-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปลูกผักระบบไร้ดินส่งภัตตาคาร........1 ไร่รวย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ตามล่าหาแก่นตะวัน และสาคู
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ตามล่าหาแก่นตะวัน และสาคู

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
pon5814
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/09/2010
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 08/09/2010 7:25 pm    ชื่อกระทู้: ตามล่าหาแก่นตะวัน และสาคู ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมสนใจจะทดลองปลูกแก่นตะวัน และหัวสาคู (พืชในวงศ์ขิงข่า หน้าตาคล้ายพุทธรักษา) ไว้ทานเองที่บ้าน รบกวนเพื่อนสมาชิกท่านใดที่มีหัวพันธ์ ผมอยากขอแบ่งซื้อหัวพันธ์ หรือทราบแหล่งที่จะซื้อหามาปลูกได้บ้างครับ

ขอบคุณมากครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 08/09/2010 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่บ้านมีต้นสาคูครับ ปลูกทิ้งไว้เป็นสิบปีแล้วมั้ง เคยขุดมากินเมื่อนานแล้ว และก็ไม่เคยเอามากินอีก เพราะไม่อร่อย เหนียวๆ ข้างในมีเสี้ยนๆ ผมว่ามันสำปะหลังแป้งดีๆ ต้มยังอร่อยกว่ากันเยอะเลย ต้นมันเลยอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ทนจริงๆ

ถ้าอยากได้ไม่ขายแต่แจกฟรี แต่มีข้อแม้ต้องมาขุดเองครับ เพราะถ้าขุดให้จะไปให้คุณที่ไหนล่ะ ห้ามบอกว่าส่งทางไปรษณีย์เพราะขี้เกียจ อีกอย่างบ้านผมอยู่หลังเขาการคมนาคมไม่สะดวกที่จะเดินทางเข้าอำเภอไปส่งพัสดุครับ
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/09/2010 9:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ott_club บันทึก:

อีกอย่างบ้านผมอยู่ หลังเขา การคมนาคมไม่สะดวก


อ๊อด....บ้านอยู่หลังเขา....ระหว่าง "หลังเขา" กับ "หน้าเขา" เขาวัดกันยังไง ที่ไร่กล้อมแกล้มก็มีเขา (ภูเขานะ) แล้วจุดที่ไร่กล้อมแกล้มน่ะอยู่ หน้าเขา หรือ หลังเขา ล่ะ


ต้นสาคูที่ว่า ที่ไร่กล้อมแกล้มก็มีอยู่กอหนึ่ง ปลูกทิ้งไว้ใต้โคนมะพร้าว หลังห้องน้ำ คาดว่าวันนี้ยังอยู่ ไอ้เจ้านี่ทั้งทนทั้งอึด ขอให้มีหัวแค่แง่งเท่านิ้วก้อยเท่านั้นแหละ เดี๋ยวก็งอกแตกใหม่ เป็นกอเบ้อเริ่ม.....ที่ตลาดศรีเมือง ราชบุรี ขายกัน กก.ละ 30-35 บาท ก็มีคนซื้อกินนะ

ส่วน "แก่นตะวัน" ในเว้บเรานี่แหละ วานกลับไปหน้าแรก "เมนูหลัก - พืชไร่- แก่นตะวัน" ขลุกขลิกเข้าไปดูได้เลย


ดีนะ ปลูกไปเถอะ อย่างน้อยก็ลดโลกร้อน
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 08/09/2010 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำว่า"หลังเขา"คือเอาไว้เปรียบกับที่ห่างไกลความเจริญน่ะครับ โดยเอามาม่าและปลากระป๋องเป็นตัววัด หากบ้านใดอยู่ห่างจากร้านค้าที่มีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและปลากระป๋องเกิน 1 กิโลเมตร ถือว่าอยู่หลังเขาครับ

