-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะพร้าวกะทิค่ะ ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะพร้าวกะทิค่ะ ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
salata
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2010
ตอบ: 9

ตอบตอบ: 17/08/2010 7:01 am    ชื่อกระทู้: มะพร้าวกะทิค่ะ ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมมีเรื่องสงสัยมาก ๆ คือว่า

ไปซื้อมะพร้าวกะทิมาเหมือนกัน แล้วถามเจ้าของเขาว่า ขยายพันธุ์ได้ไหม เจ้าของบอกไม่ได้เพราะปั่นเนื้อเยื้อมา

แต่ที่เราซื้อมามันเป็นผลนะลุงคิม ก็เลยสงสัยว่า ปกติการปั่นเนื้อเยื้อมันจะเป็นต้นเลยไม่ใช่หรือค่ะ




ขอบคุณค่ะ
salata
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
supat
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/08/2009
ตอบ: 27

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมไปงานไผ่ ที่สวนสิรีกิตต์ ( จตตุจักร ) มา เห็นร้านขายมะพร้าวกะทิ

เจ้าของร้านบอกว่าเป็นพันธุ์ที่ ม. เกษตร ขยายพันธุ์เอง และรับรองว่า
2 ปี ออกผล และผลทุกลูกเป็นกะทิ ผมจึงไม่แน่ใจ เพราะปกติที่เคยได้
ยินมา จะเป็นกะทิแค่บางลูกเท่านั้น ก็เลยอยากทราบเหมือนกันครับ

ขอบคุณครับ
จาก SUPAT
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำมะพร้าวกะทิ

ความเป็นมา
ธรรมชาติ ของ “มะพร้าวกะทิ” ทุกสายพันธุ์ เวลาติดผลในหนึ่งทะลาย จะมีผลที่กลายเป็นกะทิร่วมอยู่ด้วย 1 ผล หรือเป็นกะทิ ได้มากที่สุด ไม่เกิน 3 ผล ต่อหนึ่งทะลาย จึงเป็นสาเหตุทำให้ “มะพร้าวกะทิ” มีราคาแพงกว่ามะพร้าวแกงทั่วไปในยุคสมัยก่อน “มะพร้าวกะทิ” จะมีสายพันธุ์เดียวคือ เป็นพันธุ์ที่มีต้นสูง 10 หรือ 15 เมตร ต้องปีนขึ้นไปเก็บลำบากมาก ในยุคนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมปลูกกันด้วย จึงทำให้หารับประทานยากและมีราคาแพงตามที่กล่าวข้างต้น

ส่วนใหญ่ นิยมเอาเนื้อ “มะพร้าว กะทิ” ไปใส่น้ำแข็งไสผสมน้ำเชื่อมโดยใช้ ช้อนคว้านเป็นชิ้นพอคำ หรือใช้ช้อนตัก กินเฉยๆก็ได้ รสชาติหวานมันอร่อยมาก ปัจจุบันนิยมคว้านใส่ไอศกรีม ทำบัวลอย “มะพร้าวกะทิ” ขายตามร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูก “มะพร้าวกะทิ” จำนวนมากที่ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว มีปัญหาเมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติดผลเป็นทะลาย มีผลมากกว่า 15-20 ผล ต่อ 1 ทะลาย เมื่อปล่อยให้ผลแก่เต็มที่คาต้น ไม่สามารถแยกได้ว่า ผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิ ต้องใช้วิธีปอกเปลือกทุกผล และผ่าดูเนื้อในทุกผล ทำให้เสียเวลา และผลที่ไม่ใช่ “มะพร้าวกะทิ” เสียหาย เพราะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ทันนั่นเอง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีวิธีพิสูจน์แบบง่ายๆ ใช้มาแต่โบราณแล้วคือ เมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติด ผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่าฟังดูว่าถ้าไม่มีเสียงน้ำในผลดังกระฉอกเลย หมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น “มะพร้าวกะทิ” อย่างแน่นอน ไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบ ดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลา ทำหรือฝึกบ่อยๆจึงจะชำนาญ ช่วงแรกอาจมีผิดบ้างเป็น ธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน

ส่วน วิธีผ่ารับประทาน คนเฒ่าคนแก่บอกเคล็ดลับว่า ถ้าต้องการให้เนื้อในของ “มะพร้าวกะทิ” ฟู หรือเหนียวแน่น อร่อย ต้องนวดก่อน โดยเอาผลที่ปอกเปลือกแล้วกระแทกกับพื้นปูนเบาๆรอบๆผลให้ทั่ว กะเวลาจนแน่ใจว่าพอแล้วจึงนำผลไปผ่าครึ่ง จะพบว่าเนื้อในฟูเป็นสีขาวคล้ายปุยฝ้าย ใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย รสชาติหวานมันหอมอร่อยมาก

ปัจจุบัน “มะพร้าวกะทิ” มี 2 ชนิด พันธุ์ที่ ได้รับความนิยมรับประทานและนิยมปลูกกันแพร่หลาย ได้แก่ “มะพร้าวกะทิน้ำหอม” กับ “มะพร้าวกะทิน้ำหวาน” ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย สูงเต็มที่ไม่เกิน 2-3 เมตร ติดผลดก 15-20 ผลต่อหนึ่งทะลาย มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร โครงการ 19 แผง “ดาบสมพร” กับโครงการ 13 แผง “คุณภิญโญ” และโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.


