-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 ก.พ. * สูตรลุงคิม บำรุงพริก
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 ก.พ. * สูตรลุงคิม บำรุงพริก

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/02/2023 5:02 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 ก.พ. * สูตรลุงคิม บำรุงพริก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 28 ก.พ.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 4 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 09 261x 284x
ข้อความ : ธรรมชาติของพริก มีผลตลอดปีตลอดอายุ แต่เกรดเอเกรดบ๊วย ตามธรรมชาติของคนปลูกค่ะ

จาก : 08 618x 439x
ข้อความ : ประหยัดค่าปุ๋ยค่ายา ขอสูตรลุงคิม บำรุงพริกครับ

จาก : 09 418x 496x
ข้อความ : ส่งข่าว พริกขี้หนูอย่างเดียว 4 ไร่ ใช้ปุ๋ยผู้พัน ขายได้เงิน เฉพาะกำไร ได้มากกว่าข้าวครับ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

พริกกระสอบ 1 งาน..เดือนละหมื่นหก :
พริกเดือยไก่ :

“ได้ยินครั้งแรก นึกว่าเป็นพริกสายพันธุ์ใหม่ ที่ไหนได้ เป็นแค่วิธีการปลูกพริกแบบใหม่ ไม่ต้องปลูกลงดิน แต่ใช้กระสอบป่านแทนกระถางเท่านั้น แต่มีข้อดีตรงน้ำหนักเบา ยกเคลื่อนย้ายไปวางปลูกที่ไหนก็ได้ ไม่หนักเหมือนปลูกในกระถาง ในบ่อซีเมนต์ ที่สำคัญไม่ว่าดินจะเลวแค่ไหน ปลูกได้หมด เพราะเราปรับปรุงดินได้ และยังปลูกพริกได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องพักดิน”

นายพิเชษ ด้วงชู นักศึกษา ปวส. ปี 2 สาขาด้านพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ผู้ตั้งความฝันอยากช่วยพ่อแม่หารายได้ แต่ด้วยต้องไปเรียนทุกวัน ไม่อาจออกช่วยกรีดยางได้ จึงคิดหาหนทางช่วยพ่อแม่ ด้วยการปลูกพริกกระสอบ ที่ได้ความรู้มาจากการสมัครเข้าร่วม “โครงการเกษตรเพื่อชีวิต เกษตรรุ่นใหม่ ใส่ใจมาตรฐาน” ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่ง ชาติ (มกอช.) ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุงจัดขึ้น เพื่อต้องการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องมาตรฐานการผลิต GAP ที่ทั่วโลกยอมรับ รวมทั้งรู้จักใช้พื้นที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด


ปลูกพริกกระสอบ ที่ดินแค่งานเดียว ทำกินได้เท่าเงินเดือนคนจบปริญญาตรี ทั้งยังช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เชื้อรา และวัชพืช ได้ด้วย

“ที่บ้านมีที่ดินน้อย เลยอยากลองวิชาที่อบรมมา ทำได้จริงหรือเปล่า เพราะคิดว่าที่ดินแค่งานเดียว จะไป ทำอะไรได้ ปรากฏว่า ผิดคาด แค่ลองครั้งแรก ตามประสาคนไม่มีประสบการณ์ หักต้นทุน ยังเหลือกำไรตั้งห้าพันบาท และพอมาทำจริงได้บทเรียนจากครั้งแรก ที่ดิน 1 งาน ปลูกพริกกระสอบ 200 ถุง ปลูกไป 3 เดือน เก็บพริกได้ทุกสัปดาห์ นานเป็นปี แต่ ละเดือนได้พริกประมาณ 120 กก. ราคากิโลละ 130-150 บาท เดือนละ 16,800 บาท”


พริกเดือยไก่ขาวและพริกชี :
วิธีปลูกพริกกระสอบให้ได้ผล พิเชษฐ์บอกว่า เริ่มจากนำดินร่วนปนทราย 12 กก. มาผสมมูลวัว 5 ขีด ปูนขาว 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ถุงปุ๋ย พับปากถุงให้สูงจากดินที่บรรจุประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อช่วยบังลมให้ต้นกล้าพริก
ส่วนพันธุ์พริกแล้วแต่จะเลือกใช้ขึ้นอยู่กับตลาดแต่ละพื้นที่ แต่สำหรับพัทลุง จะใช้พริกพันธุ์เดือยไก่ เพราะตลาดภาคใต้ต้องการมาก ให้ราคาดีกว่าพริกชนิดอื่น

