-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 13 ม.ค. ....... * นาข้าว นาข้าวล้มตอ นาข้าวล้มตอซัง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 13 ม.ค. ....... * นาข้าว นาข้าวล้มตอ นาข้าวล้มตอซัง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/01/2023 5:01 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 13 ม.ค. ....... * นาข้าว นาข้าวล้มตอ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 13 ม.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 14 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 08 723x 912x
ข้อความ : ขอ เทคนิค เทคโน นาข้าวคนรุ่นใหม่ครับ

จาก : 08 291x 410x
ข้อความ : นา 20 ไร่ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี ทำสูตรไหนครับ

จาก : 06 425x 281x
ข้อความ : นาข้าวล้มตอซัง นาข้าวล้มตอซัง นาข้าวล้มตอซัง ครับผม

จาก : 09 792x 419x
ข้อความ : พ่อให้ทำนาข้าวล้มตอซัง ประหยัดต้นทุน เอาจริงครับ

จาก : (089) 719-52xx
ข้อความ : ลุงครับ นาข้าวรอบหน้าพ่อให้ทำเอง คิดในใจ ไม่ทำแบบพ่อเพราะขาดทุนกำไร แต่ทำนาข้าวล้มตอซัง บำรุงประณีต ตามแบบลุงครับ

จาก : (062) 924-17xx
ข้อความ : อยากรู้ตัวอย่างคนไม่ทำนาแบบเก่าแต่ทำแบบใหม่ ขอรายละเอียดมากครับ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

7 สาเหตุที่ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นรวยกว่าชาวนาไทย รับรายได้ต่อหัวถึงปีละ 3 ล้าน:

ชาวนาเป็นอาชีพ หลักของคนไทยที่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยในประเทศเราทำนา ปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว แต่ทำไมเมื่อนึกถึงชาวนาแล้วก็ยังนึกถึงความจน โดยภาพของชาวนาส่วนใหญ่ที่ต้องทำนาเลี้ยงปากท้อง และขายข้าวเพื่อใช้หนี้สินที่หยิบยืมมา ชีวิตวนอยู่แค่นี้ ทำให้ลืมตาอ้าปากกันไม่ได้สักที แตกต่างจากชาวนาของประเทศญี่ปุ่นที่เราเห็นมักจะเป็นคนที่ร่ำรวยมากๆ

โดยทางเพจ ปลั๊กไทย by มหาชะนี ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้พร้อมวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นร่ำรวย โดยระบุว่า ชาวนาญี่ปุ่น ทำนาปีละ 1 ครั้ง รายได้เฉลี่ยต่อหัวได้ถึงปีละ 3 ล้านบาท มาดูกันว่าอะไรทำให้ชาวนาญี่ปุ่นถึงร่ำรวย

1. ชาวนาญี่ปุ่นมองว่าการทำนาคือการทำธุรกิจ โดยที่ตนเองเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงมีการพัฒนาบริหารการจัดการเพื่อลดต้นทุน เพราะการลดต้นทุนก็คือการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง โดยชาวญี่ปุ่นทำนาเพราะอยากทำ และมองเห็นโอกาสสร้างเงินจากการทำนา เป็นการทำนาอย่างมีการวางแผน

2. ชาวนาญี่ปุ่นมองถึงการลดต้นทุนและการเพิ่มผลผลิตเป็นหลัก มีการเก็บรักษาฟางข้าวและใช้การไถกลบ ซึ่งทำให้เพิ่มไนโตรเจนในดินคิดเป็น 20% เลยทีเดียว ต่างจากชาวนาไทยที่ใช้วิธีการเผาฟางข้าว แล้วซื้อปุ๋ยมาเติมเอง ซึ่งมันดีแค่เพียงระยะต้น ๆ เท่านั้น และยังเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้นด้วย

3. ชาวนาญี่ปุ่นมีขั้นตอนการจัดการน้ำที่ดี รู้ถึงการปล่อยน้ำเข้าและการระบายน้ำว่าช่วงไหนเป็นช่วงที่ข้าวต้องการอย่างเหมาะสม และให้ความสำคัญในการรักษาความชุ่มชื้นในดินอย่างมาก

4. หน่วยงานรัฐของญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างมาก และสนับสนุนชาวนาญี่ปุ่นตลอด เช่นการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว การวิจัยในระดับดีเอ็นเอ และมีเทคโนโลยีการเพาะปลูกมาซัพพอร์ตชาวนาอยู่เสมอ

5. การกำหนดเขตการค้าจากทางรัฐ สมมติว่า ถ้าอยากได้ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ ก็ต้องไปซื้อที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ไม่มีการเอามาขายข้ามเขตกัน

