-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 ม.ค. * คิดใหม่ทำใหม่ สำปะหลัง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 ม.ค. * คิดใหม่ทำใหม่ สำปะหลัง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/01/2023 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 ม.ค. * คิดใหม่ทำใหม่ สำปะหลัง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 ม.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 28 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 08 612x 382x
ข้อความ : ขอเรื่องสำปะหลังก้าวหน้าครับ

จาก : 09 167x 812x
ข้อความ : คิดใหม่ทำใหม่ ทำสำปะหลังตามแบบลุง

จาก : 08 623x 481x
ข้อความ : สำปะหลังใช้ปุ๋ยคอกอะไร

MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

405. ปลูกมันสำปะหลัง... ยุคทองของชาวไร่ที่นากลาง

พื้นที่การเกษตรที่บ้านในซุ้ง หมู่ 2 ต.นากลาง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ เป็นที่ราบสูงติดเขาหลวงที่ทอดยาวกั้นระหว่าง อ.โกรกพระ กับ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ สภาพของดินทั่วไปเป็นดินหนวดตากุ้ง หรือดินปนทราย ซึ่งมีธาตุอาหารต่ำมาก ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เพื่อการเกษตร เกษตรกรที่พอจะมีทุนอยู่บ้างก็จะลงทุนขุดกันเองในพื้นที่ทำกิน ช่วงหน้าฝนบางปีก็จะมีน้ำหลากจากเขาหลวงไปท่วมพืชผลทางการเกษตรบ้าง แต่น้ำก็มาเร็วและไปเร็วจึงเกิดความเสียหายน้อย ส่วนหน้าแล้งก็จะแล้งสมชื่อ จากสภาพเช่นนี้จึงไม่เปิดโอกาสให้เกษตรกรมีทางเลือกมากนักในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้หลายคนมีหนี้สินที่เกิดจากการลงทุนที่ล้มเหลวจำนวนมาก หลายคนมองไม่เห็นทางช่องทางที่จะหลุดพ้นจากหนี้สิน

นายธงชัย กาหา เกษตรกรวัย 44 ปี ผู้ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาทำไร่ระดับจังหวัด เมื่อปี 2552 และ นางชุติมา กาหา ภรรยาคู่ใจวัย 46 ปี ก็เป็นอีกครอบครัวหนึ่งที่ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน จากพื้นที่ทำกินที่มีอยู่ 57 ไร่ จึงเลือกทำการเกษตรได้เพียง 2 อย่าง คือ อ้อย 33 ไร่ และมันสำปะหลัง 12 ไร่ นอกจากนี้ยังได้เช่าพื้นที่เพื่อทำนาปีอีก 60 ไร่ เดิมทีเดียวได้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แต่ก็ประสบปัญหาภัยแล้งบ่อยครั้งทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ต่อมาจึงได้นำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังมาจาก จ.กำแพงเพชร ไปทดลองปลูกปรากฏว่าได้ผลดีกว่า นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนของเกษตรกรอีกหลายคน

การปลูกมันสำปะหลังตามวิธีของ คุณธงชัย กาหา จะเริ่มเตรียมดินด้วยการนำมูลวัวและแกลบไปใส่เพื่อปรับปรุงบำรุงดินทุกปีๆ ละ 500 - 1,000 กก.ต่อไร่ ก่อนการไถเตรียมดินราวปลายเดือน มี.ค. เสร็จแล้วก็จะเริ่มปลูกในช่วงเดือน เม.ย. จากนั้นก็ฉีดสารเคมีคุมวัชพืช

ส่วนการเตรียมท่อนพันธุ์ ก็เป็นผู้ริเริ่มการใช้ท่อนพันธุ์แบบตัดตรง วิธีนี้จะทำให้รากงอกออกมารอบๆ รอยตัด รากที่งอกออกมานั่นหมายถึงหัวมันสำปะหลังที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไป ส่วนในอดีตใช้วิธีการตัดเฉียงก็จะทำให้รากจะงอกเฉพาะส่วนปลายด้านล่างสุดเท่านั้นซึ่งจะน้อยกว่าการตัดตรง โดยตัดให้มีความยาว 30 ซม. ส่วนปลายยอดของต้นพันธุ์ให้ตัดทิ้งไป 50 ซม. และตัดส่วนโคนต้นพันธุ์ทิ้งไป 30 ซม. เพราะทั้งสองส่วนนี้ไม่เหมาะที่จะนำไปทำพันธุ

