-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การใช้"แหนแดง"ในนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การใช้"แหนแดง"ในนาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 26/07/2010 2:28 pm    ชื่อกระทู้: การใช้"แหนแดง"ในนาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)






งาน 20ปี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนสุรนารี จัดขึ้นระว่างวันที่ 24-31 กรกฎาคม 2553 นี้ ผมกลับไปเยี่ยม
บ้านได้มีโอกาศไปแวะชมงาน สถานที่จัดงานกว้างขวางมากผมมีเวลาไม่มากนักในการเดินชมทั้งหมดได้
ตั้งใจว่าจะเข้าไปที่แปลงสาธิตการใช้ "แหนแดง" แทนการใช้ปุ๋ยยูเรียในนาข้าว ซึ่ง เรื่องของแหนแดงนี้ก็
เคยได้ทราบข่าวจากสื่อหลายๆแขนงมาแล้วแต่ยังไม่ได้เข้ามาที่ สถานที่และได้พบกับเจ้าของผลงานนี้
โดยตรงอีกด้วยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 26/07/2010 2:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)






































พันธุ์ข้าว หลายๆสายพันธุ์ที่นำมาทดลอง ดูการเจริญเติบโตในทุกส่วน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 26/07/2010 2:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)









ศ.ดร นันทกร บุญเกิด เจ้าของผลงาน ใช้แหนแดง แทนยูเรีย ในนาข้าว กำลังให้ความรู้แก่ผู้สนใจ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 26/07/2010 2:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)













ข้อมูล ของการปลูกข้าวต้นเดียว

ใช้เมล็ดพันธุ์ 1-1.5 กก/ไร่
ใช้กล้า อายุ 8-12 วัน
ขังน้ำให้สูงเพียง 1-2 นิ้ว
ดำห่าง 30-40 เซนติเมตร
แตกกอได้ 30-70 ต้นกอ

ผลผลิตที่ อินโดนีเซีย 1,520 กก/ไร่
กัมพูชา 1,000 กก/ไร่
ผลผลิตที่ มทส 1,350 กก/ไร่


เกษตรกร เท่ เท่ ทำนา 1 ไร่ มีข้าวพอกินทั้งปี

ข้อมูลจากเอกสาร ของทาง มสท แจกมา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 26/07/2010 2:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



ภาพ แหนแดง

เมื่อ "แหนแดง" มีปริมาณมากขึ้น วัชพืชต่างๆ ก็ไม่สามารถเกิดได้ รวมทั้งแหนชนิดอื่นๆ
จะไม่สามารถขยายพันธุ์ได้อีกด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/07/2010 6:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1. การใช้แหนแดงในนาข้าว

แหนแดง ( Azolla ) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆ ชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ใต้ผิวน้ำในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงินที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้
แหนแดงถูกใช้เป็นปุ๋ยในนาข้าว และใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น สุกร เป็ด และห่าน เนื่องจากแหนแดงมีโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบอยู่มาก และมีกรดอะมิโนจำเป็น ( essential amino acid ) ในปริมาณที่สูงพอเพียงต่อการเจริญเติบโตของปลา จึงเหมาะที่จะเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย

ประโยชน์ของแหนแดง :
แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพเนื่องจากในใบของแหนแดงมีสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงิน ( blue green algae ) ชื่อ Anabaena azollae อาศัยอยู่โดยดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันกับแหนแดงแบบพึ่งพาอาศัยกัน สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ความสัมพันธ์นี้ ทำให้แหนแดงกลายเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ และมีศักยภาพสูงที่สามารถนำมาใช้ในระบบเกษตรพอเพียง เพื่อร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวเป็นอย่างดี

การขยายพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เมื่อต้นมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
2. การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์สืบพันธุ์เพศผู้ และเพศเมีย

สายพันธุ์ของแหนแดง : ที่ใช้ในนาข้าว
1. Azolla filiculoides
2. Azolla pinnata
3. Azolla critata
4. Azolla rubra
5. Azolla nilotica

วิธีการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์
1. เลี้ยงในบ่อดินโคลน กระถาง และซีเมนต์ (คล้ายกับการเลี้ยงบัว)
2. เลี้ยงในบ่อธรรมชาติ โดยเลี้ยงในกระชัง
3. เลี้ยงในแปลงโดยตรง

การใช้แหนแดงเป็นอาหารสัตว์
การเลี้ยงแหนแดงไม่ยุ่งยากมากนักถ้าทำให้ถูกวิธี โดยเริ่มแรกจะทำการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ก่อนในถังซีเมนต์ หรือกระถางปลูกบัว ทำการใส่ดินประมาณ1/2 ของกระถาง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกประมาณ 500 กรัมต่อดิน 10 กิโลกรัม แล้วเติมน้ำให้ทั่วผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร วางไว้ที่ร่มรับแสงประมาณ 50% อย่าให้อยู่กลางแดด เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มผิวของกระถาง สามารถนำไปขยายต่อในบ่อดินที่มีระดับน้ำ 10 – 20 เซนติเมตร เมื่อต้องการใช้ปุ๋ยในนาข้าว จึงนำไปขยายต่อในนาข้าวที่เตรียมก่อนปักดำข้าว ปล่อยแหนแดงประมาณ 10% ของพื้นที่ แหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่ภายใน 15 – 30 วัน หลังจากทำการคลาดกลบแล้วทำการปักดำข้าวได้ทันที แหนแดงบางส่วนจะลอยอยู่บนผิวน้ำ หลังจากปักดำข้าวควรจะปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไป เพราะแหนแดงที่เจริญเติบโตในนาข้าวสามารถเป็นอาหารปลาได้ดีมากเนื่องจากมีโปรตีนสูง จึงสามารถนำปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปล่อยลงไปได้ จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม จากปลาที่ปล่อยไป และมูลปลาในนาข้าวก็เป็นปุ๋ยให้แก่ข้าวเช่นกัน จึงทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น และให้ปลามากกว่าที่เลี้ยงโดยไม่มีแหนแดง

การใช้แหนแดงในนาข้าว :
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงในพื้นที่ 20 -25 ตารางเมตร เพื่อใช้สำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในน่าข้าวให้ลึก 5 – 10 เซนติเมตร
3. ใช้แหนแดงในอัตรา 50 – 100 กิโลกรัม/ไร่ ในวันที่ใส่แหนแดงควรมีการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่) ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสอัตรา 3 กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์อีกครั้งเมื่อแหนแดงมีอายุ 7 – 10 วัน

แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักเหมือนพืชสีเขียวชนิดอื่นๆ ยกเว้นไนโตรเจน รวมทั้งต้องการธาตุอาหารรองในการเจริญเติบโตด้วยในดินนาทั่วไปฟอสฟอรัสมีความจำเป็นต่อแหนแดงมาก ถ้าปริมาณฟอสฟอรัสในดินต่ำเกินไป จะส่งผลให้การเจริญเติบโต และปริมาณการตรึงไนโตรเจนลดลง

ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของแหนแดง (% ต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง)
ไนโตรเจน ( % )..........ฟอสฟอรัส ( % )...........โปแตสเซียม ( % )
3.71..........................0.25...........................1.25

ปริมาณไนโตรเจนที่ได้จากแหนแดงแต่ละช่วงอายุ
ลักกษณะการใช้แหนแดง............................................................ปริมาณไนโตรเจน( กิโลกรัม/ไร่)
1. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 20 วัน แล้วทำการไถ่กลบ.............................................9-17
2. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 30 วัน แล้วทำการไถ่กลบ.............................................12-25
3. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน......................................7-15
4. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน......................................12-20

ข้อสังเกต :
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงแหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10- 30 เซนติเมตร และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ
2. แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจายออกจากกัน ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก
3. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ
4. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึงไนโตรเจนในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส

โดย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นันทกร บุญเกิด
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักงานวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โทรศัพท์ 0-4421-7006

ที่มา : คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

บันทึกข้อมูลโดย : นาย เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ, http://www.clinictech.most.go.th, วันที่ 8 สิงหาคม 2551


2. แหนแดง (Azolla)

แหนแดงเป็นพืชน้ำเล็กๆพวกเฟิร์นชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น ทั่วไปแหนแดงที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดี่ยวคือ Azolla pinnata ต้นแหนแดงประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น(Rhizome) ราก(Root) และใบ(Lafe) แหนแดงมีกิ่งแยกจากลำต้น ใบแหนแดงเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ใบบน(dorsal lafe) และ ใบล่าง(ventral lafe) มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบล่างค่อนข้างโปร่งมีคลอโรฟิลน้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลเป็นองค์ประกอบ ใบบนมีโพรงใบและใบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) สาหร่ายชนิดนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงเอาไปใช้ได้ ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง 3-5 % ประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจทำการวิจัยค้นคว้าเรื่องแหนแดง พบว่าการเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้พอๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนตามอัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ

การขยายปริมาณแหนแดงสำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุ์
การจัดการให้ได้ปริมาณของเชื้อพันธุ์แหนแดงตามต้องการและภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือ ปริมาณของเชื้อพันธุ์ที่ใช้เริ่มต้น ขนาดพื้นที่เลี้ยงเชื้อพันธุ์ และระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์ สำหรับเกษตรกรชาวนาทั่วๆไปซึ่งมีพื้นที่ทำนาไม่มากนัก พื้นที่ใช้สำหรับการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์จึงใช้พื้นที่เล็กๆเริ่มต้นใช้ประมาณ 500 กรัม/ตารางเมตร ปริมาณแหนแดงดังกล่าวจะกระจายคลุนที่ผิวน้ำบางๆและสามารถเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ได้ภายในเวลา 4-6 วัน การเลี้ยงขยายแหนแดงวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอน แหนแดงที่ขยายเต็มจะได้น้ำหนักแหนแดงสดประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร ด้วยวิธีดังกล่าวแหนแดงจะเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการโดยใช้พื้นที่ขยายเชื้อพันธุ์ให้สัมพันธ์บปริมาณที่ต้องการ

การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
แหนแดงมีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ขั้นตอนการปฎิบัติการใช้

แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตรต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5- 10 เซนติเมตร
3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง
5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน

ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นา ให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติ

การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ

ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่

www.doae.go.th/spp/biofertilizer/bio3.htm -


3. แหนแดงใช้ในนาข้าว

ลักษณะ
แหนแดงเป็นเฟิร์นน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง sporocrap 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อาศัยของ Anabenaeซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabenaeได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจนของ Anabenae

องค์ประกอบที่สำคัญ
ได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน แหนแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5 – 45องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20 – 30 องศาเซลเซียส แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 4.0 – 5.5 ความลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร

ประโยชน์ของแหนแดง
แหนแดงเป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และแหนแดงมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

- ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 8–13 หลังถูกไถกลบ จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่

- แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัย (ประยูร สวัสดีและคณะ, 2531) ที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดีย

การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
แหนแดงมีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวขั้นตอนการปฎิบัติการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้

1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตรต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5- 10 เซนติเมตร
3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง
5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน

ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นาให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติการใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน

การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่

ข้อสังเกต : (โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด)
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงแหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10- 30 เซนติเมตร และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ

2.แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจายออกจากกัน ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก

3.การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ

4.การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึงไนโตรเจนในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส


ข้อมูลจาก doe.go.th,wikipedia,clinictech.most.go.th
ค้นหาบทความเกี่ยวข้อง Tag แหนแดง



