-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2010 3:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สศก. เดินหน้าหนุนอิสานปลูกปาล์มน้ำมัน

รองเลขาฯ สศก.ระบุ หลังติดตามการผลิตน้ำมันปาล์ม 23 จังหวัด เห็นควรปลูกปาล์มน้ำมันในอีสานต่อไป และมีโรงสกัดน้ำมันปาล์มรองรับ...

นายนิพนธ์ ดิลกคุณานันท์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ศูนย์ประเมินผลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ ดังนั้นการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต่อไป ควรสนับสนุนให้มีแหล่งรวบรวมผลผลิต หรือมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร และส่งเสริมการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการช่วยเหลือด้านการตลาด และการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ต่อไป

ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการสำนังานเศรษฐกิจการเกษตร (ศสก.) กล่าวถึงการลงนามข้อตกลง ระหว่างสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) กับโรงงานนำร่องของโครงการสกัดปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มเพื่อพลังงานชีวภาพอย่างยั่งยืน 4 แห่ง เป็นการยกระดับการผลิตน้ำมันปาล์มของไทย ให้มีความยั่งยืนและได้มาตรฐานสากล เอื้อประโยชน์กับเกษตรกรรายย่อย โดยจะมีการแนะนำเกษตรกรถึงการปลูกปาล์มอย่างไรให้มีคุณภาพ มีผลผลิตดี ไม่มีการใช้สารเคมี และไม่มีการบุกรุกทำลายป่า

ทั้งนี้ แต่ละโรงงานจะมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 100-200 คน ในบริเวณพื้นที่ใกล้โรงงาน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ไปสำรวจและให้ความรู้กับเกษตรกรโดยตรง


ที่มา : ไทนรัฐ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/03/2010 4:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2010 3:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนุนเกษตกรภาคไต้ปลูกปาล์มน้ำมัน

สนับสนุนปัจจัยการผลิต ภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ในหมู่บ้านที่เป็นเป้าหมายจำนวน 696 หมู่บ้านของ 5 จังหวัดชายแดนใต้...

นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา มุ่งพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพการผลิตภาคเกษตรในพืชเศรษฐกิจประจำท้องถิ่นของภาคใต้ เพื่อเป็นการยกระดับรายได้ครัวเรือนเกษตรกร ให้มีความมั่นคงในอาชีพการเกษตรและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน รวมทั้งสนับสนุนแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งตามนโยบายของรัฐบาล โดยในปี 2553 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เนินดำเนินการในหมู่บ้านที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาระยะเร่งด่วน จำนวน 696 หมู่บ้าน

ขั้นตอนดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มตั้งแต่การจัดทำประชาคมหมู่บ้าน เพื่อสำรวจความต้องการของเกษตรกร จากนั้นจึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรออกติดตามสำรวจประเมินความเหมาะสมของแปลงปลูก มีการจัดฝึกอบรมเกษตรกรเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกและดูแลรักษาแปลงปลูกโดยจะให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก สนับสนุนต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการและมีพื้นที่อยู่ใน 5 จังหวัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน.


ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2010 3:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนะใช้เกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

เพื่อลดใช้สารเคมีทางการเกษตรแล้วจำนวน 53,030 กลุ่ม เกษตรกรจำนวน 2.65 ล้านคน พัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐาน...

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2550-2552 และได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ เพื่อลดใช้สารเคมีทางการเกษตรแล้วจำนวน 53,030 กลุ่ม เกษตรกรจำนวน 2.65 ล้านคน โดยมีบางกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาศักยภาพเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานระดับต่างๆ ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ในการให้คำแนะนำการผลิตเกษตรอินทรีย์ ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมจะพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐาน IFOAM และ Organic Thailand

กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดฝึกอบรมการพัฒนาวิทยากรระดับพื้นที่ ด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยในปีนี้จะอบรมเพิ่มเติมอีก 2 หลักสูตร คือ การให้คำแนะนำสำหรับการขอรับรองผลิตพืชอินทรีย์และการขอรับรองผลิตเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้วิทยากรระดับพื้นที่ของกรมพัฒนาที่ดิน มีความรู้และความเข้าใจ ในการผลิตพืชอินทรีย์ (Organic Thailand) และเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล (IFOAM) นอกจากนี้ยังจะพัฒนาศักยภาพของวิทยากรระดับพื้นที่ เพื่อทำหน้าที่วิทยากรแกนหลักในการส่งเสริมและให้คำแนะนำกับกลุ่มเกษตรกรฯ ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานระดับต่างๆ ต่อไป.


ที่มา : ไทยรัฐ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/03/2010 6:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2010 4:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลก "บัวจันทร์โกเมน" มี 3 สีใน 1 ดอก

นักวิจัยสถาบันนิวเคลียร์ ประสบความสำเร็จปรับปรุงสายพันธุ์ดอกบัวใหม่ของโลกชื่อ "บัวเปลี่ยนสี" หรือ "บัวจันทร์โกเมน" มี3สีในหนึ่งดอก อยู่ระหว่างจดลิขสิทธิ์ เตรียมเผยโฉมให้ดูในวันที่20ก.พ.นี้...

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. นายวิชัย ภูริปัญญาวานิช นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อาวุโส สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันฯ ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ดอกบัวจนได้สายพันธุ์ใหม่ของโลก ชื่อว่า "บัวเปลี่ยนสี" หรือ "บัวสามสี" หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "บัวจันทร์โกเมน" โดยคุณสมบัติเด่นของบัวสายพันธุ์ใหม่ จะมีสีชมพู แดง และเหลือง ในดอกเดียวกัน แต่จะเปลี่ยนสีทุกวัน วันแรกเมื่อออกดอกจะมีสีชมพูและสีแดง วันที่สองสีชมพูและสีแดงจะอ่อนลง แต่จะมีสีเหลืองแซมขึ้นมา จากนั้นวันที่สาม ดอกบัวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จึงเรียกว่าบัวเปลี่ยนสี โดยบัวดังกล่าวจะบานประมาณ 4-5 วัน และเมื่อบานจะมีความกว้างของดอก ไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร ขณะนี้ สถาบันฯ ได้ส่งบัวจันทร์โกเมน ไปจดทะเบียนพันธุ์ เป็นบัวพันธุ์ใหม่ของโลก ที่สมาคมบัวโลก สหรัฐอเมริกา และเป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ซึ่งขณะนี้สมาคมบัวโลกกำลังตรวจสอบ คาดว่าจะประกาศให้ลิขสิทธิ์ ได้เร็ว ๆ นี้

นายวิชัย กล่าวต่อว่า บัวเปลี่ยนสีสายพันธุ์ใหม่ของโลก เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างบัวหลวงสีเหลือง ซึ่งป็นบัวของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีในประเทศไทย แต่สถาบันฯได้นำมาเพาะพันธุ์ ที่ประเทศไทยและนำมาผสมกับบัวสายพันธุ์แหลมแดงไทย หรือพันธุ์ราชินี ซึ่งถือว่าเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ การผสมให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยระยะแรกใช้การผสมแบบธรรมดา ใช้ผสมเกสร แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเป็นบัวคนละชนิดพันธุ์ อย่างไรก็ตาม การผสมพันธุ์ดังกล่าว แม้จะได้ผลบ้างแต่ลูกผสมอ่อนแอ ดังนั้น สถาบันฯ จึงใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์กระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม จนกระทั่งประสบความสำเร็จ ได้บัวสายพันธุ์ใหม่ ที่ผ่านมา มีผู้มาเจรจาขอซื้อพันธุ์ เพื่อไปขยายพันธุ์ต่อในราคาหลายล้านบาท แต่สถาบันฯ ไม่ยอมขาย


ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2010 4:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลดปัญหาเพลี้ยกระโดดชาวนาใช้วิธีไถกลบตอซัง *

เพื่อตัดวงจรอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่เป็นพาหะของโรค และเว้นระยะการทำนา 2 เดือน และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าว อาทิ พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2...

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยถึงรายงานที่ได้รับจากศูนย์อำนวยการควบคุมกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (War room) ที่สำรวจพบพื้นที่การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งผลจากการประเมินสถานการณ์พบว่า พื้นที่การระบาดใน 8 จังหวัดคือ พิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท และลพบุรี มีปริมาณลดลงเหลือ 3.98 แสนไร่ แต่ยังคงพบการระบาดของโรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย ซึ่งมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะใน 11 จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี นครนายก และนนทบุรี ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการตัดวงจรอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เป็นพาหะของโรค เกษตรกรต้องทำการไถกลบต้นข้าวในพื้นที่ระบาดและเว้นระยะการทำนา 2 เดือน สำหรับการป้องกันกำจัดโรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิก นอกจากวิธีดังกล่าวแล้วหากพบต้นที่เป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถอนฝังดินหรือเผา ส่วนแปลงที่พบโรคในระยะรวงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ดำเนินการไถกลบตอซัง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งสะสมของโรค ที่ก่อให้เกิดการระบาดในรอบการปลูกครั้งต่อไป และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าว อาทิ พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 และสุพรรณบุรี 90 ในฤดูการเพาะปลูก.


ที่มา : ไทยรัฐ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/04/2010 9:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/03/2010 7:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธงชัย พุ่มพวง

ข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่เพื่อการค้า ผลงาน มทร.ล้านนา

ข้าวโพด เป็นพืชไร่พืชหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการมาก แยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้มากมาย เช่น ข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดลูกผสมต่างๆ ข้าวโพดสองสี ข้าวโพดสามสี พันธุ์ข้าวโพดบางพันธุ์ได้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอากาศของบ้านเรา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์ข้าวโพดที่ปลูกได้ในประเทศไทย จึงได้ศึกษาวิจัยจนประสบผลสำเร็จ มีข้าวโพดสายพันธุ์เชิงการค้า เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งเกษตรกรมีทางเลือกปลูกข้าวโพดหลายชนิด ตามแต่สภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด

รศ.ดร.คมสัน อำนวยสิทธิ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน เล่าว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยสายพันธุ์ข้าวโพดเพื่อผลิตพันธุ์ในเชิงการค้าหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดหวานฝักเล็ก พันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก และข้าวโพดไร่สีม่วง

ข้าวโพดคั่ว ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว หลายคนต่างนิยมชื่นชอบรับประทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก มินิมาร์ท โรงภาพยนตร์ มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่คั่วร้อนๆ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดคั่วปรุงรสสำเร็จรูป แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคั่วนั้นจะต้องสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จึงเกิดแนวคิดศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวโพดคั่วสายพันธุ์แท้เพื่อใช้ผลิตเป็นข้าวโพดคั่วสายพันธุ์ลูกผสมเชิงการค้า จนประสบผลสำเร็จ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อใช้เองภายในประเทศ มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวโพดคั่วที่สามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ต้านทานต่อโรคและแมลง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หันมาปลูกข้าวโพดคั่วกันมากขึ้น อีกทั้งเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง

จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อการค้า ทำให้ได้ต้นข้าวโพดมีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยว 85 วัน ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีช่อดอกขนาดใหญ่ เกสรตัวเมียสีชมพูขาว เมล็ดเป็นแบบหยดน้ำ สีของเมล็ดเหลืองเข้ม ความยาวของฝัก ประมาณ 18-20 เซนติเมตร มีจำนวน 14 แถวเมล็ด ต่อฝัก มีจำนวน 30-38 เมล็ด ต่อแถว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450-650 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำไปคั่วเป็นข้าวตอกมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีการแตกตัวมากกว่า 95%

ข้าวโพดหวานฝักเล็ก "เทียนหวานพิษณุโลก"
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พื้นที่พิษณุโลก ได้รวบรวมเมล็ดข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ตั้งแต่ ปี 2537 ปลูกคัดเลือกและศึกษาลักษณะทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จนถึง ปี 2540 ได้คัดเลือกข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ได้จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 พันธุ์อยุธยา พันธุ์บางพระ พันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ขาวนครศรีธรรมราช และพันธุ์ขาวสุโขทัย ข้าวโพดเหล่านี้ตั้งชื่อตามแหล่งที่รวบรวมมาปลูก และปลูกเปรียบเทียบทั้ง 7 พันธุ์ ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเทียนด้วยการเพิ่มจำนวนข้าวโพดข้าวเหนียวหวานขอนแก่น พันธุ์นพวรรณ 1 และข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง 7 พันธุ์ จนได้เป็นข้าวโพดหวานฝักเล็กพันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก ที่มีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาปลูกเพียง 55 วัน ลำต้นสูง 176 เซนติเมตร รสชาติหวาน กรอบ มีสีสองสีสลับกันคล้ายกับพันธุ์ที่นิยมบริโภคในต่างประเทศ ฝักเล็กเหมาะแก่การบริโภค ความยาวของฝัก 11 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 10 เซนติเมตร น้ำหนักสดทั้งเปลือก 165 กรัม ต่อฝัก น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือก 104 กรัม

ข้าวโพดไร่สีม่วง ข้าวโพดไร่สีม่วงเป็นพืชไร่ที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดเป็นสำคัญ เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ชนิดใหม่ แต่ยังไม่มีภาครัฐและเอกชนผสมพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ลูกผสม สารสีม่วงแดงจะมีสารแอนโทไซยานินที่เป็นสารจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งสารสีม่วงนี้ยังนำไปใช้เป็นสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า ด้วยความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วง จำนวน 9 ชั่ว พบว่าได้รับผลผลิตค่อนข้างสูง 20 อันดับแรก เฉลี่ยประมาณ 787-953 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุการออกดอกเร็วกว่าพันธุ์การค้า ขนาดของฝักสม่ำเสมอ

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59 หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โทรศัพท์ (054) 710-259, (054) 710-554, (081) 870-8902


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/03/2010 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ว่าที่ ร.ต.หญิง พิมพ์ใจ กัญชนะ

แตงกวา พืชผักคู่ครัวคนไทย ปลูกง่าย ให้ผลผลิตดี ที่เชียงใหม่ *

"แตงกวา" เป็นพืชผักที่คุ้นเคยกันดีสำหรับคนไทย ช่วยชูรสอาหารให้มีความอร่อย โดยเฉพาะอาหารรสจัดจ้านใช้เป็นเครื่องเคียงดับความเผ็ดร้อนของอาหารได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่ามื้อไหนๆ มี "แตงกวา" เป็นเครื่องเคียงด้วยแล้ว มื้อนั้นเป็นอาหารเลิศรสเลยทีเดียว ดังนั้น แตงกวา จึงเป็นพืชผักที่คู่ครัวคนไทยมาช้านาน กอปรกับปัจจุบัน แตงกวา ไม่ใช่เพียงเครื่องเคียงอาหารในครัวคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนประกอบอาหารของนานาชาติอีกด้วย แตงกวาจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะปลูกเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกยังต่างประเทศอีกด้วย

คุณสมจิตต์ บุญมาวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเขตภาคเหนือ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เล่าถึงลักษณะของแตงกวาว่า "แตงกวาเป็นพืชที่มีระบบรากแก้วและรากแขนงเป็นจำนวนมากแผ่กว้าง ลำต้นแบบเถาเลื้อยเป็นเหลี่ยม ผิวขรุขระ มีหนาม ใบใหญ่และหยาบ เป็นรูปฝ่ามือ ดอกมีทั้งดอกตัวผู้ ตัวเมีย แยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน แตงกวาสามารถเจริญเติบโต้ได้ดีในอุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน ระหว่าง 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืน อยู่ระหว่าง 17-18 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิและช่วงแสงมีอิทธิพลต่อการแสดงเพศของดอกแตงกวา ถ้าอุณหภูมิต่ำและวันสั้น เช่น ในช่วงฤดูหนาวจะมีอิทธิพลต่อการแสดงดอกเพศเมีย อุณหภูมิสูงและวันยาวมีอิทธิพลต่อการแสดงดอกเพศผู้ ดอกแตงกวาจะบานในช่วงเช้า อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แตงกวาชอบแสงแดดตลอดวัน เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.8 แตงกวาจะให้ผลผลิตดีที่สุด"

คุณอินถา รัตนัง เกษตรกรผู้ปลูกแตงกวา อยู่บ้านเลขที่ 100/1 หมู่ที่ 2 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า "ตนเองทำการเกษตรมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ปลูกพืชมากมายหลายชนิด จนเมื่อ ปี 2549 ได้หันมาปลูกแตงกวาพันธุ์เพรตตี้ สวอลโล 279 ลักษณะผิวด้าน ตามคำแนะนำของ คุณเจษฎากรณ์ ศรีคำ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม ของ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด และใน ปี 2550 ได้ปลูกแตงกวาพันธุ์อาริโช 2036 ลักษณะผิวมัน เพิ่มเติม รวมกันในพื้นที่ 3 งาน

สำหรับวิธีการเพาะปลูก เริ่มจากการเพาะเมล็ดและการหยอดเมล็ด วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ เมล็ดแตงกวา ถุงพลาสติคขนาดพอดีกับจำนวนเมล็ด น้ำสะอาด ผ้าขนหนูชนิดบาง ถาดเพาะเมล็ด วัสดุเพาะกล้า และยากันโรคโคนเน่า ส่วนวิธีการเพาะเมล็ดนั้น จะนำถุงพลาสติคที่เตรียมไว้มาเจาะรู เพื่อให้น้ำซึมผ่านเข้าไปได้ ใส่เมล็ดแตงกวาลงไปปิดปากถุง แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาด กดให้จมน้ำ ใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากนำขึ้นจากการแช่น้ำแล้วสลัดน้ำออกให้หมด นำผ้าขนหนูไปชุบน้ำบิดให้พอหมาด แล้วนำไปห่อถุงเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 3-4 ชั้น แล้วนำไปใส่ถุงพลาสติคมัดปากถุงอีกที เพื่อป้องกันความชื้นระเหยออก แล้วนำไปบ่มในอุณหภูมิช่วง 28-30 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 24-32 ชั่วโมง เมล็ดจะเริ่มงอก สำหรับในฤดูหนาวเมล็ดจะงอกช้า ต้องนำไปบ่มในกล่อง โดยใช้หลอดไฟ ขนาด 40 วัตต์ ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ช่วง 28-30 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 24-36 ชั่วโมง เมล็ดจะงอก

การเตรียมแปลงปลูก เริ่มจากการไถเปิดหน้าดินให้ลึก ไถพรวน 1 รอบ ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน หว่านปุ๋ยคอก (มูลไก่) วัดแปลงระยะห่างประมาณ 1.5 เมตร ยกแปลงกว้าง 1.1 เมตร ร่องน้ำกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 25 เซนติเมตร จากพื้นร่องน้ำ ปรับแปลงให้เรียบ คลุมด้วยพลาสติคคลุมแปลง สีบรอนซ์-ดำ ขนาดกว้าง 1.2 เมตร เพื่อป้องกันแมลงและเก็บความชื้น

การปลูก นิยมปลูกเป็นแถวคู่ โดยเจาะหลุมห่างจากขอบแปลงด้านละประมาณ 15.20 เซนติเมตร ให้มีระยะห่างระหว่างต้น 45-50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 70-80 เซนติเมตร ซึ่งเริ่มปลูกในช่วงเย็น หรือขณะที่แสงแดดอ่อน และจะนำน้ำเข้าแช่ในร่องก่อนย้ายต้นกล้ามา เพื่อให้แปลงมีความชื้นพอปลูกแล้วกดดินให้แน่นพอควร แล้วจึงรดน้ำตามทันที

การดูแลรักษา การให้น้ำจะให้น้ำไหลไปตามร่องระหว่างแถวปลูก แล้วตักรดที่โคนต้น ปกติจะให้น้ำ 3-5 วัน ต่อครั้ง ถ้าแตงมีความสูง 1 ฟุต ขึ้นไป จะให้น้ำโดยการปล่อยขังไว้ในร่อง ประมาณ 12 ชั่วโมง การทำค้าง ปักค้าง เมื่อแตงกวามีอายุได้ประมาณ 7-10 วัน หลังปลูก

การมัดยอด ใช้เชือกฟางฉีกเป็นเส้นเล็กๆ ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร มัดยอดหลวมๆ ติดกับไม้ค้าง โดยมัด 3 วัน ต่อครั้ง มัดไปจนกระทั่งสุดปลายแขน

การแต่งกิ่ง จะตัดแขนง ข้อที่ 1-3 ของลำต้นออก และข้อที่ 4 ขึ้นไป จะไม่ตัด จะทำให้ผลแตงกวาที่ได้สมบูรณ์ หัวไม่คอด

การให้ปุ๋ย ครั้งที่ 1 ใส่เมื่อเตรียมแปลงปลูก ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออายุประมาณ 5-7 วัน หลังปลูก หรือเมื่อแตงกวาตั้งตัวได้แล้ว โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 250 กรัม และใช้ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 300 กรัม ละลายในน้ำ 100 ลิตร ผสมยากันโรครากเน่าโคนเน่า นำไปรดโคนต้น ต้นละ 250 ซีซี โดยไม่ให้โดนใบ ครั้งที่ 3 ใส่เมื่ออายุประมาณ 12-15 วัน หลังปลูก โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยยูเรีย อัตราส่วน 2:1 โดยเจาะหลุมต้นละ 1 หลุม ห่างจากโคนต้นลงมาทางร่องน้ำ ประมาณ 20 เซนติเมตร ให้หลุมลึกประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วนำปุ๋ยที่ผสมแล้วใส่ลงไป ต้นละครึ่งช้อนแกง หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อใส่ปุ๋ยเสร็จปล่อยน้ำเข้าร่องแล้วตักรด ใส่ปุ๋ยละลาย ครั้งที่ 4 ใส่เมื่ออายุได้ 20-23 วัน หลังปลูก โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หยอดลงในหลุมเดิมที่ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ต้นละครึ่งช้อนแกง หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อใส่ปุ๋ยเสร็จแล้วปล่อยน้ำเข้าร่องน้ำแล้วตักรด ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5 ใส่เมื่ออายุได้ 30-33 วัน หลังปลูก โดยใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ปล่อยน้ำเข้าร่องแล้วหว่านในร่องน้ำ ครั้งที่ 6 อายุประมาณ 40-43 วัน หลังปลูก ปุ๋ยและวิธีการใส่เหมือนครั้งที่ 5 นอกจากการใส่ปุ๋ยทางดินแล้ว จะให้อาหารเสริมทางใบด้วย โดยใส่ไปพร้อมกับการฉีดพ่นสารเคมี ปุ๋ยที่ใช้โดยทั่วไป ใช้ปุ๋ยเกล็ด เพราะสามารถละลายน้ำได้ง่าย สูตร 18-33-18 หรือ 21-21-21 ผสมกับธาตุอาหารพวกแคลเซียม โบรอน

สำหรับการเก็บเกี่ยวจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน หลังจากปลูก ซึ่งจะเก็บในช่วงเวลาประมาณ 06.00-12.00 น. โดยในพื้นที่ 3 งาน เก็บได้ประมาณวันละ 400-500 กิโลกรัม ต่อวัน ราคากิโลกรัมละประมาณ 12 บาท

ผู้สนใจเกี่ยวกับการปลูกแตงกวา หรือเมล็ด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เลขที่ 43 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ (053) 217-180 โทรสาร (053) 217-181


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/03/2010 10:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/03/2010 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ภาวิณี สุดาปัน

ปลูกมะม่วง อาร์ทูอีทู กว่า 1,000 ต้น ส่งนอก รายได้งาม ที่เมืองโอ่ง *

มะม่วง เป็นพืชที่ปลูกแล้วรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของไทย มะม่วงชอบดินทั่วไป ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกมะม่วง คือ ดินร่วน หรือร่วนปนทราย โดยเฉพาะดินบนเขาจะระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศแห้งแล้ง แต่ก็ต้องการน้ำในการเจริญเติบโตเช่นกัน

ถ้าสภาพอากาศชื้นจะสู้พวกโรค แมลง เชื้อรา ไม่ไหว นอกจากรับประทานผลสดแล้วยังสามารถแปรรูปเพื่อจำหน่ายเป็นอาหารสดและอาหารแห้งได้ ส่งขายต่างประเทศสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ทุกภูมิภาคของไทยสามารถปลูกมะม่วงได้ แต่ผลิตผลที่ได้ในแต่ละภูมิประเทศจะไม่เหมือนกัน แต่ ณ สวนแห่งนี้ คือสวนของคุณดำริ มีพื้นที่อาณาเขตหลายร้อยไร่ สภาพอากาศแห้งแล้ง สังเกตเห็นฝุ่นตลบจากถนนลูกรังที่ทีมงานขับรถผ่าน สองข้างทางแน่นไปด้วยสวนไม้ผลที่อุดมสมบูรณ์ สวนคุณดำริก็เช่นกันถึงแม้สภาพอากาศจะแห้งแล้งแต่พอได้เหยียบย่างลงใต้ถุนเรือนบ้านแล้วรู้สึกเย็นสบาย พบเจอเจ้าของก็ทักทายพูดคุยกันตามประสาแล้วเดินชมสวนกัน