การปลูกจะใช้ระยะห่างระหว่างแถว 100 ซม. และระหว่างต้น 80 ซม. เป็นระยะที่เหมาะสมสามารถเข้าไปดูแลได้สะดวก หากปลูกระยะชิดมากกว่านี้จะทำให้เกิดการแย่งอาหารกันทำให้หัวมันเล็ก จากนั้นก็นำขี้หมูที่ตากแห้งแล้ว 1 กก. ผสมน้ำ 10 ลิตร นำท่อนพันธุ์ลงไปแช่ทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วจึงนำไปปลูก แล้วก็ใช้ฮอร์โมนที่หมักจากขี้หมูที่ตากแห้งแล้ว 1 กก. ผสมน้ำ 10 ลิตรทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วนำมากรองเอาเฉพาะน้ำไป จากนั้นนำน้ำหมักที่ได้ 1 ลิตร ผสมน้ำสะอาดอีก 10 ลิตร จึงนำฉีดเป็นฮอร์โมน 2 เดือนต่อครั้ง รวม 3 ครั้ง ก็จะทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี

เมื่อปลูกมันไปได้ 1 เดือน ก็ใส่ปุ๋ย สูตร 13-7-21 ด้วยการเจาะหลุมระหว่างแถวมัน จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วใช้ดินกลบเพื่อใส่ปุ๋ยค่อยๆ ละลายเป็นอาหารของมันต่อไป แล้วจะเป็นหน้าที่ของธรรมชาติ คือ ฝน ที่จะตกลงมาเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดิน โดยจะไปขุดหัวมันในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. ดูราคามันในช่วงนั้นประกอบการขุดด้วย ถ้าหากช่วงนั้นราคาตกต่ำก็สามารถปล่อยให้เป็นมันข้ามปี เพื่อไปขุดในเดือน ส.ค. ปีเดียวกันก็ได้เช่นเดียวกัน

นายธงชัย กาหา ได้ให้ นางชุติมา กาหา ช่วยจัดทำบัญชีครัวเรือน จึงทำให้ทราบรายรับ – รายจ่าย และกำไร-ขาดทุน ได้อย่างชัดเจน ในปีการผลิต 2550/51 ได้ผลผลิต 47 ตัน ราคาตันละ 2,000 บาท เงินลงทุน 25,100 บาท ได้กำไร 68,900 บาท

ปีการผลิต 2551/52 ได้ผลผลิต 28 ตัน ราคาตันละ 1,800 บาท เงินลงทุน 26,420 บาท ได้กำไร 23,980 บาท เนื่องจากช่วงที่ขุดหัวมันนั้นราคาตกต่ำ จึงขุดมันเพียงบางส่วนที่เหลือได้ปล่อยเป็นมันข้ามปี

ปีการผลิต 2552/53 ได้ผลผลิต 54 ตัน ราคาตันละ 1,900 บาท เงินลงทุน 25,620 บาท ได้กำไร 76,980 บาท

ด้านนายปรีชา บำรุงศรี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ซึ่งรับผิดชอบการทำงานที่ ต.นากลาง กล่าวว่า จากผลงานที่ปรากฏทำให้ อบต.นากลาง สนับสนุนงบประมาณมาให้กลุ่มผู้ปลูกมัน ต.นากลาง ซึ่งมีสมาชิก 35 คนมี นายธงชัย กาหา เป็นประธานกลุ่ม เพื่อจัดทำเป็นแปลงเรียนรู้ทดสอบพันธุ์มันสำปะหลัง การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม และโรคแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่ระบาดมากในพื้นที่อื่น เรื่องนี้ได้มีการวางแผนเตรียมรับมือเอาไว้แล้ว