ด้วยเหตุว่าไร่กล้อมแกล้มไม่อยู่ในประเด็นดังกล่าว จึงถือได้ว่าไร่กล้อมแกล้มยังอยู่หน้าเขาครับ เพราะจากไร่กล้อมแกล้มเดินมาร้านค้าตรงปากทางแค่ประมาณ 500 เมตร แถมยังมีร้านข้าวตามสั่งอีก อย่างนี้ถือว่าเจริญทีเดียวแหละครับ

อยู่หลังเขาแต่ไม่อยากโดนสวมเขาครับผม
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/09/2010 10:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เจริญมากๆ เครื่องบินผ่านด้วยนะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 13/09/2010 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแก่นตะวัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแก่นตะวัน หรือ Jerusalem artichoke

Family: Asteraceae (Compositae)
Genus: Helianthus
Specy: tuberosus
Common name: Jerusalem artichoke หรือ sunchoke

ชื่อสามัญ แก่นตะวัน (รศ. สนั่น จอกลอย จากภาควิชาพืชไร่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้ตั้งชื่อภาษาไทย)
ถิ่นกำเนิด ทวีปอเมริกาเหนือ
พื้นที่ปลูก อเมริกาเหนือ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี จีน
รัสเซีย อินเดีย แอฟริกากลาง ออสเตรเลีย
"Jerusalem" มีรากศัพท์จากภาษาอิตาลี "girasole" มีความหมายว่า "sunflower"

ลักษณะทางการเกษตร
- ทรงต้น สูง 1.5-2.0 ม. มีขนตามกิ่ง และใบ มีลำต้นใต้ดิน(tuber) คล้ายมันฝรั่ง
- ใบ รีรูปไข่ บางพันธุ์มีขอบใบหยัก
- ดอก เป็นทรงกลมแบน สีเหลือง คล้ายดอกทานตะวัน หรือบัวตอง
- การผสมเกสร ไม่สามารถผสมตัวเองได้
- อายุ 120-140 วันตั้งแต่ปลูก-เก็บเกี่ยว
- ผลผลิต 3,000-6,000 กก./ไร่
- ฤดูปลูก ปลายฝน แล้ง
- ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ หัว
- ส่วนที่ใช้ประโยชน์ หัว และลำต้น
- ศัตรูพืช โรคโคนเน่า แมลงประเภทด้วงกัดกินใบ

องค์ประกอบทางเคมีของหัวแก่นตะวัน
ประกอบด้วยคาร์โบโฮเดรทที่มีโมเลกุลของฟรุคโตส ต่อกันเป็นเส้นยาว เรียกว่า Inulin

การนำไปใช้ประโยชน์
1. ใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพของมนุษย์ โดยรับประทานหัวสด หรือในรูปแป้ง
2. ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ โดยบดส่วนหัวให้เป็นแป้ง
3. ผลิตเอทานอล ให้ผลผลิตเอทานอล 80-100 ลิตร/ตัน หัวสด
4. อาจปลูกเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับชมดอก คล้ายทุ่งทานตะวัน

ประโยชน์ของ Inulin
1. เป็นอาหารของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่ เช่น Lactobacillus และ Bifidobacteria ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสังเคราะห์วิตามิน B
2. ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียสาเหตุของโรค เช่น Coliform, Salmonella, E. coli และ Clostridium
3. ให้พลังงานต่ำ ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
4. มีผลในการลด serum, triglycerides, total cholesterol และ LDL
5. ลดกลิ่นเหม็น และแอมโมเนียจากมูลสัตว์


ที่มา http://as.doa.go.th/fieldcrops/jeru/001.HTM
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2010 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แก่นตะวัน




















งานวิจัยที่กรมวิชาการเกษตรดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. โครงการการศึกษาการผลิตแก่นตะวันเพื่อผลิตเอทานอล สถาบันวิจัยพืชไร่รับผิดชอบในพื้นที่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
2. งานวิจัยเรื่อง "การประเมินลักษณะประจำพันธุ์แก่นตะวัน" ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่
3. งานวิจัยเรื่อง "การเปรียบเทียบผลผลิตแก่นตะวัน" ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา


http://as.doa.go.th/fieldcrops/jeru/001.HTM
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2010 8:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นปาล์มสาคู




















