-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถามเกี่ยวกับปุ๋ยไนโตรเจน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถามเกี่ยวกับปุ๋ยไนโตรเจน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
we
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/04/2010
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 04/04/2010 11:08 pm    ชื่อกระทู้: ถามเกี่ยวกับปุ๋ยไนโตรเจน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากถามเกี่ยวกับปุ๋ยไนโตรเจน ลุงคิมหน่อยครับ เอาเป็นหัวข้อดีกว่านะครับ

1. อยากทราบว่าปุ๋ยไนโตรเจน คืออะไร (คือ จริงๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ครับ) เช่นว่า ผลิตจากอะไร , ในปัจจุบันมีกี่ชนิด/ประเภท , มีสูตรทางเคมีอย่างไร , ในรูปใหนบ้าง (ไนเตรท ไนไตรท์ แอมโมเนี่ยม อะไรประมาณนี้) แล้วมันเปลี่ยนรูปได้อย่างไรครับ

2. ความเป็นพิษจาก Biuret ในยูเรียคืออะไรครับ (ในรูปอื่นมีไหม) ได้ยินว่าในปัจจุบันในท้องตลาดต้องมี Biuret ไม่เกิน 1.00% คืออะไรครับ เรามีโอกาสใช้เกินไหม (ถ้าเกินคงไม่ดีแน่ใช่ไหมครับ) แล้วที่เป็น Low Biuret เป็นยังไงครับ

3. คือผมทำงานที่สวนส้มพอดีเห็นผู้หลักผู้ใหญ่เค้าคุยกันเรื่อง 46-0-0 (Low Biuret) อย่างนี้ครับ

3.1. 46-0-0 (Low Biuret) ที่ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีผลต่อส้มหรือผลส้มอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไรบ้าง

3.2. 46-0-0 (Low Biuret) ที่ 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีผลต่อส้มหรือผลส้มอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไรบ้าง

3.3. 46-0-0 (Low Biuret) ที่ 200 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร มีผลต่อส้มหรือผลส้มอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไรบ้าง

3.4. 46-0-0 (Low Biuret) ที่ 200 กรัม + 15-0-0 ที่ 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีผลต่อส้มหรือผลส้มอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไรบ้าง

*(ทุกอายุของผลส้ม)

4. สูงสุดที่ใบส้มจะรับได้นั้นเท่าไร หากเราใช้ในอัตรามากขึ้น (ไม่เกินเท่าไรต่อน้ำ 20 ลิตร)หากเราใช้ที่อัตราสูงขึ้นแล้วตัว % Biuret จะเพิ่มขึ้นไหม มีผลกระทบอะไรบ้าง


รบกวนลุงคิมช่วยตอบให้หน่อยนะครับ
ขอขอบคุณลุงคิมล่วงหน้านะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 05/04/2010 6:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ไนโตรเจน.....ไนโตรเจน.......ไนโตรเจน........ไนโตรเจน........ไนโตรเจน


ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่ว ๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเทรตไอออน (No3-) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย

แหล่งที่มาของธาตุไนโตรเจนในดิน จะมาจากการผุพังสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน

พืชโดยทั่วไปมีความต้องการธาตุไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพืช พืชที่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด มีความแข็งแรง โตเร็ว และทำให้พืชออกดอกและผลที่สมบูรณ์ เมื่อพืชได้รับไนโตรเจนมาก ๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียได้เหมือนกัน เช่น จะทำให้พืชอวบน้ำมาก ต้นอ่อน ล้มง่าย โรคและแมลงเข้ารบกวนทำลายได้ง่าย คุณภาพผลิตผลของพืชบางชนิดก็จะเสียไปได้ เช่น ทำให้ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย อ้อยจืด ส้มเปรี้ยว และมีกากมาก แต่บางพืชก็อาจทำให้คุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะพวกผักรับประทานใบ ถ้าได้รับไนโตรเจนมากจะอ่อน อวบน้ำ และกรอบ ทำให้มีเส้นใยน้อย และมีน้ำหนักดี แต่ผักมักจะเน่าง่าย และแมลงชอบรบกวน

พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่าง ๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้า และไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่ว ๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย

ที่มา : รวบรวมจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 18



ไนโตรเจน ( Nitrogen ) ในน้ำ
ไนโตรเจนที่มีอยู่ในน้ำจะอยู่ในรูปของ แอมโมเนีย ไนไทรต์และไนเทรตโดยไนโตรเจนทั้งหมดจะประกอบด้วยสารไนโตรเจนที่มีอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์โดยจะแยกอธิบายแยกเป็นรูปต่าง ๆ ดังนี้

กิจการประปา ระบุไว้ว่าน้ำประปาควรจะมีปริมาณของคลอรีนอิสระตกค้าง (Free cholorine reesidual) ประมาณ 0.5 มิลิกรัม ต่อลิตร แต่ถ้ามีการระบาดของโรคทางน้ำเกิดขึ้น ควรเพิ่มคลอรีนอิสระตกค้างให้มีประมาณ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร

สำหรับน้ำประปาจะมีค่าการน้ำไฟฟ้า ไม่มากกว่า 300 ไม่โครซีเมนส์/เซนติเมตรแอมโมเนีย(Ammonia)

เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายสารอนินทรีย์ไนโตรเจนด้วยแบคทีเรียจนกลายสภาพเป็นแอมโมเนีย

แอมโมเนียจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีสิ่งปนเปื้อนของน้ำทิ้งจากห้องส้วม ถ้ามีแอมโมเนียในน้ำแสดงว่าน้ำอาจได้รับการหนเหื้อนของน้ำทิ้งจากห้องส้วม ดังนั้นมาตรฐานน้ำดื้มของการประปานครหลวงได้กำหนดไว้ว่าห้ามมีแอมโมเนียในน้ำประปาเกิน 0.2 มก./ลิตร เมื้อน้ำประปามีปริมาณแอมโมเนียทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี

ระหว่างคลอรีนที่เติมลงไปในน้ำประปากับแอมโมเนีย ทำให้ระบบประปาต้องเติมคลอรีนมากขึ้น เพราะส่วนหนึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียจะได้สารประเภท Chloramines และจะมีคลอรีนส่วนเกินหลงเหลืออยู่เรียกว่า คลอรีนอิสระ โดยสาร Chloramines ก็สามารถฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปาได้เช่นเดียวกับคลอรีนอิสระ แต่มีความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคได้ต่ำกว่าคลอรีนอิสระ สำหรับข้อดีของสาร Chloramines ก็มีตรงที่สามารถคงรูปอยู่ในน้ำประปาได้นานกว่าคลอรีนอิสระทำให้สามารถรักษาความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปาได้นานกว่าและไกลกว่า

ไนไทรต์ (Nitrite)
ไนไทรต์ เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายสารแอมโมเนียถ้าพบในน้ำมีไนไทรต์แสดงว่าการย่อยสลายสารอินทรีย์ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่สำหรับในน้ำประปาไม่ควรมีสารไนไทรต์อยู่ในน้ำประปาเลยแม้แต่น้อยเพราะไม่ควรมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ในน้ำประปาตามมาตรฐานน้ำดื่มของการประปานครหลวง ซึ่งได้กำหนดให้มีค่าไนไทรต์ ไนโตรเจน ไม่เกิน 0.001 มก./ลิตร ของไนโตรเจน

ไนเทรต (Nitrate)
เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายสารไนไทรต์ ซึ่งเกิดมาจากสารแอมโมเนีย ถ้าพบว่ามีสารไนเทรต
ในน้ำแสดงว่าสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำได้ถูกย่อยสลายจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และโดยทั่วไปจะไม่มีผลอันตรายต่อสุขภาพถ้าในน้ำมีสารไนเทรตอยู่เกินกว่า 45 มก./ลิตร ของ NO3 หรือ 10 มก./ลิตร ของ N น้ำประปานั้นจะเป็นอันตรายต่อเด็กทารก โดยสารไนเทรตจะทำให้เกิดอาการตัวเขียวตัวคล้ำและชัก ทำให้เสียชีวิตได้ (Blue baby หรือ Methemoglobinemia) ปัญหานี้แนะนำให้พิจารณาน้ำประปาที่ใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งนำน้ำจากแม่น้ำที่มีสารอินทรีย์ปนเปื้อนมา คาดว่าจะมีปริมาณไนเทรตมากและไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยวิธีผลิตน้ำประปาทั่วไป จำเป็นต้องผ่านแระยวบการแลกเปลี่ยนไอออน (Ion exchang)จึงจะกำจัดไนเทรตออกจากน้ำประปาได้มาก ก่อนจะนำเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล

โดย ฝ่ายวิเคราะห์น้ำ กองวิเคราะห์ คุณสุกัญญา อรุณส่ง.


ธาตุไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป็นอโลหะหมู่ที่ VA พบมากในรูปของธาตุอิสระและสารประกอบ ในรูปของธาตุอิสระ
คือ (N2) พบในอากาศ ในอากาศมี N2 อยู่ประมาณร้อยละ 78.09 โดยปริมาตร ในรูปของสารประกอบพบในกรดอะมิโนโปรตีน แอมโมเนีย (NH3) สารประกอบไนเตรตต่าง ๆ เช่นโพแทสเซียมไนเตรต (KNO3) แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3)

ก๊าซ N2 เตรียมได้จากอากาศโดยนำอากาศสะอาดและแยกก๊าซ CO2 ไอน้ำออกแล้วมาเพิ่มความดันลดอุณหภูมิก๊าซออกซิเจนจะเป็นของเหลวก่อนที่อุณหภูมิ -183 C แยกออกซิเจนเหลวออกเมื่อเพิ่มความดันขึ้นอีก และลดอุณหภูมิ ถึง -196 C ก๊าซ N2 จะกลายเป็นของเหลว แยกก๊าซอื่น ๆ ออกก็จะได้ไนโตรเจนเหลว เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น และความดันลดลงก็จะกลายเป็นก๊าซ N2 ประโยชน์ ไนโตรเจนเหลวซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมาก (-196 C) ใช้สำหรับแช่แข็งอาหารประเภทต่าง ๆ แช่เข็งเลือด เซลล์ไขกระดูกหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาใช้เตรียมก๊าซแอมโมเนีย (NH3) และกรดไนตริก (NHO3) ก๊าซแอมโมเนียที่ได้ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2) ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (NH4) 2SO4) ปุ๋ยแอมโมเนียไนเตรต (NH4NO3) และใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซดาแอชหรือโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ส่วนกรดไนตริกใช้ในอุตสาหกรรมทำสี ไหมเทียมทำวัตถุระเบิด ทำปุ๋ยไนเตรต เป็นต้น นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นองค์ประกอบของสารอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตอีกด้วยคือเป็นองค์ประกอบในโปรตีนทุกชนิด


วัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen cycle)
วัฎจักรไนโตรเจนเป็นดังนี้
1. การตรึงไนโตรเจนโดยปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดจากฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือปรากฏการณ์
อื่นที่ทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้ก๊าซ N2 ทำปฏิกิริยากับก๊าซ O2 ได้ก๊าซ NO และก๊าซ NO ที่ เกิดขึ้นทำปฏิกิริยากับก๊าซ O2 ต่อไปได้ก๊าซ NO2
N2 (g) + O2 (g) ----> 2NO(g) ดูดพลังงาน 180.6 kJ
2NO(g) + O2 (g) -----> 2NO2 (g) คายพลังงาน 114.2 kJ

เมื่อฝนตกก๊าซ NOv จะทำปฏิกิริยากับน้ำฝนกลายเป็นกรดไนตริกดังสมการ 3NO2 (g) + H2O(I) -----> 2HNO23(aq) + NO(g) (กรดไนตริก) 2H+(aq) + NO-3(aq)

กรดไนตริกแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน(H+) และไนเตรตไอออน (NO-3)ไนเตรตไอออนที่เกิดขึ้นจะตกลงสู่พื้นดินและพื้นน้ำ พืชนำไปใช้สร้างโปรตีนต่อไป

