-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 28/07/2010 7:58 am    ชื่อกระทู้: เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไปดูงานกับกรมส่งเสริมการเกษตรที่กระบี่เรื่องเกี่ยวกับ การส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันครบวงจรและวิสาหกิจชุมชน จ.กระบี่ มีหลายเรื่องที่จะนำมาเสนอด้วยเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น เรื่องแรกที่นำมาวันนี้เป็นเรื่องของ การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มทั้งการเพาะเห็ดในโรงเรือนและเห็ดฟางกองเตี้ย ในสวนปาล์มของสมาชิก วิสาหกิจชุมชนรวมใจชาว กชน. (เห็ดฟางทะลายปาล์ม) บ้านควนเศียร หมู่ 5 ต.เขาเขน อ.ปลายพระยา ประธานกลุ่มคือ นางสุนีย์ เทพานุรักษ์

เรื่องนี้เป็นเรื่องยาวต้องเล่า 2 ครั้งถึงจะจบบริบูรณ์ ฉะนั้น กรุณาติดตามตอนจบวันพุธหน้า..สำหรับวันนี้ ประธานกลุ่มฯเล่าถึงขั้นตอนและวิธีการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้...

1. วัสดุเพาะและอาหารเสริม วัสดุเพาะ คือ ทะลายปาล์มน้ำมัน อาหารเสริมจะใช้มูลสัตว์ตากแห้งหรือย่อยสลายจนเจือจางแล้ว มูลสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ มูลวัว มูลควาย หมู ไก่หรืออาหารเสริมอื่น ๆ เช่น คายข้าวหรือละอองข้าว

2. การเตรียมวัสดุเพาะ ทะลายปาล์มใหม่สดหรือค่อนข้างใหม่ นำมากองแล้วรดด้วยน้ำปูนขาว (โดยใช้ปูนขาว ซึ่งเป็นหินปูนหรือปูนก่อสร้าง 1 กิโลกรัม ใส่น้ำ 20 ลิตร) ให้ชุ่มแล้วกองสุมไว้ให้เกิดความร้อนประมาณ 5-7 วัน โดยกลับกองทะลายปาล์ม 3 วันต่อครั้ง แล้วจึงนำไปใช้

3. สถานที่เพาะและการเตรียมดิน สถานที่เพาะควรเป็นพื้นที่ราบ น้ำไม่ท่วมขัง ควรเป็นดินที่ปลูกพืชได้ ไม่มีเชื้อโรค หรือสารเคมีปนในดิน ทำการเตรียมดินโดยกลับผิวหน้าของดินและสับย่อยดินยกเป็นแปลงยาวโรยปูนขาวบาง ๆ ลงบนผิวหน้าดินนั้น

4. เชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดฟางที่ใช้ควรเลือกเชื้อเห็ดที่ไม่มีแมลงหรือเชื้อจุลินทรีย์ อื่น ๆ เช่น ราสีดำ ราเขียวเหลือง ราขาว และอื่น ๆ ปะปน จะเห็นเฉพาะเส้นใยสีขาวซึ่งมีลักษณะเส้นใยยาวหนาแน่นดินต่อเนื่องในอาหารผสมจากปากถุงถึงก้นถุง หรือก้นกระป๋องจนเป็นก้อน เชื้อที่เกาะกันเป็นก้อน ไม่หลุดร่วงแยกจากกัน เส้นใยเริ่มจับกันเป็นตุ่มดอกเล็ก ๆ มีกลิ่นหอมของเห็ด ไม่มีกลิ่นบูด

5. เวลาเพาะและการวางแนวกอง ควรเพาะตอนช่วงเช้าเพื่อจะได้สะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์เก็บไว้ในแปลงเพาะจะได้กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง ที่ต้องการอุณหภูมิสูงในระยะแรก 1-5 วัน การวางแนวกองควรให้หัวท้ายของกองอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพื่อรับแสงอาทิตย์ได้ทั่วถึงตลอดทั้งแปลง

