-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรสิงห์บุรี ฝึกงานที่ไร่กล้อมแกล้ม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรสิงห์บุรี ฝึกงานที่ไร่กล้อมแกล้ม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 7:04 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสิงห์บุรี ฝึกงานที่ไร่กล้อมแกล้ม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อ 23-26 มี.ค. 53 ด้วยเวลา 3 คืนกับ 4 วัน ที่ลูกชาย 1 ลูกสาว 4 เติมด้วยอาจารย์ปกครอง อีก 1 จากวิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี เป็นนักศึกษาระดับ ปวส. เข้าฝึกงาน LEARNING BY DOING ที่ไร่กล้อมแกล้ม นับเป็นช่วงเวลาแสนสนุกกับการทำงาน กับงานถ่ายทอดแนวคิดอุดมการณ์

บทเรียนแรก ดั่งปฐมนิเทศน์ เป็นการบอกกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมถึงวิชาที่ต้องเรียนต้องสอนอันได้แก่ ได้แก่

1. ปุ๋ยทางใบ “ยูเรก้า” สูตรขยายขนาด
2. ปุ๋ยทางใบ “ไบโออิ” สูตรบำรุงต้น
3. ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรเจริญเติบโต
4. ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรขยายขนาด
5. แคลเซียม โบรอน
6. ฮอร์โมนไข่ สูตรไต้หวัน ...... และ
7. สารสกัดสมุนไพร สูตรรวมมิตร

บทเรียนที่ 2 เป็นการกล่าวนำให้เข้าใจถึงแนวทางทำการเกษตรแบบ “อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม – ตามความเหมาะสม” และ “ปรัชญาการเกษตร” ที่พืชเป็นศูนย์กลาง โดยมีเป้าประสงค์ของการทำเกษตรเป็น “ธง” เช่น ปลูกกิน – ปลูกขาย การเรียนรู้ครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ “ปุ๋ย/ฮอร์โมน” สำหรับพืช เรียนรู้ไปแล้ว “ทำใช้ – ทำขาย” ได้ตามอัธยาศัยหรือแนวคิดของแต่ละคน

ปรับสร้างทัศนคติต่ออาชีพเกษตรระดับครอบครัว ระดับประเทศ และระดับโลก ชี้เปรียบให้เห็นข้อต่างระหว่าง เกษตรกรรมผู้ผลิตอาหาร กับ อุตสาหกรรมผู้ผลิตของใช้ สิ่งไหนจำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่ากัน ประเทศอุตสาหกรรมทำเกษตรไม่ได้เพราะข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์แต่คนของเขาต้องกิน ในขณะที่ประเทศเกษตรกรรมทำได้ทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเพราะโซนภูมิศาสตร์โลกอำนวย ในเมื่อตัวเราเริ่มเรียนมาทางด้านเกษตรกรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง “เอาดี เอาชนะ เอาสำเร็จ” ทางด้านเกษตรนี้ให้ได้

การเกษตรวันนี้ แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้าจะทำ เกมส์นี้ “แพ้-ชนะ” อยู่ที่ใจ ลุงคิมเรียนจบ ม.6 สมัยก่อน เป็นหลักสูตร ม.6 รุ่นสุดท้าย เทียบเท่า ม.3 ปัจจุบัน แต่ที่ลุงคิมคุยกับคนระดับดอกเตอร์ได้รู้เรื่องเพราะลุงคิมอ่านหนังสือที่ดอกเตอร์เขียน อ่านหลายๆ เล่ม อ่านหลายๆ ดอกเตอร์ อ่าน 10 ดอกเตอร์ก็เท่ากับรู้เท่า 10 ดอกเตอร์ ไม่มีใครทำอะไรเป็นมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ทุกคนล้วนเกิดมาแล้วฝึกหัดเรียนรู้ภายหลังทั้งสิ้น