**NO2 ส่วนหนึ่งในบรรยากาศได้จากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์

2. การตรึง N2 ทางอุตสาหกรรม โรงงานผลิตก๊าซแอมโมเนีย (NH3) หรือโรงงานผลิตปุ๋ยได้มีการใช้ก๊าซ N2 (แยกจากอากาศ) ทำปฏิกิริยากับก๊าซ H2 โดยวิธีกระบวนการณ์ฮาเบอร์ดังสมการ
N2 (g) + 3H2(g) -----> 2NH3(g)ก๊าซ NH3 ที่ได้ส่วนหนึ่งนำไปผลิตปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียและปุ๋ยที่อยู่ในรูปของเกลือแอมโมเนีย เช่น แอมโมเนียซัลเฟต เมื่อใส่ปุ๋ยลงในดินแบคทีเรีย (Decomposing bacteria) ย่อยสลายไปเป็นไนเตรต (NO-3) พืชดูดซึมเอาไปใช้ในการสร้างโปรตีน

3. การตรึง N2 ทางชีววิทยา แบคทีเรียไนโซเบียมในปมรากถั่วจับไนโตรเจน (N2) ในอากาศจึงเรียกไรโซเบียมว่า Nitrogen fixing bacteria และเปลี่ยน N2 เป็นเกลือแอมโมเนียม (NH4
+) จากนั้นแบคทีเรียในดิน (Nitrifying bacteria) ทำหน้าที่เปลี่ยน NH4+เป็นสารประกอบไนไตรต์ (NO2 - ) และเปลี่ยนสารประกอบไนไตรต์ (NO2-) เป็นสารประกอบไนเตรต (NO3
-) ซึ่งพืชดูดซึมนำไปใช้ในการสร้างโปรตีนต่อไป สัตว์กินพืช สัตว์ก็จะนำไปใช้ในการสร้างโปรตีนในสัตว์ เมื่อพืชและสัตว์ตายลง ซากพืชซากสัตว์และสิ่งขับถ่ายจะถูกแบคทีเรีย (Decomposing becteria) ย่อยสลายเป็นสารประกอบไนเตรต (NO3-) ต่อไป

4. แบคทีเรีย (Denitrifying bacteria) ทำหน้าที่เปลี่ยนสารประกอบไนเตรต (NO3-) เป็น
สารประกอบไนไตรต์ (NO2-) ไดไนโตรเจนมอนอกไซด์ (N2O) และในที่สุดกลายเป็นก๊าซ Nv กลับคืนสู่บรรยากาศ



การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช
ไนโตรเจนเป็นธาตุปุ๋ยที่จำเป็นสำหรับพืชสำหรับใช้สร้างความเจริญขึ้นในทุกส่วนที่กำลังเติบโต หากขาดไนโตรเจน พืชจะเหลืองซีดโดยเริ่มจากใบล่างขึ้นไปด้านบน การเจริญลดลงจนถึงไม่เติบโต ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป จะเขียวเข้ม อวบอ้วน อ่อนแอ ถูกศัตรูพืชเข้าทำลายได้ง่าย ไนโตรเจนที่เป็นก๊าชในอากาศนั้นพืชดูดใช้ไม่ได้ ยกเว้นสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน บักเตรีอิสระ อะโซโตแบ็คเต้อร์ และบักเตรีในปมรากพืชตระกูลถั่วคือ ไรโซเบี้ยน จากนั้นกากไนโตรเจนจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้สลายตัวไปเป็นแอมโมเนีย และแปรรูปจนเป็นไนเตรท พืชทั่วไปใช้ได้

การเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่า การเผาไหม้ ทั้งในและนอกเครื่องยนต์ ไนโตรเจนรวมกับออกซิเจน กลายเป็นออกไซด์ของไนโตรเจน พอรวมกับน้ำหรือความชื้นกลายรูปไปจนในที่สุดเป็นไนเตรท พืชดูดไปใช้ได้ พืชยังใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียมได้ดีมาก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงประมาณ 1% ต้องใช้เป็นปริมาณมาก จึงใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อบำรุงดินส่วนเนื้อปุ๋ยเพื่อผลิตพืชใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ยูเรีย (46-0-0) แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แคลเซียมไนเตรท (15-0-0) หรือใช้ปุ๋ยผสม เช่น 15-15-15. 16-11-14 ซึ่งเลขตัวหน้า คือ เปอร์เซ็นต์ของปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยเคมีในไทยเป็นปุ๋ยละลายเร็วทันทีเมื่อเปียกน้ำ หากฝนตกมากจนน้ำไหลไปที่อื่น น้ำก็พาปุ๋ยไนโตรเจนไปด้วย ป้องกันปัญหานี้โดยใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วน พรมน้ำพอชื้น คลุกกับภูไมท์ซัลเฟต 2 ส่วน ปุ๋ยนี้จะกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า ลดการสูญเสียปุ๋ยไนโตรเจนจากการชะล้างเมื่อฝนตก จนน้ำไหลไปที่ต่ำยังคงมีการชะล้างปุ๋ยบ้างแต่น้อยกว่า ปุ๋ยคงเหลือมากกว่า ค่อย ๆ ละลายออกมาช้า ๆ เป็นประโยชน์มากกว่า พืชมีผลผลิตมากกว่า.

