-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 13 MAY *ชาวนายุคใหม่ เทคนิค-เทคโน ใหม่
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 13 MAY *ชาวนายุคใหม่ เทคนิค-เทคโน ใหม่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/05/2021 5:56 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 13 MAY *ชาวนายุคใหม่ เทคนิค-เทคโน ใหม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 13 MAY ...
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 15 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

************************************************************
***********************************************************

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 13 MAY

จาก :
(098) 772-64xx
ข้อความ : นาข้าวลีบ ท้องไข่ เมล็ดไม่แข็ง ใช้ปุ๋ยลุงสูตรไหน....ขอบคุณค่ะ

จาก : (098) 362-15xx
ข้อความ : นาข้าวปีที่แล้ว ใส่ปุ๋ย ใส่จุลินทรีย์ -X- แล้ว ยังมีข้าวเสีย โรงสีตัดราคา เป็นเพราะอะไรครับ

จาก : (084) 472-7381xx
ข้อความ : นาข้าว ไม่เผาฟาง สูตรลุงคิม มีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำคอบเดิม :
เก็บตกงานสัญจร 24 ต.ค. วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ (5) ....ฟาง ซุปเปอร์”


หมายเหตุ :
* ยูเรียต่อต้น :
ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด

* ยูเรียต่อเมล็ด : เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา

* ยูเรียต่อสารอาหาร : ความเข้มข้น (เปอร์เซ็นต์) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 30-10-10 หรือ 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ....

ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6. 0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก . แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก.
(อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดินและจุลินทรีย์อย่าง สม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ

ตอบ :
หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง
หลักการและเหตุผล :

ฟาง คือ อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชที่มีราคาประหยัดที่สุด และมีประโยชน์ต่อต้นข้าวมากที่สุด กล่าวคือ ฟางคือต้นข้าว ในต้นข้าวย่อมมีสารอาหารที่ต้นข้าวต้องใช้พัฒนาตัวเอง เมื่อฟางถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ สารอาหารที่เคยมีในฟางก็จะออกมากลายเป็นสารอาหารพืชสำหรับข้าวต้นใหม่ นอกจากเป็นสารอาหารพืชแล้ว ฟางยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกหลายประการ อาทิ เป็นแหล่งอาหารจุลินทรีย์ ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก ช่วยซับหรืออุ้มน้ำไว้ใต้ดินโคนต้น เป็นต้น

ต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีความความชื้นสูง (ดินแฉะ) จะเจริญเติบโต แตกกอ สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานสูงและให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีน้ำขังท่วม

มาตรการทำให้ดินมีความชื้นสูง มีน้ำใต้ผิวดินมากๆ ทั้งๆ ที่หน้าดินแห้งจนแตกระแหงก็คือ การให้มีอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช เศษซากสัตว์ และจุลินทรีย์)อยู่ในเนื้อดินมากๆ ถึงอัตราส่วน 1:1 สะสมต่อเนื่องติดต่อกันมานานหลายๆปี

แนวทางปฏิบัติ :
หลังจากรถเกี่ยวข้าวออกไปแล้ว ให้ดำเนินการส่งฟาง และ/หรือ เศษซากพืช-อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ลงไปอยู่ใต้ผิวดิน ผสมคลุกกับเนื้อดินให้เข้ากันดี ตามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอนก็ได้ ดังนี้

1. ตากฟาง-ไม่ตากฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายทำให้ฟางเปื่อยได้เร็วขึ้น อันที่จริงนั้น จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ทั้งฟางสดและฟางแห้ง เพียงแต่การย่อยสลายฟางแห้งทำได้ง่ายและเร็วกว่าฟางสดเท่านั้นเอง ดังนั้น การตากฟางหรือไม่ตากก่อนไถกลบจึงไม่ต่างกันนัก ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

2. เกลี่ยฟาง-ไม่เกลี่ยฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางกระจายตัวเท่าๆกันทั่วแปลง และแห้งเร็วๆ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วเนื้อดินผสมกับฟางสม่ำเสมอกันซึ่งจะส่งผลให้ดินมีคุณภาพเท่าๆกันทั้งแปลงนั่นเอง...

