-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ดิน : กรมพัฒนาที่ดิน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ดิน : กรมพัฒนาที่ดิน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/04/2010 9:48 am    ชื่อกระทู้: ดิน : กรมพัฒนาที่ดิน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดินที่มีปัญหา สังเกตได้จากพืชพรรณธรรมชาติ
เราสามารถบอกลักษณะของดินที่มีปัญหาได้ด้วยตนเองจากพืชพรรณธรรมชาติที่เจริญเติบโตปกคลุมผิวดินในแต่ละพื้นที่ เพราะพืชพรรณธรรมชาติแต่ละชนิดจะมีความสามารถเจริญเติบโตได้ดีจะบ่งบอกถึงลักษณะของดินแต่ละประเภทแตกต่างกันไป เช่น

* แสม โกงกาง ลำพู ตะบูน ชะคราม เหงือกปลาหมอ.....ดินบริเวณนั้นเป็นดินเค็ม
* เสม็ด จูดหนู กกสามเหลี่ยม..............................ดินบริเวณนั้นเป็นดินเปรี้ยวจัด
* มหาด ส้าน เคี่ยม.........................................ดินบริเวณนั้นเป็นดินด่างจัด
* โก๊ะ โครงเครง (มังเคล)..................................ดินบริเวณนั้นเป็นดินทรายจัด
* ไม้แต้ว จิกโคน หลุมปัง...................................ดินบริเวณนั้นเป็นดินปนกรวด - ลูกรังหรือเศษหิน
* เตยหนาม ไทรย้อย.......................................ดินบริเวณนั้นเป็นดินปนหินก้อนหรือมีชั้นหินฟื้นโผล่พ้นผิวดิน
* ไม้ปอ เลา ยง.............................................ดินบริเวณนั้นเป็นดินที่ถูกชะล้างหรือถูกพัดพามาทับถม
* ป่าพรุ กรุจูด เฟริน หมากแดง เสม็ดจวน.................ดินบริเวณนั้นเป็นดินอินทรีย์
* ต้นพืชที่ปลูกมีโคนโต ปลายเรียวเล็กแคระแกร็น.......ดินบริเวณนั้นเป็นดินทรายมีชั้นดาน

ในเบื้องต้นหากเกษตรกรสังเกตพืชพรรณดังกล่าวจึงควรปรับปรุงดินให้ถูกวิธีและเหมาะสมกับดินแต่ละชนิด รวมทั้งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชที่เกษตรกรจะปลูก เช่น บริเวณที่มีเสม็ด จูดหนู กกสามเหลี่ยม แสดงว่าดินเปรี้ยวจัด ควรปรับปรุงดินโดยใช้ปูนเพื่อการเกษตร ได้แก่ ปูนขาว ไดโลไมท์ หินฝุ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง



การปรับปรุงดินทราย
ดินทราย หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทราย หรือดินทรายร่วน เกิดเป็นชั้นหนามากกว่า 50 เซนติเมตร

วิธีการสังเกตพื้นที่ดินทรายจัด
- สภาพพื้นที่ดินทรายมักถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่าง เปล่า แต่ปัจจุบันเริ่มมีการนำพื้นที่ดังกล่าวมาทำการ เกษตรมากขึ้น

- ลักษณะของเนื้อดินบนเป็นทรายหรือทรายร่วน มีชั้นความหนามากกว่า 50 เซนติเมตร บางแห่งอาจพบ ชั้นทรายหนากว่า 1-2 เมตร

พื้นที่ที่จะพบดินทราย
ดินทรายสามารถพบได้โดยทั่วๆ ไป กระจายอยู่ ณ จังหวัดต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นกระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ตามจังหวัดชายฝั่งทะเล และพื้นที่เนินทราย

การจัดการดินทรายจัด
การจัดการดินทรายเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการ เกษตรกรรม สามารถจะแบ่งออกตามลักษณะพื้นที่ และลักษณะของพืชได้ดังนี้

(1) ใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด
สำหรับดินทรายที่พบในที่ดอน มีการระบายน้ำดี สามารถปลูกพืชไร่ได้หลายชนิด เช่น

(1.1) ข้าวไร่ ในบางกรณีที่เกษตรกรมีความ จำเป็นต้องปลูกข้าว เพื่อไว้ใช้กินในครอบครัว โดยเฉพาะ ส่วนที่เป็นนาดอนดินทราย (ชุดดินอุบล) ควรทำนาหยอดจะ เหมาะสมกว่านาดำ เพราะข้าวนาหยอดมีความทนทาน ต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่า ควรหยอดเป็นแถวเพื่อสะดวกใน การปราบวัชพืช และควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1-2 ตัน ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 20กิโลกรัม ต่อไร่ แบ่งใส่อย่างน้อย 2 ครั้ง

(1.2) ปอแก้ว ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 40-60 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1-3 ตัน ต่อไร่ โดยการโรยข้าง แถวหลังปลูก 1 เดือน

(1.3) ถั่วลิสง ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ครั้งแรก ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก และครั้งที่สองเมื่อพืชอายุ 20 วัน

(1.4) อ้อย ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-10-10 อัตรา 70-100 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือสูตร 13-13-21 หรือสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่