ที่มา : อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ, ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



ค้นพบไนโตรเจน
แดเนียล รัทเทอร์ฟอร์ด ค้นพบธาตุไนโตรเจนเมื่อ พ.ศ. 2315 เขาเรียกมันว่า “ก๊าซอันตราย” แต่นักเคมี เช่น ชีเล, คาเวนดิช, พริสต์ลีย์, และนักเคมีคนอื่นๆ ที่ศึกษาการเผาไหม้โดยอากาศ เรียกไนโตรเจนว่า “อากาศที่ไม่มีออกซิเจน”

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า อากาศประกอบด้วยออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเราให้ความสำคัญกับออกซิเจนมากกว่า แต่อันที่จริงแล้ว ในอากาศที่เราหายใจมีก๊าซไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบถึง 78% ก๊าซไนโตรเจนจัดเป็น “ก๊าซเฉื่อย” ที่มีบทบาทสำคัญในการชะลออัตราการเผาไหม้ลงมาให้อยู่ในสภาพที่เราคุ้นเคย หากอากาศมีแต่ออกซิเจนล้วนๆ แล้วละก็ ป่านนี้ทั้งโลกคงเหลือแต่เศษซากจากการเผาผลาญของพระเพลิงที่เกิดจากออกซิเจนเป็นแน่แท้

ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโมเลกุลทางชีววิทยา เช่น โปรตีน ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนที่ประกอบขึ้นจากกรดอะมิโน กรดนิวคลิอิก เป็นต้น และวัฏจักรของไนโตรเจนในธรรมชาติก็นับว่ามีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก เริ่มต้นเมื่อไนโตรเจนถูกดึงจากบรรยา-กาศแล้วถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสารประกอบในดิน ซึ่งจะเป็นอาหารให้พืชใช้ในการเจริญเติบโต อาจกล่าวได้ว่า หากในดินมีปริมาณไนโตรเจนไม่เพียงพอ พืชก็จะเจริญได้ไม่ดี ซึ่งมนุษย์เราก็ได้พัฒนากระบวนการเลียนแบบการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ เรียกว่า กระบวน-การฮาร์เบอร์ (Harber Process) เพื่อใช้ในการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน

นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ไนโตรเจนในหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น การใช้ไนโตรเจนเหลวในกระบวนการแช่แข็งอาหาร เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันเพื่อเพิ่มความดันในหลุมขุดเจาะ ทำให้เกิดแรงดันดันน้ำมันดิบขึ้นมาข้างบน แต่ที่ใช้มากที่สุดคือใช้ไนโตรเจนในการผลิตแอมโมเนีย (NH3) (ผลิตโดยกระบวนการฮาร์เบอร์) จากนั้นจะนำแอมโมเนียไปผลิตปุ๋ยและผลิตกรดไนตริก (โดยกระบวนการออสต์วาลด์) นอกจากนี้ยังมีการใช้ไนโตรเจนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้ในรูปของก๊าซที่ปกคลุมชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิต เช่น การผลิตทรานซิสเตอร์หรือไดโอด เป็นต้น หรือใช้ในกระบวนการเสริมความแกร่งของเหล็กกล้าไร้สนิม และผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าอื่นๆ และสุดท้ายคือเราสามารถใช้ไนโตรเจนเป็น “ก๊าซเฉื่อย” บรรจุไว้ในถังเก็บสารเคมีที่ระเบิดง่ายได้ด้วย

