-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ราดสารลำไยแล้วฝนตก....?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ราดสารลำไยแล้วฝนตก....?
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 23/08/2010 5:01 pm    ชื่อกระทู้: ราดสารลำไยแล้วฝนตก....? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หวัดดีครับ

วันนี้กำหนดการของผมคิอราดสารลำไย 200 ต้น วิธีการราด คือ เอาสารโปรแตสเซี่ยม + แม่ปุ๋ย ผสมน้ำใช้ฝักบัวราด ตามอัตราส่วนและวิธีการที่รู้มาจากบอร์ดลุงคิม

ดินที่สวนผมเป็นดินร่วนปนทราย จากที่เคยสังเกตุระบายน้ำได้ดี หน้าดินแห้งค่อนข้างเร็ว เช้าของวันนี้หน้าดินแห้งกำลังดี หลังจากที่ราดไปได้ราว 70 ต้น ฝนก็ตกลง
มาหนักพอสมควร ก็เลยต้องหยุดปฏิบัติการ

ผมกังวลว่าสารที่ราดไปจะละลายหรือเจือจางทำให้การราดครั้งนี้ล้มเหลว ผมคิดไม่ออกว่าจะเอายังไงต่อไปดี เช่นว่า ที่ราดไปแล้วจะแก้ไขยังไง ? ที่ยังไม่ได้ราดพรุ่งนี้จะราดต่อเลยดีไหม ? ใครมีข้อแนะนำดีๆ แนะนำผมบ้างไหมครับ ?

ถ้ามีช่วยแนะนำผมสักนิดเถอะครับจะขอบคุณอย่างสูง

แล้วก็ที่สำคัญกลัวว่า ไอ้เจ้าใบอ่อนจะแทงขึ้นมาด้วย โอ้พระเจ้า..ไม่รู้มาก่อนเลยนะว่าทำสวน ทำไร่ มันจะท้าทายอย่างนี้ ใครอย่าคิดนะครับว่าจะท้อ ไม่เลย ก้าวเข้ามาชมรมคนเหงื่อหยดแล้วนี่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/08/2010 7:23 pm    ชื่อกระทู้: Re: ราดสารลำไยแล้วฝนตกใส่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

catcaty บันทึก:
หวัดดีครับ

วันนี้กำหนดการของผมคิอราดสารลำไย 200 ต้น วิธีการราด คือ เอาสารโปรแตสเซี่ยม + แม่ปุ๋ย ผสมน้ำใช้ฝักบัวราด ตามอัตราส่วนและวิธีการที่รู้มาจากบอร์ดลุงคิม

ดินที่สวนผมเป็นดินร่วนปนทราย จากที่เคยสังเกตุระบายน้ำได้ดี หน้าดินแห้งค่อนข้างเร็ว เช้าของวันนี้หน้าดินแห้งกำลังดี หลังจากที่ราดไปได้ราว 70 ต้น ฝนก็ตกลงมาหนักพอสมควร ก็เลยต้องหยุดปฏิบัติการ

ผมกังวลว่า สารที่ราดไปจะละลายหรือเจือจางทำให้การราดครั้งนี้ล้มเหลว ผมคิดไม่ออกว่าจะเอายังไงต่อไปดี เช่นว่า ที่ราดไปแล้วจะแก้ไขยังไง ? ที่ยังไม่ได้ราดพรุ่งนี้จะราดต่อเลยดีไหม ? ใครมีข้อแนะนำดีๆ แนะนำผมบ้างไหมครับ ? ถ้ามีช่วยแนะนำผมสักนิดเถอะครับจะขอบคุณอย่างสูง

แล้วก็ที่สำคัญกลัวว่าไอ้เจ้าใบอ่อนจะแทงขึ้นมาด้วย โอ้พระเจ้า..ไม่รู้มาก่อนเลยนะว่าทำสวน ทำไร่ มันจะท้าทายอย่างนี้ ใครอย่าคิดนะครับว่าจะท้อ ไม่เลย ก้าวเข้ามาชมรมคนเหงื่อหยดแล้วนี่



ตอบ :
1... คุณบอกว่า "อัตราส่วนและวิธีการจากบอร์ดลุงคิม" แสดงว่าคุณเข้าไปอ่าน แต่สงสัยทำไมคุณอ่านน้อยจัง เพราะยังมีรายละเอียดที่เป็นคำตอบสำหรับคำถามที่คุณถามมาตั้งหลายเรื่อง

2... โปแตสเซียม คลอเรต + แม่ปุ๋ย.... กรณีแม่ปุ๋ย คือปุ๋ยสูตรไหน ? คุณเอาข้อมูลนี้มาจากไหน แล้วคุณทำยังไงน่ะ ในบอร์ดลุงคิมที่คุณอ้างก็ไม่เห็นมี

3... ข้อมูลในบอร์ดบอกว่า ราดสารแล้วต้องให้น้ำโชกๆ 2-3 วันติดต่อกัน เพื่อให้สารซึมลงไปหารากเร็วๆ และเพื่อให้รากดูดซับไปได้มากๆ ไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมคุณจึงสงสัยอีกล่ะว่า ราดสารแล้วฝนตกจะมีปัญหาไหม....ธรรมชาติของรากพืชดูดซับสารอาหารแบบ "แห้งๆ" หรือแบบ "เปียกๆ"

4... ถ้าสารนั้นมันซึมลงไปอยู่ในเนื้อดินบริเวณทรงพุ่มแล้วย มันก็ต้องอยู่ที่นั่น อยู่กับรากลำไยซี่คุณ แต่ถ้าน้ำไหลบ่ารุนแรงยังกับน้ำป่าทะลักก็ว่ากันไปอีกเรื่อง....ว่าแต่ว่า คุณใช้โปแตสเซียม คลอเรต.ชนิดผง/เม็ดหว่านลงพื้นแล้วรดน้าตาม หรือใช้ชนิดผงที่ต้องละลายน้ำก่อนแล้วค่อยราดลงพื้นล่ะ

5... ราดสารฯ แล้วฝนตก กลัวว่าจะแตกใบอ่อน ..... เอ้ แล้วที่เขาราดสารฯ กันราดเสร็จให้น้ำโชกๆ 2-3 วันติดต่อกัน แล้วนี่มันไม่ใช่น้ำเหรอ หรือว่าน้ำที่คนรด กับน้ำฝนที่ตกลงมา เป็นน้ำคนละอย่างกัน

6... ทำไปเถอะ ไหนๆก็ไหนๆ ราดสารฯ ลงไปแล้วนี่ ประเด็นราดสารฯแล้วฝนตก ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ลำไยออกดอกหรือไม่ออกหรอก สาเหตุหลักจริงๆ อยู่ที่ "ความสมบูรณ์สะสม" (เน้นย้ำ...สะสม) ของต้นต่างหาก เท่าที่ติดตามดูข่าวลำไยคุณมา (ในเว้บนี้) แล้ว รู้สึกว่า "ความสมบูรณ์ต้น" จะยังไม่พร้อมนะ หรือว่าต้นพร้อมแล้วแต่คุณไม่ได้แจ้งให้รู้ .... งานนี้ สำเร็จ-ล้มเหลว 50-50


ลุงคิมครับผม
ปล.
- ในโลกนี้ไม่มี หนังสือ/เอกสาร/ตำรา เพียงเล่มเดียวสามารถให้ข้อมูลทุกชนิดได้ละเอียด 100% หรอกนะ
- วิชาการ ต้องคู่กับ ประสบการณ์ จึงจะสมบูรณ์แบบ
- ถามหน่อย..... คุณเคยเห็นของจริง ที่คนอื่นเขาทำมาบ้างไหม ?


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/08/2010 9:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/08/2010 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หมายเหตุ (1) :

* การใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. บังคับลำไยให้ออกนอกฤดูนั้น ในลำไยสีชมพูได้ผลดีกว่าอีดอ...........ใช้กับต้นที่ใบแก่อายุ 30-45 วันได้ผลดีกว่าต้นที่อายุใบน้อย..........ใช้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนได้ผลดีกว่าใช้ในฤดูฝน..........ราดทางดินได้ผลดีกว่าฉีดพ่นทางใบ........และอัตราใช้ 4 กรัม/ตร.ม.ได้ผลดีกว่าใช้ 8-16 กรัม/ตร.ม.

* มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ลำไยที่ถูกบังคับให้ออกดอกทำไมจึงมักมีผลเล็กหรือคุณภาพไม่ดีเท่าทีควร นั่นเป็นเพราะว่าสารโปแตสเซียม คลอเรต. บังคับลำไยโดยการทำลายระบบราก ระหว่างที่ดอกเริ่มออกและผลเริ่มติดนั้นระบบรากยังไม่ฟื้นตัว ต้นจึงไม่มีรากหรือมีน้อยมากสำหรับดูดสารอาหารจากดินไปหล่อเลี้ยงต้น กอร์ปกับชาวสวนลำไยไม่เข้าใจและไม่ได้ให้สารอาหารทางใบ สรุปก็คือ เหตุที่ลำไยราดสารมีผลเล็กและคุณภาพไม่ดีเพราะต้นได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอนั่นเอง

* โปแตสเซียม คลอเรต. ไม่ใช่สารอาหารที่ทำให้ลำไยออกดอกโดยตรง แต่เป็นสารที่ไปยับยั้งหรือปรับเปลี่ยนอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ภายในต้นอย่างรุนแรง จนกระทั่งต้นเกิดสภาวะเครียดสูงสุดจึงแทงตาดอกออกมาทั้งๆที่ยังไม้พร้อม ถือว่าเป็นการบังคับแบบทรมาน เมื่อต้นไม่พร้อม (ความสมบูรณ์) ดอกและผลออกมาจึงด้อยคุณภาพ บางครั้งถึงกับต้นตายไปเลย..........ในทางตรงกันข้าม หากปรับเปลี่ยนวิธีการบังคับแบบ “ทรมาน” มาเป็นบังคับแบบ “บำรุง” โดยสร้างและสะสมอาหารเพื่อการออกดอกติดผลไว้ภายในต้นให้มากี่สุดเท่าที่จะมากได้ จากสถานการณ์ที่เลวร้ายต่อต้นลำไยก็จะกลับกลายเป็นดีและดีตลอดไปอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

* ช่วงก่อนออกดอกถ้าลำไยได้รับความชื้นสัมพัทธ์ 70 เปอร์เซ็นต์จากหมอกหรือน้ำค้างจะช่วยส่งเสริมการออกดอกดี ถ้าไม่มีหมอกหรือน้ำค้างให้ฉีดพ่นละอองน้ำเหนือทรงพุ่มรอบแรกช่วงเวลาก่อน 10 โมงเช้าและรอบ 2 หลัง 5-6 โมงเย็น ติดต่อกัน 7 วันแทนก็ได้

* ลำไยที่ผ่านการบำรุงแบบสะสมสารอาหารครบสูตร ต้นมีความสมบูรณ์สูง ต่อเนื่องมาอย่างน้อย 2-3 รุ่นการผลิต เมื่อต้นใดออกดอกเป็นลำไยปี (ในฤดู) แล้วต้องการให้ออกดอกชุดใหม่เป็นลำไยนอกฤดู สามารถทำได้ โดยเด็ดดอกปีทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆ จากนั้นบำรุงด้วยสูตร “เปิดตาดอก” ตามปกติเหมือนเมื่อครั้งเปิดตาดอกลำไยปี อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง จากสภาพต้นที่ได้สะสมอาอาหารกลุ่มสะสมตาดอกไว้ก่อนแล้วนั้นกับถ้าสภาพอากาศเหมาะสมจะส่งผลให้ลำไยต้นนั้นออกดอกชุดใหม่ใน 2-2 เดือนครึ่ง


สรุปผลงานค้นคว้าวิจัย :
1. อัตราใช้ 10, 20 และ 40 กรัม/พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. หลังราดสาร 20-30 วัน ลำไยทุกต้นออกดอกได้ไม่แตกต่างกัน ส่วนต้นที่ไม่ได้ราดสารจะไม่ออก

2. ใช้กับลำไยที่ผ่านการเตรียมต้นจนมีความสมบูรณ์สูงออกดอกได้ดี เร็วและจำนวนมากกว่าต้นที่มีความสมบูรณ์น้อย นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงช่วงติดเป็นผลแล้ว ต้นที่สมบูรณ์กว่าให้ผลผลิตคุณภาพดีกว่าอีกด้วย

3. การใช้สารฯ โดยราดโคนต้น หรือฉีดพ่นทางใบให้ประสิทธิภาพไม่ต่างกัน แต่การฉีดเข้าลำต้นโดยตรงไม่ได้ผล

4. ใช้สารช่วง ต.ค. – ปลาย พ.ย. ได้ผลดีกว่าช่วงเวลาอื่นๆ

5. ใช้กับพันธุ์อีดอ. สีชมพู. และใบดำ. ได้ผลดีแต่พันธุ์แห้ว. ซึ่งได้ผลเช่นกันแต่ออกดอกช้า


วิธีใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. หรือ โซเดีย, คลอเรต. บังคับลำไยให้ออกนอกฤดู :
1. เลือกต้นหรือเตรียมต้นที่มีความสมบูรณ์สูง อายุต้นไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้วได้รับการฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที ได้แก่ ตัดแต่งกิ่ง. เรียกใบอ่อน 2-3 ชุด. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. ไม่เคยได้รับสารโซเดียม คลอเรต. และโปแตสเซียม คลอเรต. มาก่อนอย่างน้อย 2-3 ปี และปีที่ไม่ได้รับสารฯ ก็ยังให้ผลผลิตดีตามปกติ

2. เปิดหน้าดินโคนต้น และต้องไม่มีต้นวัชพืชขึ้นบริเวณโคนต้นรอบๆทรงพุ่ม

3. รดน้ำโคนต้นทั่วบริเวณทรงพุ่ม 1-3 วันติดต่อกันให้ดินชุ่มก่อนลงมือราดสาร

4. อัตราใช้และวิธีใช้
- ใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. พื้นที่ดินทรายหรือดินร่วนปนทราย.......อายุต้น 5-7 ปี ใช้ 100 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล........อายุต้น 7-10 ปี ใช้ 200 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล........อายุต้น 10 ปีขึ้นไป ใช้ 200 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล........พื้นที่ดินเหนียว เพิ่มอัตราใช้ 50 กรัมของอัตราใช้ในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย
- ใช้สารโซเดียม คลอเรต. ชนิด 95 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 30 กรัม/น้ำ 80 ล./พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม.

5. ขุดร่อง 15-20 ซม. ล้อมรอบชายพุ่มสำหรับพื้นที่ลาดเอียง กรณีพื้นที่ทรงพุ่มราบธรรมดาไม่จำเป็นต้องขุดร่องแต่ให้ราดสารฯ ลงบนพื้นโดยตรงเลยก็ได้.....ราดสารฯ ในร่องหรือลงพื้นให้เป็นวงรอบทรงพุ่ม พื้นที่วงกว้าง 50 ซม.