เจ้าของสวนคือ คุณดำริ ใจเสียง อายุ 90 ปี อยู่บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีภรรยาคู่ชีวิต คือ คุณเพลิน ใจเสียง อายุ 81 ปี ทั้งสองมีบุตรชายด้วยกัน 2 คน คนเล็กมีครอบครัวอยู่สิงคโปร์ ส่วนคนโตอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งมีลูกด้วยกัน 3 คน

ลูกชายคนโต มีรถแบ๊คโฮรับเหมา พร้อมกับทำสวนช่วยคุณพ่ออีกทาง โดยมีภรรยาเป็นแรงงานหลักในการดูแลสวนมะม่วงทั้งหมด

แต่ก่อนที่ คุณติ๋ว ภรรยาของ คุณเปี๊ยก ลูกชายของคุณดำริจะมารับช่วงสืบทอดอาชีพทำสวนมะม่วงต่อนั้น คนที่เริ่มบุกเบิกที่ดินผืนนี้คือ คุณดำริ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทำสวนมะม่วงมากว่า 30 ปีแล้ว พื้นดินที่เห็นกว่า 200 ไร่ แห่งนี้แหละ คือสวนมะม่วงของคุณดำริ

คุณดำริ เล่าให้ฟังว่า "ปีแรกที่ทำสวน ผมจะปลูกมะม่วงชนิดที่สามารถส่งออกได้ทั้งหมด อันได้แก่ น้ำดอกไม้ เขียวเสวย มันขุนศรี แก้วลืมรัง ขยายพันธุ์โดยใช้วิธีปลูกต้นตอแล้วเสียบยอด ซึ่งสมัยก่อนจะเป็นที่นิยมมาก แต่ปัจจุบันนี้พันธุ์ใหม่ (อาร์ทูอีทู) กำลังเป็นที่นิยม ผมนำมะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทู มาปลูกที่สวนแห่งนี้หลายพันต้น ครั้งแรกซื้อยอดมาจากจังหวัดระยอง ประมาณ 30-40 ยอด แล้วก็ซื้อมาจากเชียงใหม่อีก 200-300 ยอด นอกจากนี้ ยังซื้อมาจากจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดกาญจนบุรีอีกจำนวนหนึ่ง ผมปลูกอาร์ทูอีทูส่งออกนอกกว่า 3-4 ปีแล้ว สาเหตุที่หันมาปลูกอาร์ทูอีทูก็เพราะว่าให้ผลผลิตดี ขายได้ราคาสูงกว่ามะม่วงพื้นเมืองทั่วไป และเป็นที่นิยมของลูกค้าในต่างประเทศ นอกจากมะม่วงแล้วยังมีปลูกลำไย" คุณดำริ เล่า

วิธีการปลูกการดูแลรักษานั้น คุณดำริ ปลูกมะม่วงอาร์ทูอีทู จำนวน 1,000 ต้น ลักษณะของมะม่วงอาร์ทูอีทู คือผลกลม ขนาดใหญ่ น้ำหนักว่า 1 กิโลกรัม น้ำหนักผลน้อยที่สุด 7-8 ขีด เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หากห่อผลจะมีลักษณะสีเหลืองนวล เนื้อหนา รสชาติไม่หวานจัดเหมือนน้ำดอกไม้ หวานอมเปรี้ยวนิดๆ ต้นที่ดกที่สุดสามารถเก็บผลได้ประมาณ 50-100 กิโลกรัม

การให้น้ำ ใช้รถยนต์รดน้ำฉีดสายยางไปตามโคนต้น น้ำที่ใช้จะเป็นน้ำบาดาลที่ปั๊มขึ้นมาจากสวนหลังบ้าน สาเหตุที่ไม่ใช้วิธีการให้น้ำอย่างอื่น เพราะเป็นการประหยัดทุนและแรงงาน อีกอย่างมะม่วงเป็นไม้ผลที่ไม่ชอบน้ำ จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำมาก

การให้ปุ๋ย สวนแห่งนี้แต่ก่อนจะใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก แต่ปัจจุบัน คุณเปี๊ยก (ลูกชาย) จะทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพขึ้นมาใช้เอง ส่วนผสมที่ใช้ในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ หัวเชื้อปุ๋ย กากอ้อย ขี้หมู รำ เป็นหลัก วิธีการรดก็ใช้รถดูดส้วมปั๊มน้ำปุ๋ยหมักขึ้นมาฉีดพ่นแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้รดเฉพาะสวนมะม่วงกับลำไย

ลักษณะการทำสวนของคุณดำรินั้นง่ายต่อการดูแลรักษา เก็บเกี่ยว และการขนส่ง เพราะมีถนนสำหรับรถวิ่งรดน้ำ กำจัดวัชพืช มีรถสำหรับลำเลียงขนส่งมะม่วงออกจากสวน นี่คือรูปแบบการจัดการสวนที่ควรนำไปเป็นแบบอย่างสำหรับผู้ที่สนใจจะทำสวนมะม่วง

มะม่วงของคุณดำริทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำดอกไม้ เขียวเสวย แก้วลืมรัง อาร์ทูอีทู เป็นต้น จะต้องห่อถุงกระดาษที่ทางบริษัทผู้รับซื้อมะม่วงส่งนอกนำมาให้ ราคาใบละ 75 สตางค์ 1 ใบ ใช้ได้ประมาณ 2 ครั้ง สาเหตุที่ห่อผล เพื่อให้สีผิวสวยงาม สีเหลืองนวลไม่มีจุดแผลบนผิว และที่สำคัญป้องกันแมลงมาก่อกวนได้อีกทาง

คุณดำริ เล่าว่า สวนของตนส่งออกปีละกว่า 200 ตัน ซึ่งแต่ละวันจะเก็บมะม่วงปริมาณ 10 ตัน จากนั้นจะนำมาคัดแยก และบรรจุภัณฑ์ลงกล่องพร้อมกับห่อตาข่ายเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนระหว่างการขนส่ง ซึ่งกล่องที่ใช้บรรจุมะม่วงนั้นทางบริษัทผู้รับซื้อนำมาให้ เจ้าของสวนก็จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์นี้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานการส่งออกเหมือนกัน ส่วนยี่ห้อก็ยังเป็นของสวนดำริเหมือนเดิม

ราคาขายนั้น ช่วงที่มะม่วงราคาดี ขายราคาแพ็กละ 700 บาท น้ำหนัก 10 กิโลกรัม ส่วนช่วงที่ราคาต่ำสุด ขายได้ราคาแพ็กละ 450 บาท น้ำหนัก 10 กิโลกรัม มะม่วงอาร์ทูอีทูของสวนดำริจะมีราคาแพงที่สุด ส่วนมะม่วงที่มีรสชาติหวานที่สุดนั้นก็คือ น้ำดอกไม้ มะม่วงสวนดำริปลูกเพื่อการค้าและส่งออกเกือบทั้งหมด นอกจากที่ไม่ได้มาตรฐาน (ผลเล็ก ไม่สมบูรณ์) ก็จะส่งไปขายที่ตลาดศรีเมือง จังหวัดราชบุรี ส่วนมะม่วงที่นำส่งไปขายยังต่างประเทศนั้นมีหลายประเทศด้วยกัน ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น วิธีการขนส่งผ่านทั้งทางเรือและเครื่องบิน มะม่วงของสวนดำริจะส่งขายให้บริษัทส่งออกที่หาดใหญ่เพียงเจ้าเดียว

คุณดำริ มองอนาคตการปลูกมะม่วงอาร์ทูอีทูว่า เป็นไม้ผลเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง หากปลูกเพื่อการค้า เพราะต้นพันธุ์แข็งแรงทนทาน เจริญเติบโตเร็ว (แต่ก่อนอยู่ในสภาพอากาศหนาว เมื่อนำมาปลูกในไทยก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อนชื้นได้) ผลผลิตดี ผลใหญ่ ขายได้ราคาสูง เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ เพราะผู้บริโภคในต่างประเทศไม่นิยมมะม่วงรสหวานจัดเหมือนมะม่วงน้ำดอกไม้ของไทย

หากท่านใดสนใจ สามารถติดต่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ที่ เบอร์โทร. (081) 943-1887 (คุณเปี๊ยก), (032) 735-522


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/03/2010 7:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/03/2010 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

องอาจ ตัณฑวณิช ONGART04@YAHOO.COM ชมรมการจัดการทรัพยากรเกษตร

เบญจมาศบานในม่านหมอก วังน้ำเขียว

วังน้ำเขียว เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นตลอดปี และมีภูมิทัศน์ที่มีความสวยงามเหมาะกับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหรือพักค้างคืนเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์แทนอากาศที่มีมลพิษในเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร

ในแถบบริเวณ 2 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมา คือ วังน้ำเขียว ปากช่อง และอำเภอมวกเหล็กของจังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่ต่อเชื่อมกันเป็นผืนเดียวก่อนที่จะมีถนนมิตรภาพตัดผ่าน ดินแดนแถบนี้ถูกเรียกขานว่า ดงพญาไฟ ซึ่งเป็นถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามากกว่าถิ่นอื่น คำว่า "ดงพญาไฟ" คงจะหมายถึงไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่า ซึ่งเมื่อติดเชื้อไข้มาลาเรียแล้วมีอาการกำเริบ ตัวจะร้อนเหมือนไฟและมีโอกาสเสียชีวิตสูง เนื่องจากสมัยนั้นหยูกยาเป็นสิ่งที่หามาใช้บรรเทาได้ยาก และต่อมาได้เปลี่ยนจาก คำว่า "ดงพญาไฟ" เป็น "ดงพญาเย็น" อาจเป็นเพราะว่า คำว่า "ไฟ" เป็นคำที่น่ากลัว

แต่ก็เหมาะสมดีเมื่อเปลี่ยนมาใช้คำว่า "เย็น" เพราะในฤดูหนาวบางปีบริเวณนี้มีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

งานจัดเพื่อเกษตรกรและนักท่องเที่ยว ที่อำเภอวังน้ำเขียว มีการจัดงานเบญจมาศมาอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรในตำบลไทยสามัคคี และตำบลต่างๆ ของอำเภอวังน้ำเขียว นำเอาผลผลิตทางการเกษตรที่เพาะปลูกไว้นำมาจำหน่าย เช่น เห็ดหอม ผักเมืองหนาวต่างๆ ที่ปลอดสารพิษ อันเป็นผลดีต่อสุขภาพมาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว และเพื่อให้วังน้ำเขียวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในวันหยุด โดยนำเบญจมาศตัดดอกหลากหลายสีหลากหลายพันธุ์มาปลูกไว้ในงานเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอย่างใกล้ชิด

องค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสถานประกอบการและผู้นำท้องถิ่นต่างเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน งานเบญจมาศบานในม่านหมอกฯ สถานที่จัดงานเป็นสถานที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี ที่จัดเป็นสวนสาธารณะไว้ โดยในปีนี้ใช้พื้นที่เฉพาะส่วนที่ปลูกเบญจมาศเกือบ 5 ไร่ ซึ่งไม่รวมกับพื้นที่อื่นที่จัดเป็นสวนไม้ดอกหลากหลายสีสันงดงามมาก ในพื้นที่ดังกล่าว อบต. ไทยสามัคคี ได้ให้เกษตรกรในตำบลที่สนใจมาปลูกเลี้ยงเบญจมาศโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่จะมีการช่วยเหลือค่าน้ำ ค่าไฟ บ้างเล็กน้อย เกษตรกรที่มาปลูกเลี้ยงเดิมจะไม่มีความรู้ในเรื่องเบญจมาศเลย แต่ทาง อบต. ไทยสามัคคี ได้มีเจ้าหน้าที่ทางด้านการเกษตรแนะนำช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปลูกเลี้ยงเบญจมาศ จนสามารถนำความรู้นั้นไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ เมื่อมีความรู้ความชำนาญพอก็จะกลับไปทำแปลงเบญจมาศตัดดอกในพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็จะมีเกษตรกรรุ่นใหม่เข้ามาเรียนรู้งานแทน ทำให้ อบต. ไทยสามัคคี สามารถผลิตเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงเบญจมาศได้เป็นจำนวนมากเพียงในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปี

การจัดงานดอกเบญจมาศบานในม่านหมอกฯ ในปีนี้นับเป็นปีที่ 8 แล้ว ที่ อบต. ไทยสามัคคี ได้ทุ่มเทจัดเพื่อพี่น้องเกษตรกรในอำเภอวังน้ำเขียว ในปีนี้จัดในวันที่ 22-24 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา เริ่มเปิดงานตั้งแต่ 8 โมงเช้า จนถึงเที่ยงคืน ในปีที่แล้วรถของนักท่องเที่ยวติดขัดตั้งแต่ปากทางเข้าจนถึงหน้างานด้วยระยะทางเข้าถึง 7 กิโลเมตร ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมทั้งงานหลายหมื่นคน จึงทำให้ในปีนี้ อบต. ไทยสามัคคี ได้จัดพื้นที่ในการปลูกเบญจมาศเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหลายเท่า และนอกจากนี้ยังได้เพิ่มพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่นำรถส่วนตัวเข้ามาเป็นจำนวนมากเช่นกัน

เบญจมาศตัดสดจากแปลง
คุณฉะอ้อน จึงผ่อนกลาง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี กรุณาให้ข้อมูลว่า เกษตรกรหลายร้อยครอบครัวในตำบลไทยสามัคคีได้นำผลผลิตทางการเกษตรของตน ที่ทาง อบต. ส่งเสริมให้ปลูกไว้มาขายในงาน เช่น ผักสลัด ผักคะน้าฮ่องกง หน่อไม้ฝรั่ง เสาวรส กะหล่ำปลี เห็ดหอม และผักเมืองหนาวต่างๆ นำมาจำหน่ายเองในงาน รวมถึงบรรดาเบญจมาศตัดดอกสีต่างๆ ซึ่งปลูกอยู่ในแปลง โดยการตัดจำหน่ายจากแปลงสู่มือนักท่องเที่ยวเลยทันที ไม่ได้มีการตัดไว้ล่วงหน้า

คุณฉะอ้อน ยังกล่าวว่า จำนวนเกษตรกรที่มาจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรทั้งหมด 250 ราย จะมีรายได้เฉลี่ยวันละ ประมาณ 700-800 บาท ไม่รวมถึงร้านค้าอาหารและเครื่องดื่มอีกจำนวนหนึ่ง คาดว่าในวันหนึ่งๆ ในงานเบญจมาศบานในม่านหมอกฯ จะมีเงินสะพัดเข้ามาในงานมากกว่า 1 ล้านบาท เงินรายได้ที่นักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอยทั้งงานคาดว่าจะมีถึง 5-6 ล้านบาท ส่วนจำนวนคนที่เข้ามาท่องเที่ยวในงานทั้ง 3 วัน มีจำนวน 30,000-40,000 คน นอกจากงานที่มีในวันที่ 22-24 มกราคมแล้ว ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ก็จะมีเกษตรกรนำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายเป็นประจำ และนักท่องเที่ยวก็มีมาไม่ขาดสายเช่นกัน

เส้นทางจากกรุงเทพฯ มาอำเภอวังน้ำเขียว มาได้หลายทาง เส้นทางแรก มาเข้ารังสิต ผ่านองครักษ์เข้านครนายก ผ่านอำเภอนาดี เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 304 ก็จะเข้า อบต.ไทยสามัคคี ซึ่งอยู่ฝั่งขวา รวมระยะทาง 260 กิโลเมตร จากรังสิต ส่วนอีกทางหนึ่งคือ วิ่งผ่านรังสิตเข้าสระบุรีเลี้ยวขวาผ่านปากช่องเข้าหนองสาหร่ายผ่านนิคมสร้างตนเอง วังกระทะจนเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 304 เลี้ยวซ้ายไป 100 เมตร ยูเทิร์นกลับไปอีก 4-5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้า อบต.ไทยสามัคคี อีก 7 กิโลเมตร ถึงหน้างาน

การปลูกเลี้ยงเบญจมาศของวังน้ำเขียว คุณธีรวุฒิ ชุติมาโอฬาร เกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง ให้ความรู้กับเราว่า นำสายพันธุ์เบญจมาศมาจากต่างประเทศ โดยมีบริษัทเอกชนนำเข้ามา สายพันธุ์ที่นำมาปลูก เช่น แรเกน มีทั้งหมด 5 สี มะลิขาว มะลิเหลือง โพราริสเหลือง-ขาว ทั้งหมด 65 สายพันธุ์ โดยต้นที่ได้มาจะเป็นยอดขนาดเล็กยังไม่มีราก แล้วนำมาชำในโรงเรือนเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ บางส่วนจะนำไปปั่นเนื้อเยื่อ โดยใช้บริการห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตรซึ่งมาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา โดยจะนำมาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาต้นละ1.50 บาท แล้วนำมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์เพิ่มเติม เมื่อตัดยอดต้นแม่พันธุ์จะแตกยอดออกได้ถึง 5 ยอด จึงจะตัดยอดดังกล่าวมาปลูกลงในแปลงที่ต้องการ

ช่วงฤดูปลูกเพื่อให้ออกดอกในฤดูหนาวจะเริ่มปลูกกลางเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนมกราคม รวมเวลาประมาณ 3 เดือน ปลูกแล้วประมาณ 3 เดือน จึงจะออกดอกพร้อมจะตัดขาย

เตรียมแปลงปลูก
ไถดินด้วยรถไถผาล 3 จำนวน 2 ครั้ง ตากดินไว้ประมาณ 10 วัน แล้วไถด้วยรถไถผาล 7 ใส่ขี้หมู 1 ถุงปุ๋ย ต่อ 1 แปลง พร้อมกับหว่านโดโลไมท์เพื่อปรับสภาพดิน หลังจากนั้นจะใช้รถโรตารี่ไถพรวนอีกครั้งเพื่อคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ใช้รถทำร่องสูงขึ้นมา 50 เซนติเมตร โดยภายในโรงเรือน (โครง) จะมี 2 แปลง กว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร ความห่างระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร หว่านแกลบบนแปลง เกลี่ยให้เสมอ หลังวางตาข่ายแล้วให้หว่านปุ๋ย สูตร 15-15-15 จำนวน 1 กิโลกรัม ต่อโครง ควรปรับสภาพดินความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง ค่าพีเอช 6.5

การขึ้นโครงเหล็กหลังคาพลาสติค
การผลิตเบญจมาศ จะปลูกภายใต้โครงเหล็กหลังคาพลาสติค โครงละ 2 แปลง เบญจมาศปลูกได้ดีในที่อุณหภูมิตั้งแต่ 15-30 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความชื้นจากฝน ความชื้นในฤดูฝนจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย ส่วนในระยะออกดอกจะทำให้เน่าเสียได้ง่าย นอกจากนี้ ยังต้องพรางแสงในระยะเวลา 7 วัน ตั้งแต่เริ่มปลูก พลาสติคที่ใช้คลุมมีความหนา 150 ไมครอน กันแสง ยูวี ได้ 7% ส่วนซาแรนที่ใช้พรางแสง จะใช้ชนิด 50%

วิธีการปลูก
1. การปลูกแบบเด็ดยอด โดยเกษตรกรจะเด็ดยอดต้นอ่อน หลังจากที่ต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว ยอดจะแตกต้นอีกหลายยอด ทำให้ประหยัดท่อนพันธุ์ ระยะปลูกใช้ 25x20 เซนติเมตร

2. การปลูกแบบไม่เด็ดยอด หรือแบบต้นเดียว จะใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าการปลูกแบบเด็ดยอด จึงมีการลงทุนต้นพันธุ์ที่สูงกว่า เพราะใช้ต้นพันธุ์มากกว่า แต่การปลูกแบบนี้จะมีช่วงเวลาการเติบโตสั้นกว่าและคุณภาพของดอกจะดีกว่า ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกด้วยวิธีนี้ โดยจะใช้ระยะปลูก 12.5x12.5 เซนติเมตร มีจำนวนต้น 1,250 ต้น ต่อแปลง หรือ 2,500 ต้น ต่อโครง อัตราการรอด 96% จะได้จำนวนต้นที่ให้ดอกประมาณ 2,400 ต้น การปลูกวิธีนี้ใช้การขึงตาข่ายเพื่อค้ำยันต้นบนแปลงให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงนำยอดพันธุ์มาปลูก ช่องละ 1 ต้น แล้วรดน้ำทันที

ปุ๋ยและยาที่ใช้
การให้ปุ๋ยในระยะแรกเริ่มปลูก เป็นปุ๋ยยูเรีย โครงละ 1 กิโลกรัม เมื่อครบ 15 วัน จะเปลี่ยนเป็นปุ๋ย 15-0-0 ครึ่งกิโลกรัม ต่อโครง เมื่อครบ 1 เดือน ให้ปุ๋ย 8-24-24 ครึ่งกิโลกรัม ครบ 2 เดือน จะใช้ปุ๋ย 15-15-15 จนเห็นตุ่มดอกแล้วจะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ สูตร 0-0-60 เพื่อเร่งสี เร่งดอก

การใช้ยากันราในหน้าหนาวเพื่อป้องกันราสนิมขาว ให้หมั่นสังเกตตอนรดน้ำว่ามีราหรือไม่ โดยสังเกตใต้ใบจะเป็นจุดสีขาว ซึ่งจะต้องฉีดยากันราทันที ส่วนยาฆ่าแมลงใช้ทุก 10 วัน

การให้แสง
ช่วงที่เริ่มปลูกเกษตรกรจะให้แสงสว่างเพิ่มอีกวันละ 4 ชั่วโมง มักจะนิยมให้ตั้งแต่ 3 ทุ่ม จนถึงเวลาตีหนึ่ง โดยใช้ทามเมอร์ เปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่วันปลูกจนถึง 30-45 วัน แล้วแต่สายพันธุ์

การรดน้ำเบญจมาศ น้ำที่ใช้รดเบญจมาศจากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยจะต้องรดน้ำทุกวัน เพื่อให้ดินชุ่ม แต่ไม่แฉะ เวลาที่รดน้ำจะใช้เวลาช่วงเช้ามืด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ใบเปียกช่วงกลางคืน เป็นการป้องกันการระบาดของเชื้อรา โดยจะใช้แรงงานคน ใช้สายยางติดฝักบัวเดินรดตามแปลง

ผลผลิตของดอกเบญจมาศ
ผลผลิตเบญจมาศต่อโครง จะได้ผลผลิตโครงละ 200 กิโลกรัม ราคาขายส่ง กิโลกรัมละ 60-70 บาท คิดเป็นรายได้ประมาณ 12,000-14,000 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายคิดประมาณ 7,000-8,000 บาท ต่อโครง เหลือเป็นกำไรต่อโครง ประมาณ 5,000-6,000 บาท

การตลาดของเบญจมาศตัดดอก คุณธีรวุฒิ กล่าวว่า พ่อค้าแม่ค้าจะมารับซื้อถึงที่แปลงของเกษตรกร เบญจมาศของวังน้ำเขียวมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ นับว่าเป็นผลดีของเกษตรกรที่ไม่ต้องดิ้นรนหาทางขายผลิตผลเอง และยังได้ อบต.ไทยสามัคคี ช่วยเหลือให้ความรู้คำแนะนำทางด้านการปลูกเลี้ยงอีก สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี คุณฉะอ้อน จึงผ่อนกลาง โทร. (086) 264-1781


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/03/2010 7:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

เพาะเห็ดโอ่ง และปลูกผักในกระสอบ อาชีพเกษตรกรรมพอเพียง

ในสภาวะเศรษฐกิจไทยตกต่ำอยู่ในปัจจุบันนี้ มีประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่เกษตรกรที่ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์หลายรายประสบสภาวะกับการขาดทุนและผลผลิตราคาตกต่ำ ได้เปลี่ยนหันมาหาอาชีพเกษตรกรรมอื่นที่ทำได้เร็วและลงทุนไม่สูง อาชีพยอดนิยมที่สร้างรายได้เร็ว ได้แก่ การเพาะถั่วงอก การเพาะเห็ด ฯลฯ โดยเฉพาะการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์และการเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติคแบบไม่ใช้โรงเรือน หรือแม้แต่การปลูกตะไคร้ ข่า หรือพืชผักสวนครัวอีกหลายชนิด การเพาะเห็ดในโอ่งเพื่อบริโภคในครัวเรือนและการปลูกผักปลอดสารพิษในกระสอบเป็นอาชีพเกษตรกรรมที่ทำง่ายและลงทุนไม่สูงมาก