6. วิธีการเพาะ รดน้ำบนแปลงเพาะที่ได้เตรียมดินไว้แล้วจึงนำทะลายปาล์มที่ผ่านการหมักเรียงบนแปลงเพาะพร้อมกับหว่านเชื้อเห็ดลงบนแต่ละทะลายปาล์มที่ทับซ้อนกัน โดยให้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมที่มีความยาว x กว้าง และสูงประมาณ 100x 30x30-45 เซนติเมตร แล้วเลื่อนการกองทะลายปาล์มกองใหม่ห่างจากกองแรกประมาณ 1-2 คืบ ทำกองตามขั้นตอนเดิมทุก ๆ กอง โดยแต่ละกองวางขนานกันมีจำนวนกองประมาณ 10-20 กอง จากนั้นโรยอาหารเสริมรอบ ๆ กองเพาะและระหว่างกองทุกกอง เสร็จแล้วจึงโรยเชื้อเห็ดฟางทับบาง ๆ รดน้ำจนชุ่มทั่วทั้งแปลง ปิดแปลงทะลายปาล์มด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางตามความยาว แล้วคลุมทับด้วยฟางข้าวหนาประมาณ 4-5 เซนติเมตร หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ตับจากหรือทางมะพร้าว เพื่อรักษาอุณหภูมิในแปลงมิให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมากเกินไป การเพาะในฤดูร้อน อาจลดจำนวนกองลงเหลือประมาณ 7 กองต่อแปลง ระยะห่างระหว่างกองห่างมากขึ้น และควรยกโครงไม้ไผ่ครึ่งวงกลมปักระหว่างกอง ห่างหลังกองประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วจึงคลุมด้วยผ้าพลาสติก และปิดทับด้วยฟางข้าวหรือวัสดุอื่น

สุนีย์ เล่าว่า การเพาะในฤดูหนาว ต้องมีจำนวนกองมากขึ้นประมาณ 15-30 กองต่อแปลง ขนาดของกองเพิ่มใหญ่ขึ้น ระยะห่างระหว่างกองให้ชิดกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มความร้อนในกองเพาะให้สูงขึ้น ส่วนการเพาะในฤดูฝน ต้องเตรียมพื้นที่อย่าให้มีน้ำขังในแปลง ขุดร่อง ทำทางระบายน้ำ และหมั่นระบายความชื้นในแปลงให้มากขึ้น (หมายเหตุ:จะใส่เชื้อเห็ดฟางลงเฉพาะบนพื้นดินรอบ ๆ และระหว่างกองทุกแปลงก็ได้ โดยไม่ต้องใส่เชื้อเห็ดลงบนทะลายปาล์ม ผู้เพาะสามารถใส่เปรียบเทียบกันว่าคุ้มการลงทุนหรือไม่).

ติดตามตอนต่อไปวันพุธที่ 4 สิงหาคม 2553.

จีร์ ศรชัย





http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=345&contentID=8102
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 28/07/2010 8:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ราคาทะลายปาล์มหน้าโรงงานอยู่ที่ 30 สต. ใครอยากเพาะติดต่อมาได้นะครับ เพราะผมส่งปาล์มน้ำมันสดให้อยู่ประจำ เผลอๆ อาจหักคอโรงงานได้อีก Very Happy


_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 28/07/2010 8:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ott_club บันทึก:
ราคาทะลายปาล์มหน้าโรงงานอยู่ที่ 30 สต. ใครอยากเพาะติดต่อมาได้นะครับ เพราะผมส่งปาล์มน้ำมันสดให้อยู่ประจำ เผลอๆ อาจหักคอโรงงานได้อีก Very Happy



๓๐ สตางค์ ต่อเท่าไรครับคุณพี่ ต่อ กิโลกรัมเหรอครับ
อยากทำมาก แต่ยังหาคนไม่ได้ ทำเอง บ่ได้ เป็นภูมิแพ้ แหมเสียดายจริง ๆ ครับ
อย่าไปหักคอเขาเลยครับ สงสารเขาน่ะ จิ้มน้ำพริกเลยดีกว่า
แล้วแอบขโมยขนขึ้นรถมาเยอะ ๆ ครับผม