6. ผสมสารฯ (อย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ) ลงในน้ำ (พีเอช 7.0) คนเคล้าให้เข้ากันดีและคนบ่อยๆเพื่อป้องกันนอนก้น ราดน้ำผสมสารลงในร่องที่เตรียมไว้หรือราดลงพื้นที่ชายพุ่มซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ของปลายรากฝอย ซึ่งรากฝอยจะดูดซึมสารเข้าสู่ลำต้นได้รวดเร็ว

7. หลังจากราดสารฯ ต้องให้น้ำโชกสม่ำเสมอติดต่อต่อกัน 10-15 วัน ช่วงนี้ควรปฏิบัติต่อต้นลำไยทางรากโดยให้ฮอร์โมนบำรุงราก + จุลินทรีย์ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้นน้าดิน พร้อมกับให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

8. หลังจากราดสารฯ แล้ว ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะเริ่มออกดอกใน 15-20 วัน ส่วนต้นที่มีความสมบูรณ์น้อยจะออกดอกใน 20-30 วันหรือไม่ออกเลย

หมายเหตุ (2) :
- โซแตสเซียม คลอเรต. เป็นสารไวไฟ แก้ด้วยการผสมบอแรกซ์.
- ก่อนตัดสินใจเลือกใช้สารตัวใดตัวหนึ่ง (โซเดียม คลอเรต. หรือ โปแตสเซียม คลอเรต.) ควรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์หรือความเข้มข้นของเนื้อสารให้แน่นอนก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อความแน่นอนของประสิทธิภาพนั่นเอง
- การราดสารเป็นบังคับต้นแบบทรมานชนิดเฉียบพลัน กล่าวคือ สารทั้งสองชนิดนี้ไปทำลายระบบรากทำให้ส่งสารอาหารจากพื้นดินไปเลี้ยงต้นไม่ได้ จึงทำให้ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงอยู่ก่อนแล้วออกดอก แต่ต้นที่ไม่สมบูรณ์นอกจากไม่ออกดอกแล้วต้นยังโทรมจนกระทั่งตายไปเลย.......เมื่อมีดอกออกมาและพัฒนาเป็นผลได้แล้วแต่ต้นไม่มีรากหรือระบบรากยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ก็จะไม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงดอกและผลเช่นกัน นั่นคือ ดอกจะไม่สมบูรณ์ผสมไม่ติด หรือผสมติดเป็นผลได้ ผลนั้นก็ไม่มีคุณภาพ
- การบังคับลำไยด้วยวิธีราดสารฯ ให้ประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตคุณภาพสูง (เกรด เอ.-จัมโบ้) ปริมาณมาก และต้นไม่โทรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมของต้นให้สมบูรณ์อย่างแท้จริง ตั้งแต่ก่อนราดสารฯ จนกระทั่งการปฏิบัติบำรุงระยะต่างๆ จนถึงเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตรงตามความการที่แท้จริงของลำไยและสม่ำเสมอ


รู้ใช้อย่างปลอดภัย
งานวิจัย "การพัฒนาการเร่งดอกลำไยที่มีโพแทสเซียมคลอเรตเป็นองค์ประกอบหลักในรูปแบบที่ปลอดภัยและสะดวกในการใช้ของชาวสวนลำไย" โดยดร.สมคิด พรหมมา ศูนย์วิจัยบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนจาก สกว.เป็นการพัฒนาสูตรผสมที่มีโพแทสเซียมคลอเรตเป็นองค์ประกอบโดยไม่มีคุณสมบัติในการเป็นวัตถุระเบิดหรือติดไฟด้วยการผสมสารถ่วงชนิดต่างๆเพื่อให้สารผสมโพแทสเซียม คลอเรต ที่ได้หมดสภาพหรือความสามารถในการระเบิด โดยใช้วิธีทดสอบการระเบิดที่เป็นมาตรฐาน ตลอดจนไม่สามารถแยกบริสุทธิ์สารนี้ได้อีกโดยวิธีกล

การประกอบสูตรสารผสมโพแทสเซียม คลอเรต ชนิดปลอดภัยจากการระเบิดนี้สามารถทำได้ใน 4 ลักษณะ คือ ชนิดผง. ชนิดเม็ด. ชนิดละลายน้ำ. และชนิดละลายน้ำรวมแร่ธาตุอาหาร. และทดสอบการระเบิดของสูตรทั้ง 4 เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อทราบถึงส่วนผสมต่าง ๆ แล้ว ได้ทำการศึกษาถึงกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย เช่น วิธีการเตรียมโพแทสเซียม คลอเรต ชนิดของเครื่องผสม การผลิตสารผสมขั้นต้น เพื่อนำไปแปรรูปเป็นสูตรต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยที่สุดในรูปแบบต่าง ๆ คือ แบบผงไม่ละลายน้ำ. แบบผงละลายน้ำ. แบบผงละลายน้ำผสมแร่ธาตุ. และแบบเป็นเม็ดสำหรับหว่าน.

"เมื่อพัฒนาสูตรสำเร็จแล้ว ได้มีการทดลองใช้ในสวนของเกษตรกร 3 ราย จำนวน 125 ต้น และได้ผลดี โดยวัดจากการออกช่อ การติดผล และคุณภาพผลเมื่อเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงทดลองซ้ำกับเกษตรกรอีก 9 ราย จำนวน 290 ต้นและวัดผลในเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์และออกแบบสอบถามทัศนคติกับเกษตรกรผู้ใช้ และวัดในเชิงปริมาณ โดยวัดการออกดอก ความยาวช่อ และการติดผลพบว่า เกษตรกรมีความพอใจ และต้องการใช้ต่อไป โดยมีเกษตรกรในละแวกใกล้เคียงให้ความสนใจและต้องการซื้อเป็นจำนวนมาก แต่ต้องการให้มีหน่วยงานควบคุมคุณภาพ และมีราคาไม่แพงกว่าโพแทสเซียม คลอเรตบริสุทธิ์ ที่มีราคาประมาณกิโลกรัมละ 100 บาท โดยเกษตรกรมีความพอใจสารผสมรูปแบบผงละลายน้ำมากที่สุด รองลงมา คือ รูปแบบเม็ด เพราะสะดวกในการใช้ โดยละลายในน้ำและรดเพียงรอบเดียว ซึ่งถ้าเป็นแบบหว่านต้องมีการรดน้ำจนกว่าเม็ดจะละลายหมด นอกจากนั้น การใช้ในรูปแบบละลายน้ำยังพบว่าทำให้ออกดอกมากกว่า ช่อดอกยาวกว่า และติดผลมากกว่า"

ดร.สมคิด กล่าวว่า เกษตรกรในแถบ อ.สันป่าตอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ทา อ.เมือง จ.ลำพูน ที่ได้ทดลองนำสารเร่งดอกลำไยชนิดที่ปลอดภัยไปใช้ต่อเนื่องและได้ผลดี จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 5 เป็นตัวอย่างให้เกษตรกรใกล้เคียงได้เรียนรู้ ทำให้มีความต้องการสารที่ปลอดภัยมากขึ้นในวงกว้าง และเรียกร้องให้มีการผลิตเชิงพาณิชย์โดยเร็วที่สุด และติดต่อให้ผู้วิจัยผลิตสารผสมเพื่อใช้ในระยะที่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ออกจำหน่าย

ผลการวิจัยนี้ได้ถูกนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและควบคุม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการยุติให้เกษตรกรครอบครองสารบริสุทธิของโพแทสเซียม คลอเรต และส่งเสริมให้เอกชนมากกว่า 1 ราย ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตสารผสมดังกล่าว ในรูปแบบคล้ายปุ๋ย เพื่อดำเนินการผลิตภายใต้การควบคุมของกระทรวงกลาโหม และยกเลิกการควบคุมลักษณะยุทธ์ปัจจัย สำหรับสารผสมที่ปลอดภัย โดยมีการควบคุมคุณภาพให้อยู่ในมาตรฐานโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำไปสู่การจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในรูปแบบที่ปลอดภัยจากการระเบิด




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2011 9:12 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 23/08/2010 9:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่มีความรู้เรื่องลำไยเลยครับ แต่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ชาวชมรมเหงื่อหยดครับ

เรื่องสารที่คุณราดผมคิดว่าเจือจางแน่นอนครับเพราะคุณราดแล้วฝนตกทันที เพราะการกินอาหารของพืชทางรากจะมีเรื่องของการแลกเปลี่ยนประจุ(ไอออน)มาเกี่ยวข้องด้วย ขณะที่ฝนตกแล้วดินมีน้ำอยู่ในอนุภาคดินมากๆ จะทำให้การแลกเปลี่ยนประจุเป็นไปได้น้อย แล้วอย่างนี้ต้องราดใหม่หรือทำอย่างไรก็ลองดูนะ ช่วยอะไรไม่ได้จริงๆ

ปีนี้ฝนมาแบบต่อเนื่องเหลือเกิน การทำสวนทำไร่ก็ค่อนข้างลำบาก อย่างวันนี้กำลังจะไปใส่ปุ๋ยสักหน่อย พอถึงสวนเท่านั้นแหละฝนเทเลยตั้งแต่บ่ายถึงเย็น ยังดีที่ยังไม่ได้ใส่ ไม่อย่างนั้นคงไปกับน้ำหมดแล้ว

เป็นกำลังใจให้นะครับ
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/08/2010 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลกระทบของสารคลอเรตที่ให้ทางดินต่อระบบราก ลำต้นและกิ่งใบลำไยEffect of Soil Treated Chlorate salt on root system, stem and leaves of Longan.

ผู้ดำเนิน วีระ วรปิติรังสี
พะเนิน ฉลูรัตน์
ศศิธร วรปิติรังสี
มนตรี ทศานนท์

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน
--------------------------------

บทคัดย่อ

ศึกษาถึงผลกระทบของการให้สารคลอเรตทางดินต่อต้นลำไยพันธุ์ดออายุ 17 ปี ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ระหว่างกันยายน 2543 – ตุลาคม 2544 โดยการให้สารคลอเรตทางดิน 2 อัตรา คือ อัตราสูง (105กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร) และอัตราต่ำ (45 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร) แก่ต้นลำไยที่มีสภาพต้น 3 ระยะ คือ ลำไยที่ระยะแทงยอดอ่อน 5-7 ซม. แล้วเด็ดยอดทิ้งก่อนราดสาร ลำไยที่ระยะแทงยอดอ่อน 5-7 ซม. และลำไยที่ระยะมีใบเพสลาดแก่เต็มที่ ผลการทดลองพบว่า การให้สารคลอเรตทางดินทั้งอัตราสูงและต่ำแก่ลำไยทั้ง 3 ระยะ ไม่ทำให้ลำไยมีลักษณะใบ กิ่ง และยอดผิดปกติใดๆ แต่สำหรับระบบราก พบว่าสารคลอเรตทั้งอัตราต่ำและสูง จะทำให้รากลำไยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 มม. เน่าตายใน 2 สัปดาห์หลังราดสาร ในทุกระยะสภาพต้นลำไย จากนั้นลำไยจะเริ่มมีการแตกรากใหม่ออกมาภายใน 4 สัปดาห์หลังราดสาร สำหรับการออกดอกพบว่า การให้สารคลอเรตแก่ลำไยทั้ง 3 ระยะ จะทำให้ลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกใกล้เคียงกัน แต่การให้สารคลอเรตระยะใบแก่เพสลาดเต็มที่จะทำให้ลำไย มีระยะเวลาการพัฒนาของช่อดอกและผลลำไยเร็วกว่าการให้สารคลอเรตระยะลำไยแทงยอดอ่อน ขณะที่การเด็ดและไม่เด็ดยอดอ่อนทิ้งก่อนราดสารคลอเรต ลำไยมีการออกดอกและการพัฒนาช่อดอกใกล้เคียงกัน ในส่วนของผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตของลำไยที่ให้สารคลอเรตทั้ง 3 ระยะ พบว่าไม่แตกต่างกัน


doachiangrai.com/V7.kolrat.htm - แคช -




ราดสารลำไย

ปุ๋ยที่ดีที่สุด คือ ปุ๋ยตราเงา เดือนมิถุนายนใกล้จะมาถึงแล้ว ชาวสวนลำไยทุกคนคงเตรียมพร้อมที่จะราดสารลำไยกันแล้ว หลังจากที่มีการเตรียมต้นลำไยกันมาหลายเดือน หมดเงินกันไปกับค่าปุ๋ยและฮอร์โมนต่างๆ ก็หลายหมื่น เพียงเพื่อหวังให้ต้นลำไยสมบูรณ์และออกดอกเต็มที่กับเม็ดเงินที่ลงทุนไป หลายคนหลายสูตรในการบำรุงต้นลำไย ซึ่งในที่นี้อาจมีในวารสารเกษตร หรือฟังเขาเล่าต่อกันมา (เอาเขาว่า) ก็แล้วแต่ครับ เพราะหลายคนก็หลายความคิด คนที่ได้รับผลประโยชน์เต็มๆ คือร้านขายอุปกรณ์ทางการเกษตรครับ

ซึ่งผมอยากจะให้เกษตรกรทุกท่านคิด หากเราลงทุนไปมากแต่ผลที่ได้ไม่คุ้มทุน ท่านต้องรอเวลาเป็นปี เพื่อที่จะราดสาร ดังนั้น ผมคิดว่าอย่าฟังคนอื่นมากเกินไป ไม่ใช่ว่าเขาบอกว่าปุ๋ยนั้นดี ก็เอามาใช้ มันจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับการผลิตมากกว่า หากต้นลำไยสมบูรณ์ ไม่ย่นเวลาราดสารจากปีที่ผ่านมา สารที่ราดมีความเข้มข้น 100% ราดยังไงมันก็ออกครับ ไม่ต้องซื้อฮอร์โมนที่เขาโฆษณามาฉีดพ่นหรอกครับ มันสิ้นเปลือง ให้ท่านเกษตรกรใช้สารที่ราดทางดิน นำมาพ่นทางใบผสมกับสารเอททีฟอน (ช่วยปลิดใบอ่อน) ในอัตราที่เกษตรกรเข้าใจ ไม่ต้องทางวิชาการเกินไป คือ สารประมาณ 3 ขีด ผสมสารเอททีฟอน 100 ซีซี./น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3-7-14 วันตามลำดับ ประมาณ 25-30 ลำไยก็จะแทงช่อดอกออกมา หลังจากนั้นก็สุดแล้วแต่ท่านเกษตรกรจะบำรุงช่อดอกของลำไยต่อไป

ซึ่งความคิดนี้ผมได้ทดลองใช้แล้ว ผลที่ออกมาปรากฏว่าคุ้มครับ ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าฮอร์โมนเปิดตาดอกหลังราดสาร หากเกษตรกรท่านใดสนใจ อยากจะทดลองใช้ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ หากมันจะเป็นผลดีต่อท่านและครอบครัว และหากสนใจหรือมีปัญหาประการใดติดต่อผมได้ครับ หากไม่เหนือบ่ากว่าแรงผมเกินไป ผมยินดีครับ เพื่อปากท้องพี่น้องเกษตรชาวสวนลำไยไทย

"ปุ๋ยที่ดีที่สุดของการทำเกษตร คือ ปุ๋ยตราเงา" (ตราเงาที่ว่านี้คือ เงาเจ้าของสวนนะครับ) ไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหนครับ ทุกคนมีเหมือนกันครับปุ๋ยชนิดนี้ พืชทุกชนิดต้องการการดูแลเอาใจใส่ หากเจ้าของดูแลพืชที่ปลูกอย่างดี ผลผลิตที่ได้ก็จะออกมาดีสมที่ตั้งใจครับ


gotoknow.org/blog/maejo69/362284 - แคช



สวนลำไยติดผลดกที่สุดด้วยน้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์

สวัสดีค่ะคุณผู้ฟังที่รักทุกท่าน พบกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรจากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กันอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้ดิฉันดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ ขอเสนอเรื่อง สวนลำไยติดผลดกที่สุดด้วยน้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์ ค่ะ

ในที่สุดเทคโนโลยีการบังคับให้ต้นลำไยออกดอกติดผลนอกฤดูก็ไม่เป็นความลับอีกต่อไปแล้วนะคะ สารที่มีบทบาทและเป็นตัวบังคับให้ต้นลำไยออกดอกติดผลนอกฤดูก็คือ โพแทคเซียมคลอเรท ซึ่งโดยปกติแล้วประโยชน์ของสารชนิดนี้จะใช้ทำระเบิด ดอกไม้เพลิง ดอกไม้แห้ง ไม้ขีดไฟ สี และสีย้อม ต่าง ๆเป็นต้น แต่เป็นความบังเอิญ ที่ว่าเมื่อนำมาราดให้กับต้นลำไยแล้ว มีผลให้ต้นลำไยออกดอกภายใน 20-35 วัน นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของการผลิตลำไยในประเทศไทย มีนักวิชาการเกษตรหลายคนมีความเชื่อว่าการผลิตลำไยในอนาคตไม่จำเป็นต้องพึ่งอากาศหนาวเย็นอีกต่อไป แต่สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่ก็คือ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตรและกรมาส่งเสริมการเกษตร จะต้องเฝ้าติดตามถึงผลข้างเคียงของสาราชนิดนี้อย่างใกล้ชิด เพราะทราบมาว่าต้นลำไยที่จะใช้ โพแทสเซียมคลอเรท ราดนั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆประกอบอีกมากมาย ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2542 ที่ผ่านมาต้นลำไยที่มีอายุมากมีการติดดอกออกผลมากและดกทุกต้นโดยไม่ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรท แต่เป็นการใช้น้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์ ซึ่งนับเป็นอีกแนวทางหนึ่งของเทคโนโลยีในการทำให้ต้นลำไยออกดอกและติดผลดีได้ค่ะ