หลายคนต่างก็ทราบดีว่า อาชีพการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งมีวิธีเพาะหลากหลายรูปแบบ ที่นิยมกันมากในขณะนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติคแบบไม่ใช้โรงเรือน หรือการเพาะเห็ดฟางในกระสอบ โดยวิธีการเพาะใช้แรงงานไม่มากนัก และต้นทุนการผลิตต่ำ สำหรับเห็ดชนิดอื่นๆ อาทิ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน เห็ดหูหนู ฯลฯ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะซื้อเห็ดถุงมาเปิดดอก โดยทั่วไปการเพาะเห็ดดังกล่าวเหล่านี้จะต้องสร้างโรงเรือน ใช้เงินทุนสูงพอสมควร และถ้าจะเพาะในเชิงพาณิชย์ต้องตววจสอบเรื่องการตลาดให้ดีเสียก่อน แต่ถ้าจะเพาะเพื่อการบริโภคในครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ลดความยุ่งยากและไม่ต้องลงทุนสร้างโรงเรือน อีกทั้งใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์คือ โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว นำมาเพาะเห็ด จึงได้เกิดวิธีการ "เพาะเห็ดโอ่งไม่ต้องใช้โรงเรือน"

คุณสถาพร ตะวันขึ้น บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120 เริ่มต้นด้วยการเพาะเห็ดโดยซื้อก้อนเชื้อมาเปิด แต่พบว่าจะต้องมีการลงทุนและมีความยุ่งยากในการสร้างโรงเรือน ถึงแม้มีข้อมูลว่าการเพาะในโรงเรือนเห็ดจะออกดอกได้ดี แต่ดูแล้วไม่ค่อยสะอาด จึงได้พยายามค้นหาวิธีการที่ลงทุนต่ำ มีวิธีการเพาะที่ง่าย และสะอาดปลอดภัย ได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพดี ที่บ้านคุณสถาพรมีโอ่งแตกอยู่และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ จึงได้นำมาทดลองเพาะเห็ด วิธีการเพาะเห็ดโอ่งจึงเกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้โรงเรือน โดยเน้นเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพราะจะได้เห็ดที่มีความสด คุณภาพดี และรสชาติอร่อย

โดยใช้โอ่งเก่า โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว เป็นที่เพาะ สำหรับวัสดุอื่นๆ ก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ซื้อก้อนเชื้อเห็ดถุงชนิดที่ต้องการจะเพาะ กระสอบป่านใส่ข้าวสารหรือตาข่ายพรางแสงสีดำและบัวรดน้ำเท่านั้น ขั้นตอนการเพาะอันดับแรกจะต้องเลือกสถานที่ใช้เพาะควรเป็นใต้ร่มไม้หรือบริเวณที่มีร่มเงา

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดในโอ่ง
โอ่งมังกร (โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว) จำนวน 1 ใบ ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าหรือเห็ดถุงชนิดอื่นๆ จำนวน 20 ก้อน ซาแรนหรือกระสอบป่าน สำหรับปิดปากโอ่ง จำนวน 1 ผืน ไม้ไผ่ตีเป็นตะแกรง ขนาดความกว้างxยาว ให้พอดีกับขนาดโอ่งที่เตรียมไว้ กรอบไม้ทำฐานรองพื้นโอ่ง (ด้านนอก) ทรายหยาบ รองพื้นโอ่ง และเชือกฟาง เป็นต้น

ขั้นตอนการเพาะ
1. นำไม้ที่เตรียมไว้สำหรับทำฐานรองโอ่งด้านนอก มาตีล้อมกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้มีพื้นที่ว่างระหว่างกรอบไม้เพียงพอต่อการวางพื้นที่ผิวของโอ่งที่จะวางในแนวนอน ไม่ให้โอ่งกลิ้ง

2. นำโอ่งมาวางในแนวนอน บนฐานกรอบไม้ที่เตรียมไว้ในบริเวณที่มีร่มเงา และอากาศถ่ายเทสะดวก

3. นำทรายหยาบมาเทรองพื้นโอ่งที่วางไว้ในแนวนอน กะให้มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อกักเก็บความชื้น

4. นำตะแกรงไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาวางด้านในโอ่ง โดยให้มีพื้นที่ว่างด้านบนมากกว่าพื้นที่ว่างด้านล่าง

5. นำก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก ด้วยวิธีการเปิดจุกก้อนเชื้อด้านบน บังคับให้ดอกออกเป็นกระจุกด้านบน ก่อนวางเรียงก้อนเชื้อเห็ดจนเต็ม (แล้วปิดปากโอ่งด้วยกระสอบป่านหรือซาแรน แล้วใช้เชือกผูกยึดกระสอบ (ด้านบน) กับขอบปากโอ่งให้แน่น โดยปล่อยชายกระสอบให้สามารถเปิดขึ้นลงได้

6. รดน้ำบนก้อนเชื้อเห็ด เช้า-กลางวัน-เย็น ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไป ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้เป็นฝอยๆ ในโอ่ง เพื่อเป็นการให้ความชื้นแก่ก้อนเห็ด แล้วปิดปากโอ่งไว้ หลังเพาะประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมองเห็นตุ่มสีขาวเล็กๆ เกิดขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด ในช่วงนี้ต้องระวังเรื่องการรดน้ำ อย่าให้ดอกเห็ดโดนน้ำเป็นอันขาด มิฉะนั้น ดอกจะฝ่อและเน่าเสียหาย แต่ยังคงต้องพ่นน้ำให้ความชื้นอยู่ทุกวัน

7. หลังจากสังเกตเห็นตุ่มดอกเห็ด ประมาณ 7-10 วัน ตุ่มเห็ดจะพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สามารถเก็บมารับประทานได้จนกว่าดอกเห็ดจะหมดรุ่น ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน

ควรระมัดระวังเรื่องความชื้นในช่วงวันที่ 1-3 อย่าให้อุณหภูมิภายในโอ่งร้อน หรือขาดความชื้น ถ้าร้อนเกินไปให้เปิดปากกระสอบป่านเพื่อระบายอากาศออกจากโอ่ง

น้ำที่ใช้สำหรับการรดก้อนเชื้อเห็ดจะต้องเป็นน้ำที่จืด มีค่า pH เป็นกลาง ไม่มีคลอรีนเจือปน เรื่องน้ำที่ใช้รดก้อนเห็ดนั้นสำคัญมาก ถ้าน้ำกร่อยหรือเค็มจะส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอก น้ำที่ดีที่สุดคือ น้ำฝน หรือจะใช้น้ำประปาที่ผ่านการขจัดคลอรีนออกแล้วก็ได้ผลดีเช่นกัน (การรองน้ำประปาตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จะช่วยขจัดคลอรีนออกไปได้)

เห็ดที่จะนำมาใช้ในการเพาะแต่ละชนิดนั้น จะมีความต้องการและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เช่น เห็ดประเภทนางรม หูหนู และเป๋าฮื้อ จะต้องการสภาพอากาศที่ร้อนชื้นจนถึงสภาพอากาศตามปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้า เห็ดหอม จะต้องการอากาศที่ค่อนข้างเย็นในการเจริญเติบโต การเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดใดๆ ควรจะมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดชนิดนั้นๆ ด้วย

ปัจจุบัน วิธีการเพาะเห็ดโอ่ง ได้นำไปถ่ายทอดความรู้ยังศูนย์เรียนรู้ในเครือข่าย มหาวิทยาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณสรณพงษ์ บัวโรย โทร. (081) 315-3843 หรือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม โทร. (034) 702-829



คุณโสทร รอดคงที่ บัณฑิตหนุ่มจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 6 ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โทร. (086) 463-7424 หันหลังจากงานประจำมาเริ่มต้นทำงานเกษตรแบบพอเพียง โดยการปลูกผักแบบปลอดสารพิษในกระสอบเก่า ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่น้อย เช่น อยู่ตึกแถว บ้านจัดสรร หรือสภาพดินไม่ดี

ขั้นตอนการปลูกผักปลอดสารพิษ
คุณโสทร แนะนำว่า สามารถใช้ได้ทั้งกระสอบปุ๋ย กระสอบอาหารสัตว์ กระสอบแป้งสาลี หรือกระสอบต่างๆ ขนาดใดก็ได้ ยกเว้นกระสอบป่านซึ่งไม่เหมาะสม สำหรับกระสอบปุ๋ยบางชนิดที่น้ำซึมผ่านยากนั้น ควรนำมาเจาะรูให้สามารถระบายน้ำได้ก่อน แต่ถ้าเป็นกระสอบที่รั่วน้ำได้ดี ก็นำมาใช้ได้เลยทันที ดินที่จะนำมาใส่กระสอบนั้นก็จะต้องผสมให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเน้นวัสดุปลูกที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยคอกเก่า ปุ๋ยหมัก แกลบ แกลบเผา เศษใบไม้ ฯลฯ คลุกเคล้าให้เข้ากัน คุณโสทรแนะว่า ถ้าผสมปุ๋ยหมักจุลินทรีย์โบกาฉิผสมได้ด้วยก็จะยิ่งดี วิธีการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์โบกาฉิคือ นำปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ผสมกับรำละเอียด 1 ส่วน ผสมกับแกลบหรือหญ้าแห้ง ฟางแห้ง ทะลายปาล์ม หรืออื่นๆ 1 ส่วน คลุกเคล้ากันให้ทั่ว จากนั้นนำกากน้ำตาล 40 ซีซี ละลายน้ำ 10 ลิตร ใส่จุลินทรีย์ 40 ซีซี คนให้เข้ากัน นำน้ำที่ได้ไปราดคลุกเคล้ากับวัสดุที่เตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้วทดสอบว่าปุ๋ยหมักใช้ได้หรือยัง ทดสอบโดยใช้มือขยำวัสดุดู หากมีน้ำไหลออกระหว่างนิ้ว แสดงว่าวัสดุแฉะเกินไป ให้เพิ่มวัสดุเข้าไปอีก ถ้าขยำเป็นก้อน แล้วปล่อยมือ ถ้าก้อนไม่แตกออกมาแสดงว่าพอดี ถ้าปล่อยมือแล้วก้อนวัสดุแตกทันที แสดงว่าวัสดุยังแห้งเกินไป ให้ราดน้ำจุลินทรีย์เพิ่มลงไป หมักวัสดุดังกล่าวโดยการกองไว้ในที่ร่ม ใช้กระสอบป่านคลุม ควรกลับกองวันละ 1 ครั้ง กลับกองปุ๋ยเรื่อยไปจนกว่าจะเย็น ซึ่งปุ๋ยหมักจุลินทรีย์โบกาฉิ จะนำมาใช้ได้ก็ราว 7-10 วัน

เทคนิคการใส่ดินในกระสอบ
ก่อนที่จะใส่ดินในกระสอบนั้น ผู้ปลูกจะต้องรู้ก่อนว่าจะปลูกผักชนิดใด เพื่อใส่ดินให้เหมาะกับชนิดผักนั้นๆ เช่น ถ้าปลูกผักที่มีรากยาว อย่างพริก มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว ฯลฯ เราก็ต้องพับหรือม้วนปากกระสอบลงมาแล้วใส่ดินปลูกให้สูงสัก 20-25 เซนติเมตร ถ้าปลูกผักที่มีรากสั้น อย่างผักกินใบ พวกคะน้า กวางตุ้ง ฮ่องเต้ ฯลฯ ก็ใส่ดินน้อยลงมา ให้สูงสัก 10-15 เซนติเมตร แต่การวางกระสอบในแนวตั้งจะทำให้ได้พื้นที่ในการปลูกน้อยแนะนำให้ใช้วิธีการใส่ดินในกระสอบประมาณครึ่งกระสอบแล้วมัดปากกระสอบด้วยเชือก วางกระสอบให้นอนลง จากนั้นก็เจาะรูที่กระสอบ อุปกรณ์ในการเจาะ หากระป๋องปลากระป๋องมาทาบแล้วใช้มีดคัตเตอร์ตัดเป็นวงกลม เพื่อให้หยอดเมล็ดผักได้ โดยจำนวนรูที่เจาะก็ตามความเหมาะสม ประมาณ 9-12 รู แล้วแต่ขนาดของกระสอบ จากนั้นนำเมล็ดผักมาหยอดปลูกได้เลยทันที รดน้ำเช้า-เย็น เมื่อต้นผักงอกมีใบจริง 2-3 ใบ ก็ให้รดน้ำหมักชีวภาพจากปลา หอยเชอรี่ หรือน้ำหมักจากเศษผัก ผลไม้ หรือซื้อจุลินทรีย์ที่มีขายตามท้องตลาดนำมาผสมน้ำรดผัก ตามสะดวกที่จะหามาได้ ทุกๆ 5-7 วัน หรือจะใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก บ้างตามสะดวก ผักก็จะงามปลอดภัยกับสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากจะได้รับประทานผักจากฝีมือตัวเองแล้ว หากปลูกมากก็ยังนำไปจำหน่ายสร้างรายได้เป็นอย่างดีทีเดียว





หนังสือ "อาชีพเกษตรกรรม ทำง่าย รายได้งาม เล่มที่ 4" พิมพ์ 4 สี แจกฟรี พร้อมกับ "อาชีพเกษตรกรรม ทำง่าย รายได้งาม เล่มที่ 1- เล่มที่ 3" รวม 4 เล่ม จำนวน 336 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ มูลค่ารวม 100 บาท (พร้อมระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/03/2010 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'แดงสุริยา' และ 'เพชรดำรง' ขนุนดีที่น่าสนใจ

วงการขนุนไทยซบเซาไปได้ระยะเวลาหนึ่ง มาถึงขณะนี้เริ่มมีเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกขนุนกันเพิ่มขึ้นเนื่องจากขนุนจัดเป็นไม้ผลที่มีการจัดการดูแลรักษาไม่มาก มีการใช้สารปราบศัตรูพืชน้อยมาก เพียงแต่เตรียมพื้นที่ปลูกในสภาพดินมีการระบายน้ำที่ดีและปลูกในสภาพพื้นที่ดอนที่น้ำท่วมไม่ถึงจะเหมาะสมที่สุด

อีกทั้งในขณะนี้ได้มีขนุนสายพันธุ์ใหม่อย่างน้อย 2 สายพันธุ์ ที่พิสูจน์แล้วว่าดีจริงในเรื่องของคุณภาพและรสชาติของเนื้อคือ พันธุ์แดงสุริยา และ พันธุ์เพชรดำรง ซึ่งจัดเป็นขนุนหนังที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของสีเนื้อและความเป็นมาของสายพันธุ์ คือ ขนุนพันธุ์แดงสุริยา เป็นขนุนที่มีเนื้อสีจำปาเข้มที่ คุณประภาส สุภาผล ได้ติดตามต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมานานหลายปีและชนะเลิศการประกวดขนุนเนื้อสีจำปาหลายครั้งติดต่อกัน

จัดเป็นขนุนที่มีเนื้อหนาแห้ง หวานและกรอบ เหมาะที่จะนำไปแกะขาย สำหรับ พันธุ์เพชรดำรงเป็นขนุนที่มีเนื้อสีเหลือง เจ้าของพันธุ์คือ คุณดำรงศักดิ์ วิริยศิริ ได้ทำการผสมพันธุ์โดยใช้ขนุนพันธุ์คุณหญิงเป็นพ่อพันธุ์ และพันธุ์ทองประเสริฐเป็นแม่พันธุ์ ใช้เวลานานถึง 10 ปี จึงได้ขนุน สายพันธุ์นี้ที่รวมเอาลักษณะเด่นของขนุนมาครบเกือบทุกประการ โดยเฉพาะมีเนื้อหนามากถ้ามีการบำรุงรักษาอย่างดีจะได้ขนุนที่มีเนื้อหนาถึง 2 เซนติเมตร ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ขนุน ที่เกิดขึ้นด้วยการผสมพันธุ์จากฝีมือมนุษย์ซึ่งนับว่าหาได้ยากมาก เนื่องจากขนุนสายพันธุ์ดี ๆ ในอดีตที่ผ่านมาเกิดจากคัดเลือกต้นจากการเพาะเมล็ดทั้งหมด

ในปัจจุบันนี้เริ่มมีเกษตรกรได้นำขนุนพันธุ์แดงสุริยาไปปลูกในเชิงพาณิชย์จนได้ผลผลิตแล้วพบว่าใช้เวลาปลูกเพียง 2-3 ปีเท่านั้นจะเริ่มติดผลและจัดเป็นขนุนทวายโดยธรรมชาติที่ให้ผลผลิตปีละ 2 รุ่น คือ รุ่นแรกจะเก็บผลผลิตได้ช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน และรุ่นที่ 2 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม สำหรับพันธุ์เพชรดำรงอยู่ในระหว่างการติดตามผลเนื่องจากเริ่มมีการเผยแพร่พันธุ์ไปปลูกได้เพียง 1-2 ปีเท่านั้น แต่จากการดูแลตรวจสอบจากต้นแม่พันธุ์จัดเป็นขนุนที่ให้ผลผลิตดก เนื้อหนาจริงและรสชาติกรอบอร่อย เมื่อนำมาแกะเนื้อขายจะวางตลาดได้นานเพราะเนื้อไม่เละ เมล็ดมีขนาดเล็กมากอีกทั้งเยื่อหุ้มเมล็ดบางผลที่มียวงหนามาก ๆ บางผลชั่งเฉพาะเนื้อจะได้น้ำหนัก 5-6 ยวงต่อ 1 กิโลกรัม

ในการปลูกขนุนให้ประสบผลสำเร็จสิ่งที่เกษตรกรจะต้องดูแลเป็นพิเศษคือเรื่องของการตัดแต่งกิ่ง เมื่อต้นขนุนมีอายุได้ 3 ปี จะเริ่มออกดอกและติดผลจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดผ่านถึงลำต้นเพื่อให้มีสภาพอากาศถ่ายเทได้ดี และถ้าจะให้ขนุนที่มีลักษณะผลและยวงที่ดีเกษตรกรควรจะช่วยผสมพันธุ์ โดยผสมพันธุ์ในช่วงเวลาเช้าจะเหมาะสมที่สุด.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ


ที่มา : เดลินิวส์


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/03/2010 6:15 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/03/2010 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธงชัย พุ่มพวง

ข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่เพื่อการค้า ผลงาน มทร.ล้านนา *

ข้าวโพด เป็นพืชไร่พืชหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการมาก แยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้มากมาย เช่น ข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดลูกผสมต่างๆ ข้าวโพดสองสี ข้าวโพดสามสี พันธุ์ข้าวโพดบางพันธุ์ได้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอากาศของบ้านเรา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์ข้าวโพดที่ปลูกได้ในประเทศไทย จึงได้ศึกษาวิจัยจนประสบผลสำเร็จ มีข้าวโพดสายพันธุ์เชิงการค้า เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งเกษตรกรมีทางเลือกปลูกข้าวโพดหลายชนิด ตามแต่สภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด

รศ.ดร.คมสัน อำนวยสิทธิ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน เล่าว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยสายพันธุ์ข้าวโพดเพื่อผลิตพันธุ์ในเชิงการค้าหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดหวานฝักเล็ก พันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก และข้าวโพดไร่สีม่วง

ข้าวโพดคั่ว ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว หลายคนต่างนิยมชื่นชอบรับประทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก มินิมาร์ท โรงภาพยนตร์ มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่คั่วร้อนๆ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดคั่วปรุงรสสำเร็จรูป แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคั่วนั้นจะต้องสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จึงเกิดแนวคิดศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวโพดคั่วสายพันธุ์แท้เพื่อใช้ผลิตเป็นข้าวโพดคั่วสายพันธุ์ลูกผสมเชิงการค้า จนประสบผลสำเร็จ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อใช้เองภายในประเทศ มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวโพดคั่วที่สามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ต้านทานต่อโรคและแมลง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หันมาปลูกข้าวโพดคั่วกันมากขึ้น อีกทั้งเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง

จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อการค้า ทำให้ได้ต้นข้าวโพดมีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยว 85 วัน ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีช่อดอกขนาดใหญ่ เกสรตัวเมียสีชมพูขาว เมล็ดเป็นแบบหยดน้ำ สีของเมล็ดเหลืองเข้ม ความยาวของฝัก ประมาณ 18-20 เซนติเมตร มีจำนวน 14 แถวเมล็ด ต่อฝัก มีจำนวน 30-38 เมล็ด ต่อแถว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450-650 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำไปคั่วเป็นข้าวตอกมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีการแตกตัวมากกว่า 95%

ข้าวโพดหวานฝักเล็ก "เทียนหวานพิษณุโลก"

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พื้นที่พิษณุโลก ได้รวบรวมเมล็ดข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ตั้งแต่ ปี 2537 ปลูกคัดเลือกและศึกษาลักษณะทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จนถึง ปี 2540 ได้คัดเลือกข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ได้จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 พันธุ์อยุธยา พันธุ์บางพระ พันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ขาวนครศรีธรรมราช และพันธุ์ขาวสุโขทัย ข้าวโพดเหล่านี้ตั้งชื่อตามแหล่งที่รวบรวมมาปลูก และปลูกเปรียบเทียบทั้ง 7 พันธุ์ ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเทียนด้วยการเพิ่มจำนวนข้าวโพดข้าวเหนียวหวานขอนแก่น พันธุ์นพวรรณ 1 และข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง 7 พันธุ์ จนได้เป็นข้าวโพดหวานฝักเล็กพันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก ที่มีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาปลูกเพียง 55 วัน ลำต้นสูง 176 เซนติเมตร รสชาติหวาน กรอบ มีสีสองสีสลับกันคล้ายกับพันธุ์ที่นิยมบริโภคในต่างประเทศ ฝักเล็กเหมาะแก่การบริโภค ความยาวของฝัก 11 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 10 เซนติเมตร น้ำหนักสดทั้งเปลือก 165 กรัม ต่อฝัก น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือก 104 กรัม

ข้าวโพดไร่สีม่วง ข้าวโพดไร่สีม่วงเป็นพืชไร่ที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดเป็นสำคัญ เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ชนิดใหม่ แต่ยังไม่มีภาครัฐและเอกชนผสมพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ลูกผสม สารสีม่วงแดงจะมีสารแอนโทไซยานินที่เป็นสารจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งสารสีม่วงนี้ยังนำไปใช้เป็นสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า ด้วยความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วง จำนวน 9 ชั่ว พบว่าได้รับผลผลิตค่อนข้างสูง 20 อันดับแรก เฉลี่ยประมาณ 787-953 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุการออกดอกเร็วกว่าพันธุ์การค้า ขนาดของฝักสม่ำเสมอ

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59 หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โทรศัพท์ (054) 710-259, (054) 710-554, (081) 870-8902

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/04/2010 8:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/03/2010 7:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นักวิจัย สกว. พัฒนาวิธีการอบแห้งพริก เพื่อควบคุมคุณภาพให้คงที่

พริก เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก และเป็นพืชเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา โบลิเวีย รวมทั้งประเทศไทย นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการปรุงรสอาหารเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติในอาหารแล้ว ยังมีการศึกษาพบว่า พริกมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคและมีสรรพคุณเป็นอาหารเสริมสุขภาพด้วย เช่น ช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดปริมาณคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากพริกสดยังมีข้อจำกัด เช่น เกิดการเน่าเสีย คุณภาพของพริกไม่สม่ำเสมอ หรือมีปริมาณที่มากเกินความต้องการ จึงทำให้ผู้บริโภคหันไปนิยมใช้พริกแห้งมากขึ้น ซึ่งการทำพริกแห้งที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ การตากแดดกลางแจ้ง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศด้วย คุณภาพของพริกแห้งจึงไม่มีความสม่ำเสมอ รวมทั้งเกิดการปนเปื้อนจากแมลง หนู นก และจุลินทรีย์ ส่งผลให้คุณภาพของพริกแห้งไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยของ GMP ที่เพียงพอสำหรับส่วนอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่รับซื้อผลิตภัณฑ์พริกแห้ง เพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์พริกชนิดต่างๆ ดังนั้น การใช้เครื่องอบแห้งตู้อบลมร้อนจึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผลิตพริกแห้ง

ดร.วิริยา พรมกอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการศึกษาแบบจำลองการทำนายความชื้นของพริกพันธุ์หัวเรือย่นขณะอบแห้ง เปิดเผยว่า กลไกการอบแห้งของพริกถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการผลิตพริกแห้งให้มีความเหมาะสม และตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการผลิต

ในการศึกษานี้ ดร.วิริยาได้ใช้พริกสดพันธุ์หัวเรือย่นที่ได้จากเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งศึกษาลักษณะทางโครงสร้างของพริกแห้งที่ผ่านการแช่สารเคมีและอบแห้งที่สภาวะต่างๆ แล้วศึกษาค่าทางกายภาพของพริกสดและพริกขณะการอบแห้ง และศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าความร้อนทางกายภาพ ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของน้ำในพริกขณะอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อนเปรียบเทียบกับพริกที่ทำแห้งด้วยวิธีตากแดด รวมทั้งเปรียบเทียบกับพริกที่ผ่านการลวกและไม่ผ่านการลวก ก่อนการหาสมการที่เหมาะสมในการทำนายการเปลี่ยนแปลงความชื้นของพริกขณะการอบแห้งโดยใช้ตู้อบลมร้อน