(1.5) มันสำปะหลัง ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 75 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ครั้งแรกใส่รองก้นหลุม ก่อนปลูก และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 เดือน

(1.6) ข้าวโพด ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25-50 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือสูตร 20-20-0 อัตรา 50-75 กิโลกรัม ต่อไร่ (ดินขาด โพแทสเซียม หรือมีน้อยกว่า 70 ppm ควรใส่ โพแทสเซียม อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่) แบ่งใส่ครั้งแรก ใส่รองก้นหลุม และครั้งที่สองเมื่อข้าวโพดสูงประมาณ 40 เซนติเมตร

2) ใช้ปลูกไม้ยืนต้น หรือไม้ผลบางชนิด
ในสภาพดินทราย ที่เป็นที่ดอนมีการระบาย น้ำดี ไม้ผลที่เหมาะจะ ปลูกคือ มะม่วง มะม่วง- หิมพานต์ มะขาม น้อย- หน่า พุทรา นุ่น สะเดาไผ่ สำหรับไม้ยืนต้นโตเร็ว ได้แก่ ยูคาลิปตัส กระถิน-ณรงค์ กระถินเทพา และ กระถินบ้าน หรือกระ- ถินยักษ์ ฯลฯ

(2.1) มะม่วง ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 500 กรัม ต่อต้น พร้อม ปุ๋ยคอกอัตรา 20 กิโลกรัมต่อต้น ในปีแรกเมื่อมะม่วงตั้ง ตัวได้ ในปีต่อไปจำนวนปุ๋ยเคมีที่ใช้เท่ากับครึ่งหนึ่งของอายุ มะม่วง และใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อดินมีความชื้นพอเหมาะใส่ปีละ 2 ครั้ง ตอนต้นและปลายฤดูฝน โดยใส่ปุ๋ยเคมีเป็นจุดรอบ รัศมีทรงพุ่ม พร้อมปุ๋ยคอกอัตรา 20-50 กิโลกรัม ต่อต้น โรยรอบรัศมีทรงพุ่ม

(2.2) มะม่วงหิมพานต์ เมื่อมะม่วงหิมพานต์ตั้ง ตัวได้จนถึงอายุ 2 ปี ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 300-800 กรัม ต่อต้น เมื่ออายุ 3 ปี ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่ออายุ 4-6 ปี ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่ออายุ 7 ปี ขึ้นไป ใช้ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อต้น ควรใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ในตอนต้นและปลายฤดูฝน โดยใส่ปุ๋ยเคมีเป็นจุดรอบรัศมี ทรงพุ่ม เพื่อดินมีความชื้นพอเหมาะ พร้อมปุ๋ยคอก 20-50 กิโลกรัม ต่อต้น โดยโรยรอบรัศมีทรงพุ่ม

(2.3) นุ่น ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 12 กิโลกรัม ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300 กรัม ต่อต้น รองก้นหลุม เมื่ออายุ 1-2 ปี ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่ออายุ 3-4 ปี ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น และเมื่ออายุ 5 ปี ขึ้นไป ใส่ปุ๋ย เคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัม ต่อต้น โดยใส่รอบ ทรงพุ่ม และแบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง

(3) ใช้ปลูกหญ้า หรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยง สัตว์
นับว่าเหมาะสมกับศักยภาพของดินทรายมาก โดย เฉพาะบริเวณพื้นที่ค่อนข้างเป็นที่ราบ พันธุ์หญ้าที่เจริญ เติบโตได้ดีได้แก่

พันธุ์เนเปียร์ลูกผสม หญ้ารูซี่ หญ้า เบอร์มิวดา หญ้าบัพเพล หญ้ากินนี และหญ้าสตาร์ เป็นต้น และถ้าหว่าน ถั่วเวอราโนผสมกับหญ้า แล้วจะเป็นการดมาก เพราะนอกจากจะ เพิ่มคุณค่าแก่อาหาสัตว์ แล้วยังเป็นการเพิ่มความ อุดมสมบูรณ์แก่ดินอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า การปลูกหญ้ารูซี่ผสม ถั่วเวอราโนใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 20-40 กิโลกรัม ต่อไร่ จะได้น้ำหนักสด ถั่วผสมหญ้ารวม 3 ปี จำนวน 6,000-7,000 กิโลกรัม ต่อไร่ และจาก การวิเคราะห์ดินก่อนและ หลังการทดลอง ผล ปรากฏว่าปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

(4) เพื่อใช้ทำนา
โดยเฉพาะดินทรายในที่ราบต่ำ ซึ่งสามารถปลูก ได้ดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน โดยมีน้ำขังเป็นระยะเวลาพอ สมควร พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรเป็นพันธุ์ข้าวเบา เพราะ ดินทรายที่พบในพื้นที่ส่วนนี้มักเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ การปลูกข้าวถ้าจะให้ได้ผลดี ควรมีการปรับระดับพื้นที่ใน กระทงให้สม่ำเสมอ ทำร่องระบายน้ำ การปรับปรุงความ อุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก 2-3 ตัน ต่อไร่ หรือปุ๋ยพืชสด เช่น โสนอัฟริกัน ปอเทือง ถั่วพุ่มและถั่วมะแฮะ ใช้อัตราเมล็ด 5-6 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับถั่วพร้าใช้อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือไถ กลบตอซังพืชร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ประมาณ 20-30 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือถ้าใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว อาจใช้ปุ๋ยอัตรา สูงประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่