ไอ้ยู้ดดดด...ขะรับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 28/07/2010 9:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็ดฟาง รายได้ประจำเดือนในอนาคต ตอนแรกลองไปถามฟาร์มที่เค้าเพาะเห็ดก็ไม่ยอมบอกจะให้
สั่งผ่านเค้าอีกที เห็นว่าต้องสั่งทีละเยอะๆ ใกล้ปลายปี ได้รบกวนพี่แน่ๆงานนี้

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 28/07/2010 8:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมย์
พี่ฝากรูปโรงเรือนประยุกต์ สำหรับทดลองเปิดดอก พวกเห็ดในถุงน่ะ
เห็นมาจากงานบ้านและสวน ปีที่แล้ว น่าสนใจดี
ลองซื้อก้อนเชื้อไปหัดเปิดดอกก่อนก็ได้ จะได้ไม่ต้องลงทุนสูง
ฝึกจนเก่งแล้ว ค่อยขยับขยายต่อไป
พี่ลองวัดขนาดก้อนเชื้อดู โรงขนาดนี้ใส่ก้อนเชื้อได้เกือบ ๑,๐๐๐ ก้อนน่ะ








พี่เคยเข้าไปตรงใกล้ ๆ กับ แยกบางแพ โพธาราม สมัยที่ยังไม่รู้จักลุง
เขาเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม ในแบบโรงเรือน

ซึ่งค่าใช้ในการสร้างโรงเรือนไม่สูงมากเหมือนกับมุงด้วยแฝกน่ะ
ใช้ผ้าพลาสติกแทน อีกแบบพี่ลืมถ่ายมา เป็นพลาสติกทั้งหลังเลย

ราคารวมวัสดุทุกอย่าง เห็นเขาบอกว่า ถ้าเป็นโรงพลาสติกโรงละ ๔,๐๐๐ บาท
โครงสร้างโรงพลาสติก ก็เหมือนโรงอิฐบล็อค เพียงแต่ผนังด้านข้างใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้าง
แล้วกรุพลาสติกให้ยาวลงมาถึงฐานด้านล่างเลย
วัสดุส่วนใหญ่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

ถ้าเป็น โรงอิฐบล็อคผสมพลาสติก โรงละ ๖,๐๐๐ บาท ครับ
แล้วก็คลุมด้วยสแลนกันแสงจากด้านบนอีกที

ส่วนเรื่องขนาดหรือสเปค ขอพี่ไปรื้อดูก่อน ยังหาไม่เจอ
เขาแนะนำว่า เริ่มจาก ๒ โรงก่อนก็ได้ ฝึกจนชำนาญแล้วค่อยขยับขยาย
ยิ่งเมย์อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบยิ่งดีใหญ่ไม่ต้องสต๊อกของมาก โชคดีเลยล่ะ

ของพี่นี่ถ้าเขามาส่งถึง นครสวรรค์ ขั้นต่ำต้องมี ๑๕ ตัน
กว่าจะเพาะเห็ดหมด วัสดุเพาะก็เสียหายใช้ไม่ได้แล้วมั้ง

เพราะ เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม คุณภาพเห็ดที่ได้จะดีที่สุดน่ะ
รายละเอียดเพิ่มเติมจะหามาลงให้อีกน่ะจ้ะ



















กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 28/07/2010 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
๓๐ สตางค์ ต่อเท่าไรครับคุณพี่ ต่อ กิโลกรัมเหรอครับ


ถูกต้องแล้วครับ 30 สต./กก. ตันละ 300 บาท ผมเคยเอามาคลุมโคนต้นปาล์มตอนหน้าแล้ง ตอนนี้ไม่ได้เอามาแล้ว เพราะ
ยากต่อการใส่ (รถเข้าสวนไม่ได้) ใช้ 6 ล้อบรรทุกปาล์มสดเข้าโรงงาน ขากลับก็ติดทะลายเปล่ากลับมา 7-8 ตัน 2 พันกว่าบาท
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 28/07/2010 9:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับพี่อ๊อด ให้อะไร ๆ ลงตัวกว่านี้ก่อนนะครับ
มีเจ้าถิ่นอยู่แถวนั้นไม่กลัวแล้ว
(กินข้าวเย็นหรือยังวันนี้)

ยู้ดดดด...ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/07/2010 7:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็ดทุกชนิดตอบสนอง (ถูกกัน/ชอบ) กับ "อเมิกาโน" ดีมากๆ
อันนี้เคยให้ (ฟรี) คนเพาะเห็ดเอาไปใช้แล้วเขารายงานผลกลับมา

เห็ดฟางดอกตูมใหญ่ขนาดกำปั้นมือ.....
เห็ดนางฟ้าดอกใหญ่กว่าฝาบาตรพระ....
เห็ดหูหนูดอกใหญ่กขนาดฝ่ามือ.....