ต้นหัวสาคู (เหมือนต้นพุทธรักษา)










http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B9&imgurl=http://board.212cafe.com/user_board/tavatpalm/picture/01442_4.jpg&imgrefurl=http://board.212cafe.com/view.php%3Fuser%3Dtavatpalm%26id%3D1442&h=640&w=480&sz=67&tbnid=VI79W1QMbTyR5M:&tbnh=259&tbnw=194&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B9&zoom=1&q=%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B9&hl=th&usg=__Dji06TtccGDhmrTZBmVhRi2hCXE=&sa=X&ei=mbOYTPjlNY_uvQOpk7iDDQ&ved=0CBkQ9QEwAQ&start=0#tbnid=VI79W1QMbTyR5M&start=14
www.dld.go.th/nutrition/Nutrition_Knowlage/.../ArtileB.htm -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/09/2010 9:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2010 8:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาคู (Sago palm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ของสาคู : Metroxylon sagu Rottb.

ชื่ออื่นของสาคู: สากู (มลายู-ใต้)
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สาคู มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แมรันตา อะรันดินาซี แอล (Maranta arundinacea L.) อยู่ในตระกูล แมรันเตซี (Marantaceae) เป็นพืชเนื้ออ่อนมีอายุอยู่ได้ปลายฤดู มีหัวซึ่งเกิดจากลำต้นใต้ดินโดยหัวขยายตัวอยู่ใต้ระดับดิน หัวใหญ่ กลม ยาว ขนาดของหัว ๒.๕ ซม. ยาว ๒๐-๔๕ ซม. ใบเป็นชนิด แลนซิโอเลต (lanceolate) เหมือนใบคล้าดอกสีขาว เป็นช่อแฝด เมล็ดสีแดงแต่ไม่ค่อยติดเมล็ด แหล่งที่ปลูกสาคูมาก ได้แก่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น แบ่งตาม ลักษณะ หัวมีอยู่ ๒ ชนิด ชนิดหัวเล็กยาว แผ่กว้างและหยั่งลงในดินลึกเรียวเครโอล (creole) ชนิดหัวสั้นใหญ่ หัวไม่มาก หัวอยู่ไม่ลึก เรียกแบนานา (banana) ความจริงแล้วพืชทึ่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า แอร์ โรว์รูต ที่จัดเป็นพืชหัวยังมีอีก ๒ ชนิด ชนิดแรกได้แก่ ควรนส์แลนด์ แอร์โรว์รูต (Queensland arrowroot) และมีชื่อื่นอี คือ ออสเตรเลียน แอร์โรว์รูต (Australian arrowroot) เอดิเบิล แคนนา (edilbe canna) เพอร์เพิบ แอร์โรว์รูต (purple arrowroot) ไทยเราเรียกว่า “สาคูจีน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แคนนา เอดูลิส (Canna edulis) เคอร์-กัล (Ker-Gawl) อยู่ในตระกูล แคนนาซี (Cannacean) เป็นพืชพวกเดียวกับพุทธรักษามีลักษณะต้น ใบเหมือนพุทธรักษา แต่ดอกเล็กกว่าหัวคล้ายหัวข่า รับประทานได้เหมือนสาคูธรรมดาที่กล่าวข้างต้น นอกจากสาคูที่กล่าวถึงข้างต้น แล้ว ยังมีสาคูอีกชนิดหนึ่งได้แก่ อิสต์ อินเดียน แอร์โรว์รูต (East Indian arrowroot) มีชื่ออื่นอีก เช่น โพลิเนเชียน แอร์โรว์รูต (Polynesian arrowroot) ทัคคา (tacca) ฯลฯ ไทยเรียกว่า “สาคูจีน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทัคคา เลออนโทเพทาลอยด์ แอล คุนทซ์ ๙ Tacca leontopetaloides (L) Kuntze) อยู่ในตระกูลทัคคาซี (Taccaceae) จึงได้นำมากล่าวไว้เพื่อป้องกันการสับสน