การใช้ปุ๋ยเคมีเฉพาะไนโตรเจนในดินทราย มีข้อควร พิจารณา คือ
- ควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้ง
- ใส่ปุ๋ยประเภทที่ละลายออกมาใช้เป็นประโยชน์ ได้ช้า
- ควรใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เศษพืช ฯลฯ เพื่อดูดยึดธาตุอาหารไว้ไม่ให้ถูกชะล้างได้ง่าย และ เป็นการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินด้วย
- ควรใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว แกลบ เศษวัสดุต่างๆ หรือคลุมด้วยพลาสติก เพื่อรักษาความชื้น ในดิน





การปรับปรุงดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินเค็ม หมายถึงดินที่ปริมาณสูงมากพอที่จะทำอันตรายต่อพืช เศรษฐกิจที่จะนำไปปลูก
วิธีการสังเกตพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(1) จะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดินในฤดูแล้งหรือถ้าไม่เห็นขุยเกลือขึ้น ขึ้นก็จะเป็นที่วางเปล่าไม่มีพืชอื่นขึ้นได้ ถ้าเป็นฤดูฝนขุยเกลือจะถูกน้ำละลาย ไม่สามารถสังเกตเห็นได้

(2) พืชพรรณธรรมชาติ จะพบวัชพืชทนเค็ม เช่นหนามแดง หนามปี หนามคอม และหญ้าขี้กราก เป็นต้น

(3) บริเวณที่ใช้ปลูกข้าว สังเกตได้จากอาการของต้นข้าวในพื้นที่ดินเค็ม จะมีการเจริญเติบโต ไม่สม่ำเสมอกันต้นแคระแกร็นไม่แตกกอ ใบแสดงอาการ ซีดขาว แล้วไหม้ตายไปในที่สุด ปกติแล้วจะพบข้าวตายเป็นหย่อม

พื้นที่ที่จะพบดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประมาณ 17.8 ล้านไร่ นอกจากนี้ยัง พื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายเกลืออีก 19.4 ล้านไร่ พบดินเค็มใน เกือบทุกจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแบ่งพื้นที่ดินเค็ม
พื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งได้ 4 พื้นที่ คือ

(1) ดินเค็มมาก หมายถึง บริเวณที่พบคราบเกลือตามผิวดินกระจัด กระจายอยู่ทั่วไปเป็นปริมาณมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ส่วนใหญ่ พื้นที่นี้ จะปลูกพืชไม่ค่อยได้ผล มักปล่อยทิ้งร้างการปรับปรุงแก้ไข ต้องลงทุนสูง

(2) ดินเค็มปานกลาง หมายถึง บริเวณที่พบคราบเกลือกระจัดกระจาย ตามผิวดินเป็นปริมาณ 1 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ พื้นที่พอจะปลูกพืชได้ ผลผลิตต่ำ

(3) ดินเค็มน้อย หมายถึง บริเวณที่พบคราบเกลือกระจัดกระจาย ตามผิวดินมีปริมาณน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ น้ำใต้ดินเป็นน้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม แต่จะลึกมากกว่า 2 เมตรจากผิวดิน บริเวณนี้ส่วนใหญ่ใช้ทำนา

(4 ) พื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายดินเค็ม หมายถึง บริเวณ ที่เป็นที่ดินที่เนินมีการปลูกพืชไร่อยู่ ปัจจุบันจะไม่พบคราบเกลือตามผิวดิน แต่ภายใต้ดินมีหินเกลืออยู่ เมื่อมีฝนตกน้ำจากผิวดินจะซึมผ่านชั้นหิน เกลือจะได้น้ำเค็ม ซึ่งจะไหลผ่านชั้นใต้ดินออกสู่ที่ลุ่มถัดไป

การจัดการดินเค็มน้อยและเค็มปานกลางเพื่อปลูกข้าว
พื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่านใหญ่จะเป็นนาข้าว เนื้อดิน ค่อนข้างเป็นทรายเนื่องจากอยู่ในที่ลุ่มจึงมีน้ำขังนาน 3 – 4 เดือน ในฤดูฝนมี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ จึงเหมาะกับการปลูกข้าว การที่มีเกลือในดิน ทำให้ผลผลิตข้าวต่ำ เฉลี่ย 10 –15 ถัง / ไร่ ไม่พอเพียงกับการบริโภคในครอบครัว กรมพัฒนาที่ดิน ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม ระดับเค็มน้อย สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้เป็น 30 ถึง 50 ถัง / ไร่

