-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - paclobutrazol และ NAA กับปาล์มน้ำมัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

paclobutrazol และ NAA กับปาล์มน้ำมัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 30/01/2010 3:08 pm    ชื่อกระทู้: paclobutrazol และ NAA กับปาล์มน้ำมัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผู้แต่ง: สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์; ทวีเกียรติ ยิ้มสวัสดิ์; โสฬส จินดาประเสริฐ
ชื่อเรื่อง: ผลของ paclobutrazol และ NAA ต่อการออกดอกและการแสดงเพศของปาล์ม
น้ำมัน
Article title: Effects of paclobutrazol and NAA on flowering and sex expression of oil palm

ชื่อเอกสาร : บทคัดย่องานวิจัยการใช้ฮอร์โมนพืชและสารที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 3
หน่วยงานจัดพิมพ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; สมาคม
วิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สำนักพิมพ์: ฝ่ายโรงพิมพ์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพ ฯ
ปีพิมพ์: 2536
หน้า: หน้า 14
จำนวนหน้า: 88 หน้า
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย, อังกฤษ)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (SB128 ก27บ 2536)

หมวดหลัก: F01-Crop husbandry

อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ELAEIS GUINEENSIS; PACLOBUTRAZOL; NAA;
FLOWERING; SEX
อรรถาภิธาน-ไทย : ELAEIS GUINEENSIS; แพคโคลบิวทราซอล; เอ็นเอเอ; การออก
ดอก; เพศ
ดรรชนี-ไทย : ปาล์มน้ำมัน; พาโคลบิวทราโซล; การออกดอก; การแสดงเพศ

บทคัดย่อ:
การควบคุมการออกดอกของปาล์มน้ำมัน ด้วยการใช้ "สารพาโคลพิวทราโซล" ด้วยวิธีราด
บริเวณโคนต้น อัตราความเข้มข้น 1,000; 2,000; 3,000; 4,000 และ 5,000 ส่วนในล้าน
ปรากฏว่าสารพาโคลบิวทราโซล ทุกระดับความเข้มข้น ชักนำให้ปาล์มน้ำมันออกดอกได้ก่อนต้น
ที่ไม่ได้ให้สารพาโคลบิวทราโซลประมาณ 20 วัน แต่อัตราความเข้มข้น 4,000 ส่วนในล้าน ชัก
นำการออกดอกได้มากกว่าหน่วยทดลองอื่น การใช้ "สารเอนเอเอ." ด้วยวิธีราดบริเวณโคน
ต้น อัตราความเข้มข้น 100, 200, 300, 400 และ 500 ส่วนในล้าน ปรากฏว่า สารเอนเอเอ.
อัตราความเข้มข้น 100 ส่วนในล้าน จะปรับเปลี่ยนให้เป็นช่อดอกตัวเมียได้มากกว่าหน่วยทดลอง
อื่น


ที่มา http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb4.exe?rec_id=003043&database=agdb4&search_type=link&table=mona&back_p
ath=/agdb4/mona&lang=thai&format_name=TFMON
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 30/01/2010 3:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สะใจไหมละครับทีนี้ ทั้งฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนน้ำดำและยูเรก้า ต่างก็มี NAA.เป็นส่วนผสม

ott_club
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/01/2010 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


...... ข้อมูลเรื่อง "เอ็นเอเอ." กับพืชตระกูลปาล์ม ได้มาจาก ดร.สำเนา เพชรฉวี. นักวิชาการ
อิสระ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา บริษัทปาล์ม ขนาด 20,000 ไร่ ที่ จ.ชุมพร.


...... ข้อมูลเรื่อง "ไคโตซาน" ให้ทางรากเพื่อฟื้นฟูต้นส้มเขียวหวานที่โทรมสุดโทรมให้สมบูรณ์
อย่างเดิมได้ดีที่ หลังโรงไฟฟ้าวังน้อย อยุธยา. เป็นประสบการณ์ตรงที่ได้มาจาก อ.สุวลี จันทร์
กระจ่าง



ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 31/01/2010 11:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่งรู้ว่ามีการให้ NAA ทางดินได้ด้วย อย่างนี้ ก็คงผสมในระเบิดดิบได้เหมือนกันซิครับ

หลังจากได้พากันไปดูงานของปราชญ์ชาวบ้านกันมาบ้างแล้ว จากนี้อาจจะต้องไปดูงานของ
ปราชญ์วิชากันสักหน่อยนะครับ มีคนรู้จักที่เป็นนักวิชาการแบบลุงคิม ทำให้รู้อะไรมากกว่าคน
อื่นเขาเยอะเหมือนกันนะครับ หรืออาจจะรู้มากกว่าพวก ดร. ก็ได้ เพราะ........
"ดร.ไม่คุยกับ ดร."
อย่างที่ลุงคิมเคยบอกไว้
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 31/01/2010 1:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมเนี่ยผ่านการดูงานมาก็หลายที่หลายแห่ง ยังไม่พบว่าที่ไหนให้ความรู้เรื่องการเกษตรได้ดีเท่า
ลุงคิมแห่งไร่กล้อมแกล้ม ได้สักที่เดียว

อย่างเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ไปอบรม "พัฒนาหมอดินอาสาประจำปี 53" ณ.สวนเกษตรธรรมชาติ...
จ.ระยอง ซึ่งเป็นทั้งเกษตรกรดีเด่น เป็นทั้งปราชญ์ชาวบ้าน สอนเกษตรกรทำน้ำหมักเปลือก
สับปะรดกับกล้วยสุก แบบหนอนขึ้นยุ่บยั่บ แถมมีลูกน้ำอีกเพียบ และยังสอนอีกว่าหนอนมี
โปรตีน น้ำหมักต้องมีหนอน แล้วอย่างนี้มันจะเหลืออะไรเนี่ย..... คิดดูเองแล้วกัน

ott_club
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/01/2010 5:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บอกแล้วไงว่า ต้นพืชกินอาหารได้ 2 ทาง..... ปากใบ กับ ปลายราก..... วันนี้กำลังพยายามค้นหา
ข้อมูลที่ว่า สารอาหาร 6-9 ส่วนไปจากราก ส่วนที่เหลือได้จากใบ แต่บางครั้งดูเหมือนว่า สาร
อาหาร 6-9 ส่วนไปจากใบ ส่วนที่เหลือได้จากราก....สองข้อมูลนี้ยังสับสนๆ

แต่ที่แน่นอนและนอนแน่ก็คือ ต้นพืชจะตอบสนองต่อสารอาหารทางใบได้ดี ขึ้นอยู่กับความ
สมบูรณ์ของต้น และความสมบูรณ์ของต้นขึ้นอยู่กับปัจจัย ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-
สายพันธุ์-โรค.....เปรียบเทียบอาหารสำหรับพืชกับอาหารคน น่าจะเป็น....ธาตุหลัก เปรียบ
เสมือนข้าว.....ธาตุรองเปรียบเสมือนกับข้าว......ธาตุเสริมเปรียบเสมือนของหวาน.....ฮอร์โมน
เปรียบเสมือนของว่าง.....ก็น่าจะได้ ว่ามั้ย

นอกจากช่องทางปลายรากกับปากใบแล้ว พืชยังเหลือช่องทางอื่นที่สามารถรับสารอาหารได้อีก
หรือไม่ ถ้ามี ก็จะให้ทางนั้นอีกทางหนึ่ง ...... ดีมั้ย


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©