การเรียนในห้องเรียน นักเรียน 20-30-50 คน มีอาจารย์สอนคนเดียวกัน แต่นักเรียนสอบได้ที่ 1 พียงคนเดียว การที่ผลการเรียนของทุกคนต่างกัน เป็นเพราะ “กระบวนการคิด” หรือ “กระบวนการวิเคราะห์” หรือ “การะบวนการรับ” ต่างกันนั่นเอง ซึ่งกระบวนการทุกอย่างนี้สามารถปรับได้ และต้องปรับด้วยตัวเองเท่านั้น เพราะอาจารย์ผู้สอนคงไม่อาจรู้ได้ว่าใจของผู้เรียนกำลังคิดอะไรอยู่

การทำเกษตรด้านพืชวันนี้ ต้นทุนค่าปุ๋ย 30 % ค่าสารเคมีฆ่าแมลง 30% ค่าแรงงาน 20 % รวมเป็น 80% ของต้นทุนรวม หลายปัจจัยดังกล่าวเป็น “ต้นทุนที่สูญเปล่า” ตามหลักเศรษฐศาสตร์การลงทุน ในอีกมุมมองหนึ่ง คือ หากลดต้นทุนส่วนนี้ได้ เท่ากับมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ กับอีกมุมมองหนึ่ง คือ หากเราผลิตแล้วจำหน่ายแก่เกษตรกร ก็จะเท่ากับเป็นช่องอาชีพทำกินได้ ปรัชญาการเกษตรวันนี้ ปลูกพืชขายผลผลิตร้อยปีไม่รวย แต่ขายปุ๋ยขายยาปีเดียวรวยได้ มีตัวอย่างให้เห็นชัดอยู่แล้ว วันนี้ ระหว่างที่เธอยังเรียนอยู่ที่วิทยาลัย ทำปุ๋ย ทำฮอร์โมน ทำสารสมุนไพร ไว้ที่บ้าน ช่วงแรกให้พ่อ-แม่-พี่น้องใช้เพื่อโปรโมทชื่อเสียงสินค้าและสร้างสมประสบการณ์ไปก่อน จนเมื่อข้างบ้านเริ่มเชื่อถือก็ถือโอกาส “ขายซะให้เข็ด” แต่ขายในสิ่งที่ถูกต้อง ขั้นสุดท้าย เมื่อเรียนจบแล้วตั้งบริษัทผลิตออกจำหน่าย หรือไม่เมื่อเรียนจบแล้วมีงานทำเป็นมนุษย์เงินเดือน ก็ยังผลิตสินค้าตัวนี้ได้ ทำที่บ้านนั่นแหละ ทำแล้วให้พ่อแม่ขายเป็นรายได้เสริมก็ไม่เลวนะ

วันนี้มาที่นี่ถือว่าเธอเดินถูกทางแล้ว เส้นทางนี้เป็นอีกเส้นทางทำกินหนึ่งที่น่าพิจารณานำมาเป็นเครื่องมือสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างเงิน ในอนาคตได้อย่างภาคภูมิ ที่นี่เธอจะพบกับคนๆหนึ่ง คือ ลุงคิม ที่รักเธออย่างลูก ไม่มีใครที่ไหนบอกสูตรสินค้าที่ตัวเองทำขายให้คนอื่นรู้ แต่ลุงคิมจะบอกเธอ บอกแบบไม่ปิดบัง ผลิตภัณฑ์ทุกตัวทำเสร็จ ไขก๊อกกรอกลงถังส่งให้บริษัทตามออร์เดอร์ แสดงให้เห็นว่านั่นคือของแท้

บทเรียนที่ 3 กล่าวถึง “ประสบการณ์ตรง” ถึงความต่างระหว่าง “นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย” ที่มีพื้นฐานความรู้สูง กับ “เกษตรกรชาวบ้าน” ที่มีพื้นฐานความรู้ค่อนข้างต่ำ กับปัจจัยด้านระยะเวลาซึ่งมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของการเรียนรู้