ต้นลำไยอายุ 20 ปี ติดผลดกที่สุดตั้งแต่ปลูกลำไยมา น้ำหนักผลในแต่ละช่อไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัมเป็นสวนลำไยของ คุณสุรชัย กิตติกรวัฒนา หมู่ 2 บ้านหนองสมณะ ต.นครเจดีย์ อ.ป่างชาง จ.ลำพูน ปลูกลำไยพันธุ์อีดอ เบี้ยวเขียว และสีชมพู่ แต่มีพันธุ์อีดอมากที่สุด ปัจจุบัน ต้นที่มีอายุ 20 ปี มีจำนวน 104 ต้น อายุ 7 ปี จำนวน 30 ต้น เมื่อฤดูกาลผลิตลำไยในปี พ.ศ. 2540-41 หรือ 2 ปีที่ผ่านมาลำไยสวนนี้ออกดอกติดผลน้อยมากเหมือนกับสวนอื่นๆ จึงได้ปรึกษากับ คุณสำรวล ดอกไม้หอม หัวหน้ากลุ่มงานสัตว์ศัตรูพืช การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร ถึงแนวทางการทำให้ต้นลำไยออกดอกติดผลโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์ที่มีชื่อว่า "ไบโอคิง" มาใช้กับต้นลำไย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 ทำการกวาดใบลำไยแห้งที่ใต้ทรงพุ่มของต้นออกให้หมดเพื่อลดการใช้ไนโตรเจนและเป็นการทรมานต้น หลังจากนั้นใช้"ไบโอคิง" ทั้งทางดินและฉีดพ่นทางใบอย่างต่อเนื่อง 1-2 เดือน เพื่อให้ต้นลำไยมีความสมบูรณ์และพร้อมที่จะออกดอก "ไบโอคิง" เป็นน้ำสกัดที่ผลิตมาจากเนื้อหอยเชอรี่(ที่เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญในขณะนี้)ซึ่งมีปริมาณโปรตีนสูงถึง 56% เมื่อนำมาผสมกับกากน้ำตาลและเติมจุลินทรีย์ในธรรมชาติเป็นตัวย่อยสลาย จนได้น้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์ที่มีกรดฮิวมิค สูงถึง 3-4 % และเป็นกรดฮิวมิคที่ได้จากธรรมชาติอย่างแท้จริง นอกจากนั้นใน "ไบโอคิง" ยังมีกรดอิมิโน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช คุณสำรวลบอกว่าน้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตได้มีมากมายหลายสูตร ตัวอย่างในระยะเร่งการออกดอกของต้นลำไยจะใช้ "ไบโอคิง" ฉีดพ่นให้กับลำต้นในอัตรา 30-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน ค่ะ

ผลจากการใช้น้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์ดังกล่าว ต้นลำไยทุกต้นในสวนของคุณสุรชัย ติดผลดกมาก โดยเฉพาะต้นลำไยที่มีอายุ 20 ปี คาดว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2542 จะให้ผลผลิตถึงต้นละ 1,000 กิโลกรัม จากการเดินสำรวจต้นลำไยทั่วสวนพบว่าช่อลำไยที่ติดผลอ่อนอยู่นั้น มีขนาดก้านช่อใหญ่และยาวมากๆ ผลอ่อนยังเขียวอยู่แสดงว่ายังขยายผลได้อีกมาก ช่อที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ คาดว่าเมื่อผลลำไยแก่จะได้น้ำหนักผลพร้อมช่อไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัมต่อช่อ อย่างไรก็ตามในการทำให้ต้นลำไยออกดอกติดผลได้ทุกปี คุณสำรวลย้ำว่าความสมบูรณ์ของต้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด กล่าวคือ ในช่วงต้นลำไยพักตัวจะต้องมีอากาศหนาวเย็นตลอดวัน มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 7 วัน อย่างไรก็ตามถ้าปีใดที่อากาศมีความแปรปรวนเมื่อผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้วไม่ออกดอก เมื่อมีการเตรียมต้นมาอย่างดี เกษตรกรเจ้าของสวนลำไยควรจะราดโพแทสเซียมคลอเรทให้กับต้นลำไยด้วยการใช้น้ำสกัดชีวภาพ "ไบโอคิง" นะคะ มีสวนลำไยของคุณเจริญ ชัยชมพู ที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรทไปแล้ว และเสริมด้วย "ไบโดคิง" เป็นสวนตัวอย่างที่พบว่าต้นลำไยติดผลดกมากอีกสวนหนึ่งเช่นกันค่ะ
คุณผู้ฟังที่รักค่ะ หากคุณผู้ฟังต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม เข้ามาแก่ทางรายการนะคะ ก็สามารถเขียนจดหมายติดต่อเข้ามาได้ค่ะ โดยส่งมาที่ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร.(074)-211030-49 ต่อ 2370 หรือที่สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร.(074)-211030-79 ต่อ 2999 ในวันและเวลาราชการค่ะ

สำหรับวันเวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรได้หมดลงอีกแล้วละคะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ณ สถานีวิทยุมอ.FM 88 MHz ทุกวันจันทร์เวลาประมาณสิบห้านาฬิกาสี่สิบห้านาที สำหรับวันนี้ดิฉันขอลาคุณผู้ฟังไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ

natres.psu.ac.th/radio/radio_article/...43/42-430012.htm -


คำแนะนำสำหรับการใช้สารกลุ่มคลอเรต

เร่งการออกดอกลำไยอย่างปลอดภัย
(เฉพาะโซเดียมคลอเรตและโพแทสเซียมคลอเรต)
1. คุณสมบัติของสารกลุ่มคลอเรต
1.1 เมื่อผสมกับกรดกำมะถันจะเกิดอันตรายและสามารถระเบิดได้
1.2 สารบริสุทธิ์เป็นผลึกใสหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติไม่ติดไฟแต่จะช่วยให้สารอื่นเกิด การลุกไหม้ได้ดีขึ้น
1.3 เป็นส่วนผสมในการผลิตวัตถุระเบิด พลุ และไม้ขีดไฟ
1.4 ละลายได้ในน้ำและในสารละลายอื่น เช่น แอลกฮอล์อัลคาไลน์ (ด่าง) และกลีเซอรอล เป็นต้น
2. ข้อควรระวังในการใช้สารกลุ่มคลอเรต
2.1 เป็นวัตถุอันตรายชนิดวัตถุระเบิด อาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนสูง
2.2 อาจเป็นอันตรายต่อพืช ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
2.3 เก็บรักษาไว้ให้ห่างจากวัตถุไวไฟ ประกายไฟ และหลีกเลี่ยงการใช้ผสมกับสารอินทรีย์ทุกชนิด เช่น กำมะถัน ผงถ่านปุ๋ยยูเรีย น้ำตาลทราย สารกลุ่มซัลเฟตและเกลือแอมโมเนียเกือบทุกชนิด เช่น แอมโมเนียมคลอไรด์ และแอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพราะจะทำให้ง่ายต่อการติดไฟและอาจเกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นได้
2.4 ไม่ควร ทุบ บด กระแทกสาร หรือทำให้สารเกิดการเสียดสีโดยเด็ดขาด เพราะแรงเสียดทานจะทำให้สารเกิดระเบิดได้
2.5 ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา ทำลายเม็ดโลหิตแดง เป็นอันตรายต่อไตและกล้ามเนื้อหัวใจ จึงควรทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังการใช้สาร

ข้อควรคำนึงก่อนใช้สาร
1. ไม่ควรใช้สารในช่วงเวลาที่ลำไยมีใบอ่อน
2. ต้นลำไยที่จะใช้สารควรเป็นต้นที่สมบูรณ์เท่านั้น
3. ควรมีแหล่งน้ำในสวนลำไย
4. ควรใช้สารตามอัตราที่กำหนดในรูปของสารบริสุทธิ์ ห้ามผสม กับสารอื่นใด

3. วิธีการใช้สาร
3.1 วิธีการราดลงดิน
3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ
3.3 วิธีการฉีดเข้ากิ่ง


3.1 วิธีการราดลงดิน
1. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตควรดูแลรักษาต้นลำไย โดยการตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยและพ่นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยให้ต้นลำไยมีการแตกใบใหม่อย่างน้อย 1-2 ชุดขึ้นไป และช่วงเวลาให้สารควรอยู่ในระยะใบแก่หรืออย่างต่ำต้องอยู่ในระยะใบเพสลาดขึ้นไป
2. ก่อนการให้สารถ้าเป็นไปได้ให้งด หรือลดการให้น้ำลงเพื่อให้ต้นลำไยได้พักตัว และลดการดูดธาตุไนโตรเจนมากลำไยอาจแตกใบอ่อน หรืออาจแตกช่อเพียงพอที่ไม่ทำให้ต้นลำไยเหี่ยวเฉาเท่านั้น
3. ทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่ม โดยกำจัดวัชพืช และกวาดวัสดุคลุมดินออกไปจากโคนต้น ไม่จำเป็นต้องสับหรือพรวนดิน ถ้าดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ชุ่มก่อนราดสาร
4. อัตราการใช้สาร ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์หรือความเข้มข้นของเนื้อสาร ชนิดของดิน ขนาดของทรงพุ่มและระยะเวลา ควรใช้สารที่มีความเข้มข้นของเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95% โดยมีอัตราการใช้สารดังนี้
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 4-5 เมตร ใช้สาร 100-200 กรัมต่อต้น
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 5-7 เมตร ใช้สาร 200-400 กรัมต่อต้น
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย มากกว่า 7 เมตร ใช้สาร 500 กรัมต่อต้น
5. ใช้สารคลอเรตในอัตราที่กำหนดตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย ผสมกับน้ำ 80 ลิตร ใช้ไม้คนให้ทั่วจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน บรรจุสารละลายในภาชนะที่ปิดมิดชิดขณะนำไปราด
6. ราดสารละลายที่ผสมแล้วลงดินบริเวณชายพุ่มเป็นแนววงแหวนกว้างประมาณครึ่งเมตร เนื่องจากบริเวณชายพุ่มเป็นบริเวณที่ลำไยมีรากฝอยที่กำลังเจริญเติบโตจึงสามารถดูดซึมสารละลายคลอเรตเข้าสู่ลำต้นได้อย่างรวดเร็ว
7. ในช่วง 10 วันแรกหลังราดสาร ต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อให้ปริมาณสารละลายคลอเรตเคลื่อนที่เข้าสู่ระบบรากของลำไยได้ดีและเร็วขึ้น ลดการเกิดพิษภัยกับต้นลำไยและสารสะสมในดิน
8. หลังจากราดสารประมาณ 20-30 วัน ลำไยเริ่มออกดอก ควรให้น้ำแก่ลำไยให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ เพื่อให้การพัฒนาของดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรดูแลป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น
9. สวนลำไยที่จะราดสารต้องมีแหล่งน้ำ เพื่อให้น้ำแก่ต้นลำไยหลังราดสาร และตลอดฤดูกาลติดผลของลำไยโดยเฉพาะการบังคับลำไยออกดอกนอกฤดูในช่วงที่ลำไยติดผล จะต้องให้น้ำแก่ลำไยอย่างเพียงพอเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
10. ต้นลำไยที่บังคับให้ออกดอกโดยการราดสารคลอเรตในปีที่ 1 แล้วในปีต่อไป ควรเว้นเพื่อบำรุงต้นลำไยให้มีความสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ให้ต้นทรุดโทรม ดังนั้นควรแบ่งลำไยออกเป็น 2 แปลงและทำสลับปีเว้นปี
11. ควรใช้สารคลอเรตตามอัตรากำหนด หากใช้มากไปจะมีผลทำให้ต้นลำไยโทรมเร็วขึ้น

3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ (เฉพาะสารโพแทสเซียมคลอเรต)

การปฏิบัติในการพ่นสารทางใบ
1. ต้นลำไยต้องสมบูรณ์
2. การพ่นสารทางใบสามารถใช้ได้กับลำไยทุกพันธุ์
3. ควรพ่นสารในช่วงทีลำไยมีใบแก่เท่านั้น (ระยะ 4-8 สัปดาห์หลังจากแตกใบอ่อน) เพราะหากพ่นในระยะที่ลำไยมีใบอ่อนอาจออกดอกไม่ดี หรืออาจทำให้ช่อดอกสั้น
4. หลังจากพ่นสารพ่นแล้ว 25-30 วัน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก

วิธีการพ่นสาร
1. ผสมสารให้มีความเข้มข้นในอัตราส่วนผสมสาร 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยคนสารให้ละลายในน้ำให้หมดก่อนแล้วจึงเทใส่ถังพ่นยา
2. ควรพ่นในตอนเช้า หรือช่วงอากาศไม่ร้อยแต่ถ้ามีฝนตกในระยะ 1-2 วันหลังจากพ่นแล้วควรพ่นสารซ้ำอีกครั้ง

ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำ เพราะหากใช้ในอัตราสูงอาจทำให้ลำไยใบไหม้และใบร่วงได้
2. การพ่นควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุดเพราะจะเป็นจุดที่มีการออกดอก
3. ให้คำนึงเสมอว่าสารที่ใช่พ่นเป็นอันตราย ต้องระมัดระวังและต้องทำความสะอาดชุดที่สวมใส่ทันทีหลังจากพ่นแล้ว

*ไม่ควรผสมสารใดๆ ในสารที่ใช้พ่น*

3.3 การฉีดเข้ากิ่ง
1. เลือกต้นลำไยที่มีใบแก่เต็มที่ เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 ซม.
2. ใช้สว่านเจาะกิ่งลึก 1-1.5 นิ้ว
3. นำปลอกพลาสติกที่นิยมใช้กับต้นทุเรียนตอกลงไปในรูให้แน่น
4. ละลายสารคลอเรต อัตรา 0.25 กรัมต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1 เซนติเมตร ละลายน้ำ 4 ซีซี.
5. จากนั้นใช้หลอดฉีดยาขนาด 60 ซีซี. ดูดสารละลานที่ผสมจนหมดและดูดอากาศเข้าไปอีกประมาณ 10 ซีซี. เพื่อเป็นตัวดันสารละลานอีกทางหนึ่ง แล้วฉีดเข้าไปในกิ่งโดยผ่านทางปลอกพลาสติก
6. อัดสารละลายเข้าไปโดยใช้ลวดแข็งหรือตะปูสอดบริเวณรูของหลอดและด้านฉีดที่เจาะไว้ให้ยึดติดกับกระบอกหลอดฉีดยาเพื่อป้องกันแรงอัดดีดตัวก้านฉีดออกมาจากนั้นรอจนสารละลายหมดดึงหลอดฉีดยาและปลอกออกเพื่อใช้งานต่อไป



การปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากใช้สาร
1. ต้องปฏิบัติและดูแลรักษาต้นลำไยตามคำแนะนำการผลิตลำไยอย่างถูกต้องและเหมาะสม (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร
2. ในช่วงการเจริญและพัฒนาของช่อดอกและผล ต้องมีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ มิฉะนั้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพและต้นโทรมได้
3. ถ้าลำไยติดผลมากเกินไป อาจต้องช่วยลดปริมาณผลลงโดยการตัดช่อผลออกให้เหลือ 60-70 ผลต่อช่อ
4. การให้ปุ๋ยทางดิน ระยะที่ผลลำไยขยายตัว ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม อัตราส่วน 3 : 1 : 2 หรือ 4 : 1 : 2 หรือใกล้เคียง และช่วงก่อนเก็บเกี่ยวควรให้ปุ๋ยอัตราส่วน 1 : 2 : 4 หรือ 1 : 2 : 5 หรือใกล้เคียง โดยใส่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนครึ่ง
5. ควรตรวจการระบาดของแมลง เช่น หนอนวักใยกินดอกลำไย และหนอนเจาะผลลำไยขณะที่ผลอ่อน