4. แหนแดง ผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากอากาศ

เมื่อเอ่ยคำว่าแหนแดงหลายคนคงจะเข้าใจหรือคิดว่าจำพวกจอกหรือแหนทั่ว ๆ ไปที่ลอยน้ำอยู่ตามหนอง สระ บึง ที่จริงไม่ใช่ แหนแดงจัดเป็นพืชพวกเฟิร์นชนิดหนึ่ง เป็นเฟิร์นน้ำที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยลำต้นกลวง ๆ เรียว แตกกิ่งก้านสาขา มีใยเป็นแผ่นแบนๆ 2 แผ่นซ้อนกัน แตกออกมาจากสองข้างของกิ่งเป็นคู่ ๆ ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ โดยส่วนรากจมอยู่ในน้ำ พบตามแหล่งน้ำจืด ตามท้องนา สระ บึง บ่อ และตามที่มีน้ำขัง มีทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำไนล์ แถบร้อนในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย พบแหนแดงชนิดที่ชื่อว่า อะโซล่า พินนาตา ( Azolla pinnata) มีขนาดยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แหนแดงที่เราพบเห็นนั้นมีอยู่ 2 สี คือ

1. พวกที่มีสีเขียว เป็นพวกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
2. พวกที่มีสีชมพูหรือสีแดง เป็นพวกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมขาดธาตุอาหารจำพวกฟอสฟอรัส มีอุณหภูมิสูง มีแสงมากเกินไป ทำให้แหนแดงมีใบเรียวเล็กมีสีแดง ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรียกว่าแหนแดงนั่นเอง

แหนแดงสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก ภายในเวลา 2-3 วัน สามารถเจริญเติบโตขยายจำนวนได้เป็น 2 เท่าของจำนวนเดิม แหนแดงมีโปรตีนและไนโตรเจนสูง เพราะมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน อาศัยอยู่ในช่องว่างระหว่างใบบนและล่างของแหนแดง สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้นำมาสร้างสารประกอบพวกไนเตรท ซึ่งแหนแดงนำไปใช้ในการดำรงชีพเจริญเติบโตได้ หรือเรียกว่า แหนแดงเป็นผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากอากาศได้

ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ไทย ได้ใช้แหนแดงทำปุ๋ยพืชสดหรือปุ๋ยอินทรีย์ใส่ในนาข้าว มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 50–60 แหนแดงมีโปรตีนสูงถึงร้อยละ 23.8 ไขมันร้อยละ 6.4 ต่อน้ำหนักแห้ง ในฤดูร้อนแหนแดงเจริญเติบโตช้ากว่าในฤดูอื่น ๆ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำการขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ (Spores)

การเจริญของแหนแดงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
1. น้ำ แหนแดงเจริญได้ดีในน้ำหรือในดินที่มีความชื้นสูง
2. แสงสว่าง แหนแดงต้องการแสงสว่างหรืแสงแดดในการสร้างอาหาร โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. อุณหภูมิ แหนแดงจะเจริญได้ดีในที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น มากกว่าที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ถ้าอุณหภูมิสูงมาก ๆ แหนแดงจะตาย อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 20–25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสแหนแดงจะตายหมด
4. ความเป็นกรด-เบสของน้ำ แหนแดงจะเจริญได้ดีในสภาพกรด-เบส ประมาณ 4-6
5. แร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง ได้แก่ ฟอสฟอรัสโพแตสเซี่ยม แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม เหล็ก เป็นต้น ปกติแล้วแหนแดงต้องการปุ๋ยไนโตรเจนน้อย เพราะแหนแดงสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้เอง

ประโยชน์ของแหนแดงอีกอย่างหนึ่งคือ ทำให้ดินโปร่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช

สุนทร ตรีนันทวัน
สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สสวท.


5. ฯ ล ฯ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2010 7:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/07/2010 6:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสบการณ์ตรง แหนแดงในนาข้าว....