อัตราใช้ 2 ซีซี./น้ำ 20 ล. ให้ช่วงค่ำ วันเว้นวัน เริ่มให้เมื่อเริ่มออกดอก โดยฉีดขึ้นฟ้าแล้ว
ปล่อยให้ละอองน้ำปุ๋ยตกลงที่ดอกเห็ดเอง

อัตราใช้ "น้อยมากๆ" 1 ลิตรใช้ 3 ปียังไม่หมด....ไม่ขาย เลยให้ "ฟรีๆ" ไปเลย


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 29/07/2010 9:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณค่ะ

ตอนแรกคิดไว้ว่าจะใช้มุงหญ้าคา แต่แบบพี่น่าจะทนกว่า สเป็ค หาไม่เจอไม่เป็นไรค่ะ แค่นี้ก็ได้ไอ
เดียแล้ว ไปประยุกต์เอา ตอนนี้ต้องรอให้สวนลงตัวก่อนเหมือนกันค่ะ

กว่าจะได้ทำอาจจะปลายปี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 29/07/2010 10:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมย์
โครงสร้างโรงเรือนน่ะ ๔ คูณ ๗ เมตร
พี่เขียนจากสเกลจริงเลย ถ่ายแบบจากนี้ทำจริงได้เลย
ถ้าเป็นอิฐบล็อคก่อผนังสูงประมาณ ๗ ก้อนน่ะ
ผ้าใบหน้ากว้าง ๑.๘๐ ม. ต่อกัน ยาว ๗ ม.คลุมหลังคาพอดี
ช่วงห่างโครงหลังคา ๑๒ นิ้ว
ขึงสแลน ๙๐ % สูงจากจุดสูงสุดของหลังคา ๑.๕๐ ม.
ลองดูน่ะ น้องสาว

ไอ้ยู้ดดด...ขะรับ


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 29/07/2010 12:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณค่ะ ว่าแต่คุณพี่ยู้ดด ทำได้กี่สาขาคะเนี่ย ความสามารถหลากหลายมาก น้องฟังแล้วมึนน Shocked เมย์เริ่มทำเมื่อไหร่เดี๋ยวเอารูปมาให้ดูค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
goodwind
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009
ตอบ: 29

ตอบตอบ: 30/07/2010 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เคยทดลองเพาะเห็ดฟางมาแล้วค่า มีเวลาจะมาเล่าให้ฟัง ถ้าใครจำได้ เคยตั้งคำถามเรื่องการเพาะเห็ดฟางมาแล้ว ผลตอบรับ พอถูไถค่า ติดไว้ก่อน จะมาเล่าใหม่

ฝากแง่คิดนิดหนึ่ง ไม่มีใครทำอะไรเป็นมาตั้งแต่เกิดหรอกค่า ทุกอย่างต้องการการเริ่มต้น และเรียนรู้

จุ๋ม(goodwind)

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 02/08/2010 9:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณนะคะคุณจุ๋ม สำหรับแง่คิดทั้งการเริ่มต้น และการเรียนรู้ กำลังพยายามทำอยู่ค่า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 03/08/2010 7:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม สร้างรายได้ดีกำไรงามของวิสาหกิจชุมชนรวมใจ กชน.

