-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 13, 14, 15, 16, 17  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3.4.3 ความต้องการน้ำและการให้น้ำอ้อย

อ้อยจะให้ผลผลิตมากที่สุดเมื่อได้รับความชื้นอย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต หัวใจของระบบการให้น้ำในไร่อ้อย คือ แหล่งน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นน้ำผิวดิน อันได้แก่ อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำหรือ ห้วย หนอง คลอง บึงธรรมชาติ หรือแหล่งน้ำใต้ดินจากบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น น้ำพุ และน้ำซึม หากเป็นแหล่งน้ำที่รัฐบาลได้พัฒนาขึ้นใช้เพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่จะเป็นอ่างเก็บน้ำ ฝาย และเขื่อนทดน้ำ ในการที่จะนำเอาน้ำมาใช้ต้องตรวจสอบทั้งในด้านปริมาณน้ำว่ามีพอเพียงหรือไม่ และมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอ

วิธีการให้น้ำเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพดิน ราคาของอ้อย และปริมาณน้ำที่สามารถจะส่งให้ได้ แต่ละวิธีก็ต่างมีข้อจำกัด ส่วนมากอาจปรับปรุงให้เข้ากับสภาพทั่วไปได้ ในบางพื้นที่ก็อาจทำการให้น้ำด้วยวิธีต่างๆ หลายวิธี และในบางแห่งอาจใช้ได้เพียงวิธีเดียว ในบางท้องที่เกษตรกรคุ้นเคยกับการให้น้ำแบบหนึ่ง และปฏิบัติติดต่อเรื่อยไป แม้ว่าจะมีวิธีที่เหมาะสมกว่าและประหยัดกว่าก็ตาม จึงควรมีการพิจารณาวิธีที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากต้นทุนและความสะดวกในการติดตั้ง การบำรุงรักษา แรงงาน ความชำนาญที่ต้องใช้ในการดำเนินงานและความเหมาะสมกับกิจการในไร่อ้อยที่ทำอยู่ เพื่อให้ได้การให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ

ระบบให้น้ำสำหรับแปลงอ้อย โดยทั่วไปจะมี 3 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
1) การให้น้ำแบบทางผิวดิน (Surface irrigation) เป็นแบบร่องคู (Furrow) หรือท่วมผิวดิน (Flooding)
2) การให้น้ำแบบฉีดฝอย หรือสปริงเกอร์ (Sprinkler irrigation)
3) การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)



จากการศึกษาในจังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ พบว่า การปลูกอ้อยโดยส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก การให้น้ำเป็นเพียงการช่วยเสริมในกรณีที่มีฝนทิ้งช่วง หรือมีฝนตกน้อยในบางปี หรือในแหล่งที่ปลูกอ้อยเพื่อทำพันธุ์ อ้อยปลูกใหม่เกษตรกรจะให้น้ำตามร่องก่อนปลูกซึ่งเรียกว่า อ้อยน้ำราด หรือทันทีหลังปลูก โดยไม่ระบายน้ำออก และอ้อยตอจะให้น้ำหลังตัดแต่งตออ้อยแล้วเสร็จทุกแปลงเพราะเกษตรกรไม่มีเวลาดูแลประกอบกับจะทำให้ดินแฉะรถขนอ้อยเข้าแปลงข้างในไม่ได้ แต่ถ้าปีใดมีฝนตกดีเกษตรกรก็ไม่ให้น้ำอ้อยตอ เช่น ในปีที่ทำการศึกษาปีเพาะปลูก 2546/47 ไม่ค่อยมีเกษตรกรให้น้ำครั้งที่ 2 สำหรับอ้อยปลูกใหม่ หรือให้น้ำอ้อยตอ เพราะมีฝนดีอ้อยไม่เหี่ยวแห้ง

สำหรับวิธีการให้น้ำจากการศึกษาทั้ง 2 จังหวัด พบว่า จังหวัดขอนแก่น เกษตรกรมีไร่อ้อยที่ใช้ระบบน้ำทางผิวดินแบบร่องคูอย่างเดียว โดยอาศัยน้ำจากบ่อบาดาลเพื่อการเกษตรเฉลี่ยรายละ 14 ไร่ และอาศัยน้ำจากสระเก็บน้ำในไร่นาเฉลี่ยรายละ 16 ไร่ ส่วนจังหวัดชัยภูมิมีการใช้น้ำ 2 ระบบ ได้แก่ ระบบน้ำทางผิวดินแบบร่องคู และแบบสปริงเกอร์ ระบบน้ำทางผิวดินอาศัยน้ำจากบ่อบาดาลเพื่อการเกษตรเฉลี่ยรายละ 15 ไร่ และอาศัยน้ำจากสระเก็บน้ำในไร่นาเฉลี่ยรายละ 10 ไร่ วีธีการดังต่อไปนี้

1) การให้น้ำแบบทางผิวดิน (Surface irrigation)
เป็นวิธีการที่ง่ายและลงทุนน้อยที่สุด แต่มีข้อเสียคือ ต้องมีปริมาณน้ำมากพอเพราะมีการสูญเสียน้ำมากอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ เครื่องสูบน้ำ ท่อให้น้ำและแรงงาน การให้น้ำแบบทางผิวดินนี้ เป็นการให้น้ำกับพื้นผิวดินโดยตรง อาจจะโดยให้น้ำที่ส่งเข้าไปบนพื้นดินถูกควบคุมโดยคันดิน ซึ่งเรียกว่าให้น้ำแบบท่วมผิวดิน (Flooding) หรือให้น้ำที่ส่งเข้าไปในร่องที่มีระยะห่างๆ กัน หรือร่องระหว่างแถวอ้อย เรียกว่า ให้น้ำแบบร่องคู (Furrow) กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การให้น้ำแบบท่วมผิวดินให้สำหรับอ้อยตอในพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่สภาพเป็นร่อง ส่วนการให้น้ำแบบร่อง สำหรับอ้อยปีแรกหรือในแปลงอ้อยตอที่มีการปรับปรุงยกร่อง การให้น้ำแบบทางผิวดินเหมาะสำหรับลักษณะพื้นที่ไม่ค่อยมีความลาดเท จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรที่มีข้อกำจัด พื้นที่ไม่ราบมีลักษณะลาดเทอยู่บริเวณเชิงเขา จำเป็นต้องใช้วิธีการให้น้ำแบบอื่น

2) การให้น้ำแบบสปริงเกอร์ (Sprinkler irrigation)
น้ำที่จะให้แก่อ้อยจะถูกสูบจากแหล่งน้ำ ผ่านท่อไปยังหัวฉีดแล้วพ่นเป็นฝอยไปในอากาศ และตกลงสู่พื้นอย่างสม่ำเสมอเป็นรูปเดียวกัน สามรถประหยัดน้ำได้มากกว่า 40 % และใช้แรงงานน้อยกว่าวิธีอื่น เหมาะสมกับดินทุกชนิด และเหมาะสมเป็นพิเศษกับดินทรายซึ่งมีอัตราการดูดซึมสูง สามารถใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทุกลักษณะและเหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับที่ลาดชันหรือที่ไม่ราบเรียบสม่ำเสมอที่ไม่มีการเตรียมที่ดินมาก ทั้งยังเหมาะสำหรับดินที่ทำการปรับพื้นที่ไม่ได้ การให้น้ำแบบนี้ได้อย่างมีผลดีและปลอดภัยกับที่ดินที่ชันเกิน


กว่าจะใช้การให้น้ำแบบอื่นได้ อันจะช่วยลดความสิ้นเปลืองจากการปรับพื้นที่ลงอย่างมาก ลดปัญหาเรื่องน้ำไหลบ่าบนผิวดิน และยังสามารถควบคุมปริมาณน้ำให้พอดีกับความต้องการของอ้อย

กระแสลมที่พัดจะทำให้ฝอยน้ำที่พ่นออกมาไม่สม่ำเสมอ และทำให้การให้น้ำไม่ทั่วถึงการให้น้ำแบบนี้ต้องมีน้ำส่งให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการใช้เครื่องมืออย่างประหยัดและน้ำจะต้องสะอาดปราศจากทราย หรือเศษวัสดุและเกลือที่ละลายอยู่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ท่อเสียหายชำรุดได้ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือ ท่อประธานและท่อแยกที่ไม่ได้ฝังดินนั้นอาจกีดขวางต่อการไถพรวน และการดำเนินงานของไร่อ้อยด้านอื่น ๆ ด้วย

การให้น้ำด้วยวิธีนี้ ตามปกติต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าการให้น้ำแบบอื่น ๆ ในการลงทุนครั้งแรก เพราะต้องมีเครื่องปั๊มน้ำแรงดันสูงและมีการวางระบบท่อน้ำรวมทั้งหัวฉีด ทั้งยังต้องใช้เครื่องมือเป็นพิเศษมากกว่าการให้น้ำแบบอื่น และเสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมากทำให้เกษตรกรที่มีอุปกรณ์เหล่านี้และมีพื้นที่ราบหันมาให้น้ำแบบผิวดินมากกว่าแบบฉีดฝอย เพื่อประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง อีกทั้งปริมาณผลผลิตที่ได้ก็ไม่แตกต่างกันมากนักเกษตรกรจึงเปลี่ยนไปให้ตามทางผิวดินแทน จากการศึกษาพบว่า เหลือเพียง 2 ราย ในอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ


3.5 การเก็บเกี่ยว (Harvesting)
ตามปกติแล้วเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวหรือตัดอ้อยเมื่ออายุครบ 12 เดือน ไม่นิยมเผา เพราะจะถูกโรงงานหักค่าอ้อยตันละ 20 บาท แต่ถ้าเกษตรกรตัดไม่ทันส่งโรงงานหรือแรงงานไม่เพียงพอก็จะเผาก่อนแล้วจึงตัด วิธีการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะตัดลำต้นอ้อยให้เกือบชิดดิน และตัดยอดลดมาประมาณ 25 เซนติเมตร พร้อมทั้งตัดใบออก และรวมมัด ๆ ละ 10-12 ลำ ค่าเก็บเกี่ยวรวมมัดประมาณมัดละ 0.60-1.00 บาท ค่าขนขึ้นรถตันละ 30-40 บาท เมื่อขนขึ้นเต็มรถแล้วจะลำเรียงไปส่งโรงงานทันที


3.6 การบำรุงตอ (Ratooning)
จากการศึกษาพบว่า ในทั้ง 2 จังหวัด เกษตรกรที่มีการใช้ระบบน้ำส่วนใหญ่ไม่นิยมสนใจดูแลตอเท่าที่ควร จึงทำให้ผลผลิตอ้อยต่ำและไว้ตอได้ไม่นานเท่าเกษตรกรที่ให้ความสนใจอ้อยตอ เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมปล่อยอ้อยตอให้เจริญตามธรรมชาติ โดยไม่มีการปฏิบัติใด ๆ ทั้งสิ้นหลังตัดอ้อยปลูก จะมีการดายหญ้า หรือฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชเมื่อเข้าฤดูฝน แต่สำหรับเกษตรกรที่สนใจในอ้อยตอจะให้น้ำหลังจากตัดอ้อยของตนเองแล้วเสร็จ ซึ่งตามหลักวิชาการแล้วควรให้น้ำทันทีหลังเก็บเกี่ยว



การศึกษาในครั้งนี้ ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างการมีกับไม่มีโครงการ ซึ่งเป็นการลงทุนระบบน้ำในไร่อ้อยกับการไม่ลงทุนระบบน้ำ ความแตกต่างของผลตอบแทนและต้นทุนสุทธิ ระหว่างการมีกับไม่มีระบบน้ำ เป็นผลตอบแทนสุทธิที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการลงทุนในระบบน้ำ

4.1 การลงทุนระบบน้ำในไร่อ้อยจังหวัดขอนแก่น จากการศึกษาเกษตรกร พบว่ามีการลงทุนระบบน้ำในไร่อ้อยทางผิวดินแบบร่องคูเพียงอย่างเดียว โดยอาศัยน้ำจาก 3 แหล่ง โดยอาศัยน้ำจากบ่อบาดาล สระเก็บน้ำในไร่นา และจากแหล่งน้ำธรรมชาติ/ชลประทาน (ซึ่งไม่นำมาวิเคราะห์ เนื่องจากไม่มีการลงทุนเรื่องแหล่งน้ำ) ผลการวิเคราะห์มีดังนี้

4.1.1 การลงทุนระบบน้ำแบบร่องคูโดยอาศัยน้ำจากบ่อบาดาล จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีพื้นที่ใช้น้ำเฉลี่ย 15 ไร่ ผลจากการเปรียบเทียบการมีและไม่มีระบบน้ำในไร่อ้อย จากการวิเคราะห์ทางการเงิน (ตารางที่ 5) มีดังนี้

1) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
อัตราผลตอบแทนภายในที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ระบบน้ำในไร่อ้อย (IRR) เท่ากับร้อยละ 18.99 แสดงว่า อัตราผลตอบแทนภายในที่เพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิที่เพิ่มขึ้นตลอดอายุโครงการ (NPV) ภายใต้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 8 และ 10 เท่ากับ 32,363 24,892 และ 18,583 บาท ตามลำดับ มูลค่าปัจจุบันสุทธิที่เพิ่มขึ้นตลอดอายุโครงการมีค่าเป็นบวก แสดงว่า ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นที่ได้จ่ายไป และอัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตลอดอายุโครงการ (B/C) ภายใต้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 8 และ 10 เท่ากับ 1.45 1.35 และ 1.27 ตามลำดับ อัตราส่วน มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตลอดอายุโครงการ มีค่าเป็นมากกว่า 1 แสดงว่า ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เกษตรกรสามารถตัดสินใจเลือกการใช้ระบบน้ำในไร่อ้อยแบบนี้ได้


2) การวิเคราะห์ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
Switching Value of Benefit ภายใต้อัตราดอกเบี้ย 6 8 และ 10 เท่ากับ 7.75 6.71 และ 5.67 % ตามลำดับ แสดงว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนระบบน้ำจะลดลงได้มากที่สุดภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6 8 และ 10 เท่ากับร้อยละ 7.75 6.71 และ 5.67 ตามลำดับ ถ้าผลตอบแทนลดลงมากกว่านี้การลงทุนระบบน้ำในไร่อ้อยจะไม่คุ้มกับการลงทุน และค่า Switching Value of Cost ภายใต้อัตราดอกเบี้ย 6 8 และ 10 เท่ากับ 8.40 7.19 และ 6.01 % ตามลำดับ แสดงว่า ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ ร้อยละ 6 8 และ 10 เท่ากับร้อยละ 8.40 7.19 และ 6.01 ตามลำดับ ถ้าต้นทุนรวมเพิ่มมากกว่านี้การลงทุนระบบน้ำในไร่อ้อยจะไม่คุ้มกับการลงทุน


www2.oae.go.th/zone/zone4/research/5/content.doc -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/01/2011 7:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 21/01/2011 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
3.5 การเก็บเกี่ยว (Harvesting)
ตามปกติแล้วเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวหรือตัดอ้อยเมื่ออายุครบ 12 เดือน ไม่นิยมเผา เพราะจะถูกโรงงานหักค่าอ้อยตันละ 20 บาท แต่ถ้าเกษตรกรตัดไม่ทันส่งโรงงานหรือแรงงานไม่เพียงพอก็จะเผาก่อนแล้วจึงตัด วิธีการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะตัดลำต้นอ้อยให้เกือบชิดดิน และตัดยอดลดมาประมาณ 25 เซนติเมตร พร้อมทั้งตัดใบออก และรวมมัด ๆ ละ 10-12 ลำ ค่าเก็บเกี่ยวรวมมัดประมาณมัดละ 0.60-1.00 บาท ค่าขนขึ้นรถตันละ 30-40 บาท เมื่อขนขึ้นเต็มรถแล้วจะลำเรียงไปส่งโรงงานทันที


3.6 การบำรุงตอ (Ratooning)
จากการศึกษาพบว่า ในทั้ง 2 จังหวัด เกษตรกรที่มีการใช้ระบบน้ำส่วนใหญ่ไม่นิยมสนใจดูแลตอเท่าที่ควร จึงทำให้ผลผลิตอ้อยต่ำและไว้ตอได้ไม่นานเท่าเกษตรกรที่ให้ความสนใจอ้อยตอ เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมปล่อยอ้อยตอให้เจริญตามธรรมชาติ โดยไม่มีการปฏิบัติใด ๆ ทั้งสิ้นหลังตัดอ้อยปลูก จะมีการดายหญ้า หรือฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชเมื่อเข้าฤดูฝน แต่สำหรับเกษตรกรที่สนใจในอ้อยตอจะให้น้ำหลังจากตัดอ้อยของตนเองแล้วเสร็จ ซึ่งตามหลักวิชาการแล้วควรให้น้ำทันทีหลังเก็บเกี่ยว


เวลานี้ชาวไร่อ้อย
อยู่ขั้นตอนนี้อยู่ครับลุง...