การทำมะพร้าวกะทิ
วิธีที่ 1 ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 2 เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80 -90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง

www.kasedtakon.com › Blogs › admin's blog -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำมะพร้าวกะทิ

สาขาของภูมิปัญญา : ด้านการเกษตร

ข้อมูลติดต่อ : 23/20 หมู่ 3 ต.ชายนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13100 โทร. 01-8065608

รายละเอียดของภูมิปัญญา :
วิธีที่ 1 ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 2 เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80 -90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง

ประโยชน์ :
ช่วยทำให้เศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในท้องถิ่น

www.tei.or.th/songkhlalake/database/local.../agri_1.html -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ

หัวหน้าโครงการวิจัย นายสมชาย วัฒนโยธิน

ความเป็นมา
• มะพร้าวกะทิ เกิดจากการกลายพันธุ์ของมะพร้าวธรรมดาทั่วไป
• มีเนื้อนุ่มหนา น้ำข้นเหนียว เพาะไม่งอก ลักษณะของมะพร้าวกะทิ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังรุ่นลูก
• ต้นมะพร้าวกะทิที่พบในสวนมะพร้าวทั่วไ จะเป็นต้นมะพร้าว ลูกผสมกะทิ เนื่องจากเกษตรกรนำผลมะพร้าวธรรมดาจากต้น มะพร้าวกะทิลูกผสมไปเพาะขยายพันธุ์
• ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิในธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มะพร้าว ประเภทต้นสูง และปลูกกระจัดกระจาย จึงพบผลมะพร้าวกะทิในบาง ทลาย จนมีคำกล่าวว่า “ จะพบมะพร้าวผลที่เป็นกะทิในทลายที่อยู่ทาง ทิศตะวันออก ”
• ความเป็นจริงถ้าปลูกมะพร้าวกะทิเป็นแปลงหรือเป็นกลุ่มอย่างน้อย 5 ต้นขึ้นไป ก็จะพบมะพร้าวกะทิเกิดขึ้นทุกทลาย
• ปัจจุบันพบต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยทั่วไปในสวน เกษตรกร และแปลงทดลองคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการ ส่งออก จำนวน 2 ต้น
• เนื่องจากลักษณะมะพร้าวกะทิเป็นลักษณะด้อย เมื่อนำคัพภะมะพร้าวกะทิที่ได้จากต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่ปลูกโดยทั่วไป นำไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ เมื่อได้ต้นกะทิพันธุ์แท้ไปปลูก จะพบ ต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่ผิดปกติ มากกว่า 90 %
• ในปี 2530 บริษัท บางกอกฟลาวเวอร์เซ็นเตอร์ จำกัด ได้เริ่มทำการเพาะเลี้ยง คัพภะมะพร้าวกะทิที่ซื้อมาจากสวนเกษตรกร ได้ต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ และ นำลงปลูกบนเกาะในเขื่อนวชิราลงกรณ์ อ . ทองผาภูมิ จ . กาญจนบุรี ในปี 2531 และ 2533 รวมจำนวน 2,150 ต้น เกาะมะพร้าวกะทิแห่งแรกของโลกจึงได้ เกิดขึ้นที่ประเทศไทย
• ในปี 2538 ดร.อุทัย จารณศรี ได้ขอให้บริษัท บางกอกฟลาวเวอร์เซ็น เตอร์ จำกัด ให้ความเอื้อเฟื้อกรมวิชาการเกษตรไปศึกษาพันธุ์มะพร้าว กะทิที่บนเกาะ และคัดเลือกต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิที่ดี นำดอกเกสรตัวผู้ มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ
• ในปี 2538 งานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ จึงได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยเป็นแห่งแรกของโลก แม้ว่าระยะแรกๆ จะได้รับการดูถูก เหยียดหยามจากนักปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวชาวฟิลิปปินส์ว่า เป็น โครงการวิจัยโง่ๆ นักวิจัยฟิลิปปินส์ไม่สนใจมะพร้าวที่เอามาสกัด น้ำมันไม่ได้
• นักวิจัยคนไทยบางคนบอกว่า คนใต้ เวลาผ่าเจอมะพร้าวกะทิ เอามาทำ มะพร้าวแห้งไม่ได้ ก็โยนให้สุนัข สุนัขมันยังไม่กิน แล้วจะปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิไปทำไม
• เนื่องจากมะพร้าวกะทิยังมีน้อย จึงมีราคาแพง ต้นพันธุ์มะพร้าวที่ดีที่ จะใช้เป็นแม่พันธุ์ก็มีน้อย ประกอบกับยังไม่มีประเทศใดที่คิดจะทำงาน วิจัยเกี่ยวกับมะพร้าวกะทิ จึงได้วางแผนการดำเนินงานวิจัย การเปรียบเทียบพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่ใช้พันธุ์มะพร้าวธรรมดาเป็น ต้นแม่พันธุ์

วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ 5 สายพันธุ์ ดังนี้
กรรมวิธีที่ 1 มะพร้าวพันธุ์น้ำหอม x กะทิ (NHK)
กรรมวิธีที่ 2 มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ (YDK)
กรรมวิธีที่ 3 มะพร้าวพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย x กะทิ (RDK)
กรรมวิธีที่ 4 มะพร้าวพันธุ์ทุ่งเคล็ด x กะทิ (TKK)
กรรมวิธีที่ 5 มะพร้าวพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x กะทิ (WAK)

ผลการทดลอง
- ผลผลิตรวมที่เป็นทั้งผลผลิตมะพร้าวธรรมดาและมะพร้าวกะทิของทุกสาย พันธุ์ พบว่า ผลผลิตรวม 3 ปี ( อายุ 4-7 ปี ) ของมะพร้าวลูกผสมทุกสายพันธุ์ให้ ผลผลิตเรียงตามลำดับดังนี้
1. สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ ให้ผลผลิตสูงสุด 3 , 378 ผล / ไร่
2. สายพันธุ์ลูกผสมทุ่งเคล็ด x กะทิ ให้ผลผลิตรองลงมา 2 , 864 ผล / ไร่
3. สายพันธุ์ลูกผสมมลายูสีแดงต้นเตี้ย x กะทิ ให้ผลผลิต 2 , 768 ผล / ไร่
4. สายพันธุ์ลูกผสมน้ำหอม x กะทิ ให้ผลผลิตรวม 1 , 917 ผล / ไร่
5. สายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x กะทิ ให้ผลผลิตรวม 1 , 887 ผล / ไร่