6. รัฐบาลญี่ปุ่นซัพพอร์ตการกู้เงินปลอดดอกเบี้ยให้ชาวนา รวมไปถึงการสนับสนุนอุปกรณ์การเกษตรให้นำไปใช้ก่อน ผ่อนใช้ทีหลัง

7. รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้ปลูกข้าวในประเทศให้มากที่สุด เนื่องจากเคยเกิดสภาวะสงคราม ข้าวไม่พอบริโภค รัฐบาลจึงอุ้มและประกันราคาข้าวให้ได้สูงที่สุด โดยคนญี่ปุ่นยอมซื้อข้าวแพง และเป็นข้าวปลูกในประเทศ แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่แคร์ เพราะชาตินิยม และคิดว่าข้าวของประเทศตัวเองดีที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐก็ไม่ได้ปล่อยปละละเลย ก็ควบคุมไม่ให้ปริมาณข้าวล้นตลาดเช่นเดียวกัน

"ที่สำคัญที่สุดเลยคือรัฐบาลญี่ปุ่นกีดกันการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศครับ คือ ต่างชาติแทบจะไม่มีโอกาสส่งข้าวเข้าไปแข่งในตลาดข้าวใน ปท ญี่ปุ่นได้เลย ที่เข้าไปได้ก็ต้องขายราคาที่สูงมากเพราะถูกเก็บภาษีนำเข้าที่สูง อันนี้คือสาเหตุหลักเลย ที่เหลือเป็นเพียงส่วนประกอบ ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นแทบจะไม่มีคู่แข่งในตลาดประกอบกับการปลูกข้าวในญี่ปุ่นได้ผลผลิตที่จำกัดมากเพราะพื้นที่ราบเหมาะกับการปลูกข้าวมีน้อย ก็คือชาวนาเป็นผู้ผูกขาดเลยล่ะครับ"

https://kaijeaw.in.th/518819/


บ่น :
* ทำนาปลูกข้าว 1 ปี 2 รุ่น, 2 ปี 4 รุ่น หรือ 1 ปี 3 รุ่น 2 ปี 6 รุ่น มีคนทำได้ ทำมานานแล้วด้วย .... ทำนาได้คือได้ ไม่ได้คือเสีย ได้กับเสียขึ้นกับน้ำที่พระเจ้าให้มาเท่านั้น

ประเทศไทยไม่แล้งก็ท่วมไม่ท่วมก็แล้ง ฝนแล้งเครื่องบินฝนหลวงขึ้นบิน บนท้องฟ้าไม่มีความชื้น ฝนจึงไม่ตก น้ำท่วมรัฐบาลสั่งสูบน้ำออก .... ลงท้าย ทั้งท่วมทั้งแล้ง เสียหายทั้งคู่

ถึงจุดนี้ วิถีที่คนในกระจกจะช่วยได้คือ ปีที่ได้ ให้ได้จริงๆ ได้มากๆ ปีที่เสีย คือ เสียเท่าไหร่ก็เท่านั้น น้าวข้าว 2 ปี 4 รุ่น ได้ 3 รุ่น เสีย 1 รุ่น .... หรือ 2 ปี 6 รุ่น ได้ 5 รุ่น เสีย 1 รุ่น

* นาข้าวคนทำได้รู้ได้เห็นแต่ไม่ยอมรับเพราะกลัวเสียศักดิ์ศรี เกมส์นี้ ถ้ากลัวเสียศักดิ์ศรีไม่ยอมทำตามเขาก็เอาแนวของเขามา+กับแนวของคนอื่น เอามาต่อยอดขยายผลเป็นสูตร ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง

* นาข้าวได้ข้าวมาแล้วโรงสีตัดราคา ทุกรายการที่โรงสีตัดราคา ที่นี่สีสันชีวิตไทยบอกหมดแล้ว เปลี่ยนปุ๋ย/เปลี่ยนวิธี ไม่ทำไม่ยอมรับ ลองก็ไม่ลอง ทำแบบเดิมๆ ผลก็เลยแบบเดิมๆ ขาดทุนกำไร ขาดทุนจริงๆ

* ปรัชญาเกษตร ปุ๋ย-ยา-เทคนิค-เทคโน-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน รายละเอียดวิธีทำ บอกแล้ว ทั้งพูด ทั้งเขียนเป็นหนังสือ เหลืออย่างเดียว ทำให้ดู เป็นแปลลงสาธิต ทำไม่ได้เพราะไม่มีพื้นที่ทำ กับไม่มีจิตรอาสา รับหลักการไปทำ

* ทำแล้วขาย ขายได้เท่าเดิมได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนต่ำกว่า นันคือ กำไรมากกว่า
* ต้นทุนที่ต้องจ่าย คือ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ค่าเชื้อเพลิง .... ต้นทุนที่ไม่ต้องจ่าย คือ ค่าที่ ค่าเวลา ค่าโอกาส
* ชาวนารุ่นใหม่ แปรรูปสร้างมูลค่า ขายข้าวปลูก ขายข้าวพร้อมหุง