ก๊าซไนโตรเจนนั้นเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของอากาศที่เราหายใจ จึงนับได้ว่าก๊าซไนโตรเจนนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้วถ้าเราต้องเข้าไปอยู่ในห้องที่มีแต่ก๊าซไนโตรเจนล้วนๆ เราก็อาจตายได้เนื่องจากขาดออกซิเจน ส่วนสารประกอบไนโตรเจนจำพวกแอมโมเนีย ถ้ามีความเข้มข้นสูงก็จะเป็นพิษ หรือถ้าเป็นไซยาไนด์ (CN-) ถ้าได้รับเข้าร่างกายเพียงน้อยนิดก็ทำให้ถึงตายได้ ส่วนไนโตรเจนที่ใช้เป็นปุ๋ยนั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์ แต่หากปุ๋ยไนโตรเจนถูกชะล้างลงไปในแหล่งน้ำ ก็อาจเกิดปัญหามลพิษทางน้ำได้ ส่วนสารประกอบพวกไนโตรเจนออกไซด์ (NOx ที่เกิดจากการเผาไหม้เครื่องยนต์) ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของฝนกรดและเป็นพิษเช่นกัน

จัดทำโดยนายณรงค์ฤทธิ์ แสงแก้ว
เลขที่ 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1
โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม
Copyright(c)2006.Mr.Narongrit saengkaew. All rights reserved



การขาดไนโตรเจน
ในพืชทั่วไป ไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน (Amino acids) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) และคลอโรฟิลล์ ไนโตรเจนช่วยในการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มขนาดใบ เพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง เพิ่มจำนวนเมล็ดดีต่อรวง และเพิ่มปริมาณโปรตีนในเมล็ด

ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่พบว่าขาดในนาข้าวทั่วไป โดยเฉพาะในนาดินทรายที่มีระดับอินทรียวัตถุต่ำเช่นที่พบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยข้าวที่ขาดไนโตรเจนจะมีใบแก่หรือบางครั้งใบทั้งหมดเป็นสีเขียวอ่อน ปลายใบเหลือง ถ้าขาดรุนแรงใบแก่จะตายเหลือเพียงใบอ่อน ใบแคบ สั้นและตั้งตรง มีสีเขียวปนเหลือง การขาดไนโตรเจนมักเกิดในระยะข้าวแตกกอและระยะกำเนิดช่อดอก ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวมีความต้องการไนโตรเจนสูง การขาดไนโตรเจนส่งผลให้การแตกกอลดลง ต้นข้าวแคระแกรน แตกกอน้อย มีเมล็ดดีต่อรวงลดลงทำให้ผลผลิตข้าวลดลง อาการขาดไนโตรเจนจะคล้ายกับอาการขาดกำมะถัน แต่การขาดกำมะถันจะไม่พบบ่อยนักและมักแสดงอาการที่ใบอ่อนก่อนจะลามไปทั้งต้น การขาดไนโตรเจนเล็กน้อยยังคล้ายกับการขาดธาตุเหล็ก ต่างกันที่การขาดธาตุเหล็กจะเกิดกับใบอ่อนที่กำลังจะพ้นกาบใบออกมา

สาเหตุของการขาดไนโตรเจนในข้าวเกิดจากดินนามีระดับไนโตรเจนต่ำ การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดินขาดน้ำ การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีการและเวลาที่ไม่เหมาะสม การสูญเสียไนโตรเจนไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งการที่ดินมีการสูญเสียไนโตรเจนจากขบวนการต่างๆ (Volatilization, Denitrification, การถูกชะล้างสู่ดินชั้นล่าง) สูง

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ข้าว เป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุด โดยข้าวจะตอบสนองต่อปุ๋ยที่ใส่โดยมีใบเขียวขึ้น มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นหลังจากใส่ปุ๋ย 2–3 วัน อย่างไรก็ตามการตอบสนองนี้จะขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว ชนิดดิน สภาพภูมิอากาศ ชนิดปุ๋ยและปริมาณที่ใช้ รวมทั้งเวลาและวิธีการที่ใส่

การใช้วัสดุอินทรีย์ เช่นปุ๋ยพืชสด มูลสัตว์ ฟางข้าว เป็นต้น ในการเพิ่มระดับอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในดินในระยะยาว

ปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนโดยใส่วัสดุที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capapcity - CEC) สูง เช่น Zeolite (CEC 200-300 cmol/ดิน 1 กก.), Vermiculite (CEC 100-200 cmol/ดิน 1 กก.)

