-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - งานวิจัย : ไส้เดือนสัตว์เขมือบขยะ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

งานวิจัย : ไส้เดือนสัตว์เขมือบขยะ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/04/2010 5:12 pm    ชื่อกระทู้: งานวิจัย : ไส้เดือนสัตว์เขมือบขยะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“ไส้เดือน" สัตว์พิทักษ์โลกจอมเขมือบขยะ

ไส้เดือนแดงที่นำมาใช้ประโยชน์ในการจำกัดขยะเปียก

กล่องสำหรับเลี้ยงไส้เดือนเพื่อใช้กำจัดขยะในระดับครัวเรือน โดยจะใส่ไส้เดือนทุกชั้น ยกเว้นชั้นล่างที่จะไว้รองรับ "ฉี่" ของไส้เดือนซึ่งมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช

นายรัชพงศ์ ชาติเจริญสิทธิ์

รู้ไหม “ไส้เดือน” มีประโยชน์มากกว่าเป็นแค่เหยื่อตกปลา และนอกจากเจ้าสัตว์ไม่มีกระดูกนี้จะช่วยพรวนดินให้ต้นไม้ได้แล้ว “ฉี่” และ “อึ” ของมันยังเป็นปุ๋ยชั้นดีอีกด้วย อีกประโยชน์ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้คือการกำจัดขยะเปียกอย่างได้ผล

สัตว์ไม่มีกระดูก “อึ” และ “ฉี่” เป็นปุ๋ยชั้นดี

จะดีไหมหากเราจำกัดขยะจากครัวเรือนเกือบหมื่นตันโดยไม่ต้องเผาให้เป็นสาเหตุ “โลกร้อน” แต่เปลี่ยนให้กลายเป็นปุ๋ยหลายพันตันได้ เรื่องดีๆ แบบนี้กระเทยอย่าง “ไส้เดือน” ทำได้ จากการศึกษาพบว่าไส้เดือนเปลี่ยนขยะเปียก 8,000 ตัน ให้เป็นปุ๋ยได้ 2,400 ตัน โดยไส้เดือน 1-2 ส่วนจะเขมือบขยะ 100 ส่วนจะแล้วถ่ายออกมาเป็นของแข็งได้ 30 ส่วน ขับถ่ายเป็นของเหลวได้ 40 ส่วน และส่วนที่เหลือของขยะซึ่งเป็นน้ำก็จะระเหยไปในอากาศ ของเสียที่ไส้เดือนขับออกมานี้มีคุณประโยชน์ไม่แพ้ปุ๋ยคอกเลยทีเดียว

ในโลกนี้มีไส้เดือนที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.ไส้เดือนฝอย ซึ่งมีขนาดเล็กมากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทั้งยังเป็นปัญหาทางการเกษตร เพราะกินรากพืชเป็นอาหาร 2.ไส้เดือนน้ำ อาศัยอยู่ในพื้นดินที่จมอยู่ใต้ และสร้างโพรงอากาศสำหรับหายใจ และ 3.ไส้เดือนดิน ซึ่งมีคนสนใจศึกษามากเนื่องจากเป็นกลุ่มที่กำจัดขยะได้ และกลุ่มหลังนี้ยังแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ไส้เดือนเทา และไส้เดือนแดง

เราอาจะพบเห็นไส้เดือนเทาได้ตามสวนหลังบ้าน พฤติกรรมของไส้เดือนประเภทนี้จะกินอาหารช้าและอยู่ในที่มีความชื้นต่ำกว่าไส้เดือนแดง แต่มีอายุยืนกว่า ขณะที่ไส้เดือนแดงชอบอยู่ในที่ชื้นมากและมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เรามักจะพบไส้เดือนแดงบริเวณน้ำทิ้งจากครัวเรือนหรือที่มีเศษขยะเปียก เช่น เปลือกแตงโม เป็นต้น และแม้เปลือกทุเรียนก็เป็นอาหารที่ไส้เดือนจำกัดให้สิ้นซากได้

ปุ๋ยจากไส้เดือนคงเป็นแค่ผลพลอยได้ แต่การจำกัดขยะเปียกที่คนเราทิ้งกันทุกวันจนจุลินทรีย์ตัวน้อยก็ย่อยไม่ไหว เป็นอีกประโยชน์ที่ได้รับความสนใจ ทั้งนี้ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรธรรมชาติภาคเหนือ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่สนใจในเรื่องดังกล่าว โดยมีที่มาจากการได้รับภารกิจให้กำจัดขยะเปียก 300 ตันภายใน 4-6 เดือน จึงคิดที่จะหาเทคโนโลยีมาจัดการปัญหาดังกล่าว