* ต้นทุนค่าปุ๋ย ยึดหลักสมการปุ๋ย อินทรีย์/เคมี .... ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน....ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ .... ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน วิตามิน

* ต้นทุนค่ายา ยึดหลักสมการ สารสมุนไพร/สารเคมี .... ลด/ละ/เลิก สารเคมียาฆ่าแมลง .... เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารสมุนไพร

* ต้นทุนค่าแรงงาน ยึดหลักเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
* เทคนิครูปแบบทำนา นาหยอด นาล้มตอซัง นาเปียกสลับแห้ง
*


ตอบ : --
เคล็ด (ไม่) ลับ ลดต้นทุนการทำนา ด้วยเทคนิคปลูกข้าวแบบล้มตอซัง :

การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง” เป็นเทคนิคการปลูกข้าว โดยการเกลี่ยฟางข้าวให้ทั่วแปลง หลังจากนั้นย่ำหรือเหยียบตอซังข้าวให้ราบติดกับพื้นนา ในขณะที่ดินมีความชื้นหมาด ๆ ผ่านไป 10-15 วัน ต้นข้าวรุ่นที่ 2 จะแตกหน่อขึ้นมาจากกอข้าวเดิม ถือว่าเป็นเทคนิคที่ช่วยลดต้นทุนในการทำนา และเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อีกวิธีเลยนะครับ… และนี่ก็คือวิธีการปลูกข้าวล้มต่อซัง ที่น้องปุ๋ยขยันนำมาฝากพี่ ๆ เกษตรกรครับ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย!!

ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง :
1. แปลงที่ปลูกข้าวรุ่นแรก ต้องมีการเตรียมดินและทำเทือก ให้ได้ระดับสม่ำเสมอ และปลูกข้าว
2. ต้นข้าวที่ปลูกครั้งแรกต้องแข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง
3. ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวรุ่นแรกประมาณ 10 วัน ดินต้องมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งหรือเปียกเกินไปหลังเก็บเกี่ยวข้าว

4. ภายใน 1-3 วัน ด้วยอุปกรณ์ติดท้ายแทรกเตอร์ขนาดเล็ก หรือใช้แรงงานคน เพื่อรักษาความชื้น คลุมวัชพืช และเป็นปุ๋ยหมักให้แก่ต้นข้าว

5. ย่ำตอซังให้ล้มนอนราบกับดินที่มีความชื้นหมาด ๆ โดยใช้รถแทรกเตอร์หรือล้อยางย่ำไปในทิศทางเดียวกัน 2-3 เที่ยว เกษตรกรนิยมย่ำตอนเช้ามืด เนื่องจากมีน้ำค้างช่วยให้ฟางข้าวนุ่มและตอซังล้มง่าย

6. หลังจากย่ำตอซังแล้ว อย่าปล่อยให้น้ำขังในแปลง เพราะตอซังจะเน่าและหน่อข้าวจะเสียหายได้
7. เมื่อหน่อข้าวมีใบ 3-4 ใบ หรือ 10-15 วัน หลังล้มตอซัง ให้ระบายน้ำเข้าแปลงให้ดิน แฉะแต่ไม่ท่วมขัง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นข้าวครั้งที่ 1 ด้วยปุ๋ยตรามงกุฎสูตร 46-0-0 อัตราใส่ 15-20 กก./ไร่ เพื่อเป็นปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตแก่ต้นข้าว และช่วยการย่อยสลายฟางได้ดีขึ้น

8. หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ประมาณ 5-7 วัน ให้ระบายน้ำเข้าแปลง ระดับน้ำสูงประมาณ 5 ซม.
9. เมื่อข้าวอายุได้ 35-40 วัน หลังล้มตอซัง ใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง แนะนำปุ๋ยตรามงกุฎสูตร 15-15-15 ทับทิม หรือ 18-8-8 หรือ 20-8-20 อัตรา 20-25 กก./ไร่

10. เมื่อข้าวอายุได้ 50-55 วัน หลังล้มตอซัง ถ้าข้าวเจริญเติบโตไม่ดีให้ ใส่ปุ๋ยครั้งที่สาม แนะนำปุ๋ยตรามงกุฎสูตร 18-8-8 หรือ 46-0-0 อัตรา 7-15 กก./ไร่

11. ควบคุมระดับในแปลงนาสูง 10-12 ซม. จนกว่ารวงข้าวเริ่มก้ม เมล็ดปลายรวงเริ่มเหลือง จึงระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อเตรียมการเก็บเกี่ยว