ฤดูปลูกสาคู
สาคู ขึ้นได้ในที่ที่มีฝน ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ มม. จึงควรปลูกในเวลาที่มีน้ำหรือสามารถให้น้ำได้เพียงพอตลอดอายุการเจริญเติบโต สาคูชอบอากาศร้อนและชื้น ฤดูปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ฤดูฝน การปลูกและการเตรียมพื้นที่ สาคูชอบที่ที่มีการระบายน้ำดี ดินเป็นกรดน้อยๆ ร่วนและลึก สามารถขึ้นได้ดีตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึงความสูงประมาณ ๙๐๐ เมตร เตรียมดินโดยไถและพรวนดิน ให้ร่วนขุดหลุมลึก ๑๐-๑๕ ซม. ระยะหลุมห่างกัน ๓๕-๔๐ ซม. ปลูกเป็นแถวระยะระหว่างแถวประมาณ ๗๕ ซม.

วิธีปลูกสาคู
โดยทั่วไปสาคู ปลูกจากหัว โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ ยาวประมาณ ๕ ซม. บางทีก็รมควันหัวเสียก่อนเพื่อให้งอกเร็วขึ้น บางครั้งก็ปลูกด้วยหน่อ (sucker) บางรายขุดเก็บหัวสาคูจากต้นแก่เท่านั้น ทิ้งต้นอ่อนที่เกิดจากหน่อให้เติบโตต่อไป ไม่ต้องปลูกใหม่ เริ่มปลูกเมื่อต้นฤดูฝน วางหัวที่เตรียมไว้ในหลุม ความลึกของหลุมประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. กลบด้วยดิน ถ้าใช้ระยะปลูก ๗๕-๘๐ ซม. หัวที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูก จะต้องมีจำนวนหนักประมาณ ๔๘๐-๕๖๐ กก./ไร่

การกำจัดวัชพืช
หลังจากปลูกสาคูแล้ว ควรดูแลอย่างให้มีวัชพืชแย่งอาหารต้นสาคู โดยกำจัดวัชพืชเมื่อต้นสาคูอายุ ๓-๔ เดือน เมื่อต้นสาคูออกดอกต้องคอยเด็ดทิ้งทันที เพื่อให้อาหารไปเลี้ยงหัวให้โตขึ้นแทนที่จะไปเลี้ยงดอกและเมล็ด

การใส่ปุ๋ยสาคู
การปลูกสาคูในต่างประเทศ ใช้ปุ๋ยผสมเกรด ๘-๕-๑๔ ในอัตราประมาณ ๑๔๐ กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ ๓ เดือนครึ่ง คนไทยปลูกสาคูโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี อาจจะใส่ปุ๋ยคอกบ้างเล็กน้อย

โรคและแมลง
ต้นสาคู ไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนักแมลงที่อาจพบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ โรคที่พบมีโรคใบจุด ไม่ทำความเสียหายร้ายแรงนัก

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
สาคู มีอายุประมาณ ๑๐-๑๑ เดือน สังเกตได้โดยใบเริ่มเหี่ยวตาย จึงเก็บโดยขุดและเก็บด้วยมือ ตัดแยกหัวออกจากต้นและใบ ผลผลิตของหัวสาคูมีประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่ เมื่อขุดขึ้นจากดินแล้ว จะเก็บหัวไว้ได้ไม่นาน จะต้องใช้ภายใน ๒-๗ วัน