จากการศึกษาพบว่า การทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ร่วมกับการใช้สารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ สามารถคงสีของพริกแห้งไว้ได้มากที่สุด ส่วนการใช้สารละลายผสมระหว่างโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์และแคลเซียมคลอไรด์ สามารถรักษาสีของพริกไว้มากที่สุดที่อุณหภูมิการทำแห้งแบบ 2 ระยะ คือที่ 70 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง และ 50 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ยังพบว่าการแช่พริกในสารละลายก่อนการทำแห้งจะทำให้มีการดึงน้ำออกจากพริกได้ดีกว่าไม่ใช้สารละลาย และพบว่าใช้เวลาในการทำแห้งลดลง

สำหรับเวลาที่ใช้ในการทำแห้งพบว่า มีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของน้ำที่สูงที่สุด โดยจะพบในพริกที่ผ่านการแช่สารละลายผสมระหว่างโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์กับแคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่พบว่าโครงสร้างของพริกมีรูพรุนมากที่สุด

ดร.วิริยา กล่าวว่า การใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงความชื้นของพริกนี้ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายระยะเวลาในการทำแห้ง และนำไปควบคุมสภาวะการอบแห้งพริกที่เหมาะสมได้ โดยพิจารณาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทั้งทางกายภาพและเคมีของพริก เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการอบแห้งพริกต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (045) 353-500 ต่อ 2203


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/03/2010 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวนครัวฉบับคนเมือง ปลูกดอกไม้เป็นอาหาร

หากจะกล่าวว่า คนเราจะต้องบริโภคพืชผักเป็นอาหารในทุกๆ วันนั้นก็คงปฏิเสธไม่ได้ เพราะพืชผักมีส่วนประกอบของสารอาหารที่ร่างกายต้องการหลากหลายชนิด แต่การบริโภคพืชผักในปัจจุบันนั้น แทนที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ กลับได้รับของแถมเป็นสารพิษที่ตกค้างจากสารเคมีแทนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางออกหนึ่งที่เราจะสามารถเลือกที่จะมีสุขภาพดีอย่างปลอดภัยคือ การปลูกผักกินเอง

นอกจากการปลูกผักกินใบ ผักกินหัว ผักกินผลแล้ว หลายท่านคงมองข้ามพืชใกล้ๆ ตัว อย่างไม้ดอกริมรั้ว ริมสระข้างๆ บ้านของเราเอง ทั้งๆ ที่ดอกไม้เหล่านี้หลายชนิดสามารถกินได้ แถมยังมีรสชาติดีและยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

ดอกไม้มีสารเคมีที่ทำให้มีสีต่างๆ ซึ่งสารตัวนี้จะส่งผลดีต่อเซลล์สมอง ช่วยให้สามารถควบคุมจิตใจ มีความจำที่ดีขึ้น และรวมช่วยเสริมในด้านสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย ซึ่งในดอกไม้นั้นมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เป็นสารที่พบมากบริเวณดอก ช่วยในการสร้างสีที่สวยงาม แถมบางชนิดมีสรรพคุณในการรักษาโรค เช่น ลดอาการอักเสบ ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงไม่เปราะแตกง่าย และใช้รักษาความสมดุลด้านอารมณ์และจิตใจ

ทั้งนี้ ในดอกไม้ รวมถึงผักและผลไม้ ยังมีสารสีต่างๆ ที่แตกต่างกัน มีคุณสมบัติดังนี้

สีแดง มีสารไซโคปิน (Cycopene) และสารเบต้าไซซิน (Betacycin) เป็นตัวให้สีแดงในพืช สารทั้งสองอย่างนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งหลายชนิดได้

สีส้ม มีสารเบต้าแคโรทีน (Betacarotene) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นตัวการก่อมะเร็ง และช่วยให้ผิวพรรณสดใส

สีเหลือง มีสารลูทีน (Lutein) ช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาในดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนแก่สายตาฝ้าฟาง มองไม่เห็น

สีเขียว มีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) มีประโยชน์อย่างมากในการป้องกันการเกิดมะเร็ง กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดใหม่ และลดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในร่างกายได้

สีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า สารตัวนี้ช่วยลบล้างสารที่ก่อมะเร็งและขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาต

การเลือกรับประทานดอกไม้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะเติมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็จะต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่าชนิดไหนรับประทานได้ ชนิดไหนรับประทานไม่ได้ ซึ่งควรจะสอบถามจากผู้รู้ให้ชัดเจน หรืออาจดูข้อมูลจากตำราต่างๆ ที่ออกมาเผยแพร่ ทั้งนี้ เราจะต้องเลือกส่วนบริโภคที่ปลอดภัย เช่น กลีบดอก เกสร ยอดใบ สำหรับกรณีผู้แพ้เกสรดอกไม้ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ดอกไม้บางชนิดสามารถบริโภคสดได้ แต่บางชนิดควรทำให้สุกก่อน หรือส่วนที่มียาง เช่น โคนดอก ก็ไม่ควรนำมาบริโภคสด หรือหากต้องการทดลองบริโภค ก็ควรเริ่มต้นบริโภคซัก 2-3 กลีบ หรือทำให้สุกก่อน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทดสอบ ซึ่งร่างกายจะมีกลไกขับสารพิษออกมา โดยการขับถ่ายออกมาอยู่แล้ว

ช่วงเวลาของการนำดอกไม้มาเพื่อประกอบอาหาร ให้เลือกช่วงที่ดอกไม้บานเต็มที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้า แต่อาจมีบางชนิดที่บานในช่วงบ่าย เช่น โสน บวบ และมะลิ การเก็บนั้นก็ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากกลีบดอกไม้มีความบอบบาง อาจช้ำหรือฉีกขาดได้ง่าย

ด้านการนำดอกไม้มาประกอบเป็นอาหารนั้นสามารถนำมาทำให้สุก อาจจะปรุงเป็นอาหารจำพวก ต้ม แกง หรือทอด เช่น แกงส้มดอกแค ดอกโสนผัดไข่ สำหรับการบริโภคสดก็สามารถทำเป็นยำ ลาบ กินกับน้ำพริกหรือใส่ในจานสลัดได้ เช่น ดอกอัญชัน ดอกเข็ม ดอกเพื่องฟ้า ดอกดาวกระจาย ดอกคูน ดอกพวงชมพู ดอกผักตบชวา ดอกกล้วย (หัวปลี) ดอกบัว ดอกกุหลาบ เป็นต้น ทั้งนี้ ก็อาจจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น น้ำดอกกระเจี๊ยบ น้ำดอกดาหลา น้ำเกสรบัว น้ำเกสรม่าเหมี่ยว น้ำชาดอกปีบ ก็ได้เช่นกัน

ดอกไม้เป็นพืชใกล้ตัวที่หลายคนมองเห็นเพียงความสวยงาม แต่ไม่ได้มองลึกไปถึงประโยชน์ที่มีมากกว่านั้น ในการช่วยเติมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งการปลูกดอกไม้ก็สามารถทำได้ง่าย สามารถปลูกได้ทั้งลงดินและใส่กระถางหากมีพื้นที่จำกัด

การปลูกดอกไม้ในกระถางนั้น ขนาดของกระถางต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอต่อความต้องการในการเจริญเติบโต ควรมีความลึก ประมาณ 30-50 เซนติเมตร ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดอกไม้ที่ปลูกด้วย หรืออาจดัดแปลงใช้กะละมังเก่าที่ก้นแตกแล้ว ลังไม้ หรือภาชนะเหลือใช้มาปลูกก็ได้

สำหรับการเตรียมดินก็ไม่ยาก โดยมีผสมดังนี้

1. ดินร่วนหรือดินถุง 1 ส่วน

2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน

3. แกลบเผา หรือขุยมะพร้าว หรือใบก้ามปู 1 ส่วน

นำวัสดุทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เท่านี้ก็สามารถนำต้นดอกไม้ลงปลูกได้เลย ดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้เราก็จะได้ดอกที่สวยงามไว้ประดับตกแต่งบ้านให้สดชื่น แถมยังสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารที่สร้างคุณค่าให้แก่ร่างกายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งสามารถนำมาดัดแปลงเป็นเมนูอาหารที่น่ารับประทานได้ อย่างสลัดรักดอกไม้ อันมีส่วนผสมดังนี้

น้ำสลัด

1. น้ำมันงาสกัดเย็น

2. น้ำส้มสายชู (cyder)

3. ซอสญี่ปุ่น

4. พริกสดสับละเอียด

5. น้ำผึ้ง

6. งาขาวคั่ว

7. สะระแหน่หั่น

ส่วนของผักและดอกไม้ที่ใช้

1. ผักกาดหอม คอส และวอเตอร์เครส

2. มะเขือเทศ

3. ถั่วงอก งางอก

4. ดอกเข็มแดง ลีลาวดีสีชมพู กุหลาบหนู และดอกอัญชัน

เพียงแค่ล้างดอกไม้และผักให้สะอาด จัดลงในจาน และราดด้วยน้ำสลัดที่มีส่วนผสมดังข้างต้น เท่านี้เราก็จะได้รับประทานสลัดรักดอกไม้ที่อร่อยแถมยังได้ประโยชน์

แทบไม่น่าเชื่อว่า ดอกไม้หลากชนิดใกล้ๆ ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความสดชื่น ประดับตกแต่งให้สถานที่สวยงามแล้ว ยังสามารถนำมารับประทานได้ แถมยังมีสารอาหารอีกมากมาย ยามว่างของคุณอาจใช้เวลาเล็กน้อยหันมาปลูกดอกไม้ ไว้เป็นอาหารปลอดสารพิษ ที่มีสีสันสะดุดตา และสะดุดลิ้นได้แน่นอน

ที่มา : นคร ลิมปคุปตถาวร สุณัฐลินี สินพรม. 2552. สวนครัวคนเมืองปลูกความสุขในบ้านคุณ. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย). โรงพิมพ์เดือนตุลา. กรุงเทพมหานคร


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/03/2010 7:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th

มะละกอปากช่อง 2 งานเด่น...ใช้เวลาวิจัยนานกว่าทศวรรษ *

มะละกอ เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานผลสุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในต่างประเทศนิยมรับประทานมะละกอที่มีผลขนาดเล็ก มีน้ำหนักต่อผลไม่เกิน 600 กรัม จากมูลค่าการค้ามะละกอในปี 2543 มูลค่าการค้ารวมของโลกอยู่ที่ 3,816 ล้านบาท ปี 2547 มูลค่าการค้ามะละกอได้เพิ่มขึ้นเป็น 7,348 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการเพิ่มขึ้นแต่ละปีประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์

ประเทศที่มีการส่งออกมะละกออันดับหนึ่งคือ เม็กซิโก มีมูลค่าการค้า 40 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด อันดับสองคือ มาเลเซีย 25 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ประเทศอื่นๆ ได้แก่ บราซิล และสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีการผลิตมะละกอเพื่อส่งออกโดยตรงยังมีน้อย และพันธุ์ที่ปลูกส่วนมากเป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ จึงไม่เหมาะสำหรับตลาดต่างประเทศ

มะละกอ นอกจากใช้บริโภคเป็นอาหารในชีวิตประจำวันแล้ว ผลของมะละกอดิบและสุก และส่วนของยางยังใช้เป็นประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกหลายๆ ด้าน เช่น เมื่อมะละกอดิบ สามารถไปทำมะละกอเชื่อม แช่อิ่ม ดองเค็ม หรือใช้ในโรงงานปลากระป๋อง ผลมะละกอสุกสามารถใช้ทำน้ำผลไม้ ซอส ผลไม้กระป๋อง แยม ลูกกวาด และมะละกอผล เปลือกมะละกอใช้ทำอาหารสัตว์ หรือสีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในโรงงานผลิตเบียร์ ผลิตน้ำปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอาง เป็นต้น

สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ จึงพัฒนาพันธุ์มะละกอมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เริ่มต้นจากการนำมะละกอสายพันธุ์ซันไลท์ จากประเทศไต้หวัน มาปลูกและคัดเลือกต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ ทำการผสมตัวเองและปลูกคัดเลือกอยู่ 5 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์ที่ไม่กระจายตัว แล้วปลูกขยายเมล็ดโดยวิธีผสมเปิดในหมู่เดียวกันอีก 2 ครั้ง

ได้สายพันธุ์ค่อนข้างบริสุทธิ์และมีลักษณะตามที่ต้องการ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้า ให้ชื่อว่า มะละกอพันธุ์ ?ปากช่อง 1?

ลักษณะประจำพันธุ์ มีลำต้นสีเขียวปนม่วงเล็กน้อย ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง 50-60 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร อายุ 8 เดือน ก็เริ่มเก็บผลได้ มีน้ำหนักผล 350 กรัม เนื้อสีส้มหนา 1.8 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อไม่เละ มีรสหวาน กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ในระยะเวลา 18 เดือน จะให้ผลผลิตต้นละ 30-40 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้เอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 เริ่มผสมมะละกอพันธุ์แขกดำ+พันธุ์ปากช่อง 1 คัดเลือกลักษณะดีไว้ 3 สายพันธุ์ ที่มีขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์ปากช่อง 1 เนื้อสีส้มแดง รสชาติดี เนื้อไม่เละ น่าจะเป็นพันธุ์การค้าที่ส่งเสริมการผลิตเพื่อออกสู่ตลาดต่อไป

มะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ได้คือ พันธุ์ปากช่อง 2
วิธีการผสมพันธุ์ (Hybridization)

สายพันธุ์มะละกอปากช่อง 2 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แขกดำ (พันธุ์แม่) และพันธุ์ปากช่อง 1 (พันธุ์พ่อ) โดยผสมที่สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2540 นำผลมาผ่าเอาเมล็ดเพาะในถุงพลาสติค

วิธีการคัดเลือกพันธุ์ (Selection Trial)
คัดเลือกพันธุ์มะละกอลูกผสมปากช่อง 2 ที่สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-2549 ดังนี้

การคัดเลือกพันธุ์ปีที่ 1 (Seedling Selection) ทำเมล็ดจากมะละกอที่ผสม เพาะในถุงพลาสติคดำ ขนาด 3" x 5" ปลูกลงแปลงได้ จำนวน 26 แถว แถวละ 21 หลุม ปลูกหลุมละ 3 ต้น โดยปลูกลงแปลง หลังจากเพาะเมล็ดได้ 1 เดือน หลังจากปลูก 8 เดือน เก็บผลผลิต คัดเลือกไว้ 3 สายพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2541-2542

การคัดเลือกพันธุ์ปีที่ 2 ดำเนินการที่สถานีวิจัยปากช่อง ในปี พ.ศ. 2542-2543 โดยปลูกสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ 3 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 2 แถว แต่ละแถวมี 20 หลุม หลุมละ 3 ต้น แล้วคัดเลือกให้เหลือต้นสมบูรณ์เพศไว้ต้นเดียว คัดเลือกหลังจากปลูก 8 เดือน นำไปปลูกคัดเลือก โดยการเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น

การคัดเลือกพันธุ์ปีที่ 3 ดำเนินการที่สถานีวิจัยปากช่อง ในปี พ.ศ. 2543-2544 โดยปลูกสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ 3 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 2 แถว แต่ละแถวมี 20 หลุม หลุมละ 3 ต้น แล้วคัดเลือกให้เหลือต้นสมบูรณ์เพศไว้ต้นเดียว คัดเลือกหลุมจากปลูก 8 เดือน นำเมล็ดไปเพาะปลูกคัดเลือก ในปีที่ 4 เหมือนกับปีที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544-2545

การคัดเลือกพันธุ์ในปีที่ 5, 6 และ 7 เป็นการคัดเลือกพันธุ์มาตรฐาน ที่สถานีวิจัยปากช่อง ในปี พ.ศ. 2546-2549 โดยปลูกพันธุ์ละ 2 แถว แถวละ 20 หลุม หลุมละ 3 ต้น เมื่อออกดอกจะตัดต้น เหลือต้นสมบูรณ์เพศไว้ 1 ต้น และปลูกเปรียบเทียบกับมะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 กับสายพันธุ์มะละกอลูกผสมที่คัดเลือกไว้

ทำการศึกษาลักษณะต่างๆ ของมะละกอดังนี้ ลักษณะของใบและก้านใบ วัดความยาวของใบ วัดความกว้างของใบ วัดความยาวของใบ วัดสีของใบ ถ่ายรูป ลักษณะภายนอกและภายในของผลศึกษาน้ำหนักผล รูปร่างผล โดยวัดความกว้างและความยาวของผล สีผิวของผลภายนอก เมื่อดิบและสุก ความหนาเนื้อโดยผ่าตรงส่วนที่กว้างที่สุด น้ำหนักเนื้อ น้ำหนักเปลือก น้ำหนักเมล็ด โดยชั่งเป็นกรัม สีของเนื้อเมื่อสุก เปอร์เซ็นต์ Total Soluble Solids (%TSS) การชิมรส โดยให้คะแนนตามเกณฑ์

ทำการศึกษาที่สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2540-2549

ผลการศึกษา
1. การผสมพันธุ์ สายพันธุ์มะละกอปากช่อง 2 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์แม่ และพันธุ์ปากช่อง 1 เป็นพันธุ์พ่อ โดยวิธีการผสมด้วยมือ หลังจากนั้นเก็บผลผลิตเอาเมล็ดมาเพาะในถุงพลาสติคดำ ขนาด 3"x5" คัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงปลูกลงแปลงได้ 26 แถว แถวละ 21 ต้น จำนวน 3 ต้น ต่อหลุม หลังจากปลูก 4 เดือน คัดต้นที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศเหลือเพียง 1 ต้น ศึกษาลักษณะลูกผสมเพื่อคัดเลือกลักษณะดีได้ตามต้องการ ที่ออกดอกและติดผล หลังจากปลูก 8 เดือน คู่ผสมที่ดีที่คัดไว้คือ 11-19, 12-21 และ 13-19 โดยมีคุณภาพของผลที่ดี มีเนื้อหนา สีส้มและรสชาติดี

2. การคัดเลือกสายพันธุ์ดี หลังจากปลูกทดสอบพันธุ์ในแปลง มีสายพันธุ์ที่ดีให้ผลผลิตมีคุณภาพและผลผลิตสูง คือสายพันธุ์ 11-19, 12-21 และ 13-19 โดยสายพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) ให้ผลผลิตดีที่สุด และทดสอบพันธุ์กับพันธุ์ปากช่อง 1 รวมเวลา 4 ปี พบว่า ผลผลิตของสายพันธุ์ 12-21 (ปากช่อง 2) ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ปากช่อง 1 10 กิโลกรัม ต่อต้น หลังจากปลูก 18 เดือน

จากการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของใบและผลของมะละกอลูกผสมพันธุ์ปากช่อง 2 และพ่อแม่พันธุ์ของลูกผสม ดังนี้ คือ ความกว้างของใบ พบว่ามะละกอพันธุ์แขกดำและลูกผสมปากช่อง 2 (12-21) มีความกว้างของใบใกล้เคียงกัน คือ 88.00 เซนติเมตร และ 87.50 เซนติเมตร รองลงมาคือพันธุ์ปากช่อง 1 มีความกว้างของใบ 74.50 เซนติเมตร จึงแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์แขกดำ และลูกผสมพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) ความยาวของใบ พบว่ามะละกอพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) มีความยาวของใบมากที่สุด 67.50 เซนติเมตร รองลงมาคือพันธุ์แขกดำ 59.00 เซนติเมตร น้อยที่สุดคือ พันธุ์ปากช่อง 1 49.00 เซนติเมตร มีความแตกต่างทางสถิติทั้ง 3 พันธุ์ ความยาวของก้านใบ พบว่ามะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 มีความยาวของก้านใบมากที่สุด 92.00 เซนติเมตร รองลงมาคือพันธุ์แขกดำ และลูกผสมปากช่อง 2 (12-21) มีความยาวเท่ากัน คือ 85.00 เซนติเมตร มีความแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์ปากช่อง 1 สีของใบมะละกอทั้ง 3 พันธุ์ อยู่ในกลุ่มสีเขียว พันธุ์ปากช่อง 1 พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) Green group 139 A พันธุ์แขกดำ Green group 139 A

ลักษณะภายนอกและภายในผล น้ำหนัก พบว่ามะละกอพันธุ์แขกดำมีน้ำหนักมากที่สุด 2,050 กรัม รองลงมาคือพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) 1,100 กรัม และพันธุ์ปากช่อง 1 ตามลำดับ มีความแตกต่างทางสถิติทั้งสามพันธุ์ สีผิวผลภายนอกเมื่อสุก พันธุ์แขกดำ พันธุ์ปากช่อง 1 และพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) อยู่ในกลุ่ม Yellow Orange group มีสีเหลืองส้ม ไม่แตกต่างกันความหนาเนื้อพบว่า พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) มีความหนาเนื้อมากที่สุด 3.00 เซนติเมตร รองลงมาคือ พันธุ์แขกดำ 2.60 เซนติเมตร พันธุ์ปากช่อง 1 2.45 เซนติเมตร มีความแตกต่างทางสถิติ แต่พันธุ์แขกดำ และพันธุ์ปากช่อง 1 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างกัน สีเนื้อสุกทุกพันธุ์อยู่ในกลุ่มสีส้มแดง Orange Red group ไม่มีความแตกต่างกัน เปอร์เซ็นต์ Total soluble solid (%TSS) พบว่า พันธุ์ปากช่อง 1 มีเปอร์เซ็นต์ Total soluble solid (%TSS) มากที่สุด 14.5 Brix พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) 14 Brix และพันธุ์แขกดำ 11 Brix

ลักษณะสายพันธุ์ ปากช่อง 2 (12-21) ใบมี 7 แฉก ใบสีเขียวเข้ม ใบกว้าง 85-70 เซนติเมตร ใบยาว 66-70 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวยาว 80-89 เซนติเมตร น้ำหนักผลดิบ 1,000-1,200 กรัม น้ำหนักผลสุก 900-1,100 กรัม สีผิวผลสุกสีเหลือง สีเนื้อสุกสีส้มแดง ความหนาเนื้อประมาณ 3 เซนติเมตร น้ำหนักเนื้อ 810 กรัม น้ำหนักเปลือก 50 กรัม น้ำหนักเมล็ด 40 กรัม คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เนื้อ เปอร์เซ็นต์เปลือก เปอร์เซ็นต์เมล็ด ความหนาเปลือก 0.16 เซนติเมตร ความหวาน 15 องศาบริกซ์ กลิ่นหอมรสชาติดี หลังจากปลูก 8 เดือน ให้น้ำหนักผลผลิต 40-50 กิโลกรัม ต่อต้น ค่อนข้างทนต่อโรคไวรัสจุดวงแหวน

สรุป
1. สายพันธุ์มะละกอปากช่อง 2 เป็นลูกผสมของพันธุ์มะละกอแขกดำกับพันธุ์ปากช่อง 1 โดยทำการผสมพันธุ์ที่สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 คัดเลือกและทดสอบจนสิ้นสุดการทดลองเมื่อ พ.ศ. 2549

2. การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ ได้ 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ 11-19, ปากช่อง 2 (12-21) และ 13-19

3. พันธุ์ที่มีลักษณะดี คือ พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) มีลักษณะผลขนาดปานกลาง น้ำหนักผลดี ขนาด 1,000-1,200 กรัม เนื้อสีส้มแดง หนา ความหวานประมาณ 15 องศาบริกซ์ การเก็บเกี่ยวหลังจากปลูก 18 เดือน ได้น้ำหนักผลผลิต 40-50 กิโลกรัม ต่อต้น ค่อนข้างทนต่อโรคใบจุดวงแหวน

คุยกับนักวิจัยมะละกอ
คุณรักเกียรติ ชอบเกื้อ

คุณรักเกียรติ ชอบเกื้อ นักวิชาการเกษตร 8 (ชำนาญการ) นักวิจัยมะละกอ เล่าว่า เมื่อก่อนปากช่องคือแดนมะละกอ เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก ผลผลิตที่ได้ส่งไปจำหน่ายภาคอีสาน รวมทั้งภูมิภาคอื่น สายพันธุ์ที่ปลูกมีแขกดำ แขกนวล รวมทั้งพันธุ์ปากช่อง 1 ช่วงที่ปลูกกันมากๆ คือช่วงปี 2530-2535 ราวๆ นี้ ต่อมามีโรคระบาด จึงมีการย้ายถิ่นปลูก ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว

เมื่อความนิยมปลูกมะละกอลดลง มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 ก็มีปลูกน้อยลง ขณะเดียวกันก็มีการวิจัยพันธุ์ใหม่ให้มีจุดเด่นกว่าเดิม จนได้มะละกอพันธุ์ปากช่อง 2 ทุกวันนี้ ยังไม่ได้เผยแพร่ แต่ใครสนใจก็โทรศัพท์ไปพุดคุยเป็นกรณีพิเศษได้

ในฐานะที่อยู่ในแวดวงมะละกอมานาน คุณรักเกียรติให้ความเห็นว่า มะละกอเป็นพืชที่น่าปลูก เพราะหากปัจจัยเหมาะสม จะสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดปี ต่างจากพืชอื่น เช่น ลำไย เก็บผลผลิตได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น แต่งานปลูกมะละกอ ต้องมีทุน มีปัจจัยอื่นๆ แต่ที่สำคัญคือ แหล่งน้ำ

?งานปลูกมะละกอหากมีน้ำราวเดือนมกราคมปลูกลงแปลง ไปเก็บเกี่ยวได้กลางฝนและปลายฝนไปแล้ว หากเป็นมะละกอสุกออกมาช่วงผลไม้อื่นไม่มีแล้ว มะม่วง เงาะ และทุเรียน หมดไปแล้ว แหล่งปลูกที่เหมาะสมหากเป็นที่แห้งแล้งแล้วมีน้ำจะดีมาก อย่างเมืองกาญจน์ หรือที่ปากช่อง ที่แล้งทำให้เนื้อมะละกอแน่น รสชาติหวาน แต่ที่แห้งแล้งมีน้ำหายาก ข้อเสียของที่แล้งอาจจะมีปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟ ทางเขตฝนชุกอย่างทางใต้ ทางมาเลเซีย มีความชื้นปัญหาเพลี้ยไฟน้อย แต่ก็เจอปัญหาเรื่องโรคเน่า?