ส่วน นายตรีเดช ศรีเจริญพันธ์ เกษตรอำเภอโกรกพระ กล่าวว่า การปลูกมันสำปะหลังที่นี่เริ่มทำมาแล้วหลายปี โดยในปีที่ผ่านมาได้จัดทำแปลงทดลองพันธุ์ร่วมกับศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ทดลองปลูกมันสำปะหลัง 5 สายพันธุ์ คือ ระยอง 5, ระยอง 7, ระยอง 9, ห้วยบง 60 และ CMR 159 วิธีการดูแลรักษาที่เหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งเมื่อครบกำหนดก็ได้เชิญสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลัง ต.นากลาง จำนวน 35 คน ไปสังเกตการณ์ปรากฏว่า ระยอง 7 ได้ผลผลิต 1,105 กก.ต่อไร่ CMR 159 ได้ผลผลิต 1,032 กก.ต่อไร่ ระยอง 9 ได้ผลผลิต 1,013 กก.ต่อไร่ ห้อยบง 60 ได้ผลผลิต 974 กก.ต่อไร่ และระยอง 5 ได้ผลผลิต ระยอง 963 กก.ต่อไร่ จากผลการทดลองปรากฏว่า ทำให้ชาวไร่นากลางตื่นตัวกับพันธุ์ระยอง 7 และ CMR 159 มาก ในปีนี้ซึ่งจะได้เร่งขยายทั้งสองสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้มากที่สุด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 081-281-9907

ธนภัทร ภคสกุลวงศ์
http://www.naewna.com/news.asp?ID=223046


427. การใช้ขี้หมูในมันสำปะหลัง
นายภานุพงศ์ สิงห์คำ นักวิชาการเกษตร ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดพิษณุโลก
ที่อยู่เลขที่ 9 หมู่ที่ 10 ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้คิดค้นวิธีการใช้มูลสัตว์กับต้นมันสำปะหลัง ซึ่งใช้เป็นปุ๋ยทางดินและใช้เป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบก็ได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางดิน
มูลสัตว์ทุกชนิดเช่นมูลสุกร มูลไก่เนื้อ มูลไข่ไก่ มูลโคเนื้อ โคนม สามารถใช้เป็นปุ๋ยทางดินแก่ต้นมันสำปะหลังโดยปกติแนะนำให้ใช้ในอัตรา 500 กิโลกรัม มูลแห้งต่อไร่ ยกเว้นมูลไก่เนื้อที่มีแกลบดินผสมจะต้องเพิ่มอัตราการใช้เป็น 1,000 กิโลกรัม มูลแห้งต่อไร่ การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยควรใส่มูลสัตว์บนดิน หว่านกระจายให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบ ก่อนการปลูกพืช 1-2 เดือนเพื่อให้เกิดการย่อยสลายของธาตุอาหารในมูลสัตว์และเป็นประโยชน์ต่อต้นพืชทันที เมื่อปลูกต้นมันสำปะหลัง

2. การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางใบ
มูลสุกรมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นปุ๋ยทางใบแก่มันสำปะหลังมาก เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร สูงและสามารถหาได้ทั่วไป การทำน้ำสกัดมูลสุกรเพื่อเป็นปุ๋ยทางใบแก่ต้นพืชสามารถทำได้โดย การแช่มูลสุกรแห้งกับน้ำทั่วไปในอัตราส่วน มูลแห้ง : น้ำ = 1 : 10 โดยน้ำหนักบรรจุในมุ้งเขียว หมักแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำสุกรที่บรรจุในมุ้งเขียวออกจากถังแช่นำน้ำสกัดมูลสุกรไปใช้ได้เลย หรือเก็บไว้ใช้ได้นานๆ โดยใส่ถังหรือแกลลอน แล้วปิดฝาให้สนิท ซึ่งจะทำให้กลิ่นลดลงเรื่อยๆจนในที่สุดไม่มีกลิ่นเลยส่วนกากที่เหลือให้ใส่เป็นปุ๋ยดิน


น้ำสกัดมูลสุกรสามารถใช้เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง :
1. การแช่ท่อนพันธุ์มันสำประหลังเป็นเวลา 1 คืนก่อนปลูกลงดิน ช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้ท่อนพันธ์มันสำปะหลัง ทำให้อัตราการงอกของต้นดีขึ้นและเร็วขึ้น ต้นมันแข็งแรง โตเร็ว อัตราการรอดสูงการออกรากดี โอกาสผลผลิตสูงมีมาก

2. เมื่อต้นอ่อนงอกแล้วให้ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบอย่างต่อเนื่องทุกๆ 1 เดือนจนกระทั่งมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือนหรือถ้าขยันมากก็อาจฉีดพ่นต่อไปอีก ซึ่งจะทำให้มันสำปะหลังเติบโตเร็ว ใบคลุมดินเร็ว มีการสะสมธาตุอาหารในใบมาก ใบมีสีเขียวจัด การเกิดรากสูง จึงมีโอกาสทำให้มันมันสำปะหลังมีหัวมาก และเกิดการสังเคราะห์แสง และการสร้างแป้งได้มากในมากในระยะท้ายด้วย