++กำลังเก็บเกี่ยว

++กำลังบำรุงตอ

ขอบคุณมากลุงที่ให้ข้อมูล
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การบำรุงตออ้อย

"การทำไร่อ้อยยุคใหม่"

ธวัช ตินนังวัฒนะ


ผลผลิตในอ้อยตอจะสูงหรือต่ำ ไว้ตอได้หลายปีหรือไม่ ส่วนหนึ่งมีผลสืบเนื่องจากมาจากอ้อยปลูก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดิน การเตรียมดิน การใช้พันธุ์อ้อย การปลูก เปอร์เซ็นต์การงอก การดูแลรักษา โรคและแมลง ฯลฯ กล่าวคือ ก่อนปลูกอ้อยมีการปรับพื้นที่ ไม่ให้มีน้ำแช่ขัง มีการปรับปรุงดิน มีการเตรียมดินที่ดี พันธุ์อ้อยสมบูรณ์ ปลอดโรค แมลง หลังจากปลูกแล้วมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง มีการใส่ปุ๋ยสูตรและอัตราที่เหมาะสม ในช่วงเก็บเกี่ยวรถตัดอ้อย รถบรรทุกอ้อยไม่เหยียบตออ้อย อ้อยตอที่เกิดใหม่ย่อมจะสมบูรณ์อย่างแน่นอน สำหรับอ้อยตอปีต่อ ๆ ไปก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากชาวไร่อ้อยบำรุงรักษาไว้ดี ก็สามารถจะไว้ได้หลายปี และผลผลิตอ้อยยังคงสูงอยู่

แต่อย่างไรก็ตาม การไว้ตอจะไว้ได้หลายปีหรือไม่ ผลผลิตของอ้อยตอจะสูงหรือต่ำ ขึ้นกับปัจจัยอีกหลายอย่างเช่น

1. พันธุ์อ้อย
อ้อยแต่ละพันธุ์มีความสามารถในการไว้ตอได้ต่างกัน กล่าวคือ บางพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์การตายของตอสูง เกิดช้า บางพันธุ์เมื่อเป็นอ้อยตอขนาดของลำเล็กลงกว่าอ้อยปลูกมาก ผลผลิตของอ้อยปลูก : ตอ แตกต่างกันมากซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะไม่ดี ลักษณะของพันธุ์อ้อยที่ดี เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น จะต้องให้ผลผลิตสูง ตอตายน้อย ไว้ตอได้หลายปี ขนาดของลำไม่แตกต่างจากอ้อยปลูกมากนัก มีความทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี ตัวอย่างเช่น พันธ์ เค.84-200 ที่ปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว หรือร่วนปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ ฟิล 63-17 ซีโอ 1148 91-2-318 ในที่ดินร่วนปนทราย ทรายร่วน เป็นต้น

2. ความหนาแน่นของอ้อยปลูก
อ้อยปลูกที่เกิด 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นอ้อยตอ ย่อมจะงอก 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้างอกไม่เต็ม ควรซ่อมให้เต็ม

3. อายุของอ้อยขณะเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวปีแรก บางพันธุ์จะมีผลกระทบกับอ้อยตอ กล่าวคือ ถ้าตัดอ้อยปีแรกเก็บเกี่ยวเมื่ออายุมากเกินไป เช่น อ้อยปลูกตุลาคม-พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคม อ้อยมีอายุ 16-17 เดือน ตออ้อยจะเกิดน้อยกว่าอ้อยที่เก็บเกี่ยวอายุ 12-13 เดือน หรือน้อยกว่า สาเหตุเนื่องจากเก็บเกี่ยวอายุมากเกินไป ตาอ้อยแก่เกินไป และผลจากการกระทบแล้งนาน จึงมีตอตายมาก ฉะนั้นต้องมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวให้เหมาะสมกับอายุความหวาน และวางแผนเก็บเกี่ยวให้หมดแปลงภายใน 1-2 วัน

4. ชนิดของดิน
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ชนิดของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีผลต่อผลผลิต และอายุของการไว้ตอมาก กล่าวคือ ถ้าเป็นดินร่วนเหนียว-ร่วนปนทราย ที่มีอินทรียวัตถุมากกว่า 1.5 ตออ้อยจะมีผลผลิตสูง และไว้ตอได้หลายปี แต่ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย-ทรายร่วน ดินมีอินทรียวัตถุน้อยกว่า 1.5 ผลผลิตของอ้อยตอจะต่ำ ถ้าอินทรียวัตถุต่ำมาก ผลผลิตของอ้อยตอจะต่ำมากและไว้ตอได้ไม่นาน ฉะนั้นถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำจะต้องปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด

5. การปฏิบัติดูแลรักษา
การปฏิบัติรักษาอ้อยตอ ชาวไร่จะต้องตัดแต่งตอให้แล้วเสร็จ ภายใน 3 วัน นับจากวันเก็บเกี่ยวเสร็จ อาจจะใช้แรงงานหรือเครื่องตัดแต่งตอก็ได้ การปฏิบัติรักษานั้น มีทั้งวิธีการเผาใบ และไม่เผาใบ วิธีการจะแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน ความชื้นของดิน และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น บางแห่งจำเป็นต้องเผาใบ เนื่องจากเสี่ยงต่อไฟไหม้ ซึ่งอาจมาจากไฟป่า หรือคนชอบจุด


กรณีไม่เผาใบ
เศษใบอ้อยที่อยู่ในไร่ จะใช้แรงงานตัด เครื่องจักรตัด จะมีน้ำหนักประมาณ25-27 เปอร์เซ็นต์ของอ้อยสด ถ้าหากอ้อยสดได้ 15 ตัน/ไร่ จะมีเศษใบยอดอ้อยทิ้งอยู่ในไร่ประมาณ 4 ตัน เศษใบอ้อยนี้จะช่วยคลุมดิน รักษาความชื้น คลุมวัชพืช และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ใบอ้อยที่คลุมดินไว้จะช่วยลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย เช่น

พรวนคลุกใบอ้อย Trash incorporation and Fertilizer
เครื่องมือนี้มีจานพรวนดิน ใส่ปุ๋ยหลังพรวนระเบิดดาน มีริปเปอร์ มีลูกกลิ้งทับบดดินให้ละเอียด

กรณีดินร่วนหรือร่วนเหนียว
ใช้จอบหมุนคลุกใบอ้อย เมื่อคลุกแล้วควรใส่ปุ๋ยทันทีการใส่ปุ๋ยรองพื้น ควรเน้น N และ P คือ เร่งรากและหน่อ อาจจะใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 20-20-0 ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย อาจจะใช้ 16-16-8 การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ใส่เมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าเน้น N และ K เช่น สูตร 20-4-30, 15-5-20 หรือ 16-11-14 การใส่ปุ๋ยในอ้อยตอควรจะใส่มากกว่าอ้อยปลูก การดูแลรักษา เช่น กำจัดวัชพืช ดูแลเช่นเดียวกับอ้อยปลูก

กรณีเผาใบ
อาจจะเผาอ้อยก่อนตัดหรือตัดสดแล้วเผาใบ ขั้นตอนการดำเนินการต้องพยายามทำดินให้ร่วนซุยเช่นเดียวกับการเตรียมดินปลูกอ้อย เพื่อให้ดินสามารถเก็บความชื้นไว้ได้นาน เครื่องมือที่ใช้ เช่น

คราดสปริงถังปุ๋ย + คราดตัว A หรือพรวนจานถังปุ๋ย + คราดตัว A (Trash incorporation and Jertiliger) พรวนดินใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกับกรณีไม่เผาใบ

การดูแลรักษา เช่นเดียวกับอ้อยปลูกใหม่




พรวนจานคลุกใบอ้อยพร้อมใส่ปุ๋ย (Trash incorporation and fertilizer)
ทำหน้าที่พรวนดินใส่ปุ๋ย ระเบิดดาน พร้อมคราดลูกหญ้าระหว่างต้นอ้อย





เครื่องมือคลุกใบอ้อย 8 จาน (Trash incorporation)
พรวนจานคลุกใบอ้อยลงในดินเพื่อป้องกันไฟไหม้ เครื่องมือชุดนี้
สามารถติดถังปุ๋ย ใส่ปุ๋ยพร้อมคลุกใบ (ในภาพด้านบนคือน้ำหนักถ่วง)




การบำรุงตอ
ถ้าหากเผาใบอ้อย เมื่อเผาแล้วต้องพรวนทันที ถ้าปล่อยค้างดินจะแห้งไถพรวนไม่เข้า
ถ้าหากฝนทิ้งช่วงนานอ้อยตอจะแห้งตาย ความลึกของการพรวน ประมาณ 10-15 ซม




การบำรุงตอ ชนิดไม่เผาใบ
จอบหมุน พรวนดินคลุกใบอ้อย ถ้าวิ่ง 2 ครั้ง ดินและใบจะคลุกได้ดีมาก
เครื่องมือชนิดนี้เหมาะกับดินร่วนถึงดินร่วนเหนียว ดินมีความชื้นพอเหมาะ
ถ้าเป็นดินทราย หรือดินร่วนปนทราย ใบมีดจะสึกหรอเร็วมาก




การบำรุงตอ ชนิดไม่เผาใบ
พรวนจาน คลุกใบอ้อย จะต้องใช้ 2 ครั้งขึ้นไป การพรวนจึงจะได้ผลดี และจะต้อง
ดำเนินการทันทีภายหลังตัดเสร็จ




M.P.I.
เป็นเครื่องมือใส่ปุ๋ยกลางร่องออกแบบโดย มิสเตอร์กวิโด สำหรับใช้ในการ
ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าใช้ได้ทั้งในอ้อยปลูกใหม่ และอ้อยตอ โดยเครื่องจะถูกออก
แบบให้ทำลายชั้นดานระหว่างร่องอ้อยด้วยขาริปเปอร์ ใส่ปุ๋ยได้ลึก 25-30
ซม. ซึ่งจะสามารถลดการสูญเสียปุ๋ยจากการใส่ด้วยวิธีธรรมดาได ้ และให้
อ้อยสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ยาวนานขึ้น ....... การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า
ควรใส่เมื่ออ้อยอายุ 6-8 สัปดาห์






http://oldweb.ocsb.go.th/udon/All%20text/1.Article/01-Article%20P10.3.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การบำรุงตออ้อย

1. ทำการตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันที หรือเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าตัดอ้อยชิดดิน ก็ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย ทำให้ประหยัดเงินและเวลา

2. ใช้พรวนเอนกประสงค์ 1-2 ครั้ง ระหว่างแถวอ้อยเพื่อตัดและคลุกใบ หรือใช้คราดคราดใบอ้อยจาก 3 แถวมารวมไว้แถวเดียว เพื่อพรวนดินได้สะดวก

3. ใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อระเบิดดินดาน ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้นในดินด้วย

4. การใส่ปุ๋ย ควรใส่มากกว่าอ้อยปลูก ใช้สูตรเช่นเดียวกับอ้อยปลูก

5. ในแปลงที่ไม่เผาใบอ้อยและตัดอ้อยชิดดิน ก็จะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ และเริ่มดายหญ้าใส่ปุ๋ยเมื่อเข้าฤดูฝน

6. การไว้ตออ้อยได้นานแค่ไหนขึ้นกับหลุมตายของอ้อยว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีหลุมตายมาก ก็จะรื้อปลูกใหม่



http://www.doae.go.th/plant/sugar.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/01/2011 7:20 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้อยได้เฮ 28 ตัน/ไร่ มิตรผลพัฒนาสู่ความสำเร็จ

อ้อย ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพราะสามารถนำไปผลิตเป็น อาหารพลังงาน และ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Products) หลากหลายประเภท ซึ่งล้วนแต่สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับประเทศ, นักลงทุน และเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย



ปัจจุบันประเทศไทยมี พื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 6.5 ล้านไร่ ซึ่งให้ผลผลิตประมาณ 70 ล้านตันต่อปี จากปริมาณอ้อยดังกล่าว สามารถนำไป ผลิตเป็นน้ำตาลได้ปีละประมาณ 7 ล้านตัน แบ่งเป็น 2 ล้านตัน ใช้บริโภคภายในประเทศ และอีก 5 ล้านตัน ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

ศักยภาพการผลิตอ้อยในประเทศไทย ถือว่ายังมีประสิทธิภาพต่ำ ผลผลิตเฉลี่ย 8–10 ตันต่อไร่ ค่าความหวานอยู่ในระดับ 11–12 ซีซีเอส. ขณะที่กลุ่มประเทศ บราซิล, ออสเตรเลีย, จีน และ อินเดีย ผลผลิตอยู่ที่ 13–15 ตัน/ไร่ และค่าความหวานอยู่ที่ 13-15 ซีซีเอส.

หากสามารถพัฒนาการปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตสูง มีรูปแบบการจัดการที่มีประสิทธิผลและมีต้นทุนต่ำ ก็จะยิ่งทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้และผลกำไรมากขึ้น อุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ก็จะมีวัตถุดิบที่มั่นคง ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล

นายอภิวัฒน์ บุญทวี ผู้อำนวยการด้านอ้อย บริษัทสวนเกษตรอุตสาหกรรมจำกัด (มิตรผล) บอกว่า กลุ่มมิตรผลได้วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย โดยปี 2553 ลงทุนพัฒนาระบบน้ำจำนวน 90 ล้านบาท เพื่อวางระบบชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่ 32,000 ไร่ แล้วเสร็จในเดือน เม.ย.2554 จากนั้นในปี 2554-2556 ยังมีแผนจะลงทุนขยายระบบชลประทานในพื้นที่ปลูกอ้อยเป็น 60-65% จากพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมดจำนวน 1.2 ล้านไร่

"กลุ่มมิตรผลต้องการ เพิ่มผลผลิตต่อไร่มากขึ้น เพื่อจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของโรงงานน้ำตาล จึงได้ดำเนินโครงการ "มิตรผลโมเดล" เพื่อต่อยอดการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จากปัจจุบัน 8 ตันต่อไร่ เป็น 17 ตัน/ไร่ โดยจะเข้าไปพัฒนาแหล่งน้ำด้วยการร่วมลงทุนระหว่างโรงงานน้ำตาลกับชาวไร่ สัดส่วน 50 : 50 โดยโรงงานน้ำตาลจะลงทุนสร้างแหล่งน้ำ และชาวไร่เป็นผู้ลงทุนเชื่อมต่อแหล่งน้ำ" นายอภิวัฒน์ บอกอย่างนั้น

ด้านนายนิคม ฝาดสุนทร ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำมิตรบ้านลาด อยู่ที่หมู่ 17 ตำบลบ้านแก้ว อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ บอกว่า กลุ่มชาวไร่อ้อยที่บ้านลาดมีพื้นที่ถือครองต่อรายน้อย ขาดอุปกรณ์เครื่องจักรในการทำไร่ ที่ให้ประสิทธิผลสูง มักจ้างรถแทรกเตอร์จากภายนอก เข้าไปดำเนินการในลักษณะต่างคน ต่างทำ ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการจัดการอย่างต่อเนื่อง เช่น การเพาะปลูก การใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว ฯลฯ ที่ไม่ทันเวลา ผลผลิตต่อปีอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แค่ประมาณ 8 ตัน/ไร่ ทำให้มีรายได้น้อย แต่เนื่องจากการปลูกอ้อยเป็นอาชีพดั้งเดิมของชุมชน





ฉะนั้น ในการแก้ปัญหา ทางกลุ่มผู้ใช้น้ำมิตรบ้านลาดจำนวน 86 ราย ได้ร่วมกันลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำและวางท่อส่งน้ำเข้าไร่ เป็นวงเงิน 2.4 ล้านบาท ต่อยอดจาก โครงการชลประทานที่มีอยู่ เพื่อให้ ครอบคลุมพื้นที่ 1,360 ไร่ ซึ่งทางโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียวเป็นแหล่งปล่อยเงินทุนให้ก่อน และมาผ่อน ชำระภายในเวลา 4 ปี ทั้งนี้ ได้กำหนดตารางการให้น้ำอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี คือ

ช่วงปลูกอ้อย,
ช่วงอ้อยแตกกอ,
ช่วงย่างปล้อง ....... และ
ช่วงที่อ้อยเผชิญกับภาวะแล้งฝน


ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ผลผลิตอ้อยที่ต่อยอดจากมิตรผลโมเดล ได้มากกว่า 17 ตันต่อไร่

นายจรัล ดอนเตาเหล็ก เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย อำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิ บอกว่า เริ่มจากการตรวจสอบ ดินจะต้องอุดมสมบูรณ์ โดยเน้นการตัดอ้อยสดไม่เผาใบ การไถกลบเศษซากลงดิน และการใช้ กากหม้อกรองเพื่อปรับปรุงโครงสร้างดิน พันธุ์อ้อยต้องเป็นพันธุ์ที่มีความหวานสูง เช่น พันธุ์ LK 92–11 และขอนแก่น 3 มีการจัดการในเวลาที่เหมาะสม โดยต้องควบคุมการปลูกอ้อยให้ทันเวลา และแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณ น้ำหนัก และค่าความหวานที่สูงขึ้น

ในปีที่ผ่านมา แปลงปลูกอ้อยของเราได้ผลผลิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ที่ได้ถึงจำนวน 28 ตัน/ไร่ ถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thaitoday.tv/smeweb15f/catalog.php?idp=44


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/01/2011 7:29 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 9:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเพิ่มผลผลิตอ้อย ให้ได้ผลิตต่อไร่เกือบ 30 ตัน/ไร่





เมื่อสองสามวันก่อน ผมไปทำธุระที่สมาคมชาวไร่อ้อย ที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี มีโอกาสพบกับพี่ดาวเรือง

พี่ดาวเรืองเป็นชาวไร่อ้อย เป็นกรรมการสมาคม และเป็นสมาชิกกลุ่มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาด้านอ้อย ของหน่วยงานผม ทุกปี-อาจจะปีละหลายครั้ง ที่เราจะเชิญสมาชิกกลุ่มมาฝึกอบรมให้ความรู้รวมถึงการพาไปดูงานที่แหล่งความรู้ข้ามภาคข้ามจังหวัด เพื่อให้มีความรู้ สร้างตัวแทนของหน่วยงาน และนำความรู้กลับไปแนะนำเพื่อนชาวไร่อื่นๆในพื้นที่ ชาวไร่อ้อยทางอุดรปลูกอ้อยกันนานแล้วจึงมีความรู้ค่อนข้างลึกมาก ส่วนชาวไร่อ้อยแถวบ้านเราจำนวนมากพึ่งเริ่มปลูกอ้อย เลยต้องเรียนรู้กันอีกระยะหนึ่ง ผมกำลังหาโอกาสสร้างกลุ่มการเรียนรู้ด้านอ้อยที่บ้านเรา เพราะจากการศึกษาปัจจัยหลายด้าน พื้นที่ปลูกอ้อยบ้านเราดีกว่าทางอุดร ถ้าเกษตรได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม จะพัฒนาไปได้ไกลมาก ยังไงลองเมล์มาคุยกันนะครับ จะช่วยให้ผมหาจุดเริ่มต้นได้ง่ายขึ้น

พี่ดาวเรืองไปนำความรู้จากทางเมืองกาญจน์มาลองวิชา โดยดัดแปลงรถไถ จัดทำถังน้ำขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร (1,000ลิตร) ติดตั้งบนหลังคา แล้วเติมน้ำเพื่อหยอดน้ำให้ท่อนพันธุ์อ้อยระหว่างปลูกโดยใช้เครื่องปลูก วัตถุประสงค์คือทำให้ท่อนอ้อยมีความชื้นพอเพียงช่วยกระตุ้นการงอก พี่ดาวเรืองทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักเอง และบางครั้งจะใช้น้ำจากบ่อเล้าหมูซึ่งเป็นปุ๋ยหมักที่ดีมากชนิดหนึ่งแทนน้ำบ่อ เป็นการเพิ่มปุ๋ยไปพร้อมกับการให้ความชื้น

ถังน้ำที่ว่านี้ ทำที่อู่แถว อ.ไชยวาน ค่าใช้จ่ายประมาณหมื่นบาท ชาวไร่บ้านเราถ้าสนใจก็ลองลอกแบบไปให้โรงกลึงข้างบ้านทำได้ครับ ไม่ยากเลย..


http://www.lumphu.com/index.php/webboard/13/3043--30-.html?limit=10&start=10
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 10:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้น้ำปลาร้าฉีดเพิ่มผลผลิตอ้อย

การใช้น้ำปลาร้า (ปลาทะเล) ปรับปรุงดินในไร่อ้อย

ในแถบภาคตะวันตกนับเป็นแหล่งผลิตอ้อยที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งทั้งนี้เพราะมี สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมกล่าว คือ เป็นเขตกึ่งร้อน มีปริมาณน้ำฝนและแสงแดดเพียงพอ โดยทั่วๆไปอ้อยเจริญเติบโตได้ช้าในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส แต่ขึ้นได้ดีใน อุณหภูมิที่สูงกว่า ๒๐ องศาเซลเซียส และในพื้นที่ที่ไม่มีการชลประทานจะต้อง มีน้ำฝน 1.5 เมตร/ปี หรือมากกว่านั้น อ้อยเจริญเติบโตได้ช้าในเดือนแรก ๆ อ้อยที่มีอายุปลูกมาก ๆ จะมีระยะเวลาเจริญเติบโตได้นานและให้ผลผลิตสูง จะเก็บเกี่ยวอ้อยเมื่อมีอายุ 11-12 เดือน

นายสุพจน์ แสงประทุม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า แม้อ้อยปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิดแต่ก็อาจเจริญเติบโต ช้า แคระแกรน หากดินขาดความโปร่งซุยอากาศและน้ำถ่ายเทไม่สะดวกเพราะ ต้นอ้อยขณะยังเล็กจะไม่สามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมหรือขังได้ ดินที่ใช้ปลูกเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป และขาดธาตุอาหารสมบูรณ์

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ได้ตระหนักในเรื่องนี้ จึงมุ่งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มศักยภาพการผลิต โดยเน้นให้เกษตรกรมีการปรับปรุงบำรุงดินให้มีศักยภาพ และเหมาะสมต่อการเพาะปลูก โดยได้แนะนำให้เกษตรกรใช้เทคนิคการจัดการการผลิตอ้อยที่ง่ายๆ สะดวกปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ในขณะเดียวกันทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มพร้อมทั้ง ลดต้นทุน ด้านสารเคมีลงจำนวนมากโดยการใช้ น้ำหมักปลาร้า หรือน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล ซึ่งพบว่าเกษตรกรต้นแบบที่ใช้เทคนิคนี้ ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 และลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีลงมากกว่าร้อยละ 80

เกษตรกร ต้นแบบที่ได้นำน้ำหมักปลาร้าไปใช้ในแปลงอ้อยแล้วประสบผลสำเร็จรายหนึ่ง คือ นางทองกลม ชูเลิศ อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ 114 หมู่ 10 ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีอาชีพปลูกอ้อยส่งโรงงาน ในพื้นที่ของตนเอง 50 ไร่ และพื้นที่เช่าอีก 70 ไร่ รวมเป็น 120 ไร่ และได้ร่วมกับสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ในการศึกษาทดลองการใช้น้ำหมักปลาร้าโดยแบ่งพื้นที่แปลงปลูกอ้อย จำนวน 30 ไร่ ภายใต้คำแนะนำและกำกับดูแลของนายวิชัย ซ้อนมณี นักวิชาการเกษตร 7ว ซึ่งผลการเป็นผู้ดำเนินการ พบดังนี้

ตั้งแต่เริ่มวางท่อนพันธุ์อ้อยจนท่อนพันธุ์อ้อยได้ 1 ศอก หรืออายุได้ประมาณ 3 เดือน ได้กำหนดเริ่มการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้า 1 ครั้ง โดยฉีดที่โคนและใบ ในอัตราน้ำหมักปลาร้าที่ใช้ 1 : 100 (1 ลิตร : น้ำ 100 ลิตร) อัตราการฉีดพ่นจะกำหนดให้น้ำที่ ผสมน้ำหมักปลาร้าแล้ว จำนวน 100 ลิตร ให้ฉีดพ่นพอดีกับพื้นที่ 1 ไร่ ต่อความหวาน (น้ำตาล) 13% ดังนั้น พื้นที่ปลูกอ้อย 30 ไร่ จะใช้ น้ำหมักปลาร้า จำนวน 60 ลิตร ซึ่งก่อนการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้า ต้นอ้อย ยังมีการเจริญเติบโตไม่ดีนัก มีความสูงเฉลี่ย 1.00–1.20 เมตร ลักษณะใบอ้อยพับงอลงทั้งแปลง ปลายยอดจะห่อเมื่อโดนแสงแดด กาบใบด้านล่างจะแห้งตั้งแต่กาบด้านในที่หุ้มลำต้น จนถึงปลายใบหมดทั้งแปลง ทรงพุ่มการเจริญเติบโตไม่เป็น รูปทรงสม่ำเสมอกัน มีต้นเล็กใหญ่สลับกันทุกกออ้อย

แต่หลังจากการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้านี้ มีข้อค้นพบการเปลี่ยนแปลงอันดับแรก คือ ใบอ้อยจะชูขึ้นตั้งตรงทุกใบ ไม่หลบแสงแดด เมื่ออากาศร้อนจัดแต่ละวัน ช่วงเวลา 11.00-15.00 น. ทั่วทั้งแปลงและใบที่ห่อม้วนเข้าหากัน เพื่อป้องกันการคายน้ำ ก็จะเริ่มคลี่ใบออกมาด้านกว้าง มีการเปลี่ยนแปลงของต้นและใบอ้อยทุกส่วนให้เห็นได้ชัดเจน เช่น ความสูงของ ลำอ้อยจะสูงขึ้น 4-5 ซม. ความอวบใหญ่ของลำอ้อยจากการวัดนิ้วมือโอบรอบขยาย 2-3 ซม. ความสูงของต้นถึงปลายใบทั้งต้นเฉลี่ย 7-10 ซม.

มีข้อค้นพบว่าการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าที่เหมาะสมแก่อ้อย คือ 2 ครั้ง/ปี คือ ช่วงแรกอายุ 3 เดือน 1 ครั้ง อัตรา 1 : 100 และช่วงที่ 2 อายุ 5 เดือน ในอัตรา 1 : 100 ดังนั้น พอเข้าเดือนที่ 5 ก็ทำการฉีดอีกครั้งโดยใช้อัตรา 1 ต่อ 100 เหมือนเดิม แต่ตอนนี้ฉีดโคนอย่างเดียว และไม่ต้องฉีดแล้วจนกระทั่งทำการเก็บเกี่ยว จนอายุครบ 1 ปี หรือ 12 เดือน

นางทองกลมเกษตรกรต้นแบบมีความพึงพอใจในน้ำหมักปลาร้านี้มาก ทั้งนี้เพราะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุยมากขึ้น และไม่พบการระบาดของหนอนกินราก หรือหนอนกอมารบกวน อีกทั้งปริมาณน้ำหนักของอ้อยที่ได้มีปริมาณน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จึงนับว่าน้ำหมักปลาร้าเป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกายและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ นางทองกลม ยังได้เผย เทคนิคการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องดำเนินการในช่วงเวลาอากาศเย็น หลังฝนตกหรือช่วงเวลาเย็นที่ไม่มีแสงแดดจะดีที่สุด เพราะมีความชื้นที่เหมาะแก่การมีชีวิตของจุลินทรีย์ในน้ำหมักปลาร้าที่จะซึมเข้าไปสู่ส่วนของใบ ลำต้น และลงสู่ดินที่จะขยายตัว แทรกซึมเข้าสู่ทุกอนุของเม็ดดินที่มีความชื้นอยู่ในดิน จุลินทรีย์ก็จะทำหน้าที่ย่อยสลาย วัตถุอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีที่ตกค้าง และสุดท้ายจะปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เป็นกลางเหมาะ แก่การดูดซึมของรากพืช

นายวิชัย ได้กล่าวเสริมว่า เหตุที่น้ำหมักปลาร้านี้มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มผลผลิตแก่อ้อยเนื่องจากเกิดจากการหมักของน้ำหมักปลาทะเล และมีการหมักนาน 8-10 เดือน ทำให้มีธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพธาตุอาหารจากกรมวิชาการเกษตรทุกครั้ง ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปใช้

หากเกษตรกรท่านใดที่สนใจการจัดการการผลิตอ้อยด้วยน้ำหมักปลาร้านี้ สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110 หรือ โทร.0-3220-1568 หรือ 08-9790-1882 และ 08-1375-5191

นายสุพจน์กล่าวในตอนท้ายว่า คาดว่า แปลงไร่อ้อยของนางทองกลม จะเป็นต้นแบบการพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอ้อยที่ยั่งยืน สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นขณะที่ใช้พื้นที่ปลูกเท่าเดิม จะขยายผลไปยังเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายอื่นได้นำไปปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 และในระยะยาวในเขตภาคตะวันตก น่าจะเป็นแหล่งผลผลิตอ้อยคุณภาพดีป้อนโรงงานน้ำตาล ตลอดจนสามารถรองรับอุตสาหกรรมเอทานอลที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ช่วยทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงได้อีกทางหนึ่งด้วย


- อมรศรี ตุ้ยระพิงค์ : ข่าว

http://www.bionanothai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=155:2010-10-28-08-07-58&catid=49:2010-10-23-05-24-20&Itemid=152


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/01/2011 2:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนะชาวไร่ปลูกถั่วแทนเผาซากอ้อย
แถมช่วยลดโลกร้อนอีกทาง


นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยเผาซากอ้อยทำดินเสื่อมโทรม แถมเพิ่มก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุโลกร้อน และถ้าปลูกใหม่ในที่ดินเดิมจะทำให้ผลผลิตอ้อยตกต่ำ แนะเกษตรกรเลิกเผาซากอ้อยแล้วหันมาปลูกถั่วแทน จะช่วยบำรุงดินให้พร้อมสำหรับปลูกอ้อยรุ่นต่อไป และไม่ทำให้โลกร้อนขึ้น ทั้งยังมีรายได้เข้ากระเป๋าเพิ่มอีกไม่น้อย

น.ส. เสาวคนธ์ เหมวงษ์ นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) จากสาขาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เผยผลวิจัยการเผาซากอ้อยในไร่อ้อยเป็นเหตุทำให้ดินเสื่อมโทรม ผลผลิตอ้อยรุ่นต่อไปตกต่ำ ทั้งยังเพิ่มภาวะโลกร้อน แนะชาวไร่อ้อยให้แก้ปัญหาด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วแทนการเผาซากอ้อย ช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้นได้ ส่วนเกษตรกรก็จะมีรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

โดยปกติเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มปลูกอ้อยในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน จากนั้นจะจัดการกับซากอ้อยที่เหลือโดยการเผา แล้วปล่อยแปลงทิ้งร้างไว้เฉยๆ เพื่อรอการปลูกอ้อยครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม ซึ่งวิธีการดังกล่าวทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยรุ่นต่อไป อีกทั้งการเผายังทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น น.ส. เสาวคนธ์ กล่าว

นักวิจัยเลยคิดหาวิธีจัดการไร่อ้อยโดยไม่ต้องเผาซากอ้อย โดยเล็งเห็นว่าหากปลูกพืชตระกูลถั่วในช่วงระหว่างรอปลูกอ้อยรุ่นต่อไปจะเป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจนในดินได้ และน่าจะทำให้ได้ผลผลิตอ้อยเพิ่มมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันเกษตรกรก็จะมีรายได้เสริมจากการปลูกถั่วอีกทางหนึ่ง

น.ส. เสาวคนธ์ จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบการจัดการไร่อ้อยตามวิธีดั้งเดิมของชาวไร่และการปลูกพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยโดยที่ไม่ต้องเผาซากอ้อย ซึ่งเลือกใช้ถั่วลิสงและถั่วเหลืองในการทดลอง

หลังจากทดลองศึกษามาเป็นเวลา 1 ปี นักวิจัยพบว่า การปลูกถั่วแทนการเผาซากอ้อยจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยรุ่นถัดไปได้มากกว่าวิธีเดิมที่เกษตรกรใช้ โดยหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วไปแล้ว และไถกลบซากถั่วเพื่อเตรียมดินสำหรับปลูกอ้อย นักวิจัยสังเกตเห็นได้ว่า ในช่วง 6 เดือนแรก อ้อยเจริญเติบโตดีใกล้เคียงกับอ้อยในแปลงที่ได้รับปุ๋ยไนโตเจนแต่ไม่ได้ปลูกถั่วมาก่อนหน้า