ประโยชน์ของสาคู
แป้งสาคู นับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธรรมชาติและมีความเหนียวสูงสุด การวิเคราะห์หัวสาคู ประเภท “เครโอล” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖๙.๑ เถ้าร้อยละ ๑.๔ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๑.๓ โปรตีนร้อยละ ๑.๐ แป้งร้อยละ ๒๑.๗ สำหรับหัวสาคูประเภท “แบนานา” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๗๒.๐ เถ้าร้อยละ ๑.๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๐.๖ โปรตีนร้อยละ ๒.๒ แป้งร้อยละ ๑๙.๔ แป้งสาคูประกอบด้วยเม็ดยาวรี ยาวประมาณ ๑๕-๗๐ ไมครอน พวก แบนานา มีเม็ดแป้งใหญ่กว่าพวกเครโอล เล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้หัวทำแป้ง ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก ส่งออกสู่ตลาดเป็นแป้งผล สีขาว เรียก “แป้งสาคู” นิยมใช้เป็นอาหารทารก และทำอาหารอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ขนมต่าง ๆ แพทย์ให้คนป่วยด้วยโรคลำไส้รับประทาน แป้งสาคู นอกจากนี้เราใช้แป้งสาคูทำ “ผงแบเรียม” (barium meals) และใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำแป้งผัดหน้า ทำกาวและทำ กระดาษ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ หัวสาคูใช้เป็นอาหาร โดยต้มหรือเผาเสียก่อน หัวสดนำมาโม่จะได้แป้งสาคูใช้ทำขนมได้ดี ใบและต้น สาคูใช้ในการบรรจุหีบห่อได้ กากที่เหลือจากการทำแป้งแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ย คนไทยต้มหรือนึ่งสาคูรับประทาน เป็นของ หวาน แต่ปริมาณสาคูที่ใช้เป็นของหวานมีไม่มากนัก

http://www.vegetweb.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B9/
www.vegetweb.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2010 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากต้นสาคู แปรรูปผลผลิตสู่ธุรกิจชุมชน
















ปาล์มสาคู หรือต้นสาคู เป็นพืชตระกูลปาล์มอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ สามารถแปรรูปได้หลายอย่าง สร้างรายได้สู่ชุมชน สืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน

รศ.นิพนธ์ ใจปลื้ม อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ บอกว่าได้ศึกษาฟื้นฟูป่าสาคูเพื่อธุรกิจชุมชนและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าสาคูมีประโยชน์ในหลายๆด้าน ปัจจุบันเกษตรกรจะใช้ต้นสาคูมาแปรรูปเป็นแป้งสาคู 1 ต้น จะได้แป้งประมาณ 100 กิโลกรัม ขายแป้งได้กิโลกรัมละ 40 บาท แป้งสาคูสามารถใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารหรือใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ขนมลอดช่อง คุกกี้ ขนมหน้า แตก ขนมจีน ฯลฯ...อีกทั้งรสชาติขนมที่ทำจากแป้งสาคูจะมีเนื้อเหนียวนุ่มไม่ติดฟัน และยังมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เนื่องจาก แป้งสาคูมีเส้นใยสูง และเป็น อาหารที่ปลอดจากสารเคมีอย่างแท้จริง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เมื่อนำแป้งสาคูไปแปรรูปเป็นอาหารดังกล่าวแล้วมีมูลค่า เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

และจากการสำรวจพบว่ามีป่าสาคู ประมาณ 1,500 ไร่ ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ยังคงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนชนบทในแต่ละวัน เพราะป่าสาคูเป็นแหล่งหากิน ที่อยู่อาศัย หลบซ่อน และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำเป็นอย่างดี

ต้นสาคู ถือว่ามีประโยชน์อีกมากมาย ต้องช่วยกันดูแลและอนุรักษ์ ไม่ให้หมดไป ทั้งยังให้เยาวชนได้เห็นถึงคุณค่าสร้างจิตสำนึกให้หวงแหน นำ มาประกอบอาชีพ สร้างรายได้เสริม เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านอีกด้วย


http://www.thaimuslim.com/overview.php?id=9338
www.thaimuslim.com/overview.php?id=9338 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©