การให้ปุ๋ยแก่มันสำปะหลังจะได้ผลดีมากขึ้นหากต้นพืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอด้วย การให้ปุ๋ยในช่วงฤดูฝนจะให้การตอบสนองดีกว่าช่วงฤดูแล้ง แต่ถ้าให้ปุ๋ยในช่วงฤดูแล้งจะมีการให้น้ำ แก่ต้นพืชอย่างเพียงพอจะทำให้พืชให้ผลผลิตดีที่สุด

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.พิษณุโลก
http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=70118&action=edit&joomla=1



ขี้หมูหมักด่วน 8 ชั่วโมงใช้ดี เพื่อไม้ผล ปรับปรุงดิน
สวัสดีปีใหม่ครับ ท่านผู้อ่านทุกท่านขอให้ทุกท่านมีความสุขกันตลอดไปนะ ช่วงนี้มีเรื่องดีๆ มาฝาก ก็ได้กำลังใจจากผู้อ่าน และเกษตรจังหวัดชัยนาท (นายรังสรรค์ กองเงิน) เพราะท่านเกษตรจังหวัดสนใจเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน บอกว่าถ้าดินดี อะไร ๆ ก็ลดรายจ่ายได้เยอะ เพราะฉนั้นถ้าต้องการจะส่งเสริมเกษตรกรลดต้นทุน ก็ต้องแนะนำเรื่องปรับปรุงดินก่อน เนื่องจากสมัยนี้ดินโทรมมากๆ แต่ที่แน่ๆ ผมได้ออกไปเยี่ยมเกษตรกร (ขอให้ได้ออกจากสำนักงานละชอบ) ก็สนุกละครับ เหนื่อยไม่ว่าขอให้ได้เรื่อง(เกษตร) และภาพกลับมาฝากผู้อ่าน

ตอนนี้เป็นเรื่องของขี้ คือ ขี้หมู ที่มักจะเป็นปัญหาต่อเจ้าของฟาร์มและชุมชน ด้วยกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ดังนั้นตึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของฟาร์มที่จะต้องกำจัดไม่ให้กลิ่นออกไปรบกวนผู้อื่น แต่การจะสร้างบ่อกำจัดหรือกองทิ้งไว้จะต้องเสียพื้นที่และการป้องกันกลิ่นออกมานั้นคงยากที่จะควบคุมแต่จากการติดตามเพื่อหาความรู้มาฝากผู้อ่าน จึงได้พอทำขี้หมูหมักด่วน 8 ชั่วโมงใช้ได้ดีกับไม้ผล อีกทั้งถ้าตากแห้งก็ไปใช้ได้ดีกับนาข้าว เพราะถ้าใช้ในนาข้าวลักษณะเปียกคงยากลำบากแก่การขนส่ง

นายบุญชู อินทร์ประสิทธิ์ เจ้าของแปลงศูนย์การเรียนรู้การเกษตรพอเพียง วัย 51 ปี บ้านเลขที่ 58 ปี บ้านท่าสะตือ ต.ห้วยกรดพัฒนา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ได้ทำกิจกรรมการเกษตรหลายอย่างในพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน คือ แม่หมู 4 ตัว หมูเนื้อ 40 ตัว มะนาว 1 ไร่ กระท้อน 12 ต้น ฝรั่งแป้นสีทอง 1 ไร่ มะม่วง 24 ต้น แตงกวา 1 งาน และไผ่หวานอีก 40 ต้น การทำการเกษตรทุกอย่างนั้นไม่พบปัญหามากนัก เพราะได้ดำเนินการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน แต่ที่มีปัญหามากคือหมู เพราะขี้หมูส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านและเมื่อล้างลงร่องระบายน้ำ ทำให้น้ำเสียและคลองตื้นเขิน จึงได้เร่งรีบหาความรู้และทดลองการกำจัดกลิ่นขี้หมูเพื่อไม่ให้เป็นที่รังเกียจของเพื่อนบ้าน