สืบเนื่องจากโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2551-2555 ของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ต้องการให้มีการใช้ประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีความสามารถในการผลิตปาล์มน้ำมันแข่งขันได้นอนาคต กิจกรรมหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนในโครงการนี้คือ "การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม"

โดยล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรดูงานการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันครบวงจรและวิสาหกิจชุมชนจังหวัดกระบี่ เพื่อดูความก้าวหน้าการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันคุณภาพดี ทั้งในระยะก่อนให้ผลผลิต ระยะให้ผลผลิต การใช้ประโยชน์ทางใบและทะลายปาล์ม ทั้งในรูปการเลี้ยงสัตว์ การทำปุ๋ย และการเพาะเห็ดฟาง

สำหรับการเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม นางสุนีย์ เทพาอนุรักษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวมใจ กชน.(เห็ดฟางทะลายปาล์ม) ตั้งอยู่ที่บ้านควรเศียร หมู่ที่ 5 ต.เขาเขน อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ได้เล่าถึงความเป็นมา ว่าได้เริ่มทดลองเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ทะลายปาล์มมาตั้งแต่กลางปี 2544 ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้เดินทางไปดูงานและเรียนรู้การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุอื่นๆ จนได้เรียนรู้นำมาปรับปรุงวิธีการจนประสบความสำเร็จ จึงได้ถ่ายทอดให้กับเพื่อนบ้าน หลังจากนั้นได้มีการรวมกลุ่มตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวมใจ กชน. (เห็ดฟางทะลายปาล์ม) เมื่อปี 2549 ขณะนี้มีสมาชิกรวมทั้งหมด 33 คน

ส่วนการดำเนินงานของกลุ่มได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 8 คนในการบริหารจัดการส่วนเงินทุนของกลุ่มนั้นได้มาจากการถือหุ้นของสมาชิก และทางราชการได้สนับสนุนบางส่วน กลุ่มฯจะให้กับสมาชิกยืมไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดในแต่ละรอบ เมื่อได้รับผลผลิตแล้วสมาชิกจะนำมาจำหน่ายที่กลุ่มโดยตั้งราคาไว้ที่กิโลกรัมละประมาณ 35 บาท และทางกลุ่มจะหักเงินที่สมาชิกยืมไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดคืน และค่าบริหารจัดการเข้ากลุ่มกิโลกรัมละ 2 บาท เหลือเป็นกำไรสุทธิเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็แบ่งปันให้กับสมาชิกทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ถือว่าไม่มีปัญหาเรื่องของเงินทุน ในด้านการตลาดของเห็ดฟางทะลายปาล์ม ตลาดส่วนใหญ่อยู่ที่ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง กรุงเทพฯ ขณะนี้ ถือว่าไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด ผลิตได้ก็ขายหมด ช่วงหน้าร้อนนี้ส่งขายตลาดในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงก็ไม่พอ เพราะผลผลิตน้อยลงเนื่องจากสมาชิกหลายคนมีน้ำไม่เพียงพอในการเพาะเห็ด

นางสุนีย์ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการเพาะเห็ดจากทะลายปาล์ม ว่าปัจจุบันมี 2 สองแบบ คือ แบบ "กองเตี้ย" โดยนำทะลายปาล์มที่สกัดน้ำมันแล้วจากโรงงานมากองกับพื้นที่ ที่จะทำการเพาะเห็ด รดน้ำให้ทั่ว คลุมด้วยพลาสติกดำ ประมาณ 7-10 วัน แล้วนำทะลายปาล์มน้ำมันมาจัดเรียงเป็นร่องยาวประมาณ 5-10 เมตร กว้าง 50 เซ็นติเมตร ล้างน้ำให้สะอาด นำเชื้อเห็ดผสมอาหารเสริมมาหว่านบนร่องให้ทั่วคลุมด้วยพลาสติกดำ ทิ้งไว้ 3 คืน ใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร มาทำโครงแล้วคลุมพลาสติกทิ้งไว้ 7-10 วัน เห็ดก็จะออกดอก และสามารถเก็บไปได้ประมาณ 15-20 วัน ซึ่งใน 1 แปลง จะเก็บได้ประมาณ 300-500 กิโลกรัม คิดเป็นเงินได้ประมาณ 17,500 บาท โดยใช้เงินลงทุนในการผลิต 1 แปลง จะใช้เงินประมาณ 3,500 บาท เป็นค่าซื้อทะลายปาล์ม และค่าเชื้อเห็ดและอาหารเสริม ถือว่าเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้กับสมาชิกเป็นที่น่าพอใจ

นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังได้รับการสนับสนุนเกษตรจังหวัดกระบี่ สำหรับสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดขนาด กว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร ใช้งบการก่อสร้างเกือบ 1 แสนบาท วิธีการและขั้นตอนในการเพาะเห็ดในโรงเรือนก็ไม่ต่างกับการเพาะแบบกองเตี้ย โดยนำทะลายปาล์มใส่บ่อแช่น้ำทิ้งไว้ 2 วัน นำทลายปาล์มเปล่าที่แช่น้ำแล้ว เรียงเป็นชั้นๆในโรงเรือน ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน อบไอน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 70 องศา ทิ้งไว้จนเย็น แล้วหว่านเชื้อ 7-10 วัน เห็ดก็เริ่มออกดอก ซึ่งการเพาะในโรงเรือนนั้นมีความสะดวกในการดูแลการให้น้ำ และการควบคุมอุณหภูมิ ได้ดีกว่าการเพาะแบบกองเตี้ย ส่วนผลผลิตที่ได้ก็ไม่แตกต่างกัน

นางสุนีย์ยังได้บอกถึงเทคนิคการให้ได้เห็ดดอกใหญ่ ได้ราคา ว่าอยู่ที่การให้อาหารเสริม โดยใช้มูลสัตว์ตากแห้ง หรือย่อยสลายเจือจางแล้ว มูลสัตว์ที่จะเป็นมูลวัว มูลควาย หมู ไก่ ก็ใช้ได้หรือใช้คายข้าวหรือละอองข้าวมาเป็นทำเป็นอาหารเสริมก็ได้ ส่วนทะลายปาล์มถ้ายังใหม่หรือค่อนข้างสด หลังจากนำกองแล้วให้รดน้ำปูนขาว หรือปูนก่อสร้างก็ได้ โดยใช้สัดส่วนปูน 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อจะช่วยให้เกิดความร้อนสูงขึ้น ประมาณ 5-7วัน แล้วสลับกองทะลายปาล์ม ทุก 3 วัน ในการกองบนพื้นนั้นจะต้องไม่ให้น้ำท่วมขัง จึงควรยกร่องดินเป็นแปลงยาวโรยปูนขาวบางๆ ลงบนผิวหน้าดิน การวางแนวกองควรให้หัวท้ายของกองอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพื่อให้ได้รับแสงอาทิตย์ได้ทั่วถึงตลอดทั้งแปลง

นอกจากนี้ จะต้องดูเชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมาจะต้องเป็นเชื้อที่ไม่มีแมลงหรือเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ เช่น ราดำ ราเขียวเหลือง ราขาว และอื่นๆปะปน ให้สังเกตได้จากเส้นใยสีขาวซึ่งมีลักษณะเส้นใยยาวหนาแนบดินต่อเนื่องในอาหารผสม มีกลิ่นหอมเห็ด ไม่มีกลิ่นบูด การเพาะควรเพาะในช่วงเช้าเพื่อจะให้สะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์เก็บไว้ในแปลงเพาะจะได้กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง ที่ต้องการอุณหภูมิสูงในระยะแรก 1-5 วัน และจะต้องเป็นคนช่างสังเกตและจดบันทึกเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ได้จากการดำเนินการที่แตกต่างกัน ได้ผลผลิตที่ต่างกันอย่างไร

โดยสรุปการใช้ทะลายปาล์มเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟาง ก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน นอกจากจะเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรแล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายให้กับ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจากเดิมที่ทางโรงงานต้องหาที่ทิ้งทะลายปาล์ม ต้องจ้างให้คนนำไปกำจัด ตอนนี้มีราคาขายได้ตันละ 80 บาท เกษตรกรหลังจากใช้ทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดฟางแล้ว ก็ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างดี ในแปลงปลูกปาล์ม ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง และยังสามารถลดแรงงานและสารเคมีในการจำกัดวัชพืชในส่วนปาล์มได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

วันที่ 3/8/2010

ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=221919
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 11/08/2010 10:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20090730/22293/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81

เพาะเห็ดฟางจาก"ทะลายปาล์ม" อาชีพทำเงิน"สฤษดิ์ วิเศษมาก"