แปลงที่ไม่ได้ใส่ไนโตรเจน ซึ่งข้าวมีสีเขียวอ่อน ลักษณะใบข้าวที่ขาดไนโตรเจน ซึ่งใบจะเล็กกว่าและสีอ่อนกว่าใบข้าวที่ได้รับไนโตรเจนพอเพียง (ซ้ายมือ)



ไนโตรเจนเหลวคืออะไร ?
มันก็คือก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ในอากาศที่เราหายใจอยู่ครับ ธรรมชาติของอากาศมีก๊าซไนโตรเจนอยู่ประมาณ 78% นอกนั้นก็เป็น ออกซิเจน 21.9% และก๊าซอื่นๆ อีก 1%
การผลิตทำโดยสูบอากาศมา แยกความชื้นออก และเพิ่มความดันให้สูงขึ้นพร้อมกับลดอุณหภูมิลงจนได้อากาศเหลว จากนั้นใช้หลักการของเหลวของสารแต่ละชนิดมีจุดเดือดไม่เท่ากัน เพื่อแยกเอาก๊าซอื่นๆ ออกให้เหลือแต่ก๊าซก๊าซไนโตรเจน ต่อจากนั้นก็เพิ่มความดันให้สูงขึ้นพร้อมกับลดอุณหภูมิลง เพื่อให้ก๊าซไนโตเจนกลับเป็นของเหลวอีกครั้งครับ

คุณสมบัติของก๊าซไนโตเจน
http://msds.pcd.go.th/searchName.asp?vID=1630#คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี (Physical and Chemical Properties



ไนโตรเจนเหลว
ไนโตรเจนเหลว คือก๊าซไนโตรเจนในธรรมชาติที่ทำให้มีความกดอากาศมากขึ้นจนมีสถานะเป็นของเหลว หรือก็คือก๊าซไนโตรเจนในรูปของของเหลวนั่นเอง

ทำได้โดยการลดอุณหภูมิและเพิ่มความดันไปพร้อมๆ กัน ตามสูตรของก๊าซ ทีนี้ถ้าปลดปล่อยสู่บรรยากาศ ซึ่งมีความดันปกติ ไนโตรเจนเหลวจะเปลี่ยนเป็นก๊าซอย่างรวดเร็ว (กลายเป็นไอ)
ในขณะนั้นมันจะดูดความร้อนจากรอบๆ ตัวเพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ พอความร้อนถูกดูดไป
บริเวณรอบๆก็จะเย็นลงอย่างรวดเร็ว ความชื้นก็จะถูกดูดไปด้วย (กลายเป็นน้ำแข็ง)

ประโยชน์ของไนโตรเจนเหลว
เนื่องจากไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิต่ำมาก (-196 องศาเซลเซียส) จึงได้นำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่ต้องการความเย็นมาก เช่น

- แช่แข็งอาหารแระเภทต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรมและในการขนส่ง
- แช่แข็งเลือด
- แช่แข็งเซลล์ไขกระดูก
- แช่แข็งเอ็มบริโอ
- แช่เข็งน้ำเชื้ออสุจิ
- แช่แข็งส่วนต่างๆของร่างกาย

อันตรายจากไนโตรเจนเหลว
เครื่องมือที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีขนาดใหญ่มากซึ่งสามารถผลิตของเหลวต่างๆ จากอากาศวันละหลายพันแกลลอนเพื่อใช้กับตู้เย็นและโรงงานสารเคมีอื่นๆแต่ในเครื่องผลิตขนาดย่อมลงมาซึ่งมีขนาดเท่ากับสไลด์ของกล้องจุลทรรศน์ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำให้อากาศเย็นตัวลงในห้องทดลองในปัจจุบัน ไนโตรเจนเหลวมีราคาถูกกว่านมเสียอีก (ไม่ใช่ในเมืองไทยแน่)

เมื่อมีไนโตรเจนเหลวแล้ว การป้องกันและการรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญในการจับหรือเก็บไนโตรเจนเหลว เพราะว่า ไนโตรเจนมันเย็นมากจนสามารถทำให้เกิดอาการปวดบวมจากความเย็น(frostbite)ได้และเนื่องจากมันใส่อยู่ในถังที่ปิดสนิท เมื่อเปิดออก อุณหภูมิภายนอกจะทำให้มันอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความดันมหาศาลได้ซึ่งเป็นอัตรายอย่างมาก