การเก็บรักษาสารกลุ่มคลอเรต
ต้องเป็นไปตามข้อแนะนำในข้อมูลความปลอดภัย
1. ต้องไม่ให้สัมผัสกับอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย ถ่าน
2. ต้องไม่ผสมกับสารกำมะถัน ผงถ่าน ขี้เลื่อย ปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย สารฆ่าแมลง อาหารสัตว์ น้ำมันเชื้อเพลิง ผ้า กระดาษ เศษไม้แห้ง เพราะเมื่อได้รับความร้อนอาจทำให้เกิดลุกไหม้หรือระเบิดได้
3. เก็บไว้ในที่เย็น และแห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี
4. เก็บให้พ้นจากมือเด็ก

เมื่อเกิดเพลิงไหม้
1. ต้องอพยพผู้คนให้ห่างออกไปอย่างน้อย 1,000 เมตรโดยรอบ
2. ให้ใช้น้ำเท่านั้นดับเพลิง

ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารกลุ่มคลอเรต
1. ภาชนะบรรจุสารต้องมีฝาปิดมิดชิด
2. เก็บไว้ในอาคารที่มีการถ่านเทอากาศที่ดีและต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไว้โดยรอบ เก็บให้ห่างจากอาหาร เครื่องดื่มและอาหารสัตว์ ห้ามว่างบนพื้นไม้และต้องจัดว่างสารไม่ให้สูงเกิน 3 เมตร
3. ควรใช้สารนี้ในรูปของเหลว โดยผสมกับน้ำ
4. สวมใส่ชุดป้องกันที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวนิล นีโอพรีน หรือ พีวีซี
5. สวมรองเท้าบู๊ตที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวนิล หรือนีโอพรีน
6. สวมแว่นตาชนิดที่กระชับลูกตา
7. สวมถุงมือยางและสวมหมวก
8. ห้ามสูบบุหรี่ขณะราดสารละลายกลุ่มคลอเรตและต้องระวังอย่าให้สาร
สัมผัสกับผิวหนังหรืออวัยวะต่างๆโดยตรง
9. หลังราดสารแล้วต้องทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
10. ระวังสัตว์เลี้ยงประเภทวัว ควาย อย่าให้มากินหญ้าบริเวณที่ใช้สาร เพราะอาจทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้
11. การใช้สารกลุ่มคลอเรตเพื่อทำให้ลำไยออกดอก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับสารพิษในกลุ่มคลอเรต
สารในกลุ่มคลอเรตเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายในระคายเคืองต่อผิวหนังและตา และหากสะสมในร่างกายในปริมาณมากอาจมีผลต่อไตและเม็ดเลือดแดงได้ ดังนั้น หากร่างกายได้รับสารดังกล่าวควรปฏิบัติดังนี้
1. หากสารสัมผัสผิวหนังหรือเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที
2. ถ้าสูดหายในเอาก๊าซพิษที่เกิดจากการสลายตัวของสารนี้เข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ออกซิเจน และนำส่งแพทย์ทันที
3. หากกลืนเข้าไปรีบทำให้อาเจียนทันทีและดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีอาการรุนแรงควรให้ออกซิเจนและนำส่งแพทย์
4. หากผู้ป่วยหมดสติ ห้ามปฐมพยาบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก

พิษของสารคลอเรตและการแก้พิษ
อาการพิษ
1. ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ซีด เนื่องจากโลหิตจาง ถ้าเป็นมากทำให้ไตวายได้ มีอาการปัสสาวะไม่ออกและมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอาจทำให้ชัก อาการที่เห็นเด่นชัดและสังเกตได้ง่ายที่สุดคืออาเจียนและตัวเขียว
2. หากได้รับสารคลอเรตเข้าร่างกายในปริมาณ 15-30 กรัม สำหรับผู้ใหญ่ และ 7 กรัม สำหรับเด็ก ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากสารนี้มาก่อน

การแก้พิษ
1. ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็ว โดยการล้วงคอหรือให้ยาช่วยอาเจียนหรือให้กลืนผงถ่านเข้าไปเพื่อช่วยดูดซับสารคลอเรตในกระเพาะ ลดการดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดและให้ดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีอาการรุนแรงควรให้ออกซิเจนและนำส่งแพทย์
2. ให้ดื่มสารละลาย ซึ่งประกอบด้วยโซเดียมไธโอซัลเฟต 2-3 กรัม ผสมกับ โซเดียมไบคาร์บอเนต ความเข้มข้น 5% จำนวน 200 ซีซี จะสามารถทำลายฤทธิ์ของคลอเรตได้ หรือให้แพทย์ทำการล้างสารออกจากเลือด
3. ให้ดื่มนมเพื่อลดการระคายเคืองต่อกระเพาะ
4. ทำให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่น และอยู่นิ่ง ๆ จนอาการเขียวค่อยๆ ลดลง
5. หากอาการต่างๆ ค่อยๆ ลดลงภายใน 12 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้
6. หากได้สัมผัสสารละลาย ให้รีบล้างออกทันทีด้วยน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที
7. ถ้าสูดหายใจเอาก๊าซพิษที่เกิดจากการสลายตัวของสารนี้เข้าไปให้ย้ายผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเทได้
8. หากผู้ป่วยหมดสติ ห้ามปฐมพยาลบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก


เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2542. ปัญหาลำไยนอกฤดูกับโพแทสเซียมคลอเรต (KCIO3). เอกสารประกอบการสัมมนา วันที่ 12 มีนาคม 2542 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชิติ และคณะ. 2542. ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรต (KCIO3) ต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอ. รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล. วันที่ 9-11 มิถุนายน 2542 ณ โรงแรมเค พี แกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย, จันทบุรี. หน้า 30-37.

ประทีป กุณาศล. 2542. การผลิตลำไยนอกฤดู. เอกสารโรเนียว. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 4 หน้า.

พงศ์พันธุ์ จึงอยู่สุข. 2542. การใช้โพแทสเซียมคลอเรต (KCIO3) บังคับให้ลำไยออกดอก. เอกสารโรเนียว. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่.

ยุทธนา และคณะ. 2542. ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบ ทางเลือกที่ดีกว่าของชาวสวนลำไย. วารสารเคหการเกษตร ฉบับเดือน กันยายน 2542.

รวี เสรฐภักดี. 2542. การออกดอกของลำไยและการใช้สารบังคับ. เอกสารโรเนียว. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 5 หน้า.

วินัย วิริยะอลงกรณ์ วรินทร์ สุทนต์ พาวิน มะโนชัย นภดล จรัสสัมฤทธิ์และเสกสันต์ อุชสหตานนท์. 2542. การศึกษาเบื้องต้นของวิธีการฉีดสารโพแทสเซียมคลอเตรเข้าทางกิ่งต่อการออกดอกติดผลของลำไยพันธ์ชมพู. รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล. วันที่ 9-11 มิถุนายน 2542 ณ โรงแรม เค พี แกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย, จันทบุรี.

วีระวรรณ เรืองยุทธการณ์. พิษคลอเรต. เอกสารโรเนียว. หน่วยพิษวิทยา ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290
โทร. 0-53873938 , 0-53873939


www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book.../fruit041.htm -




ลำไยนอกฤดู สูตร ไพโรจน์ แก้วภัยพาล แนะวิธีง่ายๆ ทำในเขตภาคกลาง เน้นลดต้นทุนการผลิต

เทคโนโลยีการเกษตร
มนตรี แสนสุข

"ลำไย" ผลไม้เศรษฐกิจระดับประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกลำไยเป็นอันดับ 1 ของโลก ไปยังหลายๆ ประเทศ ทั้งในรูปของผลสดและลำไยแปรรูป สร้างมูลค่าสินค้าเกษตรส่งออกให้กับประเทศไทยปีละไม่ใช่น้อย

สมัยก่อนลำไยมีปลูกกันมากทางภาคเหนือของประเทศ มาระยะหลังมีการใช้สารเร่งให้ลำไยติดดอกนอกฤดูกาลได้ ลำไยจึงมีปลูกกันทั่วทุกภาคของประเทศ ผลผลิตจะดีหรือไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องถิ่นนั้นๆ ในเขตภาคกลางมีการปลูกลำไยนอกฤดูมานานนับ 10 ปีแล้ว เริ่มมีการนำเอาลำไยมาปลูกและทำนอกฤดูที่จังหวัดราชบุรีเป็นครั้งแรก ซึ่งก็ได้ผลดี ทำให้มีการปลูกลำไยเพื่อทำนอกฤดูแพร่หลายไปนอกภาค

คุณไพโรจน์ แก้วภัยพาล เกษตรกรชาวสวนผลไม้ย่านตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม หลังจากที่ล้มลุกคลุกคลานจากการปลูกไม้ผลแทบทุกชนิดมาแล้ว ก็เลยหันมาปลูกลำไยเพื่อทำนอกฤดูกาลดูบ้าง ผลปรากฏว่าเพียงชั่วระยะเวลา 5 ปี คุณไพโรจน์เก็บผลผลิตลำไยขายมาแล้ว 4 รุ่น รับทรัพย์เข้ากระเป๋า ยิ้มไม่ยอมหุบมาจนทุกวันนี้

คุณไพโรจน์บอกว่า เรื่องไม้ผลปลูกมาทุกชนิด มีแต่รุ่งริ่งไม่รุ่งโรจน์ เห็นละแวกบ้านเขาปลูกลำไยกันประกอบกับพรรคพวกทางเหนือก็สนับสนุน เลยทดลองปลูกลำไยดู ในเนื้อที่สวน 40 กว่าไร่ ซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยสีดอมา 400-500 กิ่ง นำมาลงปลูก

การปลูกลำไยคุณไพโรจน์บอกว่า ไม่ยุ่งยากอะไรเลย จะมายุ่งก็ตอนหาไม้ค้ำกิ่งหลังลำไยติดผลแล้ว ช่วงลำไยติดขนาดมะเขือพวงนั่นแหละ ก่อนไปซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยมาปลูก ก็ต้องเตรียมพื้นที่ปลูกเอาไว้ก่อน ที่สวนย่านนครชัยศรีปลูกแบบระบบร่องสวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ พลิกดินสักครั้ง หรือจะเพียงแค่ขุดโค่นไม้อื่นออกให้หมดก็ได้ ยึดความสะดวกของเจ้าของสวนเป็นหลัก

พอเตรียมที่ปลูกได้แล้วก็ไปหากิ่งพันธุ์มาปลูก สำหรับตนไปซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยสีดอจากจังหวัดลำพูน พอมาถึงก็ขุดหลุมลงปลูกเลย ไม่มีพิธีรีตองให้ยุ่งยาก เอากิ่งลงหลุม กลบหลุมให้แน่น หาไม้มาปักเป็นหลักป้องกันกิ่งหักโค่นเสียหน่อยก็จะดีไม่ใช่น้อย จากนั้นก็ลดน้ำให้ชุ่ม เป็นอันเสร็จพิธี ทำง่ายๆ แบบลูกทุ่งย่านนครชัยศรี

แต่ถ้าเกษตรกรจะรองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเสียก่อนก็ดี ต้นจะได้โตเร็วขึ้น เวลากลบหลุมพูนดินให้เป็นโคกป้องกันน้ำขังก็เป็นความประณีตของพี่น้องเกษตรกรอีกแบบหนึ่ง

คุณไพโรจน์บอกว่า สำหรับตนมาเน้นให้ปุ๋ยตอนหลัง พอดินรัดราก ต้นตั้งตัวดีแล้ว ถึงให้ปุ๋ยขี้วัวขี้ไก่ใส่เดือนละครั้ง ไม่ช้าต้นก็จะแตกยอด คราวนี้เสริมด้วยปุ๋ยเคมีบ้างไม่ต้องมาก จะทำให้ยอดพุ่งเร็วขึ้น เพียงแค่ไม่ถึง 2 ปี ต้นก็จะสอนเป็น ติดลูกผลครั้งแรกแล้ว

"สำหรับบ้านเราหมายถึงที่นครชัยศรี จะต้องราดสารบังคับให้ติดดอก ไม่เช่นนั้นลำไยก็จะไม่ติดดอก ลำไยบ้านเราจะไม่ออกตามธรรมชาติ ต้องบังคับ"

คุณไพโรจน์ กล่าวและว่า ลำไยบ้านเราราดสารบังคับ 7 เดือน เก็บผลได้ ลำไยภาคเหนือราดสารบังคับ 8 เดือน เก็บผล ต่างกัน 1 เดือน การราดสารต้องกำหนดก่อนว่าจะเก็บลำไยช่วงไหน จากนั้นก็นับเดือนถอยหลังไป 7 เดือน เป็นเดือนที่ต้องราดสารบังคับ ที่สวนกำหนดเก็บเดือนธันวาคม-มกราคม ช่วงปีใหม่ ฉะนั้นการราดสารจะราดราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ก่อนราดสารราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ที่สุดเสียก่อน พอถึงเดือนที่จะราดสาร ก็ให้กักน้ำอย่าให้ต้นแตกใบอ่อน ต้องคุมยอดให้อยู่ ไม่ให้ยอดพุ่งขึ้น กักน้ำให้หน้าดินแห้งแตกระแหง จนต้นโศกพอสมควร เวลาราดสารจึงจะลงถึงรากได้เร็ว

พอต้นโศก ใบหงอย ให้ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตผสมน้ำ แล้วแต่ทรงพุ่มของต้น ถ้าทรงพุ่ม 1 เมตร ใช้สาร 3 ขีด ผสมน้ำ 15 ลิตร ราดรอบทรงพุ่ม อย่าเพิ่งรีบรดน้ำ ปล่อยทิ้งไว้ก่อน พอรุ่งขึ้นอีกวันจึงค่อยๆ รดน้ำ พรมๆ ไม่ต้องมาก ให้วันเว้นวันไป 7 วัน จากนั้นก็ 5 วัน รดน้ำครั้ง ถ้าเป็นลำไยอายุน้อยประมาณ 25 วัน ก็จะแทงยอดให้เห็น

ใบอ่อนติด 3 คู่ใบ จึงจะมีช่อดอกตามออกมา คราวนี้ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 25-7-7 ให้น้ำสม่ำเสมอ เป็นอันว่าได้ลำไยในชุดนี้แน่นอน พอช่อดอกเป็นเม็ดไข่ปลา ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟ 1 ครั้ง เข้าระยะ 15 วัน จากติดช่อดอกสู่ระยะดอกบาน ต้องหยุดฉีดยาโดยสิ้นเชิง ระบบน้ำให้สม่ำเสมออย่าให้ขาด จนดอกติดเป็นผลเล็กๆ ให้ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟอีก 1 ครั้ง ทิ้งระยะประมาณ 7 วัน ให้ฮอร์โมน แคลเซียมโบรอน ทางดินให้ปุ๋ย สูตร 16-16-16 เมื่อผลขนาดเม็ดถั่วเขียวเปลี่ยนเป็นให้ปุ๋ยขี้ไก่ ผลใหญ่ขึ้นให้ฮอร์โมนสูตรเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอลำไยก้มหัวลงจากช่อหยุดการให้ฮอร์โมน ทางดินให้ปุ๋ย สูตร 13-13-21 ให้น้ำสม่ำเสมอ 5 วันครั้งตลอด

ขณะที่ผลลำไยค่อยๆ โตขึ้น ฉีดยาฆ่าเชื้อรา 10 วัน ต่อครั้ง พอผลลำไยขนาดมะเขือพวง ให้ตัดแต่งตัดช่อที่ไม่สมบูรณ์ออก อย่าให้กิ่งแบกผลมากเกินไป ให้เหลือประมาณ 40% ของกิ่ง แล้วก็หาไม้ค้ำกิ่งป้องกันกิ่งฉีกขาดเมื่อผลค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น