“ถ้าเป็นวิศวะก็จะชอบเผา เป็นอันจบปัญหา แต่ถ้าเป็นทางด้านเกษตรก็จะไม่เอา” รศ.ดร.อานัฐให้เหตุผลว่ามีวิธีอื่นนอกจากการเผา ซึ่งก็ได้เห็นตัวอย่างเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเตรียมการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกโดยใช้ไส้เดือนกำจัดขยะเปียกในเมืองแล้วได้ผลดี ไส้เดือนพันธุ์ดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักในชื่อ “พันธุ์โอลิมปิก” และประเทศที่เก่งในการจำกัดขยะด้วยไส้เดือนคือสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยออสเตรเลีย ส่วนยุโรปก็ใช้ไส้เดือนกำจัดขยะโดยทั่วไทย สำหรับประเทศไทยเขาได้เริ่มมีการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ.2541

ไส้เดือนพันธุ์นอกเขมือบขยะได้เจ๋งสุด

จากการทดลองปล่อยไส้เดือนทุกสายพันธุ์ลงขยะในพื้นที่ 1 ตารางเมตรและหนา 3 นิ้วนั้น รศ.ดร.อานัฐกล่าวว่า สยพันธุ์ที่กินขยะได้เก่งสุดคือไส้เดือนแดงพันธุ์โอลิมปิก รองลงมาคือพันธุ์แอฟริกัน และพันธุ์ลาวแต่เป็นไส้เดือนจากออสเตรเลีย ส่วนไส้เดือนแดง “ขี้ตาแร่” ของไทยที่พบเห็นทั่วไปอยู่ในอันดับ 4 อย่างไรก็ดีไส้เดือนไทยมีประสิทธิภาพประมาณ 70-80 % ของสายพันธุ์อันดับ 1 ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน จึงไม่จำเป็นต้องไปซื้อสายพันธุ์ต่างประเทศทั้ง 3 สายพันธุ์ที่มีราคาถึงกิโลกรัมละ 15,000 บาท

หาไส้เดือนสายพันธุ์ไทยสู้สายพันธุ์นอก

ทั้งนี้ รศ.ดร.อานัฐได้พยายามศึกษาสายพันธุ์ของไส้เดือนและหาสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการจำกัดขยะมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังมีการสำรวจอยู่น้อย และยังมีเป้าหมายที่จะหาไส้เดือนซึ่งกินมูลคน รวมทั้งหาพันธุ์ไส้เดือนที่ทำเป็นอาหารสัตว์ เช่น ปลาตู้ หรือเลี้ยงไก่ชน เนื่องจากมีสารอาหารที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ปลามีสีสันสวยงามโดยไม่ต้องใช้อาหารสำเร็จรูป ช่วยลดสารเคมีให้สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ดีสิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบันคือการนำไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาในเมืองไทย ซึ่ง รศ.ดร.อานัฐได้แสดงความห่วงใยว่าอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก 1.เราไม่ทราบว่ามีไส้เดือนที่มีการตัดแต่งพันธุ์กรรมเข้ามาหรือไม่ 2.ยังไม่มีใครพูดถึงการนำเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งบางสายพันธุ์อาจเป็นอันตรายต่อพืชในท้องถิ่นได้ เนื่องจากเราไม่ทราบว่าไส้เดือนต่างประเทศนั้นจะชอบกินพืชชนิดใดในเมืองไทยหรือไม่ และ 3.หากเราใช้สายพันธุ์ต่างประเทศมากๆ อาจจะถูกเรียกว่าสิทธิบัตรจากการพัฒนาสายพันธุ์ของต่างประเทศได้

กังวลนำเข้าไส้เดือน ตปท.จะกลายเป็นสายพันธุ์ “เอเลี่ยน”

สำหรับจุดเปลี่ยนที่ทำให้ รศ.ดร.อานัฐกังวลต่อปัญหาดังกล่าวคือ เมื่อเริ่มต้นศึกษาการจำกัดขยะโดยใช้ไส้เดือนนั้น เขาได้นำไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศเข้ามา แล้วพบว่าเป็นไส้เดือนที่กินเก่งและทนต่ออากาศหนาว ทำให้วิตกว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน(Alien Species) จึงหันมาศึกษาสายพันธุ์ไทย อีกทั้งไส้เดือนของไทยก็มีความหลากหลายจำนวนมาก แต่ยังไม่ค่อยมีใครศึกษามากนัก

“ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่ไม่ทำร้ายใคร อยู่แบบธรรมชาติ แต่เขามักจะโดนทำร้าย” รศ.ดร.อานัฐกล่าว โดยยกตัวอย่างศัตรูของไส้เดือนที่มีอยู่รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นนก หนู งู หมู เป็ด ไก่ และสัตว์กินเนื้อแทบทุกชนิด โดยเฉพาะคนซึ่งใช้สารเคมี ทำให้ไส้เดือนลดหายไปเรื่อยๆ วิธีที่ไส้เดือนปกป้องตัวเองที่ทำได้คือหมดลงดินให้ลึกที่สุด บางสายพันธุ์ลงดินได้หลายเมตร แต่สำหรับไส้เดือนแดงจะอยู่ลึกแค่ไม่กี่เซนติเมตรจึงมักจะถูกศัตรูจับกินได้ง่าย

ทางด้าน นายจีรวัฒน์ นอนพุดซา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการทรัพยากรและการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นคณะทำงานของ รศ.ดร.อานัฐ กล่าวว่าสนใจศึกษาไส้เดือนเพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยปรับปรุงดิน ผลิตปุ๋ยได้ เป็นงานที่เป็นธรรมชาติ ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีได้ ซึ่งอนาคตตั้งใจจะผลิตปุ๋ยจากไส้เดือนเพื่อใช้เอง

สร้างโรงเรือน 380,000 บาท เลี้ยงไส้เดือน-ผลิตปุ๋ยใช้เอง

ทั้งนี้มีหลายคนที่สนใจเลี้ยงไส้เดือนเนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น นางนุจรี โลหะกุล แม่บ้าน จ.สมุทรปราการ ผู้ต้องการผลิตปุ๋ยใส่ต้นไม้ภายในบ้าน ลงทุนสร้างโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์ไทยสูงถึง 380,000 บาท แต่เธอยืนยันว่าเห็นผลชัดเจนว่าต้นไม้เติบโตดี เชื่อว่าอนาคตเธอจะกลายเป็นผู้ผลิตไส้เดือนหลายใหญ่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ส่วน จสอ.พิชัย แม้นเผือก สังกัดกองทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ กล่าวว่าเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาชีพเสริม โดยส่งขายให้กับบ่อตกปลารายได้ตกอาทิตย์ละประมาณ 2,500 บาท ทั้งนี้อาชีพเสริมดังกล่าวมีที่มาจากภารกิจภายในกองร้อยให้ผลิตปุ๋ยหมักจากขยะชีวภาพ และมีไส้เดือนเป็นผลพลอยได้

ไส้เดือนสอนปรัชญาให้เห็นชีวิตมีคุณค่า

ขณะเดียวกันนักเรียนอย่าง นายรัชพงศ์ ชาติเจริญสิทธิ์ นักเรียนชั้น ม.6 และประธานนักเรียนโรงเรียนเซนจอห์น ก็ให้ความสนใจกับการเลี้ยงไส้เดือน แต่มีเป้าหมายที่ต่างไปจากผู้ใหญ่ที่ต้องการผลิตปุ๋ยและทำเป็นอาชีพเสริม โดยเขากล่าวว่าต้องการให้รุ่นน้องในโรงเรียนได้รู้จักและใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งไส้เดือนให้ปรัชญาชีวิตในแง่ที่ว่าชีวิตหนึ่งนั้นมีคุณค่า และการทำให้เด็กดีได้นั้นควรบำบัดที่จิตใจโดยเอาธรรมชาติเข้ามาบำบัด อีกทั้งไส้เดือนยังช่วยจำกัดขยะที่แม่ค้าผลไม้ทิ้งไว้หลังโรงเรียนและส่งกลิ่นเหม็นได้

ด้าน น.ส.เวณิการ์ สิริสัมพันธ์นาวา และ น.ส.เปรีครีน่า ปินโตสกอนซาเลซ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนเซนจอห์น ซึ่งเป็นรุ่นน้องที่ นายรัชพงศ์ ชักจูงเข้ามาร่วมทำโครงงานเกี่ยวกับไส้เดือน กล่าวว่าครั้งแรกที่เห็นไส้เดือนก็รู้สึกขยะแขยง แต่หลังๆ มาเริ่มชิน และเห็นว่าไส้เดือนมีประโยชน์ ซึ่งจะได้ร่วมสานต่อโครงการของรุ่นพี่ต่อไป


ที่มา : ม.แม่โจ้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©