- รายได้จากการทำสวนมะพร้าวลูกผสมกะทิ
• ผลผลิตที่ได้จากการปลูกมะพร้าวสายพันธุ์ลูกผสมกะทิ ซึ่งมีทั้งผลผลิต มะพร้าวกะทิและผลผลิตมะพร้าวธรรมดา เมื่อนำผลผลิตทั้งหมดที่ได้มา คำนวณรายได้โดยคิดราคาผลมะพร้าวกะทิที่ราคาผลละ 30 บาท และมะพร้าว ธรรมดาราคาผลละ 3 บาท พบว่าผลผลิตรวม 3 ปี (ปีที่ 4-7) ของผลผลิตรวมมี รายได้รวม 3 ปีแรกดังนี้
1. สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ ให้รายได้รวมสูงสุด 28,008 บาท/ไร่
2. สายพันธุ์ทุ่งเคล็ด x กะทิ มีรายได้รวม 22,346 บาท/ไร่
3. สายพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย x กะทิ ให้รายได้รวม 20,892 บาท/ไร่
4. สายพันธุ์น้ำหอม x กะทิ ให้รายได้รวม 15,177 บาท/ไร่
5. สายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x กะทิ มีรายได้น้อยที่สุด 13,764 บาท/ไร่

จากการผสมพันธุ์มะพร้าวระหว่างต้นแม่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอมกับละอองเกสรมะพร้าวกะทิ พบว่าได้ต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ ที่ให้ผลผลิตเป็น มะพร้าวกะทิที่มีเนื้อและน้ำมีกลิ่นหอม เหมือนกับแม่พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์น้ำหอม ในซ้ำที่ 1 จำนวน 9 ต้น ซ้ำที่ 2 จำนวน 8 ต้น ซ้ำที่ 3 จำนวน 8 ต้น และ ซ้ำที่ 4 จำนวน 9 ต้น รวมทั้งหมด 35 ต้น จากจำนวนทั้งหมด 64 ต้น คิดเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนต้นทดลอง

สรุปผล
- มะพร้าวต้นแม่พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มีความสามารถถ่ายทอดลักษณะดีไปยังรุ่นลูกได้ (highly heritable)
- มะพร้าวต้นแม่พันธุ์น้ำหอมมีคุณลักษณะพิเศษ เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กับกะทิ จะ ถ่ายทอดพันธุกรรม ความหอมของน้ำและเนื้อมะพร้าวไปยังรุ่นลูกผสม ทำให้ ลูกผสมกะทิให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิที่มีความหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55 % ของจำนวนต้นพันธุ์ลูกผสม
- เปอร์เซ็นต์ผลมะพร้าวกะทิที่ได้จากพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิขึ้นอยู่กับแหล่ง ปลูกต้องปลอดจากมะพร้าวพันธุ์ธรรมดา และการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ผลมะพร้าว กะทิ จากการปลูกมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ สามารถเพิ่มได้ถึง 50 % จาก 25 % ตามกฎของเมนเดล โดยใช้เทคนิคการช่วยผสมเกสรด้วยพันธุ์มะพร้าวกะทิ พันธุ์แท้

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ ระหว่างพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย กับกะทิ ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดีตามที่ตลาดต้องการ เสนอเป็น พันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรในปี 2551
- ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม X กะทิ ที่ให้ผล ผลิตเป็นมะพร้าวกะทิน้ำหอม เสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการ เกษตร ในปี 2551
- พันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ ที่ให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิน้ำหอม เพื่อใช้ ในการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ย โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงคัพภะมะพร้าว

as.doa.go.th/hort/operation/hortResponse/.../coconuttihrp01.htm -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าว ๕๐ ต้น มีมะพร้าวกะทิ ๓ ลูก

มะพร้าวกะทิเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ มีการประมาณกันในหมู่ชาวสวนมะพร้าวว่า มะพร้าวในสวน ๕๐ ต้นจะมีมะพร้าวกะทิอยู่ประมาณ ๓ ลูกเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ชาวสวนมะพร้าวจึงมักถือว่า การที่มะพร้าวในสวนของตนออกลูกมาเป็นมะพร้าวกะทินั้น เป็นผลพลอยได้มากกว่า แต่ด้วยความที่มะพร้าวกะทิมีราคาดีและหายาก ตกลูกละ ๑๕-๒๐ บาท ชาวสวนบางคนจึงพยายามที่จะปลูกมะพร้าวกะทิ โดยใช้วิธีเอาผลมะพร้าวธรรมดาในต้นที่มีประวัติเคยออกลูกเป็นมะพร้าวกะทิมาปลูกด้วยความหวังว่า เมื่อมะพร้าวต้นดังกล่าวโตขึ้น จะมีโอกาสให้ลูกเป็นมะพร้าวกะทิเช่นเดียวกัน เหตุที่ไม่นำผลมะพร้าวกะทิมาปลูกโดยตรงก็เพราะมะพร้าวกะทิไม่สามารถเพาะเป็นต้นได้ เนื่องจากมีความขัดข้องทางพันธุศาสตร์ แม้ในผลของมะพร้าวกะทิจะมีต้นอ่อนเหมือนกับมะพร้าวทั่ว ๆ ไปก็ตาม