ขั้นตอนการเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม มีดังนี้
(1) การขังน้ำในแปลงนาเพื่อชะล้างเกลือจากดิน โดยใช้น้ำฝน หรือน้ำชลประทานชะล้างคราบเกลือแล้วระบายออกไป น้ำที่ขังไว้ในนายัง ช่วยชะเกลือที่อยู่ในดินให้ซึมลงไปในดินชั้นล่าง ที่อยู่ลึกเลยบริเวณรากข้าว ทั้งนี้สังเกตได้จากการเปลี่ยนสีของน้ำที่ขังเป็นสีน้ำตาลอ่อนแล้วจึงระบายออก จากนา ความเค็มดินในกระทงนาจะเจือจางลง การล้างดินนี้ควรทำ 2 –3 แล้วจึงทำการไถพรวน

(2) ใส่อินทรียวัตถุ ดินเค็มมักขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงควรใส่ อินทรียวัตถุ เช่น แกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 2 ตัน / ไร่ในดินขณะที่ เตรียมดินเพื่อให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็ว หรืออาจใช้ปุ๋ยพืชสด เช่น โสนอัฟริกัน หว่านในอัตรา 7 กิโลกรัม / ไร่ แล้วไถกลบตอนออกดอก เมื่ออายุ 60 วัน อาจ ใช้โสนคางคก โสนอินเดีย หรือแหนแดงก็ได้ นอกจากนี้อาจใส่วัสดุปรับปรุงดิน ได้แก่ ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนบดเพื่อลดความเป็นกรดในดิน อัตรา ที่ใส่ขึ้นอยู่กับค่าวิเคราะห์ดิน หรือใส่ยิปซั่มในกรณีที่เป็นดินเค็มด่าง เช่น ชุดดินกุลาร้องไห้ ซึ่งดินมักแน่นตัวเร็วจะเร็วให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น ทั้งยัง ช่วยล้างเกลือ ทำให้ความเค็มในดินลดลงได้

( 3 ) การปรับระดับพื้นที่แปลงนาให้อยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อให้ น้ำขังในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอกันทั่วแปลงเป็นการป้องกันไม่ให้คราบเกลือมา สะสมที่ผิวดินตามส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่ควรไถพรวนดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร

(4) เลือกใช้พันธุ์ข้าวทนเค็ม กรมพัฒนาที่ดินได้วิจัยพันธุ์ข้าวทนเค็ม ที่เหมาะสมสำหรับปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้

ข้าวพันธุ์พื้นเมือง : หมออ้ม ขาวตาอู๋ กอเดียวเบา แดงน้อย เจ๊กกระโดด
ข้าวพันธุ์แนะนำส่งเสริม : กข 1 กข 6 กข 7 กข 8 กข 15 ขาวดอก มะลิ 105 สันป่าตอง ขาวตาแห้ง คำผาย 41 เก้ารวง 88 ขาวปากหม้อ 148

(5) การตกกล้า ในช่วงที่เป็นกล้าอ่อน ข้าวจะอ่อนแอต่อ ความเค็มมาก ดังนั้นในการเลือกแปลงตกกล้า ควรเลือกพื้นที่ที่ไม่เค็มมากหรือเค็มน้อย ในการตกกล้าใช้เมล็ดพืชข้าวทนเค็มอัตรา 5 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปักดำ 1 ไร่

(6) การปักดำ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำในพื้นที่ดินเค็มจึงควรจะมีอายุมาก กว่าปกติ คือประมาณ 30 –35 วัน ( อาจจะถึง 45 วัน ก็ได้ ขึ้นกับพันธุ์ข้าว ) เพราะเมื่ออายุกล้ามากขึ้นจะมีความ สามารถในการทนความเค็มมากขึ้น

สภาพดินฟ้าอากาศในการปักดำเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการ ปักดำข้าวในดินเค็ม จึงควรเลือกช่วงที่มีความรู้ ในอากาศสูงและความเข้มของ แสงต่ำ สภาพของอากาศเช่นนี้ คือช่วงที่คาดว่าฝนจะตกก่อนหรือหลังปักดำ

ในระยะปักดำ 20 X 20 เซนติเมตร และจำนวนต้นต่อจับใช้ประมาณ 5-8 ต้น/จับ เพื่อจะได้จำนวนต้นข้าวที่รอดตาย และจำนวนรวงต่อพื้นที่สูง เนื่อง จากความเค็มเป็นตัวยับยั้งการเจริญเติบโตของข้าวใหัเจริญเติยโตช้ากว่าปกติ ส่วนกล้าข้าวที่เกลือควรเก็บไว้สำหรับปักดำซ่อมต้นที่ตายภายหลัง

(7) การใส่ปุ๋ยเคมี ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ค่อนข้าง เป็นดินทราย ดังนั้นในการใส่ปุ๋ยควรที่จะให้มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 16 – 16 – 8 อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่ ควรแบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งละเท่าๆ กันดังนี้

ครั้งแรก ใส่หลังปักดำ 7 – 10 วัน
ครั้งที่สอง ระยะที่ข้าวแตกกอสูงสุด
ครั้งที่สาม ระยะที่ข้าวกำลังตั้งท้อง