ลงปลูกเพียงแค่ 3 เดือน สามารถเก็บขายได้นานเป็นปีหรืออาจจะมากกว่า ขึ้นอยู่กับการดูแล และเมื่อต้นพริกวาย (หมดอายุ) ยกกระสอบออกนำดินไปเทผึ่งแดดฆ่าเชื้อ หาดินชุดใหม่มาทำเหมือนเดิม

เพ็ญพิชญา เตียว

https://www.thairath.co.th/content/663632



ไร่ช้างขาว ปลูกพริก 200 ไร่ :
เน้นการผลิตพริกนอกฤดูกาลทั้งหมด :

ในวงการปลูกพริกบ้านเรา ต่างก็ทราบดีว่าการปลูกพริกเพื่อให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคมนั้นเป็นเรื่องที่ปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จได้ยากมาก เนื่องจากเป็นการผลิตพริกให้ออกนอกฤดูกาล ต้นพริกจะต้องผ่านช่วงฤดูฝนจะพบปัญหาเรื่องโรคแอนแทรกโนส เป็นโรคที่สำคัญของพริก ยังเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมขังทำให้ต้นพริกตายและปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ในขณะเดียวกันถ้าเกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจผลิตพริกให้ออกนอกฤดูกาลได้ นั่นหมายความว่าจะขายผลผลิตได้ราคาดีกว่าพริกที่ออกในฤดูกาลอย่างแน่นอน

คุณธนวัฒน์ อัมรามร ผู้จัดการไร่ช้างขาว บ้านเลขที่ 354 หมู่ 2 บ้านกองลม ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 50350 โทร. (053) 477-341 ปลูกพริกในพื้นที่ 200 ไร่ ที่สภาพพื้นที่ปลูกอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ 800 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 22 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งปี คุณธนวัฒน์มีประสบการณ์ในการปลูกพริกมานานประมาณ 8 ปี ผลิตพริกหลากหลายชนิด เช่น พริกแดง พริกเหลือง และพริกเขียว ส่งขายทั้งตลาดในและนอกประเทศ และจะเน้นการผลิตนอกฤดูกาลเพียงอย่างเดียว ในขณะนี้ผลผลิตพริกจากไร่ช้างขาวได้มีการส่งไปขายยังตลาดยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีความเข้มงวดในการตรวจสอบสารเคมีตกค้างมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่คุณธนวัฒน์สามารถผลิตพริกได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Eurepgap" ซึ่งมีความเข้มงวดกว่า GAP (เกษตรดีที่หมาะสม) ด้วยซ้ำไป


ปริมาณการบริโภคและปริมาณการผลิตพริกผลสดภายในประเทศ
จากการสำรวจพบว่า คนไทยมีการบริโภคพริกเฉลี่ย 5 กรัม ต่อคน ต่อวัน (สรจักร, 2539) ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรประมาณ 60 ล้านคน เมื่อคิดเป็นตัวเลขน้ำหนักของการบริโภคพริกมีจำนวนมากถึง 300 ตัน หรือ 3 แสนกิโลกรัม ต่อปี ในบรรดาพริกที่คนไทยมีการบริโภคสดมากที่สุดคือ กลุ่มพริกขี้หนู และพริกชี้ฟ้า ซึ่งนำมาประกอบอาหารประเภทแกง ต้มยำและอื่นๆ อีกมากมาย ในขณะที่พริกหวาน พริกญี่ปุ่นหรือพริกอื่นๆ มีการบริโภคน้อยกว่า