เล่นง่ายๆ....
หาแหนแดงมาซัก 1 ปุ้งกี๋/1 ไร่ ใส่ลงไปในนาข้าว ระดับน้ำครึ่งหน้าแข้ง เทใส่ตามแนวริมคันนา (ไม่ต้องเดินลุยลงไปในเนื้อนาหรอก) เป็นหย่อมๆ เดี๋ยวแหนมันก็จะกระจายตัวเอง ระยะเวลาเพียง 20-30 วัน แหนจะขยายพันธุ์เต็มพื้นที่นา

ปล่อยไว้อย่างนั้นแหละ จนเมื่อระดับน้ำลดลงถึงผิวดิน แหนแดงจะตายติดผิวหน้าดินเต็มทั้งแปลง รอเวลาย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยต่อไป

หมายเหตุ :
หาแหนแดงไม่ได้ แหนเขียว แหนเหลือง แหนดำ ใช้ได้ทั้งนั้น


ลุงคิมครับผม

ปล.
สมชายเอ๊ยยยย.... โฉบไปกับโลกอินเตอร์เน็ต จ๊ะเอ๋กับเรื่องแหนแดงที่คุณ "จุดประกาย" ขึ้นมาเยอะแยะเลย ยิ่งเจอยิ่ง "เสียดาย" เสียดายข้อมูลพวกนี่ที่ไม่มีใครเอาไปเผยแพร่ส่งเสริมเกษตรกร โดยเฉพาะ จนท.เกษตร ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงตามกฏหมาย รัฐธรรมนูญ กฏกระทรวง

อันที่จริงไม่ใช่ใช้ได้เฉพาะนาข้าวเท่านั้นนะ เอาไปผสมดินในแปลงปลูกผักก็ได้ สาดใส่โคนต้นไม้ก็ได้ เอาไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ ยิ่งดีหนัก.....ว่ามั้ย

จากแหนแดง ถึงแหนเขียว แหนเหลือง แหนดำ ข้ามไปผักปอด ผักตบชวา วัชพืชสารพัดที่ขึ้นตามแหล่งน้ำ ขวางทางน้ำไหลจนน้ำท่วมบ้านท่วมเมือง เหตุใดจึงไม่มี ผู้นำชุมชน. จนท.เกษตร. เกษตรกรดีเด่น. ปราชญ์ชาวบ้าน. ออกมาขักชวน ชี้นำ ให้เกษตรกรในพื้นที่เอาไปใช้ประโยชน์กันบ้าง

..... เหนื่อยใจมั้ย สมชาย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 26/07/2010 9:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับพี่สมชาย

ใครก็ได้ช่วยไขความโง่เรื่อง "ข้าวไวแสงกับข้าวไม่ไวแสง" แบบภาษาชาวบ้านที่เข้าใจง่ายๆ หน่อยได้ไหมครับ

อืมมม!!! ลุงคิมครับแหนแดงกับแหนเขียว ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนจะต่างกันนะครับ คือแหนเขียวความสามารถในการตรึงไนโตเจนจากอากาศจะไม่มี ผมว่า หากเอาแหนเขียวมาใช้อาจกลายเป็นวัชพืชไปก็ได้นะครับ

อ๊อดครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 26/07/2010 10:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลอกเขามาอีกทีน่ะครับพี่น้อง

ความไวต่อช่วงแสง (sensitivity to photoperiod)

ระยะความยาวของกลางวันมีอิทธิพลต่อการออกดอกของต้นข้าว ดังนั้น พันธุ์ข้าวจึงแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด โดยถือเอาความไวต่อช่วงแสงหรือระยะความยาวของกลางวันเป็นหลัก คือ ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง และข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง

๑) ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ข้าวพวกนี้ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น ปกติเราถือว่ากลางวันมีความยาว ๑๒ ชั่วโมง และกลางคืน มีความยาว ๑๒ ชั่วโมง ฉะนั้น กลางวันที่มีความยาวน้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นวันสั้น และกลางวันที่มีความยาวมากกว่า ๑๒ ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นวันยาวและพบว่า ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะเริ่มสร้างช่อดอกและออกดอกในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ ๑๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้น ข้าวที่ออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน ๑๑ ชั่วโมง ๔๐-๕๐ นาทีจึงได้ชื่อว่า เป็นข้าวที่มีความไวน้อยต่อช่วงแสง (less sensitive to photo period) และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ ๑๑ ชั่วโมง ๑๐-๒๐ นาที ก็ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่มีความไวมากต่อช่วงแสง (strongly sensitive to photoperiod) ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ จึงเรียกข้าวว่า พืชวันสั้น (short-day plant) พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกเป็นข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ

การปลูกข้าวพวกที่ไวต่อช่วงแสงจะต้องปลูกในฤดูนาปี (โดยอาศัยน้ำฝน บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาน้ำฝน) เพราะในฤดูนาปรังกลางวันมีความยาวกว่า ๑๒ ชั่วโมง เดือนที่มีกลางวันสั้นที่สุด ได้แก่ เดือนธันวาคม และเดือนที่มีกลางวันยาวที่ได้สุด ได้แก่ เดือนมิถุนายน ความยาวของกลางวันจะเริ่มสั้นจนมากพอที่จะทำให้ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงออกดอกได้นั้น คือ วันในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม ข้าวที่มีความไวน้อยต่อช่วงแสงจะออกดอกในเดือนกันยายน ตุลาคม ซึ่งเรียกว่า ข้าวเบา ข้าวที่ออกดอกในเดือนพฤศจิกายน เรียกว่าข้าวกลาง และข้าวที่ออกดอกในเดือนธันวาคม มกราคม เรียกว่า ข้าวหนัก ด้วยเหตุนี้ ข้าวพวกที่ไวต่อช่วงแสงจะออกดอกในเดือนดังกล่าวนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะปลูกในเดือนอะไรก็ตามมันจึงมีระยะการเจริญเติบโตมากพอสมควร

เนื่องจากข้าวพวกไวต่อช่วงแสงจะออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันที่ต้องการเท่านั้น ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงจึงมีประโยชน์สำหรับชาวนาในบางท้องที่ เช่นในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งหมายความว่า บางปีฝนก็มาเร็วและบางปีฝนก็มาล่า แต่การสิ้นสุดของฤดูฝนนั้นค่อนข้างแน่นอน ปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะหมดฤดูฝนในต้นเดือนพฤศจิกายน เพราะฉะนั้น การปลูกข้าวด้วยพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง และเป็นข้าวเบาหรือข้าวกลาง ถึงแม้จะปลูกล่ากว่าปกติ มันก็จะออกดอกให้เก็บเกี่ยวได้ แต่ผลิตผลอาจลดต่ำลงบ้าง นี่คือข้อดีของข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง


๒) ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง การออกดอกของข้าวพวกนี้ไม่ขึ้นอยู่กับความยาวของกลางวัน เมื่อต้นข้าวได้มีระยะเวลาการเจริญเติบโตครบตามกำหนด ต้นข้าวก็จะออกดอกทันทีไม่ว่าเดือนนั้นจะมีกลางวันสั้นหรือยาว พันธุ์ข้าว กข.๑ เป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อมีอายุเจริญเติบโตนับจากวันตกกล้าครบ ๙๐-๑๐๐ วัน ต้นข้าวก็จะออกดอก ฉะนั้น พันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงใช้ปลูกได้ผลดีทั้งในฤดูนาปรังและนาปี อย่างไรก็ตาม พวกไม่ไวต่อช่วงแสงมักจะให้ผลิตผลสูงเมื่อปลูกในฤดูนาปรัง

ปกติระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวทั้งไวและไม่ไวต่อช่วงแสง แบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะ ดังนี้
(๑) ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น (basic vegetative growth phase) เป็นระยะเวลานับตั้งแต่วันตกกล้าจนถึงวันที่แตกกอและต้นสูงเต็มที่ ในระยะนี้ ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตทางความสูงและแตกเป็นหน่อใหม่จำนวนมาก
(๒) ระยะการสร้างช่อดอก (panicle initiation phase) เป็นระยะเวลาที่ต้นข้าวเริ่มสร้างช่อดอกจนถึงรวงข้าวเริ่มโผล่ออกมาให้เห็น ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๓๐ วัน สำหรับพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง อาจเรียกระยะนี้ว่า ระยะที่มีความไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive phase) ดังนั้น ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงเมื่อได้ครบระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นแล้ว ต้นข้าวจะไม่สร้างช่อดอกจนกว่าต้นข้าวจะได้รับช่วงแสงที่มันต้องการ ส่วนข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จะเริ่มสร้างช่อดอกทันที หลังจากที่ต้นข้าวได้ครบระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นแล้ว ดังนั้น การปลูกในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมจึงทำให้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงมีเวลามากหรือน้อยเกินไป สำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นโดยเฉพาะการใช้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงปลูกล่ากว่าปกติจะทำให้ต้นข้าวมีระยะเวลาน้อยไป ทำให้ได้ผลิตผลต่ำ


ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3
ลักษณะของข้าวที่สำคัญทางการเกษตร โดย นายประพาส วีระแพทย์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/07/2010 10:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความมุ่งหมายที่แท้จริงก็คือ ขอให้ใส่เศษซากพืชลงไปในดินเท่านั้นแหละ พืชอะไรก็ได้เมื่อถูกย่อยสลายก็จะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน ที่นักวิชาการ (อุดมการณ์) เรียกว่า "ปุ๋ยพืชสด" ไงล่ะ การเจาะจงเอาแต่ "แหนแดง - แหนแดง - แหนแดง" พอหาแหนแดงไม่ได้พ่อเลยไม่เอา

แค่แหนแดงเป็นวัชพืชกำจัดไม่ได้ แล้วจะไปกำจัด "ปรีอ - แห้วหมู - หญ้าคอมมูนิสต์ - ฯลฯ" ได้ไง.... แหนแดงรากยาวไม่ถึงข้อนิ้วมือ คนขี้เกียจกับคนมักง่ายเท่านั้นที่กำจัดไม่ได้

อย่ากังวลกับชนิดหรือปริมาณของ "ธาตุอาหาร" ที่มีในเศษซากพืชนัก เพราะถึงอย่างไร มันก็ไม่ได้มีปริมาณมากถึงขนาดแทนปุ๋ยเคมีได้ 100 % หรอก พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอาจจะเกือบพอ (เน้นย้ำ....เกือบพอ) แต่ถ้าเป็นพืชอายุยืนนานหลายสิบปีละก็ไม่พอแน่ (ยืนยัน...ไม่พอแน่นอน)..... ทางเลือกที่ดี คือ "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสมของพืช..." อย่างที่เราพานพบกันมาแล้วนั้นแหละ

กลยุทธในการส่งเสริมการเกษตรวันนี้ คือ ....
1... ให้ข้อมูลทางวิชาการที่แท้จริง
2... ให้ข้อมูลที่สดวกต่อการนำไปปฏิบัติ ...... ภายใต้หลักการสามารถทดแทนกันได้ หรือปรุงแต่งก่อนใช้งานเล็กน้อย

ในความเป็นจริงของสังคมเกษตรวันนี้ เกษตรกรยังยึดติดอยู่กับปุ๋ยเคมี เป็นการยากมากหากจะห้ามไม่ให้พวกเขาใช้อย่างเด็ดขาด เพราะฉนั้น ต้องยอมให้เขาใช้ แต่ทำอย่างไรจึงจะให้เขาใช้อย่างถูกต้อง ถูกต้องทั้งสูตร ปริมาณ และช่วงเวลา


ปุจฉา-วิสัชชนา :
แหนแดง มี N. = 3.71, P. = 0.25, K. = 1.25
แหนเขียว มีน้อยกว่านี้ แต่ถ้า "แหนเขียว + 25-7-7 หรือ 30-10-10 หรือ 16-8-8" จะมี N. P. K. มากกว่าแหนแดงไหม ?