คมชัดลึก : ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจของ จ.กระบี่ ที่วันนี้ไม่ใช่มีราคาแค่เมล็ดเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เท่านั้น แต่ยังมีส่วนอื่นๆ ของปาล์มที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรเจ้าของ สวนปาล์มได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทะลายปาล์ม ที่เมื่อก่อนมองดูเป็นสิ่งที่ไร้ค่า แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีราคา เป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่ยึดอาชีพเพาะเห็ดฟางอย่างมาก

หลังจากที่สำนักงาน ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก) จ.กระบี่ ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ จัดหลักสูตรอบรมการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันแก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มในเขต พื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เข้าถึงองค์ความรู้และจัดการเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

สฤษดิ์ วิเศษมาก เกษตรกรชาวสวนปาล์ม วัย 30 ปีเศษ อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 5 ต.โคกยาง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ หนึ่งในผู้สำเร็จจากการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้หันมายึดอาชีพเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000-15,000 บาท โดยมีตลาดหลักอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งตลาดไทและสี่มุมเมือง

"ผมเป็นคนสุราษฎร์มาอยู่กระบี่ได้ 4-5 ปีแล้ว มาแต่งงานมีครอบครัวที่นี่ มีสวนปาล์มอยู่ 15 ไร่ แต่ไม่ค่อยสนใจมากนัก เพราะอาชีพที่ทำรายได้หลักผมทุกวันนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางขาย"

สฤษดิ์บอกว่าการเพาะเห็ดฟางของเขาจะต่างจากที่อื่นๆ ที่ต้องลงทุนสร้างโรงเรือนขนาดใหญ่หรือใช้อุปกรณ์ในการเพาะ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง ในขณะที่ตนเองนั้นจะใช้ทะลายปาล์ม ซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเพาะ เห็ด โดยเมื่อก่อนจะใช้ทะลายปาล์มจากสวนของตนเอง แต่หลังจากได้ขยายพื้นที่การเพาะเห็ดเพิ่มขึ้น จึงต้องไปหาซื้อจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในราคาตันละ 400 บาท

"ตอนนี้ที่บ้านทำอยู่ประมาณ 100 ร่อง แต่ละร่องจะยาว 4 เมตร กว้าง 80 เซนติเมตร และจะใช้ทะลายปาล์ม 3 หัวเรียงติดต่อกัน ผลผลิตแต่ละร่องจะเก็บได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งทุกวันนี้ผลผลิตที่เก็บได้เฉลี่ยอยู่ที่ 60 กิโล/วัน โดยจะส่งให้พ่อค้าที่กรุงเทพฯ ทั้งที่ตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง ในราคา 38-40 บาทต่อกิโลกรัม โดยจะไปส่งที่สนามบินกระบี่ทุกวัน"

สฤษดิ์ยอมรับว่าอาชีพการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มใน จ.กระบี่ ขณะนี้เริ่มมีผู้สนใจกันมากขึ้น เกษตรกรชาวสวนปาล์มใน จ.กระบี่ ส่วนใหญ่ได้หันมาเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีและไม่มีปัญหาในเรื่องตลาด บางพื้นที่ก็มีการรวมกลุ่มทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐได้ให้ความสำคัญ มีโครงการต่างๆ จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มมากขึ้น

"อย่างเมื่อก่อนการเพาะเห็ดของผมจะทำแบบง่ายๆ ไม่มีความรู้ทางวิชาการเข้ามาจับ ทำให้บางครั้งก็เกิดปัญหาผลผลิตเสียหายมาก มีโรคระบาดเกิดขึ้น ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ต้องทำลายทิ้ง ต้องเป็นหนี้เป็นสินต่อ ส่วนทะลายปาล์มที่หมดสภาพจากการเพาะเห็ดเขาก็แนะนำให้นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ หลังจากที่เมื่อก่อนทิ้งอย่างเดียว" สฤษดิ์ย้ำชัด

นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มอย่าง "สฤษดิ์ วิเศษมาก" ที่สามารถนำวัสดุที่เหลือใช้อย่างทะลายปาล์มมาประยุกต์เป็นโรงเรือนสำหรับ เพาะเห็ดฟางเพื่อเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 08/09/2010 10:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไปค้นรูปในโทรศัพท์เจอโรงเรือนพลาสติก ต้นทุน ๔,๐๐๐ บาท จากแหล่งเดียวกับข้างบน
เลยเอามาฝากครับ ขนาดเหมือนกับโรงอิฐบล๊อคเลยครับ แต่ราคาค่าก่อสร้างประหยัดกว่ามาก
อยู่ โพธาราม ตรงข้ามกับทางไปชมรมใหญ่ที่สี่แยกบางแพพอดีเลยครับ
ตอนไปชมโรงเห็ดนั่นยังไม่รู้จักกับลุงเลยครับ




----------------------------------------------------------------------------------------------

การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง ราคาถูก ต้นทุนต่ำ แต่กำไรงาม (อ่าน 4826 ครั้ง)
วันที่ : 21 ก.ค. 2552, 8:35:07 น.
หมวดหมู่ : สารพันเห็ด กลุ่ม : เห็ดฟาง

การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน ถึงแม้จะลงทุนสูงกว่าการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นทั่วไป แต่ก็มีข้อดีที่ให้ผลผลิตสูง แน่นอนกว่า คุณภาพดอกเห็ดดีกว่า
ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจเพาะกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงเรือนปกติจะอยู่ที่ราคาประมาณ 20,000-30,000 บาท /โรงเรือน
แต่วันนี้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ขอแนะนำเทคนิคการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดต้นทุนต่ำ มานำเสนอ

ซึ่งผู้ที่คิดดัดแปลงเทคนิคนี้ คือ คุณประดิษฐ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ อยู่บ้านเลขที่ 119/1017 หมู่บ้านศุภาลัยวิลล์ ซอยอินโดไทย
ม.8 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 086-3831168 เดิมทีก็เพาะเห็ดฟางโรงเรือนแบบที่เขาสร้างกันทั่วไป เป็นโรงเรือนหลังคามุงจาก
ซึ่งต้นทุนก็อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท เฉพาะแค่จากก็ราคา 7,000 กว่าบาท อีกทั้งไม้ไผ่ที่ตีเป็นโครงหลังคา ก็ต้นละประมาณ 20 กว่าบาท บวกกับอายุการใช้งานก็สั้นประมาณไม่เกิน 2 ปี เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้คิดที่จะดัดแปลงโรงเรือนแบบใหม่ที่มีราคาถูกและอายุการใช้งานก็นานกว่าแบบเดิม

โดยคุณประดิษฐ์บอกว่า “เริ่มแรกก็ไปหาซื้อเศษเหล็กเก่าที่เขาชั่งกิโลขายแล้วนำมาเชื่อมต่อกันให้เป็นโครงหลังคา หรือจะซื้อเป็นเต้นท์รถเก่า

ที่เขาไม่ใช้งานแล้วนำมาดัดแปลงเป็นหลังคาก็ได้ หลังจากนั้นก็จะใช้ซาแรนคลุมอีกชั้นและทำเป็นผนังด้านข้างโรงเรือนทั้งหมด เหลือเว้นไว้แต่ที่เป็นประตูทางเข้าหัว-ท้าย สำหรับเข้า-ออก ภายในโรงเรือน แล้วภายในโรงเรือนก็บุด้วยพลาสติกอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการรั่วไหลของไอน้ำ เวลาอบไอน้ำภายในโรงเรือน ซึ่งราคาเบ็ดเสร็จทั้งโรงเรือนก็ประมาณ 10,000 กว่าบาทต้นๆ และอายุการใช้งานก็นานกว่าโครงไม้ไผ่ และที่สำคัญผลผลิตของก็ไม่แตกต่างกันเลย ทำง่ายๆ ราคาประหยัด”
หากท่านใดสนใจการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดฟางราคาถูก ต้นทุนต่ำ ตามแบบคุณประดิษฐ์ ก็สามารถติดต่อได้ที่คุณประดิษฐ์ หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่ 02-9861680-2 หรือ 083-5406267



รายงานโดย รัตนา วงศ์คำ (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วัน ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

ที่มา : http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=5420
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©