แต่ปัจจุบันมีข่าวว่า นักวิจัยทดลองนำเอาต้นอ่อนของมะพร้าวกะทิที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วไปเลี้ยงในขวดที่มีอาหารพิเศษอยู่ประมาณ ๘-๙ เดือน ก่อนจะย้ายลงถุงหรือกระถางเพื่อเตรียมปลูกลงดินต่อไปโดยสันนิษฐานว่า เมื่อสามารถเพาะต้นอ่อนได้เป็นผลสำเร็จแล้ว ลูกที่ออกมาน่าจะเป็นมะพร้าวกะทิทั้งหมด และเมื่อเชื้อไปผสมกับมะพร้าวธรรมดา ก็น่าจะทำให้มะพร้าวธรรมดาออกลูกเป็นมะพร้าวกะทิด้วยถ้าการทดลองนี้ประสบผลสำเร็จ ก็จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและนักนิยมมะพร้าวกะทิมากทีเดียว

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

guru.sanook.com › ... › ข้อมูล และความรู้ › ชีววิทยา -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวกะทิ 2 พันธุ์ใหม่...ทั้งเตี้ย ทั้งหอม

นับเป็นข่าวดีที่ กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ 2 พันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เพื่อการค้า

นายสมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ทีมนักวิจัยเริ่มปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2538 โดยได้รับความร่วมมือจากสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ของบริษัท อูติเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จำกัด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งสนับสนุนพ่อพันธุ์มะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ 1 พันธุ์ จำนวน 44 ต้น นำมาผสมกับแม่พันธุ์มะพร้าว 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์น้ำหอม สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย สายพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย สายพันธุ์ทุ่งเคล็ด และสายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง พันธุ์ละ 100 ต้น

เบื้องต้นได้สายพันธุ์มะพร้าวลูกผสม กะทิ ชื่อย่อ NHK, YDK, RDK, TKK และ WAK ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองปลูกพร้อมคัดเลือกสายพันธุ์เรื่อยมากระทั่งปี 2549 พบว่า มะพร้าวลูกผสมกะทิ 2 พันธุ์มีความโดดเด่นและมีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ คือ YDK และ NHK ซึ่งเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มรายได้

สำหรับสายพันธุ์ YDK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย (พันธุ์แม่) กับมะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะ เด่น คือ ออกจั่นและติดผลเร็วขณะที่ ต้นเตี้ย (สูงจากพื้นที่ดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร) หลังปลูกประมาณ 4 ปี ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,902 ผล/ไร่/ 3 ปีแรก (ช่วงอายุ 4-7 ปี) คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่ ถ้าแหล่งปลูกปลอดจากมะพร้าวธรรมดา จะมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่ ขึ้นอยู่กับระบบการจัด การสวน

ส่วนสายพันธุ์ NHK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม (พันธุ์แม่) กับกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะเด่น คือ ออกจั่นเร็ว ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55% ของจำนวนต้นที่ปลูก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,064 ผล/ไร่/3 ปีแรก (อายุ 4-7 ปี) ซึ่งต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดังกล่าว สามารถใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยได้โดยใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงคัพภะ (Embryo culture) เข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยงผลมะพร้าวกะทิน้ำหอม ก็จะได้ต้นพันธุ์มะพร้าว กะทิน้ำหอม 100%

กรมวิชาการเกษตรจะประกาศให้มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรภายในปี 2553 นี้ พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อการค้าเพื่อเพิ่มรายได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งผลิตต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์ โดยใช้พื้นที่กว่า 80 ไร่ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรที่มียอดสั่งจองต้นพันธุ์เข้ามาแล้วกว่า 20,000 ต้น ขณะเดียวกันยังมีแผนขยายผลการวิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ต่อไป

หากสนใจเกี่ยวกับมะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0583 ต่อ 135 หรือ สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี โทร. 0-7738-1963.

รายละเอียด:
สอง + 2 เท่ากับ ? (ตอบเป็นตัวเลข)


www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content... -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/08/2020 2:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวกะทิ

มะพร้าวกะทิ (makapuno)
ลักษณะโดยทั่วไปของมะพร้าวกะทิ ไม่ว่าจะเป็นลำต้นทางใบใบย่อย และรูปทรงภายนอกของผลเหมือน กับมะพร้าวปกติทุกประการ ส่วนลักษณะที่แตกต่างออกไปจะ เป็นเพียงภายในของผล คือมี เนื้ออ่อน นิ่ม ฟูคล้ายผิวมะกรูด ความหนา 2-3 เซนติเมตร รสชาติหวานมัน น้ำภายในผล มีน้อยและมีลักษณะข้นเหนียว

สาเหตุการเกิดมะพร้าวกะทิ เป็นเรื่องของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เนื่องจากลักษณะของ มะพร้าวกะทิถูกควบคุมโดยยีนส์เพียง 1 คู่ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย(recessive) ส่วนลักษณะของมะพร้าวปกติ เป็นลักษณะเด่น (dominance)
ถ้าให้ A เป็นลักษณะปกติ
a เป็นลักษณะด้อย

การถ่ายทอดยีนส์ตามกฎพันธุกรรมของเมนเดล เป็นดังนี้
ชั่วพ่อ-แม่ AA x aa
ชั่วลูก Aa x Aa
ชั่วหลาน AA, Aa, Aa, : aa

3 ส่วนมะพร้าวปกติ :
1 ส่วนมะพร้าวกะทิ จากลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดลดังกล่าว จะพบว่า โอกาสเกิดมะพร้าวกะทิตามธรรม ชาตินั้นมีน้อยมาก ในสวนขนาดใหญ่ ที่มีต้นมะพร้าวนับร้อยต้นอาจพบต้นที่เป็นกะทิเพียงต้นเดียวหรือไม่พบ เลย และถึงแม้ว่าจะเป็นต้นกะทิอยู่ก็ตามก็มีโอกาสเกิดผลที่เป็นกะทิเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น และเนื่องจากมะพร้าวกะทิถูกควบคุมโดยยีนส์ที่มีลักษณะด้อย จึงเป็นผลให้เอ็มบริโอ (embryo) ภายในผลไม่สามารถเจริญเติบโตหรือไม่ สามารถงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนได้

การขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิ อาจทำได้โดย
1. เลือกผลที่ไม่เป็นกะทิจากต้นที่เป็นกะทิ (ต้นเพาะ) ในผลดังกล่าว อาจจะมียีนส์ที่เป็น AA หรือ Aa ก็ได้ เมื่อเพาะขึ้นมาจึงมีโอกาสได้ต้น ที่เป็นกะทิอยู่ร้อยละ 50 และเมื่อต้นที่เป็นกะทินั้นออกผลจะมีโอกาส ได้ผล ที่เป็นกะทิอยู่ร้อยละ 25 การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ตั้งแต่เริ่มเพาะจนถึงตกผล ใช้เวลาประมาณ 5 ปี

2. การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ (embryo culture) โดยนำ เอ็มบริโอของผลมะพร้าวกะทิม าเลี้ยงในวุ้นในสภาพปลอดเชื้อ เอ็มบริโอ ของมะพร้าวกะทิก็จะพัฒนาขึ้นโดยสร้างราก ยอด ใบ และเมื่อเจริญ เติบโต ถึงระยะหนึ่งก็สามารถนำออกไปปลูกได้ การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะใช้เวลา เพาะเลี้ยงอยู่ในวุ้นประมาณ 2-3 ปี แล้วจึงนำออกไปปลูกในแปลง ซึ่งจะ ใช้เวลาอีกประมาณ 5 ปี จึงจะออกผล
ถึงแม้ว่าการขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิทั้งสองวิธีจะใช้เวลาค่อนข้าง นาน แต่ถ้าได้ทำการขยายพันธุ์โดย ต่อเนื่องแล้ว นับวันจำนวนต้นและจำนวน ผลมะพร้าวกะทิที่ผลิตได้ภายในประเทศก็จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เพื่อให้ ตอบสนองได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีทั้งการบริโภค สดโดยตรง และนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น ไอศกรีม ขนมหวาน ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนำไปแปรรูปและบรรจุกระป๋องก็ตาม


ที่มา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
aksong.board.ob.tc/-View.php?N=16 -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/08/2010 10:18 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวกะทิ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ; การปลูก; การเจริญเติบโต; การผสมเกสร; ผลผลิต

บทคัดย่อ:
การทำสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ขนาดใหญ่ของบริษัท บางกอกฟลาวเออร์เซ็นเตอร์ จก. ได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 โดยนำคัพภะจากผลมะพร้าวกะทิซึ่งมีลักษณะพันธุกรรมเป็นกะทิพันธุ์แท้ (Homozygous Recessive) มาเลี้ยงบนอาหารวิทยาศาสตร์สูตร MS ดัดแปลง

เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 6-8 เดือน คัพภะก็จะเกิดยอดมีใบ 3-5 ใบ มีระบบรากแข็งแรง จากนั้นจึงออกปลูกและเลี้ยงไว้ในโรงเรือนประมาณ 4-5 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 50-70 ซม.

จากนั้นจึงได้นำกล้ามะพร้าวกะทิพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจบุรี โดยเริ่มปลูกตั้งแต่ วันที่ 21 สิงหาคม 2531 ถึง 31 ธันวาคม 2533 ต้นกล้ามะพร้าวกะทิมี 3 ลักษณะ คือ ขนาดผลใหญ่ กลาง และเล็ก

รวมจำนวนต้นที่ปลูก 2,150 ต้น หลังจากปลูกได้ 4 ปี ต้นมะพร้าวกะทิขนาดผลกลาง 3 ต้น ซึ่งปลูกเมื่อ ปี พ.ศ. 2533 เริ่มออกดอกประมาณเดือนมกราคม 2535 ติดผลต้นละ 1 ลูก เมื่อผลเริ่มแก่ ได้ทำการผ่าเพื่อตรวจสอบ Endosperm เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 ผลปรากฏว่า ทั้ง 3 ผล เป็นมะพร้าวกะทิทุกผล คือ แสดงลักษณะ Triple Reccessive Homozygous ตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ

แสดงให้เห็นว่า การปลูกมะพร้าวกะทิเป็นสวนขนาดใหญ่ให้ห่างไกลจากมะพร้าวพันธุ์ธรรมดาได้ผลสำเร็จขั้นต้นตรงตามเป้าหมายที่วางไว้


kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/kucon.exe?rec_id... -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/08/2010 10:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวกะทิ” กับวิธีพิสูจน์ผลเป็นกะทิ

ธรรมชาติ ของ “มะพร้าวกะทิ” ทุกสายพันธุ์ เวลาติดผลในหนึ่งทะลาย จะมีผลที่กลายเป็นกะทิร่วมอยู่ด้วย 1 ผล หรือเป็นกะทิ ได้มากที่สุด ไม่เกิน 3 ผล ต่อหนึ่งทะลาย จึงเป็นสาเหตุทำให้ “มะพร้าวกะทิ” มีราคาแพงกว่ามะพร้าวแกงทั่วไปในยุคสมัยก่อน “มะพร้าวกะทิ” จะมีสายพันธุ์เดียวคือ เป็นพันธุ์ที่มีต้นสูง 10 หรือ 15 เมตร ต้องปีนขึ้นไปเก็บลำบากมาก ในยุคนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมปลูกกันด้วย จึงทำให้หารับประทานยากและมีราคาแพงตามที่กล่าวข้างต้น