คุณธนวัฒน์ยังได้บอกถึงพฤติกรรมการปลูกพริกของเกษตรกรไทยมักจะชอบปลูกพริกในช่วงปลายฤดูฝนต้นหนาว เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่า เกษตรกรจะใช้พื้นที่หลังการทำนาเพื่อการปลูกพริกจากที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า ผลผลิตพริกในฤดูกาลจะออกมาสู่ตลาดพร้อมกันในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ทำให้ผลผลิตเกินความต้องการของตลาด และนี่เป็นเหตุผลหลักที่ไร่ช้างขาวจะเน้นการผลิตพริกออกนอกฤดูกาลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม แต่คุณธนวัฒน์ได้บอกถึงปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการผลิตพริกให้ออกนอกฤดูกาลให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ การใช้พื้นที่นามาปลูกพริกจะประสบปัญหาเรื่องการระบายน้ำที่ไม่ดีพอ หลังจากปลูกไปแล้วไม่ทันเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นจะตายก่อน ต้นพริกที่ผ่านช่วงฤดูฝนมีโอกาสเป็นโรคแอนแทรกโนสได้ง่ายมาก หรือแม้แต่โรคพริกอื่นๆ เนื่องจากความชื้นในฤดูฝนเป็นหลัก ดังนั้น การปลูกพริกในเชิงพาณิชย์ช่วงฤดูฝนจึงมีความเสี่ยงมากกว่าฤดูอื่น คุณธนวัฒน์จึงได้ย้ำว่าการผลิตพริกนอกฤดูกาล ถ้าเกษตรกรรายใดทำได้หรือกล้าที่จะเสี่ยงย่อมจะได้เงินสูงกว่าการผลิตพริกในฤดูกาลอย่างแน่นอน


ปัจจัยสำคัญก่อนตัดสินใจลงทุนปลูกพริก :
คุณธนวัฒน์ได้ฝากข้อคิดที่สำคัญก่อนที่จะลงทุนปลูกพริก อาทิ วางแผนช่วงเวลาที่จะผลิตพริกให้ผลผลิตออกมาตามความต้องการของตลาด ซึ่งถือเป็นหัวใจที่มีความสำคัญหรืออาจจะกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า ใช้หลักการ "การตลาดนำหน้าการผลิต" ประการต่อมาเกษตรกรจะต้องคัดเลือกพันธุ์พริกที่จะปลูกตามที่ตลาดต้องการ การคัดเลือกพื้นที่ปลูก คุณธนวัฒน์บอกว่าถ้าเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมหรือทำเลที่ดีโอกาสประสบความสำเร็จมีไปแล้วครึ่งหนึ่ง ในเรื่องของสภาพพื้นที่ปลูกพริกนั้นคุณธนวัฒน์จะเน้นในเรื่องของการระบายน้ำที่ดีเป็นหลัก และประการสุดท้ายคือเรื่องเงินทุน ในการปลูกพริกในแต่ละรุ่นเกษตรกรจะต้องมีแหล่งเงินทุนสำรองให้ใช้ในการซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ ซึ่งในแต่ละรุ่นของการปลูกจะใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 90-120 วัน

การเตรียมพื้นที่ปลูกพริกแบบไร่ช้างขาว :
สำหรับเกษตรกรที่เริ่มต้นปลูกพริกในที่ดินใหม่จะต้องเก็บตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ อย่างน้อยที่สุดควรตรวจค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดิน ดินที่เหมาะต่อการปลูกพริกควรมีค่า pH = 6.0-6.8 ถ้าสภาพดินเป็นกรดจะต้องมีการปรับสภาพของดินโดยใช้โดโลไมต์หรือปูนขาว คุณธนวัฒน์บอกว่า ในการใส่ปูนขาวหรือโดโลไมต์ในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 300 กิโลกรัม ต่อไร่

ในการเตรียมพื้นที่ก่อนที่จะไถดินให้ใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อยไร่ละ 1,000 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน เมื่อไถดินเสร็จให้ตากดินทิ้งไว้นาน 3-7 วัน หลังจากตากดินเสร็จก็จะเป็นขั้นตอนของการยกแปลงปลูก โดยแปลงปลูกควรจะสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ความยาวของแปลงขึ้นกับสภาพพื้นที่ แต่ความยาวของแปลงไม่ควรเกิน 50 เมตร ในการขึ้นแปลงของไร่ช้างขาวจะใช้รถไถติดผาล 7 ขึ้นแปลงไป-กลับ 4 รอบ เมื่อขึ้นรอบที่ 5 ให้ใช้เกรดรถไถปรับหลังแปลงให้เรียบเป็นแปลงพริก (ไม่ต้องเสียเวลาใช้แรงงานคน) จากนั้นอาจจะปูพลาสติคและวางสายน้ำหยดหรือจัดระบบการให้น้ำตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่