บทเรียนที่ 4 ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนจากรูปแบบเดิมหรือที่นิยมทั่วไปแบบ “ทฤษฎีนำการปฏิบัติ” มาเป็นแบบ “การปฏิบัตินำทฤษฎี” หรือ “การปฏิบัติควบคู่ทฤษฎี” โดยระหว่างการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนนั้นจะสอดแทรกข้อมูลทางวิชาการทุกประเด็น อธิบายเหตุผล ดี/ไม่ดี. ใช่/ไม่ใช่. ผิด/ถูก. รวมทั้งชี้ให้เห็นปัญหาและวิธีแก้ปัญหาพร้อมเสร็จ

การทำปุ๋ยแต่ละสูตรแม้จะใช้วัสดุส่วนผสมตัวเดียวกัน แต่เทคนิคการใส่ส่วนผสมแต่ละตัวของแต่ละสูตรต่างกัน เริ่มด้วยการนำวัสดุส่วนผสมทุกตัวสำหรับแต่ละสูตรมาวางเรียงรายบนโต๊ะ แนะนำให้รู้จักทีละตัวตามลำดับ ตัวไหนเป็นอินทรีย์ ตัวไหนเป็นเคมี ผสมผสานกันอย่างไร จุดเด่น/จุดด้อย ของแต่ละตัวต่างกันอย่างไร หลักการและเหตุผลในการเลือกใช้ ทุกรายละเอียดมีหลักวิชาการรองรับ อ้างชื่อนักวิจัยหรือสถาบันการศึกษา ทั้งในประต่างประเทศยืนยัน

ขั้นตอนการผสมหรือปรุงปุ๋ยแต่ละสูตร เปิดโอกาสให้แต่ละคน “ทำกับมือ” ตัวเอง สอนให้เห็นการจัดลำดับ. ความเร็ว. การเว้นช่วงเวลา. การทำซ้ำ. การตรวจสอบแต่ละขั้นตอนและทุกขั้นตอนเพื่อวัดผลว่า ถูกต้องหรือผิดพลาด ถูกต้องเป็นอย่างไร แล้วทำต่อไปอย่างไร หรือถ้าผิดพลาด แล้วแก้ไขอย่างไร ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ทุกวัน ช่วงเช้า ในวงเสวนาบนโต๊ะกินข้าว ทั้งลุงคิมและอาจารย์พี่เลี้ยง ต่างช่วยกันรุมเร่งเร้าปลุกกำลังใจให้สู้ต่อ อย่าเหนื่อย อย่าเบื่อ อย่าท้อ อาจารย์พี่เลี้ยงบอกว่า วันนี้ลุงคิมทำได้เพราะลุงคิมเคยทำกับมือมาแล้วนับร้อยครั้ง พวกเธอเพิ่งทำครั้งแรกย่อมต้องงงเป็นธรรมดา แต่ถ้าเธอคิดว่าเรื่องนี้มีความสำคัญต่ออาชีพเกษตร ไม่ว่าจะทำใช้ในบ้าน หรือทำขายแบบเกษตรการ์ตูน เธอจะต้องหาโอกาสฝึกฝีมือให้มากกว่านี้ เพื่อไปสู่เป้าประสงค์นั้นให้ได้ อย่ากลัวความล้มเหลว เพราะความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ สิ่งใดที่ไม่เคยทำมาก่อนย่อมยากเป็นธรรมดา แต่เรื่องยากทุกเรื่องยากที่การเริ่มต้นครั้งแรกๆ อย่าลืมว่า สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ สอนได้เพียง “พื้นฐาน” เท่านั้น ส่วนการต่อยอดขยายผลให้ประสบความสำเร็จนั้น เธอจะต้องขวนขวายไขว่คว้าเอาเอง ด้วยตัวเธอเอง และด้วยมันสอง ไหวพริบ ปฏิภาณ ของเธอเอง โดยมีสถานการณ์เป็นตัวกำหนด