ส่วนใหญ่ นิยมเอาเนื้อ “มะพร้าว กะทิ” ไปใส่น้ำแข็งไสผสมน้ำเชื่อมโดยใช้ ช้อนคว้านเป็นชิ้นพอคำ หรือใช้ช้อนตัก กินเฉยๆก็ได้ รสชาติหวานมันอร่อยมาก ปัจจุบันนิยมคว้านใส่ไอศกรีม ทำบัวลอย “มะพร้าวกะทิ” ขายตามร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูก “มะพร้าวกะทิ” จำนวนมากที่ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว มีปัญหาเมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติดผลเป็นทะลาย มีผลมากกว่า 15-20 ผล ต่อ 1 ทะลาย เมื่อปล่อยให้ผลแก่เต็มที่คาต้น ไม่สามารถแยกได้ว่า ผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิ ต้องใช้วิธีปอกเปลือกทุกผล และผ่าดูเนื้อในทุกผล ทำให้เสียเวลา และผลที่ไม่ใช่ “มะพร้าวกะทิ” เสียหาย เพราะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ทันนั่นเอง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีวิธีพิสูจน์แบบง่ายๆ ใช้มาแต่โบราณแล้วคือ เมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติดผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่าฟังดูว่าถ้าไม่มีเสียงน้ำในผลดังกระฉอกเลย หมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น “มะพร้าวกะทิ” อย่างแน่นอน ไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบ ดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลา ทำหรือฝึกบ่อยๆจึงจะชำนาญ ช่วงแรกอาจมีผิดบ้างเป็น ธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน

ส่วน วิธีผ่ารับประทาน คนเฒ่าคนแก่บอกเคล็ดลับว่า ถ้าต้องการให้เนื้อในของ “มะพร้าวกะทิ” ฟูหรือเหนียวแน่น อร่อย ต้องนวดก่อน โดยเอาผลที่ปอกเปลือกแล้วกระแทกกับพื้นปูนเบาๆรอบๆผลให้ทั่ว กะเวลาจนแน่ใจว่าพอแล้วจึงนำผลไปผ่าครึ่ง จะพบว่าเนื้อในฟูเป็นสีขาวคล้ายปุยฝ้าย ใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย รสชาติหวานมันหอมอร่อยมาก

ปัจจุบัน “มะพร้าวกะทิ” มี 2 ชนิด พันธุ์ที่ ได้รับความนิยมรับประทานและนิยมปลูกกันแพร่หลาย ได้แก่ “มะพร้าวกะทิน้ำหอม” กับ “มะพร้าวกะทิน้ำหวาน” ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย สูงเต็มที่ไม่เกิน 2-3 เมตร ติดผลดก 15-20 ผลต่อหนึ่งทะลาย มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร โครงการ 19 แผง “ดาบสมพร” กับโครงการ 13 แผง “คุณภิญโญ” และโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.

http://www.thairath.co.th/

www.pcru.ac.th/index_newpcruup2.php?pcru_id... -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แผนงานวิจัยการศึกษาและพัฒนามะพร้าวน้ำหอม
Study and Development of Aromatic Coconut

หัวหน้าแผนงานวิจัย นายสมชาย วัฒนโยธิน

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พันธุ์มะพร้าวน้ำหอมที่มีความหวานและความหอมสม่ำเสมอเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก

โครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออก

กิจกรรมย่อยที่ 1. การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออก
1. 1 การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม
1.2 การคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออก
1.3 การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอม
1.4 การทดลองพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมใน เขตภาคเหนือตอนล่าง
1.5 เปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีที่มีผลต่อสุขภาพระหว่างมะพร้าวน้ำหอมกับมะพร้าวต้นเตี้ยพันธุ์ต่าง ๆ
1.6 เปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของกรดไขมันอิสระระหว่างมะพร้าวน้ำหอมกับมะพร้าวกะทิ น้ำหอมในแต่ละช่วงการพัฒนาของผล

กิจกรรมย่อยที่ 2. เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม
2.1 อิทธิพลของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของมะพร้าวน้ำหอม
2.2 การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการ ผลิตมะพร้าวน้ำหอม

ผลสำเร็จที่ได้
1. การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมที่มีความหวาน และความหอมตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้นสำหรับเตรียมเสนอเป็นพันธุ์แนะนำ พันธุ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตรในปี 2552

2. การคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมเพื่อการส่งออก ได้ต้นพันธุ์มะพร้าว น้ำหอมที่มีขนาดและรูปทรงผล ความหอม และความหวานไม่ต่ำกว่า 7 องศาบริกซ์ จำนวน 300 ต้น

3. การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอม ได้ต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ ลงปลูกในแปลงจำนวน 68 ต้น จำนวน 90 % มีลักษณะทรงต้นที่ดี ต้นแรกออกจั่นเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 อายุครบ 2 ปี คาดว่าจะออกจั่นเมื่อสิ้นปี 2551 ประมาณ 5 % ปี 2553 คาดว่าจะได้ต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ย เป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร

4. การทดสอบพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมที่เหมาะสมในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้รวบรวมพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ทั้ง 3 แหล่งปลูก ได้แก่ พันธุ์ บ้านแพ้ว มีความสูง 383.75 ซม . รอบโคน 93.27 ซม . จำนวนใบเพิ่ม 7.45 ใบ ใบบนต้น 14.67 ใบ พันธุ์สวนสามพราน มีความ สูง 403.25 ซม . รอบโคน 97.43 ซม . ใบเพิ่ม 7.52 ใบ ใบบนต้น 15.33 ใบ พันธุ์ชุมพร มีความสูง 393.75 ซม . รอบโคน 93.25 ซม . ใบเพิ่ม 7.42 ใบบนต้น 14.50 ใบ ทุกสายพันธุ์ออกจั่นแล้วประมาณ 3-4 จั่น / ต้น ปี 2552 จะทราบคุณภาพความหอมและความหวาน ของผลผลิต

5. เปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีที่มีผลต่อสุขภาพระหว่างมะพร้าวน้ำหอมกับมะพร้าวต้นเตี้ยพันธุ์ต่างๆ ได้ศึกษาตัวอย่าง มะพร้าวพันธุ์ต้นเตี้ย จากแปลงรวบรวมพันธุ์ ของศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม น้ำหวาน มะพร้าวไฟ ไทยสีน้ำตาลต้นเตี้ย (หมูสีน้ำตาล) ไทยสีแดงต้นเตี้ย (หมูสีส้ม) และพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย ได้เก็บตัวอย่างมะพร้าว ผล อ่อน (น้ำและเนื้อ) วิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ครั้งที่ 1 ได้แก่ โซเดียม (Na) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และ คลอไรด์ (Cl) และได้เก็บข้อมูลมะพร้าว ผลแก่ ของพันธุ์ต้นเตี้ยดังกล่าว ได้แก่ ปริมาณเนื้อต่อผล (กรัม) ปริมาณไขมัน (%) ปริมาณกรด (% กรดลอริค % กรดแคปริค ฯลฯ) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

6. การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของกรดไขมันอิสระระหว่างมะพร้าวน้ำหอมกับมะพร้าวกะทิน้ำหอมในแต่ละช่วง การพัฒนาของผล ในปีที่ผ่านมาได้วิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน ครั้งที่ 1 ของมะพร้าวน้ำหอมผลอ่อน ( อายุ 7 เดือน ) และ ของมะพร้าวน้ำหอมกะทิผลแก่ และได้ทำการวิเคราะห์ ครั้งที่ 2 ได้ผลแตกต่างกันมาก จึงต้องวิเคราะห์ ครั้งที่ 3

7. อิทธิพลของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของมะพร้าวน้ำหอม ปรากฏผลการทดลองทุก กรรมวิธียังไม่มีผลแตกต่างทางสถิติทั้งด้านผลผลิต และคุณภาพ ความหอม และความหวานของมะพร้าวน้ำหอม
8. การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตมะพร้าวน้ำหอมเริ่มทำการวิจัยในปี 2551 ผลการทดลองจะเป็นประโยชน์ สำหรับเกษตรกรทำสวนมะพร้าวน้ำหอม ปัจจุบันเกษตรกรให้ธาตุอาหารกับสวนมะพร้าวน้ำหอมตามความนึกคิดของตนเอง จึงยังมีปัญหาในเรื่องผลผลิตและคุณภาพความหอมและความหวานของมะพร้าวอ่อน


as.doa.go.th/hort/operation/hortResponse/.../coconuthrp01.htm -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/08/2010 10:14 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จีนติดใจรสชาดมะพร้าวกะทิ ร้องรัฐหนุนเพิ่มช่องทางรายได้

นายณรงค์ โฉมเฉลา ประธานเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย เปิดเผยว่า มะพร้าวกะทิ เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของไทยที่น่าจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกำลังมีแนวโน้มความต้องการในตลาดต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนในแต่ละปีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวเพื่อให้ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิที่มีคุณภาพ จึงได้วิจัยและพัฒนาศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิจนประสบความสำเร็จ อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร รวมทั้งเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย ซึ่งน่าจะสามารถรองรับความต้องการในเรื่องต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิของเกษตรกรได้อย่างพอเพียง

ประธานเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเครือข่ายได้ทดลองผลิตเนื้อมะพร้าวกะทิในน้ำเชื่อม และทดลองตลาดโดยให้ชาวจีนได้ลองชิม ซึ่งชาวจีนส่วนใหญ่พอใจกับรสชาติและความมันของเนื้อมะพร้าวกะทิ ซึ่งน่าจะเป็นการเปิดช่องทางให้แก่ผู้ประกอบการไทยในการทำตลาดเพื่อจำหน่ายมะพร้าวกะทิในประเทศจีนได้ ทางเครือข่ายฯจึงเสนอให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมะพร้าวกะทิกันมากขึ้น โดยทางเครือข่ายฯตั้งเป้าที่จะรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกมะพร้าวกะทิเพิ่มขึ้น และภายใน 10 ปี น่าจะมีการปลูกมะพร้าวกะทิได้ไม่น้อยกว่า 50 ล้านต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตเนื้อมะพร้าวกะทิในเชิงอุตสาหกรรม และสร้างทางเลือกด้านอาชีพให้กับเกษตรกรอีกทางด้วย


www.naewna.com/news.asp?ID=8465 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 11:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
การทำมะพร้าวกะทิ

สาขาของภูมิปัญญา : ด้านการเกษตร

ข้อมูลติดต่อ : 23/20 หมู่ 3 ต.ชายนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13100 โทร. 01-8065608

รายละเอียดของภูมิปัญญา :
วิธีที่ 1 ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 2 เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80 -90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง

ประโยชน์ :
ช่วยทำให้เศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในท้องถิ่น

www.tei.or.th/songkhlalake/database/local.../agri_1.html -


ข้อมูลนี้ลุงคิมเคยเขียนมาก่อนเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว ตีพิมพ์ใน "วารสารเกษตรใหม่" กับ POCKET BOOK ชื่อ "ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกษตรไทย เล่ม 1" (ทั้งชุดตีพิมพ์แล้วมี 3 เล่ม....เล่มที่ 4 ขี้เกียจพิมพ์ แต่นำลงในเว้บนี้แล้ว กับที่ STAND BY อยู่ใน WORD ยังไม่ได้ COPY มาเสริมเติมเพิ่มต่อให้)

เมื่อ 10 ปีทื่แล้วลุงคิมเขียนเรื่องนี้ เว้บตามอ้างอิงท้ายเรื่องยังไม่เกิด (คิดว่าเว้บเก่าแก่ที่สุดในเมืองไทยน่าจะเป็นเว้บรักบ้านเกิดนะ....รึ ใครว่าไง ? เว้บไหนเก่าแก่ที่สุดล่ะ ?)