ข้อดีของการปลูกข้าวแบบล้มต่อซัง :
ช่วยลดต้นทุนในการปลูกข้าว เช่น ค่าเตรียมดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารควบคุม ป้องกันกำจัดวัชพืช โรค แมลง และศัตรูพืชอื่น ๆ ในนาข้าว

ลดระยะเวลาในการผลผลิตข้าว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นลง
ฟางข้าวที่ย่อยสลายในแปลง ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร และทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น

ข้อจำกัดของการปลูกข้าวแบบล้มต่อซัง :
เป็นพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอต่อการเจริญโตเติบโตของข้าว
เก็บเกี่ยวข้าวในระยะ “พลับพลึง” ซึ่งต้นข้าวจะยังสดไม่แห้งเกินไปเวลาใช้ทำเป็นต้นพันธุ์ หน่อข้าวจะแตกเป็นต้นข้าวใหม่ที่แข็งแรงและเจริญเติบโตดี

เกลี่ยฟางข้าวคลุมตอซัง และใช้รถแทรกเตอร์ หรือล้อยางย่ำให้ราบไปกับพื้นสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง
ตอซังที่ใช้ปลูกข้าวแบบล้มตอซังต้องไม่มีโรคและแมลงรบกวน

อ้างอิงข้อมูล :
เอกสารคำแนะนำสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง : ภูมิปัญญาท้องถิ่น
รักบ้านเกิด https://today.line.me/th/v2/article/zkPDDP
ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #ปุ๋ยข้าว #ปุ๋ยรับรวง #พันธุ์ข้าว #พันธุ์ข้าวนาปรัง #ข้าวหอมมะลิ105 #ข้าวกข43 #วิธีการใส่ปุ๋ยข้าวให้ได้ผลผลิตสูง #วิธีการใส่ปุ๋ยข้าว3ครั้ง #การใส่ปุ๋ยข้าว #ปุ๋ยใส่ข้าว #ข้าวตั้งท้องใส่ปุ๋ยสูตรไหน #เทคนิคปลูกข้าวล้มต่อซัง #ปลูกข้าวล้มตอ


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
นาข้าวล้มตอซัง :
หลักการและเหตุผล :

- ข้าว คือ พืชตระกูลหญ้า ลักษณะการขยายพันธุ์อย่างหนึ่งระหว่างต้นข้าวกับต้นต้นหญ้าที่เหมือนกัน คือ หลังจากลำต้นถูกตัดไปจนเหลือแต่ตอแล้ว ยังสามารถแตกหน่อใหม่จากข้อที่ตอแล้วเจริญเติบโตจนออกดอกติดผลได้ โดยผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากต้นข้าวหรือต้นหญ้าปลูกใหม่แต่อย่างใด ..... นั่นคือ ปลูก 1 ครั้ง เกี่ยวได้ 3 รอบ เท่ากับได้ผลผลิต 3 รอบ หรือ 3 ครั้ง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำนาข้าวแบบล้มตอซังที่เห็นได้ชัด คือ ลดต้นทุนค่าไถ ทำเทือก หมักฟาง หว่าน/ดำ เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ ที่ต้องเตรียมการก่อนลงมือหว่านดำ

แนวทางปฏิบัติ:
1. หลังจากเกี่ยวข้าวด้วยมือหรือรถเกี่ยวเสร็จ ให้สำรวจหน้าดินว่ายังมีความชื้นเพียงพอต่อการที่จะทำนาแบบล้มตอซังต่อไปหรือไม่ กล่าว คือ ดินต้องมีความชื้นระดับนำขึ้นมาปั้นเป็นลูกยางหนัง สะติ๊กได้พอดีๆ ไม่อ่อนเละหรือแข็งเกินไปจนปั้นเป็นลูกกลมๆไม่ได้

วัตถุประสงค์ของการสำรวจความชื้นหน้าดิน ก็เพื่อจะได้อาศัยความชื้นนี้ส่งเสริมให้เกิดการแตกยอดใหม่จากตอซังนั่นเอง

2. ผลสำรวจความชื้นน้าดิน ถ้ายังมีระดับความชื้นตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเกลี่ยเศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ทั้งส่วนที่กองทับอยู่บนตอซังและบริเวณอื่นๆ หรือกรณีเกี่ยวด้วยมือก็ให้เกลี่ยตอซังที่ล้มทับกันให้แผ่กระจายออกเสมอกันทั่วทั้งแปลง