ล้อรถเกี่ยวข้าวเป็นสายพานตีนตะขาบ ขณะที่รถเกี่ยววิ่งไปนั้น ตอซังที่ถูกสายพานตีนตะขาบเหยียบย่ำจะแบนราบแนบติดพื้น ส่วนตอซังที่อยู่บริเวณใต้ท้องรถเกี่ยวจะไม่ถูกเหยียบย่ำ ยังคงเป็นตอตั้งตรงเหมือนเดิม นอกจากนี้เศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ซึ่งรถเกี่ยวข้าวบางรุ่นพ่นเศษฟางให้ฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วได้ แต่รถเกี่ยวบางรุ่นพ่นเศษฟางตรงๆลงทับบนตอซังกลายเป็นกองเศษฟาง กรณีนี้ ถ้าต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ให้ใช้ไม้เขี่ยฟางที่เป็นกองออก แต่ถ้าไม่ต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเขี่ยออก เพราะช่วงที่รถไถผานโรตารี่เข้าทำเทือกนั้น ผานโรตารี่ก็จะช่วยกระจายฟางไปในตัวเองได้แต่อาจจะไม่กระจายดีกับการเกลี่ยก่อนเท่านั้น

3. ย่ำฟาง-ไม่ย่ำฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ทำให้ฟาง ฉีก-ขาด-ช้ำ เพื่อเป็นช่องทางให้จุลินทรีย์ผ่านเข้าไปง่ายๆแล้วย่อยสลายฟาง ปฏิบัติโดยการใช้รถไถเดินตามล้อเหล็กวิ่งย่ำไปบนเศษฟางให้ทั่วแปลง วิ่งย่ำซ้ำหลายๆรอบ ฟางที่ถูกล้อเหล็กย่ำจะ ฉีก-ขาด-ช้ำ เกิดเป็นบาดแผลช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางให้เปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าฟางที่ยังคงเป็นชิ้นๆอยู่

4.หมักฟาง :
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ฟางเปื่อยยุ่ยโดยเร็ว ไม่ว่าฟางในแปลงนาจะตากแห้งแล้วหรือยังสด เกลี่ยกระจายแล้วหรือยังเป็นกลุ่มกอง ย่ำให้เป็นแผลช้ำแล้วหรือยังเป็นชิ้นเดิมๆ ทุกสภาพของฟางไม่อาจรอดพ้นฝีมือของจุลินทรีย์ไปได้ เริ่มด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ 2-5 ล./ไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกราว 20-30 ซม. ทิ้งไว้ราว 10-20 วัน น้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ สภาพของฟางเริ่มเปื่อยยุ่ย เมื่อเดินย่ำลงไปจะมีฟองเกิดขึ้น ให้สังเกตฟอง ถ้ามีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์เป็นพิษให้ ระบายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่ พร้อมกับจุลินทรีย์ชุดใหม่เข้าไปแทน แล้วเริ่มหมักใหม่อีกรอบ....

ถ้าฟองนั้นไม่มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์ดี ให้หมักต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ยได้ที่ตามต้องการแล้วจึงลงมือทำเทือก

ถ้าหมักฟางยังไม่ได้ที่หรือยังมีกลิ่นเหม็น (แก๊ส) จะมีผลต่อต้นข้าวระยะกล้า (ต้นเหลืองโทรม) เรียกว่า “เมาตอซัง” กรณีนี้แก้ไขโดยระบายน้ำเก่าออกพร้อมๆกับส่งน้ำใหม่เข้าไปแทนที่หรือใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย จากนั้นบำรุงต้นกล้าด้วยฮอร์โมนทางด่วน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

5. ไถกลบฟาง :
วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย ย่ำหรือไม่ย่ำ หมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้

- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ

- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ....

วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัช พืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย “อีขลุบหรือลูกทุบ” ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้

6.ไม่ไถ :
หลังจากรถเกี่ยวเสร็จสิ้นภารกิจ ในแปลงมีตอซังและเศษฟาง แนวทางการทำเทือกโดยไม่ต้องไถ ไม่ว่าจะเป็นการไถด้วยรถไถใหญ่ผานจาน 3 หรือผาน 7 รถไถเดินตามผานจานเดี่ยวหรือคู่ รถไถโรตารี่สามารถทำได้โดยจัดการกับตอซังและเศษฟาง ตากฟางหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ยก็ได้ แล้วเริ่มด้วยการสูบน้ำเข้าให้ลึกประมาณ 30 ซม. ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือกากน้ำตาล 5-10 ล./ไร่ สาดให้ ทั่วแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จนน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ จากนั้นให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบ หรือ ลูกทุบ ได้เลย ย่ำหลายๆรอบจนกว่าตอซังและเศษฟางรวมทั้งเศษซากต้นวัชพืชแหลกละเอียดลงไปคลุกกับเนื้อดิน เสร็จแล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ก็ให้ลงมือย่ำรอบสองด้วยวิธีการเดิม แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ตรียมการย่ำต่อรอบสามเป็นรอบสุดท้าย ก่อนลงมือย่ำรอบสามให้ใส่อินทรีย์วัตถุ และ ปุ๋ย สำหรับนาข้าวตาม ปกติ เสร็จแล้วให้ลงมือปลูก (ดำหรือหว่าน) ข้าวได้เลย ถ้าเป็นนาข้าวที่เตรียมแปลงแบบไม่เผาฟางหรือไถกลบฟางครั้งแรก จะพบว่าชี้เทือกลึกเหนือกว่าตาตุ่มอย่างชัดเจนซึ่งถือว่าเพียงต่อการเพาะปลูกข้าวแล้วทั้งดำและหว่าน....