การเพาะเมล็ดพริกเป็นการเริ่มต้นที่มีความสำคัญ :
ในสภาพความเป็นจริงในการเพาะเมล็ดพริกมีอยู่หลายวิธี แต่ขั้นตอนสำคัญลำดับแรกที่เป็นคำแนะนำที่สำคัญของทางราชการก็คือ จะต้องนำเมล็ดพันธุ์พริกมาแช่ในน้ำอุ่น วิธีการทำน้ำอุ่น ใช้น้ำร้อนเทลงไปในภาชนะก่อน 1 ส่วน และเทน้ำเย็นลงไปอีก 1 ส่วน (วิธีการทดสอบอุณหภูมิของน้ำ ใช้มือจุ่มลงไปถ้ามือของเราพอที่จะทนได้ เป็นอันว่าน้ำอุ่นของเราใช้ได้) แช่เมล็ดพริกในน้ำอุ่นนาน 30 นาที แล้วเอาเมล็ดพริกมามัดไว้ในผ้าขาวบาง บ่มเมล็ดพันธุ์พริกไว้ 1 คืน นำไปเพาะต่อไป ในการเพาะเมล็ดพริกของไร่ช้างขาวจะต้องเพาะในปริมาณมาก เนื่องจากเนื้อที่ปลูก 200 ไร่ จะต้องใช้ต้นกล้าพริกมากถึง 640,000 ต้น จะต้องแบ่งการเพาะเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 320,000 ต้น

การเพาะเมล็ดพริกที่เกษตรกรไทยนิยมปฏิบัติกันจะแบ่งออกได้ 3 วิธี คือ :
1. หยอดเมล็ดลงในถาดเพาะโดยตรง ซึ่งจัดเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุด
2. หว่านในตะกร้าพลาสติคที่ใช้ทรายเป็นวัสดุปลูก คุณธนวัฒน์แนะนำให้ใช้ทรายขี้เป็ดชนิดหยาบเป็นวัสดุเพาะ ขั้นตอนสำคัญจะต้องนำทรายไปต้มเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน รอให้ทรายเย็นลงแล้วนำมาใส่ในตะกร้าพลาสติค (อย่าลืมรองก้นตะกร้าด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์) หลังจากหว่านเมล็ดพริกลงตะกร้าแล้วให้กลบด้วยปุ๋ยหมักอินทรีย์หรือขุยมะพร้าวที่ร่อนเอากากออก แล้วรดน้ำและพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า การรดน้ำอย่าให้แฉะจนเกินไป เพราะจะทำให้เมล็ดพริกเน่าได้ สำหรับการเพาะเมล็ดพริกในฤดูร้อนหลังจาก-เพาะไปได้ 7-10 วัน ย้ายต้นกล้าลงถาดหลุม แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 วัน ถึงจะย้ายต้นกล้าลงถาดหลุมได้เพื่อย้ายลงปลูกในแปลงต่อไป

3. ใช้แปลงเพาะ เป็นวิธีการที่เกษตรกรไทยนิยมมากที่สุด เนื่องจากประหยัดต้นทุนการผลิต ขนาดของแปลงเพาะ มีความกว้าง 2 เมตร ความยาว 5-10 เมตร เริ่มต้นจากการขุดพลิกดินและตากดินไว้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง ใส่ปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักอินทรีย์ อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อแปลง คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันจนร่วนซุย เกลี่ยดินให้เรียบ นำเมล็ดพริกมาเพาะโดยใช้อัตราพริกน้ำหนัก 50 กรัม ต่อพื้นที่ปลูกพริก 1 ไร่ จะต้องโรยเมล็ดให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร เป็นแถวตามความกว้างของแปลง แต่ละแถวห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร เสร็จแล้วให้กลบดินบางๆ ให้เสมอผิวดินเดิม แล้วใช้ฟางข้าวคลุมแปลงเพาะบางๆ รดน้ำที่ผสมสารป้องกันและกำจัดเชื้อรา เมื่อเห็นต้นกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดิน ค่อยๆ ดึงฟางออกให้บางลงเพื่อต้นกล้าจะได้เจริญเติบโตได้ดี เมื่อต้นกล้ามีจำนวนใบจริง 4-5 ใบ จะต้องพ่นสารป้องกันและกำจัดแมลงร่วมกับสารเคมีป้องกันโรคโคนเน่าอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ต้นกล้าพริกที่มีอายุเฉลี่ย 25-30 วัน มีความสมบูรณ์และต้นแข็งแรงไม่มีโรครบกวนให้ย้ายลงปลูกในแปลงได้