คุณไพโรจน์บอกว่า ถ้าหนาวมาเร็วจะเก็บผลได้เร็วกว่าทางเหนือ หลังเก็บผลขายก็ต้องบำรุงต้น แล้วก็ตัดแต่งกิ่ง เอากิ่งไม่ดีภายในทรงพุ่มออกให้หมด แต่งกิ่งให้โปร่ง แดดส่องเข้าถึงได้ยิ่งดีใหญ่ จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยพื้นปุ๋ยคอก ถ้าดูดเลนจากร่องสวนขึ้นมาใส่โคนต้นได้ยิ่งดีใหญ่ พอเข้าหน้าร้อนโคนต้นจะชื้น ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 1 ครั้ง ช่วยให้ต้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เข้าช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดูที่ต้นถ้าเห็นต้นสมบูรณ์ ใบเขียวเข้มดี ก็ให้กักน้ำเตรียมราดสารบังคับในรุ่นต่อไป

สำหรับปัญหาศัตรูของลำไยนั้น คุณไพโรจน์บอกว่ามีไม่มาก คอยดูเพลี้ยแป้งให้ดีๆ ดูแล้วไม่ใช่ให้ผ่านเลยไป ต้องฉีดยาป้องกันด้วย โรคอื่นๆ ก็ไม่มีอะไร ส่วนเจ้าแมลงวันทอง ถ้าทำผลเก็บช่วงธันวาคม-มกราคม ไม่มีปัญหา ไม่มีระบาด

"สวนผมเก็บผลมา 4-5 ครั้งแล้ว ได้ผลผลิตดี ปีที่แล้วเก็บลำไยได้ประมาณ 50 ตัน ทำท่าจะดีแต่ก็ไม่ดีเพราะราคาไม่ดี กลายเป็นแค่ท่าดีแต่ทีเหลวซะยังงั้น" คุณไพโรจน์กล่าวและว่า ถึงอย่างไรก็ดีกว่าทำนาและทำสวนไม้ผลอื่นๆ ลำไยทำง่ายกว่ากันมาก ไม้ผลอื่นๆ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ต้นทุนการผลิตสูง เปลืองค่ายา ค่าปุ๋ย ที่นับวันจะแพงขึ้นๆ ไม่มีถูกลง

ในเรื่องของตลาดคู่แข่งนั้น คุณไพโรจน์บอกว่าไม่ต้องพูดถึงเลย เราอยากให้หันมาปลูกลำไยกันให้เยอะๆ เสียอีก จะได้ส่งล้งได้ง่าย ถ้ามีลำไยมากๆ ทางล้งเขาจะส่งคนงานมาเก็บให้ ไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายแรงงานเก็บ และค่อนข้างจะหายากอีกด้วย ตลาดที่รับซื้อรายใหญ่ส่งที่ตลาดศรีเมืองราชบุรี

การทำลำไยนอกฤดูทุกวันนี้ เกษตรกรจะต้องดูเรื่องต้นทุนการผลิตให้ดี ต้องเน้นเรื่องการลดต้นทุนเป็นอันดับแรก ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่ จะดีกว่า ส่วนปุ๋ยเคมีให้เพียงแค่อาหารเสริมเท่านั้น เกษตรกรต้องรู้จักประยุกต์ใช้ เพราะปัจจุบันค่าปุ๋ยค่ายาราคาแพงมาก คุณไพโรจน์แนะนำในช่วงท้ายสำหรับเกษตรกรที่คิดจะหันมาปลูกลำไยดูบ้าง

clinictech.wu.ac.th/detail.php?id=214 -





ลำไย

สภาพพื้นที่ พื้นที่ปลูกลำไยเป็นที่เนินระหว่างภูเขา มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย ดินเป็นดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ดีพันธุ์ ใช้พันธุ์อีดอ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนิยมปลูกมากที่สุด เนื่องจากออกดอกและเก็บผลก่อนพันธุ์อื่น เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดี โดยเฉพาะในดินอุดมสมบูรณ์ ระยะปลูก 8 x 8 เมตร

การให้ปุ๋ย
หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคม ทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อต้น และใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากนั้น 10-15 วัน จะเริ่มแตกยอด ทำการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงยอด หลังจากราดสาร 3 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 1.5กิโลกรัมต่อต้น ใช้แกลบและฟางกลบบริเวณโคนต้น พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34
อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร กระตุ้นให้ใบแก่จะทำให้แทงช่อดอกได้เร็วขึ้น ในช่วงดอกตูม พ่นสารแคลเซียม โบรอน อัตรา 300 มิลลิลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยให้ดอกสมบูรณ์มีขนาดใหญ่ ช่วยพัฒนาดอกให้ติดผลเร็วขึ้น และลดการหลุดร่วงของผลอ่อน ในช่วงติดผลเล็กประมาณเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต

ประมาณกลางเดือนมิถุนายน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต

การให้น้ำ
การปลูกลำไยของเกษตรกรอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในช่วงฤดูแล้งก็มีแหล่งน้ำเสริม
คือน้ำจากสระ โดยเกษตรกรจะใช้เครื่องสูบน้ำและรดลำไยด้วยสายยาง การให้น้ำมีความจำเป็นอย่างมากซึ่งต้องมีการให้น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ต้องให้น้ำอย่างระมัดระวังและต่อเนื่อง หลังจากติดผลก็ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเกษตรกรจะสังเกตความชื้นในดินก่อนที่จะให้น้ำ

การราดสารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) การผลิตลำไยในฤดูกาลปกติเกษตรกรจะประสบปัญหาลำไยออกดอกไม่สม่ำเสมอซึ่งจะออกดอกประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนกิ่ง

เกษตรกรจึงใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อให้ลำไยออกดอกมากและสม่ำเสมอ ถ้าหากไม่ราดสารลำไยจะออกดอกน้อยและออกเฉพาะบางกิ่งเท่านั้นทำให้ได้ผลผลิตต่ำ และนอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อให้ลำไยออกดอกได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้นทำให้ขายได้ราคาดี โดยปกติแล้วลำไยโดยทั่วไปจะออกดอกไม่เกินวันที่ 15 มกราคม แต่ถ้าราดสารโพแทสเซียมคลอเรต จะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น คือจะออกดอกในวันที่ 1 มกราคม (ลำไยจะแทงช่อดอกหลังจากราดสาร 1 เดือน
การเตรียมต้น หลังจากมีการให้ปุ๋ยบำรุงหลังจากเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคมลำไยจะ
แทงยอด ในเดือนตุลาคมใบลำไยจะอยู่ในระยะใบเพสลาด ทำการริดใบออกให้เหลือกิ่งละ 4 ใบ

หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ลำไยจะแทงยอดออกมาอีก ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงอีกครั้ง เมื่อถึงระยะใบเพสลาด ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนทำการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ก่อนราดสารต้องทำความสะอาดบริเวณโคนต้นรอบทรงพุ่ม กำจัดวัชพืชและกวาดเอาวัสดุคลุมดินออก จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มต้นละประมาณ 200 ลิตร

วิธีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต หลังจากให้น้ำ 2 วัน ทำการราดสารโดยละลายน้ำราดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม ต้นลำไยอายุ 4-5 ปี ใช้อัตรา 0.3 กิโลกรัมต่อต้น

ลำไยอายุ 8 ปี ใช้อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากราดสารต้องให้น้ำวันละ 1 ครั้ง 3 วันติดต่อกัน หลังจากนั้นควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งลำไยออกดอก เมื่อถึงต้นเดือนมกราคมลำไยจะแทงช่อดอก ครั้งแรกควรให้น้ำทีละน้อย ๆ พอชุ่ม หลังจากนั้นให้น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยให้น้ำทุก ๆ 3-4 วัน จนติดผล

การค้ำกิ่ง หลังระยะติดผล ผลลำไยจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรมีการใช้ไม้ไผ่ หรือกิ่งไม้ ค้ำตามกิ่งของลำไย เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก

การป้องกันกำจัดศัตรูลำไย
ในช่วงหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกลำไยจะแตกยอดอ่อน ศัตรูที่สำคัญคือหนอนกินใบ แมลงกินนูน และด้วงงวงช้าง ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง โดยพ่นสารไซ
เพอร์เมทริน 2 ครั้ง หลังจากติดผลจะพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงเดือนละ 1 ครั้ง โดยพ่นสารไซเพอร์เมทริน แมนโคเซบ หรือแคบแทน โดยจะหยุดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งเกษตรกรมีความมั่นใจในความปลอดภัยของผลผลิต

การกำจัดวัชพืช
ใช้วิธีการตัด

การเก็บเกี่ยว
ลำไยจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม การเก็บเกี่ยวใช้กรรไกรตัดช่อผลลำไย นำช่อผลใส่ตะกร้าขนย้ายไปยังสถานที่คัดเกรด

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
สถานที่คัดเกรดเป็นอาคารเล็ก ๆ อยู่บริเวณข้างแปลงลำไยเกษตรกรจะนำลำไยที่ตัดจากต้นมาวางบนเสื่อ ทำการตัดผลลำไยที่มีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานในแต่ละ
ช่อออกจากช่อผล และตัดกิ่งแห้งในช่อผลออกเพื่อความสวยงาม มัดช่อผลลำไยมัดละประมาณ 1 กิโลกรัม บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศรอบถุง โดยบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม ในการจำหน่าย จะมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลง หรือบางครั้งจะนำไปจำหน่ายเอง

เขียนโดย nipaporn ที่ 20:09

nipaporn613.blogspot.com/2010/01/blog-post_9758.html -




ผ่ากึ๋น อธิบดีทรงศักดิ์ ล้วงวิธีทำ ลำไยนอกฤดู

โดย คม ชัด ลึก

การทำให้ผลผลิต ลำไยนอกฤดู มีคุณภาพสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้หันมาผลิตลำไยนอกฤดูแพร่หลายมากขึ้น

ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูกประมาณ 80,000-100,000 ไร่ กระจายอยู่ในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน และ จ.พะเยา รวมทั้งภาคตะวันออก เช่น จ.จันทบุรี เป็นต้น โดยลำไยนอกฤดูจะให้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปี

"หลังการชักนำให้ลำไยออกดอกและติดผล ถือเป็นช่วงสำคัญที่เกษตรกรควรใส่ใจ ถ้าบำรุงต้นลำไยดีก็จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง โดยภายหลังราดสารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อชักนำการออกดอกของต้นลำไยแล้ว ควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาต้นลำไยในสวนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการให้น้ำและปุ๋ยเคมี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพผลผลิต" ทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องลำไยให้คำแนะนำพร้อมย้ำว่า

ส่วนปริมาณการให้น้ำอาจคำนวณการใช้น้ำของลำไยแต่ละต้นต่อวัน โดยคำนวณจากพื้นที่ทรงพุ่มคูณกับค่าการใช้น้ำจริงต่อวัน เช่น [color=red]ต้นลำไยขนาดทรงพุ่ม 3 เมตร ในเดือนพฤษภาคม ควรใช้น้ำ 42 ลิตรต่อวัน[/color] เป็นต้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน สภาพภูมิอากาศ วิธีการให้น้ำและระยะการเจริญเติบโตของพืชด้วย

การให้ปุ๋ยเคมีนั้น เกษตรกรควรส่งตัวอย่างดินในสวนลำไยไปวิเคราะห์คุณภาพดินก่อน ซึ่งจะทำให้ทราบถึงปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่แล้วในดินเพื่อที่จะได้ปรับปรุงดินก่อนใส่ปุ๋ย จะส่งผลให้ลำไยใช้ปุ๋ยได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้อาจมีการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในใบลำไยร่วมด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการให้ปุ๋ยในฤดูผลิตปีถัดไป

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรให้รายละเอียดถึงวิธีการใช้ปุ๋ยว่าสำหรับอัตราการให้ปุ๋ยเคมีแก่ต้นลำไยขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตต่อต้น เช่น ถ้าลำไยติดผลมากก็ใส่มาก หากติดผลน้อยก็ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง เช่น ต้นที่คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 100 กิโลกรัม ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 จำนวน 900 กรัมต่อต้น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 960 กรัมต่อต้น และปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 880 กรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้งในปริมาณเท่าๆ กัน ทั้งนี้ ลำไยแต่ละสวนอาจตอบสนองต่อปุ๋ยที่ให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างของดินและฝีมือการจัดการสวน

การปรับปรุงคุณภาพผลลำไย ทรงศักดิ์ย้ำว่าถือเป็นเรื่องสำคัญ หากลำไยติดผลดกมากกว่า 80 ผลต่อช่อ โอกาสที่จะได้ผลผลิตด้อยคุณภาพก็มีค่อนข้างสูง เนื่องจากธาตุอาหารที่ส่งไปหล่อเลี้ยงผลอาจไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงควรตัดช่อผลให้เหลือไม่เกิน 50 ผลต่อช่อ โดยพิจารณาความสมบูรณ์ของต้นการตัดช่อผลควรตัดเมื่อมีผลขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว โดยใช้กรรไกรตัดตรงกลางช่อผล

"เกษตรกรยังสามารถปรับปรุงสีผิวผลลำไย โดยการห่อช่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนาประมาณ 2 ชั้น ซึ่งก่อนห่อช่อผลควรทำการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อน โดยต้องห่อช่อผลเมื่อเมล็ดลำไยเริ่มเปลี่ยนสี หรือห่อไว้ประมาณ 8 สัปดาห์ก่อนการเก็บเกี่ยว จะช่วยให้ได้ผลผลิตลำไยที่มีคุณภาพดี ผิวเปลือกมีสีเหลืองสวย เป็นจุดขายอย่างหนึ่งที่ช่วยดึงดูดผู้บริโภค" ผู้เชี่ยวชาญเรื่องลำไยแนะนำ พร้อมย้ำถึงวิธีการปัญหาการระบาดของโรคและแมลงว่า

จะพบมากในช่วงลำไยติดผล ศัตรูพืชที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยไฟ และไรสี่ขา ถ้าระบาดอย่างรุนแรงควรพ่นสารเมทโธเอท ทั้งนี้ ไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงในช่วงดอกบาน เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อแมลงที่ช่วยผสมเกสร สำหรับช่วงติดผลให้ระมัดระวังแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ควรดูแลตั้งแต่ผลขนาดเล็ก โดยใช้น้ำมันปิโตรเลียมหรือไวท์ออยล์ฉีดพ่น จะสามารถช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้


news.sanook.com › สกู๊ปพิเศษ - แคช -




ลำไยโป่งน้ำร้อน..ฉลุย ทำนอกฤดู 3.5 หมื่นไร่

ภาคตะวันออก....เป็นแหล่งสำคัญในการผลิตผลไม้ และในช่วงฤดูนี้จะมีผลิตผลของทุเรียน มังคุด เงาะ ฯลฯ ออกมาจนเกินความต้องการ...ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุกๆปี

กับการปริมาณปริ่มหรือเกินความต้องการนี้ ทำให้ราคาตกต่ำ แม้ว่าภาครัฐจะช่วยผลักดันส่งออกแต่ก็ช่วยได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากผลกระทบในปีนี้ เกษตรกรพากันเอาเงาะมากองกันจนเต็มถนน....