หากเป็นนาที่เคยไม่เผาฟางแต่ไถกลบมาหลายรุ่นแล้ว การย่ำเพียงรอบแรกรอบเดียวก็จะได้ขี้เทือกลึกถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง

ประโยชน์ที่ได้จากการย่ำเทือกหลายๆ รอบที่เห็นชัดที่สุด คือ นอกจากได้กำจัดวัชพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอีกด้วย

หมายเหตุ :
- ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด ที่ด้านหน้ารถดัดแปลงให้มีตะแกงสำหรับตั้งถังขนาดจุ 20-50 ล. เจาะรูก้นถัง 2-3 รู มีก๊อกปรับอัตราการไหลช้า/เร็วได้ ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์น้ำ แล้วปล่อยให้ไหลออกมช้าๆ ขณะที่รถไถวิ่งไปนั้นก็จะปล่อยปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หยดลงพื้นที่ด้านหน้า แล้วถูกผานด้านหลังไถผสมลงไปคลุกผสมกับเนื้อดินเอง

- การทำนาแบบไถกลบฟางลงดินรุ่นแรก หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำซ้ำหลายๆรอบ จะทำให้ได้ “ขี้เทือก” ลึก 20-30 ซม.(ครึ่งหน้าแข้ง) ในขณะที่การทำเทือกแบบเผาฟางก่อนนั้นจะได้ขี้เทือกลึกน้อยกว่ามาก

- นาข้าวแบบไถกลบฟาง จากรุ่นแรกที่ไถกลบนั้นจะมีฟางลงไปอยู่ในเนื้อดินราว 1 ตัน ต่อมารุ่นที่ 2 ก็จะมีฟางชุดใหม่ลงไปสมทบอีก 1 ตัน หรือทำนาข้าวจะได้ฟางรุ่นละ 1 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากฟางรุ่นแรกๆ แม้จะเปื่อยยุ่ยดีแล้วแต่ก็ยังคงมีเศษซากหลงเหลืออยู่ ยิ่งมีเศษซากฟางอยู่ในดินมากเท่าใดยิ่งทำให้ได้ขี้เทือกลึกมากเท่านั้น

จากประสบการณ์ตรงพบว่า การทำเทือกแบบไถกลบฟางสี่รุ่นติดต่อกัน ปรากฏว่าได้ขี้เทือกลึกถึงหัวเข่าซึ่งถือว่ามากเกินไป ผลเสียคือ เดินเข้าไปสำรวจแปลงได้ยาก ก่อนเกี่ยวซึ่งต้องงดน้ำ 7-10 วันเพื่อให้หน้าดินแห้งทำไม่ได้ และทำให้รถเกี่ยวเข้าทำงานไม่ได้อีกด้วย

แนวแก้ไข คือ ไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันไปก่อน เมื่อจะทำนารุ่น 3 ให้นำฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากในดินก็พอ ต่อมาเมื่อจะทำนารุ่น 4 ก็ให้วิเคราะห์ปริมาณเศษซากฟางในดินก่อนว่า สมควรนำฟางของนารุ่น 3 ออก แล้วเหลือแต่เหง้ากับราก หรือต้องไถกลบฟางรุ่นใหม่เติมลงไปอีก ทั้งนี้ความ ลึกของขี้เทือกจะเป็นตัวชี้บอก ประเด็นสำคัญก็คือ จะต้อง “ไม่เผา” อย่างเด็ดขาด.ตามเกณฑ์ของการเตรียมดินปลูกข้าว ควรมีอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืช 2-3 ตัน/ไร่/รุ่น

- ฟางข้าวในนาข้าว คือ อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยพืชสดที่มีราคาต่ำที่สุดและมีประโยชน์มากที่สุด ฟางข้าวเป็นทั้งแหล่งสารปรับปรุงบำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับต้นข้าวทั้งรุ่นปัจจุบัน รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป นอกจากฟางแล้วควรจัดหาแหล่งเศษซากพืชอื่นๆเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้มากขึ้น จากฟางตัวเดียว ฟางธรรมดาๆ ก็กลายเป็น “ฟางซุปเปอร์” นั่นเอง

เกษตรกรชาวนาและชาวไร่ของสหรัฐอเมริกา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในนาหรือในไร่แล้วไม่มีการเผาทิ้งหรือนำออก แต่ใช้วิธีการไถกลบด้วยรถไถกลบขนาดใหญ่ ซึ่งขณะไถกลบนั้นก็จะเติมอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์ และสารอาหารอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อประหยัดเวลา แรงงาน และให้เกิดความหลากหลายตามธรรมชาติ

-------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©