คุณรักเกียรติเล่า และบอกต่ออีกว่า
มะละกอปากช่อง 2 อาจจะมีข้อด้อยตรงที่การติดผลแรกอยู่เหนือระดับดินสูงเกินไปนิดหนึ่ง ติดผลสูงจากดินราว 1 เมตร อาจจะแก้โดยการใส่ปุ๋ย การติดผลจากดินสูง ทำให้ต้นสูงเร็ว มะละกอปากช่อง 2 เป็นพันธุ์กินสุก ทำส้มตำเนื้อเหนียว โอกาสต่อไปคงผสมให้ได้ผลเล็กลง จะได้ความหวานมากขึ้น มะละกอผลยิ่งเล็กยิ่งหวาน วิธีการบริโภคของคนเราเปลี่ยนไป เมื่อก่อนชอบผลใหญ่ๆ ในเมืองครอบครัวเล็กลง มี 2-3 คน ต่อครอบครัว นิยมมะละกอผลเล็ก ต่างจากสังคมชนบท ที่ครอบครัวหนึ่งอาจจะมีหลายคน มะละกอต้องผลใหญ่ จึงจะแจกจ่ายพอกันกิน?

คุณรักเกียรติ บอกว่า ในประเทศไทยส่วนใหญ่ปลูกมะละกอได้ ยกเว้นพื้นที่ดินเค็ม มะละกอไม่ชอบ ทางนครราชสีมามีหลายอำเภอที่ดินเป็นเกลือ ทางทุ่งกุลาร้องไห้ก็มีหลายจังหวัด เช่น มหาสารคาม

คุณรักเกียรติ เข้าทำงานที่สถานีวิจัยตั้งแต่ปี 2526 ช่วยงานวิจัยของ อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ มานาน ส่วนมะละกอปากช่อง 2 วิจัยมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน

งานอื่นๆ ที่ถือว่ามีคุณค่ามาก ที่คุณรักเกียรติทำอยู่ คือปรับปรุงพันธุ์อะโวกาโด

สำหรับงานวิจัยพันธุ์มะละกอ คงมีอะไรแปลกใหม่ออกมาให้เห็นเพิ่มเติมอย่างแน่นอน

อนึ่ง ทีมงานวิจัย นอกจากคุณรักเกียรติแล้ว ยังประกอบด้วย อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ อาจารย์องอาจ หาญชาญเลิศ อาจารย์พินิจ กรินท์ธัญญกิจ และ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส

สำหรับผู้สนใจ ถามไถ่ได้ที่ สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 164 หมู่ที่ 3 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทร. (044) 311-796

การใช้มะละกอรักษาโรค
ในต่างประเทศมีการใช้มะละกอรักษาโรคอย่างกว้างขวาง

ที่ชวา ปานามา ศรีลังกาและตุรกี ใช้มะละกอเป็นยารักษาโรคแท้งลูก (Abortifacient)

ญี่ปุ่น ใช้รักษาโรคติดเชื้อ (Amebicide)

เฮติ และชวา ใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบ และ รูมาติซั่ม (Arthritis and rheumatism)

เกาะมอริเชียส เม็กซิโก และฟิลิปปินส์ ใช้รักษาโรคหืดและโรคระบบหายใจ (Asthma and respiration)

ที่อินเดีย ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย (Bactericide)

อินเดียและเม็กซิโก ใช้รักษาโรคมะเร็ง (Cancer)

ตุรกี ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (Cardiotonic)

มาเลเซีย ใช้รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colic)

ฮอนดูรัส ปานามา และตรินิแดด ใช้รักษาโรคท้องผูกและเป็นยาระบาย

อินเดีย เกาะมาลากาซี มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ใช้รักษาโรคตุ่มหนังบนนิ้วเท้าและฝี (Corns and boils)

ตรินิแดด ใช้รักษาโรคโลหิตไม่แข็งตัว (Decoagulant) ยาขับปัสสาวะ (Diuretic) เป็นหวัด (Flu) แก้แมงป่องกัด (Scorpion bite) กามโรค (Venereal)

ฮอนดูรัส ญี่ปุ่น ปานามา และแอฟริกาตะวันตก ใช้รักษาโรคอหิวาต์และโรคบิด (Diarrhea and dynsentery)

ที่จีน สาธารณรัฐโดมินิกา ปานามา และตุรกี ใช้รักษาโรคอาหารไม่ย่อย (Digrstion)

เม็กซิโก ใช้รักษาโรคธาตุพิการ (Dyspepsia) ใช้เพิ่มหน้าอก (Pectoral) วัณโรค (Tuberculosis)

ชวาและเม็กซิโก ใช้รักษาอาการไข้ (Fever )

ฮอนดูรัส และตรินิแดด ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง (Hypertention )

ปานามา ใช้รักษาโรคติดเชื้อ (Infection )แผลพุพอง (Ulcer)

ฟิลิปปินส์ ใช้รักษาโรคลำไส้ (intestinal disoder)

แคเมอรูน และฮอนดูรัส ใช้รักษาโรคไต (Kidney)

ฮอนดูรัส และตุรกี ใช้รักษาตับ (Liver )

ไอเวอรีโคสต์ ใช้รักษาโรคบ้า (Madness)

อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ใช้เพิ่มน้ำนมมารดา

ไนจีเรีย ช่วยให้การหายใจเป็นปกติ (Smooth Uper Respiratory Tract)

ไอเวอรีโคสต์ และซามัว ใช้แก้ปวดฟัน (Toothache)

อินโดนีเซีย จาเมกา เปรู แอฟริกาใต้ และศรีลังกา ใช้รักษาโรคหูด (Warts)

ประเทศไทย ถือว่ามะละกอเป็นยา ใช้มากเสียด้วย เป็นยาไส้


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/04/2010 8:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/03/2010 7:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวและเรื่องราวแห่งชาวนา *

การทำนาด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านแบบอีสาน (2) เทคนิคดั้งเดิม ลืมกันหรือยัง
หลังจากที่ได้กล่าวถึงการเตรียมแปลงตกกล้าและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวในการทำนาอินทรีย์ตามแบบภูมิปัญญาภาคอีสานมาแล้ว ครั้งนี้จะมาเรียนรู้เพิ่มเติมในกระบวนการทำนาต่อไปในกรรมวิธีของการตกกล้าของชาวนาในแถบภาคอีสานมักจะทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

การตกกล้าน้ำ เป็นการตกกล้าในแปลงที่มีน้ำขังอยู่ไม่มากนัก ซึ่งหลังเตรียมแปลงเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำพันธุ์ข้าวหว่านลงในแปลงตกกล้า วิธีการหว่าน จะใช้มือที่ถนัดกำเมล็ดข้าวยกขึ้นอยู่ระหว่างสายตา แล้วหว่านโดยใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว คือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง ดีดเมล็ดข้าวออกไป และอีก 2 นิ้ว กำเมล็ดข้าวที่เหลือไว้ แล้วค่อยๆ ปล่อยเมล็ดข้าวออกไปจนหมดกำ พร้อมกับเดินถอยหลังช้าๆ เพื่อทำให้มองเห็นเมล็ดข้าวที่หว่านไปว่าถี่หรือห่างเกินไป อาจจะให้ห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร หรือมองให้เห็นพื้นดินได้ เพราะหากหว่านข้าวติดกันเกินไปจะทำให้ต้นข้าวต้นเล็ก เมื่อนำมาดำจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่

การตกกล้าน้ำนั้น หากดินในแปลงนาตกกล้ามีลักษณะเป็นดินเลนหรือดินเละจนเกินไป ควรรอให้ดินแข็งตัวขึ้นประมาณ 15-20 นาที จึงหว่านข้าวลงไป เนื่องจากหากหว่านข้าวในขณะที่ดินยังเละอยู่จะทำให้กล้าถอนยาก แต่ในกรณีที่ในนามีน้ำมากก็อาจนำพันธุ์ข้าวที่เตรียมไว้มาหว่านลงไปในแปลงนาตกกล้าเหมือนเดิม แต่หลังจากหว่านแล้วประมาณ 1-2 คืน รากข้าวจะหยั่งลงดินและจะเริ่มตั้งตัวได้ก็จะปล่อยน้ำออกเพื่อให้เมล็ดข้าวได้รับอากาศและสามารถแทงหน่อได้ เกิดเป็นต้นกล้าต่อไป

ส่วนการตกกล้าผง (การตกกล้าแห้ง) เป็นการตกกล้าในขณะที่แปลงนาไม่มีน้ำ ดังนั้น หลังจากเตรียมแปลงตกกล้าแล้ว หว่านข้าวจะเหมือนกับวิธีตกกล้าน้ำ เพียงแต่พันธุ์ข้าวไม่ต้องแช่น้ำเหมือนการตกกล้าน้ำ เมื่อหว่านข้าวแล้วก็จะเก็บหญ้าไปพร้อมกันด้วย เพราะการเก็บหญ้าจะทำให้ดินถมเมล็ดข้าวด้วย หลังจากที่หว่านข้าวแล้วก็ต้องไถคราดเพื่อให้ดินกลบเมล็ดข้าวอีกครั้ง

เทคนิคการถอนกล้า
การทำนาอินทรีย์อาจประสบกับปัญหาการถอนกล้ายาก เนื่องจากการปรับปรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยคอกลงในนาทำให้ดินร่วนซุย ส่งผลให้รากข้าวจะใหญ่ เยอะ และหยั่งลงในดินได้ลึก แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะดินในแต่ละแปลงด้วย ทั้งนี้การถอนกล้าในนาอินทรีย์หากจะให้ถอนง่าย ควรเอาน้ำหมักชีวภาพมาฉีดใส่ในแปลงนาตกกล้าก่อนที่จะถอนกล้าประมาณ 7 วัน จากนั้นจึงค่อยถอนกล้าจะทำให้ต้นกล้าถอนง่ายขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ว่าใช้ได้เฉพาะในการตกกล้าน้ำเท่านั้น นอกจากนี้ พันธุ์ข้าวก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ เพราะข้าวบางพันธุ์มีลักษณะรากใหญ่ ไม่เหมาะกับการทำนาดำ เช่น ข้าว กข เป็นต้น แต่ข้าวที่มีลักษณะเด่นเรื่องการถอนกล้าง่าย คือ ข้าวนางนวล ซึ่งเป็นข้าวพื้นบ้านที่กำลังจะสูญหายไปหากไม่มีการอนุรักษ์พันธุ์ไว้

นอกจากนี้ วิธีการถอนกล้าในนาอินทรีย์ให้ง่ายขึ้นจะทำโดยการเปิดน้ำเข้านาให้รากข้าวได้ดูดซับน้ำ รากจะขาวสวย แล้วเวลาจะถอนกล้าก็เปิดน้ำออกจากนาให้น้ำแห้งอยู่หลายวัน แล้วจึงเปิดน้ำใส่นาใหม่อีกครั้งเพื่อจะได้มีน้ำไว้หล่อเลี้ยงรากของต้นกล้าที่ถอนแล้ว จากนั้นรีบถอนกล้าทันที เนื่องจากดินจะแข็ง เวลาถอนกล้าจะทำให้ดินไม่ติดรากข้าวมามากเกินไป

ต้นกล้าที่อยู่ในระยะที่เหมาะสำหรับการถอนกล้า (หลกกล้า) ไปดำนั้น จะเป็นกล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน กรณีหากมีน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่หากน้ำในแปลงนาตกกล้าไม่มี ก็สามารถรอจนกระทั่งมีน้ำ แต่ก็ไม่ควรเกิน 30-35 วัน เพราะหากเกินระยะเวลานี้ไปจะทำให้กล้าบั้ง (คือกล้าที่แก่มากแล้ว ต้นข้าวจะมีปล้องเกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถนำไปดำได้) แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะห่างของการหว่านกล้าด้วย ซึ่งหากหว่านกล้าถี่เกินไปจะทำให้กล้าแน่น ต้นกล้าจะแตกกอไม่ได้ ส่งผลให้กล้าแตกปล้องเร็ว กลายเป็นกล้าบั้ง

ลักษณะของต้นกล้าที่เป็นกล้าบั้งแล้ว มีวิธีการแก้ไขอยู่บ้าง แต่มีข้อจำกัดคือใช้ได้สำหรับนาตมเท่านั้น โดยการถอนต้นกล้าที่เป็นกล้าบั้งแล้วไปปักดำในแปลงนาดำ ให้ปล้องต้นข้าวที่เกิดอยู่ใต้ดิน แต่ก็จะมีข้อเสียตามมาคือ ต้นข้าวจะไม่สามารถแตกกอได้ จะมีข้าวเพียงต้นเดียว แต่ในกรณีนี้เกษตรกรบางคนจะชอบ เนื่องจากการดำข้าวต้นเดียวจะทำให้รวงใหญ่ หนัก ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถอนต้นกล้าคือ ช่วงตอนเย็นแดดอ่อนๆ ซึ่งการถอนกล้าก็ต้องมีความระมัดระวังในการถอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากเราถอนกล้าไม่เป็นก็จะทำให้กล้าขาดได้

เมื่อถอนกล้าได้ พอกำแล้วบางครั้งต้นกล้าในกำอาจจะมีต้นที่รากขาดติดอยู่ด้วย วิธีการเลือกเอาต้นกล้าที่ขาดออก ทำได้โดยการจับรากข้าวขึ้นข้างบนแล้วให้ยอดข้าวอยู่ข้างล่าง จากนั้นจึงสั่นต้นกล้าเบาๆ ต้นกล้าที่รากขาดก็จะร่วงลงมา เนื่องจากไม่มีรากติดอยู่

เมื่อถอนต้นกล้าประมาณพอมือกำได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในระยะการถอนกล้าก็คือ การเตะกล้า เพื่อทำให้ดินและวัชพืชที่ติดอยู่ที่รากข้าวหลุดออกไป เพราะหากต้นกล้ามีดินติดอยู่จะทำให้เวลาย้ายกล้าไปปักดำจะทำให้มัดกล้าหนักเกินไปรวมทั้งการแยกต้นกล้าไปปักดำก็ทำได้ลำบาก ข้อควรระวังในการเตะต้นกล้าก็คือ อย่าเตะต้นกล้าแรงจนเกินไปเพราะจะทำให้ต้นกล้าช้ำ ลักษณะการเตะ ควรเตะในระยะห่างจากรากกล้าขึ้นมาเล็กน้อยแต่ไม่ควรถึงช่วงกลางต้นกล้า แต่สามารถหลีกเลี่ยงการเตะต้นกล้าได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อแปลงนาตกกล้าอยู่ใกล้คลองน้ำหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยใช้วิธีการโยกน้ำ (หยวกกล้า) แทน คือนำต้นกล้าที่ถอนแล้วไปแกว่งในน้ำเพื่อให้ดินหลุดออกจากรากต้นกล้า แต่ถ้าลักษณะแปลงนาตกกล้าเป็นดินเหนียวก็ต้องใช้วิธีโยกน้ำอย่างเดียว เนื่องจากดินเหนียวจะติดอยู่ที่ต้นกล้า ไม่สามารถเตะออกได้

เมื่อดินออกจากรากต้นกล้าแล้ว เราก็จะทอบกล้า คือการรวบต้นกล้าและจัดให้ต้นกล้ามีรากที่สม่ำเสมอกัน เมื่อได้กล้าพอที่จะมัดได้แล้ว จึงมัดกล้าโดยใช้ตอกรวบต้นกล้าเข้าหากัน โดยระยะการมัดตอกนั้นต้องประมาณให้พอดี หากมัดตอกในระยะที่ใกล้กับรากกล้าจนเกินไปจะทำให้รากต้นกล้าบานออกไม่แข็งแรง ซึ่งช่วงการมัดต้นกล้าจะมัดอยู่ประมาณช่วงกลางของต้นกล้าพอดี หรือมัดเลยจากบือกล้า (ช่วงที่ใบของต้นกล้าแยกออกจากกัน) ขึ้นไปเล็กน้อย

วิธีการพักกล้า
เมื่อถอนกล้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องพักกล้าไว้ก่อน เนื่องจากหากมีการพักต้นกล้าไว้ก็จะทำให้ต้นกล้าแข็งตัวขึ้น ทำให้ดำได้ง่าย ไม่อ่อนเหมือนการถอนต้นกล้าแล้วดำเลย ซึ่งวิธีการพักกล้านั้นจะต้องนำเอามัดกล้ามาเบียดกันให้แน่นเพื่อทำให้ลำต้นกล้าแข็งแรง แล้วยังเป็นการกระตุ้นการงอกของรากใหม่ที่จะเป็นตัวดูดซับอาหารและสะสมน้ำ ส่วนรากเก่าก็เป็นที่สะสมอาหารด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ต้นกล้าที่ได้รับการพักตัวจะไม่เหี่ยวเฉา ถึงแม้จะถูกแดดมากก็ตาม ส่วนระยะการพักกล้าควรพักไว้ประมาณ 1-2 คืน และต้องแช่รากกล้าไว้ โดยให้ปริมาณน้ำพอท่วมรากกล้าพอดี หรือประมาณน้ำท่วมหลังเท้าก็ได้

วิธีการเตรียมแปลงนาปักดำ
การเตรียมแปลงนาปักดำจึงไม่แตกต่างไปจากการเตรียมแปลงตกกล้ามากนัก คือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในแปลงนาปักดำแล้วจึงไถดะ (ไถฮุด) กลบปุ๋ย ตอฟาง วัชพืชต่างๆ ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จากนั้นเมื่อพร้อมที่จะปักดำก็จะไถพรวน (ไถค่น) แล้วจึงคราดแปลงนาอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพของแปลงนาปักดำด้วย หากแปลงนาเป็นดินทรายก็ไม่ต้องคราดอีกเพราะดินทรายหากพื้นดินเรียบจะทำให้ดินแข็งปักดำได้ยาก แต่หากแปลงนาดินตมก็อาจจะใช้การคราดอีกครั้งเพราะจะทำให้ดินนิ่ม ปักดำได้ง่าย นอกจากนี้ ยังทำให้ดินร่วนซุยและจัดการวัชพืชด้วย

วิธีการใส่ปุ๋ยในการเตรียมแปลงนาปักดำ ควรจะใส่ในช่วงการไถดะ (ไถฮงุด) จะดีกว่าการใส่ปุ๋ยในช่วงไถพรวนแล้วปักดำ เนื่องจากแปลงนาปักดำจะมีน้ำทำให้เดินใส่ปุ๋ยลำบาก ซึ่งหากใส่ตั้งแต่ตอนไถดะให้เพียงพอ เมื่อไถพรวนและคราดเพื่อเตรียมปักดำ ก็จะเป็นการไถเพื่อพลิกดินที่มีปุ๋ย และเศษซากวัชพืชต่างๆ ที่ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยเช่นเดียวกันกลับขึ้นมาอยู่บริเวณหน้าดิน ทำให้เมื่อปักดำแล้วรากข้าวจะสามารถดูดกินปุ๋ยที่อยู่หน้าดินได้ง่าย เพราะลักษณะของรากข้าวจะไม่แทงรากลงในดินลึกเกินไป

ต้นกล้าที่จะนำมาปักดำ จะต้องตัดยอดของต้นกล้าออก เพื่อความสะดวกในการนำไปปักดำ เพราะหากดึงต้นกล้าออกมาปักดำ ต้นกล้าจะไม่ติดตอกมัดกล้า ดึงได้สะดวกรวดเร็ว ที่สำคัญการตัดยอดกล้าออกจะทำให้เวลาปักดำต้นกล้าจะตั้งตัวได้ดี ลมพัดจะไม่ล้มและทำให้ต้นกล้าคายน้ำได้ดีอีกด้วย ซึ่งหากในแปลงนาดำมีน้ำน้อยก็ให้ตัดยอดออกห่างจากระยะมัดกล้าประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือระยะ 1 กำมือ แต่หากในแปลงนาดำมีน้ำมาก ก็ให้ตัดขึ้นมาอีก ที่สำคัญต้องไม่ให้น้ำท่วมต้นกล้าที่เอาไปปักดำได้ เพราะจะทำให้ต้นกล้าเน่าตายได้ วิธีการตัดยอดของต้นกล้านี้อาจจะกระทำในช่วงระยะพักกล้าไว้เลยก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของชาวนาในแต่ละพื้นที่

การปักดำ หรือการดำนา
การปักดำจะทำโดยการอุ้มมัดกล้าด้วยมือที่ไม่ถนัดและมืออีกข้างหนึ่งดึงต้นกล้าลงมาปักดำ การดำ 1 ต้น จะใช้ต้นกล้าประมาณ 2-3 ต้น (กีบ) ถ้าต้นกล้าสวยต้นใหญ่จะใช้ต้นกล้าดำแค่ต้นเดียว หรือ 1 ต้น อาจจะแยกเป็น 2-3 ต้นก็ได้ แต่หากต้นกล้ามีน้อย ก็จะปักดำประมาณไม่เกิน 2 ต้น (ต้น) ต่อข้าว 1 ต้น ระยะห่างของการปักดำต้นกล้าอยู่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของดินอีกเช่นกัน ซึ่งหากดินในแปลงปักดำดีก็ปักดำในระยะห่างกว่านี้เพื่อให้ข้าวแตกกอดี แต่ถ้าดินในแปลงปักดำไม่ดีก็ให้ปักดำต้นข้าวให้ถี่ขึ้น ตามคำของชาวนาในอดีตกล่าวไว้ว่า "ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง"

ลักษณะการปักดำจะมีการปักดำถอยหลังเป็นแถวแบบสับหว่างไปเรื่อยๆ และปักดำต้นกล้าลงไปให้ลึกพอที่ต้นข้าวจะสามารถอยู่ได้และรากต้นข้าวไม่ลอยขึ้นมา การปักดำจะใช้นิ้วหัวแม่มือปักลงไปในดินให้อยู่ประมาณข้อของนิ้วหัวแม่มือ และใช้นิ้วก้อยเกี่ยวต้นข้าวไว้ แต่ถ้าแปลงนาไม่มีน้ำ จะใช้ไม้เจาะให้เป็นรูแล้วเอาต้นข้าวลงไปปักดำ จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือกดดินถมลงไปให้แน่น นิ้วก้อยเกี่ยวต้นข้าวเช่นเดียวกับการปักดำนามีน้ำ แต่ต้องระวังว่าอย่าให้รากข้าวอยู่ลึกจนเกินไปเพราะอาจทำให้ต้นข้าวไม่สามารถแตกกอได้

ในช่วงแรกของการปักดำ ภายในแปลงนาปักดำต้องระบายน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโต แตกกอดีและแข็งแรง ซึ่งการรักษาระดับน้ำต้องไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป หรือให้ประมาณพอท่วมหลังเท้า ประมาณ 5 เซนติเมตร พอให้ดินเป็นขี้ตม ข้อควรระวังคือ อย่าให้น้ำในแปลงนาปักดำแห้งเพราะจะทำให้ดินแน่นและแตกเขิบ (ลักษณะดินจะแตกออกจากกันและม้วนขึ้น) ต้นข้าวจะไม่สามารถแตกกอและเจริญเติบโตได้ เมื่อต้นข้าวเกิดและสามารถแตกกอได้แล้วจึงปล่อยน้ำเข้าในแปลงนาปักดำอีกครั้ง