การย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน :
หลังจากที่เตรียมขุดหลุมตามระยะปลูกเรียบร้อยแล้ว มีเทคนิคที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เกษตรกรมักจะมองข้าม คือการย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง ซึ่งคุณธนวัฒน์ถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก ขณะที่จับต้นกล้าพริกออกจากถาดหลุมจะต้องจับบริเวณเหนือใบเลี้ยง (ใบคู่แรก) เพื่อป้องกันการบอบช้ำของเนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นกล้า ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นส่วนที่เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เป็นสาเหตุหลักของโรคเน่าคอดินตามมา หลังจากย้ายกล้าลงหลุมเสร็จภายในวันเดียวกัน หรืออย่างช้าวันรุ่งขึ้นจะต้องฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดเชื้อราในกลุ่มสารเมตาแลกซิลหรือใช้ยาอาลีเอทก็ได้ หลังจากที่ย้ายต้นกล้าพริกลงหลุมปลูกแล้ว การใช้ไม้หลักปักค้ำต้นพริกมีความจำเป็นและสำคัญเช่นกัน ถ้าหากปักหลักต้นพริกช้าเกินไป รอจนรากของต้นพริกเดินกระจายทั่วแล้วจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย เพราะหลักที่นำไปปักทีหลังหรือปักช้าเกินไปนั้น ไปโดนส่วนของรากเสียหายและเกิดบาดแผล เชื้อเข้าทำลายระบบท่อน้ำและท่ออาหารได้ ดังนั้น เกษตรกรที่จะปลูกพริกในเชิงพาณิชย์จะต้องมีการเตรียมไม้หลักไว้ล่วงหน้า โดยคำนวณจากต้นพริกที่ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกแบบแถวคู่ จะมีจำนวนต้นประมาณ 3,200 ต้น ก็เตรียมไม้หลักจำนวนเท่ากัน ปกติขนาดของไม้หลักควรจะมีความสูง 60-80 เซนติเมตร ใช้ไม้ไผ่ก็ได้ หลังจากปลูกพริกไปได้ 50-70 วัน จะต้องมีการปักไม้หาบต้นพริกเพื่อช่วยพยุงต้นพริกไม่หักโค่นหรือกิ่งฉีกหักจากการรับน้ำหนักของผลผลิตที่มีความดก คุณธนวัฒน์แนะนำให้ใช้ไม้ไผ่ที่มีความยาว 1.20 เมตร ปักคู่กันระหว่างต้นพริกด้านซ้ายและด้านขวา จากนั้นใช้ไม้อีกอันหนึ่งวางขวางด้านบนสุด มัดด้วยลวดหรือเชือกฟางให้แน่นโดยจะทิ้งช่วงของการปักไม้เป็นระยะ ทุกๆ 3 เมตร จากนั้นก็มัดเชือกฟางทั้งข้างซ้ายและข้างขวาให้ยาวตลอดแนวแถวแปลงพริก ดึงเชือกให้ตึงในแต่ละช่วง จะช่วยให้ต้นพริกไม่โค่นล้มได้ง่าย

เมล็ด "พริกขี้หนูหอมและพริกขี้หนูหัวเรือพันธุ์ใหม่" มีแจกฟรีพร้อมคู่มือการปลูกพริก 4 สี จำนวน 40 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 30 บาท ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/200 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (01) 886-7398

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=hoonvi&date=20-07-2006&group=8&gblog=16



จาก : (089) 628-18xx
ข้อความ : คุณลุงคะ ที่บ้านปลูกพริก 2 ไร่ พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู พริกหยวก อยากบำรุง ให้ดก น้ำหนักดี ต้นไม่โทรม ใช้ปุ๋ยลุงคิมสูตรไหน .... ขอบคุณค่ะ

ตอบ :
คำถามเก่า คนถามใหม่ คำตอบเดิมเก่า ย้อนไปดูคำตอบเก่าเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว คำตอบนั้นยังใช้ได้ เพราะศัตรูพืชยังเหมือนเดิมๆ