การประยุกต์ใช้ได้จากการเรียนรู้การผลิตน้ำหมักชีวภาพด้วยสาร พ.ด.6 โดยใช้ผลไม้สุก กากน้ำตาล อย่างละ กก. และน้ำสะอาด ลิตร ต่อสาร พ.ด. 6 1 ซองหมักไว้ จนได้น้ำหมักชีวภาพใช้ล้างคอกหมูกำจัดกลิ่นเหม็นในคอกได้ดีจึงนำมาประยุกต์ใช้กับการหมักขี้หมู เพื่อใช้ในระนะเวลารวดเร็ว เพราะขาดสถานที่หมัก เนื่องจากภาชนะหมักจะใช้รถเข็นใส่ขี้หมูจากคอก เมื่อหมักเสร็จแล้วจะเข็นเทลงสวนไม้ผล หรือนำไปตากให้แห้งเพื่อใส่ในแปลงนาข้าวต่อไป


ขั้นตอนการหมัก
อัตราส่วนที่ใช้คือ ขี้หมูสด 40 กก. น้ำหมักชีวภาพ พ.ด.6 จำนวน ลิตร ปุ๋ยเคมี 16-20-0 2 กำมือคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง นำไปราดพื้นบริเวณทรงพุ่มไม้ผล อาจเกิดหนอนแมลงวันแต่อายุของหนอนจะมากขึ้นอีก 10 วัน ตัวจะโตกลายเป็นอาหารของนก หรือกวาดลงน้ำเป็นอาหารปลา เพราะขี้หมูจะแห้งพอดี แต่ถ้าใส่ขี้หมูมากหรือหนามากหนอนจะไม่ฟักออกเป็นแมลงวันและตายขณะเป็นตัวหนอน จากการทำและการใช้มา 2 ปี ไม่พบปัญหากับพืชแต่พบแต่ผลดี อีกทั้งจากการทดลองถ้าใช้ขี้หมูสดที่ไม่ผ่านการหมักราดลงพื้นบริเวณทรงพุ่มไม้ผลเช่นเดียวกับขี้หมูผ่านการหมักฝรั่งจะตายเพียงไม่นาน เพื่อให้ได้ความรู้จึงยอมเสียฝรั่งที่ให้ผลแล้วจำนวน 2 ต้น คุณบุญชูกล่าว

ข้อดีของการใช้ขี้หมูหมัก
สามารถลดสภาวะกลิ่นเหม็นจากขี้หมู ลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก จะมีก็เพียง 2 กำมือต่อขี้หมูหมัก 40 กก. ผลผลิตและรสชาติของฝรั่งดีขึ้น อีกทั้งเมื่อนำไปตากแดด สามารถนำไปผลิตเพื่อต่อเชื้อไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากและโคนเน่าได้อีกด้วย

ที่มา : บันทึกเรื่อง...เกษตรดีที่ชัยนาถ http://gotoknow.org/blog/chud02/155214



คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

ตอบ :
จากหนังสือ "หัวใจเกษตรไท ห้อง 3 เทคโน"
สำปะหลัง .... เตรียมดิน เตรียมแปลง แบบเกษตรอินทรีย์-เคมี สำหรับพืชไร่โดยเฉพาะ :
สำปะหลัง 60 ตัน เอาแค่ 30 ตัน :
เตรียมท่อนพันธุ์ :

- เตรียมถังขนาดใหญ่ ใส่น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี. .... สังกะสี ในไบโออิ, โบรอน ในแคลเซียม โบรอน ส่งเสริมการงอกของรากของท่อนพันธุ์, ไคโตซาน ในยูเรก้า ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับท่อนพันธุ์

- ตัดท่อนพันธุ์ตั้งฉาก ท่อนพันธุ์ยาว 1 ศอกแขน ตัดแล้วร่วงลงน้ำทันที
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำ 5-6 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปปลูก
- ปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งฉากกับพื้น ลึกลงดิน 3 ใน 4 ส่วนของความยาว (ความยาว 1/2 ศอกแขน)

บำรุง :
ทางใบ :
น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 5-10-40 (200 ซีซี.) + สารสมุนไพร 1 ล. ให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบ ทุก 15 วัน

ทางราก : ให้น้ำตามความเหมาะสมเป็นการให้น้ำไปในตัว +น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล./ไร่) เดือนละครั้ง

หมายเหตุ :
- บำรุงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงขุด
- การให้ น้ำ + ปุ๋ย “ทางใบ” เป็นการสร้างความชื้นโดยตรง กับการให้ น้ำ+ ปุ๋ย หรือน้ำ เปล่า “ทางราก” น้ำที่ระเหยจากดินขึ้นไปบนอากาศจะเป็นการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งนอกจากช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์ของต้น ส่งผลให้ผลผลิตดีอีกด้วย