การทำนาแบบอินทรีย์นั้นมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่ใส่ใจในรายละเอียดบางขั้นตอน หรือเรียนรู้เทคนิคจากบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมกันมาเป็นระยะเวลานาน เท่านี้เราก็จะสามารถสร้างการพึ่งตนเองให้กับครอบครัวได้แล้ว เป็นเสมือนเกราะคุ้มกันภาวะความเสี่ยงของชาวนาในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน ที่ไม่รู้ว่าราคาข้าวในอนาคตจะเป็นเช่นไร แต่หากสามารถลดต้นทุนในการผลิตให้น้อยที่สุดก็คงจะสร้างทางเลือกใหม่ให้กับชาวนาได้ โดยการกลับมาทำนาอินทรีย์ เลิกใช้ปุ๋ย ใช้ยาปราบศัตรูพืช อนาคตคงสดใสขึ้นเป็นแน่

เทคนิคการตกกล้าและการดูแล
ไม่ควรหว่านกล้าก่อนฝนตกใหญ่ เพราะเมล็ดจะกระเด็น ทำให้บางจุดมีข้าวฝังลึก ถอนลำบาก

เวลาหว่านกล้า อย่าให้น้ำขังในแปลงนามาก เพราะตรงที่น้ำขัง ข้าวจะงอกช้าหรือเน่า หรือจะทำให้ต้นข้าวมีราก ถอนยาก

กล้า 1 งาน ใช้พันธุ์ข้าวหว่านประมาณ 30-40 กิโลกรัม สามารถดำนาได้ประมาณ 8-10 ไร่ (กล้าที่ใช้ดำ ถ้าเป็นกล้าอ่อนหรืออายุไม่ถึง 1 เดือน จะดำได้พื้นที่น้อย แต่ถ้าเป็นกล้าแก่ จะดำได้พื้นที่มากกว่า)

หลังจากหว่าน ให้ขังน้ำไว้ 1 คืน แล้วค่อยๆ ระบายน้ำออก อย่าให้น้ำไหลแรง เพราะเมล็ดข้าวจะไหลมากองรวมกัน

ใรักษาระดับน้ำในแปลงตกกล้า เพียงระดับน้ำเจือพื้น
การหว่านกล้า อย่าให้น้ำขังเป็นแอ่ง เพราะในกรณีที่ยังไม่ได้แช่ข้าวก่อน แต่มีน้ำในแปลงตกกล้าพอ ให้นำข้าวเปลือกมาแช่น้ำประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นนำมาหว่านและให้ขังน้ำหมักข้าวที่หว่านในแปลงประมาณ 3 วัน จึงค่อยระบายน้ำออก

ต้นข้าวเมื่อเริ่มงอก จะใช้อาหารจากเมล็ด ต่อเมื่อกล้ามีใบ 4 ใบ จึงเริ่มหาอาหารจากดิน ดังนั้น ถ้าตกกล้าอายุไม่เกิน 30 วัน ไม่ควรใส่ปุ๋ย เพราะจะทำให้ต้นกล้าสูง รากน้อยและอ่อนแอ ไม่เหมาะที่จะนำไปดำนา

เมื่อกล้าข้าวงอกได้ 7 วัน สูงประมาณ 7-10 เซนติเมตร และมีใบ 2 ใบ ควรปล่อยน้ำเข้าแปลง ให้ระดับน้ำสูง 5-7 เซนติเมตร (ประมาณเกือบท่วมยอดเพื่อให้ข้าวยืนตัวได้เร็ว)

เมื่อกล้าสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร ถ้าน้ำในแปลงยังไม่แห้ง ยังไม่ต้องปล่อยน้ำเข้าแปลงเพิ่ม เพราะถ้าให้น้ำมาก กล้าข้าวจะแตกข้อ (กล้าบั้ง) เมื่อนำไปดำ ข้าวจะแตกกอไม่ดี และออกรวงน้อย

ต้นกล้าที่เหมาะนำไปดำ ควรมีอายุประมาณ 40 วัน สูง 40 เซนติเมตร มีสีเขียวตลอดต้น มีใบ 5-6 ใบ มีต้นเตี้ย กาบใบสั้น มีรากมาก รากมีขนาดใหญ่ (ถ้ากล้ามีสีเขียว ซีด-จางเหลือง แสดงว่ากล้านั้นขาดน้ำมากเกินไป หรือดินแน่นเกินไป เมื่อนำไปดำแล้วมีปัญหาฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง กล้าประเภทนี้จะเหี่ยวและตายก่อน

การตกกล้าหงอก คือการตกกล้าล่าช้าซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ลักษณะของต้นกล้าจะเป็นสีขาวฝอย ต้นน้อย แต่ก็สามารถนำไปปักดำได้ตามปกติ การเจริญเติบโตจะดีเหมือนการตกกล้าธรรมดา


เทคนิคการปักดำ
ต้องมีน้ำพอเพียงในแปลงนาที่จะนำกล้าไปดำ ประมาณ 10 เซนติเมตร แต่ไม่น้อยกว่า 5-7 เซนติเมตร และไม่เกิน 30 เซนติเมตร หรือสูงเกินต้นกล้า เพราะถ้าน้ำสูงมาก ต้นกล้าที่ปักดำอาจลอยน้ำได้

ระยะห่างของการปักดำคือ 25x25 เซนติเมตร หรือ 30x30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ดิน ถ้าดินดีควรดำห่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นข้าวล้มทับกัน

ควรปักดำให้รากจมดินประมาณ 2-3 เซนติเมตร ถ้าปักดำลึก จะทำให้ต้นข้าวแตกกอช้า

การจับต้นกล้าสำหรับปักดำ ถ้าเป็นต้นกล้าแก่ ให้จับ 2-3 ต้น แต่ถ้าเป็นกล้าอ่อน ให้จับ 3-4 ต้น เพื่อว่าถ้าต้นบางส่วนตาย จะมีต้นอื่นทดแทน

ควรปักดำให้เป็นแถว เพื่อง่ายต่อการดูแล และการกำจัดวัชพืช

ควรปักดำกล้าเฉียงๆ ให้ปลายหันไปตามทางลม และทำมุมประมาณ 60 องศา จากพื้นดิน


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/04/2010 9:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/03/2010 5:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไถกลบตอซัง


กระทรวงเกษตรฯวางพื้นที่เป้าหมายกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3.9 แสนไร่ โดยใช้วิธีไถกลบตอซังฟรี แจกพันธุ์ข้าวฟรี แล้วยังแถมเงินอีกไร่ละ 2,280 บาท

ให้กันขนาดนี้ ยังไม่รู้เกษตรกรชาวนาจะยอมหรือเปล่า?

ผมถามว่า ทำไมไม่บังคับด้วยกฎหมาย ได้รับคำตอบว่า นักการเมืองก็ไม่กล้ากลัวชาวนาไม่พอใจ

นั่งนึกใคร่ครวญอยู่ว่า เอ๊ะ...ทีตอนไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ขีดเส้นรัศมีอันตรายไว้เลย ใครเลี้ยงไก่ เป็ด ห่าน นก ในรัศมีที่ว่า เป็นต้องบังคับฆ่า ปีนั้นฆ่าไก่เป็ดไม่รู้กี่ล้านตัว จนคุณยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ขณะนั้น ปลัดกระทรวงเกษตรฯขณะนี้ ต้องบวชไถ่บาป

แน่นอนไข้หวัดนกระบาดถึงคนก็อันตรายถึงขั้นเด๊ดสะมอเร่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นภัยไหม อันตรายไหม เป็นภัยแน่นอน อันตรายที่ว่าไม่ใช่อันตรายทางกาย แต่เป็นอันตรายต่อกระเป๋าส่วนบุคคล และเศรษฐกิจของส่วนรวม

รัฐอุตส่าห์ลงทุนไถกลบฟรี แจกพันธุ์ข้าวฟรี แถมสะตังค์ไร่ละ 2,280 บาทแล้ว ถ้าเกิดเกษตรกรเอาด้วยบ้าง ไม่เอาด้วยบ้าง เงินงบประมาณที่ถมลงไปก็คงไม่คุ้มค่า เพราะไม่ช้าไม่นานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลต้องหวนกลับมาเล่นงานในเวลาอันไม่ช้านัก

เป็นการสูญเสียแล้ว สูญเสียอีก ทั้งด้านงบประมาณ และเศรษฐกิจ ซึ่งไม่เป็นเหตุผลเลย

ที่ผมเสนอใช้กฎหมายบังคับ ใช่ว่าจะไม่เข้าใจชาวนา ไม่ใช่อยากบังคับ แต่เพราะคิดถึงผลเสียระยะยาว ที่เสียหายด้วยกันหลายฝ่ายทั้งเกษตรกรเอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวม

ค่าชดเชย 2,280 บาท/ไร่ บวกกับไถกลบตอซังฟรี แจกเมล็ดพันธุ์ข้าวฟรี 15กิโลกรัม/ไร่ ถือว่าเป็นความพอควร ไม่น้อยไปจากค่าลงทุนที่แท้จริง อย่าไปเปรียบว่า ถ้าปลูกข้าวได้ผลผลิต 1 ตัน ได้หยิบเงินหมื่นเชียว เพราะการระบาดของเพลี้ยกระโดดปรากฏผลชัดเจน โอกาสจะได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยแทบไม่มี

ในทางกลับกัน การยอมรับการแก้ไขปัญหาชนิดจำเป็นต้องตัดอวัยวะเพื่อสงวนชีวิต มันมีโอกาสช่วยให้ชีวิตในอนาคตไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากเพลี้ยกระโดดฯอีก

ผมสนับสนุนกระทรวงเกษตรฯในแง่วิธีคิด แต่ในแง่วิธีปฏิบัติที่ให้ชาวบ้านเลือกจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่ คิดว่าใช้ไม่ได้ หากต้องบังคับให้เข้าร่วม เพื่อผลประโยชน์โดยรวมของทุกฝ่าย และเป็นการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างแท้จริง

วงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่ใช่แค่ตัวเพลี้ย หากอยู่ที่ไวรัสจากเพลี้ยที่ทำให้เกิดโรคจู๋ และโรคเขียวเตี้ยที่ล้วนสร้างปัญหาแก่ต้นข้าวได้ทั้งสิ้น


พอใจ สะพรั่งเนตร


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 7:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เร่งยกเครื่อง "หอมมะลิ" *

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกสูง โดยปี 2552 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวหอมมะลิ รวมกว่า 2.63 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 68,577.7 ล้านบาท และปี 2553 นี้ ได้ส่งออกไปแล้วทั้งสิ้น 2.10 แสนตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,776.8 ล้านบาท ปัจจุบันประเทศผู้ผลิตได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อการแข่งขันทางการค้า เช่น สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่เรียกว่า “แจสแมน” (JAZZMAN) ซึ่งมีคุณสมบัติและมีกลิ่นหอมใกล้เคียงข้าวหอมมะลิไทย และยังให้ผลผลิตสูงกว่าถึง 3 เท่า จึงอาจเป็นคู่แข่งสำคัญที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ อาทิ ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐเบนิน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวหอมมะลิไทยเอาไว้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิแหล่งใหญ่ของประเทศ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วยให้แข่งขันได้ในเวทีการค้าโลกที่มีแนวโน้มการแข่งขันรุนแรงขึ้น.


ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 7:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวฮาง...อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร *

เมื่อครั้งไปเยือนจังหวัดอุบลราชธานี เมืองคนดี เมืองนักปราชญ์ เมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งตั้งอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำมูล เพื่อนคนหนึ่งเล่าถึง “ข้าวฮาง” ให้ฟัง จึงตั้งใจฟังด้วยไม่เคยได้ยินมาก่อน ครั้นกลับมาที่กรุงเทพฯ จึงสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับข้าวฮางทางอินเทอร์เน็ตแต่ก็ไม่มี ด้วยขณะนั้นยังไม่มีการผลิตเพื่อเป็นการค้า ชาวบ้านผลิตเพียงเพื่อรับประทานในครัวเรือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่ต้องห่วง เพราะข้าวฮางมีจำหน่ายโดยทั่วไป แม้กระทั่งศูนย์การค้าใหญ่ก็มีจำหน่ายเช่นกัน

ข้าวฮาง... อำพน ศิริคำ สำนักเกษตรจังหวัดขอนแก่น (http://khonkaen. doae.go.th/ Data/Agristory/ข้าวฮาง.doc) กล่าวว่า หากไปสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชนบท ก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นการนำเอาข้าวในนาที่รวงยังไม่แก่ถึงระยะเก็บเกี่ยวมารับประทาน ซึ่งมีที่มาคือ คนในชนบทสมัยก่อนมีลูกมาก ทำนาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ปีใดฝนดีก็ได้ข้าวมาก สามารถเก็บไว้รับประทานจนถึงฤดูเก็บเกี่ยว แต่ถ้าหากปีใดฝนแล้งได้รับผลผลิตน้อย ข้าวที่เก็บในยุ้งฉางหมดก่อนที่จะมีข้าวใหม่ออกมา แต่ก็หาวิธีที่จะนำเอาข้าวมารับประทานให้ได้ ก็ได้นำเอาข้าวที่อยู่ในระยะติดเมล็ดแล้วแต่ยังไม่ถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว หรือยังไม่ถึงระยะพลับพลึง นำมาแช่น้ำ และนึ่งก่อนที่จะนำมาสีเป็นข้าวสาร และนำข้าวสารมาแช่น้ำและนึ่งรับประทานต่อไป ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนข้าวได้

…เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของชาวชนบทที่ไม่มีปัจจัยให้เอื้อแก่การแก้ปัญหามากนัก...

โสมฉาย จุ่นหัวโทน สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่ จ.ขอนแก่น (http:// gotoknow.org/ blog/ agext23/169414) กล่าวว่า การสีข้าวฮางเป็นการเอาเปลือกหรือเอาแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหน เส้นใยและโปรตีนที่มีคุณค่าจึงอยู่ในเมล็ดครบเนื่องจากการนึ่งข้าวให้สุก เมล็ดข้าวจะเหนียวไม่มีเมล็ดแตกร้าว เมื่อนำไปสีจึงทำให้ข้าวฮางมีสีเหลือง สำหรับประเภทของข้าวฮาง 3 ชนิด คือ 1.ข้าวฮางระยะน้ำนม 2.ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมงแล้วนำไปนึ่ง และ 3. ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมงแล้วนำมาบ่ม 48 ชั่วโมง จากนั้นนำไปนึ่งเรียกว่า ข้าวฮางงอก

ข้าวฮาง เป็นข้าวที่เอาเปลือกหรือแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหนเพราะจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดนี้ คือส่วนที่สะสมโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหาร

ข้าวกล้อง คือ ข้าวเปลือกที่ผ่านการ ขัดสีเพียงครั้งเดียวเพื่อเอาเปลือก (แกลบ) ออก โดยที่ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ด ข้าว (รำ) อยู่ ข้าวที่ได้จึงมีสีน้ำตาลขุ่น จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้เป็นส่วนที่อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวขัดขาว เมื่อหุงจะมีกลิ่นหอมมาก แต่เนื้อสัมผัสนุ่มนวลสู้ข้าวขาวไม่ได้

ข้าวซ้อมมือ เป็นชื่อเรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยการตำ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในสมัยโบราณ ชาวบ้านโดยทั่วไปจะ ใช้วิธีตำข้าวกินกันเองจึงเรียกข้าวที่ตำว่า “ข้าวซ้อมมือ” เริ่มจากการนำข้าวเปลือกมาสีเอาเปลือกออก จากนั้น นำมาตำเพื่อขจัดเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวออกไปบางส่วน แล้วใช้กระด้งฝัดแยกเปลือกและรำออก ข้าวซ้อมมือหุงง่าย และเมื่อสุกจะนุ่มกว่าข้าวกล้อง (จาก www. neutron. rmutphysics.com/)

มีคนบอกว่าข้าวกล้องกับข้าวซ้อมมือเป็นข้าวอย่างเดียวกัน เพียงแต่ข้าวกล้อง ผ่านกระบวนการจากโรงสี ส่วนข้าวซ้อมมือผ่านกระบวนการจากครก... เท่านั้นเอง

ข้าวฮางมีโปรตีนประมาณร้อยละ 6-12 และยังมีวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน (ช่วยรักษาระบบผิวหนังและระบบประสาทไว) ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก ส่วนข้าวสารนั้นโปรตีนหลุดหายไปแล้วกว่าร้อยละ 30

เปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ ถ้ากินข้าวฮางสุก 1 กรัม จะได้โปรตีน 7.60 ส่วนข้าวสวยธรรมดามีโปรตีน 6.40 คิดแล้วข้าวฮางมีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 19 เป็นต้น (ข้อมูลจาก www.baanmaha.com)

ฉะนั้น ข้าวฮางจึงอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ไม่ใช่ผลิตข้าวฮางธรรมดา แต่เป็นข้าวฮางสมุนไพร...อินทรีย์ อีกต่างหาก...ข้าวฮางนี้สามารถผลิตได้ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ฉะนั้น เวลาจะซื้อควรดูก่อนว่าจะรับประทานข้าวอะไร

มีหลายกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตข้าวฮางจำหน่าย เช่น …ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ต.ใหม่นาเพียง อ.แวงใหญ่ จ.ขอน แก่น ที่ผลิตข้าวฮางสมุนไพรหอมมะลิอินทรีย์ออกจำหน่าย ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากและก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับความสนใจมากขึ้น กลุ่มส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสะอาด ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ที่ผลิตข้าวฮาง พร้อมด้วยแปรรูปสิ่งที่เหลือจากการผลิตข้าวฮางเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและเป็นการนำสิ่งที่เหลือมาทำให้เกิดประโยชน์อีก, กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกุดเชียง ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ที่ผลิตข้าวฮางสมุนไพร

…และมีกลุ่มอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ข้างบน...รับประทานข้าวปกติยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย หากรับประทานข้าวฮางก็ยิ่งมี ประโยชน์มากขึ้น ยิ่งรับประทานข้าวฮางงอกยิ่งมีประโยชน์ไปกันใหญ่.

จีร์ ศรชัย

ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 7:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวบัสมาติ

คนไทยคุ้นชินกับข้าวหอมมะลิ จนนึกว่าเป็นข้าวหอมพันธุ์เดียวของโลก ทั้งที่ความจริงว่า พันธุ์ข้าวหอมมีหลากหลาย ปลูกกันในหลายประเทศ และเป็นคู่แข่งหอมมะลิไทยอีกด้วย

บัสมาติ เป็นพันธุ์ข้าวหอม เมล็ดยาว ปลูกในอินเดีย ปากีสถาน แตกหน่อเป็นพันธุ์ข้าวหอมอย่างอื่น เช่น เท็กซ์มาติ แวฮานิ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างบัสมาติกับข้าวพันธุ์อเมริกัน และมีปลูกในอเมริกาด้วย

หยิบเรื่องบัสมาติมาเขียน เพราะเห็น ดร.อภิชาต วรรณวิจิตร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำลังปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่าข้าวหอมบัสมาติ

ทำไมต้องบัสมาติ

ง่ายนิดเดียว ราคาหอมมะลิกิโลละ 30-40 บาท ในขณะบัสมาติ กิโลละ 300 บาท

ผมเองเคยรับรู้ว่า บัสมาติราคาแพง พอยุ่งอยู่กับแจ๊สแมน พันธุ์ข้าวหอมน้องใหม่ของอเมริกาก็ลืมประเด็นราคาของบัสมาติ พอเห็นดร.อภิชาตพูดถึงเรื่องนี้ก็ต้องขอบคุณ

ไม่เพียงแต่บัสมาติ หากยังมีเรื่องข้าวแจ๊สแมนของอเมริกาพ่วงด้วย โดยดร.อภิชาตจะขอเมล็ดพันธุ์แจ๊สแมนจากอเมริกาทดลองมาปลูกในบ้านเรา เพื่อตรวจสอบค่าความหอม ความทนทานต่อโรค และแมลง และผลผลิตที่ว่าสูงถึงไร่ละ 1 ตันขึ้นไป

จริงๆ เรื่องการนำพันธุ์ข้าวจากต่างประเทศมาทดลองปลูกในไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่ เราทำมามากมาย รวมทั้งบัสมาติก็เคยทดลองปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมาแล้ว ขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างประเทศ และที่สำคัญหน่วยงานเกี่ยวข้องของไทยตระหนักดีหรือไม่ว่า มันสำคัญมากน้อยเพียงใด

ผมประหลาดใจ และอดรู้สึกขุ่นข้องใจไม่น้อย ว่าด้วยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เห็นแต่ผลงานของดร.อภิชาตแทบทั้งนั้น ผลงานของหน่วยงานอื่นแทบไม่มี.....มันเป็นไปได้อย่างไร

หน่วยงานอย่างกรมการข้าวที่ทำเรื่องข้าวเป็นการเฉพาะไปอยู่เสียตรงไหน ท่านอธิบดีประเสริฐ โกศัลวิตร มัวทำอะไรอยู่ละ ถ้าภารกิจครอบคลุมกว้างขวางจะไม่ติดใจนัก แต่นี่กรอบงานของกรมมันก็แคบว่าด้วยเรื่องข้าวอย่างเดียว ไม่ทำเรื่องข้าว แล้วทำอะไรล่ะ ยังเป็นอย่างนี้ ให้ดร.อภิชาตมาเป็นอธิบดีกรมการข้าวให้รู้แล้วรู้รอด ดีกว่าไหม?

ตลาดข้าวหอมเป็นตลาดเล็ก แต่มูลค่ามหาศาล เศรษฐีคนมีกะตังค์เท่านั้นถึงมีโอกาสกินข้าวหอม ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติ

หน่วยงานบ้านเราหลงใหลอยู่แต่ความภาคภูมิใจของข้าวหอมมะลิ ในขณะความจริงกำลังไล่บดขยี้ ไม่เพียงอเมริกาผลิตแจ๊สแมนออกมาขายเป็นล่ำเป็นสัน จีน เวียดนาม ลาว เขมร พม่า กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอม ทั้งเพื่อบริโภคเอง และส่งออกแข่งกับไทย

ในขณะกรมการข้าวมะงุมมะงาหราแทบทุกด้าน ภาคเอกชนอย่างสมาคมผู้ส่งข้าวออกเสนอให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดข้าวหอมมะลิ แทนที่จะมีหอมมะลิ 90% (หมายความว่าผสมข้าวอื่น 10%) เพียงอย่างเดียว ก็ขอให้เพิ่มเป็นหอมมะลิ 80% และ 70 % เหตุผลคือหอมมะลิแพงอยู่แล้ว ยิ่งเงินบาทไทยแข็งค่า ราคาก็แพงยิ่งขึ้น ทำการตลาดได้ยากยิ่งขึ้น

เห็นไหมว่า มัวแต่หลงใหลได้ปลื้มโดยไม่คิดทำอะไร สุดท้ายก็เหนื่อย และอาจถึงขั้นสูญเสียตลาดอย่างน่าเสียดาย

พอใจ สะพรั่งเนตร


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 5:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมกล้วยไม้ดิน โทร. (081) 909-8117 หรือ ongart04@yahoo.com

กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล กล้วยไม้แสนสวย และทนายนักเลี้ยง ที่เมืองขุนแผน

กล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี เป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ ไม่เหมือนกับกล้วยไม้ทั่วไป โดยกล้วยไม้ทั่วๆ ไป มีกลีบดอกจำนวน 6 กลีบ แต่กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีมีกลีบดอกแค่ 5 กลีบ และกลีบนอกคู่ล่างติดกันเป็นกลีบเดียว มีลักษณะคล้ายหัวรองเท้าของผู้หญิง จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เลดี้ สลิปเปอร์ (Lady"s Slipper) ทำให้มองดูเหมือนรองเท้านารีมีแค่ 4 กลีบ บ้างก็คิดว่ารองเท้านารีเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดหนึ่ง

กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี พบในประเทศไทย 18 ชนิด กระจายอยู่ทั่วทุกภาค และมักจะตั้งชื่อกล้วยไม้ตามสีของดอกและสถานที่พบ เช่น รองเท้านารีดอกสีขาว พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2411 ที่จังหวัดสตูล จึงเรียกว่า ขาวสตูล (Paphiopedilum nivium) และพบรองเท้านารีดอกสีเหลือง ครั้งแรกที่จังหวัดปราจีนบุรี จึงเรียกว่า เหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor) เป็นต้น

กล้วยไม้สกุลนี้เป็นที่นิยมปลูกเลี้ยงกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงมีราคาต่อต้นสูง และมีราคาค่อนข้างแพงกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น อาจเป็นเพราะดอกมีความแปลกแตกต่างกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น หรือใช้สถานที่ในการปลูกเลี้ยงน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้ราวแขวน โดยจะจัดวางกระถางให้สูงกว่าพื้นเล็กน้อยก็เพียงพอ

