-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เกษตรไทย กว่าครึ่ง มีหนี้เกินตัว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เกษตรไทย กว่าครึ่ง มีหนี้เกินตัว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/05/2023 10:48 am    ชื่อกระทู้: * เกษตรไทย กว่าครึ่ง มีหนี้เกินตัว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
งานวิจัยพบครัวเรือน เกษตรไทยกว่าครึ่งมีหนี้เกินตัว และเสี่ยงติดกับดักหนี้ระยะยาว แนะเร่งทำ 6 นโยบายแก้ปัญหา

โดย ดำรงเกียรติ มาลา

งานวิจัย PIER Research เผยครัวเรือนเกษตรกรไทยกว่า 90% มีหนี้สินเฉลี่ย 4.5 แสนบาท และส่วนใหญ่สุ่มเสี่ยงจะติดกับดักหนี้ โดย 57% มีหนี้สินรวมจากทุกแหล่งสูงเกินศักยภาพในการชำระ และมีพฤติกรรม ‘การหมุนหนี้’ กันในวงกว้าง แนะทำ 6 นโยบายเร่งด่วนแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เปิดเผยงานวิจัย PIER Research ในหัวข้อ ‘กับดักหนี้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก’ ซึ่งสำรวจภาคสนามเพื่อศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเงินของครัวเรือนเกษตรกรไทยกว่า 6 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาหนี้สินและกลไกการติดกับดักหนี้

ความท้าทาย ‘ เศรษฐกิจไทย ปี 2566 ’ กับการปรับตัวของภาคธุรกิจ
ฉวยจังหวะค่าเงินอ่อน ส่องโอกาสลงทุนหุ้นโลก สร้างพอร์ตเติบโตระยะยาว
‘ส่วนต่างรายได้’ กับนโยบายรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ
โดยผลวิจัยพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรไทยกว่า 90% มีหนี้สิน และส่วนใหญ่สุ่มเสี่ยงจะติดกับดักหนี้ โดยระดับหนี้สินของครัวเรือนเกษตรยังมีแนวโน้มจะติดอยู่ที่ระดับ 70% ของทรัพย์สินในระยะยาว

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้จัดทำงานวิจัยดังกล่าว ระบุว่า วงจรกับดักหนี้ของครัวเรือนเกษตรประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้

1. ปัญหาท้าทายการบริหารจัดการทางการเงินของครัวเรือนเกษตรกรไทย ได้แก่
- รายได้น้อย ไม่พอใช้จ่ายจำเป็น และไม่พอชำระหนี้ โดยปัจจุบัน 27% ของครัวเรือนเกษตรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายจำเป็น และ 42% มีรายได้ไม่พอจ่ายหนี้

- รายได้ไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีปัญหาสภาพคล่องในหลายเดือนต่อปี
- รายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรมีความไม่แน่นอนสูง และมีความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจบริหารจัดการยาก เช่น ความเสี่ยงด้านภัยพิบัติและความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยเกิดขึ้นทุกๆ 3 ปี และอาจเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นจากภาวะโลกร้อนและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในอนาคต

โดยข้อมูลพฤติกรรมการเงินรายเดือนแสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนเกษตรกรกว่า 18% มีรายได้ไม่พอจ่ายในทุกๆ เดือน ขณะที่ 67% มีปัญหาสภาพคล่องระหว่างเดือน และมีเพียง 15% เท่านั้นที่ยังคงมีรายได้พอจ่ายทุกเดือน แต่ทุกกลุ่มก็มีรายได้ที่ไม่แน่นอน และเปราะบางสูง

2. เครื่องมือทางการเงินยังไม่ตอบโจทย์ แต่กลับนำมาซึ่งปัญหาหนี้ โดยครัวเรือนเกษตรกรมีความตระหนักรู้ทางการเงินน้อย และยังไม่สามารถใช้การออมและประกันภัยมาช่วยจัดการปัญหาการเงินได้ ครัวเรือนส่วนใหญ่ออมน้อย และไม่ได้ออมเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ทำให้ผลตอบแทนต่ำ มีความเสี่ยงสูง หรือสภาพคล่องต่ำ