อาจารย์วิเคราะห์แนวทางสอนตามสูตรของไร่กล้อมแกล้ม ณ วันนี้แล้วว่า สูงกว่าที่เธอเรียนที่วิทยาลัย แต่เมื่อเธอกลับไปเรียนเทอมหน้า เทอมต่อไป เธอจะต้องได้เรียนหลักสูตรนี้อย่างแน่นอน เมื่อถึงวันนั้นอาจารย์เชื่อว่าเธอจะเข้าใจดียิ่งกว่าคนอื่นๆในห้องเรียนเดียวกัน ทุกเรื่องที่ลุงคิมสอนนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้วในหลักสูตร เพียงแต่เธอยังเรียนไม่ถึงเท่านั้น เพราะฉะนั้นขอให้ตั้งใจ แล้วก็ใจเย็นๆไว้ก่อน

ปลุกเร้าให้กำลังใจจนใบหน้าเปื้อนยิ้มกันทั่วทั้ง 5 คนแล้ว ถึงคราวเข้าโรงงาน ฝึกทำปุ๋ย/ฮอร์โมนสูตรต่อไป สอนครึ่งวัน เวลาที่เหลืออีกครึ่งวันซึ่งเป็นช่วงบ่าย จัดให้เป็นเวลาเสวนา ถามตอบปัญหา ตรวจสอบแนวคิด ที่เกี่ยวเนื่องกับ ปุ๋ย/ฮอร์โมน ที่ฝึกทำมา แม้บางครั้งต้องย้อนกลับไปดูที่ถังผสมเพื่อดูให้เห็นชัดๆ นั่นแหละจึงเข้าใจ ผลรับที่ออกมาก็คือ ยิ่งเข้าใจ ยิ่งมีคำถาม เมื่อยิ่งมีคำตอบก็ยิ่งมีวิสัยทัศน์



หลากหลายคำถามสู่การพัฒนา :
ระหว่างการสอนแบบ “ปฏิบัตินำทฤษฎี” ต้องมีการปลูกเร้า ตอกย้ำอยู่เสมอว่า สิ่งที่ลุงคิมต้องการอย่างมาก ๆ คือ “คำถาม” และสิ่งที่ลุงคิมอยากรู้มากๆ คือ “เธออยากรู้อะไร” เพราะฉะนั้นเธอต้องถาม เธอต้องบอก เราสองคนต้องพบกันครึ่งทาง ปรับความคิดเข้าหากัน ถามแทรกแบบทะลุกลางปล้องได้เลยทุกสถานการณ์ การสอน สอนให้คนเรียนไม่รู้เรื่องสอนอย่างไรก็ได้ ถามว่า ถ้าจะสอนให้คนเรียนรู้เรื่อง สอนอย่างไร นั่นคือ คนเรียนต้องบอกคนสอนว่า ต้องการรู้เรื่องอะไร

แม้จะได้พยายามเน้นย้ำขอ “คำถาม” อยู่ตลอดเวลาก็ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจนัก เมื่อเห็นว่า ภาคปฏิบัติเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว จึงเปลี่ยนสถานที่ ออกจากโรงงานไปห้องพักผ่อนหวังสร้างบรรยากาศใหม่ ถาม-ตอบ-พูด-คุย ที่เป็นกันเองที่สุด คราวนี้ได้ผล....

ถาม : เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ธาตุอาหารพืชแต่ละตัวมีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร ? ถ้าขาดพืชจะเป็นอย่างไร ? หรือถ้ามากเกินพืชจะเป็นอย่างไร ?

ตอบ : มีแจ้งแล้วในตำราที่เธอเรียน ให้ย้อนไปอ่านแล้วทำความเข้าใจ กับท่องให้จำได้ได้ขึ้นใจ ที่นี่เราคงไม่มีเวลามากพอที่จะมาอธิบายรายละเอียดได้

ถาม : จะรู้ได้อย่างไรว่าปุ๋ยทางใบที่ให้แก่พืชแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อพืช ?