วัตถุประสงค์ของการเกลี่ยฟาง ก็เพื่อให้มีฟางปกคลุมหน้าดินหนาเสมอกันเท่ากันทั้งแปลงนั่นเอง
3. ดัดแปลงยางนอกรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 6-8 วง นำมาต่อกันทางข้างเกิดเป็นหน้ากว้าง แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีเพลาเป็นแกนกลาง เรียก ว่า ล้อย่ำตอซัง เมื่อจะใช้งานก็ให้ใช้รถไถเดินตามลากล้อย่ำตอซังนี้วิ่งทับไปบนฟาง วิ่งทับทั้งส่วนที่ยังเป็นตอซังตั้งอยู่ และเศษฟางที่เกลี่ยแผ่กระ จาย ออกไป...กรณีรถที่ลากล้อย่ำตอซังควรเป็นรถไถเดินตามหรือรถไถนั่งขับขนาดเล็กเท่านั้นเพราะจะได้น้ำหนักที่พอดีต่อการย่ำตอ ไม่ควรใช้รถไถใหญ่เพราะจะทำให้ตอซังช้ำเสียหายมากเกินไป

วัตถุประสงค์ของการใช้รถย่ำน้ำหนักเบา ก็เพื่อรักษาข้อของลำต้นส่วนที่เป็นตอที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินไม่ให้แตกช้ำมาก เพราะต้องการให้เกิดการแตกยอดใหม่ออกมาจากข้อใต้ผิวดินมากกว่า แต่ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือผิวดินต้องให้แตกช้ำจนไม่สามารถแตกยอดใหม่ได้

ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน จะเป็นยอดที่ไม่มีคุณภาพ แต่ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินจะเป็นยอดที่มีคุณภาพดี จำนวนรอบในการย่ำกำหนดตายตัวไม่ได้ ทั้งนี้ให้สังเกตลักษณะตอหลังจากย่ำไปแล้วว่าแตกช้ำเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือผิวดินแต่ส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินยังดีอยู่ นอกจากนี้ระดับความชื้นหน้าดิน (อ่อน/แข็ง) กับน้ำหนักของล้อย่ำตอซังและน้ำหนักรถลากก็มีส่วนทำให้ตอเหนือผิวดินกับตอใต้ผิวดินแตกช้ำมากหรือน้อยอีกด้วย

4. หลังจากย่ำฟางและตอซังแล้ว ถ้าหน้าดินมีความชื้นพอดีก็ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นแต่ถ้าหน้าดินมีความชื้นน้อยถึงน้อยมากจำเป็นต้องฉีดพ่นน้ำเปล่าบ้างเพื่อเพิ่มความชื้น ซึ่งขั้นตอนฉีดพ่นน้ำนี้ จะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่าคุ้มค่าต้นทุนหรือทำได้หรือไม่และเพียงใด

- แปลงนาที่เนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดินสะสมมานาน แม้หน้าดินจะแห้งถึงระดับรถเกี่ยวเข้าทำงานได้สะดวกดีนั้น เนื้อดินด้านล่างลึกจะยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่ถึงระดับช่วยให้ตอซังแตกยอดใหม่ได้

- ฟางที่เกลี่ยดี นอกจากจะช่วยป้องกันแสงแดดจัดเผาหน้าดินจนแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นให้แก่หน้าดินและจุลินทรีย์อีกด้วย

5. หลังจาก ย่ำตอ-ปล่อยทิ้งไว้ หรือ ย่ำตอ-ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้น แล้ว จะมียอดใหม่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดินแล้วแทงทะลุเศษฟางขึ้นมาให้เห็น ให้รอจนระทั่งยอดแตกใหม่เจริญเติบโตเป็นต้นกล้าข้าวได้ใบใหม่ 2-3 ใบ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้า พร้อมกับควบคุมระดับน้ำให้พอเปียกหน้าดินหรือท่วมคอต้นกล้าใหม่

- แปลงนาที่ผ่านการ “เตรียมแปลง” โดยปรับหน้าดินราบเสมอกันดี น้ำที่ปล่อยเข้าไปจะเสมอกันทั้งแปลง ส่งผลให้ต้นข้าวทั้งที่แตกใหม่และเป็นต้นโตแล้วได้รับน้ำเท่ากันทั่วทั้งแปลง ซึ่งต่างจากแปลงที่บางส่วนดอน (สูง) บางส่วนลุ่ม (ต่ำ) จึงทำให้ระดับน้ำลึกไม่เท่ากัน สุดท้ายก็ส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่เท่ากันอีกด้วย

- ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีทั้งต้นที่งอกขึ้นมาจากข้อของตอ ต้นที่งอกขึ้นมาจากเมล็ดข้าวร่วง และเมล็ดที่หลุดออกมาจากรถเกี่ยว ซึ่งแหล่งกำเนิดของต้นข้าวเหล่านี้ไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณในอนาคตแต่อย่างใด

บางบริเวณอาจจะไม่มีหน่อหรือยอดต้นข้าวแตกใหม่จากข้อของตอใต้ดิน เนื่องจากส่วนตอใต้ผิวดินบริเวณนั้น ถูกย่ำทำลายโดยล้อสายพานรถเกี่ยวช้ำเสียหายจนไม่อาจงอกใหม่ได้นั่นเอง