....คาบเวลาที่ผลไม้อื่นๆกำลังมีปัญหาเรื่องราคา ก็มีผลไม้ชนิดหนึ่งที่จำหน่ายได้อย่างฉลุยคือ ลำไย เนื่องจากว่าผลผลิตที่ออกมาในยามนี้เป็น ช่วงที่ก่อนฤดูกาล (ลำไยทั่วไปมีฤดูการเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม) จึงทำให้ ผลผลิตเป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภค

นายชำนาญ บัวเฟื่อง เกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า....เฉพาะที่โป่งน้ำร้อนอำเภอเดียวมีเกษตรกรปลูกลำไย พันธุ์อีดอ 3,750 ราย และ ผ่านการรับรองตามระบบ GAP ไปแล้ว 1,300 ราย....พื้นที่ ลูกลำไย 49,000 ไร่ ส่วน ผลิตนอกฤดูมากถึง 35,000 ไร่

ในปีที่ผ่านมามีผลผลิตลำไยนอกฤดูออกมาทั้งสิ้น 61,000 ตัน โดยมีนายทุนมารับซื้อถึงสวนจำนวน 9 ราย เพื่อนำส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ กัมพูชา ซึ่งราคาต่ำสุดอยู่ที่ กิโลกรัมละ 18 บาท และราคาสูงสุด ประมาณ 40 บาทต่อกิโลกรัม โดยเกษตรกรมี ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 12-20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเกษตรกรบางรายที่มีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ขึ้นไป สามารถจำหน่ายผลผลิตมี กำไรถึง 6 ล้านบาท

นายอำนาจ จันทรส อยู่ที่ บ้านคลองคด หมู่ 7 ตำบลหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้หนึ่งที่ผลิตลำไยนอกฤดูเพื่อการส่งออก ทำให้มีรายได้ปีหนึ่งๆเป็นกอบเป็นกำ สามารถหลุดพ้นจากภาวะปัญหาสินค้าล้นตลาดอันเป็นแบบอย่างที่ดีเล่าว่า.... ทำสวนลำไยมา 25 ปี ช่วงแรกผลผลิตออกมาไม่ดีเท่าไหร่ จึงไปศึกษาหาความรู้ในการ ทำลำไยนอกฤดู จากเกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน แนะนำไปพบกับ โกบั๊ก เกษตรกร ซึ่งประสบความสำเร็จในการทำลำไยนอกฤดูมาแล้ว ที่ อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา

จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 12 ปี ได้ทำลำไยนอกฤดูในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ แบ่งเป็น 2 โซน ทำการราด สารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อเร่งการออกดอกห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ในรอบการผลิตที่ผ่านมาได้ผลผลิตลำไยออกมาประมาณ 150-160 ตัน มีพ่อค้ามาซื้อลำไยสดช่อที่สวนในราคากิโลกรัมละ 25-28 บาท โดยมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยประมาณ 20 บาทต่อกิโลกรัม

“การผลิตลำไยนอกฤดูไม่ควรใส่สารเร่งการออกดอกเพื่อมุ่งเอาผลประโยชน์อย่างเดียว ต้องเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาต้นให้ดีที่สุด เพื่อยืดอายุให้ยาวนานขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่ตลาดแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งให้พร้อมที่จะผลิตรอบใหม่ โดยการ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยขี้ไก่และมูลสัตว์) ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อต้น และ ใส่ปุ๋ยเคมี ร่วมด้วย จะทำให้ ต้นลำไยฟื้นตัวเร็วขึ้น พร้อมที่ราดสารเพื่อเร่งการออกดอกอีกครั้ง” นายอำนาจกล่าว ชาวสวนลำไยบ้านคลองคด กล่าวด้วยว่า อยากให้รัฐบาลช่วยเปิดตลาดส่งออกกลุ่มใหม่ อย่างเช่น ตะวันออกกลาง และ อินเดีย เพื่อลดการพึ่ง ตลาดจากจีน ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยผลักดันปริมาณการส่งออกสินค้าผลไม้ไทยได้เพิ่มสูงขึ้น ไม่ควรเก็บภาษีซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการ เพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งการอำนวยความสะดวกใน การตรวจวิเคราะห์ และ ออกใบรับรองคุณภาพสินค้า ต้องเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (ONE STOP SERVICE) เนื่องจากผลไม้สดใช้เวลานานมากจะเน่าเสียง่าย


learners.in.th/blog/877-313jorsy/162574 -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2011 9:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 23/08/2010 10:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคูณครับลุง

อ่านแล้วสบายใจขึ้นหน่อย มันสับสนลนลานกลัวว่าจะราดไม่ทัน ลงทุนไปหลายตังส์แล้ว ตั้งแต่แต่งกิ่ง สะสมอาหาร จะมาเสียการเอาโค้งสำคัญ

ขอโทษด้วยนะครับลุงที่ผมบอกข้อมูลผิดไป จริงๆแล้ววันนี้ผมไม่ได้คิดจะราดทั้งหมด 200 ต้นหรอกครับ ผมเคยบอกลุงไว้ว่าใบลำไยของผมบางต้นก็พร้อมที่จะราดได้ บางต้นก็ยังไม่พร้อม ผมไปเดินนับต้นดูก็พบว่าต้นที่พร้อมมากกว่าต้นที่ยังไม่พร้อม ก็เลยตัดสินใจราดต้นที่พร้อมก่อน ที่เหลือกะว่าจะราดในอีกครึ่งเดือนข้างหน้า

แม่ปุ๋ยผมใส่ตามที่เพื่อนแนะนำมันทำแล้วได้ผล ผมใส่ไปก็ยังงงๆอยู่นี่แหละ ก็เราราดสารต้องการให้รากมันกินอาหารไม่ได้ แล้วเราใส่ปุ๋ยไปด้วยทำไม (วะ)

ส่วนการผสมสารของผมใช้ถัง 1,000 ลิตร ใส่น้ำเอาสารใส่ตามจำนวนที่กำหนดไว้ ใส่ แม่ปุ๋ย ลงไปคนให้เข้ากันใช้กระป๋องฝักบัวตักราดรอบๆ ทรงพุ่ม ตามจำนวนปริมาณที่กำหนดในแต่ละต้น

ผมก็เคยเห็นคนอื่นทำนะครับลุง แต่ดูแบบไม่ได้สนใจจริงจัง เพราะไม่คิดว่าจะได้ทำเองดูๆแล้วมันก็ไม่เห็นจะยากอะไร พอมาทำเองซาบซึ้งครับ.....

จริงๆแล้วตอนนี้ผมก็มีลำไยดูแลอยู่ 50 ต้นนะครับ ลูกโตพอสมควรแล้วกำหนดเก็บผลราวกลางเดือนตุลาคม คงได้น้ำหนักสักราว 4-5 ตัน แต่แปลงนี้ผมไม่ได้ราดเอง ซื้อต่อจากเจ้าของเก่าที่เขาทำไว้ตั้งแต่ช่วงดอกกำลังเริ่มบาน เขาขายให้ในราคาถูกๆเหมือนให้เปล่า เพราะเขาไม่มีเวลาดูแล ผมก็ดูแลเต็มที่ผ ลที่ออกมาก็ดีพอควร

คุณอำนาจ จันทรสที่ท่านทำลำไย 100 ไร่ ที่ อ.โป่งน้ำร้อน ท่านเป็นครูเก่าลาออกแล้ว ผมเคยเป็นลูกศิษย์ท่านตอนเรียนชั้นประถม ยังจำน้ำหนักมือท่านไม่เคยลืม บ้านครูอำนาจอยู่ห่างบ้านผมราว 20 กิโล

ขอบคุณพี่อ๊อดด้วยนะครับที่ให้กำลังใจ (ขออนุญาติเรียกพี่)
หมึกครับผม Smile
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/08/2010 7:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แม่ปุ๋ยเคมี 3 ชนิดคือ

ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0),
ยูเรีย (46-0-0),
โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)

ที่จริงแล้วมีแม่ปุ๋ยอีกหลายชนิด แต่ถ้าคำนึงถึงต้นทุนแล้ว แม่ปุ๋ยทั้ง 3 ชนิดถือว่าถูกหลักเศรษฐกิจ

.....................................................................................


ชนิดแม่ปุ๋ยที่เหมาะสม คือ
- ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต[18-46-0 (DAP)]
- ยูเรีย [46-0-0 (U)]

- โพแทสเซียมคลอไรค์ [0-0-60 (MOP) ]
.....................................................................................


1. ซื้อแม่ปุ๋ยเดี่ยว (แม่ปุ๋ยเดี่ยวหมายถึงปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเพียงชนิดเดียว) สูตรต่าง ๆ ดังนี้
- แม่ปุ๋ยสูตร 21 – 0 – 2 ราคากระสอบละประมาณ 250 บาท
- แม่ปุ๋ยสูตร 0 - 3 – 0 ราคากระสอบละประมาณ 100 บาท
- แม่ปุ๋ยสูตร 0 - 0 – 60 ราคากระสอบละประมาณ 400 บาท
- แม่ปุ๋ยสูตร 18 – 46 – 0 ราคากระสอบละประมาณ 700 บาท
- แม่ปุ๋ยสูตร 0 - 46 – 0 ราคากระสอบละประมาณ 600 บาท

....................................................................................


แม่ปุ๋ย หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่นำมาใช้ทำปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ ผลิตขึ้นมา โดยมีปริมาณธาตุอาหารในสูตรเข้มข้นมาก เช่น
ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)
ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรค์ (0-0-60)
ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)

.....................................................................................

แม่ปุ๋ยจริงๆ ทางวิชการก็ตามที่ COPY มาให้ดูนี่แหละ......

เห็นคุณใช้คำว่า "แม่ปุ๋ย" ก็เลยสงสัย สงสัย......

ที่ลุงคิมทำตัวแดงไว้นั้น เพราะอยากรู้ว่าคุณเอาแม่ปุ๋ยตัวไหน สูตรอะไร หรือ เรโช เท่าไหร่ ผสมกับโปแตสเซียม คลอเรต. แล้วราดให้กับลำไย เรียนตามตรงว่าเพิ่งรู้เรื่องนี้จริงๆ นี่คือข้อมูลใหม่ อาจจะเป็นข้อมูลทาง "ประสบการณ์" มากกว่าเป็นข้อมูลทาง "วิชาการ" ก็ได้

จากหลักการเบื้องต้นที่ว่า ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จนั้น ลุงคิมไม่ได้ปฏิเสธแนวทางของคุณ แต่อยากได้หลักการและเหตุผล หรือ ข้อมูลอ้างอิงซักเล็กน้อย

เน้นย้ำ..... อยากรู้ "สูตรปุ๋ย" ของ "แม่ปุ๋ย" ที่คุณใช้



ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loopalike
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 27/01/2010
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 25/08/2010 1:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส่วนใหญ่ก็จะใช้สารคลอเรตเพียวๆกันเป็นส่วนใหญ่ครับ

แต่ก็มีบางรายที่ผสมยูเรียไปด้วย

ปล. ปัจจุบันเขาไม่ใช้วิธีโรยสารหรือผสมน้ำใช้ฝักบัวราดกันแล้วครับ

เขาใช้เครื่องพ่นยาพ่นใส่หน้าดินแบบหนักๆเน้นๆครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/08/2010 6:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

loopalike บันทึก:
ส่วนใหญ่ก็จะใช้สารคลอเรตเพียวๆกันเป็นส่วนใหญ่ครับ

แต่ก็มีบางรายที่ผสม ยูเรีย ไปด้วย

ปล. ปัจจุบันเขาไม่ใช้วิธีโรยสารหรือผสมน้ำใช้ฝักบัวราดกันแล้วครับ

เขาใช้เครื่องพ่นยาพ่นใส่หน้าดินแบบหนักๆเน้นๆครับ



เท่าที่ลุงคิมเคยเห็นมา ส่วนใหญ่เขาใช้แต่ "โปแตสเซียม คลอเรต" เดี่ยวๆ ละลายน้ำราดพื้นบริเวณปลายเขตทรงพุ่ม หรือไม่ก็ขุดร่องปลายเขตทรงพุ่มแล้วราดลงไปในร่องนั้น......ส่วน "โซเดียม คลอเรต" ยังไม่เคยเห็น รู้แต่ว่าชาวสวยลำไยย่านจันทบุรีนิยมใช้ก้น

คุณบอกว่าบางราย (หมายถึงคนอื่น) ผสม "ยูเรีย" ด้วย อันนี้ก็ว่ากันไป เรื่องนี้ไม่มีถูก ไม่มีผิด สูตรใครก็สูตรใคร ถ้าลำไยออกดอกได้ถือว่าสำเร็จ แต่ถ้าไม่ออกดอกก็ถือว่าล้มเหลว ก็เท่านั้นแหละ...... ไม่แน่นะ นี่อาจจะเป็นสูตรใหม่ที่ได้ผลแน่นอนกว่าสูตรเดิมก็ได้ เพราะวิทยาการไม่มีที่สิ้นสุด ทุกวันจะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ เพราะฉนั้นเราต้องตามให้ทัน.....เดี๋ยวนี้เทคนิคใหม่ๆ ไม่ใช่น้อยที่ค้นพบโดยเกษตรกร ไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการเสมอไป

สงสัยอีกอย่างก็คือ ทำไมเจ้าของกระทู้จึงยังไม่เข้ามาตอบว่าใช้แม่ปุ๋ยตัวไหน เพราะมีตั้งหลายตัว หรือว่าบอกไม่ได้ เป็น "ความลับ" ก็ว่าไป



ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 25/08/2010 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอโทษด้วยครับที่เข้ามาตอบช้าไป

พอดีผมต้องไปธุระต่างจังหวัดเพิ่งกลับมาก็รีบเข้ามาตอบนี่แหละครับ ปุ๋ยที่ผมใช้คือปุ๋ย อ๊อกซิเย่นไนเตรท 14-0-46 ยี่ห้ออะไรผมก็จำไม่ได้ อัตราผสมสาร 10 กก.+ ปุ๋ย 2 กก. สูตรการผสมสารฯ + แม่ปุ๋ยที่ผมใช้นี่ นี่คงอ้างอิงหลักวิชาการอะไรไม่ได้หรอกครับ น่าจะมาจากประสบการณ์ลองผิดลองถูกของผู้ใดผู้หนึ่งซะมากกว่า ที่ผมได้มาก็เพราะน้องเขยผมบอกต่อมาเพราะมันใช้แล้วได้ผล เหตุผลที่มันบอกคือ มันเป็นปุ๋ยเย็นช่วยให้รากลำไยดูดสารได้ดี ไอ้ได้ผลจะได้เพราะอะไรไม่รู้หรอกครับ มันอาจจะเพราะปัจจัยอื่นก็ได้

จริงๆ แล้วผมก็ไม่อยากใช้หรอกครับมันขัดความรู้สึก ก็เราต้องการให้มันกินอาหารไม่ได้จะได้ออกดอก ดันเอาปุ๋ยไปใส่มันขัดกับหลักการชอบกล แต่ก็ไม่กล้าดูถูกวิธีการของมัน เพราะเรามันมือใหม่หัดทำก็เห็นๆ ว่า มันใช้ของมันได้ผล ลำไยที่สวนมันออกดอกติดผลเกือบร้อย% ต้นลำไยอายุ 6 ปี 300 กว่าต้น ตอนนี้ล้งมาขอเหมาแปดแสนแล้วมันยังไม่ยอมขายจะเอาเก้าแสน สำหรับผมปีนี้ที่สวนไม่หวังอะไรมากมาย ขอแค่ได้ทุนคืนก็ o.k. เพราะปีนี้ลงทุนไปเยอะ สระก็ลอกใหม่ ระบบน้ำก็วางใหม่หมด ทุนก็หมดแล้วเริ่มเป็นหนี้เขาแล้วด้วย

ลุงครับ ผมขอสักอย่างเถอะอย่าเรียกผมว่าคุณเลย มันแปลกๆ ผมลูกทุ่ง 100% เรียกเอ็งหรือเรียกยังไงก็ได้

หมึกครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/08/2010 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Google ....... อ๊อกซิเย่นไนเตรท 14-0-46

++kasetloongkim.com++ดินที่สวนผมเป็นดินร่วนปนทราย จากที่เคยสังเกตุระบายน้ำได้ดี หน้าดินแห้งค่อนข้างเร็ว ...อ๊อกซิเย่นไนเตรท 14-0-46ยี่ห้ออะไรผมก็จำไม่ได้ อัตราผสมสาร 10 กก. .......................................................................................................................................................



ข้อความข้างบนนี้ COPY มาจากกูเกิ้ลทั้งหมด ข้อมูลเรื่อง "แม่ปุ๋ย" ตัวนี้ มีเพียงเท่านี้ ก็ไม่รู้เหมิอนกันว่า เมื่อใครคลิกกูเกิ้ลแล้วมาเห็นเข้า เขาจะหัวเราะเยาะ ว่าเรามั่วนิ่ม หรืองงที่เห็นข้อมูลใหม่เอี่ยม เพิ่งปรากฏในสาระบบเป็นครั้งแรกในโลก

ข้อสังเกตุ :
(1) แม่ปุ๋ย ชื่อนี้ไม่มีในสาระบบตำราใดๆ เป็นคำพูดเพื่อโฆษณาหรือเปล่า
(2) 14-0-46 คล้ายๆกับ 13-0-46 นะ
(3) ผิดถูกไม่ใช่ประเด็น ถ้าใช้แล้วได้ผลถือว่าถูก ใช้แล้วไม่ได้ผลนั่นแหละผิด

ลุงคิมครับผม
ปล.
อืมมม.... ถ้าไม่ให้เรียกว่า "คุณ" นำหน้าชื่อคุณ แล้วจะให้เรียกว่ายังไงล่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/08/2010 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไนไตรท์ กับ ไนเตรท คืออะไร ????

