนในปริมาณมากกว่าที่ต้องการใช้จริง ๆ ความเข้มข้นของไนโตรเจนในอ้อย ทั้งส่วนบนดินและใต้ดินเพิ่มขึ้นถึงขีดสูงสุดเมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และหลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว การลดลงของไนโตรเจน อาจเนื่องมาจากอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้ไนโตรเจนเพิ่มขึ้นนั่นเองเมื่อใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณมากอัตราการดูดซึมก็จะเพิ่มขึ้น ขณะที่อ้อยอายุ 6 เดือนนั้น ส่วนยอดกำลังเติบโตเต็มที่ การดูดซึมไนโตรเจนจะเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังจากนั้นอัตราการดูดซึมจะลดลง

ปริมาณไนโตรเจนในอ้อยจะแตกต่างกันตามแหล่งปลูกอ้อย โดยอ้อยที่ปลูกและเก็บเกี่ยวเร็วนั้นจะมีปริมาณไนโตรเจนสูงกว่าอ้อยที่มีอายุมากกว่าเสมอ ทั้งนี้เพราะประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมักจะต่ำ เนื่องจากส่วนหนึ่งจะถูกจุลินทรีย์ดินนำไปใช้ ส่วนหนึ่งอาจถูกเปลี่ยนรูปเป็นไนเตรท และอาจสูญหายไปโดยการชะล้างหรือบางส่วนอาจระเหยสูญหายไปในบรรยากาศ ซึ่งหมายความว่าจะต้องใส่ไนโตรเจนจำนวนมากกว่าที่พืชดูดมาใช้ได้จริง ๆ อ้อยปลูกจะสามารถใช้ปุ๋ยไนโตรเจนได้มากกว่าอ้อยตอ เพราะอ้อยปลูกจะมีระบบรากที่ดีกว่าจึงมีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูงกว่า ส่วนอ้อยตอนั้นเนื่องจากโครงสร้างของดินเสื่อม การระบายอากาศไม่ดี ระบบรากจึงมีประสิทธิภาพต่ำกว่าอ้อยปลูก ดังนั้นถ้ามีการไถพรวนดินในระหว่างร่อยของอ้อยตอจะทำให้การใช้ปุ๋ยดีขึ้น

จากปัญหาประสิทธิภาพของปุ๋ย (recovery)ไนโตรเจนของพืชในเขตร้อนต่ำ จึงได้มีการศึกษาหาแนวทางการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้สารเคลือบปุ๋ยยูเรียให้ละลายน้ำช้าลง เพื่อจะได้ค่อยละลายออกมา (slow release) ให้พืชใช้ตลอดฤดูกาล โดยปกติประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของไนโตรเจนมีค่าอยู่ในช่วง 20-70% ของปุ๋ยที่ใส่ ขึ้นอยู่กับชนิดพืช เช่น พืชตระกูลหญ้ามีค่าประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูงเนืองจากมีระบบรากแบบ fibrous ที่ดูดกินไนโตรเจนได้มาก

อาการ
เมื่ออ้อยขาดไนโตรเจนจะแสดงอาการที่ใบ โดยใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีคลอโรฟิลต่ำ ใบอ่อนจะมีสีจาง ลำต้นแคระแกร็น การเจริญเติบโตลดลง อ้อยแตกกอน้อย อ้อยจะมีอัตราส่วนระหว่างซูโครส และรีดิวซิ่งซูการ์สูง เพราะอ้อยขาดไนโตรเจนจะสร้างซูโครสมาก แต่จะสร้างเนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโต ลดลง เมื่ออ้อยได้รับไนโตรเจนมากเกินไป อ้อยจะมีลำต้นอวบ มีการเจริญเติบโตด้านโครงสร้างและคุณภาพลดลง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเกินพอดี ทำให้ปริมาณของไฟเบอร์ลดลง อ้อยจะล้มง่าย