- สำปะหลังที่ไม่มีการให้น้ำ ต้นเรียวเล็ก-ใบเล็ก-จำนวนใบน้อย ที่ปลายยอด นอกจากผลผลิตได้น้อย โรคมากแล้ว เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อก็ไม่ดี ผิดกับสำปะหลังที่ได้ “น้ำ+ปุ๋ย” ทั้งทางใบทางราก มีใบมาก สังเคราะห์อาหารได้มาก ผลผลิตมาก โรคน้อย ต้นใหญ่สมบูรณ์ ใช้หรือจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ราคาอีกด้วย

สำปะหลังแบบก้าวหน้า :
1. ปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 1” ยาวตามร่องปลูกแบบเดิม สำปะหลัง 1 กอจะให้หัว 1 พวง ถ้าปรับใหม่เป็นปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 2” ยาวตามร่องปลูกเดิม เป็นสำปะหลัง 2 กอ เท่ากับได้หัวสำปะหลัง 2 พวง บนพื้นที่เท่าเดิม .... ติดสปริงเกอร์ ให้น้ำ ให้ปุ๋ยทั้งทางใบทางราก รุ่นเดียวที่ได้ทุนคืน ถ้าไม่มีสปริงเกอร์จะลากสายยางก็ได้ ที่สำคัญขอให้สำปะ หลังได้น้ำได้ปุ๋ยก็แล้วกัน

2. ปลูกสำปะหลังแบบแถวตอนเรียง 2 แต่ละกอทำเป็น “สำปะหลังคอนโด” โดย 1 กอให้ 2-3 พวง บำรุงเต็มที่ตามความเหมาะสมของสำปะหลัง จะได้หัวสำปะหลังมากกว่า 2 พวง/กอ บนพื้นที่เท่าเดิม .... จากสำปะหลัง 1 กอได้หัว 1 พวง ถ้าสำปะหลัง 2 กอ 3 กอ 4 กอ ได้หัวกอละ 1 พวง บนเนื้อเท่าเดิมจะได้ไหม ?

3. ระยะยังไม่ลงหัว บำรุงต้นให้ลำต้น “สูง-ใหญ่-ใบมาก” เมื่อถึงระยะเริ่มลงหัวให้ตัดต้นไปขายก่อน เหลือตอแล้วบำรุงตอสร้างต้นใหม่ ซึ่งการบำรุงตอสร้างต้นใหม่นี้ จะไม่ส่งผลเสียต่อการสร้างหัวแต่อย่างใด

สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง :
- สำปะหลัง อู่ทอง สุพรรณบุรี “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง”.......... ได้ 60 ตัน /ไร่

- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-เทวดาเลี้ยง” ................. ได้ 3 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” ..................... ได้ 10 ตัน /ไร่

- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-เทวดาเลี้ยง” ............... ได้ 6 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-คนเลี้ยง” ................... ได้ 20 ตัน /ไร่

4. ปลูกสำปะหลังแบบก้าวหน้า 10 ไร่ ลงทุนให้น้ำกับผลผลิตที่ได้ คุ้มเกินคุ้ม
5. ออกแบบสร้างอีแต๋นอีต๊อกบรรทุกน้ำ มีอุปกรณ์เครื่องมือให้น้ำ แรงงานคนเดียว ให้น้ำเปล่า หรือน้ำ + ปุ๋ย ใช้ในแปลงตัวเองแล้ว รับจ้างแปลงข้างๆเป็นรายได้ กะรวยด้วยกัน

6. ได้ดินดี เลิกสำปะหลัง จะปลูกอะไรก็ได้ .... ได้อีแต๋น บรรทุกน้ำไว้ใช้งาน ให้น้ำกับพืชอะไรก็ได้
7. อายุสำปะหลัง ตั้งแต่เริ่มเตรียมดินเตรียมแปลง ปลูกถึงขุด รวมเวลา 8 เดือน ติดสปริงเกอร์แบบถอดประกอบได้ ติดตั้งก่อนปลูก ก่อนขุดก็ถอดเก็บ ทำสำปะหลังก้าว หน้า รุ่นเดียวได้ทุนคืน ได้กำไรด้วย