วิธีแก้ไข คือ ให้ขุดแซะต้นกล้าที่งอกจากตอบริเวณที่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ขุดแซะพอให้มีดินหุ้มรากติดมาบ้างเล็กน้อยแล้วนำมาปลูกซ่อมลงในบริเวณที่ตอถูกทำลายจนไม่มีหน่อหรือยอดใหม่

- ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดโดยการหว่านหรือดำ อัตราการแตกกอจะต่างกัน เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 มีอัตราการแตกหน่อดีมาก ส่วนข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 และปทุมธานี-1 มีอัตราการแตกหน่อพอใช้ได้ หรือดีน้อยกว่าสุพรรณ-1 ในขณะที่การทำนาข้าวแบบล้มตอซังซึ่งจะมีต้นใหม่งอกออกมาจากข้อของตอซังนั้นการแตกกอก็ต่างกันอีก กล่าวคือ ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 อัตราการแตกกอไม่ค่อยดี ข้าวพันธุ์ ชัยนาท-1 แตกกอดีพอ ประมาณ และข้าวพันธุ์ปทุมธานี-1 อัตราการแตกกอไม่ดี

- ขั้นตอนปล่อยน้ำเข้าแปลงเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวเกิดใหม่ หลังจากปล่อยน้ำเข้าจนได้ระดับที่เหมาะสมแล้วใส่ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 16-8-8(5 กก.)/1 ไร่” โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

6. หลังจากต้นกล้าที่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดิน ต้นกล้าปลูกซ่อม และต้นกล้าจากเมล็ดข้าวร่วง เจริญเติบโตขึ้นมาได้แล้วก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวด้วยวิธี ทำนาข้าวแบบประณีตต่อไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว

ประสบการณ์ตรง :
นาข้าวล้มตอซัง
จาก :
(084) 776-98xx
ข้อความ : (คัดย่อ) รายงานผล นาข้าวล้มตอซัง 15 ไร่ ได้ 15 เกวียน ขายได้ 200,000 ลงทุน 20,000 ใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, ทุกตัว ไม่ +เพิ่มปุ๋ยเคมีเลย มาอย่างไรใช้อย่างนั้น....พนม สุพรรณบุรี
ตอบ :

พนม :
สวัสดีครับ ลุงผู้พัน ผมพนมครับ
ลุงคิม : เออ พนม นาข้าวล้มตอซังเป็นไงบ้างวะ ?

พนม : เกี่ยวแล้วครับ ข้าว กข.41 นาหว่าน เกี่ยววันนี้ 15 ไร่ได้ 15 เกวียน เอาไปขายที่โรงสีได้ 200,000 ครับ
ลุงคิม : ต้นทุนล่ะ ?

พนม : โอ้โฮลุงผู้พัน ไม่น่าเชื่อ 15 ไร่ ลงทุนไม่ถึง 20,000 เท่านั้นเอง
ลุงคิม : ทำไมต้นทุนมันต่ำนักวะ ?

พนม : จริงครับลุงผู้พัน ย่ำตอซังรุ่นนี้ ค่าไถไม่มี ค่าย่ำเทือกไม่มี ค่าเมล็ดพันธุ์ไม่มี ค่าหว่านไม่มี มีอย่างเดียวค่าย่ำตอเท่านั้น อันนี้ก็คือค่าย่ำเทือกตัวเดียวกัน แต่ย่ำตอรถมันวิ่งได้เร็วกว่าย่ำเทือก น้ำมันเลยใช้น้อยกว่าครับ
ลุงคิม : อืมมม พนม ช่วยเล่าวิธีย่ำตอหน่อยซีว่า มีขั้นอะไร ยังไงบ้าง ?

พนม : คืองี้ครับลุงผู้พัน .... ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน เอาน้ำเข้า กะว่าน้ำเต็มแปลงทั่วกันทั้งแปลงดีแล้ว ไขน้ำออกให้เหลือติดหน้าดินพอเจ๊าะแจ๊ะ ที่เอาน้ำใส่ก่อนเกี่ยวก็เพื่อให้ดินมันชุ่มน้ำน่ะครับ....

ตอนเกี่ยว เราก็เลือกรถเกี่ยวที่มันกระจายเศษฟางได้ด้วย อันนี้เราจะได้ไม่ต้องมาเกลี่ยฟางอีก เพราะตรงไหนถ้าเศษฟางหนามากๆ การแตกกอใหม่ตรงนั้นจะไม่ดี ....

พอรถเกี่ยวเสร็จ กระทงต่อกระทง เราลงมือย่ำตามรถเกี่ยวเลย อย่าทิ้งไว้ข้ามวันข้ามคืน ...