(Cool การดูแลรักษา ลักษณะอาการผลกระทบของความเค็มต่อต้นกล้า ที่ปักดำในดินเค็มสำเกตได้จากหลังจากปักดำไปแล้วต้นข้าวจะแสดงอาการใบ ช่วงล่างเหี่ยวเป็นสีน้ำเงินหรือใบม้วนเข้าตามความยาวของใบ เมื่อเวลาผ่านไป ระยะหนึ่งใบล่างแห้ง เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเหลือแต่ใบบนหรือเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลทั้งต้น ถ้าใน 1 สัปดาห์ หลังปักดำต้นกล้าไม่แตกใบใหม่ แสดงว่า ต้นกล้าตาย ควรปักดำซ่อมกอที่ตายแล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ เพราะน้ำเค็มขึ้นแล้ว โดยสังเกตจากสีของน้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะอาการปลายใบข้าวเริ่มไหม้

ระยะที่ต้นข้าวอ่อนแอต่อความเค็ม คือ ช่วงตกกล้าและออกดอก
ระยะที่ต้นข้าวจะขาดน้ำไม่ได้ คือช่วงออกดอกเพราะถ้าขาดน้ำความเค็ม จะสูงขึ้นทำให้เมล็ดข้าวลีบผลผลิตต่ำ ดังนั้นถ้าช่วงนี้ขาดน้ำจำเป็นที่จะต้อง มีการไขน้ำเข้าแปลงเพื่อไม่ให้ข้าวเมล็ดลีบ และตลอดระยะที่ข้าวเจริญเติบโตจะ ต้องดูแลกำจัดโรคและแมลงตามปรกติจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต

(9) การคลุมดิน เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ควรปล่อยให้หน้าดินว่าง เพราะการระเหยน้ำจากดินจะเป็นการเร่งให้เกลือขึ้นมาสะสมที่หน้าดินอีก ควรคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว เศษพืช แกลบ จะช่วยป้องกัน ไม่ให้แสงแดดส่องกระทบถูกดินโดยตรง ซึ่งสามารถลดอัตราการระเหยน้ำ จากดินได้ ดังนั้นขณะที่เก็บเกี่ยวข้าวจึงควรทำการเหยียบย่ำตอซังที่เหลือให้ ปกคลุมดินไว้ นอกจากนี้ยังได้ผลประโยชน์ในการเพิ่มอินทรียวัตถุ และการปรับ ปรุงคุณสมบัติของดินให้ดีขึ้น เมื่อได้ไถกลบวัสดุคลุมดินขณะเตรียมดิน เพื่อการปลูกครั้งต่อไปด้วย
การจัดการดินเค็มปลูกพืชไร่และพืชสวน

หลังการทำนาในเขตชลประธานหรือบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำ เกษตรกร สามารถปลูกพืชไร่หรือพืชสวนในพื้นที่ดินเค็มได้ ก่อนปลูกพืชไร่หรือพืชสวน ในดินเค็ม ควรทำการปรับปรุงดินเสียก่อน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้

(1) การไถลึก วิธีการนี้ใช้ได้ผลดีกับดินที่มีความซาบซึมน้ำได้ต่ำ ซึ่งจะอยู่ระหว่างชั้นดินที่มีการซาบซึมน้ำได้ดี การไถลึกช่วยให้เกลือที่อยู่ใน ดินถูกชะล้างพ้นบริเวณรากพืชลงไป โดยทั่วไปจะไถลึกประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร (ขึ้นกับความลึกของชั้นดิน) เมื่อไถเสร็จควรปรับระดับพื้นที่

(2) การทำให้ดินล่างแตกแยก โดยใช้ไถบุกเบิกหรือไถดินดานติด ท้ายแทรกเตอร์ให้ไถแต่ละอันห่างกันประมาณ 50-90 เซนติเมตร เมื่อลากไป แล้วทำให้เกิดร่อง ช่วยให้น้ำซึมลงได้สะดวก

(3) การใช้สารเคมี โดยใช้ยิปซั่มคลุกเคล้า กับดินที่เป็นด่าง เพื่อช่วย สะเทินความเป็นด่าง และให้แคลเซียมในยิปซั่มไล่ที่โซเดียมออกจากดิน แล้วใช้น้ำชะล้างโซเดียมออกนอกพื้นที่


( 4 ) การชะล้างเกลือจากดิน เพื่อลดปริมาณเกลือในดินโดยการชะล้างเกลือที่สะสมในดินด้วยน้ำ และระบายน้ำที่ชะล้างเกลือนั้นออกไปจาก พื้นที่โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การล้างดินทำได้ดังนี้
- กำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่เสียก่อน
- ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ
- ไถดินลึกมากกว่า 30 เซนติเมตร ทลายดินล่างให้เป็นร่องแล้ว ปรับระดับดิน
- แบ่งแปลงขนาดแปลงย่อย 1-5 ไร่ แต่ละแปลงมีคันดินกั้นโดยรอบ
- ทดน้ำเข้าแปลงครั้งละ 250-300 ลุกบาศก์เมตร/ไร่ ค่อยๆไขน้ำเข้าอย่า ใช้หมดเพียงครั้งเดียว น้ำจะซึมซาบลงดิน ละลายเกลือในดินและชะล้างลงสู่ ดินล่าง ไขน้ำเข้าไปเพิ่มอีก 250-300 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ๆ 2-3 วัน ให้สังเกตว่า น้ำที่มีอยู่เดิมได้ซึมซาบลงได้มาแล้ว และตรวจสอบความเข้มข้นของเกลือที่ ระบายออกมา