การปลูกถั่วช่วยให้ชาวไร่ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ครึ่งหนึ่ง คือ ในช่วง 6 เดือนแรกของการปลูกอ้อย เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย ขณะที่ผลผลิตอ้อยไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด โดยถั่วลิสงจะให้ผลผลิตถั่วและเพิ่มผลผลิตอ้อยได้มากกว่าถั่วเหลือง


และการปลูกถั่วแทนการเผาซากอ้อยจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการเกิดฝุ่นละอองและมลพิษ ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้กับดินได้โดยไม่ทำให้ดินเสื่อมสภาพเหมือนการใส่ปุ๋ยเคมีในดิน และจะนำไปสู่การทำเกษตรแบบยั่งยืนได้ น.ส. เสาวคนธ์ กล่าว

ทั้งนี้ นักวิจัยจะนำผลงานวิจัยดังกล่าวเผยแพร่และให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรลดการเผาซากอ้อย และหันมาปลูกถั่วเสริมรายได้ในช่วงว่างเว้นจากการปลูกอ้อยแทน เพื่อเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีอีกทางหนึ่งในการปลูกอ้อยครั้งต่อไป ซึ่งงานวิจัยนี้ยังจะนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือตัดใบอ้อยที่มีประสิทธิภาพในอนาคตอีกด้วยเพื่อนำมาใช้ทดแทนการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย



ที่มาของข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 24 เมษายน 2551

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=135


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/01/2011 7:34 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/01/2011 10:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




การบำรุงตอ

โดย นายเกษม สุขสถาน

อ้อยเป็นพืชที่เมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้วสามารถตัดหรือเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง จำนวนครั้งที่เก็บเกี่ยวตลอดจนผลผลิตที่ได้รับในการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ ลมฟ้าอากาศเวลาในการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการปฏิบัติของชาวไร่ในการเตรียมดิน การปลูก การใส่ปุ๋ย แลการตัด เป็นต้น การบำรุงตอควรกระทำโดยเร็วภายหลังการเก็บเกี่ยว การบำรุงตอประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

๑. คราดใบและยอดที่เหลือภายหลังตัดให้รวมกันไว้ในระหว่างแถวของอ้อย โดยให้มีแถวว่างสองแถว สลับแถวที่มีใบและยอดคลุมอยู่หนึ่งแถวเป็นเช่นนี้เรื่อยไป หรืออาจจะใช้จอบหมุน (rotavator) สับใบและยอดจนละเอียดและผสมคลุกเคล้าไปกับดิน ก็จะช่วยทำให้ดินดีขึ้น ในกรณีที่เผามักจะเผาในตอนเย็นหรือกลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่อุณหภูมิต่ำและลมสงบเผาโดยไม่ต้องมีการคราด

๒. ถากตอหรือสับตอที่เหลือบนพื้นดินภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อบังคับให้หน่อที่จะเกิดใหม่เกิดจากตอใต้ดิน ซึ่งจะเป็นหน่อที่แข็งแรงเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูงกว่า การถากตออาจจะใช้แรงคน หรือเครื่องตัดหญ้าขนาดใหญ่ชนิดใบมีด หมุน (rotary slasher)

๓. ใช้ไถสิ่ว หรือเครื่องไถระเบิดดินชั้นล่างไถลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อตัดรากเก่าและแยกดินบริเวณรากให้แตกออกเพื่อให้ดินมีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของราก

๔. ใส่ปุ๋ยลึกลงในดิน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่ออ้อยมากที่สุด ปริมาณปุ๋ยที่ใส่แก่อ้อยตอต้องมากกว่าอ้อยปลูก เพราะอ้อยตอมีระบบรากด้อยกว่าอ้อยปลูก ประกอบกับการที่ดินแน่นเนื่องจากมิได้มีการเตรียมดินนั่นเอง

๕. ใช้จอบหมุนตีดินระหว่างแถวอ้อย ก่อนใช้ต้องถอดใบจอบตัวกลางออก เพื่อให้จอบหมุนคร่อมแถวอ้อย และจอบหมุนจะเฉือนบางส่วนของตออ้อยออก ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดหน่อมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ได้อ้อยลำเล็กผลผลิตต่ำ การใช้จอบหมุนตีดิน จะทำให้ดินแตกละเอียดคลุมผิวดินได้ดียิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นของดินด้วย

การปฏิบัติอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมานี้ ก็กระทำเช่นเดียวกับอ้อยปลูกเกี่ยวกับการปฏิบัติไว้ตอนี้ มีชาวไร่จำนวนไม่น้อยที่มิได้ปฏิบัติตามที่กล่าวแล้ว เขาเหล่านั้นจะไม่ทำอะไรเลยภายหลังการตัด นอกจากจะมีการกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยเมื่อฝนเริ่มตกเท่านั้น การปฏิบัติดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของอ้อยตอตกต่ำและไว้ตอได้ไม่นาน




http://guru.sanook.com/encyclopedia/การบำรุงตอ/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/01/2011 7:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 22/01/2011 12:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Thanks very much Loongkim.
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/01/2011 3:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
การใช้น้ำปลาร้าฉีดเพิ่มผลผลิตอ้อย


...... น้ำหมักปลาร้า หรือน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล
ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 และลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีลงมากกว่าร้อยละ 80


....... มีข้อค้นพบว่าการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าที่เหมาะสมแก่อ้อย คือ 2 ครั้ง/ปี คือ ช่วงแรกอายุ 3 เดือน 1 ครั้ง อัตรา 1 : 100 และช่วงที่ 2 อายุ 5 เดือน ในอัตรา 1 : 100 ดังนั้น พอเข้าเดือนที่ 5 ก็ทำการฉีดอีกครั้งโดยใช้อัตรา 1 ต่อ 100 เหมือนเดิม แต่ตอนนี้ฉีดโคนอย่างเดียว และไม่ต้องฉีดแล้วจนกระทั่งทำการเก็บเกี่ยว จนอายุครบ 1 ปี หรือ 12 เดือน



...... ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุยมากขึ้น และไม่พบการระบาดของหนอนกินราก หรือหนอนกอมารบกวน อีกทั้งปริมาณน้ำหนักของอ้อยที่ได้มีปริมาณน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จึงนับว่าน้ำหมักปลาร้าเป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกายและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม



....... เทคนิคการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องดำเนินการในช่วงเวลาอากาศเย็น หลังฝนตกหรือช่วงเวลาเย็นที่ไม่มีแสงแดดจะดีที่สุด เพราะมีความชื้นที่เหมาะแก่การมีชีวิตของจุลินทรีย์ในน้ำหมักปลาร้าที่จะซึมเข้าไปสู่ส่วนของใบ ลำต้น และลงสู่ดินที่จะขยายตัว แทรกซึมเข้าสู่ทุกอนุของเม็ดดินที่มีความชื้นอยู่ในดิน จุลินทรีย์ก็จะทำหน้าที่ย่อยสลาย วัตถุอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีที่ตกค้าง และสุดท้ายจะปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เป็นกลางเหมาะ แก่การดูดซึมของรากพืช





ต่อยอด

หลักการและเหตุผล :
- ในปลาน้ำจืดมีธาตุอาหารอะไร ในปลาทะเลมีด้วยเหมือนๆ กัน แต่ในปลาทะเลมีธาตุ แม็กเนเซียม. แมงกานิส. สังกะสี. โซเดียม. ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มี

- กระบวนการหมักนาน 8-10 เดือน นอกจากทำให้โปรตีนในเนื้อปลาแตกตัวเป็นอะมิโนโปรตีน. กว่า 20 ชนิด ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มีแล้วยังได้ฮอร์โมนไซโตไคนิน. โพลิตินอล. ควินนอยด์. ฟราโวนอยด์ จุลินทรีย์บาซิลลัสส์ กลุ่มไม่ต้องการอากาศ. และสารท็อกซิก (อ.วิชัยฯ เทคโนฯ ลาดกระบัง)

- กระบวนการหมักนาน 3 เดือนทำให้ได้ธาตุหลัก (N-P-K), หมักนาน 6 เดือนได้ธาตุรอง (Ca-Mg-S) หมักนาน 9 เดือนได้ธาตุเสริมและฮอร์โมน (ฯลฯ) แต่สารอาหารและฮอร์โมนพืชที่ได้มักมีเปอร์เซ็นต์ไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ "ปัจจัยพื้นฐาน และ กรรมวิธี" ในการหมักเป็นหลัก นอกจากนี้คุณสมบัติเฉพาะตัวของฮอร์โมนธรรมชาติ เขาไม่สู้รังสีอุลตร้าไวโอเร็ต (ในแสงแดด) หรือเมื่อกระทบแสงแดดจะเสื่อมคุณภาพ จึงไม่เหมาะต่อการให้ทางใบช่วงกลางวัน แต่จะได้ประโยชน์อย่างมากเมื่อให้ทางดินช่วงไม่มีแสงแดด (ดร.สุริยาฯ / สถาบัน วว.)

- กระบวนการหมักนานหลายๆเดือน ถึงนานข้ามปี จุลินทรีย์จะช่วยสลายพิษ 18 ชนิดที่เป็นพิษต่อพืชเมื่อให้ทางใบในกากน้ำตาลได้ ทำให้นอกจากไม่เป็นอันตรายต่อใบและระบบรากพืชแล้ว ยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นอีกด้วย


แนวทางปฏิบัติ :
- ในน้ำหมักปลาร้าน่าจะ (คาดว่า...น่าจะ) มีแต่ปลาทะเลกับเกลือเป็นส่วนผสมหลักเท่านั้น เพราะสูตรการทำน้ำปลาเป็นอย่างนี้

- ในน้ำหมักสูตรระเบิดเถิดเทิง (สูตรอยู่ที่หน้าเว้บ) ซึ่งมีส่วนผสมของปลาทะเลเป็นหลักเหมือนกัน แต่มี ไขกระดูก. เลือด. นม. ขี้ค้างคาว. ฮิวมิก. สาหร่ายทะเล. น้ำมะพร้าว. เพิ่มเข้าไปอีก แต่ละอย่างที่เพิ่มล้วนแต่มีสารอาหารแต่ละตัวกันทั้งสิ้น

- ในน้ำหมักสูตรระเบิดเถิดเทิงแม้จะมีส่วนผสมสารพัดชนิดระดับนี้แล้ว ปริมาณสารอาหารก็ยังถือว่า "ไม่มาก" (ผลวิเคราะห์จากกรมวิชาการเกษตร) คือ 1-2-3% เท่านั้น ถึงถือว่าอาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) เพียงพอต่อพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว แต่ถือว่าไม่เพียงพอหรือน้อยเกินไปสำหรับพืชอายุยืนนานนับปี หรือหลายๆปี หรือต้องการผลผลิตมากๆ

- น้ำหมักสูตรระเบิดเถิงที่ผ่านกระบวนการหมักสมบูรณ์แบบแล้ว สิ่งที่ได้ คือ "สารอินทรีย์" แท้ๆ หรือ 100% เนื่องจากส่วนผสมทุกอย่างที่ใช้ในการหมัก คือ "อินทรีย์วัตถุ" ซึ่งมีปริมาณสารอาหารไม่มากพอ ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น ก่อนใช้งานจริงจึงต้องเติมเพิ่มบวก "ธาตุหลัก/ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน" ที่เป็นสารสังเคราะห์ ในอัตราและชนิดที่เหมาะสมกับพืชที่จะใช้ลงไปอีก....ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใส่เพิ่ม ได้แก่ เอ็นเอเอ. และ บี-1 สำหรับบำรุงรากโดยเฉพาะ


ปุจฉาวิสัชนา :
ธรรมชาติ คือ ความหลากลาย....สารอาหารพืชมีหลายตัว แต่ละตัวย่อมมาจากแหล่งที่ต่างกัน....ฉนี้แล้ว น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง น่าจะเหนือกว่า น้ำหมักปลาร้า ไหม ?



สุดท้าย.....จะลงมือทำเองได้หรือยัง
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 23/01/2011 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
kimzagass บันทึก:
การใช้น้ำปลาร้าฉีดเพิ่มผลผลิตอ้อย


...... น้ำหมักปลาร้า หรือน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล
ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 และลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีลงมากกว่าร้อยละ 80


....... มีข้อค้นพบว่าการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าที่เหมาะสมแก่อ้อย คือ 2 ครั้ง/ปี คือ ช่วงแรกอายุ 3 เดือน 1 ครั้ง อัตรา 1 : 100 และช่วงที่ 2 อายุ 5 เดือน ในอัตรา 1 : 100 ดังนั้น พอเข้าเดือนที่ 5 ก็ทำการฉีดอีกครั้งโดยใช้อัตรา 1 ต่อ 100 เหมือนเดิม แต่ตอนนี้ฉีดโคนอย่างเดียว และไม่ต้องฉีดแล้วจนกระทั่งทำการเก็บเกี่ยว จนอายุครบ 1 ปี หรือ 12 เดือน



...... ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุยมากขึ้น และไม่พบการระบาดของหนอนกินราก หรือหนอนกอมารบกวน อีกทั้งปริมาณน้ำหนักของอ้อยที่ได้มีปริมาณน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จึงนับว่าน้ำหมักปลาร้าเป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกายและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม



....... เทคนิคการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องดำเนินการในช่วงเวลาอากาศเย็น หลังฝนตกหรือช่วงเวลาเย็นที่ไม่มีแสงแดดจะดีที่สุด เพราะมีความชื้นที่เหมาะแก่การมีชีวิตของจุลินทรีย์ในน้ำหมักปลาร้าที่จะซึมเข้าไปสู่ส่วนของใบ ลำต้น และลงสู่ดินที่จะขยายตัว แทรกซึมเข้าสู่ทุกอนุของเม็ดดินที่มีความชื้นอยู่ในดิน จุลินทรีย์ก็จะทำหน้าที่ย่อยสลาย วัตถุอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีที่ตกค้าง และสุดท้ายจะปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เป็นกลางเหมาะ แก่การดูดซึมของรากพืช





ต่อยอด

หลักการและเหตุผล :
- ในปลาน้ำจืดมีธาตุอาหารอะไร ในปลาทะเลมีด้วยเหมือนๆ กัน แต่ในปลาทะเลมีธาตุ แม็กเนเซียม. แมงกานิส. สังกะสี. โซเดียม. ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มี

- กระบวนการหมักนาน 8-10 เดือน นอกจากทำให้โปรตีนในเนื้อปลาแตกตัวเป็นอะมิโนโปรตีน. กว่า 20 ชนิด ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มีแล้วยังได้ฮอร์โมนไซโตไคนิน. โพลิตินอล. ควินนอยด์. ฟราโวนอยด์ จุลินทรีย์บาซิลลัสส์ กลุ่มไม่ต้องการอากาศ. และสารท็อกซิก (อ.วิชัยฯ เทคโนฯ ลาดกระบัง)

- กระบวนการหมักนาน 3 เดือนทำให้ได้ธาตุหลัก (N-P-K), หมักนาน 6 เดือนได้ธาตุรอง (Ca-Mg-S) หมักนาน 9 เดือนได้ธาตุเสริมและฮอร์โมน (ฯลฯ) แต่สารอาหารและฮอร์โมนพืชที่ได้มักมีเปอร์เซ็นต์ไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ "ปัจจัยพื้นฐาน และ กรรมวิธี" ในการหมักเป็นหลัก นอกจากนี้คุณสมบัติเฉพาะตัวของฮอร์โมนธรรมชาติ เขาไม่สู้รังสีอุลตร้าไวโอเร็ต (ในแสงแดด) หรือเมื่อกระทบแสงแดดจะเสื่อมคุณภาพ จึงไม่เหมาะต่อการให้ทางใบช่วงกลางวัน แต่จะได้ประโยชน์อย่างมากเมื่อให้ทางดินช่วงไม่มีแสงแดด (ดร.สุริยาฯ / สถาบัน วว.)