ลักษณะของต้นและใบ

ใบ ของรองเท้านารีขาวสตูล ด้านบนจะเป็นลาย ส่วนด้านล่างจะเป็นสีม่วงอ่อนแก่ต่างกัน ใบเป็นรูปขอบขนาน ค่อนข้างหนา ยาวแค่ประมาณคืบเดียว แต่ก้านช่อดอกจะมีความยาวตั้งแต่ 15-20 เซนติเมตร ซึ่งมีความเด่นของก้านช่อ สีของดอกจะเป็นพื้นขาว มีจุดกระหรือเส้นบางๆ ที่โคนกลีบ จุดกระยิ่งน้อยเท่าใด จะยิ่งเป็นที่นิยมมาก เพราะจะดูดอกเป็นสีขาวสะอาดตา ถ้าดอกของรองเท้านารีขาวสตูลไม่มีจุดกระเลย มีเฉพาะสีพื้นขาว จะถือว่าเป็น รองเท้านารีเผือก ซึ่งค่อนข้างหายาก จำนวนดอกในช่อปกติจะมีแค่ 1-2 ดอก ถ้าช่อที่มีดอกได้ 3 ดอก จะถือว่าพิเศษกว่าต้นอื่น ระยะเวลาในการบานของดอก ประมาณ 30 วัน ยกเว้นถ้ามีน้ำขังอยู่ในกระเป๋า จะทำให้ดอกช้ำและหลุดร่วงไปก่อนเวลาอันควร บางต้นของรองเท้านารีชนิดนี้จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ แต่มีจำนวนน้อยมาก

ถิ่นอาศัยที่อยู่ในธรรมชาติ

ถิ่นอาศัยในธรรมชาติของรองเท้านารีชนิดนี้ มักจะพบตามป่าดิบเขา หรือบริเวณที่เป็นเขาหินปูนเฉพาะในจังหวัดภาคใต้ รวมถึงชายฝั่งทะเล และบนเกาะแก่งต่างๆ รองเท้านารีขาวสตูลที่พบในจังหวัดสตูลมีต้นและดอกขนาดเล็ก ฟอร์มดอกค่อนข้างกลม แต่รองเท้านารีที่พบในจังหวัดกระบี่ และรอยต่อระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดตรัง ดอกและต้นค่อนข้างโตกว่า ฟอร์มดอกที่พบเห็นจะผึ่งผายกว่าที่พบเห็นในที่อื่นๆ นอกจากนี้ ในจังหวัดกระบี่เราจะพบเห็นลูกผสมของรองเท้านารีขาวสตูลกับรองเท้านารีเหลืองพังงาหรือเหลืองตรังที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ ทั้งบนเกาะและบริเวณชายฝั่ง ลักษณะดอกรองเท้านารีลูกผสมนี้มีความหลากหลายมาก

โดยธรรมชาติของกล้วยไม้ชนิดนี้ จะอยู่ภายใต้ร่มไม้ใหญ่ หรือใต้ชะง่อนหิน ทำให้ฝนที่ตกลงมาไม่โดนใบของรองเท้านารีโดยตรง ซึ่งจะทำให้ใบช้ำได้ง่าย ทั้งนี้ จะรวมถึงแสงที่ส่องลงมาก็จะผ่านการกรอง ทำให้รองเท้านารีขาวสตูลได้รับแสงไม่มากจนเกินไป ซึ่งเรามักจะนำสิ่งที่เป็นสภาพแวดล้อมในธรรมชาติของถิ่นอาศัยมาปรับใช้ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แต่ละชนิด

การปลูกเลี้ยงและสภาพโรงเรือน

การปลูกเลี้ยงในปัจจุบันสำหรับนักเล่นกล้วยไม้ จะนิยมปลูกเลี้ยงต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์ในห้องแล็บจากฝักใส่ลงในขวดแก้ว ซึ่งเรียกกล้วยไม้ที่ขยายพันธุ์แบบนี้ติดปากว่า ไม้ขวด และเรียกต้นว่า ลูกไม้ กล้วยไม้ที่ได้จากการขยายพันธุ์แบบนี้เป็นกล้วยไม้ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ที่มีความโดดเด่นและงามมากกว่าต้นที่พบในธรรมชาติ หรือจะเป็นการผสมข้ามชนิดก็มี ความแปลกใหม่หลากหลายรูปแบบ จึงทำให้กล้วยไม้ที่นำมาจากป่าไม่เป็นที่นิยมสำหรับนักเล่นกล้วยไม้ สำหรับผู้หัดเลี้ยงมือใหม่จะไม่ค่อยซื้อไม้ขวดมาปลูกเลี้ยง เนื่องจากต้นมีขนาดเล็ก และเข้าใจว่าปลูกเลี้ยงยาก แต่ที่จริงแล้วการปลูกให้ถูกวิธีทำให้โอกาสรอดของกล้วยไม้รองเท้านารีจากขวดมีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ทีเดียว โรงเรือนที่ปลูกเลี้ยงรองเท้านารีมักจะทำเป็นหลังคา ซึ่งโปร่งแสง แต่สามารถกันฝนได้ และต้องการพรางแสงให้ด้วยซาแรน 60-80 เปอร์เซ็นต์ ควรพิจารณาให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ที่เลี้ยง การเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีแทบทุกชนิด จะต้องมีความเอาใจใส่มากกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น หากไม่มีเวลาดูแล ไม่แนะนำให้เลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้

วัสดุปลูกต้องโปร่ง

และเก็บความชื้นได้ดี

วัสดุที่ใช้ปลูกต้นที่แยกหน่อมาและมีขนาดโตเต็มที่แล้ว จะใช้โฟมหักขนาดหัวแม่มือรองก้นกระถาง ประมาณ 1 ใน 3 วางต้นลงแล้วจึงใช้ใบไม้ที่ย่อยสลายแล้วผสมกับดินพร้อมปลูกทับรากอีก 1 ส่วน ส่วนที่เหลือด้านบนให้เอาถ่านหรือหินภูเขาไฟโรยทับหน้าไว้ กันไม่ให้ดินกระเด็นออกจากกระถางในขณะที่รดน้ำ โรยปุ๋ยละลายช้าทุก 3 เดือน ใช้ยากันราหรือน้ำปูนใส ฮอร์โมนเร่งราก ยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรไล่แมลงฉีด 7-14 วันครั้ง ในกรณีที่เลี้ยงจำนวนไม่มาก

สภาพความเป็นอยู่ของรองเท้านารีขาวสตูลในธรรมชาติค่อนข้างชื้นกว่ารองเท้านารีชนิดอื่น แต่ไม่ใช่สภาพเครื่องปลูกแฉะเพราะจะเกิดการเน่าที่โคนต้นหรือราก ตอนรดน้ำจะสังเกตเห็นว่าน้ำไหลผ่านออกทางก้นกระถางทันที จึงถือว่าวัสดุปลูกในกระถางโปร่ง โอกาสที่จะเกิดการเน่าค่อนข้างน้อย แต่ทั้งนี้ให้ดูสภาพแวดล้อมอื่นประกอบด้วยในการเลี้ยง เช่น แสงสว่าง กระแสลม ความชื้นในโรงเรือน เป็นต้น อย่ามุ่งในปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะต้องอาศัยปัจจัยอื่นเป็นองค์ประกอบร่วมกัน จึงจะสามารถปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ประสบความสำเร็จได้

พันธุ์แท้รองเท้านารีขาวสตูลที่พัฒนาแล้ว

มีความสวยงามกว่ามาจากป่า

ปัจจุบัน รองเท้านารีขาวสตูล มีการคัดสายพันธุ์ที่มีความสวยงามแล้วทำเป็นไม้ขวดจำหน่ายมากมาย ยิ่งไม้ขวดที่ได้ทำจากพ่อแม่ที่ได้รับรางวัลเกียรตินิยมแล้วด้วย ลูกไม้ที่ได้มาค่อนข้างจะสวย แต่ขอออกตัวก่อนว่า ลูกกล้วยไม้ที่ได้จากการติดฝัก ต้นที่ได้แต่ละต้นจะมีความสวยงามไม่เหมือนกัน เราอาจจะได้ต้นที่ไม่สวยเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่มีความผิดพลาดทางเทคนิค ดอกที่ได้มักจะสวยมากกว่าไม่สวย สนนราคากล้วยไม้ขวดรองเท้านารีขาวสตูลจะอยู่ประมาณ 300-3,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสวยของพ่อแม่กล้วยไม้ที่นำมาผสม

รองเท้านารีขาวสตูล

รางวัลเกียรตินิยม

คุณอรรณพ มากสอน หรือ ทนายอั้น ทนายความหนุ่ม จากอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าของรองเท้านารีขาวสตูลต้นสวย รางวัลเกียรตินิยม เอ.เอ็ม. ของสมาคมพฤษชาติแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ ชื่อ ไหมแก้ว ในปี 2551 และ ชื่อ พิมพิลาส ในปี 2552 ซึ่งเป็นรองเท้านารีขาวสตูลที่มีความสวยงามมาก ทนายอั้น เริ่มเลี้ยงกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีจนถึงปัจจุปัน เป็นเวลา 11 ปีแล้ว โดยตอนแรกปลูกเลี้ยงรองเท้านารีแทบทุกสกุล แต่มาติดใจรองเท้านารีขาวสตูล ทนายอั้นให้เหตุผลว่า ขาวสตูลเป็นรองเท้านารีที่มีก้านยาวเด่นสง่า ดอกเป็นฟอร์มกลม สีขาวบริสุทธิ์ดูสะอาดและสบายตา เป็นสาเหตุที่ทนายอั้นหลงรักรองเท้านารีขาวสตูล ตอนนี้ในรังกล้วยไม้จึงมีรองเท้านารีขาวสตูลเสียเป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นชนิดที่ทนายอั้นกำลังพัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้น

การพัฒนารองเท้านารีขาวสตูล

ในทรรศนะของทนายอรรณพ การคัดพันธุ์ของรองเท้านารีขาวสตูลจะต้องพิจารณาหลายประการ เช่น ก้านช่อดอกจะต้องมีขนาดสูงอย่างน้อย 15 เซนติเมตร ขึ้นไป ฟอร์มดอกจะต้องมีความสวยงามสมมาตรกันซ้ายขวา ขนาดดอกต้องกว้างขนาด 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย สีของดอกต้องมีสีขาวสะอาดตา จุดประมีไม่มากนัก ส่วนต้นควรจะเป็นต้นที่เลี้ยงง่าย มีการแตกกอง่าย แข็งแรง และไม่ค่อยเป็นโรค เป็นต้น

ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นคุณสมบัติที่จะต้องมีในพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งทนายอั้นได้คัดเลือกรองเท้านารีขาวสตูลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ จึงจะทำให้ได้ลูกกล้วยไม้ที่มีความสวยงามตามที่ต้องการ

การใช้พ่อแม่พันธุ์ดังกล่าว จะซื้อพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสวยงามจากแหล่งต่างๆ นำมาคัดต้นที่มีความสวยงามตามความต้องการแล้วจึงนำมาผสมเกสร โดยจะไม่ได้นำรองเท้านารีขาวสตูลออกจากป่า เพราะนั่นหมายถึงต้องนำออกมาเป็นจำนวนมากแล้วจึงจะคัดต้นที่มีดอกสวยมา ซึ่งเป็นการทำลายธรรมชาติ การนำต้นที่มีดอกสวยแล้วมาผสมกันอีกต้นที่สวย เป็นการต่อยอดอีกขั้นหนึ่ง สามารถร่นระยะเวลาในการพัฒนาได้เร็วกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนากล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูลจะต้องใช้เวลาในการติดฝัก 6 เดือน แล้วจึงนำฝักไปเพาะในห้องแล็บ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี เมื่อได้ไม้ขวดแล้วนำมาเลี้ยงตั้งแต่ช่วงอนุบาลถึงออกดอก จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี เป็นอย่างเร็ว รวมระยะเวลาเกือบ 5 ปี เป็นเวลาที่นานพอสมควรสำหรับการรอคอย ในช่วงนี้ทนายอั้นจึงยังไม่มีลูกไม้รองเท้านารีขาวสตูลจำหน่าย เพราะลูกไม้ที่ได้ยังมีจำนวนน้อยอยู่ จะต้องเก็บไว้สำหรับการคัดพันธุ์ต่ออีกระยะหนึ่ง ในช่วงของปีหน้าทนายอั้นจึงจะมีลูกไม้รองเท้านารีขาวสตูลสวยๆ มาแบ่งให้ผู้สนใจได้ปลูกเลี้ยงกันบ้าง

ทนายอั้น มีความคิดในเรื่องการพัฒนากล้วยไม้รองเท้านารีว่า นอกจากนักพัฒนาจะต้องมีสายตาที่เฉียบแหลมมองคู่ผสมแต่ละคู่ให้ออกแล้ว ทำให้ได้สมกับที่คาดหวังไว้ ก็ยังมีจริยธรรมอีกข้อหนึ่งที่ควรยึดถือคือ ความซื่อสัตย์ ในการจับคู่ผสม ไม่ควรที่จะนำรองเท้านารีต่างชนิดกัน หรือต้นพ่อแม่ที่มีประวัติคลุมเครือไม่แน่ชัดมาจับคู่ผสม แล้วจำหน่ายไปในนามของพันธุ์แท้ สนใจสอบถามรายละเอียดในการปลูกเลี้ยงรองเท้านารีขาวสตูลได้ที่ โทร. (085) 235-9516



กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล
ชื่อสกุล Paphiopedilum
ชื่อชนิด niveum (Rchb.f.) Stein
ประเภท กล้วยไม้กึ่งดิน
ฤดูดอก เดือนมีนาคม-กรกฎาคม
จำนวนดอกในช่อ 1- 2 ดอก

แหล่งอาศัยในธรรมชาติ ป่าดิบเขา

แหล่งที่พบในประเทศไทย ภาคใต้ สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล

สถานภาพ ในธรรมชาติมีเหลือจำนวนน้อย ใกล้สูญพันธุ์ แต่ในสถานที่ปลูกเลี้ยง มีจำนวนมาก เนื่องจากมีการเพาะเมล็ดในห้องปฏิบัติการ ทำให้มีการปลูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย

เขตการกระจายพันธุ์ มาเลเซีย


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มนตรี กล้าขาย วรนุช สีแดง

ทุเรียนทอดกรอบ สแน็กไทยไปอินเตอร์

ทุเรียน เขายกย่องบอกกันว่า เป็นราชาแห่งผลไม้ (King of Fruit) ที่ใครๆ ก็ชื่นชอบอยากรับประทาน โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทองที่เป็นพระเอกในบรรดาทุเรียนทุกพันธุ์ เพราะอุดมไปด้วยเนื้อสีทอง เมล็ดลีบ รสชาติหวานหอม โภชนาเปี่ยมล้น เนื้อไม่เละ กลิ่นไม่แรง เก็บไว้ได้นาน สุกงอมก็ยังกินได้ ขนส่งไปไกลๆ ก็ไม่เน่าเสียง่าย ที่สำคัญเป็นทุเรียนพันธุ์เดียวที่นำมาแปรรูปเชิงอุตสาหกรรมแบบง่ายๆ ได้ดี และผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพ โดยเฉพาะการทำทุเรียนทอดกรอบที่จัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทขบเคี้ยว (Snack) ที่กำลังมาแรง จนเดี๋ยวนี้ต่างประเทศออเดอร์เข้ามามากจนผลิตส่งกันไม่ทัน ขณะที่คนไทยกลุ่มใหญ่โดยเฉพาะเยาวชนกลับนิยมพวกมันฝรั่งทอด ขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบพวกข้าวเกรียบจากแป้งสาลีรสเค็ม ตามด้วยสาหร่ายทอดสารพัดยี่ห้อ จาระไนกันไม่หมด ก็เป็นเรื่องไม่แปลก มีสุภาษิตไทยบทหนึ่งที่เขียนไว้ว่า "ใกล้เกลือกินด่าง" ช่างสอดคล้องกับสถานการณ์จริงๆ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ลองมาพิจารณาสิว่าหากหน่วยงานเกี่ยวข้องกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมด้านตลาดให้ดีและเป็นระบบแล้ว ทุเรียนทอดกรอบของไทยจะขยายตลาดทั้งภายในประเทศและจะไปอินเตอร์ได้ฉลุยขึ้น จะทำเงินเข้าประเทศได้มากมายมหาศาล และจะช่วยแก้ไขปัญหาทุเรียนล้นตลาดได้แบบถาวร

ภูมิปัญญาชาวบ้าน : พัฒนาการสู่สากล

หากย้อนดูความเป็นมาของทุเรียนทอดกรอบ ก็พบว่า ได้พัฒนาขึ้นจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่จังหวัดจันทบุรี หาใช่ผลงานวิจัยหรือพัฒนาจากนักวิชาการ หรือสถาบันวิจัยอะไร จากการสอบถามผู้รู้ในจังหวัดระยองพอสรุปได้ว่า ราวๆ ปี 2534-2535 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้ทดลองนำทุเรียนหมอนทองที่แก่จัดไปลองทอดดู แล้วก็พบว่า ให้ลักษณะที่ดีทั้งสีสัน ความกรอบ รสชาติอร่อยหวานมัน เก็บไว้ได้นาน และทำได้ง่ายๆ ขั้นตอนไม่ยุ่งยากอะไร ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบสามารถเพิ่มมูลค่าจากทุเรียนสดได้มากถึง 100% ตอนแรกๆ การแปรรูปทุเรียนทอดกรอบก็ยังไม่ลงตัวเป็นแบบลองผิดลองถูก เช่น เรื่องพันธุ์ทุเรียนอะไรที่ทอดแล้วให้ผลดีที่สุด วิธีการปอกเปลือกทุเรียน การเลือกขนาดความแก่ของทุเรียนว่าแก่หรือดิบหรือเกือบสุก จะทอดด้วยความร้อนขนาดไหน นานเท่าไร การหั่นชิ้นทุเรียนหนากี่มิลลิเมตร ปริมาณเนื้อทุเรียนที่นำลงทอดแต่ละครั้ง หั่นกักตุนไว้เลย แล้วทยอยทอดได้ไหม การเก็บรักษา เรียกว่าทำไปสังเกตไป แล้วค่อยๆ ปรับปรุงองค์ประกอบและเทคนิควิธีการทอด จนกระทั่งได้องค์ความรู้ในจุดที่เหมาะสมลงตัว จึงผลิตเป็นการค้าอย่างจริงจังและขยายสู่อุตสาหกรรมส่งออกถึงปัจจุบัน

เทคนิคและวิธีการผลิต

จากจุดเริ่มต้นที่มีการพัฒนาถึงเทคนิคและวิธีการผลิตที่เหมาะสมนั้น มีขั้นตอนที่ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนากันพักใหญ่เพราะว่าผู้บริโภค (ลูกค้า) มีข้อแนะนำเพิ่มเติม ขณะที่บางอย่างที่ว่าลงตัวก็ไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ ตัวอย่าง เช่น

1. ความแก่ของทุเรียนนั้น ควรมีความแก่อยู่ระหว่าง 70-80% เพราะหากใช้ทุเรียนที่แก่ห่ามเกือบสุกมาทอดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล (brown) หรือสีน้ำตาลไหม้ เพราะปริมาณน้ำตาลของเนื้อทุเรียนที่มีมากขึ้น (แป้งเปลี่ยนเป็นน้ำตาล) และเมื่อน้ำตาลเจอความร้อนจะไหม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

2. ความหนาของการหั่นแผ่นทุเรียนก็ไม่คงที่ จะออกหนาหรือบางไป เพราะช่วงแรกนั้นใช้มือหั่นด้วยมีดยังไม่มีเครื่องหั่น (Slicer) ทำให้การกะขนาดความหนาของแผ่นทุเรียนไม่สม่ำเสมอ คนกินก็บ่นว่าไม่อร่อย ต่อมามีเครื่องสไลซ์ที่ปรับขนาดความหนาการหั่นทุเรียนได้ ความหนาคงที่สม่ำเสมอ แล้วก็หั่นทุเรียนได้รวดเร็วมากขึ้น จึงทอดได้เร็วและปริมาณมากขึ้น โดยใช้เวลาทำเท่ากับวิธีหั่นด้วยมือ

3. การเก็บทุเรียนทอดกรอบไว้นานๆ มีปัญหาทุเรียนทอดกรอบมีกลิ่นเหม็นหืน เพราะปฏิกิริยา oxidation ทำให้เก็บไว้ได้ไม่นาน วางบนชั้นขายมีปัญหาคุณภาพ ลูกค้าซื้อไปแล้วก็ต่อว่าหรือบ่น ทำให้ทุเรียนทอดกรอบไม่เป็นที่ยอมรับ ยอดขายไม่เพิ่มต่อมาจึงมีเทคนิคการอบไล่น้ำมัน โดยใช้ตู้อบและ/หรือเตาอบไล่น้ำมันทั้งขนาดเล็กและตู้อบขนาดใหญ่เพื่อให้ทุเรียนทอดกรอบแห้งที่สุด ก่อนบรรจุถุงจำหน่าย หรือใส่ถุงใหญ่เก็บสต๊อค (Stock) ไว้ขายต่อไป

4. เมื่อมีการผลิตทุเรียนทอดกรอบกันมากขึ้น ด้านคุณภาพของสีทุเรียนทอดกรอบ รสชาติก็ไม่สม่ำเสมอ เพราะประสบการณ์และวิธีการของแต่ละคน (เจ้า) แตกต่างกัน ความพิถีพิถัน ต้นทุนมาตรฐานและราคาขายที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสีของทุเรียนทอดมีความหลากหลายตั้งแต่ออกเหลืองซีด เหลือง เหลืองทอง และเหลืองออกน้ำตาลปนกันบ้าง เพราะ (ไม่คัดเกรด) จึงมีการแต่งเติมสีเหลืองลงในน้ำมันปาล์มที่ใช้ทอด โดยใช้ขมิ้นผงเติมลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ทุเรียนทอดกรอบออกสีเหลืองทองน่ารับประทาน ซึ่งลูกค้าก็พอใจ เพราะยึดติดกับทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ว่าสีทุเรียนทอดกรอบต้องเหลืองทองด้วย

5. การบรรจุถุงที่ตอนแรกๆ นั้นก็ง่ายมาก เพียงใส่ถุงพลาสติคใสพับปากถุงแล้วเย็บปากถุงด้วยแม็กซ์ 2-3 จุด ก็ใช้ได้แล้ว ไม่มีป้ายบอกยี่ห้อหรือแหล่งผลิต เป็นแนวชาวบ้านขายกันตามตลาดนัด ออกงานเทศกาลและ/หรือร้านขายของฝากทั่วไป ต่อมาก็ติดสติ๊กเกอร์ โลโก้ ตรายี่ห้อของแต่ละคน เพื่อให้ลูกค้าจำได้ แล้วลักษณะของถุงบรรจุก็เปลี่ยนไป มีการออกแบบให้สวยงาม มีขนาดบรรจุหลายขนาด รูปทรง สีสัน สะดุดตา ติดสติ๊กเกอร์ หลากสี หลายแบบ

6. การคัดขนาดแผ่นทุเรียนทอดกรอบ ในระยะแรกที่ผลิตขายกันจะขายแบบเกรดผสม คือไม่คัดเกรดทุเรียนทอดกรอบ เมื่อได้ที่แล้วก็ตักบรรจุถุงขายกันเลย เป็นแบบคละปนกันทั้งชิ้นเล็ก กลาง ใหญ่ ใส่ปนกันและขายราคาเดียว ต่อมาก็มีการคัดเกรดทุเรียนทอดกรอบเป็น 3 เกรด (ขนาด) ชิ้นใหญ่ ชิ้นกลาง และชิ้นเล็ก (จิ๋ว) ราคาขายก็แตกต่างกันไปตามขนาดชิ้น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นทางเลือกให้ลูกค้าว่าต้องการขนาดแบบไหน เพราะจะมีกลุ่มลูกค้าส่วนหนึ่งต้องการทุเรียนทอดกรอบแผ่นกลางและเล็ก (จิ๋ว เกรด C) ไปเป็นส่วนประกอบของอาหารอื่นๆ อีกทีหนึ่ง

จากภูมิปัญญา : การแก้ปัญหาและสร้างมูลค่าเพิ่ม

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ภาคตะวันออก) ที่สำรวจข้อมูล แล้วสรุปไว้ว่า มีพื้นที่ปลูกทุเรียนกว่า 800,000 ไร่ ให้ผลผลิตแต่ละปีในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด อยู่ระหว่าง 700,000-800,000 ตัน โดยผลผลิตทุเรียนจะออกตั้งแต่เดือนเมษายน-กรกฎาคม ของทุกปี โดยเฉพาะผลผลิตจะชุกมากช่วงกลางเดือนพฤษภาคม กลางเดือนมิถุนายน ราคาทุเรียนจะต่ำมาก มีปัญหาที่ภาครัฐต้องเข้าไปแก้ไขโดยใช้เงินแทรกแซงราคา สนับสนุนเงินหมุนเวียนให้กับสถาบันเกษตรกรและใช้มาตรการการกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ โดยต้องใช้หน่วยงาน และบุคลากรจำนวนมากเพื่อระดมกันเข้าแก้ไขปัญหาผลผลิตส่วนเกินที่ตลาดในจังหวัดไม่สามารถรองรับได้ แม้ว่าจะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาไปได้บ้างก็ตาม แต่ก็ไม่ยั่งยืน ต้องคอยแก้ปัญหากันทุกปีไม่รู้จบ ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นทางแก้ปัญหาแบบถาวรนั้น ช่องทางมีหลายแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือการแปรรูปเป็นทุเรียนทอดกรอบและรูปผลิตภัณฑ์ทุเรียนอื่นๆ กวน อบแห้ง ท็อฟฟี่ แช่แข็ง ทุเรียนผง/แป้ง และบรรจุลงกระป๋อง สำหรับแนวคิดด้านการพัฒนาทุเรียนทอดกรอบให้เป็นสแน็ก (Snack) ระดับอินเตอร์นั้น มีความเป็นไปได้สูงมาก มาดูว่าในส่วนของรายละเอียดคืออะไร