ตอบ : ทดสอบ ทดลอง เริ่มจากน้อยๆ ก่อน เช่น 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. แล้วค่อยๆ เพิ่มอัตราใช้เป็น 40 – 60 – 80 ถึง 100 – 200 จนกระทั่งพบว่าอัตราใช้เท่าใดแล้วเกิดอาการใบไหม้ เมื่อรู้แล้วก็ให้ลดอัตราใช้ลงมาครึ่งหนึ่ง และนั่นคืออัตราใช้ที่เหมาะสม ก็ให้ถืออัตราใช้นี้ตลอดไป กับอีกกรณีหนึ่ง ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข เพราะฉะนั้นอัตราใช้นี้เป็นอัตราตายตัวไม่ได้ พืชแต่ละชนิดมีความต้านทานสูงต่ำไม่เท่ากัน จากประสบการณ์ตรงสอนให้เรารู้ว่า ยูเรก้า.ใช้กับเห็ดทุกชนิด อัตราใช้ 5 ซีซี./น้ำ 20 ล. ...... ใช้กับชมพู่ 10 ซีซี./น้ำ 20 ล. ....... ใช้กับไม้ผลอื่นๆหรือพืชกินผลเกือบทุกชนิดที่ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. นอกจากไม่อันตรายใบไหม้แล้ว ยังได้ผลผลิตดีเหนือกว่าข้างบ้าน ทั้งคุณภาพแล้วก็ปริมาณอีกด้วย....... เราต้องหมั่นเก็บข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ตรงไว้แล้วเพื่อแนะนำผู้นำไปใช้ให้ถูกต้อง

ถาม : อยากให้คุณลุงสอน เทคนิคการใช้แต่ละสูตร เพราะวันนี้ยังไม่ “แม่นสูตร - แม่นหลักการ” ตามที่คุณลุงบอกไว้เลย

ตอบ : เรื่องเทคนิคการใช้ ถ้าจะว่ากันให้ครบทุกพืชเลยคงต้องใช้ระยะเวลาเรียนอย่างน้อย 3-6 เดือน เพราะบ่อยครั้งที่ต้องลงสนาม ไปดูทุกส่วนของต้นไม้ต้นพืชจริงๆ จึงจะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นงานนี้ เอาเฉพาะที่พวกเธอจะต้องไปใช้จริงในแปลงจริง แปลงสาธิตที่วิทยาลัยก่อน ระหว่างนั้นก็ขอให้โทร.สอบถามเพิ่มเติมมาก็แล้วกัน เรียกว่าสอนกันทางโทรศัพท์เลย ประมาณนั้น...... อย่างไรก็ตาม ถ้าเธออ่าน LINE ธรรมชาติออก เธอจะเข้าใจแล้วก็รู้เองว่า พืชอะไร ช่วงไหน ใช้สูตรไหน อย่างไร เท่าไร

ถาม : คุณลุงมีเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างไร ?

ตอบ : อ่านหนังสือระดับปริญญาโท. ปริญญาเอก. อ่านหนังสือสรุปงานวิจัย. ค้นหาข้อมูลจากมหาวิทยาลัยกูเกิ้ล. อ่านมากๆ อ่านให้มากที่สุดเท่าที่มีโอกาส สิ่งสำคัญ อย่าลืมข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ตรงจากผู้ใช้........ เปิดตัว เปิดใจ กล้าคิด กล้าริเริ่ม กล้าทำ อย่ากลัวล้มเหลว เพราะความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ....... ใจจดใจจ่อ หมกมุ่นอยู่กับมัน เป็นคนช่างสังเกต ช่างวิเคราะห์เปรียบเทียบ ค้นหาคำตอบว่า ใช่หรือไมใช่ ดีหรือไม่ดี ดีกว่าหรือดีที่สุด เป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร แก้ไขอย่างไร ....... สร้างประสบการณ์ให้แก่ตัวเอง ฟัง 100 ครั้งไม่เท่าอ่าน 1 ครั้ง อ่าน 100 ครั้งไม่เท่าดู 1 ครั้ง ดู 100 ครั้งไม่เท่าทำเอง 1 ครั้ง และทำใช้ 100 ครั้งไม่เท่าทำขาย 1 ครั้ง.......