- กระบวนการหมักนานหลายๆเดือน ถึงนานข้ามปี จุลินทรีย์จะช่วยสลายพิษ 18 ชนิดที่เป็นพิษต่อพืชเมื่อให้ทางใบในกากน้ำตาลได้ ทำให้นอกจากไม่เป็นอันตรายต่อใบและระบบรากพืชแล้ว ยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นอีกด้วย


แนวทางปฏิบัติ :
- ในน้ำหมักปลาร้าน่าจะ (คาดว่า...น่าจะ) มีแต่ปลาทะเลกับเกลือเป็นส่วนผสมหลักเท่านั้น เพราะสูตรการทำน้ำปลาเป็นอย่างนี้

- ในน้ำหมักสูตรระเบิดเถิดเทิง (สูตรอยู่ที่หน้าเว้บ) ซึ่งมีส่วนผสมของปลาทะเลเป็นหลักเหมือนกัน แต่มี ไขกระดูก. เลือด. นม. ขี้ค้างคาว. ฮิวมิก. สาหร่ายทะเล. น้ำมะพร้าว. เพิ่มเข้าไปอีก แต่ละอย่างที่เพิ่มล้วนแต่มีสารอาหารแต่ละตัวกันทั้งสิ้น

- ในน้ำหมักสูตรระเบิดเถิดเทิงแม้จะมีส่วนผสมสารพัดชนิดระดับนี้แล้ว ปริมาณสารอาหารก็ยังถือว่า "ไม่มาก" (ผลวิเคราะห์จากกรมวิชาการเกษตร) คือ 1-2-3% เท่านั้น ถึงถือว่าอาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) เพียงพอต่อพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว แต่ถือว่าไม่เพียงพอหรือน้อยเกินไปสำหรับพืชอายุยืนนานนับปี หรือหลายๆปี หรือต้องการผลผลิตมากๆ

- น้ำหมักสูตรระเบิดเถิงที่ผ่านกระบวนการหมักสมบูรณ์แบบแล้ว สิ่งที่ได้ คือ "สารอินทรีย์" แท้ๆ หรือ 100% เนื่องจากส่วนผสมทุกอย่างที่ใช้ในการหมัก คือ "อินทรีย์วัตถุ" ซึ่งมีปริมาณสารอาหารไม่มากพอ ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น ก่อนใช้งานจริงจึงต้องเติมเพิ่มบวก "ธาตุหลัก/ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน" ที่เป็นสารสังเคราะห์ ในอัตราและชนิดที่เหมาะสมกับพืชที่จะใช้ลงไปอีก....ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใส่เพิ่ม ได้แก่ เอ็นเอเอ. และ บี-1 สำหรับบำรุงรากโดยเฉพาะ


ปุจฉาวิสัชนา :
ธรรมชาติ คือ ความหลากลาย....สารอาหารพืชมีหลายตัว แต่ละตัวย่อมมาจากแหล่งที่ต่างกัน....ฉนี้แล้ว น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง น่าจะเหนือกว่า น้ำหมักปลาร้า ไหม ?



สุดท้าย.....จะลงมือทำเองได้หรือยัง
ลุงคิมครับผม


เพิ่งจะรู้ว่าพืชก็มีความต้องการเหมือนมนุษย์
สัตว์และสิ่งมีชีวิต นึกว่าปลาร้าไว้ใส่แค่ ส้มตำ
แปลกดีเหมือนกัน
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/01/2011 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุอาหารสำหรับ "มนุษย์-สัตว์-พืช" คือ "ตัวเดียวกัน" แต่ต่างกันที่ "รูปทางเคมี" เท่านั้น....อ่านหนังสือโภชนาการว่าด้วยธาตุอาหารคน หรือตำราว่าดวยอาหารสัตว์ ก็จะเห็นว่า ทั้งคนและสัตว์ต่างก็ต้องการ ฟอสฟอรัส.. โปแตสเซียม. สังกะสี. เหล็ก อีกหลายๆอย่างเหมือนกันเดียะ

คนและสัตว์กินอาหารเข้าไปแล้ว ขั้นแรกกระเพาะจะทำการย่อยขั้นที่ 1 ก่อน แล้วส่งต่อไปให้ลำไส้ทำการย่อยต่ออีกครั้ง จากนั้นถึงจะส่งไปยังกล้ามเนื้อหรืออวัยวะส่วนต่างๆได้ เช่น เรากินเนื้อเข้าไปแล้วกระเพาะย่อย ขั้นตอนนี้จะได้ "โปรตีน" ที่ร่างกายยังไม่พร้อมใช้ ต้องส่งไปให้ลำไส้เล็กย่อยต่ออีกรอบ ลำไส้เล็กจะจัดการเปลี่ยนรูปโปรตีนที่ได้มาจากกระเพาะให้เป็น "อะมิโนโปรตีน" เจ้าอะมิโนโปรตีนนี่แหละ คือ สารอาหารแหล่งพลังงานที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อหรืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายได้

ส่วนพืชไม่มีกระเพาะเหมือนคนหรือสัตว์ แล้วพืชเปลี่ยนธาตุอาหารต่างๆที่คนเราใส่ให้ หรือที่เกิดเองตามธรรมชาติแล้วส่งไปพัฒนาส่วนต่างๆของต้นได้อย่างไร คำตอบก็คือ "จุลินทรีย์" เป็นผู้เปลี่ยนรูปทางเคมีของธาตุอาหารต่างๆให้ไปอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ ดังนั้น หากจะเปรียบจุลินทรีย์เป็นดั่ง "แม่ครัว หรือ กระพาะ" ของต้นพืชก็คงไม่ผิดนัก

สรุป :
จุลินทรีย์ คือ ผู้อารักขาพืช อย่างแท้จริง....แต่สมาคมอารักขาพืช แห่งประเทศไทย อารักขาพืชด้วยสารเคมียาฆ่าแมลง เพราะสมาคมนี้เขาขายสารเคมีไง


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2011 6:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


XAMPLE....

สังกะสีเป็นอีกธาตุหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
แต่น้อยครั้งที่จะมีการพูดถึง….สังกะสี….ว่าเป็นธาตุสำคัญที่ทำให้สุขภาพแข็งแรง
ทั้งนี้มนุษย์ สัตว์ พืช และแม้แต่จุลินทรีย์ ก็ต้องการสังกะสีเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต



ทำไมสังกะสีถึงจำเป็นต่อสุขภาพ?
ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดที่อยู่โดยปราศจากสังกะสี สังกะสีถูกพบในทุกส่วนของร่างกาย ทั้งในเนื้อเยื่อ กระดูก ของเหลวและเซลล์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะสังกะสีจะถูกใช้ในการสร้างเซลล์ โดยจะมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์เพราะช่วงการเติบโตของทารกในครรภ์ เซลล์จะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้สังกะสียังมีความสำคัญ
สำหรับทารก เด็กและวัยรุ่น โดยช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ทั้งความสูง น้ำหนักและการพัฒนาการของกระดูก

สังกะสีช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีพลัง ในบรรดาวิตามินและเกลือแร่ทั้งหมด สังกะสีเป็นธาตุที่มีผลมากที่สุดต่อระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญต่างๆ ซึ่งได้มีการพิสูจน์แล้วว่าสังกะสีมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อ และบรรเทาอาการไข้หวัด โดยช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของไข้หวัดได้
มากไปกว่านั้น สังกะสียังช่วยส่งเสริมระบบความจำและความคิดให้ดีขึ้น โดยจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีตัวอื่น และส่งผ่านข้อมูลไปยังสมองส่วนกลางที่รับและส่งความรู้สึก นอกจากนี้ สังกะสียังสามารถลดความอ่อนล้า และอารมณ์แปรปรวนได้ และยังมีความสำคัญต่อระบบการรับรสและกลิ่น มีความจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ผิวหนัง
ใหม่อีกทั้งยังช่วยให้ผมและเล็บมีสุขภาพดีเรายังใช้สังกะสีผสมในแชมพูและผลิตภัณฑ์กันแดด ครีมที่มีส่วนผสมของสังกะสีจะใช้บรรเทาบาดแผลอีกด้วย

สังกะสียังมีส่วนสำคัญต่อระบบการเจริญพันธ์ุสำหรับเพศหญิง สามารถช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน สำหรับเพศชาย

สังกะสียังช่วยปกป้องต่อมลูกหมากและยังช่วยรักษาปริมาณและความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิ


ใครที่ต้องการสังกะสี?
ทุกคนต่างต้องการสังกะสีโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโต คือ ทารก เด็ก วัยรุ่น สตรีมีครรภ์และผู้สูงอายุ เด็กต้องการสังกะสีเพื่อการเจริญเติบโต ส่วนผู้ใหญ่ต้องการสังกะสีเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

เราสามารถบริโภคสังกะสีได้จากที่ไหน?
อย่างแรก คือ จากอาหารโดยเฉพาะเนื้อ สัตว์ปีก ปลา อาหารทะเล ธัญพืชต่างๆ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม การบริโภคอาหารอย่างสมดุลเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับสังกะสีเข้าสู่ร่างกาย แต่กรณีที่ได้รับสังกะสีจากอาหารไม่เพียงพอ ก็อาจจะรับสังกะสีเพิ่มจากอาหารเสริมสังกะสี หรือวิตามินรวมที่มีธาตุสังกะสีอยู่ด้วย ทั้งนี้ไม่ควรบริโภคอาหารเสริมสังกะสีในปริมาณมากๆ เป็นเวลานานโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์


http://www.padaeng.com/pdf/Annual/zinc_essential.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/01/2011 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)







อ้อย...


ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส
* ต้นทุนการผลิตสูง
* ควรปรับปรุงมาตรฐานเทคโนโลยีการผลิตให้ถูกต้องเหมาะสม สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
* การขาดแคลนอ้อยพันธุ์ดีที่มีผลผลิต และค่าความหวานสูง และต้านทานโรคแมลง และขาดการกระจายพันธุ์สู่เกษตรกร
* ขาดการจัดการดินอย่างถูกต้อง
* มีการระบาดของศัตรูอ้อย
* แนวโน้มราคาน้ำมันดิบมีค่าสูงขึ้น การใช้พืชพลังงานทดแทนเช่น อ้อย ทดแทนน้ำมันเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าจากอ้อย เพิ่มรายได้และลดการนำเข้าพลังงาน
* บูรณาการกระบวนการผลิตเอทานอลกับโรงงานน้ำตาล เพื่อเกิด ความยืดหยุ่นในการผลิตน้ำตาล เมื่อใดผลผลิตอ้อยมาก น้ำตาลล้นตลาด สามารถนำอ้อยไปผลิตเอทานอล หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ


พันธุ์
การเลือกพันธุ์
* ผลผลิตสูง และมีคุณภาพความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส
* ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง แส้ดำ กอตะไคร้ ทนทานต่อหนอนกอลายจุดใหญ่ หรือหนอนกอลายจุดเล็ก ศัตรูที่สำคัญในแต่ละแหล่งปลูก
* เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
* ไว้ตอได้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และผลผลิตไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของอ้อยปลูก


พันธุ์อ้อย
ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยมีหน่วยงานที่ดำเนินการหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัทมิตรผล การดำเนินงานจะเริ่มตั้งแต่การผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์และทดสอบพันธุ์ โดยการคัดเลือกในสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกอ้อยของประเทศไทย พันธุ์อ้อยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จะมีลักษณะ ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และลักษณะทางการเกษตรที่ดีเด่น แตกต่างกันขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่ทดสอบ และคัดเลือกพันธุ์ ชาวไร่จึงจำเป็นต้องเลือกพันธุ์โดยอาศัยคำแนะนำจากเอกสารแนะนำพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน



1. พันธ์รับรอง/แนะนำของกรมวิชาการเกษตร
อ้อยโรงงาน
- พันธุ์อู่ทอง 6 ลำต้นมีขนาดใหญ่ ปล้องรูปทรงกระบอก กาบใบสีม่วง ไม่มีขน ทรงกอตั้งสูง ออกดอกยาก อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือนผลผลิต 18.04 ตัน/ไร่ ซีซีเอส 13.59 ความสูง 299 ซม. ดินร่วนปนทราย เขตกึ่งชลประทาน

- พันธุ์มุกดาหาร ใบแคงตั้ง ปลายใบโค้ง กาบใบสีเขียวปนม่วง ปล้องรูปทรงกระบอก ทรงกอตั้งตรง ล้มง่าย อายุเก็บเกี่ยว 12-14 เดือน ผลผลิต 13.4 ตัน/ไร่ ความสูง 274 ซม. ดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายในจังหวัดมุกดาหาร
และกาฬสินธุ์

- อู่ทอง 5 รูปร่างปล้อง ลำต้นเมื่อถูกแสงให้สีม่วงอมเขียว ทรงกอตั้งตรง ออกดอกปลายเดือนตุลาคม อายุเก็บเกี่ยว 10-11 เดือน ผลผลิตอ้อยตอ1 เฉลี่ย 10.95 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 เฉลี่ย 8.87 ตัน/ไร่ ซีซีเอส อ้อยตอ1 เฉลี่ย 1.71 และอ้อยตอ2 เฉลี่ย 1.40 ความสูง 264 ซม.ดินร่วนปนทรายเขตใช้น้ำฝนภาคกลาง และภาคตะวันออก

- ขอนแก่น 1 ใบแผ่ตั้งสีเขียวเข้ม ลำอ้อยสีเหลืองอมเขียวรูปร่างปล้องคอด กลางป่อง ข้อโปน ทรงกอแคบ ตั้งตรงไม่ล้มง่าย ออกดอกกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ผลผลิต 13-16 ตัน/ไร่ ความสูง 257 ซม.แหล่งปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- อู่ทอง 4 ลำสีเขียวอมเหลืองหรือม่วง ขนาดลำปานกลาง มีขน กลางกาบใบ ทรงกอแผ่เล็กน้อย กว้าง หักล้มปานกลาง ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ซีซีเอส 15.69 ผลผลิต 13-14 ตัน/ไร่ ความสูง 248 ซม. แหล่งปลูกภาคตะวันตกเฉพาะในดินร่วนปน ดินเหนียว

- อู่ทอง 3 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีสีม่วงปนเขียว ลอกกาบใบค่อนข้างยาว ทรงกอตั้งตรง แคบ ไม่หักล้ม ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน ซีซีเอส 15.90 ผลผลิต 13-14 ต้น/ไร่
ความสูง 231 ซม.ดินร่วนปนทรายสภาพไร่ในภาคตะวันตกและภาคเหนือตอนล่าง

- อู่ทอง 2 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีขนเล็กน้อย สะสมน้ำตาลเร็วออกดอกปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคม ผลผลิต 14.0 ต้น/ไร่ ซีซีเอสมากกว่า 10 ความสูง 228 ซม. แหล่งปลูกเขตชลประทานภาคกลางและภาคตะวันตก

- อู่ทอง 1 ปล้องคอดกลาง ใบมีขนาดใหญ่ ทรงใบตั้งโค้ง กลางใบกาบใบสีม่วง มีขนกาบใบเล็กน้อย ทรงกอตั้งตรง กว้าง ไม่หักล้ม ออกดอกปานกลาง อายุเก็บเกี่ยว 11-13 เดือน ผลผลิต 25.20 ต้น/ไร่ ซีซีเอส 11-12 ความสูง 250-350 ซม.แหล่งปลูกภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุร นครปฐม

- ชัยนาท 1 ใบมีขนาดใหญ่ ปล้องยาว โคนโต สีน้ำตาลอมเขียว ทรงกอแคบ ล้มง่าย ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ผลผลิต 15-18 ต้น/ไร่ แหล่งปลูกภาคตะวันออก



อ้อยเคี้ยว
- สุพรรณบุรี 72 ใบขนาดกลางปลายโค้ ลำต้นสีเขียวอมเหลือง ปล้องทรงกระบอก มีร่องเหนือตา ข้อคอดเล็กน้อย อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน ผลผลิตเนื้ออ้อย 6.3 ตันต่อไร่ ความสูง 270 ซม. แหล่งปลูกพื้นที่ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทรายที่สามารถให้น้ำได้

- สุพรรณบุรี 50 ใบมีขนาดใหญ่ปลายใบโค้ง ลำต้นสีเขียวอมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างยาว ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม อายุเก็ยเกี่ยว 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อยสูง 4,913 ลิตรต่อไร่ แหล่งปลูกในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก



2. พันธุ์ที่ได้จากงานวิจัยของกระทรวงอุตสาหกรรม
- พันธุ์ K 76-4 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ Co 798 กับพันธุ์ Co 775 ให้ผลผลิตอ้อยสด 14 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรงสีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตได้เร็ว ทนทานต่อโรคใบขาวและหนอนเจาะลำต้น

- พันธุ์ K 84-69 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 143 กับพันธุ์ ROC 1 ให้ผลผลิตอ้อยสด 12-15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-13 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรง สีเขียวมะกอก เจริญเติบโตเร็ว ลอกกาบค่อนข้างง่าย........ ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ปลูกในสภาพดินร่วนเหนียวดีกว่าร่วนทราย

- พันธุ์ K 87-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ ROC 1 กับพันธุ์ CP 63-588 ให้ผลิตอ้อยสด 12-14 ตันต่อไร่ ความหวาน 13 CCS การแตกกอน้อย ไว้ตอค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ทรงกอแคบ ลำต้นตั้งตรง ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ลอกกาบใบง่าย.......ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคกอตะไคร้และโรคใบขาว