รถย่ำผมใช้อีขลุบหรือลูกทุบแบบฟันเหล็กดีกว่าฟันไม้ เพราะจะทำให้ตอฉีกแตกเละดีกว่า คือเราอย่าให้หน่อใหม่แตกจากข้อที่ต้น แต่ให้แตกขึ้นมาจากรากไต้ดิน กับอีกอย่างหนึ่ง ใช้อีขลุบย่ำดีกว่าใช้ล้อยางรถ เพราะล้อยางทำใด้แค่ตอล้ม ลำต้นที่เป็นตอไม่ฉีกขาด ถ้าตอยังเป็นลำอยู่จะแตกหน่อใหม่ที่ข้อ หน่อแบบนี้ไม่ดี แต่ถ้าตอฉีกแตกแล้ว เมื่อหน่อใหม่แทงจากข้อไม่ได้ก็จะแทงจากรากขึ้นมาเอง หน่อจากรากนี้ดีครับ
ลุงคิม : แล้วน้ำเข้า ใส่ระเบิดเถิดเทิงตอนไหน ?

พนม : ครับลุงผู้พัน ไม่น่าเชื่อครับ หลังย่ำเสร็จแค่ 2-3 วันเท่านั้นแหละ แหวกซังข้าวดู เห็นหน่อแทงใหม่เต็มปื้ดเลย จากข้าวแค่กอเดียวแตกหน่อใหม่เป็นสิบๆ ที่มันแตกหน่อใหม่ขึ้นมาได้เพราะน้ำในดินที่เคยใส่ไว้ตั้งแต่ก่อนเกี่ยวนั่นแหละครับ อันนี้เราต้องให้มีน้ำในดินแค่ชื้นนิดๆ เท่านั้น แค่เดินแล้วรู้สึกนุ่มเท้าก็พอ แต่ถ้าดินชุ่มมากเขาจะไม่ค่อยงอก ....

ปล่อยไว้อีก 7-10-15 วัน หน่อข้าวแทงพ้นเศษฟางขึ้นมาให้เห็นแล้ว โอ้โฮ ลุงผู้พัน หน่อข้าวขึ้นใหม่แน่นกว่าหว่านครั้งแรกซะอีก ถึงตอนนี้เราก็เริ่มเอาน้ำเข้า เข้าพอปริ่มๆตอ แล้วให้รถฉีดน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ไร่ละ 2 ล. อย่างที่ลุงผู้พันบอก ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ แล้วฉีดอัดลงหน้าดินไปเลย เท่านั้นแหละครับ
ลุงคิม : รถฉีด .... ไหนเล่าเรื่องรถฉีดที่ว่าให้ฟังหน่อยซิ รูปร่างหน้าตามันเป็นยังไง ?

พนม : เป็นรถฉีดพ่นไทยประดิฐษ์ธรรมดาๆนี่แหละครับ คนนั่งขับ มีเครื่องยนต์ทั่วๆไป บนรถบันทุกน้ำผสมปุ๋ยได้ครั้งละ 350 ลิตร มีแขนติดหัวพ่นยื่นออกด้านข้าง ปรับความยาวแขนพ่นได้ข้างละ 5 เมตร ด้านหน้าล้อจะมีครีบแหวกต้นข้าวให้ล้อวิ่งไป ล้อจะได้ไม่ทับต้นข้าว ถึงจะทับต้นข้าวล้มบ้าง แค่คืนเดียวต้นข้าวก็ตั้งคืนอย่างเก่าได้แล้ว ฉีดได้ตั้งแต่ระยะข้าวเล็กถึงระยะข้าวใหญ่ใกล้เกี่ยวเลยแหละครับ ค่าจ้างก็ไร่ละ 60 บาท วันนึงทำงานได้เป็นร้อยๆไร่ ประหยัดกว่า ได้เนื้องานดีกว่า คนเดินฉีดเยอะเลยครับ
ลุงคิม : สุดยอดว่ะ .... เอาละ ถึงขั้นตอนหน่อใหม่เริ่มโตแล้ว เริ่มบำรุงยังไง ?

พนม : ผมก็เอาไบโออิ กับยูเรก้า นี่แหละครับ น้ำ 200 ล. ใส่ไบโออิ 100 ซีซี. ยูเรก้า 100 ซีซี. เท่านี้แหละครับ
ลุงคิม : ปุ๋ยสูตรเร่งแตกกอ 18-38-12 ไม่ได้ใส่เหรอ ?