(5) การเลือกใช้พืชทนเค็ม นอกจากการปรับปรุงดิน ในวิธีการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น การเลือกใช้พืชทนเค็มนับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผล ประหยัดคุ้มค่า และเกษตรกรสามารถจัดหาได้ด้วยตนเอง พืชทนเค็มที่เหมาะสมจะปลูกในพื้นที่ ดินเค็มระดับต่างๆกัน

พืชทนเค็มที่สามารถขึ้นได้ในดินเค็มระดับต่างๆ

( 1 ) พืชที่ขึ้นได้ในพื้นที่ดินเค็มน้อย
พืชสวน : ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย แตงร้าน แตงไทย
ไม้ดอก : เยอบิร่า
พืชไร่และพืชอาหารสัตว์ : ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วแขก ถั่วปากอ้า
ไม้ผลและไม้โตเร็ว : อาโวคาโด กล้วย ลิ้นจี่ มะนาว ส้ม มะม่วง

( 2 ) พืชที่ขึ้นได้ในพื้นที่ดินเค็มปานกลาง
พืชสวน : บวบ กะหล่ำดอก พริกยักษ์ กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้ำเต้า กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ข้าวโพดหวาน แตงโม ผักกาดหอม องุ่น แคนตาลูป สับปะรด ผักชี
ไม้ดอก : กุหลาบ
พืชไร่และพืชอาหารสัตว์ : ข้าว โสนอินเดีย ป่าน โสนพื้นเมือง ทานตะวัน ปอแก้ว ข้าวโพด หม่อน ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วอัญชัน

( 3 ) พืชที่ขึ้นได้ในพื้นที่ดินเค็มมาก
พืชสวน : ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กะเพรา ผักบุ้งจีน ชะอม
ไม้ดอก : บานบุรี บานไม่รู้โรย ชบา เฟื่องฟ้า เข็ม แพรเซียงไฮ้
พืชไร่และพืชอาหารสัตว์ : ข้าวทนเค็ม คำฝอย โสนอัฟริกา มันเทศ หญ้ากินนี ฝ้าย ป่านศรนารายณ์
ไม้ผลและไม้โตเร็ว : กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก ฝรั่ง ยูคาลิปตัส มะม่วงหิมพานต์ มะยม สมอ ละมุด พุทรา มะขาม มะพร้าว อินทผาลัม สน สะเดา มะขามเทศ





การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด
ดินเปรี้ยวจัด หมายถึง ดินที่มีสารประกอบของกรด กำมะถันอยู่ปริมาณมากพอที่จะเกิดผลเสียต่อการเจริญ เติบโตของพืชที่ปลูก และทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

วิธีการสังเกตพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
(1.) จะพบสารประกอบกำมะถันที่มีสีเหลือง ฟางข้าว เรียกว่า จาโรไซท์ ตกค้างอยู่ในดิน ลักษณะเป็นจุดปะปน กับสีแดง หรือน้ำตาล โดยเมื่อขุดดินที่ความลึกประมาณ 50 เซนติเมตรจากผิวดิน จะพบสารประกอบดังกล่าว

(2.) น้ำบริเวณพื้นที่ดินเปรี้ยวจะใส คล้ายน้ำแกว่ง ด้วยสารส้ม ชิมดูจะมีรสเปรี้ยวหรือผาด
พื้นที่ที่จะพบดินเปรี้ยวจัดในภาคกลาง

ดินเปรี้ยวจัดพบในบริเวณที่ราบลุ่มหรือค่อนข้าง ราบลุ่ม สำหรับในประเทศไทย
จากการสำรวจโดยกรมพัฒนา- ที่ดิน พบดินเปรี้ยวจัดบริเวณภาคกลางของประเทศคลอบ คลุมจังหวัดต่างๆ คือ นครนายก อยุธยา ปทุมธานี สระบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และราชบุรี คิดเป็น พื้นที่รวมประมาณ 6 ล้านไร่
วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด
(1.) ก่อนการปักดำควรขังน้ำและให้มีการระบายน้ำ เข้าออกเพื่อชะล้างกรดและสารพิษออกไปจากดิน

(2.) ใส่ปูนลงในดิน เช่นปูนขาว ปูนมาร์ล เปลือกหอย เผา และหินปูนบด เลือกแบบใดแบบหนึ่ง เพื่อลดความเป็น กรดในดินลง

(3.) หลังใส่ปูน หมัก 7-10 วัน จึงใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส รองพื้น แล้วจึงปักดำ

ปูนมาร์ลแก้ดินเปรี้ยวจัด
ปูนมาร์ลคือ แคลเซียมคาร์บอเนตที่มีลักษณะร่วนซุย พบมากในเขตจังหวัดลพบุรี สระบุรี และนครสวรรค์