** บำรุง :
ทางใบ :
ให้สูตรสหประชาชาติ “น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 60 ซีซี. + ไทเป 60 ซีซี. + ยูเรก้า 60 ซีซี.” ให้ 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก : ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ขี้วัวขี้ไก่แกลดิบแกลบดำ, ทำแปลงสันลูกฟูก รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, คลุมสันแปลงด้วยหญ้าแห้งหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 1 ล. +8-24-24 (1-2 กก.) / ไร่ / เดือน รดโคนต้น

หลักการและเหตุผล :
บำรุงทางใบ :
ไบโออิ. บำรุงสร้างความสมบูรณ์สะสม.... ไทเป. สะสมตาดอก เปิดตาดอก บำรุงดอก .... ยูเรก้า. บำรุงผล ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ. .... แคลเซียม โบรอน. บำรุง สร้างคุณภาพผล รสจัด สีจัด เนื้อแน่น น้ำหนักนักดี

บำรุงทางราก : บำรุงดิน, สร้าง/บำรุงจุลินทรีย์, ได้สารอาหารอินทรีย์-เคมี, สร้างความชุ่มชื้นหน้าดิน,

หมายเหตุ :
สูตรสหประชาชาติ .... ทางใบ : ไบโออิ-ไทเป-ยูเรก้า ใช้กับ ....
“พืชกินผล”
อายุสั้นฤดูกาลเดียว ประเภทพุ่มเตี้ย เถาเลื้อย ออกผลตลอดอายุ ตลอดปี ไม่มีรุ่น ....
“พืชยืนต้น” ไม้ผลยืนต้น อายุยืนนานหลายปี ทะวาย ออกผลตลอดปี ไม่มีรุ่น ....
“พืชยืนต้น” ไม้ผลยืนต้น อายุยืนนานหลายปี มีผลรุ่นเดียวในต้น ใช้เฉพาะ ไบโออิ. กับ ยูเรก้า. ....

- พริกทุกสายพันธุ์ต้องการ แคลเซียม ตั้งแต่เกิดถึงตาย ผลผลิตดี คุณภาพดี โรคน้อย การใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น เสริมด้วยแคลเซียม โบรอน ทางใบ เท่ากับให้แคลเซียมโดยตรง นอกจากนี้ แคลเซียม ช่วยสร้างเนื้อให้หนา รสชาติดี กลิ่นดี เผ็ดจัดดี น้ำหนักดี อายุฝากแผงได้นาน

- พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหยวก ใช้ยูเรก้า ปุ๋ยสูตรนี้ประสิทธิภาพ ขยายขนาด/หยุดเมล็ด/สร้างเนื้อ ผลจะใหญ่ ระวัง พริกชี้หนูหอมใหญ่เท่าพริกขี้หนูจินดา/ยอดสน พริกขี้หนูจินดา/ยอดสนใหญ่เท่าพริกชี้ฟ้า พริกชี้ฟ้าใหญ่เท่าพริกหยวก คนจะไม่ซื้อนะเพราะใหญ่เกิน

- โรคกุ้งแห้ง นอกจากเกิดจากเชื้อแอนแทร็คโนสแล้ว การขาดแคลเซียมก็เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
- พริกเหลือง เป็นอีกพริกหนึ่งที่ราคาดี น่าจะดีกว่าพริกชี้ฟ้า เช่นเดียวกันกับ พริกขี้หนูหอมกินกับข้าวขาหมู ราคาดีกว่าพริกขี้หนูจินดา/ยอดสน เช่นกัน ที่แน่ๆ พริกขี้หนูแห้ง ราคาว่าพริกขี้หนูสด

- พริกไม่ถูกกันกับ “ยาฆ่าหญ้า” อย่างมาก
- พริกใบหงิก เหลือง เป็นนานๆใบเล็กลงๆ นั่นเกิดจากเพลี้ยไฟนำเชื้อไวรัสมาให้ บอกแล้วว่า เชื้อไวรัสไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรใดในโลกแก้ได้ เป็นแล้วเป็นเลย เพราะฉนั้น “กันก้อนแก้” ดีที่สุด ใช้กาวเหนียว มายฟิกส์ ดักจับเพลี้ยไฟดีมากๆ .... ใช้สมุนไพรเผ็ดจัด +ไบโอเจ๊ต กำจัดเพลี้ยไฟ แต่มีข้อแม้ต้องฉีดตอนเที่ยงจึงจะได้ผลดี

-------------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©