ขณะที่การทำประกันภัยก็ยังไม่ครอบคลุมความเสี่ยงของรายได้ ที่ผ่านมาครัวเรือนจึงใช้สินเชื่อเป็นเครื่องมือหลักในการบริหารจัดการทางการเงิน และสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้จากสถาบันการเงินที่หลากหลายทั้งในและนอกระบบ ทำให้กว่า 90% มีหนี้สิน มีหนี้เฉลี่ยปริมาณมากถึง 4.5 แสนบาท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยหนี้ที่เพิ่มขึ้นมาจากหนี้เดิมที่ชำระไม่ได้ และหนี้ใหม่ที่ก่อเพิ่มทุกปี แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนเกษตรกรกำลังใช้สินเชื่อกันอย่างไม่ยั่งยืน

3. ปัญหาสำคัญของระบบการเงินฐานราก ที่กำลังฉุดรั้งการใช้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของครัวเรือน ได้แก่
- ปัญหาการขาดแคลนข้อมูล ทำให้สถาบันการเงินไม่รู้ศักยภาพและนิสัยที่แท้จริงของเกษตรกร และไม่มีข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน ทำให้การปล่อยสินเชื่ออาจยังไม่ทั่วถึงและตอบโจทย์ทุกกลุ่มได้ และที่สำคัญอาจไม่เหมาะสมกับความเสี่ยง และเกินศักยภาพของครัวเรือน โดยงานวิจัยพบว่า ครัวเรือนยังมีความต้องการสินเชื่อเพิ่ม โดยเฉพาะเพื่อทำเกษตรและลงทุน ขณะที่ 57% มีหนี้สินรวมจากทุกแหล่งสูงเกินศักยภาพในการชำระ และมีพฤติกรรม ‘การหมุนหนี้’ กันในวงกว้าง

- ปัญหาการออกแบบสัญญาชำระหนี้ ที่อาจไม่ได้ตั้งอยู่บนความเข้าใจปัญหาการเงินเกษตรกร จึงไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จูงใจและเหมาะสมกับศักยภาพ ทำให้เมื่อกู้ไปแล้ว ครัวเรือนไม่สามารถชำระและปลดหนี้ได้จริง

4. ปัญหาในการติดตามและบังคับชำระหนี้ โดยเฉพาะเจ้าหนี้รายใหญ่อย่างสถาบันการเงินของรัฐ ที่งานวิจัยพบว่าครัวเรือนมักจะเลือกผิดนัดเป็นอันดับแรกๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินชุมชนหรือนอกระบบ ซึ่งอาจใกล้ชิดกับเกษตรกรและมีกลไกการบังคับชำระหนี้ที่เข้มข้นกว่า นอกจากนี้ เมื่อศึกษาสินเชื่อที่ใช้การค้ำประกันกลุ่มกว่า 303,779 กลุ่มทั่วประเทศ ซึ่งเคยเป็นนวัตกรรมของกลไกการบังคับชำระหนี้ในอดีต ก็พบว่ากลับมีปัญหาการชำระหนี้ในวงกว้าง

การพัฒนาของปัญหาข้างต้นไปสู่กับดักหนี้และกับดักการพัฒนา โดยงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงกลไกการติดกับดักหนี้ที่เริ่มจากปัญหาของครัวเรือนเกษตรกร การใช้เครื่องมือทางการเงินที่ไม่เหมาะสมในการจัดการกับปัญหาทางการเงิน ประกอบกับความไม่มีประสิทธิภาพของระบบการเงินฐานราก จนทำให้ครัวเรือนใช้สินเชื่อกันจนเกินศักยภาพและมีปัญหาหนี้ ซึ่งย้อนกลับมาทำให้ปัญหาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นวงจร นอกจากนี้ การติดกับดักหนี้ทำให้ภูมิคุ้มกันของครัวเรือนลดลง ฉุดรั้งการเข้าถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และกำลังกลายเป็นกับดักแห่งการพัฒนา