Nitrate (NO3) ไนเตรท - คือสารประกอบซึ่งมาจากการรวมกันของอะตอม Nitrogen (ไนโตรเจน) 1 อะตอมกับ อะตอมของ Oxygen (อ๊อกซิเจน) 3 อะตอม

Nitrite (NO2) ไนไตรท - คือการประกอบซึ่งมาจากการรวมกันของอะตอม Nitrogen (ไนโตรเจน) 1 อะตอมกับ อะตอมของ Oxygen (อ๊อกซิเจน) 2 อะตอม


เอาแบบง่ายๆนะครับเกี่ยวกับระบบวงจรของไนโตรเจนตามที่ผมพอเข้าใจ

- ปลาขับแอมโมเนีย (NH3) จากทางเหงือก และ ทางไตของปลา ซึ่งแอมโมเนียก็สามารถเกิดได้จากการย่อยสลายของอาหารเหลือในตู้ปลาของเรา, ขี้ปลา และอื่นๆอีกหลายวิธี

- จากนั้นแบคทีเรีย (Nitrosomonas Bacteria )หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบกรองของเราก็จะช่วยแปลงแอมโมเนีย (NH3) ให้เป็นไนไตรท์ (NO2) ซึ่งไนไตรท์นั้นเป็นพิษกับปลา

- จากนั้นไนโตรแบคเตอร์แบคทีเรีย (Nitrobacter Bacteria) ในระบบกรองของเราก็จะช่วยเปลี่ยนไนไตรท์ซึ่งมีเป็นพิษกับปลาน้อยๆของเราให้เป็นไนเตรท

- ไนเตรทนั้นไม่มีผลเสียกับปลาโดยปกติ ยกเว้นในกรณีที่มีไนเตรทในปริมาณที่สูงมากๆๆย้ำครับว่าสูงมากๆๆๆๆ แต่โดยปกติไนเตรทนั้นก็จะถูกกินโดยพืชในน้ำจำพวกตะไคร่ หรือ พืชต่างๆ และหรือสามารถกำจัดได้ด้วยการเปลี่ยนน้ำ


ดังนั้นถ้าจะกำจัดไนไตรท์ที่เป็นผลเสียกับปลานั้นก้ตามด้านบนที่หลายๆท่านแนะนำคือ มีเดีย หรือ ระบบกรองชีวภาพ เช่น หินภูเขาไฟ , ปะการัง , ไบโอบอล นั้นก็ควรจะต้องเยอะมากพอเพื่อที่จะเปลี่ยน แอมโมเนีย กับ ไนไตรท์ ที่เป็นพิษกับปลา หรือด้วยการเปลี่ยนน้ำครับ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ครับ เป็นภาษาอังกฤษแบบเชิงลึก

- http://www.ead.anl.gov/pub/doc/nitrate-ite.pdf
www.fishmonsterclub.in.th › ... ›
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/08/2010 4:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


สูตรผสมการราดสารโปแตสเซียมคลอเรทเร่งลำไยให้ออกดอกนอกฤดู (ทางดิน)


1. สารโปแตสเซียมคลอเรท ....... 1 กิโลกรัม
2. ปุ๋ยเกล็ด 13-0-46 ............. 3 ขีด (300 กรัม)
3. สารเพิ่มทรัพย์ชนิดผง ........... 3 ขีด (300 กรัม)
4. สารเพิ่มทรัพย์ชนิดน้ำ ........... 20 ซี.ซี
5. น้ำ ............................... 40 ลิตร

วิธีทำ
1. ส่วนผสมทั้งหมดต้องผสมในน้ำ แล้วใช้ราดทางดิน โดยนำส่วนผสมทั้งหมดที่เตรียมไว้ ราดบริเวณใต้ทรงพุ่ม ให้ห่างจากปลายพุ่มเข้าไปประมาณ ครึ่งเมตร หลังจากราดสารแล้วให้น้ำตามปกติ

2. หลังจากราดสารครบ 10 วัน ให้พ่นทางใบโดยใช้สารเพิ่มทรัพย์ชนิดน้ำ อัตราส่วน 150 ซี.ซี.ผสมปุ๋ยเกล็ด 13-0-46 อัตรา 3 ขีด +ไมโครเอ็น อัตรา 150 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

หมายเหตุ
1.ก่อนราดสาร 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-46-0 จำนวน 50 กก. + ปุ๋ย 0-0-60 จำนวน 50 กก.+ สารเพิ่มทรัพย์ชนิดผง 10 กก. ใส่ 1-4 กก.ต่อต้น ตามขนาดของทรงพุ่ม และพ่นทางใบ โดยใช้สารเพิ่มทรัพย์ชนิดน้ำ 150 ซี.ซี. + ปุ๋ย 0-52-34 จำนวน 0.5-1 กก.+ น้ำ 200 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

2. สูตรนี้เหมาะสำหรับลำไย 1 ต้น อายุประมาณ 10-15 ปี ทรงพุ่มประมาณ 6-8 เมตร

3. ในกรณีที่ลำไยทรงพุ่มใหญ่ หรือเล็ก อายุมากหรือน้อยกว่านี้ ให้เพิ่มหรือลดปริมาณตามความเหมาะสม

4. ในกรณีที่เป็นการใส่สารครั้งแรก ให้ลดอัตราส่วนลงครึ่งหนึ่ง


www.angelfire.com/biz7/skymthai/method-15.html -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/08/2010 4:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุอาหาร N

ปุ๋ยไนโตรเจน ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนเป็นสำคัญ

ประโยชน์ของปุ๋ยไนโตรเจน คือ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้น

แม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนมีหลายชนิด เช่น
- แอมโมเนียมซัลเฟต หรือ 21-0-0 เป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจน 21%
- ยูเรีย หรือ 46-0-0 มีไนโตรเจน 46%
- แอมโมเนียมคลอไรด ์ หรือ 26-0-0 มีไนโตรเจน 26%

ถ้าต้องการเปรียบเทียบว่าปุ๋ยสูตรใดราคาถูกหรือแพงกว่า มีวิธีคำนวณดังนี้

ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของไนโตรเจน = (ราคาต่อกระสอบ x 2)/ % ไนโตรเจน เช่น ปุ๋ย 21-0-0 ราคากระสอบละ 300 บาท
ปุ๋ย 46-0-0 ราคากระสอบละ 400 บาท ดังนั้น ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ย 21-0-0 = (300 x 2) / 21 = 28.75 ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ย 46-0-0 = (400 x 2) / 46 = 17.39

เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าปุ๋ยยูเรียราคาถูกกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต แต่ในบางกรณีบางพืชต้องการกำมะถันจึงต้องใช้ 21-0-0
ใส่ร่วมด้วย เพราะปุ๋ยสูตรนี้จะมีกำมะถันอยู่ 24%

ลักษณะของปุ๋ยยูเรียมี ชนิดเม็ดใส และชนิดเม็ดโฟม ในการใส่ปุ๋ยให้แก่พืชเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เช่น

- พืชผัก อ้อยระยะแรก ใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7
- ไม้ผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ข้าวใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 และ 16-16-8 เป็นต้น




ธาตุอาหาร P
ปุ๋ยฟอสฟอรัส ได้แก่ ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเป็นสำคัญ

ประโยชน์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านการออกดอกออกผล

แม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสมีหลายชนิด
- ซูเปอร์ฟอสเฟต หรือ 0-20-0 มีฟอสฟอรัส (P2O5) 20%
- ทริปเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต หรือ 0-46-0 มีฟอสฟอรัส (P2O5) 46%
- ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต หรือ 18-46-0 มีไนโตรเจน (N) 18% ฟอสฟอรัส (P2O5) 46%
- โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต หรือ 11-52-0 มีไนโตรเจน (N) 11% ฟอสฟอรัส (P2O5) 52%

สมมุติว่า 0-46-0 และ 18-46-0 ราคาเท่ากัน จะพบว่า 18-46-0 ราคาถูกกว่าเพราะมีไนโตรเจนอีก 18% โครงการนี้จึงเลือกแม่ปุ๋ยชนิดนี้ เพราะราคาต่อหน่วยถูกที่สุด หาซื้อง่ายมีผู้ผลิตมาก

ลักษณะของปุ๋ย 18-46-0 เป็นเม็ด มีหลายสี ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต

ในการใส่ปุ๋ยให้แก่พืชเพื่อเร่งการออกดอก สูตรที่ใช้ 12-24-12 และ 9-24-24 เป็นต้น




ธาตุอาหาร K
ปุ๋ยโพแทสเซียม ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารโพแทสเซียมเป็นสำคัญ

ประโยชน์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของรากผลและทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรค เพิ่มความหวาน

แม่ปุ๋ยที่ใช้
- โพแทสเซียมคลอไรด์ หรือ 0-0-60 มีโพแทสเซียม (K2O) 60%
- โพแทสเซียมซัลเฟต หรือ 0-0-50 มีโพแทสเซียม (K2O) 50%
- โพแทสเซียมไนเตรท หรือ 13-0-46 มีไนโตรเจน (N) 13% โพแทสเซียม (K2O) 46%

สำหรับ 0-0-50 นั้น ราคาจะแพงกว่า 0-0-60 ใช้เป็นแม่ปุ๋ยสำหรับผสมปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ที่ใช้กับยาสูบ เพราะหากใช้ 0-0-60 เป็นแหล่งของแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมแล้ว จะทำให้ยาสูบไม่ติดไฟ หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะใน 0-0-60
มีองค์ประกอบของคลอรีนอยู่ สำหรับพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ก็มักจะใช้ 0-0-50 เป็นแม่ปุ๋ยเช่นกัน

ส่วน 13-0-46 นั้น มีราคาแพง เป็นปุ๋ยเกร็ดอย่างดี ใช้ละลายน้ำพ่นทางใบ เช่น การทำมะม่วงให้ออกผลนอกฤดู ก็มีการพ่นปุ๋ยชนิดนี้เช่นกัน ในโครงการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง จึงใช้ 0-0-60 เป็นแม่ปุ๋ยโพแทสเซีย ม เพราะราคาต่อหน่วย
ถูกที่สุดสำหรับพืชทั่ว ๆ ไป ยกเว้นบางพืชที่กล่าวแล้ว

ลักษณะของปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์มีหลายชนิด
- ชนิดเป็นผง มีสีขาวแบบเกลือแกง หรือสีส้ม
- ชนิดเม็ดกลม มีสีขาว หรือสีส้ม
- ชนิดเหลี่ยม มีลักษณะเหมือนหินคลุก หรือมีสีใสขาว

สูตรปุ๋ยที่ใช้เร่งผล เพิ่มความหวาน คือ 13-13-21 และ 9-24-24


http://www.doae.go.th/ni/punt/punt_9.htm
www.navy22.com/smf/index.php?topic=16554.0;wap2 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/09/2010 7:30 pm    ชื่อกระทู้: ปัญหาลำไยผลแตก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กนกวรรณ แซ่หล่อ

ปัญหาลำไยผลแตก

อาการผลแตก หรือ fruit cracking เกิดจากความไม่สมดุลของการขยายตัวของส่วนเนื้อและส่วนเปลือก โดยส่วนของเนื้อมีลักษณะเป็นเซลล์อ่อนนุ่ม (spongy parenchyma) ซึ่งมีความสามารถในการยืดหดตัวได้สูง ในขณะที่เปลือกมีความยืดหยุ่นตัวต่ำกว่า ดังนั้น ในกรณีที่ส่วนของเนื้อผลมีการขยายปริมาตรอย่างรวดเร็ว แรงดันที่เกิดจากการขยายตัวของเนื้อผลสามารถทำให้เปลือกผลแตกได้

ในกรณีของลำไย อาการผลแตกมักจะเกิดในช่วงที่ผลลำไยกำลังสร้างเนื้อ หรือผลใกล้จะแก่ เช่น ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ลำไยที่ประสบปัญหาผลแตกมักจะเป็นลำไยที่ติดผลดก มีลูกขนาดเล็ก และเปลือกมีขนาดบาง ธาตุอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาการผลแตกของลำไย คือ ธาตุแคลเซียม สาเหตุของปัญหา เกิดจากปริมาณน้ำที่ได้รับไม่สม่ำเสมอในช่วงที่ผลกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในช่วงสร้างเนื้อหรือผลใกล้แก่ หากลำไยไม่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิดอาการผลแตกได้ง่าย เช่น ลำไยที่กระทบแล้ง ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ประกอบกับอุณหภูมิในช่วงดังกล่าวร้อนจัด เช่น 40 องศาเซลเซียส ทำให้ลำไยมีการคายน้ำมากจึงต้องการน้ำในปริมาณมากไปชดเชย หากได้รับน้ำไม่เพียงพอทำให้ผลลำไยเจริญเติบโตช้า เมื่อลำไยกระทบฝน โดยเฉพาะฝนแรกในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปริมาณน้ำที่ได้รับมีมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา เนื้อของผลจะขยายขนาดได้เร็วกว่าเปลือก เนื่องจากลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ทำให้เปลือกผลแสดงอาการแตกและร่วงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุของปัญหาลำไยผลแตกสามารถสรุปเป็นแผนผัง ดังแสดงไว้ในภาพที่ 1

จากแผนผังดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการผ่านสภาพแล้งตามธรรมชาติแล้วกระทบฝน จะมีโอกาสทำให้ลำไยเกิดอาการผลแตกได้ แต่ในบางกรณีแม้จะผ่านช่วงแล้งตามธรรมชาติมาแล้วและย่างเข้าฤดูฝนแล้วก็ตาม หากฝนทิ้งช่วงหรือประสบกับภาวะฝนแล้ง เมื่อกลับมาได้รับน้ำฝนอีกครั้ง ลำไยก็จะสามารถเกิดอาการผลแตกได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการให้ลำไยได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอระหว่างการพัฒนาของผล จะช่วยลดปัญหาอาการผลแตกของลำไยได้

ฤดูกาลผลิตลำไยปี 2553 ประสบกับปัญหาลำไยผลแตกมาก ซึ่งแม้แต่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านลำไย ผู้ช่วยศาตราจารย์พาวิน มะโนชัย ยังยอมรับว่าปีนี้ผลลำไยแตกเยอะมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา จากการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลำไยจำนวนรวม 266 ราย ในเขตของจังหวัดเชียงใหม่ (49.2%) ลำพูน (37.6%) และเชียงราย (13.2%) เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2553 ของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า 68 เปอร์เซ็นต์ของผู้ให้ข้อมูล เห็นว่า ผลผลิตลำไยปีนี้จะลดลงเนื่องจากสภาพแล้งและภูมิอากาศแปรปรวน ประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์ ประสบกับภาวะภัยแล้ง สภาพอากาศที่ร้อนมาก และน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ และครึ่งหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลเชื่อว่าปีนี้ราคาผลผลิตลำไยจะตกต่ำ ประกอบกับผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ผลมีขนาดเล็กและแตก (ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร, 2553)

สาเหตุของอาการผลแตกในลำไย คือ ปริมาณน้ำฝน

จากข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่วัดได้จากสถานีวัดอากาศของศูนย์อิเล็กทรอนิกและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งติดตั้งอยู่ที่แปลงลำไย ในสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ปริมาณน้ำฝนในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนของปี 2553 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2552 อย่างเห็นได้ชัด (ภาพที่ 2) โดยพบว่าปริมาณน้ำฝนในปี 2553 ปริมาณน้ำฝนเดือนเมษายน ลดลงเหลือ 27% เมื่อเทียบกับปี 2552 ส่วนเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนปริมาณน้ำฝนลดเหลือเพียงประมาณ 7 และ 1% ของช่วงเดือนเดียวกันของปี 2552 ตามลำดับ ข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการลดลงของประมาณน้ำฝน แสดงถึงการประสบกับภัยแล้งของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนได้เป็นอย่างดี

สรุป
อาการทางกายภาพของลำไยที่แตกเกิดจากการที่เปลือกลำไยขยายตัวไม่ทันการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเนื้อลำไย ซึ่งสาเหตุแท้จริงเกิดจากการที่ผลลำไยที่กำลังเจริญเติบโตนั้น ผ่านสภาพแล้ง อุณหภูมิสูง หรือขาดน้ำก่อน จากนั้นจึงได้รับน้ำในปริมาณมากทันที หรือเกิดจากการที่ฝนขาดช่วง ได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้เกิดการแสดงอาการผลแตกและหลุดร่วงได้


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผลแตกของลำไย ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมภายนอก คือสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เช่น แล้งแล้วกระทบฝน หรือฝนขาดช่วง หรือการจัดการน้ำที่เหมาะสม เช่น ให้น้ำไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น และสภาพแวดล้อมภายในต้นลำไยเอง โดยมักจะพบว่าเฉพาะต้นลำไยที่ติดผลดก ลูกมีขนาดเล็กและเปลือกบาง มักจะถูกชักนำจากสภาพแวดล้อมให้แสดงอาการผลแตกได้ง่ายและมากกว่าต้นที่ติดผลปานกลางหรือน้อย

ปัญหาลำไยผลแตกดังกล่าว เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ซึ่งได้แก่ การให้น้ำลำไยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ หากพบว่าลำไยติดผลดกอาจจะต้องตัดแต่งช่อผลออกบ้างเพื่อให้ลำไยสามารถเลี้ยงลูกได้ การดูแลเรื่องธาตุอาหารเสริมโดยเฉพาะแคลเซียม อาจจะช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับสวนลำไยได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ธีรนุช เจริญกิจ และ ผศ.พาวิน มะโนชัย ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้-สกว. และศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ โทร. (053) 499-218


เอกสารอ้างอิง
พาวิน มะโนชัย ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2547. เทคโนโลยีการผลิตลำไย. ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. 128 หน้า.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2553. ผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง "เสียงสะท้อนชาวสวน ก่อนผลผลิตลำไยออกสู่ตลาด". 2 หน้า.