หมายเหตุ :
- ช่วงหน้าแล้ง สปริงเกอร์ฉีดพ่นน้ำจากใบลงถึงราก นอกจาก ช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู (เพลี้ยตัวนี้มาช่วงหน้าแล้ง) แล้ว ยังช่วยบำรุงต้นสำปะหลังตาม ปกติ และบำรุงสำปะหลังช่วงแล้ง ป้องกันอาการกินตัวเองของสำปะหลังได้อีกด้วย

- สำปะหลังที่บำรุงเต็มที่ ได้ลำต้นสมบูรณ์ ใหญ่ยาว ขายเป็นต้นพันธุ์ดี
- สู้กับเพลี้ยแป้งสำปะหลังให้ได้ทั้ง ป้องกัน/ฆ่าเพลี้ย แถมบำรุงสำปะหลังด้วย “น้ำ” เท่านั้น ประหยัดและ ประโยชน์สูงสุด น้ำเปล่าๆ หรือ “น้ำ + สารสมุนไพร” หรือ “น้ำ + สมุนไพร + ปุ๋ย” ....สมุนไพรก็ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เมล็ดน้อยหน้า หัวกลอย สะเดา เมล็ดมันแกว ....ปุ๋ยก็ แม็กเนเซียม. สังกะสี. 5-10-40 (ไบโออิ) ยืนพื้น ....

ทุกครั้งที่ใช้ให้ +น้ำยาล้างจาน +ไบโอเจ๊ต ฉีดพ่นให้เปียกโชกเพื่อน้ำยาล้างจานซึมทะลุแป้งเข้าถึงตัวเพลี้ยที่อยู่ข้างใน ช่วงระบาดหนักให้ฉีดพ่นแบบวันเว้นวัน ช่วงยังไม่ระบาดอาจจะห่างหน่อยตามความเหมาะสม

- ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสำปะหลังชอบมากๆกับ “ความแห้งแล้ง” แล้งเมื่อไรมาเมื่อนั้น ออกลูกออกหลานขยายพันธุ์เต็มไร่ .... ในทางกลับกันเพลี้ยแป้งสำปะหลังไม่ชอบเอามากๆ กับ “ความชื้น” ฝนตก ให้น้ำ สร้างความชื้นขึ้นมา เพลี้ยแป้งในแปลงตาย แถมแปลงข้างเคียงก็ไม่เข้ามาอีกด้วย เมื่อรู้นิสัยเพลี้ยแป้งว่าไม่ชอบน้ำก็ให้น้ำซี่ นอกจากช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งได้แล้วยังมีผลดีต่อต้นสำปะหลังอีกด้วย

- ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ สำปะหลังต้องการน้ำระดับ “ชื้น” จากปริมาณน้ำ ชื้น/ชุ่ม/โชก/แฉะ/แช่ ....

สังเกตุ : ฝนดี-ฝนพอดี-ฝนสม่ำเสมอ สำปะหลังแตกใบใหม่ เพลี้ยแป้งไม่มี เมื่อรู้ว่า สำปะหลังชอบฝนแต่เพลี้ยแป้งไม่ชอบฝน ถ้าฝนไม่ตกคนก็ทำเป็นฝนตกซะเอง โดยการฉีดพ่นน้ำเข้าไป ก็ได้ .... ความแห้งแล้งเป็นภาวะจำยอมโดยธรรมชาติ แม้จะต้องซื้อน้ำจากที่อื่นมาให้แก่สำปะหลังก็ต้องยอม มิเช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลย แต่หากได้ให้น้ำ นอกจากสู้กับเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย ....

นี่แหละการเกษตรที่ น้ำต้องมาก่อนน้ำต้องมาก่อนและน้ำต้องมาก่อน ....... (ย้ำจัง ! )

- การลงทุนติดสปริงเกอร์แบบหัวพ่นสูงเหนือยอด (สูง 1.5 ม.) ถอดประกอบได้ แบ่งเป็นโซนๆ มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หลังจากทำแปลงชักร่องเสร็จก็เริ่มให้น้ำได้ และให้ “น้ำ + ปุ๋ย” บำรุงต้นตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงขุด ก่อนขุดก็ให้ถอดสปริงเกอร์ออกไว้ใช้งานใหม่ได้ .... หากไม่ใช้ระบบสปริงเกอร์ก็ต้องมีเครื่องมือในการให้น้ำแบบอื่นที่เหมาะสม เครื่องมืออะไรก็ได้ที่สามารถส่งน้ำไปให้สำปะหลัง ณ เวลาที่ต้องการและจำเป็น