คุณมานิตย์-คุณมานิตย์....แท้จริงคือ คุณมานิตย์ แย้มประยูร นิวาสถานอยู่ อ.เสนา จ.อยธยา อายุมากกว่าลุงคิม ดูเหมือนจะเคยเขียนถึงท่านในเว้บนี้มาบ้างแล้วด้วยความศรัทธาในความเป็น "ครูกับศิษย์" ที่ไป กิน-นอน-เรียน กับท่าน แต่จำไม่ได้ว่าอยุ่กระทู้ไหน

หะแรกว่าจะเอาประสบการณ์ตรงเรื่อง "มะพร้าวกะทิแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน" ที่ได้มาจากคุณมานิตย์ แย้มประยูร เมื่อราว 10 ปีก่อน มาเป็นคำตอบในกระทู้นี้ ก็ในเมื่อมีคนเขาเอาไปใช้แล้ว ลุงคิมเลยไม่กล้า



เรื่องมะพร้าวกะทิ ณ วันนี้ยังไม่มีงานวิจัยใด หรือวิธีใดในการคปลูกมะพร้าวกะทิแล้วประสบความสำเร็จ 100% หมายความว่า ยังไม่สามารถทำให้มะพร้าวทุกต้น ทุกทะลาย และทุกลูก เป็นกะทิได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะจากเนื้อเยื่อ เพาะจากต้นที่เป็นกะทิ หรือแม้แต่เอาลูกที่เป็นกะทิไปเพาะโดยตรงก็เพาะไม่ขึ้น (ไม่งอก) รวมทั้งวิธีการที่คุณมานิตย์ แย้มประยูร แนะนำ ท่านก็บอกรับประกัน 50-50 หรือก็เป็นกะทิ 10 เป็นธรรมดา 90 ด้วยซ้ำ

ที่ไร่กล้อมแกล้มมีมะพร้าวกะทิ 2 ต้น (หลังห้องน้ำ) เป็นต้นที่เกิดจากการเพาะด้วยลูกที่ต้นแม่เป็นกะทิ เริ่มติดผลตั้งแต่อายุ 1 ปีแรกเต็ม วันนี้ลูกเต็มคอ ร่วงเกลื่อนพื้น ไม่เคยพิสูจน์เลยว่า มีลูกไหนเป็นกะทิบ้างไหม ก็ได้แต่บอกว่า ใครอยากกินไปเก็บเอา

ที่เขื่อนเขาแหลม กาญจนบุรี บริษัทยักษ์ใหญ่ ไปส่งเสริมชาวบ้านทั้งเกาะให้ปลูกมะพร้าวกะทิ โดยให้ต้นพันธุ์ ฟรี ! จากนั้นบริษัทจะรับซื้อผลผิตทั้งหมดในราคาประกัน แต่มีข้อแม้ว่า สมาชิกทุกคนต้องโค่นมะพร้าวเดิมออกให้หมด คนที่สมัครเป็นสมาชิก O.K. พูดรู้เรื่อง แต่คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกต้องพูดกันยาวหน่อยกว่าจะยอมโค่นมะพร้าวตัวเองทิ้ง เป้าประสงค์ของบริษัท คือ ให้มีแต่ต้นมะพร้าวกะทิที่เกิดจากการเพาะเนื้อเยื่อล้วนๆ ทั้งเกาะ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์ นั่นเอง

1-2-3 ปีผ่านไป มะพร้าวทุกต้นเจริญเติบโตดีมาก ให้ผลผลิตเกือบ 100% ของจำนวนต้นทั้งเกาะ แต่ผลผลิตที่ได้เป็นกะทิ "ต่ำกว่า 30 % ของผลผลิตทั้งเกาะ" แม้จะใช้เทคโนโลยีล่าสุด สูงสุด แล้วก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนี้

เพราะฉนั้น เมื่อคิดจะปลูกมะพร้าวกะทิ ต้อง "ทำใจ-ทำสมาธิ" ให้แน่วแน่ อันมนุษย์นั้นยังไม่อาจเอาชนะธรรมชาติได้ มะพร้าวกะทิเป็นเรื่อง "ฟลุค" ไม่ใช่ความสามารถ


ขอบคุณมากๆ ที่จุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมา ท่องไปในโลกเน็ตแค่ครึ่งชั่วโมง ทำให้ได้อ่านได้รู้ แล้วก็ได้ของฝากมาฝากกันไงล่ะ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
salata
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2010
ตอบ: 9

ตอบตอบ: 17/08/2010 3:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอขอบคุณ ลุงคิมอย่างมากให้มีความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากๆ ๆ และงั้นที่เราซื้อมาก็คงวัดดวงเอาเหมือนกัน เพราะ มีโอกาศไม่เป็นกะทิก็เป็นไปได้


ขอบคุณลุงคิมมากและคุณ ออ๊ด ด้วยค่ะ

salata
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2010 4:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แล้วจะ "ทัมใจ" หรือ "ประสะบอแรด" ล่ะ ถ้าไม่ไหวก็ต้อง "พาราเซตตามอล" มั้ง ยังไม่อยู่อีก คราวนี้สงสัยสงสัย "สติ๊กนิน" แน่

ปลูกไปเถอะ ซักต้นสองต้น รกต้นไม้ดีกว่ารกคนน่ะ....ลดโลกร้อน


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
salata
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2010
ตอบ: 9

ตอบตอบ: 18/08/2010 7:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Cool ตอนนี้นะลุงคิมจะเป็นกะทิหรือไม่เป็นกะทิก็ไม่เป็นไร ขอแต่ปลูกแล้วให้มันออกผลก่อนเป็นใช้ได้ แล้วค่อยลองทำอย่างลุงคิมแนะนำ อีกหลายปีกว่าจะออกผล แต่ถ้าเราเอามะพร้าวพวงร้อยปลูกต้นกล้าก็ถูกกว่า มะพร้าวกะทิ ใช่ไหมลุงคิม Laughing


ขอบคุณค่ะ
salata
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©