พนม : ไม่ได้ใส่ครับลุงผู้พัน ผมเอาแค่นี้จริงๆ มันก็แตกกอดีนี่ครับ ข้าวแน่นยิ่งกว่าหว่านครั้งแรกซะอีกแน่ะครับ
ลุงคิม : อืมมมว่ะ ถ้าแบบนี้เอาไบโออิอย่างเดียวเดี่ยวๆก็พอ จะได้ไม่เปลือง เอาวะ เกินดีกว่าขาด ยังไงๆก็ดีกว่าอั้ยลิตรละ 3,000 ลิตรละ 10,000 มั้ง

พนม : แน่นอนครับลุงผู้พัน ผมสั่งซื้อแค่อย่างละแกลลอน ทั้งรุ่นยังใช้ไม่หมดเลย คนแถวบ้านผมบอกไม่เชื่อ ใส่ปุ๋ยแค่นี้มันโตได้ยังไง ปุ๋ยทางดินก็ไม่ได้หว่านใหม่ๆ ก็มีแต่คนแนะนำให้ใส่ยูเรีย ใส่ 16-20 ผมก็ไม่ใส่ ถึงไม่ได้ใส่ข้าวก็โตปกติ เผลอๆ โตดีกว่าของคนที่บอกให้ใส่ด้วย สุดท้ายข้าวออกมา ของผมขายแล้วเหลือกำไรมากกว่า คนที่เคยบอกวันนี้เงียบไปเลย
ลุงคิม : บำรุงระยะอื่นล่ะ ?

พนม : ก็นั่นแหละครับ ช่วงตั้งท้องผมให้ไทเป น้ำ 200 ล. ใส่ไทเปแค่ 200 ซีซี. ไม่ใส่ 0-52-34 หยุดสูง ไม่ใส่ ยูเรีย เป็นสารลมเบ่ง ข้าวก็ออกรวงดีครับ
ลุงคิม : ระยะน้ำนมล่ะ ?

พนม : ผมก็เอา น้ำ 200 ล. ใส่ไบโออิ 100 ซีซี. ใส่ยูเรก้า 100 ซีซี. ให้ไปแค่ 2-3 รอบมั้ง ข้าวก็ดีนึ่ครับ ไม่มีข้าวลีบ ไม่เป็นท้องไข่ โรงสีบอกเมล็ดแกร่งดีด้วย
ลุงคิม : เอาวะพนม ลูกกับเมียเป็นไง หน้าบานเลยไหม ?

พนม : สุดยอดครับลุงผู้พัน แต่อย่างว่าแหละครับ เบื่อสอนพวกหัวรั้นครับ
ลุงคิม : เฮ่ยยยย เบื่อไม่ได้ วันนี้เขายังไม่รับก็ปล่อยไปก่อน วันไหนเขาหันมาหาเรา ช่วยสอนเขาด้วยก็แล้วกัน โดยเฉพาะสอนเรื่องต้นทุนที่จ่ายๆออกไป

พนม : ครับลุงผู้พัน
ลุงคิม : แล้วนารุ่นหน้าวางแผนยังไง ?

พนม : ครับ รุ่นนี้พอเกี่ยว เสร็จ ผมไถพลิกกลบฟางฝังกลบลงไปก่อนเลย ตอนนี้น้ำท่วมเริ่มมาแล้ว กะปล่อยให้น้ำท่วมหมักฟางซักพัก น้ำลงก็จะย่ำเทือกเลย ไม่ต้องไถ กะเอาอย่างที่ลุงผู้พันเคยบอก ใส่ระเบิดเถิดเทิงแล้วย่ำเทือกเลยน่ะครับ
ลุงคิม : อืมมม งวดหน้าอาจจะต้องเพิ่ม 16-8-8 ซักหน่อยนะ

พนม : ครับ ตอนทำเทือกว่าจะยังไม่เพิ่ม แต่จะรอดูตอนแตกกอต้นกลมก่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีก็ไม่ต้องเพิ่ม ยังไงๆก็ยังทันไม่ใช่เหรอครับลุงผู้พัน ?
ลุงคิม : ใช่ ถูกต้อง ถึงตอนนั้นต้นมันจะฟ้องออกมาเองว่าปุ๋ยพอหรือไม่พอ

พนม : ครับลุงผู้พัน
ลุงคิม : O.K. พนม วันนี้แค่นี้ก่อนวะ น้ำลดเริ่มลงนาค่อยว่ากันอีกที

พนม :ครับลุงผู้พัน ขอบคุณลุงผู้พันที่สุดเลยครับ


แบบนาข้าวดีที่สุด .... "นาหยอด เปียกสลับแห้ง ล้มตอซัง บำรุงประณีต"
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6260&sid=621f3aec1915ae52db005497784b3da3

------------------------------------------------------------------------


.





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2023 7:04 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 13/01/2023 9:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อก่อน ผมเห็นข้างๆสวนมะม่วงผม มีรถหลายๆล้อ เขาทำไว้ ล้มตอซังโดยเฉพาะ น่าจะ 4-6 ล้อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©