5. หนี้เกษตรกร
ลัทธพร รัตนวรารักษ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวว่า การจะช่วยให้ครัวเรือนเกษตรกรไทยหลุดพ้นจากกับดักเหล่านี้ และสามารถใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องแก้ให้ครบวงจร ทั้งปัญหาระบบการเงินฐานราก ปัญหาหนี้ และปัญหาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือน โดยมี 6 นโยบายที่ต้องเร่งทำอย่างเร่งด่วน (Policy Priorities) ประกอบด้วย

- การแก้ปัญหาระบบการเงินฐานรากให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการสร้างข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการใช้ข้อมูลในระบบการเงินฐานราก การออกแบบเครื่องมือทางการเงินที่ตอบโจทย์การพัฒนาของครัวเรือนกลุ่มต่างๆ โดยเอาความเข้าใจปัญหาของครัวเรือนเป็นตัวตั้ง และการเพิ่มบทบาทสถาบันการเงินชุมชนซึ่งมีความใกล้ชิดกับเกษตรกรในการปิดช่องว่างการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

- การแก้หนี้เดิม เพื่อให้ครัวเรือนสามารถปลดหนี้ได้ในที่สุด ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการมุ่งเป้าการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับศักยภาพและเป็นธรรม การสร้างแรงจูงใจ การสร้างความตระหนักรู้ และมีตัวกลางมาช่วยเกษตรกรแก้หนี้ร่วมกับสถาบันการเงิน

การเติมหนี้ใหม่อย่างทั่วถึง ตอบโจทย์ และยั่งยืนขึ้น โดยใช้ข้อมูลมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการทำประกันสินเชื่อ และการทบทวนรูปแบบของสินเชื่อที่ใช้การค้ำประกันกลุ่มให้ยั่งยืนขึ้น
- การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้ครัวเรือน
- การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและความรู้ความเท่าทันทางการเงิน

6. การปรับเปลี่ยนนโยบายช่วยเหลือของรัฐ เพื่อสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้องและสอดคล้องกัน จากนโยบายเดิมๆ ที่เน้นการช่วยเหลือระยะสั้น เช่น การพักหนี้ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยงานวิจัยพบว่าอาจสร้างแรงจูงใจในการชำระหนี้ที่บิดเบี้ยวไปเป็นนโยบายที่เน้นช่วยให้ครัวเรือนสามารถชำระและปลดหนี้ได้ในระยะยาว

https://thestandard.co/farmers-debt/

*****************************************************************
*****************************************************************



63. เกษตรานุสติ
................. ทำอย่างเดิม = ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม ..........................
............... คิดใหม่ ทำใหม่ = ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม .........................

............ ขายได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนลด คือกำไรเพิ่ม .................
.............. ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เพราะ ..... ต้นทุนสูง ต้นทุนสูญเปล่า ...................

........ ทุกคนเกิดมา เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน ..... แต่ แพ้-ชนะ กัน ที่โอกาส ............
................ เรื่องง่ายทำไม่ได้ เรื่องยากทำได้ เพราะ “ใจ” ...........................
................... คนที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด คือ คนในกระจก ............................

*** ธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ....
*** อย่าเอาชนะธรรมชาติ แต่จง อยู่ร่วม/แสวงประโยชน์ จากธรรมชาติ

*** ทำอย่างเดิม คงไม่มีอะไรดีกว่าเดิม
*** ทำตามคนที่ล้มเหลว จะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะ รู้ไม่จริง+เอาชนะ

*** ทำตามคนที่สำเร็จ เอาความสำเร็จมา ต่อยอด/ขยายผล
*** ทุกอย่าง ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ


จาก “เดิม/ปัจจุบัน/อนาคต-ของเขา/ของเรา” เอามา .....
คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ บนพื้นฐาน.....