หากพิจารณาผลผลิตทุเรียนทั้งหมดในประเทศแต่ละฤดูแล้วจะพบว่า เป็นทุเรียนหมอนทอง ราวๆ 70-80% และช่วงที่ทุเรียนออกมากและมีปัญหาก็เป็นทุเรียนหมอนทองนี่แหละ ดังนั้น หากเราตัดวงจรทุเรียนหมอนทองไม่ให้เข้าตลาดผลสดเสียส่วนหนึ่ง ตรงนี้ก็จะทำให้ผลผลิตทุเรียนในตลาดสดของประเทศลดน้อยลงไป ส่วนที่ตัดออกไปนั้น จะเป็นทุเรียนแก่ 70-80% ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำทุเรียนทอดกรอบ ซึ่งจะง่ายต่อการบริหารจัดการมาก เพียงแต่ส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณหมุนเวียนให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (SML) ในรูปของเครื่องมืออุปกรณ์ส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรม ขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ ให้เข้ามาลงทุน หรือสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้พวกเขา ประมาณว่าผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด จะอยู่ระหว่าง 30,000- 40,000 ตัน เท่านั้น หากเฉลี่ยราคาทุเรียนที่ซื้อทำทุเรียนทอดกรอบ ก็ราวๆ 20 บาท ต่อกิโลกรัม ก็จะใช้เงินหมุนดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย สัก 800-1,000 ล้านบาท เท่านั้น ก็จะทำให้เกิดการแปรรูปทุเรียนทอดกรอบได้ระหว่าง 3,000-4,000 ตัน เอาไว้ขาย ออกขายหมุนเวียนตลาดในประเทศและส่งออกต่างประเทศบางส่วน สามารถเก็บสต๊อค (Stock) ไว้รอจำหน่ายได้นาน 1-2 ปี โดยไม่เสื่อมคุณภาพ ตรงนี้เป็นจุดเด่นของทุเรียนทอดกรอบที่เหนือกว่าผลไม้ทอดกรอบชนิดอื่นๆ และจากประสบการณ์ของผู้ผลิตที่เก็บทุเรียนทอดกรอบไว้ในห้องเก็บธรรมดาไม่ซับซ้อนอะไร ลงทุนไม่มาก แต่หากจะเก็บในห้องเย็นขนาดใหญ่ ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง จากการสำรวจข้อมูลการตอบรับของผู้บริโภคในประเทศและแถบเอเชียนั้นดีอยู่แล้ว เพียงแต่การกระจายสินค้าสู่ต่างจังหวัดและการทำตลาดต่างประเทศยังไม่ค่อยดีเท่านั้น ผลผลิตแปรรูปจึงกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และจังหวัดข้างเคียงใกล้ๆ ส่วนตลาดต่างประเทศนั้น รัฐต้องช่วยเป็นผู้นำร่องโดยนำทุเรียนทอดกรอบออกโชว์ตามเทศกาลงานส่งเสริมการตลาดระหว่างประเทศ หรือทำโรดโชว์ (Road Show) ร่วมกับสินค้าเกษตรอื่นๆ จะช่วยให้การตลาดขยายตัวได้เร็วขึ้น

ทุเรียนทอดกรอบ

สูตรกลุ่มแม่บ้านยายดาพัฒนา จังหวัดระยอง

จากการไปเยี่ยมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรยายดาพัฒนา ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับตลาดผลไม้ตะพง ตลาดผลไม้ประจำจังหวัดที่จัดเป็นจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้พบกับ คุณสมคิด เชื้อบำรุง ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรยายดาพัฒนา คุณวิภาดา ชัยศรี ประชาสัมพันธ์และสมาชิกกลุ่มที่กำลังทำทุเรียนทอดกรอบกันอยู่ จึงได้ข้อมูลการทำทุเรียนทอดกรอบมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นความรู้ ซึ่งคุณสมคิด เชื้อบำรุง และสมาชิกแต่ละท่านเล่าถึงเทคนิคและวิธีการทำทุเรียนทอดกรอบไว้ ดังนี้

เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบด้วย กระทะใบบัวขนาดใหญ่ใช้ทอดทุเรียน เตาแก๊ส น้ำมันปาล์มคุณภาพดี ตะแกรงใส่ทุเรียนทอด เครื่องหั่นทุเรียน ชาม กะละมัง ตะแกรงร่อนคัดขนาดชิ้นทุเรียนทอดกรอบ ทุเรียนหมอนทองผลใหญ่ น้ำหนัก 5-10 กิโลกรัม ต่อผล ความแก่ 75-80% (ยังไม่สุก) มีดปอกเปลือกทุเรียน ถุงพลาสติค บรรจุขนาด 5-10 กิโลกรัม และกระดาษซับน้ำมัน

เริ่มต้นจากการเตรียมทุเรียนที่จะทำทุเรียนทอดกรอบต้องเป็นพันธุ์หมอนทองเท่านั้น และหากเป็นทุเรียนของจังหวัดจันทบุรี และระยอง จะมีคุณภาพการทอดดีกว่าจากภาคใต้ (ทุเรียนจากภาคใต้น้ำมาก แป้งน้อย) เลือกเอาผลที่แก่เต็มที่มาผ่า แล้วเอาเมล็ดออก ตัดแต่งเอาส่วนไส้ออกให้หมด นำเข้าเครื่องหั่นแผ่นโดยตั้งเครื่องสไลซ์แผ่นให้มีขนาดความหนาของแผ่นทุเรียนประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ขณะที่ปอกเปลือกทุเรียนและหั่นชิ้นทุเรียนก็ตั้งน้ำมันไปพร้อมๆ กัน เรียกว่าทำเป็นแบบหั่นไปทอดไป การทอดโดยใช้กระทะใบใหญ่ ใส่น้ำมันปาล์ม 1 ปี๊บ ตั้งไฟจนน้ำมันเดือดพล่าน (ร้อนจัด) แล้วลดความร้อนลงโดยใช้ไฟกลาง นำทุเรียนที่หั่นไว้ลงทอดโดยใส่เนื้อทุเรียนที่หั่นแล้ว ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม ใช้เวลาทอดประมาณ 15 นาที ต่อกระทะ ระหว่างทอดก็พลิกกลับแผ่นทุเรียน 1-2 ครั้ง เพื่อให้ได้รับความร้อนทั้ง 2 ด้าน สังเกตว่าพอทุเรียนสุกเหลืองดีก็ตักขึ้นผึ่งในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน แล้วใส่เนื้อทุเรียนที่สไลซ์ไว้ลงทอดต่อกันไปเลย ซึ่งทุเรียนหั่นแผ่น ที่นำลงทอด น้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะได้ทุเรียนทอดกรอบประมาณ 1 ขีด ทุเรียนทอดกรอบที่ตักขึ้นผึ่งในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน จะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที จนดูว่าแห้งดีแล้ว จึงนำไปร่อนด้วยตะแกรงคัดขนาด โดยแบ่งคัดชิ้นทุเรียนออกเป็น 3 ขนาด คือ ชิ้นใหญ่ ชิ้นกลาง และชิ้นเล็ก ซึ่งจะได้ชิ้นใหญ่ 330 กรัม ชิ้นกลางประมาณ 150 กรัม และชิ้นเล็ก 70-80 กรัม หลังจากคัดขนาด (เกรด) แล้ว จะนำใส่ถุงพลาสติคใหญ่ใส่ทุเรียนทอดกรอบลงถุงจะใส่เป็นชั้น ชั้นละกิโลกรัม สลับด้วยกระดาษซับน้ำมัน ทุเรียนทอดแผ่นใหญ่ บรรจุถุงละ 5-5.2 กิโลกรัม ชิ้นกลาง บรรจุถุงละ 7-8 กิโลกรัม และชิ้นเล็ก บรรจุถุงละ 9-10 กิโลกรัม ทุเรียนทอดกรอบบรรจุถุงจะนำเก็บรักษาไว้ในห้องมืด รอการนำออกจำหน่าย ซึ่งเก็บไว้ได้นาน 1-2 ปี ไม่เสีย ทุเรียนทอดกรอบบางส่วนหลังจากวางผึ่งจนสะเด็ดน้ำมันแล้ว จะนำไปอบในตู้อบลมร้อน ใช้เวลาอบประมาณ 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อไล่น้ำมันออกให้มากที่สุด (ให้แห้ง) คัดเกรดอีกครั้งแล้วนำบรรจุถุงเพื่อขายปลีก โดยบรรจุถุงให้มีน้ำหนักบรรจุ 500 กรัม ขายราคา 200 บาท ต่อถุง ขนาดบรรจุ 300 กรัม ขายราคา 120 บาท ต่อถุง ขนาดบรรจุ 250 กรัม ขายราคา 100 บาท ต่อถุง และขนาดบรรจุ 150 กรัม ขายราคา 60 บาท ต่อถุง

การตลาดจุดชี้วัดคุณภาพผลิตภัณฑ์

หลังจากที่ได้ทุเรียนทอดกรอบแล้ว เรื่องใหญ่ที่สุดก็คือ การจำหน่าย ตรงนี้เป็นจุดชี้เป็นชี้ตายเลยทีเดียวหาก "ทำได้ขายไม่เป็น" หรือผลิตภัณฑ์ลูกค้าไม่ยอมรับมันก็จบ โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ที่ออกสินค้า ทางกลุ่มออกวางจำหน่ายซึ่งจะวางขายตามกลุ่มและร้านค้าในชุมชน ที่เป็นจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งในช่วงฤดูผลไม้จะขายดี แล้วก็ออกขายตามสถานที่ราชการ เทศกาล/งานต่างๆ ในตัวจังหวัด และขายส่งร้านค้าของฝากในจังหวัด และต่างจังหวัดอื่นๆ งาน OTOP ที่เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

สัดส่วนการแปรรูปและต้นทุนการผลิต

ข้อมูลจากการทำทุเรียนทอดกรอบสรุปได้ว่า หากใช้ทุเรียนสดทั้งเปลือกน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม จะทำทุเรียนทอดกรอบได้ประมาณ 90-100 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับว่าคุณภาพทุเรียนเป็นอย่างไร หากทุเรียนมีเนื้อหนาก็จะได้น้ำหนักทุเรียนทอดกรอบมากขึ้น

ด้านต้นทุนการผลิตทุเรียนทอดกรอบจะเป็นค่าทุเรียน น้ำมันปาล์ม ค่าแก๊ส ค่าแรงปอก/หั่นทุเรียน ค่าขนส่ง ถุงบรรจุ ฯลฯ รวมแล้วก็จะตกประมาณ 2,750 บาท ต่อตัน หรือเป็นต้นทุนทุเรียนทอดกรอบประมาณ 275 บาท ต่อกิโลกรัม

สำหรับปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านนั้น ประธานกลุ่มแม่บ้านกล่าวว่า ทางกลุ่มไม่สามารถทำทุเรียนทอดกรอบได้จำนวนมากในแต่ละปี ทางกลุ่มทำได้เพียง 40-50 ตันทุเรียนสด ต่อปี ซึ่งก็จะได้ทุเรียนทอดกรอบประมาณ 4-5 ตัน ต่อปีเท่านั้น ในความเป็นจริงทางกลุ่มอยากจะทำทุเรียนทอดกรอบให้มากกว่านี้ เพราะพอถึงกลางปีนอกฤดูก็จะขายหมดแล้ว แต่กลุ่มขาดเงินทุนหมุนเวียนมาดำเนินการ การขอเครดิตก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพง ร้อยละ 10-12 บาท ต่อปี ดังนั้น หากภาครัฐสนับสนุนเงินกู้หมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ก็จะช่วยให้กลุ่มมีงานทำมากขึ้น สร้างงานและอาชีพให้สมาชิกและชุมชน ที่สำคัญจะช่วยแก้ไขปัญหาผลผลิตทุเรียนสดให้ออกจากตลาดผลสดได้โดยเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบที่สร้างมูลค่าเพิ่มและเก็บรักษาไว้ได้ยาวนาน หากส่งเสริมและขยายให้เป็นอุตสาหกรรมระดับชุมชน หรือโรงงานมาตรฐานพร้อมกับการส่งเสริมการตลาดในประเทศและส่งออกต่างประเทศก็จะทำให้มีช่องทางตลาดเพิ่มขึ้น กลายเป็นสแน็กระดับอินเตอร์ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ ที่สำคัญสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและกลุ่มอาชีพในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จะมีอาชีพที่มีความมั่นคง มีรายได้ตลอดปี จุดนี้จึงฝากกรมส่งเสริมการเกษตรไปพิจารณาด้วย

ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นได้ที่ โทร. (038) 611-578, (089) 095-0035

ขอขอบคุณ คุณสมคิด เชื้อบำรุง และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรยายดาพัฒนา ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

คุณบุญชื่น โพธิ์แก้ว เจ้าของสวนยายดาเชิงเกษตรท่องเที่ยว เลขที่ 30 หมู่ที่ 3 ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

สรุปขั้นตอนการทำทุเรียนทอดกรอบ

เตรียมทุเรียนหมอนทองแก่ผลใหญ่ น้ำหนัก 5-10 กิโลกรัม/ผล

ผ่าเอาเปลือกออก/แกะ เพื่อผ่าเมล็ดออก ผ่าเนื้อเป็น 2 ซีก

หั่นเป็นชิ้นบางๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร ด้วยเครื่องหั่น

นำลงทอดในน้ำมันที่ร้อนปานกลาง (ไฟกลาง) เดือดจัด ประมาณ 15 นาที

สังเกตว่าสุกเหลือง

ตักขึ้นวางบนตะแกรง ประมาณ 5 นาที ให้สะเด็ดน้ำมัน

คัดเกรดโดยผ่านตะแกรงร่อน เป็น 3 ขนาด แผ่นใหญ่/แผ่นกลาง และแผ่นเล็ก (จิ๋ว)

แยกบรรจุถุงพลาสติค ขนาด 5-10 กิโลกรัม เก็บไว้ในห้องมืด รอจำหน่าย

หรือ

อบในตู้อบลมร้อนไล่น้ำมัน นาน 1 ชั่วโมง

บรรจุถุงขนาด 500 กรัม 300 กรัม 250 กรัม 150 กรัม

ติดสติ๊กเกอร์ส่งขายหรือวางขายที่ร้าน


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 6:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบางระยะ
Periodic Tapping and Stimulation

บทคัดย่อ

ศึกษาการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในบางระยะร่วมกับการกรีดระบบ ½S d/2 เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ดำเนินการทดลองสถานีทดลองยางคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ กับต้นยางพันธุ์ GT 1 อายุ 19 ปี จำนวน 30 ต้นต่อplot วางแผนการทดลองแบบ RCB ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 10, 8, 6, 4, 3, 2 ครั้ง และไม่ใช้ ผลจากการทดลองตั้งแต่ มกราคม 2540 – ธันวาคม 2543 พบว่า ระบบกรีด ½S d/2 ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 8 ครั้งต่อปี ให้ผลผลิตสะสมและผลผลิตเฉลี่ยสูงคือ 21.84 กิโลกรัมต่อต้นและ 40.52 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด มากกว่า control 53 เปอร์เซ็นต์ โดยการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 4 – 10 ครั้งให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างทางสถิติมากกว่าการไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 10 ครั้งต่อปี มีแนวโน้มการเพิ่มของผลผลิตลดลง ส่วนการศึกษาการกรีดเป็นช่วงระยะเวลา (periodic tapping) โดยกรีดระบบ ½S d/2 กรีด 3 เดือนหยุด 1 เดือน และกรีด 9 เดือนหยุด 3 เดือน ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางและแรงงานกรีด โดยลดจำนวนวันกรีดลงแต่ไม่ลดผลผลิตรวม ดำเนินการทดลองที่สถานีทดลองยางคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ กับต้นยาง พันธุ์ GT 1 จำนวน 30 ต้นต่อplot วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ วิธีการทดลอง 9 วิธีการ ซึ่งมีการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยแต่ละวิธี การหยุดกรีดเดือนที่แตกต่างกันรวม 3 เดือนต่อปี เทียบกับการกรีดตลอดโดยไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง จากผลการทดลองตั้งแต่ เดือนมกราคม 2540 – ธันวาคม 2543 พบว่าการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยหยุดกรีดเดือน กุมภาพันธ์ มิถุนายน และตุลาคม มีจำนวนครั้งกรีด 416 ครั้ง น้อยกว่าการกรีดตลอดโดยไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง (control) 120 ครั้ง ให้ผลผลิตสะสมสูงคือ 20.60 กิโลกรัมต่อต้น มากกว่า control 25 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลผลิตเฉลี่ย พบว่าการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยหยุดกรีดเดือนมกราคม – มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงผลัดใบ ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงคือ 51.65 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด มากกว่า control 68 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตสะสม 19.06 กิโลกรัมต่อต้นมากกว่า control 16 เปอร์เซ็นต์ วันกรีดน้อยกว่าการกรีดตลอด 167 ครั้ง เมื่อจัดกลุ่มการกรีด 3 เดือนหยุด 1 เดือน และ การกรีด 9 เดือนหยุด 3 เดือน พบว่าเฉลี่ยผลผลิตแต่ละกลุ่มใกล้เคียงกันมาก โดยผลผลิตเฉลี่ยแต่ละครั้งกรีดมากกว่า control 59 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากนำระบบนี้มาจัดการกรีดในสวนยางขนาดใหญ่จะลดแรงงานลง 25 เปอร์เซ็นต์ และลดความสิ้นเปลืองเปลือกลง 25 เปอร์เซ็นต์

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 6:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรรมวิธีผลิตยางก้อน
Suitable Process for Lumps Production

บทคัดย่อ

การศึกษากรรมวิธีการผลิตยางก้อน โดยการทำให้น้ำยางจับตัวด้วยกรด 2 ชนิด เปรียบเทียบกับการจับตัวโดยวิธีธรรมชาติ พบว่ายางก้อนขนาด 100, 200 และ 300 มิลลิลิตร ที่จับตัวโดยวิธีธรรมชาติมีการจับตัวไม่สมบูรณ์ ก้อนยางมีสีคล้ำและมีกลิ่นเหม็น ส่วนยางก้อนที่จับตัวด้วยกรดฟอร์มิค และกรดซัลฟูริค ความเข้มข้น 2.5 % ทำให้ยางก้อนมีการจับตัวสมบูรณ์โดยในวันแรกที่ยางจับตัว ยางก้อนที่จับตัวด้วยกรดฟอร์มิค ทั้งขนาด 100, 200 และ 300 มิลลิลิตร มีน้ำหนักสูงกว่ายางก้อนขนาดเดียวกันที่จับตัวด้วยกรดซัลฟูริค หลังจากผึ่งไว้หนึ่งวัน น้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็ว และค่อยๆลดลงเรื่อยๆจนเริ่มคงที่ ประมาณวันที่ 6-7 ของการเก็บรักษา การลดลงของน้ำหนักมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง เปอร์เซ็นต์ความชื้น และเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งของก้อนยางเนื่องจากมีการคายความชื้นออกจากก้อนยาง ทำให้เปอร์เซ็นต์ความชื้นในก้อนยางลดลง และมีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งเพิ่มขึ้น และเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสามารถนำมาคำนวณราคายางก้อนที่เกษตรกรควรได้รับได้


ที่มา : กรมวิชาการเกษตร


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/03/2010 6:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/03/2010 6:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


กายวิภาคและลักษณะการเกิดอาการเปลือกแห้งของต้นยาง

Anatomy and Syndrome of Tapping Panel Dryness

บทคัดย่อ

อาการเปลือกแห้งของต้นยาง หรือ Tapping Panel Dryness (TPD) ในบางครั้งอาจเรียก Brown Bast หรือ Bark Necrosis เพราะในบางครั้งไม่ได้เกิดเฉพาะบริเวณหน้ากรีด (Tapping Panel ) อาจเกิดบริเวณอื่นที่ไม่ใช่หน้ากรีด และแม้กระทั่งต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีดก็อาจพบอาการเปลือกแห้งนี้ได้ สาเหตุการเกิดอาการผิดปกตินี้ยังไม่ปรากฏแน่ชัด เพียงแต่มีการสรุปว่า เป็นอาการผิดปกติทางด้านสรีรวิทยา โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธุ์ยาง ความอุดมสมบูรณ์ของต้นยาง สภาพดิน สภาพแวดล้อม ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ซึ่งการเกิดอาการเปลือกแห้งนี้อาจจะเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัยร่วมกัน มีผลทำให้ต้นยางไม่ให้ผลผลิตเลย (Totally dry) หรือให้น้อยมาก (Partially dry) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลผลิตของชาวสวนมาก ลักษณะการเกิดอาการเปลือกแห้งมี 2 แบบ คือ แบบที่แสดงอาการเปลือกแห้งชั่วคราว ซึ่งอาจเกิดจากสภาพที่ไม่เหมาะของต้นยาง เมื่อมีการพักกรีดระยะหนึ่ง อาการนี้ก็จะหายไป อีกแบบเป็นการแสดงอาการแบบถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ จึงได้ศึกษาลักษณะผิดปกติบนลำต้นภายนอกที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าของต้นยางที่แสดงอาการผิดปกติทั้งสองแบบ โดยเปรียบเทียบกับต้นปกติ รวมทั้งการศึกษากายวิภาควิทยาของท่อน้ำยางทั้งภายใต้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาและอิเล็กตรอน เพื่อจัดประเภทของความผิดปกติได้ถูกต้อง จากการศึกษานี้พบว่า ส่วนลำต้นของยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งแบบชั่วคราว มีลักษณะไม่แตกต่างจากต้นปกติ โครงสร้างและลักษณะของท่อน้ำยางก็ปกติเช่นเดียวกัน ไม่ปรากฏว่ามี Tylose ภายใต้ท่อน้ำยาง ส่วนต้นยางที่แสดงอาการแบบถาวร ในระยะแรกที่เกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเห็นได้จากผลผลิตนั้น ลักษณะของลำต้นภายนอกปกติทุกอย่าง แต่เมื่อหยุดกรีดระยะหนึ่ง จะแสดงอาการผิดปกติทางด้านลำต้นภายนอกให้เห็นในลักษณะต่าง ๆ เช่น ลำต้นบิดเบี้ยว เปลือกเป็นปุ่มปม เปลือกแตกและล่อน ขนาดของลำต้นใหญ่ผิดปกติ ส่วนลักษณะของท่อน้ำยางพบว่าเกิด Tylose ขึ้นภายในท่อน้ำยางโดย Tylose นี้จะมีรูปร่างไม่แน่นอน (Irregular shape) มี Nucleus อยู่ภายใน Tylose อยู่กระจัดกระจายภายในท่อน้ำยางและจะเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วอุดตันท่อน้ำยาง ในขณะเดียวกันเมื่อมีอายุมากขึ้นจะมี Lignin มาสะสมที่ผนังเซลล์ทำให้สามารถใช้สีย้อม Lignin ที่เกิดขึ้นนี้ได้และ Phoroglucin เป็นสีย้อมที่ดีที่สุด Tylose ที่มี Lignin สะสมเมื่อย้อมด้วยสีย้อมนี้จะติดสีแดงเข้มท่อน้ำยางจะติดสีน้ำตาลอ่อน Tylose จะติดสีเข้มหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณ Lignin ที่สะสม ส่วนการศึกษาภายในกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่า ลักษณะภายในของท่อน้ำยางผิดไปจากปกติ อนุภาคยางภายในท่อน้ำยางจับตัวกัน ทำให้เกิดอาการอุดตันภายในท่อน้ำยางและไม่มีการสังเคราะห์ยางขึ้นมาใหม่ ผลจากการศึกษานี้จะสามารถนำไปวินิจฉัยต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งว่าเป็นแบบไหน ถ้าเป็นแบบชั่วคราวก็แนะนำให้หยุดกรีดระยะหนึ่งจนกว่าต้นยางคืนสู่สภาพปกติ ซึ่งถ้ายังกรีดต่อไปอาจทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งอย่างถาวร ต้นยางจะไม่ให้ผลผลิตเลย วิธีการที่ได้นี้จะวินิจฉัยได้แม่นยำดำเนินการได้ง่ายและรวดเร็ว

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 10

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©