วิธีการใส่ปูนมาร์ล
สำหรับวิธีการใส่ปูนมาร์ลลงในดินนั้น ขั้นแรกเตรียม ปูนมาร์ลไว้อัตราที่พอเหมาะกับความเปรี้ยวของดินนำไป กองกระจายไว้เป็นกองเล็กๆ พื้นที่ที่จะปรับปรุงแล้วหว่าน ให้ทั่วพื้นที่ก่อนการเตรียมดิน จากนั้นจึงไถกลบทิ้งไว้ ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินทำปฏิกิริยากับกรดในดิน แล้วจึงทำการปลูกพืช ทั้งนี้การใส่ปูนมาร์ลโดยวิธีนี้ 1 ครั้ง จะช่วยแก้ไขความเป็นกรดของดินได้ประมาณไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือมากกว่านั้น นับว่าเป็นการลงทุนที่ประหยัด และได้ผลคุ้มค่า

อย่างไรก็ตามปูนมาร์ลสามารถแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จัดได้ผลดีแน่ ส่วนความเจริญงอกงาม และผลผลิตของพืช ที่ปลูกนั้นต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ อีกเช่นพันธุ์พืช การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา การป้องกัน
กำจัดศัตรูพืช การ ชลประทาน ซึ่งเกษตรกรจะต้องพิจารณานำวิทยาการต่างๆเหล่านี้มา ผสมผสานตามความจำเป็นและเหมาะสมในแต่พื้นที่จึง ประสบผลสำเร็จ

อัตราการใช้ปูนมาร์ลสำหรับการปรับปรุงดินเปรี้ยว
(1.) การปลูกข้าว ใส่ปูนมาร์ล 2 ตันต่อไร่
(2.) การปลูกพืชไร่ พืชผัก ใช้ปูนมาร์ล 3 ตันต่อไร่
(3.) การปลูกไม้ผลโดยการยกร่องให้นำหน้าดินที่ขุด ไปอยู่ตรงกลางหลังร่อง และนำดินล่างซึ่งเป็นกรดจัดเรียง ไว้ตรงขอบร่อง แล้วขุดหลุมปลูกไม้ผลขนาด 50X 50X50 เซนติเมตร ในปีแรกให้ใช้ปูนมาร์ล 2.0 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับดินให้ทั่วหลุมปลูก ต่อจากนั้นในปีที่ 2 ให้ใช้ ปูนมาร์ลในอัตรา 2 เท่าของอัตราที่แนะนำต่อต้น ในปีที่ 3 ให้ใช้ปูนมาร์ลในอัตรา 3 เท่าของอัตราที่แนะนำต่อต้น ในปีที่ 4 และ 5 ให้ใช้ปูนมาร์ลในอัตรา 4 และ 5 เท่า ของ อัตราที่แนะนำต่อต้นตามลำดับ โดยหว่านให้ทั่วรัศมีมีทรง พุ่มที่ขยายออกมาแต่ละปี

เกษตรกรจะหาซื้อปูนมาร์ลได้จากที่ใด
สามารถหาซื้อปูนมาร์ลได้จากร้านค้าวัสดุการ เกษตรหรือซื้อได้จากที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัด สระบุรี




การปรับปรุงดินตื้นและดินลูกรัง
ดินตื้นและดินลูกรัง หมายถึงดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน

วิธีการสังเกตพื้นที่ดินตื้นและดินลูกรัง
(1) โดยการขุดเจาะดินในความลึก 50 เซนติเมตร พบเศษหินกรวด หินมนเล็กมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อ
ดินโดยปริมาณ

(2) เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วน ปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน

(3) ดินล่าง เป็นดินร่วนปนทรายกึ่งดินเหนียว ปนทรายที่มีกรวดหินมนเล็กหรือเศษหินปะปนอยู่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อดินโดยปริมาตร

พื้นที่ที่จะพบดินตื้นและดินลูกรัง
มีอยู่เกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นในเขต ฝนตกชุกทางภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 6.6 ล้านไร่ ชุดดินที่ พบ ได้แก่ ชุดดินท่ายาง ชุดดินแม่ริม ชุดดินพะเยา ชุดดินน้ำชุน ชุดนาเฉลียง และดินคล้ายชุดดินดังกล่าว

ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร

ปัญหาที่สำคัญ คือเป็นดินตื้นมีกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปนอยู่มากทำให้ดินมีปริมาณเนื้อดินน้อยลง มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ อกจากนี้ลักษณะของดิน เป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนหน้าดินถูกชะล้างพังทลายได้ ง่าย ดินมีความสมบูรณ์ต่ำ และการจัดระบบชลประทาน มีความเป็นไปได้น้อยเนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อำนวย

แนวทางการแก้ไขและใช้ประโยชน์ที่ดินตื้นและดินลูกรัง
การปลูกไม้ใช้สอยหรือไม้ยืนต้นโตเร็ว ปลูกใน พื้นที่มีความลาดชัน มากกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ ชนิดพันธุ์ไม้ ที่ปลูกได้แก่ กระถินณรงค์ กระถินยักษ์ ขี้เหล็กบ้าน สีเสียดแก่น สะเดา ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ก้ามปูและนนทรีย์ ใช้ระยะปลูก 1X1 1X2 หรือ 2X2 เมตร ปลูกในหลุมที่มีขนาด พอเหมาะ (20X20x20 เซนติเมตร) ใส่ปุ๋ยหมัก 2-5 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัม รองก้นหลุม

การทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยการปลูกหญ้า ผสมถั่ว ได้แก่ หญ้ารูซี่ผสมถั่วเวอราโน หญ้ารูซี่ผสมถั่ว ไซราโตร หรือหญ้ากินนีผสมถั่วไซราโตร ก่อนปลูกใส่ปุ๋ย รองพื้น คือปุ๋ยดับเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกหญ้าและถั่วโดยวิธีการหว่านเมล็ดหญ้ารูซี่ ใช้อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อไร่ และเมล็ดถั่วไซราโตรใช้อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อไร หลังการปลูกหญ้าผสมถั่วแล้ว ประมาณ 3 เดือน จึงเริ่มตัดหรือปล่อยให้สัตว์ เลี้ยงเข้า แทะเล็มจากนั้นพัก แปลงไว้ประมาณ 45-60 วัน จึงตัดหรือปล่อยให้แทะเล็ม ได้อีก

การปลูกพืชไร่ระหว่างแถบไม้พุ่ม บำรุงดิน ปลูกในสภาพพื้นที่ลาดชันไม่มาก และ หน้าดินหนาพอสมควร ไม้พุ่มบำรุงดินที่ใช้ เช่น กระถิน ถั่วมะแฮะและแคฝรั่ง โดยปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างต้น 10-50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างไม้พุ่มห่างกันตาม แนวดิ่ง มีการตัดใบและกิ่งก้านของไม้พุ่มเพื่อใช้เป็นวัสดุ คลุมดิน

การปลูกข้าวไร่ ....ปลูกเป็นแถวขวางความลาดชัน พันธุ์ข้าวไร่ที่ใช้ได้แก่ ซิวแม่จัน และอาร์ 288 โดยระยะแถว แรกอยู่ห่างจากแถบไม้พุ่มบำรุงดิน 50 เซนติเมตร ระยะปลูกข้าวไร่ 20X30 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 10 เมล็ดต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่หลังข้าวงอก 20-30 วัน และใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ช่วงกำเนิดช่อดอกหรือประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก

การปลูกสับปะรด..... ปลูกระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุง ดิน หรือระหว่างแถบหญ้า เช่น หญ้าแฝกหรือหญ้ารูซี่ พันธุ์สับปะรดที่ใช้คือ พันธุ์ปัตตาเวีย ปลูกขวางความลาดชัน ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 400 กรัม ต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆ กัน ครั้งแรกใส่หลังปลูก 1-3 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออายุ 6 เดือน ตัดใบและกิ่งก้านไม้พุ่มบำรุงดิน หรือ ใบหญ้าใช้คลุมดินเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช

ชนิดพืช วิธีการจัดการดิน
ไม้ยืนต้นโตเร็ว .....ไถพรวนขวางความลาดเทเมื่อดินมีความชื้นพอเหมาะรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก อัตรา 2-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ปลูกพืชคลุมดิน เช่น ถั่วลายไซราโตร ฮามาต้าใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัม ต่อหลุม

หญ้าผสมถั่ว.... ไถพรวนขวางความลาดเทเมื่อดินมีความชื้นพอเหมาะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 6-46-0 อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ รองพื้น

ข้าวไร่ ....ปลูกแถบไม้พุ่มบำรุงดิน มีการตัดใบกิ่งก้านไถกลบและคลุมดิน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังข้าวงอก 20-30 วัน และผสมปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ระยะกำเนิดช่อดอกปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียน เช่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วแปยี เป็นต้น

สับปะรด....ไถพรวน ขวางความลาดเท ปลูกแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ปลูกหญ้าสลับเป็นแถบ มีการตัดใบ กิ่งก้าน ไม้พุ่มบำรุงดิน หรือหญ้าคลุมดิน มีการไถกลบ ใบ กิ่งก้าน ไม้พุ่มบำรุงดินหรือหญ้า ใส่ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 400 กรัม ต่อต้น


ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 9:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/04/2010 10:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลเสียต่อดินจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

กรมพัฒนาที่ดิน เผย ปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตน้ำจืดทำให้พื้นที่ข้างเคียงมีปริมาณเกลือสูงขึ้น เกิดการแพร่กระจายของดินเค็ม ทำให้เกิดน้ำเค็ม ระบบนิเวศน์เกิดความเสียหาย...

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีและโฆษกกรมพัฒนาที่ดิน เผยว่า ปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตน้ำจืดทำให้พื้นที่ข้างเคียงมีปริมาณเกลือสูงขึ้น เกิดการแพร่กระจายของดินเค็ม ทำให้เกิดน้ำเค็ม ระบบนิเวศน์เกิดความเสียหาย ป่าชายเลนเสื่อมโทรม นากุ้งถูกทิ้งร้าง และเกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยที่ผ่านมากรมพัฒนาที่ดินได้เข้าไปดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ในภาคกลาง ได้แก่ จ.นครนายก นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และฉะเชิงเทรา ภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ชลบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี และภาคใต้ ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา สงขลา สตูล ตรัง และพัทลุง


ที่มา : ไทนรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©