- การปลูกสำปะหลังแบบเดิม (เตรียมดิน เตรียมแปลง เตรียมท่อนพันธุ์ การใส่ปุ๋ย ไม่มีการให้น้ำ) ปีไหนฝนดี ได้ผลผลิต 4-6 ตัน/ไร่ ถ้าฝนไม่ดี ได้ผลผลิต 2-4 ตัน/ไร่

สำปะหลังกับระบบน้ำ :
ระบบน้ำหยด :

- ระบบน้ำหยด หมายถึง น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ตามท่อไปถึงหัวน้ำหยด กรณีนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่หัวต้นทางต้องหยด (ไหล) แรงกว่าหัวปลายทางแน่ นั่นคือ ปริมาณน้ำที่พืชแต่ละต้นได้รับไม่เท่ากัน โดยต้นแรกได้รับมากกว่าต้นท้ายปลายทาง

- น้ำที่ออกมาจากหัวน้ำหยด 1 หัว ลงพื้นได้เนื้อที่กว้างราว 30 x 30 ซม. กรณีพื้นที่สำปะหลัง 1 กอ หรือ 1 หัว กว้างราว 50 x 50 (ขนาดกลาง) ถึง 80 x 80 ซม. (ขนาดใหญ่) ปริมาณน้ำที่หยดลงมาจึงไม่ทั่วทรงพุ่ม กรณีนี้ต้องเพิ่มจำนวนหัวต่อต้นให้มากขึ้นจนเต็มพื้นที่

- ระบบน้ำหยดลงไปเฉพาะที่พื้นดิน ช่วงหน้าแล้งที่เพลี้ยแป้งสีชมพูระบาดทางใบ ต้องใช้เครื่องมือฉีดพ่นโดยเฉพาะ ..... ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสีชมพู ชอบความแห้งแล้งแต่ไม่ชอบความชื้น แต่น้ำจากหัวน้ำหยดที่พื้นดินไม่สามารถส่งความชื้นขึ้นไปบนต้นสำปะหลังได้ จึง ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพูไม่ได้

- ระบบน้ำหยด ไม่สามารถส่ง ปุ๋ย/ยา ไปกับระบบน้ำหรือทางท่อได้
สรุป :
- ระบบน้ำหยดได้ประสิทธิภาพเพียงให้น้ำทางรากเท่านั้น
- น้ำที่ไหลไปตามท่อ จากที่สูงลงไปที่ต่ำ จำนวนหัวน้ำหยดมาก ต้องใช้ เวลา/แรงงาน มาก ในการตรวจว่าหัวไหนอุดตันหรือไม่

ระบบหัวพ่นน้ำ :
- ติดสปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง ถอด/ประกอบ ได้ นั่นคือ หลังเตรียมดิน
- เตรียมแปลงเสร็จให้ประกอบ ติดสปริงเกอร์แต่ละครั้งใช้งานนาน 8-9 เดือน ..... แปลงผักบางที่ ถอด/ประกอบ สปริงเกอร์ครั้งละ 3 เดือน (เตรียมแปลง ถึง เก็บเกี่ยว)

- หัวพ่นน้ำรัศมี 4 ม. พ่นน้ำออกไปโดนใบแล้วตกลงดิน เท่ากับเป็นการให้น้ำทางรากไปในตัว
- สปริงเกอร์มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง

- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย

ระบบโอเวอร์เฮด :
- ใช้แบบเคลื่อนที่ เข้า-ออก แปลงได้ทุกเวลาที่ต้องการ
- รัศมีพ่นน้ำอยู่ที่รุ่นหรือแบบ
- มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง

- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย เหมือนสปริงเกอร์แบบหัวพ่น

หมายเหตุ :
- ระบบน้ำหยดเหมาะสำหรับพืชในถุง หรือภาชนะปลูก เพราะสามารถควบคุมปริมาณน้ำทั้งหมดให้อยู่ในพื้นที่ๆต้องการได้ และระบบรากอยู่ในพื้นที่จำกัดจึงรับน้ำได้

- ข้ออ้างที่ว่า น้ำหยดเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัด ในความเป็นจริงนั้น ต้นพืชไม่รู้จักประหยัด เขาใช้เท่าที่ใช้จริงกินจริงเท่านั้น หากต้องการให้เขาโตก็ต้องให้เขา

----------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©