เดินทางไปเก็บแหนแดงไกลๆ มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเก็บแหนเขียวในหนองข้างบ้าน ได้มาแล้ว + 25-7-7 ลงไปก่อนใช้งาน อย่างไหน คุ้มค่าทาง "เศรษฐศาตร์การลงทุน" มากกว่ากัน

แม้แต่ "ฟาง" ในนา เมื่อคุณใส่ "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง + 30-10-10" ลงไปจะ ดีกว่า/เหนือกว่า/-ประหยัดกว่า แหนแดงไหม ?


ประเด็นร้อนวันนี้ :
ทำอย่างไร เกษตรกรจึงจะหันมาให้ความสำคัญต่อการบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุต่างหาก


ข้อคิดดีมาก เป็นช่องให้เติมความเข้มข้นเนื้อหาได้ดีมากๆ
ลุงคิมครับผม

ปล.
ลุงคิมคิดว่า ถ้าถาม ดร.นันทกรฯ ท่านก็คงไห้คำตอบแบบนี้เหมือนกัน (ว่ะ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 27/07/2010 11:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องการใช้แหนแดงทาง มทส. ได้ทำมานานแล้ว บางครั้งที่มีการอบรม ยังได้ฝากข่าวให้ลุงคิมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วย แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่ค่อยสนใจ ชอบใช้แต่แบบสำเร็จรูป ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในนาข้าวมีการใช้สารกำจัดวัชพืช จนส่งผลต่อการเติบโตของพืชน้ำหลายชนิด รวมทั้งแหนแดงด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/07/2010 3:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อไม่นานมานี้ มสท. ริเริ่มโครงการ "1 ดอกเตอร์ : 1 ตำบล" ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นตำบลไหน ของอำเถอใด ของ จ.โคราชสีมา.....

อยากทราบว่า ปัจจุบันโครงการนี้ไปถึงไหนแล้ว.....ใครรู้เรื่องส่งข่าวด้วยก็ดี


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 07/08/2010 10:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากทราบว่าถ้าเราแหนแดง ทำเป็นพืชสดใส่ไม้ผลแทนปุ๋ยคอกจะได้มัย?
ขอบคุณจ้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
eawbo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010
ตอบ: 52

ตอบตอบ: 07/08/2010 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

งานวิจัยหรือการอบรมส่งเสริมต่าง ๆ ดีสำหรับคนที่สนใจเท่านั้น แพร่ขยายไปยังเกษตรกรทั่วไปลำบาก เพราะรู้ในวงจำกัดและส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่าการไปเรียนรู้แต่ละอย่างเสียเวลามาก น่าเบื่อหน่าย สู้เอาเวลาไปกินเหล้าชนไก่ไม่ได้ นอกจากมีการเกนกันไปโดยมีงบประมาณ เจ้าหน้าที่เกษตรส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยสนใจทำงานไปวัน ๆ เกษตรกรอยากรู้หรืออยากได้อะไรก็ชี้ไปที่กองเอกสาร แล้วจะมีเกษตรกรกี่คนที่สนใจอ่านหนังสือ คนไทยอ่านหนังสือน้อยอยู่แล้ว แต่กลุ่มเกษตรกรก็เป็นกลุ่มที่อ่านหนังสือน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคนกลุ่มอื่น

ขอบคุณลุงคิมและคุณสมชายที่หาความรู้มาไห้อ่าน

เอี๋ยวครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©