- พันธุ์ K 88-92 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ PL 310 ผลผลิตอ้อยสด 15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง ลำต้นขนาดปานกลางถึงใหญ่ การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ต้านทานต่อโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง เจริญเติบโตเร็ว.......ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรครากเน่าและโรคใบขาว

- พันธุ์ K 90-77 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 83-74 กับพันธุ์อู่ทอง 1 ผลผลิตอ้อยสด 12-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-15 CCS การแตกกอปานกลาง ไว้ตอได้ดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียวเข้ม เมื่อถูกแสงจะเป็นสีม่วง ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคตะไคร้ โรคยอดเน่า และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะยอดและหนอนเจาะลำต้น..........ข้อควรระวัง ลอกกาบใบได้ค่อนข้างยาก

- พันธุ์ K 92-80 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 76-4 ผลผลิตอ้อยสด 16-19 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดีมาก ไม่ออกดอก ลำสีเหลืองอมเขียว ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม โรคแส้ดำ และหนอนเจาะลำต้น.........ข้อควรระวัง งอกช้า อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน หักล้มง่าย กาบใบร่วงหลุดยาก

- พันธุ์ K 92-213 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 84-74 ผลผลิตอ้อยสด 15-18 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้และโรคแส้ดำ........ ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก ควรปลูกในเขตชลประทาน

- พันธุ์ K 93-219 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์อีเหี่ยว ผลผลิตอ้อยสด 16-21 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียว งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคใบจุดเหลือง โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้น เก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน......... ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก

- พันธุ์ K 93-347 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ และโรคแส้ดำ อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน......... ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก

- พันธุ์ K 95-84 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 90-79 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ลำขนาดใหญ่ (4.1-4.3 ซม.) การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวมะกอกอมเหลือง เจริญเติมโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ลอกกาบใบง่าย ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะลำต้น....... ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบขาวและโรคยอดบิด



3. พันธุ์ที่ได้จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ Kwt # 7 ผลผลิตอ้อยสด 13-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นสีเขียวเข้ม หากถูกแสงแดดจะเป็นสีม่วงขนาดลำค่อนข้างเล็ก เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือร่วนทรายที่ระบายน้ำได้ดี....... ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงและสารกำจัดวัชพืชบางชนิด

- พันธุ์กำแพงแสน 89-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ IAC 52-326 กับพันธุ์ Co 331 ผลผลิตอ้อยสด 15-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอดี มี 6-8 ลำต่อกอ ขนาดลำปานกลาง ไว้ตอได้ค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นตรง สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง เก็บเกี่ยวอายุ 10-12 เดือน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและร่วนทราย........ ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

- พันธุ์กำแพงแสน 92-0447 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 146 กับพันธุ์ B 34164 ผลผลิตอ้อยสด 14-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 10-12 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นโตเร็ว สีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน........ ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

- พันธุ์กำแพงแสน 91-1336 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิด ของอ้อยพันธุ์ F 146 ผลผลิตอ้อยสด 15-17 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอดี ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกปานกลาง ลำต้นซิกแซ็ก สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน......... ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง



เทคโนโลยีการผลิต
การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย
พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย ควรเป็นที่ดอน หรือที่ลุ่ม ไม่มี น้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ห่างไกลจาก แหล่งมลพิษ การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 60 กิโลเมตร

การเตรียมดิน
การปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 3-4 ปี หรือมากกว่า ดังนั้น การเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อ ผลผลิตของอ้อย ตลอดระยะเวลาที่ไว้ตอ โดยทั่วไปหลังจากตัดอ้อยตอปีสุดท้ายแล้ว เกษตรกรมักจะเผาเศษซากอ้อยและตออ้อยเก่าทิ้ง เพื่อสะดวกต่อ การเตรียมดิน เพราะเศษซากอ้อยจะทำให้ล้อรถแทรกเตอร์ลื่น หมุนฟรี และมักจะม้วนติดพันกับผานไถ ทำให้ทำงานได้ไม่สะดวก จาก การทดลองใช้จอบหมุนสับเศษซากใบอ้อยแทนการเผา พบว่า สามารถ ช่วยอนุรักษ์อินทรียวัตถุในดินได้เป็นอย่างดี

ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้พัฒนาผานจักรสับเศษซากอ้อย คลุกเคล้าลงดินใช้ได้ผลดี และประหยัดกว่าการใช้จอบหมุน หลังจากไถกลบเศษซากอ้อยลงดินแล้ว ควรมีการปรับหน้าดิน ให้เรียบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 0.3 เปอร์เซนต์) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและระบายน้ำออกจากแปลงกรณีฝนตกหนัก และป้องกันน้ำขังอ้อยเป็นหย่อมๆ เมื่อปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็นแปลง ที่มีชั้นดินดาน ควรมีการใช้ไถระเบิดดินดาน ไถลึกประมาณ 75 เซนติเมตร โดยไถเป็นตาหมากรุก หลังจากนั้น จึงใช้ไถจาน (3 ผาน หรือ 4 ผาน ตามกำลังของแทรกเตอร์) และพรวนตามปกติ แล้วจึงยกร่องปลูกหรือ ถ้าจะปลูกโดยใช้เครื่องปลูกก็ไม่ต้องยกร่อง


ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
1. ควรไถเตรียมดิน ขณะดินมีความชื้นพอเหมาะไม่แห้ง หรือเปียกเกินไป
2. ควรเตรียมดินโดยใช้ไถจานสลับกับไถหัวหมู เพื่อไม่ให้ความลึก ของรอยไถอยู่ในระดับเดิมตลอด และการใช้ไถจานตลอด จะทำให้เกิด ชั้นดินดานได้ง่าย
3. ไม่ควรไถพรวนดินจนดินละเอียดเป็นฝุ่น เพราะดินละเอียด เมื่อถูกฝนหรือ มีการให้น้ำจะถูกชะล้างลงไปอุดอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี


การเตรียมท่อนพันธุ์
* ควรมาจากแปลงพันธุ์ที่มีความสม่ำเสมอ ตรงตามพันธุ์ ปราศจาก โรคและแมลง มีอายุที่เหมาะสม คือประมาณ 8-10 เดือน

* เกษตรกรควรทำแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการซื้อพันธุ์อ้อย และเป็นการวางแผนการปลูกอ้อยที่ถูกต้อง

* มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้อง เช่น มีการชุบน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง หรือ 52 องศาเซลเซียส ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกัน โรคใบด่าง โรคตอแคระแกร็น โรคกลิ่นสับปะรด ลดการเป็นโรคใบขาว และโรคกอตะไคร้ อย่างไรก็ตาม ท่อนพันธุ์ที่จะชุบน้ำร้อนควรมีอายุประมาณ 8-10 เดือน เพราะว่า ถ้าใช้ท่อนพันธุ์อายุน้อยกว่า 8 เดือน เปอร์เซ็นต์ ความงอกของอ้อยจะลดลง

* การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10-20 กก.N/ไร่ ก่อนการตัดอ้อย ไปทำพันธุ์ 1 เดือน ช่วยทำให้อ้อยมีความงอก และความแข็งแรงของ หน่ออ้อยดีขึ้น

* อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 8-10 เดือน) สามารถ ปลูกขยายได้ 10 ไร่



ฤดูปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูปลูกได้เป็น 2 ประเภท
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน (20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกอ้อย ทั้งประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน

2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้ เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี และดินเป็นดินทราย หรือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงธันวาคม



วิธีปลูก
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
พื้นที่ปลูกอ้อยประเภทนี้มีประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ใน เขตภาคกลาง และภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิต อ้อยสูง ถ้ามีการจัดการที่ดี และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ผลผลิตอ้อยในเขตนี ้ไม่ควรต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ การปลูกอ้อยในเขตนี้ มีการปรับเปลี่ยนวิธีปลูก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เช่น เครื่องปลูก เครื่องใส่ปุ๋ย เครื่องกำจัดวัชพืช และรถเก็บเกี่ยว เป็นต้น

- ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยวเกยกันครึ่งลำ หรือ 2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ ตัวอย่าง เช่น ถ้าใช้อ้อยพันธุ์ K 84-200 ซึ่งมีการแตกกอน้อย ควรปลูก 2 ลำคู่ หลังจากวางพันธุ์อ้อย ควรใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน แล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 5 เซนติเมตร

- ถ้าใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่อง จะใช้ เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่ พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่อง และมีตัวกลบดิน ตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยว ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีนี้ใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก และจะ ปลูกแถวคู่ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 30-40 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย ปัจจุบันในประเทศ ออสเตรเลียมีการใช้เครื่องปลูกอ้อยเป็นท่อน (billet planter) โดยใช้รถตัดอ้อยตัดพันธุ์อ้อยเป็นท่อน แล้วนำมาใส่เครื่องปลูกที่สามารถ เปิดร่องและโรยท่อนพันธุ์อ้อยแล้วกลบ เหมือนปลูกพืชที่ใช้เมล็ดอย่างอื่น เช่น ข้าวโพด หรือถั่วต่าง ๆ

การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทนี้ และเป็นพื้นที่ที่มีความ แปรปรวนในเรื่องผลผลิตสูง และผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยต่ำกว่า 10 ตัน/ไร่ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่ดี และดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การใส่ปุ๋ยก็จะมีความเสี่ยงสูงและ หาจังหวะการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงยาก (ถ้าดินไม่มีความชื้น พืชก็ดูดปุ๋ยที่ใส่ไปใช้ไม่ได้)

แนวทางที่จะพัฒนาผลผลิตอ้อยในเขตนี้ก็คือ ต้องพยายามหาแหล่งน้ำ (น้ำใต้ดิน,ขุดสระเก็บกักน้ำ) เพื่อให้น้ำอ้อยได้ในช่วงวิกฤตและที่สำคัญ คือ ถ้ามีน้ำสามารถปลูกอ้อยได้เร็วโดยไม่ต้องรอฝน (ปลูกได้ก่อนสิ้นเดือน พฤษภาคม) ก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในเขตนี้ได้ เพราะอ้อยที่ปลูกล่า (หลังเดือนพฤษภาคม) ทั้งผลผลิต และคุณภาพจะต่ำ เพราะอายุอ้อยยังน้อยช่วงตัดเข้าโรงงาน วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้จะคล้ายกับ ในเขตชลประทาน จะแตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช ้แคบกว่า คือ ประมาณ 0.9-1.2 เมตร เพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอ น้อยกว่าการลดระยะแถวลง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยว อ้อยต่อพื้นที่ได้ และปัจจุบันเกษตรกรในหลายพื้นที่ (เช่น อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เปลี่ยนมาปลูกอ้อย แถวคู่ โดยใช้ระยะระหว่างคู่แถว 1.4-1.5 เมตร และระยะในคู่แถว 30-40 เซนติเมตร และได้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกแถวแคบ แต่การจัดการในไร่อ้อยจะสะดวกกว่า เพราะใช้เครื่องจักรเข้าทำงานได้


การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง)
เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นในดินช่วงปลายฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไปจนกว่าอ้อยจะ ได้รับน้ำฝนต้นฤดู เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ใช้ได้ผลในเขตปลูกอ้อย อาศัยน้ำฝนบางพื้นที่ที่ดินเป็นดินทราย หรือร่วนปนทราย และที่สำคัญ จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีการ กระจายตัวดี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดู (กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน) จะต้องมีปริมาณฝนที่พอเพียงกับการเจริญเติบโตของอ้อยในช่วงแรก การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย (เพื่อตัด capillary pore) เป็นการรักษาความชื้นในดินชั้นล่าง หลังจาก เตรียมดิน ควรรีบยกร่องและปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับความชื้น และควรยกร่องปลูกวันต่อวัน

พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องแล้วใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และใช้เท้าเหยียบดิน ที่กลบให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้ท่อนพันธุ์อ้อยสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกในพื้นที่นี้มากขึ้น โดยจะตั้งเครื่องปลูกให้ลึก กว่าปกติ
ข้อดีของการปลูกอ้อยด้วยวิธีนี้ คือ

- อ้อยที่ปลูกโดยวิธีนี้จะมีอายุไม่น้อยกว่า 12 เดือน ในช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงาน ทำให้ทั้งผลผลิตและคุณภาพ (ความหวาน) ดีกว่าอ้อยที่ปลูกต้นฝน

- ปัญหาเรื่องวัชพืชรบกวนอ้อยในช่วงแรกจะน้อย เพราะหน้าดิน จะแห้งอยู่ตลอดเวลา ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต


ข้อเสียของการปลูกอ้อยวิธีนี้ คือ
- ถ้ามีฝนตกหลังปลูกหรือช่วงอ้อยยังเล็ก จะทำให้หน้าดินแน่น อ้อยเจริญเติบโตไม่ดี จำเป็นต้องมีการคราดหน้าดิน เพื่อไม่ให้หน้าดิน แน่นรัดหน่ออ้อย

- ในบางปีฝนต้นฤดูน้อย หรือมาล่า อาจทำให้อ้อยเสียหายได้



การปลูกซ่อม
การปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยปลูกจะต้องมีหลุมขาดหายน้อยที่สุด และหลุมที่ขาดหายต่อเนื่องกันเกิน 1 หลุม อ้อยหลุมข้างเคียงจะไม่สามารถชดเชยผลผลิตได้ ดังนั้น ถ้ามีหลุมขาดหายต่อเนื่องกันมาก ควรมีการปลูกซ่อม และจะต้องปลูกซ่อมภายใน 20 วันหลังปลูก เพื่อให้อ้อยที่ปลูกซ่อมเจริญเติบโตทันอ้อยปลูกปกติ

สำหรับในอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เพราะอ้อยที่ปลูกซ่อม ในอ้อยตอจะมีเปอร์เซ็นต์รอดน้อย และถึงจะรอดก็ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูก กออ้อยข้างเคียงบังแสง ดังนั้น ในอ้อยตอที่มีหลุมตายหรือขาดหายมาก เกินกว่าที่หลุมข้างเคียงจะแตกกอชดเชยได้ ก็ควรจะรื้อตอและปลูกใหม่


การใช้ปุ๋ยเคมีและการจัดการดินอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนการผลิตอ้อย มีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1. การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณ
2. ลดการสูญเสียปุ๋ย
3. ใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง
4. การปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติเหมาะสม


การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ถูกต้องตรงกับชนิดดินและความต้องการของอ้อย เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างดี การใส่ธาตุอาหารลงไปในดินโดยที่ดินนั้น ๆ มีธาตุอาหารเพียงพออยู่แล้ว จะเป็นการลงทุนที่เปล่าประโยชน์

นอกจากนี้ ปุ๋ยส่วนเกินความต้องการของอ้อยจะถูกชะล้างลงสู่ บ่อ คู คลอง และแหล่งน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดมลภาวะอย่างรุนแรงทั้งสิ้น

สำหรับการปลูกอ้อย ในประเทศไทย พบว่า มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยน้อยรายที่มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น ถ้าเรามีการใช้ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดและอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย เป็นการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และลดมลภาวะที่จะเกิดจากการปนเปื้อนของปุ๋ยในอากาศ และน้ำ รวมทั้งลด ค่าใช้จ่ายการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศอีกด้วย

การจะใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะทางเคมีของดิน เพราะลักษณะทางเคมีของดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการ ให้ผลผลิตของอ้อยมาก เนื่องจากเป็นลักษณะที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณธาตุอาหารในดิน ที่จะเป็นประโยชน์แก่อ้อย รวมถึงความเป็นพิษ ของธาตุบางอย่างด้วย

ลักษณะทางเคมีของดินที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ความเค็ม ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวของด่าง ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน และปริมาณของธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน คุณสมบัติทางเคมีของดินเหล่านี้ไม่สามารถบ่งบอกได้ด้วย การสัมผัสหรือดูด้วยตาเปล่า เหมือนคุณสมบัติทางกายภาพ

วิธีประเมินว่า ดินที่ปลูกอ้อยอยู่จะมีคุณสมบัติทางเคมีดีหรือเลวเพียงใด คือ
- การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของอ้อย วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ มาวินิจฉัยอาการผิดปกติที่ปรากฎที่ใบและต้นอ้อยว่า เป็นอาการขาดธาตุใด จึงสรุปได้ว่า ดินมีธาตุนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของอ้อย