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05094010953&srcday=&search=no

http://info.matichon.co.th/techno/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 19/09/2010 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก่อนอื่นต้องกราบขออภัยต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ก่อนๆของผมเป็นอย่างสูงด้วยครับกับข้อมูลที่ผิดพลาดไป ที่จริงแล้วปุ๋ยที่ผมใช้ผสมสารราดฯ คือ สูตร 13-0-46 ไม่ใช่ 14-0-46 ครับ

จากวันที่ราดผ่านไปแล้ว 23 วัน ตอนนี้ลำไยที่ต้นอายุ 6 ปี แทงช่อดอกเกือบทุกยอด ส่วนต้นที่อายุ 10 กว่าปี ก็เริ่มแทงยอดออกมาแล้ว คาดว่าคงจะประสบผลสำเร็จในการทำให้ลำไยออกดอกในปีนี้

ขั้นตอนต่อไปก็คงต้องดูแลให้เป็นเมล็ดให้มากที่สุดต่อไป แล้วจะมารายงานผลต่อไปครับผม ต้องขอบคุณเกร็ดความรู้จากบอร์ดลุงคิมด้วยครับ กับความรู้ที่ได้ ผมได้ความรู้จากลุงมากจริง ๆ

ขอบคุณครับ
หมึกครับผม Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/09/2010 8:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

งานเข้า ....... เตรียมมาตรการรับกับปัญหาที่อาจจะ เกิด/ไม่เกิด.....

1. ดอกมาก/ดอกน้อย - ดอกสมบูรณ์/ไม่สมบูรณ์
2. ดอกร่วงเกลี้ยง
3. ลูกเล็ก-เมล็ดใหญ่-เนื้อบาง -ไซด์ 70 ลูก/กก.
4. ผลแตก ผลร่วง
5. ผลแก่สีไม่จัด
6. ผลแก่เนื้อไม่แห้ง
7. ผลแก่เนื้อไม่กรอบ
8. ผลแก่กลิ่นไม่จัด
9. ฯ ล ฯ
10. ของดีไม่โฆษณา ดีแค่ไหนก็ไปไม่รอด

ปัญหาเหล่านี้เคยโดนไหม ? แล้วใครต่อใครเคยโดนบ้างไหม ?
ถ้า.....ตัวเองเคยโดน ใครต่อใครก็เคยโดน

ถามว่า...
ป้องกัน/แก้ไข ได้ไหม ? อย่างไร ?


ลุงคิมครับผม
ปล.
- ถ้าปีนี้ผลผลิตดีจริง ปีหน้าลูกค้าจองล่วงหน้า
- คุณ OARRAYONG มีประสบการณ์ตรง แนะนำได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 20/09/2010 8:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับกับคำแนะนำ

นี่ผมก็กำลังเจอปัญหากับแปลงที่ใกล้จะเก็บได้ในต้นเดือนหน้านี่แหละ จากฝนที่ตกชุกแทบไม่เว้นแต่ละวัน ในรอบเกือบเดือนที่ผ่านมาลำไยผมลูกก็โตพอใช้ได้ แต่มันทั้ง ไม่หวาน ไม่หอม เนื้อไม่แห้ง แถมเมื่อ 7 วันก่อน ผมเอา ไคโตซานผง ที่สีของมันดำๆ ผสมปุ๋ยเกล็ดไปพ่น พอพ่นเสร็จฝนก็ตกลงมา ผลก็คือ

ฝนมันล้างเอาไคโตซานย้อยลงมาเป็นก้นหอยสีดำ อยู่ที่ใต้ลูกลำไย 7 วัน แล้วมันยังไม่หายดำ เลยไม่รู้ว่าถึงวันเก็บมันจะหายหรือเปล่า ? ถ้าไม่หายต้องแย่แน่ๆ เลย

ลุงแนะนำผมได้ไหมครับว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ยังไง ? (สีดำที่ว่า มันไม่ได้ซึมเข้าเนื้อลำไยนะครับ เพราะผมลองเอานิ้วจุ่มน้ำเช็ดเบาๆ ก็หาย)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
bombon
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009
ตอบ: 68

ตอบตอบ: 20/09/2010 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่ห้ามใช้ จากประสบการณ์จริง
1 ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน
2 กำมะถัน
อย่างอื่นไม่แน่ใจ ต้องลองอีก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/09/2010 8:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

catcaty บันทึก:
ขอบคุณครับกับคำแนะนำ

นี่ผมก็กำลังเจอปัญหากับแปลงที่ใกล้จะเก็บได้ในต้นเดือนหน้านี่แหละ จากฝนที่ตกชุกแทบไม่เว้นแต่ละวัน ในรอบเกือบเดือนที่ผ่านมาลำไยผมลูกก็โตพอใช้ได้ แต่มันทั้ง ไม่หวาน ไม่หอม เนื้อไม่แห้ง แถมเมื่อ 7 วันก่อน ผมเอา ไคโตซานผง ที่สีของมันดำๆ ผสมปุ๋ยเกล็ดไปพ่น พอพ่นเสร็จฝนก็ตกลงมา ผลก็คือ

ฝนมันล้างเอาไคโตซานย้อยลงมาเป็นก้นหอยสีดำ อยู่ที่ใต้ลูกลำไย 7 วัน แล้วมันยังไม่หายดำ เลยไม่รู้ว่าถึงวันเก็บมันจะหายหรือเปล่า ? ถ้าไม่หายต้องแย่แน่ๆ เลย

ลุงแนะนำผมได้ไหมครับว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ยังไง ? (สีดำที่ว่า มันไม่ได้ซึมเข้าเนื้อลำไยนะครับ เพราะผมลองเอานิ้วจุ่มน้ำเช็ดเบาๆ ก็หาย)



ทำไมคุณพูด (เขียน) อะไรต่อมิอะไร "น้อย" จัง.....อย่างบอกว่า เอาไคโตซานผงผสมปุ๋ยเกร็ด อันนี้น่าจะวงเล็บหน่อยว่า สูตรไหน ลุงคิมไม่ใช่คนจู้จี้จุกจิกกวนใจจริงเจียวอะไรหรอก เพราะ 1) เพื่อประกอบการหาคำตอบ และ 2) เพื่อสมาชิกท่านอื่นๆจะได้รู้ด้วย

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ลุงคิมให้คำตอบคุณไปแล้ววันนี้ อีกกี่วันคุณถึงจะรู้ เพราะดูเหมือนหลายๆ ๆๆ ๆๆ วัน คุณถึงจะมาเปิดเน็ตที ในขณะที่ลุงคิมเปิดเน็ตทุกวัน อย่างน้อย 1 เวลา ถ้าไม่ติดภารกิจก็จะเปิดตั้เงแต่ 6 โมงเช้า ถึงเที่ยงคืน ก็ยังเคย


เรื่อง "ไคโตซานผงสีดำ" เรียนตามตรงว่า ไม่ทราบ ไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน .... ถามย้อนนิดนึ่ง "ทำไมไม่สอบถามกลับไปที่บริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย" ล่ะ

อาการลำไย "ไม่หวาน / ไม่หอม" กรณีนี้เกิดจากขาด "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" อย่างรุนแรง ทั้งทางราก และทางใบ.....ชัวร์

อาการ "เนื้อไม่แห้ง" กรณีนี้เกิดจาก "ปุ๋ยหวาน" (ปรับปรุงคุณภาพผลก่อนเก็บเกี่ยว) ผิดสูตร.....ชัวร์



ตอบได้แค่นี้ เพราะรายละเอียดในคำถามน้อยมาก
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 20/09/2010 9:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไคโตซานผงที่ผมใช้เป็นไคโตซานของกุ้งหลวงไคโตซาน เวลาใช้จะผสมกันสามอย่าง คือ ( ไคโตซานน้ำ + ไคโตซานผง + อินทรีย์น้ำไคโตซาน) เพื่อนแนะนำมา

ผมเคยใช้ฉีดทางดินช่วยปรับสภาพดินได้ดีพอควร แล้วก็การฉีดทางใบ ผมก็เคยฉีดหลายครั้งแล้วก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร ครั้งที่มีปัญหานี้ก็เพราะฉีดเสร็จยังไม่ทันแห้งฝนตกใส่ มันก็เลยย้อยลงมาอย่างที่บอกไปน่ะครับ

ที่ผมไม่ได้บอกสูตรปุ๋ยก็เพราะคิดว่ามันคงไม่เกี่ยวข้องอะไรกับก้นหอยสีดำใต้ลูกลำไยน่ะครับ แต่บอกก็ได้ครับ คือสูตร 13-0-46

สำหรับปุ๋ยที่คิดว่าให้ผิดสูตรนี่ นับจากวันที่ราดสารครบสี่เดือน ผมให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ทางดิน หนึ่งครั้ง ครบห้าเดือนให้สูตรเดิมแบบเดิมอีกหนึ่งครั้ง

ปัญหาที่เกิดกับลำไยของผมจะเกิดจากเหตุนี้หรือเปล่าครับ ?


ขอบคุณครับ
หมึกครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 20/09/2010 9:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

bombon บันทึก:
สิ่งที่ห้ามใช้ จากประสบการณ์จริง

1 ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน
2 กำมะถัน

อย่างอื่นไม่แน่ใจ ต้องลองอีก


ผมไม่เข้าใจคำตอบนี้ครับ คือยังไงหรือครับ ? ข้อดีข้อเสียคือยังไงครับ ?


ขอบคุณครับ
หมึกครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/09/2010 10:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

(ไคโตซานน้ำ + ไคโตซานผง + อินทรีย์น้ำไคโตซาน)

โอ้โฮ ไคโตซานอะไรกันนักกันหนา........ว่าไปเถอะ ลุงคิมไม่เอาด้วยหรอกนะ




13-0-46 ปกติเขาใช้เพื่อการเปืดตาดอกเท่านั้น ไม่ใช่หรือ เอาเป็นว่า ถ้าคุณใช้แล้วมันได้ผลตามต้องการ ก็ใช้ต่อไป เพราะถึงอย่างไรเสีย ธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ สวนเขาสวนเรา ไม่เหมือนกัน เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณ ไงๆ ลุงคิมว่า น่าจะเอาข้อมูลเรื่องลำไย ในเวบนี้ที่ เมนูหลัก-ไม้ผล-ลำไย มาวิเคราะห์เปรียบเทียบนะ

ไม่ทราบว่า คุณได้ใช้ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" บ้างหรือเปล่า โดยเฉพาะแคลเซียม โบรอน. เพราะธาตุอาหารกลุ่มนี้นี่แหละที่เป็นตัวปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ดีขึ้น


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 21/09/2010 9:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พี่หมึกครับ

ผมเองเคยมีประสบการณ์ใช้ ไคโตซาน แบบครบชุดยี่ห้อหนึ่ง
ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับพี่เลยครับ
มีคราบดำจับติดอยู่กับใบไม้ เป็นสัปดาห์ยังไม่ออกเลย

เท่าที่ทราบ กุ้งหลวง ที่พี่ใช้ ไม่ได้โจมตีน่ะครับ
ของเดิม ก็ ป.ด.ไคโตซาน ไงครับพี่

ผู้รู้ที่อยู่เบื้องหลังเคยให้ข้อมูลไว้ว่า
ไคโตซานผงที่พี่ใช้ = "ผงชูรสพืช" ในชื่อเดิม ซึ่ง
คุณสมบัติของเขาดีน่ะ แต่ติดใบทิ้งคราบเป็นสัปดาห์ครับ
ที่เรียก "ไคโตซานผง" ก็เพราะเอาเจ้าผงชูรสพืช มาสเปรย์
ด้วยไคโตซานอีกรอบนึง (จริงเท็จยังไง ฟังหูไว้หูน่ะครับ
เขาเล่าให้ฟังอีกที) นี่ไงครับจึงมีเหตุการณ์ทิ้งคราบดำ
เกิดขึ้นให้พี่พบเห็น

เอาใจช่วยน่ะครับพี่


ยุทธ ครับ
(หากกระทบกระเทือนผู้ใด ต้องขออภัยน่ะครับ เราเอาความจริงมาพูดกัน)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 21/09/2010 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Yuth-Jasmine บันทึก:
พี่หมึกครับ

ผมเองเคยมีประสบการณ์ใช้ ไคโตซาน แบบ ครบชุด ยี่ห้อหนึ่ง
ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับ พี่ เลยครับ
มีคราบดำจับติดอยู่กับใบไม้ เป็นสัปดาห์ยังไม่ออกเลย

เท่าที่ทราบ กุ้งหลวง ที่พี่ใช้ ไม่ได้โจมตีน่ะครับ
ของเดิม ก็ ป.ด.ไคโตซาน ไงครับพี่
ผู้รู้ที่อยู่เบื้องหลังเคยให้ข้อมูลไว้ว่า
ไคโตซานผงที่พี่ใช้ = "ผงชูรสพืช" ในชื่อเดิม ซึ่ง
คุณสมบัติของเขาดีน่ะ แต่ติดใบทิ้งคราบเป็นสัปดาห์ครับ
ที่เรียก "ไคโตซานผง" ก็เพราะเอาเจ้าผงชูรสพืช มาสเปรย์
ด้วยไคโตซานอีกรอบนึง (จริงเท็จยังไง ฟังหูไว้หูน่ะครับ
เขาเล่าให้ฟังอีกที) นี่ไงครับจึงมีเหตุการณ์ทิ้งคราบดำ
เกิดขึ้นให้พี่พบเห็น

เอาใจช่วยน่ะครับพี่

ยุทธ ครับ
(หากกระทบกระเทือนผู้ใด ต้องขออภัยน่ะครับ เราเอาความจริงมาพูดกัน)




ขอบคุณมากครับคุณยุทธสำหรับกำลังใจ ผมเองมือใหม่มากสำหรับเรื่องเกษตร
สะเปะสะปะไปเรื่อย เหนื่อยกว่างานเก่าเยอะ แต่ว่าโคตรสบายใจเลย เอาไว้ถ้ามี
ปัญหาช่วยให้คำแนะนำกันบ้างนะครับ

หมึกครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©