บทบาท
ไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตของอ้อยไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของโปรตีน และจำเป็นอย่างมากต่อทุกๆ ขบวนการของการใช้เอนไซม์ ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของสารในกระบวนการ metabolism ต่างๆ เช่น กรดนิวคลีอิก purines, pyrimidines porphyrines และ coenzymes ต่างๆ รวมทั้งไวตามิน และ adenosine triphosphate อ้อยจะดูดธาตุไนโตรเจนทางรากในรูปของแอมโมเนีย และไนเตรท อ้อยที่กำลังจะเจริญเติบโตต้องการไนโตรเจนอย่างสม่ำเสมอ โดยมีความต้องการมากที่สุด เมื่ออ้อยอายุ 2.5-5 เดือน เมื่ออ้อยอายุ 4 เดือนไปแล้ว อ้อยเริ่มย่างปล้อง การเจริญเติบโตในช่วงนี้รวดเร็วมาก จึงต้องการน้ำและธาตุไนโตรเจนมาก เมื่ออ้อยโตเต็มที่ คือ ประมาณ 8 เดือนขึ้นไปแล้วอ้อยจะหยุดการเจริญเติบโต และสะสมน้ำตาล ถ้าได้รับไนโตรเจนมากเกินไปในช่วงนี้อ้อยจะมีลำต้นอวบ มีการเจริญเติบโตด้านโครงสร้างและเนื้อเยื่อมากอ้อยจะดูดน้ำมาก ทำให้น้ำตาลซูโครสในน้ำอ้อยลดลง อ้อยจะแก่ช้า และคุณภาพลดลง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเกินพอดี ทำให้ปริมาณของไฟเบอร์ลดลง อ้อยจะล้มง่าย

การแก้ไข
อินทรีย์วัตถุในดินเป็นแหล่งที่สำคัญของธาตุไนโตรเจนตามธรรมชาติ ในดินที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะมีอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 1-3% มีอยู่หลายแห่งที่เป็นดินทรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระดับอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1% ทำให้อ้อยที่ปลูกแสดงอาการขาดไนโตรเจน จำเป็นต้องใส่ธาตุไนโตเจนในรูปของปุ๋ยเคมี เป็นปริมาณมากๆ

เนื่องจากอินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งที่มาของไนโตรเจนในดินการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่อ้อยจึงใช้ระดับอินทรีย์วัตถุในดินเป็นเกณฑ์พิจารณาปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจน

http://oldweb.ocsb.go.th/udon/Udon12/01/01.15.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2010 6:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/11/2010 8:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเจริญเติบโตของต้นผักคะน้า


จากการทดลองปลูกเลี้ยงต้นผักคะน้าโดยใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์พบว่า ระดับความเข้มข้นของ ไนโตรเจน ที่ทดสอบ ไม่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้าให้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ส่วนความเข้มข้นของ เหล็กคีเลท ในระดับที่ทดสอบ ไม่ส่งผลต่อจำนวนใบต่อต้น ความยาวของใบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น และความสูงของผักคะน้า แต่ระดับของเหล็กคีเลทที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความกว้างใบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า เหล็กคีเลทที่ความเข้มข้น 10.0 มก./ล. ทำให้ต้นผักคะน้ามีความกว้างใบมากที่สุด คือ 12.04 + 1.64 ซม. (Table 3 และ Figure 1) นอกจากนี้พบว่า ไนโตรเจน และเหล็กคีเลทไม่มีปฏิสัมพันธ์กันต่อการเจริญเติบโตของต้นผักคะน้าใน
ตัวแปรที่ตรวจวัด


http://www.agi.nu.ac.th/proceeding/Poster/3.CP%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81/CP_342_345.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mangotree
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 21/11/2010 1:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คัดมาจากข้อความด้านบน