อีกหลากลายนานับคำถามและแนวคิดจากการเรียนคราวนี้ ถึงขนาดอาจารย์พี่เลี้ยงเอ่ปาก.......

“อยู่วิทยาลัย ถ้าพวกเธอถามเก่งๆ แบบนี้ อาจารย์ที่สอนทุกคนคงพอใจมากๆ....... “
“อยู่วิทยาลัย ถ้าพวกเธอขยันจด ขยันเขียนแบบนี้ก็ดีซินะ......”
“อยู่วิทยาลัย ถ้าพวกเธอทำงานกันเป็นกลุ่มได้อย่างนี้ก็ดีซินะ......”

บทสรุปจากลุงคิม บอกได้เต็มปากว่าเป็นรุ่นที่ "แนวสอนดีที่สุด” เท่าที่มีประสบการณ์ตรงเรื่องนี้มา คงเป็นเพราะผลจากการวิเคราะห์แนวสอนแบบ บทต่อบท เรื่องต่อเรื่อง เนื้อหาต่อเนื้อหา นั่นเอง


แว่วๆว่า เดือน พ.ค. จะมาอีก 1 รุ่น
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 08/04/2010 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"เรียนเพื่อรู้ ดูเพื่อจำ ทำเพื่อประสบความสำเร็จ"









ไมรู้ต้องเรียน....เรียนให้รู้.....รู้แค่สิ่งที่ทำก็พอ....ที่กำลังทำอยู่น่ะ รู้จริงหรือเปล่า
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Biot_11
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 38

ตอบตอบ: 08/04/2010 9:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากไปเรียนรุ่น 2 ด้วยได้ไหมครับ ตอนนี้มีแค่หางอึ่ง อยากไปเรียนเพื่อให้หางอึ่งมันหมดไป!!!กลายเป็นกบครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 9:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กบก็ยังอยู่ในกะลาอีกนั่นแหละ.....

สิงห์บุรีรุ่นที่แล้ว มีสมาชิกเว้บนี้ไป 1 คน (ไม่ได้ถามชื่อ) ก่อนจะไปก็ไม่แจ้งด้วยนะ เล่นไปแบบขอมดำดินเลย เกือบอดข้าวแล้วไหมล่ะ

ยังคิดอยู่ว่า การทำปุ๋ย/ฮอร์โมน สำหรับพืช ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญหรือน่าสนใจอะไรนักหนาสำหรับคนมีอาชีพเพาะปลูก

ที่ว่าน่าสนใจ น่าเรียนรู้ น่าทำเป็น ทำใช้ ทำขาย น่ะ..... น่าจะคิดเอง ถามเอง ตอบเอง ซะมากกว่า เหมือนหลงตัวเองนะ


อย่าไปใส่ใจมันเลยคุณ เสียเวลาเปล่าๆ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Biot_11
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 38

ตอบตอบ: 08/04/2010 10:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คร้าบ.....
คือ อยากลองไปดู ไปเที่ยวสัมผัสที่สวนลุงคิมครับ ว่าเป็นอย่างไร และเมื่อวันที่ 10 ก.พ. เฮียอ๊อดชวนไปงานวันคล้ายวันเกิดลุงน่ะครับ แต่ก็พลาดเพราะติดรับของครับ งั้นไว้มีโอกาสค่อยติดสอยห้อยตามเฮียอ๊อดไปหาลุงก็ได้ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©