ตอบ :
1..... ยังมีคำตอบอีกมากมหาศาล เปิดกูเกิ้ลแล้วเซิร์ทคำว่า "ไนโตรเจน" เดี๋ยวก็รู้
2..... ที่ถามมาน่ะ ไม่รู้เรื่อง ไม่เคยได้ยิน แล้วก็ไม่สนใจด้วย กะอีแค่ส้มเขียวหวาน ทางใบใช้ "ปุ๋ยน้ำดำ - ฮอร์โมนไข่ - ยูเรก้า - แคลเซียม โบรอน" ทางรากให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระบิดเถิดเทิง 30-10-10" แค่นี้ก็พอแล้ว..... ห้ามเด็ดขาด ยาฆ่าหญ้า. คอปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์. เพราะพืชตระกูลส้มไม่ชอบเอามากๆ
3.... ย้อนไปอ่านกระทู้ # 634 ซิ คิดอะไรไม่ออกค่อยกระทู้มาถามใหม่


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
we
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/04/2010
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 06/04/2010 11:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณลุงคิมมากครับ

คำถามที่ถามถึงที่มาของไนโตรเจนนั้น ผมแค่อยากรู้เป็นส่วนตัวผมเอง คือ ผมเองอยากทราบคำตอบที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย แล้วผมคิดว่าลุงคิมอาจให้ความกระจ่างได้ดีกว่าคนอื่นหนะครับ ไม่ได้มีเจตนาอะไรทั้งนั้น

แล้วคำถามที่ถามเกี่ยวกับ biuret นั้น พอดีว่าเจ้านายของผม (ผมเป็นแค่ลูกจ้างเท่านั้น ไม่มีอำนาจอะไร) เค้าประชุมแล้วฝากคำถาม มา ให้หาคำตอบ แล้วผมก็ไม่รู้จะหาคำตอบจากใหนดี ในกูเกิ้ลก็หาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่พบ ก็เลยมาปรึกษาลุงคิมหนะครับ พอดีที่สวนเค้ามี 46-0-0 เขียนติดข้างกระสอบว่า Low biuret ของบริษัท SQM ชาลีเฟรท ผมก็เข้าไปดูในเว็ปของเขาแล้วแต่ไม่ได้บอกอะไรมาก

ก็ขอขอบคุณลุงคิมอีกครั้งนึงนะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/04/2010 7:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

BIURET (ไบยูเร็ต) หรือ CARBAMYLUREA (คาร์บามิลยูเรีย) เป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของยูเรีย 2 โมเลกุล และปลดปล่อยแอมโมเนียออกมา 1 โมเลกุล

เกิดขึ้นเมื่อยูเรียได้รับความร้อนจัดระหว่างขั้นตอนการผลิต

สารนี้เป็นพิษต่อพืชบางชนิด กล่าวคือ เป็นอันตรายต่อเมล็ดพืชที่กำลังงอก และทำให้เกิดอาการใบไหม้ถ้าฉีดพ่นสารละลายทางใบ จึงต้องควบคุมกระบวนการผลิตให้เหมาะสม และมีสารนี้ในปุ๋ยน้อยที่สุด (น้อยกว่า 0.25%)

ที่มา : ศัพท์ในวงการปุ๋ย - รศ.ดร.ยงยุทธ โอสถสภา



..... ข้อมูลทางเอกสารตำรามีเท่านี้ พิจารณาใช้งานเอาเองก็แล้วกัน
..... ถามาหน่อย ยูเรียตัวนี้ใช้กับส้มระยะไหน เพื่ออะไร ใช้แล้วได้ผลอย่างไร

..... ประสบการณ์ตรงที่รู้ ในไม้ผลยืนต้น เคยใช้ ยูเรีย จี.เกรด. อัตรา 400 กรัม/น้ำ (พีเอช 6.0) 100 ล. ก็ O.K. ตามประสายูเรีย กับประสบการณ์ตรงที่รู้เคยใช้ 25-5-5 จี.เกรด. แล้วได้ผลดีกว่า


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©