ความจริงแล้วปุ๋ยไนโตรเจนเราสามารถหามาได้จากแหล่งต่าง ๆ รอบตัวเรา แต่บางกรณีก็ยากบางกรณีก็ไม่ยากเท่าไร โดยธรรมชาติแล้วไนโตรเจนนั้นอยู่ในอากาศรอบตัวเรา(ชั้นบรรยากาศโลก) อยู่แล้วและอยู่ในเปอร์เซ็นต์สูงเสียด้วย คือในอากาศมีธาตุไนโตรเจน 78% ซึ่งสูงกว่าออกซิเจนเสียอีก แล้วทีนี้ทำไมต้องซื้อมาใส่ลงในดินให้พืช ความจริงก็คือที่มันเป็นไนโตรเจนในอากาศนั้นมันอยู่ในรูปของก๊าซซึ่งในรูปนี้พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้ ต้องหาทางเอามาใช้ แต่ธรรมชาติก็ช่วยนิดหน่อย คือไนโตรเจนที่ลอยอยู่ในอากาศนั้นเวลาฝนตกฟ้าร้องมันจะรวมกันตกลงมาเป็นรูปที่พืชเอาไปใช้เลยดังจะเห็นได้จากกรณีที่สังเกตุได้ว่า เวลาฝนตกลงมาครั้งใดครั้งหนึ่ง พืชจะงดงามทันที และงามกว่าช่วงหน้าแล้งที่ลดน้ำทุกวันด้วยซ้ำไป

หน้าที่ของไนโตรเจน

สารประกอบไนโตรเจนที่พบในเนื้อเยื่อของพืชมีทั้งที่เพิ่งดูดเข้าไปและยังไม่เปลี่ยนแปลงกับอินทรียสารซึ่งมีการสังเคราะห์ขึ้นใหม่จากไนเตรท แอมโมเนียและยูเรียที่พืชดูดได้ อินทรียสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอาจแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม คือ

1. โปรตีน (proteins)
ประกอบด้วยกรดอะมิโน (amino acids) ชนิดต่าง ๆ ต่อเรียงกันอย่างมีแบบแผน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 หน่วย โดยกรดอะมิโนเหล่านั้นเชื่อมกันด้วยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) โปรตีนมีหน้าที่สำคัญมากในเซลล์โดยเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของ
(ก) ไซโทพลาซึม
(ข) เยื่อเป็นทั้งโครงสร้างและพาหะในการเคลื่อนย้ายสารผ่านเยื่อ
(ค) เอนไซม์ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาชีวเคมีจึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมอย่างกว้างขวาง

2. กรดอะมิโน
มีไนโตรเจนอยู่ที่หมู่อะมิโน (amino group) กรดอะมิโนเป็นหน่วยในโครงสร้าง (building blocks) ของโปรตีน โดยต่อเรียงกันอย่างมีแบบแผน นอกเหนือจากกรดอะมิโนที่เป็นโครงสร้างของโปรตีนแล้ว ยังมีอีกมากที่อยู่อย่างอิสระในเซลล์ สัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละอย่าง กรดอะมิโนอิสระกับกรดอะมิโนในโครงสร้างของสารต่าง ๆ เป็นลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด

3. ฮอร์โมนพืช
ฮอร์โมนที่พืชสังเคราะห์ขึ้นเองและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ คือ ออกซิน (auxins) กับไซโทไคนิน (cytokinins) กรดอินโดลแอซิติก (indole-3-acetic acid, IAA) เป็นออกซินที่พืชสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนชื่อทริปโตเฟน (tryptophane)


ไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นปุ๋ยไนเตรตในดิน
ไนโตรเจนในรูปของแก๊สมีอยู่ในบรรยากาศมากถึง 78 % และเป็นธาตุที่มีอยู่ในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์และโปรตีน สิ่งมีชีวิตจะใช้ไนโตรเจนในรูปของโปรตีน พืชบางชนิดจะนำไนโตรเจนมาใช้โดยอาศัย แบคทีเรียเช่น ไรโซเบียม (Rhizobium) ที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากตระกูลถั่วซึ่งมีความสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศและในดินแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนได้แก่ ไนเตรต (Nitrate) (NO3) และเกลือแอมโมเนีย (Ammonium Salt) (NH3) ที่มีสมบัติละลายน้ำได้