ทำใหม่ ออกนอกกรอบ ต่อยอด ขยายผล ซุปเปอร์ .....
ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี .....

ศึกษาปัญหาก่อน ศึกษาความสำเร็จทีหลัง ....
ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว ......

สุดท้าย “ฟังธง” สูตรของตัวเอง


ต้นทุนค่าปุ๋ย :
ลดปุ๋ย เคมี ในกระสอบ เพิ่มปุ๋ย อินทรีย์+เคมี ในถังหมัก

ลดต้นทุนค่าสารเคมี :
ใช้สารสมุนไพร ฉีดพ่นบ่อยๆ พร้อมกับให้ น้ำ, ปุ๋ยทางใบ .... ฉีดพ่นล่วงหน้าก่อนศัตรูพืชระบาด

ทำ :
ปุ๋ยทางใบ/สารสมุนไพร .... ทำเอง 100%, ทำเอง 50% ซื้อ 50%
ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง

เทคโนฯ เครื่องทุ่นแรง :
สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย .... ลดต้นทุนค่าแรง เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน ได้เครดิตความน่าเชื่อถือ ลูกหลานทำต่อ



2 ทศวรรษ 20 ปี กับงานเกษตร
ได้พบสัจจธรรมหลายอย่าง เกษตรกรไทยทำการเกษตร แบบ “กลับหัว กลับหาง” .... ลุงคิมพูดบ่อยๆว่า สมมุติว่าวิชาเกษตรมี 100 บท เรียน บทที่ 1 สำคัญที่สุด ถ้าสอบผ่านบทที่ 1 ได้แล้ว เหลืออีก 99 บทเรียน ใช้ เวลาเรียนเพียงครึ่งชั่ว
โมงก็บรรลุ

บทเรียนที่ 1 ที่ว่าสำคัญที่สุดนั้นคือ “ทัศนคติ” หรือ “ใจ” นั่นเอง .... สังเกตุไหม สำนักเรียนไหนๆ มักสอนแต่ความสำเร็จ สอน แต่สูตรสำเร็จ ราวกับว่าทุกอย่างไม่มีปัญหาเลย ทั้งๆที่ในโลกแห่งความเป็นจริงมีแต่ ปัญหา ปัญหา และปัญหา จึงไม่สอนให้รู้จักกับปัญหา ....

แต่สำนักนี้ สำนักไร่กล้อมแกล้มกลับสอนว่า หากจะกระทำการสิ่งใด จงศึกษาส่วนที่เป็นปัญหาหรือจะเป็นปัญหาก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนที่เป็นความสำเร็จภายหลัง ทั้งนี้เมื่อรู้ว่า อะไรจะเป็นปัญหาก็ให้ป้องกันปัญหานั้นล่วงหน้าในลักษณะ “กันก่อนแก้” แล้วจึงลงมือทำ เมื่อลงมือทำแล้วไม่เกิดปัญหา การกระทำนั้นๆ ย่อมประสบความสำเร็จ ในทางกลับกัน หากลงมือกระทำการใดๆแล้วมีแต่ปัญหา ปัญหา และปัญหา ปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่อง ปัญหาโลกแตก ปัญหาสภาวะจำยอม ปัญหาไม่คาดคิด การกระทำนั้นย่อมประสบแต่ความล้มเหลว

ถึงยุคสมัยแล้วที่ชาวนาต้องสร้างแนวคิดใหม่ :
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
- เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง

- เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ

- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ

- เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น

- เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกัน


*****************************************************************

* ชื่อกระทู้ : หนี้สินเกษตรกรในยุคประชานิยม
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=138&sid=b365511581f444353c5d99f170620eea

*****************************************************************



ลด ปุ๋ยเคมี ในกระสอบ เพิ่ม ปุ๋ยอินทรีย์+เคมี ในถังหมัก :

ได้ไหม? ดีไหม? เอาไหม?





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©