- การทดลองใส่ปุ๋ยให้กับอ้อย อาจทำในกระถาง หรือในไร่นา โดยเปรียบเทียบกับดินที่ไม่มีการใส่ปุ๋ย ถ้าอ้อยที่ใส่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มีการเจริญเติบโตแตกต่างไปจากดินที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย แสดงว่าดินชนิดนั้นยังมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อย

- การวิเคราะห์ดิน โดยนำตัวอย่างดินมาตรวจสอบหาค่าต่าง ๆ วิธีนี้เป็นการประเมินที่ถูกต้องแม่นยำกว่าสองวิธีแรก แต่ชาวไร่ไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ต้องส่งตัวอย่างดินไปยังหน่วยบริการต่างๆ ซึ่งจะใช้วิธีการทางเคมี วิเคราะห์องค์ประกอบของดิน ในส่วนที่เป็นธาตุอาหาร เพื่อประเมินว่า ดินนั้นขาดธาตุใดบ้าง และควร บำรุงดินอย่างไรจึงจะเหมาะสม

- การวิเคราะห์พืช วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด แต่ปฏิบัติได้ยุ่งยากกว่า มีวิธีการเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดิน คือ นำตัวอย่างพืช มาใช้วิธีการทางเคมีแยกองค์ประกอบของเนื้อเยื่อพืช เพื่อให้ทราบว่า มีธาตุอาหารใดสูงต่ำมากน้อยเพียงใด แล้วนำมาเทียบกับค่าวิกฤต แล้วจึง ประเมินเป็นปริมาณธาตุอาหารที่จะต้องใส่ให้แก่อ้อย

วิธีที่เหมาะสมสำหรับชาวไร่อ้อย น่าจะเป็นวิธีวิเคราะห์ดิน ซึ่งมี หน่วยงานรับบริการวิเคราะห์ทั้งทางราชการและเอกชน อีกทั้งมีเครื่องมือ ที่ทันสมัยขึ้น ทำให้วิเคราะห์ได้รวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก การวิเคราะห์ดิน จะมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ
1. การเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างดินให้ได้ตัวอย่าง ซึ่งเป็น ตัวแทนของพื้นที่ เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญที่สุด เกษตรกรผู้เก็บ ตัวอย่างดินต้องเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติโดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ตัวอย่างดินที่ดี ค่าวิเคราะห์ที่ไม่ผิดพลาด

2. การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ ได้จากการนำตัวอย่างดิน ที่เก็บมาส่งไปวิเคราะห์ เป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ที่จะวิเคราะห์ดิน ด้วยวิธีมาตรฐาน เพื่อให้ได้ค่าวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพื่อความถูกต้องของข้อมูล

3. การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดิน เป็นการนำข้อมูลที่ได ้จากการวิเคราะห์มาเทียบเคียงปริมาณการใช้ธาตุอาหารต่าง ๆ ของอ้อย แล้วแปลข้อมูลนั้นว่า ดินที่วิเคราะห์มีความอุดมสมบูรณ์ ต่ำ ปานกลาง หรือสูง

4. การให้คำแนะนำการปฏิบัติหรือใส่ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดิน จากผลการ แปลความหมายข้างต้น นักวิชาการเกษตร จะให้คำแนะนำแก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของตัวอย่างดินว่า หากประสงค์จะปลูกอ้อยให้ได้ผลดี ควรใช้ปูน เพื่อสะเทินกรดในดินอัตรากี่กิโลกรัมต่อไร่ ควรใช้ปุ๋ยสูตรใด อัตราใด และใส่อย่างไร จึงจะให้ผลดีต่อพืชที่ปลูก


การใช้ปุ๋ยในกรณีที่ไม่มีการวิเคราะห์ดิน
- การใช้ปุ๋ยเคมีกัยที่ปลูกในดินเหนียวกับดินร่วน
ดินลักษณะนี้มักจะมีธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอยู่บ้าง จึงเน้นหนักทางด้านธาตุไนโตรเจน ซึ่งสามารถแนะนำเป็นปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-14 , 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 40-50 กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน หรือหลังแต่งตอทันที ใส่ครั้งที่ 2 หลังปลูกหรือแต่งตอ 2-3 เดือน

ถ้าไม่สะดวกที่จะใช้ปุ๋ยสูตรที่กล่าวมานี้ อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่หา ได้ตามท้องตลาด เช่น 16-8-8, 20-10-10, 16-6-6, 18-6-6, 18-8-8, หรือ 25-7-7 อัตรา 70-90 กิโลกรัม/ไร่ โดยแบ่งครึ่ง ใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอทันที ส่วนอีกครึ่งหนึ่งใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 2-3 เดือน

ถ้าพื้นที่ปลูกมีน้ำชลประทาน ควรเพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2

-การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อยในดินทราย
ดินทรายมักจะขาดธาตุโพแทสเซียม เนื่องจากถูกชะล้างจาก อนุภาคดินได้ง่ายจึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-12, 13-13-13 หรือ 14-14-21 อัตรา 40-60 กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่พร้อมปลูกหรือ หลังแต่งตอ 20 กิโลกรัม ส่วนที่เหลือใส่ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 30-40 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 60 วัน อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่มีขายตามท้องตลาดได้ เช่น 16-8-14, 15-5-20 หรือ 16-11-14 โดยใส่ในอัตราเดียวกัน คือ 40-60 กิโลกรัม/ไร่

สำหรับอ้อยที่มีน้ำชลประทานให้เพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับในสภาพดินเหนียวและดินร่วน

- การใช้ปุ๋ยแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่
ปััจจุบันได้มีความพยายามให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีให้เฉพาะเจาะจงต่อ ความต้องการของอ้อย และคุณสมบัติของดินมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาระบบ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตอ้อย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะสามารถบอกได้ว่าในพื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดต่าง ๆ หรือจุดที่ทำไร่อ้อยอยู่นั้นอยู่บนกลุ่มชุดดินอะไร มีคุณสมบัติอย่างไร หรือมีความอุดมสมบูรณ์มากแค่ไหน ประกอบด้วยธาตุอาหารอ้อยอะไรบ้าง และควรจะใส่ปุ๋ยเคมีชนิดไหนบ้างในอัตราเท่าไร เช่น จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นดินทราย อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 35 และ 35/36 คล้ายคลึงกับดินที่ปลูกอ้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือชุดดินมาบบอน ชุดดินปราณบุรี และชุดดินโคราช หน่วยแผนที่ดินใน กลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนดินทราย มีสีน้ำตาล สีเหลือง หรือแดง ส่วนมากเกิดจากดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือการสลายตัวผุพังของเนื้อหินหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็น ลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน เป็นดินลึกมีการระบายน้ำดี คุณสมบัต ิทางกายภาพทำให้ดินดังกล่าวเหมาะสำหรับการปลูกอ้อย อย่างไรก็ตาม ดินกลุ่มนี้มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ดังนั้น การเพิ่มเติมธาตุอาหารให้แก่อ้อยยังมีความจำเป็น การมีเนื้อดินบน ค่อนข้างเป็นทราย ทำให้ดินอุ้มน้ำได้น้อย อ้อยอาจขาดแคลนน้ำ ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง


การลดการสูญเสียปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้แก่อ้อย โดยเฉพาะไนโตรเจน.มีการสูญเสียได้หลายทาง เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัส.เองก็ถูกตรึง ให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นประโยชน์ อ้อยดูดไปใช้ได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ยฟอสฟอรัส.ที่ใส่ให้แก่อ้อย การสูญเสียของธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในดิน โดยที่อ้อยไม่ได้นำไปใช้ ถือได้ว่าเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่ก่อประโยชน์ ถ้าสามารถลดการสูญเสียลงได้ จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


เมื่อเราใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดิน ปุ๋ยจะได้รับความชื้นแล้วละลาย พร้อมทั้งแตกตัวเป็นไอออน (NH4+, NO3-) ที่พืชสามารถดูดไป ใช้ได้พร้อมทั้งเกิดการสูญเสียตลอดเวลาโดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น

1. กระบวนการชะล้าง (run off) ถ้าให้น้ำมากๆ หรือ ฝนตกชุกจะพัดพาปุ๋ยไหลบ่าออกไปจากแปลง

2. กระบวนการชะปุ๋ยลงลึกเลยรากอ้อย (leaching) เกิดในสภาพที่ฝนตกชุกหรือให้น้ำมาก ๆ และดินมีอัตราการซึมน้ำสูง น้ำจะพาปุ๋ยลงลึกจนเลยรากอ้อยไป

3. กระบวนการระเหิด (volatilization) ไนโตรเจน ในรูปของไอออน NH4+ จะเปลี่ยนรูปเป็นก๊าซแอมโมเนีย ระเหยขึ้นสู่อากาศ

4. กระบวนการระเหย (denitrification) มักเกิดใน สภาพน้ำขัง หรือดินอิ่มตัวด้วยน้ำแล้วขาดออกซิเจน ไนโตรเจน จะ เปลี่ยนรูปเป็นก๊าซลอยไปในอากาศ

5. กระบวนการสูญเสียชั่วคราว (immobilization) เกิดขึ้นมาก ในดินที่มีเศษซาก พืชที่ยังไม่ย่อยสลายมาก ๆ เมื่อซากพืชเหล่านี้อยู่ในดิน จุลินทรีย์จะย่อยสลายแล้วเพิ่มปริมาณตัวเองอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ เพิ่มปริมาณจะดูดดึงเอาไนโตรเจนจากดินและปุ๋ยไปใช้ด้วย จึงทำให้อ้อย ขาดไนโตรเจนต่อเมื่อซากพืชถูกย่อยสลายหมด จุลินทรีย์ขาดอาหารจึงตายลง พร้อมทั้งปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาใหม่ จะสังเกตได้ว่า ถ้าปลูกอ้อย ลงไปในดินที่ไถกลบซากพืชใหม่ ๆ อ้อยจะเหลือง หรือแม้กระทั่ง อ้อยตอที่มีใบและเศษซากอ้อยที่ยังไม่สลายตัว ทำให้อ้อยตอไม่เขียว เหมือนอ้อยปลูกเพราะขาดไนโตรเจน จึงแนะนำให้เพิ่มอัตรา ไนโตรเจนในอ้อยตอ

นอกจากกระบวนการทั้ง 5 แล้ว ไนโตรเจนจากปุ๋ยยังอาจถูกดูดยึดไว้ในดินจนอ้อยไม่สามารถดูดมาใช้ได้ จากงานวิจัยของหลาย ๆ ประเทศ พบว่า อ้อยดูดใช้ธาตุอาหารได้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ยที่ใส่ลงไป เพื่อเป็นการประหยัดจึงควรลดการสูญเสียปุ๋ย โดยการปฏิบัติดังนี้

1. อย่าใส่ปุ๋ยลงผิวดิน ควรใส่ฝังลงในดินหรือมีการกลบปุ๋ย
2. หลังใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าให้น้ำขัง ควรมีการระบายน้ำ
3. ใส่ปุ๋ยในขณะดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามทันทีเพื่อให้ปุ๋ยละลาย อ้อยดูดไปใช้ได้ง่าย จะลดการสูญเสียได้มาก
4. อย่าปลูกอ้อยทันทีหลังจากไถกลบใบและเศษซากอ้อย ทิ้งให้ใบย่อยสลายก่อนจึงปลูกอ้อยแล้วใส่ปุ๋ย
5. อย่าให้น้ำมากเกินความจำเป็น



การใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพงหรือผสมปุ๋ยใช้เอง
ชาวไร่อ้อยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพง ๆ เสมอไป อาจใช้ปุ๋ยอื่น ๆ ที่มีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกกว่ามาใช้แทนกันได้ เช่น การใช้ปุ๋ยน้ำจากโรงงานผงชูรส ซึ่งมีไนโตรเจนประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ในอัตราแนะนำ 600 ลิตรต่อไร่ ก็จะได้ไนโตรเจนถึง 18 กิโลกรัม เท่ากับไนโตรเจนจากปุ๋ย 15-15-15 ถึง 120 กิโลกรัม แต่ราคาจะถูกกว่ามาก การผสมปุ๋ยใช้เอง สามารถประหยัดได้ถึงตันละ 1,000-2,000 บาท และยังมีข้อดีอื่น ๆ อีก เช่น
- ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
- มีปุ๋ยใช้ทันเวลา
- มีอำนาจในการต่อรองราคา
- เกิดความรู้ความชำนาญ สามารถปรับสูตรได้
- ได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม
- กรณีเกิดการสูญเสีย จะสูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
- มีทางเลือกเพิ่มขึ้น



การปรับปรุงดินให้มีลักษณะเหมาะสม
การรปรับปรุงดินให้เหมาะสมจะทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยลงไปได้มาก ขณะที่ปัจจุบันดินที่ใช้ในการทำไร่อ้อย เสื่อมสภาพลงมาก เนื่องมาจากการไถพรวนบ่อยครั้งโดยไม่ถูกวิธี และไม่ถูกจังหวะ การเผาอ้อย การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ น้ำหนัก มากเหยียบย่ำในแปลง ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่จะปรับปรุงดินได้ดังนี้้

* การแก้ไขเฉพาะหน้าในกรณีเกิดปัญหาดินดาน
1. ถ้าเกิดดินดานให้ใช้ไถสิ่ว หรือไถเปิดดินดานติดรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบที่มีกำลังสูงลากไถสิ่วคู่ระยะ 1 เมตร ไถลึกประมาณ 75 ซม. การไถควรทำขณะที่ดินแห้งจัด
2. อย่าเตรียมดินโดยการไถพรวนจนละเอียดเป็นฝุ่น
3. เตรียมดินโดยใช้ไถจานกับไถหัวหมูสลับกันบ้าง
4. อย่าเผาใบอ้อย เพราะเป็นการทำให้อินทรียวัตถุ หมดไปอย่างรวดเร็ว
5. ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือเศษของเหลือจากโรงงานน้ำตาล เช่น ชานอ้อย หรือกากตะกอนหม้อกรอง


* การปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ
การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย นิยมปฏิบัติกันมานานแล้วในประเทศ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และแอฟริกา ซึ่งมี วิธีการปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อผลผลิตอ้อยตอ 3 ถึง ตอ 4 ลดลง ทำการไถรื้อตอ
2. หว่านเมล็ดโสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือถั่วแปยี
3. หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หรือเมื่อถั่วออกดอก ใช้จอบหมุนตีกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
4. ทำการเตรียมดินปลูกอ้อยตามปกติ


* การปลูกถั่วเหลืองสลับกับการปลูกอ้อย
การปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนปลูกอ้อยทำให้คุณสมบัติทางเคมี และกายภาพของดินดีขึ้น ช่วยลดความหนาแน่นของดิน เพิ่มปริมาณ อินทรียวัตถุและไนโตรเจน ทำให้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ รวมทั้งยังช่วย ลดการระบาดของโรคและแมลง พืชที่เหมาะสมที่จะปลูกสลับกับอ้อย คือ ถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และปลดปล่อยให้แก่ดินถึง 49.6 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ไนโตรเจนลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ผลผลิตของถั่วเหลืองแล้ว อ้อยที่ปลูกตามหลังถั่วเหลืองมีผลผลิตเพิ่มขึ้น


การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย
น้ำเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตัน/ไร่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อใช้ ในการเจริญเติบโตและสร้างน้ำตาล อ้อยที่ขาดน้ำจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ

พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน อ้อยต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำชลประทานหรือน้ำบาดาลช่วย การให้น้ำแก่อ้อยจะทำให้ความสามารถในการไว้ตอดีขึ้น เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อีกทางหนึ่ง

ความต้องการน้ำและการตอบสนองต่อการให้น้ำของอ้อย
การผลิตอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยจะต้องได้รับน้ำ (น้ำฝน/ชลประทาน) อย่างเพียงพอ ตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อยจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และช่วงระยะ การเจริญเติบโต ได้แบ่งระยะความต้องการน้ำของอ้อยไว้ 4 ระยะ คือ

1. ระยะตั้งตัว (0-30 วัน) เป็นระยะที่อ้อยเริ่มงอกจนมีใบจริง และเป็นตัวอ่อน ระยะนี้อ้อยต้องการน้ำในปริมาณไม่มาก เพราะรากอ้อยยังสั้นและการคายน้ำยังมีน้อย ดินจะต้องมีความชื้น พอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นในดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า ถ้าความชื้นในดินน้อยเกินไป ตาอ้อยจะไม่งอก หรือถ้างอกแล้ว ก็อาจจะเหี่ยวเฉาและตายไป ในสภาพดินที่เมื่อแห้งแล้ว ผิวหน้าฉาบเป็นแผ่นแข็ง ก็อาจทำให้หน่ออ้อยไม่สามารถแทงโผล่ขึ้นมาได้ ดังนั้น ในระยะนี้การให้น้ำอ้อยควรให้ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อทำให้สภาพความชื้นดินเหมาะสม

2. ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน) ระยะนี้รากอ้อยเริ่มแพร่กระจายออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับ เป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอและสร้างปล้องเป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำมาก ถ้าอ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอในระยะนี้ จะทำให้อ้อยมีจำนวน ลำต่อกอมาก ปล้องยาว ทำให้อ้อยมีลำยาว และผลผลิตสูง การให้น้ำ จึงต้องให้บ่อยครั้ง

3. ระยะสร้างน้ำตาลหรือช่วงสร้างผลผลิต (171-295 วัน) ช่วงนี้พื้นที่ใบอ้อยที่ใช้ประโยชน์ได้จะน้อยลง อ้อยจะคายน้ำน้อยลง และตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย ให้เฉพาะช่วงที่อ้อยเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ

4. ระยะสุกแก่ (296-330 วัน) เป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำน้อย และในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ควรหยุดให้น้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำ ในลำต้นอ้อยและบังคับให้น้ำตาลทั้งหมดในลำอ้อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส


ความต้องการน้ำของอ้อยในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต
ข้อพิจารณาในการให้น้ำแก่อ้อย
การพิจารณาว่าเมื่อใดควรจะถึงเวลาให้น้ำแก่อ้อย และจะให้น้ำครั้งละ ปริมาณเท่าใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ

- ระยะการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อย ปริมาณน้ำที่ให้แก่อ้อยจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโต อัตราความต้องการใช้น้ำ ความลึกที่รากหยั่งลงไปถึง อ้อยจะเจริญเติบโตได้ดีก็ต่อเมื่อความชื้นในดินเหมาะสม ถ้ามีความชื้นในดินสูงหรือต่ำมากเกินไป อ้อยจะเจริญเติบโตผิดปกติ เมื่อดินมีน้ำมากจะทำให้ขาดออกซิเจน โดยทั่วไปถ้าในดินมีอากาศอยู่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ รากอ้อยจะชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำและออกซิเจน เป็นเหตุให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำใบจะห่อในเวลากลางวัน

- คุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความสามารถของ ดินในการซับน้ำ ดินต่างชนิดกันย่อมมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ ไม่เหมือนกันสำหรับดินที่สามารถซับน้ำไว้ได้มากไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยครั้งเหมือนดินที่มีเนื้อหยาบและซับน้ำได้น้อย ดินเหนียวจะมีความชื้นอยู่มากกว่าดินทราย ดังนั้น หลักการให้น้ำแก่ อ้อยที่ถูกต้อง คือ ให้น้ำตามที่อ้อยต้องการ ส่วนปริมาณน้ำที่จะให้ แต่ละครั้งมากน้อยเท่าไร และใช้เวลานานเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางกายภาพของดินซึ่งไม่เหมือนกัน

- สภาพลมฟ้าอากาศ อุณหภูมิของอากาศ การพิจารณา การให้น้ำแก่อ้อยจะต้องพิจารณาถึง อุณหภูมิและสภาพลมฟ้าอากาศด้วย ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงอ้อยจะคายน้ำมาก ความต้องการน้ำจะมากตามไปด้วย จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยขึ้น ในช่วงที่มีฝนตกควรงดให้น้ำ และหาทาง ระบายน้ำแทน เพื่อให้ดินมีความชื้นและอากาศในดินเหมาะสม ในช่วงฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำช่วยจะทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยดีขึ้น



ระบบการให้น้ำอ้อย
การเลือกระบบการให้น้ำอ้อยที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่ ต้นทุน และความพร้อมในการนำน้ำมาใช้ รวมทั้งความพร้อมในด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในการให้น้ำ ระบบการให้น้ำอ้อย ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั้งในและต่างประเทศมีดังนี้

1. การให้น้ำแบบร่อง (Furrow irrigation)
เป็นระบบการให้น้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ สะดวกและง่ายในการปฏิบัติ แต่ก็ม ีข้อจำกัดอยู่ที่แปลงปลูกอ้อยจะต้องค่อนข้างราบเรียบ โดยมีความลาดชัน ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการให้น้ำแบบร่องจะผันแปร อยู่ระหว่าง 30-90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การให้น้ำได้โดยการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติการให้น้ำ ระบบนี้จะมีร่องน้ำที่หัวแปลงหรืออาจใช้ท่อหรือสายยางที่มีช่องเปิดให้น้ำไหล เข้าร่องอ้อยแต่ละร่อง เมื่อน้ำไหลไปจนสุดร่องแล้ว อาจยังคงปล่อยน้ำ ต่อไปอีกเพื่อให้น้ำซึมลงในดินมากขึ้นน้ำ ที่ท้ายแปลงอาจระบายออก หรือเก็บรวบรวมไว้ในบ่อพักเพื่อนำกลับมาใช้อีก ในแปลงอ้อยที่มี ความลาดชันน้อยมาก (ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์) สามารถจัดการให้น้ำโดย ไม่มีน้ำเหลือทิ้งท้ายแปลงได้ โดยปรับสภาพพื้นที่ให้มีความลาดชันน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์และทำคันกั้นน้ำตลอดท้ายแปลง น้ำที่ให้ไปสุดท้ายแปลง จะถูกดักไว้โดยคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงในดินมากขึ้น วิธีนี้จะ เหมาะกับดินที่มีการซึมน้ำช้า และน้ำที่จะให้มีจำกัด

แม้ว่าการให้น้ำระบบร่องจะใช้ได้กับพื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความยาวร่องที่ใช้มีตั้งแต่ 25 เมตร ถึง 1,000 เมตร รูปร่าง ของร่องและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นกับชนิดของดินและความลาดชัน ของพื้นที่ สำหรับดินที่มีความสามารถ ในการซึมน้ำได้ดี ควรใช้ร่องปลูกรูปตัว ‘V' และมีสันร่องกลาง เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วและลดการสูญเสียน้ำ จาก การซึมลึกในแนวดิ่ง ในทางกลับกันสำหรับดินที่มีการซึมน้ำเลว ควรใช้ ร่องที่มีก้นร่องกว้างและสันร่องแคบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของดินกับน้ำ ทำให้น้ำซึมลงดินได้ทั่วถึง

2. การให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler irrigation)
การให้น้ำแบบนี้ใช้ได้กับทุกสภาพพื้นที่และทุกชนิดดิน ประสิทธิภาพ ในการใช้น้ำอาจเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ได้ ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องและ เหมาะสม การให้น้ำแบบนี้มีหลายรูปแบบ เช่น
- สปริงเกอร์หัวใหญ่ ต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงและมีทางวิ่งถาวร ในแปลงอ้อย

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กเคลื่อนย้ายได้ ใช้สำหรับอ้อยปลูกหรือ อ้อยตออายุน้อย และปริมาณน้ำที่ให้มีจำกัด มีข้อเสียคือ ต้องใช้ แรงงานมากในการเคลื่อนย้าย และไม่สามารถใช้กับอ้อยสูงได้

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กบนแขนระนาบ (Lateral move irrigators) ข้อดีคือสามารถให้น้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้แรงงานน้อย แต่มีข้อเสียคือใช้ต้นทุนสูงสำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือ

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กขนแขนที่เคลื่อนเป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง (Centre-pivot irrigators)

3. การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
เป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบ ๆ รากพืช และสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อมกับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ

- ระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะวางสายให้น้ำบนผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้าร่อง อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่อง

- ระบบน้ำหยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสายให้น้ำก่อนปลูก โดยปกติจะฝังลึกประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ 10 ซม.


http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=13
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 29/01/2011 9:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พบปะ เพื่อนฝูงผ่อนคลาย




_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 29/01/2011 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 29/01/2011 9:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

งานเด็กๆ น่ะ.....ไม่ได้ครึ่งเมื่อครั้งลุงคิมเป็นหนุ่มหร็อก

ตอนนั้นเรอะ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ....ไม่อยากเซด....



ลุงคิม (อิจฉา) ครับผม

ปล.
ภาพน้อยไปหน่อยนะ ทั้งงานมีภาพแค่นี้เหรอ.....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 29/01/2011 10:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
งานเด็กๆ น่ะ.....ไม่ได้ครึ่งเมื่อครั้งลุงคิมเป็นหนุ่มหร็อก

ตอนนั้นเรอะ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ....ไม่อยากเซด....



ลุงคิม (อิจฉา) ครับผม

ปล.
ภาพน้อยไปหน่อยนะ ทั้งงานมีภาพแค่นี้เหรอ.....


สมช.อยากเห็นสมัย ลุงคิม หนุ่มๆคงจะหล่อน่าดู
ให้ผมเดาก็คงจะพอๆกับ พี่เคล้า...มนต์รักลูกทุ่ง
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/01/2011 9:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่เคยเก็บเลย ไม่มีจริงๆแม้แต่รูปเดียว.......


- ตอนที่อยู่เกาหลี ถ่ายรูปใส่อัลบั้มเก็บไว้ 4-5 อัลบั้ม สมัยนั้นมีแต่รูปขาวดำ วันนี้ไม่เหลือเก็บที่ตัวเองเลยแม้แต่รูปเดียว
จำได้ พ.อ.หญิง อัศนีย์ฯ เคยมาปรึกษา ให้ช่วยหาสิ่งของที่ระลึก หรือรูปถ่าย ของทหารไทยที่เคยไปรบสงครามเกาหลี จะเอา
ไปไว้ที่พิพิธภัณท์ ร.ร.นายร้อย จปร. นครนายก ......

ลุงคิมขอบริจาคจากเพื่อนๆหลายๆคนที่รู้ว่ามันก็มี ปรากฏไม่มีใครยอมเสียสละเลยแม้แต้คนเดียว แม้แต่รูปใบเดียว เลยถาม
พ.อ.หญืง อัศนีย์ฯ ว่า ถ้าเป็นของลุงคิมคนเดียวเนี่ย จะเอาไหม ท่านบอกว่า เมื่อไม่ได้จากคนอื่น จากคนเดียวก็เอา สุดท้ายอัลบั้ม
ทั้งหมด สมุดบันทึก (ไดอารี่) อีก 3 เล่ม เครื่องแบบสักหลาด (ชุด OG) โอเวอร์โค้ต (ปาร์ก้า) พร้อมครอบหัวขนสัตว์กันหนาว
เอาไปหมด.....วันนี้ ทั้งหมดที่มอบให้ไป ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ได้ไปอยู่ หรือยังอยู่ที่พิพิธภัณท์นั่นหรือเปล่า แล้วก็ไม่เคยเจอะเจอ
พ.อ.หญิงว อุศนีย์ฯ อีกเลย.....

กลับจากเกาหลี ตอนนั้หนุ่มมาก อายุ 21 ปี ร้านถ่ายรูปที่ตลาดเสาธง หน้าค่ายพหลโยธิน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี เห็นเครื่อง
แบบทหารไทยไปสงครามเกาหลีเข้าท่าดี เลยขอถ่ายรูป ทั้งรูปครึ่งตัว ทั้งรูปยืนเต็มตัว แอ็คชั่นเต็มที่ตามที่เจ้าของร้านต้องการ ถ่าย
เสร็จทางร้านติดโชว์หน้าร้าน ใครผ่านใครก็เห็น เรียกว่าดังไปเลยตอนนั้น....

ไม่นานก็ต้องไปสงครามลาว แล้วต่อสงครามเวียดนามอีก รวมเวลาราวปีกว่าๆ กลับมาถิ่นเก่า ผ่านร้านถ่ายรูปเจ้าเก่า ไม่เห็นรูปที่โชว์ ถามว่า
ปลดออกแล้วเหรอ เจ้าของร้านตอบว่า ไม่ได้ปลด รูปนั้นโดนสาวขะโมยไป....

อั้ยเราก็ยังงงๆ ไม่ใช่รูปดาราระดับ มิตร ชัยบัญชา. ลือชัย นฤนาท. อดุลย์ ดุลยรัตน์. ทักษิณ แจ่มผล. ซักกะหน่อย ขะโมยไปทำไมวะ
ถ้าเทียบความหล่อสมัยนั้นก็น่าจะประมาณ ดอกดิน กัญญามาลย์. หรือไม่ก็เสี่ยล้อต๊อก. สมพงษ์ พงษ์มิตร. ดาราตลกสมัยนั้นคงไปได้....




- เอาปัจจุบันบ้าง เคยมีคนมาคุยด้วย เรื่องที่ลุงคิมสัญจรไปสอนเกษตรกรทั่วประเทศติดต่อกันมานานนับ 10 ปี ว่าเคยบันทึกจำนวนครั้ง
ที่ออกไปสอน สถานที่ๆไปสอน จำนวนคนที่มาเรียน เคยถ่ายรูป เคยช่วยคนนั้นคนนี้ ที่นั่นที่นี่ เคยบันทึกข้อมูลไว้บ้างหรือไม่....

ลุงคิมบอกว่า "ไม่เคยบันทึกใดๆทั้งสิ้น รูปถ่ายไม่เคยมี สถานที่ไม่เคยจำ นั่นเท่ากับว่า จนถึงวันนี้ไม่เคยทำอะไรเลย..." นั่นเอง

ลุงคิมถามย้อนอีกว่า "จะเอาไปทำอะไร ?..."

คำตอบก็คือ "เก็บไว้เป็นข้อมูลหลักฐาน สำหรับของเครื่องราชฯ ยังไงล่ะ..."

ลุงคิมหัวเราะก๊าก.... "เครื่องราชฯ จะขออีกทำไม ทุกวันนี้ ถ้าติดจริงๆละก็ เต็มหน้าอกจนไม่มีที่จะให้ติดแล้ว แล้วเครื่องราชฯ
ที่จะขอน่ะ ระดับชั้นต่ำกว่าที่ลุงคิมมี แบบนี้เขาไม่ให้หรอก ครั้นจะขอชั้นที่สูงขึ้นก็ไม่ใช่งานแบบนี้...เรื่องเลยจบ


- อีกเยอะแยะมากมายหลายรายการ ทั้งโล่. ทั้งถ้วย. ทั้งใบประกาศ. ไม่ขอรับใดๆ จากใคร หรือหน่วยงานไหนทั้งสิ้น รวมทั้งความ
ช่วยเหลือ อนุเคราะห์ทุกชนิด ไม่ขอรับ.....สิทธิพิเศษทหารผ่านศึกไม่เคยใช้ ค่ารักษาพยาบาล-ค่าสวัสดิการพิเศษสำหรับครอบครัว-
ค่าเล่าเรียนลูก ไม่เคยเบิก.....ปล่อยชีวิตให้มันว่างเปล่าอย่างนี้นี่แหละ


ลุงคิม (สะใจ..ว่ะ) ครับผม




กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 01/02/2011 8:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม สบายดีไหมครับ

ช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้เข้ามาคุยกับ ส.ม.ช ทุกท่าน เพราะงานยุ่งกลับบ้านค่ำทุกวันอาบน้ำเสร็จก็นอนเลย

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว รักษาสุขภาพด้วยนะครับลุงคิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 01/02/2011 9:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

A_Chumphae บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม สบายดีไหมครับ

ช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้เข้ามาคุยกับ ส.ม.ช ทุกท่าน เพราะงานยุ่งกลับบ้านค่ำทุกวันอาบน้ำเสร็จก็นอนเลย

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว รักษาสุขภาพด้วยนะครับลุงคิม



A. ถามหน่อย...."ก่อนนอน ทำอะไร ?"


ลุงคิม (สุขภาพแก่เหมือนเดิม) ครับผม

ปล.
ถ้า เอ.ชุมแพ ตอบไม่ได้ ใครช่วยให้คำตอบแทนก็ได้นะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 01/02/2011 5:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กินข้าว ครับ ไม่รู้ตอบถูกไหมนะครับลุงคิมแต่ผมก็ตอบแบบที่ผมคิด ^^ ผิดถูกว่ากันอีกที

ปล.
ลุงคิมแก่ แต่สุขภาพจิตและร่างกายดีก็พอแล้วครับ ผมชอบลุงคิมตรงที่ให้แง่คิดดีๆกับทุกๆคนที่ถาม ไม่เคยหวงไม่มีกั๊ก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 01/02/2011 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ผิด"

เอ้าพวกเรา ลองๆ หลับตานึกถึงภาพคุณ เอ ชุมแพ.ซิว่า
ก่อนนอนต้องทำอะไร ?


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 01/02/2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลับตา ครับลุงคิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 13, 14, 15, 16, 17  ถัดไป
หน้า 14 จากทั้งหมด 17

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©