-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เร่งการออกดอกในสับปะรด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เร่งการออกดอกในสับปะรด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/02/2010 11:26 pm    ชื่อกระทู้: เร่งการออกดอกในสับปะรด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


หมู่นี้เห็นเน็ตเงียบๆ ไม่มีคำถาม เลยถือโอกาส "ท่องโลกเน็ต" พบเจออะไรที่
เหมือน/คล้าย/ต่าง กับของเรา เลยก็อปมาให้อ่านกันเล่นๆน่ะ......ลุงคิมครับผม
**********************************************


การใช้สารเคมีเร่งการออกดอกในสับปะรด


เนื่องจากสับปะรดมีอายุการออกดอกค่อนข้างช้า และไม่สม่ำเสมอซึ่งมีผลไปถึงการเก็บผลด้วย
แต่ในบรรดาพืชมีดอกทั้งหลาย สับปะรดนับว่าเป็นพืชที่ใช้สารเคมีเร่งให้ออกดอกก่อนกำหนดได้
ง่าย สารเคมีที่ใช้เร่งดอกสับปะรด ที่นิยมใช้กันมากได้แก่

1. เอทธิฟอน
เป็นสารเคมีที่ให้ก๊าซเอทธิลิน.โดยตรง เมื่อเอทธิฟอน.เข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรด จะแตกตัว
ปล่อยเอทธิลีน.ออกมา เอทธิลีน.เป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ซึ่งจะทำให้เก็บผลได้
ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน เอทธิฟอน. มีชื่อการค้าหลายชื่อ แต่ที่นิยมคือ อีเทรล. (39.5%
เอทธิฟอน) โดยใช้ในอัตรา 8 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร และเติมปุ๋ยยูเรีย.อีก 300 กรัม ผสมให้เข้ากัน
ดีแล้วใช้หยอดยอดหรือฉีดพ่น ต้นละ 70-80 ซีซี. หยอด 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน สารนี้เมื่อผสม
น้ำแล้วต้องใช้ทันทีอย่างช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง มิฉะนั้นสารเคมีจะลดประสิทธิภาพลง เวลาที่เหมาะ
สมในการหยอด คือ ตอนเช้ามืด และต้นสับปะรดต้องมีลักษณะพร้อมที่จะออกดอก หากฝนตกมา
ภายใน 2 ชั่วโมงหลังการใช้สารนี้ให้ทำซ้ำอีกครั้ง ให้เร็วเท่าที่จะทำได้ ปริมาณการใช้เอทธิฟอน.
จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดต้นสับปะรด ถ้าต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ปริมาณมากขึ้น
หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืนช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ให้ใช้ปริมาณมากขึ้นอีก
เท่าตัว

2. ถ่านแก๊สแคลเซียมคาร์ไบด์ (บางที่เรียกว่าถ่านเหม็น)
การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์. เร่งดอกสับปะรดเป็นที่นิยมกันมากเพราะหาง่ายและราคาไม่แพง แต่
การใช้จะได้ ผลดีนั้น ต้นสับปะรดจะต้องมีลักษณะพร้อมที่จะออกดอก คือ มีอายุระหว่าง 7-8
เดือน หรือมีโคนต้นที่อวบใหญ่ ประมาณน้ำหนักของต้น 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป หรือมีใบ 45 ใบขึ้น
ไป จึงใช้สารเร่งดอกได้ผล การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์. เพื่อเร่งดอกสับปะรดนั้น ปัจจุบันมีชนิด
เกล็ดสำเร็จรูปเพื่อให้ใช้ได้ง่าย โดยใช้อัตรา 200-250 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ปล่อยให้เดือดเต็มที่
แล้วนำไปหยอดสับปะรดต้นละ 70-80 ซีซี.(ถ้าเป็นแปลงสับปะรดตอหยอดต้นละ 80-90 ซีซี.)
ทำการหยอด 2 ครั้งห่างกัน 5-7 วัน ควรทำในเวลาเช้ามืดหรือตอนเย็นเพราะถ้าทำในตอนกลางวัน
จะได้ผลไม่ดีนัก หากฝนตกมาภายใน 2 ชั่วโมงหลังการใช้สารนี้ ให้ทำซ้ำอีกครั้ง ให้เร็วเท่าที่จะทำ
ได้ หลังจากหยอดสารเร่งประมาณ 40-45 วัน จะเริ่มเห็นสับปะรดเป็นจุดแดงอยู่ภายในยอด ต่อ
มา 60-70 วัน จะเห็นผลสับปะรดขนาดเล็กทรงกลมสีแดงโผล่ขึ้นจากยอด อาจมีดอกสีม่วงอยู่
ด้วย ดอกจะเริ่มบานจากฐานไปยอดลูก ประมาณ 90 วัน ดอกสีม่วงจะแห้ง แล้วเข้าสู่ช่วงการ
ขยายขนาดผลซึ่งจะขึ้นอยู่กับความชื้นและธาตุอาหารที่ต้นสับปะรดได้รับในระหว่างการเจริญ เติบ
โตของผล (ปัจจุบันมีปัญหาขาดแรงงานในการหยอดแก๊ส จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้)


ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

*******************************************************


ประสบการณ์ตรง :


....... กลุ่ม NW/TU/KK/RY ใช้ปุ๋ยทางใบ "สูตรลงหัว + ฮ.ม.ไข่" อัตรา 1:1 ให้แก่
สับปะรดระยะดอกแดง ทุก 7-10 วัน ปรากฏว่าได้หัวใหญ่ขนาด 2.5-3 กก. ทรงผลยาวตรงหัว
ถึงท้ายดีมาก ในขณะที่แปลงที่ไม่ได้ให้ได้หัวขนาด 1.5-2 กก.เท่านั้น

....... กลุ่มเดียวกัน ใช้ปุ๋ยทางใบ "สูตรลงหัว + ปุ๋ยน้ำดำไบโออิ" อัตรา 1:1 ให้แก่สับปะรดที่
สภาพต้นโทรม จะตายมิตายแหล่ ชนิดที่ใครๆ เห็นต่างก็บอกว่า "ไม่รอด" แน่ แต่ครั้นได้ปุ๋ยทาง
ใบสูตรนี้ไปเพียง 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ปรากฏว่า ประมาณ 70-80 % ของ
จำนวนต้นทั้งแปลง ฟื้นสมบูรณ์ ใบเขียวเข้มจนออกดำ แตกยอดใหม่ คราวนี้ใครๆ ที่เคยเห็น
สภาพต้นครั้งแรกที่ว่าโทรมแสนโทรมนั้น ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "รอด" แบบนี้ได้ผล
ผลิตแน่ๆ

...... กลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดที่ อ.ปรานบุรี อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ใช้ปุ๋ยทางใบสูตรลง
หัว ทุก 10-15 วัน จังหวะที่ให้ปุ๋ยทางใบนี้ ถือโอกาสรดน้ำไปในตัวด้วยการฉีดพ่นน้ำโชกๆ ตั้งแต่
เริ่มดอกแดงถึงเก็บเกี่ยว ปรากฏว่า นอกจากจะได้ผลขนาดใหญ่ตรงตามที่โรงงานต้องการแล้ว
ยังไม่มี "ไนเตรท" ตกค้างในผลอีกด้วย

ลุงคิมครับผม
ป.ล.
ท่านใดมีข้อมูลประสบการณ์ตรงเรื่องสับปะรด เชิญชวนให้เขียนมา เขียนลงในกระทู้ปกติก่อน
แล้วลุงคิมจะก็อปมาลงต่อท้ายที่กระทู้นี้ให้ภายหลัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©