พืชจะดูดซึมสารประกอบไนโตรเจน แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นโปรตีนไนโตรเจนเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชปัจจุบันมนุษย์ได้นำธาตุไนโตรเจนมาทำเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี เป็นส่วนมาก ซึ่งทำให้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นแต่กลับส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก


ปัจจุบันมนุษย์ได้นำธาตุไนโตรเจนมาทำเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี เป็นส่วนมาก ซึ่งทำให้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นแต่กลับส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมนั้นคืออะไรบ้างครับ
ถ้าเป็นเช่นนั้น ความคาวของสาหร่ายทะเลสีดำๆ ก็คือโปรตีน อะมิโนโปรตีน และฮอร์โมนพืช.
ออกซิน กับออกซิเจน เป็นธาตุสกุลเดียวกันไหมครับ

ดังนั้นสรุปได้ว่าพืชจะสามารถใช้ไนโตรเจนได้เมื่อแปรสภาพเป็นไนเตรท?


ไนโตรเจนในรูปของแก๊สมีอยู่ในบรรยากาศมากถึง 78 % และเป็นธาตุที่มีอยู่ในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์และโปรตีน สิ่งมีชีวิตจะใช้ไนโตรเจนในรูปของโปรตีน พืชบางชนิดจะนำไนโตรเจนมาใช้โดยอาศัย แบคทีเรียเช่น ไรโซเบียม (Rhizobium) ที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากตระกูลถั่วซึ่งมีความสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศและในดินแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนได้แก่ ไนเตรต (Nitrate) (NO3) และเกลือแอมโมเนีย (Ammonium Salt) (NH3) ที่มีสมบัติละลายน้ำได้

ไนโตรเจนที่เป็นก๊าชในอากาศนั้นพืชดูดใช้ไม่ได้ ยกเว้นสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน บักเตรีอิสระ อะโซโตแบ็คเต้อร์ และบักเตรีในปมรากพืชตระกูลถั่วคือ ไรโซเบี้ยน จากนั้นกากไนโตรเจนจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้สลายตัวไปเป็นแอมโมเนีย และแปรรูปจนเป็นไนเตรท พืชทั่วไปใช้ได้

ไนโตรเจนเป็นธาตุปุ๋ยที่จำเป็นสำหรับพืชสำหรับใช้สร้างความเจริญขึ้นในทุกส่วนที่กำลังเติบโต หากขาดไนโตรเจน พืชจะเหลืองซีดโดยเริ่มจากใบล่างขึ้นไปด้านบน การเจริญลดลงจนถึงไม่เติบโต ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป จะเขียวเข้ม อวบอ้วน อ่อนแอ ถูกศัตรูพืชเข้าทำลายได้ง่าย

กิ่งก้านของต้นไม้ผลหลังหมดช่วงฤดูฝน กิ่งก้านที่เปราะอ่อนแอ
(ดึงดูดแมลงเข้าทำลาย ดูดกินโปรตีนจากใบอ่อนที่แตกใหม่)เพราะดินที่อุดมสมบรูณ์มีอินทรีย์หลากหลายทางชีวภาพจะสามารถกักเก็บไนโตรเจนที่เปลี่ยนรูปเป็นไนเตรทและพืชสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหลือเฟือ และ สังเคราะห์ไนเตรทเป็นโปรตีน อะมิโนโปรตีน ฮอร์โมนพืช ในเวลาถัดมา สะสมความสมบรูณ์ของสารอาหารเพิ่มเติมแล้วปรับค่าเอ็นลดลงด้วยการคายน้ำตามสภาพความแห้งแล้งของฤดูกาล จนย่างเข้าสู่ฤดูกาลขยายพันธุ์ และเข้าสู่ฤดูฝนในปีถัดมา


มันเป็นเช่นนั้นเอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©